Home Blog Page 167

ประเภทและประโยชน์ของน้ำมันไขจากพืช

0
ประเภทและประโยชน์ของน้ำมันไขจากพืช
น้ำมันต่างๆที่สกัดได้จากพืชมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้บริโภคและการใช้งาน
ประเภทและประโยชน์ของน้ำมันไขจากพืช
น้ำมันต่างๆที่สกัดได้จากพืชมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้บริโภคและการใช้งาน

น้ำมันไขจากพืช

น้ำมันพืช ที่ใช้สำหรับการปรุงอาหาร ถือว่าเป็นวัตถุดิบหลักอย่างหนึ่งที่ทุกบ้านและทุกครัวต้องมีติดเอาไว้ใช้ในการประกอบอาหารเมนูต่างๆ  ซึ่งน้ำมันไขจากพืชและสัตว์ น้ำมันไขจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู จะเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างน้ำมันที่มาจากพืชต่างๆที่มีมากมายหลายชนิด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันรำข้าว เป็นต้น โดยน้ำมันที่ได้จากพืชแต่ละ ประเภทนั้นก็มีวัตถุประสงค์ในการใช้แตกต่างกันออกไป และยังรวมถึงความแตกต่างทางด้านประโยชน์ที่จะได้รับจากน้ำมันชนิดต่างๆอีกด้วย ซึ่งประเภทของน้ำมันที่ได้จากพืชที่นิยมนำมาใช้บริโภคมีดังต่อไปนี้

น้ำมันจากพืชมีอะไรบ้าง

1. น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันพืชที่ได้จากการสกัดของผลมะกอก เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมในการนำมาปรุงอาหารเป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะผู้ที่รักสุขภาพ  มีด้วยกันหลากหลายชนิด โดยส่วนมากน้ำมันมะกอกที่นำมาใช้จะไม่ได้ทำให้บริสุทธิ์เสียก่อน โดยน้ำมันมะกอกชนิดที่มีคุณภาพดีที่สุดจะมีกรดโอลีอิกอิสระสูงสุด 1 กรัมต่อน้ำมัน 100 กรัม ส่วนชนิดที่มีเกรดรองลงมาก็จะมีกรดโอลีอิกอิสระเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับในน้ำมันมะกอกจะประกอบไปด้วย ไขมันอิ่มตัว 8-26% กรดโอลีอิก 55-83% และกรดไลโนลีอิก 3.5-21% และยังประกอบไปด้วย สเควลีนในปริมาณที่สูง มีบีต้าแคโรทีน และมีคอเลสเตอรอลในปริมาณต่ำน้ำมันมะกอกสามารถใช้ทอดอาหารต่างๆ ได้จำนวนครั้งมากว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ  เนื่องจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นที่เป็นน้ำมันทอด มีความอยู่ตัวสูงทั้งในอุณหภูมิห้องและอุณหภูมิขณะทอด แต่การนำมาใช้ซ้ำนั้นควรใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหารชนิดที่มีความร้อนสูงไม่มาก เพราะการใช้กับอุณหภูมิที่สูงมากๆ จะต้องคำนึงถึง ปฏิกิริยาการเกิดออกซิเดชัน เนื่องจากน้ำมันมะกอกประกอบด้วยกรดไลโนลีอิก 9.2% และคำนึงถึงสภาวะการเกิดไขมันทรานส์อีกด้วย

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก : ข้อมูลจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา พบว่า ในน้ำมันมะกอกมีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่งที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจได้จึงได้มีข้อแนะนำว่าให้เลือกใช้น้ำมันมะกอกแทนการใช้น้ำมันชนิดที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในการปรุงอาหารต่างๆ กรดโอลีอิกที่อยู่ในน้ำมันมะกอก สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอลได้  จึงช่วยทำให้ลดภาวะความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและลดความดันโลหิตได้

2. น้ำมันงา

เป็นน้ำมันพืชที่ผลิตจากน้ำมันงา คือ น้ำมันที่ได้จากการนำเมล็ดของงามาผ่านกรรมวิธีแปรรูป โดยจะใช้วิธี บีบ อัด ให้ความร้อนเพื่อให้ได้น้ำมันงา โดยส่วนมากจะเป็นชนิดงาดำ แล้วจึงนำมาแยกตะกอนออกอีกครั้ง น้ำมันงาประกอบไปด้วย กรดไขมันอิ่มตัว 80% โดยเป็นกรดโอลีอิกและกรดไลโนลีอิก ประมาณ 40% เป็นกรดไขมันอิ่มตัว 20%  นิยมใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอาหาร แต่ในการประกอบอาหารไม่ควรใช้ในอุณหภูมิที่สูงมากเกินไป เพราะจะได้คงสภาพกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเอาไว้ ไม่ให้สูญเสียไปกับความร้อน

ประโยชน์ของน้ำมันงา : ทั้งงาและน้ำมันงาล้วนมีประโยชน์ที่ดีต่อร่างกายมากมาย ช่วยชะลอความแก่และป้องการโรคต่างๆได้หลายชนิด  ในน้ำมันงาจะมีสารประกอบในกลุ่มของลิกแนน เช่น เซซามีน สเตอรอล เซซาโมลิน และโทโคฟีรอล  ในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งสารต่างๆเหล่านี้เป็นสารที่จะไปช่วยในการต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันหรือสารต้านการเกิดอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และในน้ำมันงายังมี เซซาโมลินที่จะไปยับยั้งการดูดกลืนและการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลอีกด้วยน้ำมันงามีความอยู่ตัวต่อปฏิกิริยาออกซิเดชัน มากกว่าน้ำมันพืชอื่นในชนิดอื่นๆ เนื่องจากมีสารยับยั้งในปริมาณสูงและออกฤทธิ์ได้ดี แต่สารเหล่านี้อาจจะมีปริมาณลดลงถ้ามีการทำน้ำมันงาให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้นหากใช้น้ำมันงาผสมกับน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ที่มีส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง  เช่น น้ำมันรำข้าวและน้ำมันถั่วเหลือง จะช่วยให้อาหารที่ทอดด้วยน้ำมันชนิดนี้ จะช่วยเพิ่มความอยู่ตัวของน้ำมันและอาหารทอดได้ นอกจากนี้ยังนิยมนำน้ำมันงามาผสมกับน้ำมันรำข้าวเพื่อใช้เป็นสารกันหืนสำหรับอาหารที่ใช้นำมันทอด โดยน้ำมันชนิดนี้จะมีฤทธิ์เป็นสารป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในอาหาร  

3. น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน

น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน เป็นน้ำมันพืชชนิดหนึ่งที่ได้สกัดได้มาจากเมล็ดของดอกทานตะวัน โดยนำเมล็ดของดอกทานตะวันมาบีบอัดให้เหลือแต่น้ำมัน มีส่วนประกอบของ กรดไลโนลีอิก 65-75%  กรดโอลีอิก 13-21% และยังมี โทโคฟีรอล ที่พบได้มากโดยเฉพาะชนิดแอลฟา นอกจากนี้ในน้ำมันทานตะวันยังมีสาร ไฟโตสเตอรอลซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารกันหืน ทำให้น้ำมันไขมีความอยู่ตัวต่อปฏิกิริยาออกซิเดชันน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดี นิยมนำไปใช้เป็นน้ำมันในเมนูสลัด แต่ก็มีข้อจำกัดคือไม่สามารถใช้ประกอบอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงได้ โดยเฉพาะเมนูทอด เนื่องจากมีส่วนประกอบของไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งในปริมาณมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดอนุมูลอิสระได้ง่าย และยังไปลดปริมาณของระดับคอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอล (ไขมันชนิดไม่ดี) และเอชดีแอล (ไขมันชนิดดี) ลงอีกด้วย

ประโยชน์ของน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน : เนื้อในเมล็ดทานตะวันมีสารอาหารที่ช่วยลดภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคอื่น รวมทั้งมีสารชะลอปฏิกิริยาออกซิเดชันและมีสารอาหารอื่นๆที่เป็นประโยชน์มากมายต่อร่างกาย หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม

4. น้ำมันรำข้าว

น้ำมันรำข้าว เป็น น้ำมันพืช ที่ได้มาจากการสกัดรำข้าวดิบ มีส่วนประกอบของเอนไซด์มากมายหลายชนิดซึ่งสามารถทำให้เกิดกรดไขมันอิสระได้ 5-7% ต่อวันดังนั้นหากจะสกัดน้ำมันจากรำข้าวต้องทำทันทีหลังจากขัดสีข้าว และรำข้าวต้องมีกรดไขมันไม่เกิน 5 %ในน้ำมันรำข้าวก่อนทำให้บริสุทธิ์ จะมีส่วนประกอบของกลีเซอไรด์ 85-88% นอกจากนั้นจะเป็นสารประกอบ สเตอรอล โทโคฟีรอล ไฮโดรคาร์บอนและอื่นๆ ประมาณ 4 %ในส่วนของกรดไขมันอิ่มตัวที่มีอยู่ 17-23% เป็นกรดพาลมิติก  12-28% ในขณะที่มีกรดโอลีอิก 35-50% ไลโนลีอิก 29-45% และไลโนลีนิก 1%  ส่วนที่ไม่ใช่กลีเซอไรด์มี 14-17%น้ำมันรำขาวเหมาะสำหรับในการปรุงอาหารที่มีความร้อนไม่สูงมาก เช่น ผัด เพื่อให้คงรักษาคุณประโยชน์ที่จะได้จากน้ำมันรำข้าวเอาไว้  และไม่ควรใช้น้ำมันรำข้าวทอดอาหารเป็นเวลานานเพราะอาจจะเกิดไขมันทรานส์ได้ในอาหารชนิดนั้น

ประโยชน์ของน้ำมันรำข้าว : น้ำมันพืชจะมีชื่อเรียกตามวัตถุดิบที่นำมาผลิตนั่นเอง น้ำมันรำข้าวมีสรรพคุณที่ดีมากมาย เช่น สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ ช่วยลดอาการเส้นเลือดแดงอุดตันระยะเริ่มต้นลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในตับ และลดอัตราการดูดซึมคอเลสเตอรอลได้ เนื่องจากในน้ำมันรำข้าวมีสารประกอบอย่าง  โทโคฟีรอล โทโคไทรอีนอล โอรายซานอล และไฟโตสเตอรอล ที่ช่วยชะลอการเกิดอนุมูลอิสระช่วยยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอล ( ไขมันชนิดไม่ดี ) และช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อสภาวะการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆได้อีกด้วยน้ำมันรำข้าวที่ทำให้บริสุทธิ์โดยการตกผลึก เหมาะสำหรับการใช้ทำน้ำสลัด และการผลิตมายองเนสส่วนของผลิตก็สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเนยเทียม และเนยขาวได้ในน้ำมันรำข้าว มีกรดไขมันพาลมิติก ซึ่งทำให้เกิดสมดุลของการตีให้ฟูการคงรูปร่างเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เมื่อนำไปผสมกับน้ำมันชนิดอื่น เช่น  น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง ก็จะยิ่งทำให้น้ำมันนั้น มีความอยู่ตัวที่ดีขึ้นในการนำไปประกอบอาหารเมนูต่างๆด้วยวิธีการทอด 

น้ำมันพืช เป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการประกอบอาหารเมนูต่างๆ ที่สกัดได้จากพืชมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป

5. น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย

น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย คือ น้ำมันที่ทำมาจากเมล็ดของดอกคำฝอย  โดยปกติในเมล็ดของดอกคำฝอยเองนั้นจะมีปริมาณของน้ำมันสะสมอยู่ ประมาณ 25-37% มีส่วนประกอบของกรดโอลิอิก 12-19% กรดไลโนลิอิก 68-78 %น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เหมาะสำหรับประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนไม่สูงมากนัก  ทำให้ไม่เหมาะที่จะใช้กับการปรุงอาหารแบบทอด เพราะการทอดต้องใช้ความร้อนที่สูง เนื่องจากในน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งในปริมาณที่สูง โดยปกติน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอยชนิดนี้จะนิยมนำไปใช้กับผู้ที่ทานอาหารแบบมังสวิรัติ หรือผู้ที่เน้นทานอาหารเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังถูกนำไปแปรรูปเป็นเครื่องสำอาง และยารักษาโรค ส่วนในทางอุตสหกรรม น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย สามารถนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์น้ำยาผสมสีและน้ำยาเคลือบผิวได้อีกด้วย

ประโยชน์ของน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย : น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย ช่วยลดปริมาณคลอเรสตอรอลในเส้นเลือดให้ลดลง เนื่องจาก กรดไลโนลิอิกไปทำปฎิกิริยากับคลอเรสตอรอลให้เปลี่ยนเป็นคลอเรสตอรอลไลโนลีเอต ทำให้เอนไซด์ที่สังเคราห์ไขมันในร่างกายทำงานลดลง ซึ่งก็จัมีผลดีในเรื่องการลดความเสี่ยงการเกิดโรคไขมันอุดตันตามหลอดเลือดด้วย

6. น้ำมันถั่วเหลือง

น้ำมันถั่วเหลือง คือน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดของถั่วเหลือง เป็นที่นิยมในการนำไปประกอบอาหาร หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่สูงมาก น้ำมันถั่วเหลืองประกอบไปด้วยปริมาณของกรดไขมันอิ่มตัว 10-19% และกรดไขมันไม่อิ่มตัว 80-90% โดยมีกรดไลโนลีอิก 35-60% กรดโอลีอิก 20-50% และกรดไลโนลีนิก 2-13% มีองค์ประกอบที่ไม่ใช่ กลีเซอไรด์ 0.35% ซึ่งมีสเตอรอล สเควลีน และโทโคฟีรอล สตอรอลที่พบ ในน้ำนมถั่วเหลืองส่วนใหญ่เป็นไฟโตสเตอรอลน้ำมันถั่วเหลืองเหมาะสำหรับปรุงอาหารที่มีความร้อนไม่สูงมากและไม่เหมาะกับการนำไปทอดอาหารต่างๆ เนื่องจาก กรดไลโนลีนิกที่อยู่ในน้ำมันถั่วเหลืองอาจจะทำให้เกิดอนุมูลอิสระและเกิดเป็นสารพิษในน้ำมันได้

ประโยชน์ของน้ำมันถั่วเหลือง : น้ำมันถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบที่ดีเหมาะสำหรับการใช้ผลิตเนยขาวโดยเนยขาวที่ทำจากน้ำมั่นถั่วเหลืองยังเป็นส่วนผสมที่ดีสำหรับการทำน้ำตาลไอซิ่ง และสำหรับครีมในไส้ขนมชนิดต่างๆ และน้ำมันถั่วเหลืองยังนิยมนำไปใช้ทำขนมประเภทที่ไม่ต้องการขึ้นฟูมากนักอีกด้วย นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบของมายองเนสและน้ำสลัดได้อีกด้วยน้ำมันถั่วเหลืองใช้เป็นส่วนผสมของอาหารกระป๋องและอาหารแห้งได้หลายประเภท อีกทั้งใช้ได้ดีในกลุ่มอาหารเรียนแบบผลิตภัณฑ์นมหลายชนิด เช่นเนยเทียม ไอศกรีม ครีมเทียม เป็นต้น

7. น้ำมันถั่วลิสง

น้ำมันถั่วลิสง คือ น้ำมันที่ผลิตได้จากเมล็ดถั่วลิสง โดยปกติแล้วในเมล็ดถั่วลิสงจะมีน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 40-50%  และมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ กรดโอลิอิก 44-46 % กรดไลโนลิอิก 3-34% กรดพาลมิติก 10% และกรดไขมันชนิดอื่นๆอีกเล็กน้อย น้ำมันถั่วเหลืองมีข้อเสียคือ จะเหม็นหืนได้ง่าย เป็นน้ำมันประเภทที่มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในปริมาณที่สูง และไม่เหมาะสมที่จะนำไปประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูง หากนำไปใช้ในการทอดอาหารไม่ควรใช้เวลาที่นานเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดไขมันทรานส์ได้ในอาหารชนิดนั้น

ประโยชน์ของน้ำมันถั่วลิสง : ไขมันดีในน้ำมันถั่วลิสง จะไปทำปฏิกิริยากับคอเลสเตอรอลทำให้คอเลสเตอรอลลดลงกลายเป็นฮอร์โมนต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่นฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต กรดน้ำดี ฮอร์โมนเพศ เป็นต้น

8. น้ำมันปาล์มโอลีอิน

น้ำมันปาล์มโอลีอิน เป็น น้ำมันพืช ที่ผลิตได้จากผลของต้นปาล์ม นิยมนำไปประกอบอาหาร โดยน้ำมันชนิดนี้เหมาะกับปรุงอาหารด้วยวิธีการทอดที่ต้องใช้ความร้อนสูงๆ ที่น้ำมันพืชหลายๆชนิดไม่สามารถทำได้ เนื่องจากในน้ำมันปาล์ม มีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง จึงทำให้มีความอยู่ตัวสูง มีกรดไลโนลินิก น้อยกว่า 1% โอกาสที่จะเกิดการก่อตัวของอนุมูลอิสระก็ทำได้ยากขึ้นด้วยมีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัว 51-58% ที่เหลือเป็นกรดไขมันอิ่มตัว มีกรดพาลมิติก 38-42% มีกรดโอลีอิก 41-44% แล้วกรดไลโนลีอิก 10-13% แคโรทีนอย โทโคฟีรอล สเตอรอลและอื่นๆ 1% มีโทโคไทรอีนอลชนิดแกมมาซึ่งเป็นสารกันหืนในปริมาณสูงสุด สารดังกล่าวจะมีปริมาณลดลงประมาณ 50% จากการผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์และการแยกส่วนน้ำมันชนิดนี้ เมื่อนำไปใช้ทอดอาหารอาจจะมีควันที่มาก อาหารที่ใช้ทอดจะไม่มีกลิ่นหรือรสที่มาจากน้ำมัน เนื่องจากมีโทโคฟีรอย  กับโทโคไทรอีนอล ซึ่งเป็นสารกันหืนในอาหาร น้ำมันสามารถใช้งานได้นานหลายครั้งกว่าชนิดอื่น เกิดฟองน้อย

ประโยชน์ของน้ำมันปาล์มโอลีอิน : น้ำมันปาล์มโอลีอีนที่ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ จะปราศจากคอเลสเตอรอล ทำให้การบริโภคอาหารที่ใช้น้ำมันปาล์มโอลีอินเป็นส่วนประกอบ จะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในหัวใจได้ด้วย นอกจากนั้นน้ำมันปาล์มยังมีวิตามินอีซึ่งประกอบด้วยโทโคฟีรอลและโทโคไทรอีนอล โทโคไทรอีนอลสามารถลดคอเลสเตอรอลในเลือด และสามารถช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งในร่างกาย เนื่องจาก ในน้ำมันปาล์มโอลิอิน จะมีปริมาณของสารแคโรทีนที่สูงน้ำมันปาล์มโอลีอิน ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเนยเทียมชนิดอ่อน และเนยขาวผลึกของปาล์มโอลีอินเหมาะสำหรับใช้ในเนยขาวชนิดที่ต้องการตีให้ขึ้นฟูเช่น ใช้ทำขนมเค้ก และยังสามารถใช้น้ำมันปาล์มโอลีอินในไอศกรีมแทนไขมันนม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำมันปาล์มโอลีอินเป็นองค์ประกอบได้แก่ ซุป เค้กผง น้ำพริกแกง อาหารเช้าธัญพืชและขนมอบ เป็นต้น 

9. น้ำมันวอลนัต

น้ำมันวอลนัต คือ น้ำมันพืช ชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยใช้ลูกวอลนัตเป็นวัตถุดิบ มีสีจาง รสนุ่มนวลและมีกลิ่นหอมเหมือนถั่ว สามารถนำมาประกอบอาหารได้ น้ำมันชนิดนี้ไม่เหมาะในการทำในประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูง เพราะความร้อนที่สูงจะทำให้คุณค่าของน้ำมันวอลนัตหายไป ซึ่งจะนิยมนำน้ำมันวอลนัตไปใช้ประกอบอาหารอย่างเช่น ทำน้ำสลัด

ประโยชน์ของน้ำมันวอลนัต : น้ำมันวอลนัตช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันและยับยั้งการอักเสบสามารถเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาว ช่วยดักจับและทำลายเซลล์แปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย จากสารโอเมก้า3 ที่มีอยู่ในน้ำมันวอลนัตน้ำมันวอลนัตยังสามารถใช้เคลือบงานไม้ในการทำอุปกรณ์เครื่องครัวอย่างเช่น เขียงและชามสลัด เนื่องจาก น้ำมันวอนัตมีคุณสมบัติทำให้สีแห้งเร็วและไม่ออกสีเหลืองจนเกินไป ทำให้เหมาะแก่การทำให้สีมีความสดใสขึ้น และสามารถใช้ทำความสะอาดแปรงสีได้ด้วย

10. น้ำมันเมล็ดฝ้าย

น้ำมันเมล็ดฝ้าย เป็นน้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดฝ้ายโดยใช้วิธีการกลั่นและการบีบ โดยจะมีสีใสออกไปทางเหลือง เป็นน้ำมันที่ไม่มีคอเลสเตอรอลมีองค์ประกอบหลักคือกรดไขมันอิ่มตัว 23-28% ที่เหลือเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวซึ่งมีกรดไลโนลีอิก 44-53% และกรดโอลีอิก 22-28% ก่อนทำให้น้ำมันเมล็ดฝ้ายบริสุทธิ์ จะมีสีน้ำตาลแดง และมีองค์ประกอบที่ไม่ใช่กลีเซอไรด์ประมาณ 2% เมื่อผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์แล้ว สารเหล่านี้จะถูกกำจัดออกไปเกือบหมด โทโคฟีรอล ที่พบมีตั้งแต่ชนิดแอลฟาหรือวิตามินอี ถึงแกมมาซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สเตอรอลที่พบมากคือไฟโตสเตอรอลน้ำมันเมล็ดฝ้าย เหมาะสำหรับประกอบอาหารที่มีความร้อนไม่สูงมาก เนื่องจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งเป็นจำนวนมาก และยังสามารถเกิดไขมันทรานส์ได้หากนำไปใช้ซ้ำหลายๆครั้ง

ประโยชน์ของน้ำมันเมล็ดฝ้าย : น้ำมันเมล็ดฝ้ายสามารถใช้ผลิตเนยขาวที่มีสมบัติด้านการกักเก็บฟองอากาศมีเนื้อสัมผัสเรียบเนียนและตีให้เกิดครีมได้ดีนอกจากนี้น้ำมันเมล็ดฝ้ายยังเป็นแหล่งของกรดไลโนลีอิกซึ่งเป็นสาระสำคัญในร่างกายที่ดีอีกด้วย

11. น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว เป็น น้ำมันพืช ที่สกัดแยกน้ำมันจากเนื้อผลของต้นมะพร้าวโดยองค์ประกอบหลักของน้ำมันมะพร้าวคือกรดไขมันอิ่มตัวประมาณ 90% และยังประกอบไปด้วย กรดลอริก 45-53% มีกรดไขมันที่จำนวนอะตอมของคาร์บอนเป็น 6, 8 และ 10 รวมกันอยู่ในปริมาณ 10-15% ในการประกอบอาหารน้ำมันมะพร้าว ไม่เหมาะในการใช้ในเมนูการทอดที่ใช้น้ำมัน เยอะหรือท่วมอาหาร เนื่องจาก เป็นน้ำมันชนิดที่มีจุดเกิดควันค่อนข้างต่ำ และสามารถเกิดฟองได้ แต่สามารถนำมาประกอบเมนูอาหารทอดที่ใช้น้ำมันน้อยๆ ในปริมาณที่สูงกว่าผิวกระทะเพียง 2-3 มิลลิเมตร ได้เหมือนน้ำมันอื่นๆปกติ

ประโยชน์จากน้ำมันมะพร้าว : น้ำมันมะพร้าวสามารถต่อต้านเชื้อโรค และช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายด้วยแอลกอฮอล์ รวมทั้งปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันการอักเสบน้ำมันมะพร้าวที่ยังไม่ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์มีส่วนประกอบที่ไม่ใช่กลีเซอไรด์ 0.5 % ส่วนใหญ่เป็นโทโคฟีรอล สเตอรอลและสเควลีน โดยสเตอรอลส่วนใหญ่เป็นโฟโตสเตอรอล ซึ่งสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้น้ำมันมะพร้าวสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในการทำครีมเทียม ที่ใช้ในการประกอบอาหารได้ด้วย และรวมถึงครีมในการทำขนม สำหรับขนมบิสกิต ทำไอศกรีมที่มีนมเป็นส่วนผสม รวมถึง ใช้เป็นส่วนผสมของช็อคโกแลตเคลือบไอศกรีมได้ด้วย และยังใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเด็กและอาหารของคนไข้ เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นแหล่งของกรดไขมันชนิดที่ถูกดูดกลืนได้ง่ายในระบบทางเดินอาหาร จึงแปลงไปเป็นแหล่งพลังงานอย่างรวดเร็ว และไม่สะสมเป็นไขมันส่วนเกิน

12. น้ำมันคาโนลา

น้ำมันคาโนลา ได้มาจากการนำเมล็ดของต้นคาโนลามาผลิตเป็นน้ำมันโดยต้นคาโนลานั้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศแคนาดามีสารที่สำคัญคือกรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่งโดยเฉพาะกดโอลีอิก 60-62% มีกรดไขมันอิ่มตัว 6% มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 34-38% เป็นน้ำมันที่เหมาะสำหรับใช้ในการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนที่ไม่สูงมาก เนื่องจากความร้อนจะทำให้สารอาหารที่ดีและมีประโยชน์ในน้ำมันมะพร้าวละเหยหายไปจนหมด

ประโยชน์ของน้ำมันคาโนลา : น้ำมันคาโนลา สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก  มีสารไฟโตสเตอรอลที่ช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในปริมาณสูงน้ำมันคาโนลา สามารถใช้เป็นส่วนประกอบในการทำน้ำสลัด และ เป็นส่วนผสมในการทำเนยเทียมและเนยขาวได้อีกด้วย   

13. น้ำมันข้าวโพด

น้ำมันข้าวโพด เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากผลของข้าวโพด สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้มีสารประกอบที่สำคัญคือ มีกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบหลัก 5 ชนิด ปริมาณรวมทั้งสิ้น 99%  ของกรดไขมันทั้งหมด กรดไขมันเหล่านี้ได้แก่ กรดไลโนลีอิก 60% กรดโอลีอิก 26% กรดพาลมิติก 11% กรดสเตียริก 2%  และกรดไลโนลีนิก 1% ซึ่งน้ำมันข้าวโพดที่ผลิตในแต่ละประเทศก็มีองค์ประกอบของกรดไขมันที่แตกต่างกันออกไป ตามสภาพอากาศและพันธุ์ของข้าวโพดในประเทศนั้นๆ น้ำมันข้าวโพด เหมาะสำหรับประกอบอาหารที่มีความร้อนไม่สูงมาก แต่ไม่ควรนำมาใช้ทอดอาหารเนื่องจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถเกิดอนุมูลอิสระได้ง่าย

ประโยชน์ของน้ำมันข้าวโพด :น้ำมันข้าวโพดเป็นชนิดน้ำมันที่มีคอเลสเตอรอลในปริมาณที่ต่ำมาก และเป็นแหล่งที่ดีของกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกายหลากหลายชนิดน้ำมันข้าวโพดมีผลในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ถึงแม้ว่าจะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณค่อนข้างมาก แต่น้ำมันข้าวโพดค่อนข้างอยู่ตัวที่อุณหภูมิห้องน้ำมันข้าวโพด มักนิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อย่างเช่น  การใช้เป็นส่วนผสมของน้ำสลัด การทำเนยเทียม เนยขาวชนิดเหลวมายองเนส และใช้เคลือบเนื้อสัตว์ สัตว์ปีกและอาหารอบ

จะเห็นได้ว่าน้ำมันต่างๆ ที่สกัดได้จากพืชมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ดังนั้นในฐานะผู้บริโภคถือว่าโชคดีที่มีตัวเลือกในการบริโภคที่หลากหลายแต่ควรเลือกและศึกษาข้อมูลของ น้ำมันพืช ชนิดที่จะนำไปบริโภคว่า เหมาะสมกับตนเองหรือไม่ และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำเมนูประเภททอดที่ต้องเลือกประเภทน้ำมันจากพืชให้เหมาะสม เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์น้ำมันที่สกัดได้จากพืชอย่างมากที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“What are cold pressed oils?”. World’s Healthiest Foods. Retrieved 2011-10-11.

Karl A. D. Swift (2002). “Commercial Essential Oils: Truths and Consequences”. Advances in flavours and fragrances: from the sensation to the synthesis. Royal Society of Chemistry. p.57.

“Hexane solvent oil extraction – Definition, Glossary, Details”. Oilgae. Retrieved 2011-11-10.

ตรวจยีนก่อนสาย ป้องกันการกลายพันธุ์

0
ตรวจยีนส์ก่อนสาย ป้องกันการกลายพันธุ์
การตรวจยีนส์ คือ การตรวจวัดสุขภาพและประเมินความเสี่ยงในระดับยีนส์ของเซลล์ เพื่อประเมินความเสี่ยงการกลายพันธุ์
ตรวจยีนส์ก่อนสาย ป้องกันการกลายพันธุ์
การตรวจยีน คือ การตรวจวัดสุขภาพและประเมินความเสี่ยงในระดับยีนของเซลล์ เพื่อประเมินความเสี่ยงการกลายพันธุ์

ยีน ( gene )

ยีน ( gene ) คือ รหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องมีรหัสพันธุกรรมไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือแม้แต่มนุษย์เราเองก็เช่นกัน ยีน คือรหัสที่อยู่ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ยีนจะมีหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของคนเรา เช่น ยีนที่ควบคุมเพศก็จะทำหน้าที่บ่งบอกเพศว่าเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย ยีนสีผิวก็จะแยกสีผิวของคนเราว่าเป็นสีขาว สีดำ ยีนที่เกี่ยวกับสีผมก็จะแยกสีผมออกมาว่าเป็นสีทอง สีดำ หรือสีน้ำตาล เป็นต้น

โดยยีน ( gene ) นั้นจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น นั่นคือถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกหลาน เช่น พ่อแม่มีผมสีดำลูกที่ออกมาก็จะมีผมสีดำ เป็นต้น ซึ่งการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของยีนนั้นอาจจะความผิดปกติเกิดขึ้นได้ เนื่องจากสภาวะแวดล้อมและอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เราจึงต้องทำการตรวจยีนก่อนสายเพื่อป้องกันการกลายพันธุ์ของยีนที่เรียกว่า “ Genetic Test ”

Genetic Test คือ การตรวจวัดสุขภาพและประเมินความเสี่ยงในระดับยีนของเซลล์ ไม่ไช่แค่ตรวจวัดระดับสารเคมีในเลือดหรือสารพิษที่เป็นอันตรายในร่างกายทั่วไป แต่เป็นการตรวจวิเคราะห์ถึงความแข็งแรงของยีนเพื่อประเมินความเสี่ยงของยีนที่อยู่ภายในเซลล์ว่ามีโอกาสการกลายพันธุ์หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ทาง FDA ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการออกแนวทางปฏิบัติทางคลินิกหรือ Clinical Guideline ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งแนวทางปฏิบัติที่ออกมาจะเป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกถึงวิธีการและขั้นตอนในการทำ Genetic Test การออก Clinical Guideline ก็เพื่อป้องกันความเข้าใจที่ไม่ตรงกันหรือข้อโต้แย้งในทางการแพทย์

ปัจจุบันนี้มียีนเป็นจำนวนมากที่ผ่าน Clinical Guideline และมีการผลิตชุดตรวจยีนสำเร็จออกมาเพื่อใช้ตรวจสอบที่ได้รับการรับรองมาตราฐานจาก FDA ของประเทศสหรัฐอเมริกาในด้านป้องกันโรค

การตรวจ ยีน ( gene ) มะเร็งมีกี่วิธี ?

โรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้นๆ ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตนับแสนคน จึงรณรงค์ให้มีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งทุกปีสำหรับผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและผู้ที่มีสภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่ดื่มสุรา ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีทุกชนิด เป็นต้น

การตรวจยีนมะเร็งมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ

1. ตรวจเนื้อเยื่อ เมื่อตรวจพบชิ้นเนื้อที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติภายในร่างกายแล้ว เราต้องการทำการตัดชิ้นเนื้อเยื่อดังกล่าวไปตรวจ การตรวจเนื้อเยื่อจะทำการตรวจหลังจากที่ผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออกมา การตรวจก็เพื่อยื่นยันว่าเนื้อเยื่อส่วนนั้นเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ เนื้อเยื่อที่ส่งไม่ตรวจไม่จะเป็นที่จะเป็นเนื้อร้ายเสมอไป การตรวจเนื้อเยื่อจะเป็นการตรวจสอบว่า ยีน ( gene ) ส่วนใดของเนื้อเยื่อที่เกิดการกลายพันธุ์ และการกลายพันธุ์นี้อยู่ในระดับใดแล้ว ซึ่งข้อมูลที่ได้จาการตรวจเนื้อเยื่อจะทำให้เราทำการรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับระดับของเนื้อร้ายที่เกิดขึ้น เช่น บ่งบอกว่าควรรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัด ต้องใช้ Target Therapy ทำให้รักษาได้ตรงกับเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นปัญหาและผลการรักษาเกิดผลดีมากที่สุด

2. ตรวจจากเลือด เทคนิคการตรวจที่ล้ำหน้าที่สุดในปัจจุบันนี้ เป็นการตรวจหาเชื้อมะเร็งในระดับก่อนที่จะก่อเกิดเป็นก้อนเนื้อ วิธีการคือ ทำการสกัด Plasma DNA ของเซลล์เนื้อเยื่อที่หลุดเข้ามาอยู่ในกระแสเลือด ทำการตรวจสอบว่า Plasma DNA ที่สกัดมาได้นั้นมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นหรือไม่ หากมีการตรวจพบว่ามีเนื้อเยื่อในกระแสเลือดว่ามีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นในระดับที่สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้แล้ว เราก็จะทำการรักษาเชิงรุกเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อที่มีอยู่ในกระแสเลือดเติบโตเป็นเซลล์มะเร็งหรือเนื้อร้ายในอนาคตได้ การตรวจวิธีนี้ทำให้การรักษาผู้ป่วยได้ผลดีมากกว่าการรักษาหลังจากที่เนื้อร้ายเกิดการกระจายตัวเป็นวงกว้างแล้ว  เมื่อเราทราบถึงวิธีการตรวจยีนมะเร็งกันแล้ว เราก็ควรไปตรวจยีนก่อนสายป้องกันการกลายพันธ์ุของยีน ( gene ) ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนที่เรารักและตัวเราเองด้วย

ยีน ( gene ) กลายพันธุ์

ยีนกลายพันธุ์เป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับทุกคนเพราะการกลายพันธุ์ของยีนเป็นที่มาของโรคร้ายอย่างโรคมะเร็ง ยีนกลายพันธุ์เกิดขึ้นจากการผิดพลาดในการรวมตัวกันของยีน ซึ่งความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่การเริ่มปฏิสนธิของไข่กับสเปิร์มในท้องแม่จนกระทั้งเราแก่ ความผิดพลาดเกิดขึ้นทุกเวลาที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเซลล์ของเรามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่เพื่อมาทดแทนเซลล์ที่หมดอายุอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้ยีนมีการกลายพันธุ์นอกจากกรรมพันธุ์ที่เป็นปัจจัยส่วนน้อยแล้ว ยังปัจจัยที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์คือตัวกระตุ้น ตัวกระตุ้นนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของ ยีน ( gene ) ตัวกระตุ้นที่ว่าคือ สิ่งแวดล้อม รังสีเอ็กซเรย์ สารเคมี ควันบุรี่ อาหาร ควันรถ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นตัวกระตุ้นให้ยีนเกิดการกลายพันธุ์ทั้งสิ้น นอกจากการกลายพันธุ์แล้ว ตัวกระตุ้นยังเป็นสิ่งที่ทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมลงด้วย เราจึงควรตรวจยีนก่อนป้องกันการกลายพันธุ์ของยีน

ยีน ( gene ) กลายพันธุ์ก่อมะเร็ง

ยีนมะเร็งคือยีนที่ควบคุมการแบ่งเซลล์มีการกลายพันธุ์ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวแบบไม่มีขีดจำกัดก่อเกิดเป็นเซลล์มะเร็ง กล่าวอีกนัยหนึ่งเซลล์มะเร็งก็คือเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ การเจริญเติบโตนี้มีการลุกลามจนไม่สามารถควบคุมได้ และเซลล์นี้ยังแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของกร่างกายอีกด้วย

ยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิดคือ 

1. อองโคยีน คือ ยีนมะเร็งที่มีการถ่ายทอดมาทางพันธุ์กรรม ซึ่งอองโคยีนนี้อาจจะไม่ทำงานตลอดชีวิตก็ได้ หรือว่าอองโคยีนอาจจะทำงานขึ้นมาในช่วงชีวิตของคนที่มีอยู่ก็ได้ การที่อองโคยีนนี้จะทำงานหรือไม่ทำงานขึ้นอยู่กับปัจจัยจาก ยีน ( gene ) ตัวอื่นๆด้วย แต่ถ้าอองโคยีนทำงานแล้วจะทำให้เกิดโรคมะเร็งทันที

2. โปรโตอองโคยีน คือ ยีนส่วนที่ควบคุมการแบ่งเซลล์ที่เป็นยีนปกติแต่เกิดกลายพันธ์ุเป็นอองโคยีน เซลล์ปกติที่เกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งเรียกว่า โปรโตอองโคยีนส์

3. ยีนขับสารพิษ ยีนขับสารพิษมีหน้าที่ในการขับสารพิษออกไป ถ้ายีนขับสารพิษทำงานไม่ดีมีสารพิษตกค้างอยู่ ก็จะทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นได้

4. ยีนซ่อมยีน คือ ยีนมีหน้าที่ในการซ่อมยีนที่มีความผิดปกติ โดยการผลิตเอ็นไซม์ออกมาซ่อมยีนที่ผิดปกติ ถ้ายีนส์ซ่อมยีนส์มีความผิดปกติหรือเสียหายจนไม่สามารถทำงานได้ เมื่อมียีนอื่นเกิดผิดปกติต้องการการรักษา แต่ยีนซ่อมยีนไม่สามารถทำการซ่อมได้ ยีนที่ผิดปกติจึงเจริญเติบโตต่อไปกลายเป็นมะเร็งได้

5. ยีนควบคุมมะเร็ง คือ ยีนที่มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ โดยเมื่อพบเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ ยีน ( gene ) ควบคุมก็จะเข้าไปทำลายเซลล์นั้นทันที แต่ถ้ายีนควบคุมผิดปกติไม่ทำงานตามหน้าที่แล้ว เซลล์ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติก็จะไม่มีใครควบคุมจึงเติบโตกลายเป็นเซลล์มะเร็งต่อไป

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Miller BF, Furano AV (April 2014). “Repair of naturally occurring mismatches can induce mutations in flanking DNA”. eLife. 

Rodgers K, McVey M (January 2016). “Error-Prone Repair of DNA Double-Strand Breaks”. Journal of Cellular Physiology. 231

Sharma S, Javadekar SM, Pandey M, Srivastava M, Kumari R, Raghavan SC (March 2015). “Homology and enzymatic requirements of microhomology-dependent alternative end joining”. Cell Death & Disease.

แคลเซียมแร่ธาตุจำเป็นสำหรับกระดูกและฟัน ( Calcium )

0
แคลเซียมแร่ธาตุจำเป็นสำหรับกระดูกและฟัน (Calcium)
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทำหน้าที่เป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนในร่างกายพบมากในกระดูกและฟัน
แคลเซียมแร่ธาตุจำเป็นสำหรับกระดูกและฟัน (Calcium)
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทำหน้าที่เป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนในร่างกายพบมากในกระดูกและฟัน

แคลเซียม คือ อะไร ?

แคลเซียม ( Calcium ) หรือ แคลเซียมคาบอเนต เป็นแร่ธาตุที่จําเป็นต่อร่างกายชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้มากในร่างกาย ตรวจพบแคลเซียมอยู่มากกว่า 1,200 กรัมซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะพบอยู่ในกระดูกและฟันในรูปของแคลเซียมฟอสเฟต ( Calcium  Phosphates ) มากที่สุด ทั้งนี้ยังพบแคลเซียมได้ในเลือดจับตัวอยู่กับโปรตีนส่วนแคลเซียมที่เหลือก็จะอยู่ในรูปของ เนื้อเยื่อและของเหลวในร่างกายนั่นเอง  นอกจากนี้ แคลเซียม ครึ่งหนึ่งก็จะจับเข้ากับโปรตีนในเลือด และอีกครึ่งหนึ่งก็จะลอยอยู่ในน้ำเลือดไม่จับกับอะไรทั้งสิ้น และถูกควบคุมโดยพาราธัยรอยด์ฮอร์โมน ส่วนการทำงานของแคลเซียม มักจะทำงานได้ดีเมื่อทำงานไปพร้อมกับ วิตามินเอ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินดีและวิตามินซี สำหรับอัตราในการดูดซึมของแคลเซียม ในวัยเด็กจะมีการดูดซึมเพื่อนำไปใช้ในการสร้างกระดูกมากกว่าที่จะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเด็กนั่นเอง แต่ในวัยผู้ใหญ่ ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีการดูดซึมแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้ประโยชน์มากขึ้น จึงเป็นผลให้กระดูกเปราะบางและเกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกแตกหักง่ายในที่สุด โดยจะพบว่าผู้หญิงเสี่ยงกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชายถึง 4 เท่า

วัยสูงอายุควรเน้นการทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงหมั่นออกกำลังกายและเลี่ยงสาเหตุที่เป็นตัวการทำลายกระดูกก็จะช่วยลดปัญหาโรคกระดูกและฟันได้

หน้าที่ของแคลเซียม

แคลเซียม มีความสําคัญในการสร้างกระดูกและฟัน เพื่อให้กระดูกและฟันมีความแข็งแรงมากขึ้น โดยพบว่าในเถ้ากระดูกจะมีแคลเซียมอยู่ร้อยละ 50 ซึ่งพบว่าจะอยู่ในรูปของแคลเซียมไตรฟอสเฟต ( Calcium Triphosphates ) ร้อยละ 85 แคลเซียมคาร์บอเนต ( Calcium Carbonate ) ร้อยละ 12 และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Calcium Hydroxide) ร้อยละ 3 นอกจากนี้สารประกอบของแคลเซียมส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตอนปลายของกระดูกเรียกว่า ทราเบคูลาร์ ( Trabecular ) นั้น หากร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมอย่างเพียงพอ ทราเบคูลาร์จะเกิดการพัฒนาและทำให้ส่วนปลายของกระดูกมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น และยังช่วยให้ระดับของแคลเซียมในเลือดเกิดความสมดุลอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย นอกจากนี้คนเราจะมีความหนาแน่นของกระดูกมากที่สุดโดยผู้หญิงจะอยู่ช่วงอายุ 25 – 30 ปี และผู้ชายจะอยู่ช่วงอายุ 30 – 35 ปี และหลังจากช่วงอายุดังกล่าว เนื้อกระดูก และฟันซึ่งมีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพลงไปนั่นก็เพราะในช่วงวัยดังกล่าวจะมีการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากกว่าการดึงเอาแคลเซียมเข้าไป ความหนาแน่นของกระดูกและฟันจึงเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัดเพราะแคลเซียมจำเป็นต่อกระดูกและฟันเมื่อฟันขาดแคลเซียมจะทำให้ฟันโยกหลุดได้ง่ายเมื่อกระดูกขาดแคลเซียมจะทำให้เป็นโรคกระดูกได้ง่าย โดยในวัยสูงอายุจะเห็นได้จากการเป็นโรคกระดูกพรุนและกระดูกเปราะบางหักง่ายนั่นเอง ดังนั้นวัยสูงอายุจึงควรเน้นการทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง หมั่นออกกำลังกายบ่อยๆ และเลี่ยงสาเหตุที่เป็นตัวการทำลายกระดูกก็จะช่วยลดปัญหาต่างๆ ได้ดี

1. แคลเซียมมีความจำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและประสาท

โดยพบว่ากล้ามเนื้อจะมีความไวต่อการกระตุ้นเพื่อมีแคลเซียมต่ำ และหากมีแคลเซียมมากเกินไป ก็อาจจะไปกดการทำงานของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย เช่นทำให้หัวใจหยุดเต้นในท่าบีบตัว และการทำงานของประสาทเกิดการเฉื่อยชาลง เป็นต้น ดังนั้นการได้รับแคลเซียมอย่างพอเหมาะจึงมีความสำคัญมากต่อการเต้นของหัวใจ และทำให้หัวใจแข็งแรงยิ่งขึ้นและเป็นตัวเร่งและช่วยในการยับยั้งการทำงานของน้ำย่อยหลากหลายชนิด 

2. แคลเซียมเป็นตัวเร่งการแข็งตัวของลิ่มเลือด

ในภาวะที่มีเลือดออก เลือดจึงแข็งตัวเร็วขึ้น จึงช่วยยับยั้งไม่ให้เลือดไหลออกมามากเกินไปได้ดี โดยมีกระบวนการตามภาพดังนี้

                  Platelets 

                                          ↓                 Ca++

   Prothrombin            Tromboplastin       Thrombin

——-→

                         Ca++              ↓

                                          Fibrinogen     →→→       Fibrin

                                                       ( Clot )

ภาพแสดงหน้าที่ของแคลเซียม ในการช่วยการแข็งตัวของเลือด     

  • แคลเซียมช่วยกระตุ้นการย่อยโปรตีนของน้ำนม ทำให้โปรตีนในน้ำนมถูกย่อยง่ายขึ้น
  • ทำหน้าที่ในการควบคุมความสมดุลของการเป็นกรดและด่างในร่างกาย โดยจะช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายมีการสะสมของกรดและด่างที่มากเกินไปนั่นเอง
  • ช่วยในการสังเคราะห์ อะซิทิลโคลีน ( Acetylcholine ) โดยเป็นสารที่มีความจำเป็นต่อการส่งกระแสความรู้สึกของระบบประสาทเป็นอย่างมาก
  • แคลเซียมเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมวิตามินบี 12 ที่บริเวณลำไส้เล็กตอนปลาย ให้มีการดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น
  • แคลเซียมทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของ Intracellular Cement หรือสารสื่อประสาทที่เชื่อมยึดกับเซลล์ เพื่อให้เซลล์สามารถคงตัวอยู่ได้

องค์ประกอบทางเคมีของแคลเซียม

เป็นหนึ่งในโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธของกลุ่มที่ 2 (ไอไอเอ) ของตารางธาตุ มันเป็นธาตุโลหะที่ส่วนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ในร่างกายมนุษย์ แคลเซียม คุณสมบัติขององค์ประกอบ
1. เลขอะตอม 20
2. น้ำหนักอะตอม 40.078
3. จุดหลอมเหลว 842 ° C (1,548 ° F)
4. จุดเดือด 1,484 ° C (2,703 ° F)
5. แรงดึงดูดเฉพาะ 1.55 (20 ° C หรือ 68 ° F)
6. สถานะออกซิเดชั่น +2
7. การกำหนดค่าอิเล็กตรอน 1s ยกกำยัง 2 , 2s ยกกำยัง2 , 2p ยกกำยัง 6 , 3s ยกกำยัง2

ระดับแคลเซียมที่ต้องการ คือ 8.3 – 9.5
ระดับฟอสฟอรัสที่ต้องการ คือ 3.5 – 5.5

ร่างกายมีการดูดซึมแคลเซียมได้อย่างไร?

ร่างกายของคนเราจะสามารถดูดซึมแคลเซียมได้บริเวณลำไส้เล็กตอนต้น โดยจะดูดซึมที่ประมาณ 30–40 ของปริมาณที่บริโภค และที่เหลือก็จะขับออกมาทางอุจจาระ และปัสสาวะอีกเล็กน้อย นอกจากนี้ในกรณีที่ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง จะทำให้มีการขับถ่ายแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะมากขึ้น และจะหยุดการดูดซึมตรงส่วนล่างของลำไส้ ตรงส่วนที่อาหารมีสภาพเป็นด่าง

นอกจากนี้หากแคลเซียมอยู่ในรูปที่ไม่สามารถละลายน้ำในลำไส้ได้ ก็จะทำให้การดูดซึมแย่ลงได้เหมือนกัน และที่สำคัญความสามารถในการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของวิตามินดีด้วย อย่างไรก็ตามหากปริมาณของแคลเซียมที่ได้รับจากอาหารน้อยมาก ในขณะที่มีวิตามินดีอย่างเพียงพอ ก็จะเกิดการยืมแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ ซึ่งก็จะส่งผลให้เป็นโรคกระดูกอ่อนตามมาได้

ร่างกายได้รับแคลเซียมมากเกินไป แคลเซียมส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมจะเข้าไปจับตัวกับไขมัน และอาจไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้องอกในลำไส้ จนทำให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ในที่สุดนอกจากนี้จากงานวิจัยของ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ก็ได้พบว่าคนไทยมียีนส์ชนิดหนึ่งที่ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในขณะที่คนตะวันตกมียีนส์ชนิดนี้อยู่แค่ร้อยละ 23 เท่านั้น

ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมเพิ่มขึ้น

1. ความต้องการของร่างกาย พบว่าในคนที่มีระดับแคลเซียมในร่างกายสูงอยู่แล้วจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อย ส่วนในคนที่มีระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำก็จะดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้นไปด้วย นั่นก็เพื่อให้เกิดความสมดุลมากที่สุด นอกจากนี้ในวัยที่ต้องการแคลเซียมเพื่อการเจริญเติบโตสูง เช่น วัยเด็ก หรืออยู่ในช่วงที่ต้องการแคลเซียมมากกว่าปกติ เช่น หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร ก็จะมีการดูดซึมแคลเซียมมากกว่าปกติเช่นกัน โดยจะดูดซึมที่ร้อยละ 40 หรือมากกว่าจากอาหาร   

2. ความเป็นกรด เพราะร่างกายจะสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดีในสภาพที่เป็นกรด โดยกรดจะช่วยละลายแคลเซียมให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายขึ้น และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการของร่างกาย

3. ปริมาณของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีวิตามินดีในร่างกายอย่างเหมาะสมด้วย

4. อัตราส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัส โดยอัตราส่วนดังกล่าวมีอัตราส่วนของแคลเซียม 1 ต่อฟอสฟอรัส 1 ( 1 : 1 ) หรือ แคลเซียม 2 ฟอสฟอรัส 1 ( 2 : 1 ) ซึ่งจะทำให้การดูดซึมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหากอัตราส่วนผิดไปจากนี้จะทำให้การดูดซึมลดลงในที่สุดเพราะฟอสฟอรัสจะเข้าไปรวมกับแคลเซียมฟอสเฟตจนทำให้ละลายได้ยากนั่นเอง

5. การมีปริมาณวิตามินเอและวิตามินซีอย่างเหมาะสม เพราะวิตามินทั้ง 2 ชนิดนี้จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี

6. ไขมัน โดยพบว่าหากมีไขมันในปริมาณที่พอเหมาะ ก็จะทำให้การดูดซึมของแคลเซียมเป็นไปอย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

7. การทานโปรตีน เพราะโปรตีนจะเป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี ยิ่งทานอาหารที่มีโปรตีนสูงมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมดีเท่านั้น

8. ปริมาณของน้ำตาลแลคโทส เพราะน้ำตาลแลคโทสจะช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมได้ดี เพราะแบคทีเรียจะเข้าไปเปลี่ยนแลคโทสให้เป็นกรดแลคติคนั่นเอง

ปัจจัยที่จะขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม

1. ไขมัน พบว่าหากร่างกายมีไขมันที่มากกว่าปกติ ก็จะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ยาก เพราะแคลเซียมกับไขมันจะรวมตัวกันจนเกิดเป็นสารประกอบที่ไม่ละลายนั่นเอง

2. กรดออกซาลิค โดยกรดชนิดนี้เมื่อรวมเข้ากับ แคลเซียม จะเกิดเป็นเกลือแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งเป็นเกลือที่ไม่ละลาย จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ประโยชน์ได้และจะถูกขับออกมาจากร่างกายเป็นลำดับต่อไป แต่ก็อาจทำให้เป็นโรคนิ่วในไตหรือถุงน้ำดีได้เหมือนกัน

3. กรดไฟติค โดยกรดชนิดนี้จะรวมเข้ากับแคลเซียมจนทำให้กลายเป็นเกลือที่ไม่ละลายน้ำและย่อยได้ยากมาก เป็นผลให้ไม่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้     

4. เมื่อร่างกายได้รับฟอสฟอรัสที่มากกว่าปกติ เพราะจะทำให้อัตราส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) ขาดสมดุล และร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยมาก โดยกรณีนี้จะต้องทานแคลเซียมให้มากขึ้นเพื่อให้ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมกับฟอสฟอรัส

5. การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะไปลดประสิทธิภาพในการทำงานของตับให้ลดน้อยลง ทำให้วิตามินดีที่เป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมลดลง และดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง

6. การสูบบุหรี่จัดหรือสูบอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะควันบุหรี่จะทำให้ร่างกายเกิดความเป็นกรด จนต้องมีการปล่อยแคลเซียมจากกระดูกออกมาเพื่อปรับสภาพให้เป็นกลาง ผลที่ตามมาก็อาจทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกอ่อนหรือกระดูกพรุนได้

7. ผู้ที่ดื่มกาแฟมาก โดยดื่มมากกว่าวันละ 6 แก้วขึ้นไปเพราะคาเฟอีนจะไปกระตุ้นให้มีการปล่อยแคลเซียมออกมาจากกระดูกมากกว่าปกติถึง 2 เท่า

8. แร่ธาตุในร่างกายขาดความสมดุล จึงทำให้เกิดการแข่งขันกับแคลเซียมเพื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นจึงเป็นผลให้แคลเซียมอาจจะถูกดูดซึมน้อยลงกว่าปกติได้

9. การออกกำลังกายน้อยหรือแทบไม่ได้ออกกำลังกายเลย เพราะจะทำให้ความหนาแน่นของกระดูกน้อยลง และอาจเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

10. การดื่มน้ำอัดลมเพราะน้ำอัดลมมีกรดฟอสฟอริคที่ทำให้เกิดฟองสูงมาก จึงอาจทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไปและเสียสมดุลกับแคลเซียมในที่สุด

11. การทานยาลดกรดที่มีอลูมินัมเป็นส่วนผสม เพราะจะทำให้แคลเซียมถูกปล่อยออกมาจากกระดูกมากขึ้น และยังทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ลดลงจากเดิมอีกด้วย

แหล่งอาหารที่พบแคลเซียม

ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมเองได้ จึงสามารถหาแคลเซียมได้จากอาหาร ดังนี้

1. น้ำนมมีแคลเซียมสูง

นมวัว 100  ซีซี มีแคลเซียม 120 มิลลิกรัม
น้ำนมคน 100  ซีซี มีแคลเซียม 30 มิลลิกรัม
นมผง 100 ซีซี มีแคลเซียม 990 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าในน้ำนมของคนมี แคลเซียม อยู่น้อยมาก แต่ในขณะเดียวกันกลับมีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่เหมาะสมที่สุด จึงสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่านมชนิดอื่นๆ และเหมาะกับทารกมากกว่านมวัวอีกด้วย   

2. ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ไอศกรีม เนยแข็ง เนยเหลวและผลิตภัณฑ์อื่นที่ทำขึ้นจากนม

3. กระดูกที่สามารถกินได้ เช่น ปลากระป๋อง กุ้งแห้ง ปลากรอบ ปลาป่น กุ้งฝอยสด กุ้งแห้ง กะปิ ปลาเล็กปลาน้อย หอยนางรม เป็นต้น

4. แคลเซียมพบมากในผักใบเขียวที่มีลักษณะแข็ง เช่น คะน้า ใบยอ ใบชะพลู งาดำและงาขาวเป็นธัญพืชที่พบว่ามีแคลเซียมสูง

5. เต้าหู้ที่มีการเติมแคลเซียมคลอไรด์ลงไป จึงทำให้มีแคลเซียมอยู่ในเต้าหู้พอสมควร

6. น้ำส้มคั้นรวมถึงน้ำนมถั่วเหลืองที่มีการเติมแคลเซียมลงไป

อาหารที่มีแคลเซียมต่ำ ก็จะเป็นพวกเนื้อสัตว์ ข้าวเหนียว ถั่วเมล็ดแห้ง และ ข้าวเจ้า รวมถึงผักผลไม้หลากหลายชนิดซึ่งจากการวิจัยของ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน คนไทยส่วนใหญ่มักจะได้รับแคลเซียมจากอาหารที่ไม่ใช่นมมากกว่า และมีการรับแคลเซียมผ่านยาแคลเซียมชนิดแคปซูลอีกด้วย

ปริมาณแคลเซียมที่พอเพียงในแต่ละวันสำหรับคนไทย ( AI )

ทารก 6-11 เดือน 270 มิลลิกรัม/วัน
เด็ก 1-3 ปี 500 มิลลิกรัม/วัน
เด็ก 4-8 ปี 800 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่น 9-18 ปี 1,000 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ 19-50 ปี 800 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ 51-71 ปี 1,000 มิลลิกรัม/วัน
หญิงตั้งครรภ์ ≤18 ปี 1,000 มิลลิกรัม/วัน
19-50 ปี 800 มิลลิกรัม/วัน
หญิงให้นมบุตร ≤18 ปี 1,000 มิลลิกรัม/วัน
19-50 ปี 800 มิลลิกรัม/วัน

โดยจะเห็นได้ว่าเมื่ออายุมากขึ้น คนเราก็จะมีความต้องการ แคลเซียม เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ในขณะที่อัตราการดูดซึมต่ำลงมาก อย่างไรก็ตาม หากรับประทานแคลเซียมสูงจะต้องทานอาหารที่มีแมกนีเซียมในประมาณสูงขึ้นด้วย รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี ทองแดง ฟอสฟอรัส แมงกานีส เป็นต้น เพราะวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญของกระดูกและฟันที่จะขาดไม่ได้นั่นเอง ทั้งนี้การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเนื้อกระดูกได้ จึงจำเป็นต้องทานอาหารที่มีแร่ธาตุเหล่านี้อย่างครบถ้วน เพื่อให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีและมีมวลกระดูกที่หนาแน่นขึ้น ห่างไกลจากภาวะโรคกระดูกพรุนและภาวะกระดูกอ่อนนั่นเอง

เซลล์ในกระดูกจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ เซลล์สลายกระดูกโดยจะทำหน้าที่ในการสลายกระดูกที่ผุกร่อนออกไป และเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก เพื่อทดแทนกระดูกที่สลายออกไป

อาหารเสริมแคลเซียมและการดูดซึม

แคลเซียมในร่างกายทั้งหมดพบว่าเป็นแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Ca 10 [PO 4 ] 6 [OH] 2 )
ในกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อแข็งมีความแข็งแรง เมื่อหญิงชายอายุมากขึ้น และผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน (วัยทอง) การดูดซึมแคลเซียมจะลดลงโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 0.21 เปอร์เซ็นต์ต่อปีหลังอายุ 40 ปี มักเป็นโรคกระดูกพรุน การสูญเสียมวลกระดูก และเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหัก ดังนั้น เพื่อป้องกันการโรคเหล่านี้ควรกินอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอ ถึงแม้ในนมหรือผลิตภัณฑ์จากนมจะมีแคลเซียมสูงแต่ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการตามช่วงอายุนั้นก็อาจไม่เพียงพอ ดังนั้นอาหารเสริมที่มีแคลเซียมจึงมีความสำคัญสำหรับผู้หญิงวัยทอง ผู้สูงอายุที่ต้องการแคลเซียมประมาณ 1,200 มิลลิกรัมต่อวันเลยทีเดียว

การเสริมแคลเซียม

แคลเซียมที่ได้จากการกินอาหารเข้าไปนั้นจะไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว แต่แคลเซียมจะดูดซึมตลอดความยาวของลำไส้เล็ก เมื่อแคลเซียมถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กแล้วก็จะเข้าสู่เส้นเลือดและขนส่งไปยังกระดูก เนื้อเยื่อ และอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายปริมาณแคลเซียมที่ดูดซึมขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่
1. ปริมาณแคลเซียมในเลือด
2. รูปแบบของแคลเซียม
3. ลักษณะความยาวของลำไส้เล็ก

อาหารแคลเซียมสูงที่มีบทบาทสําคัญต่อความแข็งแรงของกระดูก

อาหารเสริมแคลเซียม มีชนิดหลัก

1. แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต ( Calcium L Theonate )  ร่างกายสามารถดูดซึมได้ 90% รับประทานตอนท้องว่างได้

2. แคลเซียม คาร์บอเนต ( Calcium Carbonate ) ร่างกายดูดซึมได้ 10% อาจทำให้ท้องผูก

3. แคลเซียม ซิเตรต ( Calcium Citrate ) ร่างกายดูดซึมได้ 50% ต้องรับประทานพร้อมอาหาร จะมีประสิทธิภาพได้ก็ต่อเมื่อมีกรดในกระเพาะเท่านั้น

ผลจากการขาดแคลเซียมหรือมีแคลเซียมในร่างกายน้อยเกินไป

เมื่อร่างกายได้รับปริมาณของ แคลเซียม น้อยเกินไป จะเกิดการสกัดกั้นแคลเซียมที่กำลังจะขับออกจากร่างกายเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ก่อน ส่วนตับก็จะปล่อยวิตามินดีออกมาเพื่อกระตุ้นให้มีการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารมากขึ้น โดยหากอาหารที่ทานเข้าไปมีปริมาณของแคลเซียมน้อยมาก ก็จะทำให้มีการยืมเอาแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ และส่งผลให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

1. เป็นตะคริวและชาตามมือตามเท้า

2. มีการสร้างกระดูกที่ผิดปกติ เพราะขาดแคลเซียม ทำให้มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้สูง และจะรุนแรงมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตามการขาด แคลเซียม อย่างร้ายแรงมักจะไม่ค่อยเกิดขึ้นมากนัก เพราะจะทำให้ร่างกายต้องขาดวิตามินดีและฟอสฟอรัสด้วย แต่เมื่อขาดแล้วก็จะทำให้กระดูกไม่แข็งแรงและมีปัญหาตามมาได้ รวมถึงทำให้รูปร่างและลักษณะของกระดูกแตกต่างออกไปอีกด้วย โดยที่พบได้บ่อยก็คือ ภาวะโรคกระดูกอ่อนในเด็ก โดยจะมีอาการข้อมือและเท้าใหญ่ หน้าอกยื่นออกมา ขางอโค้งและกระดูกอกกลวง ส่วนในผู้ใหญ่อาจเป็นโรคกระดูกอ่อนในผู้ใหญ่ได้ โดยจะมีผลให้โครงร่างผิดไปจากเดิมและเกิดภาวะกระดูกร้าวได้ง่าย โดยภาวะขาดแคลเซียมอย่างรุนแรงนี้ มักพบมากในคนที่ตั้งครรภ์ติดกัน คนที่ให้นมบุตรเป็นเวลานานและคนที่มักจะไม่ค่อยได้เจอแสงแดดบ่อยๆ 

3. โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดน้อยลง จนทำให้กระดูกเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดก็ไม่สามารถรับน้ำหนักของร่างกายได้ เป็นผลให้กระดูกแตกหักหรือแตกยุบลงในที่สุด นั่นก็เพราะแคลเซียมถูกดึงออกจากกระดูกเร็วกว่าที่มีการสะสมเข้ามา ซึ่งโดยปกติแล้วเซลล์ในกระดูกจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ เซลล์สลายกระดูกโดยจะทำหน้าที่ในการสลายกระดูกที่ผุกร่อนออกไป และเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก เพื่อทดแทนกระดูกที่สลายออกไป โดยกระบวนการดังกล่าวนี้จะหมุนเวียนประมาณ 100 วัน และทุก 10 วันร่างกายจะมีการสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่อยู่เสมอ แต่เมื่ออายุมากขึ้นหรือผู้หญิงในวัยที่หมดประจำเดือน เซลล์ที่สลายกระดูกจะทำหน้าที่มากกว่าเซลล์ที่สร้างกระดูก เป็นผลให้มีการสูญเสียเนื้อกระดูกเร็วกว่าปกติ และสร้างเนื้อกระดูกขึ้นมาใหม่ไม่ทัน จน กระดูกบางลงและเกิดภาวะกระดูกพรุนในที่สุด ซึ่งก็จะมีอาการเจ็บบริเวณกระดูก ข้อ และเตี้ยลงกว่าเดิม เพราะกระดูกสันหลังได้ยุบตัวลงนั่นเอง นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้ระบบอาหารถูกกระทบกระเทือนอีกด้วย อย่างไรก็ตามหากได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยชะลอการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกได้

4. เตตานี ( Tetany ) เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการขาด แคลเซียม โดยเป็นโรคที่มีอาการผิดปกติของประสาทคือประสาทจะไวกว่าปกติและไม่สามารถที่จะควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อได้ อาการที่พบบ่อยคือมีภาวะการเกิดตะคริว การชักเกร็งตัว ชักจากแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ อาการมือกำ กำปลายนิ้วทุกนิ้วเข้าหากัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะพบได้บ่อยมากในหญิงตั้งครรภ์และหญิงคลอดบุตร เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการแคลเซียมมากกว่าปกติ จึงมีโอกาสที่จะขาดแคลเซียมและเป็นโรคเตตานี ( Tetany ) ได้ในที่สุด

ผลจากการได้รับแคลเซียมมากเกินไป

การได้รับแคลเซียมที่มากเกินไป มักเกิดจากการรับประทานแคลเซียมในรูปแร่ธาตุที่อัดเป็นเม็ด แคปซูล
หรือเป็นแร่ธาตุที่เติมเข้าไปในอาหาร แคลเซียมประเภทนี้จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเร็วโดยที่ร่างกาย
ปรับสภาพไม่ทัน ฉะนั้น การรับแคลเซียมที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในตัวอาหารที่มาจากธรรมชาติจะไม่เกิดผล
ข้างเคียงดังกล่าว แคลเซียมจากอาหารธรรมชาติมีมากมาย เช่น แคลเซียมจากนม ชีส กระเจี๊ยบเขียว
ปลาจิ้งจั้ง ปลาข้าวสาร เป็นต้น ดังนั้น หากต้องการเสริมแคลเซียมให้เลือกรับประทานอาหารธรรมชาติ
ที่มีแร่ธาตุแคลเซียมสูงจะเป็นการดีกว่าประหยัดกว่าและปลอดภัยกว่า

ในกรณีที่ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีมากเกินไปก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้เหมือนกัน โดยส่วนใหญ่ก็มักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ มีความดันเลือดสูงและอาจเป็นโรคนิ่วในไตได้ นั่นก็เพราะแคลเซียมจะเข้าไปจับเกาะกับไตมากเกินไป จึงทำให้เป็นนิ่วได้ในที่สุด นอกจากนี้ในบางคนก็อาจมีอาการปวดท้อง ท้องร่วงได้อีกด้วย รวมถึงภาวะกล้ามเนื้อกระบังลมทำงานหนัก จนแข็งเกร็งและอาจเสียชีวิตด้วยหัวใจวายได้ในที่สุด โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว ส่วนในบางคนก็อาจจะมีความคิดที่สับสน เก็บกดและมีอาการทางจิตได้

การขับแคลเซียมออกจากร่างกาย

แคลเซียมจะถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะและอุจจาระ

ร่างกายรักษาระดับแคลเซียมอย่างไร

โดยปกติร่างกายจะควบคุมแคลเซียมที่ไหลเวียนในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลาอยู่แล้ว หากระดับแคลเซียมในเลือดลดลงต่อมพาราไทรอยด์ ( Parathyroid ) จะปล่อยพาราทอร์โมน (Parathormone, PTH) เข้าไปในเลือดและส่งสัญญาณให้เซลล์ในกระดูกปล่อยแคลเซียมออกจากผิวกระดูก พาราทอร์โมนยังส่งสัญญาณให้ไตกักเก็บแคลเซียมที่มากเกินไปก่อนที่จะถูกขับออกผ่านทางปัสสาวะ

ดังนั้นจึงควรทานแคลเซียมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไปจะดีกว่า

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

โภชนศาสตร์เบื้องต้น, สิริพันธุ์ จุลกรังคะ.–พิมพ์ครั้งที่ 9.–กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2558. 314 หน้า. 1.โภชนาการ. RA784 .ส37 2558 ISBN 978-616-556-046-7.

USDA National Nutrient Database, Calcium content of selected foods

Nutrition fact sheet from the National Institutes of Health

UK Food Standards Agency: Calcium

Weast, Robert (1984). CRC, Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton, Florida: Chemical Rubber Company Publishing.

Krieck, Sven; Görls, Helmar; Westerhausen, Matthias (2010). “Mechanistic Elucidation of the Formation of the Inverse Ca(I) Sandwich Complex [(thf)3Ca(μ-C6H3-1,3,5-Ph3)Ca(thf)3] and Stability of Aryl-Substituted Phenylcalcium Complexes”. Journal of the American Chemical Society. 132

คุณประโยชน์ของแอปเปิ้ล ( Apple Benefits )

0
คุณประโยชน์ของแอปเปิ้ล (Apple Benefits)
แอปเปิลเป็นผลไม้ที่ปลูกทั่วโลก มีรสหวานมีหลากหลายสายพันธุ์ ทานได้ทั้งผลสดและนำไปประกอบอาหาร
คุณประโยชน์ของแอปเปิ้ล (Apple Benefits)
แอปเปิลเป็นผลไม้ที่ปลูกทั่วโลก มีรสหวานมีหลากหลายสายพันธุ์ ทานได้ทั้งผลสดและนำไปประกอบอาหาร

แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ล ( Apple ) คือ ผลไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มไม้ผลัดใบในวงศ์ของกุหลาบ โดยมีต้นกำเนิดมาจากแถบเอเชียกลาง ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการรู้จักกันอย่างแพร่หลายและนิยมปลูกทั่วโลกเลยทีเดียว โดยขนาดของต้นแอปเปิ้ลนั้นจะใหญ่หรือเล็กก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะในการนำมาปลูกด้วย กล่าวคือหากนำมาปลูกจากเมล็ดจะมีขนาดที่ใหญ่มาก แต่ถ้านำมาจากการตัดต่อเนื้อเยื่อเข้ากับราก จะมีขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน แอปเปิ้ลก็มีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ซึ่งพบ มากกว่า 7,500 ชนิดเลยทีเดียว โดยแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีรสชาติและลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไปด้วย รวมถึงมีวิธีการนำมาใช้ที่ต่างกันเช่นกัน เช่น นำมาทำเป็นเครื่องดื่ม นำมากินผลสด ประกอบอาหารหรือทำขนมเป็นต้น

คุณประโยชน์ของแอปเปิ้ลแต่ละสี

1. แอปเปิ้ลสีเขียว ให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อผลกรอบ มีน้ำตาลน้อยกว่า ให้พลังงานน้อยที่สุดในบรรดาแอปเปิ้ล มีปริมาณไฟเบอร์และวิตามินซีมากกว่าสีอื่นเล็กน้อย ช่วยในเรื่องของการป้องกันไข้หวัด และโรคเลือดออกตามไรฟัน

2. แอปเปิ้ลสีเหลือง ให้รสชาติดี หวาน หอม นุ่มละมุน สามารถช่วยในเรื่องล้างสารพิษจากตับ ช่วยบำรุงสายตา และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจก

3. แอปเปิ้ลสีชมพู ให้รสชาติหวาน เนื้อไม่กรอบมาก มีวิตามินซีซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันการอักเสบ ลดริ้วรอยแห่งวัย ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน ช่วยทำให้ผนังของหลอดเลือดฝอยแข็งแรงมากขึ้น และยังป้องกันโรคมะเร็ง

4. แอปเปิ้ลสีแดงเข้ม ให้รสชาติหวานมาก เปลือกแอปเปิ้ลสีแดงมีสารแอนโทไซยานินซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ ลดความเครียด ช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ

สารอาหารที่ได้จากแอปเปิ้ล

  • มีสารฟลาโวนอยด์ ที่จะทำหน้าที่ในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้ดี และพบได้มากในเปลือก แอปเปิ้ล 
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านมะเร็ง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้ดี และจะให้คุณประโยชน์สูงสุดเมื่อทานทั้งเปลือก
  • ไม่อ้วน เพราะมีพลังงานแค่ 50 กิโลแคลอรี่ต่อ 100 กรัมเท่านั้น แถมอุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่จะทำให้อิ่มเร็วอีกด้วย- ช่วยบำรุงสายตาเนื่องจากมีสารเบต้าแคโรทีนสูง และสามารถบำรุงหัวใจ ลดความดัน ลดระดับคอเลสเตอรอล รวมถึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีอีกด้วย
  • มีส่วนช่วยในการฆ่าเชื้อไวรัสบางชนิด

แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย เนื้อและเปลือกของแอปเปิ้ลช่วยเพิ่มกากใยในทางเดินอาหาร

สายพันธุ์แอปเปิ้ล ที่คนนิยมรับประทานมากที่สุด

1.เรดดีลิเซียส ( Red Delicious ) 

สายพันธุ์นี้จะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแอปเปิ้ลแดง ซึ่งผลของมันจะเป็นทรงคล้ายกับหัวใจและมีสีแดงสด ทั้งยังมีเนื้อกรอบอร่อย รสชาติอาจหวานไม่มากแต่ก็อร่อยไม่น้อยเลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่แอปเปิ้ลชนิดนี้ก็มักจะนำมาใส่ในเมนูสลัดหรือนำมาทานเล่นอีกด้วย อาจเรียกได้ว่าเป็นแอปเปิ้ลที่เหมาะกับการนำมาทานเป็นสลัดและของว่างในช่วงต่างๆ ได้ดีทีเดียว ส่วนแหล่งกำเนิดพบว่า ชุมชนพีรู รัฐไอโอวา และมีต้นกำเนิดไม่ชัดเจน แต่มีระบุว่าพบในสวนของเจสซี่ เฮียทท์ หรือชื่อเดิมคือ ฮอว์กอาย 

2.โกลเด้นดีลิเชียส ( Golden Delicious ) 

แอปเปิ้ล สายพันธุ์นี้จะมีเปลือกเป็นสีเหลืองทอง รสชาติหวานฉ่ำและเนื้อกรอบอร่อย โดยจะหวานกว่าแอปเปิ้ลสายพันธุ์แรกเล็กน้อย โดยจุดเด่นของแอปเปิ้ลชนิดนี้คือ หลังจากหั่นเรียบร้อยแล้ว ผิวแอปเปิ้ลจะยังคงความขาวสวยน่า ทานได้นานกว่าแอปเปิ้ลชนิดอื่นๆ ทั้งยังสามารถนำมาประกอบเมนูต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะสลัดและพวกเมนูของว่าง อย่างเช่น ขนมอบ พาย เป็นต้น ส่วนแหล่งกำเนิด พบว่าเคลย์เค้าน์ที้ รัฐเวสต์เจอร์จิเนีย และต้นกำเนิดของแอปเปิ้ลสายพันธุ์นี้ก็ไม่พบแน่ชัดเช่นกัน

3.ฟูจิ ( Fuji ) 

เป็น แอปเปิ้ล ที่มีผลค่อนข้างกลม มีเปลือกสีแดงอมส้ม รสชาติของมันจะมีความหวานอร่อยและโดดเด่นกว่าทุกสายพันธุ์ แถมยังมีความกรุบกรอบน่าทานอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้ว แอปเปิ้ลฟูจิจะนิยมนำมาทานสดๆ หรือเป็นของว่างมากที่สุด รวมถึงนำไปทำเป็นขนม เช่น ซอส ขนมอบและพายเช่นกัน สำหรับแหล่งกำเนิดพบที่ ประเทศญี่ปุ่น และไม่ใช่พันธุ์แท้ แต่เป็นสายพันธุ์ที่ถูกผสมระหว่างแอปเปิ้ลเรดดีลิเชียส และแรลส์เจเน็ตนั่นเอง

4.กาล่า ( Gala )

เป็น แอปเปิ้ล สายพันธุ์ที่มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์สุดๆ ด้วยลายทางสีชมพู-ส้ม และมีพื้นหลังเป็นสีเหลืองดูสวยแปลกตา แถมยังมีกลิ่นหอมดูน่าเย้ายวนสุดๆ แต่แอปเปิ้ลชนิดนี้จะหวานน้อยกว่าฟูจิ อย่างไรก็ตาม กาล่าก็สามารถนำไปทำสลัด ซอสและพายได้อย่างอร่อยอีกด้วย ซึ่งก็ถือเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่กำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลกเลยทีเดียว และนอกจากนี้กาล่าก็เหมาะสำหรับการนำมาทำเครื่องดื่มและขนมอบเช่นกัน ส่วนแหล่งกำเนิด พบได้ที่นิวซีแลนด์ เป็นแอปเปิ้ลที่มีการผสมกันระหว่างสายพันธุ์แอปเปิลคิดส์ออเร้นจ์และโกลเด้นดีลิเซียส

5.ฮันนี่คริปส์ ( Honeycrisp ) 

สำหรับ แอปเปิ้ล สายพันธุ์นี้ก็กำลังเป็นที่นิยมมากเช่นกัน เพราะมีความโดดเด่นด้วยเปลือกสีแดงสดแต้มด้วยรอยจุดสีเขียวจางๆ แถมมีความกรอบอร่อยและมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ซึ่งก็จะช่วยสร้างความตื่นตัวและทำให้เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าได้เป็นอย่างดี และสามารถนำมาใช้ประกอบเมนูต่างๆ ได้อย่างหลากหลายอีกด้วย โดยเฉพาะเมนูสลัด ซอส พาย ขนมอบและเมนูอาหารคาวต่างๆ ส่วนแหล่งกำเนิดพบที่มหาวิทยาลัยแห่งมินนิโซตา มินนีแอโพลิส-เซนต์พอล มินนิโซตา โดยแอปเปิ้ลสายพันธุ์นี้ก็เป็นพันธุ์ที่ผสมระหว่างแอปเปิ้ลคีปสกและแอปเปิลไม่ทราบชนิด

6.แกรนนี่สมิธ ( Granny Smith ) 

เป็น แอปเปิ้ล สีเขียวซึ่งจะมีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน มีรสชาติเปรี้ยว ไม่หวานเหมือนกับแอปเปิ้ลชนิดอื่นๆ แต่ก็มีความกรอบอร่อยให้ความรู้สึกที่แสนรื่นรมย์และกระตุ้นรสสัมผัสได้ดีเช่นกัน โดยแอปเปิ้ลชนิดนี้ก็เหมาะกับการนำมาใช้ทำ เป็นของหวาน โดยเฉพาะพายที่สุด เพราะมีรสชาติที่เข้ากันได้ดีและน่าทานไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งสูตรอาหารต่างๆ ที่นิยมนำแกรนนี่สมิธมาทำ ได้แก่ ซอส สลัด ขนมอบและเมนูแช่แข็ง โดยแหล่งกำเนิดพบที่ประเทศออสเตรเลียเชื่อว่าน่าจะมาจากเฟรนช์แครบแอปเปิล เนื่องจากปลูกโดยคุณย่าชาวออสเตรเลียมาเรีย แอนน์ สมิธนั่นเอง

7.แบร์เบิร์น ( Braeburn )

แอปเปิ้ล ที่มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวผสมผสานกันอย่างลงตัวและมีสีส้มจนถึงแดงบนพื้นสีเหลือง แถมมีกลิ่นหอมละมุนน่าทานสุดๆ และยังเหมาะกับการนำมาทำเป็นสลัด ขนมอบ ซอสและพาย ซึ่งก็จะให้รสชาติที่อร่อยกลมกล่อมและน่าทานไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้ก็เหมาะกับการนำมาทำเป็นเมนูเครื่องดื่มหรือแช่แข็งเช่นกัน ส่วนแหล่งกำเนิดพบที่ประเทศนิวซีแลนด์ โดยคาดว่าน่าจะเป็นแอปเปิ้ลพันธุ์ผสมระหว่างเลดี้ฮามิลตันและแกรนนี่สมิธ

8.คริปส์พิ้งค์ ( Cripps Ping )

แอปเปิ้ล ชนิดนี้จะมีเปลือกเป็นสีชมพูสดใส ที่มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน ซึ่งก็ถือเป็นเอกลักษณ์ของแอปเปิลชนิดนี้เลยทีเดียว และยังมีเนื้อนุ่ม กรอบอร่อยอีกด้วย โดยถือเป็นแอปเปิ้ลอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาทำเป็นของว่างและขนมอบสุดๆ หรือจะทานสดๆ ใส่ในสลัด ซอส พาย ทำเป็นเครื่องดื่ม แช่แข็ง ก็ให้ความอร่อยที่ไม่แพ้กันเลยทีเดียว  โดยสำหรับแหล่งกำเนิดพบที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นพันธุ์ที่ผสมระหว่างแอปเปิลสายพันธุ์โกลเด้นดีลิเชียสและเลดี้วิ ลเลียมส์ และนอกจาก 8 สายพันธุ์เด่นๆ เหล่านี้แล้ว แอปเปิ้ลก็ยังมีอีกมากมายหลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น พันธุ์ออโรรา ( Aurora ) มีรสชาติหวานและกรุบกรอบ, พันธุ์สวีทแทงโก้ ( SweeTango ) มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมน่าทานและมีความกรอบอร่อยมาก, พันธุ์ซอนญ่า ( Sonya ) หวานอร่อยและกรุบกรอบสุดๆ, พันธุ์โรม ( Rome ) มีเนื้อนุ่มและมีรสชาติเปรี้ยวแต่มีความละมุนและน่าทานไม่น้อย เป็นต้น 

ข้อควรระวังในการรับประทานแอปเปิ้ล

  • ผู้ป่วยเบาหวานควรสังเกตระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งจำกัดปริมาณการบริโภคแอปเปิ้ลและน้ำแอปเปิ้ล เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
  • สตรีมีครรภ์หรือผู้ที่ให้นมบุตรรับประทานแอปเปิ้ลได้ แต่ควรเลี่ยงรับประทานแอปเปิ้ลเพื่อหวังผลทางยา เนื่องจากยังไม่ปรากฏข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานแอปเปิ้ลจำนวนมากสำหรับรักษาปัญหาสุขภาพ
  • ผู้ที่เกิดอาการแพ้อาหารบางอย่างควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานแอปเปิ้ล เนื่องจากอาจเกิดอาการแพ้ได้ โดยปรึกษาแพทย์ในกรณีที่แพ้แอพปริคอต อัลมอนด์ ลูกพลัม พีช ลูกแพร์ หรือสตรอว์เบอร์รี่

สุดท้ายนี้ต้องบอกเลยว่าการกิน แอปเปิ้ล ควรจะกินทั้งเปลือก เพราะให้คุณประโยชน์ที่มากกว่า แต่เนื่องจากแอปเปิ้ลที่ขายในตลาดส่วนใหญ่จะมีการเคลือบให้สีผิวสดใสและคงความสดนานขึ้น ดังนั้นก่อนกินจึงควรล้างแอปเปิ้ลให้สะอาด ก่อน ด้วยการละลายเกลือทะเล 1 ช้อนชาในน้ำสะอาด 1 กะละมัง แล้วนำแอปเปิ้ลลงไปแช่ไว้ประมาณ 30 นาที จากนั้นขัดถูด้วยฟองน้ำให้ทั่ว เท่านี้ก็พร้อมทานได้อย่างปลอดภัย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“National Fruit Collection”. Retrieved 2 December 2012.

“ECPGR Malus/Pyrus Working Group Members”. Ecpgr.cgiar.org. 22 July 2002. Retrieved 25 August 2014.

“Apple – Malus domestica”. Natural England. Archived from the original on 12 May 2008. Retrieved 22 January 2008.

กรดอะมิโนจำเป็น สำคัญอย่างไร ? ( Amino Acids )

0
กรดอะมิโนจำเป็น สำคัญอย่างไร ? (Amino Acids)
กรดอะมิโน คือหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน
กรดอะมิโนจำเป็น สำคัญอย่างไร ? (Amino Acids)
กรดอะมิโน เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน

กรดอะมิโน คือ ?

ความสำคัญของโปรตีนและกรดอะมิโนอาจกล่าวได้ว่า โปรตีน ก็คือสารประกอบชนิดหนึ่งที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่มาก โดยเกิดขึ้นมาจากการที่กรดอะมิโนมาเชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมาก โดยกรดอะมิโน ( Amino Acids ) คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีนนั่นเอง ซึ่งจะอยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย เพราะฉะนั้น เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีโปรตีนเข้าไป ร่างกายจึงต้องย่อยสลายโปรตีนจนกลายเป็นกรดอะมิโนก่อน จึงจะสามารถนำกรดอะมิโนไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้กรดอะมิโนก็ยังเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือด กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ ฮอร์โมนและเอ็นไซม์อีกด้วย รวมถึงในแอนติบอดี ( Antibody ) ที่จะทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายโดยตรง

ชนิดของกรดอะมิโน

กรดอะมิโนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1. Essential Amino Acids
essential amino acid คือ เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย กรดอะมิโนจําเป็น หมายถึงกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการแต่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง จึงต้องทานเสริมเข้าไปจากอาหารที่มีกรดอะมิโนชนิดนี้

2. Conditionally Essential Amino Acids เป็นกรดอะมิโนจำเป็นชนิดที่มีเงื่อนไข ก็คือ กรดอะมิโนชนิดนี้ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้ตามปกติ แต่ในบางสภาวะ อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงต้องทานอาหารเสริมเข้าไป เช่น ในภาวะที่บาดเจ็บ ไม่สบายหรือเมื่อทำคีโมบำบัด เป็นต้น

3. Non – Essential Amino Acids เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เอง โดยไม่ต้องทานอาหารเสริมเข้าไป

“กรดอะมิโน คือหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน “

ประโยชน์ของกรดอะมิโน

สำหรับประโยชน์ของกรดอะมิโน แบ่งได้ตามชนิดของกรดอะมิโน ดังนี้

1.Essential Amino Acids

กรดอะมิโนจำเป็นชนิดนี้จะมีทั้งหมด 8 ชนิด โดยมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • ไอโซลิวซีน ( Isoleucine ) ช่วยให้ร่างกายมีการสลายไขมันและคาร์โบไฮเดรตเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทได้ดี
  • ลิวซีน ( Leucine ) ช่วยกระตุ้นให้สมอง กล้ามเนื้อและเซลล์ประสาท สามารถทำงานได้ดีขึ้น
  • ไลซีน ( Lysine ) ช่วยสร้างสารแอนติบอดี้ พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง และกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมให้ดียิ่งขึ้น
  • เมไธโอนีน ( Methionine ) จะทำหน้าที่ในการป้องกันการสะสมของไขมันที่ตับและหลอดเลือด พร้อมเร่งการสลายไขมันอย่างรวดเร็วและสามารถกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้ดี
  • ฟีนิลอะลานีน ( Phenylalanine ) เร่งการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่จะส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ภายในสมอง โดยจะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและลดอาการเวียนศีรษะได้ดี
  • ทรีโอนีน ( Treonine ) ทำหน้าที่ในการลดการสะสมไขมันที่ตับ รักษาระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ดี
  • ทริปโตแฟน ( Tryptophan ) เป็นกรดอะมิโนที่จะช่วยสังเคราะห์สารเซโรโทนินขึ้นมา โดยสารตัวนี้ก็จะช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับได้ดีและสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ดีอีกด้วย รวมถึงช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้เช่นกัน
  • วาลีน ( Valine ) ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และรักษาระดับไนโตรเจนในร่างกายให้เกิดความสมดุลมากขึ้นอีกด้วย

2.Conditionally Essential Amino Acids

กรดอะมิโนแบบมีเงื่อนไข ซึ่งมีทั้งหมด 4 ชนิด โดยมีประโยชน์และหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • อาร์จีนีน ( Arginine ) ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระตุ้นระบบเผาผลาญไขมันและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บหรือฉีกขาด
  • ซีสเทอีน ( Cysteine ) ช่วยสังเคราะห์กลูต้าไธโอน ( Glutathione ) ที่จะช่วยในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และลดการสะสมของสารพิษหรือโลหะหนักได้ดี
  • ไกลซีน ( Glycine ) มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์ DNA และ RNA ซึ่งจะทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาเพื่อชดเชยเซลล์เก่าที่ตายแล้ว
  • ไทโรซีน ( Tyrosine ) ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยดูแลการทำงานของต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไตและต่อมไทรอยด์ให้เป็นปกติได้ดี 

3.Non-Essential Amino Acids

กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้ด้วยตนเอง มีทั้งหมด 8 ชนิด ซึ่งมีประโยชน์และหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • อะลานิน ( Alanine) จะทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ( Lymphocyte ) ซึ่งจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี
  • แอสพาราจีน ( Asparagine ) ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
  • กรดแอสพาร์ติด ( Aspartic Acid ) ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและลดการสะสมของแอมโมเนียได้ดี
  • กรดกลูตามิก ( Glutamic Acid ) ทำหน้าที่ในการกระตุ้นการเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงานและส่งเสริมการทำงานของสมองให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • กลูตามีน ( Glutamine ) ช่วยซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บให้หายโดยเร็ว พร้อมลดความเมื่อยล้าได้ดี
  • ฮีสทิดีน ( Histidine) ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
  • โพรลีน ( Proline ) เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อ
  • ซีรีน ( Serine ) ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย พร้อมกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ให้เจริญเติบโตเร็วขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“Amino acid”. Cambridge Dictionaries Online. Cambridge University Press. 2015. Retrieved 3 July 2015.

“Amino”. FreeDictionary.com. Farlex. 2015. Retrieved 3 July 2015.

Wagner I, Musso H (November 1983). “New Naturally Occurring Amino Acids”. Angewandte Chemie International Edition in English. 22 (11): 816–28.

Latham MC (1997). “Chapter 8. Body composition, the functions of food, metabolism and energy”. Human nutrition in the developing world. Food and Nutrition Series – No. 29. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations.

Proline is an exception to this general formula. It lacks the NH2 group because of the cyclization of the side chain and is known as an imino acid; it falls under the category of special structured amino acids.

น้ำมันพืช กับ น้ำมันหมู อะไรดีกว่ากัน ?

0
น้ำมันพืชกับน้ำมันหมูอะไรดีกว่ากัน
น้ำมันประกอบอาหารในปัจจุบันมีหลากหลายทั้งที่ได้จากพืชและสัจว์
น้ำมันพืช กับ น้ำมันหมู อะไรดีกว่ากัน ?
น้ำมันประกอบอาหารในปัจจุบันมีหลากหลายทั้งที่ได้จากพืชและสัตว์

น้ำมันพืช  และ  น้ำมันหมู

เป็นเรื่องที่ยังคงสงสัยและมีการถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า น้ำมันพืช กับ น้ำมันหมู นั้น อะไรดีและมีประโยชน์กว่ากัน  และอะไรที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่ากัน ดังนั้นจึงต้องมาทำความเข้าใจกับน้ำมันพืชและน้ำมันหมูทั้งสองชนิดนี้ก่อน เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ก่อนจะเปรียบเทียบว่าน้ำมันพืชหรือน้ำมันหมูชนิดไหนดีกว่ากันนั่นเอง

น้ำมันพืช

น้ำมันพืช เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว โดยกรดไขมันชนิดนี้เมื่อผ่านเข้าสู่ร่างกายและเจอกับอุณหภูมิ 37 องศา จะกลายสภาพมีความเหนียวข้นและเข้าไปยึดเกาะกับลำคอไปจนถึงลำไส้ใหญ่ ซึ่งเมื่อนานไปก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากที่เดียว โดยสังเกตได้จากน้ำมันพืชที่กระเด็นไปโนข้างฝาขณะกำลังทำกับข้าว ซึ่งน้ำมันพืชก็จะมีลักษณะเหนียวและยึดเกาะเข้ากับฝาผนังทันที แถมน้ำมันพืชยังทำความสะอาดได้ยากอีกด้วย ดังนั้นเมื่อเราทานเข้าไปในร่างกายก็เช่นกัน น้ำมันพืชชนิดนี้จะเข้าไปติดหนึบอยู่กับระบบทางเดินอาหาร เมื่อนานไปก็จะเกิดปัญหาสุขภาพ อย่างเช่นโรคเกี่ยวกับลำไส้และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารในที่สุด

น้ำมันหมู

น้ำมันหมู จะไม่เข้าไปเกาะกับระบบทางเดินอาหารเหมือนกับน้ำมันพืช จึงไม่ทำให้มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับลำไส้หรือระบบทางเดินอาหารตามมาอย่างแน่นอน สังเกตได้จากเมื่อทำกับข้าวแล้วน้ำมันหมูกระเด็นไปโดนกับฝาผนังบ้านจะสามารถทำความสะอาดได้ง่ายกว่า น้ำมันพืช นั่นเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า น้ำมันหมู จะไม่มีข้อเสีย เพราะน้ำมันหมูมีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวที่จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายของคนเราเพิ่มสูงขึ้นและตามมาด้วยปัญหาสุขภาพอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ไขมันอุดตันเส้นเลือด ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดัน โรคหัวใจ เป็นต้น

ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวอาจสรุปได้ว่า น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู ทั้งสองชนิดต่างก็ไม่ดีทั้งคู่ แต่ความจริงแล้วข้อเสียของน้ำมันพืชและน้ำมันหมูไม่ได้เกิดจากน้ำมันโดยตรง เพราะต่างก็เป็นน้ำมันที่ได้จากธรรมชาติโดยเฉพาะ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นก็มาจากกระบวนการผลิตน้ำมันนั่นเอง ดังตัวอย่างเช่นน้ำมันปาล์ม ซึ่งการผลิตจะมีการฟอกสีให้ใส ใส่สารกันบูดและสารเติมแต่งต่างๆ รวมถึงมีการแต่งกลิ่นลงไป ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากพอสมควร ส่วนน้ำมันหมูแม้จะไม่ได้ผ่านกระบวนการใดๆ แต่ก็เป็นแหล่งไขมันชนิดเลวที่ร่างกายไม่ต้องการ ซึ่งเมื่อทานมากๆ ก็จะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้เช่นกัน โดยเฉพาะโรคร้ายต่างๆ

แล้วเราควรใช้น้ำมันชนิดไหนดี ?

เนื่องจากน้ำมันมีความจำเป็นในการใช้ทำอาหารทั้ง น้ำมันพืช หรือ น้ำมันหมู ก็ดี จึงไม่สามารถเลี่ยงการใช้น้ำมันได้ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเสมอไป เพราะเราสามารถเลือกใช้น้ำมันที่มีการสกัดจากธรรมชาติแทนได้ เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันปลาหรือน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น โดยน้ำมันเหล่านี้ไม่ได้ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนและไม่มีสารเคมี จึงปลอดภัยและดีต่อสุขภาพแน่นอน แต่ในขณะเดียวกันก็มีราคาสูงพอสมควร เนื่องจากน้ำมันเหล่านี้มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก ซึ่งเป็นกรด ไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูงอีกด้วย ซึ่งข้อดีที่เห็นได้ชัดก็คือ จะช่วยในการลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีให้ต่ำลงและเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีเข้าไปแทน ผู้ที่ทานน้ำมันเหล่านี้เป็นประจำ จึงมักจะมีภูมิต้านทานโรคสูง และไม่ป่วยด้วยโรคไขมันอุดตันเส้นเลือดได้ง่ายอีกด้วย

น้ำมันมะกอก ที่มีอัลฟาโตโคฟีรอล ( Alpha-Tocopheral ) ผสมอยู่ในรูปของวิตามินอี และมีแคโรทีนในรูปของวิตามินเอสูงมาก จึงทำให้น้ำมันชนิดนี้มีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณ ลดความดันโลหิตและสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยชดลอความแก่ได้อีกด้วย

และสำหรับน้ำมันมะพร้าวก็มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงมากถึงร้อยละ 92 โดยจะทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งชนิดต่างๆ และมีแร่ธาตุวิตามินที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ทันที อย่างเช่น วิตามินอี ดี อี แค แมกนีเซียม แคลเซียนและเบต้าแคโรทีน เป็นต้น นอกจากนี้ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหาร ช่วยล้างสารพิษในร่างกายและทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

ส่วนน้ำมันปลา ก็มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโอแมก้า 6 สูงมาก โดยเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายมากทีเดียว ทั้งยังสามารถบำรุงผิวพรรณ เล็บผม ให้มีสุขภาพดี รวมถึงช่วยเสริมสร้างความจำและกระตุ้นการเรียนรู้ การใช้ความคิดได้อย่างดีเยี่ยม ส่วนในด้านของการป้องกันโรค น้ำมันปลาก็สามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดความดัน พร้อมลดระดับคอเลสเตอรอลและต้านการเกิดมะเร็งเต้านมได้ดีเช่นกัน

เพราะฉะนั้นหากถามว่าระหว่าง น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู อะไรดีกว่ากัน ก็คงต้องบอกว่าควรบริโภคให้น้อยที่สุด และเน้นการบริโภคน้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติจะดีกว่า ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“Dietary Guidelines for Americans 2005; Key Recommendations for the General Population”. US Department of Health and Human Services and Department of Agriculture. 2005.

Yanai H, Katsuyama H, Hamasaki H, Abe S, Tada N, Sako A (2015). “Effects of Dietary Fat Intake on HDL Metabolism”. J Clin Med Res. 7 (3): 145–9.

อัลบูมิน คืออะไร ? ( Albumin )

0
อัลบูมินในไข่ขาว
อัลบูมินในไข่ขาว โปรตีนที่มีความสำคัญต่อผู้ป่วยมะเร็ง โดยจะทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดและซ่อมแซมส่วนต่างๆ
อัลบูมินคืออะไร ?
อัลบูมินพบในไข่ขาว เป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อผู้ป่วยมะเร็ง โดยจะทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดและซ่อมแซมส่วนต่างๆ

อัลบูมิน คือ อะไร ?

อัลบูมิน ( อาบูมิน, Albumin ) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่ลอยอยู่ในกระแสเลือด ถูกผลิตขึ้นจากตับและมีปริมาณมากกว่าโปรตีนชนิดอื่น มีความสำคัญต่อผู้ป่วยมะเร็ง โดยจะทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่เราจะพบอัลบูมินเป็นส่วนประกอบหนึ่งประมาณ 50% ของโปรตีนที่พบในเลือดเลยทีเดียว นอกจากนี้อัลบูมินยังสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายเพื่อต่อต้านการติดเชื้อต่างๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

อัลบูมินถูกสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโนที่ตับ ดังนั้นหากร่างกายได้รับกรดอะมิโนน้อยเกินไปหรือได้รับพลังงานจากอาหารไม่เพียงพอก็จะทำให้ระดับของอัลบูมินลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็เป็นผลให้ภูมิต้านทานต่ำและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนง่ายขึ้นอีกด้วย

อัลบูมิน คือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งพบสารอัลบูมินได้มากที่สุดคือใน “ไข่ “

ซึ่งภายในไข่ก็ยังอุดมไปด้วยอัลบูมินสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ธาตุเหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสีหรือวิตามินและสารอาหารอื่นๆ แถมยังสามารถนำมาทำอาหารได้อย่างหลากหลายเมนูเลยทีเดียว และสำหรับใครที่กังวลว่าการทานไข่บ่อยๆ จะทำให้คอเลสเตอรอลเพิ่มสูงขึ้น ก็หมดกังวลไปได้เลย เพราะเราสามารถเลือกทานเฉพาะไข่ขาวได้ ซึ่งพบว่าโปรตีนจากไข่ขาวก็มีอัลบูมินอยู่มากถึง 50% เช่นกัน

และนอกจาก albumin จะเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว การทานอัลบูมินก็สามารถบรรเทาอาการของโรคตับและโรคมะเร็งตับได้อย่างดีเยี่ยม จึงถือเป็นโปรตีนที่มีความจำเป็นต่อผู้ที่ป่วยด้วยมะเร็งตับและโรคตับเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการรักษาอาการบวมน้ำของผู้ป่วยให้ดีขึ้น นั่นก็เพราะโปรตีนอัลบูมินมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำนั่นเอง อัลบูมินจากไข่ในผู้ป่วยที่ทานไข่ แนะนำให้ทานเฉพาะไข่ขาววันละ 2 ฟอง เท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการป่วยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้กรดอะมิโนและอัลบูมินที่พบในไข่ขาว ก็สามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอภายในร่างกาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้ป่วยได้ดีเช่นกัน แถมยังมีกรดอะมิโนซิสตีน ที่จะช่วยลดการเกิดอาการข้างเคียงจากการฉายแสงและการทำคีโมในผู้ป่วยมะเร็งได้อีกด้วย

กรดอะมิโนที่พบในไข่ขาว

  • ไลซีน ( Lysine ) ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างเอ็นไซม์ต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • ทริพโตเฟน ( Tryptophan ) ช่วยแก้ปัญหาในคนที่นอนไม่หลับได้อย่างดีเยี่ยม โดยจะช่วยให้ร่างกายมีการปรับตัวเข้ากับเวลานอนได้ดียิ่งขึ้น
  • ฮิสทิดีน ( Histidine ) ตัวช่วยที่จะเสริมการทำงานของระบบประสาทให้ดียิ่งขึ้น
  • ฟีนิลแอลานีน ( Phenylalanine ) ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียดและสร้างความสุขได้ดี
  • ลิวซีน ( Leucine ) กระตุ้นการหลั่ง Growth Hormone และช่วยให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
  • ไอโซลิวซีน ( Isoleucine ) ทำหน้าที่ในการรักษาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะเมื่อกล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ
  • ทรีโอนีน ( Threonine ) ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ และทำให้ระบบการทำงานของลำไส้ การดูดซึมสารอาหารและระบบการย่อยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เมไทโอนีน ( Methionine ) จะทำหน้าที่ในการลดการสะสมของไขมันตับ
  • ซิสตีน ( Cystine ) จะทำหน้าที่ในการลดการเกิดอาการข้างเคียงจากการฉายรังสีและทำคีโม รวมถึงลดการสะสมขอจุดด่างดำ พร้อมทั้งดูแลสุขภาพผลให้แข็งแรงไม่หลุดร่วงได้ง่าย
  • วาลีน ( Valine ) ทำหน้าที่ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ พร้อมช่วยรักษาสมดุลของไนโตรเจนในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 

การตรวจ อัลบูมิน

การทำการตรวจต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งวัตถุประสงค์คือตรวจเพื่อทราบค่าโปรตีนในกระแสเลือดชนิด “ อัลบูมิน ” ในกรณีปนออกมากับน้ำปัสสาวะว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ และจะมีผลชี้ไปถึงสภาวะการทำงานของตับและไต ตรวจสอบว่าร่างกายได้รับโปรตีนจากอาหารในแต่ละวันที่บริโภคเพียงพอหรือไม่ หรือมีกลไกการดูดซึมอาหารผิดปกติอย่างไรบ้างหรือไม่

ค่าปกติของ Albumin อยู่ที่เท่าไหร่?

ปกติจะตรวจ 2 ค่าคือ ค่าปกติของอัลบูมิน ( Albumin ) และ โกลบูลิน ( Globulin ) ค่าปกติทั่วไป

อัลบูมิน Albumin 3.5 – 5 gm/dL
โกลบูลิน Globulin 2.3 – 3.4 gm/dL

ค่า Albumin ผิดปกติมีอะไรบ้าง?

ค่าอัลบูมินผิดปกติ คือ ค่าอัลบูมินที่ตรวจพบในเลือดมีปริมาณอัลบูมินต่ำ หรือ อัลบูมินสูงกว่าค่าปกติ

ค่า Albumin ต่ำกว่าค่าปกติ มีสาเหตุจากอะไร ?

ค่าอัลบูมิน Albumin ต่ำ มีสาเหตุ ดังนี้

เมื่อตรวจผลเลือดได้ค่าอัลบูมิน Albumin ต่ำ แพทย์มักวิเคราะห์ถึงสาเหตุได้ ดังนี้
ผู่ป่วยได้รับสารเคมีที่เป็นพิษต่อตับ หรือมีโรคมะเร็งตับระยะแพร่กระจาย
ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง
โรคเกี่ยวกับตับ ซึ่งทำตับให้ผลิตสารอัลบูมินได้น้อยลง
โรคตับอักเสบ ( Hepatitis ) เช่น มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) เช่น จากพิษสุราเรื้อรัง
ร่างกายขาดโปรตีน ทำให้ผลิตอัลบูมินไม่ได้
อาจมีโรคลำไส้อักเสบร่วมด้วย
อาจเกิดการรั่วของโปรตีนผ่านทางการปัสสาวะ
อาจเป็นโรคไต

 

ค่า Albumin สูงกว่าค่าปกติ

  • ค่าอัลบูมินผิดปกติเพราะได้รับโปรตีนในปริมาณมากเกินไป     [adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”
  • ค่าอัลบูมินผิดปกติเพราะร่างกายเกิดสภาวะการขาดน้ำ ( Dehydration )
  • ค่าอัลบูมินผิดปกติเพราะอาจเป็นโรคมะเร็งไขกระดูก ( Multiple Myeloma )

จะเห็นได้ว่า การตรวจค่าอัลบูมินทำให้เราทราบถึงความผิดปกติของร่างกายและรวมไปถึงการวิเคราะห์โรคได้ จึงควรใส่ใจและรักษาระดับอัลบูมินให้อยู่ในระดับปกติเสมอ เริ่มจากการเลือกรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ และอาหารที่ สามารถหาได้ง่ายคือ ไข่ นอกจากไข่มีประโยชน์แล้ว ยังเป็นแหล่งรวมของสารอัลบูมินในปริมาณมาก เราจึงควรรับประทานไข่ ซึ่งก็สอดคล้องกับการที่รัฐบาลรณรงค์ให้คนไทยกินไข่ให้ได้ 300 ฟองต่อปี เพื่อสุขภาพที่ดีอีกด้วย ดังนั้นเรามากินไข่เพิ่มอัลบูมินกันเถอะ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Kashima, A.; Mochizuki, S.; Noda, M.; Kobayashi, K. (1 June 1999). “Crystal structure of human serum albumin at 2.5 A resolution”. Protein Engineering Design and Selection. 

He, Xiao Min; Carter, Daniel C. (16 July 1992). “Atomic structure and chemistry of human serum albumin”. Nature. 

Haefliger, Denise Nardelli; Moskaitis, John E.; Schoenberg, Daniel R.; Wahli, Walter (October 1989). “Amphibian albumins as members of the albumin, alpha-fetoprotein, vitamin D-binding protein multigene family”. Journal of Molecular Evolution.

เราควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้วจริงหรือ?

0
เราควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้วจริงหรือ?
ร่างกายต้องการน้ำเข้าไปทดแทนน้ำที่สูญเสียไปกับการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆซึ่งแต่ละคนจะมีการดื่มน้ำปริมาณที่ต่างกัน
เราควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้วจริงหรือ?
ร่างกายต้องการน้ำเข้าไปทดแทนน้ำที่สูญเสียไปกับการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆซึ่งแต่ละคนจะมีการดื่มน้ำปริมาณที่ต่างกัน

การดื่มน้ำ

น้ำดื่ม สำหรับคนที่กำลังลดน้ำหนักมีข้อปฏิบัติหลายอย่างด้วยกันทีต้องปฏิบัติ ทั้งกินผักและผลไม้ ลดการกินอาหารที่เป็นแป้งกับน้ำตาล และมีอยู่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การดื่มน้ำ ให้ได้ 8 แก้วต่อวัน ซึ่งการดื่มน้ำวันละ 8 แก้วต่อวันแล้วทำให้สามารถลดน้ำหนักได้เนื่องจากน้ำดื่มที่เข้าไปจะทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มนานขึ้น และให้ดื่มน้ำก่อนที่จะรับประทานอาหาร เข้าไปเพื่อที่จะได้อิ่มเร็วขึ้นและรับประทานอาหารได้น้อยลงกว่าปกติด้วย การดื่มน้ำยังช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายทำให้ผิวพรรณผุดผ่องราว แต่สำหรับบางคนแล้วน้ำ 8 แก้วต่อวันกลับทำให้เกิดความลำคาญใจเล็กในเรื่องของการเดินเข้าห้องน้ำ เพราะเมื่อมีน้ำเข้าสู่ร่างกายเพิ่มมากขึ้นก็ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยนั่นเอง

น้ำที่เราควรบริโภคเข้าสู่ร่างกายควรเป็นน้ำสะอาด หลายคนเข้าใจผิดว่าจะดื่มน้ำอะไรก็ได้ขอเพียงแค่ดื่มให้ได้ 8 แก้วต่อวันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วน้ำที่ดื่มแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดคือน้ำสะอาด ไม่ใช่ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ชา กาแฟ น้ำแต่จริงๆแล้ว การดื่มน้ำ ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องดื่มเท่ากันหมดนั่นคือ 8 แก้วต่อวัน เพราะว่าคนแต่ละคนมีลักษณะการกินอาหารที่ต่างกัน บางคนชอบทานผักและผลไม้ บางคนไม่ชอบทานผลไม้ คนที่ชอบทานผักจะร่างกายจะไม่ค่อยขาดน้ำ เนื่องจากในผลไม้นั้นจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 80%

ส่วนคนที่ชอบทานเนื้อสัตว์ก็จะได้รับน้ำจากเนื้อสัตว์เช่นกัน เพราะเนื้อสัตว์นั้นมีส่วนประกอบของน้ำถึง 60% ทำให้ร่างกายได้รับน้ำจากผลไม้และเนื้อสัตว์ที่รับประทานเข้าไป ต่างจากคนที่ไม่รับประทานผลไม้และเนื้อสัตว์ย่อมไม่ได้รับน้ำส่วนนี้เข้ามาในร่างกาย จึงต้องการน้ำจากส่วนอื่นเข้ามาทดแทนด้วยการดื่มกินเข้ามา

ดื่มน้ำน้อยแล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายเราขาดน้ำหรือไม่?

ร่างกายของเราจะมีไตทำหน้าที่ควบคุมและรักษาสมดุลของน้ำกับเกลือในร่างกายให้เหมาะสม ซึ่งช่วงความเข้มข้นของเกลือจะอยู่ในช่วงแคบๆเท่านั้น เมื่อร่างกายได้รับน้ำเข้าไปมากจนความเข้มข้นของเกลือเจือจางมากเกินไป ไตก็ ต้องขับน้ำออกทางปัสสาวะ ทำให้เราต้องเข้าห้องน้ำบ่อย แต่ว่าถ้าร่างกายได้รับน้ำน้อยเกินไปความเข้มข้นของเกลือสูงมากไตก็จะกักเก็บน้ำไว้ทำให้ปัสสาวะของเรามีสีเหลืองเข้มและมีกลิ่นฉุน ดังนั้น ไม่ว่าร่างกายได้รับน้ำมากหรือน้อย ไตก็จะทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำในร่างกายให้กับเราอยู่แล้ว เพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำมีความเข้มข้นของเกลือสูง เราจะรู้สึกกระหายน้ำต้องการหาน้ำมาดื่ม แต่ถ้าเราไม่รู้สึกกระหายน้ำแสดงว่าน้ำในร่างกายของเราอยู่ในสถาวะสมดุลแล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มน้ำเข้าไปในปริมาณมาก

สาเหตุที่คนเรามีความเชื่อว่าต้องดื่มน้ำถึง 8 แก้วต่อวัน ( แก้วละ 8 ออนซ์ )

เนื่องจากทางคณะกรรมการอาหารและสารอาหารแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา The U.S. Food and Nutrition Board ซึ่งเป็นองค์กรสังกัดสถาบันการแพทย์ ได้มีการเผยแพร่แนวทางปฏิบัติของการบริโภคที่ดี ว่าควรดื่มน้ำให้มีปริมาณเท่ากับปริมาณน้ำที่ใช้ในการย่อยสลายอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งต่อมาได้มีการคำนวณออกมาเป็นตัวเลข คือผู้หญิงควรดื่มในปริมาณ 2.7 ลิตรต่อวัน และผู้ชายควรดื่มในปริมาณ 3.7 ลิตรต่อวัน เมื่อนำมาคำนวณเป็นแก้วขนาด 8 ออนซ์แล้ว ผู้หญิงต้องดื่ม 11 แก้วต่อวันและผู้ชายต้องดื่ม 15 แก้วต่อวัน แต่ผลการวิจัยที่ออกมานี้เป็นการคำนวณสำหรับคนที่อยู่ในสภาวะขาดน้ำ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าขาดน้ำ ก็ต่อเมื่อร่างกายเรารู้สึกกระหายน้ำนั่นเอง แต่สำหรับคนที่ร่างกายปกตินั้นไม่จำเป็นต้องมี การดื่มน้ำ ตามที่คำนวณมานี้ เพราะเราได้รับน้ำบางส่วนจากอาหารที่รับประทานเข้าไปอยู่แล้ว

การดื่มน้ำมากขึ้นหรือน้อยลงก็ขึ้นอยู่กับกิจวัตรประจำวัน สภาพแวดล้อม อุณหภูมิและความชื้นของอากาศและสภาพของร่างกายด้วย คนที่ทำงานหรือทำกิจกรรมที่ต้องสูญเสียเหงื่อ คุณจะรู้สึกกระหายน้ำอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าร่างกายต้องการน้ำเข้าไปทดแทนน้ำที่สูญเสียไปนั้นเอง

ส่วนผู้ป่วยที่เป็นไข้ตัวร้อน หายใจหอบ คุณหมอจะแนะนำให้ดื่มน้ำเข้าไปมากๆ เพื่อช่วยลดความร้อนภายในร่างกายทำให้หายไข้เร็วขึ้น แต่ก็มีผลการวิจัยบางจากนิตยสารทางการแพทย์ The British Medical Journal ที่ได้วิจัยว่า การดื่มน้ำ มาก เวลาที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจแล้วอาจจะเป็นอันตรายได้ แต่ว่างานวิจัยนี้ยังไม่มีการสนับสนุนอย่างชัดเจน แต่จากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่เป็นไข้เมื่อดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้น อาการไข้ก็จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ว่าสำหรับบางคนที่ได้รับน้ำมากเกินไป หรือที่เรียกว่า “เมาน้ำ” ( Water Intoxication ) จะเป็นอาการที่กระหายน้ำมากผิดปกติ ซึ่งมักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทางจิตหรือผู้ป่วยที่ได้รับน้ำทางสายน้ำเกลือมากเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับน้ำมากความข้มข้นของเกลือลดต่ำลงผิดปกติ ร่างกายขับน้ำออกมาไม่หันก็จะทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด แต่กรณีนี้เกิดขึ้นได้น้อยมาก

การดื่มน้ำ สะอาดเป็นสิ่งที่ดีเพราะน้ำสะอาดไม่มีแคลอรี เมื่อเราดื่มน้ำแทนการกินอาหารที่มีแคลอรีสูง อย่าง ขนมกินเล่น ขนมขบเคี้ยว ก็จะช่วยควบคุมและลดน้ำหนักที่สูงเกินไปได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความพอดีในตัวของมัน การดื่มน้ำก็เช่นกัน เราต้องดื่มตามความต้องการของร่างกาย คือเมื่อรู้สึกกระหายน้ำก็ให้หาน้ำมาดื่มหรือจิบน้ำบ่อยแทนการดื่มน้ำครั้งละหลายแก้ว ไม่จำเป็นต้องดื่มให้เท่ากับที่ทฤษฏีบอกไว้เสมอไป เพราะร่างกายของคนเราแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน เราซึ่งเป็นเจ้าของร่างกายย่อมรู้จักร่างกายดีว่าต้องการน้ำมากน้อยเพียงใด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Exposure Factors Handbook: 2011 Edition (PDF). National Center for Environmental Assessment. September 2011. Archived (PDF) from the original on 24 September 2015. Retrieved 24 May 2015.

Miller, Thomas A. (2006). Modern surgical care physiologic foundations and clinical applications (3rd ed.). New York: Informa Healthcare. p. 34. ISBN 9781420016581. Archived from the original on 2017-09-01.

Nancy caroline’s emergency care in the streets. (07 ed.). [S.l.]: Jones And Bartlett Learning. 2012. p. 340. ISBN 9781449645861. Archived from the original on 2017-09-01.

การกินไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงใช่หรือไม่?

0
การกินไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงใช่หรือไม่?
การกินไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงใช่หรือไม่
การกินไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงใช่หรือไม่?
ไข่ 1 ฟองมีปริมาณคอเลสเตอรอลประมาณ 185 มิลลิกรัม การกินไข่วันละฟองย่อมไม่ผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด

คอเลสเตอรอลในไข่

คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) สูงหลังการกิน ไข่ เป็นความจริงหรือไม่? ไข่วันละฟอง กินไข่วันละฟอง เป็นสโลแกนที่ร้านสะดวกซื้อใช้ในการโฆษณาขายไข่ที่มีจำหน่ายอยู่ในร้าน ทำไมบางคนบอกว่าการกินไข่จะทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น แล้ว การกินไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงใช่หรือไม่ เราสามารถกินไข่ได้โดยที่คอเลสเตอรอลไม่ขึ้นจริงหรือ เป็นคำถามที่คาใจใครหลายคนแน่นอน สาเหตุที่มีคนกล่าวว่าเมื่อกินไข่แล้วจะทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มขึ้น

เนื่องจากช่วงเวลาหนึ่งเรานิยมบริโภค ไข่ เป็นอาหารเช้าโดยการรับ ประทานคู่กับเบคอนและไส้กรอก ซึ่งหลังจากช่วงนั้นไม่นาน ผู้คนส่วนใหญ่ก็ตรวจพบว่ามีคอเรสเตอรอลสูง ทำให้เกิดความเข้าใจว่าการรับประทานไข่ทุกวันนั้น ทำให้เกิดคอเรสเตอรอลสูงนั้นเอง

ก่อนที่เราจะมาสรุปกันว่า การกินไข่ทำให้ คอเลสเตอรอล สูงใช่หรือไม่นั้น เรามาทราบถึงการเกิดคอเลสเตอรอลในร่างกายกันก่อน

คอเลสเตอรอล สูงจากการกินไข่ไม่จริง คอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในร่างกายคนเรานั้นเป็นคอเลสเตอรอลที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาเองเกือบทั้งหมด ส่วนคอเลสเตอรอลที่มาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นมีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับที่ร่างกายสร้างขึ้นมา

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นมาตามกลไกตามธรรมชาติ เพราะว่าคอเลสเตอรอลนั้นเป็นส่วนประกอบของเซลล์ร่างกาย เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนและยังเป็นตัวช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิดเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย

จะเห็นว่า คอเลสเตอรอล นั้นมีความจำเป็นต่อร่างกายมาก ร่างกายจึงต้องทำการสังเคราะห์ขึ้นมาเอง เพราะว่าถ้าต้องนำมาจากภายนอกนั้นก็คงไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเป็นแน่ แต่ว่าการที่มีคนบอกว่าการกินไข่นั้นทำให้คอเลสเตอรอลสูง ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของคนแต่ละคนด้วย 

คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นมาตามกลไกตามธรรมชาติ

เนื่องจาก ไข่ 1 ฟองมีปริมาณ คอเลสเตอรอล ประมาณ 185 มิลลิกรัม ร่างกายคนเราในสภาวะปกติสามารถรับคอเลสเตอรอลจากอาหารได้วันละ 300 มิลลิกรัม เมื่อเทียบดูแล้วจะเห็นว่าต้องรับประทานไข่ 2 ฟองระดับคอเลสเตอรอลที่ได้รับจึงจะเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นการกินไข่วันละฟองย่อมไม่ผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือผู้ป่วยที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงอยู่แล้ว คนกลุ่มนี้สามารถบริโภคอาหารที่มีคอเรสเตอรอลได้ไม่เกิน  200 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น

แต่อย่าลืมว่านี่เป็นผลรวมของ คอเลสเตอรอล สูงไม่ได้มาจาก ไข่ แต่มาจากการที่รับประทานเข้าไปทั้งหมด แล้วในหนึ่งวันคุณรับประทานอาหารกี่อย่าง อาหารแต่ละอย่างมีคอเลสเตอรอลเท่าไหร่? เวลาที่คิดปริมาณคอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปคุณต้องคิดรวมทุกอย่างด้วย ไม่ใช่ว่าคอเลสเตอรอลจะมาจากไข่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  ในหนึ่งวันเรารับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลรวมเท่ากับที่ร่างกายต้องการแล้ว แต่ยังรับประทานไข่เพิ่มเข้าไปอีก แสดงว่าคอเลสเตอรอลจากไข่นั้นเป็นคอเลสเตอรอลส่วนเกิน ร่างกายจึงได้รับคอเลสเตอรอลสูงกว่าที่กำหนดไว้ ดังนั้นการคำนวณคอเลสเตรอลที่เรารับประทานเข้าไปก็ต้องรวมคอเลสเตอรอลจากทุกแหล่งที่ได้รับด้วย เราจึงได้ข้อคิดว่าการกินไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงใช่หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสุขภาพและปริมาณที่บริโภคต่อหนึ่งวันนั้นเอง

สำหรับคนที่ต้องการควบคุมหรือลดน้ำหนักแล้ว การรับประทาน ไข่ เป็นอาหารหลักทดแทนการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง อย่าง แป้ง ขนมปัง ข้าวขาว ถือเป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะว่าในไข่นอกจากจะมี คอเลสเตอรอล แล้ว ยังให้พลังงานต่อร่างกาย ไข่หนึ่งฟองให้พลังงานเพียง 70 กิโลแคลอรี  ดังนั้นในหนึ่งมื้อเราทานไข่เพียงหนึ่งฟองกับผักและผลไม้แล้ว เราได้รับสารอาหารครบถ้วน แต่พลังงานที่ได้รับน้อยลง เมื่อร่างกายต้องการใช้พลังงานก็ต้องดึงไขมันในร่างกายมาใช้ทำให้น้ำหนักเราลดลงได้ นอกจากนั้นไข่ยังประกอบด้วยโปรตีน กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย อย่างกรดโฟลิคและโคลีน ( Choline ) ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นไข่ยังมีแคโรทีนอยด์ในปริมาณที่สูง แคโรทีนอยด์เป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา จากที่กล่าวมาจะพบว่าไข่จัดเป็นอาหารที่สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย แต่การรับประทานไข่นั้นก็ข้อปฏิบัติดังนี้

1.รับประทานไข่ได้วันละไม่เกิน 1 ฟอง รวมแล้วสัปดาห์ละไม่เกิน 5 ฟองเท่านั้น

2.อย่าคิดว่าคอเลลสเตอรอลที่ได้รับมาจากไข่ทั้งหมด ต้องนับรวมคอเลสเตอรอลจากอาหารอย่างอื่นด้วย โดยนับรวมแล้วคอเลสเตอรอลต้องไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับคนปกติ และไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้มีความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

3.ถ้าคุณเป็นคนที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับ คอเลสเตอรอล แล้ว สามารถรับประทานไข่ขาวได้ แต่ไม่ควรกินไข่แดง

4.ถ้าไม่แน่ใจเกี่ยวกับการกินไข่ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ก่อนการกิน ไข่

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Hardisty, M. W., and Potter, I. C. (1971). The Biology of Lampreys 1st ed. (Academic Press Inc.).

Leonard J. V. Compagno (1984). Sharks of the World: An annotated and illustrated catalogue of shark species known to date. Food and Agriculture Organization of the United Nations.

Gorbman, A. (June 1997). “Hagfish Development”. Zoological Journal. 14. 

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเลือดจาง

0
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเลือดจาง
ผู้เป็นโลหิตจางเกิดจากร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเลือดจาง
ผู้เป็นโลหิตจางเกิดจากร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ

ผู้ป่วยเลือดจาง

สำหรับ ผู้ป่วยเลือดจาง หรือภาวะที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงงน้อยกว่าปกติ สามารถรักษาอาการให้ดีขึ้นได้ไม่ยาก โดยการเสริมด้วยอาหารเพิ่มเกล็ดเลือด เช่น ธาตุเหล็ก กรดโฟลิกและวิตามินบี 12 ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงเลือดได้ดีนั่นเอง โดยภาวะเลือดจางนี้ในทางการแพทย์จะเรียกว่า ระดับค่าฮีโมโกลบินต่ำ ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ชายจะต้องมีฮีโมโกลบินไม่ต่ำกว่า 13  กรัมต่อเดซิลิตรและผู้หญิงจะต้องมีฮีโมโกลบินไม่ต่ำกว่า 12 กรัมต่อเดซิลิตรนั่นเอง ดังนั้นหากพบความผิดปกติจึงต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน

โดยฮีโมโกลบิน เป็นสารสำคัญในเม็ดเลือดแดง ที่ประกอบไปด้วยโปรตีนที่เรียกว่าโลกบิน ( Globin ) 94% และฮีม ( Heme)  6% ซึ่งหากลองวัดค่าความเข้มข้นดูจะพบว่า ผู้ชายที่เป็น โรคโลหิตจาง จะต้องมีค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่า 39% และผู้หญิงจะต้องมีค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่า 36%

ฮีโมโกลบิน เกิดจากอะไร?

ฮีโมโกลบิน เกิดจากการสร้างขึ้นโดยไขกระดูก ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบ 97% และน้ำ 3% โดยหน้าที่ของฮีโมโกลบินก็จะทำการจับออกซิเจนและนำออกซิเจนเหล่านี้ผ่านไปยังอวัยวะและเซลล์ กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงใช้เพื่อทำปฏิกิริยาเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานอีกด้วย ดังนั้นเมื่อร่างกายอยู่ใน ภาวะเลือดจาง หรือมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ จึงมักจะส่งผลให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายแย่ลงไปด้วย โดยสังเกตได้จาก ผิวที่ซีดเหลืองกว่าปกติ ร่างกายมีความอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายและรู้สึกไม่ค่อยมีแรง มักจะหน้ามืดวิงเวียนศีรษะบ่อยๆ และในบางคนที่เข้าขั้นรุนแรงก็อาจเป็นลมหมดสติได้

การเกิดโรคโลหิตจางนั้น มักจะเกิดจากการที่ร่างกายต้องสูญเสียเลือดมากเกินไป เช่น ที่ระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย โดยภาวะเลือดออกที่เกิดขึ้น อาจเป็นเพราะโรคริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการทานยาบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เช่นกัน

นอกจากนี้ก็อาจรวมถึงการมีพยาธิภายในร่างกายที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในอวัยวะต่างๆ ภายในได้อีกด้วย
และนอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว โรคเลือดจาง ก็อาจจะเกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิดได้อีกด้วย โดยเฉพาะกรดโฟลิก วิตามินบี 12 และธาตุเหล็ก ซึ่งสาเหตุดังกล่าวมักจะพบได้จากผู้ที่ทานอาหารไม่เหมาะสม ไม่ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ และที่พบได้มากที่สุดก็คือในผู้สูงอายุนั่นเอง เนื่องจากวัยนี้มักจะมีอาการเบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อยลง และชอบเลือกทานอาหารบางชนิดเท่านั้น จึงทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่สำคัญไปจนทำให้เกิดภาวะเลือดจางได้นั่นเอง

ผู้เป็นโลหิตจางเกิดจากร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ

การรักษาอาการของ โรคเลือดจาง

สำหรับการรักษาและบรรเทาอาการของผู้ป่วยเลือดจางให้ดีขึ้น จะต้องใช้วิธีการโภชนาการบำบัด คือทานอาหารที่เพิ่มเกล็ดเลือดหรือสร้างเม็ดเลือดเป็นหลักนั่นเอง ส่วนผู้ที่เป็น โรคเลือดจาง จากการป่วยด้วยโรคเรื้อรังบางชนิด เช่นโรคไต โรคตับ ข้ออักเสบและบุคคลที่ต้องฟอกไตเป็นประจำ มักจะมีอาการของโรคเลือดจางที่รุนแรงมากกว่าคนทั่วไป แถมยังมีระดับของเม็ดเลือดแดงที่ลดต่ำอย่างต่อเนื่อง นั่นก็เพราะร่างกายได้ขาดฮอร์โมนที่ชื่อว่าอีริโทรโพอิติน ( Erythropoietin หรือ EPO ) โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ไขสันหลังสร้างเม็ดเลือดแดงออกมามากขึ้น ซึ่งเมื่อฮอร์โมนต่ำลงหรือขาดไป ก็จะทำให้เม็ดเลือดแดงถูกสร้างออกมาน้อยกว่าปกตินั่นเอง

ส่วนผู้ที่ป่วยด้วย โรคโลหิตจาง หรือเรียกง่ายๆ ว่า โรคเลือดจาง นั่นเอง จากเม็ดเลือดแดงแตก เป็นเพราะเม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ และไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงเข้ามาแทนที่ได้ทัน จึงทำให้เม็ดเลือดไม่พอและมีภาวะโลหิตจางได้ โดยสำหรับสาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายนั้นก็อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ และผลจากโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคไขกระดูกเสื่อมและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

สำหรับอาหารที่จะช่วยในการเพิ่มเม็ดเลือดแดงให้สูงขึ้นได้ ก็คืออาหารที่มีธาตุเหล็กสูงนั่นเอง เช่น ตับ เนื้อสัตว์ เลือด โดยเฉพาะธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปของสารประกอบฮีม เพราะร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ง่าย เช่น ธัญพืช ผักใบเขียวเข้ม ผักบุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ แป้ง เป็นต้น และสำหรับธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีม แนะนำให้ทานร่วมกับวิตามินซี เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมได้ดีกว่านั่นเอง เช่น ฝรั่ง ส้ม เป็นต้น นอกจากนี้ก็จะมีพวกข้าวเสริมธาตุเหล็ก เช่น ข้าวสายพันธุ์ 313 และข้าวหอมนิลอีกด้วย โดยเป็นข้าวที่ประกอบไปด้วยธาตุเหล็กและโฟลิกสูง จึงสามารถเสริมสร้างเม็ดเลือดแดงได้ดีทีเดียว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Burka, Edward (1969). “Characteristics of RNA degradation in the erythroid cell”. The Journal of Clinical Investigation. 150.

“Hemoglobin Tutorial.” University of Massachusetts Amherst. Web. 23 Oct. 2009.

Steinberg, MH (2001). Disorders of Hemoglobin: Genetics, Pathophysiology, and Clinical Management. Cambridge University Press. 

Van Kessel et al. (2003) “2.4 Proteins – Natural Polyamides.” Chemistry 12. Toronto: Nelson.