Home Blog Page 176

เช็กด่วน! สาเหตุ ปัจจัย และอาการของโรคอ้วนคืออะไร?

0
สาเหตุ ปัจจัย และอาการของโรคอ้วนคืออะไร?
โรคอ้วน เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีปริมาณไขมันมากเกินกว่าปกติ มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
สาเหตุ ปัจจัย และอาการของโรคอ้วนคืออะไร?
โรคอ้วน เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีปริมาณไขมันมากเกินกว่าปกติ มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน

โรคอ้วน คือ

โรคอ้วน คือ ร่างกายสะสมไขมันไว้มากเกินไปทำให้น้ำหนักเกิน ซึ่งวัดจากดัชนีมวลกายค่า BMI มากกว่า 25 ถือว่าเป็นโรคอ้วน มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานสามารถอธิบายการเกิดภาวะนี้ได้ง่ายๆ คือ การที่ร่างกายได้รับพลังงานจากการกินอาหารเข้าไปมากกว่าพลังงานที่ได้ใช้ออกมาในแต่ละวัน ทำให้พลังงานส่วนที่เหลือถูกเก็บสะสมไว้ในรูปแบบของไขมัน เมื่อมีปริมาณมากๆก็จะกลายเป็นโรคอ้วนได้นั้นเอง

ทำไมบางคนกินเยอะแต่ไม่อ้วน?

เนื่องจากร่างกายคนเรามีความซับซ้อนกว่าที่คิดแต่ความอ้วนส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมล้วนๆ ปัจจัยแต่ละอย่างส่งผลต่อน้ำหนักที่แตกต่างกันไปตามแต่ละคน ได้แก่
1.กินเมื่อร่างกายหิว
2.ปัจจัยของฮอร์โมนความหิวถูกควบคุมโดยฮอร์โมนสองชนิด คือ เกรลิน และเลปติน โดยฮอร์โมนเลปตินจะผลิตโดยเซลล์ไขมันระงับความอยากอาหาร ในขณะที่ฮอร์โมนเกรลินทำตรงกันข้าม เพื่อกระตุ้นความอยากอาหารของเรา คนที่มีความไวหรือการผลิตเลปตินสูงกว่าจะควบคุมความอยากหรือลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น
3.การนอนหลับที่เหมาะสม ควรนอนอย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อคืน หากอดนอนทำให้ระดับฮอร์โมนเกรลินสูงขึ้น และร่างกายจะผลิตคอร์ติซอลมากเกินไป ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นความหิวมากขึ้นตามไปด้วย

เช็กด่วน! 6 ตำแหน่งอ้วนจากไขมันสะสมในร่างกาย บ่งบอกอะไรได้บ้าง

1.อ้วนช่วงบน เกิดจากกินน้ำตาล น้ำอัดลม อาหารหวาน และเครื่องดื่มรสหวานมากเกินไปแล้วร่างกายไม่ได้นำไปใช้งานถึงทำให้ไขมันสะสมส่วนบน
2.อ้วนช่วงกลางหน้าท้อง เกิดจากฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวลทำให้ไขมันสะสมในหน้าท้อง
3.อ้วนช่วงท้องด้านบนและด้านหลังยื่น เกิดจากไม่ชอบขยับร่างกาย ชอบอยู่นิ่งๆ ทำให้เป็นโรคอ้วนได้ง่าย
4.อ้วนช่วงล่าง เกิดจากกินอาหารที่มีกลูเตนมากเกินไปรวมถึงพันธุกรรม และช่วงการตั้งครรภ์
5.อ้วนท้องบวม เกิดจากกินเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินกลายเป็นไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องทำให้พุงยื่น อ้วนลงพุงได้
6.อ้วนช่วงล่างไปถึงขา เกิดจากกินอาหารรสเค็มมากเกินไปทำให้โซเดียมสูงและคั่งค้างอยู่ในร่างกาย

ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก ได้สำรวจภาวะโรคอ้วนทั่วโลกพบข้อมูลมีการเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าระหว่าง ปี 1980-2014 นอกจากนั้นยังทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐศาสตร์ตามมา เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงมากขึ้น การสูญเสียความสามารถในการทำงาน และค่าแรงที่ลดลง โรคอ้วนกับค่าดัชนีมวลกาย ค่าดัชนีมวลกายเป็นตัวเลขที่ใช้ประเมินโรคอ้วน โดยค่านี้คิดว่าส่วนสูงและน้ำหนักของผู้ป่วย

ผู้ที่เป็นโรคอ้วนนั้น มักจะมีอาการแทรกซ้อนของโรคอื่นที่จะสามารถพบได้บ่อยๆ เข้ามาด้วย เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคกระดูกและข้อเสื่อม โรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ

ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุงนั้น มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และอื่นๆอีกมามาย เนื่องจากโรคอ้วนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุไปทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกาย ( ระบบเมตาโบลิซึม ) และระบบฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายทำงานรวนหรือ ผิดเพี้ยนไปจากเดินนั้นเอง

นอกจากนี้ยังมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดจากการเป็นอ้วนลงพุง ทำให้ความสุขในชีวิตลดลง เช่น การหายใจที่ลำบาก ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังและทำให้มีบุตรยากอีกด้วยปัญหาโรคอ้วน นับวันจะค่อยๆร้ายแรงขึ้น กลายเป็นปัญหาหนึ่งที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ และเริ่มระบาดไปในเด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา โรคอ้วนกำลังระบาดอย่างหนักมาก โดยตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 เป็นต้นมา พบผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่ามาโดยตลอดในทั่วโลก  หากดูข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก  มีสถิตที่น่าสนใจคือ ในปี ค.ศ. 2014 มีผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนมากถึง 600 ล้านคน และในจำนวนนี้เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ถึง 42 ล้านคนเลยทีเดียว ซึ่งเป็นข้อมูลและสถิติที่น่าตกไม่น้อยเลย

​โรคอ้วนเกิดจากสาเหตุอะไร

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนนั้น สามารถแบ่งออกเป็นปัจจัยหลักๆ ได้ 2 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

1.1 กรรมพันธุ์ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์มีผลต่อการเกิดโรคอ้วนมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว หากครอบครัวใดที่พ่อแม่เป็นโรคอ้วน ลูกที่ออกมามีโอกาสจะเป็นโรคอ้วนมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่หากมีพ่อหรือแม่แค่คนใดคนหนึ่งเป็นโรคอ้วน โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคอ้วนจะลดลงมาเหลือ 40 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับครอบครัวที่พ่อและแม่ไม่ได้เป็นโรคอ้วน ลูกที่ออกมาจะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนแค่ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองและการควบคุมอาหารด้วย ที่สามารถลดปัจจัยด้านกรรมพันธุ์นี้ได้

1.2 เพศ โดยปกติแล้วโอกาสที่เพศหญิงจะเป็นโรคอ้วนมีสูงกว่าผู้ชายเนื่องจากในผู้ชายมีกล้ามเนื้อมากกว่าผู้หญิง จึงใช้พลังงานในแต่ละวันมากกว่าผู้หญิง และจากข้อมูลจะพบว่าผู้หญิงมีนิสัยชอบกินจุกกินจิกมากกว่าผู้ชายด้วยเลยทำให้อ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชายนั้นเอง

1.3 อายุ ด้วยอายุที่มากขึ้นในทุกๆปี ทำให้ปริมาณของกล้ามเนื้อในร่างกาย และการทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวันจะน้อยลงกว่าวัยหนุ่มสาว การใช้พลังงานน้อยลงทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังน้อยลดตามไปด้วย และสำหรับผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนแล้วมวลกล้ามเนื้อจะลดลง 1 เปอร์เซ็นต์ของทุกๆปี เพราะฉะนั้นพลังงานจากอาหารที่กินเข้าไปจึงไปสะสมในรูปของไขมันได้ง่ายขึ้น เลยเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความอ้วนได้นั้นเอง

1.4 อัตราการเผาผลาญพลังงาน ( Metabolic Rate ) ร่างกายของคนแต่ละคน จะมีอัตราการเผาผลาญพลังงานไม่เท่ากัน หากคนใดที่มีอัตราการเผาผลาญพลังงานที่ต่ำก็จะทำให้อ้วนได้ง่าย กว่าผู้ที่มีอัตราการเผาผลาญพลังงานที่สูงนั้นเอง มีข้อมูลการวิจัยพบว่า ยีนมีอิทธิพลต่อการควบคุมอัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน และพลังงานที่ใช้ในการเผาผลาญอาหารด้วย

1.5 สรีรวิทยาของร่างกายส่วนประกอบของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ ไขมัน แลฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ เมื่อเราเคลื่อนไหวได้ช้าลง กล้ามเนื้อจะลดลง ไขมันจะเพิ่มขึ้นมาแทนที่ปริมาณของไขมันที่สะสมในร่างกายในแต่ละวัยก็จะแตกต่างกันไป  เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนมีอายุมากขึ้น ร่างกายมีการใช้พลังงานลดลงก็จะทำให้อาหารที่ทานเข้าไปและใช้พลังงานไม่หมด ถูกเปลี่ยนและไปสะสมไว้ในรูปของไขมันจนทำให้อ้วนขึ้นนั้นเอง

2. ปัจจัยโรคอ้วนที่ควบคุมได้

2.1 กิจวัตรประจำวัน ในแต่ละวันเรามีกิจวัตรประจำวันต่างๆที่ต้องทำมากมาย สิ่งเหล่านี้เป็นการใช้พลังงานจากการทานอาหารเข้าไป หากไม่มีการออกกำลังกาย หรือมีการใช้เครื่องทุ่นแรงเพื่ออำนวยความสะดวกสบายพร้อมทั้งกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันมีการขยับเขยื้อนร่างกายที่น้อย เช่น งานที่นั่งทำอยู่แต่บนโต๊ะ ก็จะทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดความอ้วนได้ง่ายดังนั้นจึงควรออกกำลังกายเป็นประจำ หรือหากิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อช่วยลดพลังงานส่วนเกินไม่ให้ไปเป็นไขมันสะสม

2.2 กินอาหารไขมันสูงและกินเกินความต้องการของร่างกาย อาหารที่นิยมทานกันในปัจจุบัน เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด หรือ อาหารสำเร็จรูปต่างๆ ที่สามารถหาทานได้ง่ายและรวดเร็วนั้น โดยส่วนมากจะมีส่วนประกอบของแป้งและไขมันในปริมาณสูงทำให้เกิดเป็นโรคอ้วนได้ง่าย ดังนั้นจึงควรทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์แทนการทานอาหารฟาสต์ฟู้ดจะดีที่สุด

2.3 การเลี้ยงดู ครอบครัวใดที่นิยมทานอาหารที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนโดยให้ทานแต่ในสิ่งที่ชอบแบบตามใจ โดยไม่นึกถึงหลักโภชนาการที่จะได้รับเข้าไปก็อาจจะทำให้เกิดการเป็นโรคอ้วนได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็ก ควรมีการเลี้ยงดู ให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ และไม่ตามใจเด็กจนมากเกินไป

2.4 จิตใจและอารมณ์ หลายคนใช้การกินตอบสนองอารมณ์ด้านต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น เสียใจก็กิน ดีใจก็กิน บางคนใช้วิธีการกินอาหารแก้อาการโรคซึมเศร้าซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง กรณีแบบนี้อาจจะต้องใช้วิธีการทางจิตเวช เข้ามาช่วยบำบัดด้วย

2.5 ความเครียดหากมีความเครียดเกิดขึ้น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า คอร์ติซอล ออกมาซึ่งจะมีผลไปทำให้ไขมันจะถูกเก็บสะสมไว้มากขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะในส่วนพุงหน้าท้อง สำหรับผู้หญิงจะมีความอยากอาหารมากขึ้นเมื่อเกิดภาวะความเครียด ดังนั้นความเครียดจึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันเพิ่มในร่างกาย

2.6 นอนน้อย หรือนอนไม่พอ ผลทางการวิจัยพบว่าการนอนน้อยทำให้ระดับฮอร์โมนที่ควบคุมความอยากอาหารทำงานแปรปรวน ทำให้เกิดความอยากในการกินอาหารเพิ่มขึ้นจากปกติเช่น ผู้หญิงที่นอนเพียงวันละ 5 – 6 ชั่วโมงจะอ้วนได้ง่ายกว่าผู้หญิงที่นอนวันละ 7 ชั่วโมง ขึ้นไป และการนอนไม่เพียงพอ ยังจะมีผลกระทบต่ออัตราการเผาผลาญพลังงาน และลดระดับการใช้พลังงานในร่างกายลงอีกด้วย

2.7 นอนดึก หรือผู้มีอาชีพทำงานตอนกลางคืน เวลาในการนอนพักผ่อนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการทำให้เกิดโรคอ้วนได้ แม้จะนอนได้ถึง 8 ชั่วโมงก็ตาม เนื่องจาก มีผลการวิจัยออกมาว่า การนอนที่ผิดเวลาจากปกติ หรือ มีคุณภาพการนอนที่ไม่ดี จะไปลดความไวของฮอร์โมนอินซูลินลงซึ่งนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วนได้รวมทั้งทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง  มีไขมันในร่างกายและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง มากกว่าผู้ที่นอนแต่หัวค่ำปกติผู้นอนดึกส่วนมากมักจะขาดการออกกำลังกาย กินอาหารดึกๆ มีการสูบบุหรี่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความอ้วนและโรคเบาหวานนั้นเอง

https://www.youtube.com/watch?v=aLFcbGF7ld8&t=16s

หากนอนไม่พอจะเกิดอะไรขึ้น

การนอนไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้เสียสุขภาพ รู้สึกง่วง ทำให้นาฬิกาชีวิตเสียสมดุล หรือมีอาการอ่อนเพลียแล้ว ยังมีข้อเสียอีกมากมายเช่น

  • ทำให้ระดับฮอร์โมนที่ทำงานร่วมกับระบบเผาผลาญ การควบคุมความอยากอาหาร การตอบสมองต่อความเครียด เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
  • มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน

เพิ่มความเสี่ยงสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีแนวโน้มทำให้เกิด โรคหัวใจวายในอนาคตได้

  • มีความเสี่ยงการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ สโตรกความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นผิดปกติ
  • ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงและอาจทำให้ติดเชื้อหวัดได้ง่ายขึ้น
  • อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะอายุสั้นลง มากถึง 15 เปอร์เซ็นต์

ควรนอนหลับพักผ่อนให้มากเพียงพอและอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ควรนอนให้ได้คืนละ 8 ชั่วโมง

และสำหรับคนที่นอนดึกเป็นประจำแล้วไปชดเชยโดยการตื่นสายให้มากขึ้น ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง ควรค่อยๆปรับเวลาการนอนให้เร็วขึ้น โดยมีเป้าหมายในการเข้านอนไม่ควรเกิน 22.00 น. เพราะโกร๊ธฮอร์โมนซึ่งทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกายจะเริ่มหลั่งมากเวลา 22.00 น. และหลั่งสูงสุดประมาณ 24.00 น. เมื่อตื่นขึ้นจะรู้สึกว่ามีความสดชื่น แจ่มใส มีเรี่ยวแรงในการเริ่มกิจวัตรประจำวัน ทำให้สุขภาพโดยรวมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นนั้นเอง

เหตุผลที่ต้องลดความอ้วน

เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคอ้วน มักจะมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงต่างๆ  มากมายดังนี้

1. โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดตีบ โดยส่วนมากคนอ้วนจะมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิต หรือโรคไขมันในเลือดสูง มากกว่าคนปกติ โดยโรคเหล่านี้ก็จะไปเป็นปัจจัยเสี่ยงของ โรคหัวใจและ โรคหลอดเลือดอุดตันได้ทางป้องกันก็คือต้องลดน้ำหนักลงอย่างน้อยให้ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันโรคดังกล่าวได้

2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เกิดจากการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน โรคยอดฮิตอีกโรคสำหรับคนอ้วนก็คือ โรคเบาหวานนั้นเองโรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจาก ภาวะที่ตับอ่อนยังสามารถสร้างอินซูลินได้ปกติ แต่อินซูลินทำงานได้ไม่เต็มร้อยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น โดยอาจจะมีโรคร้ายแรงอื่นๆตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดตีบเป็นต้น  ซึ่งการควบคุมน้ำหนักและหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ถึง 58 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวนอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงโรคแทรกซ้อนที่มากับโรคเบาหวานได้ด้วย เช่น เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต และเบาหวานลงเท้า จากปลายประสาทเสื่อม

3. โรคมะเร็ง โดยผู้ชายที่อ้วนจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งสำไส้ใหญ่และต่อมลูกหมากส่วนผู้หญิงที่อ้วนก็จะมีความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ถุงน้ำดี รังไข่ เต้านม และลำไส้ใหญ่

4. โรคหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมักจะมีปัญหาเรื่องการหยุดหายใจชั่วคราวขณะนอนหลับ มีอาการนอนกรน ซึ่งมีผลกระบทตามมาคือ ทำให้ง่วงนอนในเวลากลางวัน ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะลดลงตามไปด้วย

5. โรคไขข้อเสื่อม คนอ้วนจะมีน้ำหนักตัวที่มากพร้อมกับขนาดร่างกายที่ใหญ่กว่าปกติ ทำให้มีแรงกดทับให้กับส่วนล่างของร่างกาย เช่น ข้อต่อหัวเข่า สะโพก ขาและเท้าต้องรองรับน้ำหนักมากขึ้น ทำให้กระดูกอ่อนของข้อต่อเหล่านั้นเสื่อมเร็ว  จึงมักมีอาการปวดข้อปวดเข่ามาก บ่อยๆ

6. โรคเกาต์ โรคนี้ก็จะพบได้บ่อยๆสำหรับคนที่เป็นโรคอ้วน โรคเกาต์ เกิดจากการที่กรดยูริกสะสมตามข้อต่อปริมาณมาก ส่งผลให้ปวดตามข้อต่างๆ ของร่างกาย 

7. โรคนิ่วในถุงน้ำดี การลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วนเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรทำอย่างเหมาะสมเนื่องจาก การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆ อาจจะก่อให้เกิดโรคนี้นิ่วในถุงน้ำดี ได้ ดังนั้นการลดน้ำหนักอย่างช้าๆและเหมาะสม เช่น สัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

อ้วน เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง

โรคอ้วนลงพุงสามารถส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมได้ มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงในอนาคตหลายประการ ได้แก่
– โรคอ้วนเพิ่มความเครียด และเกิดภาวะซึมเศร้าได้
– น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้
– ผู้ที่มีไขมันสะสมเป็นเวลานานเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
– โรคอ้วนเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง และทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดผิดปกติ
– โรคอ้วนเพิ่มโอกาสเสี่ยงและอาจพัฒนาไปสู่โรคไขมันพอกตับ

แม้โรคอ้วนจะไม่ได้เป็นโรคที่มีความร้ายแรงมากมาย แต่หากมองถึงโรคแทรกซ้อนต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมา ก็นับว่ามีความน่ากลัวไม่น้อยเลยทีเดียว หากตัวเราเองนั้นไม่อยากเผชิญกับโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆเหล่านี้ ก็ควรจะรู้จักวิธีในการป้องกันโรคอ้วน ซึ่งวิธีป้องกันโรคอ้วนที่ดีที่สุดและสามารถทำได้ง่ายๆด้วยตนเองก็คือ การทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม พร้อมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้หลีกเลี่ยงและลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนได้นั้นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Body mass index. http://en.wikipedia.org/wiki/Body_mass_index [2014,March6].

Jitnarin, N.et al. (2009). Risk factors for overweight and obesity among Thai adults:

results of the National Thai Food Consumption Survey. Nutrients. 2, 60-74.

ดัชนีมวลกาย http://th.wikipedia.org/wiki/ดัชนีมวลกาย.

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

มะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายได้ไหม มีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน

0
โรคมะเร็งระยะแพร่กระจายมีอาการอย่างไร (Distant Metastasis)
เมื่อมะเร็งมีการแพร่กระจายเข้าไปในหลอดเลือดและระบบน้ำเหลือง จะส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติหรือทำงานล้มเหลวของอวัยวะ

มะเร็งระยะสุดท้าย

มะเร็งระยะสุดท้าย ( Distant Metastasis ) คือ ระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายเข้าไปในหลอดเลือดและระบบน้ำเหลือง เพื่อแย่งสารอาหารที่จำเป็นในร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับสารอาหารได้เพียงพอและมีการทำงานผิดปกติเป็นอย่างมาก หรือเรียกอีกอย่างว่า “ระยะแพร่กระจาย” ซึ่งมีแนวโน้มที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตได้

อาการของมะเร็งระยะสุดท้าย

อาการของมะเร็งระยะสุดท้าย คือ มีการกระจายตัวของเชื้อมะเร็งไปทั่วร่างกายทั้งอวัยวะใกล้เคียงกับจุดเกิดโรค และอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น หากเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับมดลูก มะเร็งระยะแพร่กระจาย ที่มะเร็งจะมีการลุกลามไป คือ ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณอุ้งเชิงกราน ส่วนต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไปและจะมีการแพร่กระจายออกไปทางสายน้ำเหลืองคือต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง และต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้าอาจจะส่งผลให้เกิดมะเร็งชนิดเดียวกันได้ตลอดทั่วตัวของผู้ป่วย

การเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย หรือระยะแพร่กระจายนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนกลัวกันมากและไม่อยากให้ถึงอาการระยะนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้ป่วยเองหรือแพทย์ผู้ให้การรักษาก็คือ มะเร็งระยะแพร่กระจายซึ่งเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายหรือมะเร็งระยะที่ 4 นั้นเอง หากถามว่าทำไมถึงต้องกลัวมะเร็งในระยะแพร่กระจายขนาดนี้ด้วย มะเร็งในระยะแพร่กระจายคืออะไรและอันตรายแค่ไหน มีคำตอบและคำอธิบายได้ดังต่อไปนี้

มะเร็งระยะแพร่กระจาย

มะเร็งระยะแพร่กระจาย คือ การแพร่กระจายของมะเร็วไปในอวัยวะใดก็ตามที่เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายออกไปส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติหรือทำงานล้มเหลวของอวัยวะ นั้นทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสดงออกผิดปกติตามอวัยวะที่มะเร็งระยะแพร่กระจายลุกลาม เช่น หากเกิดกับปอด ก็จะมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจติดขัด เป็นต้น หรือถ้าเกิดกับกระดูกก็จะมีอาการปวดตามตัว ตามกระดูกได้ซึ่งแพทย์สามารถที่จะตรวจพบได้ แต่ก็อาจมีบางอวัยวะที่ไม่แสดงอาการป่วยออกมาและไม่มีวิธีตรวจพบ บางครั้งก็ตรวจพบได้ต่อเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว โดยอวัยวะที่โรคมะเร็งแพร่กระจายไปได้สูงและเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตที่พบได้บ่อยคือ อวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงสูง และมีระบบน้ำเหลืองมากมาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด ตับ กระดูก ไขกระดูกต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกล และสมอง

ชนิดของมะเร็ง
อวัยวะที่มักมีการแพร่กระจาย
มะเร็งสมอง พบการแพร่กระจายนอกสมองน้อย อาจพบในไขสันหลังได้
มะเร็งเต้านม กระดูก ตับ ปอด สมอง ลูกตา ผิวหนังบริเวณหน้าอก
มะเร็งหลอดอาหาร อวัยวะใกล้เคียง ปอด ตับ ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง
มะเร็งกระเพาะอาหาร กระจายทั่วช่องท้อง ตับ ปอด พบน้อยในสมองและกระดูก
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตับ กระดูก ปอด พบน้อยในสมอง
มะเร็งลำไส้ตรง อวัยวะในอุ้งเชิงกราน ปอด สมอง กระดูก
มะเร็งตับ มักเจริญเติบโตอยู่ในเนื้อตับเอง
มะเร็งปอด ต่อมหมวกไต ตับ กระดูก สมอง ปอดข้างเดียวกันหรือ
อีกด้าน เยื่อบุหัวใจ
มะเร็งตับอ่อน กระจายทั่วช่องท้อง ตับ ปอด สมอง
มะเร็งเม็ดสีของผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง สมอง ปอด ตับ กระดูก
มะเร็งบริเวณปากและลำคอ ปอด
มะเร็งเม็ดเลือดขาว มีการกระจายทั่วร่างกายอยู่แล้ว อาจพบในไขกระดูก ผิวหนัง
มะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิด
Multiple myeloma
กระดูก
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มักอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ม้าม และไขกระดูก อาจพบการ
แพร่กระจายไปยังสมอง และกระเพาะอาหาร บางกรณีอาจ
พบการแพร่กระจายตามน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลังได้ เรียกว่า
Lymphomatous menignitis
มะเร็งรังไข่ กระจายทั่วช่องท้อง ปอด ตับ (พบน้อย) สมองและผิวหนัง
มะเร็งต่อมลูกหมาก กระดูก สมอง
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อวัยวะในอุ้งเชิงกราน ปอด ตับ กระดูก

มะเร็งระยะสุดท้าย คือ ระยะอาการป่วยของโรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายเข้าไปในหลอดเลือดและระบบน้ำเหลืองแล้วเรียกอีกอย่างว่า “ระยะแพร่กระจาย”

โรคมะเร็งระยะสุดท้ายรักษาหายไหม ?

หากผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจายแล้วเท่ากับว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคมะเร็งในระยะสุดท้าย เป็นระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยนั้นจะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเท่าไหร่ก็ตามยกเว้นมะเร็งบางชนิด ซึ่งมีโอกาสน้อยมากๆที่อาจรักษาให้หาย เช่น มะเร็งอัณฑะบางชนิด

ในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จะให้การรักษาบรรเทาประทานอาการด้วยวิธีผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด และหากโรคมะเร็งที่เป็นตอบสนองได้ดีต่อการรักษา อาจจะช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้อย่างมี คุณภาพประมาณ 1-2 ปี แต่สำหรับผู้ป่วยที่สุขภาพไม่แข็งแรงจะมีอัตราการอยู่รอดลดลงอยู่ที่ประมาณ 3 – 9 เดือนเท่านั้น

การรักษาโรคมะเร็งระยะสุดท้าย หรือระยะแพร่กระจาย

สำหรับการรักษามะเร็งระยะสุดท้ายทางแพทย์ผู้ให้การรักษาจะใช้วิธีการรักษาแบบประคับประคอง หรือบรรเทาอาการผู้ป่วยเท่านั้น  จะไม่ใช่วิธีการรักษาแบบให้หายขาดเพราะไม่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้แล้ว โดยในการรักษาจะมีจุดประสงค์หลักที่ว่าจะทำยังไงให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้มากที่สุด ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการรักษาผู้ป่วย ก็จะใช้วิธีเหมือนกับมะเร็งใยระยะอื่นๆ เช่น วิธีการผ่าตัด รังสีรักษา ยาเคมีบำบัด ฮอร์โมน ยารักษาตรงเป้า และการรักษาประคับประคองตามอาการ  ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาตาม สุขภาพของผู้ป่วย อายุ อาการ และชนิดของเซลล์มะเร็งเป็นหลัก ว่าจะเลือกวิธีการใด ที่จะเหมาะสมต่อผู้ป่วยรายนั้นๆมากที่สุด

มะเร็งระยะสุดท้ายอยู่ได้นานแค่ไหน

วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันมะเร็งระยะสุดท้าย หรือระยะแพร่กระจาย คือการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและได้รับรักษาอย่างทันเวลาก่อนที่โรคมะเร็งจะมีการแพร่กระจายของโรคออกไป ดังนั้นหากพบความผิดปกติอะไรของร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที และสำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะแรกๆ ต้องปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรหลีกเลียงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นตัวกระตุ้นของมะเร็ง เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ควรที่จะป้องกันไว้ก่อนที่จะเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เพราะหากเป็นแล้วคุณเองก็ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้อีกเลย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์. ผลกระทบจากการรักษาโรคมะเร็ง. เชียงใหม่: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557

Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences.

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). “Epigenetic field defects in progression to cancer”. World Journal of Gastrointestinal Oncology.

มะเร็งในเด็ก ( Pediatric Cancer )

0
โรคมะเร็งในเด็ก (Pediatric Cancer)
โรคมะเร็งในเด็ก คือโรคมะเร็งที่จะเกิดกับเด็กแรกเกิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา พบมากสุดคือมะเร็งเม็ดเลือดขาว
โรคมะเร็งในเด็ก (Pediatric Cancer)
โรคมะเร็งในเด็ก คือโรคมะเร็งที่จะเกิดกับเด็กแรกเกิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา พบมากสุดคือมะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งในเด็ก

มะเร็งในเด็ก ( Pediatric Cancer ) ต้องรีบสังเกตอาการเพราะมะเร็งไม่ได้จำกัดเฉพาะว่าต้องเป็นในผู้ใหญ่เท่านั้น  แต่ยังสามารถเป็นได้กับวัยเด็กด้วยโดย โรคมะเร็งในเด็ก คือโรคมะเร็งที่จะเกิดกับเด็กแรกเกิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา จนถึงเด็กที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีซึ่งโรคมะเร็งในเด็กนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกช่วงอายุ ทั้งเพศชายและเพศหญิงในอัตราส่วนปริมาณที่ใกล้เคียงกัน

มะเร็งในเด็ก จะมีอัตราเกิดโรคได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก คิดเป็นประมาณ 1ใน 10 ของมะเร็งในผู้ใหญ่  มะเร็งในเด็กมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีธรรมชาติของโรค อาการ ระยะโรค และวิธีรักษาแตกต่างกันออกไป   มีทั้งมะเร็งชนิดเดียวกับผู้ใหญ่และชนิดที่ต่างจากผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากชนิดของมะเร็งเกือบทั้งหมดจะเป็นชนิดที่แตกต่างจากในผู้ใหญ่

มะเร็งในเด็ก ( Pediatric Cancer )ที่พบได้มากที่สุดคือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ในปริมาณร้อยละ 30 รองลงมา ก็จะเป็นโรคมะเร็งสมอง โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคมะเร็งต่อมหมวกไต และอื่นๆ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งในเด็ก

ในปัจจุบันการหาสาเหตุของการเกิดมะเร็งในเด็กยังไม่ทราบชัดแน่นอน แต่เชื่อกันว่าน่าจะเกิดมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้ ความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดถ่ายทอดได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสูงสุดของการเกิดมะเร็งในเด็ก เช่น ในมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งจอตา เป็นต้น

ความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต และการตายตามธรรมชาติของเซลล์ปกติ การได้รับรังสีบางชนิดปริมาณสูงขณะอยู่ในครรภ์ เช่นรังสีเอกซ์ ( รังสีในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค ) เป็นต้น อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งในเด็กได้ การบริโภคสารก่อมะเร็งอย่างต่อเนื่องของมารดาในขณะตั้งครรภ์ เกิดจากการทานอาหารและยา เช่นการทานผักและผลไม้ที่มีสารปนเปื้อนจากยาฆ่าแมลง
การติดเชื้อของมารดาในขณะตั้งครรภ์ เช่น การติดเชื้อไวรัสเช่น เอชไอวี ( HIV ) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดได้ การขาดสารบางชนิดของมารดาขณะที่ตั้งครรภ์ เช่น วิตามินบี 9

การวินิจฉัยโรงมะเร็งในเด็ก

การวินิจฉัยมะเร็งในเด็กมีขั้นตอนและวิธีการ เช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ เช่น การสอบถามประวัติอาการป่วย การตรวจร่างกาย หรือการตรวจเฉพาะด้านตามคำสั่งของแพทย์ เช่น การตรวจเลือดซีบีซี เป็นต้น แต่สำหรับวิธีที่ได้ผลดีและแน่นอนที่สุด คือ การเจาะ ดูด หรือการตัดชิ้นเนื้อ ไปตรวจสอบทางเซลล์วิทยาหรือพยาธิวิทยา ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการตรวจโรคมะเร็งชนิดที่พบในผู้ใหญ่

อาการของโรคมะเร็งในเด็ก

โดยปกติมักจะไม่มีอาการเฉพาะ หรือ สามารถระบุอาการต่างๆของตนเองได้ชัดเจนเหมือนผู้ใหญ่ ต้องอาศัยความเอาใจใส่ และการสังเกต แต่ก็มีอาการที่ถูกพบได้บ่อย ๆ  คือ

  • คลำพบก้อนเนื้อผิดปกติในร่างกาย
  • มีอาการไข้สูงบ่อยๆ โดยจะเป็นๆหายๆ
  • มีจุด จ้ำ เป็นห้อเลือดง่าย
  • มีจุดเลือดออกแดงๆตามลำตัว แขน หรือขา คล้ายอาการของคนเป็นไข้เลือดออก
  • อ่อนเพลียง่าย

ระยะของโรคมะเร็งในเด็ก

ระยะของมะเร็งในเด็กแต่ละชนิด มีรายละเอียดแตกต่างกัน โดยทั่วไปโรคมะเร็งในเด็กสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ ดังนี้

มะเร็งในเด็กระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก ยังจำกัดอยู่เฉพาะที่ หรือในอวัยวะที่เกิดโรค ยังไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียง
มะเร็งในเด็กระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มลุกลามมากขึ้น แต่ยังอยู่ในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต้นกำเนิดของโรค
มะเร็งในเด็กระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งโตมากขึ้นอีก จะลุกลามเข้าเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียงมากขึ้นหรือลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้กับอวัยวะที่เกิดโรคมะเร็ง
มะเร็งในเด็กระยะที่ 4 ก้อนเนื้อมะเร็งลุกลามรุนแรง แพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองซึ่งอยู่ไกลจากอวัยวะที่เกิดโรค และยังแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย อวัยวะที่พบได้บ่อย เช่น ไขกระดูก ปอด กระดูก ตับ และสมอง

การรักษามะเร็งในเด็ก

มะเร็งในเด็กส่วนใหญ่มีความรุนแรงของโรคสูง แต่ก็มีโอกาสรักษาหายได้ โดยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ระยะของโรค ชนิดของเซลล์มะเร็ง ธรรมชาติของโรคมะเร็ง ความสามารถในการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อมะเร็งออก การตอบสนองต่อเคมีบำบัด อายุ และสุขภาพของเด็ก

หลักในการรักษามะเร็งในเด็กจะใช้วิธีเดียวกับโรคมะเร็งในผู้ใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันสามารถทำได้ มี 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การผ่าตัด  การใช้เคมีบำบัด และวิธีรังสีรักษา โดยในวิธีรังสีรักษา จะใช้ก็ต่อเมื่อมะเร็งที่พบมีความรุนแรงโรคสูง เมื่อโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ โรคเกิดการแพร่กระจาย ไม่สามารถผ่าตัดได้ และโรคมีอาการดื้อต่อเคมีบำบัดนั้นเอง

วิธีป้องกันโรคมะเร็งในเด็ก

การป้องกันมะเร็งในเด็กเป็นเรื่องยาก ปัจจุบันยังไม่มีวิธีไหนที่สามารถป้องกันโรคมะเร็งในเด็กได้อีกทั้งการตรวจคัดกรองโรงมะเร็งในเด็กก็ยังไม่มี ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดที่ทำได้คือ ให้เด็กหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ หรือสารก่อมะเร็ง จากอาหาร น้ำดื่ม  และสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวและโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น  อาหารสำเร็จรูป บุหรี่ และเหล้า ก็จะดีที่สุด

สำหรับวัยเด็กเป็นวัยที่มีแต่ความสนุก สดใส หากต้องมาพบเจอพวกเขาเหล่านั้น ในรูปแบบของการเป็นมะเร็งชนิดต่างๆก็คงรู้สึกแย่ไม่น้อยเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีการป้องกันหรือการตรวจคัดกรองมะเร็งในเด็ก แต่สิ่งที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะสามารถทำได้ก็คือ ดูแลเขาให้ดีที่สุดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ  ต้องคอยสังเกตเด็กหากพบความผิดปกติอะไรให้รีบไปปรึกษาแพทย์โดยทันที

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). Epigenetic field defects in progression to cancer. World Journal of Gastrointestinal Oncology.

มะเร็งถุงน้ำดี ( Gallbladder Cancer )

0
โรคมะเร็งถุงน้ำดี (Gallbladder Cancer)
เป็นมะเร็งที่ถุงน้ำดีจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก
โรคมะเร็งถุงน้ำดี (Gallbladder Cancer)
เป็นมะเร็งที่ถุงน้ำดีจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก

มะเร็งถุงน้ำดี

มะเร็งถุงน้ำดี ( Gallbladder Cancer ) เป็น มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ถุงน้ำดีใต้ตับ อยู่บริเวณชายโครงด้านขวา ซึ่งถุงน้ำดีมีหน้าที่ผลิตสารที่ช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน เป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่ตรวจพบและวินิจฉัยได้ยากมาก โดยทางแพทย์ผู้ตรวจจะใช้วิธีต่างๆในการตรวจ เช่น การตรวจร่างกาย การสอบถามประวัติอาการ การใช้วิธีการอัลตราซาวด์ หรือ ใช้การเอกซเรย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แต่วิธีที่ดีและให้ผลได้ชัดเจนที่สุดคือ การผ่าตัดถุงน้ำดีแล้วนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา

ถุงน้ำดี คือ หนึ่งในอวัยวะร่างกายของมนุษย์เราทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โดยถุงน้ำดีจะกักเก็บน้ำดีที่ผลิตออกมาจากตับและทำให้มีความเข้มข้นขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการช่วยย่อยอาหาร ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะในช่องท้องส่วนบนด้านขวา ซึ่งแน่นอนว่าป็นอวัยวะหนึ่งที่สามารถเกิดเป็นโรคมะเร็งถุงน้ำดีได้เช่นกัน

ส่วนมากเกือบทั้งหมดจะเกิดจากเซลล์เยื่อเมือกบุภายในถุงน้ำดี เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ค่อนข้างน้อย โดยจะพบมากในผู้สูงอายุ ( อายุเฉลี่ย 50-60 ปี ขึ้นไป ) ส่วนในผู้ป่วยที่เป็นวัยเด็กก็อาจจะพบได้บ้างแต่น้อยมาก และมักจะเกิดในผู้หญิงมากว่าผู้ชายถึง 2 เท่าตัว โรคมะเร็งถุงน้ำดีมีหลายชนิดแต่ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดที่มีความรุนแรงของโรคปานกลาง

การมีเนื้องอกร้ายเกิดขึ้นภายในเนื้อเยื่อถุงน้ำดีซึ่งในถุงน้ำดีจะ ประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิดเช่น เซลล์เยื่อเมือกบุภายในถุงน้ำดี กล้ามเนื้อ และเส้นเลือด โดยสามารถเกิดเป็นโรคมะเร็งได้ทุกชนิดของเซลล์

สาเหตุของมะเร็งถุงน้ำดี

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งในถุงน้ำดี ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่จากการศึกษาก็เชื่อกันว่าโรคนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยเสี่ยงหลายๆอย่างร่วมกัน เช่น
• ความอ้วน หรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐานปกติ
• เป็นนิ่วในถุงน้ำดี
• เกิดการอักเสบเรื้อรังจากสาเหตุต่างๆของถุงน้ำดี
• การสูบบุหรี่
• ความผิดปกติจากพันธุกรรมบางชนิดที่ถ่ายทอดได้ เนื่องจากพบว่าผู้ที่มีคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็งถุงน้ำดี
• มีการเกิดโรคที่สูงกว่าคนทั่วไปปกติที่ในครอบครัวไม่เคยมีประวัติการป่วยเป็นโรคนี้มาก่อน

อาการของมะเร็งถุงน้ำดี

โดยทั่วไปมะเร็งถุงน้ำดี จะไม่มีอาการเฉพาะตัวของโรคเอง แต่จะมีอาการที่แสดงออกมาคล้ายกับอาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือ การอักเสบของถุงน้ำดี ซึ่งจะมีอาการลักษณะ ดังต่อไปนี้

  1. จะรู้สึกปวดท้องด้านขวาบน ซึ่งเป็นตำแหน่งของถุงน้ำดี โดยอาการปวดจะเป็นๆ หายๆ สลับกันไป
  2. มีอาการท้องอืด แน่นเฟ้อ
  3. มีอาการบวมบริเวณท้องด้านขวาบน หรือ สามารถคลำเจอถุงน้ำดีที่มีขนาดโตกว่าปกติได้ที่หน้าท้อง

ระยะของมะเร็งถุงน้ำดี

โรคมะเร็งถุงน้ำดีสามารถแบ่งระยะของโรคออกได้ เป็น 4 ตามอาการของโรคเหมือนมะเร็งชนิดอื่นๆดังนี้

ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มแรกของโรค ซึ่งก้อนมะเร็งยังไม่ลุกลามเกินผนังชั้นกล้ามเนื้อของถุงน้ำดี

ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งจะเริ่มลุกลามจนเข้าไปถึงชั้นเยื่อหุ้มถุงน้ำดี แต่ก็ยังไม่ไม่ทะลุเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง

ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งลุกลามเข้าไปถึงเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณที่ใกล้เคียงถุงน้ำดี

ระยะที่ 4 ก้อนมะเร็งจะแพร่กระจายตัวเข้าไปสู่ช่องท้อง และอวัยวะต่างๆที่สำคัญ หรือลุกลามเข้าไปถึงจนเข้าเส้นเลือดใหญ่ ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป เช่น ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง หรือเข้ากระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆที่อยู่ไกลออกไป โดยอวัยวะที่พบบ่อยๆคือในปอดและตับ

การรักษามะเร็งถุงน้ำดี

การรักษาทำได้โดยวิธีการผ่าตัด  โดยการผ่าตัดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปเท่านั้น การผ่าตัดถุงน้ำดีในวงกว้าง การผ่าตัดอวัยวะภายในต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนวิธีอื่นๆ เช่นการให้เคมีบำบัดหรือการใช้รังสีรักษา เป็นขั้นตอนที่อยู่ในการศึกษาของแพทย์ เพราะเซลล์มะเร็งที่เกิดที่ถุงน้ำดีมักจะมีอาการดื้อต่อยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งถุงน้ำดีมีโอกาสจะรักษาให้หายได้เป็นปกติ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ความสามารถในการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก และรวมไปถึงอายุและสุขภาพของผู้ป่วย

การป้องกันมะเร็งถุงน้ำดี

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีในการป้องกันโรคมะเร็งถุงน้ำดี รวมถึงยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดนี้ด้วย เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้น้อยเหมือนกับโรคมะเร็งในท่อน้ำดีนั้นเอง

หากลองดูจากข้อมูลต่างๆ จะพบว่ามะเร็งถุงน้ำดีมีความคล้ายคลึงกันเกือบทุกอย่างกับโรคมะเร็งท่อน้ำดี แต่จะแตกต่างกันก็ที่อวัยวะที่เป็นเท่านั้น และเป็นมะเร็งชนิดที่ตรวจพบได้ยาก ดังนั้นหากรู้สึกว่ามีความผิดปกติในร่างกายอะไรก็แล้วแต่ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจจะดีที่สุด เพราะหากรู้ตั้งแต่อาการระยะแรก ก็จะสามารถรักษาได้ง่ายกว่าการที่อาการลุกลามไปมากแล้วนั้นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). “Epigenetic field defects in progression to cancer”. World Journal of Gastrointestinal Oncology.

Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences.

มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma หรือ CCA )

0
โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma, CCA) คืออะไร
มะเร็งท่อน้ำดี เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับเซลล์เยื่อบุผนังของท่อน้ำดีซึ่งเป็นอวัยวะที่นำน้ำดีจากตับมายังลำไส้เล็ก
โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma, CCA) คืออะไร
มะเร็งท่อน้ำดี เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับเซลล์เยื่อบุผนังของท่อน้ำดีซึ่งเป็นอวัยวะที่นำน้ำดีจากตับมายังลำไส้เล็ก

มะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma, CCA ) คือ ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังของท่อทางเดินน้ำดี ท่อน้ำดีภายในตับ และท่อน้ำดีภายนอกตับ ส่วนมากพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ในประเทศไทยโรคนี้ทางสาธารณสุขเชื่อว่าสาเหตุเกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบๆ ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับ

มะเร็งของท่อน้ำดีที่ตับ ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีการแสดงอาการ ส่วนใหญ่จะตรวจพบเมื่ออยู่ในระยะที่มีการพัฒนาของมะเร็งเต็มขั้นแล้ว การตรวจโรคมะเร็งท่อน้ำดีทำได้ค่อนข้างยาก ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อออกไปตรวจได้เนื่องจากเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกติดกับเส้นเลือด ใหญ่และลำไส้

ท่อน้ำดีเป็นอวัยวะในทางเดินระบบอาหารอย่างหนึ่งในร่างกายของมนุษย์เรา มีลักษณะเป็นท่อขนาดใหญ่อยู่บริเวณภายนอกตับ ท่อน้ำดีเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างถุงน้ำดีและสำไส้เล็ก มีหน้าที่นำน้ำดีจากถุงน้ำดีไปยังลำไส้เล็กเพื่อช่วยในการย่อยอาหารซึ่งท่อน้ำดีก็เป็นอวัยวะอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถเกิด มะเร็งท่อน้ำดีได้เหมือนกับอวัยวะอื่นๆในร่างกาย ลองมาดูกันว่าโรคมะเร็งท่อน้ำดีนี้มีข้อมูลอย่างไร ดังต่อไปนี้

การที่ท่อน้ำดีมีเชื้อของมะเร็งเกิดขึ้น โดยปกติในท่อน้ำดีจะประกอบด้วยเซลล์หลากหลายชนิด  เช่น เยื่อเมือกบุภายในท่อน้ำดีเส้นเลือด กล้ามเนื้อ และเซลล์ต่อมน้ำเหลืองซึ่งเซลล์ทุกชนิดในท่อน้ำดีสามารถเกิดเป็นโรคมะเร็งได้ทั้งหมด แต่โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับเยื่อเมือกบุภายในท่อน้ำดี โรคมะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ไม่มากหรือบ่อยนัก สามารถเป็นได้ทั้งเพศชายหรือเพศหญิงโรคมะเร็งในท่อน้ำดีมีด้วยกันหลายชนิด แต่ในส่วนมากที่พบจะเป็นชนิด โคแลงจิโอคาร์ซิโนมา หรือ ซีซีเอ ( CCA : Cholangiocarcinoma ) ซึ่งจะเป็นชนิดเดียวกับอะดีโนคาร์ซิโนมา เป็นเซลล์มะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคระดับปานกลาง

การตรวจโรคมะเร็งท่อน้ำดีทำได้ค่อนข้างยาก ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อออกไปตรวจได้ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกติดกับเส้นเลือดใหญ่และลำไส้ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ดังนั้นแพทย์จะใช้วิธีการวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีได้จาก การสอบถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย หรือ การตรวจภาพท่อน้ำดีด้วยการอัลตราซาวด์หรือการเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์

ชนิดของมะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดีแบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งเริ่มต้นเกิดขึ้นที่ใด

  • มะเร็งเริ่มต้นขึ้นที่ส่วนของท่อน้ำดีที่อยู่ภายในตับ หรือเรียกว่า intrahepatic bile duct cancer (มะเร็งท่อน้ำดีภายในตับ) เกิดจากเซลล์ของเยื่อบุท่อน้ำดีในตับและขยายออกสู่เนื้อตับข้างๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายมะเร็งตับ จึงเป็นโรคที่มักถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นมะเร็งตับ
  • มะเร็งเริ่มต้นขึ้นที่ส่วนของท่อน้ำดีนอกตับ หรือเรียกว่า extrahepatic bile duct cancer (มะเร็งท่อน้ำดีภายนอกตับ) เกิดที่ท่อน้ำดีใหญ่ตั้งแต่ขั้วตับจนถึงท่อน้ำดีร่วมส่วนปลาย มะเร็งชนิดนี้ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง   

สาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดี

ในทางการแพทย์ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า โรคมะเร็งในท่อน้ำดีเกิดจากสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงอะไร แต่ก็มีข้อมูลบางส่วนพบว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุการเป็นนิ่วในท่อน้ำดีก็เป็นได้

อาการของมะเร็งท่อน้ำดี

อาการของมะเร็งท่อน้ำดีจะมีลักษณะอาการที่แสดงออกมาคล้ายกับการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดี ซึ่งจะมีอาการที่พบได้บ่อยๆจากโรค ดังนี้ มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดบริเวณใต้ชายโครงฝั่งขวา ( บริเวณตำแหน่งของท่อน้ำดี ) แบบเรื้อรัง มีอาการตัวและตาเหลือง คันทั่วตัว ปัสสาวะมีสีเข้ม และอุจจาระมีสีซีดซึ่งเป็นสาเหตุจาก การอุดตันของท่อน้ำดี โรคมะเร็งท่อน้ำดี เกิดขึ้นที่บริเวณท่อน้ำดีซึ่งทำหน้าที่ในการระบายของเสียซึ่งออกจากตับไปสู่ลำไส้เล็กตอนต้น ( Duodenum ) องค์ประกอบของท่อน้ำดีจะประกอบด้วยท่อน้ำดีเล็ก ( Ductules ) และถุงน้ำดี ( Gallbladder ) ท่อน้ำดีที่อยู่ภายในตับเรียกว่า Intrahepatic Bile Duct ซึ่งเป็นท่อที่มีส่วนที่ยู่ภายในตับและเชื่อมต่อกับท่อน้ำดีใหญ่ที่ตับ ( Common Hepatic Duct ) บริเวณท่อน้ำดีที่ออกจากตับ ( Hilum ) ส่วนท่อน้ำดีรวม ( Common Bile Duct ) คือ บริเวณที่ถุงน้ำดีเชื่อมต่อกับท่อขนาดเล็กที่เรียกว่า Cystic Duct

ระยะของมะเร็งท่อน้ำดี

เราสามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้เป็น 4 ระยะตามอาการที่พบดังนี้

ระยะที่ 1 เชื้อก้อนมะเร็งเกิดขึ้นในท่อน้ำดี ยังไม่ลุกลามไปอวัยวะใกล้เคียงอื่นๆ

ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งเริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงท่อน้ำดี

ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งลุกลามเข้าไปถึงถุงน้ำดี และอวัยวะข้างเคียง เส้นเลือดแดง หรือต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงท่อน้ำดี

ระยะที่ 4 อาการมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย โรคมะเร็งจะแพร่กระจายเข้าช่องท้องหรือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆที่อยู่ไกลออกไป อวัยวะที่พบได้บ่อยๆคือ ปอดและตับ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดี

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีที่สำคัญ ได้แก่ การรับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบๆ ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่ในท่อน้ำดี

สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจมีผลทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีมีดังนี้
1. ภาวะท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง
2. โรคของระบบทางเดินน้ำดี
3. มีนิ่วในตับ
4. โรคทางพันธุกรรมผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรคมีถุงน้ำผิดปกติในระบบทางเดินน้ำดี

การรักษามะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคสูง เนื่องจากกว่าจะตรวจพบโรคได้ อาการก็มักลุกลามแพร่กระจายเชื้อไปทั่วแล้ว แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยก็มีโอกาสรักษาให้หายได้โดยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ระยะของโรคที่เป็น ความสามารถในการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อมะเร็งออก รวมถึงอายุและสุขภาพของผู้ป่วยด้วย 

ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดีจะใช้วิธีการผ่าตัดเป็นหลัก ส่วนการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ  เช่น การให้เคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี หรือการให้ยาแบบเฉพาะ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาทางการแพทย์ เนื่องจากเซลล์มะเร็งในท่อน้ำดีมักจะดื้อต่อการใช้เคมีบำบัดหรือการรักษาด้วยรังสีซึ่งหากผู้ป่วยรายไหนที่ไม่สามารถใช้วิธีผ่าตัดในการรักษาได้ แพทย์ก็จะต้องใช้การรักษาแบบประคับประคองอาการไว้เท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยวิธีอื่นได้

การป้องกันมะเร็งในท่อน้ำดี

สำหรับมะเร็งท่อน้ำดี ปัจจุบันยังไม่มีวิธีไหนที่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ไม่บ่อยจึงยังไม่สามารถทราบปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคได้ อีกทั้งในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีวิธีในการตรวจคัดกรองโรคนี้อีกด้วย

อาจจะพบผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีอยู่ไม่มากนัก หลายคนอาจจะมองว่ามะเร็งท่อน้ำดีเป็นโรคที่ไกลตัวพอสมควร และถึงแม้ว่าโรคมะเร็งท่อน้ำดีจะตรวจพบได้ยากและไม่มีวิธีในการป้องกันได้ในปัจจุบันได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรที่จะประมาณต่อการใช้ชีวิต ควรจะดูแลร่างกายตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ รู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมและปัจจัยที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ  เพราะการดูแลตนเองก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคมะเร็งชนิดต่างๆได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อน เข้าใจว่า การตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2557. 240 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1647-7

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.

มะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2

0
โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2
โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2 เกิดจากร่างกายดื้อต่อยาสารเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาเซลล์มะเร็ง
โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2
โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคมะเร็งชนิดที่ 2 เกิดจากร่างกายดื้อต่อยาสารเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาเซลล์มะเร็ง

มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ

มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ หรือเป็นมะเร็งซ้ำ ( Recurrence ) คือ คือการที่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ได้รับการรักษาจนครบหายดีแล้ว แต่ถูกพบว่ามีเซลล์มะเร็งชนิดเดิม ตำแหน่งเดิมหรือบริเวณตำแหน่งใกล้เคียงเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยแพทย์จะใช้วิธีการตรวจทาง เซลล์วิทยาหรือพยาธิวิทยาเช่น การตรวจร่างกาย ตรวจทางเอกซเรย์และอาจจะดูด เจาะ หรือตัดบริเวณที่เคยเป็นมะเร็ง ( รอยโรค ) หรือต่อมน้ำเหลืองเป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาการมะเร็งที่เกิดซ้ำก็อาจจะต้องใช้เวลานานกว่า 6 เดือนเลยทีเดียวที่จะตรวจเจอจัดเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง โอกาสรักษาหายมีน้อยการรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาแบบบรรเทาอาการหรือประคับประคองพยุงอาการเท่านั้นเอง ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งนี้ในทั่วโลกเป็นจำนวนมากซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาให้หายได้ถือว่าโชคดีไม่น้อย แต่ทั้งนี้ผู้ที่เคยเป็นโรคมะเร็งแล้วรักษา หายเป็นปกติ ก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งซ้ำได้อีกครั้ง โดยอาจจะเป็นมะเร็งชนิดเดิม หรือ เป็นมะเร็งชนิดใหม่ก็ได้ ซึ่งจะมีข้อมูลรายละเอียดดังต่อไปนี้

สาเหตุของการเป็นมะเร็งซ้ำ ( Recurrence / Relapse )

  • มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำมีปัจจัยที่ทำให้กลับมาเป็นเป็นมะเร็งซ้ำ เกิดจากการที่ร่างกายดื้อต่อยาสารเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาเซลล์มะเร็ง ข้อนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดโรคมะเร็งย้อนกลับ
  • การผ่าตัดเอาก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็งออกไม่หมด ทำให้มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งซ้ำ หรือมะเร็งชนิดที่2 ( Recurrence ) ได้ค่อนข้างสูง
  • ผู้ป่วยไม่ยอมหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดนั้นๆ เช่น สูบบุหรี่และดื่มเหล้า จึงมีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งซ้ำค่อนข้างสูง ระยะของมะเร็งยิ่งมากขึ้น โอกาสมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำก็มีมากขึ้นตามไปด้วย สาเหตุอื่นๆ ที่บางครั้งแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุได้

โรคมะเร็งชนิดที่ 2 ( Secondprimary Cancer )

มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำแล้วเป็นชนิดที่ 2 คือ การที่ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งแล้ว และถูกตรวจพบว่ามะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ และมะเร็งชนิดอื่นๆเพิ่มขึ้นมาอีกภายหลัง หรืออาจจะตรวจพบพร้อมกันก็ได้ แต่เป็นมะเร็งคนละชนิดกัน โดยอาจจะเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่นๆที่ไม่ใช่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะหรือรอยโรคเดิมซึ่งในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดโรคมะเร็งชนิดที่ 3 ชนิดที่ 4 และอีกหลายชนิดได้แต่ก็มีโอกาสเกิดได้น้อยมาก

สาเหตุที่ทำให้เป็นมะเร็งชนิดที่ 2

การมีพันธุกรรมที่ผิดปกติบางชนิด ทั้งชนิดที่ถ่ายทอดได้หรือถ่ายทอดไม่ได้จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น หากมีผู้ป่วยหญิงเป็นมะเร็งเต้านมอยู่ก่อนแล้ว การมีพันธุกรรมที่ผิดปกติบางชนิดก็อาจทำให้หญิงคนดังกล่าวเป็นมะเร็งรังไข่ได้อีกด้วย กลายเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ 2

การที่มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ มีปัจจัยเสี่ยงเดิมของผู้ป่วย ตัวอย่าง เช่น กรณีผู้ป่วยเป็นมะเร็งคอหอยในส่วนของกล่องเสียง ซึ่งมีสาเหตุมากจาก การสูบบุหรี่และการดื่มเหล้า ซึ่งการสูบบุหรี่และการดื่มเหล้านี้ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งชนิดที่ 2 อย่างโรคมะเร็งหลอดอาหารได้นั้นเอง ไม่หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ตัวอย่างเช่น ปัจจัยอย่างเหล้าและบุหรี่ ทำให้เป็นสาเหตุโรคมะเร็งโพรงจมูกแต่ผู้ป่วยยังคงดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เป็นปกติเหมือนเดิมไม่ยอมหลีกเลี่ยงก็อาจจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งกล่องเสียง ที่เป็นโรคมะเร็งชนิดที่ 2 ได้ 

มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำมีผลข้างเคียง หรือแทรกซ้อนระยะยาว

กรณีนี้เกิดจากการที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการใช้รังสีรักษาหรือใช้เคมีบำบัดเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจจะส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดที่ 2 ได้โดยมักจะเกิดภายหลังจากครบการรักษาไปแล้ว นาน 10 ปีขึ้นไปและในเด็กจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ใหญ่
การตรวจและวินิจฉัยโรค

มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ คือโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ หรือโรคมะเร็งชนิดที่ 2  วิธีทางการแพทย์ที่จะตรวจสอบ ทำได้เหมือนกัน ดังนี้

  • การตรวจร่างกายของผู้ป่วยป้องกันการเป็นมะเร็งซ้ำ
  • การตรวจโดยใช้วิธีการเอกซเรย์
  • การสอบถามประวัติอาการต่างๆ
  • การตรวจเลือดดูหาค่าทูเมอร์มาร์กเกอร์ ซึ่งใช้ได้กับโรคมะเร็งบางชนิดเท่านั้น
  • การดูด เจาะ และการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อหรือรอยโรค ไปตรวจทางเซลล์วิทยาและพยาธิวิทยา
  • การตรวจพิเศษอื่นๆ ตามอาการของผู้ป่วยและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่นการส่องกล้องตรวจทวารหนัก เมื่อผู้ป่วยอุจจาระเป็นเลือด

มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ มีวิธีการรักษาอย่างไร

สำหรับการรักษาผู้ป่วยทั้ง 2 ประเภท ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ ( Recurrence ) หรือโรคมะเร็งชนิดที่ 2  ก็จะใช้วิธีการรักษาของโรคมะเร็งตามปกติ แล้วแต่อาการหรือแล้วแต่ชนิดของมะเร็งที่พบเช่นการผ่าตัด  การให้เคมีบำบัด การใช้ยารักษามะเร็งชนิดต่างๆ  การใช้รังสีรักษาเป็นต้น ส่วนการที่แพทย์จะเลือกวิธีใดรักษานั้นก็จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยหลายๆอย่าง  ทั้งระยะของโรค อายุของผู้ป่วย การลุกลามของโรค  ผลจากการรักษาและผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากวิธีการเดิมที่เคยรักษามาแล้ว

นอกจากนี้ยังมีมะเร็งบางชนิดที่ต้องใช้การรักษาเฉพาะด้าน เช่น กรณีป่วยเป็น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )  และ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) แพทย์อาจจะต้องใช้การปลูกถ่ายไขกระดูกหรือสเต็มเซลล์ หรือใช้ยารักษาแบบตรงชนิดเฉพาะ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

ซึ่งโดยปกติแล้ว หลังจากที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาจากแพทย์จนครบแล้ว ทางแพทย์ก็ยังคงต้องนัดผู้ป่วยมาตรวจอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ เพื่อเป็นการตรวจติดตามผลการรักษา และป้องกันการเป็นมะเร็งซ้ำนั้นเอง

จะเห็นได้ว่าโรคมะเร็งนอกจากจะอันตราย รักษาได้ยากแล้ว ยังสามารถกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำอีกได้เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นชนิดเดิมหรือชนิดใหม่ ดังนั้นสิ่งที่ตัวเราจะสามารถทำได้และเป็นการป้องกันการเกิด มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ ( Recurrence ) หรือโรคมะเร็งชนิดที่ 2  ได้ดีที่สุดคือ รักษาสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ และต้องรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆอันที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งในรูปแบบต่างๆ  ส่วนผู้ที่เคยป่วยเป็นมะเร็งแล้วสามารถรักษาจนหายเป็นปกติ ก็ต้องดูแลสุขภาพตนเองเหมือนเดิม คงไม่มีผู้ป่วยรายใดที่อยากจะกลับไปเป็นโรคร้ายนี้อีก  เพราะนอกจากจะทรมานทางร่างกายและจิตใจแล้ว ก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะโชคดีรักษาให้หายเหมือนครั้งก่อนๆได้หรือไม่นั้นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). “Epigenetic field defects in progression to cancer”. World Journal of Gastrointestinal Oncology.

Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences.

ความเสี่ยงโรคมะเร็งกับการติดเชื้อ HIV เกิดได้อย่างไร

0
โรคมะเร็งกับการติดเชื้อ HIV มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อเอชไอวี จะมีภาวะร่างกายที่ภูมิคุ้มกัน บกพร่องสามารถเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆรวมถึงโรคมะเร็งด้วย
โรคมะเร็งกับการติดเชื้อ HIV มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อเอชไอวี จะมีภาวะร่างกายที่ภูมิคุ้มกัน บกพร่องสามารถเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆรวมถึงโรคมะเร็งด้วย

มะเร็งกับการติดเชื้อ HIV

เชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Human immunodeficiency virus จัดเป็นไวรัสในกลุ่มรีโทรไวรัส (Retro virus) เป็นโรคที่ติดต่อผ่านการสัมผัสเลือด น้ำเมือก น้ำอสุจิ น้ำหล่อเลี้ยงช่องคลอด น้ำเหลืองและการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เพิ่มโอกาสเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เซลล์ร่างกายจึงมีโอกาสกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ง่ายหรือสูงกว่าคนปกติ ซึ่งมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งได้ในทุกช่วงอายุ และมีโอกาสเกิดโรคได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย

ผู้ป่วยเอชไอวี HIV จะมีภาวะร่างกายที่ภูมิคุ้มกัน บกพร่องสามารถเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้มากมายหลายชนิด รวมถึงโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งด้วย

ลักษณะของโรคมะเร็งในผู้ป่วยที่ติดเชื้อHIV

โรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะมีลักษณะเหมือนโรคมะเร็งที่เกิดกับคนทั่วไปปกติ ทั้งชนิดของโรค ระยะอาการของโรคและการรักษาจะต่างกันตรงที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ร่างกายมักดื้อต่อยาและมีความรุนแรงของโรคสูงกว่า โดยชนิดมะเร็งที่พบได้บ่อยๆในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ โรคมะเร็งซาร์โคมาเนื้อเยื่อชนิดคาร์โปซิ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคมะเร็งทวารหนัก โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

การรักษามะเร็งในผู้ป่วยHIV

วิธีการรักษาโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็มีวิธีรักษาเช่นเดียวกับโรคมะเร็งในคนปกติที่ไม่ได้ติดเชื้อ แต่แพทย์ต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงแทรกซ้อนต่างๆ โดยเฉพาะการติดเชื้อรุนแรงในขณะรับการรักษาทั้งนี้โรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็มีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้ขึ้นอยู่กับระยะโรคชนิดของเซลล์มะเร็งอายุและสุขภาพของผู้ป่วยและยังรวมถึงระดับของภูมิคุ้มกันต้านทานโรครวมทั้งการรับยาต้านไวรัสอย่างครบถ้วนและถูกต้องอีกด้วย

วิธีการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อHIV

ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี แต่หากผู้ป่วยทานยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอและทานต่อเนื่อง รู้จักดูแลร่างกายตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำความเสี่ยงในการเกิดโรคก็จะลดลงไปได้มากในปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวีเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งทั่วไปซึ่งจะเป็นไปตามชนิดของโรคมะเร็งไม่ได้ขึ้นกับการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี

ดังนั้นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวีควรต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษให้มากกว่าคนปกติทั่วไป เพราะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งได้สูงกว่า  หากผู้ป่วยพบสิ่งผิดปรกติต่างๆที่เกี่ยวกับร่างกายควรรีบปรึกษาแพทย์ให้ตรวจทันที เพื่อที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลาโรคมะเร็งในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นหากได้รับการรักษาแล้วก็มีโอกาสหายได้เป็นปกติ แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยก็ต้องดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง และทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences.

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). “Epigenetic field defects in progression to cancer”. World Journal of Gastrointestinal Oncology.

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid Cancer )

0
โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid Cancer)
เกิดขึ้นบริเวณต่อมไทรอยด์ สามารถเกิดได้ทุกเซลล์ของต่อมไทรอยด์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่เซลล์ของเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์
โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid Cancer)
โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ เกิดขึ้นบริเวณต่อมไทรอยด์ สามารถเกิดได้ทุกเซลล์ของต่อมไทรอยด์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่เซลล์ของเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์

มะเร็งต่อมไทรอยด์

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid Cancer ) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณต่อมไทรอยด์ ซึ่งต่อมไทรอยด์จะมีลักษณะเป็นท่อขนาดใหญ่ อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ ใกล้ๆ กับลูกกระเดือก แบ่งออกเป็นสองกลีบซ้ายขวา โดยต่อมไทรอยด์จะมีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนโดยเฉพาะเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆ และควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนที่มีความสำคัญที่ได้ก็คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนนั่นเอง

โดยการเกิดมะเร็งไทรอยด์สามารถเกิดได้ทุกเซลล์ของต่อมไทรอยด์ ซึ่งต่อมไทรอยด์ก็มีเซลล์หลายชนิดด้วยกัน เช่น เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เซลล์เนื้อเยื่อไทรอยด์ เซลล์สร้างฮอร์โมนและเซลล์ของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มักจะเกิดขึ้นที่เซลล์ของเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์เองมากกว่า

สาเหตุของมะเร็งต่อมไทรอยด์

ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้เกิด มะเร็งต่อมไทรอยด์ แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน จึงก่อให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา

ฮอร์โมนเพศเกิดความผิดปกติ ซึ่งก็ส่งผลให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นมะเร็ง โดยส่วนมากจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย จากการสำรวจพบว่าคนเอเชียจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มากกว่าคนเชื้อชาติอื่นๆ

พันธุกรรมบางชนิดเกิดความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรมชนิดที่ถ่ายทอดได้หรือชนิดที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้
มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งหรือโรคต่างๆเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์มาก่อน โดยเฉพาะ พ่อ แม่
ได้รับรังสีบางชนิดมากเกินไป เช่น รังสีจากการรั่วไหลของโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ทำให้รังสีเหล่านี้เข้าไปทำลายเซลล์เนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์จนกลายเป็นมะเร็งในที่สุด

โดยจากสถิติพบว่ามะเร็งต่อมไทรอยด์ติดอันดับต้นๆ ใน 10 อันดับแรกของโรคมะเร็งที่พบในผู้หญิงไทยเลยทีเดียวและพบได้ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยสูงอายุอีกด้วย แต่จะพบในผู้หญิง มากกว่าผู้ชายถึง 3-4 เท่า จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้หญิงต้องระมัดระวังการป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มากที่สุดโดยสำหรับชนิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ ชนิดจับกินแร่รังสีไอโอดีน และชนิดรุนแรงสูงไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน

อาการของมะเร็งต่อมไทรอยด์

มะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นโรคร้ายที่ไม่มีอาการเฉพาะของโรค แต่จะมีอาการที่สามารถสังเกตได้ โดยจะคล้ายกับอาการของโรคคอพอกหรือโรคต่อมไทรอยด์อักเสบ ซึ่งอาการที่มักจะพบบ่อยที่สุด ได้แก่ คลำเจอก้อนเนื้อในต่อมไทรอยด์โต โดยอาจมีอาการเจ็บร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ หากเป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปมากแล้ว จะพบว่าเสียงแหบ เนื่องจากมะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่เส้นประสาทสายเสียงนั่นเอง ในบางคนอาจมีอาการกลืนติดขัดได้ เนื่องจากก้อนเนื้อมีขนาดโตจนไปเบียดกับหลอดอาหาร ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก คลำเจอต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอโตผิดปกติ โดยอาจพบข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้

ระยะมะเร็งต่อมไทรอยด์

การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์แพทย์จะทำการสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย พร้อมกับตรวจร่างกาย ตรวจด้วยการคลำหาต่อมไทรอยด์ และทำการดูดเอาเซลล์จากก้อนเนื้อของต่อมไทรอยด์ออกมาตรวจทางเซลล์วิทยาเพื่อความแน่นอนในการตรวจสอบมากขึ้น และยังสามารถตรวจหาระยะของอาการป่วยได้อีกด้วย โดยระยะโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม เนื่องจากแต่ละกลุ่มจะมีระยะอาการของโรคที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : ผู้ป่วยมะเร็งที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี โดยระยะของมะเร็งจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 เป็นระยะที่โรคมะเร็งยังไม่มีการแพร่กระจาย
  • ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว และอาจแพร่เข้าสู่ปอด สมองและกระดูกอีกด้วย

กลุ่มที่ 2 : ผู้ป่วยมะเร็งที่มีอายุมากกว่า 45 ปี โดยจะแบ่งระยะของมะเร็งได้เป็น 4 ระยะคือ

  • ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก ไม่เกิน 2 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นจาก 2 เซนติเมตรและยังไม่เกิน 4 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 3 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดที่ใหญ่กว่า 4 เซนติเมตรและเริ่มลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อใกล้เคียง โดยเฉพาะต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับต่อมไทรอยด์
  • ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งมีความรุนแรงมากที่สุด โดยระยะนี้มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียง ซึ่งก็ได้มีการลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายไปสู่อวัยวะต่างๆ ที่ไกลออกไปผ่านการแพร่เข้าสู่กระแสเลือดนั่นเอง

กลุ่มที่ 3 : กลุ่มคนที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดรุนแรงสูงแบบไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่มีระยะของโรค ซึ่งความรุนแรงจะอยู่ในระยะที่ 4 ทันที และมีโอกาสรักษาให้หายขาดต่ำมาก

การรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์

สำหรับวิธีการรักษาเมื่อป่วยด้วยมะเร็งต่อมไทรอยด์แพทย์จะรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเพื่อดูระยะการลุกลามและชนิดของมะเร็งก่อน จากนั้นจึงประเมินวิธีที่จะนำมาใช้เพื่อการรักษาในลำดับต่อไป โดยอาจใช้วิธีการฉายรังสีรักษาหรือการรับแร่รังสีไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง ส่วนกรณีที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดไม่จับกินแร่รังสี แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้วิธีการรักษา 3 วิธีด้วยกัน คือ การใช้รังสีรักษา การผ่าตัดและการใช้เคมีบำบัด เป็นต้น

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่รักษาด้วยการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทั้งสองกลีบพร้อมกับรับรังสีไอโอดีนในการรักษาไปด้วย ผู้ป่วยจะต้องกินยาไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิต ถึงแม้ว่าจะหายจากอาการป่วยแล้วก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อชดเชยไทรอยด์ฮอร์โมนที่ได้สูญเสียไปจากการรักษานั่นเอง อีกทั้งการกินยาไทรอยด์ฮอร์โมนก็จะช่วยป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ซ้ำอีกด้วย

สำหรับโอกาสในการรักษาให้หายขาดจากโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ กรณีที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปีและป่วยด้วยมะเร็งชนิดเซลล์จับกินแร่รังสีไอโอดีน จะมีโอกาสรักษาหายได้สูงมากถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์

ส่วนผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งชนิดเซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน จะมีอัตราการอยู่รอดต่ำมาก เนื่องจากเป็นชนิดของมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง โดยพบว่าหากผู้ป่วยไม่สามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดได้หรือไม่ตอบสนองต่อการทำเคมีบำบัดและรังสีรักษา ก็จะมีอัตราการรอดอยู่ที่ประมาณ 3-6 เดือนเท่านั้น แต่หากผู้ป่วยสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดและมีการตอบสนองต่อการทำเคมีบำบัดและรักษารักษา ก็จะมีอัตราการอยู่รอดที่ 1-2 ปี

โดยมะเร็งต่อมไทรอยด์ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองหรือวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองทันทีที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะเมื่อมีอาการเสียงแหบ กลืนลำบากพร้อมกับคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณลำคอ และที่สำคัญพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ เท่านี้ก็จะช่วยป้องกันการป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ในระดับหนึ่ง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

Cancer risk. British Journal of Cancer. 2010.

มะเร็งต่อมน้ำลาย ( Salivary Gland Cancer )

0
โรคมะเร็งต่อมน้ำลาย (Salivary Gland Cancer)
มะเร็งต่อมน้ำลาย คือ ความผิดปกติของพันธุกรรมแบบไม่ถ่ายทอด เกิดได้กับต่อมน้ำลายทั้งหมด พบในผู้ใหญ่
โรคมะเร็งต่อมน้ำลาย (Salivary Gland Cancer)
มะเร็งต่อมน้ำลาย คือ ความผิดปกติของพันธุกรรมแบบไม่ถ่ายทอด เกิดได้กับต่อมน้ำลายทั้งหมด พบในผู้ใหญ่

มะเร็งต่อมน้ำลาย

ต่อมน้ำลายเป็นอวัยวะอีกส่วนหนึ่งของระบบศีรษะ หูคอจมูกและลำคอ ที่มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมน้ำลาย ( Salivary Gland Cancer ) ได้ โดยต่อมน้ำลายจะมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ ( Major Sali Glands ) และต่อมน้ำลายขนาดเล็ก ( Minor Salivary Glands ) มีหน้าที่ในการสร้างน้ำลายเพื่อใช้ในการย่อยอาหารและหล่อเลี้ยงช่องปากและลำคอ โดยต่อมน้ำลายทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะดังนี้

ต่อมน้ำลายขนาดใหญ่มี 3 คู่ 3 ตำแหน่ง คือต่อมน้ำลายหน้าหูซึ่งเป็นต่อมน้ำลายที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาจะเป็นต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น โดยจะอยู่บริเวณซ้ายขวาของใบหน้าและบริเวณใต้ขากรรไกร ซึ่งก็จะมีท่อน้ำลายเพื่อส่งน้ำลายที่ผลิตออกมาแล้วเข้าสู่ช่องปากตลอดเวลา

ต่อมน้ำลายขนาดเล็กจะมีขนาดที่เล็กมากและกระจายอยู่ทั่วช่องปาก คอหอย ลำคอและกล่องเสียง รวมถึงในเยื่อเมือกของเนื้อเยื่ออวัยวะทั่วร่างกาย เช่น ในช่องคลอด ในหลอดลมซึ่งต่อมน้ำลายเหล่านี้จะไม่มีท่อส่งน้ำลายเหมือนกับต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ แต่จะสร้างน้ำลายออกมาหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นโดยตรง

สาเหตุการเกิดมะเร็งต่อมน้ำลาย

ปัจจัยการเกิดมะเร็งต่อมน้ำลายมักจะพบได้บ่อยในต่อมน้ำลายขนาดใหญ่ ส่วนต่อมน้ำลายขนาดเล็กจะพบได้น้อยมาก แต่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ สันนิษฐานว่ามะเร็งต่อมน้ำลายน่าจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงรวมกันดังต่อไปนี้

มะเร็งต่อมน้ำลาย คือ ความผิดปกติของพันธุกรรมแบบไม่ถ่ายทอด ซึ่งเป็นพันธุกรรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกตินั่นเอง เกิดจากการที่ร่างกายขาดสารอาหารสำคัญบางชนิด จึงทำให้ต่อมน้ำลายเกิดการกลายพันธุ์และเป็นมะเร็งต่อมน้ำลายในที่สุดขาดวิตามินเอและวิตามินซี ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญที่จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับต่อมน้ำลายได้รับสารรังสีบางชนิดที่มีผลกระทบต่อต่อมน้ำลาย เช่น รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ รังสีที่ใช้ในการรักษาโรคบางชนิด

มะเร็งต่อมน้ำลาย ( Salivary Gland Cancer ) เป็นโรคที่สามารถพบได้กับทุกเพศทุกวัยแต่ส่วนใหญ่จะพบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และมีโอกาสพบได้สูงมากในคนที่มีอายุช่วง 50-55 ปี

อัตราการเกิดมะเร็งต่อมน้ำลายในผู้หญิงและผู้ชาย ก็จะอยู่ในระดับที่เท่าๆ กัน นอกจากนี้มะเร็งต่อมน้ำลายก็มีหลายชนิดย่อยๆ ไปอีก แต่ที่พบได้มากและบ่อยที่สุดได้แก่มะเร็งต่อมน้ำลายชนิดคาร์ซิโนมาซึ่งมีความรุนแรงในระดับปานกลาง หากพบในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้

มะเร็งต่อมน้ำลาย มีอาการอย่างไร

มะเร็งต่อมน้ำลาย ไม่มีอาการเฉพาะ แต่จะมีอาการที่คล้ายคลึงกับอาการของโรคเนื้องอกธรรมดา ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวก็ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งทันที โดยอาการที่มักจะพบได้บ่อยคือ คลำเจอก้อนเนื้อผิดปกติโดยอาจมีลักษณะอาการบวมออกมา ใบหน้าตรงส่วนที่เป็นมะเร็งอาจมีอาการชาและเบี้ยวเนื่องจากมะเร็งได้ลุกลามเข้าไปสู่เส้นประสาท ต่อมน้ำเหลือบริเวณลำคอ ตรงฝ่ายใบหน้าที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำลายจะมีขนาดโตอย่างเห็นได้ชัด

การวินิจฉัยและระยะของมะเร็งต่อมน้ำลาย

การวินิจฉัยว่ากำลังป่วยด้วยมะเร็งต่อมน้ำลายหรือไม่ แพทย์จะสอบถามประวัติอาการป่วยพร้อมทั้งตรวจร่างกาย และทำการผ่าตัดเอาต่อมน้ำลายไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อความแน่ชัดมากขึ้น โดยสำหรับโรคนี้แพทย์จะไม่ตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจเหมือนกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ เพราะการตัดเอาไปแต่ชิ้นเนื้อจะทำให้เกิดการลุกลามของมะเร็งอย่างรวดเร็วจึงต้องใช้วิธีการผ่าตัดเอาต่อมน้ำลายไปตรวจแทนนั่นเอง

ระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำลายจะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ระยะ

เหมือนกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ทั่วไป โดยแบ่งได้เป็น

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก ไม่เกิน 2 เซนติเมตรและไม่รุนแรงมาก

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดโตมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ยังไม่เกิน 4 เซนติเมตร และมีความรุนแรงในระดับปานกลาง

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงและมีขนาดที่โตกว่า 4 เซนติเมตร แต่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอยังมีขนาดโตไม่เกิน 3 เซนติเมตร

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่ผิวหนัง เส้นประสาท กระดูก ลำคอและอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป โดยระยะนี้จะพบต่อมน้ำเหลืองมีขนาดโตกว่า 3 เซนติเมตรและเป็นระยะที่อันตรายมาก ซึ่งจะมีโอกาสในการรักษาให้หายขาดแค่เพียงน้อยนิดเท่านั้น

การรักษามะเร็งต่อมน้ำลาย

สำหรับการรักษามะเร็งต่อมน้ำลายแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด การใช้รังสีรักษาและการรักษาด้วยยาแบบตรงเป้า แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาซึ่งยังไม่สามารถสรุปได้ว่าวิธีนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ดีแค่ไหน อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งต่อมน้ำลายก็สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้หากพบในระยะเริ่มแรกของโรค ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของผู้ป่วย รวมถึงผลของการผ่าตัดว่าสามารถเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกมาได้จนหมดหรือไม่ 

ส่วนการตรวจหามะเร็งต่อมน้ำลายตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ทำได้ด้วยการสังเกตตัวเองหากมีความผิดปกติโดยมีอาการบวมหรือพบก้อนเนื้อบริเวณต่อมน้ำลาย ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ส่วนการป้องกันยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพ โดยแพทย์แนะนำให้พยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เป็นมะเร็งต่อมน้ำลายจะดีที่สุด

ผลกระทบจากการฉายแสงรักษามะเร็งของต่อมน้ำลาย

การรักษาโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในบริเวณของคอและศีรษะด้วยการฉายรังสีนั้นแน่นอนว่าเมื่อทำการฉายรังสีที่คอแล้วย่อมสร้างผลกระทบต่อต่อมน้ำลายอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายจะส่งผลให้มีการผลิตน้ำลายออกมาน้อยลง ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย คือ

  • ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำลายแห้ง ( Xerostomia )
  • นอนไม่หลับ
  • ปวดในช่องปาก
  • สุขภาวะภายในช่องปากไม่ดี
  • โอกาสในการติดเชื้อในช่องปากสูงกว่าปกติ
  • เคี้ยวและกลืนลำบาก

อาการที่เกิดขึ้นล้วนส่งผลกระทบให้ผุ้ป่วยดำเนินชีวิตประจำวันอย่างยากลำบาก ซึ่งเราสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลายหลัก เช่น ต่อม Submandibular ต่อม Sublinggual เป็นต้น รวมถึงการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลายเล็กอื่นที่อยู่ภายในช่องปากด้วยซึ่งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีไปแล้วประมาณ 7 วันและจะมีอาการข้างเคียงเช่นนี้ประมาณ 2 ปีและจะกลับเข้ามาสู่สภาวะปกติได้ดังเดิม

การแบ่งระดับความรุนแรงของอาการข้างเคียงโดย LENT-SOMA : Late Effects Normal Tissue Subjective, Objective, Management,Analytic Scal คือ การประเมินระดับความรุนแรงของผุ้ป่วยโดยที่ทำการประเมินจากการวัดเชิงประมาณของน้ำลาย ขั้นตอนการรักษา ซึ่งทำจากการวัดปริมาณน้ำลายของผู้ป่วยในขณะที่ไม่มีการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลายเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำลายที่มีในขณะที่มีการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย วิธีการวัดทำได้ด้วยการเก็บน้ำลายในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะปกติเป็นเวลา 5 นาทีและทำการเก็บน้ำลายในขณะที่มีการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลายเป็นเวลา 5 นาทีเช่นกัน จึงจะสามารถช่วยประเมินได้ว่าอาการข้างเคียงของผู้ป่วยอยู่ที่ระดับใด ในการรักษาด้วยรังสีสามารถป้องกันไม่ให้ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายได้ ด้วยการใช้เทคนิค การฉายรังสี ตั้งแต่ 3 มิติเข้ามาช่วย เพราะว่าต่อมพาโรติดและต่อม Submandibular นั้นสามารถมองเห็นได้ด้วยการทำ Contrast-enhanced CT

ปริมาณรังสีที่สร้างผลกระทบต่อต่อมน้ำลาย 
1.เมื่อได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า 10-15 Gy จะส่งผลกระทบต่อต่อมน้ำลายเพียงเล็กน้อย
2.เมื่อได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า 20-40 Gy ต่อมน้ำลายจะเริ่มมีการทำงานที่น้อยลงอย่างชัดเจน
3.เมื่อได้รับปริมาณรังสีมากกว่า 40 Gy ประสิทธิภาพการทำงานของต่อมน้ำลายจะลดลงถึง 75 % ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำลายแห้งที่รุนแรง

ซึ่งการป้องกันการเกิดภาวะน้ำลายแห้งอย่างได้ผลจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสามารถทำการรักษาต่อมพาโรติดไว้ได้อย่างน้อย 1 ข้าง ซึ่งคาดว่าถ้าได้รับ การฉายรังสี แต่ถ้าได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า 25 Gy แล้วต่อมพาโรติดจะสามารถทำงานได้อย่างปกติไม่ก่อให้เกิดภาวะน้ำลายแห้งเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสรุป Dose-Volume ปริมาณรังสีและผลต่อต่อมพาโรติดได้ดังนี้

1.ปริมาณรังสีเฉลี่ยไม่เกิน 20 Gy จะสามารถรักษาต่อมพาโรติดไว้ได้ทั้ง 2 ข้าง

2.ปริมาณรังสีเฉลี่ยไม่เกิน 26 Gy จะสามารถรักษาต่อมพาโรติดไว้ได้ 1 ข้าง

3.ปริมาณรังสีเฉลี่ยมากกว่า 30 Gy จะไม่สามารถรักษาต่อมพาโรติดไว้ได้เลย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด มีข้อบ่งชี้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมอย่างไร

0
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด มีข้อบ่งชี้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมอย่างไร
อินซูลินเป็นยาชนิดฉีดที่ใช้สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยให้เป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติ
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด มีข้อบ่งชี้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมอย่างไร
อินซูลินเป็นยาชนิดฉีดที่ใช้สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยให้เป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติ

อินซูลิน ( Insulin )

โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินสุลินได้ในปริมาณที่สูงพอที่จะจัดการเก็บน้ำตาลจากเลือดเข้าเซลล์เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดกลับสู่ค่าปกติ ผู้ป่วยจึงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ โดยการ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และใช้ยา เพียงเท่านี้ผู้ป่วยก็จะมีชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขเหมือนคนทั่วไป ในเรื่องการใช้ยา มียาอยู่ 2 ประเภทได้แก่ ยารับประทาน และยาฉีด อินซูลิน ( Insulin )

ยาชนิดรับประทาน ( Oral Hypoglycemic Agents )

ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ( ได้แก่ โภชนบำบัด การออกกำลังกาย การเรียนรู้โรคเบาหวานและการดูแลตนเอง ) ร่วมกับการใช้ยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีนั้นเพื่อที่จะป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง รวมทั้งรักษาอาการที่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงคนปกติ ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทานแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

ยากลุ่มไบกัวไนด์ Biguanide
ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย Sulfonylurea
ยาต้านแอลฟากลูโคซิเดส L-Glucosidase Inhibitor
ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลิน Insulin Sensitizer

1.1 ยากลุ่มไบกัวไนด์

ทางการแพทย์ นำมาใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ข้อดีของยานี้คือ ไม่ก่อให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ สารอนุพันธ์ไบกัวไนด์ที่มีการใช้บ่อยที่สุดคือ ยา Metformin ข้อดีของ ยา Metformin ได้แก่ก่อให้มีความเสี่ยงน้อยต่อการ เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นยาที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความดันโลหิต และช่วยลดไขมัน ไตรกลีเซอไรด์อีกด้วย

ยาในกลุ่มนี้เท่าที่เคยมีจำหน่าย คือเฟนฟอร์มิน PHENFORMIN บูฟอร์มิน BUFORMINแต่ปัจจุบันเลิกจำหน่ายไปแล้วเหลือเฉพาะ เมตฟอร์มิน METFORMIN ตัวเดียวที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

Metformin มีชื่อการค้าต่างๆ เช่น กลูโคเฟจ Glucophage ไดอะเมต Diamet เป็นต้น

1.2 ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย

ยานี้ใช้ได้ผลดีในผู้ป่วเบาหวานที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไปและเป็นชนิดไม่มีอาการแทรกซ้อนประสิทธิภาพของยากลุ่มนี้ขึ้นกับว่าตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานยังสามารถทำงานได้มากน้อยเพียงใดยากลุ่มนี้ใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยที่ตับอ่อนไม่ทำงานแล้ว  

กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย

1.เพิ่มประสิทธิ์ภาพของอินซูลินในการนำน้ำตาลเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย

2.ช่วยลดการเกาะกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นช่วยป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนทางหลอดเลือด

3.กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น

4.ระงับการสร้างน้ำตาลจากตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารลดลง

ยากลุ่มนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ

กลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นมารุ่นแรก First Generation ได้แก่
ทอลบูตาไมด์ Tolbutamide มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้นประมาณ 4-6 ชั่งโมง ต้องรับประทานวันละ 2-3 ครั้ง จึงจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปได้ทั้งวัน
อะซีโตเฮกซะไมด์ Acetohexamide  ออกฤทธิ์ยาวปานกลาง
คลอร์โพรพาไมด์ Chlorpropamide ออกฤทธิ์ยาวประมาณ 30-36 ชั่วโมง รับประทานเพียงวันละครั้ง
กลุ่มที่สังเคราห์รุ่นที่ 2 second generation มีฤทธิ์แรงขึ้นออกฤทธิ์ยาวปานกลางประมาณ 5-8 ชั่วโมง รับประทานวันละ 2 ครั้ง จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปได้ทั้งวัน ได้แก่
กลิเบนคลาไมด์ Glibenclamide
กลิคลาไซด์ Gliclazide
กลิพิไซด์ Gligizide

ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียทุกชนิดดูดซึมได้ดีเมื่อรับประทานก่ออาหาร  ถ้ารับประทานยาพร้อมอาหารหรืออาหารการดูดซึมของยาจะลดลง

การเปลี่ยนยาจากชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งอาจได้ผลที่แตกต่างกันได้ เนื่องจากการดูดซึมยาต่างกันและการตอบสนองของผู้ป่วยต่อตัวยาอาจแตกต่างกันได้ ดังนั้นในกรณีที่ใช้ยาชนิดหนึ่งไม่ได้ผลอาจจะลองเปลี่ยนยาเป็นอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มเดียวกันได้

1.3 ยาต้านแอลฟากลูโคซิเดส

ยาแอลฟา-กลูโคซิเดส เป็นหมวดยาสังเคราะห์ ที่ใช้รักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โดยจะใช้กลไกป้องกันมิให้ร่างกายย่อยคาร์โบไฮเดรตให้กลาย เป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก ( น้ำตาลชนิดสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน ) ในธรรมชาติต้นพืชหลายชนิดก็มีสารประเภทแอลฟา-กลูโคซิเดสอยู่ด้วยเช่น ในเห็ดไมตาเกะ ( Maitake mushroom ) ซึ่งนัก วิจัยค้นพบว่าการบริโภคเห็ดชนิดนี้สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ 

ปัจจุบันยาในกลุ่มนี้มีขายในประเทศไทยแล้ว 2 ชนิด คือ

อะคาร์โบส Acarbose มีชื่อการค้าว่ากลูโคเบย์ Glucobay

และโวกลิโบส Voglibose มีชื่อการค้าว่าเบเซน Basen

1.4 ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลิน

ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลินเป็นพัฒนาการใหม่ล่าสุดของยารักษาโรคเบาหวานชนิดรับประทาน ยาใหม่ในกลุ่มนี้คือกลุ่มไทเอโซลิดีนไดโอน Thiazolidinedione ซึ่งปัจจุบันมีใช้แล้ว 2 ชนิด คือ

ยาโรซิกลิตาโซน Rosiglitazone เช่น ยาอะแวนเดีย เป็นต้น
ยาไพโอกลิตาโซน Pioglitazone เช่น ยาแอกทอส Actos เป็นต้น
ภาวะดื้อต่ออินซูลินมีผลกระทบต่อการเผาผลาญไขมันด้วย จึงพบว่าในผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลินจะมีระดับไขมันในโลหิตสูงขึ้น รวมทั้งสารต่างๆ ที่ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นยาที่ช่วยลดภาวะดื้ออินซูลินอาจมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีกว่ายาในกลุ่มอื่นๆ ที่ใช้รักษาเบาหวาน

อาการข้างเคียงของยาชนิดรับประทาน

ยากลุ่มไบกัวไนด์มีอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย แต่ก็ไม่รุนแรงมากนัก เป็นอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เป็นต้น

ยาต้านแอลฟากลูโคซิเดสมีอาการข้างเคียง คือ อาการท้องอืด ซึ่งเป็นผลมาจากการหมักหมมของคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ถูกย่อยแต่ถูกแบคทีเรียในลำไส้เล็กย่อยแทน ทำให้เกิดแก๊สขึ้นในทางเดินอาหาร นอกจากนี้อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่พบได้ คือ ท้องเดิน ถ่ายเหลว เรอ คลื่นไส้ อาเจียน แต่อาการเหล่านี้จะลดน้อยลงเมื่อใช้ยาต่อๆ ไป

ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียมีอาการข้างเคียงคืออาการแพ้ยาจะเกิดขึ้นใน 2-6 สัปดาห์ หลังเริ่มให้การรักษา โดยจะเป็นผื่นแดงคันบางรายอาจมีตับอักเสบ ปริมาณเม็ดเลือดขาวลดต่ำลงได้ แต่พบน้อยมากส่วนอาการอื่นๆได้แก่ คลื่นไส้ ท้องอืด ปวดศีรษะ ชาตามแขนขา อาการเหล่านี้ไม่รุนแรงและเป็นอยู่ไม่นานก็หายได้ 

การฉีดอินซูลิน ( Insulin preparations )

อินซูลิน ( Insulin ) เป็นยาชนิดฉีดที่ใช้สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติเท่าที่ทำได้ ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาหลักสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทุกราย และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีด้วยการควบคุมอาหารและการใช้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลอินซูลินต้องใช้โดยการฉีดเท่านั้น ไม่สามารถรับประทานได้ทางปากโดยทั่วไปจะมีอินซูลิน 100 ยูนิตต่อ 1 มิลลิลิตร ( ซีซี ) ของน้ำยาซึ่งเรียกว่า ยู 100 อินซูลิน ( U 100 insulin ) แหล่งที่มาของอินซูลินมี 2 แหล่ง คือ ได้มาจากการสกัดจากตับอ่อนจองหมูและวัว ส่วนอีกแหล่งได้มาจากการสังเคราะห์โดยวิธีทางพันธุวิศวกรรม Genetic Engineering ทำให้ได้อินซูลินที่เหมือนกับอินซูลินของมนุษย์ ซึ่งนิยมใช้กนในปัจจุบัน

ชนิดของอินซูลิน

แบ่งออกได้ตามการออกฤทธิ์ของอินซูลินได้เป็น 4 ชนิด คือ

อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็วมาก ( Rapid-acting Insulin ) อินซูลินชนิดนี้ถูกเรียกว่า อินซูลินชนิดน้ำใส (ตามลักษณะทางกายภาพของยา) ใช้ฉีดในเวลาที่ต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร เมื่อฉีดอินซูลินเข้าใต้ผิวหนังจะออกฤทธิ์เร็วภายใน 10-15 นาทีและมีฤทธิ์อยู่นาน 3-5 ชั่วโมง
อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็วและสั้น ( Short-acting Insulin ) ใช้ฉีดก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารหรือใช้ฉีดเมื่อมีภาวะฤทธิ์ในเวลา 30 – 60 นาทีและมีฤทธิ์อยู่นาน 5 – 7 ชั่วโมง
อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง ( Intermediate-acting Insulin ) อินซูลินชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นน้ำสีขาวขุ่นจึงมักเรียกกันว่า อินซูลินชนิดน้ำขุ่น โดยทั่วไปจะใช้เป็นอินซูลินตัวหลักในการรักษาโรคเบาหวานโดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังวันละ 1-2 ครั้ง หลังฉีดอินซูลินแล้วจะออกฤทธิ์ในเวลา 2 – 4 ชั่วโมงและมีฤทธิ์อยู่นาน 18-24 ชั่วโมง
อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ยาว ( Long-acting Insulin ) มีลักษณะเป็นน้ำใสใช้เพื่อปรับระดับอินซูลินในเลือดให้สูงขึ้นในปริมาณหนึ่งตลอดวันและป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อฉีดอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ยาวเข้าใต้ผิวหนังอินซูลินจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2 ชั่วโมงและมีฤทธิ์นาน 24 ชั่วโมง

วิธีการฉีดอินซูลิน

ปัจจุบันแพทย์จะแนะนำให้ฉีดอินซูลินเข้า บริเวณหน้าท้อง เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสามารถดูดซึงยาได้ดีในอัตราที่สม่ำเสมอ และมีชั้นไขมันหนาผู้ป่วยจะเจ็บน้อยที่สุด 

ขั้นตอนในการฉีดอินซูลินควรปฏิบัติดังนี้

1.ควรล้างมือให้สะอาดแล้วเช็คให้แห้งทุกครั้งก่อนฉีดอินซูลิน
2.คลึงขวดยาอินซูลินไปมาในฝ่ามือทั้งสองข้างห้ามเขย่าขวดอินซูลินโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดฟอง
3.ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดจุกยางของขวดยาอินซูลิน
4.ดูดอากาศเข้ามาในหลอดฉีดยาให้มีจำนวนเท่ากับปริมาณยา หน่วยเป็นยูนิต ที่จะต้องใช้
5.แทงเข็มฉีดยาให้ผ่านจุกยางเข้าไปในขวดยาแล้วดันอากาศเข้าไปในขวด
6.คว่ำขวดยาลงแล้วค่อยๆ ดูดยาอินซูลินเข้าหลอดฉีดยาในปริมาณที่ต้องการ
หากมีฟองอากาศให้ฉีดยากลับเข้าไปในขวดใหม่แล้วดูดยากลับเข้ามาช้าๆ จนได้ปริมาณที่ต้องการ
7.ตรวจดูขนาดของยาอินซูลินก่อนที่จะฉีดให้แน่ใจอีกครั้งจากนั้น ปิดปลอกเข็มฉีดยาเตรียมฉีดได้เลย

ในกรณีที่ต้องการฉีดอินซูลิน 2 ชนิด ควรปฏิบัติ ดังนี้

1.กลิ้งขวดยาชนิดน้ำขุ่นไปมาบนฝ่ามือให้ยาผสมเป็นเนื้อเดียวกันอย่าเขย่าขวดอินซูลินเพราะจะทำให้เกิดฟอง
2.เช็ดปากขวดยาทั้งสองด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์
3.ก่อนปักเข็มลงในปากขวดยา ดูดลม…ยูนิต ( เท่าจำนวนยาน้ำขุ่นที่ต้องการ )
4.ปักเข็มลงไปในปากขวดยาชนิดน้ำขุ่นแล้วดันลมที่ดูดไว้ทั้งหมดใส่ลงไปในขวดยา ก่อนดึงหลอดฉีดยาเปล่าออกมา
ดูดลด…ยูนิต ( เท่าจำนวนยาน้ำใสที่ต้องการ ) ปักเข็มลงไปในขวดยาน้ำใสแล้วดันลมลงไปทั้งหมดก่อนคว่ำขวด ดึงยาใสออกมา…ยูนิต ( เท่าจำนวนยาน้ำใสที่ต้องการ )
5.จากนั้นปักเข็มลงไปในขวดยาน้ำขุ่นแล้วดูดยาน้ำขุ่นออกมาอีก…ยูนิต ( เท่าจำนวนยาน้ำขุ่นที่ต้องการรวมกันเป็น…ยูนิต )
การดูดยา 2 ชนิดผสมในเข็มเดียวควรฉีดทันทีหรือภายใน 15 นาทีเพราะหากทิ้งไว้นานจะทำให้การออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนไป

อินซูลินที่เปิดใช้แล้ว และเก็บอยู่ในปากกาฉีดอินซูลิน สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้อง ( 25 องศาเซลเซียส ) ได้นานประมาณ 30 วัน

หลังจากได้บรรจุยาอินซูลินในหลอดฉีดยาแล้ว การฉีดยาเข้าไปในบริเวณที่ต้องการควรปฏิบัติดังนี้

ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยา
ใช้มือข้างหนึ่งดึงบริเวณที่จะฉีดยาให้สูงขึ้น แล้วแทงเข็มฉีดยาลงไปตรงๆ ให้ตั้งฉากกับผิวเข้าชั้นใต้ผิวหนังให้มิดเข็ม ค่อยๆ ดึงก้านสูบขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อดูว่าแทงเข็มเข้าไปในหลอดเลือดหรือไม่ ถ้ามีเลือดเข้าไปในหลอดฉีดยาให้ถอนเข็มออกแล้วเปลี่ยนที่ฉีดใหม่ถ้าไม่มีเลือดออกก็ค่อยๆ เดินยาจนหมด
ถอนเข็มฉีดยาออก ใช้สำสีแห้งกดตำแหน่งที่ฉีดยาไว้ชั่วขณะ
นอกเหนือจากการใช้หลอดฉีดยาธรรมกาดังกล่าวแล้วยังมีการฉีดอินซูลินแบบใหม่ 2 แบบ คือ 

1.ปากกาฉีดอินซูลิน ลักษณะคล้ายกับปากกาหมึกซึมขนาดใหญ่ โดยมีอินซูลินบรรจุในหลอดแก้วขนาดเล็กใส่เข้ากับตัวปากกาพอดี ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมใช้กันมาก เนื่องจากสะดวกในการพกพาและการใช้สอย ทำได้โดยการหมุนเกลียวไปตามตัวเลขที่ต้องการก็จะได้ปริมาณอินซูลินตามนั้น ไม่ต้องใช้วิธีดูดยาออกจากขวด แต่มีราคาค่อนข้างสูง

2.อินซูลินปัมพ์ เป็นเครื่องมือที่จะติดอยู่กับตัวผู้ป่วยตลอดเวลาโดยมีเข็มแทงเข้าใต้ผิวหนังซึ่งต่อกับตัวเครื่องซึ่งควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตั้งโปรแกรมให้ฉีดอินซูลินขนาดต่ำ ๆ เข้าสู่ร่างกายตลอดเวลา และฉีดอินซูลินปริมาณเพิ่มขึ้นก่อนอาหาร เป็นการเลียนแบบคนปกติ

การเก็บรักษาอินซูลิน

อินซูลินที่ยังไม่ได้เปิดใช้ หากเก็บที่อุณหภูมิ 2 – 8 องศาเซลเซียส เก็บได้นานเท่ากับอายุยาข้างขวดแต่สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ( ประมาณ 25 องศาเซลเซียส ) ได้นานประมาณ 30 วัน อินซูลินที่เก็บในอุณหภูมิสูง เช่น กลางแดดจัด หรือที่อุณหภูมิต่ำมากๆ เช่น ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่ควรใช้เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากยาเสื่อมคุณภาพ และไม่แนะนำเก็บที่ฝาตู้เย็น เนื่องจาก อาจทำให้อุณหภูมิไม่ค่อยคงที่ จากการปิด-เปิดตู้เย็น

อินซูลินแบบขวดที่เปิดใช้แล้วและเก็บในตู้เย็น ( 2-8 องศาเซลเซียส ) จะเก็บได้นานประมาณ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่เปิดขวด ถ้าเก็บที่อุณหภูมิห้อง ( 25 องศาเซลเซียส ) ได้นานประมาณ 30 วัน

ผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากรับอินซูลินไปฉีดตามแพทย์สั่งแล้ว ยังต้องระวังการติดเชื้อให้ดีๆ ด้วยการรักษาอนามัยส่วนตัวให้สะอาด โดยเฉพาะฟันและเท้า รวมทั้งบาดแผล รอยข่วน หรือแผลเปื่อยยิ่งต้องระมัดระวังความสะอาดเป็น พิเศษ รวมทั้งหมั่นออกกำลังกาย  ควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด อย่าลืมทำจิตใจให้สบาย  และสุดท้ายควรมีบัตรประจำตัวระบุชื่อนามสกุล ชื่อแพทย์ประจำตัว เบอร์โทรศัพท์ ชื่อชนิดและขนาดของอินซูลินที่ใช้พกติดตัวเสมอ เผื่อยามฉุกเฉินคนรอบข้างจะได้ช่วยเหลือทัน

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์, 2557.

Hutton B, McGill S. “Home telehealth for diabetes management: a systematic review and meta-analysis”. Diabetes Obes Metab 11 (10): 913–30.