Home Blog Page 166

ธาตุเหล็ก ประโยชน์ของธาตุเหล็กคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร ?

0
ธาตุเหล็ก คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร?
ตับเป็นแหล่งสะสมของวิตามินและแคลเซียมและธาตุเหล็ก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง
ธาตุเหล็ก คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร?
ธาตุเหล็ก เป็นสารอาหารที่สำคัญในการผลิตเฮโมโกลบิน ไมโอโกลบิน และเอนไซม์บางชนิด รวมทั้งเป็นสารที่มีความจำเป็นในกระบวนการเผาผลาญวิตามินบี

ธาตุเหล็กคืออะไร

ธาตุเหล็ก หรือ วิตามินเหล็ก คือ แร่ธาตุที่มีความสำคัญกับระบบเลือด ซึ่งปริมาณของธาตุเหล็กที่พบในคนส่วนใหญ่ก็จะมีความแตกต่างกันอยู่ที่ประมาณ 3-5 กรัม โดยขึ้นอยู่กับเพศ อายุและขนาดภาวะ โภชนาการสุขภาพที่ได้รับอีกด้วย นอกจากนี้ก็พบว่าประโยชน์ของธาตุเหล็ก ธาตุเหล็กส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 จะพบในเลือด โดยจะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของเฮโมโกลบินเพื่อนำออกซิเจนไปใช้ในการหายใจ ส่วนอีกประมาณ 26% จะพบอยู่ในรูปของเฟอร์ริทิน ( Ferritin ) หรือเอโมซิเดอริน ( Hemosiderin ) โดยส่วนนี้จะเก็บไว้ใช้เพื่อสร้างเฮโมโกลบินในยามที่จำเป็นนั่นเอง และธาตุเหล็กอีกประมาณร้อยละ 3 ก็จะพบอยู่ในกล้ามเนื้อนั่นเอง ส่วนที่เหลือก็จะอยู่ในน้ำย่อยหลากหลายชนิดปะปนกันไป

ประโยชน์ของธาตุเหล็ก

ประโยชน์ของธาตุเหล็ก ในร่างกายของคนเรา จะมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้

1.ประโยชน์ของธาตุเหล็ก ทำหน้าที่ในการรวมตัวเข้ากับ วิตามินบี 6 โปรตีนและ ทองแดง เพื่อสร้างเฮโมโกลบินขึ้นมา โดยสารชนิดนี้จะทำหน้าที่ในการส่งออกซิเจนในเลือดจากปอดไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่ต้องการออกซิเจนและนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้ามาสู่ปอดเพื่อทำการขจัดทิ้งออกจากร่างกายผ่านการหายใจต่อไป เพราะฉะนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่าธาตุเหล็กเป็นตัวช่วยในการสร้างคุณภาพของเลือดและเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย เพื่อให้ห่างไกลจากโรคต่างๆ ได้นั่นเอง และนอกจากการสร้างเฮโมโกลบินในเลือดแล้ว ประโยชน์ของธาตุเหล็ก ก็ยังช่วยสร้างไมโอโกลบินในกล้ามเนื้ออีกด้วย โดยสารตัวนี้ก็จะช่วยส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวตามปกติ และนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเพื่อกำจัดทิ้งเช่นกัน

2.ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีนและน้ำย่อยอีกหลากหลายชนิด เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและกระบวนการหายใจของเซลล์ให้ดีขึ้น โดยโปรตีนที่มีธาตุเหล็กผสมอยู่ได้แก่ ไมโอโกลบิน เฮโมซิเดอริน และเฮโมโกลบิน เป็นต้น ส่วนน้ำย่อยที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ รีดักเทส แคแทเลสและสารต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ร่างกายของคนเราก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งเหล็กที่อยู่ในรูปของเหล็กเฟอริคและเหล็กเฟอรัส แต่จะสามารถใช้ประโยชน์จากเหล็กเฟอรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า

การดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย

สำหรับการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายของคนเรา โดยปกติแล้วจะสามารถดูดซึมได้ที่ร้อยละ 6-10 ซึ่งหากธาตุเหล็กในร่างกายมีน้อยก็จะมีการดูดซึมได้เพิ่มขึ้นไปอีก เพราะร่างกายมีความต้องการธาตุเหล็กสูงนั่นเอง นอกจากนี้ธาตุเหล็กที่ได้รับจากอาหารประมาณร้อยละ 2-4 จะถูกนำไปใช้ในร่างกายและจะเก็บไว้ที่ม้าม ไขกระดูก เลือดและตับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ชายจะมีธาตุเหล็กสะสมไว้มาก จึงทำให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อย แต่ผู้หญิงจะมีปริมาณธาตุเหล็กสะสม น้อย จึงสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้มากกว่านั่นเอง และสำหรับปริมาณของธาตุเหล็กที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ความต้องการเหล็กของร่างกาย ซึ่งหากร่างกายกำลังต้องการธาตุเหล็กสูง ก็จะดูดซึมได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในภาวะที่ร่างกายกำลังขาดธาตุเหล็กหรือร่างกายมีความต้องการธาตุเหล็กมากกว่าปกติ เช่น หญิงตั้งครรภ์ ขณะให้นมบุตรและในเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต ซึ่งโดยปกติแล้วในภาวะนี้ร่างกายจะทำการดึงเอาธาตุเหล็กจากทรานส์เฟอร์รินมาใช้ก่อน แล้วจึงค่อยดูดซึมธาตุเหล็กเข้าไปทดแทนในภายหลัง ดังนั้นในช่วงภาวะดังกล่าวจึงต้องทานอาหารที่มีธาตุเหล็กให้มากขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตามกลไกในการดูดซึมเหล็กก็จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดการดูดซึมธาตุเหล็กที่มากเกินไปด้วย เพราะอาจจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายได้นั่นเอง

2. สภาพของลำไส้ โดยพบว่าหากลำไส้เล็กตอนบนและกระเพาะอาหารมีสภาวะเป็นกรดก็จะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น เนื่องจากเหล็กเฟอริคจะถูกเปลี่ยนเป็นเหล็กเฟอรัสที่สามารถละลายได้ง่ายและทำให้ง่ายต่อการดูดซึมอีกด้วย ในขณะเดียวกันหากมีการผ่าตัดเอาส่วนใดออกไป ทำให้การผลิตกรดด้อยลง ก็จะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กด้อยลงไปด้วย นอกจากนี้ในส่วนของลำไส้เล็กตอนกลางและตอนปลายจะมีความเป็นด่างมากกว่า จึงทำให้ในส่วนนี้สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

3. ส่วนผสมที่อยู่ในอาหารที่บริโภค โดยพบว่าร่างกายของคนเราจะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กที่ได้จากเนื้อสัตว์มากถึงร้อยละ 10-30 ในขณะที่ดูดซึมธาตุเหล็กจากผักได้แค่ร้อยละ 2-10 เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เหล็กที่อยู่ในถั่วเหลือง จะดูดซึมได้ร้อยละ 7 และเหล็กที่อยู่ในข้าวจะดูดซึมได้ร้อยละ 1 เป็นต้น

4. ผลไม้ที่มีกรด โดยพบว่าจะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีเหมือนกัน ซึ่งกรดที่พบในผลไม้เหล่านี้ได้แก่ กรดมาลิก กรดซิตริกและกรดทาร์ทาริก เป็นต้น

เพราะอะไรเหล็กจากแหล่งพืชจึงดูดซึมได้น้อย?

สาเหตุที่ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากแหล่งพืชได้น้อย นั่นก็เพราะ

1. ธาตุเหล็กที่อยู่ในแหล่งพืชส่วนใหญ่จะเป็นชนิดที่ไม่ได้อยู่ในรูปของฮีม จึงทำให้ดูดซึมได้ยากกว่าเนื้อสัตว์ที่มีเหล็กในรูปของฮีมนั่นเอง แต่ทั้งนี้ก็สามารถที่จะเปลี่ยนเหล็กในรูปของเหล็กเฟอริคในแหล่งพืชให้เป็นเหล็กเฟอรัสที่ดูดซึมได้ง่ายด้วยการดื่มน้ำส้มหลังจากทานอาหารจำพวกพืชเข้าไปนั่นเอง เพราะน้ำส้มจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี

2. อาหารในแหล่งพืชมักจะมีใยอาหารสูงมาก ซึ่งจะทำให้มีการดูดซึมเหล็กได้ยากกว่าอาหารที่มีใยอาหารน้อย จึงเป็นผลให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากแหล่งพืชได้ต่ำมากนั่นเอง ดังนั้นผู้ที่ทานมังสวิรัติจึงมักจะมีภาวะขาดธาตุเหล็กได้มากกว่าคนทั่วไป และต้องทานธาตุเหล็กเสริมเป็นหลัก

3. มีแทนนินสูง โดยสารชนิดนี้จะไปทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายลดน้อยลง ซึ่งก็มักจะพบได้มากในใบชา ใบชะพลูและใบเมี่ยง ดังนั้นจึงมีคำแนะนำไม่ให้ดื่มชาหลังจากมื้ออาหาร เพราะจะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้เท่าที่ควรนั่นเอง

4. ไฟเตต จะทำหน้าที่ในการขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก ซึ่งจะพบได้มากในพืชตระกูลถั่ว พืชผักทั่วไปและธัญพืช

อย่างไรก็ตาม เมื่อทานพืชผักพร้อมกับเนื้อสัตว์ จะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะในเนื้อสัตว์มีโปรตีนสูง และกรดอะมิโนที่ปล่อยออกมาจากโปรตีนก็มีฤทธิ์ในการเพิ่มการละลายในธาตุเหล็ก จึงทำให้สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ง่ายขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้อาหารที่มีกรดแอสคอร์บิกและกรดซัคซินิคสูง ก็จะช่วยเปลี่ยนเหล็กเฟอริคให้เป็นเหล็กเฟอรัสที่ดูดซึมมาใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

การดูดซึมเหล็กจากอาหารต่างๆ

ประเภทอาหาร

ค่าเฉลี่ยของเหล็กที่ดูดซึมจากอาหาร (ร้อยละ)

ข้าว 1
ข้าวโพด หรือ ถั่วดำ 3
ข้าวสาลี หรือ ผักกาดหอม 4 – 5
ถั่วเหลือง 7
ปลา 11
เฮโมโกลบิน 12
เนื้อวัว หรือ ตับ 22

 

ปริมาณธาตุเหล็กอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยวัยต่างๆ

เพศ

อายุ

ปริมาณ

หน่วย

เด็ก 1-3 ปี 5.8 มิลลิกรัม/วัน
4-5 ปี 6.3 มิลลิกรัม/วัน
6-8 ปี 8.1 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้ชาย 9-12 ปี 11.8 มิลลิกรัม/วัน
13-15 ปี 14.0 มิลลิกรัม/วัน
16 -18 ปี 16.6 มิลลิกรัม/วัน
วัยรุ่นผู้หญิง 9-12 ปี 19.1 มิลลิกรัม/วัน
13-15 ปี 28.2 มิลลิกรัม/วัน
16 -18 ปี 26.4 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้ชาย 19-≥ 71 ปี 10.4 มิลลิกรัม/วัน
ผู้ใหญ่ผู้หญิง 19 – 50 ปี 24.7 มิลลิกรัม/วัน
51- ≥ 71 ปี 9.4 มิลลิกรัม/วัน
หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับยาเม็ดธาตุเหล็กเสริม 60 มิลลิกรัม/วัน
หญิงให้นมบุตร ควรได้รับเม็ดธาตุเหล็กจากอาหาร

เนื่องจากไม่มีประจำเดือน จึงไม่สูญเสียธาตุ

15 มิลลิกรัม/วัน

ปัจจัยที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก

สำหรับปัจจัยที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายได้แก่ แกสโตรเฟอริน ( Gastroferrin ) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่จะเข้ามาจับตัวกับเหล็ก จนทำให้เหล็กไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ แต่สารชนิดนี้ก็จะมีจำนวนที่น้อยลงในผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางอีกด้วย เนื่องจากไม่มีธาตุเหล็กให้จับนั่นเอง และนอกจากนี้ฟอตเฟตและไฟเตต ก็เป็นตัวขัดขวางการดูดซึมเช่นกัน ด้วยการเข้าไปรวมกับเหล็กจนทำให้เหล็กไม่ละลายและไม่สามารถถูกดูดซึมได้ หรือ ภาวะความเป็นด่างในลำไส้ ซึ่งไม่เหมาะกับการดูดซึมเหล็ก ดังนั้นผู้ที่กินยาลดกรดหรือกินอาหารที่มีความเป็นด่างสูงจึงมักจะทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กต่ำไปด้วยนั่นเอง และนอกจากปัจจัยดังกล่าวนี้แล้ว การทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงและอาหารที่มีธาตุสังกะสีสูง ก็จะไปยับยั้งการดูดซึมของธาตุเหล็กเช่นกัน

การรักษาสมดุลประโยชน์ของธาตุเหล็ก

ร่างกายของคนเราจะมีภาวะที่ต้องรักษาสมดุลของธาตุเหล็กบ่อยครั้ง ซึ่งโดยปกติในวันหนึ่งคนเราจะมีการสูญเสียธาตุเหล็กเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว โดยสูญเสียออกไปพร้อมกับเหงื่อ ปัสสาวะและอุจจาระนั่นเอง นอกจากนี้เมื่อเม็ดเลือดแดงหมดอายุ 120 วัน ก็จะเกิดการแตกตัวและถูกทำลายออกไป ส่วนเหล็กที่มีอยู่ก็จะมีการนำไปใช้เพื่อสร้างเม็ดเลือดแดงต่อไป ส่วนในผู้หญิงก็มักจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการมีประจำเดือนอยู่เสมอ โดยจะสูญเสียออกมาพร้อมกับเลือดประจำเดือน ซึ่งเฉลี่ยประมาณ 0.5 – 1.0 มก./วันเลยทีเดียว นอกจากนี้ร่างกายของคนเราก็จะมีการเก็บธาตุเหล็กไว้จำนวนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในยามที่ร่างกายมีความต้องการธาตุเหล็กมากกว่าปกติ เช่น ในช่วงระยะท้ายของการตั้งครรภ์ ช่วงการให้นมบุตร เป็นต้น และในช่วงเวลาดังกล่าวก็จะมีความสามารถในการดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติอีกด้วย โดยสำหรับแหล่งอาหารที่ร่างกายมักจะได้รับธาตุเหล็กมากที่สุดก็คือตับและเนื้อสัตว์ ในขณะที่ได้รับธาตุเหล็กจากแหล่งพืชน้อยมาก เพราะในพืชจะมีปัจจัยที่ทำให้การดูดซึมเหล็กเป็นไปได้ยากนั่นเอง

แหล่งอาหารที่พบธาตุเหล็กสูง

แหล่งอาหารที่สามารถพบธาตุเหล็กได้สูง ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง เลือด ลูกพรุน ลูกเกด และถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น โดยเฉพาะใบ ขี้เหล็ก ใบยอและใบชะพลูที่สามารถพบธาตุเหล็กได้มากเป็นพิเศษ ส่วนในนมจะพบธาตุเหล็กได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นและนอกจากธาตุเหล็กจะพบได้จากแหล่งอาหารทั่วไปแล้ว ยังได้จากภายในร่างกายของตัวเองอีกด้วย ด้วยการสลายของเม็ดเลือดและการสลายออกมาจากแหล่งที่เห็บธาตุเหล็กเอาไว้ ทำให้ร่างกายสามารถนำเหล็กที่ได้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ร่างกายของคนเราจะได้รับเหล็กจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงที่ประมาณ 20 มก./วัน โดยนอกจากนี้ในหญิงตั้งครรภ์ก็ควรได้รับยาเม็ดธาตุเหล็กเสริมที่ 60 มก./วัน และหญิงให้นมควรได้รับที่ 15 มก./วัน 

สาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก

โดยจากการศึกษาพบว่าผู้หญิงมักจะขาดธาตุเหล็กได้มากที่สุดและธาตุเหล็กที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวันก็มักจะไม่เพียงพออีกด้วย นั่นก็เพราะ
1. มีการสูญเสียเลือดเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะคนที่มีแผลในกระเพาะอาหาร เป็นเนื้องอก เป็นโรคพยาธิปากขอและพยาธิแส้ม้า เป็นริดสีดวงทวารและลำไส้อักเสบเรื้อรัง รวมถึงในคนที่ประจำเดือนมามากกว่าปกติด้วย

2. เกิดความผิดปกติในการดูดซึม จึงทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อยกว่าปกติ เป็นผลให้ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคอุจจาระร่วง

3. ร่างกายไม่สามารถที่จะนำเหล็กที่ดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ร่างกายขาด แร่ธาตุทองแดง วิตามินเอ หรือเป็นโรคเลือดบางชนิด

4. อยู่ในภาวะที่ร่างกายมีความต้องการเหล็กมากกว่าปกติ เช่น ในช่วงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต ซึ่งจะต้องการธาตุเหล็กสูงมาก

5. การสะสมของเหล็กมีน้อยตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กแฝดหรือเด็กที่คลอดก่อนกำหนดนั่นเอง

6. ได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กต่ำหรือธาตุเหล็กอยู่ในสภาพที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ หรือดูดซึมได้ยากมาก

7. ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็กน้อยลงไปด้วย

ผลของการขาดธาตุเหล็ก

เมื่อร่างกายขาดธาตุเหล็กจะส่งผลกระทบมากพอสมควร โดยกรณีที่ขาดธาตุเหล็กเพียงเล็กน้อย จะทำให้ความสามารถในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายลดน้อยลง เป็นผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ มีภูมิคุ้นกันโรคต่ำและอาจเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้ง่าย ทั้งยังบั่นทอนพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็กทารกอีกด้วย ส่วนในคนที่ขาดธาตุเหล็กมากๆ จนถึงขั้นมีอาการเลือดจางแบบเรื้อรัง ก็มักจะมีอาการเหนื่อยง่าย ปวดศีรษะบ่อยๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หายใจลำบาก ใจสั่น จุกเสียดบริเวณยอดอกบ่อยๆ เล็บและลิ้นซีด บวมตามข้อเท้า นอกจากนี้ก็อาจมี อาการมือและเท้าชาและเจ็บเสียวตามมือตามเท้าได้เหมือนกันโดยนอกจากอาการดังกล่าวแล้ว สำหรับบางคนก็อาจมีอาการแสบปาก แสบลิ้น มุมปากเปื่อย กลืนอาหารลำบาก คล้ายกับขาด วิตามินบีสอง ได้อีกด้วย และสำหรับผู้หญิงบางคนก็อาจจะมีปัญหาระดูมาผิดปกติ มาไม่ตรงกำหนดหรือมาน้อยจนเกินไป หรือในคนที่ขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรงก็จะมีอาการที่รุนแรงขึ้น และเล็บอาจแบนและงอนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว และที่น่ากลัวที่สุดก็คือ เมื่อเม็ดเลือดแดงมีสีซีดกว่าปกติ จะทำให้เฮโมโกลบินลดลง เป็นผลให้ขนากของเม็ดเลือดแดงเล็กลงมาก จนทำให้ไม่สามารถนำพาออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็จะทำให้ร่างกายมีความอ่อนเพลียผิดปกติ ผิวหนังเหี่ยวย่น ซีดเหลือง หัวใจโต สติปัญญาเริ่มเลอะเลือน และมีอาการบวมทั้งตัวอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็อันตรายมากทีเดียว 

การรักษาโรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก

สำหรับการรักษาโรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก จะต้องดูจากสาเหตุเพื่อจะได้รักษาได้ถูกทางมากขึ้น เช่นหากเป็นโรคเลือกจางจากการที่ร่างกายสูญเสียเลือดเป็นเวลานานหรือเป็นโรคระบบทางเดินอาหารที่ทำให้การย่อยอาหารไม่ดีและส่งผลให้เกิดการดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อย ก็จะต้องทำการรักษาให้หายขาด และตามด้วยการเสริมธาตุเหล็กเพื่อปรับสมดุลของเม็ดเลือดอีกครั้ง ส่วนผลเสียของการที่ร่างกายขาดธาตุเหล็กก็แบ่งออกได้เป็น 6 ข้อดังนี้

1. ผลเสียในหญิงตั้งครรภ์ พบว่าจะทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกในครรภ์และทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ ทั้งยังทำให้ทารกที่คลอดออกมาอาจมีภาวะธาตุเหล็กสะสมมาต่ำจนทำให้เจ็บป่วยและเสี่ยงเสียชีวิตในวัยทารกได้เช่นกัน และนอกจากนี้ก็เป็นการเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของมารดาในขณะตั้งครรภ์อีกด้วย

2. เป็นผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายด้อยลง เพราะไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง

3. ทำให้เด็กในวัยเติบโตมีการเรียนรู้ที่ต่ำกว่าปกติ และอาจมีพฤติกรรมแปลกๆ รวมถึงมีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยกระตือรือร้นเหมือนเด็กทั่วไปอีกด้วย

4. มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนต้น

5. ร่างกายสามารถต้านทานต่ออากาศหนาวเย็นได้น้อยลง และมักจะมีอาการหนาวสั่นได้ง่าย

6. น้ำย่อย อับฟากลี-เซอรอลฟอสเฟตดีฮัยโดรจีเนส ต่ำลง จึงทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อแย่ลงไปด้วย

และนอกจากนี้หากร่างกายได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปก็จะส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่ทานธาตุเหล็กเสริมในรูป ของแคปซูลหรือเม็ด โดยในเด็กอาจมีอาการท้องเสีย อาเจียนและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนในผู้ใหญ่ก็อาจมีอาการท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน ได้เช่นกันโดยเมื่อปี พ.ศ.2547 ก็ได้มีการออกมาประกาศเตือนจากเอฟเอสเอว่า การได้รับธาตุเหล็กมากกว่า 17 มิลลิกรัมต่อวันจะทำให้เกิดอาการปวดท้องและอาจท้องร่วงได้ แต่เมื่อหยุดรับประทานธาตุเหล็ก อาการเหล่านี้ก็จะค่อยๆ หายไปเอง อย่างไรก็ตามเพราะร่างกายไม่สามารถกำจัดธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากร่างกายได้นอกจากมีการเสียเลือด ดังนั้นจึงควรทานธาตุเหล็กอย่างพอเหมาะ และนอกจากนี้ก็พบอีกว่าการได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคมะเร็ง รวมถึงเกิดความผิดปกติบางอย่าง และยังเสี่ยงต่อภาวะตับแข็งที่เป็นอันตรายมากอีกด้วย ส่วนวิธีการรักษาเมื่อร่างกายมีเหล็กเกินก็อาจจะต้องใช้วิธีการปลูกถ่ายไขกระดูก ฉีดยาเพื่อนำธาตุเหล็กออกมาหรือกินยาเพื่อขับธาตุเหล็กเลยทีเดียว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

British national formulary : BNF 69 (69 ed.). British Medical Association. 2015. pp. 660–664. ISBN 9780857111562.

Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 217. ISBN 9781284057560.

I am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

เบตาเลน สารสีแดงของแก้วมังกร อุดมด้วยคุณค่าสารอาหาร

0
เบตาเลน สารสีแดงของแก้วมังกร อุดมด้วยคุณค่าสารอาหาร
เบตาเลน สารสีแดงของแก้วมังกร อุดมด้วยคุณค่าสารอาหาร
เบตาเลนในแก้วมังกรเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน มีสีแดง-เหลือง สามารถละลายในน้ำได้ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ควบคุมระบบเผาผลาญ

เบตาเลนและคุณค่าทางโภชนาการ

แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีสีสันสดใสและเป็นที่นิยมในหลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชีย สารสีแดงที่พบในแก้วมังกรคือเบตาเลน (betalain) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เบตาเลนช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับความเครียดจากออกซิเดชัน และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ สารนี้ยังมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบและช่วยส่งเสริมการทำงานของตับ ทำให้แก้วมังกรไม่เพียงแต่เป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อย แต่ยังเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เบตาเลน เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน โดยจัดอยู่ในกลุ่มอินโดล ( Indole ) มีลักษณะเป็นสารสีแดง-เหลือง สามารถละลายในน้ำได้จึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น และนอกจากนี้เบตาเลนยังมีความเชื่อว่าน่าจะมีความเกี่ยวพันกับสารให้สีชนิดอื่นๆ อีกด้วย เพราะเบตาเลนสามารถให้สีกับพืชได้นั่นเอง

ประโยชน์ต่อสุขภาพของเบตาเลน

  • ประโยชน์ต่อสุขภาพของเบตาเลน - เบตาเลน สารสีแดงของแก้วมังกร อุดมด้วยคุณค่าสารอาหารสำหรับประโยชน์และคุณสมบัติของเบตาเลน ( Betalain ) ในแก้วมังกรพบว่า
    มีสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดีและสามารถต้านการอักเสบได้อีกด้วย
  • ควบคุมระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างดีเยี่ยม จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการทานแก้วมังกรจึงสามารถลดน้ำหนักได้นั่นเอง
  • มีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันไม่ดีในเลือด จึงสามารถลดความเสี่ยงไขมันอุดตันในหลอดเลือดได้ดี และสามารถป้องกันภาวะดื้ออินซูนลินได้อีกด้วย
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้และยับยั้งการอักเสบ ติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
  • ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น พร้อมกับลดการอักเสบในลำไส้

สีของเบตาเลนและคุณสมบัติ

สีของเบตาเลนและคุณสมบัติโดยจากความเชื่อดังกล่าวก็ได้มีการศึกษาและพบว่าจริงๆ แล้วเบตาเลนมีโครงสร้างที่แตกต่างจากสารให้สีชนิดอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง โดยจะมีความคล้ายกับโปรตีนมากกว่าสารให้สี เพราะมีธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะการให้สีของเบตาเลนและคุณสมบัติที่พบ ซึ่งได้แก่

1. เบต้าไซยานิน ( Betacyanin ) สารชนิดนี้จะเป็นสารที่ให้สีแดง-ม่วง และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งจะช่วยในการต้านอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย พร้อมกับป้องกันการเสื่อมของเซลล์ได้ดี โดยสารในกลุ่มนี้ที่พบได้บ่อยๆ เช่น เบตานิน ( Betanin ) นีโอเบตานิน ( Neobetanin ) และสามารถพบได้มากในบีทรูท แครนเบอรี่ ทับทิม เป็นต้น 

2. เบต้าแซนทิน ( Betaxanthin ) สารชนิดนี้จะให้สีแดง – เหลือง ได้แก่ ไมร่าแซนทิน ( Miraxanthin ) โวลก้าแซนทิน ( Vulgaxanthin ) เป็นต้น และสามารถพบได้มากในผลแคคตัส และบีทรูท เป็นต้น

กินแก้วมังกรแล้วปัสสาวะเป็นสีแดง ผิดปกติไหม?

กินแก้วมังกรแล้วปัสสาวะเป็นสีแดง ผิดปกติไหม?ในบางคนที่เคยกินแก้วมังกรแล้วปัสสาวะออกมาเป็นสีแดงก็อาจเกิดความสงสัยว่าเป็นเพราะอะไรและผิดปกติไหม ซึ่งสรุปได้ว่าอาการดังกล่าวเป็นเรื่องปกติ ไม่อันตรายและไม่ต้องกังวลใดๆ เพราะในแก้วมังกรมีเบตานินสูงมากและเนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยสารสีดังกล่าวได้ จึงต้องขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ เป็นผลให้ปัสสาวะมีสีแดงนั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงวางใจได้เลยว่าไม่ใช่อาการผิดปกติใดๆ แน่นอน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผลไม้. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 1.ผลไม้–แง่โภชนาการ–ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641.

ไลโคปีน คืออะไร และแคโรทีนอยด์จากมะเขือเทศ มีผลต่อความดันโลหิตอย่างไร

0
ในไลโคปีนมีสารอนุมูลอิสระมากกว่าเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอริ้วรอยก่อนวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ไลโคปีนและสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ในมะเขือเทศ
ในไลโคปีนมีสารอนุมูลอิสระมากกว่าเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอริ้วรอยก่อนวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์

ไลโคปีน ( Lycopene )

ไลโคปีน ( Lycopene ) คือ สารเคมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งสารตัวนี้ทำให้ผลไม้ ผักมีสีแดง เป็นหนึ่งในเม็ดสีที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระในตระกูลแคโรทีนอยด์พบได้ในผลไม้สีแดง สีชมพู เช่น มะเขือเทศ แตงโม ส้มเนื้อแดง ส้มโอเนื้อแดง ฝรั่งใส้แดง ทับทิม มะละกอ พริกแดง ลูกพลับ หน่อไม้ฝรั่งสีม่วง กะหล่ำปลีม่วง และเกรฟฟรุต ไลโคปีนในอาหารมาจากผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ หรือมะเขือเทศสด โดยการแปรรูปมะเขือเทศดิบจากการใช้ความร้อน และยังช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยเสริมสุขภาพให้แข็งแรงยิ่งขึ้นแม้จะอายุมากแล้วก็ตาม เมื่อระดับอนุมูลอิสระมีมากกว่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระก็สามารถสร้างความเครียดจากการออกซิเดชั่นในร่างกายได้ นอกจากนี้วิจัยพบว่าไลโคปีนถูกใช้ป้องกันโรคไม่ติดต่อได้หลายชนิดอย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคเส้นเลือดตีบในสมอง เป็นต้น

มะเขือเทศกับสารไลโคปีน

จากการวิจัยพบว่าในมะเขือเทศจะอุดมไปด้วยสาร ไลโคปีน เป็นจำนวนมาก และไลโคปีนจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อมีการปรุงมะเขือเทศด้วยความร้อน เพราะจะทำให้เกิดชีวประสิทธิผลที่ดีขึ้นและเพิ่มปริมาณของไลโคปีนให้สูงขึ้นไปอีก นั่นก็เพราะเมื่อไลโคปีนสัมผัสกับความร้อน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพันธะเคมีแบบทรานส์ ทำให้ไลโคปีนกลายเป็นพันธุแบบซิสที่เป็นเส้นโค้งงอ โดยจะสามารถละลายในไขมันได้ดีกว่า จึงทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าด้วยนั่นเองซึ่งจากกรณีของมะเขือเทศจะเห็นได้ว่า ผักผลไม้ทุกชนิดไม่ได้มีประโยชน์มากที่สุดเมื่อทานสดๆ เท่านั้น โดยเฉพาะมะเขือเทศที่จะยิ่งมีคุณค่าสูงขึ้นเมื่อได้ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนั่นเอง เพราะฉะนั้นมาทานมะเขือเทศที่ปรุงด้วยความร้อนกันบ่อยๆ

ไลโคปีน ช่วยอะไร

ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสารชนิดอื่นๆ ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ซึ่งรวมถึงเบต้าแคโรทีน ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมีประสิทธิภาพในการรักษาความแข็งแรงความหนาและความลื่นไหลของเยื่อหุ้มเซลล์ มีหน้าที่ช่วยคัดกรองสิ่งที่เข้าและออกจากเซลล์ช่วยให้สารอาหารที่ดีเข้า กำจัดขยะในเซลล์และป้องกันไม่ให้สารพิษเข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ที่แข็งแรงมีความสำคัญในการป้องกันโรคต่างๆ

ไลโคปีนประโยชน์ต่อสุขภาพ

ประโยชน์ไลโคปีนนั้นสามารถช่วยป้องกันมะเร็งหลายรูปแบบ ตลอดจนการป้องกันและรักษาความเจ็บป่วย และโรคต่าง ๆ ได้ เช่น

  • ไลโคปีนช่วยต้านอนุมูลอิสระลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
  • ช่วยในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ผลจากการทดสอบพบว่าไลโคปีนสามารถเพิ่มความเข้มข้นของอสุจิในผู้ชายได้
  • ไลโคปีนช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
  • การเสริมด้วยไลโคปีนที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดพารามิเตอร์หรือความเครียดภายในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใน 30 วัน สามารถเพิ่มพลาสมาเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์
  • ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  • ป้องกันการเสื่อมสภาพของอายุและต้อกระจก
  • ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์
  • ทำหน้าที่เป็นครีมกันแดดภายในและปกป้องผิวของคุณจากการถูกแดดเผา

แหล่งอาหารของไลโคปีน

ไลโคปีนพบในผัก ผลไม้หลายชนิดที่มีสีแดง สีชมพู อาหารที่มีไลโคปีนสูงและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาให้ใช้เป็นสารเติมแต่งในอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในรูปแบบที่เข้มข้นและแยกได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

อาหาร ปริมาณในการรับประทาน ปริมาณไลโคปีน (มิลลิกรัม)
มะเขือเทศบดกระป๋อง 1 ถ้วย 54.4
มะเขือเทศตากแดด 1 ถ้วย  24.8
น้ำมะเขือเทศ 1 ถ้วย 22.0
ฝรั่งใส้แดง 1 ถ้วย 8.59
แตงโม (หั่นลูกเต๋า) 1 ถ้วย 6.89
มะเขือเทศแดงดิบ(สับ) 1 ถ้วย 4.63
ซอสมะเขือเทศเข้มข้น 1 ช้อนโต๊ะ 4.60
ส้มโอสีเนื้อแดง 1 ถ้วยตวง 3.26
มะละกอ 1 ถ้วย 2.65
ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนโต๊ะ 2.05

สารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ( Carotenoid )

สารในกลุ่ม แคโรทีนอยด์ ( Carotenoid ) ส่วนใหญ่ จะเป็นสารประกอบอินทรีย์ท่สามารถพบได้มากในพืชและแบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดสีส้ม แดงและสีเหลือง จึงดูได้ไม่ยากว่าผักผลไม้ชนิดใดที่มีแคโรทีนอยด์สูงนั่นเอง ส่วนคุณสมบัติของสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ก็มีประโยชน์ในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเซลล์ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าสารในกลุ่มนี้มีสูงมากถึง 600 ชนิด แต่ที่ได้รับความนิยมและมีการยอมรับมากที่สุด ก็มีเพียง 6 ชนิดได้แก่

1. อัลฟาแคโรทีน ( Alpha Carotene ) เป็นสาระสำคัญที่ร่างกายจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์วิตามินเอ โดยจะพบมากในผักโขม มะเขือเทศ และแครอท

2. เบต้าแคโรทีน ( Beta Carotene ) เป็นสารที่จะช่วยสังเคราะห์วิตามินเอเช่นกัน แต่หากมีมากเกินความจำเป็น ก็จะทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ซึ่งก็จะพบได้มากใน มะม่วง มันเทศ แครอท แคนตาลูปและลูกพีช

3. คริปโตแซนทีน ( Cryptoxanthin ) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ และมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดโดยตรง ซึ่งมักจะพบได้มากในพริกหยวก ฟักทอง ส้มเขียวหวานและลูกพลัม

4. ไลโคปีน ( Lycopene ) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิดมะเร็งได้หลากหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น และสามารถลดระดับไขมัน น้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้อีกด้วย

5. ลูทีน ( Lutein ) มีส่วนช่วยในการปกป้องและบำรุงสายตา พร้อมกับลดการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา โดยเฉพาะในคนที่ต้องทำงานหน้าคอม จ้องแสงหน้าจอตลอดเวลา โดยสามารถพบลูทีนได้มากในดอกดาวเรือง และผักเคล

6. ซีแซนทิน ( Zeaxanthin ) มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตาและป้องกันภาวะต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาเช่นกัน โดยจะพบได้มากในผักขม บรอกโคลี และมะเขือเทศที่ปรุงผ่านความร้อนแล้ว

ไลโคปีน ผลข้างเคียงที่อาจเกิด

  • เจ็บหน้าอก
  • ท้องเสีย
  • ไขมันสะสมใต้ผิวหนัง
  • ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง
  • หัวใจวาย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • สีผิวเปลี่ยน
  • อาการปวดท้อง ไม่ย่อย
  • แผลระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
  • ร้อนวูบวาบ

ไลโคปีนเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและร่างกายของคุณมากมาย แต่การรับประทานไลโคปีนส่วนใหญ่ไม่มีอาการแพ้อาหารพวกนี้ แต่อย่างไรก็ตามควรกินไลโคปีนในปริมาณที่เหมาะสมปริมาณ 9 – 12 มิลลิกรัมต่อวัน และที่สำคัญไลโคปีนอาจเป็นอีกทางเลือกในการกินอาหารแทนการรักษาด้วยยาที่ใช้ในผู้หญิงวัยทองที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

I am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

เอกสารอ้างอิง

“Tomato History. The history of tomatoes as food”. Home cooking. Retrieved 2013-08-07.

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผัก. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 1.ผลไม้–แง่โภชนาการ–ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641.

สารเพคตินและใยอาหารในแอปเปิ้ล

0
สารเพคตินและใยอาหารในแอปเปิ้ล
เพคตินเป็นสารที่มักจะพบได้มากที่สุดในผนังเซลล์ของพืช ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของเซลล์ให้คงรูป
สารเพคตินและใยอาหารในแอปเปิ้ล
เพคตินเป็นสารที่มักจะพบได้มากที่สุดในผนังเซลล์ของพืช ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของเซลล์ให้คงรูป

เพคติน

เพคติน ( Pectin ) เดิมทีมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า “ Pektikos ” ที่มีความหมายว่า การทำให้ข้นหรือการทำให้แข็งตัว ในการทำแยมผลไม้จึงนิยมใส่เพคตินลงไป เพื่อให้เกิดเป็นเจลข้นๆ และทำให้แยมจับตัวกัน โดยเฉพาะและยังมีประโยชน์อีกมากมายอีกด้วย โดยเฉพาะการช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้ง ดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีกว่าเดิมอีกด้วย เพคติน สามารถพบได้ในผักและผลไม้มากมายหลายชนิด และเนื่องจากร่างกายของคนเราไม่สามารถย่อยเพคตินได้ เพคตินจึงถูกจัดเป็นกลุ่มเดียวกับใยอาหาร ที่จะทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้นและลดอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี

เพคติน ที่พบในแอปเปิ้ลนั้น จะเป็นใยอาหารชนิดที่สามารถละลายน้ำได้ และช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องนานขึ้นอีกด้วย นั่นก็เพราะเมื่อทานเพคตินเข้าไป จะไปทำหน้าที่ในการจับกับโมเลกุลไขมันแล้วกลายเป็นวุ้นเจลเคลือบอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยนอกจากจะทำให้อิ่มนานแล้วก็ช่วยให้ร่างกายได้มีเวลาในการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นนานขึ้นอีกด้วย

“เพคติน”เป็นสารที่มักจะพบได้มากที่สุดในผนังเซลล์ของพืช มีลักษณะเป็นสารพอลิแซ็กคาไรด์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของเซลล์ให้คงรูป

เพคติน ที่พบในผักผลไม้ทั่วไป จะพบได้ทั้งที่เป็นชนิดละลายน้ำและชนิดไม่ละลายน้ำ โดยขึ้นอยู่กับการสุกของผักผลไม้นั่นเอง จากผลงานวิจัยพบว่า ในผลไม้ที่ยังคงดิบหรือห่ามอยู่ จะมีเพคตินในรูปของ โปรโตเพคติน ชนิดไม่ละลายน้ำ และเมื่อผลไม้สุกเต็มที่ ก็จะพบเพคตินในรูปของเพคตินที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งเพคตินทั้งสองแบบนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างไร ศึกษาได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้

เพคติคชนิดที่เป็นใยอาหารแบบไม่ละลายน้ำ

เพคตินชนิดนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารและช่วยรักษาความสมดุลของการเป็นกรด-ด่างภายในลำไส้ ให้มีความเหมาะต่อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ได้ดี จึงไม่ทำให้แบคทีเรียเหล่าปล่อยสารพิษออกมา และช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ รวมถึงช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้อย่างดีเยี่ยมและป้องกันการเกิดริดสีดวงทวารได้อีกด้วย ซึ่งใยอาหารชนิดนี้ก็มักจะพบได้มากในผักใบเขียว ผิวของผลไม้บางชนิด เมล็ดพืช ข้าวที่ยังไม่ผ่านการขัดสี เป็นต้น 

เพคตินชนิดที่เป็นใยอาหารละลายน้ำได้

สำหรับชนิดที่สามารถละลายน้ำได้ จะทำหน้าที่ในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและไขมันชนิดเลวในร่างกาย รวมถึงช่วยลดการอุดตันในเส้นเลือดได้อย่างดีเยี่ยม และเนื่องจากเพคตินชนิดนี้จะละลายน้ำแล้วกลายเป็นเจลเคลือบใน กระเพาะอาหาร จึงทำให้รู้สึกอิ่มนาน หิวน้อยลง ซึ่งก็เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักเป็นอย่างมาก หรือในผู้ป่วยเบาหวาน เพคตินชนิดนี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ดีเช่นกัน เพราะจะช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลและป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นนั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าใยอาหารทั้งสองชนิดนี้ให้ประโยชน์ที่ต่างกัน แต่ร่างกายของคนเราก็มีความต้องการใยอาหารทั้งสองอย่างเพียงพอ ดังนั้นจึงควรกินแอปเปิ้ลควบคู่กับผักใบเขียวเป็นประจำ แล้วจะได้รับใยอาหารที่ครบถ้วนอย่างแน่นอน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผลไม้. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 1.ผลไม้–แง่โภชนาการ–ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641. 

การจัดการและการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ( Diabetes )

0
การจัดการและการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน
เบาหวานเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นดรคที่รักษาไม่หายต้องได้รับการดูแลตลอดชีวิต
การจัดการและการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน
เบาหวานเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นดรคที่รักษาไม่หายต้องได้รับการดูแลตลอดชีวิต

โรคเบาหวาน ( Diabetes )

โรคเบาหวาน ( Diabetes ) เป็น ภาวะที่ในกระแสเลือดมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ อันเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพในการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินลดลง เป็นเหตุให้น้ำระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น

กระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การค้นหา คัดกรอง กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและการเข้าสู่การวินิจฉัยโรค

การให้ความรู้และเสริมพลังผู้ป่วยและครอบครัวในการป้องกันและเกิด โรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง

ความจำเป็นและความเหมาะสมของการรักษาพยาบาล

1. ประชนทั่วไป หรือผู้มาใช้บริการในโรงพยาบาลควรได้รับค้นหาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยการทำแบบประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานในอนาคต

2. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้รับการคัดกรอง โรคเบาหวานเพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เริ่มแรก ด้วยตรวจพลาสมากลูโคสขณะอดอาหา ( Fasting plasma glucose, FPG ) ถ้าไม่สามารถตรวจ FPG ให้ตรวจ Fasting Capillary Blood Glucose ได้

3. ผู้ที่มีผลการตรวจ FPG หรือ Fasting Capillary Blood Glucose มีค่า ≥ 126 มก./ดล. ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ได้รับการลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน และส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาโดยทีมบุคลากรทางการแพทย์

4. ผู้ที่มีระดับ FPG 100-125 มก./ดล. วินิจฉัยเป็น IFG ควรได้รับคำแนะนำให้ป้องกันโรคเบาหวาน โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ติดตาม FPG ซ้ำทุกๆ 1-3 ปี ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงที่มีและคัดแยกเป็นรายกรณีไป

5.การจัดการรายบุคคล
5.1 ได้รับความรู้และคำปรึกษาเรื่อง Life Style Modification ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการงดสูบบุหรี่ ( ปฏิบัติได้ทั้งรายบุคคล/รายกลุ่ม ) ทุก 3 เดือน
5.2 ได้รับการตรวจประเมิน BMI รอบเอว ความดันโลหิต (ใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน) ทุก 1 เดือน
5.3 ได้รับการตรวจเลือดประเมินระดับ FPG, Total Cholesterol, Triglyceride, HDL ทุก 6 เดือน
5.4 มีสมุดบันทึกสุขภาพ ( Record book ) ประจำตัวผู้ป่วย เพื่อบันทึกน้ำหนักตัว BMI รอบเอว ระดับความดันโลหิต ผลการตรวจเลือดและบันทึกพฤติกรรมสุขภาพเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย

6.การจัดการกับชุมชน
6.1 ให้มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพ รณรงค์เรื่องการลดพฤติกรรมเสี่ยงอย่างต่อเนื่องในชุมชนทุก 6 เดือน 

6.2 เตรียมผู้นำทางสุขภาพในชุมชน เพิ่มบทบาทของ อสม.โดยจัดอบรมผู้นำทางสุขภาพในชุมชนทุก 1 ปี เพื่อเป็นแกนนำในการติดตามพฤติกรรมสุขภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับบุคลากรสุขภาพ

ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตได้ภายหลังการได้รับความรู้และคำปรึกษาแนะนำ

ความผันแปร

ไม่มีการค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงพยาบาลและในชุมชน

1. ไม่สามารถควบคุมภาวะ Metabolic Syndrome ได้ ภายใน 6 เดือน
: ระดับความดันโลหิต > 130/85 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
: BMI สูงเกินเกณฑ์และมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด
: ระดับTriglyceride, HDL สูงเกินมาตรฐานมาตลอดและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ

2. ไม่ได้รับการตรวจเลือดประเมินระดับ FPG, Total Cholesterol, Triglyceride, HDL

การจัดการทรัพยากรเพื่อลดความผันแปร

จัดให้เจ้าหน้าที่ทางสาธารณะสุขทำการค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชน

1. จัดโปรแกรมให้ความรู้และคำปรึกษารายบุคคล
2. ประสานรพ.ชุมชน/รพ.จังหวัดเพื่อส่งผู้ป่วยไปรับความรู้และคำปรึกษาเรื่อง Life style modification ทุก 3 เดือน รวมทั้งตรวจประเมินระดับ FPG, Total Cholesterol, Triglyceride, HD ทุก 6 เดือน
3. นัดผู้ป่วยพบแพทย์อายุรกรรมในโรงพยาบาล หากผลการตรวจเลือดวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน 

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

อัตราความชุก ( Prevalence ) และ อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ( Incidence ) ลดลง

อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยง Impaired Fasting Glucose ( IFG ) ลดลง

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรักษาควรเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตก่อนหารให้ยา หรือพร้อมกับการเริ่มยา
2. สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การเริ่มยากิน ควรเริ่มขนานเดียว ถ้าผู้ป่วยมีลักษณะของการขาดอินซูลินให้เริ่มด้วยซัลโฟนีลยูเรีย หรือถ้ามีลักษณะของการดื้ออินซูลินให้เริ่มด้วยเม็ทฟอร์มิน
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานควรเน้นย้ำเรื่องการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยทุกรายในทุกขั้นตอนของการรักษา
4. ระยะเวลาที่พิจารณาผลการรักษา เมื่อเริ่มการรักษาควรติดตามและปรับขนาดยาทุก 1-4 สัปดาห์จนได้ระดับน้ำตาลในเลือดตามเป้าหมาย ในระยะยาว เป้าหมายการรักษาใช้ระดับ HbA1c เป็นหลักโดยติดตามทุก 2-6 เดือนหรือโดยเฉลี่ยทุก 3 เดือน
5.ไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ ภายใน 2-3 เดือนภายหลังได้รับการรักษา : HbA1c > 7%
FPG >130มก.ดล.
6. เริ่มมีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
7. ไม่มีการส่งตรวจระดับ HbA1c, ไขมันในเลือด การทำงานของไต การตรวจเท้า การตรวจจอประสาทตา
8. ผู้ป่วยควบคุมเบาหวานได้โดยพิจารณาจาก

  • HbA1c < 7%
  • BP < 130/80 mmHg
  • TC < 170 mg/dl.
  • LDL < 100 mg/dl.
  • TG < 150 mg/dl.
  • HDL ≥ 40 mg/dl. (ช)
    ≥ 50 mg/dl. (ญ)
  • ไม่พบการ Admitted ด้วยภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากโรคเบาหวาน

9. ผู้ป่วยได้รับการตรวจจอประสาทตาการทำงานของไตและตรวจเท้าปีละ 1 ครั้ง 

ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยควบคุมเบาหวานไม่ได้ เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรังจากเบาหวานสูงขึ้น

การให้ความรู้และเสริมพลังผู้ป่วยและครอบครัว

1. การให้ความรู้ผู้ป่วยเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม โดยให้ตรงกับปัญหาในแต่ละครั้งที่ไปตรวจเยี่ยมทุก 2-3 เดือนดังนี้
1.1 ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน
1.2 ยารักษาโรคเบาหวาน
1.3 บำบัดและการออกกำลังกาย
1.4 การดูแลเปิดเองในภาวะปกติและไม่สบาย
1.5 การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและแปลผล
1.6 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงผิดปกติและวิธีป้องกันแก้ไข
1.7 การสังเกตอาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
1.8 การดูแลรักษาเท้า
2. ได้รับคำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต ( Life Style Modification ) ด้านการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และการมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม ร่วมกับมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่น งดสูบบุหรี่ ทันทีที่ได้รับการวินิจฉัยโรค โดยตั้งเป้าหมายระดับการควบคุมให้เหมาะสมกับอายุและภาวะของผู้ป่วย
3. เสริมพลังให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต ได้สำเร็จด้วยกิจกรรมต่างๆเช่น จัดกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ค่ายเบาหวาน ชมรมผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น
4. ประสานพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเบาหวาน เพื่อให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตเพื่อป้องกัน
ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง
5. จัดโปรแกรมให้ความรู้รายบุคคลที่เฉพาะเจาะจง อย่างครอบคลุมและต่อเนื่องทุก 3 เดือน

การประสานการดูแลต่อเนื่อง

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับการติดตามประเมินผลการรักษา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายภายใน 3-6 เดือน
2. ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง ที่บ้านว่ามีการปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างสม่ำเสมอและถูกต้องหรือไม่ หรือมีอุปสรรคในการรักษาอย่างไร โดยใช้การโทรศัพท์เยี่ยม
3. จัดระบบพยาบาลเจ้าของไข้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตโดยพยาบาลคนเดิมเพื่อช่วยในการควบคุมเบาหวานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
4. จัดทำแบบบันทึกการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานในแต่ละครั้งที่ไปตรวจเยี่ยมและบันทึกสรุปประจำปีเพื่อประเมินผลการดูแลรักษาผู้ป่วย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สินธุม พิเชต วงรอต, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 3. 2558. วัฒนาการพิมพ์ กรุงเทพฯ 242 หน้า ISBN : 978-616-92014-0-3.

ตรวจลิพิดโปรไฟล์เพื่ออะไร และค่าปกติควรอยู่ที่เท่าไหร่

0
ลิปิดโปรไฟล์คืออะไร ? (Lipid Profile)
ลิปิดโปรไฟล์เป็นกระบวนการตรวจหาค่าไขมันในเลือดเพื่อป้องกันโรคร้าย
ลิปิดโปรไฟล์คืออะไร ? (Lipid Profile)
ลิปิดโปรไฟล์เป็นกระบวนการตรวจหาค่าไขมันในเลือดเพื่อป้องกันโรคร้าย

ลิพิดโปรไฟล์ Lipid Profile คือ

ลิพิดโปรไฟล์ ( Lipid Profile ) คือ กระบวนการตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เพื่อใช้บ่งชี้ความเสี่ยงต่อโรคเพื่อเป็นตัวช่วยในการป้องกันโรคร้าย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Artery Disease ) โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน โรคสมองขาดเลือดจากการอุดตัน หรือตีบตันของเส้นเลือด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ตีบตันก็คือ การมีไขมันในร่างกายปริมาณสูงง และยังใช้ติดตามการรักษาในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดระดับไขมันในเลือด

การตรวจ lipid profile

การตรวจ lipid profile นั้นแพทย์จะใช้วิธีการเจาะเลือดแล้วนำเลือดมาตรวจหาค่าของไขมันชนิดต่างๆ โดยผู้ป่วยจะต้องอดอาหารก่อนการเจาะเลือด 12 ชั่วโมง สำหรับการตรวจวัดระดับไขมันทุกชนิด (ดื่มน้ำเปล่าได้)

ลิพิดโปรไฟล์สามารตรวจอะไรได้บ้าง

1. cholesterol เป็นไขมันที่ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนต่างๆ เอนไซม์ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ การตรวจวัดระดับคลอเลสเตอรอลจะบ่งชี้ระดับไขมันโดยรวม ทั้ง HDL-cholesterol, LDL-cholesterol และ triglyceride ภายในเลือด ค่าปกติ <200 mg/dL

2. triglycerides เป็นไขมันที่ถูกเก็บสะสมในร่างกายในเซลล์ไขมัน (adipose Tissue) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย ซึ่งจะตรวจควบคู่กับไขมันตัวอื่นๆ ค่าปกติ <150 mg/dL หากค่าสูงจะทำให้ไขมันในเลือดสูง

3. low density lipoprotein (LDL) ไขมันชนิดนี้ทำหน้าที่นำพา cholesterol เป็นไขมันเลว
ค่าปกติ <100 mg/dL  หากค่าสูง(ไขมันในเลือดสูง) อาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง(atherosclerosis) ส่งผลให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง

4. high density lipoprotein (HDL) ไขมันชนิดนี้ทำหน้าที่เก็บ cholesterol จากอวัยวะต่างๆ กลับเข้าสู่ตับซึ่งเป็นศูนย์กลางของกระบวนการสลายของไขมัน ซึ่งเป็นไขมันดี
ค่าปกติ (ผู้หญิง) >40 mg/dL และ (ผู้ชาย) >50 mg/dL หากค่าต่ำอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ส่งผลให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง

5. very low-density lipoprotein cholesterol (VLDL) เป็นโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นจากตับ ทำหน้าที่ขนส่งไตรกลีเซอไรด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นจากตับไปยังผนังหลอดเลือด เนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อ

ค่าปกติ lipid profile

1. cholesterol ค่าปกติ <200 mg/dL
2. triglycerides ค่าปกติ <150 mg/dL
3. low density lipoprotein (LDL) ค่าปกติ <100 mg/dL  หากค่าสูง(ไขมันในเลือดสูง)
4. high density lipoprotein (HDL) ค่าปกติ (ผู้หญิง) >40 mg/dL และ (ผู้ชาย) >50 mg/dL หากค่าต่ำอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง
5. very low-density lipoprotein cholesterol (VLDL) ค่าปกติ 7 – 32 mg/dL

แปลผล lipid profile

หาก LDL มีค่าสูง มีโอกาสเสี่ยงเป็นต่อโรคหลอดเลือดแข็ง ทำให้เกิดการตีบตันในเส้นเลือดของอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ
หาก HDL มีค่าต่ำ อาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็งตัว ทำให้เกิดการตีบตันในเส้นเลือดของอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ

ไขมันและแหล่งอาหาร ที่มีผลกับระดับ HDL หรือ LDL

อาหารหรือไขมันที่มีผลต่อระดับ Cholesterol ในเลือดสามารถแบ่งตามชนิดของไขมันได้ 4 ชนิดดังต่อไปนี้

1. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ( Monounsaturated Fat )

2. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fat )

3. ไขมันอิ่มตัว ( Saturated Fat )

4. ไขมันทรานส์ ( Trans Fat )

ชนิดไขมัน แหล่งไขมัน ผลต่อระดับ Cholesterol ในเลือด
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว น้ำมันมะกอก , น้ำมันถั่วลิสง ,เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ,ถั่วอัลมอนด์ ,ถั่วลิสง และอื่นๆ HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน น้ำมันข้าวโพด , น้ำมันถั่วเหลือง,น้ำมันดอกคำฝอย,น้ำมันดอกทานตะวัน,น้ำมันเมล็ดฝ้ายเนื้อปลาทุกชนิด HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง
ไขมันอิ่มตัว  น้ำมันสัตว์ทุกชนิด ,เนยที่ผลิตจากน้ำนมสัตว์ ,ไอศกรีม,เนื้อสัตว์ทุกชนิด ,ไข่ , ช็อกโกแลต ,มะพร้าว, กะทิ, น้ำมันมะพร้าว , น้ำมันปาล์ม HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง
ไขมันทรานส์ เนยเทียม (Margarine) , ผงฟูทำขนมฝรั่งทุกชนิด ,มันฝรั่งทอด , อาหารทอดความร้อนสูงในร้าน Fast-Food , ครีมเทียมใส่กาแฟ  HDL เพิ่มขึ้น , LDL ลดลง,  TG สูงขึ้น

 

ในแต่ละวันร่างกายมนุษย์เรา มี Lipid Profile ไขมันเกิดขึ้นในร่างกายมากมายหลายประเภท ทั้งการผลิตจากตับและการทานอาหารประเภทต่างๆเข้าไปซึ่งหากไม่มีการควบคุมที่ดีพอ ปล่อยให้มีปริมาณไขมันชนิดไม่ดีมากเกินไป ก็อาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราจะป่วยเป็นโรคร้ายจากไขมันเมื่อไหร่ดังนั้นการตรวจปริมาณไขมันในร่างกาย หรือ Lipid Profile  จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรทำ เพราะสามารถทำให้รู้ได้ว่ามีปริมาณของไขมันในร่างกายเป็นอย่างไรมีตัวไขมันดีและไม่ดีมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะได้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารการกิน หรือรับการรักษาจากแพทย์ที่เหมาะสม ทันเวลา ก่อนที่จะเกิดโรคร้ายกับตัวของเรานั้นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Davidson, Michael H. (28 January 2008). “Pharmacological Therapy for Cardiovascular Disease”. In Davidson, Michael H.; Toth, Peter P.; Maki, Kevin C. Therapeutic Lipidology. Contemporary Cardiology. Cannon, Christopher P.; Armani, Annemarie M. Totowa, New Jersey: Humana Press, Inc. pp. 141–142. 

Balch, Phyllis A. (2006). “Carnitine”. Prescription for nutritional healing (4th ed.). New York: Avery. p. 54.

GILL, Jason; Sara HERD; Natassa TSETSONIS; Adrianne HARDMAN (Feb 2002). “Are the reductions in triacylglycerol and insulin levels after exercise related?”. Clinical Science. 102 (2): 223–231. Retrieved 2 March 2013.

Friedewald WT, Levy RI, Fredrickson DS. Estimation of the concentration of low-density lipoprotein cholesterol in plasma, without use of the preparative ultracentrifuge. Clin Chem. 1972.

Sidhu, D.; Naugler, C. (2012). “Fasting Time and Lipid Levels in a Community-Based Population: A Cross-sectional Study / Fasting Time and Lipid Levels”. Archives of Internal Medicine.

ไขมัน LDL คืออะไร ทำไมถึงเป็นอันตรายต่อร่างกาย

0
คอเลสเตอรอลชนิดที่ต้องควบคุมไม่ให้สูงเกินไป Low-Density Lipoprotein (LDL)
LDL เป็นไขมันที่ความหนาแน่นต่ำชนิดหนึ่ง ถูกสร้างขึ้นจากตับ ซึ่งถ้ารับมากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย

Low Density Lipoprotein

ไขมัน LDL หรือที่เรียกกันว่า “ไขมันเลว” เป็นชนิดของคอเลสเตอรอลที่มีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด เมื่อมี LDL ในเลือดมากเกินไป มันจะสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบและแข็งขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรง เช่น โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น การเข้าใจถึงผลกระทบของไขมัน LDL และการควบคุมระดับไขมันในเลือดให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจเพื่อการมีสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากโรคร้าย

การตรวจวัดค่าระดับ LDL ในแต่ละช่วงอายุ

การตรวจวัด ค่าระดับ LDL ในแต่ละช่วงอายุ - ไขมัน LDL คืออะไร ทำไมถึงเป็นอันตรายต่อร่างกายการตรวจเลือดสามารถวัดระดับคอเลสเตอรอลของคุณรวมถึง LDL คุณควรได้รับการทดสอบนี้เมื่อใดและบ่อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับอายุ ปัจจัยเสี่ยง และประวัติครอบครัวของคุณ คำแนะนำทั่วไป คือ

  • ผู้ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับค่า LDL ครั้งแรก
  • ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 25 ปีขึ้น ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับค่า LDL ทุกๆ 5 ปี
  • ผู้ชายอายุ 45 ถึง 65 ปี และผู้หญิงอายุ 55 ถึง 65 ปี ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับค่า LDL ทุก 1 ถึง 2 ปี

การตรวจวัดค่า LDL-c

โดยปกติวิธีที่สามารถตรวจหาค่า LDL-c ได้นั้น มี 2 วิธีดังนี้

1. การตรวจโดยตรง Direct LDL-c
การตรวจโดยวิธี Direct LDL-c คือ การตรวจเพื่อหาค่า LDL โดยตรง ซึ่งสามารถตรวจได้โดยการเจาะเลือดไปตรวจโดยแพทย์ วิธีนี้จะให้ผลที่แม่นยำ

2. การคำนวณด้วยค่าของคอเลสเตอรอลตัวอื่นๆ LDL ( calc )การตรวจวิธีที่การคำนวณด้วยค่าของคอเลสเตอรอลตัวอื่นๆ คือ การนำผลตรวจของ Total cholesterol ( TC ), High Density Lipoprotein ( HDL ) และ Triglyceride ( TG ) มาเข้าสูตรเพื่อหาค่า LDL การตรวจ LDL ส่วนมากจะใช้วิธีคำนวณโดยอาศัยสูตรวิธีนี้ เนื่องจากสะดวกประหยัด และรวดเร็วซึ่งมีสูตรการคำนวณดังนี้

LDL = TC – HDL – 20% TG

คณะผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์เลือด นำโดย ดร.เต วาย วัง ( The Y. Wang, Ph.D. ) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ LDL ทั้ง 2 วิธีว่า ค่าที่ตรวจได้จะมีเท่าหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข คือ ค่าของ Triglyceride จะต้องไม่สูงเกินกว่า 400 mg / dL หรือไม่ต่ำกว่า 50 mg / dL หากค่าที่ตรวจอยู่ในระหว่างเกณฑ์ ก็ถือว่า LDL ที่ตรวจมีผลที่น่าเชื่อถือได้ แต่หากค่าของ Triglyceride ไม่อยู่ในเกณฑ์ ควรตรวจ LDL ด้วยวิธี Direct LDL-c เท่านั้น จึงจะได้ผลตรวจที่แม่นยำที่สุด

ตัวอย่างการตรวจหาค่า LDL

ผู้ป่วยรายหนึ่งทำการตรวจวัดค่าของคอเลสเตอรอลต่างๆได้ดังนี้

TC        =    262 mg / dL ,  HDL     =   79 mg / dL , TG       =   55 mg / dL

ดังนั้นผู้ป่วยรายนี้ สามารถตรวจหาค่า LDL ได้ทั้ง 2 วิธี เนื่องจากค่าของ TG   =   55 mg / dL ซึ่งอยู่ในค่ามาตรฐานของ Triglyceride ( 50 – 400 mg / dL )

จากสูตร LDL = TC – HDL – 20% TG   นำมาแทนค่าเพื่อเข้าสูตรได้ดังนี้   

LDL = 262 – 79 – ( 55 * 20 / 100 ) = 172 mg / dL

วิธีลดระดับค่า LDL

วิธีลดระดับ ค่า LDL - ไขมัน LDL คืออะไร ทำไมถึงเป็นอันตรายต่อร่างกายเนื่องจากค่าของ LDL คือปริมาณของไขมันชนิดที่ไม่ดีที่อยู่ในร่างกาย ดังนั้นจึงมีวิธีในการลดค่า LDL ในร่างกายลง เพื่อให้เป็นผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1. เลือกประเภทของอาหารที่จะทาน โดยเน้นทานอาหารครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลเสียต่อร่างกาย เช่น     

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ( cholesterol ) จำพวกอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลาหมึก หรืออหากจำเป็นจะต้องทาน ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากจนเกินไป
  • หลีกเหลี่ยงอาหารทีมีไขมันชนิดอิ่มตัว ( Saturated Fat ) ที่เป็นไขมันชนิดไม่ดี ซึ่งสามารถพบได้ในกลุ่มอาหารดังต่อไปนี้ เช่น เนื้อสัตว์ นม เนยในน้ำมันปาล์มเป็นต้น โดยไขมันประเภทอิ่มตัวนี้ จะเพิ่มค่าทั้ง LDL และ HDL รวมถึงค่า TC ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ ( Trans Fat ) เช่น เนยเทียม มาการีน ผงฟูที่ใส่ในขนม เป็นต้น  ไขมันประเภทนี้ จะไปทำการเพิ่มค่า LDL และลดค่า HDL ในร่างกายลงด้วย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนในการปรุงสูงๆ เพราะจะทำให้เกิดไขมันทรานส์ ขึ้นในอาหารชนิดนั้น  เช่น  อาหารในร้านฟาสต์ฟู้ดต่างๆ
  • ในแต่ละมื้อควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง ( Fiber ) เช่น ผัก ผลไม้ ทุกชนิด

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  โดยให้ใช้เวลาในการออกกำลังกายติดต่อกันนาน 30 นาทีขึ้นไป จะส่งผลให้ลดปริมาณของ  LDL และเพิ่ม HDL ไปด้วยพร้อมๆ กัน

3. ควบคุมน้ำหนักตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่มากหรือน้อยเกินไป

4. งดการสูบบุหรี่อย่างถาวร ไม่ใช่การลดปริมาณ

5. ในกรณีที่ค่า LDL สูงกว่าปกติ ควรพบแพทย์  เพื่อรับยาลดปริมาณ LDL ในร่างกาย

ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อระดับ LDL ภายในร่างกาย

  • อาหาร โดยเฉพาะของทอดเป็นไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ในอาหารที่คุณกินทำให้ระดับ คอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (อ้วน) การมีน้ำหนักเกินมีแนวโน้มที่จะเพิ่มระดับแอลดีแอล และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลอีกด้วย
  • การออกกำลังกายที่ไม่สม่ำเสมอ หรือการไม่ออกกำลังกาย อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้ระดับ LDL ของคุณสูงขึ้นตามมาด้วย
  • การสูบบุหรี่ทำให้ HDLหรือไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกายลดลง เนื่องจากเอชดีแอลช่วยในการกำจัดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ LDL ออกจากหลอดเลือดแดง หากร่างกายมี HDL น้อยนั่นอาจส่งผลทำให้ร่างกายมีระดับ LDL ที่สูงขึ้น
  • อายุและเพศ เมื่อผู้หญิงและผู้ชายอายุมากขึ้นระดับคอเลสเตอรอล cholesterol ก็จะสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงก่อนวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงจะมีระดับคอเลสเตอรอลรวมต่ำกว่าผู้ชายในวัยเดียวกัน หลังจากวัยหมดประจำเดือนระดับ LDL ของผู้หญิงมักจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • กรรมพันธุ์และยีน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น พ่อหรือแม่มีไขมันในเลือดสูงเมื่อมีลูก ลูกก็มีโอกาสเป็นคอเลสเตอรอลในเลือดสูงที่สืบทอดมาจากครอบครัว หากไม่ดูแลใส่ใจและชอบรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์สุขภาพของตนเองรวมถึงอาหารที่ทำให้อ้วน และเครื่องดื่มที่ทำให้อ้วน อาหารที่ทำจากน้ำมันกับเนย เช่น ขนมปังขาว น้ำหวาน เฟรนช์ฟรายส์ น้ำอัดลม ของทอดทุกชนิด แอลกอฮอล์ ขนมอบกรอบ ขนมหวาน ชาและกาแฟที่ใส่ครีม ใส่น้ำตาลหวานๆ ผลไม้ที่มีรสหวานจัด น้ำผลไม้สำเร็จรูปที่ผสมน้ำตาล
  • การใช้ยาบางอย่างรวมถึงยาเตียรอยด์ ยาความดันโลหิต และยารักษาโรคเอชไอวีที่สำคัญผู้ป่วยโรคเอดส์อาจมีระดับ LDL ในเลือดสูงได้เช่นกัน
  • เชื้อชาติ โดยเฉพาะประเทศที่นิยมกินชีส เนย ทำอาหารโดยการทอดเป็นประจำ ขนมปังขาวเป็นอาหารหลักพบว่าจะมีระดับแอลดีแอล คอเลสเตอรอลสูงกว่า 

การวินิจฉัยความผิดปกติของคอเลสเตอรอล LDL

การวินิจฉัยความผิดปกติของคอเลสเตอรอล LDL - ไขมัน LDL คืออะไร ทำไมถึงเป็นอันตรายต่อร่างกายความผิดปกติของไขมันได้รับการวินิจฉัยโดยการเจาะเลือด ผู้ป่วยควรอดอาหารก่อนการเจาะเลือด 12 ชั่วโมง สำหรับการตรวจวัดระดับไขมันทุกชนิด ( ดื่มน้ำเปล่าได้ )

  • ผลที่ออกมาพบว่า ค่า น้อยกว่า 100 mg/dL แปลว่า ค่าไขมันในเลือดปกติ
  • ผลที่ออกมาพบว่า ค่า มากกว่า 130 mg/dL ขึ้นไป แปลว่า ค่าไขมันในเลือดเริ่มสูง อาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ส่งผลให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง

ดังนั้น การใช้ผลตรวจจากค่า LDL ที่ได้แพทย์สามารถในการคำนวณโอกาสความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยแต่ละคนได้อีกด้วย ค่าของ LDL ที่วัดได้ สามารถนำไปใช้ในการประเมินผลถึงค่าความเสี่ยงต่อโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Heart Disease ) หรือ CHD ได้ โดยวิธีการคำนวณจะใช้อัตราส่วน LDL ต่อ HDL ( คล้ายกับอัตราส่วน TC ต่อ HDL ) ดังนี้

การคำนวณความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ค่าของ LDL ที่วัดได้ สามารถนำไปใช้ในการประเมินผลถึงค่าความเสี่ยงต่อโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Heart Disease ) หรือ CHD ได้ โดยวิธีการคำนวณจะใช้อัตราส่วน LDL ต่อ HDL ( คล้ายกับอัตราส่วน TC ต่อ HDL ) ดังนี้

อัตราส่วน LDL : HDL ( หรือ LDL ÷ HDL )

ตารางแสดงอัตราส่วน LDL : HDL แสดงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ค่าความเสี่ยง ชาย หญิง
ต่ำกว่าปกติ 1.0 1.5
ปกติ 3.6 3.2
มีความเสี่ยง 6.3 5.0
ความเสี่ยงสูง 8.0 6.1

ค่าปกติของ Direct LDL-c

หลังจากทำการตรวจวัดค่าของ Low-Density Lipoprotein ( LDL ) แล้ว ซึ่งสามารถทำได้ทั้ง 2 วิธี  ให้นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับตารางดังต่อไปนี้ เพื่อจะได้ทราบว่า สุขภาพของเรานั้นมีปริมาณ LDL อยู่ในหลักเกณฑ์ข้อใด ดังนี้

การจัดค่า ชาย หญิง
Direct LDL-c ( mg/dL )
ค่าปกติ ( ดีมาก ) <100 <110
เกือบดี 100 – 129 110 – 129
เริ่มสูง 130 – 159 >129
สูง 160 – 189
สูงมาก >190

จากตารางสามารถสรุปได้ว่า ค่าของ Low-Density Lipoprotein ( LDL ) ในร่างกายของผู้ชายไม่ควรให้มีค่าเกิน 129 mg/dL ส่วนในเพศหญิงต้องไม่เกิน 129 mg/dL เท่ากัน  และหากค่าที่วัดได้เกินกว่าค่ามาตรฐาน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาและทางป้องกัน ต่อไป

หากมี LDL ในร่างกายมากไปจะกลายเป็นไขมันตัวร้ายที่สามารถทำให้เกิดภาวะโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้

กรณีค่า LDL-C มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

1. ตรวจวัด LDL-C ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน อาจแสดงผลว่า

  • อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมจากคนในครอบครัว
  • อาจเกิดสภาวะร่างกายมีโปรตีนต่ำกว่าปกติ  ( Hypoproteinemia ) ซึ่งอาจเกิดจาการดูดซึมอาหารของลำไส้ทำได้น้อยกว่าปกติ  โดยอาจมีสาเหตุจากบริโภคอาหารที่มีโปรตีนต่ำเกินไปหรือ เกิดบาดแผลจากไฟลวกอย่างรุนแรง
  • อาจเกิดสภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ ทำให้เกิดการแยกสลาย Catabolism LDL และ VLDL มากเกินไป ส่งผลให้จำนวน Low-Density Lipoprotein ( LDL ) ในกระแสเลือดลดลง

2. ตรวจวัด LDL-C ได้มากกว่าค่ามาตรฐาน อาจแสดงผลว่า

  • อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมจากคนในครอบครัว
  • อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป
  • อาจมีปัญหาเกี่ยวกับโรคตับเรื้อรัง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำลาย LDL ในร่างกายลดลงไปด้วย
  • อาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น  ทานอาหารที่ไขมันสูง สูบบุหรี่จัด หรือเป็นผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายเลย
  • อาจเกิดจากไตทำงานผิดปกติ โดยปล่อยทิ้งสารอาหารประเภทโปรตีน ออกมามากว่าปกติทางปัสสาวะ จึงมีผลไปกระตุ้นตับให้เร่งผลิต LDL ให้มีขึ้นมากกว่าปกติ
  • อาจเกิดโรคความผิดปกติของการสะสมไขมัน ( Von Gierkdesease ) ซึ่งเกิดจากปัญหาที่ร่างกายมีเอนไซม์จากโปรตีนต่ำ ทำให้การสลายไกลโคเจน ที่เป็นน้ำตาล ทำได้แย่ลง

7 สุดยอดอาหารที่ช่วยลด LDL ที่คุณสามารถทานได้ทุกวัน

จากการศึกษาพบว่าการกินอาหารที่มีประโยชน์สามารถช่วยป้องกันและลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้โดยโภชนาการบำบัด หรืออาหารบำบัดโรค ( Diet therapy ) เป็นการใช้อาหารช่วยในการรักษาโรคโดยการดัดแปลงอาหารที่เรากินอยู่ทุกวันให้มีส่วนผสมของอาหารดังต่อไปนี้ในทุก ๆ มื้ออาหารทั้งอาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหารเย็น
ให้เป็นอาหารที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่
1. ข้าวโอ๊ต ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจเนื่องจากมีใยอาหารชนิดละลายน้ำได้สูงเรียกว่า เบต้ากลูแคน ซึ่งเบต้ากลูแคนช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือดได้ง
2. ผักและผลไม้ ได้แก่ มะเขือม่วง กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบแดง แอปเปิ้ล องุ่น สตรอเบอร์รี่ ผลไม้รสเปรี้ยว หัวหอมใหญ่มีสรรพคุณช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด กำจัดคอเลสเตอรอลชนิดเลว ( LDL ) ควรรับประทานอาหารที่มีความหลากหลายของผักและผลไม้ที่มีสีสันเป็นประจำสามารถช่วยปกป้องโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งบางชนิด ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล LDL ที่ไม่ดีในเลือดของคุณ
3. รับประทานอาหารที่อุดมด้วยไขมันชนิดดี เช่น อะโวคาโด ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน พืชตระกูลถั่ว ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจด้วยเนื่องจากอาหารเหล่านี้มีไขมันเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ดีต่อหัวใจจะช่วยเพิ่มระดับ HDL คอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด
4. น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ใช้ประกอบอาหารแทน น้ำมันหมู เนย จะช่วยลดระดับ LDL
5. ดาร์กช็อกโกแลตและโกโก้ จากการศึกษาพบว่าดาร์กช็อกโกแลตที่มีปริมาณโกโก้ 75–85% ขึ้นไป ซึ่งมีฟลาโวนอยด์ในปริมาณที่สูงกว่าการกินอาหารตามปกติในแต่ละมื้อที่สำคัญเป็นประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในเลือดได้
6. มันฝรั่ง ให้โพแทสเซียมที่ดีต่อหัวใจมากกว่ากล้วย เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่สำคัญทั้งหมดนี้ในปริมาณที่เพียงพอยังสามารถลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด
7. ผักใบเขียว ได้แก่ ผักคะน้า บร็อคโคลี ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี ผักกวางตุ้ง ผักเคลหรือคะน้าใบหยักจากการศึกษาพบว่าช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ

ไม่ว่าอย่างไรก็ตามร่างกายของเราก็ยังต้องการคอเลสเตอรอล เนื่องจากคอเลสเตอรอลมีบทบาทสำคัญต่อความสามารถในการสร้างเซลล์ที่แข็งแรง หากร่างกายขาดคอเลสเตอรอลก็ไม่สามารถทำงานได้ แต่ควรมีคอเลสเตอรอล LDL ในระดับที่เหมาะสมจึงจะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา และควรเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี HDL เพราะ cholesterol ที่ดีจะช่วยขจัดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีออกจากกระแสเลือดได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“LDL and HDL: Bad and Good Cholesterol”. Centers for Disease Control and Prevention. CDC. Retrieved 11 September 2017.

Dashty M, Motazacker MM, Levels J, de Vries M, Mahmoudi M, Peppelenbosch MP, Rezaee F (2014). “Proteome of human plasma very low-density lipoprotein and low-density lipoprotein exhibits a link with coagulation and lipid metabolism.”. Thromb Haemost.

Dashti M, Kulik W, Hoek F, Veerman EC, Peppelenbosch MP, Rezaee F (2011). “A phospholipidomic analysis of all defined human plasma lipoproteins.”. Sci Rep. 1 (139). PMC 3216620 Freely accessible.

High Density Lipoprotein ( HDL ) คืออะไร

0
คอเลสเตอรอลชนิดดี (High Density Lipoprotein – HDL)
ชนิดไขมันที่มีความหนาแน่นในตัวสูง เป็นไขมันดีสำหรับหลอดเลือดแดง
คอเลสเตอรอลชนิดดี (High Density Lipoprotein – HDL)
ชนิดไขมันที่มีความหนาแน่นในตัวสูง เป็นไขมันดีสำหรับหลอดเลือดแดง

High Density Lipoprotein ( HDL ) คือ

ในร่างกายมนุษย์เราประกอบไปด้วยไขมันมากมายหลายชนิด ซึ่งมีทั้งชนิดที่ดีเป็นบวกต่อร่างกาย และชนิดที่ไม่ดีเป็นลบต่อร่างกาย ปะปนกันไป ซึ่งคอเลสเตอรอลชนิดดีที่อยู่ในร่างกายมนุษย์เรา จะถูกเรียกว่า High Density Lipoprotein หรือเรียกสั้นๆว่า HDL เป็นคอเลสเตอรอลชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นไขมันชนิดดี ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากตับ ช่วยทำหน้าที่ในการขจัดคอเลสเตอรอล หรือไขมันชนิดไม่ดีที่เกาะอยู่ตามหลอดเลือด

คอเลสเตอรอลไม่สามารถที่จะเข้าสู่กระแสเลือดได้เอง แต่ต้องใช้ตัวชักนำอย่างไลโปโปรตีน ในการพาเข้าไป ซึ่งไลโปโปรตีนก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด โดยจะแบ่งได้ตามความหนาแน่นของ อัตราส่วนไขมันต่อโปรตีน  เมื่อ คอเลสเตอรอลมาจับคู่กับ ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง High Density Lipoprotein ( HDL ) คือ คอเลสเตอรอลชนิดดี จะทำให้เกิดเป็นไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกายที่เรียกว่า  High-Density Lipoprotein Cholesterol ( HDL-C ) นั่นเอง

ประโยชน์ของ HDL

High Density Lipoprotein ( HDL ) คือ คอเลสเตอรอลชนิดดี  หรือ High-Density Lipoprotein Cholesterol ( HDL-C ) คือ ชนิดไขมันที่มีความหนาแน่นในตัวสูง เป็นไขมันดีสำหรับหลอดเลือดแดง เนื่องจากจะคอยป้องกันไม่ให้ไขมันชนิดที่ไม่ดี อย่าง คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL ไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง โดย HDL จะนำไขมันชนิดที่ไม่ดีส่งคืนสู่ตับเพื่อนำไปทำลายทิ้งออกจากร่างกายต่อไป ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆได้เช่น โรคหลอดเลือดสมองหรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น และยังเป็นการช่วยลดคอเลสเตอรอล ( Total Cholesterol ) ในร่างกายให้ต่ำลงอีกด้วย

hdl คือ คอเลสเตอรอลชนิดดี  High-Density Lipoprotein Cholesterol ( HDL-C ) คือ ชนิดไขมันที่มีความหนาแน่นในตัวสูง เป็นไขมันดีสำหรับหลอดเลือดแดง

วิธีการเพิ่มระดับ HLD ให้มีค่าสูง

ตามที่ได้ทราบกันแล้วว่า  HDL มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์มาก ยิ่งมี HDL ในร่างกายมากเท่าไหร่ยิ่งดีต่อสุขภาพเท่านั้น ซึ่งได้มีข้อมูลทางวิชาการจาก นายแพทย์ ดร.ปีเตอร์ พี ทอธ แห่งโรงเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐเอมริกา ที่แนะนำการเพิ่ม HDL ให้ร่างกายได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่าปล่อยให้ตนเองอ้วนหรือผอมเกินไป ( ตรวจสอบจากค่า BMI )

2. งดการสูบบุหรี่อย่างถาวร

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

4. ควบคุมปริมาณการกินอาหารประเภทแป้งทั้งหลายเช่น น้ำตาล ข้าว ขนมต่างๆ เป็นต้น ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป

5. เน้นการบริโภคเนื้อปลาให้มากขึ้น

6. ปรับเปลี่ยนเมนูอาหารในแต่ละวัน โดยให้ความสำคัญกับอาหารประเภท ผักสด ผลไม้ และข้าวไม่ขัดสี ( ข้าวกล้อง , ขนมปังโฮลวีต ) น้ำมันมะกอก และถั่วชนิดต่างๆให้มากขึ้น

7. ดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ ขนาด 2 – 6 ออนซ์ ( ประมาณไม่เกิน 2 แก้วไวน์ ) ต่อวัน จะช่วยเพิ่มค่า HDL ให้ร่างกายได้  แต่วิธีไม่เหมาะกับคนไทยมากนัก เพราะวัฒนธรรมการดื่มของคนไทยเราแตกต่างจากชาวตะวันตก โดยชาวตะวันตกจะดื่มแค่ปริมาณที่เหมาะสม แต่คนไทยส่วนมากจะดื่มตามความพอใจของตน ข้อนี้จึงอาจทำให้เสียสุขภาพมากว่า จะได้ประโยชน์

การใช้ค่า HDL ที่ตรวจได้ไปวิเคราะห์ไขมันในเลือด ( TC : HDL )

HDL นอกจากจะมีประโยชน์ตามข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว HDL ยังสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ ความเสี่ยงต่อการเกิดของโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วย เนื่องจากค่าของ HDL เป็นตัวเลขอิสระ และมีความแน่นอน ไม่แปลผันง่ายเหมือนค่าของ LDL หรือ Triglyceride เช่นเดียวกับ ค่าของ Total Cholesterol ( TC ) หรือคอเลสเตอรอลรวม ก็มีความชัดเจนและแน่นอนเช่นเดียวกัน

ซึ่งทาง โครงการศึกษาคอเลสเตอรอลแห่งชาติ National Cholesterol Education Program, NCEP ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อมูลว่า สามารถนำอัตราส่วน ระหว่าง TC: HDL ที่มีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ไปใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดของโรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease, CAD ได้ โดยจะเรียกอัตราส่วนนี้ว่า Risk of Coronary Heart Disease หรือ อัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพราะหลอดเลือด

หลักการคำนวณ  =  Total Cholesterol ( TC ) / HDL Cholesterol Ratio ( HDL )

หรือเรียกสั้นๆว่า TC / HDL

โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่

เพศชาย ค่ามาตรฐานอยู่ที่        5     หรือต่ำกว่า

เพศหญิง ค่ามาตรฐานอยู่ที่       4.4  หรือต่ำกว่า

ตัวอย่างการคำนวณ

นายสมชาย ตรวจวัดค่า TC ได้เท่ากับ 220  mg/dL และ วัดค่า HDLได้เท่ากับ 50 mg/dL
ดังนั้นเมื่อนำมาคิดตามสูตร จะได้    220/50 = 4.4
สรุป : ผลที่ออกมาของคุณสมชาย มีค่าเท่ากับ 4.4 ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ในทางที่ดีคุณสมชายจะต้องเพิ่มค่า HDL ในร่างกายให้มากว่านี้

 

โรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา ได้บัญญัติศัพท์เรียกอัตราส่วนค่าคอเลสเตอรอลรวม TC ต่อค่าคอเลสเตอรอลความหนาแน่นสูง HDL ไว้ด้วยเช่นกัน โดยจะเรียกว่า อัตราส่วนความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ Cardiac Ratio หรือ CRR โดยมีสูตรการคำนวณเหมือนdกับโครงการศึกษาคอเลสเตอรอลแห่งชาติ คือ

CCR = Total Cholesterol ( TC ) / HDL Cholesterol Ratio ( HDL )

 

โดยมีหลักเกณฑ์ในการชี้วัดดังตารางนี้

ค่า CCR  ผลการชี้วัด
6.5 สูง
5.0 เหนือเกณฑ์เฉลี่ย
4.5 เกณฑ์เฉลี่ย
4.0 ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย
3.0 ต่ำ

 

ดังนั้นหากค่าที่วัดได้ เกินมาตรฐาน  ( มากว่า 5.0 ขึ้นไป ) จะส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแข็ง หรือตีบตันที่เพิ่มขึ้น การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอและการรับประทานอาหารให้เหมาะสม จะสามารถควบคุมหรือลดความเสี่ยงลงได้

การตรวจหาค่าของ HDL-c ในร่างกาย
การตรวจหาค่า HDL-c มีจุดประสงค์ คือ เพื่อต้องการทราบปริมาณของไขมันชนิดดีที่มีอยู่ภายในร่างกาย ซึ่งค่าของ HDL-c ที่ตรวจได้มีปริมาณยิ่งสูงยิ่งดีต่อร่างกาย

ตารางแสดงผลค่า HDL-c ที่วัดได้

การจัดค่า ชาย หญิง
HDL ( mg/dL )
ค่าปกติ > 45 > 55
ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
ต่ำ 60 70
ปานกลาง 45 55
สูง 25 35

จากตารางสามารถสรุปได้ว่า สำหรับผู้ชายจะต้องมีค่า HDL-c ในร่างกาย ไม่ต่ำว่า 45 mg/dL ส่วนในผู้หญิงต้องไม่ต่ำว่า 55 mg/dL

กรณีค่า HDL-C มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

1. ตรวจวัด HDL-C ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน ( เป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นกับร่างกาย  )  อาจแสดงผลว่า

  • อาจเกิดจากมีภาวะมีไขมัน Triglycerides ในกระแสเลือดสูง จนเกิดโรค Hypertriglyceridemia ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่มากไปด้วยแป้งและไขมัน ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งย่อมมีผลทำให้ ค่า HDL ต่ำลงด้วย
  • อาจเกิดโรคเกี่ยวกับตับ  เช่น โรคตับอักเสบ ( Hepatitis ) หรือตับแข็ง ( Cirrhosis ) ทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งตับเป็นผู้ผลิต HDL ขึ้นมา จึงทำให้ปริมาณ HDL ที่สร้างโดยตับลดลงตามไปด้วย
  • มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น เป็นโรคอ้วน , ชอบสูบบุหรี่ , ไม่ออกกำลังกาย , ชอบทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

2. ตรวจวัด HDL-C ได้มากกว่าค่ามาตรฐาน ( เป็นสิ่งดีที่ควรจะเป็น ) อาจแสดงผลว่า

  • เป็นผลมาจากพันธุกรรม ซึ่งเกิดได้ค่อนข้างน้อยมาก
  • เป็นผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที

HDL เป็นไขมันชนิดที่ส่งผลดีต่อร่างกาย ยิ่งหากมีปริมาณมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดีเท่านั้น ดังนั้นเราควรปรับพฤติกรรมตัวเองให้เป็นไปในทางดี เพื่อสร้าง  HDL ในร่างกายให้มากขึ้น เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้น ผักและผลไม้สด รวมถึงเนื้อปลา และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมอย่างการสูบบุหรี่ เป็นต้น  ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้โดยไม่ยากเกินไปนัก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆกับร่างกายของเรา เช่น โรคหลอดเลือดสมองหรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น และยังเป็นการช่วยลดคอเลสเตอรอล ในร่างกายให้ต่ำลงได้อีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“LDL and HDL: Bad and Good Cholesterol”. Centers for Disease Control and Prevention. CDC. Retrieved 11 September 2017.

“LDL and HDL Cholesterol: What’s Bad and What’s Good?”. American Heart Association. 2 July 2009. Retrieved 8 October 2009.

Jump up ^ Toth PP (Feb 2005). “Cardiology patient page. The “good cholesterol”: high-density lipoprotein”. Circulation. 111 (5): e89–e91. PMID 15699268. 

Betteridge; et al. (2008). “Structural requirements for PCSK9-mediated degradation of the low-density lipoprotein receptor”. PNAS. 105 (35): 13045–13050. 

ประโยชน์ดี ๆ จากอาร์ติโชค ( Artichoke )

0
ประโยชน์ดีๆจากอาร์ติโชค (Artichoke)
อาร์ติโชคเป็นพืชที่มีคุณค่าทางยาสามารถบริโภคสดหรือปรุงเป็นอาหารหรือนำมาสกัดสารไซนาริน รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี
ประโยชน์ดีๆจากอาร์ติโชค (Artichoke)
อาร์ติโชคเป็นพืชที่มีคุณค่าทางยาสามารถบริโภคสดหรือปรุงเป็นอาหารหรือนำมาสกัดสารไซนาริน รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี

อาร์ติโชค

เมื่อกล่าวถึง อาร์ติโชค ( Artichoke ) คนไทยหลายคนคงไม่คุ้นเคยหรือไม่เคยได้ยินชื่อพืชชนิดนี้มาก่อน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าพืชชนิดนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยเท่าใดนัก แต่ว่าอาร์ติโชคนั้นเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศแถบยุโรปที่มีอากาศหนาวหรือหนาวจัดตลอดทั้งปี อย่างประเทศดาลัต ซาปา เป็นต้น  สำหรับประเทศแถบอาเซียนแล้ว มีประเทศเวียดนามที่มีการเพาะปลูกอาร์ติโชคกันมาก เรียกว่าเดินตลาดผักที่ปรเทศเวียดนามแล้วคุณต้องได้เห็นวางขายอยู่ทั่วไปและในราคาพอกับผักพื้ชบ้านชนิดอื่น

ต้นกำเนิด อาร์ติโชค

อาร์ติโชค มีชื่อสามัญว่า Globe Artichoke เป็นพืชที่อยู่ในตระกูล Asteraceae มีต้นกำเนิดอยู่แถบประเทศอียิปต์ กรีก โรมัน เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว ในปัจจุบับนี้มีการแพร่ขยายพันธุ์มาเขตหนาวเย็น ซึ่งมีความนิยมปลูกกันมาในแอฟริกาตอนเหนือ เมติเตอร์เรเนียน อเมริกาเหนือและประเทศออสเตเรเลีย ส่วนในประเทศไทยนั้นได้มีกานำเข้ามาปลูกอยู่บนทางตอนเหนือของประเทศ โดยมีการปลูกอาร์ติโชคในโครงการหลวงเป็นแห่งแรกเมี่อปี พ.ศ.2558 ลำต้นเป็นพุ่มเล็กๆ สีเขียว มีใบสีเขียวอ่อน ดอกมีกลีบสีเขียวซ้อนกันเป็นชั้น มีลักษณะคล้ายดอกบัว แต่ที่จริงแล้วส่วนที่เราเห็นว่าเป็นกลีบดอกนั้นเป็นเป็นใบเลี้ยงของดอก ส่วนที่เป็นดอกและเกสรดอกจะอยู่ตรงกลางสุดของดอก และส่วนนี้เมื่อแกะเอาเกสรออกจนกหมดจะเหลือส่วนที่เป็นสีขาวที่สามารถรับประทานได้และจัดว่าเป็นส่วนที่อร่อยที่สุดของอาร์ติโชคก็ว่าได้

ประโยชน์ของ อาร์ติโชค

อาร์ติโชค  คือพืชที่สามารถนำมาปรุงอาหารรับประทานและนำมาทำยารักษาโรคได้ ส่วนที่นำมารับประทานได้คือส่วนโคนกลีบและใจกลางดอกซึ่งมีรสชาติหวานมันคล้ายกับถั่ว และมีรสชาติเข้มข้นกว่าส่วนโคนกลีบอยู่มาก การรับประทานกลีบอาร์ติโชคให้ใช้การรูดเอาเนื้อส่วนโคนกลีบออมากินโดยที่ไม่ต้องกินเส้นใยเข้าไปด้วย จะต้มกินเล่นหรือจิ้มกับน้ำพริกได้ทั้งแบบไทยและแบบฝรั่ง หรือจะเอาอาร์ติโชคมาต้มกับเนื้อสัตว์ทำเป็นต้มจืดก็อร่อยไปอีกแบบหนึ่ง

การที่ อาร์ติโชค  มีการรับประทานกันมาตั้งแต่ 3,000 ปีก่อนก็เพราะว่าเป็นผักที่อุดมได้ด้วยสารอาหารทางโภชนาการ นั่นคือ มีวิตามินซีในปริมาณที่สูงมาก วิตามินซีนี้จะเข้าไปช่วยเสริมภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย โฟเลตและวิตามินบี 6 ที่มีส่วนช่วยในการป้องกันที่เกี่ยวกับหัวใจ โดยที่ทั้งโฟเลตและวิตามินบี 6 นั้นจะเข้าไปทำลายโฮโมชีสทีนที่มีอยู่ในกระแสเลือดออกไป โฮโมชีสทีนนี้เป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดแดงออกเมื่อไม่มีก็จะทำให้หลอดเลือดแข็งแรง ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้

โพแทสเซียม ( Potassium ) ในอาร์ติโชคช่วยในการควบคุมความดันโลหิต ป้องกันเส้นเลือดอุดตันที่มีสาเหตุมาจากไขมันที่สะสมอยู่ตามผนังเส้นเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือดโดยเปลี่ยนน้ำตาลในกระแสเลือดให้เป็นไกลโคเจนที่เป็นแหล่งพลังงานในกล้ามเนื้อ ลดไขมันและคอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในกระแสเลือด และยังช่วยบำรุงตับทำให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น กระตุ้นการผลิตน้ำดีของตับ ทำให้มีการหลั่งน้ำดีเข้ามาช่วยในการย่อยอาหารในส่วนของลำไส้ ลำไส้จึงสามารถย่อยไขมันได้ทั้งหมด ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องที่มีสาเหตุมาจากอาหารไม่ย่อย และยังป้องกันการเกิดโรคที่เกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ ดีซ่าน และถุงน้ำดีอักเสบ ช่วยให้ระบบการขับปัสสาวะเป็นปกติ 

ซิไลมาริน ( Silymarin ) เป็นฟลาโวนอยด์ที่อยู่ในอาร์ติโชคมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นยอด ช่วยป้องกันการออกซิเดชั่นของไขมันดีให้เปลี่ยนเป็นไขมันเลวที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ หรือไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้

วิตามินซี ( Vitamin C ) ในอาร์ติโชคมีวิตามินซีช่วนในการเสริมสร้างผิว การมองเห็น รักษาแผลและช่วยเรื่องการดูดซึมธาตุเหล็ก

วิตามินเค ( Vitamin K ) วิตามินเคในอาร์ติโชคจะช่วยเรื่องการแข็งตัวของเลือดนอกจากนี้ยังช่วยในการสร้างกระดูก

จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่า อาร์ติโชค เป็นพืชที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก เหมาะที่จะนำมารับปรุงอาหารรับประทาน แต่ด้วยความที่เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้มีดีในพืชที่ที่มีอากาศหนาวถึงหนาวจัดจึงทำให้ประเทศไทยเพาะปลูกยาก เมื่อปลูกมีการเจริญเติบโตไม่ดี แต่เชื่อว่าในอนาคตมีการพัฒนาสายพันธุ์แล้ว การปลูกในพื้นที่ทั่วประเทศก็คงไม่ยาก และคงเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์กับคนไทยแน่นอน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Rottenberg, A., and D. Zohary, 1996: “The wild ancestry of the cultivated artichoke.” Genet. Res. Crop Evol. 43, 53–58.

Ceccarelli N., Curadi M., Picciarelli P., Martelloni L., Sbrana C., Giovannetti M. “Globe artichoke as a functional food” Mediterranean Journal of Nutrition and Metabolism 2010 3:3 (197–201).

Cesar G. Fraga. Plant Phenolics and Human Health– Biochemistry, Nutrition and Pharmacology.

มาตรฐานน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปาที่ดีควรเป็นเช่นไร

0
มาตรฐานน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปาที่ดีควรเป็นเช่นไร
น้ำประปาที่ผลิตออกมานั้นมีความบริสุทธิ์สะอาดเทียบเท่ากับน้ำดื่มบรรจุขวด ด้วยมาตรฐานการผลิตน้ำประปาของรัฐบาล
มาตรฐานน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปาที่ดีควรเป็นเช่นไร
น้ำประปาที่ผลิตออกมานั้นมีความบริสุทธิ์สะอาดเทียบเท่ากับน้ำดื่มบรรจุขวด ด้วยมาตรฐานการผลิตน้ำประปาของรัฐบาล

น้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำประปา

น้ำดื่มบรรจุขวด หรือ ภาชนะต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน น้ำมีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า จนกระทั่งเข้านอนในตอนกลางคืน น้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคในประเทศสหรัฐอเมริการคือ น้ำประปา สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว น้ำประปามีมาตรฐานการผลิตที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ ในการผลิตน้ำประปาจะดูแลและควบคุมโดยหน่วยงานของ  รัฐบาล และมีหน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพของน้ำประปาที่ผลิตออกมาว่าได้ผ่านมาตรฐานหรือไม่ และนำผลการตรวจสอบมารายงาน ถ้าประชาชนต้องการตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดของน้ำประปาที่ผลิตออกมาว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ water.epa.gov ซึ่งการตรวจสอบคุณภาพของน้ำประปานั้นจะต้องทำการตรวจสอบพร้อมทั้งรายงานผลทุกวัน

หน่วยผลิต น้ำประปา หนึ่งแห่งจะมีหน้าที่ผลิตน้ำประปาให้กับประชาชนในชุมชนที่มีประมาณหนึ่งแสนครัวเรือน มาตรฐานการผลิตน้ำประปาของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีมาตรฐานที่สูงมาก เพราะว่าน้ำประปาที่ผลิตออกมาเพื่อประชาชนนั้นได้มีการออกกฏหมายกำหนดมาอย่างชัดเจนว่า น้ำประปาต้องทำให้บริสุทธิ์เท่านั้น จึงจะสามารถปล่อยออกมาสู่ประชาชนได้ ดังนั้นน้ำประปาที่ออกมาประชาชนจึงสามารถดื่มได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปผ่านกระบวนการใดเพิ่มเติมอีก เพราะว่าน้ำประปาที่ผลิตออกมานั้นถือว่าเป็นน้ำที่บริสุทธิ์อยู่แล้ว

สำหรับ น้ำดื่มบรรจุขวด ที่มีจำหน่ายอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นผลิตโดยบริษัทเอกชน ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมและการตรวจสอบของหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเหมือน น้ำประปา แต่ทว่าก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีหน่วยงานที่ควบคุมอยู่ เพราะน้ำบรรจุขวดนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาหารและยาหรือ FDA ซึ่งองค์กรอาหารและยานี้ไม่ได้ทำการตรวจสอบน้ำดื่มบรรจุขวดโดยตรง แต่บริษัทนั้นสามารถส่งตรวจสอบคุณภาพสถาบันวิจัยเอกชนได้ ส่วนทางองค์การอาหารและยานั้นจะเข้าไปตรวจสอบเฉพาะในขั้นตอนการบรรจุน้ำดื่มลงขวด เพื่อป้องกันสารปนเบื้อนที่จะเข้ามาในขั้นตอนขณะบรรจุเท่านั้น

ด้วยมาตรฐานการผลิตน้ำประปาของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งด้านสุขภาพและอนามัย น้ำประปาที่ผลิตออกมานั้นมีความบริสุทธิ์สะอาดเทียบเท่ากับน้ำดื่มบรรจุขวดอยู่แล้ว

มาตรฐาน น้ำดื่มบรรจุขวด เน้นคุณภาพเป็นหลักเกณฑ์เพื่อบ่งชี้ถึงความสะอาด และความปลอดภัยของน้ำดื่ม นอกจากนั้นจากโฆษณาของบริษัทน้ำดื่มที่กล่าวว่าน้ำที่นำมาทำการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดนั้นนำมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งบางคนมีความสงสัยว่าแหล่งน้ำที่ว่าอาจจะเป็นแหล่ง น้ำประปา ก็เป็นได้ แต่ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ออกมา หลายคนจึงมองว่าการบริโภคน้ำจากน้ำดื่มบรรจุขวดหรือน้ำประปาในสหรัฐอเมริกาก็ไม่ต่างกันเท่าใดนัก  ทว่าการบริโภคน้ำดื่มบรรจุนั้นได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

การที่ น้ำดื่มบรรจุขวด เป็นที่ต้องการของประชาชนนั้น เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าคนในปัจจุบันนี้ใส่ใจเรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เพราะว่ามีการลดดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลและน้ำอัดลมลง และหันมาดื่มน้ำบรรจุขวดทดแทน มีการทำสถิติไว้ว่าขวดน้ำดื่มที่คนสหรัฐอเมริกาบริโภคในหนึ่งวัน เมื่อเอามาเรียงต่อกันจะได้ความยาวเท่ากับเส้นรอบโลกเลยที่ดี คิดดูสิว่าทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตขวดพลาสติกที่จะนำมาบรรจุน้ำดื่มนั้นต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมเป็นจำนวนเท่าใด ถึงแม้ว่าการบริโภคน้ำดื่มที่ไม่ได้ปรุงแต่งจะเป็นสิ่งที่ดีก็ตาม แต่ว่าถ้ามีการปรับเปลี่ยนภาชนะที่ใช้บรรจุแทนที่จะเป็นขวดพลาสติกใช้แล้วทิ้งแบบเดิม หันมาใช้ขวดพลาสติกที่ไม่มี BPA เป็นส่วนผสมก็จะช่วยลดมลภาวะของโลกให้น้อยลง แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด คือการใช้ภาชนะบรรจุน้ำแบบที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ทั้งแบบที่เป็นขวดสแตนเลสหรือขวดแก้วก็จะยิ่งดี เพื่อช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้ลดลงด้วย เราจะได้อยู่มีธรรมชาติที่สวยงามต่อไปให้ลูกหลาน

เชื่อกันว่าในอนาคตแล้วน้ำประปาในทุกประเทศควรที่จะบริโภคได้ไม่ต่างกับ น้ำดื่มบรรจุขวด ตามแบบประเทศสหรัฐอเมริกา และยังการพัฒนาน้ำประปาเพื่อประชาชนให้มีสุขภาพดีแล้ว มีแนวคิดที่จะเพิ่มสารฟลูออไรด์ในน้ำประปาเป็นการช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันของประชาชน ให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลฟันอีกด้วย อย่างที่เห็นจึงกล่าวได้ว่า น้ำประปา ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นสามารถดื่มได้ไม่ต่างจากน้ำดื่มบรรจุขวด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Van der Leun, Justine (September 2009). “A Closer Look at New Research on Water Safety”. AOL Health. Retrieved September 2009.

Washington’s Gregoire plans 400 million more in budget cuts, Bloomberg Businessweek, December 16, 2010