Home Blog Page 177

เบาหวานลงไตคืออะไร ( Diabetic Kidney Disease, DKD )

0
โรคเบาหวานลงไตคืออะไร (Diabetic Kidney Disease, DKD)
ไตทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ คอยควบคุมระดับเกลือแร่ต่างๆ ให้เป็นปกติ
โรคเบาหวานลงไตคืออะไร (Diabetic Kidney Disease, DKD)
โรคเบาหวานลงไต คือ การที่มีภาวะเลือดหรือสารน้ำไปเลี้ยงไตน้อยลงส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต

เบาหวานลงไต

โรคเบาหวานลงไต ( Diabetic Kidney Disease, DKD ) เป็นโรคหนึ่งที่ผู้ป่วยอาจจะมีการเกิดภาวะของโรคแทรกซ้อนต่างๆได้มากมายหลายโรค ซึ่งโรคไตวายเรื้อรังก็เป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนต้องเจอ โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 – 40 ของผู้ ป่วยไตวายทั้งหมด จะมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานลงไต  โดยสาเหตุของไตวายเฉียบพลันที่สำคัญ คือ การที่มีภาวะเลือดหรือสารน้ำไปเลี้ยงไตน้อยลง การได้รับยาหรือสารพิษต่างๆที่ไปส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต ส่วนสาเหตุอื่นที่ทำให้เป็นโรคไตวายเรื้อรังนอกจากโรคเบาหวานก็มี เช่น การอักเสบเรื้อรังของตัวกรองของไตหรือหลอดไต  มีความดันโลหิตสูง การอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น โดยปกติร่างกายคนเราจะมีไต 2 ข้าง เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายถั่วคอยทำหน้าที่หลักๆในร่างกาย  2 ประการ

ไตทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ คอยควบคุมระดับเกลือแร่ต่างๆ ให้เป็นปกติ และทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนและสารต่างๆ

ฮอร์โมนที่สำคัญคือ เออริโทรพอยเอติน ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง

ทั้งนี้มนุษย์เราก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้เพียงแค่มีไตข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น  โรคไตวายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อไตทั้ง  2 ข้าง มีความผิดปกติจนไม่สามารถทำหน้าที่ตามธรรมชาติได้ ซึ่งอาจเป็นชนิดไตวายเฉียบพลันหรือไตวายแบบเรื้อรังก็ได้ ผลกระทบที่ตามมาของไตวาย คือ การมีของเสีย เกลือแร่ และน้ำค้างอยู่ในร่างกาย มีภาวะซีดเนื่องจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง ส่วนในกรณีไตวายเฉียบพลัน หากสามารถแก้ไขต้นเหตุได้แล้วไตก็จะกลับมาทำหน้าที่ได้ตามปกติ แต่ในกรณีเป็นไตวายชนิดเรื้อรัง หากว่าทำการรักษาแล้วยังไตยังไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติก็อาจจะนำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุดนั้นเอง

อาการผิดปกติของโรคไตวาย

สามารถตรวจหาสาเหตุจากค่าในไต 2 ค่าดังนี้ คือ

ค่ายูเรียไนโตรเจนในเลือดหรือบียูเอ็น (ฺ Blood urea nitrogen ) จะแสดงถึงระดับของเสียที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนและคั่งค้างอยู่ในเลือดในร่างกายมีค่าปกติเท่ากับ 10 – 20 มิลลิกรัม / เดซิลิตร หากไตทำหน้าที่ลดลงก็จะมีของเสียคั่งค้างสูงขึ้นค่าบียูเอ็นสูงขึ้นตามไปด้วย
ค่าไตคือค่าครีเอตินีน ( Creatinine ) จะแสดงถึงการทำงานของไต มีค่าปกติอยู่ในช่วง 0.7 – 2.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากการทำงานของไตลดลงจะทำให้ค่าครีเอตินีนในเลือดสูงขึ้น

โรคเบาหวานลงไตมีกี่ระยะ?

โรคเบาหวานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไตเป็นขั้นตอนตามลำดับ 5 ระยะ ดังนี้

โรคเบาหวานลงไต ระยะที่ 1  ในระยะแรกของผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการใดๆ ที่แสดงออกให้ผู้ป่วยทราบ เป็นระยะที่ไตมีขนาดใหญ่ขึ้น เลือดไปเลี้ยงไปเลี้ยงไตมากขึ้น โดยจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อเริ่มเป็นโรคเบาหวาน 

โรคเบาหวานลงไต ระยะที่ 2 จะเกิดขึ้นหลังจากที่เป็นโรคเบาหวานประมาณ 2 ปี แต่ก็ยังไม่แสดอาการใดๆให้ผู้ป่วยทราบเหมือนระยะที่ 1 ในระยะนี้จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่ตัวกรองของไต หรือไตไม่สามารถรักษาสมดุลของตัวเองได้

โรคเบาหวานลงไต ระยะที่ 3 ระยะนี้จะเกิดขึ้นหลังจากเป็นโรคเบาหวานมาแล้ว 10 – 15 ปี ร่างกายของผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการผิดปกติแสดงออกมา เช่น ตรวจพบไข่ขาวหรือโปรตีนปริมาณน้อยในปัสสาวะและจะมีปริมาณค่อยๆเพิ่มขึ้นในทุกๆปีเริ่มมีความดันโลหิตสูง มักจะเกิดขึ้นภายหลังการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะเป็นเวลา 2 ปีแต่การตรวจเลือดหาค่าบียูเอ็นและค่าครีเอตินีน เพื่อดูหน้าที่ของไตยังให้ผลอยู่ในเกณฑ์ปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

โรคเบาหวานลงไต ระยะที่ 4 จะเกิดขึ้นหลังจากป่วยเป็นโรคเบาหวานมาแล้ว 15-25 ปี  โดยผู้ป่วยประมาณ ร้อยละ  25-40 สามารถตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 0.5 กรัมต่อวัน ในระยะนี้จะเริ่มมีการเสื่อมของไตอย่างต่อเนื่องมากกว่าคนปกติ โดยคนปกติที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ไตจะเสื่อมร้อยละ 1 ต่อปี แต่ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคไตจะมีการเสื่อมของไตมากถึง ร้อยละ 10 หากปล่อยให้การทำงานของไตลดลงเหลือเพียงร้อยละ 20 ของภาวะปกติ จะมีของเสียคั่งค้างมากในร่างกาย จนผู้ป่วยจะเกิดอาการ เช่น คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหาร ไม่มีแรง รู้สึกหนาวง่าย อาการเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นหากผู้ป่วยมีอาการซีดเนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำลงกว่าปกติ

โรคเบาหวานลงไต ระยะที่ 5 ระยะนี้เรียกว่าเป็นระยะของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งการทำงานของไตจะลดลงจนเหลือไม่ถึงร้อยละ 5 จะมีของเสียตกข้างที่ร่างกายจำนวนมากค่าบียูเอ็นสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ค่าครีเอตินีนสูงกว่า 10 มิลลิกรัม/เดซิลิตรส่วนอาการที่จะพบและสังเกตได้จากผู้ป่วยคือ ซึมไม่รู้ตัว บวมตามร่างกาย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะลดลงจนเกือบไม่มีหากปล่อยไว้อาจจะเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน โดย การล้างไต เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานทุกคนก็อย่าเพิ่งตกใจไป  ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะไม่ได้มีอาการแทรกซ้อนจากโรคไตวายทุกคน จะขึ้นอยู่ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น  ระดับน้ำตาลในเลือด  เชื้อชาติ ประวัติครอบครัวและความแตกต่างทางพันธุกรรม เป็นต้น

จะรู้ได้อย่างไรว่าโรคเบาหวานลงไตแล้วและอยู่ในระยะใด?

โดยปกติอาการของโรคไตวายในผู้ป่วยเบาหวานจะเริ่ม มีอาการแสดงออกตั้งแต่ในระยะที่ 3 ซึ่งสามารถเช็คได้จากการตรวจปัสสาวะ หากในปัสสาวะมีโปรตีนแอลบูมินหลั่งออกมา ในช่วงแรกจะออกมาปริมาณน้อยอยู่ แต่ก็สามารถตรวจหาได้ด้วนวิธีการพิเศษที่เรียกว่าไมโครแอลบูมินยูเรีย Microalbuminuria

หากเข้าสู่ภาวะไตเสื่อมในระยะที่ 4 สามารถตรวจได้จากการตรวจปัสสาวะปกติ โดยจะมีโปรตีนแอลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะมากขึ้น และหากไตเสื่อมมากขึ้นจนทำงานน้อยกว่าร้อยละ 50 ก็สามารถตรวจหาจาก ค่าบียูเอ็น ( BUN )และครีเอตินีนในเลือดซึ่งค่าทั้งสองนี้จะไม่สูงขึ้นอย่างชัดเจนจนกว่าไตจะเสื่อมไปกว่าร้อยละ 50 แล้วทั้งนี้ ผู้ที่ไตเสื่อมในระยะที่ 4 และ 5 ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อสังเกตการณ์ทำงานของไตเป็นระยะ   

วิธีรักษาโรคไตที่มีอาการเบาหวานร่วมด้วยในเบื้องต้น

ผู้ป่วยต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด มีความสำคัญต่อการรักษาโรคไตเกือบทุกระยะ ยกเว้นระยะท้ายๆโดยผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจใช้วิธีทานยาคุมระดับน้ำตาลหรือใช้การฉีดอินซูลิน เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าปกติมากที่สุด เนื่องจากในภาวะไตวาย ไตจะขจัดอินซูลินได้น้อยลง จึงมีระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น ทำให้น้ำตาลในเลือดผู้ป่วยลดต่ำลง คุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งจะไปส่งผลทำให้เกิดภาวะไตเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ ควบคุมปริมาณการกินโปรตีน ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญและควรทำในทุกระยะของโรคเนื่องจากโปรตีนทำให้เลือดไปเลี้ยงไตมากขึ้น

ซึ่งมีความสำคัญในการเกิดโรคไต โปรตีนจะถูกย่อยสลายในร่างกายเป็นบียูเอ็นในเลือดทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนและโปรตีนยังทำให้ไตเสื่อมมากขึ้นไปอีกกว่าปกติ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในระยะที่ไตเสื่อมหน้าที่แล้ว ควรทานโปรตีนให้น้อยกว่าคนปกติ ในขนาดไม่เกิน 6 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

การรักษาโดยการใช้ยา โดยแพทย์จะเริ่มให้ยากหากป่วยเป็นถึงระยะที่ 4 แล้ว เช่น ยาแคลเซียมคาร์บอเนตหรือแคลเซียมแอซีเทตย ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์จับกับฟอสรัสในอาหารโดยฟอสฟอรัสเป็นเกลือแร่ที่ถูกขับออกทางไตนอกจากนี้ยาโซเดียมไบคาร์บอเนตซึ่งมีฤทธิ์เป็นบัฟเฟอร์ ( Buffer ) สารที่ใช้แก้ไขความเป็นกรดด่าง แก้ไขความเป็นกรดในเลือด และยังลดการเกิดพังผืดในบริเวณเนื้อเยื่อหลอดไต ทำให้การเสื่อมของไตลดลงสำหรับผู้ป่วยเบาหวานระยะที่ 4 มักมีอาการซีดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง จึงควรให้เสริมด้วยธาตุเหล็กและกรดโฟลิกเข้าไป
เมื่อการเสื่อมของไตมีมากขึ้นไปเรื่อยๆ  แพทย์ก็จะรักษาผู้ป่วยตามอาการที่เกิดขึ้น  เมื่ออาการเริ่มหนักขึ้นก็ต้องรักษาโดยการฟอกเลือดหรือล้างไตทางเส้นเลือดโดยอาศัยเครื่องไตเทียม หรือล้างไตทางหน้าท้อง  ซึ่งมักจะเข้าใจกันผิดบ่อยๆว่าการล้างไตทั้งสองวิธีเป็นการรักษาต้นเหตุของโรคไตได้ การล้างไตนั้นโดยทั่วไปมักเริ่มต้นการล้างไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เมื่อระดับ ครีเอตินีนในเลือดสูงกว่า 10 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ทั้งนี้ ขึ้นกับสภาพการทำงานของหัวใจผู้ป่วยด้วย

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ผิดๆเกี่ยวกับการล้างไต เช่น  การล้างไตเพียงหนึ่งถึงสองครั้งสามารถทำให้เสียชีวิตได้ หรือ ยิ่งล้างไตร่างกายยิ่งแย่ลง แต่ความเป็นจริงคือ การตายหรือการที่ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงเป็นเพราะเริ่มการล้างไตช้าเกินไปนั่นเอง ไม่ได้เป็นผลร้ายจากการล้างไตแต่อย่างใดทั้งนี้  ส่วนการรักษาที่ดีที่สุดของผู้เป็นโรคไตคือ  การผ่าตัดเปลี่ยนไตหรือการผ่าตัดปลูกไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย     

แนวทางการป้องกันและการรักษาโรคไตจากเบาหวาน

1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับดี
2. ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งในข้อนี้มีการแนะนำเกี่ยวกับกลุ่มของยาลดความดันโลหิตที่สามารถเลือกใช้ตัวใดตัวหนึ่ง หรือใช้ร่วมกัน หากไม่มีข้อห้าม และควรมีการปรึกษาแพทย์
3. ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอัลบูมินในปัสสาวะ และ/หรือมีภาวะความดันโลหิตสูงต้องได้รับการรักษา ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของไต
4. ควรให้รับคำแนะนำและการรักษาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อย่างเหมาะสม ได้แก่ การควบคุมระดับไขมันในเลือด การควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และงดสูบบุหรี่
5. ควรได้รับการดูแลรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เช่น จำกัดปริมาณโปรตีนในอาหารให้เหมาะสม

การปลูกถ่ายไตมีขั้นตอนอย่างไร

การปลูกถ่ายไตเป็นการรักษาที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นไตวายระยะสุดท้าย  โดยการรักษาเมื่อได้รับไตใหม่แล้ว ปกติแพทย์จะไม่ตัดไตเดิมทิ้งแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่ไตติดเชื้อ หรือไตมีขนาดใหญ่มาก แต่จะใช้วิธีการใส่ไตใหม่เข้าไปโดยให้อยู่ที่ด้านหน้าของช่องท้อง และไตเดิมอยู่ด้านหลังของช่องท้องตามปกติจึงทำให้เรียกวิธีการนี้ว่าการปลูกถ่ายไต นั่นเอง โดยไตใหม่ที่ได้มาในการรักษา อาจจะมาจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่หรือ อาจจะได้ไตมาจากผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว และได้ทำเรื่องการบริจาคไตไว้ตั้งแต่ช่วงมีชีวิตอยู่ก็ได้

สำหรับผู้รับบริจาคไตหลังจากการปลูกถ่ายไตเสร็จแล้ว ก็ยังต้องทานยากดภูมิคุ้มกันไตไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายต่อต้านไตใหม่ของร่างกายและยังอาจต้องรับประทานยาชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาลดระดับไขมันในเลือด เป็นต้น และการปลูกถ่ายไตยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆด้วย ทั้งการรักษาและยาที่ต้องทาน

ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานไม่จำเป็นต้องเป็นโรคไตวายทุกคน แต่ทั้งนี้หากรู้ตัวว่าเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว ก็ควรหมั่นสำรวจร่างกายตัวเองว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับโรคไตวายหรือไม่อย่างไร หากมีอาการควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และที่สำคัญต้องอย่าลืมดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วย เพราะหากเป็นไปได้ก็คงไม่อยากจะต้องฟอกเลือดหรือล้างไตหรอก จริงไหม

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์, 2557.

แก้ว กังสดาลอำไพ. ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับอาหาร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. หมอชาวบ้าน, 2531.

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Dr.Per Grinsted (2005-03-02). “Kidney failure (renal failure with uremia, or azotaemia)”. 2009-05-26.

เป็นเบาหวานควรออกกำลังกายอย่างไรดี

0
เป็นเบาหวานควรออกกำลังกายอย่างไรดี
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้
43 เป็นเบาหวานควรออกกำลังกายอย่างไรดี 1 - เป็นเบาหวานควรออกกำลังกายอย่างไรดี
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้

การออกกำลังกาย ที่เหมาะกับคนเป็นเบาหวาน

โรคเบาหวานกับ การออกกำลังกาย จะช่วยได้อย่างไร หากอธิบายให้ง่ายๆก็คือ โรคเบาหวานเกิดจากเซลล์ในร่างกายของเราอยู่ในภาวะ “ดื้อต่ออินซูลิน” ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ใช่เพียงแค่ทานอาหารรสหวานจัดอย่างที่เข้าใจกัน แต่ยังรวมไปถึงการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง และขาดการออกกำลังกายจนกลายเป็นอ้วนลงพุง น้ำหนัก เกินเกณฑ์มาตรฐาน สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อภาวะร่างกายดื้ออินซูลิน จนนำไปสู่โรคเบาหวานได้ในที่สุดการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะให้ผลดีคือ จะไปช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ไขมัน ลดระดับความดันโลหิต และยังช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย

ข้อดีของการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

การออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อหลายๆ ส่วนได้เคลื่อนไหวได้ออกแรงพร้อมๆกัน และไม่ต้องใช้แรงต้านมากเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานมากที่สุด เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ  เป็นต้น หรือจะเลือกตามความถนัดที่ตนเองชอบก็ได้  ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งให้อยู่ในช่วงเวลา 20 – 45 นาที เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการออกกำลังกาย แต่ทั้งนี้กิจกรรมการออกกำลังกายบางอย่าง ก็ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน  การออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมากๆ เช่น การยกน้ำหนักหรือ การออกกำลังกายที่หนักจนเกินไป เพราะอาจจะไปทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและระบบหัวใจได้นั้นเอง ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหากิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม และไม่ฝืนร่างกายตนเองจนเกินไป

ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

หากผู้ป่วยโรคเบาหวาน ยังไม่เคยออกกำลังกาย หรือ ไม่ได้ออกกำลังกายมานานแล้ว ควรให้คุณหมอตรวจสอบความพร้อมของร่างกายก่อนก็จะดีไม่น้อยเลยและอาจจะขอคำแนะนำจากคุณหมอเพิ่มเติมว่าควรเริ่มจากอะไรดีแล้วควรออกกำลังกายเวลาใด เนื่องจากสภาพโรคและร่างกายผู้ป่วยทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันออกไป

ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยส่วนมาก ก็จะเน้นเอาช่วงเวลาที่ผู้ป่วยสะดวกนั้นเอง อาจจะเป็นช่วงเย็นๆที่แดดไม่ร้อนจนเกินไป ( 15.00 – 17.00 น. ) สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ( แบบพึ่งอินซูลิน ) ควรทานอาหารว่างก่อนไปออกกำลังกายอย่างน้อย 30 – 60 นาที เพื่อช่วงป้องกันปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงเกินปกติ เพราะช่วงนี้เป็นเวลาที่อินซูลินจะถูกดูดซึมเต็มที่และออกฤทธิ์สูงสุดหากผู้ป่วยเลือกที่จะออกกำลังกายในเวลาอื่นๆ หรือเมื่อออกกำลังแล้วเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรรับประทานอาหารว่างก่อนออกกำลังกายประมาณ 30-60 นาทีเสมอ

ข้อควรระวังเพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการออกกำลังกายมากกว่าปกติ ต้องคอยตรวจระดับน้ำตาล โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทานยาหรือต้องฉีดอินซูลินอยู่ตลอด ควรเช็คระดับน้ำตาลทุกครึ่งชั่วโมงชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย และเบรกเพื่อเช็คอีกครั้ง ทุกๆครึ่งชั่วโมง เพราะร่างกายเมื่อได้เผาผลาญแล้ว อาจทำให้ระดับน้ำตาลที่มียาช่วย ลดต่ำลงไปได้อีก อาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยได้ 

ข้อควรระวังในผู้ป่วยเบาหวานสำหรับการออกกำลังกาย

หากออกกำลังกายให้เพียงพอและเหมาะสม ร่างกายจะนำน้ำตาลในเลือดไปเปลี่ยนเป็นพลังงานช่วยให้สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้การออกกำลังกายนอกจากมีผลตีต่อระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์อีกหลายประการ เช่น

  1. ไขมันในเลือดลดต่ำลง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดจากอาการเส้นเลือดหัวใจอุดตัน
  2. น้ำหนักตัวลดลง ทำให้เป็นผลดีในการควบคุมเบาหวานได้ง่ายขึ้น
  3. อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น หิว เหงื่อออก หรือใจสั่น
  4. ตาพร่ามัว หน้ามืด
  5. เป็นแผลที่เท้า
  6. เหนื่อยมากผิดปกติ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้ เพราะในขณะที่เราออกกำลังกายนั้น ร่างกายจะต้องใช้พลังงาน ซึ่งแหล่งพลังงานในร่างกายคนเราก็คือน้ำตาล

ข้อควรระวังสำหรับการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แม้การออกกำลังกายจะมีผลดี แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานบางคน ก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะผิดปกติที่ทำให้ไม่สามารถออกกำลังกายบางชนิดได้และนอกจากนี้ควรระวังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการออกกำลังกาย เช่น สำหรับผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีเพียงพอ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบที่ 1 (แบบพึ่งอินซูลิน) การออกกำลังกายที่มากเกินไปและไม่เหมาะสมจะยิ่งทำให้การควบคุมเบาหวานที่ไม่ดีอยู่แล้วเป็นมากขึ้นได้อีก อาจจะทำให้เกิดภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทนได้ ส่วนผู้ที่ควบคุมเบาหวานได้ดีอยู่แล้ว ก็มีสิ่งที่ควรระวังคือ ในระหว่างออกกำลังกายอย่าปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกินไปนั้นเอง ควรหลีก เลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการกระทบกระแทกที่เท้ามากๆเพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการเท้าชาจากปลายประสาทเสื่อมต้องระวังไม่ให้เกิดแผลที่เท้า เพราะจะกลายเป็นแผลเบาหวานได้ซึ่งอาจจะหายช้าและเสี่ยงการติดเชื้อได้ง่าย ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูงคือผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดสูง ก่อนเริ่มวางแผนการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องควรได้รับการตรวจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเพราะหากออกกำลังกายมากเกินไปจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 

การออกกำลังกายนั้นส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานเช่นทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นร่างกายแข็งและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดต่ำลงได้แต่ถ้าเราออกกำลังกายหนักเกินไปหรือออกกำลังกายที่ไม่ถูกวิธีก็จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆซึ่งอาจจะทำให้อาการของโรคเบาหวานรุนแรงยิ่งขึ้นดังนั้นก่อนการวางแผนออกำลังกายควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีออกำลังกายที่เหมาะสมก่อนจะดีที่สุด และควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ: บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

0
เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ มักเกิดขึ้นทุกช่วงระยะของการตั้งครรภ์
เบาหวานกับการตั้งครรภ์
เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ มักเกิดขึ้นทุกช่วงระยะของการตั้งครรภ์

โรคเบาหวานขณะมีการตั้งครรภ์

กรณีนี้จะเกิดได้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานทั้งแบบประเภทที่ 1 ( เบาหวานแบบพึ่งอินซูลิน )และโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ( เบาหวานแบบไม่พึ่งอินซูลิน ) หากผู้ป่วยตรวจพบว่าตัวเองเป็น โรคเบาหวานขณะมีการตั้งครรภ์ ต้องทำการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในเกณฑ์ที่ดีตลอดเวลา แต่หากตรวจพบว่าระดับน้ำตาลเกินค่ามาตรฐานปกติ ต้องทำการใช้ยาช่วยเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลทันที แต่มีข้อแม้ว่าผู้ป่วยต้องใช้วิธีการแบบฉีดอินซูลินได้เพียงอย่างเดียวเท่า นั้น ห้ามรับประทานยาชนิดเม็ดโดยเด็ดขาด เนื่องจากยาดังกล่าวจะไปส่งผลให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ อาจจะพิการหรือเกิดความผิดปกติในร่างกายของเด็กได้ หากจะใช้ยาอะไรควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เสียก่อน

คำแนะนำก่อนการตั้งครรภ์

ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานมีความตั้งใจจะมีบุตร ต้องมีการวางแผนอย่างดีเสียก่อน โดยควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และต้องหมั่นดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง คอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ดีเสมอ นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับความร่วมมือและการประสานงานกันแบบเป็นทีม ทั้งจากคนใกล้ตัวญาติพี่น้อง หรือทีมแพทย์ต่างๆ เช่น แพทย์ดูแลโรคเบาหวาน กุมารแพทย์ สูติแพทย์ พยาบาลด้านเบาหวาน และนักโภชนาการ เพื่อที่จะช่วยให้ว่าที่คุณแม่และลูกในครรภ์ มีร่างกายสมบรูณ์แข็งแรงและปลอดภัยที่สุด 

หลายคนมักจะมีความเข้าใจที่ผิดว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้น ไม่สามารถที่จะมีบุตรได้ แต่ในความเป็นจริงทางการแพทย์สรุปไว้ว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานยังคงสามารถมีบุตรได้ตามคนทั่วไปปกติ เพียงแต่จะต้องดูแลตนเองให้มากขึ้นกว่าเดิม

เป็นโรคเบาหวานหลังจากมีการตั้งครรภ์แล้ว

เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ว่าที่คุณแม่หลายคนอาจจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ เนื่องจากขณะมีการตั้งครรภ์จะมีปัจจัยไปกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมนบางชนิดขึ้นมา ที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินที่ทำหน้าที่คอยคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้หากไม่ได้รับการควบคุมที่ดีพอ จะทำให้มีผลกระทบต่อตัวคุณแม่และลูกในครรภ์ได้ ดังนั้นเพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีความปลอดภัย จึงควรมีการตรวจคัดกรองในหญิงมีครรภ์เพื่อหาโรคเบาหวาน ซึ่งจะสามารถเริ่มทำได้เมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์โดยให้ผู้ป่วยดื่ม น้ำตาลกลูโคส 50 กรัม ละลายในน้ำ 1 แก้ว หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จึงตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหากพบว่ามีระดับน้ำตาลเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ปัจจัยอะไรบ้างที่เสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

1.อายุมากกว่า 30 ปี
2.มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
3.เป็นคนอ้วนมาก ( น้ำหนักมากกว่า 70 กิโลกรัมขึ้นไป )
4.เคยมีประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดที่ผ่านมาผิดปกติ เช่น การแท้ง  ครรภ์เป็นพิษ ลูกที่คลอดออกมามีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัมหรือเคยตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
5.เป็นโรคความดันโลหิตสูง
6.มีประวัติเกิดการติดเชื้อง่าย บริเวณอวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะและในผิวหนัง

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ผลกระทบต่อมารดา

การตั้งครรภ์อาจจะทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงกว่าปกติ เกิดภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทน มีภาวะเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต ระบบหลอดเลือด และระบบปลายประสาท มีความดันโลหิตสูง ติดเชื้อต่างๆได้ง่ายกว่าปกติโดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

ผลกระทบต่อลูกในครรภ์

สำหรับทารกในครรภ์ก็อาจจะได้รับผลกระทบคือ ร่างกายโตกว่าปกติทำให้คลอดด้วยวิธีปกติได้ยากจนอาจเป็นอันตรายในขณะคลอด อาจจะแท้งหรือคลอดกก่อนกำหนด มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หัวใจล้มเหลว มีอาการตัวเหลือง หรืออาจจะพิการตั้งแต่กำเนิดได้ เป็นต้น 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ควรมีการตั้งครรภ์

แม้ว่าผลทางการแพทย์จะยืนยันว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะสามารถมีลูกหรือตั้งครรภ์ได้ปกติ แต่ทั้งนี้ก็มีข้อยกเว้นสำหรับผู้ป่วยบางคนที่ไม่ควรมีการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายต่อตนเองและลูกในครรภ์ได้ ดังนี้

1.มีอาการหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง
2.มีภาวะไตเสื่อม
3.เป็นโรคเบาหวานชนิดขึ้นตาอย่างรุนแรงและยังไม่ได้รับการรักษา
4.มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอททั้งที่อยู่ในระหว่างการได้รับการรักษา
5.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียอย่างรุนแรง
ทั้งนี้ผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอย่าเพิ่งหมดกำลังใจไป ยังคงสามารถมีลูกและตั้งครรภ์ได้ตามเช่นคนปกติ แต่ควรมีการวางแผนที่ดีและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ตลอดตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์จนกระทั้งคลอดลูกออกมา ผู้ป่วยควรดูแลรักษาร่างกายตนเองให้แข็งแรง และคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ เพื่อสุขภาพความปลอดภัยของตัวว่าที่คุณแม่เองและเพื่อลูกน้อยตัวเล็กๆที่กำลังจะลืมตาดูโลกเกิดขึ้นมา

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ: บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัดม 2557.

ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการอย่างไร

0
ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการอย่างไร
ผู้ป่วยเบาหวานจะจะหิวบ่อยและกระหายน้ำ
ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการอย่างไร
อาการผิดปกติที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำ

อาการโรคเบาหวาน

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน แม้ อาการโรคเบาหวาน จะไม่รุนแรงน่ากลัว ผู้ป่วยควรทำตามคำแนะนำของแพทย์จะทำให้สามารถใช้ชีวิตตามคนปกติโดยทั่วไปได้ แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเองมักจะได้รับผลกระทบจาก อาการแทรกซ้อนที่ผิดปกติเข้ามา เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เหงื่อออกมากผิดปกติ หรือภาวะการติดเชื้อตามส่วนต่างๆ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วย โรคเบาหวานจึงควรรู้อาการและวิธีป้องกันเบื้องต้น ของโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมา ดังข้อมูลต่อไปนี้

อาการและวิธีป้องกันเบื้องต้น ของโรคแทรกซ้อน

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และมีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ เช่น อ้วนเกินไป น้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกาย หรือมีไขมันในเลือดสูง

1. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( Hypoglycemia )

โดยส่วนใหญ่จะเกิดจาก 3 สาเหตุหลักๆ คือ การฉีดอินซูลินหรือทานยาลดระดับน้ำตาลมากเกินไป การออกกำลังกายหนักเกินไป หรือการรับประทานอาหารน้อยเกินไป หรือผิดเวลาปกติจากเดิม

อาการของโรค : หัวใจจะเต้นแรงและเร็ว มีอาการตัวเย็น มีเหงื่อออกมากกว่าปกติ วิงเวียน มึนงง และปวดศีรษะ รู้สึกชาบริเวณปลายนิ้วมือนิ้วเท้าหรือรอบปาก ตาเกิดความพร่ามัวหรือเห็นภาพซ้อน หน้าซีด และพูดไม่ชัดและอาจะมีอาการชัก และหมดสติได้

การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการ : ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ง่ายๆ คือ การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลเข้าไปเมื่อได้รับน้ำตาลเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสมหลังจากนั้นร่างๆกายจะดีขึ้นเองอย่างรวดเร็ว หากมีอาการดังกล่าว ไม่ควรปล่อยไว้ เนื่องจาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่สามารถหายได้เองจากการพักผ่อน เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน

มีวิธีแก้ไขเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

1.หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากการทานอาหารผิดเวลาไปจากเดิม ควรรีบทานอาหารทันทีหรือหาอาหารว่างหรืออาหารง่ายๆ เช่น ขนมปัง มาทานรองท้องไปก่อนก็ได้เพื่อที่อาการจะได้ดีขึ้น

2.หากผู้ป่วยมีการที่เริ่มหนักแล้ว ควรรีบหาอาหารรสหวานที่สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เช่น น้ำหวาน นมรสหวาน มารีบรับประทานทันที เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดปรับกลับมาเป็นปกติ

3.นั่งหรือนอนพักผ่อน งดเว้นการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ

4.หากปฏิบัติตามข้อ 1- 3 แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 10 – 15 นาทีแล้ว ควรรับประทานอาหารที่มีความหวานเพิ่มเข้าไป

5.หากเป็นผู้ที่ชอบออกกำลังกาย ควรหาอาหารว่างทานก่อนออกกำลังกาย เช่น แซนวิช หรือขนมปังทาเนยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย

ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ควรคุมประเภทและปริมาณอาหารแต่ละมื้ออย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ และควรทานอาหารให้ตรงเวลารับประทานยาและฉีดอินซูลิน ตามคำแนะนำของแพทย์เสมอ กรณีออกกำลังกายมากกว่าปกติ ควรทานก่อนออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินถ้าเป็นไปได้ควรตรวจเลือดก่อนและหลังการออกกำลังกาย ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่ต้องรับประทานยาสำหรับในการรักษาโรคอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อป้องกันยาชนิดนั้นๆส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดนั้นเอง แจ้งบุคคลใกล้ชิตหรือญาติให้ทราบเรื่องการเป็นโรคเบาหวาน และควรอธิบายวิธีการในการช่วยเหลือเบื้องต้นให้ทราบด้วย ในกรณีฉีดอินซูลิน ควรมีการพกอาหารหรือของว่างที่มีรสหวาน ติดตัวหรือติดบ้านไว้ ในกรณีฉุกเฉิน สามารถหยิบทานได้ทันที และหากออกจากบ้านควรพกบัตรประจำตัวผู้ป่วยโรคเบาหวานตลอด เผื่อในกรณีฉุกเฉินผู้ที่พบเห็นจะได้ช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง

2. ภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า ( Postural hypotension )

เป็นภาวะโรคแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความดันโลหิตลดต่ำลงเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิตเสียและเสี่ยมสภาพไปส่งผลให้การควบคุมความดันในโลหิตและการสูบฉีดเลือดหรือการเต้นของหัวใจทำได้แย่ลงหรืออาจจะเกิดจากสาเหตุการได้รับยาบางตัว เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมเลยไปทำให้ความดันโลหิตต่ำลงมากกว่าปกติ

อาการของโรค : เมื่อมีการเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าหนึ่งไปอีกท่าหนึ่ง เช่น จากนอนไปลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็วจะมีอาการ เวียนศีรษะ หน้ามืด เหมือนจะเป็นลม หรือบางรายอาจจะหมดสติได้

การปฏิบัติตัวและการรักษาที่สามารถทำได้

หลีกเลี่ยงและลดการใช้ยาที่มีผลลดความดันโลหิตหากจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
ออกกำลังกายเป็นประจำ ปรับการนอนให้สูงกว่าปกติ 30 – 45 องศา เพื่อลดอาการหน้ามืดจากการเปลี่ยนท่า จากนอนเป็นลุกขึ้นยืน ใช้ยาช่วยสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักและไม่สามารถใช้วิธีอื่นช่วยได้แล้ว

3. ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ ( Pseudomotor dysfunction )

มีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำหน้าที่ควบคุมต่อมเหงื่อซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนชนิดหนึ่งต่อระบบประสาทอันเนื่องมาจากการเป็นโรคเบาหวาน

อาการของโรค : ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกมากว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลำตัว หรือแขน และสำหรับผู้ป่วยบางรายอาจจะทำให้ระบบระบายความร้อนในร่างกายเสียไปด้วย ทำให้ไม่สามารถทนต่อสภาวะอากาศที่ร้อนได้

การปฏิบัติตัวและการรักษาที่สามารถทำได้ : อาการแทรกซ้อนประเภทนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้

ผู้ป่วยต้องระมัดระวังตัวไม่อยู่ในที่อากาศร้อนจัด ควรอยู่ในที่อากาศเย็นและถ่ายเทได้สะดวก

4. ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชาย ( Impotence )

ภาวะนี้นอกจากเกิดจากสาเหตุการเป็นโรคเบาหวานแล้วยังมีสาเหตุด้านอื่นๆที่ส่งผลกระทบด้วย เช่น สภาวะทางด้านจิตใจที่ไม่ดี เช่นความเครียด การมีความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้นจะพบได้มากในชายที่สูงอายุ

อาการของโรค : อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวเพียงพอที่จะมีการร่วมเพศตามปกติได้

การปฏิบัติตัวและการรักษาที่สามารถทำได้

การใช้ยาเข้ามาช่วย เช่น ยาไวอากร้า (ใช้กิน) ยามิวส์ (ใช้สอดเข้าไปในท่อปัสสาวะ) ยาคาเวอร์เจกต์ (ใช้ฉีดเข้าอวัยวะ) โดยการใช้ยาประเภทไหนก็แล้วแต่ควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนใช้งาน การใช้เครื่องปั๊มสุญญากาศ
พยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลี่ยงการสูบบุหรี่

5. ภาวะผิดปกติด้านระบบทางเดินอาหาร

สาเหตุโดยส่วนใหญ่จะมาจากความผิดปกติ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวหรือการบีบตัวของทางเดินอาหาร ไล่มาตั้งแต่หลอดอาหารจนถึงลำไส้ใหญ่ พบได้มากในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมดูแลตนเองได้ไม่ดีพอ ซึ่งภาวะผิดปกติด้านระบบทางเดินอาหารจะมีได้หลายอาการ ดังต่อไปนี้

5.1 หลอดอาหาร มีลักษณะการบีบตัวที่ผิดปกติ ไม่สัมพันธ์กันทำให้อาหารลงไปสู่กระเพราะอาหารได้น้อยลงเวลากลืนอาหารจะรู้สึกติดขัดหรือมีอาการเจ็บคล้ายเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ อาจทำให้เกิดแผลอักเสบบริเวณหลอดอาหารหรือมีการติดเชื้อราในหลอดอาหารได้

การรักษา : แพทย์จะให้ยารักษาและให้ผู้ป่วยเข้มงวดในการคุมโรคเบาหวานให้มากขึ้น

5.2 กระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะมีการบีบตัวที่น้อยลง ทำให้มีอาหารค้างหลงเหลืออยู่ในกระเพาะอาหาร การย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารเกิดความผิดปกติ จนทำให้รู้สึกมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียนมีอาการแน่นท้องและปวดท้องด้านบน เบื่ออาหาร และยังส่งผลให้การควบคุมเบาหวานทำได้ยากขึ้น เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดไม่นิ่ง แกว่งขึ้นลงไปมานั้นเอง อาการโรคแทรกซ้อนนี้ทางแพทย์ผู้รักษาต้องวิเคราะห์ให้ดี เนื่องจากอาการจะไปคล้ายกับโรคอื่นๆ เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

การรักษา : ผู้ป่วยต้องควบคุมเบาหวานให้ดี และ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหารทานครั้งละน้อยๆเลือกอาหารที่ย่อยง่ายๆ หรือวิธีการรักษาโดยใช้ยารักษาตามความเห็นของแพทย์

5.3 ถุงน้ำดี ผู้ป่วยมักจะเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี โดยจะพบมากในเพศหญิงหรือผู้ที่มีระดับไขมันสูง

การรักษา : แพทย์จะใช้วิธีการผ่านิ้วในถุงน้ำดีออก แต่ก็ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลไปว่ามีโรคแทรกซ้อนอื่นๆหรือไม่

5.4 ท้องเสีย ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะมีอาการท้องเสียและถ่ายเหลวบ่อยๆ บางครั้งอาจจะมีอาการท้องผูกสลับกับอาการท้องเสียได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนยังถ่ายแบบไม่รู้สึกตัวในขณะที่นอนหลับ

การรักษา : แพทย์จะให้ยาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น

5.5 กลั้นอุจจาระไม่ได้ อาการนี้เกิดจากหูรูดทวารหนักของป่วยทำงานได้น้อยลง เนื่องจากการเสื่อมของเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุม จนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมกลั้นอุจจาระได้เหมือนปกติ จะมีอาการคล้ายคนท้องเสีย อุจจาระราดบ่อยครั้ง

การรักษา : เบื้องต้นแพทย์จะให้ยาตามอาการ และให้ผู้ป่วยฝึกการขมิบก้น เพื่อฝึกความแข็งแรงของหูรูดทวารหนักให้ทำงานได้ดีขึ้น

5.6 ท้องผูก อาการท้องผูกจะพบได้ค่อนข้างมากสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและมีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท ซึ่งสิ่งที่ควรระวังคือหากผู้ป่วยท้องผูกนานๆ จนมีก้อนอุจจาระค้างในสำไส้ใหญ่เป็นจำนวนมาก จนอาจจะทำให้อุจจาระเหลวออกมาคล้ายอาการท้องเสียนั้นเอง

การรักษา : แพทย์ต้องวิเคราะห์ให้ออกว่าเป็นอาการท้องเสียหรือเป็นมะเร็งลำไส้ หรือโรคอื่นๆ ซึ่งมีอาการที่ใกล้เคียงกัน จากนั้นจึงจะให้ยาระบายและฝึกให้ผู้ป่วยขับถ่ายให้เป็นเวลา

5.7 ปวดท้อง ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดท้องด้วยสาเหตุทั่วๆ ไปเหมือนผู้ป่วยรายอื่นๆ เช่น โรคกระเพาะ สำไส้อักเสบ แต่ปัจจัยที่อาจจะเป็นสาเหตุที่สำคัญของการปวดท้องคือ ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน,กระเพาะอาหารบีบตัวผิดปกติ, ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันหรือ มีภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทนสำหรับผู้ป่วยบางรายที่ปวดท้องรุนแรง และเป็นมานาน อาจเกิดจากปลายประสาทบริเวณท้องอักเสบได้

การรักษา : ให้ยารักษาตามอาการ

6.ภาวะปัสสาวะลำบาก ( Bladder dysfunction )

มีสาเหตุเกิดจากการที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบประสาทจึงทำให้ระบบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติหรือบกพร่องไปด้วย

อาการของโรค : อาการในระยะแรก จะปวดปัสสาวะน้อยกว่าปกติ นานๆจะปวดสักครั้งจนเมื่ออาการหนักขึ้นอาจจะปัสสาวะในวันหนึ่ง เพียงแค่ 1 ถึง 2 ครั้งเท่านั้น จะใช้แรงในการเบ่งปัสสาวะมากกว่าปกติ ปัสสาวะจะไม่พุ่ง จนในที่สุดจะไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ 

การปฏิบัติตัวและการรักษาที่สามารถทำได้

ฝึกและควบคุมให้ผู้ป่วยทำการขับถ่ายปัสสาวะให้ถูกต้อง
การใช้ยารักษาตามคำแนะนำของแพทย์
ฝึกให้ผู้ป่วยฝึกการสวนปัสสาวะด้วยตนเองให้ถูกต้อง

ควรคุมประเภทและปริมาณอาหารแต่ละมื้ออย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ และควรทานอาหารให้ตรงเวลารับประทานยาและฉีดอินซูลิน ตามคำแนะนำของแพทย์เสมอ

7.ภาวะการติดเชื้อ ( Infections )

ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะสามารถติดเชื้อต่างๆได้ง่ายกว่าคนปกติ โดยมีสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันในร่างกายที่บกพร่อง การติดเชื้อนี้หากเกิดแล้วสามารถลุกลามไปยังส่วนอื่นๆได้อย่างรวดเร็วอวัยวะทุกส่วนล้วนแต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ทั้งสิ้น สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานการติดเชื้อที่จะพบได้บ่อยๆคือ

7.1 การติดเชื้อบริเวณผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนัง มีลักษณะอาการคือ จะมีตุ่มหรือฝี ต่างๆ ขึ้น มีอาการอักเสบบริเวณชั้นผิวหนังในร่างกาย ควรได้รับการรักษาอย่างเร็วมิฉะนั้นจะลุกลามไปยังส่วนอื่นๆได้

7.2 ภาวะเนื้อตายเน่า จะเกิดจากอาการที่มีแผลที่ร่างกายแล้วมีอาการอักเสบ ปวด บวม ต่อมาจะลุกลามกลายเป็นสีดำหรือมีตุ่มน้ำเกิดขึ้นซึ่งอันตรายมาก ผู้ที่มีอาการนี้ควรได้รับการรักษาแบบเร่งด่วน

7.3 ภาวะหูชั้นนอกติดเชื้ออย่างรุนแรง เป็นอาการติดเชื้อที่ใบหูอย่างรุนแรง โดยส่วนมากจะพบเฉพาะในผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเท่านั้น สาเหตุเกิดจากเชื้อที่ชื่อว่าชิวโดโมนาสแอรูไจโนชา ผู้ป่วยที่เป็นจะมีอาการปวดหู มีน้ำเหลืองหรือน้ำหนองไหลเชื้อโรคจะกินลึกลงไปถึงชั้นกระดูกอ่อน รอบๆ ช่องใบหูและจะเป็นอันตรายมาก หากปล่อยให้ลามไปถึงกะโหลกศีรษะและเยื่อหุ้มสมอง เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ ในการรักษานั้นแพทย์จะต้องทำร่วมกันระหว่างผ่าตัดและการให้ยาปฏิชีวนะควบคู่กันไป 

7.4 การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอาจจะอักเสบทำให้มีอาการปัสสาวะแล้วรู้สึกปวดหรือแสบ ปัสสาวะบ่อยขึ้นแต่ในการปัสสาวะจะมีออกมาครั้งละเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ปัสสาวะมักมีสีขุ่น และมีอาการปวดบริเวณท้องน้อย และผู้ป่วยบางรายก็อาจจะลุกลามไปจนเป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลันได้ ในการรักษาแพทย์จะคอยให้ยาปฏิชีวนะ ส่วนในผู้ป่วยรายที่เป็นกรวยไตอักเสบควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

7.5 การติดเชื้อในปอด การติดเชื้อในปอดที่จะพบได้บ่อยๆคือ วัณโรคปอด อาจจะมีอาการไอเรื้อรัง มีไข้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด การรักษาต้องทานยาให้ครบและติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือนตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีอาการโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ง่าย ดังนั้นควรระมัดระวังการใช้ชีวิต หรือพฤติกรรมการทานอาหารต่างๆ หมั่นคอยสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย หากเจออาการผิดปกติอะไรควรไปพบแพทย์ทันที ที่สำคัญผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรศึกษาข้อมูลต่างๆของโรคเบาหวานไว้ด้วย เนื่องจากอาการบางอย่างของโรค ผู้ป่วยสามารถจะดูแลตนเองและรู้จักวิธีในการป้องกันอาการโรคเบาหวานแทรกซ้อนได้ก็เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตของตนเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์, 2557.

แก้ว กังสดาลอำไพ. ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับอาหาร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. หมอชาวบ้าน, 2531.

กินน้ำตาลมากๆ จะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?

0
รับประทานน้ำตาลมากๆ จะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?
น้ำตาล คือ สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ซึ่งมีรสหวาน ซึ่งได้มากจากอ้อย มะพร้าว
รับประทานน้ำตาลมากๆ จะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?
น้ำตาล คือ สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ซึ่งมีรสหวาน

น้ำตาล

น้ำตาล จัดเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีเส้นใยอาหาร น้ำตาล 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ข้อแนะนำในการรับประทานน้ำตาล คือ จำกัดไว้ที่ 5-10% ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดในหนึ่งวัน ซึ่งตามหลักโภชนาการแนะนำ ให้กินน้ำตาลในปริมาณน้อยเช่นเดียวกับไขมันและเกลือ สำหรับคนไทยกองโภชนาการแนะนำว่า ไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน คนส่วนใหญ่เมื่อกินน้ำตาล ในรูปเครื่องปรุง หรือขนมหวานมักลืมว่าน้ำตาลให้พลังงานเช่นเดียวกับข้าวและแป้ง จึงถือเป็นพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายจะได้รับ น้ำตาลเพียง 1 ช้อนโต๊ะให้พลังงานถึง 48 กิโลแคลอรีซึ่งเท่ากับข้าวประมาณ ½ ทัพพี อีกทั้งยังไม่มีวิตามิน เกลือแร่ กากใยอาหารที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นการกินหวานมากเกินไป จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา เช่น ฟันผุ ไขมันในเลือดสูง อ้วนง่าย

โรคเบาหวาน เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เป็นแล้วจะเรื้อรังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ต้องคอยควบคุมดูแลระดับปริมาณน้ำตาลในเลือดของตนเองเสมอ สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัยมีการเก็บสถิติข้อมูลพบว่าคนในสหรัฐอเมริกา ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากถึง 26 ล้านคน โดยในปี 2550

ขึ้นชื่อว่าโรคเบาหวาน หลายคนคงมีความเชื่อและเข้าใจว่า เป็นโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารทีมีส่วนประกอบของน้ำตาลมากเกินความจำเป็นของร่างกาย  จนไปทำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คนที่เป็นโรคนี้ต้องจำกัดการกินอาหารที่มีรสหวานและต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยเสมอ หากจะวิเคราะห์ความเชื่อในส่วนนั้น ต้องมาทำความเข้าใจของโรคเบาหวานกันก่อน โดย โรคเบาหวาน สามารถแบ่งออกตามประเภทและอาการได้ 3 ประเภทซึ่งแต่ละแบบมีสาเหตุและความเสี่ยงที่ต่างกันไป ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานในสหรัฐอเมริกามากถึง 71,000 คน และมีการพยากรณ์ว่าหากไม่มีมาตรการจัดการเมื่อ ถึงปี พ.ศ.2593 จะมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้มากถึง 1 ใน 3 ของประเทศเลยทีเดียว

การกินน้ำตาลมากๆมีผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำตาลในเลือด แต่การที่จะเป็นเบาหวานหรือไม่ ขึ้นกับการทำงานของอินซูลิน และตับอ่อนเป็นสำคัญ

https://www.youtube.com/watch?v=uwqFaXzlO3I

เบาหวานประเภทที่ 1

เบาหวานประเภทนี้มักจะเกิดกับเด็กหรือเกิดในวัยรุ่นที่อายุยังไม่เยอะ อาจจะมีการติดเชื้อบางอย่างเป็นจุดตั้งต้นหรืออาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม บางครั้งเรียกโรคนี้ว่า เบาหวานในวัยเด็กโดยมีสาเหตุจากเซลล์ตับอ่อน ที่ปกติมีหน้าที่สร้างอินซูลีน ไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยจะส่งผลให้ร่างกายขาดอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการนำน้ำตาลไปใช้ในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินปกติ

แนวทางการรักษา : ทางแพทย์จะใช้การรักษาโดยฉีดอินซูลินเข้าไป เพื่อให้ระบบกลไกการนำน้ำตาลไปใช้งานในร่างกาย สามารถทำได้ปกติ นั้นเอง

เบาหวานประเภทที่ 2

โรคเบาหวานประเภทที่ 2 นี้ จะต่างจากประเภทแรก คือ ตับอ่อนยังคงสามารถทำการผลิตอินซูลินได้เป็นปกติ แต่กลับเป็นเซลล์ในร่างกายเองที่ไม่ค่อยตอบสนองกับอินซูลิน หรืออินซูลินทำงานได้ไม่ดีเพียงพอ ผลกระทบที่ตามมาก็คือจะไปทำให้ให้เกิดภาวะปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งในปัจจุบันโรคเบาหวานประเภทนี้มีผู้เป็นกันเยอะที่สุด  เฉลี่ยร้อยละ 95 ของโรคเบาหวานทั้งหมด โดยจะพบมากในวัยกลางคน และนอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือขาดการออกกำลังกาย ก็อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของคนเป็นโรคนี้ด้วย การตรวจพบในโรคนี้ทำได้ยาก บางครั้งต้องใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าจะตรวจสอบเจอ

แนวทางการรักษา :  ผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเอง  หมั่นออกกำลังกาย ควบคุมปริมาณและประเภทอาหารที่ทาน

เบาหวานประเภทที่ 3 หรือ เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์

สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์  ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้  เบาหวานประเภทนี้มักจะมีสาเหตุมาจาก ความอ้วน มีความดันในโลหิตสูงหรือมาจากกรรมพันธุ์ถ่ายทอดต่อกันมา แต่หลังจากที่คลอดลูกแล้วระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับสู่ภาวะปกติเอง แต่ก็อาจจะมีโอกาสกลับไปเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ได้อีกในอนาคต

แนวทางการรักษา : ผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเอง  หมั่นออกกำลังกาย ควบคุมปริมาณและประเภทอาหารที่ทาน

เมื่อดูจากสาเหตุของโรคเบาหวานแต่ละประเภทแล้ว จะพบว่าสาเหตุหลักๆของโรคคือพฤติกรรมการกินอาหารและน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานปกติหรืออ้วนนั้นเอง ยกเว้นเบาหวานประเภทที่ 1 ซึ่งก็มีคำถามตามมาว่าการบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่มาก เป็นสาเหตุในการทำให้เป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ซึ่งทางสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่า แคลอรีส่วนเกินที่ร่างกายรับเข้าไปในแต่ละวัน ไม่ว่าจะมาจากน้ำตาล ไขมัน หรือการกินที่เกินพอดีล้วนแต่เป็นสาเหตุของการเป็นโรคเบาหวานได้เท่าๆกันนั้นเอง ซึ่งนักวิจัยหลายท่านก็ยังไม่ค่อยเชื่อกับความเห็นนี้สักเท่าไหร่ แต่ถ้าลองวิเคราะห์ให้ดี ผู้ที่บริโภคน้ำตาลมากๆก็มักจะเป็นผู้ที่ทานอาหารมากด้วยเช่นกัน

แม้ความรู้สึกของคนส่วนมากก็อาจจะมองว่าโรคเบาหวานไม่ได้เป็นโรคที่ดูน่ากลัวมากนัก เมื่อเทียบกับโรคร้ายอื่นๆ  เช่น โรคมะเร็ง โรคไตวาย เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้หากไม่รีบรักษาตัวก็อาจจะมีโอกาสเสียชีวิตได้เหมือนกันและหากเป็นไปได้ก็คงไม่อยากมีใครป่วยเป็นเบาหวานเหมือนกัน ดังนั้นอย่าลืมดูแลสุขภาพตนเองให้ดีให้แข็งแรงอยู่เสมอ เลือกทานอาหารอย่างเหมาะสมและหมั่นออกกำลังกายจะดีที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

มณี แก้วเกศ. รู้ไว้เข้าใจเบาหวาน. กรุงเทพฯ: แสงแดด, 2556.

IDF DIABETES ATLAS. International Diabetes Federation. 2013.

Economic costs of diabetes in the U.S. in 2012. Diabetes Care : 1033 – 46.

มะเร็งช่องปาก โรคร้ายที่เกิดขึ้นภายในระบบศีรษะและลำคอ

0
โรคมะเร็งช่องปาก โรคร้ายที่เกิดขึ้นภายในระบบศีรษะและลำคอ
โรคมะเร็งช่องปากสามารถพบได้บ่อยทั้งชายและหญิง และมักเกิดกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
โรคมะเร็งช่องปาก โรคร้ายที่เกิดขึ้นภายในระบบศีรษะและลำคอ
โรคมะเร็งช่องปากสามารถพบได้บ่อยทั้งชายและหญิง และมักเกิดกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี

มะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก ( Oral Cancer ) คือ เนื้อร้ายที่เกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งในช่องปาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งที่บริเวณริมฝีปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก หรือพื้นปาก นอกจากนี้เซลล์มะเร็งยังสามารถเกิดขึ้นได้ที่ทอนซิลด้านหลังช่องปาก รวมถึงในบริเวณช่องคอที่เชื่อมต่อระหว่างปากกับหลอดลมหรือคอหอย ทุกคนสามารถเป็นมะเร็งช่องปากได้ แต่ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก หรือมีการติดเชื้อไวรัส human papilloma ( HPV ) มีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ ช่องปากประกอบด้วยเนื้อเยื่อมากมายไม่ว่าจะเป็น ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก หรือแม้กระทั่งเพดาน ลิ้น และเนื้อเยื่อที่มีอยู่รอบ ๆ ช่องปาก

สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งช่องปาก

  • การสูบบุหรี่ สูบในปริมาณมาก และสูบมาเป็นระยะเวลานาน ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
  • ผู้ที่กินหมากและยาฉุน ส่งผลทำให้เซลล์ภายในช่องปาก มีอาการอักเสบเกิดขึ้นได้แบบเรื้อรัง จนกระทั่งกลายเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตามมา
  • ผู้ที่ไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ส่งผลทำให้ช่องปากสกปรกเป็นอย่างมาก มีอาการติดเชื้อบ่อยครั้ง และมีอาการอักเสบเกิดขึ้นที่เหงือกและฟันแบบเรื้อรัง ส่งผลทำให้เซลล์สามารถกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด
  • ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส เอชพีวี ทางช่องปาก

อาการของมะเร็งช่องปาก

อาการมะเร็งช่องปากมักจะมีลักษณะผอมลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากรับประทานอาหารไม่ได้ และมีลักษณะอ้าปากไม่ได้ เพราะโรคมะเร็งช่องปากอยู่ในช่วงที่ลุกลามไปในส่วนของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ภายในช่องปาก

  • รู้สึกเจ็บในช่องปาก และปวดหู
  • มีแผลในปากที่หายยาก
  • เลือดออกในปาก
  • กลืนลำบากหรือเคี้ยวลำบาก
  • การเจริญเติบโตของก้อนเนื้อ
  • เสียงแหบเจ็บคอเรื้อรัง
  • อาการกรามบวม
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาการชาที่ลิ้นหรือบริเวณอื่น ๆ ของปาก
  • พบก้อนที่ลำคอ
  • มีกลิ่นปากที่รักษายาก
  • ต่อมน้ำเหลืองเป็นก้อนโต

ระยะของมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งช่องปากระยะแรกนั้นอาจจะมีขนาดโตประมาณ 2 เซนติเมตร
มะเร็งช่องปาก ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งอาจจะมีขนาดโตกว่า 2 เซนติเมตร แต่จะไม่เกิน 4 เซนติเมตร
มะเร็งช่องปาก ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งจะมีขนาดโตกว่า 4 เซนติเมตร และมีลักษณะลุกลามเข้าไปที่ต่อมน้ำเหลืองช่วงลำคอเพียงแค่ต่อมเดียวเท่านั้น  ซึ่งต่อมน้ำเหลืออาจจะมีขนาดโตไม่เกิน 3 เซนติเมตร
มะเร็งช่องปาก ระยะที่ 4 ก้อนมะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อ พร้อมทั้งอวัยวะใกล้เคียง หรือ ได้ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอถึงหลายต่อมด้วยกัน ส่งผลทำให้ต่อมน้ำเหลือมีขนาดโตกว่า 6 เซนติเมตร พร้อมทั้งได้มีการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และ อวัยวะที่ไกลออกไป ไม่ว่าจะเป็น ตับ ปอด หรือแม้กระทั่งกระดูก

โรคมะเร็งช่องปากถือได้ว่าเป็นโรคมะเร็งที่สามารถพบได้บ่อย และเป็นโรคมะเร็งที่ติดอันดับหนึ่งใน 10 ที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ แพทย์มักจะวินิจฉัยโรค โดยเริ่มต้นสอบถามเกี่ยวกับประวัติ  อาการของผู้ป่วย ตลอดจนกระทั่งมีการตรวจช่องปาก พร้อมทั้งการตรวจหาโรคมะเร็งให้แน่ชัดยิ่งขึ้น ด้วยการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนหรือแผลที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก เพื่อนำไปตรวจผลทางพยาธิวิทยาต่อไป ซึ่งในปัจจุบัน นับได้ว่ายังคงไม่มีวิธีการตรวจหรือการคัดกรอง โรคมะเร็งช่องปาก ที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะให้ค้นพบโรคมะเร็งในระยะแรกเริ่ม แต่สำหรับผู้ที่สงสัยหรือค้นพบอาการผิดปกติภายในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบก้อนเนื้อ หรือ การเกิดแผลที่หายยากภายในช่องปาก ตลอดจนกระทั่งการค้นพบว่าต่อมน้ำเหลือบริเวณลำคอ มีลักษณะที่โตขึ้นจนผิดปกติไป ก็ควรที่จะรีบเข้าพบแพทย์และปรึกษาแพทย์โดยด่วน

การรักษามะเร็งช่องปาก

วิธีการรักษา มะเร็งช่องปาก มักจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค พร้อมทั้งอายุและสุขภาพของผู้ป่วยโดยตรง ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัด หรือ ใช้รังสีรักษา ซึ่งจะมีการให้เคมีบำบัดร่วมด้วยให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปากในระยะที่ลุกลามไปมากแล้ว ซึ่งตอนนี้ยังคงไม่มียาที่จะสามารถรักษาโรคมะเร็งช่องปากได้อย่างตรงเป้าหมาย เพราะยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ

ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปากและการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างรวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะของปาก เช่น ปัญหาการพูด การกลืนลำบาก และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

การป้องกันมะเร็งช่องปาก

วิธีการป้องกัน มะเร็งช่องปาก เราสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคมะเร็งชนิดนี้  พร้อมทั้งการรักษาสุขอนามัยภายในช่องปากอย่างเป็นประจำ หรือ การเข้าพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูแลสุขภาพภายในช่องปากเพียงแค่ปีละครั้ง ก็จะทำให้เราทุกคน  สามารถห่างไกลจากโรคมะเร็งช่องปากได้แล้ว

อย่างไรก็ตามแนวทางการรักษามะเร็งมะเร็งช่องปากในปัจจุบัน คือ การผ่าตัด การฉายแสง และเคมีบำบัด ทำให้การพักฟื้นหลังการรักษามะเร็งช่องปากระยะลุกลาม สามารถช่วยให้การรับประทานอาหาร การกลืน และการพูดกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติซึ่งเป็นการบำบัดอีกอย่างหนึ่ง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

มะเร็งผิวหนัง ( Skin Cancer )

0
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งผิวหนัง เป็นโรคมะเร็งที่พบได้สูงในคนผิวขาวทั้งชายและหญิง พบบริเวณที่ถูกแสงแดดจัดเป็นเวลานาน
โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin Cancer)
มะเร็งที่ผิวหนัง เป็นโรคที่พบได้สูงในคนผิวขาวทั้งชายและหญิง พบบริเวณที่ถูกแสงแดดจัดเป็นเวลานาน

มะเร็งผิวหนัง( Skin Cancer )

มะเร็งผิวหนัง ( Skin Cancer ) เป็นโรคมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นกับผิวหนังตรงส่วนไหนของร่างกายก็ได้ เช่น ใบหน้า หู จมูก ศีรษะและผิวบริเวณอวัยวะเพศ เป็นต้น

ผิวหนัง ทำหน้าที่ในการปกคลุมภายนอกร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้อวัยวะภายในเป็นอันตรายและยังช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ได้อีกด้วย ซึ่งผิวหนังในที่นี้ก็หมายรวมถึงผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย เช่น หนังศีรษะ และผิวหนังที่ปกคลุมอวัยวะเพศ เป็นต้น

สาเหตุของมะเร็งผิวหนัง

1. การสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานานต่อเนื่อง โดยรังสี UVA และ UVB จะทำลายเซลล์ผิวก่อให้เกิดการกลายพันธุ์จนเป็นมะเร็งที่ผิวหนัง โดยเฉพาะการสัมผัสกับแสงแดดในช่วง 10.00 – 16.00 น. มีผิวบอบบางมาก ไวต่อแสงแดด จึงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าคนทั่วไป
2. มีความผิดปกติของพันธุกรรมบางชนิด เช่น เซลล์ผิวหนังมีความไวต่อแสงแดดมากผิดปกติ จึงทำให้เกิดโรคมะเร็ง ผิวหนังได้ง่าย
3. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง
4. เชื้อชาติ โดยพบว่าคนเชื้อชาติตะวันตกจะมีโอกาสป่วยเป็นมะเร็งที่ผิวหนังได้มากกว่าคนเชื้อชาติอื่นๆ เพราะมีเม็ดสีที่ผิวหนังน้อย ความสามารถในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากแสงอัลตราไวโอเลตจึงมีน้อยกว่าคนสีผิวคล้ำ
5. เป็นแผลและมีอาการคันที่ผิวหนังแบบเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่มักจะกลายพันธุ์เป็นมะเร็ง
6. การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิดอย่างต่อเนื่องที่ผิวหนัง จึงทำให้เซลล์ผิวเกิดการกลายพันธุ์เป็นมะเร็งในที่สุด
7. ผิวหนังได้รับรังสีเอกซเรย์ในปริมาณสูง ซึ่งรังสีชนิดนี้จะทำให้เซลล์เสียหายบาดเจ็บ และตาย
8. จุดบนผิวหนังดูคล้ายไฝที่มีลักษณะผิดปกติและมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจกลายเป็นมะเร็งชนิดเมลาโนมา ( Melanoma ) ซึ่งมีความรุนแรงมากกว่ามะเร็งผิว หนังชนิดอื่น

มะเร็งผิวหนัง เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งพบว่าในประเทศไทย มีสถิติตรวจพบโรคมะเร็งที่ผิวหนังใน 10 อันดับต้นๆ แต่ในเด็กจะไม่ค่อยพบมากนัก

อาการของมะเร็งผิวหนัง

มะเร็งที่ผิวหนัง ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่ไม่มีอาการบ่งชี้เฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายกับโรคผิวหนังทั่วไป โดยอาการที่มักจะพบกับผู้ป่วยมะเร็งที่ผิวหนังมากที่สุด ได้แก่ พบก้อนเนื้อผิดปกติบริเวณผิวหนัง ซึ่งอาจอยู่ใต้ผิวหนังหรืองอกออกมา แต่ยังไม่มีอาการเจ็บปวด มีแผลเรื้อรังบริเวณผิวหนัง และอาจลุกลามได้ง่าย โดยอาจมีอาการเจ็บแผลร่วมด้วยและไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีปกติ มีใฝหรือปานที่มีลักษณะผิดแปลกไปจากปกติ พบต่อมน้ำเหลืองโตจนคลำเจอได้ แต่ไม่มีอาการเจ็บ ซึ่งมักจะพบในระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปมากแล้ว

การวินิจฉัยและระยะของมะเร็งผิวหนัง

สำหรับการวินิจฉัยโรค มะเร็งที่ผิวหนัง แพทย์จะทำการตรวจร่างกายของผู้ป่วยพร้อมกับสอบถามประวัติอาการที่เกิดขึ้น รวมถึงการนำเอาชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อผลการตรวจที่ชัดเจนมากขึ้น

โรคมะเร็งที่ผิวหนังนั้นก็มีหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่พบบ่อยที่สุดมี 3 ชนิด คือ

  • ชนิดสความัส ( Squamous Cell Carcinoma )
  • ชนิดเบซาล ( Basal Cell Carcinoma )
  • ชนิดเมลาโนมา ( Malignant Melanoma )

ระยะของมะเร็งผิวหนังที่ไม่ใช่ชนิดเมลาโนมา

มะเร็งที่ผิวหนังมีทั้งหมด 4 ระยะ เหมือนกับมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่การแบ่งระยะอาการของโรคต้องขึ้นอยู่กับชนิดที่พบด้วย คือ

ระยะที่ 1 : เป็นระยะเริ่มแรกของมะเร็ง โดยเซลล์มะเร็งจะมีขนาดโตไม่เกิน 2 เซนติเมตรและมีความรุนแรงต่ำที่สุด

ระยะที่ 2 : เป็นระยะที่มะเร็งยังคงมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร แต่มีความรุนแรงสูงขึ้นมากกว่าระยะแรก

ระยะที่ 3 : เป็นระยะที่มะเร็งมีขนาดโตไม่เกิน 3 เซนติเมตร และได้มีการลุกลามเข้าสู่อวัยวะข้างเคียง โดยเฉพาะต่อมน้ำเหลือง

ระยะที่ 4 : เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด โดยต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงมีขนาดโตมากกว่า 6 เซนติเมตร และได้มีการลุกลามเข้าสู่อวัยวะต่างๆ เป็นจำนวนมากทั้งใกล้เคียงและที่อยู่ไกลออกไป นอกจากนี้ยังได้ลุกลามเข้าสู่กระดูกและมีการแพร่กระจายไปสู่กระแสเลือดแล้วอีกด้วย

ระยะของมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา

ระยะที่ 1 : เป็นระยะที่โรคมะเร็งยังมีขนาดโตไม่เกิน 2 มิลลิเมตร

ระยะที่ 2 : เป็นระยะที่โรคมะเร็งยังมีขนาดโตไม่เกิน 2 มิลลิเมตร แต่เริ่มมีการแตกเป็นแผลออกมา ซึ่งมีความรุนแรงกว่าระยะแรก

ระยะที่ 3 : เป็นระยะที่โรคมะเร็งได้ลุกลามไปสู่อวัยวะใกล้เคียง โดยเฉพาะต่อมน้ำเหลือง

ระยะที่ 4 : เป็นระยะที่โรคมะเร็งได้มีการลุกลามและแพร่กระจายในวงกว้าง โดยเฉพาะการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดและต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลจากต้นกำเนิดมะเร็ง

การรักษามะเร็งผิวหนัง

การรักษา มะเร็งที่ผิวหนังทำได้หลากหลายวิธี แต่วิธีหลักที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การรักษาด้วยรังสีรักษา การผ่าตัดและการทำเคมีบำบัด ส่วนการรักษาด้วยยารักษาตรงเป้ายังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาที่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าวิธีนี้จะskin-cancerได้ผลลัพธ์ดีหรือไม่ อย่างไรก็ตามการจะเลือกรักษาด้วยวิธีไหนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับอายุ ชนิด ระยะของโรคและสุขภาพของผู้ป่วยด้วย นอกจากนี้หากเป็นระยะเริ่มแรก ก็จะมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้สูงถึงร้อยละ 80-90 เลยทีเดียว

ทั้งนี้ยกเว้นในกรณีที่เป็น มะเร็ง ผิวหนัง ชนิดเมลาโนมา เพราะมะเร็งชนิดนี้เป็นชนิดที่มีความรุนแรงสูงมาก จึงมีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้ต่ำ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่กำลังป่วยเช่นกัน

และสำหรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่ผิวหนังในระยะเริ่มแรกยังไม่มีวิธีการตรวจที่มีประสิทธิภาพ จึงแนะนำให้หมั่นสังเกตอาการของตนเอง หากพบว่ามีไฝ ปานที่แตกเป็นแผลหรือมีขนาดใหญ่กว่าปกติ รวมถึงมีแผลเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นอาการของโรคมะเร็งที่ผิวหนังนั่นเอง และที่สำคัญยังไม่มีวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย ซึ่งก็สามารถป้องกันได้ด้วยการพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งที่ผิวหนัง โดยเฉพาะการปกป้องผิวจากการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ด้วยการใส่เสื้อแขนยาว กางร่ม ใส่หมวก หรือการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป เพราะแสงแดดถือเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิด มะเร็งท่ผิวหนัง ( Skin Cancer ) เลยทีเดียว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.

มะเร็งโพรงไซนัส และ มะเร็งโพรงจมูก

0
โรคมะเร็งโพรงจมูกและมะเร็งโพรงไซนัส
มะเร็งโพรงจมูกเกิดจากการเติบโตของเซลล์ที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเซลล์ ส่งผลกระทบต่อโพรงจมูก โหนกแก้มและหน้าผาก
โรคมะเร็งโพรงจมูกและมะเร็งโพรงไซนัส
มะเร็งโพรงจมูกเกิดจากการเติบโตของเซลล์ที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเซลล์ ส่งผลกระทบต่อโพรงจมูก โหนกแก้มและหน้าผาก

มะเร็งโพรงไซนัส หรือมะเร็งโพรงจมูก

มะเร็งโพรงไซนัส หรือมะเร็งโพรงจมูก จัดเป็นเนื้อเยื่อหรืออวัยวะในระบบศีรษะ ลำคอ หู คอ จมูก ซึ่งมะเร็งโพรงจมูกและมะเร็งโพรงไซนัส โดยทั่วไปมีระยะโรค วิธีการตรวจ การรักษา และการพยากรณ์โรคเหมือนกัน แพทย์จึงจัดให้เป็นโรคมะเร็งในกลุ่มเดียวกัน

โพรงจมูกและโพรงไซนัส เป็นโพรงที่มีอยู่ในทุกส่วนของกระดูกบนใบหน้า โดยจะมีลักษณะเป็นโพรงอากาศ พบได้บริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง หน้าผาก กระดูกด้านข้างโพรงจมูกทั้งซ้ายขวาและบริเวณกระดูกส่วนฐานของสมอง ซึ่งโพรงไซนัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก็คือบริเวณโหนกแก้มทั้งซ้ายขวานั่นเอง

โดยเยื่อเมือกบุภายในโพรงไซนัสจะมีความสำคัญมาก กล่าวคือจะช่วยสร้างน้ำเมือกมาหล่อเลี้ยงและเสริมภูมิต้านทานให้กับจมูก อย่างไรก็ตาม ทุกเซลล์ของโพรงไซนัสสามารถที่จะเป็นโรคมะเร็งได้ทั้งหมด แต่ที่พบบ่อยที่สุด ก็คือเยื่อเมือกบุภายในนั่นเอง ที่สำคัญโพรงจมูกและโพรงไซนัส ถูกจัดเป็นเนื้อเยื่อในระบบศีรษะ ลำคอและหูคอจมูก โดยมีธรรมชาติของโรค ระยะ อาการและวิธีการตรวจรักษาเช่นเดียวกัน จึงถูกจัดให้เป็นมะเร็งในกลุ่มเดียวกัน

สาเหตุของมะเร็งโพรงไซนัส หรือมะเร็งโพรงจมูก

มะเร็งโพรงจมูกเกิดจากการที่เซลล์ต่าง ๆ ในโพรงจมูกและโพรงอากาศข้างจมูกเกิดความผิดปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากหลายๆ ปัจจัยรวมกัน โดยมีปัจจัยเสี่ยงดังนี้สภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ผู้ป่วยอยู่อาศัยหรือทำงานในที่ที่มีฝุ่นละอองเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดอาการป่วยด้วย โรคมะเร็งโพรงจมูก หรือมะเร็งโพรงไซนัสในที่สุด โดยเฉพาะบรรดาช่างไม้หรือคนงานในเหมืองแร่บางชนิดจะมีความเสี่ยงมาก ความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตหรือการตายของเซลล์

มะเร็งโพรงไซนัส และมะเร็งโพรงจมูกพบมากตอนอายุเท่าไหร่?

อย่างไรก็ตาม มะเร็งโพรงจมูกและมะเร็งโพรงไซนัส เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยากพบได้ไม่บ่อยมากนัก ส่วนใหญ่มักจะพบได้มากในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเป็นสองเท่า เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า โดยมะเร็งโพรงไซนัส และมะเร็งโพรงจมูกก็มีหลายชนิด แต่ที่พบได้มากที่สุดคือ ชนิดสความัส ซึ่งเป็นชนิดที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง และชนิดที่อาจพบได้อีก ก็คือ มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา ( adenocarcinoma )

สำหรับหน้าที่ของ โพรงจมูกและโพรงไซนัส จะช่วยให้เสียงมีความกังวานมากขึ้นและทำให้กะโหลกมีน้ำหนักเบา นอกจากนี้ก็มีเซลล์หลายชนิดที่ทำหน้าที่แตกต่างกันไปอีกด้วย เช่น เซลล์ต่อมน้ำลาย เซลล์ต่อมน้ำเหลืองและเยื่อเมือกบุภายในโพรงไซนัส เป็นต้น

อาการของโรคมะเร็งโพรงจมูกหรือมะเร็งโพรงไซนัส

อาการที่แสดงออกมาของ โรคมะเร็งโพรงจมูกและมะเร็งโพรงไซนัส ยังไม่มีอาการที่บ่งบอกได้แน่ชัด แต่จะมีอาการคล้ายกับโรคภูมิแพ้ทั่วไป ต้องอาศัยการสังเกตความผิดปกติด้วยตนเอง ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย คือ อาการมะเร็งโพรงจมูกหรือมะเร็งโพรงไซนัสในระยะเริ่มแรกคือ คัดจมูก และหายใจติดขัด น้ำมูกมีเลือดปนออกมา มีเลือดกำเดาไหลจากจมูกด้านใดด้านหนึ่ง หายใจมีกลิ่นเหม็น พบก้อนเนื้อในโพรงจมูก โดยบางคนอาจมีอาการหน้าบวมอย่างเห็นได้ชัด คลำเจอต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอโตผิดปกติ ซึ่งอาจพบเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างของลำคอ โดยอาการนี้จะพบเมื่อโรคมะเร็งได้ลุกลามไปมากแล้ว มีอาการอื่นๆ ที่คล้ายกับโรคภูมิแพ้

การวินิจฉัยโรคมะเร็งโพรงจมูกหรือมะเร็งโพรงไซนัส

การวินิจฉัยโรค มะเร็งโพรงจมูกและมะเร็งโพรงไซนัส แพทย์จะใช้วิธีการสอบถามประวัติอาการป่วย พร้อมด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจโพรงจมูกและโพรงไซนัส เพื่อความมั่นใจมากขึ้น แพทย์จะตัดเอาชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อภายในโพรงจมูกไปตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะทำให้ได้ผลตรวจที่มีความแม่นยำที่สุด

อาการมะเร็งโพรงจมูกและมะเร็งโพรงไซนัสระยะเริ่มแรกคือ คัดจมูก และหายใจติดขัด น้ำมูกมีเลือดปน มีเลือดกำเดาไหลจากจมูกด้านใดด้านหนึ่ง หายใจมีกลิ่นเหม็น พบก้อนเนื้อในโพรงจมูก บางคนมีอาการหน้าบวม คลำเจอต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอโตผิดปกติ

ระยะของโรคมะเร็งโพรงจมูกและมะเร็งโพรงไซนัส

ระยะของโรคมะเร็งแบ่งออกเป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ทั่วไป ได้แก่

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งยังไม่ลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง ซึ่งจะลุกลามอยู่เฉพาะในชั้นเนื้อเยื่อบุภายในโพรงจมูกและโพรงไซนัสเท่านั้น

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าไปสู่โพรงไซนัสหลายโพรงและอาจมีการลุกลามเข้าสู่กระดูกบ้างแล้ว

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปสู่อวัยวะข้างเคียงและต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอเพียงต่อมเดียว โดยจะพบว่าต่อมน้ำเหลืองยังโตไม่เกิน 3 เซนติเมตร

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปสู่อวัยวะสำคัญๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอมากกว่า 1 ต่อม ตาและสมอง ทำให้พบต่อมน้ำเหลือมีขนาดที่โตกว่า 6 เซนติเมตร และได้มีการแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปผ่านทางกระแสเลือดอีกด้วย

วิธีการรักษาโรคมะเร็งโพรงจมูกและมะเร็งโพรงไซนัส

โดยหลักแล้วทางการแพทย์จะใช้วิธีการรักษา โรคมะเร็งโพรงจมูก ด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัดและการใช้รังสีรักษา โดยจะเลือกวิธีไหน แพทย์จะพิจารณาจากระยะ ความรุนแรงของโรค อายุและสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ส่วนวิธีการป้องกัน ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่ดีที่สุด แพทย์จึงแนะนำให้พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุ โดยเฉพาะการเลี่ยงสถานที่ที่มีมลพิษ ฝุ่นควันเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากจำเป็นต้องทำงานในสถานที่ที่เต็มไปด้วยฝุ่นละออง สารเคมีและอื่นๆ ที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ แนะนำให้สวมใส่หน้ากากอนามัยเสมอ เพื่อป้องกันการสูดดมสารพิษเหล่านั้นเข้าไปในร่างกายแบบเต็มๆ นั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.4. ISBN 9283204298.

มะเร็งหลังโพรงจมูก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

0
โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา
โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นหลังโพรงจมูก ซึ่งอยู่ด้านหลังของจมูก เหนือช่องคอใต้ฐานของสมอง
มะเร็งหลังโพรงจมูก ( Nasopharyngeal Cancer )
โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นหลังโพรงจมูก ซึ่งอยู่ด้านหลังของจมูก เหนือช่องคอใต้ฐานของสมอง

มะเร็งหลังโพรงจมูก

มะเร็งหลังโพรงจมูก ( Nasopharyngeal Cancer ) คือ เนื้อร้ายที่อยู่ในโพรงจมูก ซึ่งจะเกิดขึ้นจากบริเวณผนังของโพรงหลังจมูก เมื่อเข้าสู่ระยะลุกลาม จะสามารถแสดงอาการออกมาได้อย่างหลากหลาย นั่นก็เพราะบริเวณหลังโพรงจมูกประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อสำคัญมากมายหลายชนิด จึงทำให้ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาการที่แสดงออกมาก็จะขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะส่วนไหนนั่นเอง โดยส่วนใหญ่แล้วมะเร็งโพรงหลังจมูกก็จะลุกลามเข้าสู่ลูกตา ลำคอ เส้นประสาทต่างๆ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอและสมอง เป็นต้น

โพรงหลังจมูก เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมระหว่างโพรงจมูกและคอหอยด้านบน โดยมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Nasopharynx  ซึ่งตัดเป็นก้อนเนื้อในระบบลำคอ ศีรษะและหูคอจมูก โดยโพรงจมูกนั้นจะประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิด ซึ่งทุกเซลล์สามารถกลายเป็นมะเร็งได้หมด แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากเยื่อเมือกบุภายในของหหลังโพรงจมูก และไม่ค่อยแสดงอาการออกมาในระยะเริ่มแรก โดยมักจะตรวจพบก็ต่อเมื่อ มะเร็งหลังโพรงจมูก ได้ลุกลามไปมากแล้วนั่นเอง

สาเหตุมะเร็งโพรงหลังจมูก

สาเหตุของมะเร็งโพรงหลังจมูก ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างรวมกัน จนทำให้กลายเป็นมะเร็งในที่สุด ได้แก่ ความผิดปกติจากพันธุกรรม โดยเฉพาะเซอร์มาร์ค ซึ่งเป็นพันธุกรรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกติ โดยมีทั้งชนิดที่สามารถถ่ายทอดได้และถ่ายทอดไม่ได้ เชื้อชาติ โดยจากเชื้อชาติพบว่า มะเร็งหลังโพรงจมูกจะพบได้มากในคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคนเชื้อชาติจีนตอนใต้

การติดเชื้อไวรัสชนิด EBV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่จะทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นมะเร็งการได้รับสารก่อมะเร็งอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศและการรับประทานอาหารบางชนิดซ้ำๆเป็นประจำ

อาหารที่มีสารก่อมะเร็งผสมอยู่ เช่น อาหารหมักดอง เพราะอาหารเหล่านี้มักจะเกิดสารก่อมะเร็งที่เรียกว่าไนโตรซามีนเมื่อร่างกายได้รับเข้าไปสะสมเป็นเวลานาน จึงทำให้กลายเป็นมะเร็งร้ายในที่สุด

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าโรค มะเร็งหลังโพรงจมูก เป็นโรคที่ติดอันดับ 1 ใน 10 อันดับแรกของคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคนจีนตอนใต้ แต่หากดูจากประชากรทั่วโลกจะพบเพียงแค่ประปรายเท่านั้น และหากเทียบตามช่วงอายุแล้ว ก็จะพบได้บ่อยที่สุดในคนที่มีอายุ 45-55 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 2-3 เท่า

มะเร็งหลังโพรงจมูก มีหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่จะพบบ่อยมากที่สุดแค่ 2 ชนิดเท่านั้น ซึ่งได้แก่ ชนิด สความัส และชนิดอันอิฟเฟอเรนต์ชิเอท ( Undifferentiated Carcinoma ) โดยความรุนแรงจะอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งหากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก็จะสามารถรักษาให้หายได้ แต่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ป่วยด้วย

อาการของมะเร็งหลังโพรงจมูก

อาการของมะเร็งหลังโพรงจมูก จะไม่มีอาการที่ชี้เฉพาะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ และมักจะแสดงอาการออกมาเมื่อเข้าสู่ระยะลุกลามแล้วอีกด้วย แต่ก็มีอาการที่สามารถสังเกตได้ โดยจะคล้ายกับการอักเสบของโพรงจมูกแต่จะเป็นแบบเรื้อรังและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีธรรมดาให้หายได้ซึ่งสังเกตอาการได้ดังนี้

1. เป็นหวัดเรื้อรัง แม้จะกินยาอย่างต่อเนื่องก็ไม่หาย
2. มีอาการหูอื้อ หรือมีเสียงในหูเรื้อรัง
3. น้ำมูกมีเลือดปนออกมา
4. เลือดกำเดาไหลบ่อย โดยไม่ทราบสาเหตุ
5. ปวดศีรษะเป็นประจำและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
6. ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เนื่องจากการเน่าของก้อนเนื้อหรือการติดเชื้อ
7. มองเห็นภาพซ้อน โดยในบางรายก็อาจมีอาการตาเหล่ด้วย
9. ใบหน้ามีอาการชา
10.คลำเจอต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณลำคอ โดยอาจพบมากกว่า 1 ก้อน

การวินิจฉัยมะเร็งหลังโพรงจมูก

การวินิจฉัยโรค แพทย์จะสอบถามประวัติอาการป่วย และทำการตรวจ โดยเฉพาะการตรวจหลังโพรงจมูกโดยแพทย์หูคอจมูก และที่สำคัญคือการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อผลการตรวจที่แม่นยำ

ระยะของมะเร็งหลังโพรงจมูก มี 4 ระยะ

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งมีการลุกลามอยู่แค่ภายในหลังโพรงจมูกเท่านั้น ซึ่งยังอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อภายในลำคอ และต่อมน้ำเหลือง แต่ต่อมน้ำเหลืองยังโตไม่เกิน 6 เซนติเมตร

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่กระดูกที่ฐานสมอง และพบต่อมน้ำเหลืองโตไม่เกิน 6 เซนติเมตร

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าสู่สมอง ตา เส้นประสาทสมองและอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ ซึ่งพบมีขนาดโตกว่า 6 เซนติเมตร

ส่วนการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังเป็น มะเร็งหลังโพรงจมูก อยู่ในระยะใด แพทย์จะตรวจด้วยวิธีเช่นเดียวกันกับการตรวจหามะเร็งโพรงหลังจมูก และที่สำคัญคือการตัดชิ้นเนื้อที่เป็นมะเร็งไปตรวจทางพยาธิวิทยานั่นเอง

การรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก

การรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการล้างจมูกหรือที่เรียกว่ารังสีรักษาเป็นหลัก พร้อมกับการทำเคมีบำบัดร่วมด้วย อย่างไรก็ตามการจะรักษาด้วยวิธีไหนอย่างไร ก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะของโรค อายุและสุขภาพของผู้ป่วยด้วยเช่นกันส่วนการผ่าตัดจะไม่นำมาใช้กับการรักษามะเร็งชนิดนี้ เนื่องจากเกิดในตำแหน่งที่ไม่สามารถผ่าตัดได้

ส่วนการคัดกรองตั้งแต่เริ่มเป็น แพทย์ยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงต้องอาศัยการสังเกตตนเอง ซึ่งหากพบอาการป่วยแบบเรื้อรังควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยด่วน และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งอย่างเด็ดขาด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง

0
ถาม - ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง
ถาม - ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง
ถาม - ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง
ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง

ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง

ถาม : ปัญหาเกี่ยวกับมะเร็งเกิดขึ้นมาจากอะไร?

ตอบ : สาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเป็นเพราะหลายๆ ปัจจัยด้วยกันที่ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็ง โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญและคาดว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งที่สุด ได้แก่

อายุ โดยส่วนใหญ่จะพบมะเร็งได้มากในวัยสูงอายุ และคาดว่ายิ่งมีอายุมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากขึ้นเท่านั้นอีกด้วย นั่นก็เพราะในขณะที่อายุมากขึ้น เซลล์ต่างๆ ในร่างกายจะเกิดการสึกหรอและเสื่อมสภาพไปตามวัย ทำให้ร่างกายมีการซ่อมแซมตัวเองหลายครั้ง จึงอาจเกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์จนเป็นมะเร็งร้ายได้นั่นเอง
ความผิดปกติจากพันธุกรรม โดยโรคมะเร็งบางชนิดก็สามารถติดต่อกันผ่านทางพันธุกรรมได้เหมือนกัน ดังนั้นในคนที่มีพ่อแม่เป็นโรคมะเร็ง ก็อาจจะมีความเสี่ยงโรคมะเร็งได้มากกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งก็ต้องเฝ้าระวังและหมั่นตรวจหาสัญญาณบ่งชี้มะเร็งบ่อยกว่าคนปกติ

[adinserter name=”มะเร็ง”]

เชื้อชาติ ก็มีผลต่อการตรวจพบโรคมะเร็งเช่นกัน เพราะโรคมะเร็งบางชนิดก็อาจพบได้มากในเชื้อชาติหนึ่งมากกว่าเชื้อชาติหนึ่ง อย่างเช่น โรคมะเร็งหลังโพรงจมูก จะพบในคนจีนตอนใต้ได้มากกว่าเชื้อชาติอื่นๆ หรือโรคมะเร็งผิวหนัง จะพบได้มากในคนเชื้อชาติผิวขาวมากกว่าเชื้อชาติผิวสีอื่นๆ นั่นเอง

อาหาร ที่รับประทานเป็นปัจจัยหนึ่งที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องและไม่ถูกสุขลักษณะมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ เช่น

  • การรับประทานอาหารรมควัน หมักดอง สุกๆ ดิบๆ และเนื้อแดงสูง จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ5หมู่
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
  • การรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิวเป็นประจำเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
  • การรับประทานอาหารที่มีสารพิษอัลฟาทอกซิลปนเปื้อนเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ
  • การรับประทานอาหารเค็มจัด มีส่วนผสมดินประสิวและส่วนไหม้เกรียมเป็นประจำเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนม่า เป็นต้น
  • น้ำดื่มที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็งก็ทำให้เกิดโรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆได้ เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น หากในน้ำดื่มมีสารปนเปื้อนอยู่ก็จะมีโทษมหันต์กับร่างกายของคนเราจึงควรพิถีพิถันเลือกน้ำดื่มที่สะอาดปลอดภัย

ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งควรปฏิบัติตนให้ถูกต้องในการรับประทานอาหาร และที่สำคัญควรงดสิ่งเสพติดคือ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดการสูบบุหรี่ ควรออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปีทุกปีเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง

โรคอ้วน โดยจากสถิติพบว่าคนที่เป็นโรคอ้วน จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งบางชนิดได้มากกว่าคนปกติทั่วไป เช่น โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เพราะคนอ้วนมักจะมีความผิดปกติของประจำเดือน ซึ่งเมื่อเป็นบ่อยๆหรือปล่อยไว้นานๆ ก็อาจจะเป็นมะเร็งดังกล่าวได้นั่นเอง

ภูมิคุ้มกัน ( Immune ) มีส่วนสำคัญในการต้านทานโรคและบรรเทาอาการของโรคได้ ถ้าภูมิคุ้มกันแข็งแรงก็สามารถควบคุมโรคมะเร็งที่กำลังก่อตัวไม่ให้ลุกลามได้ แต่ถ้าภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ถึงขั้นที่เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องก็จะเกิดโรคติดเชื้อมากมาย และยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆได้มากกว่าคนปกติ

การติดเชื้อโรคบางชนิด อย่างเช่น เชื้อไวรัส เชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย ก็นำไปสู่การป่วยมะเร็งได้เช่นกัน ซึ่งจะป่วยด้วยมะเร็งชนิดไหนก็ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อโรคด้วย เช่น ตับเป็นมะเร็งตับ กระเพาะอาหารเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

การได้รับรังสีบางชนิดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรังสียูวี ซึ่งพบว่าผู้ที่ป่วยบ่อยๆ มักจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งผิวหนังสูงมาก หรือในคนที่ได้รับรังสีจากการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็อาจป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้เหมือนกัน

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : โรคมะเร็ง เป็นโรคที่พบบ่อยหรือไม่?

ตอบ : โรคมะเร็ง (Cancer) พบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะพบในคนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ส่วนในวัยเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุต่ำกว่า 15 ปีพบว่าเป็นโรคมะเร็งน้อยกว่าในวัยผู้ใหญ่ เด็กมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งเพียง 1ใน 10 ของมะเร็งในผู้ใหญ่

โรคมะเร็งที่พบบ่อยของผู้หญิงไทย (ตามลำดับ)
1. มะเร็งปากมดลูก
2. มะเร็งเต้านม
3. มะเร็งตับ
4. มะเร็งปอด
5. มะเร็งลำไส้ใหญ่
6. มะเร็งรังไข่
7. มะเร็งช่องปาก
8. มะเร็งต่อมไทรอยด์
9. มะเร็งกระเพาะอาหาร
10. มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
โรคมะเร็งที่พบบ่อยของผู้ชายไทย (ตามลำดับ)
1. มะเร็งตับ
2. มะเร็งปอด
3. มะเร็งลำไส้ใหญ่
4. มะเร็งช่องปาก
5. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
6. มะเร็งกระเพาะอาหาร
7. มะเร็งเม็ดเลือดขาว
8. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
9. มะเร็งโพรงจมูก
10. มะเร็งหลอดอาหาร
โรคมะเร็งที่พบบ่อยในเด็กไทย (ตามลำดับ)
1. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
2. โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
3. โรคมะเร็งสมองถาม : อาการแบบไหน ที่บ่งบอกได้ว่าเป็นมะเร็ง?

ตอบ : สำหรับอาการของโรคมะเร็ง ไม่มีอาการเฉพาะเจาะจงที่จะสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายกับการอักเสบทั่วไป และไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีปกติ นอกจากนี้ก็จะมีจุดสังเกต คืออาการป่วยจะเป็นแบบต่อเนื่อง เรื้อรังและค่อยๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาการจากโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย คือ

มีก้อนเนื้อที่โตเร็วผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้อที่คลำเจอภายในร่างกาย หรือก้อนเนื้อที่งอกออกมาก็ตาม
มีแผลเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยวิธีปกติได้ ไอเป็นเลือดและอาจมีเสียงแหบโดยไม่ทราบสาเหตุ
มีไข้เรื้อรัง ที่หาสาเหตุไม่ได้ โดยอาจเป็นไข้สูงหรือไข้ต่ำๆ กลืนลำบากและมีเสมหะหรือน้ำลายปนเลือด
เลือดกำเดาไหลบ่อย ปัสสาวะเป็นเลือดและอุจจาระเป็นเลือด ตกขาวพร้อมกับมีกลิ่นผิดปกติ ท้องผูกสลับกับท้องเสียบ่อยๆ ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยมามากหรือมาบ่อยเกินไป และอาจมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ผิวซีดเหลืองโดยไม่ทราบสาเหตุ ห้อเลือดได้ง่ายและอาจมีจุดแดงคล้ายกับไข้เลือดออก ปวดศีรษะอย่างรุนแรงพร้อมกับอาเจียนร่วม ด้วย น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการชัก มีอาการผิดปกติที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และเป็นแบบเรื้อรังพร้อมอาการที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ    [adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังป่วยมะเร็ง?

ตอบ : จะรู้ได้ว่าป่วยด้วยมะเร็งหรือไม่หลังจากแพทย์ได้ทำการตรวจ วินิจฉัยเรียบร้อยแล้ว โดยแพทย์จะสอบถามประวัติอาการของผู้ป่วย พร้อมตรวจร่างกายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การส่องกล้อง การตัดหรือเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจ และการตรวจค่าสารบ่งชี้มะเร็งด้วยการเจาะเลือด อย่างไรก็ตามอาจต้องมีการตรวจหลายๆ อย่างเพื่อความแม่นยำและชัดเจนมากขึ้น

ถาม : มีการจัดระบบโรคมะเร็งอย่างไร?

ตอบ : โดยปกติแล้วการจัดระบบของโรคมะเร็งจะมีหลายแบบด้วยกัน แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือการจัดระบบแบบ AJCC : American Joint Committee on Cancer ที่จัดทำขึ้นโดย คณะกรรมการโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการจัดระบบดังนี้

การจัดระบบโรคมะเร็งด้วย AJCC จะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ก้อนเนื้อมะเร็งยังคงมีขนาดเล็กและมีการลุกลามเฉพาะในเนื้อเยื่อต้นกำเนิดของมะเร็งเท่านั้น

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดปานกลาง และยังลุกลามไม่มาก ส่วนใหญ่จะลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้กับเนื้อเยื่อก่อน

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดโตมาก และมีการลุกลามไปมากพอสมควร โดยเฉพาะการลุกลามเช้าต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ และอวัยวะข้างเคียง

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มีความรุนแรงสูงมาก โดยระยะนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่โรคมะเร็งมีการลุกลามอย่างรุนแรง แต่ยังไม่แพร่กระจาย ซึ่งจะมีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงที่อยู่รอบๆ และต่อมน้ำเหลืองจนทำให้ต่อมน้ำเหลืองมีขนาดโตมาก เกิน 6 เซนติเมตร แต่ในขณะเดียวกันก็ยังไม่ได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด
กลุ่มที่โรคมะเร็งมีการแพร่กระจาย ซึ่งเป็นระยะที่มีความรุนแรงที่สุดและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยระยะนี้มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆที่อยู่ไกลไปจากเนื้อเยื่อ และอาจแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ปอด ตับ ไขกระดูกและสมอง รวมถึงการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสน้ำเหลืองด้วย    [adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : จะรู้ได้อย่างไร ว่ากำลังเป็นมะเร็งระยะที่เท่าไหร่?

ตอบ : การจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะที่เท่าไหร่แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการสอบถามประวัติอาการต่างๆ และทำการตรวจความสมดุลของเกลือแร่และไตรวมถึงการตรวจดังนี้

เอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจการทำงานของปอดว่าปกติหรือไม่ และมีการแพร่กระจายของมะเร็งเข้าสู่ปอดหรือยัง
ตรวจอัลตราซาวนด์ sonogram เพื่อดูการแพร่กระจายของมะเร็งเข้าสู่ตับ
ตรวจอวัยวะต้นกำเนิดมะเร็งด้วยการเอกซเรย์ เพื่อดูการลุกลามของก้อนมะเร็ง
ตรวจกระดูก โดยแพทย์จะทำการสแกนกระดูกทั้งตัว เพื่อดูว่าโรคมะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระดูกหรือยัง
การตรวจอื่นๆ เช่น การส่องกล้อง การตรวจไขกระดูก หรือการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น โดยจะทำให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำมากขึ้น

ถาม : มีวิธีการรักษาโรคมะเร็งอย่างไร?

ตอบ : ในปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งจะใช้วิธีการหลักๆ คือ การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี และการใช้ฮอร์โมน ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการหลักๆ นี้ก็มีค่ารักษาที่สูงพอสมควร นอกจากนี้ก็มีวิธีการรักษาด้วยการใช้ยารักษาตรงเป้า การใช้ชีวสารรักษาและการปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ อีกด้วย แต่เนื่องจากยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการรักษานั่นเอง

ถาม : การรักษาโรคมะเร็งตามระยะของโรคเป็นอย่างไร?

ตอบ : การรักษาโรคมะเร็งตามระยะของโรค จะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็ง อายุและสุขภาพของผู้ป่วยและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยและเลือกวิธีการรักษาที่มีความเหมาะสมที่สุด แต่สำหรับการตอบคำถามนี้จะกล่าวแบบโดยรวม เพื่อความเข้าใจแบบคร่าวๆ กับการรักษาโรคมะเร็งตามระยะของโรค ซึ่งวิธีการดังกล่าวก็ได้มาจากการศึกษาทางการแพทย์ของโรคมะเร็งแต่ละชนิดนั่นเอง โดยมีรายละเอียดการรักษาดังนี้

การรักษาโรคมะเร็งในระยะที่ 1 การรักษาโรคมะเร็งในระยะนี้จะมีเป้าหมายเพื่อให้การรักษาหายขาด และเนื่องจากระยะแรกยังคงรักษาได้ง่ายอยู่ จึงอาจใช้วิธีการรักษาหลักเพียงวิธีเดียว ซึ่งจะใช้วิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและอวัยวะที่เป็นต้นกำเนิดมะเร็งด้วย แต่กรณีที่ป่วยด้วยมะเร็งระยะที่ 1 แต่เป็นชนิดของโรคที่มีความรุนแรงสูงมาก โดยแพทย์จะตรวจพบความรุนแรงของโรคได้จากลักษณะทางพยาธิวิทยาของโรคมะเร็ง ซึ่งกรณีนี้หากต้องการรักษาให้หายขาด ก็อาจต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลการรักษาที่ดีที่สุด โดยจะใช้วิธีไหรก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์เช่นกัน

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การรักษาโรคมะเร็งในระยะที่ 2 การรักษาในระยะนี้ก็จะมีเป้าหมายที่รักษาให้หายขาดเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้การรักษาด้วยวิธีหลักหลายวิธีร่วมกัน ตามความรุนแรงของโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ แต่สำหรับโรคมะเร็งบางชนิดที่ยังคงมีความรุนแรงของโรคต่ำอยู่ก็จะใช้วิธีการรักษาเพียงวิธีเดียว แต่เลือกวิธีที่เหมาะสมและคาดว่าจะให้ผลการรักษาที่ดีที่สุด
การรักษาโรคมะเร็งในระยะที่ 3 และ 4 ชนิดที่มีการลุกลามรุนแรงแต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ โดยการรักษาในระยะนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ป่วยได้ กล่าวคือ
หากผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง แพทย์จะใช้หลายวิธีในการรักษาร่วมกัน และมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็ง
หากผู้ป่วยมีสุขภาพไม่ดีหรืออยู่ในวัยสูงอายุ แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการบรรเทาและประคับประคองอาการป่วยไปเรื่อยๆ ซึ่งกรณีนี้ผู้ป่วยมักจะมีภาวะแทรกซ้อนหรือการระคายเคืองจากผลการรักษาได้ง่าย จึงไม่สามารถมุ่งหวังให้หายขาดได้
การรักษาโรคมะเร็งในระยะที่ 4 ชนิดที่มีการแพร่กระจาย โดยระยะนี้จะไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดได้ จึงทำได้แค่รักษาเพื่อบรรเทาและประทังอาการเท่านั้น ซึ่งจะช่วยชะลอการลุกลามของเซลล์มะเร็งได้มากแค่ไหน และสามารถยืดอายุผู้ป่วยได้นานเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพและช่วงวัยอายุของผู้ป่วยเองด้วย

โรคมะเร็งย้อนกลับมาเป็นซ้ำ ก็คือการที่มะเร็งที่ได้ทำการรักษาจนหายขาดแล้ว กลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเกิดซ้ำรอยเดิมหรือเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียงของจุดเดิมก็ได้

ถาม : โรคมะเร็งเมื่อเป็นแล้วจะมีโอกาสรักษาหายหรือไม่?

ตอบ : โรคมะเร็งจะมีโอกาสรักษาให้หายได้หรือไม่ อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับ หลายปัจจัยประกอบกันด้วย เช่น ระยะของโรค ชนิดของมะเร็ง สุขภาพและอายุของผู้ป่วย ซึ่งกรณีที่รักษาให้หายได้ ก็จะมีอัตราการอยู่รอดที่ 5 ปี

โดยสรุปได้ดังนี้

โรคมะเร็งระยะที่ 1 รักษาให้หายได้ โดยมีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 70-90
โรคมะเร็งระยะที่ 2 รักษาให้หายได้ โดยมีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 50-80
โรคมะเร็งระยะที่ 3 รักษาให้หายได้โดยมีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปีประมาณร้อยละ 20-50
โรคมะเร็งระยะที่ 4 ชนิดลุกลามรุนแรงแต่ยังไม่มีการแพร่กระจายโรค สามารถรักษาให้หายได้ มีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 5-30 โรคมะเร็งระยะที่ 4 มีการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลือง ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ส่วนใหญ่จะมีอัตราอยู่รอดที่ 6 เดือน – 2 ปีเท่านั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพและการดูแลตัวเองของผู้ป่วยเองด้วย

อย่างไรก็ตามหลังจากรักษาจนหายแล้ว ก็มีโอกาสที่โรคมะเร็งจะย้อนกลับมาลุกลามอีกครั้งได้เหมือนกัน โดยมักจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากครบการรักษา ซึ่งประมาณ 80 -90 เปอร์เซ็นต์ พบว่าเกิดขึ้นซ้ำภายใน 2-3 ปีหลังจากครบการรักษา เพราะฉะนั้นการจะสรุปว่าผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งแล้วหรือไม่ แพทย์จะดูหลังจากครบ 5 ปี หากไม่มีโรคมะเร็งย้อนกลับมาเป็นซ้ำ ก็จะถือว่าผู้ป่วยหายขาดจากมะเร็งแล้วนั่นเอง    [adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : โรคมะเร็งย้อนกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง หมายความว่าอย่างไร?

ตอบ : โรคมะเร็งย้อนกลับมาเป็นซ้ำ ก็คือการที่มะเร็งที่ได้ทำการรักษาจนหายขาดแล้ว กลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเกิดซ้ำรอยเดิมหรือเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียงของจุดเดิมก็ได้ โดยหลังจากการรักษาจนหายดีแล้ว แพทย์จะติดตามการกลับมาของโรคต่ออีกระยะหนึ่ง ซึ่งก็มักจะตรวจพบหลังจาก 6 เดือนขึ้นไป แต่เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่เป็นมะเร็งซ้ำ จะต้องติดตามผลประมาณ 5 ปี เลยทีเดียว

ถาม : โรคมะเร็งชนิดที่ 2 หมายความว่าอย่างไร?

ตอบ : มะเร็งชนิดที่สอง คือการตรวจพบมะเร็งมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะพบว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งอยู่แล้ว เมื่อทำการตรวจอีกที กลับพบมะเร็งอีกชนิดที่เป็นคนละชนิดกันและมักจะเกิดในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างตำแหน่งกันอีกด้วย ซึ่งกรณีนี้จะทำการรักษาให้หายได้ยากมาก และผู้ป่วยก็มักจะมีอาการทรุดหนักลงอย่างรวดเร็วกว่าผู้ป่วยมะเร็งทั่วไป จึงต้องได้รับการดูแลรักษาและทำตามคำแนะนำจากแพทย์มากเป็นพิเศษ

ถาม : มะเร็งปากมดลูกมีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกหรือไม่?

ตอบ : การตรวจคัดกรองหามะเร็งมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก สามารถตรวจเจอได้แค่มะเร็งบางชนิดเท่านั้น อย่างเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่มักจะละเลยการตรวจคัดกรองเหล่านี้ กว่าจะพบ ว่าป่วยมะเร็งก็เข้าสู่ระยะที่ 3 ที่ 4 ไปแล้ว ดังนั้นจึงควรตรวจคัดกรองเสมอ เพื่อทราบถึงอาการป่วยมะเร็งปากมดลูกก่อนจะสายเกินไป

[adinserter name=”oralimpact”]

ถาม : สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้หรือไม่?

ตอบ : ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพนอกจากมะเร็งปากมดลูกดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า การทานอาหารที่ไม่สะอาดหรือปรุงด้วยวิธีที่เสี่ยงมะเร็งและการอยู่ในภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษ ซึ่งอย่างน้อยก็จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ในระดับหนึ่ง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

Alternative cancer cures: ‘unproven’ or ‘disproven'”. CA Cancer J Clin.2011