Home Blog Page 149

ประโยชน์สำคัญในสมุนไพรพื้นบ้านผักพรมมิ ( Brammi )

0
ประโยชน์สำคัญในสมุนไพรพื้นบ้านผักพรมมิ (Brammi)
พรมมิมีสรรพคุณทางยาต่อร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง ลดความเสื่อมของสมอง เพิ่มความจำและการเรียนรู้
ประโยชน์สำคัญในสมุนไพรพื้นบ้านผักพรมมิ (Brammi)
พรมมิมีสรรพคุณทางยาต่อร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง ลดความเสื่อมของสมอง เพิ่มความจำและการเรียนรู้

พรมมิ ( Brammi )

ต้น พรมมิ ( Brammi ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bacopa monnieri จัดอยู่ในวงศ์ Scrophularioaceae เป็นพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำมีลักษณะเป็นข้อปล้อง ลำต้นเลื้อยบนพื้นดิน ส่วนยอดจะชูขึ้นเด่นชัดไม่มีขนมีขนาดเล็กสีเขียวอ่อน ใบสีเขียวเข้มกว่าลำต้นเล็กน้อย เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำหรือริมตลิ่ง มีดอกสีขาวหรือสีครามอ่อน ในประเทศอินเดียและประเทศจีนนิยมกินพรมมิเพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงสมองและใช้เป็นส่วนผสมในยารักษาโรคบางชนิด

พรมมิ ภาษาจีนใช้ชื่อว่า “ อือลังไฉ่หรืออุยลักก๊วยโช๊ะ ” ส่วนประเทศไทยต้นพรมมิเป็นผักพื้นบ้านที่หลายคนรู้จักดี โดยเฉพาะคนไทยภาคอีสานที่จะรู้จักผักพรมมิในชื่อผักมิ ผักหมี่ นมมิ พรมลีหรือผักหยดน้ำตา ที่เรียกว่า “ ผักหยดน้ำตา ” ก็เพราะลักษณะของใบของต้นพรมมิที่คล้ายกับหยดน้ำตานั่นเอง ภาคกลาง เช่น ราชบุรี ชลบุรี จะเรียกว่า “ ผักเบี้ย ” ภาคใต้ตอนบนแถบประจวบคีรีขันธ์ ถ้าเป็นต้นสีเขียวเรียก “ พรมมิ ” แต่ถ้ามีต้นสีแดงเรียกว่า “ พรมมิ พรมมิแดง ผักเบี้ยแดง ” คนไทยนิยมรับประทานผักมิสดทั้งต้นและใบพร้อมกัน กินเป็นผักแกล้มหรือกินจิ้มกับน้ำพริกก็ได้ รสชาติของผักมิจะออกขมนิดๆ และยังมีการนำผักมิมาใช้เป็นสมุนไพรเพื่อรักษาโรคอีกด้วย เช่น การดับพิษไข้ แก้อาการร้อนใน ใบช่วยขับเสมหะ ต้นใช้เป็นยาขับเลือด แก้อักเสบบวม เป็นต้น ในผักพรมมิมีสารสำคัญในกลุ่มแอลคาลอยด์ เช่น ซาโปนิน บรามิน ( Brahmine ) และนิโคติน

การแพทย์อายุรเวทระบุว่า พรมมิมีรสขมหวาน ใช้เป็นยาเย็น มีฤทธิ์ทำให้สงบ ลดอาการผิดปกติทางสมอง เสริมสร้างการทำงานของสมอง ในทางการแพทย์แผนไทย พรมมิทั้งต้นมีรสเย็นหวาน ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้หืดช่วยบำรุงประสาท แก้ลมบ้าหมู แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ และบำรุงหัวใจ

สรรพคุณของผักพรมมิ

จากสรรพคุณของผักมิ หรือ ต้นพรมมิ ที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน นักวิทยาศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของต้นพรมมิ จึงได้มีการค้นคว้าและวิจัยสารสกัดจากต้นพรมมิ พบว่า ต้นพรมมิมีสรรพคุณช่วยบำรุงสมองให้แข็งแรง ลดความเสื่อมของเซลล์สมอง เพิ่มความจำ เพิ่มสมาธิและเพิ่มการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสรรพคุณที่ได้กล่าวมานี้ไม่ได้กล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย เพราะได้มีการทำวิจัยและทดลองอย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งในสัตว์ทดลองและมีการนำมาทดลองใช้ในคนแล้วด้วย ซึ่งในขั้นตอนแรกได้มีการทำวิจัยในหนูทดลอง

โดยการทำการวิจัยในหนูทดลอง โดยแบ่งหนูทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ใส่สารเหนี่ยวนำให้เกิดสภาวะสมองเสื่อมและให้อาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพรมมิลงไปด้วย

กลุ่มที่ 2 ใส่สารเหนี่ยวนำให้เกิดสภาวะสมองเสื่อมเช่นเดียวกับกลุ่มแรก และให้อาหารเหมือนกับหนูทดลองกลุ่มแรก แต่ในอาหารที่ให้นั้นไม่ได้มีส่วนผสมของสารสกัดจากพรมมิ

ผ่านไป 14 วัน จากการทำการตรวจสอบลักษณะของเซลล์สมองของหนูที่นำมาทดลอง พบว่าหนูทดลองกลุ่มที่ 1 เซลล์สมองมีการฟื้นฟูดีกว่าเซลล์สมองของหนูทดลองกลุ่มที่ 2 แสดงว่าสารสกัดพรมมิที่ใส่เข้าไปในอาหารมีส่วนช่วยฟื้นฟูความเสื่อมของเซลล์สมองหรือลดความเสื่อมของเซลล์สมองในหนูทดลองได้ 

ต้นพรมมิมีสรรพคุณทางยาเป็นที่รู้จักกันดีเป็นระยะเวลานานแล้ว นอกจากใช้เป็นยาต้นพรมมิยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ ช่วยบำรุงสมอง ลดความเสื่อมของสมอง เพิ่มความจำและการเรียนรู้

นอกจากการทดลองในหนูทดลองแล้ว ได้มีการทดลองในคน โดยมีการทดลองในกลุ่มของผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 50 – 80 ปี ซึ่งมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 60 ปี โดยแบ่งผู้ทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ผู้ร่วมการทดลองรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของสารสกัดพรมมิ

กลุ่มที่ 2 ผู้ร่วมการทดลองรับประทานอาหารเสริมสารกัดพรมมิหลอก คือ รับประทานอาหารเสริมเหมือนกับผู้ทดลองในกลุ่มแรก แต่ในอาหารเสริมไม่มีส่วนผสมของสารสกัดพรมมิ

จากการทดลองทดลองพบว่าผู้ร่วมการทดลองที่รับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพรมมิมีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งการตอบรับกับสิ่งที่อยู่รอบตัวมากขึ้น เช่น การพูดคุยโต้ตอบ การมองและการจดจำภาพในการเล่นเกมส์ เป็นต้น รวมถึงการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของผู้ร่วมทดลองดีขึ้น ทั้งการเดิน ยืนและลุกนั่ง สามารถทรงตัวได้ตรงขึ้น เดินไปข้างหน้ามีความมั่นคงไม่สะดุดหรือล้มบ่อยเหมือนก่อนการทดลอง มีความจำเพิ่มขึ้นสามารถจดจำได้มากขึ้นต่างจากผู้ร่วมทดลองกลุ่มที่ 2 ที่ทุกอย่างเหมือนเดิมก่อนที่จะทำการทดลองไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จากการทดลองสรุปได้ว่าสารสกัดจากพรมมิมีประโยชน์ ดังนี้

1.บำรุงสารสื่อประสาท ในพรมมิมีสารสำคัญกลุ่มอัลคาลอยด์ อย่าง ซาโปนิน ( Saponins ) ไตรเทอร์ปีน ( Trierpenes ) สารบาโคไซด์ เอ ( BacosideS A ) สารบาโคไซด์ บี ( BacosideS B ) บาโคซัปโปไนน์ดี ( Bacosaponines D ) โดยสารกลุ่มนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาทให้ทำงานได้ดีขึ้น และช่วยในกระบวนการสร้างสารสื่อประสาทให้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ทำให้สารสื่อประสาทในสมองมีปริมาณมากพอที่จะใช้ในการส่งสัญญาณประสาทจากสมองไปยังส่วนต่างๆ และช่วยให้สารการทำงานของสารสื่อประสาทมีความต่อเนื่องส่งผลให้การประมวลผล การคิด ความจำ การเรียนรู้ของสมองดีขึ้น 

2.ยับยั้งการทำลายของเซลล์ประสาท โดยสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในพรมมิจะมีฤทธิ์ต้านการทำงานของอนุมูลอิสระในการทำลายเซลล์ประสาทและเซลล์สมอง โดยการเข้าไปยับยั้งการทำงานของอะซิทิลโคลีนเอสเตอเรส ( Acetylcholinesterase : AchE ) ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่เข้าไปทำลายเซลล์ประสาทและสมองอย่างได้ผล จึง่ช่วยลดความเสื่อมและการตายของเซลล์ประสาทและสมอง ลดความเสี่ยงและป้องกันการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

3.ช่วยขยายหลอดเลือด สารสกัดพรมมิช่วยขยายขนาดของเส้นเลือดในสมองส่งผลให้การหมุนเวียนของเลือดในสมองดีขึ้น เลือกจึงสามารถนำพาออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น เซลล์สมองจึงแข็งแรงและมีอายุยืนยาว ชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองได้มากขึ้นส่งผลให้สมองทำงานดีขึ้น ทั้งความจำ สมาธิและการเรียนรู้

4.คลายความซึมเศร้า สารสกัดพรมมิช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทและลดการตายของสารสื่อประสาทซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้า ดังนั้นการรับประทานสารสกัดพรมมิจึงช่วยลดอาการของโรคซึมเศร้า
พบว่าสารสกัดพรมมิเป็นสารที่มีคุณค่าโดยเฉพาะคุณค่าต่อสมองซึ่งถือว่าจำเป็นต่อคนไทยยุคปัจจุบัน

การกินสารสกัดพรมมินั้นช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ลดความเสื่อมของเซลล์สมอง ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อม ไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายและไม่มีตกค้างในร่างกายอีกด้วย ไม่เหมือนกับสารสกัดจากแปะก๊วยที่ทำให้เกร็ดเลือดไม่แข็งตัว ซึ่งผลข้างเคียงนี้ไม่พบจากการรับประทานสารสกัดพรมมิ ดังนั้นสารสกัดพรมมิจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีทั้งด้านคุณภาพที่ไม่แพ้สารสกัดบำรุงสมองชนิดอื่นและราคาที่ถูกมากเมื่อเทียบกับสารสกัดที่ช่วยบำรุงสมองหลายชนิดที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพราะต้นพรมมิสามารถปลูกได้ในประเทศไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ สำหรับคนที่รักสุขภาพและต้องการบำรุงสมองสารสกัดพรมมิจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พรมมิ สมุนไพรเพื่อสุขภาพสมอง โดย ชาญชัย สาดแสงจันทร์

อภ.ผุดแคปซูลสมุนไพร ‘พรมมิ’ บำรุงสมองช่วยจำ ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 479-480, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ

www.mahosot.com

www.gponature.com

www.greenclinic.in.th/brahmi

www.youtube.com/watch?v=zatih

“Bacopa monnieri information from NPGS/GRIN”. www.ars-grin.gov. สืบค้นเมื่อ 2008-03-13.

List of Bacopa Monnieri Side Effects – Mild and Serious Reactions

Antidepressant activity of standardized extract of Bacopa monniera in experimental models of depression in rats.

Anticonvulsant potential of commonly practiced formulations of Brahmi (Bacopa monnieri Linn.) in Wistar rats.

สาเหตุและอาการของโรคความดันโลหิต ( Blood Pressure )

0
สาเหตุและอาการของโรคความดันโลหิต (Blood Pressure)
ความดันโลหิต คือ ความดันหรือแรงดันที่เกิดขึ้นภายในหลอดเลือดแดงที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย
สาเหตุและอาการของโรคความดันโลหิต (Blood Pressure)
ความดันโลหิต คือ ความดันหรือแรงดันที่เกิดจากการบีบตัวภายในหลอดเลือดแดง ทำให้มีอาการปวดศรีษะรุนแรง

อาการของโรคความดันโลหิต ( Blood Pressure )

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ป่วยอยู่ในระยะเริ่มแรกนั้นจะไม่มีอาการบ่งชี้ใดๆ แต่ถ้าอาการของโรคความดันโลหิต ( Blood pressure ) อยู่ในขั้นปานกลางหรือรุนแรงแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศรีษะบริเวณท้ายทอย คลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว ตามั่วบ้างในบางครั้ง เลือดกำเดาไหล ( Epistaxis ) เกิดเนื่องจากความดันโลหิตทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณจมูกแตก เหนื่อยหอบจนนอนราบกับพื้นไม่ได้หรือเหนื่อยเมื่อต้องออกแรงหรือทำงานหนัก ซึ่งผู้ป่วยจะเป็นๆ หายๆ ซึ่งถ้าอาการของโรคอยู่ในขั้นวิกฤติอาจจะทำให้เส้นเลือดในสมองแตกเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุของโรคความดันโลหิต

ถึงแม้ว่าสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นกันมากจะยังไม่แน่ชัดถึงสาเหตุ แต่จากการศึกษาและสถิติพบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่น่าจะมีปัจจัยจาก

1. พันธุกรรม จากสถิติพบว่าผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดาหรือทั้งบิดาและมารดา บุตรที่เกิดมานั้นจะมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนทั่วไปถึงเกือบเท่าตัว

2. ความเครียด ปัจจุบันนี้พบว่าความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงมาก จากสภาวะแวดล้อมที่ต้องอยู่ภายใต้ความกดดันจากการดิ้นรนเพื่อดำรงชีวิตในสังคม ทั้งเรื่องการงาน การเงิน ความรัก สุขภาพล้วนสร้างความเครียดทั้งสิ้น เพราะเมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งสารแห่งความทุกข์ คือ โดฟามีน ( Dopamine ) คอร์ติซอล ( Cortisol ) ซึ่งฮอร์โมนสั้งสองตัวจะทำเข้าไปเพิ่มความดันทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผนังหลอดเลือดหดเกร็งมากขึ้นเป็นผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เมื่อเครียดมากและเครียดบ่อยจากที่ความดันโลหิตสูงเป็นครั้งคราวก็จะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง

3. อายุ โรคความดันโลหิตสูงส่วนมากจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าหลอดเลือดหัวใจที่ผ่านการใช้งานมานาน 40 ปีนั้นจะเริ่มเสื่อมสภาพ คือ หลอดเลือดเริ่มแข็งตัว มีคอเลสเตอรอลจับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดมีขนาดเล็กลง จึงเป็นเหตุให้หัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้นจึงจะส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้

4. พฤติกรรมการกิน จากงานวิจัยพบว่าการกินอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือการบริโภคเกลือในปริมาณมากเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากเกลือจะเข้าไปเพื่อความดันโลหิตในเลือดจากกระบวนการออกซิเดชัน-รีดักชั่นจากการแตกตัวของเกลือ และการกินเค็มจากสารปรุงรสอื่นๆ เช่น น้ำปลา ซอส เป็นต้น จะทำให้ไตต้องทำงานหนักในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

5. รูปร่าง คนที่มีรูปร่างอ้วนหรือเป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงกว่าคนที่มีรูปปกติ เนื่องจากคนอ้วนต้องใช้แรงบีบของหัวใจที่มากกว่าคนผอมในการส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย และมีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานหรือโรคหลอดเลือดตีบจากการที่ไขมันอุดตันจึงส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงตามไปด้วย

6. เพศ จากสถิติพบว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโหลิตสูงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน เพราะผู้หญิงจะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงโดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเมื่อมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะทำให้ร่างกายเกิดการกักเก็บเกลือไว้มากขึ้น คล้ายกับการที่รับประทานเค็มจัดหรือการรับประทานเกลือมากๆ นั่นเอง จึงเป็นเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ชาย

7. ขาดการออกกำลังกาย เวลาที่ออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสารที่ช่วยลดความเครียดหรือฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา ทำให้ร่างกายลดการสร้างสารแห่งความทุกข์ คือโดฟามีน ( Dopamine ) คอร์ติซอล ( Cortisol ) ได้ แต่ถ้าร่างกายขาดการออกกำลังกายแล้วร่างกายก็จะมีการสร้างสารแห่งความทุกข์ได้มากขึ้น จึงทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงตามมา

8. ความผิดปกติของเอนไซต์เรนิน ( Renin ) เอนไซต์เรนินทำหน้าที่เปลี่ยนทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย โดยเอนไซต์เรนินจะเข้าไปช่วยควบคุมการหดตัวของหลอดเลือดให้ทำงานอย่างปกติ แต่ถ้าเอนไซต์เรนินผิดปกติจะทำให้การบีบตัวของหลอดเลือดผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุที่ของโรคความดันโลหิตสูง

การที่จะรู้ว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ เราต้องทำการวัดความดันเป็นประจำเพื่อที่เราจะได้รู้ว่าความดันของเราอยู่ในสภาวะปกติหรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

ซึ่งการวัดความดันต้องวัดด้วยวิธีการที่ถูกต้องด้วย จึงจะบ่งบอกได้อย่างแม่นยำว่าเรามีอาการของโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

สัญญาณชีพ คือ สัญญาณที่แสดงออกถึงการมีชีวิตอยู่หรือบ่งบอกถึงความผิดปกติภายในร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วย

1. ชีพจร ( Pulse ) ซึ่งชีพจรปกติจะอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที

2. อัตราการหายใจ ( Respiratory ) อัตราการหายใจปกติจะอยู่ที่ 12-18 ครั้งต่อนาที

3. อุณหภูมิของร่างกาย ( Body Temperature ) อุณหภูมิร่างกายปกติจะอยู่ที่ 36.8 ±0.7 °C หรือ 98.2° ±1.3 °F

4.ความดันโลหิต ( Blood Pressure ) ความดันโลหิต คือ ความดันหรือแรงดันที่เกิดขึ้นภายในหลอดเลือดแดงที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ผลค่าความดันโลหิตจะรายงานเป็นตัวเลข 2 ตัว คือ

1. ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค ( Systolic Blood Pressure ) คือ ค่าความดันที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดขณะที่หัวใจทำการบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจส่งไปสู่อวัยวะ การรายงานผลตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขตัวบนหรือตัวเลขที่อยู่ด้านหน้า

2. ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ( Diastolic Blood Pressure ) คือ ค่าความดันที่หลงเหลืออยู่ในหลอดเลือดหลังจากที่หัวใจบีบตัวหรือค่าความดันที่วัดในขณะที่หัวใจไม่ได้บีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดนั่นเอง ค่านี้จะมีค่าน้อยกว่าความดันโลหิตซีสโตลิคเสมอ การรายงานผลค่าความดันโลหิตนี้จะอยู่ด้านล่างหรือด้านหลัง

ค่าความดันปกติ คือ ค่าความดันโลหิตซีสโตลิคจะมีค่าประมาณ 120-139 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคมีค่าประมาณ 80-89 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความดันอยู่ระหว่าง 120/80 – 139/89 ถือว่าความดันอยู่ในสภาวะปกติไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ความดันโลหิต คือ ความดันหรือแรงดันที่เกิดขึ้นภายในหลอดเลือดแดงที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย

แต่ถ้าค่าความดันมีค่าน้อยหรือมากกว่าค่ามาตรฐานนั้นจะทำให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนี้

1. โรคความดันโลหิตต่ำ ( Low Blood Pressure/Hypotension ) การที่ร่างกายมีความดันต่ำกว่าค่ามาตรฐาน คือ ค่าความดันโลหิตซีสโตลิคต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอทและค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท นั่นคือมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอทนั่นเอง

2. โรคความดันโลหิตสูง ( High Blood Pressure/Hypertension ) การที่ร่างกายมีความดันสูงว่าค่ามาตราฐาน คือ ค่าความดันโลหิตซีสโตลิคสูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอทและค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคสูงว่า 90 มิลลิเมตรปรอท นั่นคือมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทนั่นเอง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบได้มากกว่าโรคความดันโลหิตต่ำ และโรคความดันโลหิตสูงนั้นก็มีอัตรายถึงชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

โรคความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. โรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิหรือแบบไม่รู้สาเหตุ ( Primary Hypertension หรือ Essential Hypertension ) คือ โรคความดันที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน สาเหตุของโรคอาจเกิดจากการรับประทานอาหารเค็มจัด จากกรรมพันธุ์ โรคอ้วน อายุที่ทำให้เกิดภาวะของโรคขึ้น โรคความดันโลหิตชนิดนี้พบมากถึง 95% ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด

2. โรคความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิหรือแบบทราบสาเหตุ ( Secondary Hypertension ) คือ โรคความดันโลหิตสูงที่รู้สาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง การเกิดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต โรคไตเรื้อรัง การที่เส้นเลือดแดงใหญ่เกิดตีบตัน โรคความดันโลหิตแบบทราบสาเหตุนี้จะพบน้อยมากหรือพบเพียง 5% ของจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมาก ผู้ที่เสียชีวิตส่วนมากจะเป็นคนที่มีอายุน้อยที่อยู่ในวัยทำงาน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าอาการของโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะแรกๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจึงไม่ดูแลและทำการรักษาควบคุมระดับความดันให้เหมาะสม ซึ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลและควบคุมแล้วผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคหัวใจ เป็นต้น หรืออาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้

ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตาม คือ

  1. ความดันโลหิตสูงระยะแรกเริ่ม คือ ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตซีสโตลิคอยู่ที่ 140-159 มิลลิเมตรปรอทและ ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคอยู่ที่ 90 – 99 มิลลิเมตรปรอท โดยในระยะนี้โรคจะยังไม่แสดงอาการของโรคความดันโลหิต

2. ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง คือ ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตซีสโตลิคอยู่ที่ 160-179 มิลลิเมตรปรอทและ ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคอยู่ที่ 100-109 มิลลิเมตรปรอท

3. ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง คือ ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตซีสโตลิคสูงกว่า 180 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปและ ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคสูงกว่า 110 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

ขั้นตอนการตรวจวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง

1. พักก่อนวัดความดัน ก่อนที่จะทำการวัดความดัน เราต้องนั่งหรือนอนพักอย่างน้อย 5-10 นาทีเพื่อให้ความดันของเรากลับสู่สภาปกติ เพราะถ้าทำการวัดตอนที่เหนื่อยความดันจะมีค่าสูงกว่าปกติ

2. ท่าสำหรับการวัด การวัดความดันสามารถวัดได้ทั้งท่านั่งและนอน โดยการวัดในท่านั่ง ให้นั่งบนเก้าอี้ วางแขนข้างที่ต้องการวัดจะเป็นแขนขวาหรือซ้ายก็ได้บนโต๊ะ พร้อมทั้งหงายมือขึ้น ปล่อยแขนตามสบายไม่เกร็ง ท่านอนให้นอนหงาย วางมือหงายขึ้นตามสบาย

3. การวางเครื่องวัดความดัน ควรวางเครื่องวัดความดันให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจของผู้ที่ต้องการวัดความดัน

4. พันผ้ารอบแขนข้างที่ต้องการวัด การพันผ้าควรพันให้อยู่เหนือข้อศอกประมาณ 2 นิ้วและต้องพันผ้าให้หมดไม่เหลือชายปล่อยทิ้งไว้

5. หาจุดชีพจรที่ข้อมือ เมื่อหาจุดชีพจรเจอแล้วให้ใช้หูฟังวางตรงจุดนั้นเพื่อฟังเสียงชีพจร

6. บีบลูกยางเพื่อเพิ่มความดันในผ้าพันแขน บีบไปเรื่อยๆ จนกระทั้งไม่ได้ยินเสียงของชีพจรหรือตัวเลขความดันบอกที่ 160 แล้วให้ค่อยๆ คลายเกลียวลูกยางจนความดันในผ้าเท่ากับความดันในเส้นเลือด เส้นเลือดจะเกิดการขยายตัวออกให้เลือดไหลผ่าน ในขณะที่มีการคลายตัวเสียงของชีพจรจะดังตุ๊บๆ จนที่จุดๆ หนึ่งเสียงชีพจรจะเปลี่ยนและหายไป รอจนตัวเลขบนหน้าจอเครื่องวัดความดันนิ่ง

7. เสียงดังที่ได้ยินในครั้งแรก คือ ค่าความดันซีสโตลิค และที่จุดที่เสียงหายไปคือ ค่าความดันไดแอสโตลิค การวัดความดันเพื่อความแม่นยำของค่าความดันที่ได้ ควรวัดซ้ำกัน 2 ครั้ง

โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่คืบคลานเข้ามาในชีวิตของเราอย่างช้าๆ ด้วยการที่โรคจะแสดงอาการของโรคความดันโลหิตก็ต่อเมื่ออยู่ในสภาวะที่ร้ายแรงแล้ว ดังนั้นทางที่ดีเราจึงควรดูแลเอาใจใส่ตัวเองด้วยการตรวจสุขภาพ ตรวจวัดความดันเป็นประจำเพื่อป้องกันการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Ogedegbe, Gbenga; Pickering, Thomas (2010-11-01). “Principles and techniques of blood pressure measurement”. Cardiology Clinics. 28 (4): 571–586.

O’brien, Eoin (2001-01-01). “Blood pressure measurement is changing!”. Heart. 85 (1): 3–5. heart.85.1.3. ISSN 1468-201X. PMC 1729570 Freely accessible. PMID 11119446.

Oxidation ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิต

0
ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) คืออะไร?
ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นทำให้ผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง

ออกซิเดชั่น

ออกซิเดชั่น (Oxidation) คือ ปฏิกิริยาที่อะตอมหรือโมเลกุลสูญเสียหรือให้อิเล็กตรอนกับโมเลกุลหรืออะตอมอื่น เพื่อสร้างความเสถียรให้กับโมเลกุล ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะเกิดควบคู่กับปฏิกิริยารีดักชั่น (Reduction) เสมอ ตัวที่ให้อิเล็กตรอนเรียกว่า ตัวรีดิวซ์ (Reducing Agent) และตัวที่รับอิเล็กตรอนเรียกว่า ตัวออกซิไดซ์ (Oxidizing Agent) ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติหรือถูกสร้างด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์

ร่างกายของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตจะมีการปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดขึ้นในร่างกายเราเรียกว่า กระบวนการเมตาบอลิซึม ( Metabolism )

ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดขึ้นในร่างกายมีหลายแบบคือ

  1. ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดขึ้นในร่างกายมีหลายแบบคือเพื่อเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน เช่น การเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน เป็นต้น

2. เปลี่ยนอาหารเป็นหน่วยที่ย่อยเพื่อเก็บ เช่น การเปลี่ยนไขมันเป็นลิปิดเพื่อส่งเข้าไปสะสมภายในเซลล์ หรือเป็นแหล่งพลังงานให้กับเซลล์

3. ขจัดของเสียบางชนิดออกจากร่างกาย เช่น การขจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายของเมล็ดเลือดขาว เป็นต้น

ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ( Oxidation ) คือ ปฏิกิริยาที่อะตอมหรือโมเลกุลเกิดการสูญเสียหรือให้อิเล็กตรอนกับโมเลกุลหรืออะตอมอื่นเพื่อสร้างความเสถียรให้กับโมเลกุล โดยปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะเกิดควบคู่กับปฏิกิริยารีดักชั่น ( Reduction  ) เสมอ

ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นนั้นมีทั้งสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สิ่งที่มีประโยชน์ คือ พลังงาน น้ำ โปรตีน กรดนิวคลีอิก เอนไซต์ ออกซิเจน และอนุมูลอิสระที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งสารอนุมูลอิสระนั้น คือ โมเลกุลหรืออะตอมที่ไม่เสถียรเนื่องจากมีอิเล็กตรอนอยู่รอบนอกและพร้อมที่จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นต่อไป อนุมูลอิสระนี้เป็นผลผลิตที่ร่างกายไม่ต้องการปกติแล้วร่างกายจะทำการกำจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกายได้ โดยระบบควบคุมปริมาณของอนุมูลอิสระให้อยู่ในสภาวะสมดุล ( Antioxidant defense system ) โดยการใช้สารต้านอนุมูลอิสระ ( Anti Oxidant ) ที่มีอยู่ในร่างกาย เช่น เอนไซต์ กลูตาไธโอน (Glutathione Peroxidase) ยูเรต เป็นต้น มาทำปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระให้กลายเป็นโมเลกุลที่มีความเสถียรไม่สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้อีก แต่ถ้าสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายไม่สามารถควบคุมปริมาณของอนุมูลอิสระให้อยู่ในสภาวะสมดุลจะทำให้เกิดสภาวะ Oxidative Stress คือสภาวะที่มีอนุมูลอิสระอยู่ในร่างกายมากเกินไปนั่นเอง ซึ่งสภาวะนี้อนุมูลอิสระจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่สร้างผลเสียต่อร่างกาย

ปฏิกิริยาOxidation สร้างผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

ปฏิกิริยาOxidation สร้างผลเสียต่อร่างกายอย่างไร - Oxidation ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิต1. ทำลายเซลล์ ผนังของเซลล์จะประกอบด้วยไขมัน เมื่อปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจากอนุมูลอิสระจะทำให้ผนังเซลล์ถูกทำลาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์สูญเสียน้ำและอาหารหรือทำลายไมโตรคอนเดียวซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ส่งผลให้เซลล์เสื่อมสภาพ อ่อนแอหรือตาย เป็นเหตุให้ผิวหนังเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอยและภูมิต้านทานลดลงทำให้ป่วยได้ง่าย

2. ก่อมะเร็ง โดยปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะมีผลต่อการเกิดมะเร็งในร่างกายหลายรูปแบบ

2.1 ทำลายดีเอ็นเอ ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากอนุมูลอิสระเข้าไปทำลายองค์ประกอบของทำให้เกิดความเสียหายเกิดความผิดปกติ โดยเข้าไปกระตุ้นการทำงานของยีนส์ก่อมะเร็งให้ทำงานได้มากขึ้นและยับยั้งการทำงานของยีนส์ควบคุมมะเร็ง ทำให้เซลล์มีโอกาสกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้

2.2 หยุดการตายของเซลล์ ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะเข้าไปทำลายโปรตีนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการตายของเซลล์ให้ไม่สามารถทำงานได้และเข้าไปกระตุ้นการสร้างเซลล์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้เซลล์มีจำนวนเพิ่มขึ้นเกินความต้องการของร่างกายและกลายเป็นเซลล์มะเร็ง

2.3 ทำลายเซลล์ ทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบจากการเกิดปฏิกริยาออกซิเดชั่น เมื่อเกิดการอักเสบแบบเรื้อรังจะทำให้เกิดกลายการพันธุ์ของเซลล์บริเวณนั้น ทำให้เซลล์มีการเจริญเติบโตแบบไม่หยุดยั้งกลายเป็นมะเร็ง

3. ทำให้เกิดโรคไขมันอุตตันในเส้นเลือดและโรคหัวใจ โดยการที่อนุมูลอิสระเข้าไปทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ ( Low Density Lipoprotein ) เรียกว่าปฏิกิริยาลิปิดเปร์ออกซิเดชั่น ( Lipid Peroxidation ) ซึ่งไขมันที่ถูกออกซิเดชั่นร่างกายจะไม่สามารดูดซึม ไขมันจึงเกิดการสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจอุตตัน โรคหัวใจ

4. โรคความจำเสื่อม อนุมูลอิสระจะเข้าไปทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นยับยั้งการสร้างเอนไซต์ Manganese Superoxide Dismutase ( MnSOD ) ที่ช่วยในการทำงานของเซลล์ประสาทให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซต์จะทำให้เซลลล์ประสาทของสมองทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานซึ่งทำให้เกิดโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์

5. แก่ก่อนวัย การเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจากอนุมูลอิสระมากเกินไป จะทำให้เซลล์มมีอายุที่สั้นลงและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ทำให้ร่างกายต้องทำการสร้างเซลล์ขึ้นมาทำแทนเซลล์ที่ตายไป แต่ถ้าร่างกายไม่สามารถสร้างเซลล์มาทดแทนเซลล์ที่ตายไปจะทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพดูโทรมหรือการแก่ก่อนวัย

จะเห็นว่าปฏิกิริยาออกซิเดชั่นนั้นถ้าเกิดขึ้นในปริมาณที่เหมาะสมจะเกิดผลดีต่อร่างกาย แต่ถ้าร่างกายได้รับหรือสร้างอนุมูลอิสระมากเกินไปจะทำให้มีการปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่สร้างผลเสียให้กับร่างกาย เราจึงควรระวังอย่าให้เกิดการสะสมหรือรับอนุมูลอิสระเข้าสู่ร่างกาย ด้วยการเลือกรับประทานผักและผลไม้มากกว่าเนื้อสัตว์ ดื่มน้ำสะอาดมากๆ และควรหมั่นออกกำลังกายเพื่อเป็นการลดอนุมูลอิสระในร่างกาย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

W. M. Latimer. The Oxidation States of the Elements and their Potentials in Aqueous Solution, p. vii, Prentice-Hall, New York, NY (1938)

Jensen, William B. (2007). The Origin of the Oxidation-State Concept. Journal of Chemical Education 84 (9): 1418.

C. K. Jørgensen. Oxidation Numbers and Oxidation States, Springer, Berlin (1969).

การจัดรายกรณีกับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

0
การจัดรายกรณีกับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การจัดการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายกรณี
ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา พบบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ใหญ่

การจัดการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายกรณี

การจัดการรายกรณีสำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

1. กระบวนการดูแล

  • การประเมินความเสี่ยง:
    จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงให้ประชาชนหรือผู้รับบริการในโรงพยาบาล เพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคเบาหวานในอนาคต พร้อมวางแผนป้องกันและจัดการตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
  • การคัดกรองทันที:
    ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเข้าสู่กระบวนการคัดกรองเบื้องต้นทันที โดยใช้การตรวจ Fasting Plasma Glucose (FPG) หรือ Fasting Capillary Blood Glucose หากไม่สามารถตรวจ FPG ได้
  • การวินิจฉัยโรคเบาหวาน:
    หากค่า FPG หรือ Fasting Capillary Blood Glucose ≥ 126 มก./ดล. จะได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน พร้อมลงทะเบียนผู้ป่วยและส่งเข้ารับการรักษาโดยเร็ว
  • การติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง:
    ผู้ที่มีค่า FPG 100-125 มก./ดล. วินิจฉัยว่าเป็น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงก่อนเป็นเบาหวาน (IFG) ต้องได้รับคำแนะนำด้านการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และติดตาม FPG ทุก 1-3 ปีตามระดับความเสี่ยง
  • การค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน:
    ส่งเสริมการค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงพยาบาลและชุมชนผ่านเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อลดอัตราความชุก (Prevalence) และอัตราการเกิดโรคเบาหวาน (Incidence) อย่างมีประสิทธิภาพ

2. การให้ความรู้และกระตุ้นผู้ป่วยและครอบครัวในการป้องกันและเกิดโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง

1.การจัดการรายบุคคล
1.1 ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ผู้ป่วยในเรื่อง Life style modification ด้านการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการงดสูบบุหรี่ ( ปฏิบัติได้ทั้งรายบุคคล/รายกลุ่ม ) โดยจะทำทุก 3 เดือน
1.2 ได้รับการตรวจประเมิน BMI รอบเอว ความดันโลหิต (ใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน) ทุก 1 เดือน
1.3 ทำการตรวจเลือดประเมินระดับ FPG, Total Cholesterol, Triglyceride, HDL ทุก 6 เดือน
1.4 จะต้องมีสมุดบันทึกสุขภาพ ( Record book ) ประจำตัวผู้ป่วย เพื่อบันทึกน้ำหนักตัว BMI รอบเอว ระดับความดันโลหิต ผลการตรวจเลือดและบันทึกพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย เพื่อติดตามและประเมินผลต่อไป

2. การจัดการกับชุมชน
2.1 กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ ทำการรณรงค์เรื่องการลดพฤติกรรมเสี่ยงอย่างต่อเนื่องในชุมชนทุก 6 เดือน ไม่สามารถควบคุมภาวะ Metabolic syndrome ได้ ภายใน 6 เดือน

: ระดับความดันโลหิต > 130/85 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
: BMI สูงเกินเกณฑ์และมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด
: ระดับTriglyceride, HDL สูงเกินมาตรฐานมาตลอดและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ 1. จัดโปรแกรมเพื่อให้ความรู้กับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล

 

3. ประสานรพ.ชุมชน/รพ.จังหวัดเพื่อส่งผู้ป่วยไปรับความรู้และคำปรึกษาเรื่อง Life style modification

ทุก 3 เดือน รวมทั้งตรวจประเมินระดับ FPG, Total Cholesterol, Triglyceride, HD ทุก 6 เดือน

4. นัดผู้ป่วยพบแพทย์อายุรกรรมในโรงพยาบาล

อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยง Impaired Fasting Glucose ( IFG )ลดลง

5. เตรียมผู้นำทางสุขภาพในชุมชน

เพิ่มบทบาทของ อสม.โดยจัดอบรมผู้นำทางสุขภาพในชุมชนทุก 1 ปี เพื่อให้ผู้นำสุขภาพได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการให้ความรู้คนในชุมชนต่อไป 2. ไม่ได้รับการตรวจเลือดประเมินระดับ FPG, Total Cholesterol, Triglyceride, HDL หากผลการตรวจเลือดวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน
การดูแลรักษา

3. การดูแลต่อเนื่อง

1. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะต้องทำการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตของตนเองก่อน หากไม่ดีขึ้นจึงพิจารณาให้ยาต่อไป หรืออาจให้ยาพร้อมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลยก็ได้
2. สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การเริ่มยากิน ควรเริ่มขนานเดียว โดยจะเริ่มด้วยซัลโฟนีลยูเรียสำหรับผ็ป่วยที่ขาดอินซูลิน และเริ่มด้วยยาเม็ทฟอร์มินสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการดื้ออินซูลิน
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และเข้าใจมากขึ้น โดยจะต้องเน้นย้ำเรื่องการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยทุกรายในทุกขั้นตอนของการรักษา

4. ต้องติดตามการรักษาและปรับขนาดยาทุก 1-4 สัปดาห์จนได้ระดับน้ำตาลในเลือดตามเป้าหมาย ในระยะยาว เป้าหมายการักษาใช้ระดับ HbA1c เป็นหลักโดยติดตามทุก 2-6 เดือนหรือโดยเฉลี่ยทุก 3 เดือน

4. ผู้ป่วยควบคุมเบาหวานได้โดยพิจารณาจาก

ผู้ป่วยควบคุมเบาหวานได้โดยพิจารณาจาก

– HbA1c < 7%
– BP < 130/80 mmHg
– TC < 170 mg/dl.
LDL < 100 mg/dl.
– TG < 150 mg/dl.
– HDL ≥ 40 mg/dl. (ช)
≥ 50 mg/dl. (ญ)

 

ผู้ป่วยได้รับการตรวจจอประสาทตาการทำงานของไตและตรวจเท้าปีละ 1 ครั้ง

การให้ความรู้และเสริมพลังผู้ป่วยและครอบครัว

1. ให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ป่วย โดยอาจให้เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ โดยให้ตรงกับปัญหาในแต่ละ Visit ทุก 2-3 เดือนดังนี้

1.1 ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน

1.2 ยารักษาเบาหวาน

1.3 บำบัดและการออกกำลังกาย

1.4 การดูแลเปิดเองในภาวะปกติและไม่สบาย

1.5 การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและแปลผล

1.6 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงผิดปกติและวิธีป้องกันแก้ไข

1.7 การสังเกตอาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด

1.8 การดูแลรักษาเท้า 

2. ได้รับคำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต ( Life style modification )โดยจะเน้นในด้านของการรับประทานอาหาร การทำกิจกรรมต่างๆ ทางกายที่เหมาะสมและพฤติกรรมอื่นๆ เช่น งดสูบบุหรี่ โดยตั้งเป้าหมายระดับ การควบคุมให้เหมาะสมกับอายุและภาวะของผู้ป่วย

3.กระตุ้นและให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตได้สำเร็จ โดยจะใช้กิจกรรมการกระตุ้นดังนี้ เช่น จัดกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ค่ายเบาหวาน ชมรมผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น หลังจากได้รับความรู้และคำแนะนำแล้ว ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้

ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง

ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง - การจัดรายกรณีกับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจัดโปรแกรมให้ความรู้รายบุคคลอย่างครอบคลุมและต่อเนื่องทุก 3 เดือน

การประสานการดูแลต่อเนื่อง
1. ทำการติดตามประเมินผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายภายใน 3-6 เดือน
2. ทำการติดตามประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง ที่บ้านว่ามีการปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างสม่ำเสมอและถูกต้องหรือไม่ รวมถึงมีอุปสรรคในการรักษาอย่างไรบ้าง จะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุด ขาดการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยควบคุมเบาหวานไม่ได้ และเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรังจากเบาหวานสูงขึ้น 1. จัดระบบพยาบาลเจ้าของไข้ โดยควรให้พยาบาลคนเดิมเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยไปตลอด จะได้ช่วยให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างสำเร็จมากขึ้น
2. ทำแบบบันทึกการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในแต่ละ visit และบันทึกสรุปประจำปีเพื่อใช้ในการประเมินผลการดูแลรักษาผู้ป่วย

การเข้าถึงบริการสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ ทำการค้นหาผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่มีการค้นหาผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยเมื่อได้รับการปรับแผนการรักษาอย่างเหมาะสม จัดระบบการค้นหาผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อจัดส่งต่อผู้ป่วย ให้รับการรักษาที่เหมาะสมจากอายุรแพทย์ด้านโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ อายุรกรรมด้านโรคเบาหวาน 

การประเมินและการเข้าสู่การยืนยันการวิจัยโรค ทำการประเมินผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ โดยพิจารณาจาก

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก : HbA1c > 9% หรือ PFG 250 มก.ดล.
  • ได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำตาลในเลือด 2 ชนิดในขนาดสูงสุด แล้วแต่ระดับของน้ำตาลในเลือดก็ยังสูงเหมือนเดิม ไม่มีเกณฑ์ประเมินภาวะการควบคุมเบาหวานไม่ได้ จัดทำเกณฑ์ประเมินผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ พร้อมกับให้พยาบาล 1คนทำหน้าที่ เพื่อจัดการส่งต่อผู้ป่วยให้พบแพทย์อายุรกรรมและทำการการประเมินอย่างละเอียดพร้อมวินิจฉัยภาวะควบคุมเบาหวานไม่ได้ ภายใน 1 สัปดาห์

การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้

การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้1.รักษาโดยยากิน 2 ขนาน เริ่มด้วยซัลโฟนีลยูเรียและ เม็ทฟอร์มิน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยบางรายด้วย เพราะบางรายอาจต้องใช้ยาหลายขนานร่วมกัน เช่น ใช้ยา 3 ขนาดร่วมกันหรือยากิน 2 ขนาดร่วมกับการฉีดอินซูลิน

2. ประเมินการรักษาโดยการซักถามอาการทั่วไป และเน้นการสอบถามอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน การใช้ยา ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

3. ผู้ป่วยจะต้องได้รับความรู้ในการดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง และการรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับการออกฤทธิ์ของยาลดน้ำตาล

4. ประเมินปัจจัยเสี่ยงและตรวจหาภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง ดังนี้
4.1 ตรวจทุก 3-6 เดือน : HbA1c ไขมันในเลือด การทำงานของไต
4.2 ตรวจทุก 1ปี : ตรวจเท้า จอประสาทและ microalbuminuria

5. ทำการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานทันทีที่พบร่องรอยของอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

6. ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดอินซูลิน ควรมีการตรวจระดับน้ำตาลที่บ้านด้วย

ทำการประเมินผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ โดยพิจารณาจาก

1. ไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ภายใน 2-3 เดือนภายหลังได้รับการรักษา:HbA1c>11% FPG>350 มก.ดล.

2. ไม่มีการส่งตรวจระดับ HbA1c ไขมันในเลือด การทำงานของไต การตรวจเท้า ตรวจจอประสาท และ microalbuminuria 

3. ไม่ได้ทำการส่งตัวผู้ป่วยไปพบกับแพทย์เฉพาะทางในทันที

4. เริ่มมีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง

กระบวนการดูแลการให้ความรู้และเสริมพลังผู้ป่วยและครอบครัว ให้ความรู้และเสริมพลังผู้ให้กับป่วยและครอบครัว แบบรายบุคคล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธีและเหมาะสม รวมถึงครอบครัวก็สามารถช่วยดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องด้วย 
1. ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลินด้วยตนเอง จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะในการฉีดยา ให้ผู้ป่วยได้ลองฝึกทำ บอกถึงการออกฤทธิ์ของอินซูลินว่าเป็นอย่างไร รวมถึงวิธีการเก็บรักษา และความสัมพันธ์ระหว่างอินซูลิน อาหารและการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยและครอบครัวควรรู้ด้วย
2. ให้คำปรึกษาในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทานอาหารหรือกิจกรรมทางกาย เพื่อให้ผู้ป่วยทำควบคู่ไปกับการทานยาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานโดยจะให้ความรู้กับผู้ป่วย เพื่อน ครอบครัวและครู กรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก เพื่อจะได้มีความเข้าใจและช่วยกันดูแลผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงบอกวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และจุดสังเกตที่จะต้องคอยสังเกตเสมอ เมื่อมีความผิดปกติ จะได้ไปพบแพทย์ได้ทันนั่นเอง
4. ฝึกให้ผู้ป่วยสามารถเจาะเลือดและประเมินผลการควบคุมเบาหวานได้ด้วยตัวเอง ( SMBG ) โดยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จะต้องมีการตรวจน้ำตาลในเลือดวันละ 3-4 ครั้ง และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีด Basal Insulin ก่อนนอน จะต้องตรวจน้ำตาลตอนเช้าขณะอดอาหารอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ถ้าฉีด RI ก่อนอาหารทุกมื้อร่วมกับการให้ Basal Insulin หรือ Pre-Mixed Insulin วันละ 1-2 ครั้ง และต้องทำการตรวจน้ำตาลในเลือดเช่นเดียวกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
5. ให้คำแนะนำกับผู้ป่วยและคนในครอบครัว เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงเน้นในเรื่องความปลอดภัยของการออกกำลังกายเป็นหลัก นอกจากนี้จะต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำการตรวจตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกําลังกายเสมอ ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยไม่มีภาวะ Ketosis และรู้สึกสบายดี สามารถออกกำลังหนักปานกลางได้ และควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในขณะที่มีภาวะ Ketosis ถ้าระดับน้ำตาลก่อนออกกำลังกาย < 100 มก./ดล. ควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตเพิ่มเติมก่อนออกกําลังกาย ผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน แต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ หรือทำแล้วแต่ไม่ได้ผล ทำให้ผู้ป่วยการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือมาพบแพทย์ก่อนนัดหมาย และตรวจพบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงมากเกินไป   

6.จัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญโดยตรง เป็นผู้ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะด้านของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และคำแนะนำในการดูแลตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยต้องฉีดอินซูลินด้วยตนเองที่บ้าน

7. จัดหาสื่อการสอนและอุปกรณ์ต่างๆที่จะช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้ง่ายขึ้น

8. ระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน โทรศัพท์เยี่ยมบ้าน ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับบันทึกข้อมูลผู้ป่วยภายหลังให้คำแนะนำ
9. ต้องมีการติดตามผู้ป่วยอยู่เสมอ เพื่อดูผลหลังจากได้ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยไปแล้ว พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยในด้าน

  • การรับประทานอาหาร
  • การออกกำลังกาย
  • การใช้ยา
  • การฉีดอินซูลินด้วยตนเอง
  • การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง
  • การป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและแก้ไขเมื่อมีอาการ

ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ จะต้องได้รับการติดตามและประมวลผลการรักษาอยู่เสมอ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคด้วย โดยในระยะแรกอาจจะต้องนัดผู้ป่วยทุก 1-4 สัปดาห์ เพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือด และปรับขนาดของยาให้มีความเหมาะสม จนกว่าจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายภายใน 3-6 เดือน ระยะต่อไปก็จะนัดห่างขึ้น โดยจะติดตามทุก 1-3 เดือนเพื่อประเมินการควบคุมว่ายังคงได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
และให้คำแนะนำผู้ป่วยในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้านทั้งก่อนและหลัง เพื่อทำการประเมินการควบคุมเบาหวานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพที่สุด ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามและประเมินความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้าน โดยจะดูว่าผู้ป่วยมีการปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอและมีความถูกต้องหรือไม่ รวมถึงมีอุปสรรคใดที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดได้หรือเปล่า โดยทั้งนี้ทางทีมแพทย์อาจมีการโทรศัพท์ไปเยี่ยม หรือเดินทางไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านโดยตรง ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง เป็นผลให้ไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายจากเบาหวานอีกด้วย 

สรุปการจัดการรายกรณี

จากผลส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงประมาณ 7 ปี มักจะไม่สามารถควบคุมระดับของน้ำตาลและความดันให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้ ทั้งยังมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย ซึ่งได้แก่ EKG, CXR, V/A Fundus Camera และ ABI และอาจมีอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากอัตรกริยาต่อกันของยา Simvastatin กับ Gemfibrozil ซึ่งการจัดการที่ผู้ป่วยได้รับคือ การรักษาภาวะแทรกซ้อนอย่างเร่งด่วนทันทีที่ตรวจพบ การควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด ปรับพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารให้เหมาะสมที่สุด พร้อมกับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมการออกกำลังกาย การค้นหาร่องรอยการทำลายของหลอดเลือด และการหาแนวทางเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วย DM & HT ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการจัดการโดยพยาบาลผู้จัดการรายกรณีทั้งหมด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

กรดอะซิติกคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร?

0
กรดอะซิติกคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร?
กรดอะซิติก หรือ กรดน้ำส้ม คือ กรดอินทรีย์หรือสารประกอบเคมีอินทรีย์ที่พบได้ในธรรมชาติมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน มีกลิ่นฉุน มีรสเปรี้ยว ระเหยง่าย ละลายได้ในน้ำ
กรดอะซิติกคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร?
กรดอะซิติก หรือ กรดน้ำส้ม คือ กรดอินทรีย์หรือสารประกอบเคมีอินทรีย์ที่พบได้ในธรรมชาติมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน มีกลิ่นฉุน มีรสเปรี้ยว ระเหยง่าย ละลายได้ในน้ำ

กรดอะซิติก คืออะไร?

กรดอะซิติก ( Acetic Acid ) หรือ กรดน้ำส้ม คือ กรดอินทรีย์หรือสารประกอบเคมีอินทรีย์ที่พบได้ในธรรมชาติมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน มีลักษณใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนที่เป็นเอกลักษณ์ มีรสเปรี้ยว ระเหยง่าย ละลายได้ในน้ำ แอลกอฮอล์ กลีเซอรีน มีความเสถียร มีสูตรทางเคมี CH3COOH มีคุณสมบัติทางเคมีดังนี้ น้ำหนัก โมเลกุลเท่ากับ 60.05 กรัมต่อโมล ความหนาแน่น 1.05 กรัมต่อลูกบาศก์เซ็นติเมตร จุดเดือด 118.1 องศาเซลเซียล และจุดแข็งตัว 16.67 องศาเซลเซียส เมื่อแข็งตัวมีลักษณะเป็นผลึกใส ผลึกของกรดอะซิติกนั้นจะมีความบริสุทธิ์สูงมากเรียกว่า หัวน้ำส้มหรือกรดกลาเซียอะซิติก ( Glacial Acid ) ที่ได้จากการสะกัดทางเคมี หัวกรดน้ำส้มนั้นสามารถนำไปเจือจางเพื่อทำน้ำส้มสายชูเทียม

อะซิติกรู้จักกันดีในการนำมาผลิตน้ำส้มสายชูที่ใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยวและช่วยในการถนอมอาหารและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ถ้าใช้ในปริมาณที่ทางกระทรวงสาธารณสุขควบคุมไว้ และมีราคาถูกเมื่อเทียบกับสารให้ความเปรี้ยวจากธรรมชาติอย่างอื่น เช่น มะนาว มะขาม เป็นต้น นอกจากการนำมาปรุงอาหารแล้วกรดอะซิติกยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ ดังนี้

1.ด้านอาหาร กรดอะซิติกไม่ได้มีไว้เพื่อปรุงรสอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยในการถนอมอาหารป้องกันการเน่าเสียจากจุลินทรีย์บางชนิดได้ด้วย โดยใช้ในรูปของน้ำส้มสายชูแท้ที่มีกรดอะซิติกเข้มข้น 5-10 % หรือสารละลายกรดอะซิติกเข้มข้น 25-80 % ใส่ในอาหารเพื่อเข้าไปปรับสภาวะความเป็นกรด-ด่างของอาหารให้ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้อาหารเก็บไว้ได้นาน เช่น น้ำสลัด ผักดอง ผลไม้บางชนิด เป็นต้น และเกลือของกรดอะซิติก เช่น โซเดียมอะซิเตต แคลเซียลอะซิเตต นำมาใส่ในขนมปังหรือขนมปังอบเพื่อป้องกันขนมเสียจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในขนมปัง

2.ด้านการแพทย์ ได้นำกรดอะซิติกมาเป็นตัวทำละลายเพื่อเตรียมสารหรือผสมกับสารอื่นในการผลิตยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพลิน เป็นต้น และมีการนำมาผลิตยาหยอดหูสำหรับรักษาโรคหูอักเสบ โดยที่กรดอะซิติกที่ผสมอยู่ในยารักษาหูจะเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโตของของเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคหูอักเสบ

3.ด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมจะใช้กรดอะซิติกที่สังเคราะห์ได้จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นกรดอะซิติกซึ่งมีความบริสุทธิ์ต่ำ มีการเจือป่นของโลหะหนัก กรดอะซิตกิกแบบนี้จะมีราคาถูกจึงนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตพลาสติก การผลิตสีย้อมผ้า การผลิตเส้นใยโพลิเมอร์ ผลิตกาว อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์และใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง เป็นต้น

4.ด้านการเกษตร ได้มีการนำกรดอะซิติกมาผสมในยาฆ่าแมลง ยากำจัดเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์ในผักผลไม้หรือนำมาผสมในน้ำหมักชีวภาพ เพื่อช่วยในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราที่สร้างความเสียหายให้กับผักผลไม้

อะซิติกรู้จักกันดีในการนำมาผลิตน้ำส้มสายชูที่ใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยวและช่วยในการถนอมอาหารและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

การผลิตกรดอะซิติก

นับว่ากรดอะซิติกเป็นกรดที่มีประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพและด้านอุตสาหกรรม ซึ่งการผลิตกรดอะซิติกที่ใช้ในแต่ละด้านก็จะมีกรรมวิธีที่แตกต่างกันดังนี้

1.การหมักตามธรรมชาติ เป็นการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น แป้งมัน ข้าว ข้าวโพด น้ำผลไม้ สัปปะรด แอปเปิ้ล กากน้ำตาล น้ำตาล เป็นต้น มาทำการหมักเพื่อให้เกิดกรดอะซิติก ซึ่งการหมักจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ

1.1 การหมักน้ำตาลที่มีอยู่ในวัตถุดิบให้เปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์ ( Alcohol Fermentation ) ปฏิกิริยานี้จะต้องทำภายใต้อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสและอยู่ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน โดยใช้ยีนส์ชนิด Saccharomyces Cerevisiae ที่ใช้ในการผลิตขนมปังมาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำการหมักนาน 72 – 80 ชั่วโมง จะได้แอลกอออล์และก๊าซคาร์บอได้ออกไซต์

1.2 หมักแอลกอฮอล์เป็นกรดอะซิติก ( Acetic Fermentation ) เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากการหมักโดยการใส่แบคทีเรีย แอซีโตแบคเตอร์  ( Acetobactor Sp. ) เข้าไปเร่งปฏิริยาระหว่างแอลกอฮอล์ที่หมักได้กับออกซิเจนที่อุณหภูมิ 15-34 องศาเซลเซียส ก็จะได้กรดอะซิติกกับน้ำออกมา

2.การสังเคราะห์กรดอะซิติก กรดอะซิติกนอกจากจะเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติแล้ว ยังสามารถสกัดได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ คือ เมทานอลคาร์บอนิเลชั่น ( Methanol Carbonylation ) ได้กรดอะซิติกที่ใช้ในอุตสาหกรรม เอทิลีนออกซิเดชั่น ( Ethylene Oxidation ) และอะซิทัลดีไฮด์ออกซิเดชั่น ( Acetaldehyde Oxidation ) ได้กรดอะซิติกที่สามารถนำมารับประทานได้ การผลิตกรดอะซิติกทั้ง 3 วิธีนี้จะเป็นการผลิตกรดอะซิติกด้วยขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์โดยสารตั้งต้นเป็นแอลกอฮอล์

กรดอะซิติกที่นำมารับประทาน

กรดอะซิติกที่นำมารับประทานส่วนมากจะผสมอยู่ในน้ำส้มสายชูเป็นหลัก ซึ่งน้ำส้มสายชูที่มีอยู่ในท้องตลาดนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 4 ชนิดด้วยกัน คือ

1.น้ำส้มสายชูหมัก เป็นน้ำส้มสายชูที่ผลิตจากการหม้กตามธรรมชาติซึ่งรสชาติอาจจะมีความเปรี้ยวที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดับที่นำมาหมักเป็นน้ำส้มสายชู ที่ใสไม่มีสี มีกลิ่นฉุ่น รสชาติหวานอมเปรี้ยว อาจจะมีตะกอนปะปนอยู่บ้างเล็กน้อยแต่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเมื่อรับประทานเข้าไป ถ้าเลือกใช้วัตถุดิบที่ปริมาณน้ำตาล 8-10% จะได้น้ำส้มสายชูน้ำส้มสายชูที่กลั่นได้นั้นจะมีความเข้มข้นของกรดอะซิติกประมาณร้อยละ 4-5 หรือมากกว่าเล็กน้อยขึ้นอยู่ปริมาณน้ำตาลในวัตถุดิบที่นำมาหมัก

2.น้ำส้มสายชูกลั่น น้ำส้มสายชูชนิดนี้เป็นที่นิยมในท้องตลาดการผลิตน้ำส้มสายชูกลั่นมี 2 แบบ คือ

2.1 ผลิตจากการนำเอทิลแอลกอฮอล์ที่ทำการกลั่นแบบเจือจาง ( Dilute Distilled Alcohol ) ทำการหมักกับเชื้อแบคทีเรียจนได้น้ำส้มสายชู

2.2 การนำน้ำส้มสายชูที่หมักตามธรรมชาติมาทำการลกลั่นเพื่อให้ได้น้ำส้มสายชูที่ใส ไม่มีตะกอนและมีปริมาณกรดน้ำส้มตามต้องการ ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 4%

3.น้ำส้มสายชูเทียม เป็นการผลิตน้ำส้มสายชูโดยใช้กรดน้ำส้มหรือหัวน้ำส้มที่มีความบริสุทธิ์สูงไม่มีสิ่งเจือป่น ซึ่งหัวน้ำส้มนี้ได้จากสังเคราะห์ทางเคมี นำมาเจือจางด้วยน้ำสะอาดให้มีความเข้มข้น 4-7 % ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

4.น้ำส้มสายชูปลอม เป็นน้ำส้มสายชูที่ผลิตจากการนำกรดแก่ เช่น กรดกำมะถัน กรดซัลฟุริก ( Sulphuric acid ) เป็นต้นหรือกรดอะซิติกที่สังเคราะห์ด้วยวิธีเมทานอลคาร์บอนิเลชั่นมาเจือจางเป็นน้ำส้มสายชู ซึ่งน้ำส้มสายชูปลอมนี้ถึงจะให้รสเปรี้ยวเหมือนน้ำส้มชายชูปกติแต่จะมีฤทธิ์กัดกร่อนที่รุนแรงเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ตับและสะสมในร่างกายกลายเป็นมะเร็งได้

อันตรายจากกรดอะซิติก ถ้าได้รับในประมาณที่ไม่เหมาะสม

1.ระคายเคืองผิว ด้วยความที่เป็นกรดเมื่อสัมผัสดดนผิวหนังอาจจะทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองผิวหนัง คันหรือแสบเป็นรอยแดง แต่ถ้าสัมผัสกรดอะซิติกชนิดเข้มข้นอาจจะทำให้ผิวหนังเป็นแผลได้ ดังนั้นเมื่อสัมผัสหรือจับกรดอะซิติกที่ไม่เข้มข้นมากให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที

2.หายใจลำบาก ถ้าทำการสูดดมกรดอะซิติกเข้าไปในปริมาณที่มากจะทำให้หายใจติดขัด หายใจไม่ออก เยื่อจมูกเกิดอาหารแสบหรืออักเสบ

3.ทำลายระบบทางเดินอาหาร ถ้าร่างกายได้รับกรดอะซิติกในปริมาณที่สูงหรือความเข้มข้นสูงกว่ามาตรฐานจะทำให้ระบบทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง อักเสบและเป็นแผลได้

การเลือกซื้อน้ำส้มสายชูเพื่อใช้ในการปรุงอาหาร เราควรเลือกจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือเพื่อที่เราจะได้น้ำส้มสายชูที่มีคุณภาพไม่มีสิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และยังช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อยน่ารับประทานยิ่งขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

Ripin, D. H.; Evans, D. A. (4 November 2005). “pKa Table” (PDF). Archived from the original (PDF) on 22 July 2015. Retrieved 19 July 2015.

“NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards #0002”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).

“Acetic acid”. Immediately Dangerous to Life and Health Concentrations (IDLH). National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).

การจัดการผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รายบุคคล

0
การจัดการผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รายบุคคล
การจัดการรายบุคคล ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง แนวคิดสู่การปฏิบัติตัว
ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงควรได้รับการช่วยเหลือในทุกด้านอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง โดยวิธีการจัดการรายกรณี

การจัดการรายบุคคล ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง แนวคิดสู่การปฏิบัติตัว

ปัจจุบัน สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวล เนื่องจากทั้งสองโรคนี้ หากไม่ได้รับการควบคุมอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงมากมาย เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตา โรคไต และอื่นๆ ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย แต่ยังเพิ่มภาระด้านทรัพยากร งบประมาณ และเวชภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อีกด้วย

การลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนสามารถทำได้โดยการควบคุมระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ส่งผลให้ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงยังคงพบได้บ่อยครั้ง  

ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงควรได้รับการช่วยเหลือในทุกด้านอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง โดยวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือการจัดการรายกรณีนั่นเอง ซึ่งก็จะมีการประสานให้ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอยู่เสมอ มีการปรับเปลี่ยนการรักษาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพทางคลินิกที่ซับซ้อน และทำการป้องกันดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยห่างไกลจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ดีและยังช่วยลดการใช้งบประมาณหรือการสูญเสียทรัพยากรในการรักษาไปอย่างสูญเปล่าอีกด้วย

บทบาทของพยาบาลผู้จัดการรายกรณี

บทบาทของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีสำหรับพยาบาลที่จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการรายกรณี จะมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกปัญหา โดยหลักๆ ก็จะมีบทบาททั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ คลินิก/การดูแล การจัดการ/ภาวะผู้นำ การเงิน/ธุรกิจ การสื่อสารและการจัดการข้อมูล รวมถึงการพัฒนาวิชาชีพด้วย โดยมีรายละเอียดของแต่ละบทบาทดังนี้

ตาราง บทบาทของผู้จัดการรายกรณี
บทบาทของผู้จัดการรายกรณี กิจกรรมของผู้จัดการรายกรณี
ด้านคลินิก/การดูแล  ประเมินปัญหาและความต้องการของผุ้ป่วย
ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยตามแผน
ประเมินผลของการปฏิบัติการ และการติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
วางแผนในการดูแลผู้ป่วย
ด้านการจัดการ/ภาวะผู้นำ ควบคุมและพัฒนาคุรภาพการดูแล
ร่วมพัฒนาแผนการจัดการผู้ป่วย และแนวทางการรักษา ( CPG )
ประสาน เอื้ออำนวย และการจัดการการดูแล
ชี้แนะ และเป็นพี่เลี้ยงของทีมการดูแล
ติดตามประเมินกิจกรรมการดูแลและผลลัพธ์
พิทักษ์สิทธิ์ของผู้ป่วยและครอบครัว
ด้านการเงิน/ธุรกิจ ทบทวนทรัพยากรในการดูแล
ลดความสูญเปล่า และควบคุมค่าใช้จ่าย
วิเคราะห์และจัดการความผันแปร
ด้านการสื่อสาร และการจัดการข้อมูล ออกแบบการบันทึกข้อมูล
รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดการกับข้อมูล
รายงานข้อมูล
ด้านการพัฒนาวิชาชีพ ศึกษาวิจัย หรือใช้ผลการวิจัย
เสนอนโยบาย/แนวปฏิบัติในรูปแบบใหม่
นำเสนอผลลัพธ์ของการจัดการ

การจัดการทรัพยากร

พยาบาลผู้จัดการายกรณี จะต้องพยายามจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยมากที่สุด รวมถึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าอีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.ทบทวนย้อนหลัง

เป็นการทบทวนดูว่าผู้ป่วยแต่ละรายมีการใช้ทรัพยากรทั้งหมดไปมากน้อยแค่ไหน และมีการใช้ไปมากเกินความจำเป็นหรือไม่ สาเหตุจากการใช้มากเกิดจากอะไร และเกิดการรักษาที่ล่าช้าในกรณีใดบ้างหรือไม่ 

2.ทบทวนขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

เป็นการทบทวนถึงความเหมาะสมระหว่างการรักษากับความต้องการของผู้ป่วย รวมถึงพยายามลดความซ้ำซากของการใช้ทรัพยากรให้ได้มากที่สุดพร้อมกับหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็นด้วย และที่สำคัญจะต้องพยายามขจัดความล่าช้าในการรักษา เพื่อไม่ให้เกิดการใช้ทรัพยากรมากเกินไปนั่นเอง

นอกจากนี้พยาบาลผู้จัดการายกรณีจะต้องมีการเทียบเคียงการใช้ทรัพยากรกับการเบิกจ่าย DRG ด้วย โดยทั้งนี้หากพบว่าทรัพยากรมีมากเกินไป ก็จะต้องวิเคราะห์หาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร พร้อมแจ้งผลการวิเคราะห์ให้กับทีมรักษาเพื่อวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมต่อไปนั่นเอง

ผลลัพธ์ของการจัดการรายกรณี

ผลลัพธ์ของการจัดการรายกรณีจากการจัดการรายกรณี พยาบาลผู้จัดการจะต้องสรุปผลสุดท้ายออกมา ซึ่งการจะวัดผลสุดท้ายได้นั้นจะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดของผลลัพธ์อย่างชัดเจน และใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุดในการวัดผลลัพธ์ด้วย
ประเภทของผลลัพธ์ในการจัดการรายกรณี

1.การประเมินผลลัพธ์ระยะยาว

เป็นการประเมินโดยดูผลลัพธ์จากภาพรวมการรักษาในระยะยาว ซึ่งส่วนใหญ่จะดูจากระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลที่ลดลงไป ค่าใช้จ่ายในการรักษาที่น้อยกว่าปกติ ความผาสุกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยการประเมินในระยะยาวนี้ ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนและแน่นอนพอสมควรเลยทีเดียว

2.การประเมินผลลัพธ์ระยะสั้น

เป็นการประเมินเพื่อดูผลลัพธ์ในระยะสั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะดูจากร้อยละของผู้ป่วยจากภัยพิบัติที่เข้าถึงการรักษา และร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการจัดการตามความต้องการ แต่ทั้งนี้การประเมินระยะสั้นก็อาจไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่แน่ชัดเหมือนกับการประเมินในระยะยาวมากนัก 

ตัวอย่างขั้นตอนปฏิบัติการจัดการรายกรณี

1.วันที่ผู้ป่วยมาเข้ารับการตรวจ โดยพยายามผู้จัดการรายกรณีจะเข้าพบผู้ป่วยหลังจากที่ผู้ป่วยได้ทำการเจาะเลือดและซํกประวัติเพื่อคัดกรองเรียบร้อยแล้ว ซึ่งพยายามก็จะทำหน้าที่ในการวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ( Life Style Modification ) ของผู้ป่วย โดยอาจยกเอาขึ้นมาเสนอหลายๆ อย่าง เพื่อให้ผู้ป่วยได้เลือกพฤติกรรมสุขภาพที่ต้องการด้วยตัวเอง พร้อมกับตั้งเป้าหมายและเริ่มทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทันที นอกจากนี้ก็จะให้คำแนะนำพร้อมกับเป็นที่ปรึกษา เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยอีกด้วย โดยจะทำการประเมินความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน และวางแผนจัดการตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งยังให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ในยามฉุกเฉินอีกด้วย

2.พยาบาลทำการศึกษาบริบทของผู้ป่วยก่อนถึงวันที่ผู้ป่วยจะมาตรวจตามนัด นั่นก็เพื่อคัดกรองกลุ่มผู้ป่วยที่มีความต้องการการรักษามากน้อย อย่างไร โดยจะทำให้ทำการรักษาได้ง่ายขึ้น

3.พยาบาลจะต้องเข้าพบผู้ป่วยอีกครั้งหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาเรียบร้อยแล้ว เพื่อแนะนำวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง รวมถึงตั้งเป้าหมายและวางแผนร่วมกันกับผู้ป่วย เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

4.ติดตามผู้ป่วยตลอดการรักษา เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่ได้ และวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับผู้ป่วยมากที่สุด รวมถึงมีการกระตุ้นให้ผู้ป่วยพยายามปรับพฤติกรรมและทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การติดตามผลการรักษา ก็ยังเป็นดั่งการใช้ภาพสะท้อน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เห็นผลลัพธ์และเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามแผนรักษาอย่างต่อเนื่องต่อไป

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. 

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

วิธีสังเกตสัญญาณเตือนเบาหวาน สิ่งที่ควรรู้

0
วิธีสังเกตสัญญาณเตือนเบาหวาน สิ่งที่ควรรู้
วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของเบาหวาน
โรคเบาหวานจะส่งผลต่อสุขภาพผู้ป่วย จะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย คอแห้ง กระหายน้ำ น้ำหนักลดผิดปกติ

อาการเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม นั่นเป็นเพราะอาการของโรคเบาหวานสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายด้าน ดังนี้

1.ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งก็เนื่องมาจากการปัสสาวะบ่อย จนทำให้ร่างกายได้รับน้ำน้อยเกินไปในที่สุด

2.ไตทำงานลดลงจากเดิม โดยเป็นเพราะน้ำตาลที่ไปเกาะแน่นอยู่เต็มหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไตได้น้อยลง เป็นผลให้ไตด้อยประสิทธิภาพในการทำงานลงในที่สุด

3.ความสามารถในการรับรู้ค่อยๆ ลดลงไป เพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำ ความดันโลหิตจะต่ำลง เป็นผลให้ไตและสมองทำงานแย่ลงกว่าเดิม ปฎิกิริยาการตอบสนองและการรับรู้จึงค่อยๆ ลดลงไปด้วยนั่นเอง

4.หมดสติและเสียชีวิต ซึ่งเกิดจากภาวะร่างกายที่อ่อนเพลียจนเกินไปและเนื่องมาจากเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ จึงทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

ทำไมอ้วน แต่น้ำหนักกลับลดลง

ทำไมอ้วน แต่น้ำหนักกลับลดลงเป็นอาการหนึ่งของโรคเบาหวานที่สังเกตเห็นได้ชัด นั่นก็คือคนที่อ้วน ทั้งที่กินมากและไม่เคยออกกำลังกายเลย แต่น้ำหนักกลับลดลงจนน่าตกใจ แถมยังลดลงอย่างต่อเนื่องจนดูผอมแห้งในที่สุด นั่นก็เพราะร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในเลือดไปใช้ประโยชน์โดยการเผาผลาญเป็นพลังงานได้ ทำให้ต้องสลายโปรตีนในกล้ามเนื้อและสลายไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายออกมาใช้แทน จนทำให้น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
เป็นเบาหวานมักแถมด้วยอาการป่วยอื่นๆ

เมื่อเป็นเบาหวาน ก็มักจะแถมด้วยอาการผิดปกติอื่นๆ พ่วงมาด้วย โดยทั้งนี้ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึง 160-180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็มักจะมีอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดดังต่อไปนี้ 

1. คอแห้ง
2. ดื่มน้ำมาก
3. ปัสสาวะบ่อย
4. ไม่รู้สึกเจ็บหรือคัน

นอกจากนี้เมื่อป่วยด้วยเบาหวานเป็นระยะเวลานาน ก็มักจะมีภาวะแทรกซ้อนตามมาด้วยเสมอ ซึ่งก็เป็นเพราะร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ น้ำตาลจึงสะสมอยู่เยอะและอาจไปแย่งพื้นที่ออกซิเจนในเซลล์ต่างๆ จนทำให้เซลล์หรืออวัยวะในร่างกายทำงานได้น้อยลง เป็นผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ในที่สุด โดยอวัยวะที่มักจะได้รับผลกระทบจากอาการเบาหวานอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ไต ตาและเท้านั่นเอง

อาการเบาหวานขึ้นตา ( Diabetic Retinopathy )

อาการเบาหวานขึ้นตา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะคือ

1.ระยะตายใจ

เป็นระยะที่ยังไม่มีอาการเบาหวานใดๆ และไม่มีสิ่งผิดปกติใดเกิดขึ้น จึงยังไม่รู้ได้ว่าเป็นเบาหวานขึ้นตา แต่จะมีจุดเล็กๆ เกาะอยู่ที่จอประสาทตา และมีไขมัน+โปรตีนตกตะกอนจับตัวเป็นจุดอยู่

2.ระยะทำใจ

เป็นระยะที่เริ่มมีอาการมองไม่เห็นแล้ว ซึ่งหากรักษาไม่ทันก็อาจตาบอดได้เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่คนส่วนมากมักจะตายใจคิดว่าอาการเบาหวานจะไม่รุนแรง จนตาบอดในที่สุด   

เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมหรืออักเสบจากอาการเบาหวาน ( Diabetic Neuropathy )

เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมหรืออักเสบจากอาการเบาหวานเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายมาก เพราะแค่รองเท้ากัดก็อาจถึงกับต้องตัดขาทิ้งกันเลยทีเดียว โดยภาวะที่ว่านี้จะสังเกตถึงความผิดปกติได้คือ

  • มีอาการเหน็บชาและปวดแสบปวดร้อนที่ขาหรือเท้าทั้งสองข้าง และอาจมีความรู้สึกเหมือนมดไต่ขาอยู่ตลอดเวลา
  • รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มแทงเท้าอยู่บ่อยๆ ซึ่งบางครั้งก็อาจเกิดความรู้สึกที่รุนแรงจนถึงขั้นนอนไม่หลับได้เลยทีเดียว
  • รู้สึกว่าเท้าหนาและหนัก คล้ายกับกำลังใส่ถุงเท้าอยู่ตลอดเวลา
  • รู้สึกตัวร้อนเหมือนจะมีไข้

นอกจากนี้เมื่อเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมหรืออักเสบ ก็อาจส่งผลเสียโดยตรงได้ดังนี้

  • ประสาทรับความรู้สึก ( Diabetic Symmetric Polyneuropathy : DSDP ) คือจะทำให้การรับรู้ความรู้สึกลดต่ำลงกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการชา เป็นผลก็ไม่เจ็บหรือโดนไฟลวกก็ไม่รู้สึก นอกจากนี้เมื่อเป็นแผลเรื้อรังตามแขนขาก็รักษาให้หายได้ยากอีกด้วย
  • ประสาทอัตโนมัติ ( Autonomic Neuropathy ) คือจะทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูกได้ง่าย เหงื่อออกมากผิดปกติ เกิดอาการหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืน ปัสสาวะติดขัดและสมรรถภาพทางเพศลดลง เป็นต้น
  • ประสาทเฉพาะที่ ( Focal and Multfocal Neuropathy ) ส่วนมากจะมีอาการหนังตาตกกะทันหัน และทำให้มองเห็นภาพซ้อนจากการกลอกตาไปมาได้อีกด้วย 

อาการเบาหวานลงไต ( Diabetic Neuropathy )

เมื่ออาการเบาหวานลงไต จะส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะไตถือเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว โดยปกติแล้ว ไตจะมีหน้าที่ในการขับน้ำพร้อมของเสียออกไปจากร่างกาย รวมถึงดึงเอาของเสียจากกระแสเลือด ออกมาขับทิ้งพร้อมกับปัสสาวะอีกด้วย ดังนั้นเมื่ออาการเบาหวานลงไต ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตด้อยลงในที่สุด และอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีกมากมายเลยทีเดียว เช่นตัวบวมขาบวม เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย หายใจติดขัดรุนแรง ปัสสาวะน้อยมากจนเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมปอด เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

แผนควบคุมเบาหวาน สุขภาพดีได้ง่ายๆด้วยตัวเอง

0
แผนควบคุมเบาหวาน สุขภาพดีได้ง่ายๆด้วยตัวเอง
แผนรักษาเบาหวานที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง
การดูแลตนเองให้ห่างไกลเบาหวานสามารถทำได้ด้วยตนเองไม่ยาก เพียงแค่หมั่นดูแลสุขภาพร่างกาย เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ

สาเหตุโรคเบาหวาน

สาเหตุของโรคเบาหวาน มักเกิดจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตของเราเอง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ค่อย ๆ สร้างความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานโดยที่เราอาจไม่ทันสังเกตหรือรับรู้

พฤติกรรมที่เป็นตัวการของโรคเบาหวาน

1. กินไม่เลือก โดยเฉพาะการกินอาหารที่มีรสชาติหวานจัด เค็มจัดหรือมีไขมันมากเกินไป เพราะอาหารเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุโรคเบาหวานทั้งสิ้น

2. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โดยมีความดันสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

3. เครียดจัดและมักจะกังวลกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตอยู่เสมอ

4. อ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน โดยเฉพาะในคนที่อ้วนลงพุง เพราะจะมีระดับไขมันและคอเลสเตอรอลที่สูงกว่าปกติจนกระตุ้นให้เกิดเบาหวานได้ในที่สุด

5. สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือสูบบุหรี่จัดมาก คือมากกว่า 1 ซองในแต่ละวัน

6. กินผักและผลไม้น้อยเกินไป

7. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินหรือดื่มจนติดเป็นนิสัย

8. ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือออกน้อยเกินไป ซึ่งปกติควรออกกำลังกายให้ได้วันละ 30 นาทีและอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์

สูตรสุขภาพดี พร้อมห่างไกลจาสาเหตุโรคเบาหวานแบบอมตะ

สูตรสุขภาพดี พร้อมห่างไกลจาสาเหตุโรคเบาหวานแบบอมตะสำหรับสูตรสุขภาพดี ที่จะทำให้คุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและห่างไกลจากสาเหตุโรคเบาหวาน มีอยู่ทั้งหมด 3 ข้อด้วยกัน ซึ่งได้แก่  

1. พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น นั่นก็เพราะได้มีการซ่อมแซมระบบต่างๆ ในร่างกายที่สึกหรอ ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าเดิม และสามารถต้านโรคภัยต่างๆ รวมถึงช่วยให้ห่างไกลจากสาเหตุโรคเบาหวานได้นั่นเอง โดยทั้งนี้คนเราควรนอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงจะดีที่สุด เพราะฉะนั้นใครที่มักจะนอนน้อยเป็นประจำ ก็ควรรีบมาปรับพฤติกรรมการนอนโดยด่วน

2. เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์

การจะมีสุขภาพดีแบบอมตะได้นั้น จะต้องเลือกกินอาหารเฉพาะที่มีประโยชน์และพยายามหลีกเลี่ยงการกินอาหารนอกบ้านอย่างเด็ดขาด นั่นก็เพราะว่าอาหารนอกบ้านมักจะให้พลังงานสูง ส่วนใหญ่จะเป็นพวกแป้ง มีการปรุงรสด้วยเครื่องปรุงที่เข้มข้น โดยเฉพาะเกลือและน้ำตาลจะมีปริมาณสูงมาก และแม้ว่าจะเป็นเนื้อปลา ก็มักจะมีน้ำมันเยิ้ม ซึ่งก็เป็นสาเหตุของความอ้วนและสาเหตุโรคเบาหวานเช่นกัน เพราะฉะนั้นควรเลี่ยงการกินอาหารนอกบ้านจะดีที่สุด นอกจากนี้ก็ควรปรับเปลี่ยนวิธีการกินให้ถูกต้องด้วย ซึ่งก็สามารถทำได้ดังนี้

1. อย่าเสียดาย เพราะการเสียดายจะทำให้คุณน้ำหนักขึ้นและเป็นสาเหตุเบาหวานโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากกินอาหารมากกว่าที่ร่างกายต้องการนั่นเอง ซึ่งทางที่ดี ควรกินแต่พออิ่มจะดีกว่า

2. กินให้ครบ 5 หมู่ เพราะในแต่ละมื้อคนเราควรได้รับอาหารอย่างครบถ้วน ดังนั้นหากมื้อไหนของคุณขาดอะไรไป ก็ควรเพิ่มเติมเข้าไปให้ครบ เท่านี้สุขภาพที่ดีก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

3. ระวังน้ำมันที่อยู่ในซุปแสนอร่อย เพราะน้ำมันที่ลอยขึ้นมานั้นล้วนเป็นสาเหตุของโรคร้ายทั้งสิ้น ทางที่ดีก่อนกินควรรอให้น้ำมันลอยขึ้นมามากๆ ก่อนดีกว่า จากนั้นก็ให้ตักน้ำมันออกทิ้ง เท่านี้ก็สามารถกินได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพแล้ว

4. ก่อนจะซื้อเครื่องดื่ม ไม่ว่าเครื่องดื่มอะไรก็ตาม ควรตั้งสติก่อนเสมอ และพิจารณาให้ดีว่าเครื่องดื่มชนิดนั้นมีน้ำตาลอยู่มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากพบว่ามีน้ำตาลสูงมาก แนะนำว่าควรเลี่ยงจะดีที่สุด

5. กินของทอดอย่างปลอดภัย ด้วยการใช้กระดาษซับมัน ซับเอาน้ำมันจากอาหารทอดออกให้ได้มากที่สุดก่อน และที่สำคัญควรเลือกซื้อของทอดจากร้านที่ไม่ใช้น้ำมันเก่ามาทอด โดยสังเกตได้จากเวลาทอดแล้วมีควันลอยขึ้นมาจากกระทะเป็นจำนวนมากนั่นเองและที่สำคัญเลยก็คือการนับแคลอรีให้เป็นนั่นเอง

โดยในหนึ่งวัน คนเราควรได้รับพลังงานแคลอรี่ตามตารางดังต่อไปนี้

พลังงานที่พอดี เด็ก/ผู้หญิง/ผู้สูงอายุ วัยรุ่น/วัยทำงาน ผู้ใช้แรงงาน/นักกีฬา
พลังงานที่พอดี/วัน 1,600 แคลอรี 2,000 แคลอรี 2,400 แคลอรี
น้ำตาลที่พอดี/วัน ไม่เกิน 4 ช้อนชา ไม่เกิน 6 ช้อนชา ไม่เกิน 8 ช้อนชา

 

อาหารแต่ละวัยใน 1 วัน

1 กรัม = พลังงาน 4 แคลอรี
1 ช้อนชา = พลังงาน 20 แคลอรี

เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากสาเหตุโรคเบาหวาน ไม่เพียงแต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไปเท่านั้น แต่จะต้องควบคุมอาหารประเภทโปรตีนด้วยเช่นกัน โดยอาหารของแต่ละช่วงวัยที่ควรได้รับใน 1 วันก็มีดังนี้   

1. อาหารสำหรับวัยเด็ก ผู้หญิงและผู้สูงอายุ ได้แก่ นม 2 แก้ว ข้าว 8 ทัพพี ผลไม้ 3 ส่วน ผัก 16 ช้อนโต๊ะ เนื้อสัตว์ 6 ทัพพี รวมทั้งหมด 1,600 แคลอรี

2. อาหารสำหรับวัยรุ่นและวัยทำงาน ได้แก่ นม 1 แก้ว ข้าว 10 ทัพพี ผลไม้ 4 ส่วน ผัก 20 ช้อนโต๊ะ เนื้อสัตว์ 9 ทัพพี รวมทั้งหมด 2,000 แคลอรี

3. อาหารสำหรับผู้ใช้แรงงานและนักกีฬา ได้แก่ นม 1 แก้ว ข้าว 12 ทัพพี ผลไม้ 5 ส่วน ผัก 24 ช้อนโต๊ะ เนื้อสัตว์ 12 ทัพพี รวมทั้งหมด 2,400 แคลอรี

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำ ก็สามารถช่วยลดสาเหตุโรคเบาหวานได้เหมือนกัน โดยออกกำลังกายเพียงแค่ 10 นาที ก็สามารถนำน้ำตาลในร่างกายออกมาใช้เป็นพลังงานได้ จึงทำให้น้ำตาลในร่างกายไม่สูงจนเกินไปนั่นเอง นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยให้อินซูลินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย สำหรับการออกกำลังกายที่ดีที่สุด ก็แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก เพราะจะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้เคลื่อนไหวอย่างครบถ้วนและยังได้ใช้กล้ามเนื้อประกอบกันหลายมัดอีกด้วย

และช่วงเวลาที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากที่สุด ก็คือหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วประมาณ 1 – 1.30 ชั่วโมงนั่นเอง เพราะการออกกำลังกายในช่วงนี้จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงขึ้นและสามารถเผาผลาญพลังงานได้ดีที่สุด และควรออกกำลังกายจนกว่าจะรู้สึกว่าร่างกายพอแล้วหรืออย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้งนั่นเอง

แค่เดินให้ถูกวิธี ก็เป็นการออกกำลังกายได้

แค่เดินให้ถูกวิธี ก็เป็นการออกกำลังกายได้สำหรับใครที่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายหรือไม่ชอบการออกกำลังกายหนักๆ มากนัก ก็สามารถออกกำลังกายด้วยการเดินได้เหมือนกัน โดยเดินให้ถูกต้องก็จะสามารถบริหารร่างกายและห่างไกลจากสาเหตุโรคเบาหวานได้แล้ว ซึ่งมีวิธีการเดินอย่างถูกวิธีดังนี้

1.เดินยืดหลังตรง เพราะการเดินแบบนี้จะทำให้คุณได้บริหารกล้ามเนื้อหลังและก้นไปพร้อมๆ กันด้วย

2.สายตามองไปข้างหน้าอย่างเดียว โดยศีรษะและลำตัวตรง จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อหลังและก้น รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจอีกด้วย 

3.แกว่งแขนซ้ายขวา โดยให้ขนานไปกับลำตัว ซึ่งมือทั้งสองข้างจะต้องกำแบบหลวมๆ ในลักษณะที่ผ่อนคลาย จะช่วยบริหารแขนท่อนบนกับท่อนล่าง รวมถึงกล้ามเนื้อหัวไหล่ กล้ามเนื้ออกและกล้ามเนื้อหลังส่วนบนด้วย

4.จังหวะความเร็วในการก้าวเท้าจะต้องมีความสม่ำเสมอตลอดระยะทาง และต้องไม่เดินทอดน่องหรือเดินตามสบายจนเกินไป

5.การก้าวเท้า ควรก้าวเท้าให้ยาวเล็กน้อยและค่อนข้างเร็วพอสมควร ส่วนแขนทั้งสองข้างก็ให้แกว่งไปตามปกติอย่างเป็นธรรมชาติ

6.ในขณะที่ก้าวเท้าไป ส้นเท้าจะต้องแตะพื้นเสมอ

ควรออกกำลังกายจากการเดินไปที่ไหนบ้าง

กรณีที่ออกกำลังกายด้วยการเดิน มี Checklist การเดินดังนี้

  1. เดินไปทำงาน

2. เดินจากลานจอดรถไปอาคาร

3. เดินไปห้องน้ำ

4. เดินออกจากหน้าคอมไปสูดอากาศตามบริเวณต่างๆ

5. เดินขึ้นบันไดแทนลิฟท์

6. เดินไปทานอาหาร

7. เดินไปทำธุรกรรมต่างๆ แทนการโทรหรือขับรถ

8. เดินกลับบ้าน

9. เดินไปเปิด – ปิดโทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ แทนการใช้รีโมทหรือการใช้ผู้อื่น

10. เดินช้อปปิ้งจ่ายตลาดหรือซื้ออาหาร สินค้าตามแหล่งช้อปต่างๆ

เช็คการเดินได้กี่ข้อ หมายถึงอะไร ลองมาดูกัน

0 ข้อ = ไม่ได้เดินไปห้องน้ำเลยหรอ?
1-4 ข้อ = เดินน้อยไปนะรู้ตัวไหม
5-7 ข้อ = เดินใช้ได้เลย ลองเดินในข้ออื่นที่ยังไม่เคยเดินดูสิ
8-10 ข้อ = เดินไปสู่สุขภาพที่ดีเลยนะเนี่ย

 

การเดิน แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและเบาจนเกินไป แต่หากทำบ่อยๆ เป็นประจำ ก็สามารถช่วยให้คุณมีสุขภาพดีและห่างไกลจากสาเหตุโรคเบาหวานได้ไม่ยากเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นมาเดินให้มากขึ้นและเดินอย่างถูกวิธีกันดีกว่า

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. 

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

กรดบิวทิริก ช่วยอะไร? คุณสมบัติและข้อดีที่ควรรู้

0
กรดบิวทิริก ช่วยอะไร คุณสมบัติและข้อดีที่ควรรู้
หน้าที่และประโยชน์ของกรดบิวทิริก
กรดบิวทิริก คือ กรดอินทรีย์ที่พบได้ในไขมันสัตว์ น้ำมันพืช นมและไขมันเนย เป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว

ประโยชน์ของกรดบิวทิริก

กรดบิวทิริก (Butyric Acid) เป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid) ที่พบในไขมันสัตว์ น้ำมันพืช น้ำนม และไขมันเนย มีลักษณะเป็นกรดไขมันสายสั้นที่ระเหยง่ายและมีจุดหลอมเหลวต่ำ สูตรเคมีของกรดบิวทิริกคือ CH3CH2CH2COOH โดยมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยคาร์บอนเพียง 4 อะตอม ทำให้เป็นกรดอินทรีย์ที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุดในกลุ่มนี้

จึงนับเป็นกรดไขมันชนิดที่มีสายสั้น ( Short Chain Fatty Acid ) มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ จุดหลอมเหลวต่ำ ( Melting Point ) อยู่ที่ ประมาณ -7.9 องศาเซลเซียส เป็นกรดอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย ( Volatile Fatty Acid ) ละลายในน้ำได้ดี แหล่งที่พบกรดบิวทิริกนอกจากในน้ำนมและไขมันเนยแล้ว กรดบิวทิริกยังพบได้จากการหมักของเชื้อแบคทีเรียตามธรรมชาติในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ซึ่งกรดบิวทิริกที่เกิดขึ้นจากการหมักนี้เป็นสาเหตุของการเน่าเสียของอาหาร ลักษณะอาหารที่เน่าเสียจากกรดบิวทิริกจะมีกลิ่นเหม็น รสเปรี้ยวคล้ายกับนมที่บูดแล้ว
ถึงแม้ว่ากรดบิวทิริกจะทำให้อาหารเน่าเสีย แต่กรดบิวทิริกกลับมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

ประโยชน์ของกรดบิวทิริกต่อร่างกาย

ประโยชน์ของกรดบิวทิริกต่อร่างกาย1.แหล่งพลังงาน กรดบิวทิริก เป็นแหล่งพลังงานให้กับเยื่อเมือกหรือเนื้อเยื่อเมือก ( Mucosa or Mucous Membrane ) โดยเฉพาะที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ โดยกรดบิวทิริกจะเข้าไปช่วยให้วิลลัส ( Villus ) หรือเยื่อบุผนังลำไส้ภายในลำไส้มีจำนวนเพิ่มขึ้น และจำนวนที่เพิ่มขึ้นมากนั้นมีขนาดความยาวมากขึ้น สุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนอยู่ได้นานกว่าเดิมอีกด้วย จึงทำให้วิลลัสสามารถดูดซึมอาหารเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้นนั่นเอง

2.ดูดซึมสารอาหาร กรดบิวทิริกช่วยในการดูดซึมสารอาหารได้เพิ่มมากขึ้น เพราะผนังลำไส้มีความแข็งแรงและมีพื้นที่มากขึ้น รวมถึงวิตามินที่ไม่ละลายน้ำ ลดการขาดวิตามินเอ วิตามินเค วิตามินอี วิตามินดี เพราะเข้าไปเพิ่มพื้นที่ของเยื่อบุผนังลำไส้ทำให้สามารถดูดซึมอาหารได้มากขึ้น ร่างกายจึงดูดซึมวิตามินที่ไม่ละลายน้ำเพิ่มมากขึ้น

3.รักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ลำไส้ของเราจะประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ปะปนอยู่ด้วยกัน ถ้าจุลินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์มากเกินความจำเป็นจะทำให้เราเกิดอาการท้องเสีย ท้องอืด ในทางกลับกันถ้าจุลินทรีย์ชนิดดีมากเกินไปก็จะทำให้การขับถ่ายไม่ดี ดังนั้นเราต้องรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดให้อยู่ในสภาวะที่สมดุลเพื่อที่ระบบการย่อยและขับถ่ายจะทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งกรดบิวทิริกจะช่วยสร้างสมดุลของจุลินทีย์ในร่างกาย โดยเมื่อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น Lactobacilli เป็นต้น มีปริมาณลดลงก็จะเข้าไปช่วยให้มีการสร้างเพิ่มขึ้นให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และลดหรือทำลายจุลินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์ เช่น S.Entertidis, E.Coli เป็นต้น เมื่อจุลินทรีย์ไม่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นเกินสมดุล โดยการควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่างให้อยู่ในค่าที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตได้

กรดบิวทิริก ( Butyric Acid ) คือ กรดอินทรีย์ที่พบได้ในไขมันสัตว์ น้ำมันพืช นมและไขมันเนย เป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว ( Saturated Fatty Acid )

4. ป้องกันมะเร็งลำไส้ กรดบิวทิริกจะช่วยป้องกันและรักษาแผลที่เกิดจากการทำลายของเชื้อโรคที่เข้ามาในลำไส้ให้ดีขึ้นหรือหายได้ เพราะถ้าลำไส้มีการอักเสบ การระคายเคืองเป็นแผลบ่อยๆ จนกลายเป็นแผลที่มีการอักเสบชนิดเรื้อรังแล้ว เซลล์บริเวณที่เกิดการอักเสบนี้จะมีโอกาสที่จะกลายพันธุ์และเจริญเติบโตเกิดเป็นเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นเมื่อกรดบิวทิริกสามารถรักษาแผลที่เกิดขึ้นในลำไส้ได้แล้ว โอกาสที่เซลล์จะกลายเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งย่อมลดลงตามไปด้วย

กรดบิวทิริกเป็นกรดอินทรีย์ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี ลดภาวะขาดวิตามิน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค

และช่วยรักษาสมดุลภายในลำไส้ทำให้ร่างกายแข็ง แรง กรดบิวทิริกนั้นเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ลำไส้ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่และยังไม่แข็งแรงมากเพราะเมื่อเด็กได้รับกรดบิวทิริกเข้าไปจะช่วยทำให้ลำไส้ของเด็กแข็งแรง ลดความเสี่ยงของโรคท้องเสียหรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและขับถ่ายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเด็กควรดื่มนมหรือกินอาหารที่เสริมกรดบิวทิริกจะดีการเจริญเติบโตของร่างกาย ส่วนในผู้ใหญ่ก็สามารถกินอาหารที่เสริมบิวทิริกเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของลำไส้ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ในระยะยาวได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.

http://www.medscape.com/viewarticle/584984.

Hartley, L.; Clar, C.; Ghannam, O.; Flowers, N.; Stranges, S.; Rees, K. (Sep 2015). “Vitamin K for the primary prevention of cardiovascular disease”. The Cochrane Database of Systematic Reviews (Systematic review). 9 (9): CD011148.

เบาหวานชนิดที่ 2 คือเบาหวานที่เราสร้างเอง

0
เบาหวานชนิดที่ 2 คือเบาหวานที่เราสร้างเอง
เบาหวานชนิดที่สองเกิดจากร่างกายไม่สามารถสร้างหรือนำอินซูลินไปใช้ได้
เบาหวานชนิดที่ 2 คือเบาหวานที่เราสร้างเอง
กราฟวงกลมแสดงสถิติที่มีพันธุ์กรรมเบาหวานในชาวเอเชีย

สาเหตุเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 2 คือภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง สาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมี 2 สาเหตุ คือ การลดระดับของการผลิตอินซูลินในร่างกาย และภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งสาเหตุเบาหวานชนิดที่ 2 นี้เป็นเบาหวานที่เราสร้างขึ้นมาเอง โดยเกิดจากวิถีชีวิตประจำวันการกินมากถึง 99.99% ส่วนอีก 0.01% ก็จะมาจากพันธุกรรมนั่นเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าสาเหตุของการป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ก็มาจากพฤติกรรมของตัวเราเองล้วนๆ 

ใครบ้าง เสี่ยงกลับมาเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ?

1. คนที่มีอายุมากกว่า 30 ปี

2. มีระดับไขมันในเลือดสูงผิดปกติ รวมถึงระดับไตรกลีเซอไรด์ด้วย

3. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด

4. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมาก

5. ผู้ชายที่มีรอบเอว มากกว่า 36 นิ้วและผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว

6. มีถุงน้ำในรังไข่

7. มีดัชนีมวลกายสูงมากกว่า 23 กก./ม2 หรืออยู่ในเกณฑ์อ้วนนั่นเอง

8. มีประวัติคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องเป็นเบาหวานมาก่อน

ผอมแค่ไหน ก็มีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2ได้

หลายคนมีความเข้าใจแบบผิดๆ ว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะต้องอ้วนเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ผู้ที่มีรูปร่างผอมก็สามารถเป็นเบาหวานได้เหมือนกัน ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้   

1. มีพ่อแม่ ญาติพี่น้องหรือคนในครอบครัวเป็นเบาหวานมาก่อน โดยอาจเกิดการติดต่อกันทางพันธุกรรมได้

2. เกิดปัญหากับตับอ่อน เป็นผลให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ

3. เป็นเพราะผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น

4. เกิดการติดเชื้อไวรัสบางชนิด จึงทำให้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้สูง เช่น คางทูม หัด และหัดเยอรมันเป็นต้น

5. มีการขาดสารอาหารตั้งแต่แรกเกิด ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายขาดประสิทธิภาพในการทำงานและเป็นเบาหวานได้ในที่สุด

พันธุกรรมกับการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2

แม้ว่าพันธุกรรมจะเป็นสาเหตุของเบาหวานที่เกิดขึ้นได้น้อยที่สุด แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว เพราะจากสถิติพบว่า ผู้ที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติการเป็นเบาหวานมาก่อน มักจะลงเอยด้วยการเป็นเบาหวานทั้งสิ้น นั่นก็เพราะร่างกายของพวกเขาล้วนดื้อต่ออินซูลินนั่นเอง ซึ่งเมื่อหายแล้วก็มีโอกาสกลับมาะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อีก

ภาวะการดื้อต่ออินซูลิน

ภาวะนี้เกิดจากการที่ร่างกายทำการบังคับให้อินซูลินมีประสิทธิภาพที่แย่ลงกว่าเดิม เพื่อไม่ให้กลูโคสถูกนำออกไปจากเลือดในปริมาณมาก เพราะร่างกายต้องการเก็บน้ำตาลไว้ให้มากที่สุด เพื่อรับมือกับการอดอาหารหลายวัน ( เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นอาหารหายาก ในวันที่หาอาหารไม่ได้ก็จะต้องพยายามอดนั่นเอง ) และด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดยีนที่ดื้อต่ออินซูลินขึ้นมาในร่างกาย และมีการถ่ายทอดจากรุ่นไปสู่รุ่นในที่สุด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นเบาหวานจากพันธุกรรมได้

ในปัจจุบันร่างกายของคนเราไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดการดื้ออินซูลินอีกต่อไป เพราะในยุคนี้ไม่ต้องอดอาหารเหมือนในยุคก่อนๆ แต่กลับต้องการอินซูลินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการขนส่งกลูโคสออกจากเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ ได้อย่างไม่มีขาดตกบกพร่อง ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้เป็นเบาหวานได้ง่าย แต่ก็สามารถป้องกันได้บ้างด้วยการหมั่นออกกำลังกายบ่อยๆ นั่นเอง

ถ้าเป็นเบาหวาน ลูกจะเป็นด้วยไหม?

เบาหวาน เกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม ที่สืบทอดต่อกันไปยังบรรพบุรุษ ดังนั้นเมื่อใครก็ตามที่เป็นเบาหวาน ก็ย่อมส่งต่อเบาหวานไปสู่ลูกที่เกิดมาได้โดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นควรดูแลตัวเองให้ดีที่สุดอย่าให้เป็นเบาหวานจะดีกว่า เพื่อที่ลูกจะได้ไม่เสี่ยงเป็นเบาหวานไปด้วย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯซ บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัดม 2557.

สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

แก้ว กังสดาลอำไพ. ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับอาหาร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. หมอชาวบ้าน 2531.
งานวิจัยเกาหลี [เว็บไซต์]. เข้าถึงจาก www.diabassocthai.org.