Home Blog Page 175

ขี้เหล็กและประโยชน์ของขี้เหล็ก ( Thai Copper Pod )

0
สรรพคุณและประโยชน์ของขี้เหล็ก (Thai Copper Pod)
ขี้เหล็กเป็นพืชที่นิยมนำมาเป็นอาหารแล้วยังใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาได้หลายโรค
สรรพคุณและประโยชน์ของขี้เหล็ก (Thai Copper Pod)
ขี้เหล็กเป็นพืชที่นิยมนำมาเป็นอาหารแล้วยังใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาได้หลายโรค

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก ( Thai Copper Pod ) คือ สมุนไพรพื้นบ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ประโยชน์ของขี้เหล็กมีมาก มีรสขมเล็กน้อย และมีความนุ่ม นิยมนำดอกอ่อนและยอดอ่อนมาทำอาหาร ทั้งเป็นอาหารและเป็นยาสมุนไพรรักษา และบรรเทาอาการต่างๆได้หลายโรค คนโบราณกินแกงขี้เหล็กต้านหวัดแล้วได้ผล เพราะขี้เหล็กมีวิตามินซีสูงมากกว่าส้ม เป็นพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นในภูมิภาคทวีปเอเชีย เช่น เวียดนาม มาเลเซีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และไทย เป็นต้น ขี้เหล็กบ้านมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่จะมีแค่พันธุ์ที่พบในประเทศไทยเท่านั้นที่นิยมนำมาประกอบเป็นอาหาร เมนูยอดฮิตอย่างแกงกะทิขี้เหล็กในเนื้อย่างหรือหมู หรือปลาย่าง ที่เป็นอาหารถูกปากใครหลายๆคน ส่วนแกงแบบพื้นบ้านทางภาคเหนือก็คือแกงบวน ภาคอีสานก็คือแกงซกเล็ก แกงขี้เหล็กย่านาง แกงขี้เหล็กใส่วุ้นเส้น เป็นต้น

ขี้เหล็ก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ขี้เหล็กชื่อนี้เป็นสมุนไพรชื่อคุ้นหูเป็นอย่างดีสำหรับคนไทย ขี้เหล็กเป็นไม้เบญจพรรณยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ ลำต้นขี้เหล็กสามารถสูงได้ถึงประมาณ 8 – 15 เมตร มีลักษณะเป็นพุ่มใหญ่ ขี้เหล็กใบมีขนาดเล็กเรียงกันกับก้านตรงกลาง ลักษณะคล้ายกับขนนก ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ทั้งผลและใบสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ โดยเฉพาะใบของขี้เหล็ก ซึ่งมีสีเขียวเข้มนี้มีคุณค่าทางสารอาหารเยอะมาก อุดมไปด้วยโปรตีน และเบต้าแคโรทีน ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็กสูง และมีเส้นใยอาหารอยู่มาก อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินซี สามารถปลูกขึ้นได้ง่ายในดินทุกชนิด โตเร็ว เป็นไม้ที่มีเนื้อแข็ง ขี้เหล็กทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดี ในส่วนของดอกขี้เหล็กจะมีสีเหลืองและสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี จึงนิยมปลูกเป็นต้นไม้ในบ้านไม้ตามรั้วบ้าน ใช้วิธีการขยายพันธุ์ขี้เหล็กด้วยเมล็ด

ขี้เหล็ก คุณค่าทางโภชนาการ

ใบขี้เหล็ก 100 กรัม ให้พลังงาน 87 กิโลแคลอรี

เบตาคาโรทีน 1.4 มิลลิกรัม
ใยอาหาร 5.6 กรัม
แคลเซียม 156 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 190 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 5.8 มิลลิกรัม
โปรตีน 7.7 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม

ดอกขี้เหล็ก 100 กรัม ให้พลังงาน 98 กิโลคาลอรี

มีเบตาคาโรทีน 0.2 มิลลิกรัม
ใยอาหาร 9.8 กรัม
แคลเซียม 13 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม
โปรตีน 4.9 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม

ขี้เหล็ก สรรพคุณและประโยชน์

  • เป็นยาระบายชนิดอ่อน สำหรับผู้ที่มีปัญหาอาการท้องผูกชนิดไม่รุนแรง
  • เป็นสมุนไพรช่วยขับสารพิษร้ายออกจากร่างกาย
  • สารบาราคอล (Baracol) ในขี้เหล็กเป็นยานอนหลับแบบธรรมชาติที่ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย
  • ดอกของต้นขี้เหล็ก สามารถช่วยรักษาโรคหิต รักษารังแคได้
  • ใบขี้เหล็กมีสารแอนไฮโดรบาราคอล (Anhydrobarakol)ช่วยระงับประสาทช่วยให้คลายเครียดได้
  • ช่วยบำรุงสายตา จากสารเบต้าแคโรทีนที่ร่างกายจะนำไปสร้างวิตามินเอ
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  • บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • เป็นอาหารที่มีวิตามินซีสูง ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต

ขี้เหล็ก ข้อควรระวัง

การรับประทานขี้เหล็กในลักษณะที่นำใบขี้เหล็กไปตากแห้งแล้วบรรจุเป็นเม็ด อาจทำให้เกิดการเสื่อมและทำลายเซลล์ตับ หรือตับอักเสบ ทำให้เกิดโรคตับ สารบาราคอลที่ได้รับในปริมาณมากจากขี้เหล็ก อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม สารในกลุ่มสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกได้ จึงไม่ควรรับประทานมาก และผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่ควรรับประทาน

โดยปกติแล้วคนทั่วไปมักจะรู้จักขี้เหล็กในรูปแบบของแกงกะทิที่มีรสชาติดี กินอร่อย แต่หลายคนหารู้ไม่ว่านอกจากขี้เหล็กจะเป็นอาหารที่อร่อยแล้ว ขี้เหล็กยังเป็นพืชสมุนไพรที่ดีมีประโยชน์ และเต็มไปด้วยสรรพคุณมากมาย  และยังเป็นสมุนไพรชนิดที่หาซื้อได้ง่ายในท้องตลาด หรือหากที่บ้านมีพื้นที่มากพอ จะปลูกต้นขี้เหล็กไว้เองก็ทำได้ไม่ยากนักเป็นพืชที่โตง่าย ดูแลรักษาไม่ยาก ดังนั้นเมื่อรู้แบบนี้แล้วควรหันมาทานขี้เหล็กเป็นอาหารให้บ่อยๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเรา และเพื่อเป็นการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้อีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), www.pharmacy.mahidol.ac.th

ประโยชน์ของข้าวโอ๊ต ( Oats )

0
คุณประโยชน์สำคัญจากข้าวโอ๊ต (Oats)
ข้าวโอ๊ต เป็นธัญพืชที่มีใยอาการสูง ให้พลังงานสูงแต่ไขมันต่ำ และมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์
คุณประโยชน์สำคัญจากข้าวโอ๊ต (Oats)
ข้าวโอ๊ต เป็นธัญพืชที่มีใยอาการสูง ให้พลังงานสูงแต่ไขมันต่ำ และมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์

ประโยชน์ของข้าวโอ๊ต ( Oats )

ชื่อ : ข้าวโอ๊ต
ชื่อภาษาอังกฤษ : Oats
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Avena Sativa

นอกจากจะรับประทาน ข้าวโอ๊ต ( Oats ) เป็นอาหารแล้ว ประโยชน์ของข้าวโอ๊ตซึ่งเป็นธัญพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย ยังมีคุณประโยชน์ทางยาอีกด้วย ข้าวโอ๊ตเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงแต่มี ปริมาณของไขมันที่ต่ำ ข้าวโอ๊ตจะนิยมปลูกกันมากในแถบทวีปยุโรปตอนเหนือ ที่มีอากาศหนาวเย็นและมีแสงแดดน้อยเช่น ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย  ประเทศรัสเซีย ประเทศเยอรมันตอนเหนือ เป็นต้น

การเลือกรับประทานอาหารในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มาจากประโยชน์ของข้าวโอ๊ตนั้น สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายรูปแบบ จะเลือกทานควบคู่กับอาหารเช้า หรือนำไปปรุงตามใจชอบเป็นเมนูอื่นๆก็ยังได้ เช่น จำพวกขนมอบโรยหน้าข้าวโอ๊ต ประโยชน์ของข้าวโอ๊ตจากคุกกี้ข้าวโอ๊ต หรือจะนำไปทำเป็นเมนูอาหารคาวอย่างเช่น เป็นส่วนผสมยัดไส้ไก่ ปลา หรือผัดพริกก็ได้หรือ จะใช้รำข้าวโอ๊ตเป็นแป้งคลุกไก่ ปลาและมะเขือก่อนนำไปเข้าเตาอบ ก็จะยิ่งทำให้อาหารนั้นๆมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยปกติผลิตภัณฑ์จากข้าวโอ๊ตในรูปแบบต่างๆ ที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต ด้านหลังกล่องจะมีวิธีการรับประทานและข้อมูลด้านโภชนาการให้เลือกซื้อได้ตามชอบใจ และมีตำราอาหารที่เขียนโดยผู้เชียวชาญด้านข้าวโอ๊ต ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ของข้าวโอ๊ตได้หลากหลายวิธี เช่น การปรุงแคร็กเกอร์ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ตอบ เป็นต้น

จากข้อมูลนักวิทยาศาสตร์พบว่า ข้าวโอ๊ตมีสรรพคุณที่ช่วยในการลดระดับของโคเลสเตอรอลในร่างกายได้ เนื่องจากประโยชน์ของข้าวโอ๊ตนั้นจะมีสารไฟเบอร์ที่ชื่อว่า “ เบต้ากลูแคน ” ( Betaglucan ) ซึ่งเป็นไฟเบอร์ชนิดที่ละลายในน้ำ คอยทำหน้าที่เสมือนยาขับถ่ายในลำไส้นั้นเองโดยแค่รับประทานรำข้าวโอ๊ตวันละ 1 ถ้วยก็เพียงพอแล้ว โดยตั้งแต่ต้นทศวรรษที่1960 เป็นต้นมา ข้าวโอ๊ต และ รำข้าวโอ๊ต (โอ๊ตแบรน) จึงเป็นอาหารยอดนิยมในการทานเพื่อช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล เป็นอย่างมาก

ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของคอเลสเตอรอล อย่าง เจมส์ แอนเดอร์สัน ยังพบผลการทดลองที่น่าพอใจในเรื่องของการทานรำข้าวโอ๊ตด้วย คือผู้ที่ทานรำข้าวโอ๊ตเพียงวันละ 1 ออนซ์ เช่น ซีเรียลสำเร็จรูปสำหรับอาหารเช้า ติดต่อกันหลายสัปดาห์ จะสามารถช่วยลดระดับของ LDL ( ไขมันชนิดไม่ดี ) ตัวอันตรายได้ 8% จึงส่งผลให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้นอกจากนี้ การทดลองหลายๆอย่างยังให้ผลตรงกันว่า การทานข้าวโอ๊ตแห้งเพียง วันละ 3 ออนซ์ หรือเทียบเท่าได้กับซีเรียลรำข้าวโอ๊ต 1.5 – 2.5 ถ้วย จะสามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลได้มากถึง 15 – 20% และยังช่วยลดค่า LDL ได้ถึง 12-24 % ด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาค่า LDL ในร่างกายเกินมาตรฐาน โดยจะไม่ไปส่งผลกับค่า HDL ที่เป็นไขมันชนิดดีในร่างกายแต่อย่างใด

สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี และมีระดับโคเลสเตอรอลในร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ( ต่ำกว่า 200 mg / dl ) ก็สามารถที่จะทานผลิตภัณฑ์จากข้าวโอ๊ตได้ปกติ เนื่องจาก มีผลการทดสอบพบว่า การเพิ่มการทานข้าวโอ๊ตในผู้ที่มีสุขภาพดีนั้น สาร เบต้ากลูแคนที่อยู่ในข้าวโอ๊ตจะไปช่วยลดระดับ LDL ได้ถึง 23% ทำให้ช่วยลดและป้องกันปัญหาการเกิดปัญหาระดับโคเลสเตอรอลในร่างกายสูงได้

สรุปประโยชน์ของข้าวโอ๊ตได้ว่า การทานอาหารที่มีผลิตภัณฑ์ของข้าวโอ๊ตผสมอยู่สามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในร่างกายได้

ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโคเลสเตอรอลในร่างกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลในร่างกายอยู่ในระดับปกติ ก็สามารถทานได้ ไม่มีผลกระทบใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งยังคอยไปช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในร่างกายให้อยู่ในระดับที่ดีอีกด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกทานผลิตภัณฑ์ของข้าวโอ๊ตในมื้ออาหารของแต่ละวันในปริมาณที่ เหมาะสม ประกอบกับการทานอาหารที่มีประโยชน์ปละหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและโรคร้ายอื่นๆ ที่มาจากปัญหาโคเลสเตอรอลในร่างกายสูงได้นั้นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ข้าวโอ๊ต” หน้า 65-69.

มะเร็งซาร์โคมามดลูก ( Sarcoma ) สาเหตุ อาการเบื้องต้นและวิธีการรักษา

0
โรคมะเร็งซาร์โคมามดลูก สาเหตุ อาการเบื้องต้นและวิธีการรักษา
มะเร็งซาร์โคมามดลูก เป็นโรคมะเร็งที่เกิดกับกล้ามเนื้อของผนังมดลูก เป็นมะเร็งที่พบในผู้ใหญ่อายุ30 และอายุ50 หรือหลังหมดประจำเดือน
โรคมะเร็งซาร์โคมามดลูก สาเหตุ อาการเบื้องต้นและวิธีการรักษา
มะเร็งซาร์โคมามดลูก เป็นโรคมะเร็งที่เกิดกับกล้ามเนื้อของผนังมดลูก เป็นมะเร็งที่พบในผู้ใหญ่อายุ30 และอายุ50 หรือหลังหมดประจำเดือน

มะเร็งซาร์โคมามดลูก ( Sarcoma )

มะเร็งซาร์โคมามดลูก ( Sarcoma ) คือ เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของมดลูก พบได้ประมาณร้อยละ 1 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งมดลูกทั้งหมด ซึ่งมะเร็งซาร์โคมาจะส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โดยเซลล์ภายในมดลูกเกิดเนื้อร้ายแล้วแพร่กระจาย และทำลายเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียง จากนั้นจะลามไปตามส่วนอื่นของร่างกาย อาจเรียกอีกชื่อว่า มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งกล้ามเนื้อมดลูก ( Uterine Sarcoma ) มดลูก เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณตรงกลางช่องท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกรานเหนือหัวหน่าว โดยมีหน้าที่สำคัญในระบบการสืบพันธุ์ทางเพศและเป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบสูตินรีเวช ซึ่งมดลูกจะประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิด และเซลล์ทุกชนิดของมดลูกก็สามารถเกิดเป็นมะเร็งได้หมด เช่น เซลล์ต่อมน้ำเหลือง กล้ามเนื้อ เยื่อเมือกบุภายในโพรงมดลูก และเส้นเลือด โดยหากเกิดมะเร็งตรงจุดไหนก็จะมีชื่อเรียกที่เฉพาะทางกันไป

มดลูก เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณตรงกลางช่องท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกรานเหนือหัวหน่าว โดยมีหน้าที่สำคัญในระบบการสืบพันธุ์ทางเพศและเป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบสูตินรีเวช ซึ่งมดลูกจะประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิด และเซลล์ทุกชนิดของมดลูกก็สามารถเกิดเป็นมะเร็งได้หมด เช่น เซลล์ต่อมน้ำเหลือง กล้ามเนื้อ เยื่อเมือกบุภายในโพรงมดลูก และเส้นเลือด โดยหากเกิดมะเร็งตรงจุดไหนก็จะมีชื่อเรียกที่เฉพาะทางกันไป

สาเหตุของมะเร็งซาร์โคมามดลูก

โรคมะเร็งซาร์โคมามดลูกยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดเช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัย ดังนี้

  • โรคอ้วน เพราะความอ้วนจะส่งผลกระทบต่อมดลูกให้เซลล์ต่างๆ เกิดความผิดปกติได้
  • คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน เพราะอาจไปกระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้ง่ายเช่นกัน
  • เชื้อชาติ โดยพบว่าโรคมะเร็งซาร์โคมมดลูกจะพบได้ในกลุ่มคนผิวดำมากกว่าคนผิวขาว
  • ผู้ที่เคยรับรังสีรักษาบริเวณมดลูก จะเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเซลล์จนเป็นมะเร็งได้สูง
  • อายุ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดนี้ส่วนใหญ่ จะมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่อย่างไรโรคนี้ก็พบได้ไม่บ่อยมากนักอาการของโรคมะเร็งซาร์โคมามดลูกมะเร็งชนิดนี้จะมีหลายชนิดย่อย ซึ่งก็มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไปด้วย แต่อาการที่แสดงออกมาและระยะของโรคจะมีความคล้ายคลึงกัน

โรคมะเร็งซาร์โคมามดลูกยังไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะ จึงอาศัยดูจากอาการที่แพทย์มักจะพบบ่อยๆ ในผู้ป่วยดังนี้

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่นมามาก มาน้อย หรือมาไม่ต่อเนื่อง
  • มดลูกมีขนาดโตกว่าปกติ เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะคลำพบบริเวณเหนือหัวหน่าวและในอุ้งเชิงกรานหรือท้องน้อย
  • มีอาการผิดปกติเมื่อปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อยจนเกินไปคล้ายกับผู้ป่วยเบาหวาน หรือปัสสาวะแสบขัด ทั้งนี้เกิดจากการที่มดลูกโตจนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ   
  • มีอาการผิดปกติเมื่อถ่ายอุจจาระ ซึ่งเนื่องมาจากการที่มดลูกโต จนไปกดหรือเบียดทับทวารหนักเช่นกัน เพราะทวารหนักจะอยู่ติดกับด้านหลังของมดลูกพอดี
  • มีอาการปวดในช่องท้องน้อยแบบเรื้อรังและรุนแรงขึ้น เนื่องจากมะเร็งได้ลุกลามไปมากนั่นเองการวินิจฉัยและระยะของโรคสำหรับการวินิจฉัยแพทย์จะสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วยเป็นอันดับแรก แล้วจึงตรวจร่างกาย ตรวจภายในตามลำดับ ร้อมกับขูดมดลูกมาตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อผลการตรวจที่แม่นยำว่าผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็งซาร์โคมามดลูกหรือไม่นอกจากนี้ยังสามารถบอกระยะของอาการป่วยได้อีกด้วย

ใครที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งซาร์โคมามดลูก

  • อายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป
  • คนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคซาร์โคมามดลูก
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • การสัมผัสกับสารเคมี
  • การได้รับรังสีบำบัดสำหรับโรคมะเร็งก่อนหน้านี้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งซาร์โคมามดลูกในภายหลัง

อาการของมะเร็งมดลูก

  • มีเลือดออกจากช่องคลอด โดยผู้ที่เข้าวัยทองจะเริ่มมีเลือดออกจากช่องคลอดเพียงเล็กน้อยปนมากับของเหลว และมักมีเลือดออกมากขึ้น ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าวัยทองจะมีประจำเดือนมากกว่าปกติ รวมทั้งมีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงที่ไม่ได้มีประจำเดือน
  • ปวดท้องน้อยและรู้สึกเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ได้พบทั่วไป
  • คลื่นไส้ รู้สึกเหนื่อย เบื่ออาหาร รวมทั้งปวดหลัง ขา หรืออุ้งเชิงกราน ซึ่งเกิดขึ้นในกรณีที่มะเร็งเข้าระยะที่ 4

ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีเลือดออกจากช่องคลอด หรือผู้ที่รอบเดือนผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากภาวะเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติหลังเข้าวัยทองนั้นมีสาเหตุมาจากมะเร็งมดลูก ซึ่งพบเพียง 1 ใน 10 รายเท่านั้น อาการเลือดออกจากช่องคลอดที่เกิดขึ้นจึงอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก หรือติ่งเนื้อในเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น

ระยะของมะเร็งซาร์โคมามดลูก

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งมีความรุนแรงต่ำและมีการลุกลามเฉพาะในตัวมดลูกเท่านั้น

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามเข้าสู่ปากมดลูก ช่องคลอด ต่อมน้ำเหลืองและรังไข่ มีความรุนแรงในระดับปานกลาง

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่นๆ ในช่องท้อง อาจมีอาการอื่นๆ แสดงออกมาในช่วงนี้ และมีความรุนแรงมาก

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามและแพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป ผ่านการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือด โดยมีระดับความรุนแรงมากที่สุด

การรักษามะเร็งซาร์โคมามดลูก

การรักษาโรคมะเร็งซาร์โคมามดลูกโดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัดและให้ยาฮอร์โมน โดยหลังจากการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะประเมินผลการลุกลามของมะเร็งและพิจารณาการรักษาในลำดับต่อไป ซึ่งจะใช้รังสีรักษา ทำเคมีบำบัดหรือให้ยาฮอร์โมน ก็ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมทางร่างกายของผู้ป่วยด้วย ส่วนจะทำการรักษาได้หายขาดหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่นกัน โดยเฉพาะระยะของโรค อายุและสุขภาพของผู้ป่วย

นอกจากนี้ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งซาร์โคมามดลูกมาให้พบในระยะแรก จึงแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเอง โดยหากมีอาการดังที่กล่าวไปข้างต้นก็ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอาการป่วยอย่างเร่งด่วน ส่วนวิธีการป้องกัน ก็ยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

De Magalhaes JP (2013). “How ageing processes influence cancer”. Nature Reviews Cancer.

มะเร็งกรวยไต และ มะเร็งท่อไต

0
โรคมะเร็งกรวยไตและมะเร็งท่อไต
กรวยไต คือส่วนของไตที่เป็นช่องหรือเป็นโพรง มีลักษณะเป็นรูปกรวย มีหน้าที่เป็นที่เก็บกักหรือพักน้ำปัสสาวะที่ปล่อยออกจากไตก่อนไหลลงสู่ท่อไต
โรคมะเร็งกรวยไตและมะเร็งท่อไต
กรวยไต คือส่วนของไตที่เป็นช่องหรือเป็นโพรง มีลักษณะเป็นรูปกรวย มีหน้าที่เป็นที่เก็บกักหรือพักน้ำปัสสาวะที่ปล่อยออกจากไตก่อนไหลลงสู่ท่อไต

มะเร็งกรวยไต และ มะเร็งท่อไต

มะเร็งกรวยไต ( Kidney Cone Cancer ) และ มะเร็งท่อไต ( Ureteric Cancer ) มีเซลล์หลายชนิดประกอบอยู่ ซึ่งทุกเซลล์สามารถกลายพันธุ์เป็นโรคมะเร็งได้หมด เช่น เซลล์ต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือด กล้ามเนื้อ และเซลล์เยื่อเมือกบุภายในกรวยไตหรือท่อไต เป็นต้น แต่ที่มักจะพบได้มากที่สุด จะเป็นมะเร็งที่เกิดจากเยื่อเมือกบุภายใน ซึ่งก็มีธรรมชาติของโรค การแสดงอาการ ระยะการป่วย วิธีการรักษาและการวินิจฉัยโรคได้เหมือนกันทั้งกรณีมะเร็งจากเยื่อเมือกบุในกรวยไตและท่อไต แพทย์จึงจัดให้โรคมะเร็งทั้งสองชนิดนี้อยู่ในกลุ่มเดียวกันเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจและการรักษามากขึ้น

กรวยไต ( Kidney Cone ) คือ โพรงที่ทำหน้าที่ในการกักเก็บน้ำปัสสาวะจากการกรองของเซลล์ไต ซึ่งจะอยู่ติดต่อกับท่อไตพอดี เพื่อปล่อยน้ำปัสสาวะส่งไปเก็บไว้ยังกระเพาะปัสสาวะก่อนนำออกนอกร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยกรวยไตก็ถือเป็นเนื้อเยื่อส่วนหนึ่งของไตด้วยนั่นเอง

ท่อไต ( Ureteric Duct ) คือ ส่วนที่อยู่ติดกับกรวยไตบริเวณช่องท้องด้านหลัง จะทำหน้าที่ในการนำปัสสาวะส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะที่อยู่บริเวณช่องท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน โดยกระเพาะปัสสาวะก็จะกักเก็บน้ำปัสสาวะเอาไว้ก่อนปล่อยออกนอกร่างกายตามกลไกธรรมชาติต่อไป

สาเหตุของโรคมะเร็งกรวยไต และมะเร็งท่อไต

การเกิดโรค มะเร็งกรวยไต และมะเร็งท่อไต แพทย์คาดว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงต้องดูจากหลายปัจจัยดังนี้มาพิจารณา

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมของยีนส์ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งตัวหรือการตายของเซลล์ โดยเป็นชนิดที่ไม่ถ่ายทอด
  • การได้รับสารเคมีที่มาปนเปื้อนมากับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะควันพิษจากโรงงานและจากท่อไอเสียรถยนต์โดยพบว่าคนในเมืองจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนในชนบท
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือได้รับควันบุหรี่มือสองอย่างต่อเนื่อง
  • ผู้ที่เป็นโรคนิ่วในไต โดยพบว่ามีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งได้สูงมาก
  • การทานยาแก้ปวดบางชนิดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจกระตุ้นให้เกิดเป็น มะเร็งกรวยไต และมะเร็งท่อไตในที่สุด
  • การได้รับสารก่อมะเร็งบางชนิดอย่างต่อเนื่อง
  • อายุ โดยพบว่าโรค มะเร็งกรวยไต และมะเร็งท่อไต จะพบในผู้ใหญ่ที่มีอายุช่วง 50-60 ปีมากที่สุด และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2-3 เท่า และอาจเกิดกับไตข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แต่พบว่าผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งชนิดนี้ที่ไตพร้อมกันทั้งสองข้างจะมีน้อยมาก ประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น

อาการของมะเร็งกรวยไตและมะเร็งท่อไต

โรค มะเร็งกรวยไต และมะเร็งท่อไต มีหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่พบมากที่สุดก็คือมะเร็งชนิดทรานซิชันแนลที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง โดยอาการที่จะแสดงเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งกรวยไตและท่อไต ยังไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะ ดังนั้นจึงต้องสังเกตจากอาการทั่วไปที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่ามักจะพบบ่อยๆ ในผู้ป่วยมะเร็ง โดยมีอาการดังนี้

  • ปัสสาวะมีเลือดปนออกมาก โดยอาจมีอาการปวดในขณะปัสสาวะด้วยในบางราย
  • มีอาการปวดหลังเรื้อรัง เนื่องจากมะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่กระดูก
  • ไตบวมโตจนสามารถคลำเจอได้ โดยจะเป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปมากแล้ว

การวินิจฉัยและระยะของโรค

สำหรับการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังเป็นโรคมะเร็งกรวยไตหรือท่อไตหรือไม่ แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับประวัติอาการของผู้ป่วยทำการตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์เพื่อดูภาพท่อไตและกรวยไต และสุดท้ายก็จะทำการผ่าตัดนำก้อนเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะให้ผลตรวจที่แม่นยำที่สุด และสามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็งระยะที่เท่าไหร่และควรรักษาด้วยวิธีไหน

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งกรวยไตและมะเร็งท่อไต

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งยังไม่ลุกลามออกไปสู่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง ซึ่งจะมีการลุกลามอยู่เฉพาะในชั้นเยื่อบุภายในของไตหรือท่อไตเท่านั้น

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าไปสู่ชั้นกล้ามเนื้อของกรวยไตหรือท่อไต แต่ยังไม่ลุกลามออกไปมากกว่านั้น

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปถึงชั้นเยื่อหุ้มกรวยไตหรือท่อไต ซึ่งมีความรุนแรงพอสมควร

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าไปสู่เนื้อเยื่อ อวัยวะข้างเคียง ต่อมน้ำเหลืองและแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะปอดและกระดูก โดยระยะนี้จะมีโอกาสรักษาให้หายต่ำมากและมีความรุนแรงสูงที่สุด

การรักษาโรคมะเร็งกรวยไตและมะเร็งท่อไต

โรค มะเร็งกรวยไต และมะเร็งท่อไต มีโอกาสรักษาให้หายได้ แม้ว่าจะเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคสูงก็ตาม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน เช่น อายุและสุขภาพของผู้ป่วย ระยะของโรคมะเร็ง โดยส่วนใหญ่หากเป็นระยะแรกจะรักษาให้หายได้ง่าย และผลการรักษาว่าสามารถผ่าตัดนำเอาก้อนมะเร็งออกมาได้หมดหรือไม่ เพราะหากยังคงมีหลงเหลืองอยู่ โอกาสที่มะเร็งจะลุกลามขึ้นมาอีกก็มีได้สูงนั่นเอง

สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองให้พบ มะเร็งกรวยไต และมะเร็งท่อไต ตั้งแต่เริ่มเป็นยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพ ทำได้เพียงการสังเกตความผิดปกติของตัวเองและรีบไปพบแพทย์โดยด่วน ส่วนการป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดก็คือให้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ การอยู่ในสถานที่ที่เต็มไปด้วยสารเคมีในอากาศ เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง 

“Cancer Fact Sheet”. Agency for Toxic Substances & Disease Registry. 30 August 2002. สืบค้นเมื่อ 17 August 2009.

มะเร็งปอด ( Lung Cancer ) สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

0
เกิดจากเซลล์ส่วนใดส่วนหนึ่งภายในปอดที่มีความผิดปกติ และเจริญเติบโตจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้ายและอาจแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นของร่างกาย
มะเร็งปอด (Lung Cancer) สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
มะเร็งปอด เกิดจากเซลล์ส่วนใดส่วนหนึ่งภายในปอดที่มีความผิดปกติ และเจริญเติบโตจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้ายและอาจแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นของร่างกาย

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด ( Lung Cancer ) สามารถเกิดขึ้นได้ตรงส่วนไหนของปอดก็ได้ และแพร่กระจายไปสู่กันได้ อย่างง่ายดายอีกด้วย โดยเฉพาะเซลล์ของปอดที่สามารถเกิดมะเร็งได้ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น เซลล์เนื้อเยื่อปอด เซลล์ต่อมน้ำลาย เซลล์เยื่อเมือกบุภายในหลอดลมและเซลล์ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น โดยปอดมีหน้าที่ในการหายใจและฟอกอากาศเพื่อนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายพร้อมแลกเปลี่ยนนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งปอดจะอยู่บริเวณช่องอก มีสองข้างซ้ายขวานั่นเอง โดยปอดแต่ละข้างก็จะแบ่งเป็นอีกหลายกลีบและทำหน้าที่ของตัวเองไป โดยสำหรับ

อาการมะเร็งปอด

มะเร็งปอดส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก และจะมีสัญญาณเตือนที่บอกถึงการเกิดโรคเมื่อมะเร็งมีการเจริญเติบโตมากขึ้น ซึ่งสังเกตได้จาก

  • ไอเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน
  • ไอปนเลือด
  • หายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบากเป็นระยะเวลานาน
  • เจ็บหน้าอก
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • ปวดหรือเจ็บขณะหายใจหรือไอ
  • เสียงแหบ

สาเหตุของมะเร็งปอด

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน จนส่งผลให้เกิดเป็นมะเร็งปอดได้ในที่สุด โดยเฉพาะปัจจัยเหล่านี้

  • การมีพันธุกรรม ซึ่งจะเป็นพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอดบางชนิด โดยจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดได้มากกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมะเร็งในกรณีนี้ มักจะเกิดจากพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์มากที่สุด
  • การสูบบุหรี่ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่พบได้มากในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด เพราะบุหรี่มีสารพิษหลายชนิดที่จะเข้าไปทำลายปอดโดยตรง ส่งผลให้เซลล์ปอดเกิดการกลายพันธุ์ จนเป็นมะเร็งปอดในที่สุด ดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่จึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงมาก และนอกจากนี้ในคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำ ก็มีโอกาสป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดได้สูงไม่แพ้ผู้สูบบุหรี่โดยตรงเลยทีเดียว
  • อายุ ด้วยอายุที่มากขึ้น จะมีความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดสูงขึ้นด้วย ซึ่งจากสถิติของผู้ป่วยพบว่า จะพบมะเร็งปอดในคนที่มีอายุ 50-60 ปีมากที่สุดและมักจะเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 2 เท่า โดยสำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ก็จะพบมะเร็งปอดได้น้อยมาก อย่างไรก็ตามในประเทศไทยก็พบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดติดใน 10 อันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดชนิดของโรคมะเร็งปอด

ชนิดของมะเร็งปอด

ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ

1) ชนิดเซลล์ตัวโต 

2) ชนิดเซลล์ตัวเล็ก

โดยสำหรับความรุนแรงของโรคนั้น พบว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็กจะมีความรุนแรงมากที่สุด และสามารถพบได้บ่อยมากอีกด้วยอาการของโรคมะเร็งปอดโรคมะเร็งปอดก็เช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่ไม่มีอาการบ่งชี้เฉพาะ โดยจะมีอาการที่คล้ายกับการติดเชื้อทั่วไปของปอดแทน

ในปี พ.ศ.2550 ทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคนี้เกือบ 8 ล้านคนโดยมะเร็ง 5 ชนิดที่พบมากที่สุด อันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งปอด เสียชีวิต ปีละ 1.3 ล้านคน

ซึ่งก็มีอาการที่สามารถสังเกตและสันนิษฐานได้ว่าอาจเป็น มะเร็งปอดดังนี้

  • มีอาการไอเรื้อรัง โดยในบางคนอาจไอเป็นเลือดหรือมีน้ำลายปนเลือดออกมาด้วย
  • รู้สึกเหนื่อยหอบได้ง่าย บางครั้งอาจคล้ายคนเป็นโรคหอบ
  • น้ำหนักลดผิดปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการไข้ต่ำๆ ที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้
  • มีอาการบวม โดยส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณใบหน้า ลำคอและแขนและอาจมีอาการเหนื่อยหอบจนไม่สามารถนอนราบได้ ทั้งนี้เกิดจากการที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าไปในหลอดเลือดในช่องอกนั่นเอง
  • คลำพบต่อมน้ำเหลืองโตใกล้กับกระดูกไหปลาร้า ซึ่งเป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปมากแล้ว
  • ในผู้ป่วยบางคนที่เป็นมะเร็งปอดอาจไม่มีอาการทางปอดแสดงออกมา แต่อาจมีอาการอื่นๆ ที่เกิดจากการแพร่กระจายของมะเร็งปอดแสดงออกมาแทน เช่น ปวดหลัง ปวดกระดูกหรือเป็นอัมพาต เป็นต้น

    การวินิจฉัยและระยะของมะเร็ง

    การวินิจฉัย แพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย ตามด้วยการตรวจร่างกายและเอกซเรย์ปอด และขั้นตอนสำคัญก็คือการนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาหรือเซลล์วิทยา เพื่อผลการตรวจที่แม่นยำว่ากำลังป่วยด้วยมะเร็งปอดหรือไม่ หลังจากนั้นก็จะตรวจสอบระยะของโรค

มะเร็งปอด มีทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 : เป็นระยะที่มะเร็งยังคงมีขนาดเล็กไม่เกิน 50 เซนติเมตร และยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากขั้วปอด

ระยะที่ 2 : เป็นระยะที่มะเร็งปอดเริ่มมีการลุกลามและมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม โดยส่วนใหญ่จะลุกลามเข้าสู่ผนังหน้าอก เยื่อหุ้มปอดและต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

ระยะที่ 3 : เป็นระยะที่มะเร็งปอด ลุกลามจนเข้าไปในปอดกลีบอื่นๆ และขยายวงกว้างมากขึ้น หรือกรณีที่ก้อนมะเร็งเกิดอยู่ใกล้กับขั้วปอดมาก ซึ่งก็เป็นระยะที่มีความอันตรายสูงพอสมควร

ระยะที่ 4 : เป็นระยะที่มะเร็งมีการกระจายเข้าสู่กระแสเลือดและอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปจากต้นกำเนิดมะเร็ง โดยส่วนใหญ่จะพบว่ามีการแพร่กระจายเข้าไปในกระดูก ตับ สมองและน้ำเหลืองได้มากที่สุด

การรักษามะเร็งปอด

มะเร็งปอดเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูงมากและอาจแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็สามารถรักษาให้หายได้แต่จะมีโอกาสต่ำกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามก็ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วย เช่น ระยะของโรคมะเร็ง อายุ สุขภาพของผู้ป่วย การตอบสนองต่อผลการรักษา และสุดท้ายที่สำคัญก็คือผลของการผ่าตัด ว่าสามารถเอาก้อนเนื้อออกไปได้หมดหรือไม่ เพราะหากยังคงมีหลงเหลืออยู่ มะเร็งปอดก็สามารถแพร่กระจายไปอีกได้เช่นกัน

การรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวโต

สำหรับการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวโต จะแบ่งออกตามระยะของโรค ดังนี้

ระยะเริ่มแรก แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งในบางรายก็อาจทำเคมีบำบัดร่วมด้วย

ระยะลุกลามรุนแรง แพทย์จะทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดพร้อมกับรังสีรักษา เพื่อบรรเทาและปะทังอาการให้ได้มากที่สุด แต่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของผู้ป่วยด้วย

ระยะแพร่กระจาย จะทำการรักษาด้วยการประคับประคองพยุงอาการ และพยายามบรรเทาอาการป่วยให้ได้มากที่สุด เนื่องจากเป็นระยะที่อาการรุนแรงและอันตรายมาก ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

การรักษาโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็ก

มะเร็งปอดจะมีความรุนแรงสูงมากและส่วนใหญ่มักจะตรวจพบเมื่อมะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจายไปสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะส่วนอื่นๆ แล้ว การรักษาจึงต้องรักษาแบบพยุงอาการ และพยายามประคับประคองให้ผู้ป่วยมีอายุอยู่ได้นานที่สุด ซึ่งก็อาจจะทำเคมีบำบัดและใช้รังสีรักษาร่วมด้วย

นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางคนแพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ด้วยว่าจะสามารถใช้วิธีการนี้ในการรักษาได้หรือไม่และนอกจากวิธีการรักษาที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกวิธีที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งปอดได้เหมือนกัน คือการใช้ยารักษาแบบตรงเป้าซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาและมีราคาแพงมาก

โดยในปัจจุบันวิธีนี้ยังคงใช้เพื่อควบคุมโรคได้ระยะหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้สำหรับการตรวจหาโรคมะเร็งให้พบตั้งแต่เริ่มแรกเป็น ยังไม่มีวิธีที่ชี้เฉพาะ ทำได้แค่หมั่นสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ หากมีความผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที และสำหรับการป้องกัน ก็ให้หลีกเลี่ยงตัวการที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดโดยเฉพาะการสูบบุหรี่และการได้รับควันบุหรี่มือสอง หากทำได้ดังนี้จะห่างไกลจากโรคมะเร็งแน่นอน

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Jemal, A (Sep 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences 1076.

เผยคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเกือบ 7 หมื่น มะเร็งปอดสูงสุด.[เว็บไซต์], สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. 2015.

ไขมันทรานส์ ไขมันชนิดเลว ( LDL ) ไขมันชนิดดี ( HDL ) คืออะไร มีอะไรบ้าง ?

0
ไขมันทรานส์ ไขมันชนิดเลว (LDL) ไขมันชนิดดี (HDL) คืออะไร มีอะไรบ้าง ?
คอเลสเตอรอล คือ ไขมันประเภทหนึ่ง มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว พบได้ในเซลล์ของอวัยวะทั่วไปในร่างกาย
ไขมันทรานส์ ไขมันชนิดเลว (LDL) ไขมันชนิดดี (HDL) คืออะไร มีอะไรบ้าง ?
คอเลสเตอรอล คือ ไขมันประเภทหนึ่ง มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว พบได้ในเซลล์ของอวัยวะทั่วไปในร่างกาย

ไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นหนึ่งในประเภทของไขมันที่มีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภทคือ ไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่จะอยู่ในอาหารที่เรากิน ไขมันทรานส์ประกอบขึ้นจากกระบวนการผลิตที่เติมไฮโดรเจลลงในน้ำมันพืช ซึ่งเปลี่ยนของเหลวให้เป็นไขมันแข็งที่อุณหภูมิห้อง ไขมันทรานส์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น นมเนย เนยแข็งที่ผลิตจากเนื้อสัตว์เป็นต้ ซึ่งการทานปริมาณไขมันที่เหมาะสมควรไม่ให้เกินวันละ 20 – 35 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณอาหารทั้งหมด

ปริมาณไขมันที่เหมาะสมในการบริโภคต่อวัน โดยแยกตามกลุ่มบุคคลได้ดังนี้

  • เด็ก ควรทานไม่เกินปริมาณ 30-60 กรัม
  • วัยรุ่นที่แอ๊คทีฟ ควรทานไม่เกินปริมาณ 40-80 กรัม
  • ผู้หญิง ควรทานไม่เกินปริมาณ 30-60 กรัม
  • ผู้ชายแอ๊คทีฟ ควรทานไม่เกินปริมาณ 40-80 กรัม
  • ผู้ที่มีกิจกรรมหนัก/นักกีฬา ควรทานไม่เกินปริมาณ 80-120 กรัม

ซึ่งเราสามารถแบ่งไขมันที่มีผลต่อร่างกายออกได้เป็นสองชนิด  คือ ชนิดที่เป็นไขมันดี และชนิดที่เป็นไขมันไม่ดี โดยไขมันชนิดไม่ดีนั้น จะเป็นสิ่งที่มีผลร้ายต่อร่างกาย หากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป ไขมันชนิดไม่ดีคืออะไร จะอธิบายดังต่อไปนี้

แหล่งที่มาของไขมันทรานส์ แบ่งได้ 2 รูปแบบดังนี้

  • ไขมันทรานส์ที่ได้จากธรรมชาติ สามารถพบได้ในเนื้อสัตว์เคี้ยวเอื้อง
  • ไขมันทรานส์ที่ได้จากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงไปในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง

ไขมันอิ่มตัว คืออะไร?

ไขมันอิ่มตัว คือ เป็นไขมันชนิดไม่ดีที่จะพบได้มากใน เนื้อสัตว์ติดมัน สัตว์ปีก น้ำมันหมู เนย ครีม ชีส เป็นต้น นอกจากนี้ไขมันอิ่มตัวยังสามารถพบได้ในพืชบางชนิดอีกด้วย เช่น น้ำมะพร้าว ปาล์ม ครีมเทียม และดาร์กช็อกโกแลต เป็นต้น

ไขมันไม่อิ่มตัว คืออะไร?

ไขมันไม่อิ่มตัว มีพันธะหนึ่งหรือสองครั้งหรือมากกว่าระหว่างโมเลกุล ไขมันเหล่านี้เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง พวกเขายังพบในอาหารแข็ง กลุ่มนี้แบ่งออกเป็นสองประเภทเพิ่มเติมเรียกว่าไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน แหล่งอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่ น้ำมันอะโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันพืช เช่นทานตะวัน ข้าวโพดหรือคาโนลา ปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอน และปลาแมคเคอเรล ถั่วและเมล็ดพืช เช่น อัลมอนด์ ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และเมล็ดงา

ไขมันนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดหลักๆ คือ ไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ( เชิงเดี่ยว ) และไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ( เชิงซ้อน )

ไขมันทรานส์อันตรายแค่ไหน?

  • เป็นต้นเหตุหลักในการเกิดโรคเรื้อรังและการอักเสบ เช่น โรคอัลไซเมอร์ จอประสาทตาเสื่อมโรคนิ่วในถุงน้ำดี และการอักเสบภายในส่วนของร่างกายซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไร้เชื้อเรื้อรังทั้งหลาย
  • ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในเพศหญิง
  • เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจโดยจะไปเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ( LDL Cholesterol ) และยังไปลดปริมาณคอเลสเตอรอลที่ดี ( HDL Cholesterol ) ในร่างกายลงอีกด้วย

ไขมันทรานส์กับปริมาณที่บริโภคได้ต่อวัน

เนื่องจากไขมันทรานส์ทั้งสองประเภทเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงต้องควบคุมปริมาณการบริโภคดันนั้น กระทรวงสาธารณสุขของไทย จึงแนะนำปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันทรานส์ต้อง ไม่เกิน 1% ของค่าพลังงานต่อวัน หรือประมาณ 2 กรัมต่อวัน และแนะนำปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันทรานส์ชนิดอิ่มตัวไม่ควรเกิน 10% ของค่าพลังงาน ต่อวัน หรือประมาณ 5 กรัมต่อมื้อ

คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดเลว ในศตวรรษ 21

คอเลสเตอรอล คือ ไขมันประเภทหนึ่ง มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว พบได้ในเซลล์ของอวัยวะทั่วไปในร่างกายซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเซลล์เมมเบรน สร้างปลอกหุ้มใยประสาท สร้างฮอร์โมน เช่น เทสทอสเทอโรน เอสโทรเจน น้ำดีสำหรับย่อยและดูดซึมไขมันและวิตามินดี เป็นต้น โดยคอเลสเตอรอล แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ คอเลสเตอรอลชนิดดี ( HDL ) และ คอเลสเตอรอลชนิดเลว ( LDL ) ที่จริงแล้วทั้งสองชนิดเป็นไขมันผสมโปรตีนที่พาคอเลสเตอรอลไปทั่วร่างกาย มีชื่อจริงๆว่า ไลโปโปรตีน ( Lipoproteins )

ผู้เชี่ยวชาญด้านไขมันให้ความเห็นว่า มีการใช้คำว่าคอเลสเตอรอลกันไม่ถูกต้อง โดยเรียก ( HLD ) ว่าเป็นคอเลสเตอรอลดีและเรียก ( LDL ) ว่า เป็นคอเลสเตอรอลเลว ที่จริงแล้วทั้งสองชนิดเป็นไขมันและโปรตีนที่พาคอเลสเตอรอลไปทั่วร่างกาย มีชื่อจริงๆว่า ไลโปโปรตีน ( Lipoproteins ) ซึ่ง ( LDL ย่อมาจาก Low-Density Lipoprotein ) หมายถึง ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง ทำหน้าที่นำ ( LDL ) คอเลสเตอรอลส่วนเกินไปขจัดออกที่ตับ สำหรับการตรวจค่าของคอเลสเตอรอลนั้น ค่าที่ได้ออกมาจากการตรวจจะเป็นแบบรวม ทั้งคอเลสเตอรอลชนิดดี ( HDL ) และ คอเลสเตอรอลชนิดเลว ( LDL ) รวมทั้งค่าของ ไตรกลีเซอไรด์ด้วย และหากผลตรวจออกมาพบว่าค่าคอเลสเตอรอลรวมสูง ก็เป็นไปได้ที่  คอเลสเตอรอลชนิดดี ( HDL ) จะสูงตามไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเพราะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้เนื่องจากไขมันอิ่มตัวมีผลในการเพิ่มระดับ ( LDL )

ซึ่งผลทางการวิจัยก็สามารถสรุปได้ว่า หาก ( LDL ) เพิ่มก็จะส่งผลให้ ( HDL ) เพิ่มตามไปด้วย และหากมองให้ดี ( LDL ) ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่เป็นโทษต่อร่างกายเสมอไป แต่จะขึ้นอยู่กับขนาดของ ( LDL ) นั้นเอง ซึ้งแบ่งออกเป็น 2 ขนาดคือ ( LDL ) ขนาดเล็กคือ เป็นไลโปโปรตีนที่สามารถชอนไชผ่านผนังหลอดเลือดได้ง่าย และยังง่ายต่อการทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกระบวนการนี้จะไปทำลายผนังหลอดเลือดและก่อให้เกิดอาการอักเสบ นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจในที่สุด ซึ่งพบว่าผู้ที่มี ( LDL ) ขนาดเล็กส่วนใหญ่จะมีความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจสูงถึง 3 เท่าของผู้ที่มี ( LDL ) ขนาดใหญ่ ( LDL ) ขนาดใหญ่ คือ เป็นไลโปโปรตีนที่มีลักษณะฟู บาง ทำให้ชอนไชเข้าสู่ผนังหลอดเลือดได้ยากต่างจาก ( LDL ) ขนาดเล็กซึ่งไม่ก่อให้เกิดปัญหา จึงหมายความว่า แม้ไขมันอิ่มตัวจะเพิ่มระดับ ( LDL ) ได้ไม่มาก และเป็นเพียงระยะสั้น แต่ก็จะสามารถเปลี่ยน ( LDL ) ขนาดเล็กไปเป็นขนาดใหญ่ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้

คอเลสเตอรอล แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ คอเลสเตอรอลชนิดดี ( HDL ) และ คอเลสเตอรอลชนิดเลว ( LDL ) ที่จริงแล้วทั้งสองชนิดเป็นไขมัน+โปรตีนที่พาคอเลสเตอรอลไปทั่วร่างกาย มีชื่อจริงๆว่า ไลโปโปรตีน ( Lipoproteins )

ดังนั้นหากต้องการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ จะต้องทำให้ภายในเลือดของคนเรามี ( LDL ) ขนาดใหญ่ให้มาก และต้องเลี่ยงให้มี ( LDL ) ขนาดเล็กให้มีปริมาณที่น้อยที่สุดด้วยกล่าวโดยสรุป คือ ไขมันอิ่มตัวนั้นจะไปช่วยเพิ่ม ( HDL ) และยังช่วยไปเปลี่ยน ( LDL ) จากขนาดเล็กเป็นขนาดใหญ่

ดังนั้น การทานอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันอิ่มตัวไม่ได้เป็นอันตรายตามที่เชื่อกันมาก่อนหน้านี้ แต่ก็มีข้อควรระวังคือผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเนื่องจากพันธุกรรมหรือผู้ที่มียีนอะโปอี ไม่ควรทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันอิ่มตัวรู้เท่าทันฉลากอาหาร การดูฉลากสินค้าก่อนซื้อเป็นเรื่องที่ดี แต่สำหรับการเลือกซื้อสินค้าที่มีฉลากบอกปริมาณของไขมันทรานส์ ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า หากบนฉลากระบุไว้ว่า อาหารชนิดนั้นมีปริมาณไขมันทรานส์ เท่ากับ 0 กรัม อาจจะไม่ได้หมายความว่า อาหารชนิดนั้นปลอดจากไขมันทรานส์ เนื่องจากมีกฎระเบียบขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาว่า หากอาหารชนิดใด มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ ไม่ถึง 0.5 กรัม ก็สามารถที่จะระบุในฉลากผลิตภัณฑ์ ได้ว่ามีไขมันทรานส์เป็น 0 กรัม ได้ นั้นเอง แม้ว่าปริมาณ 0.5 กรัม จะถือว่าเป็นส่วนที่น้อยนิด แต่หากทานเข้าไปในปริมาณหลายหน่วยรวมๆกัน ก็จะสามารถทำให้มีปริมาณของไขมันทรานส์สะสมได้  เพราะฉะนั้นการอ่านฉลากอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แต่จะต้องมีวิธีการเพิ่มเติม

วิธีการป้องกันอันตรายจากไขมันทรานส์

1. อ่านฉลากอาหารเพื่อดูปริมาณของไขมันทรานส์ และทำการเปรียบเทียบในหลายๆยี่ห้อ  เพื่อเลือกยี่ห้อที่มีปริมาณของไขมันทรานส์เป็น 0 หรือมีค่าน้อยที่สุด

2. ตรวจสอบดูส่วนประกอบของอาหารนั้นๆ ว่ามีส่วนประกอบของไขมันทรานส์หรือไม่หากไม่มีจะดีที่สุด

3. ระมัดระวังปริมาณอาหารที่มีไขมันแปรรูปให้ดี ต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม แม้ว่าในฉลากจะระบุว่าไขมันทรานส์จะเป็น “0” ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคก็ตาม

4. ควรเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง ไม่ว่าจะเป็นไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์ก็ตาม

5. ควรจำกัดอาหารประเภทกลุ่มฟาสต์ฟู้ดต่างๆ เช่น เฟรนช์ฟรายส์ ขนมอบกรอบ เนื่องจากเป็นแหล่งที่มากไปด้วยไขมันทรานส์ ส่งผลต่อน้ำหนักและสุขภาพโดยรวม

6. แม้ในฉลากจะระบุว่าไร้ไข้มันทรานส์ แต่ก็ไม่ควรนำมาเป็นปัจจัยหลักในการเลือกทานอาหารชนิดนั้น  ควรดูคุณค่าทางโภชนาการอาหารอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยจากข้อมูลด้านบนก็จะเห็นได้ว่า ไขมันมีหลายชนิดมีทั้งชนิดที่ดีและชนิดที่ไม่ดี แต่ไม่ว่าจะเป็นไขมันรูปแบบไหนก็แล้วแต่ การเลือกทานอาหารต่างๆ ต้องเป็นไปด้วยความเหมาะสม ควรเน้นบริโภคอาหารที่มีผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ถั่วต่างๆ และปลา  เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ ก็ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Beltsville Human Nutrition Research Laboratory. New Findings on Dairy Trans Fat and Heart Disease Risk, IDF World Dairy Summit 2010, 8–11 November 2010. Auckland, New Zealand.

Food and nutrition board, institute of medicine of the national academies (2005).

ลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องยาก

0
ลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องยาก
ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักสามารถทานอาหารได้ครบทุกมื้อตามปกติแต่ให้ยึดหลักของโภชนาการอาหารเป็นสำคัญ
ลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องยาก
ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักสามารถทานอาหารได้ครบทุกมื้อตามปกติแต่ให้ยึดหลักของโภชนาการอาหารเป็นสำคัญ

ลดน้ำหนัก

เมื่อคิดจะ ลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่คิดจะทำการลดน้ำหนัก แม้จะลองทำด้วยวิธีการต่างๆมากมายแล้วก็ยังไม่สามารถลดได้ตามที่คาดหวังไว้ หรือหลายคนที่สามารถลดน้ำหนักลงได้ตามใจต้องการแล้ว แต่ก็ไม่สามารถควบคุมน้ำหนักให้คงทีได้ ส่งผลทำให้กลับมาอ้วนเหมือนเดิม สิ่งเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุมาจากการเข้าใจวิธีและหลักการในการลดน้ำหนัก อย่างไม่ถูกต้องทำให้ผลที่ได้ออกมาไม่เป็นดังที่คาดหวังไว้ ดังนั้นหากมีความตั้งใจที่จะลดน้ำหนักให้ได้ผลแล้ว ต้องเรียนรู้การลดน้ำหนักที่ถูกหลักถูกวิธี ซึ่งจะสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

[adinserter name=”ภาวะโรคอ้วน”]

ข้อเท็จจริงในการลดน้ำหนัก

สำหรับการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง คือ ผู้ที่จะลดต้องทำการลดน้ำหนักให้ถูกหลัก โดยน้ำหนักตัวนั้นจะต้องค่อยๆลดลงในปริมาณที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ จะต้องไม่มากหรือน้อยจนเกินไป และเมื่อสามารถทำการลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมายที่วางไว้แล้ว จะต้องรู้จักวิธีควบคุมให้น้ำหนักคงที่ได้ต่อไปไม่ให้กลับมาอ้วนอีก จึงจะถือว่าเป็นการลดน้ำหนักที่ประสบความสำเร็จได้นั่นเอง

คนส่วนใหญ่เมื่ออยากลดน้ำหนัก ก็มักจะต้องการลดน้ำหนักให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ก็มักหันไปใช้วิธีการลดน้ำหนักที่ผิดๆไม่ถูกต้องอย่างเช่น การอดอาหารกินไม่ครบมื้อ การกินอาหารในปริมาณที่น้อยมากๆ การทานอาหารที่แคลอรี่ต่ำมาก การใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในการลดน้ำหนักหรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูดซับหรือยับยั้งการสร้างไขมันซึ่งวิธีเหล่านี้ก็อาจทำให้การลดน้ำหนักได้ผลรวดเร็วตามที่ต้องการ แต่ก็เป็นวิธีที่ไม่ยั่งยืนจะได้ผลในระยะเวลาช่วงสั้นๆเท่านั้น ไม่สามารถรักษาระดับน้ำหนักให้คงที่ได้ตลอดนอกจากนี้การลดน้ำหนักด้วยวิธีผิดๆเหล่านี้ ยังอาจจะมีผลกระทบตามมาได้อีก โดยเฉพาะภาวะที่เราเรียกว่า โยโย่ เอฟเฟค

โยโย่ เอฟเฟค คืออะไร?

โยโย่ เอฟเฟค หมายถึง  ภาวะที่น้ำหนักร่างกายลดลง และจากนั้นก็เพิ่มขึ้นกลับมาอย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนการเล่นลูกดิ่งโยโย่ ที่เมื่อโยนลงไปแล้วจะดีดตัวกลับขึ้นมาในระยะเวลาอันรวดเร็วนั้นเองโดยมีสาเหตุเกิดจากการลดน้ำหนักที่ผิดวิธีทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว จนระบบเผาผลาญพื้นฐานของร่างกาย ( BMR ) เกิดความผิดปกติ  เมื่อพลังงานที่เคยได้รับจากอาหารลดลง ร่างกายก็จะมีการปรับตัวให้ใช้พลังงานลดลงไปด้วย  เช่น หากปกติร่างกายเคยใช้พลัง 2,200 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ร่างกายก็อาจจะปรับการใช้พลังงานเหลือแค่  1,200 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เท่านั้น

[adinserter name=”ภาวะโรคอ้วน”]

ดังนั้นหากเมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าลดน้ำหนักดีระดับที่พอใจแล้วจึงกลับไปทานอาหารเพิ่มมากขึ้น ระบบในร่างกายก็ยังคงใช้พลังงานเท่าเดิม จนกลายเป็นพลังงานส่วนเกินที่เผาพลาญไม่หมดไปเก็บไว้ในรูปแบบไขมัน และในที่สุดก็กลับมาอ้วนเหมือนเดิมหรือบางคนอาจจะอ้วนมากกว่าเดิมด้วยซ้ำไป ดังนั้นหากไม่อยากเกิดภาวะ โยโย่ เอฟเฟคกับตนเอง จนต้องกลับไปลดน้ำหนักใหม่อีกครั้ง ผู้ที่อยู่ระหว่างการลดน้ำหนัก ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีที่ถูกต้อง แบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบ ทานอาหารที่มีปริมาณไขมันต่ำ และควรหมั่นหาเวลาออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ซึ่งวิธีการนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย เนื่องจากจะช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นเมื่อระดับน้ำหนักลดลง

หยุดอ้วนได้ ไม่ต้องอดอาหาร

การอดอาหารไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องในการลดน้ำหนัก ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักสามารถทานอาหารได้ครบทุกมื้อตามปกติแต่ให้ยึดหลักของโภชนาการอาหารเป็นสำคัญ ซึ่งโภชนาการในยุคใหม่นั้น จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ลดน้ำหนัก ไม่รู้สึกว่าถูกจำกัดมากจนเกินไป และเกิดความเบื่อหน่ายที่จะทำ หรือ รู้สึกว่ายากเกินกว่าที่จะทำได้

หลักเกณฑ์โภชนาการยุคใหม่

  • ยึดความเป็นไปได้ ผู้ลดน้ำหนักควรปรับนิสัยในการทานอาหาร แบบค่อยเป็นค่อยไป ให้เกิดความเคยชินกับตนเองเสียก่อน และควรเพิ่มกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน ที่ทำให้ร่างกายได้ใช้พลังงานออกไปมากขึ้น
  • รับประทานอาหารให้หลากหลาย เมนูอาหารสำหรับคนลดน้ำหนักมีมากมาย ควรรู้จักปรับเปลี่ยนไม่ให้เกิดความซ้ำซาก จนเบื่อหน่าย หรืออยากทานอะไรก็สามารถทานได้ แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
  • ยืดหยุ่นกับตัวเองอย่ากดดันตนเองจนชีวิตไม่มีความสุขในเรื่องของการกิน  โดยเราสามารถปรับสมดุลของอาหารที่ทานกับพลังงานที่ใช้ออกไปได้  เช่น หากวันนี้ทานอาหารมากไป ก็อาจจะต้องออกกำลังกายเพิ่มขึ้น หรืออาจจะใช้วิธีลดปริมาณอาหารในมื้อถัดไป และไม่จำเป็นว่าจะต้องดูกันเป็นมื้อ แต่อาจพิจารณาดูกันเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนก็ได้
  • บริโภคอย่างฉลาดมีเหตุผลเราสามารถทานอาหารที่ตนเองชอบได้ แต่ต้องควบคุมปริมาณด้วย หากอาหารที่ทานไปในมื้อนั้นมีปริมาณของการให้พลังงานที่สูง มื้อต่อไปก็อาจจะทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำแทน
  • ทำตัวให้กระฉับกระเฉงตลอดวัน พยายามหากิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายทำ เช่น เดินให้มากขึ้น ใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์  เป็นต้น และไม่ใช้ชีวิตแบบกินแล้วเอาแต่นั่งหรือนอนเท่านั้น

[adinserter name=”ภาวะโรคอ้วน”]

3 หลักลดน้ำหนัก

วิธีการลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักให้ได้ผลในระยะยาวมีหลักการง่ายๆ 3 ข้อ ที่สามารถปฏิบัติได้ คือ

1. ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ 

ผู้ที่จะทำการลดน้ำหนักนั้น จะต้องพร้อมไปด้วยสภาวะทางร่างกายและจิตใจที่ดี และต้องมีการตั้งเป้าหมายกับตัวเองถึงระดับน้ำหนักที่ต้องการจะลดลง โดยจะต้องขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ที่จะทำด้วย  การกำหนดเป้าหมายควรมีทั้งเป้าหมายระยะสั้น และเป้าหมายระยาว ที่ไม่สูงเกินไป อาจจะมีระยะเวลาเป็น 6 เดือน ถึง 1 ปีก็ได้ ทั้งนี้ปริมาณน้ำหนักที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายที่สามารถลดได้ คือสัปดาห์ละ ครึ่งกิโลกรัม จนถึง 1 กิโลกรัมนั้นเอง

เป้าหมายระยะสั้น : สำหรับการตั้งเป้าหมาย ระยะสั้นในการลดน้ำหนัก ควรกำหนดไว้ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเริ่มต้นก่อน เพื่อเป็นกำลังใจที่ดีในการลดน้ำหนักต่อไป  การลดควรจะทำแบบถูกวิธีแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่ลดต้องไม่เกินกว่า 1 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์ เพราะการลดน้ำหนักที่มากเกินไป ( มากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ )  อาจจะสงผลกระทบต่อร่างกายได้  เช่น การเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี และยังอาจทำให้ระดับเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติได้อีกด้วย

เป้าหมายระยะยาว : ผู้ที่ลดน้ำหนักมักจะตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป เมื่อไม่สามารถบรรลุเป้าหมายถึงหมดกำลังใจ ฉะนั้นการลดน้ำหนักแต่ละครั้งควรจะตั้งเป้าหมายไว้ที่ 7 – 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว

[adinserter name=”ภาวะโรคอ้วน”]

2. ปรับพฤติกรรมการบริโภค

การลดน้ำหนักที่ดีและได้ผลในระยะยาว คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยการทานอาหารต่างๆเข้าไปให้คำนึงถึงปริมาณที่รับพลังงานจากการกินเข้าไป จะต้องน้อยกว่าพลังงานที่ได้ใช้ออกมาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคนั้น ผู้ที่ลดน้ำหนักควรจะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนอาหารที่ทานเข้าไปโดยอาจจะเริ่มจาก ลดปริมาณที่ทานเข้าไป วันละ 200-300 กิโลแคลอรี ก่อน ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ เช่นลดการดื่มน้ำอัดลมลง 1 กระป๋อง  ช่วยให้ลดพลังงานลงได้  150 กิโลแคลอรี  หรือการงดน้ำตาล 6 ช้อนชา ก็จะช่วยให้ลดพลังงานลงได้ 100 กิโลแคลอรี หรือ การงดช็อกโกแลต 1 ชิ้นเล็ก ก็ช่วยให้ลดพลังงานลงได้ 75 – 100 กิโลแคลอรี เป็นต้น

การลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ไม่ยาก แต่สิ่งที่ยากคือการควบคุมน้ำหนักให้คงที่เมื่อน้ำหนักลดลงมาถึงจุดที่ต้องการแล้ว  อาจจะค่อยๆปรับปริมาณอาหารที่กินให้สมดุลกับพลังงานที่ใช้ออกไปจะดีที่สุด

กินอย่างไรให้น้ำหนักลด

โดยปกติหากอยู่ในช่วงลดน้ำหนักต้องคิดไว้เสมอว่า อาหารที่ทานเข้าไปในแต่ละมื้อต้องให้พลังงานไม่มากเกินไปกว่าที่จะมีการใช้พลังออกมาในวันนั้นๆ  หากต้องการให้น้ำหนักลดลงควรทานอาหารในแต่ละวันลดลงด้วย การลดปริมาณอาหารที่ทานเข้าไปวันละ 500 – 1,000 กิโลแคลอรี จะช่วยให้สามารถลดน้ำหนักลงได้สัปดาห์ละ 0.5 – 1 กิโลกรัม การลดน้ำหนักในช่วงแรกๆจะลดลงได้มากและง่าย แต่หากผ่านไประยะหนึ่งแล้วหรือประมาณ 6 เดือน แล้วน้ำหนักจะเริ่มคงที่ เริ่มลดได้ยากขึ้น เนื่องจากระบบเผาผลาญของร่างกายปรับตัวลดลง และจากข้อมูลจะพบว่าผู้ชายจะสามารถลดน้ำหนักได้เร็วกว่าผู้หญิงที่มีรูปร่างเท่ากัน เนื่องจากผู้ชายมีปริมาณกล้ามเนื้อ ( Lean Body Mass ) และอัตราการเผาผลาญ ( Resting Metabolic Rate ) มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบคนอ้วน 2 คน คนอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่าจะใช้พลังงานมากกว่าคนอ้วนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า จึงสามารถลดน้ำหนักได้เร็วกว่านั้นเอง

[adinserter name=”ภาวะโรคอ้วน”]

ลดน้ำหนักแบบลดช้าๆ แต่ปลอดภัย

อาหารลดน้ำหนักที่ดีจะต้องมีสารอาหารครบถ้วนและไม่ทำให้เสียสุขภาพ  การวางแผนในการลดน้ำหนักควรทำแบบให้หยืดหยุ่นโดยผู้ลดน้ำหนักสามารถปรับนิสัยให้เข้ากับอาหาร และอาหารที่ทานจะต้องมีปริมาณที่อิ่มเพียงพอ ไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยปกติร่างกายเรา ควรจะได้รับพลังงานจากอาหารที่ทานไป 1,200 – 1,500 กิโลแคลอรีต่อวัน เป็นอย่างน้อยที่สุด เพื่อป้องกันการขาดวิตามินและเกลือแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุเหล็กสำหรับผู้หญิงที่ก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่หากพลังงานจากอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน น้อยกว่า 1,000 กิโลคลอรีต่อวัน  ก็อาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายและสุขภาพได้ การทานอาหารในระดับนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และนักโภชนาการ  และสำหรับผู้ที่กำลังลดน้ำหนักปริมาณที่เหมาะ ที่ควรจะได้รับต้องไม่ต่ำกว่า 1,200 กิโลแคลอรีต่อวัน

ลักษณะของอาหารลดน้ำหนัก

  • หากินได้ง่ายในชีวิตประจำวัน โดยเน้นเลือกอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ และจงจำไว้ว่าไม่มีอาหารชนิดใดที่สามารถช่วยลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว
  • มีวิตามินและเกลือแร่อย่างเพียงพอ อาหารลดน้ำหนักที่มีพลังงานต่ำส่วนใหญ่จะมีสารอาหารต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียม ธาตุเหล็ก และวิตามินซี ดังนั้นการทานเสริมวิตามินรวมจะสามารถช่วยป้องกันการขาดสารอาหารในผู้ที่ควบคุมพลังงานต่ำกว่า 1,000 กิโลแคลอรีต่อวันได้
  • มีโปรตีนเพียงพอ ร่างกายต้องการโปรตีนที่มีคุณภาพในปริมาณที่พอเพียง เพราะจะช่วยป้องไม่ให้ร่างกายสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ และป้องกันความเสี่ยงการเต้นผิดปกติของหัวใจห้องล่าง  ควรเลือกทานโปรตีนจากทั้งเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น สัตว์ปีก เนื้อปลา ไข่ และโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วต่างๆ เต้าหู้ เป็นต้น    [adinserter name=”ภาวะโรคอ้วน”]
  • มีคาร์โบไฮเดรตเพียงพอ ควรทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 100 กรัมต่อวันแต่ต้องไม่เกิน 130 กรัมเพื่อป้องกัน อาการอ่อนเพลีย การมีสารคีโตน ( Ketone Bodies ) คั่งในเลือด และป้องกันอันตรายจากการเสียสมดุลของน้ำและของเหลวในร่างกาย
  • มีกากใยอาหารเพียงพอ ร่างกายต้องได้รับวันละ 20 – 30 กรัม เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
  • พลังงานจากไขมัน อาหารต่างๆที่ทานต้องมีปริมาณของไขมันหลายๆชนิดรวมกันแล้วต้องให้อยู่ที่ประมาณ  30 – 35  เปอร์เซ็นต์ของพลังงานจากอาหารเพื่อให้ร่างกายได้นำพลังงานไปใช้ ซึ่งนอกจากให้พลังงานแล้วไขมัน ยังทำให้อาการมีรสชาติดี อร่อยขึ้นอีกด้วย
  • คอเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/วัน ควรจำกัดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงไม่ให้เกินค่าที่กำหนดไว้
  • ดื่มน้ำวันละ 8 – 10 แก้ว ทุกวันควรเลือกดื่มน้ำเปล่าให้ได้ตามปริมาณที่กำหนดจะดีที่สุด

แนวทางการบริโภคเพื่อลดน้ำหนักได้ในระยะยาว

  • กินอาหารให้ครบสามมื้อ ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง เนื่องจากจะไปทำให้กินอาหารมื้อถัดไปในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นและในมื้อเย็นก็ควรทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำและหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง
  • เคี้ยวช้าๆ ขณะกินอาหารจะช่วยให้ย่อยอาหารได้ดีขึ้น และร่างกายจะมีเวลาส่งสัญญาณไปที่สมองเพื่อให้รับรู้ถึงความรู้สึกอิ่ม
  • เลี่ยงกินจุบจิบยกเว้นอาหารมื้อหลัก และไม่ควรทานอาหารไปพร้อมกับทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ดูทีวี เนื่องจาก จะทำให้ขาดความสนใจกับปริมาณอาหาร ส่งผลให้กินมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว
  • ลด เลี่ยงอาหารที่มีไขมันซ่อนรูป เช่น ไอศกรีม ช็อกโกแลต เป็นต้น
  • เลี่ยงอาหารพลังงานว่างเปล่า เช่น น้ำตาล น้ำอัดลมเพราะทีแคลอรี่ที่สูงและคุณค่าทางอาหารที่ต่ำ
  • จำกัดปริมาณถั่งเปลือกแข็ง เช่น เม็ดมะม่วงหินมพานต์ ถั่วลิสงไม่ให้เกิน ประมาณ 30 กรัม ต่อวัน
  • ใช้นมพร่องมันเนยหรือนมขาดไขมันแทนครีมเทียม เพราะให้คุณค่าทางอาหารที่ดีกว่า    [adinserter name=”ภาวะโรคอ้วน”]
  • เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ให้พลังงานสูงเกือบเท่าไขมันและทำให้อ้วนง่ายและ         แอลกอฮอล์ยังไม่ดีต่อการลดน้ำหนัก เพราะร่างกายสามารถเปลี่ยนแปลงแอลกอฮอล์เป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้
  • กินอาหารเส้นใยสูงเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ลดน้ำหนัก เนื่องจากใช้เวลาเคี้ยวนาน ทำให้อิ่มเร็วและย่อยช้าทำให้อิ่มท้องได้นานกว่า เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช
  • ลดอาหารเค็มจัด อาหารที่มีรสเค็มจะมีปริมาณของโซเดียมสูงทำให้ร่างกายเก็บน้ำไว้มากกว่าปกติ
  • กินอาหารนอกบ้านน้อยลง เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมปริมาณส่วนผสมและวัตถุดิบได้เหมือนการทำอาหารทานเองอาหารตามร้านต่างๆ อาจมีปริมาณโซเดียวที่สูง
  • ไม่ตุนอาหารไขมันและน้ำตาลสูงไว้ในบ้าน เพราะอาจกระตุ้นความอยากอาหาร ทั้งที่ตนเองไม่ได้หิว
  • ให้รางวัลตัวเองด้วยวิธีอื่นดูบ้าง ไม่ควรให้รางวัลตนเองด้วยอาหารมื้อใหญ่บ่อยๆ แต่ควรลองเปลี่ยนไปเป็นวิธีอื่นเช่นการซื้อเสื้อผ้าของที่ชอบหรือการไปท่องเที่ยวแทน
  • ติดตามการควบคุมน้ำหนัก ควรตรวจสอบและควบคุมน้ำหนักตนเองให้ดีอยู่เสมอ
  • ใช้สมุดบันทึก ควรหลีกเลี่ยงการชั่งน้ำหนักทุกวันและใช้วิธีการจดบันทึกลงสมุดแทนเกี่ยวกับอาหารที่ทานหรือกิจกรรมการออกกำลังกายที่ทำเพื่อให้เห็นความก้าวหน้าของตนเอง   [adinserter name=”ภาวะโรคอ้วน”]
  • แยกแยะความหิวความอยากอาหารให้ออก ต้องควบคุมความอยากและแยกให้ออกว่าขณะนั้นเป็นความหิวหรือแค่ความอยากอาหารจากแรงกระตุ้นต่างๆกันแน่
  • อย่าเครียด ความเครียดต่างๆสามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้นอกจากนี้ฮอร์โมนความเครียดบังทำให้ร่างกายเก็บไขมันไว้มากขึ้นอีกด้วย

เทคนิคลดไขมันในอาหาร

1. ควรเลือกทานอาหารให้หลากหลาย ให้มีความสมดุล ไม่จำกัดชนิดของอาหารมากเกินไปจนเกิดทำให้เกิดความเบื่อ

2. เลี่ยงอาหารทอดกรอบต่างๆ อาหารที่มีไขมันมากๆ เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เป็นต้น

3. ระวังไขมันซ่อนรูปและเรียนรู้ปริมาณที่ควรกิน เช่นใน ไอศกรีม ถั่วเปลือกแข็ง เป็นต้น

4. เลือกทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และจำกัดปริมาณให้เหมาะสม

5. เลือกอาหารทะเล ( โดยเฉพาะปลา ) และเต้าหู้มากขึ้น

6. เพิ่มการทานผักและผลไม้ ให้มากขึ้น

7. ลดอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาล

8. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

3. หมั่นออกกำลังกาย

นอกจาการควบคุมปริมาณและประเภทอาหารแล้ว การออกกำลังก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้การลดน้ำหนักได้ผลดียิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มการเผาผลาญในร่างกายให้มากขึ้น จึงสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักได้ในระยะยาวด้วยการออกกำลังกายมีมากมายหลายชนิด โดยผู้ที่อยากออกกำลังกายอาจจะเริ่มต้นด้วยวิธีง่ายๆ เช่น การเดิน การวิ่งช้าๆโดยให้เริ่มต้นจากวันละ 10 – 20 นาที ก่อนแล้วค่อยๆพัฒนาเพิ่มเป็นวันละ 30 – 45 นาที ตามเหมาะสม

สำหรับผู้ที่ที่อยู่ในช่วงที่กำลังลดน้ำหนัก ควรเริ่มออกกำลังกายจากง่ายๆ แล้วจึงค่อยๆพัฒนาไปให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด คือ วันละ 60 – 90 นาที  การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น ว่ายน้ำ เต้นรำ เป็นการออกกำลังกายที่เพิ่มอัตราการเต้นหัวใจในระดับสูง ซึ่งจะช่วยลดไขมันในร่างกายได้ควรทำอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง และให้ได้สัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้งแต่ควรทำให้ได้ในทุกวันสำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างควบคุมน้ำหนัก ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นวิธีออกกำลังกายแบบใดก็ตาม ก็สามารถเป็นช่วยให้การลดน้ำหนักทำได้ง่ายและได้ผลดีขึ้น หากแต่ต้องมีวินัยในการออกกำลังกายให้เพียงพอและสม่ำเสมอ

[adinserter name=”ภาวะโรคอ้วน”]

12 เหตุผลที่ควรออกกำลังกาย

การออกกำลังนอกจากจะมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมและลดน้ำหนักแล้ว ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่เราควรจะหันมาออกกำลังกายกัน ดังต่อไปนี้

1. นอนหลับง่ายขึ้น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดไม่หนักมาก ในความถี่สัปดาห์ละ 4 ครั้งจะช่วยให้คุณภาพการนอนดีขึ้น จะหลับได้นานและง่ายขึ้น

2. ลดนิ่วในถุงน้ำดี จากข้อมูลพบว่า ผู้หญิงที่มีการออกกำลังกายแบบสม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์

3. ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายการออกกำลังกายจะไปลดระดับสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ชนิดที่เร่งการแบ่งตัวของเซลล์ในลำไส้ใหญ่ และเพิ่มระดับโพรสตาแกลนดินชนิดที่เพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ ซึ่งจะเร่งให้สารก่อมะเร็งถูกขจัดออกจากลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้นจึงช่วยป้องกันโรคนี้ได้นั้นเอง

4. ลดความเสี่ยงโรคผนังลำไส้โป่งพอง จากข้อมูลพบว่า ผู้ชายที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอที่จะมีความเสี่ยงของโรคนี้ลดลง 37 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย

5. ลดปัญหาข้อเข่า การออกกำลังอย่างอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยลดปัญหาการบวมและลดอาการปวดข้อต่อในผู้ที่มีปัญหาโรคข้อเข่าได้

6. ลดความกังวลและเศร้าหดหู่ใจ การออกกำลังกาย ยังสามารถช่วยลดความกังวลความเครียดภายในจิตใจได้ เนื่องจากเมื่อมีการออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารธรรมชาติโอปิเอต ( Opiate ) ออกมา ซึ่งมีผลช่วยลดอาการกังวลและเศร้าหดหู่ได้

7. ป้องกันโรคหัวใจ การออกกำลังกายจะไปช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจน ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะช่วยขยายหลอดเลือดและสร้างเส้นเลือดฝอยใหม่และยังช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือดด้วยซึ่งสามารถลดและป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้นั้นเอง

[adinserter name=”navtra”]

8. ลดความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับเบาถึงปานกลาง เช่น การเดิน หรือ วิ่งช้าๆ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ขึ้นไป จะสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ส่วนในคนที่ความดันปกติอยู่แล้ว การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วย

9. ป้องกันเบาหวาน การได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือการออกกำลังกายบ่อยๆ ช่วยให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ความอ้วน ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวานตามกรรมพันธุ์ เป็นต้น

10. ป้องกันการล้มและกระดูกแตก การออกกำลังกายทำให้กล้ามเนื้อแข้งแรง ซึ่งส่งผลให้การก้าวเดินและการทรงตัวเกิดความสมดุลมากขึ้นสามารถป้องกันการล้มและการเกิดปัญหากระดูกแตกได้

11. ป้องกันต่อมลูกหมากโต มีข้อมูลจากการวิจัยพบว่า ผู้ชายที่เดินออกกำลังกายสัปดาห์ละ 2 – 3 ชั่วโมงจะมีความเสี่ยง ในการเป็นโรคต่อมลูกหมากโตลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับผู้ชายที่ไม่มีการเดินออกกำลังกาย เลยหรือเดินน้อยมาก

12. ป้องกันภาวะกระดูกพรุน การออกกำลังกาย จะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเนื้อกระดูกวัยกลางคนและวัยสูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหากรับประทานเอสโทรเจนเข้าไปด้วย จะเพิ่มเนื้อกระดูกได้มากขึ้นถ้ามีออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับการลดน้ำหนักนั้น คงไม่ใช้เรื่องยากเกินไปหากผู้ที่จะลดน้ำหนักรู้วิธีการลดน้ำหนักที่ถูกต้องและนำไปปฏิบัติตามด้วยความเคร่งครัดและมีวินัย อีกทั้งผู้ลดน้ำหนักต้องมีความใจเย็นและอดทนด้วย เพราะส่วนมากที่ทำกันไม่สำเร็จคือผู้ที่ขาดความรู้ในการลดน้ำหนัก เป็นผู้ที่ใจร้อนขาดความอดทนนั้นเอง ทั้งนี้การลดน้ำหนักนอกจากจะต้องควบคุมประเภทอาหารและปริมาณที่ทานเข้าไปแล้ว การออกกำลังกายก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่ไปด้วย  และเมื่อลดน้ำหนักจนถึงระดับที่น่าพอใจแล้ว ต้องอย่าละเลยดูแลเรื่องการทานอาหารและการออกกำลังด้วย เพราะหากไม่ดูแล การที่ร่างกายจะกลับมาอ้วนเหมือนเดิมนั้นก็สามารถเกิดขึ้นได้นั้นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

 Elena (2008). The Culture of Obesity in Early and Late Modernity. Palgrave Macmillan. 
Robert (2001). Fat: Fighting the Obesity Epidemic. Oxford, UK: Oxford University Press. 

ลดน้ำหนักด้วยจานอาหารสุขภาพ

0
ลดน้ำหนักด้วยจานอาหารสุขภาพ
การปรับเปลี่ยนปริมาณหรือประเภทอาหารในแต่ละมื้อที่จะทานให้มีส่วนประกอบของอาหารที่เหมาะสม และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ครบถ้วน
ลดน้ำหนักด้วยจานอาหารสุขภาพ
การปรับเปลี่ยนปริมาณหรือประเภทอาหารในแต่ละมื้อให้มีส่วนประกอบของอาหารที่เหมาะสม และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ครบถ้วน

อาหารลดน้ำหนัก

การลดน้ำหนักที่ได้ผลดีที่สุดก็คือการควบคุมปริมาณและประเภทอาหารที่ทานเข้าไป รวมกับการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอนั้นเอง ซึ่งการควบคุมอาหารนั้นเป็นปัจจัยหลักอย่างแรกเลยที่ทำให้การลดน้ำหนักได้ผลดี แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีอาหารชนิดใดที่สามารถช่วยให้ลดน้ำหนักได้ดีที่สุดหรือสามารถช่วยให้ลดน้ำหนักเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการกินของแต่ละบุคคลนั้นจะแตกต่างกันออกไป ผู้ที่ลดน้ำหนักต้องพิจารณาว่า อาหารลดน้ำหนัก ชนิดไหนเหมาะกับสุภาพร่างกายของตนเองมากที่สุด เพราะจะทำให้สามารถปฏิบัติได้ดีและมีความต่อเนื่องนั้นเอง

ธรรมชาติของคนที่อยากจะลดน้ำหนักอย่างหนึ่งก็คือ จะทำอย่างไรให้น้ำหนักตัวลดลงได้อย่างรวดเร็วและทันใจ จึงมักมองหาตัวช่วยหรือวิธีลัดในการลดน้ำหนักต่างๆ เข้ามาเพื่อเป็นตัวช่วย ประกอบกับในปัจจุบันมีโฆษณาชวนเชื่อมากมายเกี่ยวกับ ยา สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก เข้ามาเป็นตัวเลือกให้ผู้ที่อยากลดน้ำหนักได้นำไปใช้ ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ต่างๆเหล่านี้ในปัจจุบันก็ยังไม่มีการวิจัยไหน ที่สามารถออกมารับรองได้ว่าได้ผลจริงในการช่วยลดน้ำหนักลงให้รวดเร็วขึ้น ผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้บางคน อาจจะได้ผลดีในระยะแรกๆ น้ำหนักจะลดลงแบบรวดเร็ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักน้ำหนักก็จะคงที่และไม่สามารถลดลงได้อีกแล้ว ซึ่งถ้าหากหยุดใช้หรือหยุดกินผลิตภัณฑ์นั้นเมื่อไหร่ก็อาจจะทำให้กลับมาอ้วนเหมือนเดิม หรืออาจจะยิ่งอ้วนกว่าเดิมด้วยซ้ำไป

การควบคุมอาหารอีกวิธีหนึ่งที่ผู้ลดน้ำหนักส่วนมากนิยมใช้กันและได้ผลคือ การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรต หรือเรียกย่อๆว่า คาร์บ ในการกินอาหารแต่ละวัน

ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลดีทีเดียวกับคนที่ลดน้ำหนักลงยากและยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด อย่างผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย วิธีนี้จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าการทานอาหารลดน้ำหนักชนิดอื่นๆ

การเริ่มต้นการลดน้ำหนักโดยใช้วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ ปรับเปลี่ยนสิ่งที่เราเติมลงในจานอาหารแต่ละมื้อ โดยใช้หลักการที่เรียกว่า “ จานอาหารสุขภาพ ” นั่นเอง

จากอาหารสุขภาพ ( Plate Method ) คืออะไร

จากอาหารสุขภาพ ( Plate Method ) คืออะไร จานอาหารสุขภาพ หมายถึง การปรับเปลี่ยนปริมาณหรือประเภทอาหารในแต่ละมื้อที่จะทานให้มีส่วนประกอบของอาหารที่เหมาะสม และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ครบถ้วน ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการลดน้ำหนักหรือผู้ที่ต้องการมีสุขภาพที่ดี

วิธีจัดจานสุขภาพแบบง่ายๆ

สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1. ใช้จานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 นิ้ว หรือ 23 เซนติเมตร

2. เติมผักหลากหลายชนิดลงไป เช่น แตงกวา แครอท มะเขือเทศ เป็นต้น โดยต้องให้มีปริมาณของผักทั้งหมดรวมแล้วเท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์ของอาหารทั้งหมดในจาน

3. เติมข้าวหรือแป้งหรือธัญพืชไม่ขัดสี ในปริมาณ  1 ส่วน 4 ของจาน

4. เติมเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ หรืออาหารทดแทนเนื้อสัตว์ เช่น เต้าหู้ ในปริมาณ  1 ส่วน 4  ของจาน หรือประมาณ 90 กรัม

5. เตรียมผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ หรือ นมถั่วเหลืองไม่เติมน้ำตาล 240 มิลลิลิตร อยู่นอกจาน

6. เตรียมผลไม้ 1 ส่วน อยู่นอกจาน

7. เลือกอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลที่ต่ำ

โดยเฉพาะอาหารว่างโดยทั่วไป แบบแผนจานสุขภาพนี้ จะให้สารอาหารต่อมื้อได้แก่ พลังงานประมาณ 425 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 55 – 60 กรัม โปรตีน 35 กรัม ไขมัน 10 กรัม ขึ้นกับวิธีการปรุงอาหารหากเป็นผู้หญิงแนะนำให้คุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตไว้ไม่เกิน 45 กรัมต่อมื้อ โดยรับประทานผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำและผลไม้เป็นอาหารว่าง รวมทั้งให้ระวังปริมาณเครื่องปรุงที่มีแคลอรีจากน้ำตาลและไขมันด้วย

วิธีนับคาร์โบไฮเดรต

1. เรียนรู้อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต  อย่างแรกเลยเราจะต้องแยกให้ออกก่อนว่าเมนูอาหารใดบ้าง ที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต เพื่อที่จะได้เลือกทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม

2. เรียนรู้การประเมินสัดส่วนอาหาร เพื่อสามารถคำนวณได้ว่า อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดนั้นมีพลังงานสูงมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้ทานในปริมาณที่เหมาะสม

3. เรียนรู้การอ่านฉลากโภชนาการการอ่านฉลากช่วยให้ได้รับรู้ปริมาณของส่วนประกอบต่างๆ ของอาหารชนิดนั้นๆ

ซึ่งมีหลักการดังต่อไป

  • ดูขนาดหนึ่งหน่วยบริโภค ( ปริมาณการกินต่อ 1 ครั้ง ของอาหารนั้น )
  • ดูปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่อ 1 หน่วยบริโภค ปริมาณน้ำตาลที่เติมในการผลิตหรือที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติจะรวมอยู่ในปริมาณคาร์โบไฮเดรต
  • เปรียบเทียบปริมาณ 1 ที่เสิร์ฟในฉลากอาหารกับปริมาณอาหาร 1 ส่วนหรือ 1 คาร์บ คาร์โบไฮเดรตทุกๆ 15 กรัม ต่อ 1 ส่วนนับเป็น 1 คาร์บ ( เพื่อให้ง่ายต่อการนับจำนวนคาร์บ จะคิด 1 คาร์บ = 15 กรัม )
  • เปรียบเทียบปริมาณคาร์โบไฮเดรตของอาหารที่เลือกกับปริมาณอาหาร 1 ส่วนมาตรฐาน
  • นับคาร์โบไฮเดรตเป็นกรัม หรือเป็น “ จำนวนคาร์บ ”

อาหารอะไรบ้างที่มีคาร์โบไฮเดรต

อาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต ส่วนมากที่เราจะสามารถพบได้ เช่น

  • ข้าว หรือ อาหารประเภทแป้งหรือเส้นต่างๆ และรวมถึงถั่วเมล็ดแห้งต่างๆด้วย
  • ผักที่มีแป้งมาก เช่น มันฝรั่ง ข้าวโพด เป็นต้น
  • ผักประเภททานใบหรือทานดอก
  • ผลไม้ เช่น กล้วย   
  • นม หรือ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม
  • ขนมหวานต่างๆ

ข้อควรระวังในการทานอาหารเกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต

แม้ว่าคาร์โบไฮเดรต จะเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและมีจำเป็นต่อร่างกาย แต่ก็มีข้อที่ควรระวังก็คือ ไม่ควรลดหรืองด ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้อใดมื้อหนึ่ง แล้วไปทานเพิ่มในมื้อถัดไป  เนื่องจากการทานคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป จะไปทำให้เกิดพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายจะใช้ไม่หมด ไปสะสมเป็นไขมัน  และส่งผลให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผล และยังมีผลกับระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจจะมีปริมาณสูงตามไปด้วย

นอกจากคาร์โบไฮเดรตที่เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายแล้ว อาหารกลุ่มประเภทอย่างโปรตีนบางอย่างหรือไขมัน ก็ให้พลังงานได้สูงไม่แพ้กับคาร์โบไฮเดรตเลยจึงควรต้องจำกัดปริมาณในการกิน

โดยจำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ให้อยู่ที่ไม่เกิน วันละ 180 – 240 กรัม และจำกัดไขมันในการปรุงอาหารวันละ 3 – 6 ช้อนชา จะดีที่สุด

นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังเพิ่มเติม เช่น

1.การเติมน้ำตาลในอาหารโดยไม่จำเป็น

2.เลี่ยงผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็ม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันอิ่มตัวสูง

3.เลี่ยงไขมันทรานส์ ( ไขมันซ่อนรูป ) เช่น โดนัท คุกกี้ เค้ก พาย เฟรนซ์ฟรายส์ เป็นต้น

4.อาหารแปรรูปที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด อบกรอบ ขนมหวานเป็นต้น

5.ลดอาหารที่มีรสเค็มจัด ซึ่งจะทำให้ร่างกายบวมน้ำได้

ปริมาณคาร์โบไฮเดรต ( คาร์บ )

ที่แนะนำในแต่ละมื้อ

1. ช่วงลดน้ำหนัก สำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 3-4  คาร์บ ส่วนเพศหญิงให้ทานในปริมาณ  2-3 คาร์บ

2. ช่วงคุมน้ำหนัก สำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 4-5  คาร์บ ส่วนเพศหญิงให้ทานในปริมาณ 3-4 คาร์บ

3. ผู้ที่ออกกำลังกายสำหรับเพศชาย ให้ทานในปริมาณ 5-6  คาร์บ ส่วนเพศหญิงให้ทานในปริมาณ  4-5 คาร์บหลักในการทานอาหารสำหรับผู้ที่จะลดน้ำหนัก  ไม่ว่าจะกินอาหารชนิดใดก็แล้วแต่

หลักการที่สำคัญที่จะต้องปฏิบัติก็คือ

จะต้องคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตในแต่ละมื้ออาหารให้มีความเหมาะสม และกระจายการกินคาร์โบไฮเดรตออกไปตลอดทั้งวัน ไม่กินเพียงมื้อใดมื้อหนึ่ง โดยยึดหลักดังต่อไปนี้

  • กินอาหารให้เป็นเวลา โดยจะต้องกินอาหารให้ครบ 3 มื้อหลักทุกวัน ห้ามงดมื้อใดมื้อหนึ่ง
  • เลือกกินอาหารให้มีความหลากหลาย ซึ่งจะทำให้ได้รับวิตามิน เกลือแร่ และกากใยอาหาร รวมทั้งสารอาหารต่างๆอย่างทั่วถึงและครบถ้วน
  • กินคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่นักโภชนาการอาหารแนะนำ เลือกอาหารที่มีปริมาณระดับน้ำตาลต่ำ เช่น คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ขัดสีได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต เป็นต้น
  • เลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง
  • เลือกกินอาหารที่มีไขมันปริมาณเล็กน้อย เลี่ยงไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ เพื่อช่วยในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอล
  • ควบคุมปริมาณของมื้ออาหารแต่ละมื้อให้เหมาะสม
  • จำกัดการกินเนื้อสัตว์ในหนึ่งมื้อไม่ให้เกิน 100 กรัม และไม่ควรเกินวันละ 240 กรัม ควรเลือกกินเนื้อปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ถึง 3 ครั้ง
  • ลดการกินอาหารที่มีรสเค็ม ซึ่งจะทำให้ร่างกายเก็บน้ำเพิ่มขึ้น และทำให้เกิดบวมน้ำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในเวลาที่เหมาะสมและไม่ดึกจนเกินไป     

นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำอื่นๆ ที่สามารถช่วยให้ลดน้ำหนักให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น  การจำกัดปริมาณข้าวไม่ให้เกินมื้อละ 2 ทัพพี ต่อมื้อ หรือ การทานอาหารว่างละว่างมื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกายไม่หิวโซเกินไปจนกว่าจะถึงอาหารมื้อหลักต่อไป เลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มและหวาน เป็นต้น

ในทุกๆวันร่างกายของมนุษย์เราต้องมีการใช้พลังงานออกไปเพื่อทำกิจวัตประจำวันต่างๆ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่ให้พลังงานแก่ร่างกายก็เป็นสิ่งที่มีจำเป็นแม้แต่ในคนที่ต้องการควบคุมอาหารหรือกำลังลดน้ำหนักอยู่ ล้วนแต่ก็ต้องทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตด้วยเหมือนกัน เพียงแต่ต้องรู้จักเลือกทานในปริมาณที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ ไม่ให้มากหรือน้อยเกินไปจนส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ การเลือกทานอาหารในแต่ละมื้อก็เช่นกัน ไม่ว่าจะทานอะไรก็แล้วแต่ให้ยึดหลักการไว้ว่า ควรทานอาหารที่ให้สารอาหารครบ 5 หมู่ และทานในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย โดยอาจยึดหลักจานสุขภาพมาช่วยจัดอาหารในแต่ละมื้อก็ได้ เพื่อสุขภาพที่ดีและสามารถช่วยคุมน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง 

Measuring body composition in adults and children In:Peter G. Kopelman, Ian D. Caterson, Michael J. Stock, William H. Dietz (2005). Clinical obesity in adults and children: In Adults and Children. Blackwell Publishing.

Bhargava, Alok; Guthrie, J. (2002). “Unhealthy eating habits, physical exercise and macronutrient intakes are predictors of anthropometric indicators in the Women’s Health Trial: Feasibility Study in Minority Populations”. British Journal of Nutrition.

โรคอ้วนและภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ 

0
โรคอ้วนและภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และยังเป็นสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
โรคอ้วนและภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และยังเป็นสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

โรคอ้วน กับ โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคอ้วน กับ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวานกับโรคหลอดเลือดหัวใจ ถือเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก โดยพบว่ามีผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานสูงมากถึง 2-4 เท่า ของคนที่ไม่เป็นเลยทีเดียว

นั่นก็เพราะว่าในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีความดื้อต่ออินซูลินสูง ซึ่งก็ส่งผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ โดยจะทำ ให้ไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้หลอดเลือดอุดตันในที่สุด และยังทำให้เสี่ยงต่อหลอดเลือดในสมองตีบและหัวใจวายได้อีกด้วยเพราะฉะนั้นในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จึงต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปพร้อมๆ กับการควบคุมไขมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจไปด้วยนั่นเอง

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงโรคหัวใจ

ปัจจัยที่จะทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีหลักๆ ซึ่งก็คือ

1. ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้

  • กรรมพันธุ์ โรคหัวใจเป็นอีกโรคหนึ่งมีอาจมีความเสี่ยงจากกรรมพันธุ์ได้ ดังนั้นหากพบว่าคนในครอบครัวมีใครที่เป็นโรคหัวใจ ก็ควรระมัดระวังความเสี่ยงให้ดี โดยเฉพาะหากพบว่าคนในครอบครัวที่เป็นผู้ชาย เป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี และผู้หญิงเป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 65 ปี
  • อายุ ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงโรคหัวใจสูงมากขึ้นไปด้วย เนื่องจากไขมันจะไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดหัวใจและค่อยๆ สะสมขึ้นไปเรื่อยๆ จนทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตันและเลือดไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งส่วนใหญ่กว่าอาการจะปรากฎออกมาก็ใช้เวลานานถึง 10 ปีเลยทีเดียว
  • เพศ สำหรับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในกรณีนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงอายุต่ำกว่า 55 ปี ผู้ชายจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้หญิง แต่ช่วงอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ชาย
  • เชื้อชาติ โดยพบว่าคนที่มีผิวดำจะมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจได้มากกว่าเชื้อชาติผิวขาว

2. ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้

  • บุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่รวมถึงผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะในผู้หญิงที่สูบบุหรี่พร้อมกับทานยาคุมกำเนิดร่วมด้วย เพราะสารพิษจากบุหรี่จะทำปฏิกิริยากับยาคุมกำเนิด จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจโดยตรง และเป็นตัวการลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี ทำลายหลอดเลือด ซึ่งเป็นผลให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจถึง 20 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
  • ไขมันในเลือดสูง เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป ซึ่งพบว่าจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้สูงมาก 
  • มีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคหัวใจให้สูงขึ้นไปด้วย โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคเบาหวาน โดยนักวิจัยได้พบว่า คนที่มีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงมากกว่า 190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะไปทำให้เลือดมีความหนืดมากขึ้น และส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูงยิ่งขึ้นไปอีก
  • ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมเร็วขึ้น จึงทำให้เสี่ยงต่อโรคร้ายต่างๆ เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจได้อย่างง่ายดาย เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หลอดเลือดในสมองตีบและภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น โดยระดับความดันเลือดปกติจะอยู่ที่ 120/80 มม.ปรอท นั่นเอง
  • ละเลยการออกกำลังกาย ซึ่งพบว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเลยจะมีความเสี่ยงโรคหัวใจได้มากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำมากถึง 2 เท่า และเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย
  • โรคอ้วน เนื่องจากภาวะอ้วนจะทำให้ร่างกายและหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งพบว่าการลดน้ำหนักก็จะช่วยลดความดันให้ต่ำลงมาได้เหมือนกัน
  • ทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เพราะอาหารเหล่านี้จะไปเพิ่มไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย จึงส่งผลให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบอีกว่าหากพยายามเลี่ยงการทานอาหารเหล่านี้ให้น้อยลง ก็จะลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้มากถึง 53 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มชนิดนี้จะไปเพิ่มระดับความดันโลหิตให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นสาเหตุของหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งก็ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายได้สูงมาก และยังเพิ่มความเสี่ยงโรคตับ โรคมะเร็งและโรคระบบประสาทได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง โดยมีรายงานว่าผู้ชายไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 ดริ๊งค์ และผู้หญิงไม่เกินวันละ 1 ดริ๊งค์
1 ดริ๊งค์ เท่ากับเท่าไรแอลกอฮอล์

1 ดริ๊งเท่ากับเบียร์ หรือคูลเลอร์ ( cooler ) ( แอลกอฮอล์ 5 % ) 355 มล.

ไวน์ ( แอลกอฮอล์ 12% ) 148 มล. ( 1 ขวด = 750 มล. )

สปิริต ( spirits ) ได้แก่ วิสกี้ วอดก้า บรั่นดี หรือรัม ( แอลกอฮอล์ 40% ) 44 มล.

  • ความเครียดและภาวะซึมเศร้า รวมถึงอารมณ์โกรธ โมโห ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวการกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจทั้งสิ้น โดยเฉพาะอาการหัวใจวาย
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการนอนดึกมากเกินไปบ่อยๆ เพราะจะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากกว่าปกติ จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้มากกว่าคนที่นอนหลับอย่างเพียงพอ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ช่วงเวลาการนอนที่เหมาะสมที่สุดของคนเรา ก็คือวันละ 7- 8 ชั่วโมงนั่นเอง

อาหารกับหลอดเลือด

จากการศึกษาวิจัยของนายแพทย์ดีน ไมเคิลออร์นิช ( Dean Michael Ornish ) นายแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญโรคหัวใจ พบว่าการบริโภคอาหารและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลต่อหลอดเลือดเช่นกัน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาหลอดเลือดตีบและช่วยรักษาโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ นายแพทย์ออร์นิชได้ทำการทดลองกับผู้ป่วยทั้งหมด 45 คน แต่มีผู้ขอออกจากโครงการนี้ก่อนจำนวน 10 คน จึงเหลือผู้ทดลองทั้งหมด 35 คน โดยนายแพทย์ก็ได้แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มแรก จำนวน 20 คน ทำการรักษาด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการบริโภคอาหาร ซึ่งหลังจากการติดตามการรักษาต่อเนื่องไปเป็นเวลา 5 ปี ก็พบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีหลอดเลือดที่ขยายกว้างขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเลือดสามารถไหลเวียนได้ดีขึ้นกว่าเดิม
  • กลุ่มสอง จำนวน 15 คน ทำการรักษาด้วยการควบคุม โดยให้ผู้ทดลองกลุ่มนี้บริโภคอาหารตามที่สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำเท่านั้น แต่มีความเข้มงวดน้อยกว่ากลุ่มแรก ซึ่งหลังจากติดตามผลการรักษา พบว่ามีความเสี่ยงโรคหัวใจและภาวะหัวใจวายเพิ่มเป็น 2.5 เท่า แม้ว่าจะมีการรักษาด้วยการให้ยาร่วมด้วยก็ตาม

โดยจากการทดลองทั้งสองกลุ่มก็ได้ผลการทดลองว่า กลุ่มแรกที่เข้าโปรแกรมเปลี่ยนวิถีชีวิตของนายแพทย์ออร์นิชมีอาการดีขึ้นและมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยลงอีกด้วย ต่างจากกลุ่มที่สองที่มีอาการแย่ลงและความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งโปรแกรมของนายแพทย์ออร์นิช ก็มีข้อปฏิบัติดังนี้

ข้อปฏิบัติที่ผู้เข้าร่วมโปรแกรมของนายแพทย์ดีน ไมเคิลออร์นิช ต้องทำตามอย่างเคร่งครัด

  • ต้องกินอาหารมังสวิรัติ ที่มีไขมันไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานเท่านั้น และต้องมีคอเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 50 มิลลิกรัมเช่นกัน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน โดยแนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกหรือจะเป็นการเดินเร็วก็ได้ โดยให้ทำอย่างน้อยวันละ 30 นาที
  • ต้องฝึกการคลายกล้ามเนื้อ วันละ 1 ชั่วโมงขึ้นไป โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่นการทำสมาธิ การเล่นโยคะและการยืดเส้นยืดสาย เป็นต้น
  • ควรเข้ากลุ่มสมาคมกับเพื่อนหรือคนอื่นบ่อยๆ เพื่อเป็นการพูดคุย ระบายความรู้สึกและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความผ่อนคลายได้ดี
  • ให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่อย่างถาวร และเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่

ทั้งนี้คุณหมอออร์นิชก็ได้บอกว่า อาหารถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่ทำให้การทำตามโปรแกรมสำเร็จไปได้ด้วยดี ซึ่งในส่วนอื่นๆ อาจจะยืดหยุ่นได้บ้าง แต่ยกเว้นผู้ป่วยบางคนที่จำเป็นต้องทำตามโปรแกรมทั้งหมดอย่างเคร่งครัด เพื่อแก้ปัญหาหลอดเลือดและโรคหัวใจโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด

หลักการกินอย่างถูกต้องเพื่อลดคอเลสเตอรอล

คณะผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำวิธีการกินสำหรับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงมาก ซึ่งก็คือวิธี เทอราพิวติกไลฟ์สไตล์เชนจ์ไดเอ็ต ( Therpeutic Lifestyle Change = TCL Diet ) หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือเป็นการบำบัดปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่พื่อลดคอเลสเตอรอลในเลือดให้ต่ำลงนั่นเอง

โดยวิธีนี้จะมีความแตกต่างจากอาหารลดคอเลสเตอรอลของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาตรงที่ ผู้ป่วยสามารถทานไขมันรวมได้แค่ 25-35 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานรวมเท่านั้น และให้เพิ่มไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว เพราะไขมันชนิดนี้มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์และเพิ่มเอชดีแอลให้สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามจำกัดไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายให้น้อยที่สุดด้วยและสำหรับคอเลสเตอรอลนั้นต้องจำกัดให้ได้ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัม จากที่กำหนดเป็น 300 มิลลิกรัม

อาหาร TLC สำหรับผู้ที่มีแอลดีแอลคอเลสเตอรอลสูง

ไขมันอิ่มตัว < 7 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานรวม
ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานรวม
ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานรวม
คาร์โบไฮเดรต 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานรวม
โปรตีน ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานรวม
คอเลสเตอรอล <200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
สารสเตียรอยด์จากพืช 2 กรัม
ใยอาหารละลายน้ำได้ เช่น ซิลเลียม 10 – 25 กรัม

และนอกจากนี้จะต้องมีการออกกำลังกายควบคู่ไปกับอาหาร TLC ด้วย เพื่อดูแลน้ำหนักตัวและควบคุมพลังงานจากอาหารให้เกิดความสมดุลกับพลังงานที่ใช้มากที่สุด

ตัวอย่างอาหาร TLC

เนื้อล้วนไม่ติดมัน/ปลา/อาหารทดแทนเนื้อสัตว์ <5 ออนซ์ (150 กรัม) ต่อวัน
ไข่ ไข่แดง ≤ 2 ฟองต่อสัปดาห์ (ไข่ขาวไม่จำกัด)
ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ 2 – 3 ส่วนต่อวัน (ไขมัน< 1 เปอร์เซ็นต์)
ไขมัน/น้ำมันพืช < 6 – 8 ช้อนชาต่อวัน
เมล็ดพืชไม่ขัดสี >6 ส่วน
ผักต่างๆ 3 – 5 ส่วนต่อวัน
ผลไม้ต่างๆ 2 – 4 ส่วนต่อวัน

จากการวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ( University of Toronto ) ในประเทศแคนาดา ก็ได้มีการจัดทำพอร์ตโฟลิโออีตติ้งแพลน ( Portfolio Eating Plan : PEP ) ขึ้นมา ซึ่งก็คือแบบแผนอาหารที่เหมาะสมนั่นเอง โดยทำในระดับวันละ 2,000 กิโลแคลอรี่ ซึ่งแผนดังกล่าวก็สามารถลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์และแอลดีแอลคอเลสเตอรอลได้มากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการทานอาหารที่จะช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดให้ลดต่ำลงได้ และยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคมะเร็งได้อีกด้วย

แบบแผนอาหาร

  • กินถั่วเปลือกแข็งเป็นประจำวันละ 30 กรัม เช่น ถั่วอัลมอนด์ ถั่วลิสง วอลนัท เป็นต้น
แบบไหนที่เีรียกว่าถั่ว 30 กรัม
อัลมอนด์ 23 เม็ด
อัลมอนด์สไลซ์/บด 1/2 ถ้วยตวง
อัลมอนด์อบเนย 2 ช้อนโต๊ะ
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 16 – 18 เม็ด
ถั่วลิสง 28 เม็ด
ถั่วพิตาชิโอ 45 – 47 เม็ด
แมคคาเดเมีย 10 – 12 เม็ด
วอลนัท 8 – 11 ซีก

 

  • กินโปรตีนที่ได้จากถั่วเหลืองวันละ 50 กรัม และพยายามเลี่ยงโปรตีนจากเนื้อสัตว์ให้ได้มากที่สุด
  • กินอาหารที่มีเส้นใยสูง และควรเป็นเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้วันละ 20 กรัม โดยเฉพาะผักผลไม้
  • กินพืชที่มีส่วนช่วยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ได้ดี ซึ่งก็คือพืชที่มีสารสเตอรอลหรือสตานอลนั่นเอง เช่น ถั่วชิกพี ถั่วเหลือง เป็นต้น

องค์ประกอบของ PEP ที่มีผลต่อการลดคอเลสเตอรอล

องค์ประกอบใน PEP เปอร์เซ็นต์คอเลสเตอรอลที่ลดลง
สารสเตียรอล/สตานอล 7 – 10 %
ถั่วเปลือกแข็ง (Tree Nuts) 3%
ใยอาหาร 5 – 10 %
โปรตีนถั่วเหลือง 3 – 10 %

 

เหตุผลที่ต้องทานใยอาหารที่ละลายน้ำได้ นั่นก็เพราะใยอาหารชนิดนี้จะไปขัดขวางและรบกวนการดูดซึมคอเลสเตอรอลในอาหารและน้ำดีในลำไส้ จึงไม่ทำให้เกิดการสะสมคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นจากเดิมนั่นเอง

ตารางอาหารชนิดที่มีใยอาหารละลายน้ำสูง

ชนิดของอาหาร ปริมาณ ปริมาณใยอาหารละลายน้ำสูง
ถั่วแดงสุก 1 ถ้วยตวง 6 กรัม
ถั่วลิมาสุก ( Lima Bean ) 1 ถ้วยตวง 5.2 กรัม
ข้าวโอ๊ตสุก 1 ถ้วยตวง 4 กรัม
ถั่วลาย ( Pinto Bean ) 1 ถ้วยตวง 3.8 กรัม
สตรอว์เบอร์รี่ 1 ถ้วยตวง ( 8 ผล ) 3.4 กรัม
บรอกโคลี 1 ถ้วยตวง 3.2 กรัม
พรุนแห้ง 1/2 ถ้วยตวง 3.1 กรัม
แอ๊ปเปิ้ล 1 ถ้วยตวง 3 กรัม
ถั่วชิกพีดิบ ( Chick Pea ) 1 ถ้วยตวง 3 กรัม
มันฝรั่งสุก ( Potato ) 1 ถ้วยตวง 2.8 กรัม
ถั่วขาวสุก ( White Bean ) 1 ถ้วยตวง 2.6 กรัม
บาร์เลย์สุก ( Barley ) 1 ถ้วยตวง 2.6 กรัม
ผงเมตามูซิล ( Matamucil ) 1 ถ้วยตวง 2.4 กรัม
เกรปฟรุต 1 ถ้วยตวง 2.3 กรัม

 

Tips ข้าวโอ๊ตวันละ 3 ส่วน 1 ส่วน ได้แก่

  • ข้าวโอ๊ตต้มที่ทำมาจากข้าวโอ๊ต 30 กรัม หรือมูสลี
  • รำข้าวโอ๊ต 2 ช้อนโต๊ะ ( 13 กรัม ) โดยนำมาโรยใส่ในซีเรียล สตู ซุป สมูทตี้ เครื่องดื่มอื่นๆ แต่ต้องเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพด้วย
  • เบเกอร์รี่ที่ทำมาจากข้าวโอ๊ต เช่น ขนมปังรำข้าวโอ๊ต 1 แผ่น   

อาหาร 1 ส่วนชนิดอื่นๆ ได้แก่

  • ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆวันละ 80 – 100 กรัม
  • ผักผลไม้อย่างน้อยวันละ 200 – 300 กรัม จะให้ใยอาหารที่ละลายน้ำประมาณ 10 กรัม

การทานพืชที่มีสเตียรอลวันละประมาณ 2 กรัม ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทานอาหาร 2,000 กิโลแคลอรีด้วย โดยในปัจจุบันก็พบว่าผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ได้มีการเติมสารสเตียนอลเข้าไป เพื่อเน้นสุขภาพโดยเฉพาะ เช่น โยเกิร์ต นมและเนยเทียมที่ทำมาจากพืชชนิดที่มีสเตียรอล ซึ่ง 1 ช้อนโต๊ะจะมีค่าเท่ากับ 1.7 กรัม

ชนิดของอาหาร ปริมาณ ปริมาณสเตียรอล
อะโวคาโด 1 ผลเล็ก ( 6 ออนซ์ หรือ 180 กรัม ) 132 มิลลิกรัม
น้ำมันข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ 132 มิลลิกรัม
ถั่วเหลือง 1 ถ้วยตวง 90 มิลลิกรัม
ถั่วชิกพีดิบ 1/2 ถ้วยตวง 35 มิลลิกรัม
อัลมอนด์ 1 ออนซ์ ( 30 กรัม หรือประมาณ 23 เม็ด ) 34 มิลลิกรัม
น้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ 30 มิลลิกรัม
น้ำมันเนยจากพืช 1 ช้อนโต๊ะ 19 มิลลิกรัม

 

โปรตีนถั่วเหลืองวันละ 50 กรัม เท่าไหนให้โปรตีนกี่กรัม   

ถั่วเหลือง ( สุก ) 150 กรัม  :   จะให้โปรตีนถั่วเหลืองประมาณ 12 กรัม

เต้าหู้แข็ง  1/3ถ้วยตวง  :  จะให้โปรตีนถั่วเหลืองประมาณ 10 กรัม

นมถั่วเหลือง 240 มิลลิลิตร  :  จะให้โปรตีนถัวเหลืองประมาณ 7 – 8 กรัม ( แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ มักจะมีปริมาณต่างกัน จึงควรอ่านฉลากให้ดีก่อน )

นมถั่วเหลือง ( อินทรีย์ ) 240 มิลลิลิตร  :  จะให้โปรตีนถั่วเหลืองประมาณ 6.25 กรัม

เต้าหู้อ่อน ( Mori-Nu®Silken-Style Tofu ) 90 กรัม ( ขนาด 1 นิ้ว )  :  จะให้โปรตีนถั่วเหลือง 6 กรัม ( หากต่างผลิตภัณฑ์ ควรอ่านฉลากโภชนาการ )

วิธีการดูแลสุขภาพป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

7 วิธีดูแลสุขภาพหัวใจ

ที่ควรปฏิบัติเพื่อสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง ควรดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี โดยสามารถทำได้ด้วย 7 วิธีดังต่อไปนี้

1.เลือกทานอาหารเสริมสุขภาพ

  • ควรกินผักและผลไม้ให้หลากหลายชนิดต่อวัน โดยเฉลี่ยผลไม้วันละ 4 ผลกลาง และผักหลายสีวันละ 4-5 ถ้วยตรง นอกจากนี้ควรกินธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสีวันละ 7 ส่วนด้วย
  • ควรกินปลาทะเลที่ปรุงสุกแล้วให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งหรือประมาณ 240 กรัม พร้อมกับลดปริมาณเนื้อสัตว์พวกหมู ไก่ให้น้อยลง ทั้งนี้ปลาทะเลมีกรดไขมันอิ่มตัวที่สูงมาก ซึ่งจะช่วยในการลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ดี แถมยังช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือดได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการกินปลา ควรเลือกเมนูที่ไม่ใช่เมนูทอดจะดีที่สุด
  • เลือกดื่มนมชนิดพร่องมันเนยหรือขาดไขมันเท่านั้น กรณีที่กินเนื้อไก่หรือหมู
  • ควรเลือกแบบเนื้อล้วนที่ไม่ติดมัน ดื่มแอลกอฮฮล์ให้น้อยลง หรือถ้าเลิกดื่มไปเลยจะดีมาก   

2.ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนลงพุง

  • กินอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ และแคลอรีต้องไม่สูงเกินไป ที่สำคัญอย่าสั่งอาหารจานใหญ่เลยเชียว
  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม โดยเฉพาะพวกที่มีรสชาติหวานทั้งหลาย
  • อย่ากินอาหารนอกบ้านหรืออาหารพาสต์ฟู้ดบ่อยเกินไป เพราะอาหารเหล่านี้มักจะมีไขมันทรานส์และคอเลสเตอรอลสูงมาก

3.คอยติดตามระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายอยู่เสมอ

  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเช็คระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายเสมอ

4.ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ

  • ควรวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อติดตามผลความดันว่าปกติหรือไม่
  • ลดการทานอาหารพวกเกลือ หมักดองและอาหารที่มีรสเค็มจัด เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของความดันสูง
  • ลดน้ำหนัก จะช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ดี

5.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

  • เลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และควรตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ซึ่งโดยปกติแล้วคนเราควรจะมีน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้าไม่เกิน 99 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

6.เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ ให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรืออาจใช้วิธีการเดินขึ้นลงบันไดในที่ทำงานบ่อยๆ แทน

7.เลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด

  • พบว่าการเลิกสูบบุหรี่ 2 ปี สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้มากถึง 1 ใน 3

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization – Obesity pages.
Diet, Nutrition and the prevention of chronic diseases (including obesity) by a Joint WHO/FAO Expert consultation (2003).

รับประทานอาหารเช้าช่วยป้องกันโรคอ้วนได้

0
รับประทานอาหารเช้าช่วยป้องกันโรคอ้วนได้
อาหารเช้า ถือเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน เพราะถือเป็นการเริ่มต้นวันทำให้สดชื่อและสุขภาพดี
รับประทานอาหารเช้าช่วยป้องกันโรคอ้วนได้
อาหารเช้า ถือเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน เพราะถือเป็นการเริ่มต้นวันทำให้สดชื่อและสุขภาพดี

อาหารเช้า

ในยุคที่มีแต่ความเร่งรีบ ทุกคนต่างต้องทำงานหรือกิจกรรมต่างๆเพื่อแข่งกับเวลาที่มีจำกัดในแต่ละวัน โดยเฉพาะเวลาช่วงเช้านั้น ต่างคนคงมีภารกิจมากมายรออยู่ ทั้งการเตรียมตัวไปทำงาน เตรียมตัวไปโรงเรียน และอื่นๆมากมาย ซึ่งการที่ต้องใช้ชีวิตเร่งรีบเพื่อแข่งกับเวลานี้ ก็ทำให้ใครหลายคน เลือกที่จะหลีกเลี่ยงการทาน อาหารเช้า แล้วไปกินอีกที ในมื้อกลางวันเลย การการะทำดังกล่าวถือว่าไม่ถูกต้อง และอาจมีผลเสียต่อร่างกายได้ เนื่องจากอาหารมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด และนอกจากนี้การทานอาหารเช้ายังมีประโยชน์ มากมายอีกหลายอย่าง ดังต่อไปนี้

ประโยชน์ของการทานอาหารเช้า

1. อาหารเช้าลดน้ำหนัก

อาหารเช้าลดน้ำหนักหลายคนมักมีความเชื่อที่ผิดๆว่าการอดอาหารเช้า สามารถทำให้ลดน้ำหนักได้ แต่ที่จริงแล้วการไม่ทานอาหารเช้ากลับยิ่งทำให้อ้วน มากกว่าผู้ที่ทานอาหารเช้าปกติ การงดอาการเช้า จะมีผลไปทำให้เกิดการกินอาหารในมื้ออื่นๆเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก สมองจะหลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า นิวโรเพปไทด์วาย ออกมาซึ่งจะทำให้เกิดการกินอาหารปริมาณมากโดยไม่รู้ตัว เป็นภาวะที่เรียกว่า “ อาการกินกลางคืน ( Night Eating Syndrome ) ” คือ เมื่อเริ่มทานในมื้อกลางวันแล้วจะหยุดกินไม่ได้จนกว่าจะเข้านอน มักกินจุกกินจิก และเลือกอาหารที่ทานสะดวกและอยากกินเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นอาหารที่ มีไขมัน แป้ง น้ำตาล และแคลอรีที่สูง

ผลของการวิจัยหลายๆที่ให้คำตอบไปในทางเดียวกันคือ ผู้ที่ไม่ทานอาหารเช้ามีแนวโน้มที่จะอ้วนได้มากกว่าคนที่ทานอาหารเช้าปกติถึง 4 เท่า นอกจากนี้การทานอาหารเช้าเป็นประจำยังสามารถป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้อีกด้วย

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การทานอาหารเช้าไม่ได้ทำให้อ้วนขึ้นอย่างใด แต่อาหารเช้าช่วยให้ร่างกายเกิดความสมดุลการทานอาหารในมื้ออื่นๆ ก็จะเป็นไปด้วยความเหมาะสม ช่วยลดการกินจุกจิก ซึ่งเป็นสาเหตุของความอ้วนนั้นเองแต่ทั้งนี้ก็ต้องเลือกทานอาหารเช้าที่ดีมีประโยชน์ พร้อมทั้งควบคุมปริมาณให้เหมาะสมด้วย

2. อาหารเช้าลดโรค

อาหารเช้าลดโรคการทานอาหารเช้าสม่ำเสมอและเป็นประจำ นอกจากจะทำให้ร่างกายสดชื่น แจ่มใส ไม่อ่อนเพลียแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคหัวใจ และช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเบาหวาน

ในการศึกษาและวิจัยพบว่า ผู้ที่ทานอาหารพวกธัญพืชชนิดไม่ขัดสี เป็นอาหารเช้าทุกๆวัน ในระยะเวลานานกว่า 5 ปี จะเป็นผู้ที่มีอายุยืนกว่าคนปกติ

ซึ่งมีเหตุผลมาจาก ในธัญพืชไม่ขัดสี จะมีสารแอนติออกซิแดนท์ ใยอาหารและอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดและความดันโลหิต ส่งผลให้ร่างกายใช้กลูโคสและฮอร์โมนอินซูลินได้ดีขึ้น ธัญพืชชนิดที่มีโปรตีนถั่วเหลืองผสมจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มขึ้น เพราะโปรตีนถั่วเหลือง จะไปช่วยลดระดับคอเลสเทอรอลในเลือดลงได้ ส่วนอาหารที่มีองค์ประกอบของกรดโฟลิค วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 จะช่วยลดสารโฮโมซิสเตอีนในเลือดซึ่งเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดในร่างกาย

3. อาหารเช้าเพิ่มพลังสมอง

อาหารเช้าเพิ่มพลังสมองร่างกายส่วนต่างๆยังคงใช้พลังงานปกติ แม้กระทั่งในเวลานอนหลับ  พลังงานเหล่านี้จะมาจากกลูโคสที่ร่างกายเก็บสะสมเอาไว้  ซึ่งกว่าจะถึงตอนเช้า ร่างกายจะใช้กลูโคสเกินมากกว่าครึ่งไปแล้ว ทำให้ร่างกายนั้นต้องการพลังงานมาเติมทดแทน โดยพลังงานเหล่านี้จะมาจากสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก

สมองก็เช่นกันที่ต้องใช้พลังงานจากกลูโคส  แต่จะต่างกันที่สมองนั้นไม่สามารถเก็บพลังงานส่วนที่เหลือไว้ได้เหมือนร่างกายดังนั้น เราจึงควรทานอาหารเช้า เพื่อให้สมองได้รับพลังงานเข้าไป และช่วยให้สมองเราทำงานได้ดี สำหรับผู้ที่ไม่ทานอาหารเช้านั้น  แม้ร่างกายจะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติอะไร เนื่องจากมีพลังงานสำรองอยู่ แต่เมื่อใช้พลังงานนั้นจดหมด ร่างกายก็จะเข้าสู่ภาวะเครียด สมองไม่แล่น ประสิทธิภาพในการทำสิ่งต่างๆจะลดลงและแม้ว่าจะกินอาหารชดเชยในมื้อเที่ยงเข้าไปแล้ว ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะเวลาที่ร่างกายต้องการพลังงานส่วนนั้นได้ผ่านไปแล้วนั้นเอง

องค์ประกอบอาหารเช้าที่ดีองค์ประกอบอาหารเช้าที่ดี

จากข้อมูลการวิจัยพบว่าสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมีความสำคัญต่อการทำงานของสมองเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้สมองและระบบความจำดีทำงานได้ดีและแม่นยำขึ้นและหากมีการงดอาหารเช้าเกิดขึ้น ก็จะทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารสำคัญส่งผลให้ระบบความจำในทั้งวันจะทำงานได้ไม่ดีเมื่อรู้แบบนี้แล้วว่าอาหารเช้ามีความสำคัญกับร่างกายเพียงใด เราจึงควรทานอาหารเช้าเป็นประจำ  และถ้าหากต้องการให้ร่างกายได้ประโยชน์จากอาหารเช้ามากขึ้น ต้องมีหลักในการเลือกชนิดของอาหารเช้าที่ดี ดังต่อไปนี้

หลักในการเลือกชนิดของอาหารเช้า

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

พบได้มากใน ธัญพืชไม่ขัดสีชนิดต่างๆ และผลไม้ เป็นประเภทอาหารที่ดีที่สุดที่จะทานในมื้อเช้า เนื่องจากสารอาหารประเภทคาร์โบไอเดรตเชิงซ้อนจะค่อยๆลำเลียงสารอาหารกลูโคสไปส่งให้กับสมอง โดยจะใช้เวลานานขึ้นในการย่อยและดูดซึม

โปรตีน

สารอาหารจำพวกโปรตีนจะให้กรดแอมิโนเพื่อไปผลิตสารสำหรับบำรุงสมอง พบได้มากในผลิตภัณฑ์นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ  อาหารทะเล เป็นต้น นอกจากนี้การทานไข่ยังไปช่วยทำให้ระบบความจำดีขึ้นได้อีกด้วย

อาหารแคลเซียมสูง

จะช่วยในการเผาผลาญไขมันและลดการสะสมไขมันในร่างกายพบได้ในอาหารต่างๆ เช่น นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง ธัญพืชหรือน้ำส้มชนิดเสริมแคลเซียม เป็นต้น

อาหารเติมความอิ่ม

สำหรับผู้ที่ทานอาหารมื้อหลักไปแล้ว แต่ยังรู้สึกหิวบ่อยๆ มีหลักในการเลือกอาหารสำหรับเติมความอิ่มให้กับร่างกาย โดยจะให้เน้นอาหารที่มีประโยชน์และไม่ทำให้อ้วน คือ เน้นอาหารที่มีองค์ประกอบของน้ำในปริมาณมาก เช่น นมและโยเกิร์ตชนิดไขมันต่ำ หรือ ผลไม้ ซึ่งจะช่วยลดแคลอรีของอาหารที่กินเข้าไปได้ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า น้ำที่เป็นองค์ประกอบในอาหารนั้นจะช่วยลดปริมาณแคลอรีในมื้ออาหาร ได้มากกว่าน้ำที่เราดื่มเข้าไปในปริมาณที่เท่าๆกัน

อาหารกากใยสูง

ในอาหารมื้อเช้า ควรเลือกทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่นอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ ถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งอาหารอย่างธัญพืชชนิดไม่ขัดสี เนื่องจากเป็นอาหารที่ย่อยช้า และช่วยทำให้อิ่มได้นานขึ้นเพื่อลดปัญหาการกินจุกกินจิกสาเหตุของการเกิดความอ้วนได้ จะเห็นได้ว่าอาหารมื้อเช้านั้นมีประโยชน์มากมายต่อร่างกายมนุษย์เราไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยป้องกันโรคร้าย หรือช่วยให้ระบบความจำทำงานได้ดีขึ้น และในทางกลับกันหากตัวเราละเลยหรือไม่ทานอาหารในมื้อเช้าก็จะทำให้ระบบกลไกของร่างกายทำงานผิดปกติไป ทำให้มีปัญหาเรื่องสุขภาพหรือระบบความจำได้นั้นเอง ดังนั้นไม่ว่าชีวิตในแต่ละวันจะเร่งรีบหรือวุ่นวายแค่ไหน ก็ไม่ควรที่จะละเลยการทานอาหารในมื้อเช้าโดยเด็ดขาด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Obesity and overweight http://www.who.int.

Waist-hip ratio. http://en.wikipedia.org/wiki.