Home Blog Page 168

สารให้รสหวานแทนน้ำตาล

0
สารให้รสหวานแทนน้ำตาล
หญ้าหวานเป็นพืชที่ให้รถหวานตามธรรมชาติต้นคล้ายกระเพาหรือต้นแมงลัก ให้ความหวาน10-15 เท่า แต่ไม่มีแคลอรี
สารให้รสหวานแทนน้ำตาล
น้ำผึ้งมีสารให้ความหวานจากธรรมชาติที่เรียกว่าฟรักโทสซึ่งร่างกายสามารถน้ำไปใช้ได้ทันที

สารให้ความหวาน

ถ้าพูดถึงโรคเบาหวานในปัจจุบันทุกวันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักหลายๆ คนต่างให้ความสนในเรื่องของการดูแลสุขภาพตนเองมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการบริโภคน้ำตาล เนื่องจากการบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป และไม่ได้ใช้พลังงานที่ได้รับออกไปให้หมด  น้ำตาลนั้นก็จะทำการเปลี่ยนตัวเองเป็นรูปของไขมันไปสะสมอยู่ในร่างกาย จนเป็นต้นเหตุของโรคร้ายต่างๆ ได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิต โรคหัวใจ และรวมถึงโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดอีกด้วย หลายคนจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงการบริโภคน้ำตาล โดยหันมาบริโภค สารให้ความหวาน หรือน้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลจริงอย่าง น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลซูโครส เนื่องจากน้ำตาลจริงจะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็วมาก ซึ่งน้ำตาลเทียมหรือสารให้ความหวานจะมีการดูดซึมเข้าร่างกายโดยใช้เวลานานกว่านั้นเอง

สารให้ความหวาน หรือน้ำตาลเทียม สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายโดยใช้เวลานาน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือ น้ำตาลเทียม

เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยจะให้รสหวานแต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ก่อให้เกิดพลังงานนิยมนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ทานน้ำตาลจริงไม่ได้เป็นสารที่นิยมนำมาใช้ในทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารสำหรับผู้เป็นโรคอ้วนหรือต้องการควบคุมปริมาณน้ำหนักและยังใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เพื่อลดต้นทุนการผลิต หรือเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย สารให้ความหวานหรือน้ำตาลเทียมมีด้วยกันมากมายหลากหลายชนิด ดังต่อไปนี้

1.ขัณฑสกรหรือแซ็กคาริน

แซ็กคาริน หรือที่คนไทยมักรู้จักกันในชื่อของ ขัณฑสกร เป็นสารสังเคราะห์ ที่ ให้ความหวานแทนน้ำตาล ชนิดหนึ่ง ถูกสังเคราะห์ขึ้นในปี ค.ศ. 1879 เป็นผงผลึกสีขาว ทนต่อความร้อนและละลายในน้ำได้ดีไม่มีพลังงาน  นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมานานหลายปีแล้ว มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 500 เท่า แต่ที่มีขายจะอยู่ในรูปของแซ็กคารินโซเดียม จะให้รสหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 375 เท่า เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ขัณฑสกรหรือแซ็กคารินจะค่อยๆถูกดูดซึมเข้าร่างกายอย่างช้าๆ และหลังจากนั้นจึงจะถูกขับออกมาในรูปของปัสสาวะ โดยจะมีสภาพเดิมประมาณ 95% ภายในระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง 

แต่จากการทดลอง สารขัณฑสกรหรือแซ็กคาริน ที่ใช้ทดสอบกับสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า สัตว์ทดลองเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะจากการให้ทานสารขัณฑสกรหรือแซ็กคารินเข้าไป แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีข้อมูลใดๆที่บ่งบอกว่าพบได้ในคนจากข้อมูลดังกล่าว หลายฝ่ายก็เกิดความวิตกกังวลที่จะนำ แซ็กคารินมาใช้ในการบริโภค แต่ทั้งนี้สมาคมแพทย์สหรัฐอเมริกาเองก็ยังคงสนับสนุนการใช้แซ็กคารินต่อไปโดยให้เหตุผลว่าจนถึงปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าแซ็กคารินจะเพิ่มโอกาสของการเกิดมะเร็งในคนได้ แต่การใช้ แซ็กคาริน ก็มีข้อที่ควรระมัดระวังคือ สำหรับสตรีมีครรภ์หรือในเด็ก ไม่ควรใช้สารแซ็กคาริน เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยที่เพียงพอ เมื่อนำมาใช้กับคนนั้นเองเลี่ยงได้ก็ควรจะเลี่ยง

สำหรับในประเทศไทย มีการนำสารขัณฑสกรหรือแซ็กคารินเข้ามาใช้กันอย่างมากมาย แต่ก็มีการควบคุมไม่ให้ใช้กับผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น อาหารเด็ก น้ำหวาน น้ำอัดลม แต่สามารถใช้ได้กับอาหารบางชนิดที่ผลิตขึ้นสำหรับคนบางกลุ่ม  เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โดยอาหารชนิดนั้นต้องมีรายละเอียดและคำเตือนระบุไว้ที่ฉลากให้ผู้บริโภคทราบด้วย

2.ไซคลาเมต

ไซลาเมต ( Cyclamate ) คือเกลือของกรดไซคลามิกมีลักษณะเป็นผลึกสีขาว คุณสมบัติทนความร้อนได้ เก็บได้ในระยะเวลานาน เป็นสารที่ให้ความหวานที่ได้รับความนิยมรองมาจาก สารขัณฑสกรหรือแซ็กคาริน แต่ก็มีความอันตรายมากกว่าไซลาเมตมีความมากว่าน้ำตาลจริงประมาณ 30 เท่า เป็น สารให้ความหวาน ชนิดที่ได้รับความนิยม อย่างมากในอดีต แต่ก็ถูกยังบังคบให้เลิกจำหน่ายในปี ค.ศ. 1970 จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) เนื่องจากพบข้อมูลจากการทดสอบว่า ทำให้หนูที่นำไปทดลองกับการให้ไซลาเมต แล้วพบว่าเกิดมะเร็งขึ้นในหนูที่ทดลองนั้นเอง

3.แอสพาร์เทม

แอสพาร์เทม เป็น สารให้ความหวาน อีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละเอียด ไม่มีกลิ่น มีชื่อเรียกในการค้ามากมาย เช่น อิควลฟิทเนสพอลสวิทสลิมม่า เป็นต้นแอสพาร์เทมถูกนำมาวางจำหน่ายในตลาดครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1965 ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 2 ตัวจับกัน คือ กรดแอสพาร์ติก และกรดเฟนิลอะลานีน ให้พลังงานเท่ากับ 4 กิโลแคลอรี/กรัม เท่ากับพลังงานที่ได้จากน้ำตาลทราย แต่จะดูดซึมเข้าร่างกายได้ช้ากว่าแอสพาร์เทมมีความหวานเป็น 200 เท่าของน้ำตาลทราย ปริมาณในการใช้แต่ละครั้งจึงน้อยกว่าน้ำตาลทรายจึงทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่น้อยกว่าการใช้น้ำตาลทราย โดย แอสพาร์เทม 1 ซอง ( ประมาณ 38 มิลลิกรัม ) จะให้ความหวานเทียบเท่ากับน้ำตาลทราย 2 ช้อนชา ข้อดีอีกอย่างของแอสพาร์เทม คือ รสหวานของสารมีความใกล้เคียงกับน้ำตาลจริงมาก และไม่มีรสขมซึ่งต่างจากแซ็กคาริน และหากใช้ผสมร่วมกันระหว่างแอสพาร์เทมและแซ็กคาริน ความหวานที่ได้รับจะมากว่าการใช้เพียงแค่ชนิดใดชนิดหนึ่งในสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลหลายๆชนิด  

แอสพาร์เทม เป็นชนิดที่ได้รับการทดสอบด้านความปลอดภัยมากที่สุด ก่อนที่จะมีการให้นำไปจำหน่ายจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา เนื่องจาก สารให้ความหวาน ชนิดก่อนหน้านี้ยังคงไม่ได้รับความไว้วางใจในเรื่องความปลอดภัยต่อคนนั้นเองการใช้ปริมาณของ แอสพาร์เทม ที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยคือ ประมาณวันละไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ถ้าน้ำหนักตัวเท่ากับ 70 กิโลกรัม จะสามารถใช้แอสพาร์เทมได้วันละ 3,500 มิลลิกรัม ( ประมาณ 90 ซอง ) ซึ่งหากมองในความเป็นจริงแล้วก็คงไม่มีใครใช้ในปริมาณเกินที่ตั้งไว้แน่นอน แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้งานคือ ในกลุ่มของเด็กเล็ก และ กลุ่มผู้ที่เป็นโรคเฟนิลคีโทนยูเรีย นั้นไม่ควรใช้แอสพาร์เทม เนื่องจากจะขาดเอนไซม์ที่จะทำหน้าที่ขจัดเฟนิลอะลานีนออกจากร่างกาย และหากยิ่งได้รับเฟนิลอะลานีนเพิ่มจาการแตกตัวของแอสพาร์เทมเข้าไปอีก ก็จะทำให้ระดับเฟนิลอะลานีนในเลือดสูงกว่าปกติ มีผลต่อระบบสมอง อาจทำให้ปัญญาอ่อนได้ นอกจากนี้ แอสพาร์เทม ยังมีข้อเสียคือเป็นสารที่ไม่ทนต่อความร้อน จึงใช้ในขณะหุงต้มประกอบอาหารไม่ได้ เพราะความร้อนจะทำให้ความหวานจากสารละเหยหมดไป ดังนั้นจึงควรเติมแอสพาร์เทมหลังจากประกอบอาหารเสร็จหรือเย็นตัวแล้วเท่านั้น

4.อะเซซัลเฟมโพแทสเซียม

อะเซซัลเฟมโพแทสเซียม ( Acesulfame Potassium ) หรือชื่อที่เรียกในทางการค้าคือ ซูเนตต์  Sunett เป็นเกลือของสารประกอบที่ให้ความหวาน ถูกค้นพบขึ้นในปี ค.ศ.1967 และเริ่มได้รับความนิยมใช้มากในแถบซีกโลกตะวันตกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983  เป็นต้นมา เนื่องจากเป็นสารประกอบให้ความหวาน ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่ามีความปลอดภัยในการนำมาใช้งาน

อะเซซัลเฟมโพแทสเซียมจะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลประมาณ 200 เท่า แต่ไม่มีผลต่อระดับอินซูลินหรือน้ำตาลในเลือดแต่อย่างใด สามารถถูกขับออกจากร่างกายในสภาพเดิมทางปัสสาวะ เป็นสารที่ไม่ก่อให้เกิดฟันผุเหมือนน้ำตาลจริงเนื่องจากแบคทีเรียในช่องปากไม่สามารถย่อยสารชนิดนี้ได้ และยังช่วยคงระดับของน้ำหนักตัวเนื่องจากเป็นสารที่ไม่ให้พลังงาน จึงถูกนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือโรคอ้วน ด้วย สามารถใช้การปรุงอาหารได้ เนื่องจากเป็นสารที่ทนต่อความร้อน

อะเซซัลเฟมโพแทสเซียม เป็น สารให้ความหวาน ที่มีรสชาติดีกว่าสารให้ความหวานชนิดอื่นๆ เนื่องจากไม่มีรสขม เมื่อนำอะเซซัลเฟมโพแทสเซียมมาผสมกับสารให้ความหวานชนิดอื่นๆ เช่น แอสพาร์เทมจะให้รสชาติที่ใกล้เคียงกับน้ำตาลทราย  นอกจากนี้ในน้ำอัดลมบางชนิด ที่เป็นแบบให้พลังงานน้อยหรือมีการโฆษณาว่า 0 แคลลอรี่ จะมีการใช้ อะเซซัลเฟมโพแทสเซียมกับแอสพาร์เทม เป็นส่วนผสมแทนการใช้น้ำตาลจริงเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค 

ในแง่ของความปลอดภัย แม้ว่าสารประกอบที่อยู่ในอะเซซัลเฟมโพแทสเซียมจะมีกำมะถัน เป็นองค์ประกอบหลัก แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้กับผู้ที่ใช้งานแต่อย่างใด แตกต่างจากสารประกอบกำมะถันของซัลไฟต์และยาซัลฟาที่มักก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายได้ จึงทำให้ อะเซซัลเฟมโพแทสเซียม เป็นสารให้ความหวานที่มีความปลอดภัยสูง จากหลักฐานทางการทดสอบกว่า 90  ฉบับด้วยกันและยังไม่มีรายงานการพบอาการเกี่ยวมะเร็งในสัตว์ทดสอบเหมือนการทดลองในสารให้ความหวานชนิดอื่นๆอีกด้วย

การใช้ สารให้ความหวาน อย่างอะเซซัลเฟมโพแทสเซียมมีข้อแนะนำในการใช้ คือ ไม่ควรบริโภคเกิน 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ดังนั้นหากผู้บริโภคมีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ก็สามารถบริโภคอะเซซันเฟมโพแทสเซียมได้วันละ 900 มิลลิกรัม (เท่ากับ 0.9 กรัม) ซึ่งสามารถเทียบได้กับปริมาณของน้ำตาลจริงถึง 200 กรัม เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลประมาณ 7.5 ลิตร  เลยทีเดียว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ปกติถึงแม้จะบริโภคอะเซซันเฟมโพแทสเซียมในทุกมื้อและใส่ในอาหารทุกชนิด ก็จะได้รับอะเซซันเฟมโพแทสเซียม สูงสุดอยู่ที่วันละ 3.8 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเท่านั้นซึ่งยังต่ำกว่าระดับปลอดภัยที่กำหนดไว้มาก ส่วนข้อควรระวังในการใช้คือ เด็กหรือผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ควรที่จะหลีกเลี่ยงสารตัวนี้จะดีที่สุด ยกเว้นได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเท่านั้น

5.น้ำผึ้งและน้ำตาลฟรักโทส

ฟรักโทส คือ น้ำตาลที่มีโมเลกุลเดี่ยว ( โมโนแซ็กคาไรด์ ) พบได้ในน้ำผึ้งและผลไม้ชนิดต่างๆ สารให้ความหวาน ชนิดนี้จะต่างจากประเภทอื่นๆที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เนื่องจากเป็นสารให้ความหวานที่ได้มาจากธรรมชาติ

น้ำผึ้ง มีความหวานจากการประกอบกันของน้ำตาลหลายชนิด เช่น น้ำตาลฟรักโทส ประมาณ 40%  น้ำตาลกลูโคส ประมาณ 35%  และน้ำตาลซูโครสหรือน้ำตาลทราย  ประมาณ 10% และหากเทียบกัน ความหวานในน้ำผึ้งจะอยู่ที่ประมาณ 75 % ของน้ำตาลทราย

น้ำตาลฟรักโทส เป็นน้ำตาลประเภทที่ร่างกายสามารถใช้เป็นพลังงานได้ โดยไม่ต้องอาศัยอินซูลินในการนำเข้าสู่เซลล์ ดังนั้นผู้ที่ทานน้ำตาลประเภทนี้  จะไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นทันทีทันใดเหมือนกับการทานน้ำตาลประเภทกลูโคส น้ำตาลทรายหรือแป้งแต่ทั้งนี้ น้ำตาลประเภทฟรักโทสมีกลไกการเผาผลาญที่แตกต่างจากน้ำตาลกลูโคส ตรงที่สามารถเผาผลาญได้เฉพาะที่ตับและยังไปกระตุ้นการสร้างไขมันทั้งที่ตับและในเส้นเลือด ส่งผลให้ผู้ที่บริโภคฟรักโทส มากเกินไป อาจจะมีระดับไขมันไม่ดีอย่าง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และยังมีไขมันเกาะตับมากขึ้นด้วย

ข้อแนะนำในการทานฟรักโทสและน้ำผึ้ง คือ หากเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี สามารถทานน้ำผึ้งได้ปริมาณที่จำกัดไม่เกิน 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน และต้องคอยนับหรือควบคุมปริมาณของคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับต่อวันด้วย ซึ่งน้ำผึ้ง1 ช้อนโต๊ะจะให้พลังงานสูงถึง 72 กิโลแคลอรี เลยทีเดียว ส่วนน้ำตาลฟรักโทสที่พบได้ในผลไม้ต่างๆ จะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี/กรัม เช่นเดียวกับน้ำตาลทรายและกลูโคส แต่ฟรักโทสเป็นน้ำตาลที่บริสุทธิ์และมีประโยชน์กว่าน้ำตาลทรายธรรมมากถึง 2 เท่า ปริมาณที่ใช้ในอาหารแต่ละอย่างจึงน้อยกว่า  สมาคมโภชนาการของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำแนะนำของการทานน้ำตาลในกลุ่มของฟรักโทสว่า ควรทานฟรักโทสที่มาจากผลไม้มากว่าการทานจากน้ำผึ้ง โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานหากต้องการทานฟรักโทส ต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคอ้วน และต้องทานในปริมาณที่เหมาะสมพอควร

จะเห็นได้ว่ามี สารให้ความหวาน มากมายหลายชนิด ที่สามารถใช้ประกอบอาหารให้รสหวานแทนน้ำตาลได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ไม่ว่าสารที่นำมาใช้จะเป็นชนิดใดก็แล้วแต่ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆให้ดีเสียก่อน หากไม่แน่ใจว่าจะมีผลอันตรายต่อตนเองหรือไม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด นอกจากนี้ยังควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป และหากเลี่ยงได้ควรทานอาหารที่มีรสชาติปกติ ไม่หวานจนเกินไปก็จะดีต่อร่างกายในระยะยาวมากที่สุดนั้นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“High-Intensity Sweeteners”. U.S. Food and Drug Administration. 19 May 2014. Retrieved 17 September 2014.

“Unique Sweetener Supports Oral health”. vrp.com.
Mela, D. (ed.). (2005). Food, diet and obesity. Cambridge, England: Woodhead Publishing Limited.

Coultate, T. (2009). Food: The chemistry of its components. Cambridge, UK: The Royal Society of chemistry

“Generally Recognized as Safe (GRAS)”. U.S. Food and Drug Administration. 14 July 2014. Retrieved 17 September 2014.”Generally Recognized as Safe (GRAS)”. fda.gov.

วิตามินบี 12 ( Cobalamin ) คืออะไร มีคุณสมบัติและหน้าที่อะไรบ้าง

0
วิตามินบี 12 (Cobalamin) คืออะไร มีคุณสมบัติและหน้าที่อะไรบ้าง
วิตามินบีสิบสองจะพบในอาหารที่มาจากสัตว์ ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงระการทำงานของระบบประสาท
วิตามินบี 12 (Cobalamin) คืออะไร มีคุณสมบัติและหน้าที่อะไรบ้าง
วิตามินบีสิบสองจะพบในอาหารที่มาจากสัตว์ ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงระการทำงานของระบบประสาท

วิตามินบี 12 คืออะไร ทำไมต้องกินวิตามิน B12

วิตามินบี 12 ( Vitamin B12 ) หรือ Cobalamin คือ สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในอาหารบางชนิด แล้วทำไมต้องกินวิตามิน B12 เนื่องจากวิตามินบี 12 มีส่วนช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง สร้างDNA ผลิตพลังงานเร่งการเผาผลาญ และช่วยในทำงานของเส้นประสาทอย่างมาก

ร่างกายควรได้รับวิตามินบี 12 ปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน

ปริมาณวิตามินบี 12 ที่แนะนำต่อวันมีความแตกต่างกันไปตามเพศ อายุ และความต้องการอาหารโดยเฉพาะผู้ขาดวิตามินบี 12 ดังนี้ ปริมาณวิตามินบี 12 สำหรับเด็ก คือ 0.5 – 1.2 ไมโครกรัม/วัน สำหรับวัยรุ่น วัยทำงาน ผู้ใหญ่ รวมถึงสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรต้องการปริมาณที่สูงขึ้น ควรได้รับวิตามินบี 12 ประมาณ 1.8-2.4 ไมโครกรัม/วัน

คุณสมบัติของวิตามินบี 12 หรือ โคบาลามิน

วิตามินบี 12 หรือ โคบาลามิน เป็นผลึกสีแดงเข้ม วิตามินบี 12 สามารถละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ ไม่ทนกรด ด่างและแสง โดยวิตตามินบี12 มีสูตรโครงสร้างสลับซับซ้อนคล้ายกับเฮโมโกลบิน จะแตกต่างกันเพียง วิตามินบี12 มีโคบอลท์อยู่ที่ 1 อะตอม แต่เฮโมโกลบินมีธาตุเหล็กอยู่ ทั้งนี้วิตามินบี12 จะแตกต่างจาก วิตามินบีตัวอื่นๆตรงที่พืชไม่สามารถสังเคราะห์เองได้

วิตามินบี 12 เมื่ออยู่ในร่างกายจะมีหลายแบบ แต่จะเรียกรวมๆกัน ว่า “ โคบาลามิน ” สำหรับตัวที่มีฤทธิ์มากจะเป็นผลึกสีแดงเข้ม ส่วนตัวที่วางขายกันในท้องตลาดและมีฤทธิ์สูงกว่าในทางยา ก็คือ  “ ไฮดรอกโซโคบาลามิน ” ( Hydroxocobalamin )

บี12 หรือ Cyanocobalamine เมื่อใช้ร่วมกับยา Chloramphenical จะทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาภาวะโรคโลหิตจางด้วย Cyanocobalamine ด้อยลงไป ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน

กินวิตามินบี 12 ช่วยอะไรบ้าง

วิตามินบี 12 มีความสำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ของร่างกายรวมถึง

  • มีส่วนช่วยให้การทำงานของสมองและระบบประสาทเป็นปกติ
  • การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • การป้องกันภาวะโลหิตจาง
  • ช่วยสร้างและควบคุมดีเอ็นเอ (DNA)
  • ช่วยปกป้องดวงตาจากการเสื่อมสภาพของเม็ดสี
  • การสร้างพลังงานในร่างกาย

ผลข้างเคียงหลังได้รับวิตามินบี 12 ในปริมาณสูงเกินไป

หลังร่างกายได้รับวิตามินบี 12 มากเกินไป อาจทำให้รู้สึกปวดศึรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย และมีอาการชาที่มือและเท้าได้

ผลของการขาดวิตามินบี 12

ส่วนใหญ่สาเหตุของการขาดวิตามินบี12 ( Vitamin B12 ) มาจากการได้รับวิตามินไม่เพียงพอจากการทานอาหาร หรืออาจมีปัญหาในการดูดซึม หรือรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อการปิดกั้นการดูซึมวิตามิน

1. การได้รับจากอาหารไม่พอ ทำให้เกิดการขาดขาดวิตามินบี12 เช่น คนที่ทานอาหารมังสวิรัติ

2. คนที่มีความผิดปกติของการดูดซึม เช่น การขาด IF การเป็นโรคท้องเสียเรื้อรัง การตัดกระเพาะอาหารบางส่วนออก หรือเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้เสื่อมทำให้มีการดูดซึมผิดปกติและถ้าขาดวิตามินบี 12 ไขกระดูกจะไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดแดงให้เจริญเต็มที่ได้ เม็ดเลือดแดงนี้ก็จะไม่ถูกแบ่งตัว จะมีลักษณะใหญ่ที่เรียกว่าเมกกะ โลบลาสท์ Megalobladst และจะถูกปล่อยเข้ามาสู่กระแสโลหิต ก็จะทำให้ความสามารถในการนำเฮโมโกลบินไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง เป็นผลให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดเพอร์นิเซียสได้ง่าย ซึ่งโรคนี้จะมีอาการที่แสดงให้เห็นได้อย่างเด่นชัดคือ น้ำหนักลด  ผิวหนังมีสีเหลืองอ่อน คลื่นไส้ หายใจขัดข้อง ท้องอืด ลิ้นอักเสบ มีความผิดปกติของระบบประสาทและเดินไม่ตรงได้

การรักษาอาการขาดวิตามินบี12

ต้องทานวิตามินบี 12 ให้มากขึ้น เพื่อเสริมวิตามินชนิดนี้ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือให้สารทดแทนหรืออาหารเสริมวิตามินบี12 ที่มีคุณสมบัติในการเร่งหรือการบำรุงการสร้าง IF นั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“Vitamin B12”. Micronutrient Information Center, Linus Pauling Institute, Oregon State University. 2014. Retrieved February 16, 2017.

Yamada, Kazuhiro (2013). “Chapter 9. Cobalt: Its Role in Health and Disease”. In Sigel, Astrid; Sigel, Helmut; Sigel, Roland K. O. Interrelations between Essential Metal Ions and Human Diseases. Metal Ions in Life Sciences. 13. Springer. pp. 295–320.

Miller, Ariel; Korem, Maya; Almog, Ronit; Galboiz, Yanina (June 15, 2005). “Vitamin B12, demyelination, remyelination and repair in multiple sclerosis”. Journal of the Neurological Sciences. 233 (1–2)

ประโยชน์ของแอปริคอต ( Apricot )

0
แอปริคอตเป็นผลไม้ที่ให้แคลอรี่ต่ำและมีเส้นใยสูง ช่วยให้อิ่มนาน และพลังงานที่ได้ไม่เหลือสะสมเป็นไขมันในร่างกาย
ประโยชน์ของแอปริคอต (Apricots)
แอปริคอตเป็นผลไม้ที่ให้แคลอรี่ต่ำและมีเส้นใยสูง ช่วยให้อิ่มนาน และพลังงานที่ได้ไม่เหลือสะสมเป็นไขมันในร่างกาย

แอปริคอต

แอปริคอต ( Apricot ) มีชื่อทางวิทยาศาตร์ว่า Prunus Armeniaca L. คือ ไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและได้แพร่พันธุ์ไปยังประเทศอิตาลีและประเทศอังกฤษในเวลาต่อมา ผลเป็นทรงกลมมีร่องตรงกลางผลคล้ายผลลูกท้อแต่ว่ามีขนาดเล็กกว่าลูกท้อ ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนผลแก่มีสีส้มอมเหลืองมีขนอ่อนลักษณะคล้ายกำมะยี่รอบลูก เปลือกบาง เนื้อแน่นแห้ง มีเมล็ดภายในสีน้ำตาลเข้มถึงดำ เนื้อมีรสเปรี้ยว ผลสุกทานสดๆหรือจะนำมาตาก แห้งก็ได้ แอปลิคอตเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น แหล่งเพาะปลุกและส่งออกแอปริคอตที่สำคัญในปัจจุบันคือประเทศจีน อแฟริกา นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตเรีย

แอปริคอต คือ ผลไม้ที่มีคนนิยมนำมาตากแห้งแล้วรับประทานกัน เพราะสามารถเก็บไว้ได้นานและสารอาหารก็ยังคงอยู่เหมือนตอนที่เป็นผลสดเกือบทั้งหมด การรับประทานแอปริคอตนั้นสามารถรับประทานได้หลายแบบขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน จะแทนแบบผลแก่จัดจากต้นเลยก็ได้ แต่เวลารับประทานก็จะมีรสเปรี้ยวมากหรือจะนำไปปั่นเป็นน้ำแอปริคอตก็ได้เช่นเดียวกัน แอปริคอตยังได้นำมาแปรรูปเพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้น เช่น น้ำเชื่อมแอปริคอต โยเกิร์ตผสมเนื้อแอปริคอต เบเกอรี่ต่างๆ แยม ขนมปัง เค้ก ไอศกรีม น้ำผลไม้ และที่นิยมรับประทานกันมากก็คือ แอปริคอตอบแห้งนั่นเอง นอกจากการรับประทานในรูปแบบต่างๆแล้ว แอปริคอตยังสามารถนำมาประทินโฉมด้วยการนำสารสกัดของแอปริคอตมาผสมในเครื่องสำอางค์ เช่น สบู่ มาร์กผอกหน้า เจลขัดผิว เป็นต้น สารสกัดที่ได้ช่วยบำรุงผิวและจัดการทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ตกค้างบนผิว สำหรับคนที่มีผลแอปริคอตสุกแบบสดนั้น ให้นำเนื้อมาปั่นให้ละเอียดและนำมาพอกหน้าจนทั่วทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาทีแล้วทำการล้างออกให้สะอาด วิตามินซีและเบต้าแคโรทีนในเนื้อจะซึมเข้าผิวช่วยให้ผ่องดูเยาว์วัย

การซื้อ แอปริคอต สดเราควรที่จะเลือกซื้อในช่วงฤดูร้อนจะมีที่สุด เพราะผลผลิตที่ออกมาในท้องตลาดจะมีรสชาติและสารอาหารที่ดีกว่าในฤดูอื่น ควรเลือกผลที่จับแล้วมีเนื้อแน่น สีส้มอมเหลืองสดใสหรือสีส้มอมเขียว ไม่มีรอยช้ำดำบนผิว การเก็บรักษาถ้ายังรับประทานไม่หมดและไม่ต้องการให้สุกมากเกินไป ควรเก็บไว้ให้อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียลหรือเก็บไว้ในตู้เย็นก็ได้

ประโยชน์ของแอปริคอต

การที่ แอปริคอต ได้รับความนิยมทานกันก็เพราะว่าแอปริคอตเป็นผลไม้ที่ให้แคลอรี่ต่ำและมีเส้นใยสูงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก เส้นใยจากแอปริคอตจะช่วยให้เรารู้สึกอิ่มนานและพลังงานที่ได้ไม่เหลือสะสมเป็นไขมันในร่างกาย ทำให้ไขมันไม่ดีในเส้นเลือดมีอัตราการเกิดขึ้นน้อยลง ป้องกันการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด หลอดเลือดอุดตันที่เป็นสาเหตุให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจในปริมาณที่เพียงพอมีอัตราการเต้นที่สม่ำเสมอ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และเส้นใยที่ได้จากแอปริคอตทั้งแบบสดและอบแห้งจะเข้าไปช่วยระบบขับถ่ายทำการขับของเสียและสิ่งตกค้างภายในลำไส้ออกมาเป็นอย่างดี  ป้องกันอาการท้องผูกและสารพิษตกค้างในร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงเนื้อของแอปริคอตมีสีเหลืองที่อุดมไปด้วยสารเบตาแคโรทีนที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นดีช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ลดริ้วรอยแห่งวัยที่เกิดขึ้น ทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งขึ้น เบตาแคโรทีนยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างวิตามินเอที่ช่วยบำรุงระบบเซลล์ของระบบการมองเห็น ป้องกันการเสื่อมของเลนส์ดวงตา ลดความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก สำหรับผู้ที่เป็นอยู่แล้วสามารถชะลอการโตของต้อกระจกได้

วิตามินซี ที่มีอยู่แอปริคอตเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถต่อต้านการทำงานของอนุมูลอิสระในการทำลายเซลล์ และยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้ทำงานได้ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆโดยเฉพาะโรคหวัด และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด หลอดลมอักเสบ เป็นต้น

โพแทสเซียมและโซเดียม มีคุณสมบัติช่วยรักษาสมดุลของอิเล็กโทรไลท์ที่อยู่ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล เพราะถ้าสมดุลอิเล็กโทรไลท์ในร่างกายไม่สมดุลแล้วระบบการทำงานของจะเกิดความผิดปกติไปด้วย  และเข้าไปช่วยในการรักษาสมดุลของเกลืออีกด้วย ป้องกันอาการร่างกายบวมน้ำ และยังช่วยควบคุมการขยายของหลอดเลือดให้เป็นปกติ ป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงด้วย

วิตามินบี 17 ( Amygdalin ) เป็นวิตามินที่มีอยู่ในเมล็ดของ แอปริคอต วิตามินบี 17 เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ป้องกันการทำลายยีนส์ในเซลล์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้ สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลามมากขึ้นเมื่อมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น และยังช่วยลดการเสื่อมของเซลล์สมองป้องกันการเกิดโรคความจำเสื่อมเมื่อสูงวัยได้อีกด้วย

เมื่อเราทราบถึงสารที่มีประโยชน์ใน แอปริคอต กันแล้ว หลายคนคงสงสัยว่าต้องทานเป็นจำนวนเท่าไหร่ถึงจะสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือเพียงพอต่อการป้องกันโรคได้ แอปริคอตสด 3 ผลขนาดกลางนั้นจะให้ปริมาณโพแทสเซียมอยู่ทีประมาณ 300 มิลลิกรัม ซึ่งร่างกายคนเราต้องการโพแทสเซียมอยู่ที่ 3,000 มิลลิกรัม เพราะฉะนั้นโพแทสเซียมที่ได้รับจากแอปริคอตสด 30 ผลขนาดกลางนั้นมีปริมาณมากถึง 30% ทีเดียว ส่วนพลังงานที่ได้รับอยู่ที่ 50 แคลอรี แต่สำหรับแอปริคอตแห้งแบบผ่าซีกมาแล้วนั้นหรือประมาณ 5 ลูก ให้เบต้าแคโรทีนอยู่ที่ 6  มิลลิกรัมและโพแทสเซียมถึง 500 มิลลิกรัม ส่วนพลังงานที่ได้รับอยู่ที่ 80 แคลอรีเท่านั้น เรามาดูกันตารางเทียบปริมาณเบต้าเคโรทีนในแอปริคอตกับผลไม้ชนิดอื่นกันว่ามีปริมาณมากน้อยต่างกันอย่างไร เพื่อที่เราจะได้ตัดสินในการเลือกรับประทานในครั้งต่อไป

ปริมาณสารเบต้าแคโรทีน ( Beta Carotene Count )
ตารางปริมาณสารเบต้าแคโนทีนในผลไม้แต่ละชนิด

ชนิดผลไม้  ปริมาณผลไม้ ปริมาณแคลอรี ปริมาณเบต้าแคโรทีน (มิลลิกรัม)
แอปริคอตสุกสด  3 ผล 54  1.3
แอปริคอตตากแห้ง ผ่าครึ่ง 10 ชิ้น 83 6.0
แตงแคนตาลูปสด 1 ถ้วย 57 4.9
เกรฟฟรุตสด ขนาดกลาง ½ ผล 37  1.6
ฝรั่งสด ขนาดกลาง 1 ผล 45  0.7
มะม่วงสด  ขนาดกลาง 1 ผล 135  2.6
มะละกอสุกสด  ขนาดกลาง 1 ผล 117 0.3
ลูกพีชแห้ง  ผ่าครึ่ง 5 ชิ้น 155  5.5
แตงโมสด 1 ถ้วย 50  6.9

การรับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูงนั้น จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในผู้หญิง จากการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า คนที่รับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูงอย่างต่อเนื่องแล้ว ผลการศึกษาพบว่าคนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจลดลงเหลือน้อยกว่า 22 % เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่ได้รับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูงหรือรับประทานนานนานครั้ง ซึ่งการศึกษาดังกล่าวทำการศึกษาถึง 8 ปีจากกลุ่มคนจำนวนถึง 87,000 คนในประเทศสหรัฐอเมริกา และเมื่อมาทำการศึกษาในกลุ่มของผู้ชายก็พบว่าผลการศึกษานั้นคล้ายคลึงกัน

เมนูแนะนำ ทาร์ตแอปริคอต-ชีท 

ส่วนผสม 

  1. แอปริคอตสด 10 ผล

2. เนยแข็ง ริค็อตต้า 5 ช้อนโต๊ะ

3. น้ำตาลทรายแดง 0.5 ถ้วยตวง

4. ถั่วอัลมอนด์ซอย 0.5 ถ้วยตวง

ขั้นตอนการทำทาร์ตแอปริคอต  

1.ล้างทำความสะอาดผลแอปริคอตสุก นำมาผ่าแบ่งครึ่งลูกเอาเมล็ดภายในออก ตรงกลางจะเป็นรูไว้สำหรับใส่เนยในขั้นตอนต่อไป พร้อมนำมาจัดวางบนจานที่สามารถเอาเข้าเอาอบให้สวยงาม

2.นำเนยแข็งริคอตต้าที่เตรียมไว้มาใส่ตรงกลางลูก และหยดน้ำตาลทรายแดงลงไปบนเนยที่ใส่ไป ปริมาณ 1 ช้อนชาทุกชิ้น

3.นำเข้าเตาอบ โดยตั้งอุณหภูมิที่ 375 องศาเซลเซียส ทำการอบเป็นเวลา 20 นาที น้ำตาลทรายที่อยู่ด้านบนจะละลายจนหมด ถ้าน้ำตาลยังละลายไม่หมดให้ทำการอบต่ออีกประมาณ 5 นาที

4.นำออกจากเตาอบ จัดเรียงบนจานพร้อมเสิร์ฟ ทำการโรยอัลมอนด์บดด้านบน เป็นอันเสร็จพร้อมเสิร์ฟได้เลย

ข้อมูลทางโภชนาการ

ทาร์ตแอปริคอต-ชีท    ขนาดเสิร์ฟ 1 ที่ ( แอปริคอต 2 ผล ยัดไส้แล้ว )

ปริมาณสารอาหารในแต่ละเสิร์ฟ
                                                        214 แคลอรี               74 แคลอรี่จากไขมัน
% คุณค่าสารอาหารต่อวัน

                      ไขมันรวม 8 กรัม                                          13%

                      ไขมันอิ่มตัว < 1 กรัม                                      7%

                      คอเลสเตอรอล 5 มิลลิกรัม                               2% 
                      โซเดียม 28 มิลลิกรัม                                     1%
                      คาร์โบไฮเดรตรวม 33 กรัม                            11%
เส้นใยอาหาร 3 กรัม                                     13% 

                      โปรตีน 5 กรัม
วิตามิน เอ 23%             วิตามิน ซี 12%               แคลเซียม 10%                  ธาตุเหล็ก 9%

แอปริคอต ประโยชน์ดีๆมีเยอะขนาดนี้ ต้องลองหามารับประทานกันนะคะ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Paul Dickson (1994). War Slang: American Fighting Words & Phrases Since the Civil War. p. 267.

Michael M. Phillips (March 3, 2003). “Superstitions Abound at Camp As Soldiers Await War in Iraq”.

ผักเซเลอรี่ ( Celery ) คืออะไร

0
ผักเซเลอรี่ (Celery) คืออะไร
เซเลอรี่หรือคื่นฉ่ายฝรั่งเป็นผักที่ให้พลังงานต่ำ ส่วนก้านใบยังมีน้ำและเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำเป็นเส้นใยหลัก
เซเลอรี่ (Celery)
เซเลอรี่หรือคื่นฉ่ายฝรั่งเป็นผักที่ให้พลังงานต่ำ ส่วนก้านใบยังมีน้ำและเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำเป็นเส้นใยหลัก

ผักเซเลอรี่ คือ

ผักเซเลอรี่ ( Celery ) หรือ ที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ขึ้นฉ่ายของฝรั่งจะมีขนาดลำต้นและก้านใบอวบใหญ่กว่าขึ้นฉ่ายจีนแต่มีลำต้นสั้นสีเขียวเหมือนกัน ในตัวก้านนั้นฉ่ำไปด้วยน้ำปริมาณสูงมีกลิ่นฉุนน้อยกว่าขึ้นฉ่ายจีน มีลักษณะใบเป็นแบบ Pinnate ในหนึ่งก้านจะมีใบประมาณ 5 -7 ใบ ก้านที่อยู่ด้านในมีขนาดเล็กและมีความกรอบ เรียกว่า “ The Heat ”

ผักเซเลอรี่ หรือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง มีลักษณะเฉพาะของคือก้านใบมีสันกว้าง โคนของก้านใบกว้าง จัดเป็นพืชที่มีแป้งและสารอาหารประเภทแป้งที่สูงมากชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการเรียกชื่อส่วนต่างๆของต้น ดังนี้ ใบเรียกว่า Riba, Shanks ก้านใบ มีชื่อเรียกว่า Bunches, Head หรือ Stalks ส่วนที่นิยมนำมาประกอบอาหารคือส่วนที่เป็นก้านใบ และ ใบ เพราะว่า ก้านใบนี้เป็นส่วนที่มีความหนากรอบน่ารับประทานที่สุดเมื่อนำมาปรุงอาหาร ส่วนใบของคื่นฉ่ายฝรั่งนั้นมีสาร Apiin ( Apigenin 7-Apiosylglucoside ) ซึ่งเป็นสารที่เป็นต้นกำเนิดของการเกิดกลิ่นและรสชาติในขึ้นฉ่ายฝรั่ง

ผักเซเลอรี่ ( Celery )หรือขึ้นฉ่ายฝรั่งเป็นผักที่ให้พลังงานต่ำ ส่วนก้านใบยังมีน้ำและเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำเป็นเส้นใยหลัก ซึ่งน้ำที่มีอยู่ในก้านใบนี้จะทำเรารู้สึกอิ่มเร็วขึ้นเมื่อรับประทานเข้าไปก่อนที่จะกินอาหารมือหลักหรือรับประทานเล่นแทนขนมและของหวาน

และขึ้นฉ่ายฝรั่ง 100 กรัมนั้นให้พลังงานเพียงแค่ 13 กิโลแคลอรีเท่านั้น ผู้ที่ต้องการควบคุมหรือลดน้ำหนักสามารถรับประทานอาหารขึ้นฉ่ายฝรั่งได้ และเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำจะเข้าไปเพิ่มปริมาณกากใยอาหารในลำไส้ ช่วยให้เรารู้สึกอิ่มนานขึ้นลดอาการหิวได้เป็นอย่างดี

สรรพคุณและประโยชน์ของเซเลอรี่

ผักเซเลอรี่ ยังประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ 

แคลเซียม แคลเซียมที่ได้รับจากคื่นฉ่ายฝรั่งนั้น เป็นแคลเซียมที่เหมาะสำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์และเด็กที่อยู่ในภาวะเป็นโรคกระดูกอ่อน

โพแทสเซียม ผักเซเลอรี่ นั้นมีปริมาณโพแทสเซียมสูง ที่มีฤทธิ์อ่อนในการขับปัสสาวะออกจากร่างกาย ช่วยลดอาการบวมน้ำและช่วยในให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างได้ดี โดยเฉพาะหัวใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวขาดเลือด ช่วยปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่สมดุล โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โดยการรับประทานขึ้นฉ่ายนี้วันละอย่างน้อย 4 ก้าน โดยการกินดิบหรือนำมาคั้นทำเป็นน้ำผักเซเลอรี่ ดื่มก็ได้เช่นกัน เมื่อรับประทานอย่างนี้ต่อเนื่องกันเป็นทุกวัน ความดันโลหิตสูงก็จะลดลงอยู่ในระดับปกติและยังช่วยในการขจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยเฉพาะกรดยูริกที่สะสมอยู่ในร่างกายที่เป็นสาเหตุของโรคเกาต์ เซเลอรี่เป็นพืชที่ให้พลังงานต่ำจึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และมีเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำเป็นส่วนประกอบหลักๆ จึงทำให้รู้สึกอิ่มได้นานยิ่งขึ้น

โซเดียม ที่พบในขึ้นฉ่ายหรือผักเซเลอรี่ จัดเป็นโซเดียมอินทรีย์ทีสามารถช่วยปรับสมดุลความเป็นกรดและความเป็นด่างในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อร่างกายรักษาสมดุลของกรดและด่างได้ ป้องกันการเกิดโรคไต

วิตามินซี ขึ้นฉ่ายฝรั่งหรือผักเซเลอรี่ จะมีวิตามินซีสูงมากเมื่อรับประทานแบบสดๆ วิตามินซีนี้จะเข้าไปช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกาย

เบต้าแคโรทีน เบต้าแคโรทีนในขึ้นฉ่ายฝรั่งหรือ ผักเซเลอรี่ จะมีมากเมื่อนำขึ้นฉ่ายฝรั่งไปผัดกับน้ำมัน เพราะว่าน้ำมันจะเป็นกระตุ้นให้เบต้าแคโรทีนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น สารเบต้าแคโรทีนนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งรังไข่

สารโพลิฟีนอล ที่มีหน้าที่ในการป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ที่เป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์ของ DNA ที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งในร่างกาย และยังช่วยในการลดการอักเสบในร่างกายได้อีกด้วย

สารฟลาโวนอยด์ ที่ชื่อว่า เอพิจินิน ( Epigenin ) สารชนิดนี้มีคุณสมบัติในการลดปริมาณสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบในเลือด ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานน้อยลง

เมื่อนำขึ้นฉ่ายหรือ ผักเซเลอรี่ มาสกัดเป็นน้ำพบว่าน้ำขึ้นฉ่าย หรือ น้ำเซเลอรี่นั้นออกฤทธิ์คล้ายกับยากล่อมประสาทที่มาจากธรรมชาติจึงไม่มีอันตรายต่อร่างกาย ทำให้นอนหลับลึกและรู้สึกผ่อนคลาย ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจเพราะว่าน้ำขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณในการบำรุงเลือดและหัวใจได้เป็นอย่างดี ช่วยป้องกันการเกิดโรคหอบหืด ช่วยล้างสารพิษตกค้างในเลือดและระบบลำไส้ ช่วยป้องกันโรคซิลิโคซิส ( Silicosis ) หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการสูดดมฝุ่นที่มีสารซิลิกาเข้าไปเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ผักเซเลอรี่หรือขึ้นฉ่ายฝรั่งยังเป็นผักที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด รวมถึงการควบคุมระดับน้ำตาลชนิดไตรกลีเซอไรด์และไขมันที่สะสมอยู่ในเส้นเลือดได้อีกด้วย และผู้สูงอายุบางคนได้กล่าวว่า เวลาที่มีอาการร้อนในให้รับประทานขึ้นฉ่ายเข้าไป จะช่วยลดอาการร้อนในได้ หรือถ้ามีอาการท้องเสีย ท้องร่วง จุกท้อง กรดไหลย้อนหรือกรดเกินในกระเพาะอาหารแล้ว ให้รับประทานขึ้นฉ่ายเป็นประจำ อาการที่กล่าวมาทั้งหมดจะค่อยหายไป

จะพบว่า ผักเซเลอรี่ หรือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารและแร่ธาตุหลายชนิด แต่ วิธีรับประทานที่ดีที่สุดก็คือการกินดิบหรือว่านำมาปั่นทำเป็นน้ำผักจะปั่นเพียงชนิดเดียว หรือปั่นรวมกับผักผลไม้ชนิดอื่นร่วมด้วยก็ได้ผลดีเช่นกัน ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่สูงมาก จัดว่าเป็นผักที่ควรนำมารับประทานในชีวิตประจำวันอีกชนิดหนึ่ง

คุณค่าทางโภชนาการของ เซเลอรี่ 100 กรัมส่วนที่กินได้

คุณค่าทางโภชนาการของ
เซเลอรี่

เซเลอรี่ 100 กรัม

พลังงาน 67 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
น้ำตาล 1.34 กรัม
เส้นใย 1.6 กรัม
โปรตีน 0.69 กรัม
วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 0.021 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.320 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 0.074 มิลลิกรัม
วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม
วิตามินซี 3.1 มิลลิกรัม
วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม
วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม
แคลเซียม 40 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.20 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม
โซเดียม 80 มิลลิกรัม
สังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

อ้างอิงจาก ndb.nal.usda.gov

การปลูกเซเลอรี่

เซเลอรี่เป็นผักเมืองหนาวที่ปลูกง่าย โตเร็ว แต่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่าพิถีพิถันจึงจะได้ผลผลิตสูง
ดังนั้น ในส่วนของการให้น้ำต้องให้อย่างสม่ำเสมอ เพราะเซเลอรี่เป็นพืชที่ต้องการความชุ่มชื้น
เมื่อเซเลอรี่มีอายุ 25-30 วันให้ปุ๋ย ซึ่งช่วงนี้จะต้องเก็บวัชพืชออกและเด็ดหน่อที่เกิดใหม่ทิ้งไป

Celery Detox คือ

เซเลอรี่ดีท็อกซ์ คือ การดื่มเครื่องดื่มเซเลอรีเพื่อให้มีผลดีต่อร่างกาย ช่วยลดปัญหาเรื่องสิว ทำให้การขับถ่ายเป็นปกติ และช่วยลดน้ำหนัก ผลจากการดื่ม Celery Detox พบว่าผู้ที่ดื่มน้ำเซเลอรี่เป็นประจำ มีสิวอักเสบหรือสิวผดผื่นตามใบหน้าลดลง อาการปวดหัวไมเกรนลดลง และอาการผื่นแพ้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเชื่อกันว่า ในเซเลอรีมีสารอาหารสำคัญที่ช่วยเรื่องการขับของเสีย ขับสารพิษ และสารเคมีตกค้างออกจากร่างกาย

วิธีทำน้ำเซเลอรี่ ( Celery Juice )

น้ำเซเลอรี่ หรือน้ำขึ้นฉ่ายฝรั่ง เป็นกระแสฮิต ติดลมบนอยู่พักใหญ่สำหรับสายรักสุขภาพ และสาว ๆ ต้องรู้จักเป็นอย่างดี เพราะน้ำเซเลอรี่ หรือ น้ำผักขึ้นฉ่ายนั้น เป็นอีกหนึ่งเมนูควบคุมน้ำหนัก สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกินในร่างกาย น้ำเซเลอรี่มีวิธีการทำได้ง่ายมาก วันนี้ Amprohealth นำวิธีทำน้ำเซเลอรี่มาฝากค่ะ

สูตรน้ำเซเลอรี่มีหลายชนิด แบ่งตามความชื่นชอบชนิดของผัก และที่เป็นที่นิยมมากสุดคือ น้ำเซเลอรี่แครอท

วิธีทำน้ำเซเลอรี่แครอท
ลำดับ วัตถุดิบ ปริมาณ
1 ขึ้นฉ่ายฝรั่งสดหั่นเป็นท่อน 800 กรัม
2 แครอทสดปอกเปลือกหั่นชิ้น 300 กรัม
3 แอปเปิ้ลเขียวสดหั่นชิ้น 1 ลูก
4 มะนาวสด 1 ลูก

วิธีทำ
1. นำวัตถุดิบทั้งหมด ขึ้นฉ่ายสด แครอทสด แอปเปิ้ลเขียวสด ปั่นรวมกัน ใช้ผ้าขาวบางกรองกากทิ้ง
2. ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว สามารถดื่มได้ทันที หรือผสมน้ำแข็งก่อนดื่มเพื่อให้ดื่มง่ายขึ้น หรือ แช่เย็นก่อนดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่นได้
หมายเหตุ :
1. สำหรับท่านไหนไม่ชอบความเปรี้ยวของมะนาว สามารถใช้น้ำส้มคั้นสดแทนน้ำมะนาวได้
2.ควรดื่มให้หมดไม่ควรทิ้งข้ามคืน

วิธีทำน้ำเซเลอรี่แตงกวา
ลำดับ วัตถุดิบ ปริมาณ
1 ขึ้นฉ่ายสดหั่นเป็นท่อน 800 กรัม
2 แตงกวาสด ไม่ปอกเปลือก หั่นชิ้น 200 กรัม
3 แอปเปิ้ลเขียวสดหั่นชิ้น 1 ลูก
4 ขิงสด ปอกเปลือก หั่นแว่น 1 แง่ง
5 มะนาวสด 1 ลูก

วิธีทำ
1. นำวัตถุดิบทั้งหมด ขึ้นฉ่ายสด แตงกวาสด แอปเปิ้ลเขียวสด ขิงสด ปั่นรวมกัน กรองกากทิ้ง
2. บีบน้ำมะนาวสดเป็นการปรุงรสชาติลดความขืนของผักเซเลอรี สามารถดื่มได้ทันที หรือ แช่เย็นเพื่อเพิ่มความสดชื่นได้ หรือลดความเผ็ดร้อนของขิงด้วยเกลือเล็กน้อยได้

วิธีทำน้ำเซเลอรี่สับปะรดมิ้นท์
ลำดับ วัตถุดิบ ปริมาณ
1 คื่นฉ่ายสดหั่นเป็นท่อน 800 กรัม
2 สับปะรดสด ปอกเปลือก หั่นชิ้น 400 กรัม
3 แอปเปิ้ลเขียวสดหั่นชิ้น 1 ลูก
4 ใบมิ้นท์ ( ใบสาระแหน่ ) 10 ใบ
5 มะนาวสด 1 ลูก

วิธีทำ
1. นำวัตถุดิบทั้งหมด ขึ้นฉ่ายสด สับปะรดสด แอปเปิ้ลเขียวสด ใบมิ้นท์ ปั่นรวมกัน กรองกากทิ้ง
2. บีบน้ำมะนาวสดเป็นการปรุงรสชาติ โรยหน้าด้วยใบมิ้นท์ ดื่มสดให้หมดแก้ว หรือ แช่เย็นเพิ่มความสดชื่น ไม่ควรเก็บข้ามวัน

หากท่านไหนยังไม่ชอบดื่มน้ำเซเลอรี่ จะลองทานก้านเซเลอรี่สดจิ้มเครื่องจิ้มได้ตามใจชอบ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง 

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

Celsus, de Medicina, Nesheim, M.C. (2012). Why Calories Count: From Science to Politics. University of California Press. 

Heiner, DC (1993). “Food-induced anaphylaxis”. The Western journal of medicine. 10.

Fortin ND. Food Regulation: Law, Science, Policy and Practice. John Wiley and Sons, 2009.

กะหล่ำปลี ผักยอดฮิตที่ช่วยลดน้ำหนัก ชะลอการเกิดผมหงอก ดีต่อลำไส้และตับ

0
กะหล่ำปลี เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงทั้งวิตามินและแร่ธาตุรวมทั้งไฟเบอร์สูง
ประโยชน์ของกะหล่ำปลี (Cabbage)
กะหล่ำปลี เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงทั้งวิตามินและแร่ธาตุรวมทั้งไฟเบอร์สูง

กะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี ( Cabbage ) คือ พืชในวงศ์เดียวกับผักกาด ( Brassicaceae หรือ Cruciferae ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Brassicaca Oleracea Var. Capitata L. มีต้นกำเนิดอยู่แถบเมดิเตอร์เรเนียน กะหล่ำปลี คือ พืชล้มลุกที่มีใบเลี้ยงเดียวกว้าง ใบจะเรียงตัวรอบต้นเป็นวงกลมและจะซ้อนกันเป็นชั้นๆ จึงทำให้กะหล่ำปลีมีลักษณะของต้นเป็นทรงกลม กะหล่ำปลี่เป็นผักที่มีวิตามินซีสูงเมื่อรับประทานแบบดิบ การรับประทานกะหล่ำปลียังช่วยลดอาการเผ็ดร้อนของอาหารได้ โดยการรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อย่าง ส้มตำ ลาบ น้ำตก เป็นต้น   

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของกะหล่ำปลี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea var. capitata L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Cabbage” “Common Cabbage” “White Cabbage” “Red Cabbage”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า “กะหล่ำใบ” และ “กะหล่ำปลีเขียว”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)

ลักษณะของกะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี เป็นไม้ล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ ได้แก่ กะหล่ำปลีธรรมดา เช่น พันธุ์โกลเดนเอเคอร์ พันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต กะหล่ำปลีแดงหรือกะหล่ำปลีม่วง มีใบเป็นสีแดงทับทิม สามารถขึ้นได้ดีในที่อากาศหนาวเย็น กะหล่ำปลีใบย่น มีผิวใบหยิกย่น มักจะขึ้นได้ดีในที่ที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นพิเศษ
ลำต้น : มีลักษณะเป็นทรงกลมข้อ ๆ เปลือกลำต้นมีสีขาว
ราก : เป็นระบบรากแก้ว มีรากแตกแขนงออกด้านข้างและมีรากฝอยบริเวณปลายราก
ใบ : ใบมีหลายสีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ใบแตกออกด้านข้างลำต้น ผิวใบมีลักษณะเรียบแต่เป็นลูกคลื่น ขอบใบย่น ใบโค้งงอเข้าตรงกลางและหุ้มลำต้นซ้อนกันแน่นจนเรียกกันว่า “หัวกะหล่ำปลี” มีลักษณะกลมและค่อนข้างแบน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน ช่อดอกแทงออกตรงกลางของหัว ประกอบด้วยกลีบรองดอกสีเขียว 4 ดอก ถัดมาด้านในเป็นกลีบดอกที่มีสีเหลืองสดจำนวน 4 กลีบ ด้านในสุดมีเกสรตัวผู้ 6 อัน ประกอบด้วยเกสรชั้นใน 4 อัน และชั้นนอก 2 อัน และตรงกลางมียอดเกสรตัวเมียที่เป็นลักษณะพู 2 อัน ซึ่งเชื่อมมายังรังไข่ที่อยู่ด้านในสุดของฐานดอก ดอกกะหล่ำปลีจะทยอยบานจากด้านล่างขึ้นด้านบน
ผล : ผลเรียกว่า “ฝัก” มีลักษณะเรียวยาวและปลายฝักแหลม เปลือกฝักมีร่องเป็นรอยตะเข็บสองข้าง ซึ่งจะปริแตกออกเมื่อฝักแห้ง ด้านในประกอบด้วยเมล็ดขนาดเล็กเรียงซ้อนกันเป็นแถว
เมล็ด : มีลักษณะกลม เมล็ดอ่อนมีสีเขียว เมล็ดแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดแก่เต็มที่มีสีดำ เปลือกเมล็ดบาง ฝักหนึ่งจะมีเมล็ดประมาณ 10 – 20 เมล็ด

กะหล่ำปลี เป็นพืชในวงศ์เดียวกับผักกาด มีวิตามินซีสูง ช่วยลดอาการเผ็ดร้อนของอาหาร

ชนิดของ กะหล่ำปลี

1.กะหล่ำปลีธรรมดา ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือสายพันธ์โกลเด้นเอเคอร์แอละสายพันธุ์โคเปนเฮเกมาร์เก็ต มีใบเป็นสีเขียว เรียบ ลักษณะของต้นเกิดจากการรวมตัวของใบเป็นวงกลม ใบด้านนอกมีสีเขียวอ่อนถึงกลางส่วนใบด้านในมีสีเหลืองอ่อน
2.กะหล่ำปลีแดง สายพันธุ์นี้ลักษณะหัวกลมแต่จะมีใบเป็นสีแดงต่างจากสายพันธุ์ธรรมดาที่มีใบเป็นสีเขียว ใบของกะหล่ำปลีแดงจะหนา กะหล่ำปลีแดงเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศหนาวเย็น
3.กะหล่ำปลีใบย่น สายพันธุ์นี้จะใบจะมีสีเขียวเข้มและมีลักษณะพิเศษคือใบย่นเป็นคลื่นหรือหยิกทั้งใบ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นมาก 

สรรพคุณของกะหล่ำปลี

  • สรรพคุณด้านความงาม ช่วยลดน้ำหนัก บำรุงผิวพรรณและช่วยชะลอวัย ชะลอการเกิดผมหงอก บำรุงรากผม
  • สรรพคุณด้านไขมัน ลดคอเลสเตอรอล
  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรง ป้องกันการถูกทำลายของ DNA และลดความเสียหายของ DNA ในร่างกาย
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ ป้องกันหวัด แก้อาการเจ็บคอ
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารและล้างสารพิษในลำไส้ กระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอักเสบของแผลในลำไส้ บำรุงลำไส้ แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง บรรเทาอาการท้องผูก ช่วยในการขับปัสสาวะ
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ต้านมะเร็งและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ ต้านมะเร็งในตับ
  • สรรพคุณสำหรับผู้ชาย ลดโอกาสของการเป็นมะเร็งลำไส้ในผู้ชายได้ถึง 66% หากรับประทานมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • สรรพคุณด้านการผ่อนคลาย ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียดและนอนหลับสบาย
  • สรรพคุณช่วยบำรุงอวัยวะ บำรุงไต บำรุงตับและเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของตับ สร้างกลูตาไธโอนซึ่งจำเป็นต่อตับในการช่วยล้างสารพิษจากควันไอเสียและยาต่าง ๆ
  • สรรพคุณสำหรับผู้หญิง รักษาระดับเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงให้คงที่ เสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์
    – บรรเทาอาการปวดตึงคัดเต้านม ด้วยการลอกกะหล่ำปลีออกเป็นใบแล้วนำมาประคบที่เต้านมข้างละใบ ใช้ผ้าพันทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที โดยไม่ต้องนวดคลึง

ประโยชน์ของกะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี ยังสามารถนำมาประยุกต์เป็นเมนูอาหารได้หลากหลาย เช่น ผัดผักใส่กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีสดกินกับสลัด กะหล่ำปลีสดกินกับไส้กรอกอีสาน ต้มจับฉ่าย แกงส้มใส่กะหล่ำปลี ต้มจืด กะหล่ำปลียัดไส้หมู กะหล่ำปลีต้มจิ้ม น้ำพริก เป็นต้น แต่ว่าการรับประทานแบบดิบก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ เพราะว่ากะหล่ำปลีดิบมีสารพิษ กอยโตรเจน ( Goitrogen ) ที่สามารถขัดขวางการดูดซึมของไอโอดีน ทำให้ร่างกายขาดสารไอโอดีนเป็นที่มาของโรคคอหอยพอกได้ เมื่อรับประทานกะหล่ำปลีดิบในปริมาณที่มากและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปลีดิบ

คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปลีดิบต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 5.8 กรัม
น้ำตาล 3.2 กรัม
เส้นใย 2.5 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
โปรตีน 1.28 กรัม
วิตามินบี1 0.061 มิลลิกรัม (5%)
วิตามินบี2 0.040 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี3 0.234 มิลลิกรัม (2%) 
วิตามินบี5 0.212 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี6 0.124 มิลลิกรัม (10%)
วิตามินบี9 43 ไมโครกรัม (11%)
วิตามินซี 36.6 มิลลิกรัม (44%)
แคลเซียม 14 มิลลิกรัม (1%) 
เหล็ก 40 มิลลิกรัม (4%)
แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม (3%)
แมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม (8%)
ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม (4%)
โพแทสเซียม 170 มิลลิกรัม (4%)
โซเดียม 18 มิลลิกรัม (1%)
สังกะสี 0.18 มิลลิกรัม (2%)
ฟลูออไรด์ 1 ไมโครกรัม

สารออกฤทธิ์ในกะหล่ำปลี

  • กะหล่ำปลีมีกรดทาร์ทาริก (Tartaric acid) ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำตาลและแป้งกลายเป็นไขมัน
  • กะหล่ำปลีมีสารเอสเมธิลเมโธโอนิน ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
  • กะหล่ำปลีมีสารซัลเฟอร์ ช่วยระงับประสาท
  • กะหล่ำปลีมีกรดโฟลิก ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์
  • กะหล่ำปลีมีสาร Sulforaphane ช่วยป้องกันการถูกทำลายของ DNA และลดความเสียหายของ DNA ในร่างกาย     

คำแนะนำและข้อควรระวัง

คำแนะนำ

  • การนำมาปรุงอาหารด้วยวิธีการนึ่ง คือวิธีที่รักษาวิตามินและสารอาหารไว้ได้มากที่สุด
  • ควรล้างผักให้สะอาดเพราะกะหล่ำปลีเป็นผักที่ติดอันดับ TOP5 ที่มีสารปนเปื้อนมากที่สุดโดยเฉพาะยาฆ่าแมลงที่อันตรายต่อร่างกาย วิธีการล้างที่ดีที่สุดคือ ปอกเปลือกออกแล้วแช่น้ำสะอาดประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งจะช่วยลดสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25 – 72 หรือจะใช้ความร้อน แช่น้ำซาวข้าว แช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น แช่น้ำยาล้างผัก ก็ได้เช่นกัน

ข้อควรระวังในการทานกะหล่ำปลี

  • กะหล่ำปลีมีปริมาณของใยอาหารสูง หากรับประทานแต่เพียงน้อยจะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี แต่หากรับประทานมากจนเกินไปจะเข้าไปขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมไอโอดีน เนื่องจากมีสารกอยโตรเจน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคคอหอยพอก
  • กะหล่ำปลีดิบก็มีสารเคมีตกค้างอยู่มาก เพราะใบที่ห่อซ้อนกันอย่างแน่นหนาทำให้มีสารเคมีตกค้างอยู่ในใบสด ยากที่จะล้างออกได้หมด ส่งผลให้ร่างกายรับเอาสารเคมีเข้าไปสะสม และเกิดอาการเจ็บป่วย ทางที่ดีควรนำไปผ่านความร้อนก่อนรับประทาน

กะหล่ำปลี เป็นผักที่พบได้บ่อยในเมนูอาหาร มีรสชาติหวานกรอบและอร่อยหากนำมาปรุง ส่วนมากมักจะพบกะหล่ำปลีสีเขียวและสีม่วง เป็นผักที่นำมาช่วยในเรื่องลดน้ำหนักได้แต่ต้องระวังในการรับประทานเพราะมีโทษมากพอควรหากรับประทานมากเกินไป สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยลดน้ำหนัก ชะลอการเกิดผมหงอก บำรุงลำไส้และบำรุงตับ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Delahaut, K. A.; Newenhouse, A. C (1997). “Growing broccoli, cauliflower, cabbage and other cole crops in Wisconsin” (PDF). University of Wisconsin. p. 1. Retrieved 2012-08-12.

“Brassica oleracea L. – Cabbage”. United States Department of Agriculture. Retrieved 2012-08-10.

Classification for species Brassica oleracea L.”. PLANTS database. United States Department of Agriculture. Retrieved 2012-08-10.

“Of Cabbages and Celts”. Aggie Horticulture. Texas A&M University. Retrieved 2013-10-19.

กะหล่ำดอก ( Cauliflower )

0
กะหล่ำดอก มีวิตามินซีสูงมากช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันหวัด ช่วยระบบขับถ่าย ช่วยบำรุงหัวใจและมีสารที่ช่วยต้านการเกิดโรคมะเร็ง
กะหล่ำดอก (Cauliflower)
กะหล่ำดอก มีวิตามินซีสูงมากช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันหวัด ช่วยระบบขับถ่าย ช่วยบำรุงหัวใจและมีสารที่ช่วยต้านการเกิดโรคมะเร็ง

กะหล่ำดอก ( Cauliflower )

กะหล่ำดอก ( Cauliflower ) เป็นผักที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี กะหล่ำดอกนำมาเป็นส่วนผสมของอาหารหลายชนิด เช่น แกงส้ม ผัดผัก เป็นต้น กะหล่ำดอกมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน รวมตัวกันเป็นก้อนแน่น กะหล่ำดอกเป็นผักที่บริโภคส่วนดอกตรงส่วนปลายของลำต้น กะหล่ำดอกมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Brassica Oleracea เป็นพืชผักในวงศ์ Cruciferae ซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกับบร็อคโคลี่

ลักษณะกะหล่ำดอก

กะหล่ำดอก มีต้นกำเนิดอยู่แถบเมดิเตอร์เรเนียน มีอายุประมาณ 1-2 ปี ลำต้นสูงประมาณ 40 -55 เซนติเมตร ดอกมีน้ำหนักประมาณ 0.5 – 1.2 กิโลกรัม มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 10-20 เซนติเมตร ระยะเวลาเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 60-90 วันหลังจากทำการปลูก ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด  กะหล่ำดอกเป็นพืชที่มีการใช้ปรุงอาหารในทุกระดับ ทั้งระดับภัตตาคารหรือปรุงรับประทานเองภายในครัวเรือน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ากะหล่ำดอกมีรสชาติอร่อย หวานกรอบ และมีสีสันที่สวยงามเมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารแล้ว นั่นคือมีสีเหลืองอ่อนไม่ดำคล้ำเมื่อโดนความร้อนจากการปรุงอาหาร และกะหล่ำยังสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย ทั้งต้ม ผัด แกง และทอด กะหล่ำดอกไม่นิยมรับประทานแบบดิบ เนื่องจากกะหล่ำดอกดิบนั้นมีกลิ่นเหม็นเขียวต้องนำมาปรุงให้สุกก่อนจึงจะรับประทานได้

กะหล่ำดอก คุณค่าทางโภชนาการ

กะหล่ำดอก 100 g ให้พลังงาน 24 แคลอรี
ไขมันทั้งหมด 0.3 กรัม
ไขมันอิ่มตัว 0.1 กรัม
โซเดียม 30 mg
โพแทสเซียม 299 mg
คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม
เส้นใยอาหาร 2 กรัม
น้ำตาล 1.9 กรัม
โปรตีน 1.9 กรัม
วิตามินซี 48.2 มิลลิกรัม
แคลเซียม 22 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม
วิตามินดี 0 IU
วิตามินบี6 0.2 มิลลิกรัม
วิตามินบี120 µg
แมกนีเซียม 15 มิลลิกรัม

กะหล่ำดอก เมนูอาหาร

กะหล่ำดอกเป็นผีกที่สามารถนำมาทำอาหารได้ปลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ต้ม ผัด แกง ทอด นอกจากนี้ดอกกะหล่ำสามารถนำมาทำอาหารแทนธัญพืชได้ดังนี้

  • ใช้แทนข้าวขาว หรือข้าวกล้อง : นำมาขูดฝอย และนำไปปรุงสุก
  • แป้งพิซซ่ากะหล่ำดอก : นำกะหล่ำไปปั่นในเครื่องผสมอาหาร และจากนั้นนำไปทำแป้งพิซซ่า
  • กะหล่ำดอกฮัมมูส : ใช้แทนถั่วลูกไก่ในสูตรฮัมมูส
    กะหล่ำบด : แทนการทำมันบด
  • ตอติญ่ากะหล่ำดอก : นำกะหล่ำดอกไปปั่นรวมกับไข่เพื่อทำเป็นตอติญ่าคาร์บต่ำ สามารถนำไปห่อ เป็นแผ่นทาโก้ หรือเบอร์ริโต
  • กะหล่ำแมคแอนด์ชีส : นำกะหล่ำต้มไปผสมกับนม ชีส และเครื่องปรุงรส

กะหล่ำดอกแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยว

1.พันธ์เบา คือสายพันธุ์ กะหล่ำดอก ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้อยที่สุดมีอายุประมาณ 55 – 75 วันเท่านั้น ได้แก่สายพันธุ์ พันธุ์เออบี่ สโนบอลล์ ( Early snowball ) ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 60-75 วัน พันธุ์ Burpeeana ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 58- 60 วันและพันธุ์ Snow drift ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 63-78 วัน นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาสายพันธุ์เบานี้เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ สายพันธ์ไวท์ คอนเทสซ่า ( White Contessa Hybrid, Sakata ) จัดเป็นสายพันธุ์เบาที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศร้อนและแล้งได้ดี ผลผลิตที่ได้จะมีเนื้อแน่นสีขาว ขนาดดอกจะมีน้ำหนักประมาณ 500 กรัม สายพันธุ์ฟาร์มเมอร์ เออลี่ ไฮบริด ( Farmer Early Hybrid ) เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาให้ออกผลผลิตอย่างสม่ำเสมอตลอดอายุของต้น และผลผลิตที่ได้จากสายพันธุ์นี้จะมีดอกสีขาวหนักประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นกะหล่ำดอกที่มีขนาดใหญ่มากทีเดียว สายพันธุ์สโนว์บอลล์ เอ ( Snow Ball A, Takii ) เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนามาเพื่อให้ปลูกในประเทศเขตร้อน เพราะว่าสายพันธุ์นี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ร้อน มีดอกสีขาวแน่น ลักษณะดอกกลม สายพันธุ์ซุปเปอร์ สโนว์บอลล์ ( Super Snow Ball ) เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาต่อยอดมาจากสายพันธุ์สโนว์บอลล์ เอ ( Snow Ball A ) โดยพัฒนาให้มีอายุการเก็บเกี่ยวที่น้อยลงกว่ากลุ่มสายพันธุ์สโนว์อื่นๆและสายพันธุ์สโนว์ คอง ไฮบริด ( Snow King Hybrid ) ที่มีอายุกรเก็บเกี่ยวสั้นที่สุดเพียงแค่ 50 วันเท่านั้น

2.พันธุ์กลาง คือสายพันธุ์กะหล่ำดอกที่มีอายุเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 80-90 วัน ได้แก่สายพันธุ์ Snow Fall ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 85 วัน สายพันธุ์  Halland Erfurt Improve ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 85 วันเช่นเกี่ยวกัน และสายพันธุ์ Cauliflower Main Crop Snow Fall ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 90 วัน

3.พันธุ์หนัก คือสายพันธุ์ กะหล่ำดอก ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตนานที่สุดอยู่ที่ 90-150 วัน ได้แก่สายพันธุ์  Winter ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 150 วัน และสายพันธุ์ Putna ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 150 วันนอกจากสายพันธุ์กะหล่ำดอกทั้งสามกลุ่มนี้แล้วยังมีสายพันธุ์พิเศษอีกสองสายพันธุ์คือ สายพันธุ์  Royal Purple และสายพันธุ์  Purple Head ทั้งสองสายพันธุ์นี้มีลักษณะพิเศษคือ ดอกกะหล่ำจะมีสีม่วงแทนที่จะเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 80-85 วัน เมื่อนำไปปรุงอาหารจะช่วยเพิ่มสีสันให้กับอาหารน่ารับประทานมากขึ้น และกะหล่ำโรมาเนสโก ( Romanesco ) หรือกะหล่ำดอกเจดีย์ เป็นสายพันธุ์กะหล่ำที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตอนนี้ ลักษณะของกะหล่ำดอกพันธุ์นี้คือดอกรวมเป็นกลุ่มเล็กๆ หลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมียอดแหลมขึ้นมาคล้ายกับยอดของเจดีย์ เมื่อนำมาปรุงอาหารจะมีรสชาติหวานกรอบกว่ากะหล่ำดอกทั่วไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กะหล่ำดอกเจดีย์ได้รับความนิยมมากกว่ากะหล่ำดอกทั่วไป

กะหล่ำดอก ประโยชน์และสรรพคุณ

  • วิตามินซีนี้มีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
  • ช่วยลดการป่วยและป้องกันการเป็นหวัด
  • ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจนในร่างกาย
  • มีโพแทสเซียมที่ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและควบคุมระดับความดันโลหิตในร่างกาย
  • มีฟอสฟอรัสกับแคลเซียมที่ช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
  • ช่วยพัฒนาและสร้าง เซลล์สมองให้กับทารกในครรภ์
  • มีกากใยอาหารและไฟเบอร์ที่ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
  • ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ป้องกันอาการท้องผูกถ่ายไม่ออก
  • มีสารกลูโคซิโนเลต ( Glucosinolate ) ที่ช่วยลดการอักเสบ
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม มีสารซัลโฟราเฟน ( Sulforaphane ) ที่ช่วยต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
  • มีกรดฟูลิกและคูมารีน ( Folic Acid & Coumarines ) ที่ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้
    สารผลึกอินโด ( Indoles ) ที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายและช่วยต้านมะเร็งบางชนิด สารอินโดล ทรี
  • คาร์บินัลที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
  • มีสารไดโทโอน ( Dithiolthiones ), กลูโคโซโนเลท ( Glucosinolates ), สารไอโซไทโอไซยาเนท ( Isothiocyanates ) และ สารฟีโนลิกส์ ( Phenolics )

กะหล่ำดอก จัดเป็นพืชที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูงมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงหัวใจและมีสารที่ช่วยต้านการเกิดโรคมะเร็งและยังมีสารอาหารที่สำคัญต่อบำรุงหัวใจ

การที่กะหล่ำสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ก็เพราะว่ามีสารซัลโฟราเฟน ( Sulforaphane ) ที่มีอยู่ใน กะหล่ำดอก จะเข้าไปดึงสารคาร์ซิโนเจน ( Carcinogens ) ออกมาจากภายในเซลล์ สารคาร์ซิโนเจนนี้คือสารสารก่อมะเร็งที่อยู่ภายในเซลล์ โดยที่สารซัลโฟราเฟน ( Sulforaphane ) จะเข้าไปกระตุ้นการผลิตเอนไซม์ Phase II ให้มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้จะไปลดการผลิตเอนไซม์ Phase I ที่เป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์ของเซลล์ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า Phase II เข้าไปทำอันตรายสารพันธุกรรมในเซลล์ ( Cellular DNA ) ทำให้ไม่สามารถกลายพันธุ์ได้และที่สำคัญคือในกะหล่ำดอกยังมี วิตามินยู วิตามินยูนั้นพบได้ในพืชตระกูลกะหล่ำเท่านั้น วิตามินยูมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า เอส มีไทล์เมทิโอนีน ( S-methylmethionine ) วิตามินยูนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาและสมานแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดอาการปวดที่เกิดจากแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี และยังช่วยให้การทำงานของระบบการหลั่งน้ำย่อยทำงานได้อย่างปกติ และยังช่วยยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย ซึ่งวิตามินยูนี้ยังช่วยเพิ่มอัตราการเผาพลาญฮอร์โมนเอสโทรเจนที่มีอยู่ในร่างกาย ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตเจนอยู่ในระดับที่เป็นปกติ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น มะเร็งบริเวณปากมดลูก มะเร็งบริเวณรังไข่ มะเร็งบริเวณเต้านม เป็นต้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“Cabbage, Broccoli, Cauliflower, and Other Brassica Crops”. Center for Agriculture, Food and the Environment, College of Natural Sciences, University of Massachusetts at Amherst, USA. 14 January 2013. Retrieved 26 February 2017.

Crozier, Arthur Alger (1891). The Cauliflower. Ann Arbor, Michigan: Register Publishing Co. p. 12.

Vincent A. Fritz; Carl J. Rosen; Michelle A. Grabowski; William D. Hutchison; Roger L. Becker; Cindy Tong; Jerry A. Wright & Terry T. Nennich (2017). “Growing broccoli, cabbage and cauliflower in Minnesota”. University of Minnesota Extension, Garden – Growing Vegetables. Retrieved 26 February 2017.

ประโยชน์ของกล้วยหอม ( Cavendish Banana )

0
กล้วยหอม
กล้วยหอมมีน้ำตาลธรรมชาติที่เพิ่มพลังงานให้ร่างกาย มีใยอาหารและกากอาหารรวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายนานาชนิด

กล้วยหอม

กล้วยหอม

กล้วยหอม ( Cavendish Banana) คือ ผลไม้เขตร้อนที่มีรสชาติหวานเย็นเหมือนเนื้อครีม จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอยู่หลายสายพันธุ์ ซึ่งพันธุ์นิยมปลูกคือกล้วยหอมคาเวนดิชหรือหอมเขียว จัดเป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยคุณค่า ทางโภชนาการ ประกอบไปด้วย วิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย สารแทนนินที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ Escherichia Coil สำหรับประเทศไทยนั้นสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ จึงจัดเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในเป็นอย่างมาก

ประโยชน์

1. ใยอาหารในกล้วยช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้เป็นอย่างดี ใยอาหารเป็นเพคตินเหมือนที่มีอยู่ในแอปเปิ้ล

2. มีโพแทสเซียมสูงช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต เพราะว่าในผลขนาดกลางหนึ่งผลมีโพแทสเซียมอยู่ถึง 450 มิลลิกรัม

3. ไฟเบอร์ในกล้วยช่วยในการควบคุมความดันโลหิตสูง ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

4. อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 ที่มีบทบาทในการลดระดับโฮโมซีสทีนในเลือด ไม่ให้สูงจนทำให้เส้นเลือดตีบและอุดตันได้

5. พลังงาน110 แคลอรี่ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

คำเตือน ถ้ารับประทานเป็นประจำทำให้ร่างกายได้รับโพแทสเซียมและไฟเบอร์ในปริมาณที่สูง จนเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตต่ำ

การรับประทานร่วมกับผลไม้ชนิดอื่น เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม แอปเปิ้ล สามารถช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี

ลักษณะทั่วไป

1. ราก เป็นแบบ Adventitious Root ซึ่งแตกออกจากหน่อกล้วย หน่อกล้วยนี้จะแตกออกมาจากเหง้า รากมีความยาวได้มากกว่า 5 เมตร และสามารถแทงลงดินได้ลึกถึง 5 – 7.5 เมตร
2. ลำต้น  มีลำต้นจริงมีลักษณะเป็นหัวหรือที่เรียกว่าเหง้าอยู่ใต้ดินและมีลำต้นเหนือดินสูง 2.5 – 3.5 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร กาบของลำต้นด้านนอกมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ กาบด้านในมีสีเขียวอ่อน ลักษณะพิเศษของกาบ คือกาบด้านในสีเขียวจะมีเส้นลายสีชมพู
3. ใบ มีใบเดี่ยวแบบขนาน ก้านใบมีร่องตรงกลางขนาดกว้างสีเขียวอ่อน ใบมีความยาวสูงสุดประมาณ 3 เมตร
4. ดอกกล้วย หรือหัวปลี จะมีสีแดงอมม่วงด้านบนด้านในมีสีแดงซีด ภายในดอกมีไข่และน้ำบรรจุอยู่ ดอกจะแทงออกจากตรงกลางของปลายยอด โดยจะแทงตั้งตรงออกมาจากยอดในช่วงแรกและจะค่อยๆน้อมดอกลงด้านล่างเมื่อมีอายุมากขึ้น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าในช่วงแรกดอกมีน้ำหนักเบาจึงแทงตั้งตรง เมื่อมีอายุมากขึ้นน้ำหนักของดอกเพิ่มมากขึ้นจึงเกิดการโน้มตัวลงด้านล่าง
5. ผล ติดเป็นเครือ เครือหนึ่งมี 4-6 หวีขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของลำต้น ในหนึ่งหวีจะมีผลกล้วย 12-16 หวี หวีมีขนาดกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 21-25 เซนติเมตร ส่วนปลายของผลจะมีจุกสีดำเด่นชัด ผลเปลือกบางเมื่อเทียบกับกล้วยน้ำหว้า ผลดิบมีสีเขียวและผลที่ยังไม่แก่จัดจุกส่วนปลายจะมีเขียวแต่เมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลืองทองทั้งลูก เนื้อมีสีขาวขุ่น กลิ่นคาว รสชาติหวานฉ่ำเมื่อสุก

การขยายพันธุ์

กล้วยเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายในสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย คนไทยนิยมปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่ชอบน้ำแต่ไม่ชอบอยู่ในดินที่น้ำขัง จึงเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนชื้นและดินเหนี่ยวที่อุ้มน้ำไว้แต่ไม่มีน้ำขัง สามารถขยายพันธุ์ด้วยการนำหน่อหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดินไปปลูก

ประโยชน์ทางยา

ประโยชน์ของกล้วยใช้เป็นยาและอาหาร นอกจากจะมีวิตามินและสารอาหารที่เป็นประโยชน์แล้ว ส่วนต่างๆของต้นก็ยังมีประโยชน์หลายอย่าง คือ

1. ประโยชน์ของกล้วย ผลดิบ กินเพื่อบรรเทาอาการท้องเสีย ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารด้วยการนำเนื้อกล้วยดิบไปตากแห้งแล้วนำมาผสมน้ำกิน
2. ประโยชน์ของกล้วย ผลสุก กินเพื่อบรรเทาอาการท้องผูก ลดอาการปวดท้องประจำเดือนในสุภาพสตรี แก้อาการเมาค้าง กินตอนเช้าเพื่อกระตุ้นให้สมองเกิดการตื่นตัวพร้อมที่จะทำงานในตอนเช้า สำหรับคนที่มีอาหารแพ้ท้องแนะนำให้กิน 1-2 คำ ระหว่างมื้ออาหาร
3. ประโยชน์ของกล้วย ราก นำรากมาต้มน้ำดื่ม สามารถช่วยบรรเทาอาหารปวดฟันได้
4. ประโยชน์ของกล้วย เปลือก นำเปลือกด้านในมาทาบริเวณที่คันหรือบวมช่วยบรรเทาอาการบวมคันได้ หรือนำเปลือกมาต้นน้ำดื่มช่วยลดอาการซึมเศร้าในคนที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ นอกจากนี้เมื่อนำด้านในของเปลือกมาถูบริเวณที่ผิวหยาบกร้าน ทิ้งไว้ 15-20 นาทีแล้วล้างออก จะพบว่าความหยาบกร้านของผิวบริเวณนั้นจะหายไป เพราะว่าเปลือกกล้วยจะเข้าไปเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Armstrong, Wayne P. “Identification Of Major Fruit Types”. Wayne’s Word: An On-Line Textbook of Natural History. Archived from the original on November 20, 2011. Retrieved 2013-08-17.

“Banana from ‘Fruits of Warm Climates’ by Julia Morton”. Hort.purdue.edu. Archived from the original on 2009-04-15. 

เกรปฟรุต ( Grapefruit ) กินยังไง

0
เกรฟฟรุต (Grapefruit)
เกรฟฟรุต เป็นผลไม้ตระกูลส้ม อุดมด้วยวิตามินมากมายหลายชนิด
เกรฟฟรุต (Grapefruit)
เกรฟฟรุต เป็นผลไม้ตระกูลส้ม อุดมด้วยวิตามินมากมายหลายชนิด

เกรปฟรุต ( Grapefruit )

เกรปฟรุต ( Grapefruit ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ  Citrus X. Paradisi เกรปฟรุต คือ ไม้ผลกึ่งเขตร้อน อยู่ในสกุล  Citrus ที่นิยมปลูกไว้ทานผล เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลของส้ม โดยเป็นลูกผสมระหว่างส้มกับส้มโอ มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกต้นเกรปฟรุต มีลำต้นคล้ายกับต้นส้มทั่วไป ใบบางมีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อมีสีขาว ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม มีรสชาติเปรี้ยวจัด เมื่อสุกแล้ว ผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือสีส้ม มีรสชาติ เปรี้ยวอมหวาน หรือเปรี้ยวจัดและมีวิตามินซีสูง

เกรปฟรุตมีสรรพคุณและคุณค่าทางอาหาร

เกรปฟรุต เป็นผลไม้ที่มากไปด้วยสรรพคุณและมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โพแทสเซียม มีเบต้าแคโรทีน และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งการทานเกรปฟรุต อย่างเป็นประจำจะมีประโยชน์ที่ดีต่อร่างกายดังนี้

1. เป็นผลไม้ที่ช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากเกรปฟรุตขนาดกลางครึ่งผลให้พลังงานเพียงแค่40 แคลอรีเท่านั้น จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดหรืออยู่ในระหว่างการควบคุมน้ำหนัก

2. ช่วยบำรุงสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ ในผลเกรปฟรุต จะมากไปด้วยสารอาหารอย่าง วิตามินซี กรดโฟลิค และโพแทสเซียม ซึ่งสารเหล่านี้จะมีสรรพคุณไปช่วย ในการบำรุงการทำงานของหัวใจให้ดีขึ้น และยังลดความเสี่ยงในโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้ด้วย

3. ช่วยควบคุมปริมาณไขมันในร่างกาย สารแพคติน ( Pectin ) ในเกรปฟรุตซึ่งเป็นใยอาหารชนิดพิเศษ จะไปช่วยดักจับ คอเลสเตอรอลในลำไส้ และป้องกันไม่ให้เล็ดลอดเข้าไปอุดตันหลอดเลือดในระบบของร่างกาย  ซึ่งใน  เกรปฟรุตยังมีสารไลโคปิน ( Lycopene ) ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันชนิดไม่ดีหรือ LDL ไปทำปฏิกิริยาออกซิเดชันและทำอันตรายต่อผนังหลอดเลือดแดง นอกจากนี้ยังมีผลการทดลองพบว่า การทานเกรปฟรุต ครั้งละ 5 กรัม วันละ 3 เวลา เป็นอาหารเสริมในมื้ออาหารหลัก เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ติดต่อกัน สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ได้ถึง 7% โดยที่ LDL หรือไขมันชนิดไม่ดีของคอเลสเตอรอล จะลดลงถึง 11% เลยทีเดียว

4. ช่วยให้ตับทำงานได้มีประสิทธิภาพ ในเกรปฟรุตจะอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินซี กรดซิตริกและไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์กับการทำงานของตับ ช่วยให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เกรปฟรุต กินยังไง

ข้อแนะนำในการทานเกรปฟรุต

1. การรับประทานเกรปฟรุต แบบให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายนั้น ควรรับประทานแบบปลอกเปลือกภายนอกก่อน คล้ายกับการรับประทานส้ม เพื่อให้ได้รับปริมาณของสารแพคตินมากที่สุด

2.การเลือกซื้อเกรปฟรุตมารับประทาน มีข้อแนะนำในการเลือกซื้อคือ เลือกผลที่สดใหม่เนื้อแน่น ผิวเปลือกมีความยืดหยุ่นเล็กน้อย ซึ่งจะเก็บได้นาน 2-3 สัปดาห์ในตู้เย็น แต่หากผ่าซีกแล้วควรรับประทานให้หมดภายใน 2 วัน

3. เกรปฟรุตยังสามารถนำไปประกอบอาหารชนิดอื่นได้อีก นอกจากทานแบบสดๆแล้ว เช่น ทำเป็นเมนูสลัดโดยใช้เกรปฟรุตเป็นส่วนประกอบร่วมกับผักและผลไม้ชนิดอื่นๆ หรือจะทำเป็นฟรุตสลัด น้ำผลไม้ เยลลี่ ก็ได้เช่นกัน

4. ชาวตะวันตกนิยมกิน เกรปฟรุตในอาหารมื้อเช้า โดยการนำเกรปฟรุต มาผ่าตามขวางกลางลูก แล้วกินเปล่าๆ หรืออาจเพิ่ม การโรยน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง เพื่อให้ทานได้ง่านขึ้น

ข้อควรระวังในการทานเกรปฟรุต

การทาน เกรปฟรุต หรือน้ำเกรปฟรุตจะไปทำให้เกิดปฏิกิริยากับยาบางชนิดได้ เช่น ยาลดความดันเลือดสูง ยาลดระดับคอเลสเตอรอล และยากดระบบภูมิต้านทาน เป็นต้น  เนื่องจากเกรปฟรุต จะมีเคมีพืชที่ชื่อว่า นารินเจนิน (Naringenin) เข้าไปขวางการแตกตัวของยา เมื่อร่างกายดูดซึมตัวยาไปใช้ไม่ได้ อาการของคนป่วยก็จะแย่ลง  ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานเกรปฟรุต หรือดื่ม เกรปฟรุต ในขณะที่ได้รับยาตามคำสั่งของแพทย์

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Li, Xiaomeng; Xie R.; Lu Z.; Zhou Z. (July 2010). “The Origin of Cultivated Citrus as Inferred from Internal Transcribed Spacer and Chloroplast DNA Sequence and Amplified Fragment Length Polymorphism Fingerprints”. Journal of the American Society for Horticultural Science.

Dowling, Curtis F.; Morton, Julia Frances (1987). Fruits of warm climates. Miami, FL: J. F. Morton. 

“How did the grapefruit get its name?” Library of Congress. Science Reference Service, Everyday Mysteries. Retrieved August 2, 2009.

วิตามินเค ( Vitamin K ) คืออะไร มีคุณสมบัติและหน้าที่อะไรบ้าง

0
วิตามินเค (Vitamin K) คืออะไร มีคุณสมบัติและหน้าที่อะไรบ้าง
วิตามินเค ช่วยให้เลือดแข็งตัวเร็ว ละลายได้ดีในไขมัน
วิตามินเค (Vitamin K) คืออะไร มีคุณสมบัติและหน้าที่อะไรบ้าง
วิตามินเค ช่วยให้เลือดแข็งตัวเร็ว ละลายได้ดีในไขมัน

วิตามินเค คืออะไร ?

วิตามินเค ( วิตามิน K, Vitamin K ) มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Koagulation Vitamin, Antihemorrhagic Factor หรือ เมนาไดโอน ( Menadione ) คือ วิตามินสำคัญที่ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ป้องกันภาวะเลือดไหลมากจนเกินไป เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายชนิดหนึ่ง วิตามินเคได้มาจากการบริโภคอาหารเข้าไปในแต่ละวัน และยังได้จากแบคทีเรีย ในลำไส้ ที่สามารถสังเคราะห์วิตามินเคขึ้นมาได้เองอีกด้วย โดยทั่วไปไม่นิยมทำวิตามินเคในรูปอาหารเสริม

วิตามินเคมีกี่ประเภท

เราสามารถแบ่งประเภทของ วิตามินเค ที่สำคัญออกได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

1.วิตามินเค 1 ( Vitamin K1 ) หรือ ฟิลโลควิโนน ( Phylloquinone ) เป็นรูปแบบที่พบในพืชผักใบเขียว เช่น ผักโขม กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ และหญ้าอัลฟัลฟา เป็นต้น
2.วิตามินเค 2 ( Vitamin K2 ) หรือ เมนาควิโนน ( Menaquinone ) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อที่ตับ และยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียในลำไส้ที่อาศัยอยู่ในร่างกาย มีประสิทธิภาพในการทำงานร้อยละ 75 ของวิตามินเค1
3.วิตามินเค 3 ( Vitamin K3 ) หรือ เมนาไดโอน ( Menadione ) นั้น เป็นสารประกอบที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ มีประสิทธิภาพเป็น 3 เท่า ของวิตามินเค1 เป็นวิตามินชนิดที่ละลายได้ทั้งในน้ำและในไขมัน ใช้สำหรับรักษาคนไข้ที่ไม่สามารถใช้วิตามินเคที่สร้างขึ้นที่ลำไส้ได้ เนื่องจากขาดน้ำดี หรือน้ำย่อยที่ที่จำเป็นสำหรับการดูดซึม

คุณสมบัติของวิตามินเค

วิตามินเค มีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือเป็นน้ำมันที่มีสีเหลือง ปกติจะละลายได้เฉพาะในไขมันเท่านั้น ยกเว้น วิตามินเค 3 ที่สามารถละลายในน้ำได้ด้วย วิตามินเคเป็นวิตามินที่มีความคงทนต่อสภาวะความเป็นกรดได้ แต่จะไม่ทนต่อกรดแก่ หรือ ด่างที่ผสมแอลกอฮอล์ แสงอัลตราไวโอเลตและสารเติมออกซิเจน ดังนั้นหากจะต้องการเก็บรักษาวิตามินเค ไม่เสื่อมสภาพจะต้องเก็บในขวดสีน้ำตาลที่มีความทึบแสงเท่านั้น สำหรับวิตามินเค ประเภท Menadione จะมีลักษณะคล้ายผลึกเป็นสีเหลือง จะละลายได้ทั้ง ในน้ำและไขมัน แต่จะน้ำหนักน้อยกว่าวิตามินเคที่พบในธรรมชาติ

วิตามินเคดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?

หลังจากมีการทานอาหารต่างๆเข้าไปแล้ว วิตามินเคที่ได้จากอาหารจะถูกดูดซึมโดยลำไส้เล็กตอนบน โดยจะใช้น้ำดีและน้ำย่อยจากตับอ่อนมาช่วยในกระบวนการนี้ หลังจากนั้นจะถูกส่งต่อไปยังอวัยวะต่างๆ ที่จำเป็นในการสังเคราะห์โปรธรอมบิน และโปรตีนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด

วิตามินเค คือ วิตามินสำคัญที่ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ป้องกันภาวะเลือดไหลออกมากจนเกินไป จัดอยู่กลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน

ในส่วนของวิตามินเค ชนิดที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยแบคทีเรียในลำไส้ที่อาศัยอยู่ในร่างกาย หรือวิตามินเค 2 จะมีบางส่วนที่จะทำการดูดซึมที่ลำไส้เล็กตอนปลาย สำหรับวิตามินเค ประเภทเมนาไดโอน ( Menadione ) หรือวิตามินเค 3 ที่มีคุณสมบัติสามารถละลายในน้ำได้ จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำดีและน้ำย่อยจากตับอ่อนมาช่วยในการย่อยและดูดซึม

วิตามินเค ประเภทต่างๆ หลังจากดูดซึมตามกระบวนการร่างกายแล้ว จะถูกส่งผ่านไปทาง น้ำเหลืองในรูปของไคโลไมครอนแล้วจึงเข้าสู่กระแสเลือดไปยังตับ ซึ่งตับจะเก็บไว้ได้ในระดับหนึ่ง หากยังมีปริมาณหลงเหลืออยู่ จะถูกขับเป็นของเสียออกทางอุจจาระ ในทารกแรกเกิดจะมีวิตามินเคอยู่ปริมาณจำกัดและการสังเคราะห์วิตามินเคในลำไส้จะยังไม่ เกิดขึ้นในช่วงแรก ดังนั้นในระยะ 2-3 วันแรก อาจทำให้เด็กมีอาการตกเลือดทั่วไปตามผิวหนังได้ง่าย จึงควระมัดระวังเป็นพิเศษ

1. การทำงานที่ผิดปกติของท่อน้ำดี ทำให้เกลือน้ำดีหลั่งออกมาน้อยกว่าปกติ
2. เกิดภาวะที่ตับทำงานไม่ได้เต็มที่ หรือ มีโรคเกี่ยวกับตับเกิดขึ้น จึงทำให้มีผลในการขับน้ำดี เช่น การเป็นโรคตับแข็ง
3. ได้รับสารไดคูมารอล ( Dicumaro ) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการ ห้ามการแข็งตัวของเลือด ( Anticoagulant ) มีหน้าที่ตรงกันข้ามกับวิตามินเคในการควบคุมการสังเคราะห์โปรธรอมบิน
4.การทานอาหารแช่แข็ง อาหารที่เหม็นหืน หรือ การได้รับอากาศที่เป็นพิษเข้าสู่ร่างกาย จะไปทำลายวิตามินเค
5. การใช้ยาปฎิชีวนะมากเกินไปจะไปฆ่าแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ เช่น พวก Sulfonamides
6. การบริโภคยาถ่ายพวก น้ำมันแร่ จะทำให้ขับวิตามินเค ถูกขับออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว

ประโยชน์ของวิตามินเค

วิตามินเค มีประโยชน์มากมายหลากข้อ ซึ่งสามารถแบ่งแยกตามรายละเอียดได้ดังนี้

1.ช่วยป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด ในวิตามินเคเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้าง สารโปรธรอมบิน ( Prothrombin ) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างขึ้นจากตับ มีหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะในคนที่มีบาดแผลหรือคนที่ต้องผ่าตัด หากระดับโปรธรอมบินต่ำ จะทำให้เลือดแข็งตัวได้ช้าตามไปด้วย
2.ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูก โดยวิตามินเค จะไปช่วยช่วยการสร้างออสทิโอแคลซิน ( Osteocalcin ) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูก
3.ช่วยในกระบวนการทำงานของตับ วิตามินเค เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายที่ช่วยในกระบวนการทำงานของตับให้เป็นไปด้วยความมีประสิทธิภาพ
4.ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ วิตามินเคยังช่วยทำให้ระบบประจำเดือนในผู้หญิงมาเป็นปกติ ช่วยลดปัญหาประจำเดือนมามากกว่าปกติ
5.ช่วยในกระบวนการ ฟอสโฟริเลชั่น ( Phosphorylation ) ในร่างกาย ซึ่งวิตามินเคจะเป็นส่วนที่ทำให้ ฟอสเฟต จะร่วมกับ กลูโคส และถูกผ่านเข้าไปในผนังเซลล์และเปลี่ยนเป็นไกลโคเจน เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

โทษของวิตามินเค

นอกจากวิตามินเคจะมีประโยชน์แล้วก็ยังทำให้เกิดโทษได้ถ้าได้รับในปริมาณที่น้อยหรือมากเกิดไปตามความต้องการของร่างกาย

1. ผลกระทบหากได้รับวิตามินเคน้อยเกินไป

โดยส่วนมากการขาดวิตามินเค จะไม่ค่อยเกิดในวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากวิตามินเค กว่าร้อยละ 50 สามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียในร่างกายอยู่แล้ว แต่อาจจะเกิดได้กับผู้ที่มีอาการอุดตันของทางเดินน้ำดี ซึ่งจะส่งผลให้การย่อยและการดูดซึมไขมันทำได้ไม่ดีเหมือนปกติ นอกจากนี้ยังพบในผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ซึ่งจะมีผลไปทำลายแบคทีเรียที่สังเคราะห์วิตามินเคในลำไส้ ทำให้ไม่สามารถผลิตวิตามินเคได้ตามปกติ ภาวะนี้ยังเกิดได้ง่ายกับเด็กแรกเกิด เนื่องจากเด็กแรกเกิด ยังมีปริมาณไขมันในระดับต่ำ และเชื้อโรคที่ลำไส้ของเด็กทารก ยังไม่มี จึงไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้เอง จึงต้องอาศัยวิตามินเคจากน้ำนมแม่อย่างเดียว สำหรับผู้ที่ปัญหาการขาดวิตามินเค  จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ทำให้การแข็งตัวของเลือดเกิดขึ้นช้ากว่าปกติเนื่องจากระดับของ โปรธรอมบิน และโปรตีนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดในพลาสมาต่ำ
  • มีการตกเลือด หรือเลือดออกภายใน เช่น ในลำไส้เล็ก เลือดออกมากับปัสสาวะ เป็นต้น

2. ผลกระทบหากได้รับวิตามินเคมากเกินไป

แม้วิตามินเคจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากร่างกายได้รับปริมาณวิตามินเคที่มากจนเกินไป ก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน  อาการของคนที่ทานวิตามินเคเข้าไปมากเกินพอดี จะมีดังต่อไปนี้

  • มีอาการตัวเหลือง
  • มีภาวะโลหิตจาง
  • ร่างกายจะมีการกำจัดของเสียหรือมีการกระตุ้นสารต้านอนุมูลอิสระออกมาในปริมาณที่ต่ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย
  • ในผู้ที่ตั้งครรภ์ ถ้าได้รับขนาดวิตามินเคที่สูงเกินไป จะทำให้เกิดโรคดีซ่านในเด็กแรกคลอด

ทำไมต้องฉีดวิตามินเคในเด็กทารก

หลายคนสงสัยว่าทำไมต้องมีการฉีดวิตามินเคในทารกแรกเกิด สำหรับเด็กที่ไม่สมบูรณ์หรือคลอดก่อนกำหนดส่วนมากแพทย์จะแนะนำให้ทำการฉีดวิตามินเคเพื่อป้องกันภาวะมีเลือดออกในเด็กแรกเกิด โดยฉีดวิตามินเคเข้ากล้ามเนื้อของเด็กในปริมาณ 0.5-1 มิลลิกรัม ภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด และทำการฉีดวิตามินเคเพื่อรักษาภาวะมีเลือดออกในเด็กแรกเกิดโดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังปริมาณ 1 มิลลิกรัม หรือแพทย์อาจเพิ่มปริมาณการให้วิตามินตามที่เห็นสมควร หากผู้เป็นแม่กำลังรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ วิตามินเคยังใช้การรักษาภาวะโพรทรอมบินในเลือดต่ำ ( Hypoprothrombinemia ) จากการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้อีกด้วย

วิตามินเคมีอยู่ที่ไหนบ้าง?

แหล่งที่พบวิตามินเคตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง ผักใบเขียว นม เนย อัลฟาฟา สาหร่ายเคลป์ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา เป็นต้น นอกจากนี้วิตามินเคสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เองจากในร่างกายมนุษย์ และสามารถพบวิตามินเคได้จาก ในอาหารที่เราทานเข้าไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว มีรายละเอียดดังต่อไป

ปริมาณที่เหมาะสมของวิตามินเคที่ร่างกายควรได้รับมีดังนี้

วิตามินเคเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมที่ควรได้รับใยแต่ละวัน สามารถแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้

วัย ช่วงอายุ ปริมาณของวิตามินเคที่เหมาะสม
ทารก 6 -11 เดือน 2.5 ไมโครกรัม/วัน
เด็ก 1 – 3 ปี

4 – 8 ปี

30  ไมโครกรัม/วัน

55  ไมโครกรัม/วัน

วัยรุ่น 9 – 12 ปี

13 – 18 ปี

60  ไมโครกรัม/วัน

75  ไมโครกรัม/วัน

ผู้ใหญ่เพศชาย 19 -≥ 71 ปี 120  ไมโครกรัม/วัน
ผู้ใหญ่เพศหญิง 19 -≥ 71 ปี 90 ไมโครกรัม/วัน

เนื่องจาก วิตามินเค สามารผลได้จากแบคทีเรียในลำไส้ ประมาณร้อยละ 50 ของวิตามินเคทั้งหมดในร่างกาย ดังนั้นอย่างน้อยที่สุดร่างกายจะต้องบริโภคอาหารที่มีวิตามินเคประมาณ 1 ไมโครกรัม / น้ำหนักตัว 1 กก./ วัน

จากข้อมูลด้านบน คงจะพอสรุปได้ว่า วิตามินเค มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์มาก เป็นวิตามินที่มีคุณสมบัติที่โดดเด่นคือ ช่วยในเรื่องของการทำให้เลือดแข็งตัว จากการผ่าตัดหรือการมีบาดแผล นอกจากนี้วิตามินเค ยังแตกต่างจากวิตามินชนิดอื่นๆคือ สามารถผลิตขึ้นได้เองจากในร่างกาย จากการสังเคราะห์ของแบคทีเรีย ซึ่งวิตามินชนิดอื่นๆไม่สามารถทำได้  ถึงแม้วิตามินเค จะผลิตได้เองจากร่างกาย แต่ในการบริโภคอาหารที่มีวิตามินเคก็ยังมีความสำคัญอยู่ เพราะหากร่างกายขาดวิตามินเค ก็จะทำให้มีปัญหาเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอันตรายมากหากได้รับบาดแผลใหญ่ๆ อาจจะทำให้เสียเลือดมากจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนการได้รับวิตามินเค เยอะเกินไปก็ล้วนแต่มีอันตรายต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรทานในปริมาณที่เหมาะสมจะดีต่อร่างกายที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

O’Keefe, J. H.; Bergman, N.; Carrera Bastos, P.; Fontes Villalba, M.; Di Nicolantonio, J. J.; Cordain, L. (2016). “Nutritional strategies for skeletal and cardiovascular health: hard bones, soft arteries, rather than vice versa”. Open Heart (Review). 3 (1): e000325. PMC 4809188 Freely accessible. 

Hartley, L.; Clar, C.; Ghannam, O.; Flowers, N.; Stranges, S.; Rees, K. (Sep 2015). “Vitamin K for the primary prevention of cardiovascular disease”. The Cochrane Database of Systematic Reviews (Systematic review). 9 (9): CD011148.

Maresz, K. (Feb 2015). “Proper Calcium Use: Vitamin K2 as a Promoter of Bone and Cardiovascular Health”. Integrative Medicine (Review). 14 (1): 34–39. PMC 4566462 Freely accessible. 

ประโยชน์ของวิตามินดี ( Vitamin D ) คืออะไร

0
วิตามินดี (Vitamin D) คืออะไร
วิตามมินดีได้จากอาหารที่รับประทานและแสงแดด
วิตามินดี (Vitamin D) คืออะไร
วิตามมินดีได้จากอาหารที่รับประทานและแสงแดด

วิตามินดี

วิตามินดี ( Vitamin D ) Calciferol, Antirachitic Factor หรือบางคนจะเรียกว่าวิตามินแดด คือ วิตามินดีจะมีหน้าที่หลักในการช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกบาง และกระดูกพรุน วิตามินดีเป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมันเท่านั้น  ไม่สามารถถูกผลิตขึ้นมาเองจากในร่างกายได้ แต่จะได้รับจากการทานอาหารเข้าไป หรือสามารถได้รับจากการโดนแสงแดด เนื่องจาก ในแสงแดดจะมีรังสีอัลตร้าไวโอเลต ( รังสี UV ) ที่จะเป็นตัวไปกระตุ้น และทำปฏิกิริยากับน้ำมันที่ผิวหนังให้เปลี่ยนมาเป็น วิตามินดีซึ่งจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายต่อไป วิตามินดีทำหน้าที่สำคัญในการเสริมสร้างแคลเซียมในกระดูก และฟัน รวมทั้งเป็นตัวกระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย

คุณสมบัติของวิตามินดี

วิตามินดี มีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือ เป็นวิตามินที่ไม่ละลายในน้ำแต่จะละลายได้เฉพาะในไขมันเท่านั้น ซึ่งวิตามินดี ที่มีความบริสุทธิ์ จะเป็นผลึกสีขาวและไม่มีกลิ่น ทนต่อความร้อนได้ดีแต่ต้องไม่เกิน 140 องศาเซลเซียสและยังมีความทนต่อ ออกซิเดชั่น กรดและด่างอ่อน แต่จะเสียได้ง่ายหากถูกแสงอัลตร้าไวโอเลต

ประเภทของวิตามินดี ( Vitamin D )

วิตามินดีเป็นกรุ๊ปทางเคมีของสารประกอบสเทอรอลอย่างหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการป้องกันโรคกระดูกอ่อน กระดูกพรุน โดยรูปแบบของวิตามินดีมีประมาณ 10 ประเภทหรือมากกว่านั้น แต่จะมีอยู่เพียง 2 ประเภท ที่เกี่ยวข้องกับทางโภชนาการดังต่อไปนี้

1. ประโยชน์ของวิตามินดี 2 ( Ergocalciferol or Calciferol or Vitamin D2 ) สามารถพบได้ใน พืช รา ยีสต์ เป็นต้น วิตามินดีชนิดนี้มีสารตั้งต้นมาจากสารเออร์โกสเตอรอล (Ergosterol) ที่สัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเลต ในช่วงความถี่ 230 นาโนเมตร (nm) การเสริมวิตามินดีนี้จะใช้ในรูปเออร์โกแคลซิเฟอรอล

Ergosterol ( พืช ) —-> U.V.light ( 230nm ) —-> Ergocalciferol ( D2 )

 

2. ประโยชน์ของวิตามินดี 3 ( Cholecalciferol or Actiated7 – Dehydrocholesterol or Vitamin D3 ) พบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และการสังเคราะห์แสงแดดที่ผิวหนังทั้งคนและสัตว์ วิตามินชนิดนี้เกิดจาก ในผิวหนังซึ่งจะมีสาร7-ดีไฮโดรคอเลสเตอรอล เมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลต จากแสงแดดหรือจากเครื่องมือ ในช่วงความถี่ 275 – 300 นาโนมิเตอร์ ( nm ) จะปลี่ยนเป็นสาร คอลีแคลซิเฟอรอล ( Cholecalciferol ) หรือวิตามินดี3 ได้โดยในการเปลี่ยนจะเกิดจากคอเลสเตอรอลที่ผนังของลำไส้เล็กแล้วส่งผ่านไปยังผิวหนัง

7 – dehydrocholesterol —-> U.V.light ( 275-300nm ) —-> Cholecalciferol ( D3 )

 

ประโยชน์ของวิตามินดี มีอะไรบ้าง

1. ประโยชน์ของวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากลำไส้วิตามินดีจะไปช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้การสร้างกระดูกและฟันเป็นไปในทางที่ดี โดยเฉพาะในเด็กและยังช่วยปกป้องกระดูกจากการเป็นโรคกระดูกผุ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกที่เกิดจากโรคกระดูกผุวิตามินดีสามารถช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ประมาณร้อยละ 30-35 จากอาหารที่บริโภคเข้าไป แต่ถ้าไม่มีวิตามินดี ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
2. ประโยชน์ของวิตามินดีช่วยรักษาระดับความดันเลือด วิตามินดี ช่วยให้ระบบของหลอดเลือดในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้นหากได้รับปริมาณวิตามินดีที่เพียงพอและเหมาะสม จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันสูง ได้อีกด้วย
3. ประโยชน์ของวิตามินดีช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน ให้กับร่างกาย
4. ช่วยควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสเลือดไม่ให้ต่ำลงจนเกิดอันตราย เช่น แคลเซียมจะต้องอยู่ในเลือดประมาณ 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยวิตามินดีจะกระตุ้นการดูดแคลเซียมในลำไส้มิฉะนั้นแคลเซียมจะถูกขับออกจากร่างกายไปหมด และวิตามินดีจะกระตุ้นการนำเอาฟอสฟอรัสมาใช้โดยจะคอยทำหน้าที่กระตุ้นตลอดเวลา
5. ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า เนื่องจากวิตามินดี จะไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดที่ช่วยทำให้รู้สึกอารมณ์ดี ลดความวิตกกังวลจากภาวะของโรคซึมเศร้า ขณะที่การขาดเซโรโทนิน ส่งผลให้เกิดความเครียดได้
6. ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน Mucous Membrane ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายแบบ Active Transport ของแคลเซียมให้สามารถข้ามเซลล์ไปได้โดยง่าย
7. ประโยชน์ของวิตามินดีช่วยในการดูดซึมกลับของกรดอมิโนที่ไต หากร่างกายได้รับวิตามินดี ในปริมาณที่เพียงพอแล้วจะช่วยให้อัตราการดูดซึมกลับของกรดมิโนทำงานได้ดีขึ้น และจะลดปริมาณลงในปัสสาวะ

สรรพคุณของวิตามินดี3

  • ช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) มากขึ้น
  • ช่วยลดความเครียด (Stress) และ ภาวะซึมเศร้า (Depression)
  • ช่วยในการแบ่งเซลล์ (Cell Proliferation) และการพัฒนาเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนสึกหรอต่าง ๆ
  • ช่วยชะลอวัยของผิว (Delay Skin Aging)
  • ช่วยนำออกซิเจนจากเลือดส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ได้ดีขึ้นขณะออกกำลังกาย
  • ช่วยลดอาการเมื่อยล้าและอักเสบของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ สามารถรับแรงกระแทกได้ดีขึ้น

วิตามินดีหาได้จากที่ไหน

  • ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีเองได้ใต้ชั้นผิวหนัง ผ่านการกระตุ้นจากรังสียูวีบีจากแสงแดดตอนเช้า
  • อาหารจำพวกปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาซาร์ดีน ไข่
  • อาหารเสริม (Vitamin D Supplementation) เพื่อผลลัพธ์ที่ดีควรปรึกษาแพทย์และตรวจระดับวิตามินดีในเลือดก่อนเสริมวิตามิน

ผลกระทบหากได้รับวิตามินดีมากเกินไป

นอกจากการขาดวิตามินดี ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายแล้ว หากร่างกายได้รับวิตามินดีมากเกินไปก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้เช่นกัน เรียกภาวะนี้ว่า อาการเป็นพิษเนื่องจากได้รับวิตามินดีเกิน (Hypervitaminosis D)   โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับปริมาณวิตามินดีมากถึง 3 แสน ถึง 8 แสน I.U. ต่อวันเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน หากร่างกายได้รับวิตามินดีประมาณ 3 หมื่น I.U ต่อวันหรือมากกว่า จะเกิดผลต่อเด็กทารกได้ และหากได้รับปริมาณมากถึง 5 หมื่น I.U. ก็จะเป็นอันตรายต่อเด็กวัยกำลังโตได้เช่นกัน ซึ่งอาการที่พบจากการได้รับวิตามินดีเกินจะมีดังต่อไปนี้

  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียนท้องเดิน 
  • ปัสสาวะมากกว่าปกติ ทั้งกลางวันและกลางคืน
  • หิวน้ำตลอดเวลา 
  • น้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากมีการสลายของแคลเซียมออกมาจากกระดูก
  • บางรายที่อาการหนัก สามารถเสียชีวิตได้เลย จากการล้มเหลวของอวัยวะต่างๆในร่างกาย สำหรับในการรักษาอาการวิตามินดีเกินในร่างกายนั้น หากมีอาการตามเบื้องต้นนี้ ควรลดปริมาณของวิตามินดีลง โดยเฉพาะผู้ที่ทานอาหารเสริมต่างๆ ควรดูปริมาณส่วนประกอบให้ดีก่อน ส่วนผู้ใดที่มีอาการเริ่มหนักแล้วให้รีบไปพบแพทย์ในทันที

วิตามินดี ที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่ร่างกายผลิตออกไม่ได้เอง ต้องได้มาจากการบริโภคอาหารเท่านั้น แต่วิตามินดีจะพิเศษกว่าวิตามินอื่นๆ เนื่องจากสามารถได้มาจากการรับแสง UV ในตอนเช้าด้วยทั้งนี้ วิตามินดีก็เหมือนกับวิตามินชนิดอื่นๆ ทั่วไป หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณที่มากหรือน้อยจนเกินไป ก็ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรรับปริมาณวิตามินดี เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะดีที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

Bergman P, Lindh AU, Björkhem-Bergman L, Lindh JD (2013). “Vitamin D and Respiratory Tract Infections: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials”. PloS One. 8 (6)

Yakoob MY, Salam RA, Khan FR, Bhutta ZA (November 2016). “Vitamin D supplementation for preventing infections in children under five years of age”. The Cochrane Database of Systematic Reviews. John Wiley & Sons, Ltd. 11: CD008824.

Martineau AR, Jolliffe DA, Hooper RL, Greenberg L, Aloia JF, Bergman P, et al. (February 2017). “Vitamin D supplementation to prevent acute respiratory tract infections: systematic review and meta-analysis of individual participant data”. BMJ. 356