Home Blog Page 157

แค่ควบคุมน้ำหนัก ฉันจะไม่เป็นมะเร็งจริงหรือ ?

0
แค่ควบคุมน้ำหนัก ฉันจะไม่เป็นมะเร็งจริงหรือ ?
ภาวะอ้วนทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะในผู้หญิง
แค่ควบคุมน้ำหนัก ฉันจะไม่เป็นมะเร็งจริงหรือ ?
ภาวะอ้วน ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะในผู้หญิง

แค่ควบคุมน้ำหนัก ฉันจะไม่เป็นมะเร็งจริงหรือ ?

คน อ้วน มีโอกาสเป็น มะเร็ง มากกว่าคนผอมจริงหรือ? คนอ้วนที่ดิฉันพูดนี่คือคนที่อยู่ในสภาวะอ้วนหรือเป็นโรคอ้วนนะคะ อย่าเพิ่งตกใจไปสำหรับตนตัวโต เพราะไม่ใช่ว่าแค่คนตัวโตหรือตัวใหญ่ก็จะเป็นโรคอ้วนแล้วนะ เหมือนที่ดิฉันเคยเป็น ที่คิดว่าตัวเองเป็นคนอ้วนอยู่ตลอดเวลา ก็เวลาไปไหนมาไหนเราก็ตัวใหญ่กว่าใครเพื่อน ด้วยส่วนสูง 175 เซนติเมตรกับน้ำหนัก 65 กิโลกรัม เวลาอยู่กับคนสูง 160 เซนติเมตร เราก็เลยดูอ้วนไปเลย

แต่จริงๆ แล้ว การวัดว่าคนไหนเป็น โรคอ้วน หรือเปล่านั้น เราวัดจากค่าดัชนีมวลกาย ไม่สามารถคาดคะเนเองได้ ถ้าเราดัชนีมวลกายมากกว่า 23 ถือว่า น้ำหนักเกิน เกณฑ์และถ้าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 นี่ถือว่าอยู่ในภาวะอ้วนหรือเป็นโรคอ้วนแล้วนะคะ ต้องระวังตัวกันให้ดีเพราะว่าภาวะอ้วนนี่นำมาซึ่งโรคร้ายแรงอีกหลายโรคเลยทีเดียวค่ะ ทั้งโรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคไขมันอุดตัน ที่อันตรายถึงตายได้ถ้าทำการรักษาไม่ทันเวลา ค่าดัชนีมวลกายนี่เราวัดได้จาก น้ำหนักตัว( กิโลกรัม ) / ส่วนสูง ( เมตร ) ค่าที่คิดได้คือค่าดัชนีมวลกายของเราค่ะ

ปัจจุบันนี้คนส่วนมากอยู่ในสภาวะอ้วนกัน นับเป็นปัญหาระดับโลกเลยทีเดียวเชียว บาง คนอ้วน ตั้งแต่เด็กเลยก็มี สาเหตุของโรคอ้วนนอกจากกรรมพันธุ์แล้ว ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างก็คือการกินอาหารในชีวิตประจำวันของเราที่มักกินอาหารที่มีแป้ง คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้พลังงานสูงมาก สูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องใช้ในแต่ละวัน เมื่อร่างกายได้รับพลังงานสูงแต่นำมาใช้ไม่หมดก็จะนำมาเปลี่ยนพลังงานที่เหลือให้อยู่ในรูปของไขมันเข้าไปสะสมตามส่วนๆ ต่างของร่างกาย เช่น ต้นขา หน้าท้อง ต้นแขน เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น

แต่ดูเหมือนจะไม่มียามจำเป็นสำหรับคนเรานะ เพราะว่าเราหิวและกินอาหารเติมเข้าไปทุกวัน ทำให้ไขมันสะสมเพิ่มขึ้นทุกวันเช่นกัน แหม! ก็เดี๋ยวนี้อาหารฟาดฟูดส์มีอยู่ทั่วไปและได้รับความนิยมสูงมาก อีกทั้งร้านสะดวกซื้อที่มีกินอาหารสำเร็จรูปพร้อมกินไว้จำหน่ายอยู่หลายแห่งไม่ว่าจะเช้า สาย บ่าย ดึก ตลอด 24 ชั่วโมง ดูหนังๆ ดึกๆ เดินออกมาไม่กี่ก้าวก็มีทั้งขนม นม เนย หลากหลายให้เลือกกิน แบบนี้ไม่ให้ อ้วน ก็คงไม่ไหวแล้วละค่ะ อีกทั้งการดำรงชีวิตที่เร่งรีบ ไม่มีเวลาทำอาหารที่มีคุณค่า ไม่มีเวลาใส่ใจเลือกอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย วันๆ สนใจแต่ทำงานหาเงินเพื่อมาซื้อของที่ไม่มีประโยชน์มากิน และเก็บเงินไว้รักษาตัวยามป่วยไข้ ไม่มีใครใส่ใจเลือกกินอาหารดีๆ มีคุณค่ามากิน เพราะว่าต้องเสียเวลานั่งทำงาน เสียเวลาไปเที่ยวกับเพื่อนกับแฟน ทุกอย่างที่ดิฉันพูดมานี่ทำให้คุณเป็นโรคอ้วนได้ทั้งนั้นนะ ซึ่งโรคอ้วนนี้นำมาซึ่งโรคร้ายหลายชนิด รวมถึงโรคมะเร็งตัวร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยไปปีละหลายหมื่นคน

ความอ้วนทำให้เราเป็นมะเร็งได้จริงหรือ? จริงค่ะ!! มีผลการวิจัยจากหลายสถาบันให้การยืนยันมาแล้วว่าคนที่อยู่ในภาวะอ้วนนั้นมีความเสี่ยงในการเกิด มะเร็ง โดยเฉพาะในผู้หญิงเรา ที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 นั้นจะมีภาวะเสี่ยงมาก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าไขมันที่สะสมอยู่ตามร่างกายของคนที่อยู่ในภาวะอ้วนมีมากกว่าคนที่แค่มี น้ำหนักเกิน หรือมีดัชนีมวลกาย 23 เพราะไขมันที่อยู่ในคนที่เป็นโรคอ้วนเป็นไขมันชนิดที่มีสีขาว ( White Adipose Tissue ) ซึ่งเซลล์ไขมันชนิดนี้มีความพิเศษอยู่ด้วย นั่นคือไขมันสีขาวสามารถผลิตฮอร์โมนให้กับร่างกายได้เหมือนกับที่ต่อมไร้ท่อผลิต ฮอร์โมนที่ไขมันสีขาวสามารถผลิตขึ้นมาได้คือ

1.ฮอร์โมนเอสโตรเจน ( Estrogen ) ฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือที่หลายคนเรียกว่า ฮอร์โมนเพศหญิง และมีความเข้าใจว่าต้องมีอยู่ในผู้หญิงเพียงอย่างเดียว แต่ว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนจะมีอยู่ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่จะมีผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชายนะคะ เพราะว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่ช่วยแสดงความเป็นผู้หญิงให้ชัดเจนมากขึ้น ช่วยเพิ่มขนาดของหน้าอกให้ใหญ่และเต่งตึง ช่วยสร้างผนังมดลูกให้หนาขึ้นเวลาที่ไข่ตกและเพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิมาแล้ว ช่วยให้เซลล์ผิวมีการแบ่งตัวอย่างต่อเนื่องเป็นผลให้ผิวพรรณเต่งตึงมีน้ำมีนวล แต่ถ้ามีออร์โมนตัวนี้มากขึ้นเกินความจำเป็น ก็จะส่งผลทำให้อวัยวะที่แสดงออกถึงความเป็นผู้หญิงจะมีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นก้อนมะเร็งในที่สุด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก เป็นต้น

2.ฮอร์โมนอินซูลิน ( Insulin ) เราจะรู้จักว่าอินซูลินเป็นตัวควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน แต่หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของฮอร์โมนตัวนี้ คือ เป็นฮอร์โมนที่เข้าไปช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งใช้ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้ามีร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินมากเกินไป จะทำให้การกระบวนกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มีความผิดปกติ เซลล์มีการแบ่งตัวรวดเร็วจนไม่สามารถหยุดยั้งได้ ซึ่งก็จะกลายเป็นเซลล์ มะเร็ง ในที่สุด

ซึ่งฮอร์โมนที่ไขมันผลิตมานั้น เดิมทีร่างกายของเราก็ผลิตเองได้อยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีการผลิตเพิ่มขึ้นมาจากไขมันอีกก็จะทำให้ฮอร์โมนมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่ร่างกายต้องใช้ ยิ่ง อ้วน มากเท่าไหร่ก็จะมีไขมันมากขึ้นเท่านั้น ฮอร์โมนก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีผลต่อร่างกายของผู้หญิงเราโดยตรง รู้หรือป่าวคะ ว่าฮอร์โมนที่สร้างจากไขมันนี่ไม่สามารถหยุดได้นะคะ ไขมันจะสร้างขึ้นมาเรื่อยๆ ไม่มีสิ่งใดมาหยุดการสร้างฮอร์โมนของมันได้ ไม่เหมือนกับการสร้างฮอร์โมนของร่างกายที่เมื่อมีฮอร์โมนในปริมาณที่เพียงพอแล้ว ร่างกายจะมีคำสั่งให้หยุดสร้างทันทีทำให้ฮอร์โมนไม่เกินความจำเป็นไงคะ

แบบนี้นะ ถ้าเราไม่มีไขมันส่วนเกินสะสมอยู่ในร่างกาย เราก็ไม่มีไขมันที่จะมาสร้างฮอร์โมนส่วนเกินขึ้นมา เซลล์ก็จะไม่มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ เราก็จะไม่เป็น มะเร็ง นั่นเป็นคำตอบที่ดีว่าแค่คุณ ควบคุมน้ำหนัก คุณก็จะไม่เป็นมะเร็งแล้ว สำหรับคนที่ อ้วน อยู่ตอนนี้ก็อย่างเพิ่งตกใจว่า “นี่ฉันจะเป็นมะเร็งหรือ” เพราะว่ายังทันที่คุณป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งได้นะคะ ด้วยการลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์หรือมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 18-23 แค่นี้คุณก็ไม่ต้องกังวลว่าจะอ้วนจนเป็นมะเร็งแล้วค่ะ

Content by Amprohealth

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

แค่ไม่สูบบุหรี่ ก็ไม่เป็นมะเร็งได้จริงหรือ ?

0
แค่ไม่สูบบุหรี่ ก็ไม่เป็นมะเร็งได้จริงหรือ ?
สารพิษจากควันบุหรี่ที่เข้าไปสู่ปอดแล้ว ปอดจะไม่สามารถขจัดสารพิษที่มากับควันบุหรี่ออกไปได้
แค่ไม่สูบบุหรี่ ก็ไม่เป็นมะเร็งได้จริงหรือ ?
สารพิษจากควันบุหรี่ที่เข้าไปสู่ปอดแล้ว ปอดจะไม่สามารถขจัดสารพิษที่มากับควันบุหรี่ออกไปได้

แค่ไม่สูบบุหรี่ ก็ไม่เป็นมะเร็งได้จริงหรือ ?

คุณสูบบุหรี่หรือเปล่าค่ะ? ดิฉันเป็นคนที่ ไม่สูบบุหรี่ และไม่เคยคิดที่จะลองสูบด้วย เพราะว่าไม่ชอบกลิ่นเหม็นของบุหรี่ ที่ว่าไม่ชอบนี่ก็เพราะได้กลิ่นบุหรี่มาตั้งแต่เด็กๆ จากคุณพ่อของดิฉันเอง ตอนเด็กก็ไม่รู้ว่าบุหรี่มันดีหรือไม่ดีหรอกค่ะ รู้อย่างเดียวว่าเวลาได้กลิ่นแล้วเหม็นมากไม่อยากได้กลิ่นไม่อยากเข้าใกล้เลย เชื่อมั้ยคะ ตอนเด็กน่ะ พอพ่อหยิบบุหรี่ขึ้นมาทำท่าจะสูบ ดิฉันจะวิ่งจู๊ดไปจากพ่อทันที แต่พ่อก็ไม่ว่าอะไรนะได้แต่หัวเราะชอบใจกับความไร้เดียงสาของลูก ที่รู้สึกอย่างไรก็แสดงออกมาอย่างนั้น

คุณรู้ไหมคะว่าในแต่ละปีจะมีคนเสียชีวิตด้วยมะเร็ง ราว 60,000 กว่าคน 30% ตายจากโรคมะเร็ง และในจำนวนคนที่เป็นมะเร็งตายนี่ 87% ตายจากโรคมะเร็งที่เกิดจากบุหรี่ ซึ่งอันดับหนึ่งของมะเร็งที่เป็นต้นเหตุให้เสียชีวิตกันมากก็คือ “ มะเร็งปอด ” มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่มีอันตรายมาก เมื่อเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตมากที่สุด ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากการตรวจมะเร็งปอดมักจะตรวจพบในระยะที่มีความรุนแรงมากแล้ว เมื่อตรวจเจอร้อยทั้งร้อยคือตายสถานเดียว โอกาสที่จะรักษาหายนั้นน้อยมากจริงๆ ค่ะ และสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เป็นมะเร็งปอดนี่เกิดจากการสูบบุหรี่มากถึง 92% ทีเดียว แต่เชื่อมั้ยคะ! ว่าถึงจะมีคนตายจากการสูบบุหรี่เป็นจำนวนมากก็ตาม แต่จำนวนคนที่สูบบุหรี่ก็ไม่เคยลดลงเลย แต่ที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือจำนวนคนที่สูบบุหรี่กลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีนี่สิ ถึงทางหน่วยงานรัฐบาล ภาคเอกชนจะมีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ บอกถึงโทษและโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทั้งยังมีการนำรูปน่าเกลียดน่ากลัวจากผลการสูบบุหรี่มาไว้ที่ข้างซองบุหรี่ก็แล้ว ก็ยังไม่ช่วยให้จำนวนคนสูบบุหรี่ลดลงเลยแม้แต่น้อย ทำให้จำนวนคนที่ป่วยเป็นมะเร็งปอดนั้นมีเพิ่มขึ้นทุกปี คุณรู้ไหมทำไมบุหรี่ถึงทำให้เกิดมะเร็งได้?

การที่สูบบุหรี่ ทำให้เป็นมะเร็ง ได้ก็เพราะว่าในควันบุหรี่มีสารพิษอยู่มากถึง 4,000 กว่าชนิด แต่ที่เลวร้ายที่สุดก็คือในจำนวนนั้นมีสารก่อมะเร็งอยู่ถึง 60 ชนิด จากผลการวิจัยพบว่าเมื่อสารพิษจากควันบุหรี่ที่เข้าไปสู่ปอดแล้ว ปอดจะไม่สามารถขจัดสารพิษที่มากับควันบุหรี่ออกไปได้ เนื่องจากอนุภาคของสารพิษที่อยู่ในควันบุหรี่นี้มีขนาดที่เล็กมากจนเกินความสามารถที่ปอดจะขจัดหรือทำลายออกมาได้ ทั้งๆ ที่โดยปกติแล้วปอดจะขจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าในปอดมาออกไปจนหมด ทำให้นุภาคของสารพิษเกิดการสะสมอยู่ในปอด สารพิษที่สะสมจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นทีละน้อยๆ จากการอัดควันบุหรี่เข้าไปของคุณทุกๆ วันนั่นแหละค่ะ เมื่อสะสมไปนานๆ เข้าสารพิษนี้ก็จะเข้าไปยับยั้งการสร้างสารต่อต้านยีนส์มะเร็ง ( Anti Nocogene ) และยีนส์ซ่อมแซมดีเอ็นเอของเซลล์ ( DNA Repair Genes ) ในปอดให้มีการสร้างน้อยลงเรื่อย ๆ จนเซลล์ทั้งสองมีปริมาณไม่เพียงพอในการต่อต้านเซลล์มะเร็งและไม่พอที่จะซ่อมแซมเซลล์ให้กลับมาแข็งแรงได้ หรือสามารถทำงานได้บ้างแต่ก็ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตขึ้นมาได้เรื่อยๆ เพราะไม่มีตัวมาขัดขวางและทำลายแล้วนั่นเอง

ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสารต่อต้านยีนส์มะเร็ง ( Anti Nocogene ) และยีนส์ซ่อมแซมดีเอ็นเอของเซลล์ ( DNA Repair Genes ) มีหน้าที่ป้องกันการทำลายเซลล์จากเชื้อมะเร็ง และซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลายไปให้กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม แต่เมื่อมันไม่สามารถทำงานได้ก็ไม่มีสิ่งใดมาทำลายเชื้อมะเร็งที่กำลังโตให้หยุดโตได้ เชื้อมะเร็งย่อมได้ใจโตวันโตคืนไม่หยุดเลย ควันบุหรี่ไม่ใช่จะยับยั้งการสร้างสารต่อต้านยีนส์มะเร็ง ( Anti Nocogene ) และยีนส์ซ่อมแซมดีเอ็นเอของเซลล์ ( DNA Repair Genes ) แค่ที่ปอดเพียงอย่างเดียวนะคะ แต่มันสามารถก็ยับยั้งไปได้ทุกหนทุกแห่งที่ควันบุหรี่ลอยผ่านไป เรียกว่าไปถึงไหนทำลายถึงนั้น ไม่ว่าจะเป็นที่ช่องปาก หลอดลม หลอดอาหาร  กระเพาะอาหาร กล่องเสียง ถุงลม เป็นที่มาของมะเร็งส่วนต่างๆ ตามระบบหายใจและระบบทางเดินอาหารไงค่ะ และเมื่อมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นแล้ว เรายังสูบบุหรี่อัดควันเข้าไปในร้างกายอย่างต่อเนื่องไม่หยุด ควันบุหรี่ที่เข้าไปจะกลายเป็นอาหารอันโอชะของมะเร็งเพราะเมื่อเซลล์มะเร็งได้รับควันบุหรี่มันขยายวงกว้างขึ้นแบบทวีคูณ มีขนาดใหญ่ขึ้นเร็วมากจนน่าตกใจ เซลล์มะเร็งที่โตขึ้นในปอดจะเข้าขัดขวางเซลล์ไม่ให้ทำการรับออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไป ทำให้เซลล์ตามร่างกายขาดออกซิเจน ที่จะนำไปหล่อเลี้ยงร่างกายตามส่วนต่างๆ ทำให้ทั่วร่างกายขาดออกซิเจนไปด้วย ร่างกายจะค่อยๆ อ่อนแอลง เมื่อร่างกายอ่อนแอเซลล์มะเร็งก็ยิ่งโตขึ้นและแพร่กระจายเชื้อไปยังส่วนต่างๆ ต่อไป

แบบนี้ถ้าเราไม่สูบบุหรี่ ก็จะไม่เป็นมะเร็งสิ ใช่ค่ะ! ถ้าคุณไม่สูบบหุรี่ ดิฉันบอกเลยว่าคุณจะมีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยมากโดยเฉพาะมะเร็งปอด รู้ไหมคะ? คนที่สูบบุหรี่นี่มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 30 เท่าเลยนะ โดยเฉพาะคนที่สูบบุหรี่จัดและสูบระยะเวลามากกว่าสิบปี ส่วนคนที่ไม่สูบบุหรี่แต่ว่าอยู่ใกล้ชิดหรืออยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่อบอวลอยู่ตลอดเวลา ทั้งในบ้าน ที่ทำงาน สถานบันเทิง รถยนต์หรือโรงหนังบางแห่ง ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าปกติถึง 2 เท่าเลย นี่ขนาดไม่ได้สูบเองนะเนี่ยยังต้องเสี่ยงไปด้วยเลย แย่จริงๆ ถึงเราจะไม่ได้สูบเองแต่เราก็ต้องสูดควันบุหรี่เข้าไปในปอดด้วยเหมือนกัน นั่นก็คือว่าอันตรายแล้วค่ะ ดังนั้นการไม่สูบบุหรี่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ได้จริงๆ นะ ดังนั้นถ้าคุณไม่อยากเป็นมะเร็งก็ควรเลิกสูบบุหรี่ได้แล้วค่ะ

Content by Amprohealth

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

การตรวจปัสสาวะหาค่า Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N

0
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Urea N
Urine Urea N คือค่าที่ใช้เพื่อวัดหาสารของเสียยูเรียที่ถูกขับทิ้งออกมากับน้ำปัสสาวะ
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Urea N
Urine Urea N คือค่าที่ใช้เพื่อวัดหาสารของเสียยูเรียที่ถูกขับทิ้งออกมากับน้ำปัสสาวะ

Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N

Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N คือ เผาผลาญโปรตีนไนโตรเจน ซึ่งเป็นวัฏจักรของการสังเคราะห์ Urea ในตับ และค่าที่ใช้เพื่อวัดหาสารของเสียยูเรียที่ถูกขับทิ้งออกมากับน้ำปัสสาวะ ซึ่งสารตัวนี้มักจะมีอยู่ในน้ำปัสสาวะเสมอเนื่องจากเป็นสารที่ได้จากการย่อยสลายโปรตีน แต่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ จึงต้องถูกขับออกมาทิ้งไปกับปัสสาวะเสมอนั่นเอง นอกจากนี้ยูรีนก็สามารถตรวจพบในเลือดได้อีกด้วย แต่หากอยู่ใน ระดับที่ปกติก็ไม่ต้องกังวลใดๆ เพราะแสดงได้ว่าสุขภาพยังดีอยู่นั่นเอง

ชื่อเรียกยูรีนในเลือดและปัสสาวะ

ชื่อเรียกของสารของเสียยูรีนที่ตรวจพบในเลือดและในน้ำปัสสาวะ จะมีการเรียกที่ต่างกัน แต่ก็คล้ายคลึงกันอยู่บ้าง โดยยูรีนที่พบในเลือดจะเรียกย่อๆ ว่า Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N ส่วนยูรีนที่พบในน้ำปัสสาวะก็จะเรียกว่า Urine Urea N ซึ่งค่าของยูรีนที่ตรวจพบได้ในปัสสาวะก็จะใช้เพื่อบ่งชี้สภาวะสุขภาพหรืออาการป่วยต่างๆ ได้

สามารถอธิบายอย่างสรุปได้ ดังนี้

1.ยูรีนเป็นสารของเสียที่ได้มาจากการย่อยสลายอาหารประเภทโปรตีน Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N คือโปรตีนที่ถูกย่อยจนถึงที่สุด จะแยกออกเป็นสารประกอบ 2 อย่าง คือกรดอะมิโนชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายและสารประกอบแอมโมเนียที่ไม่มีประโยชน์ ต้องกำจัดทิ้งออกไป โดย

  • กรดอะมิโน  ( Amino acids ) เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยตับจะทำการรวบรวมกรดอะมิโนที่ได้จากการย่อยสลายโปรตีน ไปใช้ประโยชน์กับอวัยวะและเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น และป้องกันการขาดกรดอะมิโนบางชนิดที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกายอีกด้วย นอกจากนี้ก็จะช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่มีการสึกหรอได้เหมือนกัน
  • สารประกอบแอมโมเนีย ( Ammonia ) สารตัวนี้จะรวมตัวกันเองจนเกิดเป็นสารประกอบยูเรีย ซึ่งร่างกายไม่มีความต้องการแต่อย่างใด จึงถือเป็นสารของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ที่ต้องมีการกำจัดออกนอกร่างกายเป็นลำดับต่อไป

การกำจัดยูเรียจะเริ่มจากการที่ตับส่งยูเรียเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อให้ไตทำการกรองและเอายูเรียไปปล่อยทิ้งกับน้ำปัสสาวะต่อไป ดังนั้นจึงทำให้ตรวจพบค่ายูเรียได้ทั้งในเลือดและน้ำปัสสาวะนั่นเอง โดยหากตรวจพบในเลือดจะเรียกว่า BUN และหากตรวจพบในปัสสาวะจะเรียกว่า Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N

2.ในกรณีที่มีการกินโปรตีนเข้าไปในปริมาณที่พอเหมาะ และไตก็ยังคงอยู่ในสภาพที่ปกติดีอยู่ ปริมาณของยูเรียที่เกิดขึ้น มักจะเท่ากับยูเรียที่ถูกปล่อยทิ้งเสมอ ซึ่งแม้จะมียูเรียที่ค้างอยู่ในเลือดเพื่อรอส่งไปยังไต ก็มักจะมีค่าที่คงที่ ซึ่งค่าปกติของ Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N จะอยู่ที่ประมาณ 10-20 mg / dL

3.หากมีการตรวจเลือดพบค่า Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N ที่สูงกว่าปกติ อาจแสดงได้ว่ามีความผิดปกติที่เกิดจาก 2 แหล่งกำเนิดด้วยกัน ซึ่งก็คือ

  • ผิดปกติเพราะเหตุก่อนถึงไต ( Prerenal Azotemia ) ซึ่งก็คือก่อนที่ยูเรียจะถูกส่งไปยังไต ยกตัวอย่างเช่น ภาวะช็อก ขาดน้ำ ตกเลือดจากแผลภายในลำไส้ กินโปรตีนมากเกินไป หรือภาวะที่เลือดจากหัวใจถูกส่งไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น โดยทั้งนี้ เมื่อค่า BUN ในเลือดสูง ค่า Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N ก็จะต้องสูงเช่นกัน เพราะไตมีการกรองยูเรียจากเลือดและขับออกไปกับน้ำปัสสาวะในปริมาณมากนั่นเอง
  • ผิดปกติเพราะเหตุที่นับจากไตเป็นต้นไป เช่นการเกิดโรคไตและความผิดปกติกับท่อภายในไต ทำให้ไตขับน้ำปัสสาวะออกนอกร่างกายในแต่ละวันได้น้อยมาก เป็นผลให้ยูเรียยังคงคั่งค้างอยู่ในเลือดในปริมาณสูงโดยไม่ถูกกรองออกไป จึงตรวจพบค่า BUN สูงเกินกว่าเกณฑ์ปกติ แต่ในขณะเดียวกันค่า Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N ในน้ำปัสสาวะก็อาจต่ำกว่าปกติได้ นั่นก็เพราะไตไม่สามารถกรองยูเรียในเลือดออกทิ้งได้มากเท่าที่ควร

ค่าปกติของ Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N

1.ค่าผิดปกติของ Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N ให้ยึดถือเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ (ถ้ามี)

2.ค่าปกติทั่วไปของ Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N จะอยู่ที่

24 hr Urine Urea N : 6 – 17 g/24 hr
Random Urine Urea N : 60 – 90 mg/dL

 

ค่าผิดปกติของ Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N

1.ค่าผิดปกติ Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N ที่ไปในทางน้อย โดยอาจแสดงได้ว่า

  • มีการกินอาหารประเภทโปรตีนน้อยเกินไป จึงทำให้พบยูเรียในปริมาณที่ต่ำมาก หรืออาจมีการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วนเท่าที่ควร
  • เป็นโรคหรือมีเหตุสำคัญบางอย่างที่ไต จึงทำให้ไตไม่สามารถขับยูเรียออกไปพร้อมกับปัสสาวะได้ตามปกติ เป็นผลให้ตรวจพบยูเรียในปัสสาวะต่ำมาก

2.ค่าผิดปกติ Blood Urea Nitrogen ( BUN ) หรือ Urine Urea N ที่ไปในทางมาก โดยอาจแสดงได้ว่า

  • มีการกินอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณมากเกินไป ทำให้มีการย่อยสลายได้ยูเรียออกมามากขึ้น
  • เกิดความผิดปกติของกระบวนการย่อย โดยมีการย่อยสลายโปรตีนมากผิดปกติในร่างกายนั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

William M Rand, Peter L Pellett, and Vernon R Young. Meta-analysis of nitrogen balance studies for estimating protein requirements in healthy adults. Am J Clin Nutr. 2003; 77(1): 109-127.

Frank N. Konstantinides.Nitrogen Balance Studies in Clinical Nutrition. Nutr Clin Pract. 1992; 7: 231-238.

Hoffer L John. Protein and energy provision in critical illness. Am J Clin Nutr. 2003; 78: 906-911.

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Glucose

0
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Glucose
Urine Glucose เป็นค่าที่ใช้ตรวจสอบเพื่อหาน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Glucose
Urine Glucose เป็นค่าที่ใช้ตรวจสอบเพื่อหาน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ

Urine Glucose

Urine Glucose หรือชื่ออื่นๆ คือ Urine Sugar Test และ Glucosuria Test เป็นค่าที่ใช้ตรวจสอบเพื่อหาน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ ว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด ซึ่งค่าตัวเลขที่ได้ออกมานั้นก็จะเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ได้ ว่าผู้ตรวจเป็นโรคเบาหวานหรือโรคไตหรือไม่ โดยหากพบว่าเข้าข่ายโรคดังกล่าว ก็จะได้ทำการตรวจอย่างละเอียดและทำการรักษาได้ทันตั้งแต่เนิ่นๆ นั่นเอง

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ Urine Glucose

1. กลูโคสเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ที่ได้จากการย่อยสลายอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจนได้เป็นน้ำตาลออกมา จากนั้นตับก็จะผลิตฮอร์โมนอินซูลินเพื่อเป็นตัวนำพากลูโคสไปส่งยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยผ่านทางกระแสเลือด เพื่อใช้เผาผลาญเป็นพลังงานให้กับร่างกายต่อไป และยังช่วยให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ที่มีสุขภาพดีควรจะมีระดับของกลูโคสในเลือดขณะที่ไม่ได้ทานอาหารประมาณ 70-110 mg/dL เท่านั้น และจะต้องไม่ตรวจพบน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะเลยหากไตยังคงทำงานได้อย่างปกติ เพราะไตจะทำหน้าที่ในการดูดซึมกลับกลูโคสมาให้ร่างกายได้นำไปใช้ประโยชน์นั่นเอง

2. สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ยังไม่รู้ตัวหรือไม่ได้ควบคุมโรคให้ดี โดยส่วนใหญ่แล้วจะตรวจพบ Urine Glucose ระดับน้ำตาลในเลือดที่มีค่าสูงมาก แต่หากไตยังคงทำงานได้ปกติก็มักจะไม่ค่อยตรวจพบน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะมากนัก เพราะไตได้ทำการดูดซึมกลับมาใช้งานจนหมด อย่างไรก็ตามหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินจนเข้าสู่ระดับประมาณ 160-180 mg / dL ก็อาจทำให้ไตไม่สามารถดูดซึมกลับกลูโคสจากปัสสาวะได้ทัน เป็นผลให้ตรวจพบค่า Urine Glucose ในปริมาณสูงกว่าปกติได้นั่นเอง ซึ่งภาวะที่ไตไม่สามารถดูดซึมกลับได้ทันนี้ เรียกว่า สภาวะกลูโคสข้ามล้นไป ( RTG ) โดยสภาวะ RTG ก็คือภาวะที่น้ำปัสสาวะมีน้ำตาลอยู่มากจนปรากฏค่าที่ตรวจพบได้ ซึ่งก็เนื่องมาจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป โดยกรณีดังกล่าวนี้ก็ถูกเรียกว่า สภาวะน้ำตาลในปัสสาวะ นั่นเอง

นอกจากนี้ก็มีศัพท์อีกตัวหนึ่ง คือ Glycosuria ที่มีความหมายว่าผู้ที่ถูกตรวจพบน้ำตาลสูงในปัสสาวะ ได้ถูกประเมินไว้ก่อนแล้วว่าน่าจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

3. ในบุคคลที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน หรือมีค่า Urine Glucose ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารเป็นปกติแต่บางครั้งก็มีการตรวจพบค่าระดับน้ำตาลในปัสสาวะอยู่บ้าง จะเรียกสภาวะเช่นนี้ว่า สภาวะกลูโคสในปัสสาวะ หรือ Glucosuria ดังนั้นคำว่า Glucosuria จึงมีความหมายว่า สภาวะที่ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะจากบุคคลที่ไม่ได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานมาก่อน หรือในบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงดี แต่อย่างไรก็ตามค่าน้ำตาลที่ตรวจพบนั้นก็อาจบ่งชี้ได้ว่า ผู้ถูกตรวจกำลังมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหรือไตอาจมีปัญหาบางอย่าง ที่ส่งผลให้ไม่สามารถดูดซึมกลับน้ำตาลกลูโคสจากปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเหตุให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ แม้จะเพียงแค่เล็กน้อยก็ตาม 

โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ในปัสสาวะไม่ควรตรวจพบค่าน้ำตาลกลูโคสเลย แม้จะเป็นเพียงแค่น้อยนิดก็ตาม เพราะนั่นอาจบ่งบอกได้ถึงการป่วยด้วยโรคสำคัญ 2 โรค ซึ่งก็คือ โรคไตและโรคเบาหวานนั่นเอง ซึ่งก็ต้องทำการตรวจอย่างละเอียดอีกทีหลังตรวจเจอน้ำตาลในปัสสาวะ

ค่าปกติของ Urine Glucose

  1. ค่าปกติของ Urine Glucose ให้ยึดถือเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ (ถ้ามี)

2. สำหรับค่าปกติของ Urine Glucose โดยทั่วไปจะอยู่ที่

Random Urine Glucose : none
24 hr Urine Glucose : < 0.5 g/day

ค่าผิดปกติของ Urine Glucose

สำหรับค่าความผิดปกติที่ได้ในการตรวจหาค่า Urine Glucose ถ้าหาก

  1. ค่า Urine Glucose ไปในทางน้อย หรือมีค่าต่ำกว่าศูนย์ไปอีก นั่นแสดงได้ว่าอาจมีความไม่ผิดปกติในการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย จึงทำให้ตรวจได้ค่าดังกล่าว

2. ค่า Urine Glucose ไปในทางมาก อาจแสดงให้เห็นได้ว่า    

  • มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus ) แต่เพื่อความแน่ชัด จะต้องตรวจหาค่าในขณะงดอาหาร FBS เพื่อความชัดเจนอีกครั้ง
  • อยู่ในสภาวะการตั้งครรภ์ ซึ่งแสดงได้ว่าอาจกำลังเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์นั่นเอง
  • เสี่ยงเป็นโรคไต ( Renal Glycosuria ) เพราะเมื่อไตมีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง ก็อาจส่งผลให้เกิดสภาวะกลูโคสล้มข้าม RTG จึงทำให้ตรวจพบน้ำตาลกลูโคสในน้ำปัสสาวะได้
  • ไตเกิดสภาวะโรคแฟนโคนี ( Fanconi Syndrome ) ซึ่งเกิดจากการมีโลหะหนักสะสมอยู่มากเกินไปจนเกิดพิษ ทำให้ท่อไตไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลกลับจากน้ำปัสสาวะได้ ทำให้น้ำตาลกลูโคสถูกปล่อยทิ้งมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะ และตรวจพบค่า Urine Glucose ในน้ำปัสสาวะสูงเกินกว่าปกติได้
  • ไตเกิดการเสื่อมสภาพเนื่องจากได้รับพิษจากสารเคมีเป็นจำนวนมาก และเวลานาน นั่นก็เพราะสารเคมีเหล่านี้เข้าไปทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานไตเสื่อมลง จนไม่สามารถดูดซึมกลับกลูโคสจากน้ำปัสสาวะตามปกติได้ และเกิดการข้ามล้นของกลูโคสในที่สุด โดยสารพิษเหล่านี้ได้แก่ ตะกั่ว คาร์บอนมอนอกไซด์ ปรอท เป็นต้น

และด้วยเหตุเหล่านี้ ค่า Urine Glucose จึงอาจเป็นค่าทำให้น้ำตาลกลูโคสหลุดปนออกมากับน้ำปัสสาวะจนทำให้ตรวจพบค่า Urine Glucose สูงเกินปกติได้ ดังนั้นเมื่อตรวจพบค่าน้ำตาลในปัสสาวะสูง จึงไม่ควรด่วนสรุปว่าเป็นเบาหวาน แต่ให้ตรวจละเอียดอีกครั้ง เพื่อความมั่นใจว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากโรคเบาหวานหรือความผิดปกติของไตนั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Rose, Burton; Rennke, Helmut (1994). Renal pathophysiology – the essentials (1st ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. 194. ISBN 0-683-07354-0.

Han BR, Oh YS, Ahn KH, Kim HY, Hong SC, Oh MJ, Kim HJ, Kim YT, Lee KW, Kim SH. BR, Han (Sep 2010). “Clinical Implication of 2nd Trimester Glycosuria”. Korean J Perinatol. 21

การตรวจ Osmolality ในปัสสาวะ สำคัญแค่ไหนกับร่างกาย

0
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Osmolarity
ค่าการตรวจ Urine Osmolality ที่ได้ สามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย

การตรวจ Osmolality ในปัสสาวะเป็นการวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารต่างๆ ที่ละลายในปัสสาวะ ซึ่งช่วยให้เราประเมินภาวะการสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายได้ การตรวจนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจสุขภาพของไต การทำงานของฮอร์โมน และการประเมินภาวะขาดน้ำหรือการสะสมของของเหลวที่ผิดปกติในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ เช่น ภาวะไตวายเรื้อรัง เบาหวาน เบาจืด และโรคที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมของเหลว การตรวจ Osmolality จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถให้การรักษาที่ตรงจุดและทันเวลาเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ป่วย

Urine Osmolality คืออะไร

Urine Osmolality คือ ความเข้มข้นของสารละลายในปัสสาวะ มีค่าตั้งแต่ 50-1200 mosm/kg

คำแนะนำในการเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ Urine Osmolality

การเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ มีคำแนะนำเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำที่สุด ดังนี้

  1. ต้องล้างอวัยวะเพศให้สะอาดหมดจดก่อน โดยใช้สบู่ในการล้างทำความสะอาดตามด้วยเช็ดด้วยผ้าให้แห้งสนิท

2. ถ่ายปัสสาวะส่วนแรกทิ้งลงไปในโถส้วมก่อน จากนั้นกลั้นที่เหลือเอาไว้ แล้วถ่ายลงในภาชนะเก็บปัสสาวะให้ได้ตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งหากยังคงถ่ายไม่สุด ก็ให้ถ่ายทิ้งลงไปในโถส้วมต่อไปจนเสร็จ

3. ปิดฝาภาชนะที่ใส่ปัสสาวะในทันที เพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมตกลงไปปะปนอยู่ในน้ำปัสสาวะที่จะส่งตรวจ

4. ทั้งสามขั้นตอนข้างต้น จะต้องทำให้รอบคอบและมีความละเอียดมากที่สุด เพราะหากมีสิ่งแปลกปลอมใดตกลงไปเพียงนิด ก็อาจทำให้ค่า osmolarity ที่ได้มีความผิดเพี้ยนไปในทันที ดังนั้นจึงต้องทำให้ละเอียดรอบคอบที่สุด

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Osmolality สามารถอย่างสรุปได้ ดังนี้

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Osmolality สามารถอย่างสรุปได้ ดังนี้1. ค่า Urine osmolality คือตรวจค่าปัสสาวะ ร่างกายของมนุษย์จะมีน้ำประกอบอยู่ประมาณ 60% ซึ่งในหนึ่งวันหรือตลอด 24 ชั่วโมง ร่างกายของคนเราจะต้องมีการดื่มน้ำและสูญเสียน้ำผ่านทางปัสสาวะและเหงื่ออยู่เสมอ แถมน้ำที่ดื่มเข้าไปในแต่ละวันอาจมากบ้าง น้อยบ้าง ไม่สามารถประเมินได้ แต่ร่างกายของมนุษย์ก็สามารถรักษาปริมาณน้ำให้คงอยู่ในร่างกายไว้ที่ประมาณ 60% ตลอดเวลาอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าในร่างกายของคนเรามีกลไกหนึ่งที่จะทำหน้าที่ในการยับยั้งการขับน้ำออกจากร่างกายมากเกินไป โดยใช้ฮอร์โมนเป็นตัวช่วยในการยับยั้ง ด้วยการสั่งการบังคับไตให้ผลิตน้ำปัสสาวะมากหรือน้อย เพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมนั่นเอง

2. ฮอร์โมนยับยั้งการขับ Urine osmolality หรือ น้ำออกจากร่างกาย ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาระดับน้ำให้คงอยู่ที่ 60% โดยตลอดเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ในการรักษาความเข้มข้นของอนุภาคที่เป็นสารชีวเคมีที่ละลายอยู่ในเลือดให้มีความคงที่ตลอดเวลาอีกด้วย นั่นก็เพราะความเข้มข้นของสารชีวเคมีในน้ำเลือดมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก จึงไม่ควรปล่อยให้ความเข้มข้นต่ำหรือสูงเกินไปเด็ดขาด ซึ่งหากสังเกตจะพบว่า

  • เมื่ออยู่ท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนจัดกลางแจ้ง โดยเฉพาะคนที่ทำงานกลางแจ้ง มักจะปัสสาวะออกมาน้อยกว่าปกติ นั่นก็เพราะได้สูญเสียน้ำออกทางเหงื่อไปมากแล้วนั่นเอง จึงมีน้ำที่จะถูกขับออกทางปัสสาวะเพียงน้อยนิดเท่านั้น
  • เมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่หนาวจัดหรืออยู่ในห้องแอร์ มักจะปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ นั่นก็เพราะมีการเสียเหงื่อน้อย หรือแทบไม่มีเหงื่อเลย น้ำส่วนใหญ่จึงถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก

และตัวการที่ทำหน้าที่ในการบังคับให้ไตผลิตน้ำปัสสาวะออกมามากหรือน้อยก็คือฮอร์โมน ADH นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อพยายามรักษาระดับความเข้มข้นของสารชีวเคมีในเลือดให้คงที่อยู่ตลอดเวลา และนอกจากนี้ ADH ก็มีส่วนช่วยในการรักษาระดับน้ำในร่างกายไว้ให้ได้สัดส่วนที่ 60% ตลอดเวลาเช่นกัน 

3. อนุภาคของสารชีวเคมีที่มีส่วนช่วยในการสร้างความเข้มข้นในเลือด ได้แก่ โซเดียม ของเสียจากไนโตรเจนและโพแทสเซียม ซึ่งสารเหล่านี้ไตจำเป็นจะต้องกรองและขับทิ้งออกไปกับน้ำปัสสาวะ เพื่อให้ความเข้มข้นในเลือดคงอยู่ในระดับที่มีความคงที่มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าไตจะมีประสิทธิภาพในการกรองสารเหล่านี้ได้ดีเพียงใด แต่ก็อาจมีหลุดลอยปนไปกับน้ำปัสสาวะได้บ้างเหมือนกัน ดังนั้นจึงไปทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงขึ้นจนสามารถตรวจวัดค่าได้ ซึ่งก็ถูกเรียกว่า Urine osmolality นั่นเอง

4. ค่า Urine osmolality ที่ตรวจพบในน้ำปัสสาวะ จะถือว่าอยู่ในระดับที่ปกติในผู้ที่มีสุขภาพดีได้นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ

  • ค่า Urine Osmolality ที่พบในเลือดจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติอยู่ก่อนแล้ว เพราะหากอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ปกติก็จะทำให้ค่า Urine osmolality ที่ได้อยู่ในระดับที่ผิดปกติเช่นกัน
  • ฮอร์โมนยับยั้งการปล่อยทิ้งน้ำ หรือ ADH จะต้องทำงานได้อย่างเป็นปกติและมีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถบังคับไตให้ผลิตน้ำมากหรือน้อยตามความจำเป็นได้
  • ฮอร์โมนแอนโดสเตอโรน ( Aldosterone Hormone ) จะต้องมีความปกติเช่นกัน เพราะทำหน้าที่ในการบังคับไตให้ดูดซึมกลับโซเดียมเข้าสู่ร่างกาย ไม่ให้ถูกปล่อยทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะจนหมดหรือเกินจากความจำเป็น
  • ไต ต้องอยู่ในสภาพที่มีความปกติเช่นกัน นั่นก็เพราะว่าไตมีความสำคัญที่สุดในการผลิตน้ำปัสสาวะ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกรองของเสียจากเลือดส่งออกไปกับน้ำปัสสาวะ เป็นผลให้น้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นมากขึ้นและสามารถวัดออกมาเป็นค่า Urine Osmolality ได้ในที่สุด

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าหากไตมีสุขภาพดีก็สามารถกรองของเสียจากเลือดเพื่อปล่อยทิ้งออกทางน้ำปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และวัดค่า Urine Osmolality ได้เป็นค่าที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมที่สุด แต่หากไตมีความชำรุดเสียหาย จนไม่สามารถทำการกรองได้อย่างปกติ ก็อาจทำให้ตรวจพบว่า Urine osmolality มีค่าสูงขึ้นได้นั่นเอง นอกจากนี้หากเป็นกรณีกรวยไตหรือท่อไตชำรุด ก็จะทำให้ตรวจพบค่า Urine osmolality ต่ำกว่าปกติได้ เนื่องจากไม่สามารถกรองสารของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. ค่าการตรวจ Urine osmolality ที่ได้ สามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย และใช้ในการตรวจเพื่อยืนยันความผิดปกติของโรคบางชนิดได้ เช่น บอกถึงสภาวะที่โปรตีนปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ หรือสภาวะที่มีน้ำตาลปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เป็นต้น โดยสำหรับผู้ที่อยู่ในสภาวะปกติและมีสุขภาพดี ก็จะปรากฏค่าที่พบและคำนวณได้ดังนี้

Urine Osmolality : Serum Osmolarity = 1 : 3

6. หน่วยนับของค่าความเข้มข้นของอนุภาคจากสารชีวเคมีที่ละลายอยู่ในน้ำปัสสาวะ ในปัจจุบันมีการเรียกเป็น 2 ชื่อ ซึ่งก็คือ

  • Urine osmolality เป็นหน่วยวัดโดยเทียบต่อปริมาตรปัสสาวะจำนวน 1 ลิตร ซึ่งจะเขียนหน่วยวัดย่อๆ ว่า mOsm/L
  • Urine osmolality เป็นหน่วยวัด โดยเทียบเป็นจำนวนน้ำที่หนัก 1 กิโลกรัม ซึ่งจะเขียนหน่วยวัดย่อๆ ว่า mOsm/kg H2O

ค่าปกติ และ ค่าผิดปกติ - การตรวจ Osmolality ในปัสสาวะ สำคัญแค่ไหนกับร่างกายค่าปกติของ Urine Osmolality และ Osmolality

  1. ค่าปกติของ Urine Osmolality ที่ตรวจได้ให้ยึดเอาตามค่าปกติที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ (ถ้ามี)

2. ค่าปกติทั่วไปจะอยู่ที่

ชนิด Osmolarity Urine Osmolality : 0 – 1,200 mOsm/L
ชนิด Osmolality Urine Osmolality : > 800 mOsm/kg H2O

หมายเหตุ จากการใช้ปัสสาวะที่เก็บได้ในช่วง 12-14 ชั่วโมง โดยการจำกัดการบริโภคน้ำและอาหารที่เป็น ของเหลว

ค่าผิดปกติของ Osmolarity  ( รวมทั้ง Osmolality )

  1. เมื่อค่าผิดปกติที่ตรวจได้ไปในทางน้อย อาจแสดงได้ว่า
  • ดื่มน้ำหรือทานอาหารที่มีของเหลวเป็นส่วนประกอบมากเกินไป ทำให้ปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ เพราะร่างกายต้องขับน้ำส่วนเกินออกมาให้เหลืออยู่ที่ 60% นั่นเอง   
  • เกิดสภาวะชองโรคเบาจืด ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ต่อมใต้สมองหรือไตเกิดความผิดปกติ เช่นเป็นโรคบางอย่าง จึงทำให้ฮอร์โมน ADH ที่ผลิตออกมานั้นมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อการยับยั้งการปล่อยน้ำทิ้ง และเนื่องจากไตไม่ตอบสนองต่อ ADH จึงปล่อยน้ำปัสสาวะออกมามากคล้ายกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน เพียงแต่ไม่มีสีน้ำตาลออกมาเจือปน จึงถูกเรียกชื่อว่าโรคเบาจืด
  • เนื้อท่อภายในไตตายเป็นบางส่วน จึงมีการปล่อยปัสสาวะออกมาน้อยกว่าปกติ ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีการกรองสารละลายออกมาได้น้อยลงด้วย ส่วนสาเหตุที่ทำให้เนื้อท่อในไตตายเป็นบางส่วนนั้น ก็เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ จนทำให้เนื้อบางส่วนในไตขาดออกซิเจนและตายไปในที่สุด นอกจากนี้ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นโดยทั่วไป ได้แก่ ผลจากการผ่าตัดใหญ่ การเกิดปฏิกิริยาจากการรับการถ่ายเลือดและการปล่อยให้ความดันเลือกในร่างกายตกลงต่ำกว่าปกติเป็นเวลานานกว่า 30 นาที ซึ่งก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้อท่อไตตายทั้งสิ้น
  • ต่อมหมวกไตเกิดความผิดปกติ ทำให้ผลิตฮอร์โมนแอลโดสเตอโรนออกมามากเกินไป เป็นผลให้ไตมีการดูดซึมกลับโซเดียมจากปัสสาวะมากเกินความจำเป็น ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเกิดอาการบวมน้ำ และทำให้ความเข้มข้นของปัสสาวะก็ลดลงไปอย่างผิดปกติอีกด้วย

2. เมื่อค่าผิดปกติที่ตรวจได้ไปในทางมาก อาจแสดงได้ว่า

  • ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนยับยั้งการปล่อยน้ำทิ้งออกมามากเกินไป เป็นผลให้น้ำในส่วนใหญ่ถูกดูดซึมกลับเข้าไปในร่างกาย และปล่อยน้ำทิ้งออกมาทางปัสสาวะเพียงน้อยนิดเท่านั้น ดังนั้นเมื่อน้ำปัสสาวะมีปริมาณน้อยลง ในขณธที่สารละลายที่จะปล่อยทิ้งมีจำนวนเท่าเดิม จึงส่งผลให้น้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อตรวจหาค่า Urine Osmolality จึงพบว่าค่าที่ได้มีค่าสูงขึ้นอย่างผิดปกตินั่นเอง
  • เกิดผลข้างเคียงของการเกิดขึ้นของเซลล์ตัวใหม่ ซึ่งเซลล์ที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้อาจไม่ทราบได้แน่นอนว่าเกิดขึ้นบริเวณใด อาจเป็นเซลล์เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งหรือจะเป็นเซลล์มะเร็งร้ายก็ได้ โดยทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตุให้ค่า Urine Osmolality สูงขึ้นทั้งสิ้น โดยเฉพาะเซลล์มะเร็งอย่างแท้จริง นั่นก็เพราะว่าจะเกิดการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนยับยั้งการปล่อยน้ำทิ้งหรือ ADH ออกมามากเกินไป ซึ่งผลิตนอกแหล่งด้วยตัวมันเองอย่างไร้การควบคุม โดยสาร ADH นี้ก็จะไปดูดซึมน้ำส่วนใหญ่กลับเข้ามาในร่างกาย ทำให้เกิดภาวการณ์บวมน้ำและปัสสาวะน้อยลงในที่สุด แต่ในขณะเดียวกันความเข้มข้นของสารละลายในน้ำปัสสาวะก็จะสูงขึ้นมาก การตรวจหาค่า Urine Osmolality จึงพบว่าสูงผิดปกตินั่นเอง   

เพราะฉะนั้นหากตรวจพบค่าดังกล่าวสูงโดยที่หาสาเหตุไม่ได้ ก็ให้นึกถึงการเกิดเซลล์มะเร็งไว้ก่อน ซึ่งแม้ว่าในขณะนั้นจะยังไม่สามารถตรวจพบได้ว่ามีเซลล์มะเร็งในร่างกายหรือไม่ แต่ก็ไม่ควรชะล่าใจเลยทีเดียว

  • เกิดอาการหัวใจวายเพราะขาดเลือด ซึ่งอาจเป็นเพราะหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจึงทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม ดังนั้นเมื่ออวัยวะต่างๆ ได้รับเลือดในปริมาณที่ต่ำ โดยเฉพาะไตก็จะทำให้การทำงานของอวัยวะนั้นๆ มีความผิดปกติไปด้วย ซึ่งทั้งนี้ไตจะสามารถผลิตน้ำปัสสาวะได้น้อยลง และทำให้น้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นมากขึ้นในที่สุด
  • เกิดจากสาวะของโรคตับแข็ง จึงไม่สามารถควบคุมการปล่อยชีวเคมีเข้าสู่กระแสเลือดได้ เป็นผลให้เลือดมีความเข้มข้นสูง ซึ่งไตก็ต้องทำหน้าที่ในการกรองสารเหล่านี้ออกมาจากเลือดต่อไป เพื่อพยายามรักษาระดับความเข้มข้นของเลือดให้คงที่ จึงทำให้สารชีวเคมีที่จะถูกขับทิ้งไปกับปัสสาวะมีปริมาณที่สูงมาก และตรวจพบค่า Urine Osmolality สูงกว่าปกติได้นั่นเอง นอกจากนี้ในขั้นตอนการตรวจก็จะพบว่าน้ำปัสสาวะมีสีแดงขุ่มข้นอีกด้วย
  • เมื่อมีการช็อกเกิดขึ้น ( Shock ) เพราะในขณะช็อกนั้นจะเกิดการหมดสติ ซึ่งก็ทำให้ร่างกายเกิดกลไกอัตโนมัติขึ้นมาเพื่อพยายามรักษาน้ำในร่างกายให้ปกติเข้าไว้ และไม่สูญเสียไปกับปัสสาวะมากเกินไป ดังนั้นแม้จะได้ผ่านระยะเวลาการช็อกมาแล้ว แต่ปัสสาวะก็ยังคงมีในปริมาณที่น้อยกว่าปกติอยู่ดี ในขณะที่สารละลายมีความเข้มข้นและน้ำปัสสาวะขุ่นข้นมากขึ้น ซึ่งอาจสรุปได้ว่า แม้จะผ่านการช็อกไปแล้วแต่ก็อาจตรวจพบค่า Urine Osmolality ที่มีระดับสูงกว่าปกติได้อยู่ดี

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Sands, Jeff M.; Layton, Harold E. (2014-01-01). “Advances in Understanding the Urine-Concentrating Mechanism”. Annual Review of Physiology. 76 (1): 387–409.

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine P-Amylase

0
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine P-Amylase
การตรวจเพื่อหาค่าเอนไซม์ที่ได้จากตับอ่อนและถูกกรองทิ้งมากับปัสสาวะ
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine P-Amylase
การตรวจเพื่อหาค่าเอนไซม์ที่ได้จากตับอ่อนและถูกกรองทิ้งมากับปัสสาวะ

Urine P-Amylase คือ

Urine P-Amylase คือ ค่าที่ใช้ตรวจเพื่อหาค่าเอนไซม์ที่ได้จากตับอ่อนและถูกกรองทิ้งมากับปัสสาวะ โดยมีชื่อว่า P-Amylase ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้มีการผลิตขึ้นมาโดยตับอ่อน เพื่อใช้ในการย่อยอาหารประเภทแป้งในลำไส้โดย เฉพาะ ดังนั้นเอนไซม์ส่วนหนึ่งจึงถูกขับปนออกไปกับกากอาหารพร้อมกับอุจจาระ และอีกส่วนหนึ่งจะถูกดูดซึมโดยลำไส้พร้อมกับสารอาหารเพื่อส่งเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป และเนื่องจากเอนไซม์ตัวนี้ถูกจัดเป็นเอนไซม์ที่ไร้ประโยชน์ จึงต้องถูกกำจัดทิ้งผ่านการกรองออกไปทางน้ำปัสสาวะ ดังนั้นจึงสามารถตรวจพบ Urine P-Amylase ในน้ำปัสสาวะได้ ซึ่งผลตรวจที่ได้ก็บ่งชี้ได้ถึง การเป็นโรคตับอ่อน ความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ไต ฯลฯ และใช้เพื่อติดตามผลการรักษาโรคได้อีกด้วย

Urine P-Amylase คือ ค่าที่ใช้ตรวจเพื่อหาค่าเอนไซม์ที่ได้จากตับอ่อนและถูกกรองทิ้งมากับปัสสาวะ ซึ่งผลิตขึ้นมาโดยตับอ่อน เพื่อใช้ย่อยอาหารประเภทแป้งในลำไส้

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ Urine P-Amylase คือ

1. ตรวจ Urine P-Amylase เพื่อทำความเข้าใจถึงการผลิตและการนำ P-Amylase มาใช้ประโยชน์ของร่างกาย

2. เอนไซม์ Amylase ที่พบในร่างกายของมนุษย์ ถูกผลิตขึ้นมาจาก 2 แหล่งด้วยกัน นั่นก็คือ

  • ต่อมน้ำลายในปาก เพื่อใช้ย่อยอาหารในขั้นแรก ชื่อว่า Saliva Amylase แต่จะมีปริมาณไม่มากนัก
  • ตับอ่อน จะผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็กส่วนต้นโดยเฉพาะ และอาศัยท่อของตับในการส่งเอนไซม์ออกไป ซึ่งเอนไซม์ที่ตับอ่อนผลิต มีชื่อว่า Urine P-Amylase โดยเป็นเอนไซม์ส่วนใหญ่ของร่างกายเลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อมีอาการป่วยด้วยโรคหรือเกิดการกระทบกระทั่งใดๆ กับตับอ่อน ก็อาจมีผลให้เอนไซม์ตัวนี้มีค่ามากขึ้นหรือน้อยลงได้

3. สำหรับโรคหรือเหตุสำคัญที่ไม่ใช่ตับอ่อนอักเสบ แต่ทำให้ค่า Urine P-Amylase ที่ตรวจพบในน้ำปัสสาวะมีค่าสูงขึ้นมากผิดปกติ มีดังนี้

  • โรคต่อมน้ำลายหน้าหูอักเสบ หรือโรคคางทูม มีผลต่อค่า Urine P-Amylase ที่สูงขึ้น
  • โรคถุงน้ำดีอักเสบ
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • สภาวะลำไส้รั่วหรือลำไส้ทะลุ
  • สภาวะไตขาดเลือด

4. หากตรวจพบค่า Urine P-Amylase มีค่าที่สูงมากผิดปกติจนสังเกตได้ นั่นอาจการันตรีได้เลยว่าเกิดโรคตับอ่อนอักเสบอย่างแท้จริงแน่นอน เพราะเมื่อเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ จะไม่สามารถควบคุมการผลิตเอนไซม์ชนิดนี้ได้ และเกิดการผลิตออกมามากเกินไปนั่นเอง

5. การกินยาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง ก็อาจเป็นคนให้ค่า Urine P-Amylase สูงผิดปกติจากที่ควรเป็นได้เช่นกัน ซึ่งยาที่มีผล ได้แก่ ยา Aspirin ยาฮอร์โมน Corticosteroids ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิดและยา Morphine เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมียาตัวอื่นๆ ที่อาจส่งผลดังกล่าวได้เหมือนกัน

6. หากต้องการทราบอย่างแน่ชัดว่ากำลังป่วยด้วยโรคตับอ่อนอักเสบอย่างแท้จริงหรือไม่ นอกจากตรวจหาค่า Urine P-Amylase แล้ว จะต้องตรวจเลือดเพื่อหาค่า Amylase และ Lipase ควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ได้ข้อบ่งชี้ที่มีความชัดเจนมากขึ้น

ค่าปกติของ Urine P-Amylase 

  1. ค่าปกติของ Urine P-Amylase ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ ( ถ้ามี )

2. ค่าปกติโดยทั่วไปของ Urine P-Amylase จะอยู่ที่

Urine P-Amylase : 0 – 500 units/24 hr

 

ค่าผิดปกติของ Urine P-Amylase

1. ค่าในทางน้อย อาจแสดงได้ว่า

  • ตับอ่อนได้รับการกระทบกระเทือนจนทำให้เกิดการบาดเจ็บ จึงทำให้ผลิตเอนไซม์ Amylase ออกมาได้น้อยกว่าปกติ
  • ป่วยด้วยโรคไต เพราะเมื่อไตมีประสิทธิภาพในการกรองน้อยลง ก็ส่งผลให้สามารถกรอง P-Amylase ออกทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะได้ต่ำกว่าปกติ
  • เป็นโรคมะเร็งของตับอ่อน จึงไม่สามารถผลิตเอน ไซม์ P-Amylase ออกมาได้ ทำให้ค่า Urine P-Amylase ที่ตรวจพบมีค่าต่ำมาก
  • อยู่ในสภาวะครรภ์เป็นพิษ ( Toxemia of pregnancy ) ทำให้ตรวจพบค่า P-Amylase น้อยมาก

2. ค่าในทางมาก อาจแสดงได้ว่า

  • เป็นโรคตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน ทำให้ไม่สามารถควบคุมการผลิตและปล่อย P-Amylase ออกมาได้ เป็นผลให้ค่า P-Amylase สูงขึ้นกว่าปกติ
  • เป็นโรคมะเร็งที่ได้แพร่กระจายไปยังตับอ่อน ปอดและรังไข่ เป็นผลให้ตับอ่อนผลิต P-Amylase ออกมามากเกินไปอย่างควบคุมไม่ได้ 
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องในปริมาณมาก ซึ่งเข้าไปทำลายตับและตับอ่อน จนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของตับอ่อนลดน้อยลง
  • เกิดสภาวะท่อน้ำดีอักเสบทำให้ไม่สามารถปล่อยเอนไซม์ชนิดนี้ทิ้งไปกับลำไส้เล็กให้ปนไปกับกากอาหารได้ ดังนั้นจึงมีเอนไซม์ตัวนี้ในกระแสเลือดมากเกินไป จนไตต้องเร่งกรองออกทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะให้ได้มากที่สุด ผลตรวจค่า Urine P-Amylase จึงมีสูงมาก
  • เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกจนกระทั่งเกิดการฉีกขาด เป็นผลให้ตรวจพบเอนไซม์ชนิดนี้ในน้ำปัสสาวะมีค่าที่สูงผิดปกติเช่นกัน
  • เกิดสภาวะการอุดกลั้นช่องทางเดินอาหาร ทำให้เอนไซม์ถูกขับออกไปกับกากอาหารน้อยและถูกดึงกลับเข้ากระแสเลือดเป็นส่วนใหญ่ จึงถูกขับออกทางปัสสาวะมากกว่าปกติ
  • เกิดการอุดกั้นท่อของตับอ่อน ทำให้ส่งเอนไซม์ออกไปยังลำไส้เล็กได้น้อยลง

ข้อแนะนำเกี่ยวกับโรคตับอ่อนอักเสบ

  • โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันเป็นโรคไม่รุนแรง สามารถรักษาให้หายภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์
  • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันสามารถเกิดเป็นซ้ำได้ ถ้าไม่รีบรักษาหรือจัดการต้นเหตุได้
  • ตับอ่อนอักเสบในกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมักเกิดจากเซลล์ก่อสารเคมีหลายชนิดเข้าสู่กระแสเลือดและไปก่อให้เกิดการอักเสบในอวัยวะ ต่างๆ ซึ่งพบบ่อยที่ กล้ามเนื้อหัวใจ ปอด และไต ก่อภาวะหายใจล้มเหลวและภาวะหัวใจล้มเหลว และไตวายเฉียบพลัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
  • ในทางการแพทย์จัดเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเป็นโรคที่รุนแรงและรักษาไม่หาย แต่สามารถบรรเทาอาการได้โดยที่ผู้ป่วยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ไปตลอดชีวิต เพราะมักมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นตามมา เช่น อาการปวดท้องเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ภาวะขาดอาหาร โรคเบาหวาน จนส่งผลถึงคุณภาพชีวิตและเป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Ramasubbu, N.; Paloth, V.; Luo, Y.; Brayer, G. D.; Levine, M. J. (1996). “Structure of Human Salivary α-Amylase at 1.6 Å Resolution: Implications for its Role in the Oral Cavity”. Acta Crystallographica Section.

Rejzek, M.; Stevenson, C. E.; Southard, A. M.; Stanley, D.; Denyer, K.; Smith, A. M.; Naldrett, M. J.; Lawson, D. M.; Field, R. A. (2011). “Chemical genetics and cereal starch metabolism: Structural basis of the non-covalent and covalent inhibition of barley β-amylase”. Molecular BioSystems. 7 (3): 718–730.

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Phosphorus

0
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Phosphorus
การตรวจสอบปริมาณของฟอสฟอรัส ที่ถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมงเพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Phosphorus
การตรวจสอบปริมาณของฟอสฟอรัส ที่ถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมงเพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ

Urine Phosphorus

Urine Phosphorus หรือชื่ออื่น Urine Phosphate คือค่าที่ใช้ตรวจสอบปริมาณของฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) ที่ถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมง ซึ่งหากพบค่าที่ผิดไปจากปกติ นั่นอาจแสดงได้ ถึงความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของไต ต่อมพาราไทรอยด์หรือกระดูก เป็นต้น

การตรวจหาค่า Urine Phosphorus

1.เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์และบทบาทของฟอสฟอรัสที่มีต่อร่างกายของมนุษย์

2.สำหรับการตรวจเพื่อหาค่าของฟอสฟอรัส ไม่ว่าจะเป็นการตรวจในเลือดหรือน้ำปัสสาวะจะใช้วิธีที่ง่าย ด้วยการตรวจต่ออนุภาคของเกลือฟอสเฟตนั่นเอง ดังนั้นการตรวจของโรงพยาบาลหลายแห่งจึงมักจะมีชื่อเรียกการตรวจที่ต่างกันไป เช่น “ Urine Phosphate ” หรือ “ Phosphate in Urine ”

3.เพื่อทราบถึงความสำคัญของ Urine Phosphorus ที่มีต่อร่างกายของมนุษย์ โดยหลักๆ ก็มีดังนี้

  • ฟอสฟอรัสเป็นธาตุสำคัญ ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้เพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันร่วมกับแคลเซียม โดยใช้เป็นองค์ประกอบหลักร่วมกันนั่นเอง
  • Urine Phosphorus มีบทบาทในการเสริมสร้างระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมลดการเสื่อมของระบบประสาทอีกด้วย
  • ฟอสฟอรัสช่วยให้กล้ามเนื้อสามารถยืดและหดตัวได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลดีในด้านอื่นๆ อีกด้วย
  • ช่วยในการสร้างดุลยภาพของประจุไฟฟ้า รวมถึงความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย
  • ช่วยในการสร้างเยื่อผนังเซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และเพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังเซลล์มากกว่าเดิม
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม Niacin พร้อมกระตุ้นให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • มีหน้าที่ในการส่งเสริมให้ไตสามารถทำงานได้อย่างเต็มสมรรถภาพมากขึ้น ซึ่งไตก็จะช่วยควบคุมฟอสฟอรัสในร่างกายไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไปเช่นกัน

4.โดยส่วนใหญ่ร่างกายของมนุษย์มักจะไม่มีปัญหาในเรื่องของการขาดแร่ธาตุฟอสฟอรัส เนื่องจากในอาหารส่วนใหญ่จะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัสอยู่แล้ว เว้นแต่ 2 กรณีดังต่อไปนี้

  • เมื่อมีโรคหรือความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้ช่องทางเดินอาหารไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ตามปกติ จึงได้รับฟอสฟอรัสน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
  • เมื่อกินยาในกลุ่ม Antacids อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะยาตัวนี้จะทำให้ผนังภายในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กถูกเคลือบจนไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ตามปกติ จึงทำให้ฟอสฟอรัสที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายมีปริมาณน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการนั่นเอง

5.กรณีที่ระดับของฟอสฟอรัสจะมีค่าสูงขึ้นหรือลดลง อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • Urine Phosphorus ค่าฟอสฟอรัสสูงขึ้น เนื่องมาจาก

1) มีการดูดซึมฟอสฟอรัสจากอาหารมากขึ้น ทำให้ระดับฟอสฟอรัสที่ตรวจพบสูงขึ้นกว่าปกติ

2) เพราะระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลงกว่าปกติเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องมีการสลายกระดูกเพื่อดึงเอาแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ในเลือด ซึ่งก็จะทำให้ฟอสฟอรัสพลอยหลุดออกมาจากกระดูกด้วย และเข้าไปอยู่ในน้ำเลือด จึงตรวจพบค่าฟอสฟอรัสในเลือดได้สูงนั่นเอง

  • ค่าฟอสฟอรัสลดต่ำลง เนื่องมาจากการที่ไตพบว่าฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในเลือดนั้นเริ่มสูงมากเกินไป จึงต้องพยายามกรองออกมาแล้วขับทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะให้ได้มากที่สุด แต่ส่วนใหญ่จะลดลงเพียงแค่ให้เกิดความสมดุลมากขึ้นนั่นเอง

6.และจากกรณีดังกล่าวในข้อ 5 ก็แสดงให้เห็นได้ว่าจะส่งผลให้ระดับฟอสฟอรัสที่ตรวจพบในปัสสาวะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เหมือนกัน ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • การกินอาหาร โดยขึ้นอยู่กับว่าอาหารที่กินเข้าไปนั้นมีฟอสฟอรัสอุดมอยู่มากน้อยแค่ไหน
  • เกิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยต่อมไทรอยด์อาจทำงานมากเกินไป หรือน้อยเกินไป จนส่งผลต่อระดับฟอสฟอรัสได้               
  • ระดับการเผาผลาญแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้ ซึ่งหากมีการเผาผลาญมากน้อยเพียงใดก็จะส่งผลกับระดับฟอสฟอรัสที่ตรวจพบในปัสสาวะด้วยเช่นกัน
  • การทำงานของไตมีความผิดปกติหรือไม่  เพราะไตมีหน้าที่ในการขับทิ้งฟอสฟอรัสออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะโดยตรง หากไตทำงานผิดปกติก็จะส่งผลต่อค่าที่ขึ้นลงได้เหมือนกัน

7.อายุที่มากขึ้นก็มีผลให้ระดับฟอสฟอรัสที่พบในเลือดสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ปกติได้ นั่นก็เพราะว่าไตของมนุษย์จะเริ่มเสื่อมไปตามช่วงอายุ ซึ่งเฉลี่ยแล้วผู้ที่อยู่ในวัย 40 ปีขึ้นไป ไตจะค่อยๆ เสื่อมและมีความสามารถในการขับฟอสฟอรัสออกทางปัสสาวะได้น้อยลง จึงเป็นผลให้ฟอสฟอรัสยังคงสะสมอยู่ในเลือดในปริมาณที่สูงมากด้วยนั่นเอง

อย่างไรก็ตามธาตุฟอสฟอรัสกับแคลเซียมนั้น แม้จะต้องทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง แต่เมื่ออยู่ในกระแสเลือดก็จะกลายเป็นคู่แข่งหรืออริกันไปโดยปริยาย ซึ่งพบว่าหากมีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ก็จะทำให้ค่าแคลเซียมในเลือดต่ำลงไปด้วย

ดังนั้นพาราไทรอยด์ฮอร์โมนจึงต้องเร่งสลายแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ในกระแสเลือดมากขึ้น เพื่อไม่ให้ต่ำไปกว่าระดับฟอสฟอรัสและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในคนสูงอายุจึงมักจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกมากที่สุด โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุนที่พบได้มากในวัย 40 ปีขึ้นไป

ดังนั้นนอกจากการตรวจหา Urine Phosphorus ค่าฟอสฟอรัสในเลือดแล้ว ก็ควรตรวจหาค่าฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในปัสสาวะไปพร้อมกันด้วย ซึ่งหากพบว่าค่าฟอสฟอรัสในเลือดสูงกว่าค่าปกติ ในขณะที่ค่าฟอสฟอรัสในปัสสาวะอยู่ในระดับปกติหรือต่ำกว่าเกณฑ์ ก็สรุปได้เลยว่าไตกำลังมีปัญหาแน่นอน และควรรีบทำการรักษาโดยด่วน

8.การกินยาบางชนิดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการตรวจพบค่าฟอสฟอรัสที่มีในปัสสาวะที่เบี่ยงเบนไปจากค่าที่ควรจะเป็น ซึ่งยาเหล่านี้ก็ได้แก่ กลุ่มยา Diltiazem ที่ใช้ในการรักษาโรคความดันเลือดสูงและโรคหัวใจ กลุ่มยา Diuretics ที่ใช้เพื่อขับน้ำออกจากร่างกายในผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูง กลุ่มยา Aspirin เพื่อใช้เพื่อบรรเทาสภาวะเลือดข้น และกลุ่มยาฮอร์โมนชนิดต่างๆ เป็นต้น

9.ค่าของฟอสฟอรัสและแคลเซียมที่ตรวจได้จากในน้ำปัสสาวะ กรณีที่มากหรือน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ สามารถบ่งชี้ถึงโรคและสภาวะความผิดปกติของร่างกายบางอย่างได้แบบหยาบๆ ดังนี้

ความสัมพันธ์ของระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในน้ำปัสสาวะที่อาจใช้ชี้เบาะแสของโรค
อาจมีสาเหตุจากโรค

( สภาวะผิดปกติ )

แคลเซียมในปัสสาวะ

( ค่าผิดปกติ )

ฟอสฟอรัสในปัสสาวะ

( ค่าผิดปกติ )

1.Hyperparathyroidism
( การเกิดพิษจากวิตามิน ดี )
สูง สูง
2.Vitamin D Intoxication
( การเกิดพิษจากวิตามิน ดี )
สูง ต่ำ
3.Metasatic Carcinoma
( การกระจายตัวของโรคมะเร็ง )
สูง ปกติ
4.Sarcoidosis
( โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันคล้ายมะเร็ง )
สูง ต่ำ
5.Multiple Myelome
( โรคมะเร็งของไขกระดูก )
สูง / ปกติ สูง / ปกติ
6.Hypoparathyroidism
( ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ทำงานมากเกิน )
ต่ำ ต่ำ
7.Nephrosis
( โรคไตเสื่อม )
ต่ำ ต่ำ / ปกติ
8.Acute Nephritis
( สภาวะไตอักเสบเฉียบพลัน )
ต่ำ ต่ำ
9.Renal Insufficiency
( renal failure หรือสภาวะไตวาย )
ต่ำ ต่ำ

 

พาราไทรอยด์ฮอร์โมนจึงต้องเร่งสลายแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ในกระแสเลือดมากขึ้น เพื่อไม่ให้ต่ำไปกว่าระดับฟอสฟอรัสและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

ค่าปกติของ Urine Phosphorus

1.ค่าปกติของ Urine Phosphorus ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ ( ถ้ามี )

2.สำหรับค่าปกติทั่วไปของ Urine Phosphorus จะอยู่ที่

Urine Phosphorus : 0.9 – 1.3 gm/24 hr

ค่าผิดปกติของ Urine Phosphorus

ค่าความผิดปกติของ Urine Phosphorus สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีคือ

1.ค่า Urine Phosphorus ที่ได้น้อยกว่าค่าปกติ อาจแสดงได้ว่า

  • พาราไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป จึงมีการสลายแคลเซียมจากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือดน้อยลง ซึ่งทำให้ฟอสฟอรัสหลุดเข้าสู่กระแสเลือดน้อยลงไปด้วย ดังนั้นฟอสฟอรัสที่ไตกรองออกมาได้แล้วขับทิ้งไปพร้อมกับน้ำปัสสาวะจึงมีปริมาณน้อยมาก และทำให้ตรวจพบค่าที่ต่ำกว่าเกณ์ได้นั่นเอง 
  • เป็นโรคไต เพราะจะทำให้ไตเสื่อมประสิทธิภาพในการกรอง ส่งผลให้กรองฟอสฟอรัสได้น้อยกว่าปกติและขับทิ้งออกไปกับปัสสาวะได้ต่ำมาก โดยกรณีนี้แม้ว่าฟอสฟอรัสในเลือดจะสูงมากเพียงใด แต่ฟอสฟอรัสที่พบในน้ำปัสสาวะกลับมีปริมาณที่น้อยกว่าเกณฑ์
  • เป็นโรคตับ จึงทำให้ตับไม่สามารถรับสารอาหารจากการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดังเดิม เป็นผลให้ไม่สามารถส่งฟอสฟอรัสเข้าสู่กระแสเลือดได้ตามปกติ จึงทำให้ฟอสฟอรัสในเลือดมีค่าต่ำและฟอสฟอรัสในน้ำปัสสาวะก็มีค่าต่ำมากจนผิดปกติเช่นกัน

สาเหตุอาจเกิดมาจากภาวะขาดอาหาร โรคพิษสุราเรื่อรัง โรคเนื้องอกของต่อมพาราไทรอยด์ โรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ ภาวะตับวาย โรคกระดูก ภาวะเลือดเป็นด่าง

2.ค่าที่ได้มากกว่าค่าปกติ อาจแสดงได้ว่า

  • ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกิน จึงมีการสลายกระดูกเพื่อดึงแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินความจำเป็น และทำให้ฟอสฟอรัสพลอยหลุดเข้าสู่กระแสเลือดมากไปด้วย ซึ่งก็ทำให้ไตต้องรับหน้าที่ในการกรองฟอสฟอรัสออกไปกับน้ำปัสสาวะอย่างหนัก เป็นผลให้ตรวจพบค่าฟอสฟอรัสในน้ำปัสสาวะสูงมากเกินเกณฑ์ที่กำหนดนั่นเอง
  • เป็นโรคไตแบบสิ้นสภาพ นั่นคือไตไม่สามารถที่จะกรองหรือดูดซึมสารใดๆ กลับได้อีก รวมถึงฟอสฟอรัสด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงอาจตรวจพบค่าฟอสฟอรัสในน้ำปัสสาวะที่สูงกว่าปกติได้ โดยหากสังเกตจะพบว่าไม่ว่าค่าฟอสฟอรัสจะสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ ก็อาจบ่งชี้ได้ว่าเป็นโรคไตทั้งสิ้น
  • ร่างกายขาดวิตามินดีหรือมีวิตามินดีอยู่ในปริมาณที่น้อยเกินไป ทำให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมจากอาหารมาใช้ประโยชน์ได้ต่ำ เป็นผลให้แคลเซียมในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ และเดือดร้อนพาราไทรอยด์ฮอร์โมนที่จะต้องสลายกระดูกเพื่อดึงแคลเซียมออกมาใช้ ซึ่งก็ส่งผลให้ฟอสฟอรัสหลุดออกมาด้วยและตรวจพบว่ามีค่าที่สูงกว่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง
  • ร่างกายอาจได้รับวิตามินดีมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการเป็นพิษและมีการดึงเอาแคลเซียมจากอาหารมาสู่กระแสเลือดมากเกินจำเป็น และเมื่อแคลเซียมในเลือดมีระดับสูง ก็จะต้องขับฟอสฟอรัสออกทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะในปริมาณมากด้วย จึงเป็นผลให้พบค่าฟอสฟอรัสที่สูงมากในปัสสาวะ ซึ่งหากสังเกตก็จะพบว่า การตรวจพบค่าฟอสฟอรัสในปัสสาวะสูงกว่าปกติ อาจเป็นได้ทั้งจากการได้รับวิตามินดีมากหรือน้อยเกินไปเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับวิตามินดีมากจนเกินพิษ ก็จะทำให้กระบวนการขั้นต้นหยุดยั้งลงและส่งผลให้ฟอสฟอรัสหลุดออกสู่น้ำปัสสาวะน้อยลงเช่นกัน             
  • เกิดสภาวะโรคกระดูก เพราะจากการที่พบฟอสฟอรัสในปัสสาวะสูงเกินปกติ นั่นแสดงได้ว่าร่างกายได้มีการสลายแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ฟอสฟอรัสพลอยหลุดออกมาเข้าสู่กระแสเลือดเยอะจนไตต้องเร่งกรองออกเช่นกัน และด้วยเหตุนี้ผลที่ตามมาจึงไม่พ้นปัญหาโรคกระดูกอย่างแน่นอน โดยเฉพาะโรคกระดูกน่วมและกระดูกพรุน

สาเหตุอาจเกิดมาจากโรคไต โรคของต่อมพาราไทรอยด์ ภาวะความเป็นกรด-ด่างของร่างกายที่ผิดปกติ

เพราะฉะนั้นหากตรวจพบว่าระดับฟอสฟอรัสในน้ำปัสสาวะมีความสูงหรือต่ำกว่าปกติ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะปัญหาสุขภาพอาจแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์และทำการตรวจให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้ค่า Urine Phosphorus มีระดับที่ผิดปกติ พร้อมกับทำการรักษาอย่างเร่งด่วนก่อนที่อาการป่วยจะรุนแรงมากกว่าเดิมนั่นเอง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี เพราะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของกระดูกมากที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Shemesh O, Golbetz H, Kriss JP, Myers BD (November 1985). “Limitations of creatinine as a filtration marker in glomerulopathic patients”. Kidney Int. 25.

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Calcium

0
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Calcium
การตรวจวัดค่าแคลเซียมที่ถูกขับทิ้งออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะในรอบวัน
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Calcium
การตรวจวัดค่าแคลเซียมที่ถูกขับทิ้งออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะในรอบวัน

Urine Calcium

การตรวจหาค่า Urine Calcium หรือ Urinary Calcium มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดค่าแคลเซียม ( Calcium ) ที่ถูกขับทิ้งออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมงซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจนั้นจะ สามารถบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้ดี ทั้งยังบอกถึงภาวการณ์เป็นโรคบางอย่างในชั้นต้นได้อีกด้วย เช่น

  1. ต่อมพาราไทรอยด์ ( Parathyroid Glands )

2. ไต

3. สุขภาพของกระดูก

การตรวจหาค่า Urine Calcium สามารถสรุปได้ ดังนี้ 

1. ในร่างกายของมนุษย์เราจะมี Urine Calcium แคลเซียมประกอบอยู่ประมาณ 1,200 กรัม ซึ่งอาจพบในรูปของกระดูกและฟันประมาณ 99% และที่เหลืออีก 1% ก็จะพบได้ในรูปของสารละลายในของเหลวนั่นเอง

2. สำหรับแคลเซียม 1% ที่พบในรูปสารละลายในของเหลว ก็อาจพบได้จากภายในเซลล์ทั่วร่างกายและบริเวณเซลล์นอกร่างกาย รวมถึงในน้ำเลือดด้วย

3. การเคลื่อนไหวของธาตุแคลเซียมภายในร่างกาย แบ่งออกเป็น

  • หากพบว่าค่า Urine Calcium แคลเซียมในน้ำเลือดมีความต่ำกว่าปกติ ต่อมพาราไทรอยด์จะทำหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมน PTH ออกมาอย่างเร่งด่วน เพื่อดึงเอาแคลเซียมในกระดูกออกมาส่งให้กับน้ำเลือด เพื่อปรับแคลเซียมในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติและสมดุลที่สุด
  • และในขณะเดียวกันนี้เอง ต่อมพาราไทรอยด์ฮอร์โมน ก็จะรีบส่งสัญญาณให้ไตปล่อยวิตามินดีออกมา เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมเร็วขึ้น เพื่อนำส่งไปยังน้ำเลือดอย่างเร่งด่วนเช่นกัน ดังนั้นจึงมองเห็นถึงความสำคัญได้ว่า วิตามินดีและอาหารที่มีแคลเซียมสูงนั้นถือเป็นองค์ประกอบหลักที่จะขาดไม่ได้เลยทีเดียว
  • ต่อมพาราไทรอยด์จะทำหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือการปล่อยฮอร์โมนออกไปเพื่อยับยั้งไม่ให้ไตปล่อยแคลเซียมทิ้งออกทางปัสสาวะมากเกินไป เพื่อดูดซึมแคลเซียมกลับมาใช้ดังเดิมนั่นเอง

4. สืบเนื่องจากข้อ 3 จะเห็นได้ว่าการรักษาดุลยภาพของแคลเซียมในร่างกายนั้น จะมีกลไกการทำงานของร่างกายที่สัมพันธ์ ดังนั้นหากตรวจพบว่าค่าแคลเซียมในน้ำปัสสาวะมีมากหรือน้อยกว่าค่ามาตรฐานที่ได้กำหนดเอาไว้ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติของไตและต่อมพาราไทรอยด์ รวมถึงอาจมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องนี้เช่นกัน

5. สำหรับสภาวะที่ตรวจพบว่าแคลเซียมในน้ำปัสสาวะมีมากหรือน้อยเกินไป จะมีศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้เรียกโดยเฉพาะดังนี้

Hypercalciuria = แคลเซียมในน้ำปัสสาวะสูง
Hypocalciuria = แคลเซียมในน้ำปัสสาวะต่ำ
Hyper = มาก, สูง
Hypo = น้อย, ต่ำ
Calci = Calcium = แคลเซียม
Uria = Urine = ปัสสาวะ

ค่าปกติของ Urine Calcium

1. ค่าความปกติของ Urine Calcium ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานการตรวจปัสสาวะ ( ถ้ามี )

2. สำหรับค่าปกติโดยทั่วไปจะอยู่ที่

Urine Calcium : 100 – 300 mg/24 hr

 

ค่าปกติของ Urine Calcium

1. เมื่อตรวจพบว่า Urine Calcium น้อยกว่าปกติ อาจแสดงได้ว่า

  • ต่อมพาราไทรอยด์มีการปล่อยฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไป จึงมีการดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ในเลือดได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลงและมีการเหลือทิ้งออกทางปัสสาวะน้อยมากเช่นกัน ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้อาจเกิดจากมีเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดสภาวะพร่องฮอร์โมนพาราไทรอยด์ก็ได้
  • ร่างกายขาดวิตามินดี หรือมีวิตามินดีในปริมาณน้อยมาก จึงไม่สามารถเร่งให้ลำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมในปริมาณมากขึ้นเพื่อเอามาใช้ในกระแสเลือดได้ และทำให้แคลเซียมถูกปล่อยทิ้งไปกับกากอาหารเป็นส่วนใหญ่อีกด้วย และด้วยเหตุนี้จึงพบแคลเซียมในเลือดค่อนข้างต่ำมาก และแทบไม่มีแคลเซียมเหลือให้ไตขับทิ้งออกทางปัสสาวะเลยทีเดียว
  • กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อยเกินไป จนทำให้ Urine Calcium ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ซึ่งสาเหตุนี้ แม้ว่าพาราไทรอยด์ฮอร์โมนจะทำงานปกติและมีวิตามินดีอย่างสมบูรณ์ ก็ไม่สามารถหาแคลเซียมมาใช้ได้อย่างเพียงพออยู่ดี และไม่เหลือแคลเซียมให้ถูกขับทิ้งทางปัสสาวะอีกด้วย จึงทำให้ตรวจพบแคลเซียมในปัสสาวะต่ำมากหรือไม่มีเลย
  • การกินยาบางชนิดอย่างต่อเนื่องที่มีผลทำให้แคลเซียมลดน้อยลง เช่น ยาขับปัสสาวะ ( Thiazide diuretics ) และยาคุมกำเนิดแบบกิน เป็นต้น

2. เมื่อตรวจพบว่าค่า Urine Calcium มากกว่าปกติ อาจแสดงได้ว่า

  • ฮอร์โมนพาราไทรอยด์มีการทำงานมากเกินไป จึงทำให้แคลเซียมในเลือดมีระดับที่สูงกว่าปกติ และยังไปกระตุ้นให้ไตปล่อยทิ้งแคลเซียมออกทางปัสสาวะในปริมาณมากอีกด้วย จึงเป็นผลให้ตรวจพบค่าแคลเซียมในปัสสาวะที่อยู่ในระดับสูงเกินนั่นเอง 
  • การกินอาหารที่มีวิตามินดีสูง จนเกิดสภาวะเป็นพิษจากวิตามินดี ซึ่งก็ไปเร่งให้ลำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมจากอาหารในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ทำให้ Urine Calcium ในไตต้องขับแคลเซียมส่วนเกินออกทางปัสสาวะในปริมาณมาก จึงตรวจพบแคลเซียมในปัสสาวะที่สูงกว่าปกตินั่นเอง

ดร.เอิร์ท มินเดล ( Earl Mindell, R.P.H., Ph.D. ) ปรมาจารย์ในด้านเภสัชวิทยา ได้แสดงตัวเลขไว้ในหนังสือที่ดังมากที่สุดของท่านเล่มหนึ่งคือ “Vitamin Bible” ว่า ปริมาณวิตามิน ดี ซึ่งอาจจะก่อพิษให้ร่างกายนั้น คือ

ผู้ใหญ่ : มากกว่าวันละ 20,000 IU
เด็ก : มากกว่าวันละ 1,800 IU

 

  • เกิดจากสภาวะไตวาย เพราะเมื่อไตหย่อนสมรรภภาพหรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ก็จะมีการปล่อยทิ้งแคลเซียมออกไปกับปัสสาวะในปริมาณมากอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นในผู้ป่วยไตวายจึงมักจะตรวจพบค่า Urine Calcium ที่สูงกว่าปกติเสมอ
  • เกิดสภาวะเป็นพิษจากกรดในร่างกาย เนื่องจากมีความบกพร่องของกรวยไต ทำให้เกิดการทิ้งกรดให้สะสมในน้ำเลือดเป็นจำนวนมาก และเนื่องจากธรรมชาติของร่างกายแล้ว จะต้องพยายามรักษาดุลยภาพระหว่างกรดด่างให้ได้มากที่สุด จึงต้องมีการสลายแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้เพื่อสะเทินต่อความเป็นกรดในเลือด ทำให้มีแคลเซียมในเลือดสูง และต่อมาไตก็จะต้องทำการปล่อยทิ้งแคลเซียมออกมากับน้ำปัสสาวะในปริมาณมาก จึงตรวจพบค่า Urine Calcium สูงกว่าปกตินั่นเอง นอกจากนี้ในสภาวะดังกล่าวนี้ก็อาจก่อให้เกิดภาวะของโรค RTA ได้อีกด้วย ซึ่งหากปล่อยไว้นานๆ ก็จะทำให้เป็นโรคกระดูกอ่อน กระดูกผิดรูปหรือโรคกระดูกน่วมได้เลยทีเดียว
  • เป็นโรคมะเร็งกระดูกหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่ลุกลามไปจนถึงกระดูก ซึ่งจะทำให้แคลเซียมในกระดูกหลุดลอยออกมาเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณที่สูงมาก ส่งผลให้ต้องขับทิ้งออกอย่างเร่งด่วน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ตรวจพบค่าแคลเซียมในน้ำปัสสาวะที่สูงเกินปกติได้เช่นกัน ซึ่งหากพบว่าอาจเกิดจากโรคมะเร็ง แพทย์ก็จะทำการตรวจคัดกรองเพื่อหามะเร็งในทันที
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โดยมีการหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินไปจนทำให้เกิดเป็นพิษ ซึ่งแพทย์จะเรียกภาวะเช่นนี้ว่า “ โรคไทรอยด์เป็นพิษ ” ( Thyrotoxicosis, thyro = ไทรอยด์, toxic = พิษ, osis = สภาวะ, โรค ) โดยโรคนี้นับว่าเป็นโรคที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก จึงไม่ควรชะล่าใจเด็ดขาด โดยมีสิ่งที่ควรรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไทรอยด์เป็นพิษดังนี้

อาการ ( Symptoms ) โดยเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ป่วยสามารถสังเกตถึงความผิดปกตินี้ได้ด้วยตนเอง เช่น อาการใจสั่น ทนความร้อนไม่ได้ นอนไม่หลับ หงุดหงิดบ่อย หายใจสั่น อ่อนเพลียตลอดเวลา ถ่ายบ่อยคล้ายกับท้องเสีย และหากเป็นสตรีก็อาจมีประจำเดือนที่ผิดปกติด้วยเช่นกัน

สัญญาณ ( Signs ) คือสิ่งผิดปกติของโรคที่แพทย์สังเกตเห็นและตรวจพบได้ ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยว่าเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ โดยสัญญาณที่พบได้ก็คือ ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ มีอาการมือสั่น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือลดลงอย่างรวดเร็วทั้งที่กินจุและหิวบ่อยมาก มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและผิวหนังดูอุ่นชื้นอยู่เสมอ นอกจากนี้บางคนก็อาจมีอาการเหม่อลอยและผมร่วงมากกว่าปกติอีกด้วย

โดยสัญญาณเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นจะมีการเผาผลาญอาหารมากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกหิวบ่อยและกินจุมากขึ้น และถ่ายออกเร็วกว่าปกติ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารจึงเป็นผลให้น้ำหนักไม่ขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งยังทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย และเนื่องจากการได้รับสารอาหารน้อยเกินไป จึงทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่น้อยมากเช่นกัน เป็นผลให้ต้องมีการสลายแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้งาน ซึ่งหากมากเกินไปก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้สูงอีกด้วย

สภาวะร่างกายขาดน้ำ ( Dehydration ) ซึ่งทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิมและอาจตรวจพบปริมาณของแคลเซียมที่สูงกว่าปกติได้ โดยสามารถแก้ได้ด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อลดสภาวะขาดน้ำและทำให้ความเข้มข้นของปัสสาวะลดต่ำลงนั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Verónica Jiménez; Joel B. Alderete (Nov 30, 2005). “Theoretical calculations on the tautomerism of uric acid in gas phase and aqueous solution”. Journal of Molecular Structure: THEOCHEM. 755: 209–214.

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

0
ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ความหวัง กำลังใจ
สิ่งที่สำคัญและผู้ป่วยต้องการมากที่สุดก็คือกำลังใจจากคนรอบข้าง บุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง
ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ความหวัง กำลังใจ
ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายปกติ ขึ้นอยู่ว่าผู้ป่วยทำได้มากน้อยขนาดไหน และได้รับการพักผ่อนที่ดีและเหมาะสม

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ต้องดูแลเป็นพิเศษ ทั้งเรื่องอาหารการกินและการใช้ชีวิต มะเร็ง เป็นโรคไม่ติดต่อที่มีความรุนแรงของโรคสูงชนิดหนึ่ง ในแต่ละปีจะมีผู้ยอดเสียชีวิตจากโรคมะเร็งชนิดต่างๆเป็นจำนวนมากในทั่วโลกหลายล้านคน รวมถึงในประเทศไทย มะเร็งก็เป็นโรคที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงมากด้วยเช่นกัน สาเหตุ หลักๆ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก นอกจากความรุนแรงของโรคแล้วก็คือ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะรู้ว่าตนเองมีเชื้อมะเร็งอยู่ในร่างกาย ก็มักจะเป็นอาการของโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจาย หรือ มะเร็งในระยะท้ายๆแล้ว ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยเราจะเรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า “ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ”

ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย คือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งชนิดต่างๆและมีอาการอยู่ในระยะท้ายๆ เชื้อมะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เป็นปกติแล้ว แต่แพทย์จะใช้วิธีการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิต การรู้ว่าป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายก็คงสร้างความตกใจให้ไม่น้อยสำหรับตัวผู้ป่วยเองและญาติพี่น้อง ผู้ป่วยหลายคนทำใจได้ยากที่จะต้องยอมรับกับเรื่องนี้ จนทำให้บางคนอาจคิดสั้นถึงการทำร้ายตนเองได้เลย

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในระหว่างที่ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ สิ่งที่สำคัญและผู้ป่วยต้องการมากที่สุดก็คือกำลังใจจากคนรอบข้าง บุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ตลอดจนบุคลกรทางการแพทย์ผู้ให้การรักษา

เพราะเป็นผู้ที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากสุดในระหว่างการทำการรักษา และพยาบาลยังเป็นบุคคลที่ผู้ป่วยให้ความไว้วางใจและเชื่อใจในการรักษาโรคมะเร็ง เป็นผู้ทำให้ผู้ป่วยมีความหวังและกำลังใจที่จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่เหลืออยู่กับครอบครัวได้อย่างปกติ กล้าเผชิญกับปัญหาของโรคร้ายหรือการลุกลามของโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วยความมั่นใจ ไม่หวาดกลัวใดๆ

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มักต้องการกลับไปอยู่ที่บ้าน

ผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรค มะเร็งระยะสุดท้าย และสามารถทำใจได้ในเบื้องต้นแล้วก็มักอยากจะกลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน มากกว่าการต้องใช้ชีวิตอยู่ในโรงพยาบาลตลอด การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้านจึงต้องอาศัยแรงกาย แรงใจอย่างยิ่ง ซึ่งการที่จะนำผู้ป่วยมะเร็งกลับมาอยู่บ้านได้นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษาว่าสามารถอนุญาตให้รับผู้ป่วยกลับมารักษาตัวที่บ้านได้หรือไม่ ซึ่งหากแพทย์อนุญาตให้ทำได้ ทางผู้ที่เป็นบุคคลในครอบครัวหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย จะต้องมีการเตรียมตัวเพื่อศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในเบื้องต้นไว้ด้วย ซึ่งวิธีการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในเบื้องต้นสามารถได้ดังต่อไปนี้

ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เชื้อมะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เป็นปกติ แพทย์จะใช้วิธีการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย สามารถทำได้ดังนี้

1. หากิจกรรมให้ผู้ป่วยให้ทำ

โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเครียดหรือหงุดหงิดที่ต้องกลับมาบ้านแล้วอยู่เฉยๆ ไม่มีอะไรให้ทำ ได้แต่นั่งๆนอนๆ ดังนั้นเพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จึงควรหากิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ทำ เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ เล่นเกม การฝึกสมาธิ ทำการฝีมือ หรืองานอดิเรกอื่นๆ ที่ผู้ป่วยชื่นชอบก็ได้ รวมถึงการพาผู้ป่วยไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ที่มีอากาศปลอดโปร่ง ไม่แออัด เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง

2. เตรียมพร้อมรองรับสภาวะอารมณ์ที่แปรปรวนของผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ในช่วงแรกๆที่กลับมารักษาตัวที่บ้าน เมื่อต้องอยู่ที่บ้านเฉยๆ ผู้ป่วยมักจะมีภาวะอารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล เกิดภาวะการนอนไม่หลับขึ้นได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะลดน้อยลงเมื่อผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ บุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิด ควรพูดให้กำลังใจผู้ป่วย และต้องยอมรับพฤติกรรมการตอบสนองของผู้ป่วยที่อาจจะมีอารมณ์ที่ค่อนข้างแปรปรวน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรช่วยสนับสนุนหรือหากิจกรรมให้ผู้ป่วยได้แสดงออกในทางที่สร้างสรรค์ จะสามารถช่วยป้องกันความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ และช่วยให้ผู้ป่วยได้มีกำลังใจในการเผชิญกับโรคร้ายต่อไปได้

3. หมั่นสังเกตอาการความผิดปกติของผู้ป่วย

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว ต้องคอยหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย ว่ามีความผิดปกติหรือไม่อย่างไร หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยทันที เช่น หากผู้ป่วยมีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกันนานเกิน 2 วัน ให้มาพบแพทย์โดย ไม่ต้องรอให้ถึงวันนัดของแพทย์ นอกจากนี้ยังมีอาการต่างๆ ที่ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจ ได้แก่ มีแผลอักเสบบวมแดง เกิดแผลเป็นมีหนองน้ำและเหลืองไหลออกจากแผล มีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก มีอาการบวมตามร่างกาย เป็นต้น

4. การดูแลผู้ป่วยที่มีแผลการผ่าตัด

ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารีบการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการมะเร็งตามคำสั่งของแพทย์ ซึ่งผู้ใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวต้องเรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เมื่อกลับมาพักรักษาตัวที่บ้าน โดยเฉพาะวิธีในการดูแลทำความสะอาดแผลก็จะแตกต่างกันไป การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งที่ผ่าตัด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของศัลยแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลแผล หลังจากผ่าตัดใหม่ๆ 5-7 วันแรกไม่ควรให้แผลถูกน้ำและไม่ควรใช้แป้งใดโรยแผล เพราะอาจเกิดการอักเสบของแผลได้ นอกจากนี้ เมื่อแผลผ่าตัดหายดีแล้ว ก็สามารถที่จะให้ผู้ป่วยอาบน้ำ โดยใช้สบู่ลูบเบาๆ บริเวณแผล และใช้ผ้าเช็ดตัวนุ่มๆ ซับเบาๆ ให้แผลแห้งได้

5. การทานอาหารของผู้ป่วย

หากไม่มีคำสั่งการห้ามใดๆ จากแพทย์เกี่ยวกับอาหาร การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยก็สามารถทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเลือกและจัดอาหารที่ดีมีประโยชน์ สารอาหารครบ 5 หมู่ ให้กับผู้ป่วย เลี่ยงการให้ผู้ป่วยทานอาหารที่มีสารกระตุ้นมะเร็งอย่างเช่น อาหารปิ้งย่าง รวมทั้งควรติดตามดูน้ำหนักตัวอย่างสม่ำเสมอไม่ให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักที่เกินมาตรฐาน

6. การออกกำลังกาย

ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายปกติ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่า จะทำได้มากน้อยขนาดไหน แต่หากมีอาการเหนื่อย หรือความผิดปกติใดๆเกิดขึ้น ควรหยุดออกกำลังกายทันที การเดินออกกำลังเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่ควรทำหลังจากเข้ารับการผ่าตัด โดยในช่วงเริ่มต้นควรเดินในระยะสั้นๆก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มระยะทางให้มากขึ้น

7. การพักผ่อน

ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนที่ดีและเหมาะสม ควรหาเวลานอนพักให้บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากออกจากโรงพยาบาลใหม่ๆ และควรมีการวางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการอ่อนเพลียของผู้ป่วย นอกจากนี้ควรหาเวลาพักผ่อนในตอนกลางวัน อย่างน้อยวันละ 20 นาที ให้กับผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยอาจจะไม่จำเป็นต้องนอนให้หลับ เพียงแต่ให้เกิดการพักผ่อนให้กับผู้ป่วย ส่วนในช่วงกลางคืนผู้ป่วยต้องพยายามนอนให้ได้วันละ 8-10 ชั่วโมง

8. การมีเพศสัมพันธ์

ผู้ป่วยยังคงมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ แต่ต้องระมัดเรื่องความอ่อนเพลียของร่างกาย รวมถึงผู้ที่มีแผลจากการผ่าตัดเพราะอาจจะเกิดความกระทบกระเทือนแผลได้

9. การให้กำลังใจจากคนรอบข้าง

กำลังใจจาก คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยมะเร็งในทุกระยะ เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวและยอมรับถึงภาวะในปัจจุบันที่เป็นอยู่ได้ ทำให้ผู้ป่วยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการรักษาโรคจากทางแพทย์ ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีความสุข และพร้อมจะต่อสู้กับโรคร้ายจนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้ายในชีวิตของเขา

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ความปวดกับมะเร็ง

อาการของผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถพบได้เกือบทุกชนิดคือ อาการปวดต่างๆตามบริเวณร่างกาย ซึ่งอาจเกิดได้จากเชื้อมะเร็งเอง หรืออาจเป็นอาการปวดจากการเข้ารับการรักษามะเร็งก็ได้ อาการปวด เป็นความรู้สึกที่ส่งผลอย่างมากในการทำลายความสุขของผู้ป่วยโรคมะเร็ง และยังคอยรบกวนการประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆอีกด้วย โดยอาการปวดอาจจะปวดตลอดเวลาหรือปวดเป็นบางช่วงเวลา หรือบางคนอาจจะไม่ปวดเลย ก็ขึ้นอยู่กับ ชนิดของโรค สภาพร่าง กายและจิตใจผู้ป่วย และระยะของมะเร็งที่เป็น โดยผู้ป่วยที่เป็น มะเร็งระยะสุดท้าย มักจะมีอาการปวดที่มากกว่ามะเร็งในระยะแรกๆ หากผู้ป่วยมีจิตใจที่อ่อนแอ หรือมีอาการเครียด วิตกกังวล หรือมีร่างกายที่อ่อนล้า จะมีส่วนทำให้ความปวดที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้นได้ด้วย

หากผู้ป่วยมีอาการปวดมากๆ ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที เพื่อที่แพทย์จะได้หาวิธีในการรักษาอาการปวดต่างๆ เหล่านี้ให้คลายและเบาลงได้ และอย่าเพิ่งเบื้อกับการซักถามอาการปวดซ้ำๆที่แพทย์หรือพยาบาลต้องถามบ่อยๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน และนำไปใช้ในการรักษานั้นเอง ซึ่งคำถามที่แพทย์มักถามผู้ป่วยบ่อยๆ เช่น

  • รู้สึกปวดตั้งแต่เมื่อไร
  • ปวดตรงบริเวณไหนบ้าง
  • ปวดอย่างไร
  • ช่วงเวลาความถี่ของการเกิดอาการปวด
  • ความรุนแรงในการปวด
  • ปัจจัยที่ทำให้ความปวดลดลงหรือเพิ่มขึ้น
  • วิธีบำบัดที่เคยได้รับมาก่อนรวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
  • อื่นๆ ตามการวินิจฉัยจากแพทย์

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากการบำบัดความปวดจากมะเร็ง

ในการรักษาอาการปวด โดยส่วนมากแพทย์จะให้ยา ที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวด ซึ่งมีด้วยกันหลายชนิด แพทย์จะพิจารณาให้ยาตามสาเหตุและความรุนแรงของอาการ การใช้ยาแก้ปวดอาจใช้เพียงหนึ่งชนิด หรือใช้ร่วมกันมากกว่าหนึ่งชนิดก็ได้ แต่ก็อาจจะถูกนำมาใช้บำบัดร่วมกับวิธีการบำบัดอื่นๆได้ด้วย

ยาชนิดที่มักจะนิยมนำมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็ง คือ ยาในกลุ่มมอร์ฟีน ซึ่งอยู่ในรูปแบบ การรับประทาน ปิดบนผิวหนัง อมใต้ลิ้น หรือเหน็บทางทวารหนัก แต่ยาชนิดนี้ต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์แล้วเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้เองโดยไม่ผ่านแพทย์หรือใช้ตามที่คนอื่นแนะนำมาเด็ดขาด เนื่องจาก ยาแก้ปวดทุกชนิดโดยเฉพาะยากลุ่มมอร์ฟีน อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ปวดศีรษะ คอแห้ง งุนงง ง่วงซึม สับสน ท้องผูก คลื่นไส้ หากมีอาการผิดปกติ ให้หยุดยาก่อนชั่วคราวและรีบไปปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาโดยทันที ปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่มีความปวดมากกว่าร้อยละ 80 สามารถควบคุมอาการปวดได้ในระดับที่ผู้ป่วยพอใจโดยการให้ยาแก้ปวดชนิด รับประทาน การอมยาไว้ใต้ลิ้น ใช้วิธีปิดบนผิวหนัง หรือเหน็บทางทวารหนักเท่านั้น

นอกจากนี้ยาในกลุ่มที่รักษาอาการปวดหลายชนิด โดยเฉพาะที่ใช้บำบัดชนิดความปวดชนิดรุนแรง หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้ ร่างกายอาจจะเกิดภาวะชินต่อยาชนิดนั้นได้ หรือเมื่อได้รัยยาติดต่อกันเป็นเวลานานแล้วมีการหยุดยาแบบกะทันหัน ก็อาจจะเกิดภาวะร่างกายเกิดอาการขาดยาขึ้นได้ ซึ่งอาการนี้ไม่ใช่สภาพของการติดยาแต่อย่างใด แต่ให้รีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังกล่าว การใช้ยาอย่างถูกวิธี โดยปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะไม่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดยา หรือ ภาวะการดื้อยา ดังนั้นผู้ป่วยต้องปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนที่จะทานยาอะไรก็แล้วแต่

สิ่งที่ผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้ายต้องการ คงไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทอง การอยู่ในบ้านหลังใหญ่ แสนสะดวกสบาย แต่สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุดก็คือ ความรัก ความเข้าใจ การเอาใจใส่และกำลังใจ ทั้งจากคนในครอบครัว คนใกล้ชิด เพื่อนสนิท มิตรสหายต่างๆ รวมถึงบุคลาการทางการแพทย์ที่ให้การรักษากับผู้ป่วยด้วย การที่ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีก็จะช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะอยู่จะสู้กับโรคร้ายต่อไปในทุกๆวัน แต่หากผู้ป่วยมีกำลังใจที่ไม่ดีแล้วละก็จะยิ่งทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรม และอาจจะเสียชีวิตในเวลาอันสั้นก็เป็นไปได้เช่นกัน

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง 

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0

Tongaonkar HB, Desai SB (September 2005). “Benign mixed epithelial stromal tumor of the renal pelvis with exophytic growth: case report”. Int Semin Surg Oncol. 2: 18. PMC 1215508 Freely accessible. PMID 16150156.

การตรวจปัสสาวะหาค่า กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

0
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Uric acid
การหาค่ากรดยูริกในน้ำปัสสาวะเพื่อหาความผิดปกติที่ทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Uric acid
การหาค่ากรดยูริกในน้ำปัสสาวะ เพื่อหาความผิดปกติที่ทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ

กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

การตรวจหาค่า กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid มีวัตถุประสงค์เพื่อการหาค่า กรดยูริก ( Uric acid ) ในน้ำปัสสาวะว่ามีสูงหรือต่ำมากน้อยเพียงใด และยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะผิดปกติที่อาจโยงไปถึงการป่วยด้วยโรคร้ายแรงบางอย่างได้อีกด้วย ยก ตัวอย่างเช่น

  1. โรคเกาต์
  2. โรคเกี่ยวกับไต
  3. โรคมะเร็ง
  4. โรคของกล้ามเนื้อ
  5. โรคที่เกิดจากพิษของโลหะ ( ที่ร่างกายได้รับสะสมมากเกินไปจนเป็นอันตราย )

กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

1. กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยตับ ซึ่งตับจะทำหน้าที่ในการแยกสลายสารพิวรีนออกมาเมื่อพบว่ามีสารพิวรีนอยู่ในเลือดมากเกินไป โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมีการสร้างสารพิวรีนขึ้นมาใช้เองอยู่แล้ว เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของสารชีวโมเลกุลในการสร้าง DNA โดยจะสร้างจากสารชีวโมเลกุล 2 ฐาน คือ 1) Purine Bases และ 2) Pyrimidine Bases ดังนั้นร่างกายของคนเราจึงจะขาดสารพิวรีนไม่ได้เด็ดขาด แต่หากได้รับมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็อาจเป็นผลเสียได้เหมือนกัน นั่นก็เพราะหากตับ ทำหน้าที่ในการสลายสารพิวรีนจนเพลิน เป็นผลให้พิวรีนถูกสลายออกไปมากเกิน ก็จะทำให้เกิดการขาดวัตถุดิบในการสร้าง DNA ที่สมบูรณ์แบบ และในที่สุดก็เกิดการผิดเพี้ยนจนกลายพันธุ์ไปจากเดิมหรือกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด

2. กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid โดยส่วนมากแล้วตับจะทำการส่งกรดยูริกเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณ 75% เพื่อขับออกทางปัสสาวะต่อไป และส่งออกทางท่อน้ำดีประมาณ 25% เพื่อขับทิ้งผ่านทางลำไส้เล็กโดยปนไปกับกากอาหาร ซึ่งทั้งนี้หากไตทำงานได้อย่างเป็นปกติ การถูกขับทิ้งของกรดยูริกก็จะเป็นดังนี้เสมอ แต่หากไตผิดปกติ ก็จะทำให้ Urine Uric acid ยังคงค้างอยู่ในกระแสเลือดสูง และมีการขับออกในปริมาณที่น้อยนั่นเอง นอกจากนี้จะต้องมีการขับทิ้งกรดยูริกออกไปกับน้ำปัสสาวะในปริมาณที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป ในรอบ 24 ชั่วโมงอีกด้วย ซึ่งจะได้ผลการตรวจ Urine Uric Acid ในค่าที่เป็นปกติ

3.หากตรวจพบว่าเลือดมีค่าของกรดยูริกที่สูงเกินกว่าระดับที่ควรจะเป็น แพทย์จะลงความเห็นว่ามีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเกาต์หรือสภาวะปวดข้ออย่างรุนแรงสูง และยังทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น เนื่องจากต้องกรองและขับกรดยูริกออกทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะมากกว่าปกตินั่นเอง โดยภาวะที่กรดยูริกในน้ำปัสสาวะเข้มข้นสูงกว่าเกณฑ์ จะมีศัพท์ทางแพทย์เรียกว่า “ Urincosuria ” และด้วยความเข้มข้นที่สูงมากเกินไปนี้ ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วในไตได้อีกด้วย

ประเภทของนิ่วในระบบปัสสาวะ

  • นิ่วไต ( Nephrolithiasis ) เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกกลายเป็นหินปูคริสตัลที่ติดอยู่ในไต และไปปิดกั้นการไหลผ่านเข้า-ออก ของของเหลวภายในไตจนส่งผลให้ไตไม่สามารถผลิตน้ำปัสสาวะออกมาในปริมาณที่ปกติได้ และเกิดการอักเสบตามมาในที่สุด
  • นิ่วท่อไต ( Ureterolithiasis ) เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกที่เกิดขึ้นบริเวณท่อไตก่อนจะถึงกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งปิดกั้นการไหลของปัสสาวะจากไต ทำให้น้ำปัสสาวะไม่สามารถผ่านไปสู่กระเพาะปัสสาวะได้ในอัตราปกติ

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการมี Uric Acid ในเลือดสูงมากกว่าปกติอาจนำไปสู่การเป็นโรคร้ายต่างๆ ได้ โดยเฉพาะโรคเกาต์และโรคนิ่วในไต เพราะฉะนั้นหากพบค่าดังกล่าวผิดปกติ ไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด

ค่าปกติของ กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

  1. สำหรับค่าปกติของ Urine Uric Acid ให้ยึดถือเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ ( ถ้ามี )

2. โดยค่าปกติทั่วไปจะอยู่ที่

ผู้ชาย Urine Uric Acid : 250 – 800 mg/24 hr
ผู้หญิง Urine Uric Acid : 250 – 750 mg/24 hr

 

ค่าผิดปกติของ กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

1. ในทางน้อย อาจแสดงได้ว่า

  • เป็นโรคไต หรือโรคบางชนิดที่ส่งผลให้กรวยไตกรองปัสสาวะได้ในอัตราการไหลผ่านที่ต่ำลงหรือทำให้ไตผลิตน้ำปัสสาวะได้น้อยกว่าปกติ จึงเป็นผลให้ค่า Urine Uric Acid ที่ตรวจได้จากปริมาณน้ำปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมงมีปริมาณที่ต่ำเกินจากเกณฑ์   
  • เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่องจนทำให้เกิดสภาวะความเป็นกรดเรื้อรัง และส่งผลให้กรวยไตมีความสามารถในการกรองสารและของเสียทิ้งทางน้ำปัสสาวะได้ในอัตราที่ต่ำลงกว่าปกติ และทำให้กรวยไตค่อยๆ เสื่อมลงอีกด้วย โดยทั้งนี้ค่าของ Urine Uric Acid ที่ตรวจพบก็จะต่ำกว่าเกณฑ์ที่พบในคนปกติ แต่ในขณะเดียวกันค่าของกรดยูริคที่พบในเลือดอาจมีค่าที่สูงกว่าเกณฑ์ได้
  • เกิดสภาวะความเป็นกรดในเลือด เนื่องจากร่างกายมีการดึงเอาไขมันที่สะสมไว้ในร่างกายมาเผาผลาญเป็นเชื้อเพลิงแทนกลูโคสในปริมาณมาก ทำให้เกิดสารคีโตนมากเกินไป ซึ่งสารชนิดนี้หากถูกขับออกทางไตไม่หมดและเหลือสะสมไว้ในเลือดมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดสภาวะเป็นกรดในเลือดได้ในที่สุด และเนื่องจากภาวะกรดในเลือดนี่เอง ก็ส่งผลให้กรดยูริกถูกขับออกไปได้น้อยลงและเหลือตกค้างอยู่ในเลือดสูงเช่นกัน ดังนั้นในการตรวจจึงพบว่ามีกรดยูริกในเลือดสูง แต่มีกรดยูริกในปัสสาวะต่ำมากนั่นเอง

2. ในทางมาก อาจแสดงได้ว่า

  • เป็นโรคเกาต์ เพราะโรคเกาต์จะทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งก็ส่งผลให้ไตต้องพยายามขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะในปริมาณมากเช่นกัน ดังนั้นในการตรวจน้ำปัสสาวะ จึงพบว่ามี Urine Uric acid กรดยูริกสูงกว่าเกณฑ์ปกตินั่นเอง
  • มีการบริโภคอาหารบางชนิดที่มีสารพิวรีนมากเกินไป โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ เพราะเมื่อสารพิวรีนถูกสลายจะได้กรดยูริกออกมา ซึ่งร่างกายต้องขับออกมาทางปัสสาวะนั่นเอง
  • ป่วยด้วยโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจาย โรคมะเร็งไขกระดูกและโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • เป็นผลมาจากการรักษาโรคบางชนิด เช่น การรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งอาจมีผลทำให้เซลล์ในร่างกายต้องแตกสลายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกรดนิวคลิอิก ที่ตับจะต้องทำการเก็บเอากรดนิวคลิอิกและเปลี่ยนเป็นกรดยูริกก่อนจะขับออกจากร่างกายทันที ดังนั้นผลที่ตามมาจึงทำให้ตรวจพบค่าของกรดยูริกในเลือดและในน้ำปัสสาวะสูงมากจนผิดปกติ
  • มีความผิดปกติทางรหัสพันธุกรรม ทำให้กลไกการสร้างกรดยูริกมีการสร้างกรดยูริกออกมามากเกินไป ซึ่งแพทย์เรียกภาวะเช่นนี้ว่า โรคเลสค์-ไนแฮน ( Lesch Nyhan Syndrome ) โดยจะต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมไม่ให้กรดยูริกในร่างกายมีมากเกินไป เนื่องจากอาจเกิดอันตรายตามมาได้นั่นเอง
  • เป็นโรคกล้ามเนื้อสลาย เพราะจากการสลายของกล้ามเนื้อจะทำให้ได้ Urine Uric acid และมักจะตรวจพบ กรดยูริก ( Uric Acid ) ในปริมาณสูงมากได้ทั้งในเลือดและในน้ำปัสสาวะเลยทีเดียว ส่วนสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคกล้ามเนื้อสลาย ก็อาจเกิดได้หลายสาเหตุด้วยกัน แต่ที่พบได้บ่อยๆ ก็คือผลข้างเคียงจากการกินยาในกลุ่มสตาตินที่ใช้ในการลดคอเลสเตอรอล   
  • ตับมีโลหะหนักสะสมอยู่ในปริมาณมากจนทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม เป็นต้น โดยโลหะหนักเหล่านี้ล้วนเป็นพิษต่อตับทั้งสิ้น ซึ่งหากสะสมอยู่มากเกินไปก็จะทำให้ตับผลิตกรดยูริกออกมาในปริมาณที่มากเกินในที่สุด โดยในทางการแพทย์ก็ได้เรียกภาวะดังกล่าวนี้ว่า โรคแฟนโคนี ซึ่งก็มักจะตรวจพบค่า กรดยูริก ( Uric Acid ) ที่สูงมากทั้งในเลือดและในน้ำปัสสาวะเช่นกัน
  • เกิดจากการกินยาหรือวิตามินบางตัวที่มีผลให้เกิดกรดยูริกสูงขึ้น โดยเฉพาะกรดยูริกที่ได้จากยา ซึ่งจะทำให้ระดับของ Urine Uric acid กรดยูริกที่พบในน้ำปัสสาวะ มีประมาณที่สูงกว่าปกติได้

กลุ่มยาที่มีผลต่อระดับ กรดยูริก ( Uric Acid ) หรือ Urine Uric acid

1. กลุ่มยาขับปัสสาวะ โดยจะใช้ความดันเลือดในการขับ จึงอาจเป็นผลให้ Urine Uric acid ระดับกรดยูริกสูงขึ้นได้

2. กลุ่มยารักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เพราะตัวยาอาจมีฤทธิ์ทำลายเซลล์บางส่วนในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่อาจแตกตัวและกลายเป็นกรดยูริกได้

3. กลุ่มยารักษาโรคทั่วไป เช่น ยาฮอร์โมน ยารักษาโรคปลอดและ ยาแอสไพลิน เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Verónica Jiménez; Joel B. Alderete (Nov 30, 2005). “Theoretical calculations on the tautomerism of uric acid in gas phase and aqueous solution”. Journal of Molecular Structure: THEOCHEM. 755: 209–214.

Scheele, C. W. (1776). “Examen Chemicum Calculi Urinari” [A chemical examiniation of kidney stones]. Opuscula. 2: 73.

Horbaczewski, Johann (1882). “Synthese der Harnsäure” [Synthesis of uric acid]. Monatshefte für Chemie und verwandte Teile anderer Wissenschaften. 3: 796–797.