Home Blog Page 158

ตรวจปัสสาวะหาค่า Creatinine และ Urine Creatinine ช่วยป้องกันโรคไต

0
การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Creatinine
การตรวจเพื่อหาค่าของสารเคมีครีเอตินีนที่มีอยู่ในน้ำปัสสาวะเนื่องมาจากการที่ไตปล่อยทิ้งออกมา

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Creatinine และ Creatinine

การตรวจหาค่า Creatinine และ Urine Creatinine เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเฝ้าระวังสุขภาพของไต โดยค่า Creatinine เป็นสารที่เกิดจากการเผาผลาญของกล้ามเนื้อ และถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางไต ดังนั้น ระดับของ Creatinine ในเลือดจึงสามารถบ่งชี้ถึงความสามารถในการทำงานของไตได้ หากมีการเพิ่มขึ้นของระดับ Creatinine อาจหมายถึงการทำงานของไตที่ลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ควรให้ความสำคัญในการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

ทำไมต้องการตรวจปัสสาวะหาค่ายูรีนครีเอตินีน ( Urine Creatinine และ Creatinine )

ทำไมต้องการตรวจปัสสาวะหาค่ายูรีนครีเอตินีน - ตรวจปัสสาวะหาค่า Creatinine และ Urine Creatinine ช่วยป้องกันโรคไตเพื่อเป็นการประเมินการทำงานของไต เป็นการตรวจเพื่อหาค่าของสารเคมีครีเอตินีนที่มีอยู่ในน้ำปัสสาวะเนื่องมาจากการที่ไตปล่อยทิ้งออกมา ทั้งนี้การตรวจเพื่อดูว่าค่าของสารครีเอตินีน Creatinine อยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ โดยหากพบว่าค่า Urine Creatinine มีความผิดปกติ นั่นอาจแสดงได้ถึงสภาวะของโรคไตหรือความผิดปกติอื่นๆในร่างกายที่ส่งผลให้เกิดการสร้างสารดัง กล่าวขึ้นมาที่ไตมากกว่าปกติ

Urine Volum ( ml ) คืออะไร

Urine Volum (ml) เป็นหน่วยใช้สำหรับวัดบอกว่าผู้ที่จะตรวจปัสสาวะ ว่าต้องถ่ายปัสสาวะลงในภาชนะหรือถ้วยที่ให้ในปริมาณกี่มิลลิลิตร โดยสังเกตได้ด้วยสายตา เนื่องจากที่ถ้วยหรือภาชนะดังกล่าวจะมีตัวเลขปริมาณกำหนดอยู่แล้ว ทั้งนี้สำหรับการถ่ายปัสสาวะลงในถ้วยหรือภาชนะนั้น แนะนำให้ถ่ายปัสสาวะส่วนแรกทิ้งไปจำนวนหนึ่งก่อน จากนั้นกลั้นปัสสาวะที่เหลือไว้ แล้วถ่ายลงในถ้วยให้ได้ปริมาณที่ต้องการ ที่เหลือจึงถ่ายทิ้งตามปกติ

ข้อควรระวังในการถ่ายปัสสาวะเพื่อตรวจ Urine Creatinine / Creatinine

เพื่อให้การถ่ายปัสสาวะสำหรับนำไปตรวจทางการแพทย์ ได้ผลลัพธ์ในการตรวจที่มีประสิทธิภาพและแน่นอนที่สุด จะต้องระมัดระวังดังนี้

1.กรณีที่ถ้วยหรือภาชนะสำหรับใส่ปัสสาวะเป็นแบบมีฝาปิด ให้รีบปิดฝาทันทีหลังถ่ายลงในถ้วยเสร็จ

2.กรณีที่ถ้วยหรือภาชนะสำหรับใส่ปัสสาวะเป็นแบบไม่มีฝาปิด ควรระมัดระวังอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอมใดๆ ตกลงไปในถ้วยใส่ปัสสาวะเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็น เส้นขนจากอวัยวะเพศ หยดเลือดจากประจำเดือนหรือเศษกระดาษชำระก็ตาม

การแบ่งชนิดน้ำปัสสาวะเพื่อการตรวจครีเอตินีน

การแบ่งชนิดน้ำปัสสาวะเพื่อการตรวจครีเอตินีนสำหรับการแบ่งชนิดของน้ำปัสสาวะนั้น ส่วนใหญ่จะแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

1.น้ำปัสสาวะครั้งแรกในตอนเช้า ก็คือปัสสาวะที่ได้จากการถ่ายครั้งแรกหลังตื่นนอนนั่นเอง โดยมักจะใช้กับผู้ป่วยที่นอนอยู่ที่โรงพยาบาลอยู่แล้ว

2.น้ำปัสสาวะที่สุ่มตรวจ ( Random or Spot Urine Specimen ) ก็ถือปัสสาวะที่ได้จากการตรวจโดยไม่กำหนดเวลาแน่นอน ซึ่งผู้ตรวจอาจมีอาการป่วยหรือไม่ก็ได้ เพียงแต่ต้องการตรวจปัสสาวะเพื่อเช็คปัญหาสุขภาพเท่านั้น โดยการตรวจแบบนี้สามารถตรวจที่โรงพยาบาลเวลาใดก็ได้

3.น้ำปัสสาวะที่รวบรวมได้ในรอบ 24 ชั่วโมง คือปัสสาวะที่เก็บได้จากการถ่ายออกมาทั้งหมดภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะใช้กรณีคนไข้ที่นอนโรงพยาบาลอยู่แล้ว ซึ่งแพทย์จะนำปัสสาวะไปตรวจอย่างละเอียด

การตรวจหาค่า Urine Creatinine / Creatinine ในร่างกาย ทำให้ทราบค่าอะไรได้บ้าง

1. Creatinine Phosphate เป็นสารของเสียชนิดหนึ่งที่ร่างกายจะปลดปล่อยออกมาสู่กระแสเลือดทุกครั้งที่มี การยืดหรือหดตัวของกล้ามเนื้อเกิดขึ้น โดยสารชนิดนี้ก็เกิดจากการแตกตัวของสารประกอบ Creatinine นั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้วสารดังกล่าวจะมีการหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดในระดับที่เกือบคงที่อยู่ตลอดเวลา ยกเว้นในคนที่ต้องใช้ร่างกายเยอะกว่าปกติ เช่นนักกีฬา จึงทำให้กล้ามเนื้อยืด-หดตัวมากกว่าคนทั่วไป และมีการหลั่งสาร Creatinine มากกว่าปกติ

2. เมื่อ Creatinine ได้แตกสลายตัวเองออกมาเป็น Creatinine Phosphate ในเลือดแล้ว ไตก็จะต้องทำหน้าที่ในการกรองสารตัวนี้ออกจากเลือดและทิ้งไปกับปัสสาวะ เพื่อไม่ให้ระดับของสารดังกล่าวในเลือดมีมากเกินไปจนเป็นอันตรายได้ อย่างไรก็ตาม ก็อาจมีการพบสาร Creatinine หลงเหลืออยู่ในกระแสเลือดบ้างเล็กน้อยเช่นกัน

3. หากไตทำงานปกติ และร่างกายก็มีสุขภาพดีเช่นคนปกติทั่วไป รวมถึงมีการทำกิจวัตรประจำวันเป็นปกติ ค่าของ Creatinine ที่พบในน้ำปัสสาวะก็ควรอยู่ในระดับที่เป็นปกติด้วย โดยหากพบว่ามีค่าของสารตัวนี้ในน้ำปัสสาวะมากหรือน้อยเกินไปก็แสดงว่าอาจเกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกายก็ได้

4. หากตรวจพบว่าค่า Creatinine ในปัสสาวะมีค่าน้อยกว่าปกติ ในขณะที่ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ และในขณะเดียวกับค่าดังกล่าวที่พบในเลือดก็สูงขึ้นมาก นั่นอาจแสดงได้ว่าไตกำลังมีปัญหา ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองของเสียลดน้อยลง หรืออาจเป็นโรคบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการกรองของเสียของไตได้เหมือนกัน

5. ในกรณีที่ไตมีสภาวะเป็นปกติ แต่กลับมีค่า Creatinine ที่พบในปัสสาวะสูงกว่าระดับปกติเป็นอย่างมาก นั่นก็แสดงได้ว่ากล้ามเนื้อในร่างกายกำลังมีปัญหา หรืออาจมีโรคที่เป็นสาเหตุให้ค่าของสารดังกล่าวสูงขึ้น

ค่าปกติของยูรีนครีเอตินีน

ค่าปกติของยูรีนครีเอตินีน1. ค่าปกติ Creatinine ในปัสสาวะ ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ (ถ้ามี) เพราะในแต่ละบุคคลอาจไม่เหมือนกัน

2. ค่าปกติทั่วไป ( ค่า bun cr ปกติ ) ที่มักจะตรวจพบได้แก่

Spot Urine Creatinine : 25 – 400 mg/dL
24 hr ผู้ชาย Urine Creatinine : 1 – 1.9 mg/24 hr
24 hr ผู้หญิง Urine Creatinine : 0.8 – 1.7 mg/24 hr

การทํางานของไตจะวิเคราะห์จากการตรวจปัสสาวะได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ?

เพราะค่าของความผิดปกติของ Urine Creatinine สามารถตรวจสอบได้ ดังนี้

หากตรวจพบค่าผิดปกติ สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี คือ

ผลการตรวจค่า Urine Creatinine / Creatinine ได้ค่าน้อยกว่าปกติเพราะอะไร?

ค่า creatinine ต่ำ อาจมาจากหลายสาเหตุเช่น

  1. เกิดสภาวะกลุ่มหลอดเลือดแดงฝอยภายในกรวยไตอักเสบ ( Glomerulonephritis ) ส่งผลให้ไตไม่สามารถกรองของเสียและปล่อยทิ้งออกทางปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนที่ควรเป็น จึงทำให้ตรวจพบค่า BUN และ Creatinine ในเลือดมีระดับที่สูงมากกว่าปกติ ในขณะที่ในน้ำปัสสาวะ กลับมีค่าที่ต่ำจนดูผิดปกติ
  2. เกิดจากสภาวะไตวาย ( Kidney failure ) ในภาวะเช่นนี้ ไตจะไม่สามารถกรองของเสียและสารต่างๆ ออกมาทางปัสสาวะได้อย่างหมดจดเหมือนที่ควรเป็นในภาวะปกติ ทำให้ค่า Creatinine ที่พบในเลือดมีระดับสูง ในขณะที่ค่า Urine Creatinine มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ปกติมาก
  3. เกิดจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย ที่ทำให้ร่างกายไม่ค่อยได้ขยับเขยื้อนมากนัก และเป็นผลให้กล้ามเนื้อมีการยืดหดตัวน้อยลง จึงทำให้ตรวจพบว่า Urine Creatinine มีน้อยกว่าปกติ ซึ่งจากกรณีนี้สามารถพบได้แม้ว่าไตจะมีการทำงานที่ปกติดีก็ตาม นั่นก็เพราะปริมาณของ Urine Creatinine ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ มีน้อยกว่าปกติอยู่แล้วนันเอง
  4. เกิดจากสภาวะความคับคั่งของสารของเสียก่อนส่งถึงไต เป็นผลให้ประสิทธิภาพในการกรองของเสียของไตต่ำลงและไม่สามารถกรองและขับของเสียได้หมด ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้ก็อาจเกิดจากการที่ไตขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงและความดันเลือดลดต่ำลงด้วย โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวก็คือ

ของเสียตกค้างในไตมีสาเหตุจากอะไร

ของเสียตกค้างในไตมีสาเหตุจากอะไร1. สภาวะหัวใจวาย ทำให้เลือดที่ถูกปั๊มเข้าออกจากหัวใจแต่ละครั้งมีปริมาตรที่น้อยลง และมีความดันต่ำลง ( Low Cardiac Output และ Low Blood Pressure )

2. เกิดอาการช็อก จึงทำให้หัวใจอ่อนแรงลงและเกิดปัญหาตามมา

3. เป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการผ่าตัดบางชนิดทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ และเกิดอาการดังกล่าวได้

4. เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไต ( Renal Artery Embolism ) ทำให้ไตได้รับเลือดไม่เพียงพอ

5. หลอดเลือดแดงที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงไต ถูกปิดกั้นด้วยบางอย่าง ทำให้ไตได้รับเลือดไม่เพียงพอ

6. เกิดการกระทบกระเทือนบางอย่างที่ทำให้ไตบอบช้ำ ( Trauma to the Kidney ) เช่น อุบัติเหตุ การเล่นกีฬา เป็นต้น ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองของเสียของไตลดน้อยลง

  • ท่อไตที่ส่งผ่านไปยังกระเพาะปัสสาวะเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเนื่องมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด โดยนอกจากจะทำให้เกิดค่าผิดปกติของ Creatinine แล้ว ก็ยังก่อให้เกิดอาการปวดในท่อทางผ่านของน้ำปัสสาวะจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะอีกด้วย โดยส่วนใหญ่จะพบว่าค่า Creatinine ในเลือดจะสูงมาก ในขณะที่ค่า Creatinine ในน้ำปัสสาวะก็จะต่ำมากเช่นกัน

ผลการตรวจค่า Urine Creatinine / Creatinine ได้ค่าสูงกว่าปกติเพราะอะไร?

  • กินอาหารพวกสัตว์บกมากเกินไป เพราะเนื้อสัตว์เหล่านี้จะมี Creatinine แฝงอยู่ในปริมาณมาก จึงทำให้ร่างกายได้รับสารตัวนี้มากกว่าปกติ โดยเฉพาะหากปรุงเนื้อสัตว์ด้วยความร้อนนานๆ ด้วยแล้ว ความร้อนจะยิ่งเพิ่มค่า Creatinine ให้สูงขึ้นไปอีก 
  • เป็นโรคกล้ามเนื้อลีบในระยะสุดท้าย ( Muscular Dystrophy in Late Stage ) เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อที่แตกสลายออกไป จะไปเพิ่มปริมาณของ Creatinine ในปัสสาวะให้สูงขึ้น จึงมักจะพบว่าผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อลีบมักจะมีค่าดังกล่าวสูงเสมอ
  • เกิดสภาวะโรคกล้ามเนื้อสลาย ( Rhabdomyolysis ) ซึ่งกล้ามเนื้อที่หลุดสลายออกไปเป็นองค์ประกอบต่างๆ นั้น จะเข้าสู่กระแสเลือดทำให้พบค่าดังกล่าวสูงมาก และในขณะเดียวกันก็อาจตรวจพบค่า Myoglobin ซึ่งเป็นตัวช่วยในการรักษาเก็บกักออกซิเจนไว้ให้กล้ามเนื้อได้ใช้ในขณะออกแรงหนักได้นานๆ สูงเช่นกัน โดยปกติแล้วคนเราจะมีค่าปกติของ Myoglobin อยู่ที่
ค่าปกติของ Urine Myoglobin น้อยกว่าหรือเท่ากับ < 5 ng/mL

ค่า Myoglobin คืออะไร

ค่า Myoglobin คืออะไรค่า Myoglobin มีภาวะปกติคือน้อยกว่า 5 ng/mL ดังนั้นเมื่อเกิดสภาวะโรค Rhabdomyolysis จะตรวจพบว่าค่า Urine Myoglobin มีมากกว่า 250 µg / mL ซึ่งทางการแพทย์ได้อนุมานว่า ณ เวลานั้น มวลกล้ามเนื้อได้สูญสลายหมดไปแล้วกว่า 100 กรัม นอกจากนี้ยังสังเกตได้อีกว่าสีของปัสสาวะจะเป็นสีชาแก่หรือคล้ำคล้ายกับเครื่องดื่มจำพวกน้ำอัดลม หรือน้ำอัดคาร์บอนไดออกไซด์ โดยถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่แพทย์จะนำมาวินิจฉัยและยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อสลายแน่นอน

นอกจากนี้หากได้นำน้ำปัสสาวะของผู้ป่วยในเวลานั้นไปตรวจ ก็จะต้องพบค่าของ Urine Creatinine / Creatinine ในระดับที่สูงมากกว่าปกติด้วย นั่นก็เพราะค่าทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันนั่นเอง

สาเหตุของกล้ามเนื้อสลายมาจากอะไร

โรคกล้ามเนื้อสลายอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยได้ยกเฉพาะสาเหตุที่สำคัญมาบอกกล่าวดังนี้

1. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากและดื่มต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน โดยเริ่มแรกจะพบว่ามีอาการแขนขาลีบ ก่อนจะเข้าสู่โรคกล้ามเนื้อสลายได้ในที่สุด

2. การสัมผัสกับแสงแดดและความร้อนมากเกินไปจนทำให้เป็นลมแดด โดยไม่เป็นลมแดดบ่อยๆ ก็จะนำไปสู่สภาวะกล้ามเนื้อสลายได้เช่นกัน

3. การออกแรงมากเกินไป คือเกินจากที่ร่างกายจะรับไหวเป็นประจำ อาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อสลายได้ โดยเฉพานักกีฬา

4. การใช้ยาบางชนิดมากเกินขนาด เนื่องจากยาบางตัวอาจมีผลต่อกล้ามเนื้อได้ ทั้งนี้สามารถแบ่งประเภทยาออกได้เป็น 2 ประเภทกว้างๆ คือ

  • ยาเสพติด ได้แก่ ยาบ้า โคเคนและเฮโรอีน เป็นต้น
  • ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยากลุ่ม Stain ซึ่งเป็นยาที่ใช้ลดคอเลสเตอรอล อาจก่อให้เกิดการเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อได้ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อสลายในที่สุด โดยทั้งนี้สามารถพบได้มากถึง 0.1 ถึง 1 คน ในทุกๆ 1,000 คนเลยทีเดียว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

McDonald, Thomas; Drescher, Kristen M.; Weber, Annika; Tracy, Steven (1 March 2012). “Creatinine inhibits bacterial replication”. The Journal of Antibiotics. 63.

Shemesh O, Golbetz H, Kriss JP, Myers BD (November 1985). “Limitations of creatinine as a filtration marker in glomerulopathic patients”. Kidney Int. 25.

อาหารที่ทำให้แก่ช้ามีอะไรบ้าง

0
รับประทานอาหารอย่างไรให้ดูอ่อนวัย
การทานอาหารในชีวิตประจำวันอย่างถูกหลักและมีโภชนาการที่ดี ก็จะช่วยชะลอความเสื่อมของวัยและป้องกันการเกิดโรคร้ายได้ดี
รับประทานอาหารอย่างไรให้ดูอ่อนวัย
ปลามีไขมันดี โอเมก้า 3 ช่วยเสริมสร้างและลดการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ทานปลาสัปดาห์ละ 2 ครั้งจะช่วยให้ชะลอวัยและห่างไกลโรค

อาหารที่ทำให้แก่ช้า

เมื่ออายุมากขึ้นก็มักจะตามมาด้วยปัญหาผิวพรรณที่ไม่ค่อยน่าอภิรมย์สักเท่าไหร่ ควรทานอาหารที่ทำให้แก่ช้าซึ่งหาได้ง่ายตามท้องตลาด และควรเลือกรับประทาน อายุมากทั้งยังมีโรคร้ายต่างๆ ตามมาอีกมากมายอีกด้วย แต่จะดีกว่าไหมหากเราสามารถชราได้อย่างสง่างามและปราศจากโรครุมเร้าต่างๆ โดยสัญญาณเตือนที่ แสดงให้เห็นได้ถึงวัยที่เพิ่มขึ้น ก็คือ ผมเริ่มหงอก ผิวหย่อนคล้อย ความจำถดถอย ตาฝ้าฟาง มีริ้วรอยบนใบหน้าและมีอารมณ์ที่ไม่คงที่ ซึ่งเนื่องมาจากภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

ส่วนโรคร้ายที่มักจะมาพร้อมกับวัยนี้ก็คือ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความจำเสื่อม โรคอ้วน โรคมะเร็ง กระดูกพรุนและโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง ซึ่งก็ล้วนเป็นโรคที่อันตรายและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก แถมยังทำให้อายุสั้นลงอีกด้วย อย่างไรก็ตามโรคร้ายเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกวันที่อยู่ในวัยชราเสมอไป เพราะเป็นโรคที่มีผลพวงมาจากพฤติกรรมโดยตรง ดังนั้นหากมีการปรับพฤติกรรมการกินและการดำรงชีวิตให้ดีขึ้น ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า การทานอาหารที่ทำให้แก่ช้าในชีวิตประจำวันอย่างถูกหลักและมีโภชนาการที่ดี ก็จะช่วยชะลอความเสื่อมของวัยและป้องกันการเกิดโรคร้ายได้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะการทานผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารแอนติออกซิแดนต์เป็นหลัก เพราะสารตัวนี้จะช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดโรคได้อย่างดีเยี่ยม และที่สำคัญควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือการดื่มเครื่องดื่มมึนเมาด้วย เท่านี้อายุก็เป็นเพียงแค่ตัวเลขแล้ว

แอนติออกซิแดนต์คืออาหารที่ทำให้แก่ช้าช่วยต้านความแก่และลดการอักเสบ

กระบวนการทำงานของร่างกายในช่วงวัยอายุที่สูงขึ้น เป็นผลให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายค่อยๆ ถูกทำลายและเสื่อมสภาพลงไป จึงทำให้แก่เร็วและตามมาด้วยโรคภัยต่างๆ ในที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหากได้รับอาหารที่ทำให้แก่ช้าที่มีสารแอนติออกซิแดนต์สูงก็จะช่วยลดความเสื่อมของเซลล์และช่วยชะลอวัยให้ดูอ่อนเยาว์ลงได้ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าคนที่ดูแลสุขภาพของตัวเองและทานอาหารที่มีแอนติออกซิแดนต์เป็นประจำมักจะดูอ่อนกว่าวัยและปราศจากโรคแม้จะมีอายุมากแล้วก็ตาม

นอกจากนี้การได้รับสารแอนติออกซิแดนต์อย่างเพียงพอ ก็จะช่วยเสริมภูมิต้านทานให้สูงขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยป้องกันอนุมูลอิสระที่ทำลายระบบประสาทโดยตรง จึงลดความเสี่ยงในการความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งจากการวิจัยยังพบว่าอาหารที่ทำให้แก่ช้าจะมีสารพฤกษเคมีก็จะช่วยให้อายุยืนยิ่งขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าควรทานอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนต์และสารพฤกษเคมีเป็นหลัก

อย่างไรก็ตามนอกจากการเลือกทานอาหารที่ทำให้แก่ช้าที่มีส่วนช่วยในการลดการอักเสบเพื่อต้านความแก่ชราแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นการอักเสบของร่างกายที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการแก่เร็วอีกด้วย โดยสารเหล่านี้จะไปกระตุ้นการหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น และทำให้เกิดการอักเสบจนเป็นผลให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพไปในที่สุด โดยอาหารเหล่านี้ได้แก่ แป้ง น้ำตาล และไขมันชนิดไม่ดี เป็นต้น และนอกจากอาหารแล้ว ฮอร์โมน ความเครียดและภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง ก็เป็นผลให้แก่เร็วเช่นกัน

อาหารที่ทำให้แก่ช้ามีอะไรบ้าง

อาหารที่ทำให้แก่ช้าหรืออาหารเสริมชะลอวัย จะช่วยให้อ่อนวัยลงแม้ร่างกายจะเริ่มแก่ชราไปตามวัย แต่การทานอาหารอย่างถูกหลักก็จะช่วยชะลอวัยและลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ดีเช่นกัน โดยผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำอาหารที่จะช่วยชะลอวัยและเสริมสุขภาพที่ดีดังนี้

การอาหารที่ทำให้แก่ช้าควรเน้นทานผักผลไม้ให้มาก

ผู้ที่ทานผักผลไม้เป็นหลักจะมีสุขภาพที่ดีและแก่ช้ากว่าผู้ที่ทานเนื้อสัตว์เป็นหลัก เพราะผักผลไม้นั้นมากไปด้วยประโยชน์และไม่ทำลายสุขภาพอีกด้วย และนี่คือเหตุผลที่ทำไมผักผลไม้จึงสามารถชะลอวัยได้

  • ผักผลไม้ส่วนใหญ่ไม่มีไขมันและคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีต่อร่างกาย ทั้งยังมีปริมาณของโซเดียมน้อยมาก ดังนั้นจึงสามารถชะลอวัยและลดความเสี่ยงการป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะโรคมะเร็งและโรคความดันโลหิตสูง แต่ทั้งนี้ผลไม้บางชนิดก็อาจมีไขมันและคอเลสเตอรอลสูงได้ เช่น มะกอก มะพร้าวและอะโวคาโด เป็นต้น
  • ผักผลไม้มีกากใยสูงมาก ซึ่งเป็นตัวช่วยในการลดความเสี่ยงการป่วยด้วยโรคที่มักจะมากับวัยได้ดี ทั้งยังให้พลังงานต่ำและทำให้รู้สึกอิ่มง่าย อิ่มนาน จึงทำให้กินอาหารได้น้อยลงและไม่ทำให้อ้วนนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบว่าคนเราควรได้รับกากใยอาหารที่วันละ 25-30 กรัม จากผักและผลไม้ที่คละๆ กันไป เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและหลากหลายที่สุด
  • อุดมไปด้วยสารอาหารหลากชนิดที่จะช่วยชะลอวัยได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการเร่งการเสื่อมของวัยให้หมดไป จึงทำให้แก่ช้าลงและช่วยให้ผิวพรรณดูเต่งตึง กระชับมากขึ้นอีกด้วย
  • มีสารต้านมะเร็งที่เรียกว่า สารพฤกษเคมี ซึ่งส่วนใหญ่จะพบได้มากในผักผลไม้ โดยสารตัวนี้จะช่วยยับยั้งและป้องกันการเกิดมะเร็ง รวมถึงช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายและมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคร้ายต่างๆ เช่น แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก กรดโฟลิกและแคลเซียมเป็นต้น โดยแร่ธาตุเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างกระดูก ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนและช่วยในการสร้างเม็ดเลือดโดยตรง รวมถึงช่วยป้องกันโรคหัวใจและสมองเสื่อมด้วย จึงมีประโยชน์ต่อวัยสูงอายุเป็นอย่างมาก 
  • ให้พลังงานต่ำมากจึงไม่ทำให้อ้วน ยกตัวอย่างเช่นผักสลัด 1 ชามพูน จะให้พลังงานแค่ 30 แคลอรี่เท่านั้น แต่น้ำสลัดอาจให้พลังงานสูงถึง 75-100 แคลอรี ดังนั้นจึงต้องระวังและใส่ใจในการเลือกน้ำสลัดมากขึ้น

กินธัญพืชไม่ขัดสี

ในธัญพืชที่ไม่ได้ผ่านการขัดสี จะมีใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำได้สูง ซึ่งใยอาหารชนิดนี้จะช่วยในการลดคอเลสเตอรอลโดยตรงและยังมีสารพฤกษเคมีที่สามารถลดความเสี่ยงมะเร็งได้ดีอีกด้วย โดยให้ทานธัญพืชไม่ขัดสีวันละ 3 อุ้งมือเท่านั้น

ถั่วเปลือกนิ่ม

ถั่วเปลือกนิ่มมากไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ที่ไม่ด้อยไปกว่าผักผลไม้เลยทีเดียว และสามารถชะลอความแก่ได้ดีเช่นกัน โดยให้กินถั่วเปลือกนิ่วสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

ถั่วเปลือกแข็ง

ถั่วเปลือกแข็งมีวิตามินบีและกรดไขมันชนิดดี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ป้องกันสมองเสื่อม และช่วยเสริมสร้างอิลาสตินและคอลลาเจนให้กับผิวหนัง ทำให้ผิวดูสดใส เต่งตึง ไม่หย่อนคล้อยได้ง่าย โดยกำหนดให้ทานวันละ 15-30 กรัม

ชนิดถั่ว จำนวนเมล็ด แคลอรี สารอาหาร
ถั่วลิสง 28 170 โปรตีน สารต้านอนุมูลอิสระสูง และโฟเลต
อัลมอนด์ 16-18 160 ใยอาหาร แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสีและทองแดง
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 10-12 205 ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว และไขมันอิ่มตัว
แมคาเดเมีย 45-49 160 วิตามิบี 6 โพแทสเซียม และวิตามินบี 1
พิสตาชิโอ 6-8 190 ซีลีเนียม
เฮเซลนัท 18-21 180 วิตามินอีและโฟเลต
วอลนัท 8-14 ซีก 185 สังกะสีและโอเมก้า-3 (ป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็งบางชนิด)
ถั่วพีแคน 18-20 ซีก 200 วิตามินอี สารสเตียรอลจากพืช และสารต้านอนุมูลอิสระ
ไพน์นัท 150-165 190 วิตามินเค (จำเป็นต่อกระดูกและหลอดเลือดแดง)
เมล็ดฟักทอง 142 153 แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก
เมล็ดทานตะวัน 164 วิตามินบี 6 ซีลีเนียม และแมกนีเซียม
เมล็ดเฮมป์ (Hemp Seeds) 169 โปรตีนสูง ธาตุเหล็กสูง แมกนีเซียมสูง และวิตามินอีสูง
เมล็ดเชีย (Chia Seeds) 156 โอเมก้า-3 ใยอาหาร naturals
แฟลกซ์สีด (Flax Seeds) 149 ใยอาหารและโอเมก้า-3 สูง (ดูดซึมได้ดีเมื่อนำไปบด)
เมล็ดงา 160 ธาตุเหล็ก แคลเซียม และแมกนีเซียม

โยเกิร์ต
มีสารอาหารที่มีประโยชน์เช่นเดียวกับนม และมีแบคทีเรียชนิดดีที่จะช่วยให้ระบบการย่อยอาหารเป็นปกติมากขึ้น ทั้งยังทำให้ไม่มีปัญหาในการขับถ่ายอีกด้วย โดยกำหนดให้กินโยเกิร์ตวันละครั้งเท่านั้น แต่ควรเลือกชนิดที่แบคทีเรียยังไม่ได้จะดีที่สุด

น้ำ
นอกจากในแต่ละวันควรดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ก็ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 3-4 แก้วเช่นกัน เพราะน้ำจะช่วยสร้างสมดุลให้กับร่างกายได้ดีและชะลอวัยได้อีกด้วย

อาหารต้านการอักเสบ

นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารที่จะช่วยต้านการอักเสบได้ดี ซึ่งจะช่วยชะลอวัยและลดความเสี่ยงของโรคที่มักจะมาพร้อมกับวัยได้เช่นกัน ซึ่งได้แก่ ผักสีเขียวจัด พริก ต้นหอม หัวหอม ข้าวบาร์เลย์ เมล็ดพืชและต้นกระเทียม เป็นต้น ส่วนการป้องกันการเกิดมะเร็ง สามารถทานอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนต์เพื่อลดความเสี่ยงได้ ยกตัวอย่างสารชนิดนี้ คือ วิตามินซี ซึ่งเป็นวิตามินที่จะช่วยต้านการอักเสบโดยตรง และป้องกันการเกิดมะเร็งได้อย่างดีเยี่ยม เพียงทานวันละ 75-90 มิลลิกรัมเท่านั้น สำหรับอาหารที่พบวิตามินซีได้สูง ได้แก่ มะขาม มะละกอสุก ผักใบเขียว มะเขือเทศ ส้มและแคนตาลูป เป็นต้น

ปลา

ปลามีไขมันที่ดีและมากไปด้วยประโยชน์ โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ที่จะช่วยเสริมสร้างและลดการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ เช่น สมอง ตาและเซลล์ของสเปิร์ม เป็นต้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ลดอาการซึมเศร้า ป้องกันโรคหัวใจและโรคมะเร็งได้ดี เพราะฉะนั้นเพื่อชะลอวัยและห่างไกลจากโรคต่างๆ ควรทานปลาให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งจะดีที่สุด

ควบคุมปริมาณของอาหารที่บริโภค

การควบคุมปริมาณของอาหารที่บริโภคก็จะช่วยชะลอวัยได้เช่นกัน โดยมีหลักการควบคุมคือ ให้ลดปริมาณของอาหารที่ให้พลังงานฟุ่มเฟือย เช่น ขนมขบเคี้ยวต่างๆ และของหวาน เป็นต้น และเน้นการทานอาหารที่มีประโยชน์และมีส่วนช่วยในการชะลอวัยเป็นหลัก โดยจากการวิจัยพบว่าหากสามารถลดปริมาณอาหารที่ให้พลังงานฟุ่มเฟือยเหล่านี้ได้ จะทำให้มีอายุยืนขึ้นกว่าเดิมถึง 2-4 เท่าเลยทีเดียว ทั้งโรคต่างๆ ที่มักจะมาพร้อมกับวัยก็ลดลงไปอีกด้วย  

การดูดซึมวิตามินมีความจำเป็นหรือไม่

อายุที่มากขึ้น ทำให้การทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเริ่มลดประสิทธิภาพลงไป รวมถึงสมรรถภาพในการดูดซึมก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงทำให้ร่างกายมีความต้องการวิตามินและสารอาหารบางชนิดที่สูงขึ้น โดยเฉพาะ

  • วิตามินดี ซึ่งเป็นวิตามินที่จะทำงานควบคู่ไปกับแคลเซียมเพื่อเสริมกระดูกให้แข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ดี ซึ่งโดยปกติแล้วเราสามารถรับวิตามินดีจากแสงแดดได้อย่างเหลือเฟือ เพียงสัมผัสกับแสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้าเป็นประจำเท่านั้น แต่เมื่ออายุมากขึ้นกล่าวคือในวัย 70 ปีขึ้นไป เราจะได้รับวิตามินดีจากแสงแดดแค่เพียง 40% ของเด็กอายุ 8 ขวบเท่านั้น จึงจำเป็นต้องทานวิตามินดีเสริม โดยควรได้รับวิตามินมากถึงวันละ 600 ไอยูเลยทีเดียว ซึ่งอาหารที่มีวิตามินดีสูงได้แก่ เนยเทียม ปลาแซลมอน นม ปลาซาร์ดีนและไข่ เป็นต้น
  • เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็จะมีความต้องการวิตามินบีมากขึ้นไปด้วย โดยที่ต้องการหลักๆ เลยก็คือ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และกรดโฟลิกนั่นเอง เพราะวิตามินเหล่านี้จะช่วยลดโอกาสเป็นโรคหัวใจและความจำเสื่อมได้ดี ด้วยการรักษาระดับสารโฮโมซีสเตอีนให้อยู่ในระดับที่ปกติไม่สูงจนเกินไปนั่นเอง โดยสำหรับวิตามินบี 12 จะพบได้มากในสัตว์ เช่น สัตว์ปีก นม และไข่ วิตามินบี 6 จะพบได้มากในปลา ถั่วเหลือง ไก่และหมู ส่วนกรดโฟลิก ก็จะพบได้มากใน อะโวคาโด ตับ ผักใบเขียว ธัญพืช น้ำส้มคั้นและจมูกข้าวสาลี
  • แคลเซียม โดยวัยนี้จะมีปัญหาการขาดแคลเซียมอย่างหนัก และเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกเปราะบางได้ง่าย จึงควรได้รับแคลเซียมสูงถึงวันละ 1,200 มิลลิกรัมเลยทีเดียว ซึ่งการรับแคลเซียมจากอาหารเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องมีการเสริมแคลเซียมจากอาหารเสริมเข้าไปด้วย

อาหารเร่งความแก่ที่ควรเลี่ยง

สำหรับอาหารที่จะเร่งให้แก่เร็วและมักจะตามมาด้วยปัญหาสุขภาพมากมาย ก็มีดังนี้

  • อาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะเมนูทอด ผัดที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร โดยอาหารชนิดนี้จะไปเพิ่มอนุมูลอิสระให้กับร่างกาย จึงทำให้แก่เร็วและเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะลดการดูดซึมเกลือแร่และวิตามินในร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับเกลือแร่และวิตามินที่จำเป็นน้อยลง ทั้งยังสามารถเปลี่ยนไปเป็นไขมัน สะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อีกด้วย
  • เครื่องดื่มกาเฟอีน เพราะกาเฟอีนจะลดการดูดซึมแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็น เช่น แคลเซียม วิตามินบีและธาตุเหล็ก ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีนอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะการดื่มหลังอาหารในทันที แต่หากไม่สามารถเลิกได้ ควรดื่มระหว่างมื้อจะดีกว่า
  • อาหารหมักดอง เพราะอาหารเหล่านี้มักจะมีอนุมูลอิสระสูง จึงทำให้แก่เร็วและยังเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย
  • อาหารที่ทอดด้วยน้ำมันใช้ซ้ำ จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้สูงและเป็นตัวการก่อมะเร็งเช่นกัน เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด

การกินอาหารเพื่อความอ่อนวัยสรุปได้ว่า ควรจำกัดปริมาณของอาหารประเภทไขมันไม่ดีและน้ำตาลให้น้อยลง เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน โดยเฉพาะการดื่มหลังอาหารทันที และอย่ากินเพลินจนลืมตัว ซึ่งจะทำให้อ้วนเด็ดขาด นอกจากนี้ควรเน้นการทานข้าวซ้อมมือและธัญพืชที่ไม่ขัดสีเป็นหลัก รวมถึงทานผักผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและเสริมวิตามินรวมวันละ 1 เม็ด วิตามินอีวันละ 100-400 ไอยู เท่านี้ความอ่อนเยาว์และสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

รายการอาหาร จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์
เช้า – ขนมปังโฮลวีตปิ้ง
– ออมเล็ต มะเขือเทศหอมหัวใหญ่เห็ด
– น้ำส้มคั้น
– ข้าวต้มธัญพืช
– นมถั่วเหลือง
– แคนตาลูป
– มูสลี
– นมพร่องมันเนย
– ผลไม้รวม
– เต้าฮวยนมสด
– ข้าวต้ม
(ข้าวกล้อง)
– ปลา
– นมถั่วเหลือง
– กล้วย
– โยเกิร์ต
– ผลไม้สด
– นมถั่วเหลืองผสมธัญพืช
– ข้าวกล้องต้ม
– ไข่ตุ๋น
– ผัดผักคะน้า
– หมูผัดขิง
– ข้าวต้มรวมมิตร
– ผัดผักรวม
– ส้ม
กลางวัน – เส้นหมี่ราดหน้าทะเลใส่คะน้า
– ชมพู่
– ก๋วยเตี๋ยวน่องไก่
-สับปะรด
– ไก่ย่าง
– ส้มตำ ผักสด ตามชอบ
– ข้าวเหนียว
– แตงโม
– ผัดพริกทะเล ผักรวมราดข้าว
– แอปเปิ้ล
– แซนด์วิชทูน่า
– สลัดผัก
– ผลไม้รวม
– สุกี้รวมมิตร
– ฝรั่ง
– พาสต้าผัดขี้เมากุ้ง

– น้ำผลไม้ปั่น

เย็น – ข้าวกล้อง
– แกงส้มกุ้ง
– ปลาสลิดทอด
– ผลไม้รวม
– สลัดผัก
– สปาเก็ตตี้ทะเล
– แคนตาลูปปั่น
– ข้าวกล้อง
– ต้มยำปลา
– ผัดบรอกโคลีหมู
– มะม่วงมัน
– ข้าวกล้อง
– แกงจืดมะระยัดไส้
– ลาบไก่
– ส้มโอ
– ข้าวกล้อง
– ปลาทูทอด
– น้ำพริกกะปิ
– ผักลวก/ผักสด
-แกงจืดหน่อไม้ไก่
-มะละกอ – ข้าวกล้อง
– แกงเลียงกุ้ง
– ผัดเต้าหู้ทรงเครื่อง
– ยำปลาฉิ้งฉ้าง
– น้ำส้มปั่น
– ข้าวกล้อง
– ไก่ตุ๋นเห็ดหอมแครอท
– ยําปลาทูน่า
– ผัดหน่อไม้ฝรั่ง
– ผลไม้รวม

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

เลือกรับประทานอย่างไรให้นอนหลับง่ายขึ้น

0
เลือกรับประทานอย่างไรให้นอนหลับง่ายขึ้น
การนอนไม่หลับแบบชั่วคราวสามารถแก้ไขได้ด้วยการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงและโปรตีนต่ำเพื่อลดวามเครียด
เลือกรับประทานอย่างไรให้นอนหลับง่ายขึ้น
การนอนหลับยากจากอาการป่วยไข้ควรกินยาแก้ปวดลดไข้จะทำให้หลับได้ง่ายขึ้น

รับประทานอย่างไรให้นอนหลับง่ายขึ้น

ปัญหา การนอนไม่หลับ เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามและต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะการนอนไม่หลับนั้นหากเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลต่อสุขภาพได้มากทีเดียว เพราะจากการที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนน้อย จึงอาจทำให้รู้สึกง่วงนอนในช่วงกลางวันได้ ซึ่งก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และอาจหลับในใน  ขณะขับขี่ยานพาหนะจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้นั่นเอง ดังนั้นในคนที่มีปัญหาการนอนไม่หลับจึงควรหาวิธีการแก้ปัญหาโดยด่วน ซึ่งจากการวิจัยพบว่า คนเราหากได้รับการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็จะทำให้ร่างกายมีความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าและห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน ความดันหรือโรคหัวใจ รวมถึงช่วยบำรุงผิวพรรณและทำให้สมองทำงานได้ไวขึ้นเช่นกัน

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยแต่ละคนและแต่ละช่วงวัยก็อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันไปด้วย เช่น

  • มีอาการป่วยไข้ ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและนอนหลับยากขึ้น แต่หากได้ทานยาแก้ปวดลดไข้ก็จะทำให้หลับได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
  • มีอาการเจ็บป่วยบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการนอน ทำให้นอนไม่หลับ เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะโรคกระดูกพรุน หอบหืด ระบบย่อยอาหารปั่นป่วน เป็นต้น
  • การทานยาบางชนิดที่มีผลให้ร่างกายตื่นตัวและนอนไม่หลับ เช่น ยาลดความดัน ยารักษาโรคหอบหืดและยาพวกสเตียรอยด์ เป็นต้น
  • ผลจากการดำเนินชีวิตในประจำวัน เช่นผู้ที่ต้องทำงานกลางคืน ส่วนมากจะนอนกลางวันจนทำให้เกิดความเคยชิน ผู้ที่ดื่มกาแฟหรือสูบบุหรี่จัด เป็นผลให้นอนไม่หลับ หรืออาจเกิดจากสาเหตุการออกกำลังกายน้อยเกินไป อากาศที่ร้อนหรือหนาวจัดและเสียงดังจนเป็นอุปสรรคต่อการนอน ซึ่งทุกสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุต่อการนอนทั้งสิ้น
  • มีความเครียด หรือความวิตกกังวล ซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นอนไม่หลับได้
  • เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด

ต้องนอนเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ ?

ถึงแม้ว่าจะมีการกำหนดออกมาว่าคนเราควรนอนให้ได้ 8 ชั่วโมงต่อคืน แต่ทั้งนี้ร่างกายของคนเราก็ต้องการการนอนพักผ่อนที่ต่างกัน ซึ่งหากนอนน้อยหรือมากเกินไปก็อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ นอกจากนี้ความต้องการการนอนพักผ่อนของแต่ละคนก็ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ได้แก่ ขนาดรูปร่าง ขนาดของสมอง มวลกล้ามเนื้อและความสามารถใน  การคิด เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องสังเกตด้วยตัวเอง ซึ่งจะรู้ได้อย่างไรว่านอนเพียงพอหรือไม่ก็ดูได้จากผิวพรรณที่สดใสขึ้น การทำงานดีขึ้น ระบบภูมิต้านทานสูงขึ้น หรือรู้สึกกระปรี้กระเปร่าทันทีที่ตื่นนอนในตอนเช้า ซึ่งหากนอนน้อยเกินไปก็จะเห็นผลที่ตรงข้ามจากที่กล่าวมานั่นเอง 

อายุมากทำให้นอนไม่หลับ

เคยสังเกตไหมว่าวัยสูงอายุมักจะมีปัญหาการนอนไม่หลับหรือนอนน้อยกว่าคนปกติทั่วไป นั่นก็เพราะว่าเมื่ออายุมากขึ้น สมรรถภาพต่างๆ ในร่างกายจะลดประสิทธิภาพลง รวมถึงความสามารถในการนอนก็ด้วยเช่นกัน ดังนั้นวัยสูงอายุจึงมักจะไม่ค่อยหลับลึก นอนไม่หลับและนอนน้อยมาก และอาจรู้สึกง่วงนอนตลอดวันหรือตื่นเช้ามาด้วยความรู้สึกที่ไม่ค่อยสดชื่นอีกด้วย อย่างไรก็ตามพบว่าปัญหาในการนอนหลับจะเริ่มมีตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป และจะมีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในผู้ที่ต้องทำงานเป็นกะก็มักจะเกิดปัญหาในการนอนอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน

อาหารที่มีผลต่อการนอนหลับ

รู้หรือไม่ว่าอาหารก็มีผลต่อการนอนหลับเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีนิสัยในการกินแบบผิดๆ เป็นผลให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นบางชนิดไป ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า แต่ในขณะเดียวกันก็มีอาการนอนไม่หลับเช่นกัน แต่ทั้งนี้หากเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะ และมีสารอาหารอย่างครบถ้วน ก็จะช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้นได้ พร้อมช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นเช่นกัน นั่นก็เพราะสารอาหารบางอย่าง เช่น แคลเซียม ทริปโตเฟน แมกนีเซียมและวิตามินบี จะช่วยลดปัญหาการนอนหลับได้นั่นเอง

  • วิตามินบี เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี อาจส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับได้ ดังนั้นจึงต้องแก้ไขด้วยการหาสาเหตุว่าขาดวิตามินบีชนิดไหน และเสริมวิตามินที่ขาดให้เพียงพอก็จะช่วยลดการนอนไม่หลับได้ดีเช่นกัน เช่น
  • วิตามินบี 6 เป็นวิตามินที่จะช่วยควบคุมการนอนหลับและควบคุมอารมณ์ให้คงที่มากขึ้น หากได้รับวิตามินบี 6 ไม่เพียงพอจะเกิดอาการนอนไม่หลับ หงุดหงิดง่ายและในบางรายก็อาจมีอาการซึมเศร้าอีกด้วย
  • วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่จะช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ซึ่งหากขาดวิตามินบี 12 เมื่อไหร่ก็จะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับทันที ดังนั้นจึงต้องเสริมวิตามินชนิดนี้ในปริมาณสูงและต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ด้วย นอกจากนี้ก็พบอีกว่า วิตามินบี 1 และกรดโฟลิก จะทำให้การนอนหลับในบางคนดีขึ้นได้ 

แร่ธาตุ โดยพบว่าแร่ธาตุบางชนิดก็อาจมีผลต่อการนอนหลับง่ายขึ้นได้ เช่น แคลเซียมและแมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่จะทำงานร่วมกันและทำให้นอนหลับอย่างสบายมากขึ้น แต่หากขาดแร่ธาตุตัวใดตัวหนึ่งไป ก็จะส่งผลให้นอนไม่หลับได้ในทันที ซึ่งก็จะต้องแก้ปัญหาด้วยการเสริมแร่ธาตุตัวที่ขาด โดยการทานอาหารที่มีแคลเซียมหรือแมกนีเซียมสูงนั่นเอง หรือทองแดงและธาตุเหล็ก ซึ่งพบว่าหากขาดทองแดงจะทำให้นอนหลับช้าและหากขาดธาตุเหล็กจะทำให้นอนเร็วและนอนนานขึ้น แต่มักจะตื่นมากลางดึกบ่อยๆ
ทริปโตเฟน เป็นกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นต่อการนำมาสร้างสารเซโรโทนินที่มีส่วนช่วยในการควบคุมการนอนหลับ ดังนั้นหากได้รับสารทริปโตเฟนอย่างเพียงพอก็จะทำให้นอนหลับเร็วขึ้นและหลับสนิทมากกว่าเดิม แต่การทานทริปโตเฟนเสริมในผู้ที่นอนไม่หลับ จะต้องทานก่อนนอนอย่างต่อเนื่องประมาณ 200-400 มิลลิกรัมต่อครั้ง ซึ่งกว่าจะเห็นผลก็อาจต้องใช้เวลาประมาณ 6-12 สัปดาห์เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามเนื่องจากในอดีตเคยพบว่าการเสริมทริปโตเฟนมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยบางราย ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ทริปโตเฟนเท่านั้น

อาหารที่มีทริปโตเฟนสูง จะทำให้นอนหลับง่ายขึ้นจริงหรือ?

หลายคนมีความเชื่อกันว่าการทานอาหารที่มีทริปโตเฟนสูงจะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น เพราะสมองมีการสร้างเซโรโทนินออกมามากขึ้น แต่จริงๆ แล้ว นั่นไม่เป็นความจริงเลย เพราะบางครั้งอาหารที่มีทริปโตเฟนสูงก็อาจมีวิตามินและสารอาหารอื่นๆ ที่ส่งผลให้ทริปโตเฟนลดประสิทธิภาพลงได้เช่นกัน ดังนั้นการจะช่วยให้นอนหลับเร็วจึงอาจต้องสัมพันธ์กับสารอาหารหลายอย่างด้วยกันนั่นเอง
โดยจากการวิจัยพบว่าการทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงก็จะทำให้นอนหลับง่ายขึ้นได้อีกด้วย เพียงทานก่อนนอนประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น โดยอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงได้แก่ ขนมปัง แคร็กเกอร์ ซีเรียลและข้าว เป็นต้น
ส่วนการทานอาหารที่มีทริปโตเฟนสูง การจะทำให้นอนหลับง่ายขึ้นหรือไม่นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับสัดส่วนของโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและชนิดของกรดอะมิโนด้วย หากไม่ได้สัดส่วนที่สมดุลกันก็อาจไม่ช่วยให้นอนหลับได้เหมือนกัน โดยจากบรรพบุรุษของชาวตะวันตกก็ได้มีข้อแนะนำว่าให้ดื่มนมอุ่นๆ 1 แก้วก่อนนอนจะช่วยให้นอนหลับได้ดี แต่เนื่องจากในนมมีกรดอะมิโนอื่นๆ สูง และมีขนาดเล็กกว่าทริปโตเฟน จึงสามารถเข้าสู่สมองได้เร็วกว่าและทำให้เซโรโทนินที่ถูกสร้างลดลง จึงแทบไม่มีผลต่อการช่วยให้หลับง่ายเลย อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า การใช้วิธีนี้ก็คงจะดีกว่าการใช้ยานอนหลับ และนอกจากการใช้สารอาหารเป็นตัวช่วยในการนอนหลับแล้ว ก็มีเทคนิคในการกินอาหารเพื่อไม่ให้รบกวนการนอนหลับเช่นกัน อย่างเช่น ไม่กินอิ่มจนเกินไปในมื้อค่ำเพื่อไม่ให้ระบบย่อยอาหารต้องทำงานหนักจนนอนไม่หลับ และควรเน้นการกินอาหารเบาๆ อย่างเช่น ไขมัน ขนมปัง นมถั่วเหลือง นมจืดพร่องมันเลยหรือแคร็กเกอร์แทน    

ข้อแนะนำที่จะช่วยให้นอนหลับง่าย

มีคำแนะนำที่จะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้นดังต่อไปนี้

1. ลดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน เพราะเป็นตัวกระตุ้นระบบประสาทให้เกิดการนอนไม่หลับ แต่ทั้งนี้การจะเลิกดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนไปเลยก็อาจเป็นปัญหาได้ เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดหัว อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่ายและเกิดอาการสะลึมสะลือตลอดวัน ดังนั้นจึงควรเริ่มจากการลดปริมาณลงทีละนิดจนกระทั่งเลิกได้ในที่สุด โดยเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ได้แก่ กาแฟ ชา น้ำอัดลมสีดำและยาบางชนิด เป็นต้น

2. งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน เพราะนั่นจะทำให้เกิดการรบกวนการนอนได้ โดยในชั่วโมงแรกอาจนอนหลับง่ายขึ้น แต่หลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการนอนดิ้นและด้วยอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้นก็จะทำให้รู้สึกตัวตื่นมากลางดึกได้จนทำให้คุณภาพในการนอนต่ำลงนั่นเอง ดังนั้นหากต้องการดื่มควรเลี่ยงการดื่มก่อนนอนจะดีที่สุด

3. อย่าสูบบุหรี่ก่อนนอน เพราะสารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่จะทำให้ร่างกายเกิดอาการตื่นตัวและส่งผลให้นอนไม่หลับในที่สุดดังนั้นควรเลี่ยงการสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด

4. อย่ากินอาหารมื้อหนักก่อนนอน โดยเฉพาะอาหารที่มีรสจัด เพราะจะทำให้เกิดอาการอึดอัด แน่นท้อง และอาจมีอาการแสบลิ้นปี่จนทำให้นอนไม่หลับได้ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพไม่น้อยเลยทีเดียว

5. ช่วง 90 นาทีก่อนนอน ไม่ควรดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มชนิดใดๆ เพราะจะทำให้รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางคืน จนเป็นการรบกวนการนอนได้ ทางที่ดีควรดื่มน้ำและเครื่องดื่มต่างๆ ก่อนถึงเวลานอนจะดีที่สุด

6. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้นอนหลับง่ายและหลับสนิทมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความตื่นตัวในการทำงานได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้การออกกำลังกายไม่ควรทำก่อนนอนเพราะจะส่งผลให้นอนไม่หลับได้ในที่สุด

7. เลี่ยงการทานสารปรุงรสก่อนนอนอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นอีกตัวการหนึ่งที่จะรบกวนการนอนได้ โดยเฉพาะผงชูรส 

8. เลี่ยงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการรบกวนการนอนหลับ โดยปัจจัยเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคล เช่น การแพ้อาหารที่มีเครื่องเทศจัด การแพ้น้ำตาลในขนม การทานอาหารที่ย่อยยากและการทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำเกินไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการรบกวนการนอนหลับทั้งสิ้น จึงควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด

9. ไม่ควรใช้ยานอนหลับ หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดที่จะช่วยให้นอนหลับเร็วขึ้น เพราะถึงแม้ว่าจะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นจริง แต่ก็อาจเกิดผลเสียได้เหมือนกัน เช่นอาหารเสริมเมลาโทนินที่จะทำให้นอนหลับง่ายขึ้น แต่ก็จะลดการผลิตฮอร์โมนทำให้ขาดสมดุลฮอร์โมน และเกิดอาการสะลึมสะลืม สับสนในเวลากลางวันได้ในที่สุด ดังนั้นควรเลี่ยงการใช้ยานอนหลับหรืออาหารเสริมช่วยการนอนหลับจะดีกว่า เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพนั่นเอง

จากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อาจสรุปได้ว่าการนอนไม่หลับแบบชั่วคราวนั้น สามารถแก้ไขได้ด้วยการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงและโปรตีนต่ำ และในขณะเดียวกันก็ต้องทานอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่มีความเหมาะสมทำให้การนอนหลับง่านขึ้นกว่าที่คิด

นอกจากนี้ก็อาจมีการเสริมด้วยวิตามินและสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการนอนหลับได้ดี อย่างเช่น แคลเซียม ทองแดง ธาตุเหล็ก แมกนีเซียมและวิตามินบี เท่านี้ก็จะทำให้นอนหลับได้ดีขึ้นแล้ว และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารมื้อใหญ่หรืออาหารที่มีรสจัดก่อนนอนด้วย 
ส่วนผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง ควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยตรง ด้วยการหาสาเหตุก่อนว่าที่นอนไม่หลับนั้นเป็นเพราะอะไร เช่นหากนอนไม่หลับเพราะความเครียด ก็ให้พยายามลดความเครียดลง หรือหากนอนไม่หลับเพราะการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ก่อนนอนเป็นประจำ ก็ให้งดการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ก่อนเวลานอนเด็ดขาด อย่างไรก็ตามหากหาสาเหตุไม่พบหรือทำทุกวิธีแล้ว อาหารนอนไม่หลับเรื้อรังก็ยังไม่หายไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาที่ถูกต้องจะดีที่สุด

อาหารที่มีข้อมูลการวิจัยช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น
ชนิดอาหาร สารอาหารที่ช่วยให้หลับ หน้าที่
ปลา โปรตีน

วิตามินบี 6

ช่วยสร้างเซโรโทนิน

ช่วยสร้างเซลล์โทนินและเมลานิน

กุ้งและล็อบสเตอร์  ทริปโตเฟน ช่วยเร่งให้หลับง่าย
วอลนัท ทริปโตเฟน ช่วยสร้างเซโรโทนินและเมลานิน
อัลมอนด์ เมลาโทนินธรรมชาติ

แมกนีเซียม

ช่วยให้หลับเร็วขึ้น

ป้องกันระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งทำให้หลับยาก

ถั่วพิสตาชิโอ วิตามินบี 6 ช่วยสร้างเซโรโทนินและเมลานิน
ถั่วลูกไก่ ทริปโตเฟน ช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนิน
ข้าวหอมมะลิ ดัชนีน้ำตาลสูง ช่วยให้หลับเร็วขึ้น
ข้าวโอ๊ต เมลาโทนินธรรมชาติ ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและหลับง่าย
ซีเรียล + นม คาร์โบไฮเดรต + แคลเซียม + โปรตีน ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและหลับง่าย
กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
เพิ่มการสร้างคริปโตแฟนและเมลาโทนินทำให้ง่วงนอน
นม โยเกิร์ต แคลเซียม สร้างเมลาโทนิน ช่วยควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
ผักสลัด แล็กทูคาเรียม (Lactucarium) มีคุณสมบัติเหมือนยากล่อมประสาท
เคล สปินิช ผักกาดเขียว แคลเซียม ช่วยสมองสร้างเมลาโทนินจากทริปโตเฟน
น้ำเชอร์รี่ เมลาโทนินธรรมชาติ เพิ่มระดับเมลาโทนิน
ชาคาโมมายล์ ไกลซีน ช่วยให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ชาจากดอกแพชชั่น (ดื่มก่อนนอนหนึ่งชั่วโมง)  ฮาร์มาอัลคาลอยด์
(Harmala Alkaloid)
ช่วยทำให้ระบบประสาทผ่อนคลายอยากพักผ่อน หลับสบาย
น้ำผึ้ง กลูโคส เพิ่มระดับอินซูลินช่วยให้ทริปโตเฟน เข้าสู่สมองง่ายขึ้น (ผู้ที่เป็นเบาหวานหรืออ้วนควรเลี่ยง) ยับยั้งสารโอเรซิน (Orexin) ซึ่งเป็นสารเคมีกระตุ้นให้ตื่นตัว
กระเทียม วิตามินบี 6 ช่วยสร้างเซโรโทนินและเมลาโทนิน

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย

0
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและสารอาหารในร่างกาย
ร่างกายของมนุษย์จำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างครบถ้วนและได้สัดส่วนกันจึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและสารอาหารในร่างกาย
ร่างกายของมนุษย์จำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างครบถ้วนและได้สัดส่วนกันจึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย

โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์จำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างครบถ้วนและได้สัดส่วนกันจึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการขาดหรือได้รับสารอาหารบางอย่างมากเกินไปจึงสามารถส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ได้มากทีเดียว โดยเฉพาะระบบการย่อยและการดูดซึม รวมถึงการขับถ่ายด้วย ซึ่งในปัจจุบันนักวิชาการก็ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก และพบว่าการเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและสารอาหาร สามารถเป็นไปได้ 2 แบบคือ

1.แบบเสริมคุณสมบัติกัน ซึ่งจะมีการนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ดีและมีประสิทธิภาพที่สุด

2.แบบขัดขวางกัน ซึ่งจะทำให้การนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์มีประสิทธิภาพลดลง

นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของสารอาหากต่างๆ ก็ช่วยให้สามารถวิเคราะห์และทราบถึงผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายที่มีผลต่อสุขภาพได้อีกด้วย

ปฏิสัมพันธ์ภายในของสารที่ให้พลังงาน

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย สารอาหารที่จะให้พลังงานกับร่างกายได้ดี คือ ไขมัน โปรตีน และ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะต้องมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน กล่าวคือ เมื่อร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะช่วยส่งเสริมให้ไขมันถูกเผาผลาญได้ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยให้มีการดูดซึมโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในขณะเดียวกัน หากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตที่น้อยเกินไป ก็จะทำให้การเผาผลาญไขมันไม่สมบูรณ์และเกิดสารคีโตนบอดี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นตัวการที่จะทำให้กรดในร่างกายสูงขึ้น และหากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมันน้อยกว่าปกติ ก็จะมีการนำเอาโปรตีนออกมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทน และเนื่องจากกระบวนการดังกล่าวต้องใช้พลังงานสูง จึงทำให้ต้องสูญเสียพลังงานจากอาหารไปอย่างเปล่าประโยชน์นั่นเอง และนอกจากนี้ยังทำให้โปรตีนไม่พอที่จะใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรออีกด้วย

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและโปรตีน 

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย ร่างกายจะสามารถใช้โปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะต้องได้รับพลังงานอย่างเพียงพอด้วย เพราะพลังงานจะทำให้เกิดการย่อยและดูดซึมโปรตีนได้นานขึ้น และช่วยลดการสูญเสียโปรตีนให้น้อยลงได้เช่นกัน แต่ในกรณีที่ร่างกายขาด ทั้งโปรตีนและพลังงาน ก็จะมีการดึงเอาโปรตีนที่สะสมอยู่ออกมาใช้ จึงทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายที่ต้องใช้โปรตีน มีประสิทธิภาพและการทำงานที่ด้อยลงเช่นกัน

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและวิตามิน

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย พลังงานที่ได้รับกับวิตามินบีหนึ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยพบว่าหากมีการบริโภคโปรตีนที่เป็นแหล่งพลังงานในปริมาณมาก ก็จะทำให้ร่างกายมีความต้องการวิตามินเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน นั่นก็เพราะว่าวิตามินจะทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในการช่วยเผาผลาญโปรตีนในร่างกายนั่นเอง

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและแร่ธาตุ

แร่ธาตุและวิตามินมีความสำคัญต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมัน คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำย่อยหลายตัวให้ทำปฎิกิริยาการเกิดพลังงานได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์มากขึ้น รวมถึงกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อโปรตีน ไขมันและไกลโคเจนอีกด้วย

ปฏิสัมพันธ์ภายในของกรดอะมิโน

กรดอะมิโนจำเป็นและชนิดไม่จำเป็น มีอิทธิพลต่อกันเอง กล่าวคือ หากมีกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นในปริมาณมากเกินไป ก็จะส่งผลให้ร่างกายต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณที่น้อยลง เป็นผลให้ร่างกายได้รับกรดอะมิโนจำเป็นชนิดนั้นในปริมาณที่ไม่เพียงพอ นอกจากนี้การได้รับกรดอะมิโนบางตัวสูงมาก ก็จะส่งผลให้เกิดการใช้กรดอะมิโนบางตัวได้น้อยกว่าปกติอีกด้วย

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกรดอะมิโนและวิตามิน

ธาตุและสารประกอบในร่างกาย ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับกรดอะมิโนและวิตามินโดยใช้ลูกไก่ในการทดลอง ซึ่งพบว่าเมื่อมีการเติมเมไทโอนีนลงไปในอาหารที่ไม่มีวิตามินบีสิบสอง จะทำให้ลูกไก่มีการเจริญเติบโตได้ดีไม่ต่างกับอาหารที่มีวิตามินบีสิบสองอยู่ จึงได้ข้อสรุปว่า เมไทโอนีนน่าจะให้เมธิลกรุ๊ปที่จะช่วยในการสังเคราะห์วิตามินบีสิบสองได้นั่นเอง

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกรดอะมิโนและแร่ธาตุ

ธาตุและสารประกอบในร่างกายแร่ธาตุบางตัวจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญหลักๆ ของกรดอะมิโน เช่น ซีลทีน ซีสเทอีน เป็นต้น ซึ่งการทานอาหารจำพวกโปรตีนมากๆ นั้น ก็จะช่วยให้เกิดการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้หากร่างกายได้รับซีลีเนียมในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้ซีลีเนียมเข้าไปแทนที่กำมะถันที่อยู่ในอณูของซีลทีน ซีสเทอีนและเมไทโอนีน จนทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้กรดอมิโนทั้ง 3 ตัวนี้ได้นั่นเอง

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างไขมันและแร่ธาตุ 

การที่ร่างกายได้รับไขมันมากเกินไปจะเกิดการรวมตัวกันระหว่างไขมันและแคลเซียมจนก่อให้เกิดสารประกอบชนิดหนึ่งที่ไม่ละลาย และไปขัดขวางกระบวนการดูดซึมแคลเซียม เป็นผลให้ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้ แต่จะเกิดการดูดซึมฟอสฟอรัสมากขึ้นบริเวณของลำไส้แทน

ปฏิสัมพันธ์ภายในของวิตามิน 

โดยปกติแล้วธาตุและสารประกอบในร่างกาย ร่างกายจำเป็นต้องได้รับวิตามินที่มีความสมดุลกันอยู่เสมอ หากขาดวิตามินบางตัวไปก็จะทำให้เกิดผลกระทบมากมายตามมาได้ เช่น การขาดวิตามินบีสิบสอง จะทำให้เป็นโรคโลหิตจางชนิดเพอร์นิเชียสได้ แต่ก็สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับโฟลาซินเสริมเข้าไปเช่นกัน นอกจากนี้หากมีวิตามินบีสิบสองและโฟลาซินอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยลดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อได้ดีอีกด้วย
ส่วนการขาดวิตามินบี 6 จะส่งผลให้เกิดการดูดซึมวิตามินบีสิบสองได้น้อยลงกว่าเดิม และหากขาดวิตามินอี ก็จะทำให้การเก็บวิตามินเอในร่างกายลดลงไปด้วย หรือการมีอยู่ของวิตามินอีและซีที่มากเกินไป ก็จะทำให้เกิดการรบกวนการใช้วิตามินเอของร่างกายได้เช่นกัน

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิตามินและแร่ธาตุ 

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิตามินและแร่ธาตุ ถึงแม้ว่าแร่ธาตุและวิตามินบางตัวจะสามารถทำงานได้อย่างอิสระ แต่แร่ธาตุบางชนิดก็จำเป็นต้องมีวิตามินเพื่อเสริมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้การทำงานเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น โดยมีปฏิสัมพันธ์ดังนี้

1.วิตามินอีกับซีลีเนียม
จากการศึกษาที่ผ่านมาได้ข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า วิตามินอีและซีลีเนียมสามารถเสริมภูมิคุ้นกันของร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้ โดยวิตามินอีจะทำหน้าที่ในการเสริมภูมิต้านทานโดยตรง ส่วนซีลีเนียมก็จะทำหน้าที่ในการเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำย่อยกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดส ( Glutathione Peroxidade, GSHPx ) ซึ่งเป็นน้ำย่อยที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันนั่นเอง นอกจากนี้พบว่าหากร่างกายได้รับอาหารที่มีซีลีเนียมและวิตามินอีต่ำ ก็จะทำให้การทำงานของกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดส ด้อยประสิทธิภาพลงไปด้วย
จากภาวะดังกล่าวที่การทำงานของกลูทาไทโอน เปอร์ออกซิเดสลดต่ำลง ก็จะส่งผลกระทบอย่างมากมายเช่นกัน โดยจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความอ่อนแอ จึงต้านทานการติดเชื้อและโรคร้ายต่างๆ ได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดอาการป่วยได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกัน หากได้รับซีลีเนียมอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยเสริมให้ภูมิต้านทานสูงขึ้น และทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคและเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย และนอกจากนี้วิตามินอีก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในลักษณะเดียวกันได้เช่นกัน

2.วิตามินดีกับแคลเซียมและฟอสฟอรัส
วิตามินและแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ต่างมีความสัมพันธ์และจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเสมอ โดยวิตามินดีจะช่วยในการจับเกาะของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่กระดูก พร้อมทั้งควบคุมระดับของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสเลือดไม่ให้ต่ำจนเกินไป และช่วยให้มีการดูดซึมบริเวณลำไส้ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งหากไม่มีวิตามินดี แคลเซียมและฟอสฟอรัสก็อาจถูกขับออกจากร่างกายไปหมดจนทำให้ร่างกายเกิดการขาดได้นั่นเอง

3.วิตามินซีกับเหล็ก
วิตามินซี มีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กที่ร่างกายได้รับจากอาหาร และทำหน้าที่ในการเปลี่ยนเหล็กที่เป็นเฟอริคให้กลายเป็นเฟอรัสที่สามารถดูดซึมได้ง่ายและดีกว่า นอกจากนี้พบว่าหากมีการทานวิตามินซีเป็นอาหารเสริมวันละ 280 มิลลิกรัม ก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้มากกว่าเดิมเป็นสองเท่าเลยทีเดียว หรือหากมีการแบ่งทานวิตามินซีในปริมาณดังกล่าวตามมื้ออาหาร ก็จะทำให้อัตราการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายเพิ่มมากขึ้นไปอีก

4.วิตามินเอและวิตามินซีกับแคลเซียม
วิตามินเอและวิตามินซีเมื่อทำงานร่วมกัน หรือได้รับในปริมาณ สัดส่วนที่มีความเหมาะสม ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้

5.วิตามินเอกับสังกะสี
จากการศึกษาพบว่า หากร่างกายได้รับสังกะสีในปริมาณที่น้อยเกินไปจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่างได้ แม้ว่าจะได้รับวิตามินเออย่างครบถ้วนก็ตาม เช่น การมองเห็นด้อยลง โดยเฉพาะการมองในที่ที่มีแสงสลัวๆ หรือความมืด นอกจากนี้ก็พบว่าน้ำย่อย แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส (Alcohol Dehydrogenase) ที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนวิตามินเอให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็มีสังกะสีประกอบอยู่ในน้ำย่อยเช่นกัน ดังนั้นวิตามินและแร่ธาตุทั้งสองชนิดนี้จึงมีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นอย่างมาก

6.วิตามินเอกับเหล็ก
จากการทดลองพบว่า วิตามินเอมีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือดเช่นเดียวกับเหล็ก ดังนั้นการทำงานร่วมกันระหว่างวิตามินเอและเหล็ก จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเม็ดเลือดได้อย่างดีเยี่ยม

ปฏิสัมพันธ์ภายในของแร่ธาตุ 

สำหรับปฏิสัมพันธ์ในส่วนของแร่ธาตุด้วยกันเอง ส่วนมากจะเป็นในรูปของการขัดขวางกันมากกว่า ซึ่งจะทำให้เกิดการนำแร่ธาตุบางชนิดไปใช้ประโยชน์ได้น้อยลง โดยสาเหตุส่วนใหญ่ก็เป็นเพราะ ร่างกายได้รับแร่ธาตุตัวใดตัวหนึ่งสูงเกินไป จึงไปขัดขวางการดูดซึมของแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่ง จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแร่ธาตุชนิดนั้นตามมาได้นั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งหากมีแคลเซียมในปริมาณน้อยก็จะทำให้ฟอสฟอรัสขาดความสมดุลไปด้วย และหากได้รับแคลเซียมในปริมาณที่สูงกว่าปกติ ก็จะได้รับแมกนีเซียมสูงขึ้นไปด้วย และแมกนีเซียมนี่เองที่จะไปขัดขวางการดูดซึมของฟอสฟอรัส จนทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสต่ำมากหรืออาจขาดได้ และในขณะเดียวกัน หากมีฟอสฟอรัสสูงกว่า ก็จะทำให้แมกนีเซียมถูกดูดซึมน้อยลงจนถึงขั้นขาดได้เหมือนกัน
ส่วนอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ก็จะขัดขวางการดูดซึมของเหล็ก สังกะสี แคลเซียมและแมกนีเซียม เนื่องจากจะเกิดการรวมของฟอสเฟตจนเกิดเป็นสารประกอบฟอสเฟตที่ไม่ละลาย และไปขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุดังกล่าวโดยตรง
หรือการทานอาหารที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ก็จะทำให้ร่างกายมีความต้องการแมงกานีสสูงขึ้น และแมงกานีสที่มีมากเกินไป ก็จะไปลดปริมาณของเหล็กที่ถูกเก็บไว้ให้เหลือน้องลงเช่นกัน
นอกจากนี้ จากการวิจัยก็พบว่าฟลูออรีน จะสามารถเพิ่มการจับเกาะของแคลเซียมและทำให้กระดูกมีความแข็งแรงขึ้นได้

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแร่ธาตุเหล็กและสังกะสี โดยมีบทบาทต่อภาวะโภชนาการของคนดังนี้

1.เหล็กที่อยู่ในรูปของเฟอรัส จะสามารถขัดขวางการดูดซึมสังกะสีได้มากกว่าเหล็กที่อยู่ในรูปเฟอริค

2.วิตามินซีมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมเหล็ก แต่ในขณะเดียวกันก็จะเกิดการขัดขวางการดูดซึมสังกะสีได้อีกด้วย

3.เหล็กและสังกะสีจะมีปฏิสัมพันธ์กันอยู่เสมอ นั่นคือ หากในภาวะที่ร่างกายขาดเหล็กและมีการดูดซึมเหล็กมากขึ้น จะมีการดูดซึมสังกะสีน้อยลง แต่เมื่อร่างกายได้รับเหล็กอย่างเพียงพอ ก็จะมีการดูดซึมเหล็กน้อยลง และเกิดการดูดซึมสังกะสีมากขึ้นแทน เนื่องจากไม่มีการรบกวนการดูดซึมของสังกะสีนั่นเอง

4.ในการเสริมเหล็กลงไปในอาหารประเภทนม ยาเม็ดหรืออาหารเสริม จะทำให้เกิดการรบกวนการดูดซึมของแร่ธาตุสังกะสีได้ โดยเฉพาะในเด็ก ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้อีกด้วย หรือในหญิงตั้งครรภ์ที่ทานยาเม็ดเสริมเหล็ก ก็อาจมีผลกระทบต่อการเติบโตของทารกเนื่องจากขาดสังกะสีได้
ส่วนการได้รับโซเดียมและโปแตสเซียมในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับหัวใจและไต ดังนั้นจึงควรกินอาหารที่มีโซเดียมควบคู่ไปกับผักผลไม้อย่างพอเหมาะเพื่อให้ได้รับแร่ธาตุทั้งสองชนิดอย่างสมดุลกัน และเกิดการทำงานเสริมกันที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

กินอาหารมังสวิรัติช่วยให้ห่างไกลโรค

0
กินอาหารมังสวิรัติช่วยให้ห่างไกลโรค
อาหารมังสวิรัติจะเป็นผัก ผลไม้ รวมถึงเหล่าธัญพืชต่างๆที่มีกากใยสูง อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย
กินอาหารมังสวิรัติช่วยให้ห่างไกลโรค
อาหารมังสวิรัติจะเป็นผัก ผลไม้ รวมถึงเหล่าธัญพืชต่างๆที่มีกากใยสูง อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย

กินอาหารมังสวิรัติ

การกินอาหารมังสวิรัติ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่แพ้กับการกินเจ ซึ่งส่วนใหญ่เหตุผลในการกินอาหารมังสวิรัติ หรือกินมังสวิรัติก็มาจากศาสนาและการรักสุขภาพ โดยเชื่อว่าหากกินมังสวิรัติเป็นประจำก็จะทำให้มีสุขภาพดี แข็งแรงและห่างไกลจาก โรคร้ายต่างๆ ได้ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับไขมันและคอเลสเตอรอลสูง อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกกินอาหารมังสวิรัติ นั่นก็เพราะการมีสุขภาพที่ดีนั่นเอง

ประเภทของอาหารมังสวิรัติ

อาหารมังสวิรัติ คือ อาหารจำพวกผักและผลไม้ซึ่งทำให้ได้รับกากใยอาหารกินอาหารมังสวิรัติช่วยให้ห่างไกลโรค จะไม่มีเนื้อสัตว์เลยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยข้าว ถั่ว เป็นต้น

1. การกินมังสวิรัติแบบเคร่งครัด ไม่กินเนื้อสัตว์ใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกชนิดด้วย แม้ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปก็ตาม โดยกลุ่มนี้จะเรียกว่า วีแกน นั่นเอง นอกจากนี้ในคนที่ถือศีลกินเจก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน

2. การกินมังสวิรัติแบบเคร่งครัดปานกลาง โดยกลุ่มนี้จะงดทานพวกเนื้อสัตว์ทุกชนิด แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงกินไข่และดื่มนม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อยู่ โดยแบ่งกลุ่มนี้ออกเป็น

  • กลุ่มที่ดื่มนม แต่ไม่กินไข่
  • กลุ่มที่กินไข่ แต่ไม่ดื่มนม

3. การกินมังสวิรัติแบบกึ่งมังสวิรัติ เป็นประเภทที่ไม่เคร่งครัดในการเลือกกินมากนัก ซึ่งกลุ่มนี้จะยังคงกินเนื้อสัตว์ได้บ้าง แต่อาจงดเว้นโดยการไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่ แต่กินสัตว์ปีกและสัตว์น้ำ เป็นต้น

อาหารหลักของคนที่กินมังสวิรัติก็จะเป็นผัก ผลไม้ รวมถึงเหล่าธัญพืชต่างๆ ที่มีกากใยสูง โดยอาหารเหล่านี้จะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย จึงส่งผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก

ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยต้านการเกิดมะเร็งได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย ดังนั้นอาหารมังสวิรัติจึงได้ชื่อว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและทำให้คนเราห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ ได้ดีนั่นเอง

ผลของมังสวิรัติต่อสุขภาพ

สำหรับผลของการกินมังสวิรัติที่มีต่อสุขภาพที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ การมีอายุยืนนั่นเอง โดยพบว่าคนที่กินมังสวิรัติมักจะมีอายุยืนกว่าคนทั่วไป และไม่ค่อยเจ็บป่วยมากนัก ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะการที่พวกเขาไม่กินเนื้อสัตว์และเน้นการกินผักผลไม้เป็นหลัก จึงทำให้ห่างไกลจากโรคร้ายอย่างโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งและไขมันใน เลือดสูง เป็นต้น แถมยังมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และงดการดื่มของมึนเมาทุกชนิด จึงทำให้สุขภาพดี แข็งแรงและไม่เจ็บป่วยได้ง่าย ต่างจากคนทั่วไปที่มักจะมีปัญหาสุขภาพรุมเร้าเป็นประจำ และที่เห็นได้เด่นชัดก็คงจะเป็นโรคอ้วน ที่แทบจะไม่พบในกลุ่มคนที่กินมังสวิรัติเลย และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ก็ด้วยเช่นกัน เพราะโรคเบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผลมาจากโรคอ้วน ดังนั้นเมื่อไม่มีคนอ้วนจึงไม่ค่อยมีคนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 นั่นเอง และเนื่องจากคนกินมังสวิรัติมักจะกินคาร์โบไฮเดรตชนิดที่มีกากใยสูง จึงมักจะไม่มีปัญหาระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นสูง

อาหารมังสวิรัติมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนไหม

การกินอาหารมังสวิรัติ หากมีการผสมผสานผักผลไม้และธัญพืชต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างหลากหลาย ก็จะทำให้ได้สารอาหารที่มีความครบถ้วนและไม่เกิดการขาดสารอาหารอย่างแน่นอน โดยเฉพาะการกินโปรตีนจากพืชหลากหลายชนิด ซึ่งจะทำให้ได้โปรตีนและกรดอะมิโนที่มีความเหมาะสม ครบถ้วนไม่แพ้โปรตีนจากเนื้อสัตว์เลยทีเดียว ดังนั้นในคนที่กินมังสวิรัติ จึงควรจัดโภชนาการในการกินให้ดีเพื่อให้ได้คุณภาพของโปรตีนที่ครบถ้วนสมบูรณ์นั่นเอง

สำหรับอาหารมังสวิรัติที่พบว่ามีโปรตีนที่มีคุณภาพสูงไม่แพ้กับโปรตีนสัตว์ ก็คือ โปรตีนจากถั่วเหลือง ซึ่งนอกจากจะให้โปรตีนที่ดีแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ต้องกลัวเรื่องปัญหาไขมันส่วนเกินเหมือนการกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์อีกด้วย นอกจากนี้การกินโปรตีนถั่วเหลืองก็สามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคกระดูกพรุนและโรคไตได้เป็นอย่างดี จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง ซึ่งส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะอาหารมังสวิรัตินั้นเต็มไปด้วยกากใยอาหารสูงมาก จึงป้องกันโรคร้ายเหล่านี้ได้ รวมถึงโรคอ้วน โรคมะเร็งและช่วยให้ระบบขับถ่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้อาหารมังสวิรัติก็ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย เช่น วิตามินซี วิตามินอี โฟเลตและแคโรทีนอยด์ ซึ่งสารเหล่านี้ก็มีความจำเป็นต่อร่างกายและสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง กำจัดอนุมูลอิสระต่างๆ พร้อมกับชะลอการเกิดริ้วรอยให้ผิวมีความอ่อนเยาว์และดูเด็กลงกว่าเดิม และที่สำคัญในพืชก็มีสารพฤกษเคมีที่จะเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายและป้องกันการเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อเรื้อรังได้อย่างดีเยี่ยม การกินอาหารมังสวิรัติจึงเหมือนกับการได้กินยาดีที่มีส่วนช่วยในการรักษาสุขภาพเลยทีเดียว

วิตามินและแร่ธาตุที่คนกินมังสวิรัติต้องใส่ใจ

1. ธาตุเหล็ก

เป็นที่รู้กันดีกว่า ธาตุเหล็กจากพืชจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยกว่าธาตุเหล็กจากสัตว์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ชาวมังสวิรัติต้องขาดธาตุเหล็กเสมอไป เพราะหากเลือกกินอย่างถูกหลัก โดยเลือกกินผักผลไม้ที่มีความหลากหลาย ก็จะทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อกินผักผลไม้ที่มีธาตุเหล็กคู่กับผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี นั่นก็เพราะว่าวิตามินซีจะสามารถส่งเสริมให้มีการดูดซึมธาตุเหล็กที่ดียิ่งขึ้นนั่นเอง เท่านี้ก็จะหมดกังวลเรื่องการขาดธาตุเหล็กไปได้เลย แต่อย่างไรก็ตาม การกินมังสวิรัติก็มีข้อจำกัดที่ต้องระวังอยู่เหมือนกัน นั่นคือห้ามดื่มชาพร้อมกับมื้ออาหารเป็นอันขาด เพราะในชามีสารที่จะยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก เป็นผลให้มีโอกาสขาดธาตุเหล็กได้สูง

2. แคลเซียม

แคลเซียม เป็นสารอาหารที่มักจะไม่ค่อยถูกกับธาตุเหล็ก โดยจะมีความเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน กล่าวคือหากทานแคลเซียมพร้อมกับธาตุเหล็ก ก็จะทำให้การดูดซึมของแคลเซียมและธาตุเหล็กลดลง เป็นผลให้ร่างกายขาดแร่ธาตุทั้งสองชนิดนี้ได้นั่นเอง นอกจากนี้แคลเซียมก็มีผลเป็นปฏิปักษ์ต่อสารออกซาเลตที่อยู่ในพืชบางชนิดอีกด้วย ซึ่งจะทำให้การดูดซึมแคลเซียมเป็นไปอย่างไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรเลี่ยงการทานแคลเซียมพร้อมกับผักที่มีออกซาเลตสูง โดยได้แก่ ผักโขม เป็นต้น ส่วนผักที่มีออกซาเลตต่ำและจะช่วยในการดูดซึมได้ดี ก็คือ ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้งและบรอกโคลี นั่นเอง

อย่างไรก็ตามในคนที่กินมังสวิรัติมักจะไม่พบปัญหาการขาดแคลเซียมมากนัก โดยเฉพาะในคนที่ดื่มนมเป็นประจำ และเนื่องจากชาวมังสวิรัติไม่กินเนื้อสัตว์ จึงทำให้ความต้องการแคลเซียมของร่างกายลดน้อยลงไปด้วยนั่นเองและยังสามารถรักษาระดับของแคลเซียมได้ดีกว่าอีกด้วย นอกจากนี้จากการวิจัยก็พบว่าชาวมังสวิรัติควรได้รับแคลเซียมทุก 16 มิลลิกรัมต่อทุก 1 กรัมของอาหารโปรตีน ซึ่งเฉลี่ยแล้วก็อยู่ที่ประมาณวันละ 720 มิลลิกรัมนั่นเอง โดยอาหารที่มักจะพบแคลเซียมได้แก่ เต้าหู้ ผักใบเขียวเข้ม นมถั่วเหลือง น้ำส้ม งา และถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น

3. วิตามินบี 2

เป็นวิตามินที่จะช่วยเสริมให้ปฏิกิริยาในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินไปอย่างเป็นปกติ ซึ่งส่วนใหญ่วิตามินบี 2 จะพบได้มากในเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาของชาวมังสวิรัติ เพราะวิตามินบี 2 ก็สามารถพบได้มากในสาหร่ายเช่นกัน และอาจพบได้บ้างในผักใบเขียว ถั่วต่างๆและขนมปัง ดังนั้นหากต้องการให้ร่างกายได้รับวิตามินบี 2 อย่างครบถ้วน จึงควรทานสาหร่ายให้เยอะๆ หรือเน้นการทานผักใบเขียวเป็นหลัก แต่ก็ต้องทานควบคู่ไปกับผักผลไม้อื่นๆ ให้หลากหลายด้วย

4. วิตามินบี 12

วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่ชาวมังสวิรัติมีโอกาสขาดได้สูง เพราะส่วนใหญ่จะพบในสัตว์เท่านั้น และแม้ว่าจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์จะสามารถผลิตวิตามินบี 12 ขึ้นมาได้ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอยู่ดี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันก็พบว่าพืชบางชนิดก็มีวิตามินบี 12 อยู่เช่นกัน ถึงแม้ว่าวิตามินบี 12 ที่ได้จากพืชจะมีประสิทธิภาพที่ต่ำจากเนื้อสัตว์ก็ตาม หรือหากไม่สามารถเสริมวิตามินบี 12 ได้อย่างเพียงพอ ก็อาจทานวิตามินบี 12 ที่ผลิตในรูปของอาหารเสริมแทนก็ได้

5. วิตามินดี

วิตามินที่จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งพบว่าหากมีวิตามินดีต่ำก็จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมแย่ลงได้ ดังนั้นจึงควรทานวิตามินดีให้เพียงพออยู่เสมอ แต่เนื่องจากวิตามินดีส่วนใหญ่จะพบได้มากในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ซึ่งไม่ค่อยพบในพืชมากนัก จึงต้องพยายามเสริมวิตามินดีจากการสัมผัสแสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้าแทน เพราะผิวหนังของคนเราสามารถที่จะสร้างวิตามินดีจากแสงแดดได้อย่างง่ายดายนั่นเอง อย่างไรก็ตามหากคิดว่าไม่สามารถได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ ก็อาจเลือกกินวิตามินดีจากอาหารเสริมได้เช่นกัน

6. สังกะสี

เป็นแร่ธาตุอีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยจะช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายอย่างสมวัย รวมถึงการเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น จึงทำให้ห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆ ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง โดย สำหรับแหล่งอาหารพืชที่สามารถพบสังกะสีได้ง่าย ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง เต้าหู้ ผักคะน้า ถั่วเปลือกแข็งและผักโขม เป็นต้น แต่ทั้งนี้ในคนที่กินมังสวิรัติก็มักจะไม่ค่อยพบการขาดแร่ธาตุสังกะสีมากนัก เพราะหากร่างกายมีสังกะสีน้อย ก็จะมีการดูดซึมจากอาหารมากขึ้น และในขณะเดียวกันหากร่างกายมีสังกะสีสูงก็จะดูดซึมน้อยลงนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าการขาดสังกะสีมักจะไม่ค่อยพบ แต่ก็ต้องใส่ใจในการกินเช่นกัน เพราะสารบางอย่าง เช่น สารไฟเตท จะทำให้สังกะสีถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยลง และหากทานแคลเซียมในมื้ออาหารด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้สังกะสีถูกดูดซึมยากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงควรเลี่ยงการทานแคลเซียมและสังกะสีพร้อมกัน เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกัน

โดยปกติแล้วชาวมังสวิรัติมักจะไม่ค่อยมีปัญหาการขาดสารอาหารมากนัก หากสามารถทานอาหารได้อย่างหลากหลายและจัดโภชนาการได้เหมาะสมที่สุด แต่จะพบปัญหาได้มากในกลุ่มของเด็กทารก เพราะอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตจึงต้องการพลังงานและโปรตีนมากเป็นพิเศษ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรก็เช่นกัน

และถึงแม้ว่าการกินมังสวิรัติจะขึ้นชื่อว่าดีต่อสุขภาพ แต่ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับวิธีการปรุงอาหารและการเลือกสรรเมนูด้วย เพราะหากกินมังสวิรัติแต่เน้นเมนูพวกทอดและผัดเป็นหลัก ก็อาจทำให้อ้วนและส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกับคนที่ไม่กินมังสวิรัติ ดังนั้นจึงควรเน้นเมนูมังสวิรัติที่เป็นเมนู ยำ ย่าง แกง ต้มหรือนึ่งมากกว่า เพราะเมนูเหล่านี้ถือเป็นเมนูที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำอย่างแท้จริง จึงหมดกังวลเรื่องสุขภาพไปได้เลย ส่วนมังสวิรัติที่ดื่มนม แนะนำให้เลือกดื่มนมชนิดไร้ไขมันและพร่องมันเนย หรือเป็นนมถั่วเหลืองจะดีที่สุด และสำหรับมังสวิรัติที่กินไข่ ก็สามารถกินไข่ขาวได้อย่างไม่จำกัด แต่ไข่แดงจะกินได้แค่วันละฟองเท่านั้น และที่สำคัญควรเป็นเวลาต้ม นึ่ง โดยหลีกเลี่ยงเมนูทอดนั่นเอง

และนอกจากในเรื่องของอาหารแล้ว ชาวมังสวิรัติก็จะละเว้นจากการดื่มเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด และไม่สูบบุหรี่เลย จึงยิ่งส่งผลดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้นไปอีก และหากมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยแล้ว ก็จะช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย ห่างไกลจากความเครียดและนอนหลับสนิท สบายตลอดคืนเช่นกัน

ส่วนในคนที่ต้องการเปลี่ยนมากินมังสวิรัติ แนะนำให้เริ่มจากการเปลี่ยนวิถีการกินไปทีละนิด เพื่อให้ร่างกายได้มีการปรับตัวเข้ากับวิธีการกินแบบใหม่ได้ง่ายขึ้น และไม่ส่งผลกระทบตามมา โดยอาจเริ่มจากการลดอาหารประเภทเดิมลงและเน้นอาหารมังสวิรัติเป็นหลัก โดยค่อยๆ เพิ่มและลดทีละนิด เท่านี้ก็ไม่มีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน และที่สำคัญควรดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้วด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

กินคาร์โบไฮเดรตอย่างไร ไม่ให้น้ำหนักเพิ่ม

0
คาร์โบไฮเดรต สารอาหารให้พลังงานแก่ร่างกาย
อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารจำพวกข้าว แป้ง ขนมปัง

คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) คือ คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) คือ สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายรวมถึงเป็นแหล่งพลังงานหลักที่สำคัญต่อสมองและกล้ามเนื้อ คาร์โบไฮเดรตมี 3 ประเภทหลัก ได้แก่ แป้ง น้ำตาล และเส้นใยอาหารส่วนใหญ่พบได้ในอาหารจากพืช ได้แก่ ข้าว ถั่ว ขนมปัง พาสต้า มันฝรั่ง และผลิตภัณฑ์จากนม คาร์โบไฮเดรตประโยชน์มากมายประกอบไปด้วยน้ำตาลและสารประกอบลักษณะเชิงซ้อนซึ่งเกิดจากการเชื่อมต่อเข้าหากัน ภายในยังมีสารที่ประกอบที่สำคัญอย่าง เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจนและไฮโดรเจนอยู่ภายในอีกด้วย ( สำหรับสัดส่วนของออกซิเจนกับไฮโดรเจนอยู่ที่ 1 ต่อ 2 )

[adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”]

คาร์โบไฮเดรตมีกี่ประเภท

แม้คาร์โบไฮเดรตจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ( แบ่งตามขนาดโครงสร้าง ) ดังต่อไปนี้

1. น้ำตาลประเภทแรกคือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 

น้ำตาลประเภทนี้มีชื่อภาษาอังกฤษแบบเต็ม ๆ ว่า “ MONOSCACCHARIDES , SIMPLE SUGAR ” น้ำตาลประเภทนี้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีไซด์โมเลกุลค่อนข้างเล็กที่สุดในบรรดาน้ำตาลด้วยกัน เป็นน้ำตาลที่สามารถพบได้ในอาหารแบบอิสระหรือในสารประกอบ เป็นสิ่งที่มีรสชาติหวาน สามารถละลายน้ำได้ ซึมผ่านส่วนของลำไส้ได้แบบสบาย ๆ โดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น สำหรับน้ำตาลประเภทนี้จะ ประกอบไปด้วย 3 รูปแบบด้วยกัน นั่นคือ

  • กลูโคส ( GLUCOSE ) น้ำตาลประเภทนี้สำคัญมากที่สุดในบรรดาน้ำตาลด้วยกัน เนื่องจาก น้ำตาลตัวนี้เป็นตัวต้นของการผลิตพลังงานที่ได้มาจากกระบวนการย่อยสลายน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทใดก็ตามย่อมจำเป็นต้องถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นกลูโคสก่อนเสมอ ( กระบวนการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ตับ ) ไม่เช่นนั้นร่างกายจะไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้ สิ่งสำคัญของกระบวนการนี้อยู่ที่ตัวน้ำย่อยที่อยู่ภายในร่างกายรวมถึงแร่ธาตุและวิตามิน ร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีกลูโคสอยู่ภายในเลือดอยู่ตลอดระยะเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อให้ร่างกายยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติ ( ปริมาณที่เหมาะสม คือ 70 ถึง 100 มก/ลิตร ) เซลล์ที่อยู่ในร่างกายไม่สามารถที่จะใช้สารอื่นในการนำมาเป็นสารตั้งต้นเพื่อการดำเนินการสร้างพลังงานได้ แหล่งที่สามารถพบได้ ได้แก่ น้ำผลไม้ ผัก น้ำตาลทราย และผลไม้ ฯลฯ
  • กาแลคโทส ( GALACTOSE ) น้ำตาลรูปแบบนี้เป็นน้ำตาลที่สามารถพบได้ในนมโดยเฉพาะ ได้มาจากกระบวนการย่อยสลายตัวแลคโทสด้วยน้ำ เมื่อมีการดูดซึมที่บริเวณลำไส้เมื่อนั้นก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นกลูโคสต่อไปที่ตับ เป็นน้ำตาลที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นพวกไกลโคเจนแบบโดยตรงได้เลยแถมยังสามารถเก็บสะสมเอาไว้ที่ภายในส่วนของตับได้ตลอดเวลา นอกจากนี้หญิงสาวที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมลูกส่วนของต่อมนมจะสามารถทำการสังเคราะห์น้ำตาลกาแลคโทสได้เองแล้วค่อยเข้าไปรวมกับน้ำตาลประเภทกลูโคสเพื่อเปลี่ยนไปสู่การเป็นน้ำตาลแลคโทสในอนาคต นอกจากนี้ความสำคัญของน้ำตาลประเภทนี้ยังอยู่ที่การเข้าไปเป็นองค์ประกอบสำคัญของสมองเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของช่วงวัยเด็ก หากเด็กเกิดการขาดน้ำตาลตัวนี้เมื่อใดนั่นจะเป็นการส่งผลทำให้เด็กเกิดภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นได้
  • ฟรักโทส ( FRUCTOSE ) น้ำตาลรูปแบบนี้เป็นน้ำตาลที่มีรสหวานมากที่สุด เป็นน้ำตาลที่สามารถพบได้ในผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง เครื่องดื่มบางประเภท เป็นต้น ฟรักโทสจะถูกดูดซึมเข้าไปแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนกลายเป็นกลูโคสที่บริเวณผนังของตับและลำไส้เล็ก เมื่อเปลี่ยนเสร็จแล้วก็จะค่อย ๆ ดูดซึมเข้าไปสู่ส่วนของกระแสเลือดต่อไป

น้ำตาลประเภทชั้นเดียวนี้ไม่ว่าจะตัวใดก็ตามล้วนแต่เป็นผลผลิตที่ได้มาจากขั้นตอนท้ายสุดของกระบวนการย่อยคาร์โบไฮเดรตแทบจะทั้งสิ้น เป็นน้ำตาลที่สามารถผ่านผนังของระบบทางเดินอาหารได้แบบสบาย ดังนั้นหากใครที่คิดว่าน้ำตาลกลุ่มนี้ไม่สำคัญเราขอบอกเลยว่าคุณคิดผิดมหันต์ เพราะน้ำตาลกลุ่มนี้หากร่างกายขาดไปนั่นย่อมสามารถส่งผลกระทบต่อลักษณะของร่างกาย ความสมบูรณ์ด้านการพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้ หากใครที่รู้ตัวว่าตนเองนั้นขาดน้ำตาลกลุ่มนี้อยู่ควรรีบปรับปรุงตัวและหันมาทานน้ำตาลกลุ่มนี้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายจะดีกว่า      [adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”]

2. น้ำตาลประเภทที่สองคือน้ำตาลโมเลกุลคู่

น้ำตาลประเภทนี้มีชื่อภาษาอังกฤษแบบเต็ม ๆ ว่า “ DISACCHARIDE , DOUBLE SUGAR ” เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีส่วนประกอบเป็นน้ำตาลลักษณะชั้นเดียวจำนวนสองตัวเชื่อมต่อกันโดยอาศัยพันธะสำคัญอย่างพันธะไกลโคซิดิก ซึ่งน้ำตาลแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นแบบชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันได้ทั้งหมดแต่จะไม่สามารถพบได้ภายในร่างกายของคนเรา เนื่องจาก เมื่อใดที่คนเราทานคาร์โบไฮเดรตเข้าไปแล้วเจ้าน้ำย่อยที่อยู่ภายในลำไส้เล็กนั้นก็จะเริ่มทำการย่อยจนกลายเป็นน้ำตาลชั้นเดียวแล้วสามารถนำไปใช้ภายในร่างกายได้โดยตรง สำหรับคุณสมบัติสำคัญของน้ำตาลประเภทนี้ คือ มีรสหวาน สามารถละลายน้ำได้ดี สามารถผ่านการย่อยได้ดี สำหรับน้ำตาลประเภทนี้จะ ประกอบไปด้วย 3 รูปแบบด้วยกันคือ

  • น้ำตาลซูโครส ( SUCROSE ) น้ำตาลประเภทนี้คือคาร์โบไฮเดรตอีกหนึ่งประเภทที่คนเราเลือกทานกันมาก รองลงมาจากการทานแป้งเป็นน้ำตาลที่พบได้จากการที่น้ำตาลกลูโคสจำนวนหนึ่งโมเลกุลและฟรักโทสจำนวนหนึ่งโมเลกุลทำการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน น้ำตาลลักษณะนี้สามารถพบได้ในพวกน้ำตาลทรายแดง น้ำตาลปี๊ป พวกลูกอมรสหวาน เป็นต้น
  • แลคโทส ( LACTOSE ) คือน้ำตาลที่พบได้ในนมและอาหารทุกประเภทที่ทำมาจากนม จะมีรสที่หวานค่อนข้างน้อยกว่าน้ำตาลประเภทซูโครส ( หวานน้อยกว่าถึงหกเท่าเลยทีเดียว ) การละลายก็ช้ากว่ามากเช่นกัน การบูดเสียก็ยากมากกว่าน้ำตาลสองชั้นประเภทอื่นด้วย น้ำตาลลักษณะนี้เป็นน้ำตาลที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันของกาแลคโทสและกลูโคสที่เข้าไปเชื่อมต่อกับแลคโทสอีกตัวหนึ่งซึ่งนั่นทำให้น้ำตาลประเภทนี้กลายเป็นน้ำตาลที่มีความน่าสนใจมากทางด้านโภชนาการนั่นเอง สำหรับอาการที่สามารถพบได้ในบุคคลที่ไม่ได้รับแลคโทสเลยเรียกว่า “ อาการ LACTOSE INTOLERANCE” เป็นผลมาจากการที่ร่างกายมีระดับของน้ำย่อยแลคโทสที่ค่อนข้างต่ำมากจนทำให้น้ำตาลตัวนี้ไม่สามารถเกิดการย่อยได้ ทำให้ไม่เกิดการดูดซึมจนท้ายที่สุดแล้วเลยยังคงค้างที่ส่วนของลำไส้ แบคทีเรียที่อยู่ในนั้นก็จะค่อยทำการเปลี่ยนน้ำตาลแลคโทสบางส่วนให้กลายเป็นกรดแลคติก กลายเป็นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์และก๊าซตัวสุดท้าย คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และส่วนที่เหลือจะกลายเป็นส่วนที่อุ้มน้ำไว้ปริมาณมากเลยทำให้ลำไส้เกิดการกระตุ้นให้มีการบีบตัวอย่างรวดเร็วและค่อย ๆ ขับออกจากร่างกายในเวลาต่อมาซึ่งนั่นจึงเป็นสาเหตุของการเกิดอาการท้องเดินที่เรามักพบเจอ ส่วนวิธีแก้ คือ ให้คุณทำการดื่มนมแต่ละครั้งในปริมาณที่น้อยเข้าไว้ ควรดื่มภายหลังอาหารหรือดื่มพร้อมอาหารไปเลยจะดีกว่า
  •  มอลโทส ( MOLTOSE ) เป็นน้ำตาลที่ได้มาจากอาหารประเภทแป้ง ( อยู่ในข้าวประเภทข้าวบาร์เร่ย์ที่กำลังค่อยๆงอก ) เป็นน้ำตาลที่ไม่สามารถเกิดขึ้นอย่างอิสระตามธรรมชาติได้ มักได้จากการย่อยพวกแป้งโดยน้ำย่อยประเภท DIASTASE เป็นน้ำตาลที่มีส่วนประกอบจากกลูโคสจำนวนสองโมเลกุลมาเชื่อมเข้าด้วยกัน

น้ำตาลประเภทโอลิโกแซคคาไรด์ เป็นน้ำตาลอีกหนึ่งประเภทที่มีลักษณะเป็นแบบห่วงโซ่ขนาดสั้น มีการเชื่อมต่อโมเลกุลอย่างน้อยสามโมเลกุลนั่นจึงเป็นเหตุทำให้น้ำตาลประเภทนี้มีขนาดใหญ่กว่าน้ำตาลประเภทอื่น แต่นั่นก็ยังเล็กกว่าน้ำตาลแบบโพลีแซคคาไรด์อยู่ดี น้ำตาลประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  •  แบบ MALTO-OLIGOSACCHARIDES เป็นรูปแบบของคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากช่วงระหว่างกระบวนการแตกตัวกับกระบวนการย่อยแป้งซึ่งต้องอาศัยอยู่ร่วมกับคาร์โบไฮเดรตประเภทอื่น อาทิเช่น ในน้ำผึ้ง ในน้ำเชื่อมที่ทำจากข้าวโพด เป็นต้น และเมื่อมีการแตกตัวหรือเกิดการย่อยสลายเกิดขึ้นเมื่อนั้นก็จะกลายเป็นกลูโคสเพื่อใช้งานต่อไป
  •  แบบ RESISTANT OLIGOSACCHARIDES เป็นคาร์โบไฮเดรตแบบที่ไม่สามารถถูกย่อยด้วยเอนไซม์ที่อยู่ภายในระบบทางเดินอาหารของคนเราได้นั่นจึงทำให้ไม่สามารถมีผลกระทบกับระดับน้ำตาลได้ (ระดับจะไม่สูงขึ้น) น้ำตาลประเภทนี้ประกอบด้วย GALACTOSYUCROSE (VERBASCOSE กับ RAFFINSSE STACHOSE) และ FRUCTO-OLIGOSACCHARIDES อาทิ พวกอินซูลิน ฯลฯ ส่วนใหญ่มักพบได้ในพวกข้าวสาลี พวกข้าวไรย์ ในหัวหอม ฯลฯ ประเภทนี้จะไม่สามารถย่อยด้วยน้ำย่อยที่อยู่ภายในระบบทางเดินอาหารได้แต่จะสามารถถูกย่อยได้ด้วยพวกแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้ใหญ่ เมื่อแบคทีเรียย่อยเสร็จแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นน้ำตาลแบบฟรักโทสต่อไป    [adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”]

3. น้ำตาลประเภทที่สามคือน้ำตาลโมเลกุลใหญ่

น้ำตาลประเภทนี้มีชื่อภาษาอังกฤษแบบเต็ม ๆ ว่า “ POLYSACCHARIDES ” น้ำตาลประเภทนี้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ภายในเป็นน้ำตาลแบบชั้นเดียวหลายตัวเชื่อมกันเป็นโซ่ยาว มีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่ มีสูตรของโครงสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อนมาก เมื่อถูกย่อยหรือเมื่อเกิดการแตกตัวเกิดขึ้นจนถึงกระบวนการท้ายสุดจะทำให้ได้น้ำตาลตัวเดียวออกมา น้ำตาลแบบหลายชั้นนี้ประกอบไปด้วย 2 ประเภท ได้แก่

3.1. แป้งแบบ STARCH ประกอบด้วย พวกกลูโคสที่มีการเชื่อมเข้ากันจนกลายเป็นเส้นยาว มี 2 ประเภท คือ

  • อะไมเลส ( AMYLASE ) ส่วนนี้จะเป็นลักษณะของกลูโคสที่ทำการเรียงตัวต่อกันเป็นรูปแบบเส้นตรง
  • อะมิโลแม็ดแพคติน ( AMYLOPECTIN ) ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบไปด้วยกลูโคสที่เรียงตัวกันคล้ายกับแขนง (ดูรวม ๆ จะคล้ายกับกิ่งไม้) เม็ดแบบนี้จะมีทั้งแบบอะมิโลส และแบบอะมิโลเพคติน

3.2. น้ำตาลแบบหลายชั้นที่ไม่ใช่รูปแบบแป้ง ( NSP ) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเองที่บริเวณผนังเซลล์ของพืช ทำให้เกิดความแข็งแรงมากขึ้นในพืช พบได้มากในผัก เปลือกผลไม้ ก้านของผักและส่วนของเปลือกด้านนอกผลไม้ น้ำตาลแบบนี้ร่างกายจะไม่สามารถย่อยหรือำการดูดซึมได้ น้ำตาลลักษณะนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในใยอาหารอีกด้วย

เห็นหรือไม่ว่าเรื่องของน้ำตาลนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย น้ำตาลเป็นสิ่งที่มีหลายรูปแบบมีหลายประเภท มีความซับซ้อนมากแถมยังต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายและการดูดซึมควบคู่กันไปด้วยถึงจะกลายเป็นน้ำตาลที่สามารถนำมาใช้ได้

ศัพท์บางคำที่นิยมใช้เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต

ใยอาหาร Dietary Fiber

เป็นส่วนประกอบที่มักจะมีอยู่ในอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ประเภทน้ำตาลหลายชั้น โดยใยอาหารประเภทนี้มักจะอยู่ภายในผนังเซลล์พืชหรืออยู่ในเซลล์ของพืช โดยร่างกายของคนเราไม่สามารถที่จะย่อยสลายใยอาหารเหมือนเช่นสารอาหารอื่นๆ ได้ จึงทำให้ใยอาหารมักจะไม่ให้พลังงานหรือสารอาหารใดๆ เลย นอกจากนี้ ใยอาหารก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามความสามารถในการละลายน้ำ คือ

1.ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ( Insoluble Dietary Fiber ) เป็นใยอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และสามารถดูดซึมน้ำได้ดี จึงทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว เนื่องจากอาหารมีปริมาณที่มากขึ้นจากการพองตัว แถมยังเอื้อต่อการป้องกันมะเร็งทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย นั่นก็เพราะใยอาหารประเภทนี้จะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เกิดการบีบตัวและทำให้กากอาหารผ่านจากลำไส้เล็กไปสู่ลำไส้ใหญ่อย่างรวดเร็ว จึงไม่มีของเสียที่คั่งค้างอยู่ในลำไส้ โดยนอกจากจะขับถ่ายง่ายขึ้นแล้ว ก็ลดโอกาสในการกลายเป็นสารก่อมะเร็งได้ดี ซึ่งใยอาหารในกลุ่มนี้ประกอบด้วย เซลลูโลส Cellulose เฮมิเซลลูโลส Hemicelluloses และลิกนิน Lignin สามารถพบมากในรำข้าวข้าวโพด ข้าวซ้อมมือ ข้าวฟ่าง แป้งจากข้าวไรน์ ผักผลไม้บางชนิด ผลิตภัณฑ์จากโฮลวีท ถั่ว และมักจะเป็นส่วนประกอบโครงสร้างหลักของพืชที่มีลักษณะแตกต่างกันไปดังนี้    [adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”]

  • เซลลูโลส ( Cellulose ) ประกอบไปด้วยกลูโคสมากกว่า 3,000 หน่วย โดยจะอยู่บริเวณผนังเซลล์ ของพืช ซึ่งกลูโคสส่วนใหญ่จะเรียงตัวไปในทิศทางเดียวและสวนทางกัน ทำให้มีความแข็งแรงและไม่แตกหักได้ง่าย แต่ก็มีอยู่บ้างในบางส่วนที่มีโมเลกุลเรียงตัวกันแบบไม่เป็นระเบียบ จึงทำให้โมเลกุลจับกันไม่แน่น และสามารถดูดซับน้ำได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้น้ำย่อยอะมิเลสไม่สามารถย่อยเซลลูโลสได้ เนื่องจากพันธะของโมเลกุลมีความแตกต่างจากแป้ง เมื่อทานเซลลูโลสเข้าไป จึงเกิดการพองตัวจากการดูดซับน้ำ และช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น มักจะพบในพืชทุกชนิดแต่มีมากในผักและรำข้าวสาลี
  • เฮมิเซลลูโลส ( Hemicelluloses ) ประกอบไปด้วยน้ำตาลหลากหลายชนิด แต่มีความแตกต่างจากเซลลูโลสตรงที่ น้ำตาลส่วนใหญ่จะเกาะอยู่บริเวณด้านข้าง และพบบริเวณส่วนของผนังเซลล์พืช เช่น ในผักผลไม้โมเลกุลของเฮมิเซลลูโลสจะมีไซโลไกลแคนมาจับเกาะด้านข้าง ในเมล็ดธัญพืชจะมีไซโลสและอะราบิโนสมาจับเกาะด้านข้าง เป็นต้น โดยเฮมิเซลลูโลสจะถูกย่อยได้ง่ายด้วยแบคทีเรีย
  • ลิกนิน (Lignin) เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ แต่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต และใกล้กับความเป็นไม้มากที่สุด โดยลิกนินเป็นโพลีเมอร์ของแอลกอฮอล์ คือ พีนายและโปรเปน ซึ่งลิกนินจะถูกพืชสร้างขึ้นแทรกอยู่ในชั้นของเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลสนั่นเอง นอกจากนี้ส่วนใหญ่ก็มักจะพบลิกนินในพืชที่มีอายุมาก มากกว่าพืชที่ยังอ่อนอยู่ ที่สำคัญ แบคทีเรียในลำไส้ไม่สามารถที่จะย่อยลิกนิกได้ สำหรับอาหารท พบสารลิกนินได้มาก ได้แก่ ผลไม้ที่กินสุกมากกว่าดิบและพืชที่มีผลค่อนข้างแก่

2.ใยอาหารที่ละลายน้ำ ( Soluble Dietary Fiber ) โดยจะมีโมเลกุลเล็กกว่าใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำและจะรวมเข้ากับอาหารที่อยู่ในกระเพาะ เป็นผลให้อาหารมีลักษณะหนืดคล้ายเจล จากนั้นใยอาหารกลุ่มนี้ก็จะเคลื่อนไปสู่ลำไส้เล็กแบบช้าๆ ทำให้การดูดซึมของอาหารไปสู่กระแสเลือดช้าลง และสามารถควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือดได้ดี ทั้งยังช่วยให้หิวช้าลงกว่าปกติอีกด้วยนอกจากนี้การทานใยอาหารประเภทนี้เป็นประจำ ก็จะช่วยลดคอเลสเทอรอลในเลือดได้ จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาคอเลสเตอรอลในเลือดสูงที่สุด โดยใยอาหารประเภทนี้พบได้ในผลไม้แทบทุกชนิด ถั่วจำพวกLegume และธัญชาติที่ไม่ได้ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต เป็นต้น นอกจากนี้ใยอาหารประเภทนี้จะทำให้การดูดซึมคาร์โบไฮเดรตมีความสามารถย่อยได้ง่ายด้วยแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่อีกด้วย โดยใยอาหารประเภทนี้มักจะอยู่รอบๆ และในเซลล์ของพืช ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปดังนี้

  • เพคติน เป็นน้ำตาลหลายชั้นที่ทำหน้าที่ในการยึดเซลล์ให้ติดกัน โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณส่วนกลางของผนังเซลล์ สำหรับโครงสร้างของเพคตินก็จะมีการเรียงตัวแบบไม่เป็นระเบียบมากนัก และบริเวณส่วนกลางของโครงสร้างจะเป็นกรดกาแลกตูโรนิก มีโมเลกุลด้านข้างเป็นน้ำตาลชนิดต่างๆ เช่น แรมโนส อะราบีโนส เป็นต้น ดังนั้นในทางอุตสาหกรรมจึงมักจะใช้เพคตินเป็นตัวช่วยทำให้อาหารมีความข้นขึ้น หรือเพิ่มความกรอบให้กับผักผลไม้มากขึ้น
  • กัม เป็นน้ำตาลหลายชั้นเช่นเดียวกับเพคติน ซึ่งจะอยู่บริเวณผนังเซลล์ของพืชที่มีลักษณะเหนียว หรือยางของต้นพืช โดยโครงสร้างส่วนกลางของกัมจะเป็นกลูโคส กาแลคโทส แมนโนส อะราบีโนส เป็นต้น
  • มิวซิเลจ มีคุณสมบัติที่สามารถอุ้มน้ำได้มากเป็นพิเศษและมีความเหนียวหนืด ส่วนใหญ่จะพบได้มากในส่วนของเมล็ดพืช และสาหร่ายทะเล นอกจากนี้มิวซิเลจก็มักจะถูกใช้เมื่อต้องการเพิ่มเนื้อของอุจจาระหรือใช้ยาระบายอีกด้วย

ประโยชน์คาร์โบไฮเดรต และทำไมจึงสำคัญต่อร่างกาย

คาร์โบไฮเดรต เป็นพลังงานสำหรับระบบประสาทส่วนกลางและให้พลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ การบริโภคคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสารประกอบ ที่แม้ว่าจะมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว แต่ก็มีความสำคัญต่อร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งสารประกอบเหล่านี้ก็มีบทบาทและหน้าที่ในการควบคุมการทำงานภายในร่างกายที่มีความแตกต่างกัน เช่น    [adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”]

1. กรดกลูโคโรนิก ( Glucuronic Acid ) มีหน้าที่ในการช่วยกำจัดของเสียออกจากร่างกาย โดยสารตัวนี้จะพบได้มากในตับ ซึ่งสารดังกล่าว จะจับกับสารพิษและสารที่ผลิตโดยแบคทีเรีย จากนั้นก็ทำการขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ

2. เฮพาริน ( Heparin ) ทำหน้าที่ในการป้องกันการแข็งตัวของเลือด โดยมักจะพบอยู่ในบริเวณผนังของหลอดเลือดในปอดและในม้ามมากที่สุด

3. คอนดรอยตินซัลเฟต ( Chondroitin Sulfate ) ทำหน้าที่ในการเพิ่มการหล่อลื่นเพื่อป้องกันเซลล์ของเนื้อเยื่อซึ่งมักจะพบในกระดูกอ่อนเส้นเอ็น ลิ้นหัวใจ และผนังหนัง

4. อิมมูโนโพลิแซกคาไรด์ ( Immunopolysaccharide ) ทำหน้าที่ในการต่อต้านเชื้อโรค และเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักจะรวมอยู่กับโปรตีน

กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ( Deoxyribonucleic Acid,DNA ) และกรดไรโบนิวคลีอิก ( Ribonucleic Acid,RNA ) เป็นสารที่ช่วยในการถ่ายโอนลักษณะทางพันธุกรรมของเซลล์

คาร์โบไฮเดรตมีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร?

1. นอกเหนือไปจากโปรตีน และไขมันแล้วสารคาร์โบไฮเดรตก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ผลิตพลังงานให้กับเรา โดยคาร์โบไฮเดรต ปริมาณ1 กรัม จะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ แต่ถ้าหากเป็นคาร์โบไฮเดรตที่น้ำย่อยในร่างกายของเราไม่สามารถที่จะย่อยได้ อย่างเช่น Resistant Oligosaccharides และ Non-Strach Polysaccharides จะให้พลังงานเพียง 2 กิโลแคลอรี่ต่อกรัมเท่านั้น ส่วนพลังงานจากแหล่งอื่น ๆ ที่ร่างกายได้รับนั้นก็จะมีโปรตีน 4 กิโลแคลอรี่ และไขมัน 9 กิโลแคลอรี่ จากปริมาณ 1 กรัมเท่ากัน โดยร่างกายของเราจะได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเกือบทั้งหมดที่มีอยู่ในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสมองที่มีอาหารหลักเพียงชนิดเดียวก็คือกลูโคส ซึ่งหากขาดไปจะถึงขั้นทำให้เนื้อสมองตายได้ และไม่อาจที่จะสร้างใหม่ได้อีก ส่วนสาเหตุที่คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งของพลังงานก็เนื่องมาจาก

  • การสร้างพลังงานเกี่ยวกับกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกายค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากหากรับประทานคาร์โบไฮเดรตจะได้รับกลูโคสซึ่งเป็นสารตั้งตนในการผลิตพลังงานโดยตรง แต่ถ้าเป็นพลังงานจากโปรตีนและไขมัน ก่อนที่จะได้กลูโคสต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ หลายขั้นตอน คือโปรตีนและไขมันต้องทำการย่อยจนได้กรดอะมิโนออกมาก่อน จากนั้นจึงจะเปลี่ยนกรดอมิโนให้เป็นกลูโคสอีกที
  • การเปลี่ยนไขมันให้เป็นกรดไขมันและเปลี่ยนกรดไขมันให้เป็นกลูโคสนั้น จะก่อให้เกิดสารจำพวกคีโตนบอดี้ ( Ketone Body ) ขึ้น ซึ่งบางส่วนจะถูกเซลล์ใช้เป็นพลังงาน อีกส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปที่ไตเพื่อทำการกรองและขับออกทางปัสสาวะ แต่หากคาร์โบไฮเดรตมีน้อยเกินไป จะส่งผลต่อการเปลี่ยนกรดไขมันให้เป็นกลูโคส ส่งผลให้คีโตนบอดีเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งสารนี้ จะประกอบไปด้วยอะซีโตน ( Acetone ) กรดอะซีโตอะซีติก ( Acetoacetic Acid ) และ กรดเบต้าไฮดรอกซีบูทีริก ซึ่งหากมีเป็นจำนวนมาก จะส่งผลให้เลือดมีความเป็นกรดจนเป็นอันตรายต่อร่างกายตามมา และทำให้ไตต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะขับสารคีโตนออกจากร่างกาย และถ้าหากร่างกายอยู่ในภาวะนี้มาก ๆ เข้าก็จะทำให้เกิดอ่อนเพลีย หอบเหนื่อย และช็อคจนหมดสติ ถือได้ว่าคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังที่สำคัญแหล่งหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะเมื่อต้องออกกำลังกาย ร่างกายจำเป็นต้องดึงเอาแหล่งพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่ถูกเก็บเอาไว้ในเซลล์กล้ามเนื้อในรูปของไกลโคเจนมาใช้ หากหลังจากที่ได้ออกกำลังกาย ร่างกายไม่ได้รับคาร์โบไฮเดรตชดเชยเข้าไปจากการที่ร่างกายต้องสูญเสียไป ก็ส่งผลให้มีอาการกล้ามเนื้อ อ่อนล้า เพราะฉะนั้นหลังจากที่ได้ออกกำลังกายจึงควรที่จะบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเข้าไปทดแทน โดยควรจะรับประทานหลังจากการออกกำลังกายประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงและควรเป็นอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันในปริมาณน้อย    [adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”]

คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังที่สำคัญแหล่งหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะเมื่อต้องออกกำลังกาย ร่างกายจำเป็นต้องดึงเอาแหล่งพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่ถูกเก็บเอาไว้ในเซลล์กล้ามเนื้อในรูปของไกลโคเจนมาใช้

2. มีหน้าที่สร้างพลังงานสำรองในรูปของไกลโคเจน ( Glycogen ) เก็บไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ

3.มีส่วนช่วยในการป้องกันและทำลายสารพิษต่างๆ ภายในร่างกาย อย่างเช่น กรดกลูโคโรนิก ( Glucuronic Acid ) ซึ่งเกิดขึ้นจากการออกซิเดชั่นของกลูโคส โดยกรดกลูโคโรนิกจะเข้าไปรวมตัวกับสารพิษที่ตับทำให้สารพิษมีพิษลดน้อยลง แล้วขจัดออกทางการขับถ่าย

4. ช่วยให้ร่างกายใช้โปรตีนต่าง ๆ ลดน้อยลง เนื่องจากโปรตีนมีความสำคัญและจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกายเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นโครงสร้างของกล้ามเนื้อ และมีความจำเป็นในการสร้างเอนไซม์ที่ช่วยให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเป็นไปอย่างเป็นระบบ เพราะฉะนั้นการใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตทดแทนพลังงานจากการใช้โปรตีนจึงทำให้มีการใช้พลังงานจากโปรตีนลดน้อยลง และยังมีส่วนช่วยให้สารคีโตนซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อร่างกายถูกสร้างออกมาลดน้อยลงอีกด้วย

5. ช่วยให้ไขมันถูกเผาผลาญอย่างมีประสิทธิภาพ หากร่างกายมีคาร์โบไฮเดรตน้อยเกินไปหรือมีไม่เพียงพอ จะทำให้ไม่มีการเผาผลาญไขมันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการแตกตัวเป็นสารคีโตนขึ้น และหากในกระแสเลือดมีสารจำพวกคีโตนอยู่มากก็จะทำให้เลือดมีความเป็นกรดสูง ซึ่งอาจทำให้มีอาการช็อคจนหมดสติได้

6. ใยอาหารที่ละลายน้ำได้บางประเภทนั้นมีคุณลักษณะเป็นพรีไบโอติก Prebiotic ช่วยให้แบคทีเรียในทางเดินของลำไส้มีการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณมากขึ้น โดยใยอาหารที่ละลายน้ำจะผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ กระบวนการหมักเกิดขึ้น โดยอาศัยแบคทีเรียที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ โดยแบคทีเรียที่ละลายน้ำจะเข้าสู่ขั้นตอนการหมักที่ลำไส้ใหญ่โดยอาศัยแบคทีเรียที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ในหมัก ซึ่งนอกจากกระบวนการหมักจะช่วยกระตุ้นให้แบคทีเรียเจริญเติบโตแล้ว ยังส่งผลให้เกิด ก๊าซไฮโดรเจน มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์และได้กรดไขมันสายสั้น จำพวกอาซิเตด ( Acetate ) โพรพิโอเนท ( Propionate ) และบิวทีเรท ( Butyrate ) ด้วย ซึ่งส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายจะทำการดูดซึดกรดไขมันสายสั้นเหล่านี้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ โดยอาซิเตดจะมีความจำเป็นต่อตับ กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ กรดโพรพิโอเนทจะถูกทำให้เปลี่ยนเป็นกลูโคสก่อนนำไปใช้ และกรด และกรดบิวทีเรทจะให้พลังงานแก่เซลล์บริเวณโคลอน ไม่เพียงเท่านั้นกรดไขมันสายสั้นยังมีส่วนช่วยให้ระดับ pH ในลำไส้ใหญ่ลดน้อยลง ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารและเป็นสารที่ขาดไม่ได้ในขั้นตอนการแบ่งเซลล์ลำไส้ใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงมีส่วนสำคัญในการยับยั้งกระบวนการที่ก่อให้เกิดมะเร็งไม่ว่าจะเป็นการเจริญเติบโตของเซลล์ การแบ่งเซลล์และการตายของเซลล์ ซึ่งจากผลการศึกษาได้มีการพบว่า หากทำการบริโภค โพลีเด็ทซ์โทรส ซึ่งเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำมีเส้นใยสั้น วันละประมาณ 4 กรัม จะช่วยในการเพิ่มปริมาณของกรดไขมันสายสั้นได้ และยังมีการพบด้วยว่า คาร์โบไฮเดรตชนิด ( Fructo-Oligosaccharides ) จะช่วยให้แบคทีเรียชนิดบิฟิโดแบคทีเรีย ( Bifidobacteria ) และ ( Lacto-Bacilli ) ในลำไส้ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น และช่วยในการลดปริมาณแบคทีเรียชนิด ( Clostridium Perfringens ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคให้น้อยลง นอกจากนี้แล้วยังช่วยให้มีการผลิตสารก่อมะเร็งในลำไส้ให้น้อยลงด้วย ทำให้ในปัจจุบัน ( Fructo-Oligosaccharides ) ได้รับความนิยมในการบริโภคกันมากขึ้น     [adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”]

7. ช่วยให้มีอุจจาระเพิ่มมากขึ้นและช่วยให้ของเสียที่อยู่ในร่างกายถูกกำจัดออกได้เร็วขึ้น โดยของเสียจะเคลื่อนที่ผ่านลำไส้ใหญ่ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น และก็จะขับถ่ายออกไปจากร่างกายนั่นเอง แต่ก็ต้องอาศัยการดื่มน้ำในให้พอเพียงกับความต้องการของร่างกายด้วยเช่นกัน ซึ่งของเสียเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสารก่อมะเร็ง แต่จะก่อให้เกิดผลรุนแรงแค่ไหนนั้นก็แล้วแต่คุณลักษณะของ ( Non-Starchpolysaccharide ) แต่ละชนิดด้วย และปริมาณของ ( Resistant Starch ) เช่น รำข้าวสาลี จะช่วยให้อุจจาระมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ส่วนผักและผลไม้ กัม และมิวซิเลจ จะช่วยให้มีอุจจาระเพิ่มขึ้นปานกลาง ส่วนถั่วและเพคตินจะช่วยให้มีอุจจาระเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด

8. มีผลทำให้ระดับน้ำตาลเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งน้ำตาลหลายชั้นที่ไม่ใช่แป้งถือเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ทำหน้าที่นี้ เช่น เพคติน ซึ่งการทำให้เกิดผลในทางตรงได้แก่ทำให้กระบวนการย่อยและการดูดซึมเป็นไปได้อย่างค่อนข้างช้า ส่งผลให้อาหารที่รับประทานเข้าไปอยู่ในกระเพาะเป็นเวลานานขึ้น นอกจากนี้แล้วยังช่วยในการขัดขวางน้ำย่อยที่ใช้ย่อยคาร์โบไฮเดรตจากตับอ่อนอีกด้วย ส่วนการทำให้เกิดผลในทางอ้อมคือ ทำให้การสนองตอบของระดับอินซูลินและฮอร์โมนจากลำไส้ลดน้อยลง และรู้สึกไวต่ออินซูลินดีขึ้น มีการใช้กลูโคสดีขึ้น น้ำตาลหลายชั้นที่ไม่ใช่แป้งชนิดต่าง ๆ จะส่งผลต่อการควบคุมน้ำตาลไม่เหมือนกัน เช่น Guar เป็น Galactomannan เป็นคาร์โบไฮเดรตจากถั่วพวก ( Legume ) จะช่วยให้ควบคุมน้ำตาลได้ดีกว่าเพคตินและรำข้าว

9. ส่งผลให้มีคอเลสเตอรอลในเลือดลดน้อยลง น้ำตาลหลายชั้นที่ไม่ใช่แป้ง เช่น Guar Gum Oat-Beta Glucan และ Psyllium จะไปรวมกับกรดน้ำดี และเกลือของน้ำดี ซึ่งมีคอเลสเตอรอลอยู่ด้วย จึงส่งผลให้คอเลสเตอรอลถูกขจัดออกจากร่างกายไปพร้อม ๆ กับการขับถ่าย หรืออาจเป็นผลมาจากขั้นตอนการหมักที่เกิดจากน้ำตาลหลายชั้นที่ไม่ใช่แป้งทำให้มีกรดไขมันสายสั้นเกิดขึ้น ซึ่งกรดโพรพิโอนิกซึ่งเป็นหนึ่งในกรดไขมันเหล่านี้ จะมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างคอเลสเตอรอล

10. สังเคราะห์กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้ เช่น ซีรีน และไกลซีน

11. สังเคราะห์เป็นสารประกอบที่จำเป็นในร่างกาย เช่น เฮพาริน DNA และ RNA เป็นต้น

12. ช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยบางส่วนของคาร์โบไฮเดรตชนิด ( Resistant Starch ) และน้ำตาลหลายชั้นที่ไม่ใช่แป้งที่มักพบในธัญพืช ผัก และผลไม้จะไม่ถูกย่อย และจะถูกดูดซึมในลำไส้เล็ก จากนั้นจะถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อให้แบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ในการหมักต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดก๊าซไฮโดรเจน มีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ และได้กรดไขมันสายสั้น จำพวก กรดอะซิติก กรดโพรพิโอนิก และกรดบิวทีริกขึ้น ซึ่งกรดบิวทีริกที่เกิดจากการหมักของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่นี้ จะช่วยในการยังยั้งไม่ให้เซลล์ผนังลำไส้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะกลไกต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ

12.1. สารก่อมะเร็งมีการเจือจาง ( Bilution of Potential Carcinogens )

12.2. ผนังของลำไส้ได้รับการบำรุงรักษา ( Maintenance of Bile Acid Degradation )

12.3. ผลต่อการสลายตัวของกรดน้ำดี ( Effects on Bile Acid Degradation )

นอกจากนี้แล้วคาร์โบไฮเดรตยังอุดมไปด้วยไฟโตเอสโตรเจน ( Phytoestrogen ) ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ โดยใยอาหารจะไปจับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือด ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้หากมีอยู่สูง ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ใยอาหารยังช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งในช่องปากมะเร็งที่คอและมะเร็งในระบบทางเดินอาหารอีกด้วย    [adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”]

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต

1. ความเร็วของอาหารคาร์โบไฮเดรตในการเข้าสู่ลำไส้เล็ก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเร็วในการการบีบตัวของกระเพาะอาหารและการควบคุมของลิ้นเปิดปิดที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ( Pyloric Valve ) ว่าทำหน้าที่อย่างไร

2. ส่วนผสมที่มีอยู่ในอาหาร ซึ่งถ้าหากมีพืชผักเป็นส่วนประกอบในอาหารอยู่มาก ก็จะส่งผลให้มีการดูดซึมลดน้อยลง

3. ผนังลำไส้เล็กมีสภาพเป็นอย่างไร และคาร์โบไฮเดรตใช้เวลามากน้อยแค่ไหนในการสัมผัสกับลำไส้ ถ้าหากผนังลำไส้มีความผิดปกติ เช่นอาจเป็นโรคเกี่ยวกับเยื่อบุผนังลำไส้ หรือคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเข้าไปเกิดการเคลื่อนไหวในลำไส้อย่างรวดเร็วผิดปกติก็จะส่งผลให้ร่างกายสามารถดูดซึมคาร์โบไฮเดรตได้น้อยลง

แหล่งที่พบคาร์โบไฮเดรต

สามารถพบคาร์โบไฮเดรตได้ในอาหาร เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำตาลและอาหารที่มาจากสัตว์

อาหาร ชนิด ร้อยละ
ธัญพืช แป้ง 70-80
ผลไม้ กลูโคส ฟรักโทส ซูโครส 7-40
ผัก แป้ง น้ำตาล เซลลูโลส เฮมิเซลลูไลส 3-35
ถั่วเมล็ดแห้ง แป้ง 17-70
น้ำนม แลคโทส กาแลคโทส 5
เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ไกลโคเจน 2-6
น้ำตาลทราย ซูโครส 100

จากการวิเคราะห์ของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อหาปริมาณใยอาหารทั้งหมดในพืช ผัก ผลไม้ ในส่วนที่รับประทานได้ มีการพบว่า

พืชที่มีใยอาหารอยู่ในระดับสูง ( 19-25 กรัม/100 กรัม ) ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้งชนิดต่างๆ ( ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วแดงหลวง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ) งาและรำข้าว

พืชที่มีใยอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ( มากกว่า 4 กรัม – 14 กรัม/100 กรัม ) ได้แก่ มะเขือพวง (มะเขือทั้งหมด) สะเดา ใบชะพลู ผักกะเฉด เห็ดหูหนู พริก กระเทียม หัวปลี แครอท ละมุด ฝรั่ง มะม่วงดิบ

พืชที่มีใยอาหารอยู่ในระดับต่ำ ( น้อยกว่า 4 กรัม/100 กรัม ) ได้แก่ แตงกวา บวบเหลี่ยม มะระจีน ผักกาดหอม ผักกาดขาว หัวไซเท้า ฟักเขียว น้ำเต้า แตงโม

มีอาหารไทยที่จัดได้ว่าอุดมไปด้วยใยอาหารหรือมีใยอาหารสูง ได้แก่ แกงส้มดอกแค แกงส้มมะรุม แกงเลียง แกงป่า ต้มยำเห็ด แกงขี้เหล็ก แกงจืดต่างๆ เช่น แกงจืดสาหร่าย แกงจืดตำลึง แกงจืดผักหวาน น้ำพริกหลากหลายสูตรที่มีเครื่องเคียงเป็นผักสดและผักต้ม ยำต่างๆ เช่น ส้มตำ ยำส้มโอ ยำถั่วพู ยำมะม่วง เป็นต้น

คาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายต้องการ

คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นที่จะต้องได้รับอยู่เสมอ เนื่องจากร่างกายต้องใช้พลังงานในการประกอบกิจกรรมรวมทั้งใช้ในการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายด้วย แต่ทว่าร่างกายมีคาร์โบไฮเดรตเก็บสะสมไว้อย่างค่อนข้างจำกัดและไม่สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นพลังงานไปใช้ได้อย่างเพียงพอ จึงมีความจำเป็นที่ร่างกายจะต้องได้รับคาร์โบไฮเดรตอยู่เสมอ เพื่อให้มีพลังสำหรับเอาไปใช้งานได้อย่างพอเพียง ซึ่งตามปกติแล้วในแต่ละวันคนไทยในทุกช่วงวัย ยกเว้นอายุระหว่าง 0-5 เดือน ควรที่จะได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ประมาณ 45-65% ของ

[adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”]

พลังงานทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน เพื่อที่จะมีพลังงานที่ช่วยในการเจริญเติบโตในเด็กได้อย่างพอเพียงและมีพลังงานที่ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับคนในวัยผู้ใหญ่ อย่างมีความสมดุลกับปริมาณของไขมันและเป็นการช่วยประหยัดโปรตีนซึ่งจะต้องถูกนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย อีกทั้งน้ำตาลที่เติมลงไปในอาหารก็ควรมีปริมาณที่เหมาะสม โดยไม่ควรที่จะเติมน้ำตาลลงในอาหารเกิน 25% ของพลังงานที่ได้รับในวันหนึ่งเนื่องจากในอาหารที่มีการใส่น้ำตาลเยอะส่วนใหญ่จะมีวิตามินและแร่ธาตุน้อย ซึ่งก็จะทำให้เกิดการขาดสารอาหารเหล่านี้ได้ และถ้าหากรับประทานอาหารหรือผลไม้ที่มีรสหวานตามธรรมชาติค่อนข้างมากอยู่แล้ว ก็ให้ลดปริมาณการรับประทานอาหารที่เติมน้ำตาลลง

โรคที่เกิดจากคาร์โบไฮเดรต

1. เมื่อร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่น้อยเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะ

1.1 ภาวะไฮโปไกลซีเมีย ( Hypoglycemia ) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับของน้ำตาลในเลือดที่ต่ำกว่า 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรทำให้อวัยวะต่างๆ ที่สำคัญขาดพลังงาน โดยเฉพาะสมอง ซึ่งเป็นอวัยวะที่ได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยอาการที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายมีน้ำตาลน้อยเกินไปก็คือ อาการเพลีย ตาลาย ง่วงนอน หาว คลื่นไส้ จิตใจสับสน เนื้อตัวสั่น และหากเป็นบ่อยๆ ก็อาจจะทำให้สติปัญญาต่ำจนมีอาการทางจิตได้ นอกจากนี้หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมากๆ ก็จะทำให้เกิดอาการชัก หมดสติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้สมองถูกทำลายและเป็นอัมพาตได้เลยทีเดียว สาเหตุ

  • ทานอาหารน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นน้อยลง ซึ่งอาจเกิดจากการเบื่ออาหาร อดอาหารหรือเกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารได้
  • ออกกำลังกายมากเกินไป ในขณะที่รับประทานอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • กินยาที่ใช้ในการรักษาเบาหวาน ซึ่งมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยหากกินมากเกินไปก็จะทำให้เกิดอันตรายได้อีกด้วย
  • เป็นโรคตับบางอย่าง เช่น โรคตับแข็ง จึงทำให้ตับผลิตอินซูลินได้น้อยลงหรือมีปัญหาการขาดอินซูลิน
  • การดื่มสุรา เพราะฤทธิ์ของสุราจะทำให้ไขมันและโปรตีนไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็นคาร์โบไฮเดรตได้
  • ตับอ่อนมีความผิดปกติ จึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเพียงพอ
  • มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

1.2 ภาวะคีโตซีส ( Ketosis ) มักจะเกิดกับคนที่ได้รับคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าวันละ 100 กรัมต่อวัน ซึ่งเป็นผลให้การเผาไหม้ของไขมันเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ จนเกิดสารพวกคีโตนบอดี้ขึ้น โดยสารเหล่านี้ล้วนมีสภาพเป็นกรด เมื่อมีมากขึ้นจึงทำให้เลือดที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ กลายสภาพเป็นกรดและส่งผลให้เป็นพิษได้ ซึ่งหากรุนแรงก็จะทำให้หมดสติและอาจเสียชีวิตในทันทีได้เลยทีเดียว สำหรับอาการที่สังเกตได้จากการเกิดภาวะกรดนี้จะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน หัวใจเต้นแรง หายใจหอบลึกๆ มีไข้และหมดสติในที่สุด

เมื่อร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลต่ำกว่าร้อยละ 4 ของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายไปด้วย นั่นก็เพราะอาหารที่มีน้ำตาลสูงส่วนใหญ่จะมีวิตามินและแร่ธาตุสูงไปด้วยนั่นเอง    [adinserter name=”โภชนาการสำคัญที่ควรรู้”]

2. เมื่อร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรค

2.1. โรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus )

โรคเบาหวาน เกิดจากความบกพร่องของคุณภาพและปริมาณของฮอร์โมนอินซูลิน ( ฮอร์โมนอินซูลิน ผลิตขึ้นมาจากเซลล์ในตับอ่อนที่เรียกว่า ( B-Islet cells of Langerhans ) เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เกิดประโยชน์กับร่างกาย เช่น การเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงานและเป็นไกลโคเจนเมื่อมีการออกกำลัง รวมทั้งไขมันส่วนเกินได้ ) จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลที่บริโภคเข้าไปให้เป็นพลังงานแบบปกติได้ เป็นผลให้น้ำตาลเข้าไปอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ ( สูงกว่า 130 mg./dl. ) เมื่อถึงเวลาที่ไตต้องกรองความสะอาดของเลือด ไตจะไม่สามารถเก็บน้ำตาลในส่วนที่เกินออกมาได้ น้ำตาลในส่วนนั้นจึงล้นออกไปสู่ปัสสาวะ และทำให้เกิดโรคเบาหวานได้

2.2. โรคอ้วน

การบริโภคคาร์โบไฮเดรตมากเกินความต้องการพลังงานของร่างกาย รวมพลังงานที่ร่างกายต้องการทั้งหมด วันละไม่เกิน 2,000 แคลอรี่ ร่างกายก็จะทำการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตนี้เป็นไขมันเข้าไปสะสมในร่างกาย และทำให้อ้วนในที่สุด และหากยังได้รับในปริมาณมากเกินไป จะกลายเป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะในคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือไมได้ออกกำลังกายเลย

2.3. โรคหัวใจและหลอดเลือด

จากผลการวิจัยพบว่า หากมีการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตสูง จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลให้ LDL-Cholesterol ( ไขมันเลว ) มีปริมาณที่สูงขึ้นด้วย แต่ในทางกลับกันปริมาณของ HDL cholesterol ที่เป็นไขมันดีก็จะลดลง ซึ่งมีผลทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตันมากขึ้น

2.4. การกินใยอาหารมากขึ้น

การกินผักและผลไม้ที่มีใยอาหารมากประมาณกว่าปริมาณปกติที่ร่างกายควรรับ อาจจะทำให้มีปัญหากับร่างกายเกิดขึ้นได้ เช่น การมีแก๊สในลำไส้มากกว่าปกติ การขับถ่ายมีลำบาก เพราะอุจจาระแข็ง เนื่องจากกินใยอาหารมากแต่ดื่มน้ำน้อย และใยอาหารที่มากเกินไปนี้จะเข้าไปรวมตัวกับเกลือแร่บางชนิด ทำให้การดูดซึมแย่ลง แต่ก็ยังไม่มีอันตรายต่อร่างกาย นอกเสียจากในใยอาหารนั้น มีสารออกซาเลตและไฟเตตสูง นอกจากนี้ก็อาจทำให้เกิดอาการอิ่มแน่นท้องและรู้สึกอึดอัดได้อีกด้วย ซึ่งแก้ได้ด้วยการดื่มน้ำตามให้เยอะๆ นั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Hanukoglu I, Jefcoate CR (1980). “Pregnenolone separation from cholesterol using Sephadex LH-20 mini-columns”. Journal of Chromatography A. 190 (1): 256–262. 

Javitt NB (December 1994). “Bile acid synthesis from cholesterol: regulatory and auxiliary pathways”. FASEB J. 8 (15): 1308–11.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

อาหารบำบัดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง

0
อาหารบำบัดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง
อาหารที่มีไขมันต่ำ มีกากใยสูง ให้พลังงานและมีโปรตีน รวมถึงผักผลไม้ ซึ่งจะช่วยเสริมพลังงานให้กับร่างกายและลดความเหนื่อยล้า อ่อนเพลียได้ดี
อาหารบำบัดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง
อาหารที่มีไขมันต่ำ มีกากใยสูง ให้พลังงานและมีโปรตีน รวมถึงผักผลไม้ ซึ่งจะช่วยเสริมพลังงานให้กับร่างกายและลดความเหนื่อยล้า อ่อนเพลียได้ดี

อาหารแก้อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง

อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ง่วงมักจะพบได้บ่อยๆ โดยเฉพาะในคนที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนัก ขาดสารอาหารและกำลังอยู่ในภาวะเจ็บป่วย ซึ่งก็ถือเป็นอาการเหนื่อยล้าอย่างหนึ่งที่บั่นทอนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตเลยทีเดียว โดยอาการดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง หรือเรียกว่า โครนิกฟาทีกซินโครม โดยส่วนใหญ่จะพบในวัยผู้ใหญ่มากกว่าวัยเด็กและพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า ดังนั้นในผู้หญิงจึงต้องระมัดระวังอาการดังกล่าวนี้มากเป็นพิเศษ เช่น การใช้อาหารบำบัดรักษาโรคนั่นเอง

เมื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายเราเกิดความผิดปกติมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนล้าเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้การทำงานหรือกิจวัตรประจำวันได้ไม่ดีเท่าที่ควร เช่น ดวงตาอ่อนล้า ลมองล้า แขน ขา มือ เท้าเมื่อยล้า อาหารบำบัดจึงมีบทบาทในการช่วยแก้ปัญหาอาการเหล่านี้

อาการเหนื่อยล้าที่พบ

สำหรับผู้ป่วยด้วยอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังจะมีอาการที่คล้ายกับโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ซึ่งจะมีอาการปวดเมื่อยคล้ายกับคนเป็นไข้หวัด โดยจะปวดตามกล้ามเนื้อและข้อมากเป็นพิเศษ รวมถึงมีอาการปวดศีรษะและมีไข้อ่อนๆ ด้วย นอกจากนี้ก็มักจะพบอาการทางจิตใจ คือซึมเศร้า อารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิและมักจะนอนไม่หลับอยู่เสมอ จนบางคนถึงขั้นต้องใช้ยานอนหลับช่วยเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ส่วนใหญ่พบว่าจะมีอาการเรื้อรังนานกว่า 6 เดือน ส่วนสาเหตุยังไม่พบแน่ชัดและยังไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นโรคใดโดยเฉพาะหรือไม่

สาเหตุของอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง

เนื่องจากสาเหตุของอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังยังไม่พบสาเหตุแน่ชัด นักวิจัยส่วนใหญ่จึงได้ทำการค้นคว้าและมีข้อสันนิษฐานว่าอาการนี้น่าจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดจากปัญหาสุขภาพจิตเช่นเป็นโรคซึมเศร้า หรือเป็นเพราะระบบภูมิต้านทานที่ต่ำลง เป็นผลให้ร่างกายอ่อนแอและมีอาการดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบว่าสารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่าเซโรโทนินก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการ CSF ด้วย เพราะพบว่าในผู้ที่มีอาการ CSF มักจะมีสารเซโรโทนินสูงมากนั่นเอง อย่างไรก็ตามสาเหตุเหล่านี้ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่ยังไม่แน่ชัดเท่านั้น ซึ่งทางนักวิจัยก็พยายามหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดอยู่

อาการอ่อนเพลียเกิดจากการแพ้อาหารไหม

หลายคนมีความเข้าใจว่าอาการอ่อนเพลีย เป็นอาการเหนื่อยล้าแบบเรื้อรังนั้นเป็นผลมาจากการแพ้อาหาร ซึ่งตามจริงแล้วอาการแพ้อาหารจะเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอมากกว่า เป็นผลให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย โดยอาการแพ้อาหารที่มักจะเห็นได้ชัดก็คือเป็นผื่นผิวหนัง ระบบหายใจติดขัด และการย่อยอาหารที่แย่ลง ซึ่งระดับความรุนแรงก็จะมีตั้งแต่ รุนแรงต่ำจนถึงขั้นอันตรายต่อชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเรื่องการทานอาหารอยู่เสมอ โดยเฉพาะในคนที่เคยมีประวัติแพ้อาหารมาก่อน ซึ่งอาหารที่พบว่าก่อให้เกิดการแพ้ได้บ่อยๆ ในคนทั่วไป ได้แก่ ปลา ข้าวโพด ไข่ ถั่วลิสง ปู กุ้ง มะเขือเทศ หอยและช็อกโกแลต เป็นต้น

ความเกี่ยวข้องของอาหารกับอาการอ่อนเพลีย

อาหารมีความเกี่ยวข้องกับอาการอ่อนเพลียโดยตรง นั่นก็เพราะร่างกายของคนเราจำเป็นต้องได้รับพลังงานอย่างเหมาะสมและสารอาหารบางชนิดอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายเกิดความกระปรี้กระเปร่าและมีพลังงานพร้อมกับการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ดังนั้นหากร่างกายขาดสารอาหารบางอย่างก็จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย อาการเหนื่อยล้าได้นั่นเอง โดยสารอาหารที่มีผลมากที่สุด ได้แก่

1. วิตามินบี
วิตามินบี เป็นวิตามินสำคัญที่จะช่วยเพิ่มการผลิตพลังงานจากอาหารให้ร่างกายมีพลังงานอย่างเหมาะสม ดังนั้นหากขาดวิตามินบีไป ก็จะทำให้ร่างกายอ่อนแรงลง และรู้สึกเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ เฉื่อยชาหรือขาดสมาธิ ซึ่งพบว่าในคนที่ขาดวิตามินบีอย่างรุนแรง อาจถึงขั้นออกแรงแค่นิดหน่อยก็ล้มพับได้เลยทีเดียว โดยกลุ่มคนที่มีโอกาสขาดวิตามินบีมากที่สุด ได้แก่ ผู้สูงอายุ นักกีฬา หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ทานมังสวิรัติ เป็นต้น ดังนั้นในกลุ่มคนเหล่านี้จึงควรทานวิตามินบีให้สูงขึ้นกว่าคนปกติ เพื่อป้องกันภาวะการขาดนั่นเอง

2. วิตามินซี
โดยปกติคนเราควรทานวิตามินซีให้ได้วันละ 400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่มีความเหมาะสมที่สุด โดยพบว่าในคนที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 100 มิลลิกรัมต่อวัน จะมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียได้ง่าย แต่หากได้รับวิตามินซีที่สูงขึ้น ก็จะช่วยลดความอ่อนเพลียได้เหมือนกัน ทั้งยังสามารถเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย ซึ่งก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยได้มากขึ้น

3. ธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็กมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยจะทำหน้าที่ในการช่วยขนส่งออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย หากมีธาตุเหล็กน้อยเกินไป ร่างกายก็จะดึงเอาธาตุเหล็กที่อยู่ในเนื้อเยื่อออกมาใช้แทน เป็นผลให้กล้ามเนื้อขาดออกซิเจนและมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเพลียในที่สุด ดังนั้นจึงควรทานธาตุเหล็กให้เพียงพออยู่เสมอ
นอกจากนี้การขาดธาตุเหล็กก็ถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้หญิงมากทีเดียว เพราะจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคโลหิตจาง และหมดประจำเดือนก่อนถึงวัยได้ง่าย อย่างไรก็ตามบางครั้งการขาดธาตุเหล็กก็ไม่ทันได้สังเกตเพราะไม่มีอาการที่แสดงออกมาอย่างแน่ชัด จึงต้องตรวจเลือดเพื่อทราบว่าอยู่ในภาวะที่ธาตุเหล็กต่ำหรือไม่นั่นเอง ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในวัยมีประจำเดือน ก็แนะนำให้ทานธาตุเหล็กเยอะๆ โดยทานให้ได้วันละ 18 มิลลิกรัม ซึ่งธาตุเหล็กก็สามารถพบได้มากใน เนื้อแดง เต้าหู้ ปลา ผักใบเขียวและลูกพรุนนั่นเอง 

และจากคำกล่าวที่ว่า อาหารที่สมดุลจะให้ธาตุเหล็ก 6 มิลลิกรัมต่อพลังงาน 1000 แคลอรี ก็แสดงให้เห็นได้ว่าผู้หญิงจำเป็นต้องได้รับอาหารอย่างน้อยวันละ 300 แคลอรีเพื่อให้ได้ธาตุเหล็กอย่างเพียงพอนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการกินให้ได้ปริมาณเท่านั้นเป็นเรื่องยากพอสมควร และหากต้องกินเท่านั้นจริงๆ ก็มักจะมีโรคอ้วนตามมาอยู่เสมอ นอกจากนี้ผู้หญิงส่วนใหญ่ก็มักจะได้รับธาตุเหล็กจากผักผลไม้เป็นหลัก ซึ่งมักจะดูดซึมได้น้อยกว่าธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์เป็นอย่างมาก และหากมีการดื่มกาแฟหรือชาในมื้ออาหารนั้นด้วย ก็จะยิ่งไปลดการดูดซึมธาตุเหล็กลงอีก จึงทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กน้อยมาก

โดยจากความสำคัญของธาตุเหล็กที่ได้กล่าวไปแล้ว เพราะฉะนั้นทุกคนควรใส่ใจกับการทานอาหารมากขึ้น เพื่อให้ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ โดยเน้นการทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเป็นหลัก และทานให้ได้ 18 มิลลิกรัมต่อวัน เท่านี้ก็จะทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอและลดอาการเหนื่อยล้าลงได้ อย่างไรก้ตามการได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียได้ คือก่อให้เกิดมะเร็งได้สูงนั่นเอง

4. แมกนีเซียม
เมื่อร่างกายขาดแมกนีเซียม ก็จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรงและเหนื่อยล้าได้ นั่นก็เพราะว่าแมกนีเซียมเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้โปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรตถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากมีแมกนีเซียมน้อย ก็จะทำให้สารอาหารเหล่านี้เปลี่ยนเป็นพลังงานได้ช้าลงหรือยากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้จากการวิจัยส่วนใหญ่ก็ยังค้นพบอีกว่า ในผู้ที่มีอาการ CFS เมื่อเสริมแมกนีเซียมอย่างเพียงพอก็สามารถที่จะบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ และยังปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งก็จะช่วยลดความหงุดหงิด วิตกกังวลและแก้ปัญหาการนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี
จะเห็นได้ว่าวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ล้วนมีผลต่ออาการอ่อนเพลียทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้นั่นก็เป็นเพียงแร่ธาตุส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับอาการ CFS อีกมากมาย เช่น วิตามินอี โซเดียม สังกะสี กรดโฟลิก โปแตสเซียมและแมงกานีส เป็นต้น โดยหากขาดสารอาหารเหล่านี้ก็จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคโลหิตจางได้สูงและมีอาการอ่อนเพลียได้ง่าย นอกจากนี้การได้รับสารบางอย่างมากเกินไปก็เป็นผลให้เกิดอาการเพลีย เหนื่อยล้าแบบเรื้อรังได้เช่นกัน เช่น ตะกั่ว อะลูมิเนียมและแคดเมียม เป็นต้น ดังนั้นจึงควรใส่ใจเรื่องโภชนาการอยู่เสมอ 

ข้อแนะนำทางโภชนาการที่ดี

สำหรับการบำบัดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังที่ดีที่สุด ก็คือการทานอาหารให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและมีความสมดุลมากที่สุด โดยอาหารที่นักวิจัยส่วนใหญ่แนะนำให้ทาน ได้แก่ อาหารที่มีไขมันต่ำและมีกากใยสูง รวมถึงอาหารที่ให้พลังงานและมีโปรตีนที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รวมถึงผักผลไม้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้อาหารเหล่านี้จะช่วยเสริมพลังงานให้กับร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม และลดความเหนื่อยล้า อ่อนเพลียได้ดีที่สุด และที่สำคัญก็คือ ห้ามงดอาหารมื้อเช้าเด็ดขาด เพราะอาหารเช้ามีความสำคัญและถือเป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นการงดอาหารมื้อเช้าจึงส่งผลต่อสุขภาพได้เป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ก็ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้วอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการขาดน้ำและการเสียสมดุลของร่างกาย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเพลียได้นั่นเอง ส่วนพวกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีนและอาหารที่มีน้ำตาลมากทั้งหลาย ก็ควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด เอาเป็นว่าเลือกทานเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ อย่างน้ำผักผลไม้หรือน้ำเปล่าจะดีที่สุด และเพื่อรักษากล้ามเนื้อให้แข็งแรงเพื่อต่อต้านอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง แต่เน้นการออกกำลังกายที่ไม่หักโหมจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ และหมั่นทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดอยู่เสมอ เท่านั้นก็สามารถที่จะบำบัดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

การเลือกรับประทานอาหารต้านความเครียด

0
การเลือกรับประทานอาหารต้านความเครียด
อาหารที่ลดความเครียดเป็นอาหารประเภทแอนติออกซิแดนท์และสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด รวมถึงแร่ธาตุบางชนิด ควรเน้นทานผักผลไม้เป็นหลัก
การเลือกรับประทานอาหารต้านความเครียด
อาหารที่ลดความเครียดเป็นอาหารประเภทแอนติออกซิแดนท์และสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด รวมถึงแร่ธาตุบางชนิด ควรเน้นทานผักผลไม้เป็นหลัก

การกินอาหารต้านความเครียด

อาหารต้านความเครียด จึงมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันของคนเรา ทุกคนย่อมมีโอกาสที่จะประสบกับความเครียดได้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากการทำงาน การเรียนหรือการเจ็บป่วยก็ตาม รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคบางอย่างก็อาจทำให้เกิดความเครียดได้เช่นกัน นั่นก็ เพราะการขาดสารอาหารบางอย่างเป็นผลให้ร่างกายเกิดความเครียดมากกว่าปกตินั่นเอง และเมื่อเกิดความเครียดแล้ว ก็จะนำไปสู่ความผิดปกติของการทำงานในร่างกายได้ โดยเฉพาะด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า มีอารมณ์ทางเพศลดลงหรือปวดศีรษะแบบเรื้อรัง เป็นต้น จึงมีคำพูดที่ว่า “ยิ่งเครียดก็ยิ่งกิน” นอกจากนี้ความเครียดก็ยังเป็นตัวการที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่ายเช่นกัน

และนอกจากผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อร่างกายแล้ว ความเครียดก็ทำให้พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไปได้เช่นกัน สังเกตได้จากบางคนที่จะกินเยอะขึ้นเมื่อมีความเครียด โดยส่วนใหญ่จะเป็นการกินเยอะแบบไม่รู้ตัว หรือในบางคนก็อาจเกิดการเบื่ออาหารและแทบไม่กินอะไรเลย และด้วยพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไปนี้ ก็ส่งผลเสียต่างๆ ตามมามากมาย เช่น น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว หงุดหงิดง่าย อ่อนเพลียหรือเป็นโรคขาดสารอาหาร เป็นต้น

ความเครียดกับโภชนาการ

ถึงแม้ว่าความเครียดจะเป็นเรื่องที่รับมือได้ยาก แต่ก็พบว่าในคนที่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอมักจะรับมือกับความเครียดได้ดีกว่าผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเสมอ นั่นก็เพราะว่าเมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะไปรบกวนการดูดซึมสารอาหาร การย่อยและทำให้ความดันสูงผิดปกติ และมีการดึงเอาสารอาหารที่สะสมไว้ในร่างกายออกมาเพื่อรับมือกับความเครียดมากขึ้น ดังนั้นในคนที่มีสารอาหารน้อยหรืออยู่ในภาวะขาดสารอาหารอยู่แล้ว ก็จะส่งผลต่อสุขภาพได้ง่าย เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย หมดแรงและนอนไม่หลับ ส่วนคนที่มีสารอาหารอย่างเพียงพอ ภาวะดังกล่าวนี้ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากนักนั่นเอง อย่างไรก็ตามหากเกิดความเครียด ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนที่จะยับยั้งการทำงานของเม็ดเลือดขาวออกมา ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงความเครียดจะดีที่สุด

จะเห็นได้ว่าความเครียดส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนเราไม่น้อยเลย และยังมีความสัมพันธ์กับโภชนาการอีกด้วย อย่างไรก็ตามพบว่าการทานอาหารก็มีผลต่อการเพิ่มและลดความเครียดเช่นกัน เพราะอาหารบางชนิดจะมีผลต่อการทำงานของสมองโดยตรง ดังนั้นหากทานอาหารที่เป็นตัวการสะสมความเครียดในปริมาณมากก็จะยิ่งก่อให้เกิดความเครียดมากขึ้น แต่หากทานอาหารที่ดีและมีส่วนช่วยในการลดความเครียด ก็จะทำให้ความเครียดลดลงไปด้วยนั่นเอง

อาหารที่สามารถช่วยลดความเครียดได้

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า อาหารมีผลต่อการเพิ่มและลดความเครียด ซึ่งพบว่าในภาวะที่ร่างกายกำลังเผชิญอยู่กับความเครียดนั้น จะมีความต้องการอาหารประเภทแอนติออกซิแดนท์และสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด รวมถึงแร่ธาตุ บางชนิด เช่น แมกนีเซียม วิตามินบีและสังกะสีอีกด้วย ดังนั้นเมื่อเกิดความเครียดจึงควรเน้นทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการลดความเครียดเหล่านี้เป็นหลัก โดยเฉพาะผักผลไม้ทั้งหลาย ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเครียดได้แล้ว ก็สามารถเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มีความแข็งแรงขึ้นได้เช่นกัน

อาหารที่มีผลต่อความเครียด

สำหรับอาหารที่มีผลต่อความเครียด ได้แก่

1.คาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี

คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสีจะอุดมไปด้วยสารอาหารมากมายหลายชนิด โดยเฉพาะสารอาหารที่จะช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่าเซโรโทนินได้ โดยเซโรโทนิน เป็นสารที่จะช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ควบคุมอารมณ์ให้คงที่และทำให้นอนหลับง่ายขึ้นในเวลากลางคืน ดังนั้นหากร่างกายผลิตสารเซโรโทนินออกมาน้อยเกินไป ก็จะส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ขาดสมาธิ ไม่กระฉับกระเฉง และอาจเป็นโรคซึมเศร้าได้ แต่อย่างไรก็ตาม เซโรโทนินก็มีข้อเสียอยู่บ้างเหมือนกัน นั่นคือหากได้รับเซโรโทนินจากคาร์โบไฮเดรตที่ขัดสีมากๆ ในเวลากลางวันก็จะมีอาการอ่อนระโหยโรยแรงได้ ทั้งยังหงุดหงิดง่ายอีกด้วย จึงต้องแก้ด้วยการกินโปรตีนร่วมในอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด
เพราะฉะนั้นถ้าให้ดี ควรเลือกทานคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสีจะดีกว่า เพราะจะให้ประโยชน์มากกว่าผลเสีย และช่วยจัดการความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดอีกด้วย

2.โปรตีน

โปรตีนเป็นสารอาหารที่จะช่วยสร้างความตื่นตัวและให้พลังงานแก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี แต่ส่วนใหญ่ร่างกายจะมีความต้องการโปรตีนเพื่อรักษาสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นในตอนเช้าแค่ทานโปรตีนเล็กน้อยคู่กับคาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี ก็จะช่วยเสริมสร้างสารสื่อประสาทในสมองและสามารถคลายความเครียดได้ดีแล้ว

3.วิตามินอี

วิตามินอีมีส่วนช่วยในการป้องกันความเครียดที่มักจะเกิดจากอนุมูลอิสระ นั่นก็เพราะวิตามินอีขึ้นชื่อว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด และนอกจากจะป้องกันความเครียดได้แล้ว ก็สามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคมะเร็งและช่วยชะลอความแก่ได้ดีอีกด้วย ดังนั้นจึงควรทานวิตามินอีอย่างเพียงพออยู่เสมอ   

4.วิตามินบี

เป็นอีกหนึ่งวิตามินที่จะช่วยในการผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี โดยวิตามินบีจะทำให้การทำงานของระบบประสาทในการเผาผลาญอาหาร เปลี่ยนไขมันและคาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงลดการเกิดความเครียดได้ในที่สุด ซึ่งในขณะเดียวกันหากขาดวิตามินบี ก็จะทำให้การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ และส่งผลเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับเซลล์ในที่สุด

5.วิตามินซี

ในภาวะที่ร่างกายเกิดความเครียด วิตามินซีจะถูกนำออกไปใช้เพื่อรับมือกับความเครียดเป็นจำนวนมากจึงทำให้วิตามินซีในร่างกายลดต่ำลงอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ แต่ในขณะเดียวกันในช่วงที่เกิดความเครียดนี้ หากมีการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอและสามารถจัดการความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกายและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อหรือเจ็บป่วยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในช่วงนี้จึงควรทานวิตามินซีให้สูงขึ้น ซึ่งพบได้จาก ฝรั่ง ส้ม พริกหวาน คะน้าและผักโขมนั่นเอง

6.แมกนีเซียม

ความเครียดมีความสัมพันธ์ต่อแมกนีเซียมโดยตรง ซึ่งพบว่าเมื่อร่างกายมีความเครียดสูง ระดับของแมกนีเซียมก็จะลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว โดยจะสูญเสียแมกนีเซียมไปกับปัสสาวะมากกว่าปกติ ซึ่งหากภาวะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ก็จะทำให้การฟื้นตัวช้าได้ อย่างไรก็ตามหากได้รับแมกนีเซียมอย่างเพียงพอในระหว่างที่มีความเครียดก็จะทำให้ความเครียดลดต่ำลงได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรเน้นการทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง โดยพบได้จาก เมล็ดฟักทอง ถั่วเปลือกแข็ง เต้าหู้และธัญพืชไม่ขัดสี เป็นต้น

7.สังกะสี

เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะสูญเสียสังกะสีออกไปมากขึ้น เป็นผลให้ผู้ที่กำลังเจ็บป่วยหรือเป็นแผลฟื้นตัวได้ช้าลงและมีโอกาสติดเชื้อได้สูง ดังนั้นจึงต้องทานอาหารที่มีสังกะสีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งนอกจากจะป้องกันผลกระทบดังกล่าวได้ดีแล้ว ก็ช่วยลดความเครียดและสร้างความผ่อนคลายได้ดีอีกด้วย โดยอาหารที่มีสังกะสีสูง พบได้จาก เนื้อสัตว์ต่างๆ แป้งและถั่ว เป็นต้น 

อาหารเพิ่มความเครียดที่ควรเลี่ยง

อาหารบางชนิด เป็นตัวการในการเพิ่มความเครียด ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด ซึ่งได้แก่

1.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หลายคนเข้าใจว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะสามารถลดความเครียดได้ แต่ความจริงแล้วเครื่องดื่มเหล่านี้จะยิ่งทำให้ร่างกายมีความเครียดมากกว่าเดิม โดยจะเข้าไปกดประสาททำให้เกิดความเครียด วิตกกังวลหรืออาจซึมเศร้าได้ และยังกระตุ้นให้ร่างกายต้องสูญเสียสารอาหารที่จำเป็นต่อการต้านความเครียด จึงทำให้ความเครียดยิ่งสูงขึ้นไปอีก ซึ่งผลกระทบอื่นๆ ที่ตามมา ก็คือความดันโลหิตที่สูงขึ้น ขาดสมาธิ และประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารลดลง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาวก็จะทำให้การทำงานของสมองแย่ลงและอาจเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย และเนื่องจากผลกระทบดังกล่าว หากผู้ที่ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาว เลิกดื่มอย่างกะทันหัน ในระยะแรกๆ ก็อาจมีอาการประสาทหลอนได้ และทำให้ระบบการทำงานต่างๆ ขาดสมดุล เช่น ระบบย่อย และการสะสมวิตามินต่างๆ ในร่างกายเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการดื่มเรื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีผลเสียต่อร่างกาย แต่หากดื่มแค่วันละหนึ่งดริ๊งค์ก็จะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้บ้าง ดังนั้นหากต้องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อความผ่อนคลาย ควรดื่มแค่วันละนิดวันละหน่อยก็พอ

2.กาแฟ

กาแฟมีคาเฟอีน ที่เป็นสารพิษชนิดหนึ่งที่จะเพิ่มความเครียดและทำให้ระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกายขาดสมดุลได้ โดยเฉพาะหากดื่มกาแฟในช่วงที่กำลังมีความเครียดอยู่แล้ว ก็จะยิ่งทำให้อาการเครียดเลวร้ายลงไปอีก และไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดความเครียดเท่านั้น แต่คาเฟอีนจะส่งผลให้ไตต้องทำงานหนัก มีปัญหาการนอนไม่หลับ ปวดหัวเรื้อรัง ไร้เรี่ยวแรงและลดการดูดซึมสารอาหารที่สำคัญบางชนิดอีกด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟมาเป็นเวลานาน หากคิดจะเลิกดื่ม จะต้องค่อยๆ เลิกแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้เกิดอาการข้างเคียงจากการหยุดดื่มกาแฟกะทันหันนั่นเอง และนอกจากกาแฟแล้วก็พบคาเฟอีนในช็อกโกแลตและน้ำอัดลมที่เป็นสีดำอีกด้วย รวมถึงยาบางชนิดด้วย 

3.คาร์โบไฮเดรตที่ขัดสีมาก

คาร์โบไฮเดรตมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากมีการขัดสีมากเกินไปก็จะทำให้สารอาหารจำเป็นหายไปและกลายเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีประโยชน์ได้ อย่างเช่นน้ำอัดลม น้ำตาลและอาหารที่มีรสชาติหวานจัด เป็นต้น ซึ่งก็จะทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย โดยเฉพาะความเครียดจากการทำงานของร่างกาย

4.อาหารที่มีโซเดียมสูง

การทานอาหารที่มีโซเดียมสูงในปริมาณมากจะทำให้ร่างกายเกิดอาการบวมซึ่งมาจากการที่ร่างกายเก็บน้ำไว้มากเกินไป และยังเป็นสาเหตุของภาวะความดันโลหิตสูงอีกด้วย โดยหากทานมากๆ ก็จะกระตุ้นให้เกิดภาวะเครียดได้ เพราะฉะนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง โดยเฉพาะอาหารที่มีโซเดียมแฝงอยู่

5.อาหารที่มีไขมันสูง

อาหารที่มีไขมันสูงเป็นอีกหนึ่งตัวการที่จะกระตุ้นให้ฮอร์โมนที่เป็นตัวกระตุ้นความเครียด เพิ่มสูงขึ้น และยังทำให้รู้สึก อึดอัดไม่สบายท้อง เนื่องจากอาหารไม่ย่อยหรือย่อยช้าอีกด้วย โดยอาหารไขมันสูงที่ควรหลีกเลี่ยงก็ได้แก่ อาหารฟาสต์ฟู้ดและอาหารจีน เป็นต้น

คำแนะนำสำหรับอาหารคลายเครียด

สำหรับข้อกำหนดเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการกับความเครียดนั้นยังไม่มีข้อกำหนดที่แน่ชัด แต่มีหลักโภชนาการที่ดีดังนี้

  • แม้อาหารประเภทไขมันจะไม่ดีต่อร่างกายแต่ก็มีความจำเป็นเหมือนกัน ดังนั้นจึงควรกินไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่พอดีและเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์โดยเฉพาะ
  • เลือกทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง และผักผลไม้ธัญพืชต่างๆ ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่มีประโยชน์
  • ลดการทานน้ำตาลและอาหารที่ผ่านการขัดสี เพราะอาหารเหล่านี้มักจะไม่มีประโยชน์ ทั้งยังเป็นตัวการกระตุ้นความเครียดอีกด้วย   
  • เน้นการกินคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีเป็นหลัก รวมถึงเลือกผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยปริมาณน้ำที่มีความเหมาะสมคือ วันละ 8-10 แก้วหรือ 2 ลิตรต่อวัน
  • เน้นการทานเนื้อปลาเป็นหลัก แต่หากเป็นเนื้อสัตว์ ก็ให้เลือกเนื้อสัตว์ชนิดไม่ติดหนังติดมันแทน

โดยจากคำแนะนำดังกล่าวนี้ หากสามารถทำได้ก็จะช่วยรับมือกับความเครียดได้ดีอย่างแน่นอน นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็จะช่วยจัดการความเครียดได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากทำทุกวิธีแล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้ ควรพบแพทย์จะดีที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

Javitt NB (December 1994). “Bile acid synthesis from cholesterol: regulatory and auxiliary pathways”. FASEB J. 8 (15): 1308–11.

ชีวิตสมดุลด้วยพลังงาน 5 ชนิดในร่างกาย

0
ชีวิตสมดุลด้วยพลังงาน 5 ชนิดในร่างกาย
พลังงาน 5 ชนิดในร่างกายที่ควรรู้
พลังงานเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการดำเนินชีวิต

พลังงาน 5 ชนิดในร่างกาย

พลังงานในร่างกาย ร่างกาย มนุษย์ ต้องการ พลังงาน อะไร มนุษย์มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยที่แหล่งกำเนิดพลังงานหลักมาจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่มีบทบาทมาตั้งแต่ในอดีต สำหรับพืชจะใช้แสงอาทิตย์ในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างพลังงาน แต่สำหรับมนุษย์ เราจะไม่ได้รับพลังงานโดยตรงจากแสงอาทิตย์เหมือนกับพืช แต่จะได้รับพลังงานจากพืชและสัตว์ที่เรารับประทาน ซึ่งในกระบวนการย่อยอาหาร พลังงานนี้จะถูกแปลงเป็นสารอาหารสำคัญต่าง ๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ที่ร่างกายใช้ในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ รวมถึงเป็นแหล่งพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกวัน

เมื่อ ร่างกายมนุษย์ต้องการพลังงานอะไรบ้าง สารอาหารก็จะเกิดกระบวนการเปลี่ยนให้เป็นพลังงานในร่างกายเกิดขึ้น หากร่างกายไม่สามารถที่จะใช้พลังงานเหล่านี้ได้หมด ส่วนหนึ่งก็จะถูกเก็บไว้ในร่างกายในรูปไกลโคเจนที่กล้ามเนื้อและตับ ส่วนอีกส่วนหนึ่งก็จะกลายเป็นไขมันอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเมื่อไหร่ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ซึ่งเรียกกันว่า ( Potentialenergy ) ที่มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบตามประเภทของการใช้งาน คือ

1. จะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล ( Mechanical Energy ) เมื่อกล้ามเนื้อมีการหดตัว

2. จะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานออสโมติค ( Somotic Energy ) สำหรับการขนส่งของเหลวและสารอาหารต่างๆ

3. จะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ( Electrical Energy ) ในการส่งกระแสความรู้สึกของระบบประสาท

4. จะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานเคมี ( Chemical Energy ) สำหรับการสังเคราะห์สารใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นและการสร้างเซลล์ของร่างกาย

5. จะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานความร้อน ( Thermal Energy ) สำหรับการรักษาอุณหภูมิภายในร่างกาย

หากมีการสร้างพลังงานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งขึ้นมา ก็จะทำให้มีการลดลงของพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน ( Law of Energy Conservation ) ซึ่งพลังงานจะยังคงมีอยู่โดยที่จะไม่เพิ่มหรือสูญหายไปไหน เพียงแต่จะเปลี่ยนรูปไปเท่านั้น ร่างกายของเรานั้นไม่ต่างอะไรกับเครื่องจักรซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน หากรถจักรเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่สูงมาก ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเชื้อเพลิงหรือพลังเป็นอย่างมากด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนในคนนั้นการที่เซลล์ต่าง ๆ จะนำพลังงานไปใช้ประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสามารถดำเนินชีวิตไปตามปกตินั้น จะต้องผ่านกระบวนการอันสลับซับซ้อนเพื่อให้ได้มาซึ่งสารประกอบพลังงานสูง หรือที่เรียกกันว่า ATP ( Adenosine Triphosphate ) ATP ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการที่โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และสารประกอบอินทรีย์ต่าง ๆ มีการทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเกิดขึ้น

การใช้พลังงานของร่างกาย

การใช้พลังงานของร่างกาย - ชีวิตสมดุลด้วยพลังงาน 5 ชนิดในร่างกายร่างกายมีความต้องการพลังงานอยู่เสมอ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะนำพลังงานไปใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

1. พลังงานที่ต้องการขั้นพื้นฐาน ( Basal Metabolism ) จะถูกนำไปใช้เพื่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ในขณะที่กำลังพักผ่อน

2. พลังงานที่ร่างกายต้อยการเพื่อการประกอบกิจกรรมต่างๆ โดยจะต้องการพลังงานมากเป็นพิเศษ เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หรือการทำงาน รวมถึงการออกกำลังกาย การทำงานบ้านหรือการเดินก็ต้องใช้พลังงานเช่นกัน

3. พลังงานที่ใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลงอาหารภายในร่างกาย ( Specific Dynamic Action of Food ) กล่าวคือร่างกายจำเป็นต้องใช้พลังงานในการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ นั่นเอง

4. พลังงานในการขับของเสียออกจากร่างกาย โดยจะต้องใช้พลังงานเพื่อให้การขับถ่ายของเสียออกมาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

พลังงานที่ต้องการขั้นพื้นฐาน ( Basal Metabolism )

พลังงานที่ต้องการขั้นพื้นฐาน ( Basal Metabolism )ร่างกายมนุษย์ต้องการพลังงานอะไร พลังงานที่ร่างกายมีความต้องการขั้นพื้นฐาน ก็คือพลังงานที่เกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายอยู่ในภาวะของการพักผ่อน โดยส่วนใหญ่จะเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับ เช่น พลังงานที่ใช้ในการหายใจ การหมุนเวียนของเลือด การเต้นของหัวใจรวมถึงการทำงานของต่อมและเซลล์ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตด้วย โดยเฉลี่ยแล้วจะพบว่า ร่างกายมีความต้องการพลังงานขั้นพื้นฐานมากถึงร้อยละ 50 ของพลังงานต่อวันเลยทีเดียว

สำหรับการหาค่าพลังงานที่ต้องการขั้นพื้นฐาน จะใช้วิธีการวัดออกมาเป็นค่าของอัตราพลังงานขั้นพื้นฐาน ( Basal Metabolic Rate, BMR ) ซึ่งในปัจจุบันการหาค่าพลังงานขั้นพื้นฐานนิยมใช้วิธีการวัดออกซิเจนขณะกำลังพัก หลังจากทานอาหารไปแล้ว 3 –5 ชั่วโมง ซึ่งค่าที่ได้เรียกว่าค่า ( Resting Energy Expenditure, REE ) โดยวิธีนี้จะไม่ได้วัดแบบเข้มงวดมากนักเหมือนการวัด BMR ซึ่งเป็นการวัดการใช้พลังงานขณะพักหลังจากบริโภคอาหาร 10 –12 ชั่วโมง 

1.การวัดโดยใช้เครื่องมือ

วิธีนี้จะใช้เครื่องมือ สไปโรมิเตอร์ ( Spirometer ) ในการวัดหาค่า ซึ่งเป็นวิธีวัดปริมาณพลังงานความร้อนที่ใช้โดยอ้อม สำหรับการวัดนั้นจะให้ผู้ถูกวัดนอนนิ่งอยู่ในภาวะผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ และนิยมวัดในตอนเช้าหลังตื่นนอนทันทีเพราะเป็นช่วงที่ได้ผ่านการทานอาหารมาแล้ว 12-16 ชั่วโมง โดยที่ยังไม่ได้ทานอาหารเพิ่มเลย และช่วงเวลาดังกล่าวก็มีอุณหภูมิที่เหมาะกับการวัดที่สุด คือประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส โดยการวัดจะวัดปริมาณออกซิเจนที่หายใจเข้าในเวลา 6 นาที 2 ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ยนำมาคูณด้วย 10 จะได้ปริมาณของออกซิเจนที่หายใจเข้าใน 1 ชั่วโมง

จากการทดลอง พบว่าคนส่วนใหญ่จะใช้อัตราพลังงานขั้นพื้นฐานเท่ากับ 4.825 กิโลแคลอรี่ ดังนั้นจึงสามารถนำค่าที่ได้ไปใช้ในการคำนวณพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานของอวัยวะภายในหรือค่า BMR ใน 1 ชั่วโมงหรือใน 1 วันได้

ตัวอย่าง ผู้หญิงสาวได้รับออกซิเจนเข้าไป 1,200 ซีซี ในเวลาทดสอบ 6 นาที ฉะนั้นใน 24 ชั่วโมงพลังงานต้องการขั้นพื้นฐาน ( BMR ) ที่ร่างกายใช้ไปเท่าไร
6 นาที = 1/10 ชั่วโมง
1/10 ชั่วโมง ออกซิเจนใช้ไป   = 1,200 ซีซี
24 ชั่วโมง ออกซิเจนใช้ไป      = 1,200 x 24 x 10 ซีซี
1,000 ซีซี                        = 1 ลิตร
1,200 x 24 x 10 ซีซี         = 1,200 x 24 x 10 ลิตร
1,000                            = 288 ลิตร
1 ลิตรของออกซิเจนใช้ความร้อน = 4.825 กิโลแคลอรี่
288 ลิตรของออกซิเจนใช้ความร้อน = 4.825 x 288 กิโลแคลอรี่
ตอบ พลังงานพื้นฐานที่ร่างกายใช้ไป = 1,390 กิโลแคลอรี่

2.การประมาณค่า BMR ทำได้หลายวิธี คือ

2.1 The Harris-Benedict Equation เป็นสมการที่ใช้ในการประมาณค่า BMR โดยแยกคำนวณเป็น BMR ของเพศชาย และเพศหญิงตามสมการดังต่อไปนี้

ค่า BMR (กิโลแคลอรี่ต่อวัน) ของผู้ชาย = 66.5 + ( 13.8 x นน. ตัวเป็น ก.ก.) +
(5 x ส่วนสูงเป็น ซม.) – ( 6.8 x อายุเป็นปี)
ค่า BMR (กิโลแคลอรี่ต่อวัน) ของผู้หญิง = 65.1 + ( 9.6 x นน. ตัวเป็น ก.ก.) + (1.9 x ส่วนสูงเป็น ซม.) – ( 4.7 x อายุเป็นปี)
ตัวอย่าง หญิงคนหนึ่งอายุ 46 ปี หนัก 52 กิโลกรัม สูง 163 เซนติเมตร ค่าอัตราพลังงานขั้นพื้นฐานเป็นเท่าไร
BMR = 65.1 + (9.6 x 52 ) + ( 1.9 x 163 ) – ( 4.7 x 46 ) = 657.8 กิโลแคลอรี่ต่อวัน

2.2 การประมาณค่า BMR โดยใช้สมการของ FAO/WHO/UNU ( คศ.1985 ) เป็นการประมาณประมาณค่า REE โดยแบ่งเป็น 6 ช่วงอายุตามเพศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดความต้องการพลังงานในกลุ่มคน

2.3 การประมาณค่า BMR โดยสัมพันธ์กับพื้นที่ผิวของร่างกาย เนื่องจากค่า BMR มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ผิวหรือขนาดของร่างกาย จึงสามารถที่จะทำการคำนวณหาค่า BMR ได้จากพื้นที่ผิวของร่างกาย โดยคำนวณจากสูตร

ตารางสมการของ FAO/WHO/UNU ที่ใช้สำหรับประมาณค่า REE
เพศและช่วงอายุ (ปี) สมการที่ใช้ประมาณค่า REE ( กิโลแคลอรี่/วัน )
ชาย
0 – 3 (60.9 x น.น. เป็น กก.) – 54
3 – 10 (22.7 x น.น. เป็น กก.) + 495
10 – 18 (17.5 x น.น. เป็น กก.) + 651
18 – 30 (15.3 x น.น. เป็น กก.) + 679
30 – 60 (11.6 x น.น. เป็น กก.) + 879
>60 (13.5 x น.น. เป็น กก.) + 487
หญิง
0 – 3 (61.0 x น.น. เป็น กก.) – 51
3 – 10 (22.5 x น.น. เป็น กก.) + 499
10 – 18 (12.2 x น.น. เป็น กก.) + 746
18 – 30 (14.7 x น.น. เป็น กก.) + 496
30 – 60 (8.7 x น.น. เป็น กก.) + 829
>60 (10.5 x น.น. เป็น กก.) + 596

ที่มา : Food and Nutrition Board, National Research Council, 1989
BMR = พื้นที่ผิว ( ตารางเมตร ) x 24 ( ซม. ) x BMS
การอ่านพื้นที่ผิว จะอ่านค่าโนโมแกรมของ Dubois ซึ่งต้องทราบน้ำหนักและส่วนสูงของผู้ที่จะทำการหาพื้นที่ผิวของร่างกายก่อน โดย จะมีอยู่ 3 คอลัมน์ โดยที่คอลัมน์ที่ I เป็นส่วนสูงคอลัมน์ที่ II เป็นน้ำหนักตัดคอลัมน์ที่ III ที่จุดใด ตรงนั้นก็เป็นค่าพื้นที่ผิวของร่างกาย
BMR ( Basal Metabolic Standard ) คือ ค่ามาตรฐาน BMR ของคนปกติแยกตามเพศและวัย 

ตัวอย่าง ชายคนหนึ่ง อายุ 18 ปี สูง 170 ซม. หนัก 65 กิโลกรัม จงคำนวณหาค่า BMR
พื้นที่ผิวของชายคนนี้จากโนโมแกรม = 1.74 ตารางเมตร
BMS ปกติของชายอายุ 18 ปี = 40.5 กิโลแคลอรี่/ตรม./ซม.
ค่า BMS ของชายคนนี้ = 40.5×1.74×24
= 1,691.28 กิโลแคลอรี่/วัน

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้พบว่า หากใช้กับเด็กและวัยสูงอายุ จะทำให้ได้ค่าที่มีความต่ำจากความเป็นจริงได้ ที่มา : Pike and Brown, 1967

2.4 การประมาณค่าโดยใช้ค่า BMR โดยประมาณ

ค่า BMR ของคนเราจะมีความแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับอายุ เพศและภาวการณ์นอนหลับด้วย ซึ่งพบว่าค่า BMR ของผู้ที่อายุระหว่าง 20 – 50 ปี เพศชายประมาณ 1 กิโลแคลอรี่/ก.ก./ชม. เพศหญิงประมาณ 0.9 กิโลแคลอรี่/ก.ก./ชม. แต่ถ้าอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ค่า BMR จะลดต่ำลงจากเดิม โดยที่เพศชายประมาณ 0.9 กิโลแคลอรี่/ก.ก./ชม. และในขณะนอนหลับค่า BMR ก็ลดลงมากถึงร้อยละ 10 ของแต่ละชั่วโมงที่หลับด้วย

ตัวอย่าง ผู้ชายอายุ 25 ปี สูง 170 ซม. หนัก 70 กิโลกรัม นอนหลับ 9 ชม. จงคำนวณหา

ตารางค่า BMR สำหรับคนวัยต่างๆ แยกตามเพศ
ที่มา : Scheider, 1983

ค่า BMR
BMR ของผู้ชายคนนี้ = 1 x 70 x 24
= 1,680 กิโลแคลอรี่/วัน
นอนหลับวันละ 9 ชั่วโมง BMR ลดลง = 10 x 70 x 9
100
= 63 กิโลแคลอรี่
ค่า BMR ของชายคนนี้ = 1,680 – 63
= 1,617 กิโลแคลอรี่

ปัจจัยที่มีผลต่อพลังงานที่ต้องการขั้นพื้นฐาน

ปัจจัยที่มีผลต่อพลังงานที่ต้องการขั้นพื้นฐาน1. พื้นที่ผิวของร่างกาย โดยพบว่าผู้ที่มีพื้นที่ผิวมากจะมีความต้องการพลังงานมากกว่าผู้ที่มีพื้นที่ผิวน้อย โดยการหาพื้นที่ผิวของร่างกายก็จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักและขนาดรูปร่างของบุคคลด้วยนั่นเอง เช่น คนผอมสูงจะมีพื้นที่ผิวมากกว่าคนอ้วนเตี้ยที่มีน้ำหนักเท่ากัน ดังนั้นคนที่ผอมสูงจึงมีการสูญเสียความร้อนของร่างกายสูงกว่าคนที่อ้วนเตี้ย และมีความต้องการพลังงานขั้นพื้นฐานมากกว่าอีกด้วย

2. องค์ประกอบของร่างกาย ซึ่งพบว่าคนที่มีกล้ามเนื้อมากจะมีความต้องการพลังงานขั้นพื้นฐานมากกว่าคนที่มีกล้ามเนื้อน้อย เช่น ในนักกีฬาที่มีกล้ามเนื้อมาก จะต้องการพลังงานขั้นพื้นฐานมากกว่าคนอ้วนที่มีกล้ามเนื้อน้อยนั่นเอง นั่นก็เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วการออกซิเดชั่นของร่างกายจะเกิดภายในเซลล์กล้ามเนื้อมากกว่าเซลล์ไขมัน

3. อายุ ส่วนใหญ่แล้วคนเราจะมีความต้องการพลังงานขึ้นพื้นฐาน ( BM ) ที่สูงมากในช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะต้องใช้พลังงานในการสร้างกล้ามเนื้อสูงนั่นเอง ดังนั้นในระยะที่เป็นเด็กทารกจึงมีความต้องการพลังงานสูง และเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ จะต้องการพลังงานที่ลดน้อยลงจากปกติ

4. เพศ โดยพบว่าถึงแม้จะมีน้ำหนักและส่วนสูงเท่ากันแต่พลังงานที่ต้องการขั้นพื้นฐานภายในร่างกายของเพศหญิงและเพศชายไม่เท่ากัน โดยผู้หญิงจะต้องการพลังงานขั้นพื้นฐาน ต่ำกว่าผู้ชายร้อยละ 6 – 10 ( นอกจากอายุ 12 – 14 ที่พลังงานขั้นพื้นฐานจะใกล้เคียงกัน ) นั่นก็เพราะเพศหญิงมักจะมีไขมันมากกว่ากล้ามเนื้อ ในขณะที่ผู้ชายมีกล้ามเนื้อมากกว่าไขมันนั่นเอง

5. การนอน ร่างกายของคนเราจะมีความต้องการพลังงานขั้นพื้นฐานในขณะนอนหลับต่ำกว่าขณะตื่นร้อยละ 10 นั่นก็เพราะในขณะหลับกล้ามเนื้อจะคลายความตึงเครียดลงและมีการทำงานน้อยลง ทำให้เกิดการออกซิไดส์ในกล้ามเนื้อลดลงไปด้วย อย่างไรก็ตามพลังงานขั้นพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นในขณะนอนหลับก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการนอนของแต่ละคนด้วย หากมีการเคลื่อนไหวร่างกายในการนอนบ่อย ความต้องการก็อาจลดลงกว่าร้อยละ 10 ได้ 

6. อุณหภูมิ โดยปกติแล้วอุณหภูมิจะมีผลต่ออัตราในการใช้พลังงาน 2 ทางคือ

6.1 อุณหภูมิมีผลต่อการทำงานของร่างกายโดยตรง ซึ่งพบว่าเมื่ออุณหภูมิของร่างกายลดลงก็จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลงไปด้วย รวมถึงปฏิกิริยาเคมีก็เช่นกัน และในทางตรงกันข้าม หากร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ก็จะไปเร่งปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายให้เร็วขึ้นอีกด้วย เป็นผลให้เกิดการสูญเสียพลังงานเยอะ ดังนั้นในคนไข้ที่มีไข้สูง จึงมักจะต้องการพลังงานสูงด้วยนั่นเอง

6.2 อุณหภูมิของอากาศ โดยพบว่าคนที่อยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นจะมีความต้องการออกซิเจนในการเร่งการเผาผลาญมากกว่าในคนที่อยู่ในสภาพอากาศร้อน อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้พบว่า ค่าพลังงานขั้นพื้นฐานที่ร่างกายต้องการจะเปลี่ยนไปร้อยละ 5 ทุกๆ 10°ซ ที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ 10°ซ ค่าพลังงานขั้นพื้นฐานจะต่ำลงร้อยละ 5 ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ 10 องศาเซลเซียสค่าพลังงานขั้นพื้นฐานจะสูงขึ้นร้อยละ 5 นั่นเอง

7. ต่อมหมวกไต ( Adrenal ) เพราะอะดรีนาลินมีผลต่อค่าพลังงานขั้นพื้นฐานที่ร่างกายต้องการ โดยหากมีอะดรีนาลินสูง ก็จะทำให้ค่าพลังงานขั้นพื้นฐานสูงขึ้นไปด้วย โดยต่อมหมวกไตจะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลินโดยตรง และจะผลิตออกมามากขึ้นเมื่ออยู่ในภาวะเครียด วิตกกังวล เจ็บปวดหรือกำลังโกรธ

8. โรคภัยไข้เจ็บ โดยส่วนใหญ่แล้วในขณะที่กำลังมีอาการเจ็บป่วย ร่างกายจะมีความต้องการพลังงานขั้นพื้นฐานมากกว่าปกติ เพราะต้องใช้พลังงานในการซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอ และฟื้นฟูสุขภาพร่างกายจากอาการป่วยนั่นเอง

9. สภาวะทางโภชนาการและสรีรวิทยาของร่างกาย โดยคนที่มีภาวะโภชนาการที่ดี พลังงานขั้นพื้นฐานที่ร่างกายต้องการก็จะอยู่ในระดับปกติ ส่วนคนที่มีภาวะโภชนาการต่ำ พลังงานขั้นพื้นฐานที่ร่างกายต้องการก็จะอยู่ในระดับต่ำลงไปด้วย ส่วนในหญิงที่ตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตรและเด็กที่กำลังเจริญเติบโต จะมีพลังงานขั้นพื้นฐานสูงขึ้นมาก

แหล่งอาหารที่ให้พลังงาน

แหล่งอาหารที่ให้พลังงานส่วนใหญ่จะพบได้ทั่วไปโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาล แป้ง

ความสมดุลของพลังงานภายในร่างกาย

ความสมดุลของพลังงานภายในร่างกายผู้ที่มีความสมดุลของพลังงานภายในร่างกายจะสามารถรับรู้ได้จากน้ำหนักตัวคงที่ และมีสุขภาพร่างกายที่เป็นปกติ พลังงานจากอาหารที่ร่างกายได้รับนั้น จะค่อนข้างใกล้เคียงกันกันกับพลังงานที่ร่างกายได้ใช้ในแต่ละวันซึ่งในวันหนึ่ง ๆ ร่างกายจำเป็นต้องใช้พลังงานไปกับเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในช่วงที่ร่างกายเข้าสูช่วงเวลาของการพักผ่อน ( BMR )ใช้ในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ( PA ) ใช้ในกระบวนการย่อยอาหารและนำสารอาหารไปใช้ประโชน์ ( SDA )และใช้ในการขับถ่ายของเสีย

ถ้าร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารน้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ ร่างกายก็จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกหิว และจะมีการเผาผลาญพลังงานภายในร่างกายลดน้อยลงด้วย ซึ่งก็จะทำให้ร่างกายจำเป็นต้องนำพลังงานที่ได้สะสมไว้ออกมาใช้ ทั้งไกลโคเจน ไขมัน และโปรตีนในกล้ามเนื้อก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ซึ่งก็จะส่งผลต่อการลดลงของน้ำตัว หรือที่เรียกกันว่า ความสมดุลพลังงานทางลบ ( Negative Energy Balance ) แต่ถ้าหากร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไปไม่สามารถที่จะใช้หมด ร่างกายก็จะเกิดการปรับตัวโดยนำพลังงานส่วนเกินนั้นมาเก็บสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจนและไขมันซึ่งร่างกายจะสามารถเก็บพลังงานเอาไว้ในรูปของไขมันได้ในปริมาณที่ มากอย่างไม่จำกัด ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใดก็ตามซึ่งจะเรียกกันว่าความสมดุลพลังงานทางบวก ( Positive Energy Balance ) แต่ว่าสมดุลพลังทางบวกก็จะส่งผลให้การควบคุมน้ำหนักเป็นไปได้ยาก ไม่เหมือนกับสมดุลพลังงานงานทางลบที่เป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะเพิ่มน้ำหนักตัวให้มากขึ้น และการที่ต้องอยู่ในภาวะสมดุลพลังงานทางบวกนาน ๆ ก็จะกลายเป็นผลเสียต่อสุขภาพได้จากอาหารพลังงานสูง เพราะอาหารที่ให้พลังงานสูงส่วนมากก็จะเป็นอาหารจำพวกไขมันและน้ำตาลในปริมาณที่สูง ซึ่งไม่ว่าอาหารจะมีปริมาณไขมันและคอเลสเตอรอลมากน้อยแค่ไหน ก็จะถูกตับเอาไปสังเคราะห์เป็นคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างมากมาย จากนั้นก็จะปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดส่งผลให้กระแสโลหิตมีระดับไขมันเพิ่มสูงขึ้น 

ซึ่งหากว่าได้มีการนำไปใช้และมีการเผาผลาญเกิดขึ้นภายในตับก็จะทำกระแสเลือดมีไขมันหลงเหลืออยู่จนเกิดภาวะ ( Hyperlipoproteinemia ( HLP ) ส่งผลให้ไขมันที่ติดค้างไปฝังอยู่ตามผนังหลอดโลหิต จนกระทั่งส่งผลให้เส้นโลหิตแข็งตัวและเกิดการตีบตันขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ส่วนปลายของอวัยวะต่าง ๆ ขาดเลือดไปบำรุงหล่อเลี้ยง เกิดเป็นโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต มีอาการไม่รู้สึกตัว ไตเสื่อมลงและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ซึ่งการที่ร่างกายได้รับอาหารพลังงานสูงอยู่เสมอก็จะส่งผลให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง

การได้รับอาหารเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากส่งผลให้อินซูลินต้องถูกผลิตออกมามากขึ้นตามไปด้วยเพื่อที่จะนำอาหารและน้ำตาลไปยังเซลล์ ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาสำหรับคนอ้วนที่มักจะเกิดภาวะดื้ออินซูลิน จนทำให้ตับอ่อนต้องทำหน้าที่ผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งถ้าหากมีการใช้งานตับอ่อนหนักมากเกินไปตับอ่อนก็จะเสื่อมลง และก็จะทำให้อินซูลินถูกผลิตออกมาได้น้อยลง จนไม่พอที่นำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ได้ ก็จะทำให้มีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือด จึงทำให้เป็นโรคเบาหวานในที่สุด และจะส่งผลต่อการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงมากขึ้นไปอีกจนเกิดเป็นโรคหัวใจ อัมพาตและไตเสื่อมซ้ำสอง

คนที่มีรูปร่างอ้วนร่างกายก็จะสร้างไขมันออกมามากกว่าคนที่ไม่อ้วน จนส่งผลให้เกิดปัญหาไขมันในเลือดสูงผิดปกติอยู่บ่อย ๆ ไม่เพียงเท่านั้นยังอาจะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้อีกด้วยหากไขมันถูกขับออกมาทางน้ำดีมากเกินไป นอกจากนี้แล้วในคนอ้วนหัวใจยังจะต้องทำงานหนักมากกว่าคนทั่วไปเพราะต้องทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายที่ใหญ่เกินธรรมดาจึงทำให้มีปัญหาความดันโลหิตสูงและหัวใจโตตามมาอีกและการส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายมีแรงดันเลือดที่สูงมากผนังหลอดเลือดได้รับความกระทบกระเทือนจนทำให้เสื่อมเร็วขึ้นและอาจถึงขั้นปริแตกได้ ซึ่งก็จะทำให้เป็นอัมพาตและเกิดภาวะไตเสื่อมตามมานั่นเอง ยิ่งถ้าติดอาหารเค็มจนเป็นนิสัย ก็จะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงได้ง่ายขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้น

แถมความอ้วนยังส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบฮอร์โมนเพศ ซึ่งแหล่งสะสมฮอร์โมนและสร้างความผิดปกติกับฮอร์โมนเพศก็คือไขมันใต้ชั้นผิวหนังนั่นเอง จึงสังเกตได้ว่าคนอ้วนหลายคนมักจะมีอาการประจำเดือนผิดปกติ จนบางครั้งเราอาจจะเห็นผู้หญิงอ้วนมีหนวดเคราไม่ต่างอะไรกับผู้ชายเลยทีเดียว และที่สำคัญคนอ้วนมักจะเกิดปัญหาหลาย ๆ อย่างดังที่กล่าวมาแล้วร่วมกันได้ จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มอาการของการเผาผลาญผิดปกติ ( Metabolic Syndrome หรือ Syndrome “X” )   

เมื่อคนในวัยผู้ใหญ่ได้รับพลังงานจากอาหารเท่า ๆ กันกับพลังงานที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้จะส่งให้ผลให้มีน้ำหนักตัวคงที่พลังงานในร่างกายก็จะมีความสมดุลและเพื่อให้น้ำหนักตัวมีความคงที่ ในเวลาเช้าก่อนที่จะรับประทานอาหารหรือหลังจากถ่ายอุจจาระและปัสสาวะเสร็จแล้วก็ควรที่จะชั่งน้ำหนักตัวเป็นประจำทุกวัน ซึ่งตามปกติแล้วน้ำหนักตัวจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ±1 กก. แต่ค่าที่เปลี่ยนแปลงนี้ต้องไม่เป็นไปทางบวกหรือลบทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียว

Acceptable Macronutrient Distribution Ranges ( AMDR ) เป็นช่วงของพลังงานที่เป็นผลจากการบริโภคสารอาหารประเภท Macronutrient ซึ่งก็มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคไม่ติดต่อแบบเรื้อรังด้วย โดยค่าที่กำหนดแสดงในรูปร้อยละ ของพลังงานที่ได้รับโดยที่ AMDR สำหรับผู้ใหญ่ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สารอาหาร AMDR
คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 45 – 65 ของพลังงานที่ได้รับ
โปรตีน ร้อยละ 10 – 35 ของพลังงานที่ได้รับ
ไขมัน ร้อยละ 20 – 35 ของพลังงานที่ได้รับ

ตัวอย่าง จงคำนวณปริมาณสารอาหารที่ร่างกาย นานทศพล อายุ 22 ปี ควรได้รับเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการพลังงานใน 1 วัน

วิธีทำ นายทศพลจะต้องการพลังงานตาม RDA ของคนไทย = 2,800 กิโลแคลอรี่

1. ร่างกายควรได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 50 ของความต้องการพลังงานทั้งหมด
พลังงานที่ควรได้รับจากคาร์โบไฮเดรต = 1,400 กิโลแคลอรี่
พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ได้มาจากคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม “1,400 ” “1,400 กรัม / 4

ตอบ ต้องได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต 350 กรัม

2. ร่างกายควรได้รับพลังงานจากโปรตีนประมาณร้อยละ 20 ของความต้องการพลังงานทั้งหมด

พลังงานที่ควรได้รับจากโปรตีน = 20 x 2,800 กิโลแคลอรี่ 

100 = 560 กิโลแคลอรี่

พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ได้มาจากโปรตีน 1 กรัม
“ 560 ” “ 1 x 560 กรัม / 4

ตอบ ต้องได้พลังงานจากโปรตีน 140 กรัม

3. ร่างกายควรได้รับพลังงานจากไขมันประมาณร้อยละ 20 ของความต้องการพลังงานทั้งหมด

พลังงานที่ควรได้รับจากไขมัน = 30 x 2,800 กิโลแคลอรี่
100
= 840 กิโลแคลอรี่
พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่ได้มาจากไขมัน 1 กรัม
“ 840 ” “ 840 กรัม / 9

ตอบ ต้องได้พลังงานจากไขมัน 93.33 กรัม

การควบคุมการบริโภคอาหาร

เป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากมากทีเดียว เพราะมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย จึงทำให้การควบคุมการบริโภคอาหารเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร โดยพฤติกรรมการบริโภคนั้นก็มีปัจจัยต่างๆ เข้ามามีผล เช่น ปัจจัยทางด้านจิตใจ ปัจจัยทางด้านสังคมที่สะสมมาตั้งแต่เด็ก ตลอดจนปัจจัยด้านร่างกาย

กลไกของความสมดุลของพลังงานในร่างกาย

ความสมดุลของพลังงาน = พลังงานที่ได้รับ – พลังงานที่ใช้ + การปรับตัวทางสรีระ
อิทธิพล
ปัจจัยทางด้าน พฤติกรรม สิ่งแวดล้อม
ร่างกาย
พฤติกรรมการบริโภค ปัจจัยด้านจิตใจ
การออกกำลังกาย ปัจจัยด้านสังคม

ที่มา : ดัดแปลงจากไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, 2545.

ปัจจัยด้านจิตใจ ( Psychological Factor ) การบริโภคอาหารของคนเรามักจะมีปัจจัยทางด้านจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นก็เพราะมนุษย์ชอบบริโภคอาหารตามความต้องการของจิตใจนั่นเอง หรือบางครั้งก็ไม่ยอมบริโภคอาหาร ซึ่งเนื่องมาจากสภาพจิตใจเช่นกัน เช่น จะกินมากเมื่อกำลังเครียดหรือเศร้า ไม่กินในเวลาที่กำลังโกรธ เป็นต้น

ปัจจัยด้านสังคม ( Social Factor ) โดยปัจจัยนี้จะหมายถึงการนำวัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนาและความกดดันทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่นความเชื่อที่ว่า เมื่อเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนจะต้องดื่มเหล้า เบียร์เสมอ หรือคนที่ชอบไปเที่ยว ช้อปปิ้งหรือออกงานสังคมบ่อยๆ ก็มักจะต้องใช้พลังงานเยอะ ส่วนในคนที่ชอบอยู่แต่บ้าน ไม่ค่อยไปไหน หรือทำงานหน้าคอมตลอดเวลา ก็จะใช้พลังงานในร่างกายน้อยนั่นเอง

ปัจจัยด้านร่างกาย ( Physiological Mechanism )

พลังงานในร่างกายมนุษย์ ได้มาจากทุกกิจกรรมที่ทำสำหรับปัจจัยทางด้านร่างกาย ก็จะมีสมองที่เป็นศูนย์กลางความอยากและศูนย์กลางความอิ่มในการรับสัญญาณและกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากหรืออิ่มตามสัญญาณที่ส่งเข้ามา โดยปัจจัยทางร่างกายก็แบ่งออกได้เป็น ดังต่อไปนี้

1.การขยายตัวของกระเพาะ ( Gastric Distension ) โดยพบว่าในขณะที่กระเพาะอาหารขยายตัวจากการทานอาหารเข้าไป จะเกิดความรู้สึกอิ่ม ทำให้ไม่อยากทานอาหารต่อ แต่เมื่ออาหารได้ถูกย่อยไปหมดหรือกำลังอยู่ในช่วงที่ท้องว่าง กระเพาะอาหารแฟบ ก็จะทำให้รู้สึกหิวและอยากทานอาหารมากกว่าปกติได้

2.การควบคุมความร้อนให้คงที่ ( Thermostatic Regulation ) ระดับความร้อนของร่างกายมีผลต่อความต้องการพลังงานและอาหารเช่นกัน โดยเมื่อร่างกายมีความร้อนสูงซึ่งเนื่องมาจาก SDA ที่เกิดขึ้นจากการย่อย ก็จะทำให้รู้สึกอิ่ม แต่เมื่ออุณหภูมิมีการปรับให้เข้ากับร่างกายจนเป็นปกติแล้ว ก็จะรู้สึกหิวได้นั่นเอง 

3.การควบคุมกลูโคสให้คงที่ ( Glucostatic Regulation ) เพราะกลูโคสมีส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณของอาหารที่จะบริโภค ซึ่งระดับของกลูโคสในร่างกายจะทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มหรือหิวได้ ดังนั้นจึงควรควบคุมระดับของกลูโคสให้คงที่อยู่เสมอนั่นเอง

4.การควบคุมไขมันให้คงที่ ( Lipostatic Regulation ) โดยปกติแล้วร่างกายจะพยายามควบคุมไขมันให้อยู่ในระดับที่คงที่อยู่เสมอ ดังนั้นหากทำกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้ไขมันถูกนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานเยอะมาก ก็จะเกิดความรู้สึกหิวมากกว่าปกติ เพราะร่างกายต้องการไขมันเข้าไปสะสมไว้ในปริมาณเท่าเดิมนั่นเอง อย่างไรก็ตามในกรณีที่ออกกำลังกายอย่างหนักแล้วมาทานอาหารทันทีก็จะทานได้น้อยมาก แต่หากออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ แบบเรื่อยๆ ปานกลางและมีความต่อเนื่อง ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกหิวมากขึ้นไปอีก

5.ฮอร์โมน และสารที่เกี่ยวข้องกับความหิวและความอิ่ม

5.1 ฮอร์โมนในระบบทางเดินอาหาร เช่น แกสทริน ( Gastrin ) เป็นฮอร์โมนที่จะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารเกิดการหดตัว ทำให้ท้องว่างและรู้สึกหิว ในขณะที่ โคลีซิสโทไคนิน ( Cholecystokinin ) เป็นฮอร์โมนที่จะกระตุ้นให้ถุงน้ำดีหดตัวซึ่งให้ผลตรงกันข้าม

5.2 ระดับไกลโคเจนในตับที่ต่ำ สามารถทำให้รู้สึกหิวได้

5.3 ฮอร์โมนในเลือด ได้แก่ ฮอร์โมนอินซูลินทำให้ระดับกลูโคสในเลือดต่ำ ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกหิว ส่วนฮอร์โมนกลูคากอน ( Glucagon ) จะให้ผลตรงกันข้าม

5.4 สารประเภทโมโนเอมีน ( Monoamine ) บางชนิด เช่น โดปามีน ( Dopamine ) กระตุ้นให้รู้สึกหิวในขณะที่เซโรโทนิน ( Serotonin ) ให้ผลตรงข้าม

โดยส่วนใหญ่แล้วศูนย์กลางความอยากในสมองของคนเราจะไม่ค่อยมีปัญหา เพราะมี 2 ข้าง แต่ศูนย์กลางความอิ่มอาจเกิดปัญหาได้ง่าย ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือการเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อสมองอย่างรุนแรง จนทำให้ศูนย์กลางความอิ่มผิดปกติ จึงเกิดปัญหากับการควบคุมการบริโภคอาหารได้นั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

Javitt NB (December 1994). “Bile acid synthesis from cholesterol: regulatory and auxiliary pathways”. FASEB J. 8 (15): 1308–11.

Chen HW, Heiniger HJ (August 1978). “Biological activity of some oxygenated sterols”. Science. 201 (4355): 498–501.

Wu, Linfeng; Candille, Sophie I.; Choi, Yoonha; Xie, Dan; Jiang, Lihua; Li-Pook-Than, Jennifer; Tang, Hua; Snyder, Michael (2013). “Variation and genetic control of protein abundance in humans”. Nature. 

รวมประโยชน์จากถั่วชิกพี ( Chick Pea )

0
ถั่วลูกไก่ หรือถั่วชิคพี
ถั่วลูกไก่ หรือถั่วชิคพี มีโปรตีนสูง ป้องกันอาหารท้องผูก ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ โรคริดสีดวงทวาร
ถั่วลูกไก่ หรือถั่วชิคพี เป็นถัวที่มีโปรตีนสูง แก้อาการท้องผูก ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ โรคริดสีดวงทวาร
ถั่วลูกไก่ หรือถั่วชิคพี เป็นถัวที่มีโปรตีนสูง แก้อาการท้องผูก ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ โรคริดสีดวงทวาร

ถั่วชิกพี หรือ ถั่วลูกไก่  คือ

ถั่วชิกพี หรือ ถั่วลูกไก่ ( Chick Pea ) คือ พืชวงศ์ถั่ว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ( Cicer Arietinum ) ถั่วชิกพีชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เนื่องจากในแถบตะวันออกกลางและอินเดียนิยมนำถั่วชนิดนี้มาประกอบอาหารรับประทาน มีการปลูกถั่วชิคพีไว้สำหรับรับประทานกันมานาน 7,500 ปีมาแล้ว คนไทยรู้จักถั่วชนิดนี้ในชื่อ “ถั่วลูกไก่” ถั่วมีรูปร่างคล้ายหยดน้ำขนาดใหญ่หรือรูปร่างคล้ายลูกไก่ตัวเล็กๆ จึงเรียกชื่อถั่วลูกไก่ มีจะงอยแหลมบริเวณด้านบนของเมล็ด แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ

1.สายพันธุ์ถั่วชิกพีกาบูลี ถั่วสายพันธุ์นี้จะมีเมล็ดใหญ่กว่าถั่วสายพันธุ์เดซี เมล็ดมีสีขาวนวลหรือสีครีม เปลือกหุ้มเมล็ดเรียบมีสีครีม ถั่วสายพันธุ์นี้นิยมปลูกกันมากในยุโรป

2.สายพันธุ์ถั่วลูกไก่เดซี สายพันธ์นี้ออกดอกเป็นสีม่วง เมล็ดมีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์กาบูลี เปลือกมีลักษณะขรุขระมีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม สายพันธุ์นี้นิยมปลูกในประเทศอินเดีย

ถั่วชิกพีมีประโยชน์อย่างไร?

ถั่วชิกพี อุดมไปด้วยสารอาหารโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด 9 ชนิด จึงให้ประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ ได้แก่

  • ถั่วชิกพีมีใยอาหารสูง ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก และช่วยให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น
  • ใยอาหาร ช่วยป้องกันอาการท้องผูก และช่วยลดไขมันในร่างกาย
  • โพแทสเซียม ไฟเบอร์ วิตามิน C และ วิตามิน B6 ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดคอเลสเตอรอล
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • โปรตีน ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ
  • แคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรง
  • วิตามินซี ช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง และบำรุงผิว
  • โฟเลตทำงานได้ดีในระหว่างตั้งครรภ์
  • ซีลีเนียม ช่วยให้ตับทำงานได้อย่างปกติ ช่วยล้างพิษ ป้องกันการเจริญเติบโตของเนื้องอก
  • วิตามินเอและสังกะสี สามารถป้องกันผมร่วง ผมบาง รังแคได้ และช่วยให้ผมงอกใหม่

ถั่วลูกไก่ป้องกันอาหารท้องผูก ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ โรคริดสีดวงทวารและการรับประทานตอนอุ่นก่อนนอนทำให้หลับสบาย

ปริมาณเส้นใยในถั่วแต่ละชนิด
ถั่ว (ปริมาณ ½ ถ้วยตวง) ปริมาณแคลอรี ปริมาณเส้นใยอาหารรวม (กรัม)
ถั่วดำ 113 7.5
ถั่วลูกไก่หรือถั่วชิคพี 134 6.2
ถั่วแดงหลวง 113 6.5
ถั่วแดง 115 7.8
ถั่วลิมา ( ถั่วอเมริกากลาง ) 96 6.8
ถั่วแขกขนาดเล็กสีขาว 129 5.8
ถั่วปากอ้า 115 8.1
ถั่วแดงพินโต 117 7.3
ถั่วขาว 124 5.6

ที่มา : โรงงานผู้ผลิต Food Labels and Bowes & Church เรื่องคุณค่าอาหารในสัดส่วนที่ใช้โดยทั่วไป
พิมพ์ครั้งที่ 17 โดย Lippincott,1998.

จากตารางจะพบว่าถั่วที่ปริมาณเท่ากัน ถั่วลูกไก่ หรือ ถั่วชิคพี จะให้พลังงานสูงที่สุดในกลุ่มก็จริงแต่ว่าพลังงานที่ได้รับก็ยังจัดเป็นถั่วที่ให้พลังงานต่ำอยู่ดี ต่างจากถั่วบราซิล ถั่วแมคคาเดเมียและลูกวอลนัทที่อยู่ในกลุ่มที่ให้พลังงานสูง พลังงานที่รับจึงพอดีกับความต้องการไม่สูงเกิน และยังมีปริมาณเส้นใยที่สูงเหมือนถั่วชนิดอื่นๆ

แสดงว่าเมื่อรับประทานถั่วชิคพีจะทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้นลดความอยากอาหารจึงช่วยลดน้ำหนักของเรา
มีกรดโฟลิค โพแตสเซียม และสารฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยต่อต้านการเกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในถั่วนี้จัดเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะว่าสารนี้จะไปยับยั้งไม่ให้อนุมูลอิสระไปทำปฏิกิริยากับไขมันเลวเพื่อไปทำลายผนังของหลอดเลือด ซึ่งอาจจะทำให้หัวใจหรือเนื้อเยื่อ ( Lesion ) ในหลอดเลือดเกิดแผล การรับประทาน ถั่วลูกไก่ หรือ ถั่วชิคพียังช่วยลดปริมาณ Low-Density Lipoprotein ( LDL ) และช่วยเพิ่มปริมาณไขมันดี ( HDL ) นายแพทย์ เจมส์ แอนเดอร์สัน ได้ทำการศึกษาและทดลองเรื่องประโยชน์ของถั่วชิกพี พบว่าเมื่อรับประทานถั่วชิกพีเป็นประจำวันละ วันละ 1 ถ้วยถึง 1 ถ้วยครึ่งจะช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว จึงนับว่าถั่วชิกพีนั้นเปรียบเสมือนยาลดระดับ คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) ชั้นดี

ปัจจุบันนี้ด้วยวิวัฒนาการทางด้านการถนอมอาหาร ได้มีการนำถั่วมาผลิตเป็นถั่วบรรจุกระป๋องเพื่อความสะดวกในการหาซื้อและเก็บรักษา เรามีตัวอย่างคุณค่าทางโภชนาการของถั่วบรรจุกระป๋องมาให้ดูกันว่า ถั่วที่มีการบรรจุกระป๋องแล้วยังทรงคุณค่ามากเพียงใด

รายการถั่วบรรจุกระป๋องบางชนิดที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาด
ปริมาณในการบริโภค ปริมาณแคลอรี่ ปริมาณไขมัน (กรัม) ปริมาณโปรตีน (กรัม) ปริมาณเส้นใยอาหาร (กรัม)
ประเภทซุป
แคมพ์เบลล์ สปริท ถั่วและแฮม 1 ถ้วยตวง 190 3 14 3
โพรเกรสโซ ฮาร์ทตี ถั่วดำ 1 ถ้วยตวง 170 3 10 5
โพรเกรสโซ ฮาร์ทตี ถั่วแขกแดง/เหลือง 1 ถ้วยตวง 140 1.5 10 8
ชนิดในน้ำเกลือ
เดนนิสสัน มีถั่ว 99 ไร้ไขมันกับเนื้อ 1 ถ้วยตวง 220 2 22 6
แนลลี ถั่วกับเนื้อ 1 ถ้วยตวง 260 7 19 10
สเต็ก ถั่วกับเนื้อ
ฮอล์เมล ถั่ว 99% มังสวิรัติ ไร้ไขมัน 1 ถ้วยตวง 330 15 18 14
เครื่องเคียง
แคมพ์เบลล์ หมู และถั่ว 1/2 ถ้วยตวง 130 2 5 6
บุช ถั่วอบ 1/2 ถ้วยตวง 150 1 7 7
โรซาริต้า ถั่ว รีฟรายด์ 1/2 ถ้วยตวง 100 2 6 6
โรซาริต้า ถั่ว รีฟรายด์ มังสวิรัติ 1/2 ถ้วยตวง 100 2 6 6
โรซาริต้า ถั่ว รีฟรายด์ ไม่มีไขมัน 1/2 ถ้วยตวง 90 0 6 2
กรีน ไจแอนท์ สลัดถั่ว 3 อย่าง 1/2 ถ้วยตวง 70 0 2 3
อัมมัส ( ถั่วเขียวบด ) 2 ช้อนโต๊ะ 60 3.5 2 1

ที่มา : จากฉลากโรงงานผู้ผลิตอาหารกระป๋อง

เราทราบถึงคุณประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของถั่วกันแล้ว เรามีเมนูแนะนำเกี่ยวกับถั่วกระป๋องเพื่อเป็นแนวทางในการรับประทานถั่วมาฝาก ชื่อเมนูว่าสลัดถั่วส่วนผสมของสลัดถั่วเพื่อสุขภาพ

ส่วนผสมสลัด ถั่วลูกไก่ หรือ ถั่วชิคพี อบเพื่อสุขภาพ
1 ถั่วแดงกระป๋อง 1 กระป๋อง ( เลือกขนาดกระป๋องเล็ก )
2 ถั่วลูกไก่ หรือถั่วชิคพีกระป๋อง 1 กระป๋อง ( เลือกเอาขนาดกลางหรือเล็กตามชอบ )
3 พริกไทยป่น สำหรับโรยหน้าตอนเสิร์ฟ
4 มะเขือเทศ 2 ลูก
5 ข้าวโพดกระป๋อง 1
6 หัวหอมแดง 2 หัว
7 ผักชีสด สำหรับโรยหน้าตอนเสิร์ฟ

ผลข้างเคียงของถั่วชิกพี?

ถั่วชิกพีแม้จะมีใยอาหารสูงและมีประโยชน์มากมาย หากกินมากเกินไปอาจทำให้ปวดท้อง ท้องร่วง หรือท้องอืดได้ บางคนที่แพ้ถั่วชิกพีอาจมีอาการคลื่นไส้ คัน เป็นลมพิษ ปวดหัว และไอ

ขั้นตอนการทำสลัดถั่วเพื่อสุขภาพ

1.นำถั่วแดง ถั่วลูกไก่และข้าวโพดออกจากกระป๋อง เทน้ำออกให้หมด ถั่วลูกไก่และถั่วดำใช้ปริมาณ 1 กระป๋อง ส่วนข้าวโพดใช้เพียง 1 ถ้วยตวง
2.หัวหอมแดงและผักชีสดมีสับให้ละเอียดจนได้ปริมาณ ½ ถ้วยตวง
3.นำมะเขือเทศ 2 มาสับหรือหั่นหยาบตามชอบ ( สำหรับคนที่ชอบรับประทานมะเขือเทศสามารถเพิ่มปริมาณได้ตามอบใจ )
4.นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน แล้วนำไปแช่เย็นประมาณ 1 ชั่วโมงก็จะไก้สลัดถั่วเพื่อสุขภาพพร้อมเสิร์ฟแล้ว
การรับประทานสลัด ถั่วลูกไก่ หรือ ถั่วชิคพีเพื่อสุขภาพสามารถรับประทานอย่างเดียวหรือรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับอาหารจานหลักอย่าง สเต็ก ขนมปังแผ่นก็ได้ตามชอบ เรามาดูข้อมูลทางโภชนาการของสลัดถั่วเพื่อสุขภาพที่เราทำรับประทานกับว่ามีสารอาหารที่ทรงคุณค่าขนาดเพียงใด

ข้อมูลทางโภชนาการสลัด ถั่วลูกไก่ หรือ ถั่วชิคพี เพื่อสุขภาพ
คำนวณจากอาหาร 1 จาน (ปริมาณที่ปรุงทั้งหมดแบ่งเสิร์ฟได้ 8 จาน)
                                                                                         ปริมาณสารอาหารในแต่ละจาน
พลังงาน                                                                                       83 แคลอรี
ไขมัน                                                                                            5 แคลอรี่
% คุณค่าสารอาหารต่อวัน
ไขมันรวม                                         < 1 กรัม                   1%
ไขมันอิ่มตัว                                          0 กรัม                   4%
คอเลสเตอรอล                                      0 มิลลิกรัม              0%
โซเดียม                                            70 มิลลิกรัม              3%
คาร์โบไฮเดรตรวม                               16 กรัม                    5%
เส้นใยอาหาร                                        5 กรัม                  20%
โปรตีน                                                5 กรัม
วิตามิน เอ (Vitamin A) 3%   วิตามิน ซี 14%   แคลเซียม 2%   ธาตุเหล็ก 8%    โฟเลท 20%

นอกจากเมนูสลัด ถั่วลูกไก่ หรือ ถั่วชิคพี เพื่อสุขภาพแล้ว ถั่วลูกไก่ยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้อีกหลากหลายขึ้นอยู่กับความชอบของคนทาน ถั่วเป็นอาหารที่มีประโยชน์แต่ถ้าได้รับมากเกินไปต่อวันก็จะทำให้เป็นโทษได้ ดังนั้นเราควรรับประทานถั่วลูกไก่ หรือถั่วชิคพีเพียงวันละประมาณ 1 อุ้มมือก็เพียงพอแล้ว วันนี้คุณทาน ถั่วลูกไก่ หรือ ถั่วชิคพี กันแล้วหรือยัง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผลไม้. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 1.ผลไม้–แง่โภชนาการ–ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641. ISBN 978-974-484-346-3.

Baynes, T.S.; Smith, W.R., eds. (1880). “Gram”. Encyclopædia Britannica. 11 (9th ed.). New York: Charles Scribner’s Sons. pp. 36–37.

Bell (March 31, 2014). “The small but mighty chickpea”. Phys.org. Retrieved 8 October 2015.