Home Blog Page 170

การรับประทานผักประจำวันที่เหมาะกับคนไทย

0
การบริโภคผักประจำวันที่เหมาะกับคนไทย
โพแทสเซียมและแมกนีเซียมจากผักและผลไม้ ช่วยลดความดันโลหิตได้และเป็นแหล่งวิตามินต่างๆ
การบริโภคผักประจำวันที่เหมาะกับคนไทย
โพแทสเซียมและแมกนีเซียมจากผักและผลไม้ ช่วยลดความดันโลหิตได้และเป็นแหล่งวิตามินต่างๆชั้นเยี่ยม

การรับประทานผัก

ผัก เป็นหนึ่งในอาหารหลักห้าหมู่ ผักเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงานต่ำ และเป็นแหล่งสำคัญของวิตามินและเกลือแร่หลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ใยอาหาร สารต้านอนุมูล อิสระ เป็นต้น จากรายงานทางคลินิกและระบาดวิทยาพบว่า การรับประทานผักและผลไม้ เป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง เป็นต้น

มีรายงานการวิจัยพบว่า ในอาหารชนิดที่ละลายน้ำ สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี  ในเลือดและยังช่วยทำให้การย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตจากอาหารช้าลง ทำให้น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ นอกจากนี้ใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำยังมีผลดีต่อร่างกายคือ ช่วยในเรื่องระบบการขับถ่าย บรรเทาอาการท้องผูกได้ ผัก เป็นแหล่งที่ดีของแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะโพแทสเซียม แมกนีเซียม และทองแดง แร่ธาตุ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก โดยส่วนมาก จะมีเนื้อเยื่อเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำงานในปฏิกิริยาหลายอย่างในร่างกาย เช่น ช่วยรักษาสมดุลกรดและด่าง และดุลของอิเล็กโทรไลต์ รักษาสมดุลของสารต่างๆ ระหว่างเลือดและเนื้อเยื่อ ช่วยให้เซลล์กล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานได้ตามปกติ แร่ธาตุบางชนิด ยังมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบเอนไซม์ในกระบวนการแมตตาบอลิซึ่ม หรือระบบเผาผลาญในร่างกายนั่นเอง

โพแทสเซียมและแมกนีเซียมจากผักและผลไม้ ช่วยลดความดันโลหิตได้ นอกจากนี้ ผักยังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินต่างๆ โดยวิตามินต่างเป็นส่วนประกอบสำคัญในการควบคุมปฏิกิริยาทางเคมีของร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆเจริญเติบโต และทำหน้าที่ได้ตามปกติ

ปัจจุบัน มีความสนใจวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และลูทีน ในแง่ของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีคุณสมบัติในการจับและทำลายอนุมูลอิสระต่างๆ ทีมาจากปฏิกิริยาทางชีวเคมี หรือ กระบวนการเผาผลาญสารอาหาร (เมแทบอลิซึม) ที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย หรือ อนุมูลอิสระจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ได้แก่ ควันบุหรี่ ก๊าซจากท่อไอเสียรถยนต์ การดื่มแอลกอฮอล์ รังสีจากแสงอาทิตย์ (อัลตราไวโอเลต) รังสีเอ็กซ์เรย์ ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้ มีอันตรายต่อเซลล์ในร่างกาย ที่อาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ภาวะข้อหรือไขข้ออักเสบ ต้อกระจก โรคความจำเสื่อม โรคแก่ก่อนวัย และการเสื่อมของอวัยวะต่างๆอนุมูลอิสระจะทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ โดยเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของดีเอ็นเอ (DNA) ถ้าร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระมาก แต่ผลิตสารต้านอนุมูลอิสระได้น้อย จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถขจัดอนุมูลอิสระเหล่านั้นได้หมด ขณะเดียวกันหากความสามารถในการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระของร่างกายลดลง เช่น ในวัยผู้สูงอายุ จะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่นำไปสู่การเกิดโรคต่างๆได้ เช่น โรคมะเร็ง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชนิดอื่นๆ

ดังนั้น การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่เพียงพอจากอาหาร สามารถช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์ของเยื่อบุต่างๆในร่างกายคงสภาพปกติการศึกษาทางคลินิก และทางระบาดวิทยาพบว่า การรับประทานผัก และผลไม้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคมะเร็งได้ เนื่องจากผักและผลไม้ เป็นแหล่งที่ดีของสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งนอกจากวิตามินเหล่านี้ ในผักยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ เช่น สารพฤกษเคมี เช่น สารประกอบฟีโนลิกหรือโพลีฟีนอล ไซยานิดิน ฟีโอนิดิน เป็นต้น

ข้อแนะนำในการรับประทานผัก

จากข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย (ธงโภชนาการ) แนะนำให้บริโภคผักวันละ 4 – 6 ถ้วยตวง หรือ 4 – 6 ทัพพี ซึ่งจะช่วยทำให้ได้รับพลังงานและสารอาหารครบถ้วน ตามความต้องการของร่างกาย โดยที่ผู้ต้องการพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี ได้แก่ เด็ก ควร รับประทานผัก วันละ 4 ถ้วยตวงหรือ 4 ทัพพี หญิงวัยทำงานและผู้สูงอายุควรรับประทานผักวันละ 6 ถ้วยตวงหรือ 6 ทัพพี สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ได้แก่วัยรุ่นและชายวันทำงาน ควรรับประทานผักวันละ 5 ถ้วยตวง หรือ 5 ทัพที ขณะผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ 2,400 กิโลแคลอรี ได้แก่ ผู้ที่ต้องใช้พลังงานมากๆ เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา เป็นต้น ควรรับประทานผักวันละ 6 ถ้วยตวงหรือ 6 ทัพพี

ผัก 1 ถ้วยตวงหรือ 1 ทัพพี  จะให้พลังงานและสารอาหารแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผักแต่ละชนิด โดยผัก 1 ถ้วยตวง มีน้ำหนักตั้งแต่ 9 – 130 กรัม ให้พลังงาน 4 – 69 กิโลกรัม คาร์โบไฮเดรต 0.4 – 9.3 กรัม โปรตีน 0.2 – 5.4 กรัม และมีไขมันน้อยมากยกเว้นลูกเหรียง ซึ่ง 1 ถ้วยตวง (66 กรัม) ให้ไขมัน 2.9 กรัม

สำหรับถ้วยตวงของผักจะเป็นถ้วยตวงพลาสติกที่มีความจุเมื่อนำไปตวงน้ำ เท่ากับ 220 กรัม หรือ 220 มิลลิลิตร ซึ่งจะเท่ากับถ้วยตวงที่ใช้กับโปรแกรมการคำนวณอาหาร IMUCAL ของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยามหิดล ปริมาณผักสด 1 ถ้วยตวง ก็จะใกล้เคียงผักสด 1 ทัพพีที่ใช้แนะนำปริมาณผักที่คนไทยควรรับประทานใน 1 วันตามธงโภชนาการ และมีปริมาณใกล้เคียงกับ 1 ถ้วยตวงของตารางอาหารแลกเปลี่ยน

นอกจากแสดงปริมาณผักสดแต่ละชนิด เป็นจำนวนถ้วยตวงแล้ว ยังระบุน้ำหนักเป็นกรัมที่ให้พลังงานประมาณ 25 กิโลแคลอรี ซึ่งจะเทียบเท่ากับ 1 ส่วนของกลุ่มผักที่ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี ให้คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม และโปรตีน 2 กรัม ในตารางอาหารแลกเปลี่ยน โดยผักสดทั้ง 42 ชนิด ในหนังสือเล่มนี้มีปริมาณตั้งแต่ ⅔ ถ้วยตวง หรือ 6 ¾ ถ้วยตวง ดังนั้น จึงสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการแนะนำ การรับประทานผัก สำหรับประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยได้ โดยผักชนิดไหนที่มีจำนวนถ้วยตวงมาก แสดงว่าเป็นผักที่ให้พลังงานน้อย ถ้ารับประทานเพียง 1 – 2 ถ้วยตวงต่อวัน ไม่ถือว่าต้องนับพลังงานคุณค่าทางโภชนาการของผักสดทั้ง 42 ชนิด ที่นิยมบริโภคในประเทศไทยนี้ จะมี ตารางข้อมูลที่แสดงถึงปริมาณน้ำ วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารต่อน้ำหนักผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้ และในผักสด 1 ถ้วยตวง รวมถึง % Thai RDI ซึ่งบอกถึงปริมาณสารอาหารที่ร่างกายจะได้รับเมื่อรับประทานผักแต่ละชนิด 1 ถ้วยตวง เปรียบเทียบกับปริมาณสารอาหาร ที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน โดย  % Thai RDI นี้ได้จากการนำปริมาณสารอาหารในผักมาคำนวณเปรียบเทียบเป็นร้อยละกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย (Thai Recommended Daily Intake หรือ Thai RDI) ซึ่งปริมาณสารอาหารแต่ละชนิดกำหนดจากค่าความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ดังนี้

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย

สารอาหารที่ได้จากการรับประทานผัก หน่วย Thai RDI
วิตามินซี มิลลิกรัม 60
โซเดียม มิลลิกรัม 2,400
โพแทสเซียม มิลลิกรัม 3,500
แคลเซียม มิลลิกรัม 800
แมกนีเซียม มิลลิกรัม 350
ฟอสฟอรัส มิลลิกรัม 800
เหล็ก มิลลิกรัม 15
ทองแดง มิลลิกรัม 2
สังกะสี มิลลิกรัม 15

– ข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันและแนวทางการบริโภคสำหรับคนไทย พ.ศ. 2532

– Thai Recommended Daily Intake หรือ Thai RDI 

ข้อควรระวัง สำหรับการรับประทานผักในผู้ป่วยโรคไต

ผักสด 1 ถ้วยตวง จะมีน้ำอยู่ประมาณ 7.4 – 124.4 กรัม โดยมะเขือเทศมีปริมาณน้ำมากที่สุด รองลงมาได้แก่ แตงกวา มะเขือเปราะ ฟักเขียว เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต อาจต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำเมื่อบริโภคผักเหล่านี้ด้วย นอกจากนี้ภาวะร่างกายที่มีความผิดปกติ เช่น ในผู้ป่วยที่มีอาการไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ร่างกายไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกทางปัสสาวะได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องจำกัดอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง

ดังนั้น อาจต้องพิจารณาปริมาณโพแทสเซียมในผักด้วย เนื่องจากผักบางชนิดมีปริมาณโพแทสเซียมมาก  ผักบางชนิดมีปริมาณโพแทสเซียมต่อน้ำหนัก 100 กรัมสูง แต่ถ้าผักชนิดนั้นมีน้ำหนักเบา การรับประทานแต่ละครั้งอาจรับประทานได้ในปริมาณน้อย ทำให้ได้รับโพแทสเซียมไม่มาก เช่น ผักพูม มีโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม แต่ปริมาณ 1 ถ้วยตวงหนักเพียง 10 กรัม ดังนั้นการรับประทานผักพูม 1 ถ้วยตวงจะได้รับโพแทสเซียม 44.8 มิลลิกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของปริมาณที่แนะนำให้ปริโภคในแต่ละวัน ผักที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่อ 1 ถ้วยตวงค่อนข้างสูง เช่น มะระขี้นก ลูกเหรียง มะเขือเปราะ ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง บร็อกโคลี เป็นต้น

ข้อแนะนำสำหรับการรับประทานผักในผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือต้องการลดน้ำหนัก การรับประทานผัก เป็นตัวเลือกที่ดีอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากผักมีใยอาหารสูง ให้พลังงานต่ำและมีไขมันต่ำมาก โดยเฉพาะการรับประทานผักสด ซึ่งนอกจากจะได้รับใยอาหารแล้ว ผักสดยังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินและเกลือแร่ชนิดต่างๆ

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การรับประทานผักจะช่วยเพิ่มใยอาหาร ช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง ทำให้น้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ใยอาหารในผักยังอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งมักมีปริมาณสูงในผู้ป่วยเบาหวานด้วย

การรับประทานผักอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด?

ควรรับประทานผักสด และถ้าจำเป็นต้องผ่านกระบวนการหุงต้ม ควรใช้เวลาในการปรุงให้สั้นที่สุด และใช้น้ำในปริมาณน้อย เนื่องจากความร้อนในการปรุงอาหารจะทำให้คุณค่าทางสารอาหารบางอย่างลดลง โดยเฉพาะวิตามิน 

  • ควรรับประทานผักให้หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ได้สารอาหารชนิดต่างๆครบถ้วน
  • การรับประทานผักสด ควรล้างน้ำสะอาดหลายๆครั้ง เพื่อขจัดสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นป้องกันแมลง
  • ไม่ควรรับประทานผักชนิดเดียวกันบ่อยๆ จนเกินไป เพราะร่างกายอาจได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลงตกค้างในผักชนิดนั้นและเกิดการสะสมฝนร่างกายได้

บทบาทหน้าที่ของสารอาหารชนิดต่างๆ ( วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ )

ลูทีน ( Lutein )

ลูทีนเป็นพฤกษเคมี ( Phytochemicals ) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งซึ่งถูกสังเคราะห์โดยพืช เป็นรงควัตถุที่มีสีเหลืองหรือสีส้ม ซึ่งอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบได้ในผักที่มีสีเขียวเข้ม ผักและผลไม้บางชนิดที่มีสีเหลืองและสีส้ม รวมทั้งในไข่แดงด้วย

บทบาทและหน้าที่

1. ลูทีนและแคโรทีนอยด์อื่นๆ มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเมแทบอลิซึงของร่างกาย

2. ลูทีนเป็นโมเลกุลที่ละลายในไขมัน ไม่ละลายในน้ำ และเป็นรงควัตถุที่พบในเรตินาในดวงตาของมนุษย์ โดยจากแหล่งงานวิจัยพบว่า ลูทีนอาจมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของสายตาในเรื่องของการมองเห็น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกัน การเกิดต้อกระจกและโรคสายตาเนื่องจากความเสื่อมของเซลล์ในผู้สูงอายุ โดยลูทีนอาจช่วยทำลายสารอนุมูลอิสระที่อาจเกิดขึ้นในดวงตา ทำให้คนเรามองเห็นเป็นปกติ และยังช่วยป้องกันแสงอาทิตย์ไม่ให้ทำลายดวงตาด้วย

3. มีงานวิจัยทางระบาดวิทยาพบว่า ลูทีนอาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ โดยพบว่าทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่รับประทานอาหารที่มีลูทีนสูง มีแนวโน้มที่จะเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดลง

4. มีการศึกษาวิจัยที่พบว่า การได้รับลูทีนและแคโรทีนอยด์อื่นๆ จากอาหารมากขึ้น อาจจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 

แหล่งอาหารที่พบมาก  ถึงแม้จะยังไม่มีข้อแนะนำสำหรับปริมาณลูทีนที่ควรบริโภคหรือได้รับในแต่ละวัน ( RDI ) แต่การได้รับลูทีนวันละ 6 มิลลิกรัมจากอาหารถือว่าน่าจะเพียงพออาหารที่มีลูทีนสูง ได้แก่ ไข่แดง ข้าวโพด องุ่นแดง กีวี ผักใบเขียว ส้มและน้ำส้ม แครอต สำหรับผลไม้จะพบว่ามีลูทีนอยู่ที่เปลือกมากกว่าที่เนื้อผลไม้

ลูทีนในผัก ตั้งแต่ไม่พบจนถึง 13,403.3 ไมโครกรัมต่อผัก 100 กรัม ส่วนที่กินได้พบมีมากที่สุดในผักกระเฉด รองลงมา ได้แก่ ผักชีล้อม ผักเหลียง ผักพูม ผักตำลึง ในมันปู ผักกูด ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะระหวาน เสม็ดชุน สำหรับผัก 1 ถ้วยตวง มีลูทีนตั้งแต่ไม่พบ จนถึง 5,897.4 ไมโครกรัม โดยพบมีมากที่สุดในผักกระเฉด รอลงมาได้แก่ ผักชีล้อม ผักตำลึง ผักกูด ยอดมะม่วงหิมพานต์ ผักเหลียง ผักพูม  ยอดมะระหวาน พริกหวานสีเหลือง พริกหวานสีแดง เป็นต้น

เบต้าแคโรทีน

เป็นแคโรทีนอยด์ เป็นกลุ่มของรงควัตถุที่มีมากกว่า 600 ชนิด โดยเกิดขึ้นตามธรรมชาติ จากการสังเคราะห์ของพืช และกลุ่มรงควัตถุเหล่านี้ ทำให้พืชผักผลไม้มีสีเหลอง ส้ม และ แดง พืชผักผลไม้เป็นแหล่งที่สำคัญของพืชผักผลไม้ในอาหารของคนเรา โดยแคโรทีนอยด์ส่วนใหญ่ ได้แก่ แอลฟาแคโรทีนอยด์ เบต้าแคโรทีนอยด์ เบต้าคริปโทแซนทิน ลูทีน ซีแซนทีน และไลโคพีน

บทบาทและหน้าที่ 

1. เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ( Provitamin A corotenoid ) กล่าวคือ สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในภายหลัง จากการถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ โดยเบต้าแคโรทีน 12 ไมโครกรัม จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ 1 ไมโครกรัม

2. ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถหยุดฤทธิ์ของออกซิเจนที่เป็นอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้ การทดลองในหลอดทดลองพบว่า แคโรทีนอยด์ สามารถยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน ( Lipid Peroxidation ) ได้ ส่วนการศึกษาทางด้านระบาดวิทยาพบว่า การรับประทานอาหารประเภทพืชผักและผลไม้ที่มีแคโรทีนอยด์สูง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งมะเร็งบางชนิดได้

3. แคโรทีนอยด์ กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนคอนเนซิน ( Connexin ) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้เกิดรูหรือช่องว่างในผนังเซลล์ ทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์ โดยการแลกเปลี่ยนสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กระหว่างกันได้  การสื่อสารระหว่างเซลล์นี้มีความสำคัญในขั้นตอนการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งคุณสมบัตินี้ จะสูญเสียไปในเซลล์มะเร็ง 

แหล่งอาหารที่พบมาก ในพืชผักที่มีสีเขียวเข้ม สีเหลือง หรือสีส้ม เช่น ผักบุ้ง ใบตำลึง ผักคะน้า ฟักทอง แครอต เป็นต้น ส่วนผลไม้ ได้แก่ ผลไม้ที่มีสีแดง สีเหลือง หรือสีส้ม เช่น แตงโม มะม่วงสุก มะละกอสุก ส้มสายน้ำผึ้ง เป็นต้น เบต้าแคโรทีนในผักผักสดมีตั้งแต่ไม่พบจนถึง 4,471.5 ไมโครกรัมต่อผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้ พบมาที่สุดในแครอต รองลงมา ได้แก่ ผักชีล้อม ใบมันปู ผักตำลึง ยอดอ่อนมะม่วงหิมพานต์ ผักกระเฉด ผักพูม ผักกูด สะเดา ยอดมะระหวาน สำหรับผัก 1 ถ้วยตวง มีเบต้าแคโรทีนตั้งแต่ไม่พบ จนถึง 4,560.9 ไมโครกรัม โดยพบมากที่สุดในแครอต รองลงมาได้แก่ ผักชีล้อม ผักกระเฉด พริกหวานสีแดง ผักตำลึง ผักกูด ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะระหวาน สะเดา ใบมันปู เป็นต้น

วิตามินซี

วิตามินซี เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ และมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง เป็นต้น เราต้องได้รับวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำจากอาการทุกวัน เนื่องจากร่างกายไม่มีวิตามินเหล่านี้ในร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินซี

บทบาทและหน้าที่

1. ร่างกายต้องการวิตามินซี เพื่อใช้สร้างคอลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่จำเป็นในการสร้างผิวหนังและการรักษาบาดแผล รวมทั้งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของหลอดเลือด เอ็น และกระดูก

2. มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์สารเหนี่ยวนำกระแสประสาท ( Neurotransmitter ) การสังเคราะห์คาร์นิทีน ซึ่งจำเป็นต่อการขนส่งไขมันไปให้ไมโตคอนเดรีย เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน

3. มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินซีปริมาณเพียงเล็กน้อย สามารถป้องกันโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กรดนิวคลิอิก (DNA และ RNA) จากการทำงายโดยอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้ ยังมีบทบาททำให้สารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี ที่ถูกใช้ในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ กลับมาทำหน้าที่ใหม่ได้อีกครั้ง หลังจากถูกใช้งานไปแล้ว

วิตามินซีในผัก ผักสดมีวิตามินซีตั้งแต่ 0.9 – 145.7 มิลิกรัม ต่อผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้ พบมากที่สุดในพริกหวานสีเหลือง รองลงมาได้แก่ พริกหวานสีแดง มะระขี้นก ผักเหลียง ผักหวาน พริกหวานสีเขียว ผักคะน้า กะหล่ำดอก ผักกวางตุ้ง สะเดา เป็นต้น สำหรับผัก 1 ถ้วยตวง มีวิตามินซี ตั้งแต่ 0.2 – 137.0 มิลลิกรัม โดยพบมากที่สุดในพริกหวานสีเหลือง รองลงมาได้แก่  พริกหวานสีแดง มะระขี้นก พริกหวานสีเขียว ฟักเขียว กะหล่ำดอก ผักคะน้า ถั่วลันเตา บร็อกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

ปริมาณวิตามินซี ที่ควรได้รับใน 1 วัน

กลุ่มบุคคล กลุ่มอายุ  ปริมาณอ้างอิงที่ควรได้รับต่อวัน
ทารก 0 – 5 เดือน น้ำนมแม่ (35 มิลลิกรัม)
6-11 เดือน น้ำนมแม่ (35 มิลลิกรัม)
เด็ก 1 – 8 ปี 40 มิลลิกรัม
วัยรุ่น ชาย 9 – 12 ปี 45 มิลลิกรัม
13 – 15 ปี 75 มิลลิกรัม
16 – 18 ปี 90 มิลลิกรัม
วัยรุ่น หญิง  9 – 12 ปี 45 มิลลิกรัม
13 – 15 ปี 65 มิลลิกรัม
16 – 18 ปี 75 มิลลิกรัม
ผู้ใหญ่ ชาย 19 ปีขึ้นไป 90 มิลลิกรัม
หญิง 19 ปีขึ้นไป 75 มิลลิกรัม
หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่ม 10 มิลลิกรัม
หญิงให้นมบุตร (0-11 เดือน) ควรเพิ่ม 35 มิลลิกรัม

ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

“Fruit and veggies ‘still contaminated'”. Bangkok Post. 7 October 2016. Retrieved 7 October 2016.

Fernquest, Jon (2016-05-04). “Pesticides in fruits & vegetables: Govt quality mark fails test”. Bangkok Post. Retrieved 7 October 2016.

The Eleventh National Economic and Social Development Plan (2012-2016). Office of the National Economic and Social Development Board. 26 October 2011. Retrieved 1 April 2016.

มารู้จักอาหาร Low GI กันเถอะ

0
มารู้จักอาหาร Low GI กันเถอะ
อาหาร Low GI จะทำให้น้ำตาลถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดอย่างช้า ๆ ตับอ่อนจะค่อยๆ ปล่อยให้อินซูลินทำหน้าที่ไปเรื่อยๆ
มารู้จักอาหาร Low GI กันเถอะ
อาหาร Low GI จะทำให้น้ำตาลถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดอย่างช้า ๆ ตับอ่อนจะค่อยๆ ปล่อยให้อินซูลินทำหน้าที่ไปเรื่อยๆ ไม่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน

อาหาร Low GI

สำหรับคำว่า GI ย่อมาจากคำว่า Glycemic Index ซึ่งก็คือดัชนีที่ใช้ในการวัดหาค่าความเร็วของการดูดซึมน้ำตาลและแป้งเข้าสู่กระแสเลือด โดยค่า GI ที่เหมาะสม ก็คือจะต้องมีค่าน้อยหรือต่ำ เพื่อให้น้ำตาลถูกย่อยเข้าสู่กระแสเลือดได้ช้าลงกว่าปกติ ดังนั้น อาหาร Low GI จึงเป็นอาหารที่ดีที่สุดในการเลือกทาน เพราะทำให้อิ่มนาน ระหว่างมื้ออาหารไม่กินจุกจิก โดยส่วนมากมักพบในอาหารที่มีกากใยสูง หวานน้อย และในพืชผักหลายชนิด 

ในปัจจุบัน ความรู้ในด้านต่างๆ ได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความรู้ทางด้านโภชนาการ ซึ่งไม่เพียงแต่นักกีฬาเท่านั้นที่ให้ความสนใจกับการรับประทานอาหาร แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็เริ่มหันมาให้ความสนใจกับโภชนาการเพื่อ การมีสุขภาพที่ดีและการฟื้นฟูร่างกายให้เร็วที่สุดเช่นกัน โดยเทรนด์สุขภาพที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจก็คือการทานอาหารคลีนนั่นเอง โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ซึ่งนอกจากการทำความเข้าใจกับอาหารคลีนแล้ว ก็จะต้องทำความรู้จักกับค่า Glycemic Index ( GI ) เพื่อการเลือกรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสมด้วย

การแบ่งค่า Glycemic Index ( GI ) เป็น 3 ระดับ

ค่า GI แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ 
GI = 0-55 Low
GI = 56-70 Medium
GI = 71-100 High

 

อาหารที่มี GI สูง ก็คืออาหารที่มีอัตราความเร็วของการดูดซึมน้ำตาลสูง จึงทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งก็จะเป็นผลให้ร่างกายมีการปล่อยฮอร์โมนอินซูลินออกมามากขึ้นด้วย เพื่อทำหน้าที่เก็บกวาดน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่างๆ นั่นเอง

และเนื่องจากตับอ่อนเป็นตัวทำหน้าที่ในการปล่อยฮอร์โมนอินซูลินออกมา การทานอาหารที่มีค่า Glycemic Index ( GI ) สูง จึงทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักมาก และอาจเกิดผลเสียได้ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของความอ้วนอีกด้วย เพราะฉะนั้นจึงควรเน้นการทานอาหารที่มีค่า Glycemic Index ( GI ) ต่ำเป็นหลักนั่นเอง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงเบาหวานสูง ควรเน้นทานอาหารแบบ Low GI จะดีที่สุด

ดังนั้นอาหาร Low GI จึงจัดอยู่ในกลุ่มของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และอาหาร Hi GI ก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด เพราะจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินได้ เป็นผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นอย่างรวด เร็ว และอาจเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมถึงภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงและโรคอ้วนได้อีกด้วย

นอกจากนี้นักโภชนาการก็ได้มีการทำตารางกำหนดประเภทของอาหารและดัชนี Glycemic Index ( GI ) ขึ้นมา เพื่อให้แยกอาหารที่มีค่า Glycemic Index ( GI ) สูงต่ำได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น เช่น

  • อาหารที่มีแนวโน้มว่าจะมีค่า Glycemic Index (GI) สูงได้แก่ ข้าวเจ้า อาหารแปรรูปจากแป้งขัดขาว เครื่องดื่มที่ผสมไปด้วยน้ำตาลและน้ำหวาน เป็นต้น โดยอาหารเหล่านี้เมื่อทานเข้าสู่ร่างกายจะเกิดกระบวนการย่อยได้ง่ายและถูกแปรเป็นน้ำตาลอย่างรวดเร็ว ตามด้วยถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในเวลาสั้นๆ ต่อไป
  • อาหาร Low GI ต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่มีปริมาณของไฟเบอร์สูง เพราะไฟเบอร์จะช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลในเลือดได้ดีและยังช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องเร็ว จึงไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย โดยอาหารประเภทนี้ได้แก่ ผักผลไม้ ธัญพืช ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ พืชตระกูลถั่ว กล้วย องุ่น ลูกแพร์ เชอร์รี่ ส้ม กีวี แอปเปิ้ล และลูกพีช เป็นต้น และยังรวมถึงผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิดอีกด้วย
  • อาหารที่มีโปรตีนสูง โดยเฉพาะโปรตีนที่ได้จากถั่ว ปลาและเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อยมาก ซึ่งพบว่าอาหารที่มีโปรตีนเหล่านี้ก็จะเป็นอาหาร Low GI เช่นกัน

อย่างไรก็ตามในแต่ละมื้อที่ได้ทานอาหารเข้าไปนั้น น้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับอาหารอื่นๆ ที่ได้รับประทานควบคู่กันไปด้วย ดังนั้นหากมื้อไหนที่จำเป็นต้องทานอาหารที่มีค่า Hi GI ก็อาจจะทานอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ควบคู่ไปด้วย เท่านี้ก็จะสามารถรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดได้ในระดับหนึ่ง อาหาร Low GI ถือเป็นอาหารที่มีความจำเป็นต่อนักกีฬาเป็นอย่างมาก เพราะนักกีฬาจำเป็นต้องรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดให้มีค่าคง ที่อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถแสดงศักยภาพสูงสุดในระหว่างการแข่งขันออกมาได้ ต่างจากการทานอาหารประเภท Hi GI ที่แม้ว่าจะทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็จะตกลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ดังนั้นสำหรับนักกีฬา จึงไม่แนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานก่อนการแข่งขันเด็ดขาด

ได้รู้จักข้อดีของอาหาร Low GI แล้วก็ลองหันมาทานอาหาร Low GI ให้มากขึ้นและเน้นทานอาหารประเภท Hi GI ให้น้อยลงจะดีกว่า เพื่อการมีสุขภาพที่ดีตลอดไปนั่นเอง โดยอาจเริ่มจากการเปลี่ยนข้าวขาวมาเป็นข้าวกล้อง ทานขนมปังโฮลวีตแทนขนมปังขาวหรือทานผักผลไม้ให้มากขึ้นกว่าปกติ เท่านี้สุขภาพดีก็จะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม และหมดกังวลเรื่องปัญหาน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงไปได้เลย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Brand-Miller JC, Fatema K, Fatima K, et al. (June 2007). “Effect of alcoholic beverages on postprandial glycemia and insulinemia in lean, young, healthy adults.85

Brand-Miller J, Buyken AE (2012). “The glycemic index issue”. Curr. Opin. Lipidol. 23 (1): 62–7. PMID 22157060.

Thomas DE, Elliott EJ, Baur L (2007). “Low glycaemic index or low glycaemic load diets for overweight and obesity”. Cochrane Database Syst Rev (3): CD005105. 

Godley R, Brown RC, Williams SM, Green TJ (May 2009). “Moderate alcohol consumption the night before glycaemic index testing has no effect on glycaemic response”. Eur J Clin Nutr. 63 (5): 692–4. PMID 18398423.

“Nutrisystem”. Web.archive.org. 2008-03-06. Archived from the original on May 6, 2008. Retrieved 2012-08-01.

John A. McDougall, “The McDougall Newsletter”, June 2006.

การทานอาหารก่อน-หลังการรักษา ในผู้ป่วยมะเร็ง

0
การทานอาหารก่อน-หลังการรักษา
การทานอาหารก่อน-หลังการรักษา เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ป่วย การรับประทานอาหารแต่ละช่วงมีความสำคัญต่อการรักษามีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วย
การทานอาหารก่อน-หลังการรักษา
การรับประทานอาหารแต่ละช่วงมีความสำคัญต่อการรักษามีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยรวมทั้งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น

การทานอาหารก่อน-หลังการรักษา

วิธีการรักษามะเร็งต่างๆจะให้ผลที่คล้ายกันคือจะไปทำลายเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกายผู้ป่วย ซึ่งก็อาจจะมีผลกระทบทำให้เซลล์ส่วนดีจะถูกทำลายไปด้วย ส่งผลให้เกิดปัญหากับการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการของผู้ป่วยอาหารที่ควรทานในแต่ละช่วงเวลาก็อาจไม่เหมือนกันเช่น การทานอาหารก่อน-หลังการรักษา โดยรายละเอียดเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ดูแลคนป่วยต้องศึกษา เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

  • น้ำหนักเปลี่ยนแปลง ( เพิ่ม-ลด )
  • มีอาการเบื่ออาหาร
  • เจ็บปากและคอ
  • ปากแห้ง
  • ปัญหาบริเวณฟัน และเหงือก
  • คลื่นไส้ และอาเจียน
  • ท้องเสีย ท้องผูก
  • แพ้น้ำตาลแลกโตส ( พบได้ในนมวัว )

การจัดเตรียมอาหารผู้ป่วยมะเร็ง

1. การรับประทานอาหารก่อนรักษามะเร็ง

ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาจากแพทย์ อาหารผู้ป่วยมะเร็งควรเป็นอาหารที่ดี ถูกหลักโภชนาการ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่าง กายที่แข็งแรง มีความพร้อมสำหรับการรักษา และยังช่วยลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษาได้อีกด้วย

อาหารที่แนะนำในช่วงก่อนการรักษา

  • อาหารในกลุ่ม ผัก ผลไม้   เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานสะสม
  • เนื้อสัตว์หรือนมที่มีไขมันต่ำ
  • งดอาหารประเภทไขมันสูง น้ำตาล เหล้า อาหารเค็มจัด

2. การรับประทานอาหารระหว่างรักษามะเร็ง

ในระหว่างที่ผู้ป่วยเข้ารีบการรักษาจากแพทย์ ในช่วงนี้ร่างกายผู้ป่วยอาจได้รับ ยา สารเคมีบางตัวที่แพทย์จำเป็นต้องใช้ในการรักษา หรืออาจมีบาดแผลจากการผ่าตัด ซึ่งก็อาจมีผลกระทบทำให้ร่างกายของผู้ป่วยทรุดโทรมได้ ดังนั้นในช่วงนี้ผู้ป่วยจะต้องทานอาหารตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด และอาหารที่ควรจัดให้ผู้ป่วยทานก็จะต้องขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับด้วย เช่น

2.1 การผ่าตัด

ผลกระทบจากการผ่าตัด

แพทย์จะให้ผู้ป่วยมะเร็งที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด เน้นทานอาหารประเภทมีโปรตีนและให้พลังงานสูง เพื่อให้ผู้ป่วยมีร่างกายที่แข็งแรง เนื่องจากหากเข้ารับการผ่าตัดแล้ว ผู้ป่วยอาจไม่สามารถกลับมาทานอาหารตามปกติได้ทันทีในช่วงแรกๆ บางรายที่มีอาการหนัก อาจจะต้องใช้วิธีการให้อาหารผู้ป่วยมะเร็งทางสายเลือด ผ่านทางจมูก หรือช่องท้อง

หากอวัยวะที่ผ่าตัดอยู่ในกลุ่มของ  ศีรษะ คอ หน้าอก เต้านม อาจทำให้เกิด

  • ปากแห้ง เจ็บปาก เจ็บคอ
  • มีอาการกลืนลำบาก
  • การรับรู้รสอาหารเปลี่ยนไป
  • ปัญหาฟันผุ มีเสมหะ

หากอวัยวะที่ผ่าตัดอยู่ในกลุ่มของ  บริเวณกระเพาะอาหาร หรือ กระดูกเชิงกราน อาจทำให้เกิด

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ปวดท้อง
  • ไม่อยากอาหาร
  • ท้องผูก
  • เจ็บปาก เจ็บคอ
  • การรับรู้รสอาหารเปลี่ยนไป
  • น้ำหนักลดลงผิดปกติ
  • ปากแห้ง
  • ปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้

ผลข้างเคียงจากการรักษาอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกราย ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและอาการของโรค  และอาการส่วนมากจะหายไปหลังหยุดการรักษาแล้ว  ผลกระทบอีกอย่างที่อาจตามมาคือ ผู้ป่วยอาจทานอาหารลดลง เนื่องมาจากปัญหาสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยเอง  ความเครียดความวิตกกังวลต่างๆ

ข้อควรรู้เรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการผ่าตัด

1. เมื่อผู้ป่วยรับประทานได้ ควรรับประทานอาหารที่มีพลังงาน และโปรตีนที่เพียงพอ

2. ผู้ป่วยส่วนมากรับประทานอาหารได้ดีช่วงเช้า อาจให้รับประทานอาหารมื้อหลักในช่วงเวลาค่อนไปช่วงเช้า และในอาหารเหลวเสริมในช่วงต่อมาของวัน ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกเบื่ออาหาร

3. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย อาจให้อาหารเหลวเสริม เพื่อเพิ่มปริมาณพลังงาน และโปรตีน

4. พยายามดื่มน้ำหรือของเหลวที่มีส่วนประกอบของน้ำมากๆ โดยเฉพาะในวันที่เบื่ออาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำที่เพียงพอ โดยผู้ใหญ่ แนะนำ ดื่ม 6-8 แก้วต่อวัน

2.2 การฉายรังสี

ผลกระทบจากการฉายรังสี

สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ใช้วิธีการรักษาด้วยการฉายรังสีนั้น หลังจากการรักษาแล้ว อาจมีผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกเบื่ออาหาร เจ็บในช่องปาก และบริเวณลำคอน้ำหนักขึ้นๆลงๆ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

ข้อแนะนำสำหรับผลกระทบที่ได้จากการฉายรังสี 

หากผู้ป่วยรู้สึกเบื่ออาหาร ให้ปฏิบัติดังนี้

  • ปรับรูปแบบการทานอาหาร โดยให้ทานอาหารในแต่ละมื้อปริมาณที่น้อย  แต่ให้ทานบ่อยๆ หรือเพิ่มจำนวนมื้อขึ้น
  • รับประทานอาหารเหลว หรืออาหารผงสำเร็จรูป
  • ให้ผู้รับประทานอาหารว่างที่ตนเองชอบ
  • รับประทานอาหารเหลว เช่น ซุป น้ำผลไม้ หรือ นม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร และพลังงานที่เพียงพอปรับรูปแบบอาหารที่ทาน เช่น หากมีผลไม้สดอาจเปลี่ยนเป็นเมนูน้ำผลไม้ปั่น เป็นต้น
  • หากผู้ป่วยเริ่มทานอาหารได้มากขึ้น ควรเพิ่มปริมาณของอาหารให้แต่ละมื้อ
  • ผู้ป่วยส่วนมาก จะรู้สึกอยากรับประทานอาหารในช่วงเช้ามากกว่าช่วงอื่น จึงควรให้ผู้ป่วยเน้นทานอาหารมื้อเช้า
  • ไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำขณะรับประทานอาหารมากเกินไป เพราะอาจทำให้อิ่มเร็วกว่าปกติ ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร 30-60 นาที
  • การดื่มไวน์ หรือ เบียร์ ปริมาณน้อยๆ ขณะรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้อยากอาหารมากขึ้น แต่วิธีนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ และอาจใช้ได้กับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น

หากผู้ป่วยมีอาการน้ำหนักขึ้นๆลงๆผิดปกติ ให้ปฏิบัติดังนี้ 

กรณีที่น้ำหนักลดลง

สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจาก อาการโรคมะเร็งเอง และ เกิดจากรับประทานอาหารได้น้อยกว่าปกติ เนื่องจากผู้ป่วยมักมีสภาวะจิตใจที่แย่ เลยทำให้ทานอาหารได้ลดลงไปด้วย ดังนั้น ควรให้ผู้ป่วยเลือกทานอาหารที่เน้นในกลุ่มให้พลังงาน และมากไปด้วยโปรตีนแก่ร่างกาย

กรณีที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น

การที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น มักเกิดได้น้อยกว่าการที่น้ำหนักตัวลดลง  ซึ่งอาการนี้สามารถพบได้ใน ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และ มะเร็งรังไข่  หรือาจมีผลกระทบจากยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษา ดังนั้นควรให้ผู้ป่วย ลดอาหารที่มากไปด้วยเกลือ โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องลดปริมาณอาหาร บางครั้งแพทย์อาจสั่งยาขับปัสสาวะเพื่อขับน้ำส่วนเกินออกเน้นทาน อาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ผลไม้ และ อาหารธัญพืชและลดปริมาณอาหารที่ให้พลังงานสูงอย่าง เนื้อสัตว์ที่ติดมัน อาหารทอด เป็นต้น นอกจากนี้ควรหาเวลาว่างในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บในช่องปาก และลำคอให้ปฏิบัติดังนี้

อาการแทรกซ้อนอีกหนึ่งอย่างของการฉายรังสี หรือการให้เคมีบำบัดที่ผู้ป่วยอาจพบเจอก็คือ รู้สึกเจ็บในช่องปากและเจ็บบริเวณลำคอ จึงควรให้ทันต์แพทย์ตรวจว่ามีโรคที่เกี่ยวกับฟันและเหงือก หรือไม่  ซึ่งมีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยดังนี้

  • รับประทานอาหารอ่อน เคี้ยวและกลืนได้ง่าย เช่น นม กล้วย แตงโม โยเกิร์ต ผักต้มสุก มันฝรั่งบด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงอาหาร หรือของเหลวที่ระคายเคืองช่องปาก เช่น ส้ม มะนาว รสเผ็ดจัด เค็มจัด ผักที่ไม่ได้ทำให้สุก หรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮอล์
  • ใช้หลอดในการทานน้ำ หรือของเหลวชนิดอื่นๆ
  • ใช้ช้อนที่มีขนาดเล็กกว่าปกติ
  • บ้วนปากบ่อยๆด้วยน้ำเปล่า เพื่อกำจัดเศษอาหาร
  • รับประทานอาหารที่มีความเย็น หรือ มีอุณหภูมิห้องและเลี่ยงอาหารที่มีความร้อนสูง

หากผู้ป่วยมีอาการปากแห้ง ให้ปฏิบัติดังนี้

การใช้ รังสีรักษา  หรือ วิธีเคมีบำบัด บริเวณ ศีรษะ และ คอ จะส่งผลกระทบทำให้น้ำลายลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปากแห้งได้ นอกจากนี้ช่องปากที่แห้งอาจทำให้การรับรสของผู้ป่วยเปลี่ยนไปซึ่งมีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยดังนี้

  • จิบน้ำบ่อยๆ เพื่อให้กลืน หรือ พูดคุย ได้ง่ายขึ้น
  • รับประทานอาหารว่างที่มีรสหวาน หรือ รสเปรี้ยว เพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำลายแต่อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีแผลในปาก
  • รับประทานอาหารอ่อน ที่ลื่นคอและสามารถกลืนง่าย
  • เพิ่มปริมาณน้ำลายด้วย การเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอม
  • รับประทานอาหารพร้อมซอสต่างๆ หรือน้ำสลัด เพื่อให้กลืนอาหารได้ง่ายขึ้น
  • ใช้ขี้ผึ้งทาริมฝีปากในกรณีริมฝีปากแห้ง
  • ถ้าช่องปากแห้งมาก แพทย์อาจสั่งน้ำลายเทียมมาใช้กับผู้ป่วย

หากผู้ป่วยมีปัญหาที่ ฟัน และ เหงือก ให้ปฏิบัติดังนี้

การรักษามะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสี อาจส่งผลกระทบต่อบริเวณช่องปาก ฟัน และเหงือกได้เช่นกัน  นอกจากทำให้ปริมาณน้ำลายในปากลดลงแล้ว ยังจะส่งผลให้มีโอกาสเกิดฟันผุได้มากขึ้นด้วยซึ่งมีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยดังนี้

  • ตรวจช่องปากกับทันต์แพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • หากพบปัญหาในช่องปากควรรีบปรึกษาทันต์แพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรัง
  • ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนิ่มถ้ามีอาการเสียวฟันควรใช้แปรง และยาสีฟันที่เฉพาะกับอาการ
  • หากมีอาการปวดเหงือก หรือปวดภายในช่องปาก ควรบ้วนปากด้วยน้ำอุ่นเพื่อเบาเทาอาการที่เกิดขึ้น

หากผู้ป่วยมีปัญหา การรับรส และการดมกลิ่นเปลี่ยนแปลง ให้ปฏิบัติดังนี้

ปัญหานี้อาจเกิดจากโรคของมะเร็งที่เป็น หรือ เกิดจากการักษามะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสี การให้เคมีบำบัด นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้ เช่น เกิดปัญหาที่บริเวณฟัน อาจทำให้การรับรสเปลี่ยนไป แต่เมื่อรักษาเสร็จแล้ว อาการต่างๆเหล่านี้จะค่อยๆหายไปเอง ซึ่งมีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยดังนี้

  • เลือกอาหารที่รูปร่าง และ กลิ่นน่ารับประทาน
  • รับประทานอาหารรสเปรี้ยว เช่น ส้ม จะได้รสชาติที่มากขึ้น
  • เลี่ยงการทานเนื้อวัว ที่อาจมีกลิ่นสาบแรงส่งผลให้เวลาทานรสชาติอาจเปลี่ยนไป โดยเลือกรับประทานเนื้อไก่ ไข่ หรือ ปลา ทดแทน
  • พบทันตแพทย์ เพื่อตรวจว่าไม่ได้มีปัญหาเรื่องเหงือกและฟันที่ทำให้การรับรสเสียไป

หากผู้ป่วยมีปัญหาอาการคลื่นไส้ให้ปฏิบัติดังนี้

อาการคลื่นไส้เป็นผลค้างเคียงจากการักษา มักพบได้ในผู้ป่วยที่เข้ารีบการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธี การฉายรังสี  การผ่าตัด เคมีบำบัดการรักษาโดยใช้ชีวโมเลกุลอาการคลื่นไส้นี้มักจะหายไปเมื่อรักษาครบทุกขั้นตอนซึ่งมีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยดังนี้

  • ปรึกษาแพทย์เพื่อขอยาแก้อาเจียน
  • เลือกทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ขนมปัง โยเกิร์ต ข้าวต้ม ไก่อบ ผัก ผลไม้ น้ำสะอาด เป็นต้น
  • ควรเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ของทอด ของหวาน เช่น ลูกอม คุกกี้ หรือ เค้ก อาหารรสจัด อาหารที่มีกลิ่นฉุน
  • ปรับรูปแบบการทานอาหารให้เป็นมื้อเล็กๆ หลายๆมื้อและควรทานก่อนที่จะหิวเพราะอาการหิวทำให้คลื่นไส้มากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในที่มีคนพลุกพล่าน หรือมีกลิ่นอาหารรุนแรง
  • ดื่มน้ำเล็กน้อยในขณะที่รับประทานอาหารรวมทั้งพยายามจิบน้ำบ่อยๆ ตลอดทั้งวัน
  • ไม่รับประทานอาหารที่มีความร้อนสูง
  • หากพบอาการคลื่นไส้ในขณะที่ฉายรังสี หรือให้เคมีบำบัด ให้ผู้ป่วยงดอาหาร หนึ่งถึงสองชั่วโมงก่อนการรักษา
  • ลองสังเกตด้วยตัวเองว่าอาการคลื่นไส้เกิดขึ้นจากสาเหตุใด จะได้หลีกเลี่ยงได้อย่างเหมาะสม

หากผู้ป่วยมีปัญหาอาการอาเจียนให้ปฏิบัติดังนี้

  •  การออกกำลังกายเบาๆ  เช่น เดิน วิ่งเยาะๆ
  • ทานยาแก้อาเจียนที่ได้รับจากแพทย์
  • ทานอาหารอ่อน เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำชา กาแฟ น้ำผึ้ง ข้าวต้ม เป็นต้น

หากผู้ป่วยมีปัญหาท้องเสียให้ปฏิบัติดังนี้

สาเหตุของอาการท้องเสีย อาจเกิดได้จากผลข้างเคียงที่ได้รับจากการรักษาโรคมะเร็ง เช่น การฉายรังสี การให้เคมีบำบัด นอกจากนี้ยังเกิดได้จากปัจจัยอื่นๆด้วย เช่น มีการติดเชื้อ ความแปรปรวนทางอารมณ์ รวมถึงการตอบสนองต่ออาหารเมื่อท้องเสีย อาหารจะถูกส่งผ่านไปยังลำไส้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่ร่างกายจะสามารถดูดซึมวิตามิน เกลือแร่และน้ำ อย่างเพียงพอ ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ ถ้าท้องเสียรุนแรงและนานเกินสองวันให้พบแพทย์ มีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาดหรือ ของเหลวเพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป
  • แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็กๆ  ทานการทานอาหารปริมาณมากในเวลาปกติ 3 มื้อ
  • ทานอาหารและน้ำ ที่อุดมไปด้วย ธาตุโซเดียม และโพแทสเซียม เช่น เครื่องดื่มเกลือแร่ กล้วย เป็นต้น
  • เลี่ยงอาหารในกลุ่มต่อไปนี้ เช่น อาหารประเภททอด ผักดิบต่างๆ และเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นเกินไป  ชา กาแฟ ช็อกโกแลต
  • ถ้ามีอาการท้องเสียกะทันหัน ให้ดื่มแต่เครื่องดื่มเกลือแร่และน้ำ โดยงดทานอาหาร 12-14 ชั่วโมง เพื่อให้ลำไส้ ได้พักและชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป

การป้องกันความเจ็บป่วยจากอาหารเป็นพิษ

ในขณะที่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เข้ารับการรักษาตัวจากแพทย์ จะเป็นช่วงเวลาที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายอาจลดลง เพราะยาต้านโรคมะเร็งส่วนใหญ่จะทำให้การสร้างเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคลดลง จึงเป็นสาเหตุทำให้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องป้องกันการติดเชื้อ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ดิบ และไม่สะอาดเพื่อป้องกันอาการอาหารเป็นพิษนั้นเอง ซึ่งมีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยดังนี้

  • ล้างมือ และอุปกรณ์การทำอาหารให้สะอาด ทั้งก่อนและหลังการทำอาหาร
  • เลือกทานอาหารที่สะอาด และปรุงใหม่ๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารค้างคืน อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบและอาหารที่มีหอยเป็นวัตถุดิบ
  • ดื่มน้ำผลไม้และนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์มาแล้วเท่านั้น

อาหารเสริมประเภทวิตามินและเกลือแร่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมะเร็งหรือไม่?

ผู้ป่วยมะเร็งควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามปกติให้ถูกหลักโภชนาการจะดีที่สุด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อเซลล์มะเร็งมากขึ้น หลังการรักษาเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ป่วยอาจจะทานมังสวิรัติได้แต่ต้องให้ร่างกายได้สารอาหารที่ครบถ้วนด้วยข้อแนะนำอื่นๆที่ควรรู้ในการเตรียมอาหารให้ผู้ป่วยมะเร็ง

  • ต่อมรับรสชาติของผู้ป่วยอาจเปลี่ยนไป บางวันผู้ป่วยอาจไม่อยากรับประทานอาหารที่เคยชอบ ในขณะที่บางวันผู้ป่วยอาจรับประทาน อาหารที่เคยไม่ชอบได้
  • เตรียมอาหารง่ายๆ โดยวางไว้ให้ผู้ป่วยสามารถหยิบจับได้อย่างสะดวก
  • บางวันผู้ป่วยอาจรับประทานอาหารได้ปริมาณน้อยหรือไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากการข้างเคียงจากการใช้ยา ก็ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเหลว
  • อย่าบังคับให้ผู้ป่วยรับประทาน หรือดื่มมากเกินไป

3. การรับประทานอาหารหลังการรักษาโรคมะเร็งสิ้นสุดลง

เมื่อการรักษาโรคมะเร็งสิ้นสุดลงแล้ว  ผู้ป่วยมะเร็งก็สามารถทานอาหารได้ตามปกติ แต่ก็ควรให้อยู่บนพื้นฐานของการมีโภชนาการที่ดี และมีสารอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่พอดีไม่มากหรือน้อยจนเกินไปข้อแนะนำการรับประทานอาหารหลังการรักษาโรคมะเร็งสิ้นสุดลง

  • รับประทานอาหารที่หลากหลายในทุกๆวัน ไม่ทานอาหารที่ซ้ำซากจำเจ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
  • เน้นรับประทานอาหารในกลุ่มของผักและผลไม้
  • เน้นรับประทานขนมปังและธัญพืช
  • ลดอาหารประเภทไขมัน เกลือ น้ำตาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารรมควัน หรือหมักดอง
  • ดื่มนมไขมันต่ำ และรับประทานหมู ไก่หรือเนื้อไม่ติดมันและหนัง ในปริมาณน้อย ไม่ควรเกิน 2 ขีด ต่อวัน

ข้อแนะนำเพิ่มเติม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการปรับตัวเรื่องอาหารปกติแล้วอาการข้างเคียงที่เกิดจากการฉายรังสีจะหายไปหลังจากการรักษาสิ้นสุดลง ความอยากอาหารจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมแต่หาก ผู้ป่วยยังมีความรู้สึกไม่เคยชินกับการรับประทานอาหารตามปกติ ให้ผู้ป่วยลองทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ทำอาหารที่มีวิธีการทำง่ายๆ
  • ทำอาหารปริมาณมากพอที่จะทานได้สองถึงสามมื้อ เก็บส่วนที่เหลือไว้ในตู้เย็น
  • ทำให้อาหารมื้อนั้นเป็นมื้อพิเศษ
  • ชวนเพื่อหรือสมาชิกครอบครัวร่วมกันทำอาหารหรือเลือกซื้อส่วนผสม เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการทำและทานอาหารมื้อนั้นๆ

จะเห็นได้ว่าหลักโภชนาการอาหารที่ดี เป็นสิ่งที่มีประโยชน์และจำเป็นมากต่อร่างกาย รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งด้วย ไม่ว่าจะป่วยเป็นมะเร็งชนิดใด อยู่ในระยะไหน และรักษาด้วยวิธีอะไร หลักโภชนาการที่ดีก็จะต้องถูกนำมาใช้กับผู้ป่วยโดยตลอด ทั้งนี้ตัวผู้ป่วยเองหรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย ก็ต้องรู้จักศึกษาถึงข้อมูลในการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ตามช่วงเวลาในการรักษาผู้ป่วย ทั้งก่อนรักษา ระหว่างรักษา จนกระทั่งสิ้นสุดการรักษาแล้วก็ตาม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวของผู้ป่วยเองให้มากที่สุด โดยผู้ป่วยเองก็ควรทำตามอย่างเคร่งครัดและมีวินัยด้วย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและพร้อมสู้กับโรคมะเร็งร้ายในวันต่อๆไป

สนใจสั่งซื้ออาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยคลิ๊ก Line: @ amprohealth

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Siemiatycki, J (2009). “Lifetime consumption of alcoholic beverages and risk of 13 types of cancer in men: Results from a case-control study in Montreal”. Cancer Detection and Prevention 32 (5): 352–62.

สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : [26 ม.ค. 2017].www.chulacancer.net/patient.

เจาะลึก ความสำคัญของการตรวจของเหลวในไขสันหลัง

0
เจาะลึก ความสำคัญของการตรวจของเหลวในไขสันหลัง
การตรวจของเหลวในไขสันหลัง (CSF)
การตรวจโปรตีนในน้ำไขสันหลัง มีจุดประสงค์เพื่อหาโปรตีนที่ปะปนอยู่กับของเหลวในไขสันหลัง

ของเหลวในไขสันหลัง

การตรวจของเหลวในไขสันหลัง หรือ Cerebrospinal Fluid (CSF) เป็นการตรวจที่สำคัญและละเอียดอ่อนในด้านการแพทย์ เนื่องจากช่วยในการวินิจฉัยและติดตามโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมอง เช่น การติดเชื้อในสมอง (เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) โรคหลอดเลือดสมอง ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน และโรคเสื่อมทางระบบประสาท การตรวจ CSF เป็นกระบวนการที่ใช้การเจาะเก็บตัวอย่างจากไขสันหลัง ซึ่งของเหลวนี้เป็นตัวสะท้อนสภาพของสมองและระบบประสาทส่วนกลาง การตรวจวิเคราะห์ของเหลวนี้ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินถึงสัญญาณบ่งชี้ของโรคต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดและแม่นยำมากขึ้น ช่วยในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

น้ำไขสันหลัง มีความสำคัญอย่างไร ?

น้ำไขสันหลัง มีความสำคัญอย่างไร - เจาะลึก ความสำคัญของการตรวจของเหลวในไขสันหลังน้ำไขสันหลัง Cerebrospinal Fluid หรือ CSF มีความสำคัญต่อร่างกายของมนุษย์คือ

  • เป็นเหมือนตัวช่วยสร้างความยืดหยุ่น รับแรงกระแทกหรือแรงสะเทือนต่อไขสันหลังและสมอง
  • เป็นเส้นทางลำเลียงขนส่งสารอาหาร
  • เป็นเส้นทางในกระบวนการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย

การตรวจของเหลวในไขสันหลัง หมายถึงอะไร ?

เป็นวิธีการตรวจในทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง โดยแพทย์จะใช้เข็มที่ออกแบบมาเฉพาะทิ่มเข้าไปบริเวณช่องว่างใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมองหรือบริเวณบั้นเอว ( Lumbar ) เพื่อนำน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังออกมาและนำไปตรวจวินิจฉัยโรคต่อไปโดยก่อนการตรวจ Cerebrospinal Fluid ( CSF ) นั้น ทางแพทย์จะฉีดยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่บริเวณกระดูกสันหลังให้ผู้ที่ต้องการรับการตรวจก่อนเสมอ

Cerebrospinal Fluid ( CSF ) 
Cerebro สมอง
Spinal ลำกระดูกสันหลัง
Fluid ของเหลว

ของเหลวในไขสันหลัง คือ ของเหลวคล้ายน้ำในร่างกายชนิดหนึ่ง ที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทภายในลำกระดูกสันหลังตั้งแต่สมองลงมาหรือเข้าใจกันในคำว่า “ น้ำไขสันหลัง ”

ลักษณะค่า Cerebrospinal Fluid ( CSF ) ที่ผิดปกติ

ลักษณะค่า Cerebrospinal Fluid ( CSF ) ที่ผิดปกติแต่หากตรวจออกมาแล้วพบว่า CSF มีความผิดปกติ เช่น ปรากฏเป็นสีน้ำตาล สีชมพู สีเหลือง ก็อาจหมายถึงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น หรือ มีสิ่งแปลกปลอมหลุดปะปนเข้าไปในร่างกาย เช่น บิลิรูบิน เฮโมโกลบิน เม็ดเลือดแดง หรือสารประกอบอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถพบความผิดปกติที่เกิดได้บ่อยๆ จากการตรวจ CSF คือ

ลักษณะของน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal Fluid CSF ) ที่ผิดปกติ

อาจมีน้ำตาลกลูโคสที่มากผิดปกติ
อาจมีโปรตีน
อาจมีแล็กเตต ( Lactate )
อาจมีเอนไซม์ LDH
อาจมีเซลล์เม็ดเลือด เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ มากพอให้นับจำนวนได้
อาจพบเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือแม้แต่เซลล์มะเร็ง

ของเหลวในไขสันหลัง หรือการตรวจน้ำไขสันหลัง คืออะไร ?

ของเหลวในไขสันหลัง คือ ของเหลวคล้ายน้ำในร่างกายชนิดหนึ่ง ที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทภายในลำกระดูกสันหลังตั้งแต่สมองลงมาหรือเข้าใจกันในคำว่า “ น้ำไขสันหลัง ” จะอยู่ในช่องเสมือนคลองของไขสันหลัง ( Spinalcanal ) ซึ่งอยู่ตรงกลางสุดของไขสันหลังมีหน้าที่คอยปกป้องและหล่อเลี้ยงเส้นประสาท ตลอดลำกระดูกสันหลัง ( Spinalcord ) ตั้งแต่ก้านมันสมอง ผ่านลำคอ ผ่านกลางแผ่นหลัง ลงไปจนถึงก้นกบ   

น้ำไขสันหลัง มีชื่อเรียกในทางการแพทย์ว่า  “ Cerebrospinal Fluid ” เรียกแบบย่อได้ว่า CSF น้ำไขสันหลัง ( CSF ) เกิดขึ้นได้อย่างไรน้ำไขสันหลัง หรือ Cerebrospinal Fluid ( CSF ) สามารถผลิตขึ้นได้เองจากในร่างกายของมนุษย์ โดยใช้ พลาสมาที่เป็นของเหลวในเลือดเป็นวัตถุดิบในการสร้าง  จึงทำให้  CSF จะมีสารละลายต่างๆจากเลือด เช่น Glucose Chloride ปะปนอยู่ด้วยเสมอ

นอกจากนี้การตรวจ CSF สามารถเรียกชื่อเต็มได้อีกรูปแบบว่า Lumbar Puncture Cerebrospinal Fluid Examination หรือ การตรวจค่า LP ซึ่งมีความหมายว่า การตรวจของเหลวภายในกระดูกสันหลัง โดยวิธีเจาะผ่านช่องกระดูกสันหลังวัตถุประสงค์ในการเจาะเอา CSF ออกมาตรวจ โดยปกติแล้ว การวินิจฉัยโรคจากแพทย์ มักจะใช้วิธีตามมาตรฐานทั่วไป อย่างเช่น  การซักถามอาการ การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การเอกเซย์ การตรวจ MRI แล้วมีเหตุผลอะไรบ้างที่แพทย์ถึงจำเป็นจะต้องตรวจโดยใช้ผลการตรวจจากค่า CSF สามารถสรุปได้ดังนี้

ทำไมต้องตรวจ Cerebrospinal Fluid ( CSF )

1. เพื่อตรวจความผิดปกติหรือโรคของระบบประสาททั้งปวง เช่น สภาวะโรคสมองอักเสบ ( Encephalitis ) สภาวะเลือดออกในสมอง ( Cerebral Hemorrhage ) โรคไข้กาฬหลังแอ่น ( Meningitis ) ฯลฯ

2. เพื่อตรวจสภาวะการติดเชื้อ เช่น โรคซิฟิลิสขึ้นสมอง ( Neurosyphilis ) โรครับเชื้อแบคทีเรียจากการมีเพศสัมพันธ์ ( Sexually Transmitted Bacterial Disease )

3. เพื่อตรวจความเสียหายของสมองหรือไขสันหลัง เช่น กรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง

4. เพื่อตรวจการลุกลามของโรคมะเร็งที่อาจผลักให้เซลล์หลุดลอดเข้าสู่ Cerebrospinal Fluid ( CSF )

ลักษณะค่า Cerebrospinal Fluid ( CSF ) ที่ปกติ

ลักษณะค่า Cerebrospinal Fluid CSF ที่ปกติ - เจาะลึก ความสำคัญของการตรวจของเหลวในไขสันหลัง

ลักษณะของน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal Fluid CSF ) ที่ปกติดี

ไม่มีสี
มีความใส
ไม่ขุ่นมัว
ไม่มีตะกอน
มีความดันเพียงเล็กน้อยไม่เกิน 20 เซนติเมตร เทียบเท่าระดับความสูงของน้ำ

ค่าที่สำคัญในการตรวจของเหลวในไขสันหลัง

ความผิดปกติต่างๆ ที่พบจากการตรวจ CSF นี้ ทางแพทย์จะต้องวินิจฉัยหาถึงสาเหตุดังกล่าวนี้ เพื่อทำการรักษาต่อไป ในการตรวจของเหลวในไขสันหลัง มีค่าที่สำคัญที่ต้องตรวจ ดังต่อไปนี้

CSF Protein คืออะไร ?

การตรวจค่า CSF Protein หรือ การตรวจโปรตีนในน้ำไขสันหลัง มีจุดประสงค์ในการตรวจ คือ เพื่อจะได้ทราบว่าค่าโปรตีนในน้ำไขสันหลังหรือโปรตีนที่ปะปนอยู่กับของเหลวในไขสันหลังนั้น มีระดับโปรตีนมากน้อยเพียงใด หรือมีความผิดปกติอย่างไร โดยปกติแล้วโปรตีนในเลือดไม่อาจสามารถหลุดเข้าไปใน น้ำไขสันหลังหรือ CSF ได้ เนื่องจากโปรตีนในเลือดจะมีโมเลกุลที่ใหญ่เกินกว่าจะหลุดเข้าไปได้แต่ทั้งนี้ก็มีโปรตีนในเลือดขนาดเล็กอย่าง อัลบูมิน ( Albumin ) ที่สามารถอาจหลุดเข้าไปปะปนได้ ซึ่งโปรตีนที่ตรวจพบได้ใน CSF csf sugar สูง แปลผล นี้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นปริมาณ 15 – 45 mg/dL เมื่อเทียบกับค่า Total Protein ในเลือดซึ่งมีค่าปกติอยู่ที่ระดับ 6.4 – 8.3 gm/dL

ดังนั้นหากตรวจพบโปรตีนใน CSF มีค่าสูงผิดปกติ ให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า เกิดความผิดปกติในร่างกายขึ้น โดยอาจจะมีโปรตีนจากเลือดทะลุผ่านเข้าสู่ CSF โดยผลจากการชำรุด บกพร่องของอวัยวะชุดกรองเลือดก่อนขึ้นสู่สมอง (ฺ Blood-Brain Barrier ) หรืออาจมีแผลที่มาจากโรคร้ายชนิดต่างๆ ได้นั้นเองการตรวจวัดปริมาณของค่า Protein CSF ในการตรวจวัดปริมาณของค่า Protein CSF จะมีค่าปกติอยู่ที่ประมาณ  15 – 45   mg/dL ซึ่งในกรณีค่า Protein CSF ที่วัดได้ผิดปกติสามารถบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายได้ดังนี้

ค่า CSF Protein ปกติ
15 – 45   mg/dL

ค่า CSF Protein ต่ำกว่าปกติ

1. ค่า CSF Protein ต่ำกว่าปกติ หมายถึง กรณีที่วัดค่า CSF Proteinได้ต่ำกว่าค่าปกติอาจมีสาเหตุเกิดจาก

  • ร่างกายอยู่ในสภาวะเป็นปกติดี เนื่องจากตามความเป็นจริงแล้ว โปรตีนไม่ควรมีอยู่ใน Cerebrospinal Fluid ( CSF ) มากนัก โดยค่าที่หลุดเขามามักเป็นโปรตีนที่มาจาก อัลบูมิน ( Albumin ) ที่มีขนาดเล็ก หลุดปนมาเท่านั้น
  • ในกรณีที่พบโปรตีนต่ำกว่าปกติมากเกินไป อาจแสดงถึง CSF หรือน้ำในไขสันหลังได้เพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างผิดปกติก็ได้ จึงทำให้เกิดความเจือจางลง จนตรวจวัดค่าโปรตีนได้ต่ำลง ( เนื่องจาก Protein จาก CSF จะถูกตรวจด้วยปริมาณมิลลิกรัมต่อ 1 dL เสมอ )

ค่า CSF Protein สูงกว่าปกติ

2. ค่า Protein CSF สูงกว่าปกติ หมายถึง กรณีที่วัดค่า Protein CSF ได้มากกว่า csf protein สูง แปลผล ซึ่ง csf protein สูง เกิดจาก

  • อาจเกิดโรคมะเร็งของระบบประสาทส่วนกลาง ( Central Nerve System , CNS )
  • อาจมีเลือดรั่วซึม ( Hemorrhage )
  • สมองหรือไขสันหลังอาจได้รับความกระทบกระเทือนถึงขั้นบาดเจ็บ
  • อาจมีสภาวะของโรคเบาหวาน
  • อาจเกิดโรคด้านประสาทจากเหตุติดเชื้อที่เป็นไปได้มากมายหลายโรค เช่น โรคไข้กาฬหลังแอ่น ( Meningitis ) โรคสมองอักเสบ ( Encephalitis ) โรคไขสันหลังอักเสบ ( Myelitis ) เป็นต้น

CSF Glucose คืออะไร ?

การตรวจ CSF Glucose หรือ การตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในน้ำไขสันหลัง มีจุดประสงค์ในการตรวจคือเพื่อจะได้ทราบว่า ค่าปริมาณของระดับน้ำตาลในน้ำไขสันหลังในร่างกาย มีค่าความผิดปกติหรือไม่ หากค่านี้มีค่าที่ผิดไปจากเกณฑ์มาตรฐาน ก็อาจจะเป็นการบอกว่า ร่างกายมีความผิดปกติ อาจมีโรคภัยต่างๆเกิดขึ้น

โดยปกติแล้ว ในน้ำไขสันหลังจะมีปริมาณของน้ำตาลปะปนอยู่ด้วย เนื่องจากน้ำในไขสันหลังใช้พลาสมาจากเลือดเป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตซึ่งในเลือดก็มีน้ำตาล หรือ Glucose ปะปนอยู่ด้วยดังนั้นจึงทำให้น้ำในไขสันหลังมี กลูโคส ( Glucose ) ปะปนอยู่ด้วยเสมอ แต่อาจมีปริมาณน้อยกว่าในเลือดอยู่ที่ 60-70 % ของค่ากลูโคสในเลือดในขณะนั้น

เนื่องจากเซลล์ของเส้นประสาทไขสันหลังของกระดูกไขสันหลังและของเนื้อเยื่อโดยรอบ จำเป็นต้องใช้กลูโคสจากหลอดเลือดแดงให้ไปหล่อเลี้ยงเช่นเดียวกับเซลล์อื่นๆทั่วร่างกาย ดังนั้นหากปริมาณของกลูโคสในหลอดเลือดมีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อระดับกลูโคสในน้ำไขสันหลังด้วยเช่นกัน จึงทำให้การตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในน้ำไขสันหลัง ( Glucose CSF ) จึงจำเป็นต้องตรวจเลือดให้ทราบค่า FBS ไว้ด้วยก่อนเสมอ

การตรวจวัดปริมาณของค่า Cerebrospinal Fluid Glucose

ค่า CSF Glucose ปกติ
50  –  75   mg/dL

ในการตรวจวัดปริมาณของค่า Glucose CSF จะมีค่าปกติอยู่ที่ปริมาณ 50  –  75  mg / dL แต่ในการนำไปเปรียบเทียบจะใช้ค่าอยู่ที่ประมาณ 60-70 % of Blood Glucose ซึ่งในกรณีค่า Glucose CSF ที่วัดได้ผิดปกติสามารถบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายได้ดังนี้

ค่า CSF Glucose ต่ำกว่าปกติ

1. ค่า Glucose CSF ต่ำกว่าปกติ หมายถึง กรณีที่วัดค่า Glucose CSF ได้ต่ำกว่าค่าปกติ  ซึ่งอาจมีสาเหตุเกิดจาก 

  • อาจเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบค่าน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่ก่อนแล้ว
  • อาจเกิดการติดเชื้อในไขกระดูกสันหลังจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราโดยได้เพิ่มจำนวนขึ้นกินกลูโคสจนทำให้กลูโคสลดระดับน้อยลง
  • อาจมีอวัยวะหนึ่งเกิดโรคมะเร็ง

หาก Glucose CSF ต่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของค่าน้ำตาลในเลือด อาจเป็นตัวเลขบ่งชี้ค่อนข้างชัดเจน น่าจะเป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น หรือสภาวะเริ่มเกิดโรคมะเร็ง ( Neoplasm )

ค่า CSF Glucose สูงกว่าปกติ

2. ค่า Glucose CSF สูงกว่าปกติ หมายถึง กรณีที่วัดค่า Glucose CSF ได้สูงกว่าค่าปกติ  ซึ่งอาจมีสาเหตุเกิดจาก

  • อาจเป็นบุคคลที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง ( Hyperglycemia ) อยู่ก่อนแล้ว
  • อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน 

LDH CSF คืออะไร ?

การตรวจ LDH Cerebrospinal Fluid หรือ Lactic Dehydrogenase เป็นเอนไซม์เร่งปฏิกิริยาการสร้างพลังงานที่สำคัญมีจุดประสงค์ในการตรวจคือเพื่อให้ทราบระดับของเอนไซม์เร่งปฏิกิริยาการสร้างพลังงานในร่างกายว่ามีความผิดปกติหรือไม่

เนื่องจากปกติแล้วนั้น เอนไซม์ใดๆที่อาศัยหลอดเลือดเป็นเส้นทางขนส่งหรืออาศัยกระแสเลือดเป็นผู้ลำเลียงก็มีโอกาสที่จะหลุดลอดเข้าไปยังน้ำไขสันหลังได้ทั้งนั้น แต่เอนไซม์ LDH จะต่างจากเอนไซม์อื่นๆ ตรงที่ LDH ตามปกติจะอยู่แต่ภายในเซลล์ไม่มีการออกไปนอกเซลล์ดังนั้นหาก LDH หลุดออกไปภายนอกก็สามารถสันนิฐานได้ว่า มีความผิดปกติเกี่ยวกับร่างกายเกิดขึ้น แม้เมื่อไปอยู่ในไขสันหลังใน LDH CSF แล้วก็ตาม

LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase ได้ว่า หากมีกรณีใดก็ตามที่แสดงสภาวะการติดเชื้อ หรือการอักเสบที่ระบบประสาทหรือมันสมองแล้ว LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase จะเพิ่มค่าขึ้นเสมอ

ตัวอย่างเช่น การที่ร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคไข้กาฬหลังแอ่น เข้าสู่ไขสันหลัง ทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลล์ ( Neutrophil ) ซึ่งปกติจะมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว ( White Blood Cell, WBC ) ไม่มากนัก แต่เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคอย่างไข้กาฬหลังแอ่นเข้ามา เซลล์เม็ดเลือดขาว ( White Blood Cell, WBC ) ก็จะต้องถูกเร่งจำนวนผลิตขึ้นมาให้มากกว่าปกตินั้นเอง

ดังนั้นสามารถสรุปเกี่ยวกับ LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase ได้ว่า หากมีกรณีใดก็ตามที่แสดงสภาวะการติดเชื้อ หรือการอักเสบที่ระบบประสาทหรือมันสมองแล้ว LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase จะเพิ่มค่าขึ้นเสมอ

การตรวจวัดปริมาณของค่า LDH CSF

ในการตรวจวัดปริมาณของค่า LDH CSF จะมีค่าปกติไม่ควรเกิน 40 units/Lซึ่งในกรณีค่า LDH CSF ที่วัดได้ผิดปกติ สามารถบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายได้ดังนี้

ค่า LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase ปกติ
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 units/L

ค่า LDH CSF ต่ำกว่าปกติ

1. ค่า LDH CSF  ต่ำกว่าปกติ หมายถึงกรณีที่วัดค่า LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase ได้ต่ำกว่าค่าปกติ ถือได้ว่าไม่มีความผิดปกติแต่อย่างใดหรือหมายถึงในร่างกายไม่มีเซลล์เกี่ยวกับสมองหรือระบบประสาทใดๆได้รับความกระทบกระเทือนหรือเกิดความผิดปกติขึ้นเลย

ค่า LDH CSF สูงกว่าปกติ

2. ค่า LDH CSF สูงกว่าปกติ หมายถึงกรณีที่วัดค่า LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase Cerebrospinal Fluid ได้สูงกว่าค่าปกติอาจมีสาเหตุเกิดจาก

  • เนื่องจากเซลล์ของมันสมอง มีค่า LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase อยู่ในปริมาณสูงมาก หากมีเชื้อโรคหรือเหตุกระทบกระเทือนใดๆต่อระบบประสาทส่วนกลาง ( Central Nervous, CNS ) ย่อมมีผลต่อการเพิ่ม LDH CSF ให้สูงขึ้นอย่างผิดปกติได้ เช่น โรคสมองอักเสบ ( Encephalitis ) สภาวะสมองมีเลือดคั่งหรือภาวะหลอดเลือดแตกในสมอง ( Cerebral Homorrhage )
  • แม้ร่างกายจะไม่ได้รับเชื้อโรคใดๆ แต่อาจเกิดการเสื่อมสภาพของเซลล์ไปเอง ซึ่งจะไปทำให้ค่าของ LDH CSF หรือ Lactic Dehydrogenase สูงขึ้นผิดปกติได้ เช่น สภาวะการเริ่มเกิดมีเนื้องอกชนิดร้ายที่มันสมอง ( Brain Neoplasm ) โรคมะเร็งที่ไขสันหลัง ( Spinal Cordneoplasm ) เกิดโรคมะเร็งที่อื่นแล้วลุกลามไปถึงไขสันหลัง ( Metastatic Tumor ) โรคสมองเสื่อม ( Degenerative Brain Disease )

ดังข้อมูลที่กล่าวไปแล้วทั้งหมดนี้ คงพอคลายความสงสัยให้กับใครหลายๆคนได้ไม่มากก็น้อย เกี่ยวกับการขอตรวจของเหลวในไขสันหลัง การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยการขอตรวจของเหลวในไขสันหลัง นี้ สามารถเป็นประโยชน์ที่จะไปช่วยให้ทางแพทย์วิเคราะห์และหาสาเหตุของความผิดปกติของร่างกายได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น โดยแพทย์อาจจะใช้วิธีนี้ควบคู่กับวิธีการตรวจวินิจฉัยโรควิธีอื่นๆ ด้วยก็ได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุลม พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือดเล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า 1.เลือด–การตรวจ. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Wood, James H. (June 29, 2013). Neurobiology of Cerebrospinal Fluid 2. Springer Science and Business Media. p. 3. ISBN 9781461592693.

Kantor, David (June 1, 2015). “CSF Cell Count”. MedlinePlus. United States National Library of Medicine.

Klarica M, Orešković D (2014). “A new look at cerebrospinal fluid movement”. Fluids Barriers CNS. 11: 16. PMC 4118619 Freely accessible. PMID 25089184.

Chuder, Eric H. “The Ventricular System and CSF (Cerebrospinal Fluid)”. faculty.washington.edu. National Center for Research Resources.

Mostovich, Joseph J.; Hafen, Brent Q.; Karren, Keith J. (October 28, 2009). Prehospital Emergency Care (9th ed.). Prentice Hall. ISBN 9780135028100.

โรคอ้วนสาเหตุความเสี่ยงโรคหัวใจในผู้หญิง

0
โรคอ้วนในผู้หญิงกับโรคหัวใจ
โรคหัวใจในผู้หญิงจะแสดงอาการออกมาในช่วงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
โรคอ้วนในผู้หญิงกับโรคหัวใจ
โรคหัวใจในผู้หญิงจะแสดงอาการออกมาในช่วงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

โรคหัวใจในผู้หญิง

จากสถิติการเสียชีวิตของผู้หญิงด้วยโรคหัวใจในแต่ละปี พบว่ามีไม่ต่ำกว่า 500,000 คนเลยทีเดียว ซึ่งก็พบว่ามากกว่าการตายจากโรคมะเร็งทุกประเภทรวมกันซะอีก ดังนั้นจึงต้องให้ความใส่ใจกับโรคหัวใจในผู้หญิงมากขึ้น โดย ในปัจจุบันก็พบว่ามีผู้หญิงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจโดยตรงไม่ต่ำกว่า 13 เปอร์เซ็นต์ และหลายคนก็มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจที่ไม่ถูกต้องอยู่หลายประเด็นอีกด้วย

ความจริงคืออะไร ?

  • ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจในผู้หญิง มีจำนวนมากกว่าผู้ชายเสมอ
  • หลายคนเข้าใจว่าโรคหัวใจในผู้หญิง จะเป็นเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเท่านั้น แต่ความจริงแล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินและปัญหาหลอดเลือดแดงตีบ
  • จากการสำรวจพบว่ามีผู้หญิงน้อยมากที่ได้รับคำแนะนำในเรื่องโรคหัวใจในผู้หญิงจากแพทย์ ส่วนใหญ่จึงมักจะไม่มีความรู้ในเรื่องนี้มากนัก

สาเหตุของการป่วยด้วยโรคหัวใจในผู้หญิง

โรคหัวใจในผู้หญิงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และมีโอกาสป่วยด้วยโรคหัวใจได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย โดยสาเหตุสำคัญที่พบได้มากที่สุด ก็คือภาวะเส้นเลือดแดงตีบ ซึ่งสามารถวัดความเสี่ยงโรคหัวใจพื้นฐานได้จากระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์นั่นเอง แต่ที่ได้รับความนิยมและสามารถชี้วัดได้ดีที่สุด ก็คือ ระดับโฮโมซิสเตอีนในเลือด

ซึ่งภาวะเส้นเลือดตีบนั้น เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงเป็นแผล และมีเกล็ดเลือดมาเกาะ จากนั้นก็จะทำลายหลอดเลือดแดงด้วยการปล่อยสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารทรอมบ็อกแซน ( Thromboxane ) ออกมา เป็นผลให้หลอดเลือดเกิดการบีบรัดตัวผิดปกติมากขึ้น นอกจากนี้ก็จะมีคอเลสเตอรอลเข้ามาฝังตัวในส่วนนี้ จนทำให้หลอดเลือดตีบได้ในที่สุดและนำไปสู่โรคหัวใจในผู้หญิง

อาการของโรคหัวใจในผู้หญิง

สำหรับอาการของโรคหัวใจในผู้หญิงจะมีความแตกต่างจากผู้ชายอยู่บ้าง และเนื่องจากเป็นโรคที่ค่อยเป็นค่อยไปจึงมักจะไม่ค่อยมีการแสดงอาการออกมาให้เห็น จนกว่าจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาการจึงจะแสดงออกมาอย่างเด่นชัด หลายคนจึงมีความเข้าใจผิดๆ ว่า โรคหัวใจจะเกิดเฉพาะในผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนนั่นเอง

โดยอาการที่มักจะพบในผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคหัวใจในผู้หญิง ได้แก่

  • โรคหัวใจในผู้หญิงจะมีอาการเจ็บหน้าอกและเจ็บร้าวไปตามแขนข้างซ้าย
  • โรคหัวใจในผู้หญิงจะมีอาการปวดตามคอ ไหล่ แผ่นหลังและขากรรไกร ซึ่งมักจะเป็นๆ หายๆ แบบเรื้อรัง
  • โรคหัวใจในผู้หญิงจะมีอาการอ่อนเพลียและวิงเวียนศีรษะบ่อยๆ รวมถึงอาจมีอาการปวดท้อง ไม่สบายท้องคล้ายกับอาหารไม่ย่อยไอ้อีกด้วย
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ พร้อมกับอาการหายใจติดขัด

ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาการบางอย่างที่แสดงออกมาก็จะคล้ายคลึงกับอาการไข้หวัดและอาการไม่สบายทั่วไป ทำให้หลายคนชะล่าใจและรักษาไม่ถูกวิธีจนเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในที่สุด โดยสำหรับปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจก็มีหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ภาวะความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูงและอายุ ซึ่งพบว่าผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยงมากกว่าวัยก่อนหมดประจำเดือน เนื่องจากมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ โดยเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยปกป้องผู้หญิงจากโรคหัวใจนั่นเอง

การตรวจเลือด เพื่อบอกความเสี่ยงโรคหัวใจ

โรคหัวใจ พบว่าจะมีความเสี่ยงสูงมากในผู้หญิงที่มีอายุ 55 ปี โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน เพราะมีระดับของไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งในขณะเดียวกัน เอชดีแอล ไขมันชนิดดีก็จะลดลงอย่างรวดเร็วด้วย

ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยผู้ตรวจจะต้องงดอาหารประมาณ 8 – 12 ชั่วโมงก่อนตรวจ และสามารถพิจารณาความเสี่ยงได้ตามตารางดังนี้

ระดับคอเลสเตอรอลรวม
( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร )
ความเสี่ยง
<170 ( อายุ < 20 ปี ) ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
< 200 ( อายุ > 20 ปี ) ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
200 – 239 สูงปานกลาง
> 240 สูง

 

ระดับแอลดีแอล
( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร )
ความเสี่ยง
< 110 (อายุ < 20 ปี ) ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
> 130 (อายุ < 20 ปี ) สูง
< 100 (อายุ > 20 ปี ) ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
100 – 129 เสี่ยงเพิ่มขึ้น
130 – 159 สูงปานกลาง
160 – 189 สูง
> 190 สูงมาก

 

ระดับเอสดีแอล
( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร )
ความเสี่ยง
ชาย > 40 ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
หญิง > 50 ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง

 

ระดับไตรกลีเซอไรด์
( มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร )
ความเสี่ยง
<150 ระดับที่ต้องการ ความเสี่ยงลดลง
150 – 199 สูงปานกลาง
200 – 499 สูง
> 500 สูงมาก

 

อัตราส่วนระดับคอเลสเตอรอลรวม
และเอชดีแอล
ความเสี่ยง
< 3.5 ต่ำ
4.5 – 6.5 ปานกลาง
> 6.6 สูง

และจากการศึกษาจากคลินิกวิจัยไขมันในสหรัฐอเมริกา ก็พบว่าผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 50-69 ปี มักจะไม่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจหากมีระดับของเอชดีแอลที่สูงมากพอ แต่จะพบเสียชีวิตได้มากในผู้หญิงที่มีระดับเอชดีแอลต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งก็พบว่ามีโอกาสเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจสูงถึง 3 เท่าเลยทีเดียว

จากการวิจัยดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า ระดับเอชดีแอลมีความสำคัญในการลดความเสี่ยงโรคหัวใจในผู้หญิงเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรเพิ่มระดับของเอชดีแอลให้สูงขึ้นอยู่เสมอ ที่สำคัญควรหมั่นตรวจระดับไขมันในเลือดเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ทราบความเสี่ยงและเตรียมตัวรับมือได้ทัน โดยในการตรวจนอกจากจะดูค่าของคอเลสเตอรอลในเลือดเป็นหลักแล้ว ก็ควรดูค่าอื่นๆ ที่สำคัญด้วย

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองใหม่ ก็สารถลดความเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจได้เช่นกัน โดยสามารถทำได้ดังนี้

1. ลดการทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวให้น้อยลง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เนย กะทิ มาร์การีนและนมชนิดที่มีไขมันเต็ม เป็นต้น เพราะอาหารเหล่านี้จะไปเพิ่มระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอลให้สูงขึ้นด้วยนั่นเอง

2. เลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ เช่น เนยเทียมหรือเนยขาว เพราะไขมันทรานส์ จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลให้สูงขึ้น และเพิ่มโอกาสเป็นโรคหัวใจให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

3. ทานน้ำมันปลาและกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวให้มากขึ้น ซึ่งพบได้จาก ถั่วเปลือกแข็ง น้ำมันปลา และน้ำมันมะกอก โดยอาหารเหล่านี้จะช่วยปกป้องหัวใจและลดคอเลสเตอรอลให้ต่ำลง นอกจากนี้น้ำมันปลายังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันได้อีกด้วย

4. เน้นการทานถั่วเหลืองหรือนมถั่วเหลือง เพราะถั่วหลืองมีสารที่จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลหลายชนิด พร้อมทั้งมีใยอาหารสูง ไขมันต่ำและมีสารซาโปนิน ที่จะช่วยขจัดคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็กออกนอกร่างกายอย่างรวดเร็ว จึงไม่ทำให้เกิดการสะสมของคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ถั่วเหลืองก็มีสารชนิดหนึ่ง เรียกว่าสารพฤกษเคมีที่จะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ดีอีกด้วย

5. เพิ่มผักผลไม้ ในทุกมื้ออาหาร เพราะผักผลไม้อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะสารแอนติออกซิแดนท์ที่จะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ดี แถมยังมีสารสำคัญอย่างสารฟลาโวนอยด์และใยอาหารสูงอีกด้วย

6. เน้นทานเมล็ดพืชไม่ขัดสีและอาหารที่มีใยอาหารเป็นหลัก เพราะจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล แอลดีแอลในร่างกายให้ต่ำลงและสามารถป้องกันโรคหัวใจได้ดีอีกด้วย โดยอาหารประเภทนี้ได้แก่ ซิลเลียม ข้าวโอ๊ต ผักผลไม้บางชนิด ถั่วเมล็ดแห้งและเมล็ดแฟลกซ์ เป็นต้น

7. ทานอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนท์ เพราะสารตัวนี้จะช่วยกำจัดอนมูลอิสระ ที่ทำลายผนังเซลล์หลอดเลือดแดง และลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจได้ดี

8. เสริมวิตามินบีให้เพียงพอต่อร่างกายอยู่เสมอ เพราะวิตามินบีจะมีส่วนช่วยในการบำรุงและเสริมสร้างสมองได้ดี รวมถึงกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและป้องกันโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี และเนื่องจากวิตามินบีแต่ละชนิดจะมีหน้าที่ต่างกันไป จึงควรทานวิตามินบีให้ครบถ้วนด้วย

วิตามินบี กุญแจสำคัญป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

วิตามินบี เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดี ดังนั้นจึงต้องทานวิตามินบีทุกตัวให้เกิดความสมดุลที่สุด ซึ่งจากการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อมูลว่า

  • การทานโฟเลต วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 ไม่เพียงพอ จะส่งผลให้โฮโมซิสในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก็จะทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจมากขึ้นด้วย ดังนั้นจึงควรทานวิตามินเหล่านี้ให้เพียงพออยู่เสมอและให้เกิดความสมดุลกันมากที่สุด
  • ในผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่ทางมังสวิรัติ จะได้รับวิตามินบีที่น้อยกว่าปกติและอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรทานวิตามินเสริม โดยเฉพาะวิตามินบี 12 และวิตามินบี 2 หรือจะทานเป็นวิตามินรวมวันละ 1 เม็ดก็ได้
  • ในคนที่มีความเครียดและมีปัญหานอนไม่หลับเป็นประจำ ควรทานวิตามินบีเสริมในปริมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ ของข้อแนะนำที่กำหนด ซึ่งอาจทานในรูปของวิตามินบีรวมหรือมีการเสริมเดี่ยวๆ เข้าไปด้วยก็ได้ แต่กรณีที่เป็นวิตามินบี 6 ไม่ควรทานเดี่ยวๆ เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับมากเกินไปจนทำให้เป็นพิษต่อระบบประสาท ซึ่งหากต้องการเสริมจริงๆ ก็แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่าส่วนอาหารที่มักจะพบวิตามินบีได้สูง ได้แก่ นม ถั่ว ผัก เนยแข็ง ผลไม้และเนื้อสัตว์ เป็นต้น

9. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติเสมอ เพราะพบว่าผู้หญิงที่มีรูปร่างอ้วน โดยเฉพาะเมื่อมีไขมันสะสมอยู่บริเวณหน้าท้องเป็นจำนวนมาก จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้สูงกว่าปกติ ซึ่งมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้มากถึง 46 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ดังนั้นการลดน้ำหนักจึงจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจให้ต่ำลงตามไปด้วย

ข้อแนะนำอื่นๆเพื่อลดภาวะโรคหัวใจในผู้หญิง

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมข้างต้นเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจแล้ว ก็มีข้อแนะนำจากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจดังนี้

1. ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงและป้องกันโรคหัวใจเป็นหลัก โดยทานให้หลากหลาย ซึ่งก็มีทั้งผัก ผลไม้ โปรตีน ถั่วชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เป็นต้น

2. ทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรืออาหารที่มีโอเมก้า 3 สูง เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดี โดยอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูงได้แก่ ถั่วเหลือง สาหร่ายทะเลและวอลนัท เป็นต้น

3. ทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวให้น้อยลง โดยจะต้องไม่เกิน 5 – 6 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานทั้งหมด และควรงดอาหารที่มีไขมันทรานส์ด้วย

4. พยายามทานอาหารที่มีน้ำตาลให้น้อยที่สุด รวมถึงอาหารที่ใช้สารให้ความหวานแทนด้วย

5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที

6. งดการสูบบุหรี่และการอยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่

7. เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยที่สุด หรือดื่มได้ไม่เกินวันละ 1 ดริ๊งค์

8. ลดการทานอาหารที่มีรสเค็ม รวมถึงจำกัดปริมาณโซเดียมและเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมแฝงด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Mozaffarian D, Willett WC, Hu FB (23 June 2011). “Changes in Diet and Lifestyle and Long-Term Weight Gain in Women and Men”. The New England Journal of Medicine (Meta-analysis). 364

Caballero B (2007). “The global epidemic of obesity: An overview”. Epidemiol Rev. 29: 1–5. PMID 17569676. 

โรคอ้วนกับโรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ด้วยอาหารแดช ( DASH )

0
การดูแลและพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานตามลักษณะอาการรายบุคคล
ความดันโลหิต ก็คือแรงดันของเลือดต่อผนังหลอดเลือดแดงที่จะเกิดขึ้นขณะที่หัวใจกำลังบีบตัวและคลายตัว
การดูแลและพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานตามลักษณะอาการรายบุคคล
ความดันโลหิต ก็คือแรงดันของเลือดต่อผนังหลอดเลือดแดงที่จะเกิดขึ้นขณะที่หัวใจกำลังบีบตัวและคลายตัว

อาหารแดช ( DASH )

ความดันโลหิตสูง เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นเหมือนกับระเบิดเวลาในหลอดเลือด ที่รอเวลาจะแสดงผลออกมา เพื่อเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบ หัวใจวายหรือเกิดสโตรกนั่นเอง และแม้ว่าจะยังไม่ถึงจุดนั้น โรคความดันโลหิตสูงก็มีการแสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนเรา ไม่น้อยเช่นกัน และที่สำคัญเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าระเบิดเวลานั้นอยู่ที่จุดใด รู้เพียงว่ายิ่งความดันโลหิตสูงขึ้นมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งใกล้ถึงจุดระเบิดเร็วขึ้นมากเท่านั้น

รู้ได้อย่างไร ความดันโลหิตปกติหรือไม่?

ความดันโลหิต ก็คือแรงดันของเลือดต่อผนังหลอดเลือดแดงที่จะเกิดขึ้นขณะที่หัวใจกำลังบีบตัวและคลายตัว ซึ่งค่าที่ได้จากการวัดความดันโลหิตจะมี 2 ค่าด้วยกัน คือ ค่าความดันตัวบนได้จากหัวใจบีบตัว ( Systolic ) และค่าความดันตัวล่างได้จากหัวใจคลายตัว ( Diastolic ) โดยปกติแล้วค่าที่วัดได้จะต้องไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้นหากได้ค่าที่สูงกว่านี้ก็เท่ากับว่าเริ่มเข้าสู่ภาวะความดันโลหิตสูง ดังตารางต่อไปนี้

ระดับความดัน ความดันตัวบน ( Systolic )  ความดันตัวล่าง ( Duastol ) ข้อเสนอแนะ
ปกติ <120 < 80 ระดับเหมาะสม
เริ่มสูง 120 – 139 80 – 89 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ( อาหาร เครื่องดื่ม การออกกำลังกาย ) ลดน้ำหนัก ถ้าอ้วนและเป็นเบาหวาน ต้องปรึกษาแพทย์
สูงระดับ 1 140 – 159 90 – 99 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการได้ยาลดความดันจากแพทย์
สูงระดับ 2 ≥ 160 ≥ 100 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการได้ยาลดความดันจากแพทย์

 

ซึ่งหากพบว่าความดันโลหิตสูงจะต้องรีบปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตโดยด่วน เพราะภาวะที่ความดันโลหิตสูงนั้น จะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้นจนอาจนำไปสู่โรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดได้ โดยเฉพาะหลอดเลือดสมองตีบ หัวใจขาดเลือดและหัวใจล้มเหลวจนกระทั่งหัวใจวาย ซึ่งก็มีความอันตรายมากทีเดียว

นอกจากนี้โรคความดันโลหิตสูง ยังมักจะเกิดกับผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคเมตาโบลิกซินโดรมได้มากที่สุด รวมถึงผู้สูงอายุ แต่ทั้งนี้ก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองใหม่นั่นเอง

พฤติกรรมที่จะช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง

จากการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตส่วนใหญ่ พบว่าการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการใช้ยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย สามารถชะลอและบำบัดอาการของโรคความดันโลหิตสูงได้ดี นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังตารางต่อไปนี้ ก็สามารถป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อแนะนำ ความดันโลหิตที่ลดลง ( ประมาณ )
ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ 5 – 22 มิลลิเมตรปรอท ต่อน้ำหนักที่ลดลง 10 กิโลกรัม
รับประทานอาหารแดช เน้นพวกผักผลไม้ อาหารที่มีไขมันต่ำและนมไขมันต่ำ 8 – 14 มิลลิเมตรปรอท
ลดเกลือหรืออาหารเค็ม ควรทานโซเดียมไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน ( เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา ) 2 – 8 มิลลิเมตรปรอท
ออกกำลังกาย วันละ 30 นาที 4 – 9 มิลลิเมตรปรอท
ดื่มแอลกอฮอล์แต่น้อย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกินวันละ 1 – 2 ดริ๊งค์ หรือเลิกดื่มไปเลย 2 – 4 มิลลิเมตรปรอท

 

อาหารแดช คืออะไร?

อาหารแดช ( DASH ) เป็น หลักการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงมีชื่อเต็มว่า Dietary Approaches to Stop Hypertension และมีชื่อย่อว่า DASH หรือ DASH DIET ซึ่งเป็นอาหารที่เน้นปริมาณเกลือน้อยเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นการดูแลสุขภาพในระยะยาว ยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาหารแดชในช่วงปี 1990 พบว่าการรับประทานอาหาร DASH สามารถลดความดันโลหิตลงได้ในผู้ป่วยโรคอ้วนได้ถึง 6.7 มิลลิเมตรปรอท ภายใน 2 สัปดาห์ 

แนวทางการลดน้ำหนักของจากการทานอาหาร DASH โดยการลดโซเดียมแบบ 2 ระยะ

  • DASH ควบคุมอาหารระยะที่ 1 จำกัด โซเดียมถึง 2300 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชาต่อวัน
  • DASH อาหารระยะที่ 2 ลดโซเดียมลงถึง 1500 มิลลิกรัม

ประเภทอาหารที่มีโซเดียมสูง มีดังนี้

  • อาหารกระป๋องแปรรูป
  • อาหารสำเร็จรูป
  • อาหารแปรรูป
  • อาหารหมักดอง
  • อาหารตากแห้ง
  • ขนมที่ใส่ผงฟู ชูรส
  • ขนมขบเคี้ยว
  • ซอสปรุงรส
  • เนื้อสัตว์ปรุงรส
  • ชีสเค็ม

ประโยชน์ด้านสุขภาพของอาหาร DASH FOOD

  • อาหารแดชช่วยลดน้ำหนักได้
  • อาหารแดชช่วยช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • อาหารแดชลดความเสี่ยงมะเร็งบางชนิดรวมถึง มะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านม
  • อาหารแดชลดความเสี่ยงของอาการเมตาบอลิซึมได้ถึง 81%
  • อาหารแดชช่วยต้านอินซูลิน และลดความเสี่ยงลดลงของโรคเบาหวานประเภท 2
  • อาหารแดชลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ 20% และช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้
    ถึง 29%

ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังคงมีความดันโลหิตสูงไม่มากนัก สามารถลดความดันตัวบนได้มากถึง 3 มิลลิเมตรปรอท โดยจะช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ และโรคหลอดเลือดในสมองตีบได้ 8 เปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้ควรเน้นการทานอาหารแดชจากธรรมชาติ เช่นผักผลไม้สด และผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำมากกว่าการทานในรูปของอาหารเสริมแบบเม็ด แบบแคปซูล เพราะจะให้คุณประโยชน์และผลลัพธ์ที่ดีกว่า

คุณค่าของอาหารแดชลดภาวะความดันโลหิตสูง

อาหารแดชสามารถลดปัญหาสุขภาพได้ดี โดยเฉพาะความดันโลหิตสูง

นั่นก็เพราะอาหารแดชประกอบไปด้วย

  • ไขมันชนิดอิ่มตัว ที่จะช่วยลดระดับโฮโมซิสเทอีนให้ต่ำลงและลดระดับแอลดีแอลที่เป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี จึงช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดได้
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นจากเดิม และช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือดได้ดีอีกด้วย
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว เป็นกรดไขมันที่จะช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ รวมถึงแก้ปัญหาความดันโลหิตสูงด้วย
  • โพแทสเซียม ซึ่งจะช่วยในการปรับสมดุลของโซเดียม และลดความดันโลหิตโดยตรง
  • แมกนีเซียม มีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิต
  • ใยอาหาร จะช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและลดคอเลสเตอรอลในเลือด พร้อมทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  • สารพฤกษเคมี เป็นสารที่จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งและต่อต้านอนุมูลอิสระ   
  • แคลเซียม เป็นตัวช่วยในการลดความดันโลหิตและสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ โดยในหนึ่งวันคนเราควรได้รับแคลเซียมสูงถึง 1,000-1,300 มิลลิกรัมเลยทีเดียว นอกจากนี้ก็พบว่าแคลเซียมสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และภาวะกระดูกพรุนได้อีกด้วย

และด้วยคุณค่าของอาหารแดช แดชจึงเป็นวิธีที่สามารถป้องกันและช่วยบำบัดโรคต่างๆ ได้ ไม่เพียงแต่โรคความดันโลหิตสูงเท่านั้น และอีกหนึ่งข้อสำคัญที่ควรเข้มงวดมากที่สุด ก็คือการจำกัดความเค็ม โดยทานโซเดียมได้ไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัมเท่านั้น ซึ่งก็พบอีกด้วยว่ายิ่งทานโซเดียมน้อยลงเท่าไหร่ก็จะยิ่งลดความดันได้มากขึ้นเช่นกัน

โดยในปัจจุบันก็พบว่า อาหารแดชได้ครองเป็นอันดับอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดติดต่อกันมาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งสามารถกินได้ทั้งในคนที่มีสุขภาพปกติและคนที่ป่วยด้วยโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ฯลฯ แถมกินง่ายและมีสารอาหารที่ครบถ้วนอีกด้วย

องค์ประกอบของอาหารแดช

หมวดอาหาร ปริมาณอาหาร 1 ส่วน ปริมาณทีเสิร์ฟ
( ส่วน )/วัน
สารอาหารที่มีผลต่อ
ความดันโลหิต
ข้าว ธัญพืช ข้าวซ้อมมือ / เส้นต่างๆ 1/2 ถ้วยตวง

( 1 ทัพพีเล็ก )

ขนมปังโฮลวีต 1 แผ่น

ธัญพืชสุก 1/2 ถ้วยตวง

7 – 8 พลังงาน

ใยอาหาร

แมกนีซียม

พฤกษเคมี

ผักและ

ผลไม้

ส้ม กล้วย หรือแอปเปิ้ล 1 ผลเล็ก

ผลไม้หั่น 1/2 ถ้วยตวง

ผลไม้แห้ง 1/4ถ้วยตวง

น้ำผัก 180 มิลลิลิตร

ผักสุก 1/2 ถ้วยตวง

ผักสด 1 ถ้วยตวง

8 – 10 โพแทสเซียม

แมกนีเซียม

ใยอาหาร

พฤกษเคมี

ผลิตภัณฑ์นม นมไขมัน 1 เปอร์เซ็นต์ หรือขาดไขมัน 240 มิลลิลิตร

โยเกิร์ตพร่องมันเนย 1 ถ้วยตวง

เนยแข็ง (พร่องมันเนย) 45 กรัม

2 – 3 โปรตีน

แคลเซียม

โพแทสเซียม

 

เหตุผลที่องค์ประกอบในอาหารแดช สามารถลดปัญหาสุขภาพได้ นั่นก็เพราะ

หมวดอาหาร ปริมาณอาหาร 1 ส่วน ปริมาณทีเสิร์ฟ ( ส่วน )/วัน สารอาหารที่มีผลต่อความดันโลหิต
ถั่วต่างๆ ถั่วเปลือกแข็ง 45 กรัม ( 1/3 ถ้วยตวง )

เมล็ดธัญพืช 2 ช้อนโต๊ะ ( 15 กรัม )

ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ สุก1/2 ถ้วยตวง

สัปดาห์ละ 5 ครั้ง ไขมันอิ่มตัว ตำแหน่งเดียว

แมกนีเซียม

โพแทสเซียม

โปรตีน

เนื้อสัตว์ต่างๆ สัตว์ปีก ปลา เนื้อสัตว์ต่างๆสุก

รวม 90 กรัม

( เนื้อสัตว์ 1 ที่เสิร์ฟ = 3 ส่วน หรือ 90 กรัม 1 ส่วน = 30 กรัม หรือ 2 ช้อนโต๊ะ )

 ( 2 ที่เสิร์ฟ ) โปรตีน

แมกนีเซียม

โอเมก้า-3

ไขมัน ไขมันพืช มาร์การีนหรือน้ำมันพืช 1 ช้อนชา

มายองเนส 1 ช้อนชา

น้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ

2 – 3 จำกัดไขมันอิ่มตัว

และอาหารไขมันสูง

พลังงานจากไขมัน

ประมาณ 27 เปอร์เซ็นต์

ของหวาน น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ

แยม เยลลี่ 1 ช้อนโต๊ะ

สัปดาห์ละ 5 ครั้ง อาหารจะต้องมี ไขมันต่ำ

 

อาหารแดชให้พลังงานใน 1 วันอย่างไร

หมวดอาหาร ปริมาณอาหาร ( ส่วน ) สำหรับ ผู้ต้องการพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี ปริมาณอาหาร ( ส่วน ) สำหรับ ผู้ต้องการพลังงาน 1,800 กิโลแคลอรี  

ปริมาณอาหาร ( ส่วน ) สำหรับ ผู้ต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี

ปริมาณอาหาร ( ส่วน ) สำหรับ ผู้ต้องการพลังงาน 3,100 กิโลแคลอรี
ธัญพืช/ข้าว/แป้ง/เส้น 6 8 7 – 8 12 – 13
ผัก 3 – 4 4 4 – 5 6
ผลไม้ 4 4 4 – 5 6
ผลิตภัณฑ์นม ไขมันต่ำ 2 – 3 3 2 – 3 3-4
เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา 1.5 ( 135 กรัม ) 2 ( 180 กรัม ) 2 ( 180 กรัม ) 2.5 ( 225 กรัม )
ถั่วต่างๆ 3 ต่อสัปดาห์ 3 ต่อสัปดาห์ 4 – 5 ต่อสัปดาห์ 2 ต่อสัปดาห์
ไขมัน 2 2.5 2 – 3 4
ของหวาน 0 ต่อสัปดาห์ 5 ต่อสัปดาห์ 5 ต่อสัปดาห์ 2 ต่อสัปดาห์

ข้อควรรู้เพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง

นอกจากการทานอาหารแดชแล้ว ผู้มีปัญหาความดันโลหิตสูงจะต้องควบคุมน้ำหนักไม้ให้อ้วนและหมั่นออกกำลังกายอย่างเคร่งครัด รวมถึงทำตามคำแนะนำอื่นๆ ดังนี้

1.ระวังโซเดียมแฝง

โซเดียม นอกจากมีในเกลือโดยตรงแล้ว ก็มีโซเดียมแฝงที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต้องระมัดระวังอีกด้วย โดยเฉพาะคนที่มีความไวต่อโซเดียม เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากกว่าคนปกติทั่วไป แต่เนื่องจากยังไม่มีวิธีการที่จะบอกได้ว่า ใครมีความไวต่อโซเดียมมากน้อยแค่ไหน จึงต้องจำกัดปริมาณของโซเดียมให้มากที่สุดซึ่งร่างกายของคนเรานั้นควรได้รับโซเดียมอย่างน้อยวันละ 500 มิลลิกรัม และต้องไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม แต่ถ้าให้ดีควรลดให้เหลือไม่เกินวันละ 1,800 มิลลิกรัมจะดีที่สุดส่วนอาหารที่มาจากธรรมชาตินั้น โดยปกติจะพบโซเดียมได้น้อยมาก ยกเว้นอาหารทะเลที่มีโซเดียมสูง ส่วนโซเดียมที่คนเราได้รับมากที่สุดในปัจจุบันก็จะแบ่งออกเป็น

  • โซเดียมจากอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม 75 เปอร์เซ็น
  • โซเดียมจากการปรุงอาหารและในรูปของซอสต่างๆ 20 เปอร์เซ็นต์
  • โซเดียมจากอาหารที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการ 5 เปอร์เซ็นต์

โซเดียมที่อยู่ในอาหารนั้นเราไม่สามารถคาดคะเนปริมาณที่แท้จริงได้ง่ายๆ ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการเรียนรู้ว่ามีโซเดียมอยู่ในอาหารชนิดใดบ้าง เพื่อจะได้จำกัดการทานอาหารชนิดนั้นให้น้อยลงลดภาวะความดันโลหิตสูง

โดยอาหารที่พบว่ามีโซเดียมแฝงอยู่ได้แก่ ซอสปรุงรสต่างๆ ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ น้ำปลา เต้าเจี้ยว ไข่เค็ม กุ้งแห้ง และอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปเรียบร้อยแล้ว เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก กุนเชียง แหนม หมูยอ อาหารกระป๋องและของดองทุกชนิด รวมถึงผงชูรสและผงฟูด้วย อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงตัวอย่างของอาหารที่มีโซเดียมแฝง

ดังนั้นก่อนบริโภคอาหารทุกชนิดควรพิจารณาให้ดีว่ามีโซเดียมหรือไม่ โดยเฉพาะอาหารที่มีรสชาติเค็ม นอกจากนี้ในการปรุงอาหาร ควรปรุงรสน้อยๆ โดยพยายามให้มีรสเค็มน้อยที่สุด รวมถึงเน้นการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศเพื่อเพิ่มรสชาติแทน

ปริมาณโซเดียมที่พบในอาหารบางชนิด

รายการอาหารบางชนิด โซเดียม ( มิลลิกรัม )
เฟรนช์ฟรายส์ ( กลาง ) ใส่เกลือ 265
ถั่วลิสงใส่เกลือ ( ขนาด 28 กรัม ) 230
เค้กช็อกโกแลตหน้าน้ำตาล 1 ชิ้น 213
ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนโต๊ะ 178
ชีส ( 28 กรัม ) 175
มันฝรั่งอบกรอบ ( 28 กรัม ) 160
150ขนมปังโฮลวีต 1 ชิ้น 150
คุกกี้ข้าวโอ๊ต 2 ชิ้น 136
แครกเกอร์ริทซ์ ( 14 กรัม ) 109

 

อาหารประเภทอื่นๆ ที่สามารถลดความดันโลหิตได้

  • หอมและกระเทียม เพราะมีสารชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้หลอดเลือดและกล้ามเนื้อคลายตัวได้ดี จึงสามรถลดระดับความดันโลหิตให้ต่ำลงได้ แต่ทั้งนี้ควรกินหอมและกระเทียมแบบสดมากกว่าสกัด เพราะจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า และไม่ต้องกลัวอันตรายแฝงอีกด้วย 
  • ผักชีและขึ้นฉ่ายฝรั่ง มีสารที่จะช่วยลดความดันโลหิตได้ดี จึงเหมาะกับการนำมาทานเพื่อลดความดันโลหิตเช่นกัน
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งจะได้จากปลาทะเลเป็นหลัก โดยแนะนำให้กินสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง นอกจากนี้หากกินควบคู่ไปกับอาหารที่มีแคลเซียมสูงด้วย ก็จะยิ่งให้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งใน 1 วัน คนเราควรกินอาหารที่มีแคลเซียมสูงให้ได้วันละ 1,000 มิลลิกรัม
  • ลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะชาและกาแฟ

ตัวอย่างเมนูอาหารแดช ระดับพลังงาน 1,800 กิโลแคลอรี ( ช่วยลดความดันโลหิตและลดน้ำหนัก )

อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น อาหารว่าง
น้ำส้มคั้น ( 180 มิลลิลิตร ) สลัดไก่

สลัด 1/2 ถ้วยตวง

เนื้อไก่ ( 90 กรัม )

แครอท/ หอมหัวใหญ่ / เชเลอรี่/แตงกว่า/                      มะเขือเทศ 1 ถ้วยตวง

ปลาอบสมุนไพร ( 90 กรัม ) เมล็ดทานตะวัน

2 ช้อนโต๊ะ

นมขาดไขมัน ( 240 มิลลิลิตร ) ขนมปังพิต้า 1/2 แผ่น ข้าวซ้อมมือ 1 ถ้วยตวง ถั่วเปลือกแข็ง

30 กรัม

มูสลี 1/2 ถ้วยตวง ชีสไขมันต่ำ 45 กรัม บรอกโคลีลวก 1/2 ถ้วยตวง น้ำสมุนไพร

( ไม่ใส่น้ำตาล )

กล้วยน้ำว้า 1 ผล นมไร้ไขมันหรือไขมันต่ำ ( 240 มิลลิลิตร ) สลัดสปิแนช 1/2 ถ้วยตวง ( สปิแนช/มะเขือเทศ/แตงกวา )
ขนมปังโฮลวีต ผลไม้ 1 จานเล็ก สตูมะเขือเทศ 1/2 ถ้วยตวง
มาร์การีนชนิดนิ่ม 1 ช้อนชา น้ำสลัดอิตาเลียน ไขมันต่ำ 1 ช้อนโต๊ะ

ดินเนอร์โรล 1 ก้อนเล็ก

มาร์การีนชนิดนิ่ม 1 ช้อนชา

เมล่อน 1 ถ้วนตวง ( ผลไม้ตระกูลแตง )

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

สถาบันวิจัยโภชนาการ, มหาวิทยาลัยมหิดล

AL (13 October 2015). “Screening for High Blood Pressure in Adults: U.S. Preventive Services Task Force Recommendation Statement.”. Annals of Internal Medicine. 163: 778–86. 

2005, Marla Heller, from The DASH Diet Action Plan, htth://dashdiet.org

“Unusual hypertensive phenotypes: what is their significance?”. Hypertension. 59 (2): 173–78. PMID 22184330.

National Heart, lung, and Blood Institute for information on heart disease and health.“Your guide to lowering your blood pressure with DASH”: http://www.nhlbi.nih.gov/health/public/heart/dash/index.htm.

การติดตามพฤติกรรมการบริโภคอาหารในการลดน้ำหนัก

0
การติดตามพฤติกรรมบริโภคในการลดน้ำหนัก
การติดตามพฤติกรรมการบริโภค เป็นวิธีที่ดีและมีประโยชน์มาก และช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ต้นเหตุของการเกิดโรคอ้วนได้
การติดตามพฤติกรรมบริโภคในการลดน้ำหนัก
การติดตามพฤติกรรมการบริโภค เป็นวิธีที่ดีและมีประโยชน์มาก และช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ต้นเหตุของการเกิดโรคอ้วนได้

พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

พฤติกรรมการบริโภคอาหารกับการลดน้ำหนัก ด้วยวิธีจำกัดหรือลดปริมาณการกินให้น้อยลงในแต่ละมื้อ อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการลดน้ำหนัก เพราะผู้ที่ลดน้ำหนักอาจจะรู้สึกหิวในเวลาอันสั้นหรือรู้สึกว่าทรมานร่างกายจากการทานอาหารไม่เพียงพอ จนบางครั้งต้องมากินเพิ่มอีกภายหลัง เหตุผลดังกล่าทำให้การลดน้ำหนักของใครหลายคนที่ใช้วิธีการลดปริมาณอาหารแบบนี้ ทำได้ไม่สำเร็จสักที ผู้เชี่ยวชาญในการลดน้ำหนักจึงให้คำแนะนำกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักว่า ให้ลองปรับวิธีในการลดน้ำหนักโดยใช้วิธีการ นับปริมาณของ คาร์โบไฮเดรตและไขมันจากฉลากโภชนาการซึ่งระบุปริมาณสารอาหาร ปริมาณรวมของไขมัน และปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่ได้รับในแต่ละวันแทนวิธีการจำกัดหรือลดปริมาณอาหารแบบเดิม

วิธีดังกล่าวนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยจะมีหลักการที่ว่า สามารถทานอาหารในปริมาณปกติ  ที่ไม่ต้องลดปริมาณอาหารแต่ให้เน้นทานอาหารประเภทพืช ผัก ผลไม้ และธัญพืช ซึ่งมีกากใยอาหารสูง  และใช้การควบคุมปริมาณของไขมันและคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในปริมาณที่ต่ำ วิธีนี้มักได้ผลดีหากผู้ปฏิบัติจำกัดปริมาณอาหารที่มีไขมันสูงร่วมด้วย ซึ่งนอกเหนือจากการควบคุมปริมาณของคาร์โบไฮเดรตและปริมาณไขมันแล้ว ก็ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย

หลักการที่ควรปฏิบัติ

1. การเรียนรู้วิธีอ่านฉลากโภชนาการ ( Reading Label ) เพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

มีหลักการต่างๆดังนี้

1.1 อ่านฉลากโภชนาการ

การอ่านฉลากสินค้าต่างๆก่อนซื้อ เป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ที่ใครหลายคนมักมองข้ามไป  เนื่องจากอาหารต่างๆมากมายในปัจจุบันมักจะให้พลังงานที่สูงและมีปริมาณไขมันมากกว่าที่เราคาดไว้ ในฉลากนอกจากจะบอกข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับอาหาร เช่น ข้อความอ้างสรรพคุณของอาหาร ปริมาณอาหารและส่วนประกอบของเครื่องปรุงแต่ละชนิดในอาหาร ผู้ผลิตวันผลิต และวันหมดอายุ รวมทั้งเลขทะเบียนและเครื่องหมาย อย. แล้ว ยังช่วยให้ผู้บริโภคอย่างเราสามารถเปรียบเทียบข้อมูลในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเดียวกัน เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพดีและคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปมากที่สุด

1.2 เกณฑ์การอ่านฉลากอาหาร

การอ่านฉลากอาหารนั้น มีหลักเกณฑ์ในการอ่านเพื่อพิจารณาอาหารต่างๆ ก่อนที่จะทำการซื้อมาบริโภค

  • เลือกอาหารที่ดี มีใยอาหาร และมีส่วนประกอบของ แคลเซียม ธาตุเหล็ก และวิตามินซี
  • เปรียบเทียบอาหารในชนิดเดียวกันว่ายี่ห้อไหนที่มีปริมาณของไขมันและให้พลังงานแคลอรีต่ำกว่า
  • เลือกอาหารที่มีปริมาณโซเดียม ( เกลือ ) ต่ำ
  • เลือกอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ต่ำ
  • เลือกอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลที่ต่ำ

ข้อมูลโภชนาการบอกพฤติกรรมการบริโภคอาหารอะไรบ้าง

  • จำนวน 1 หน่วยบริโภค หมายถึง การระบุปริมาณเป็นถ้วยตวงหรือช้อนตวง น้ำหนักเป็นกรัมหรือเป็นปริมาตร ซึ่งเป็นปริมาณที่ผู้ผลิตแนะนำในการบริโภคต่อหนึ่งครั้ง
  • จำนวนหน่วยบริโภคต่อ 1 กล่อง หรือ 1 ห่อ หรือ 1 กระป๋อง

ตัวอย่าง เช่น

* จำนวนหน่วยบริโภค 4 หมายถึง กินได้ 4 ครั้ง
* ถ้าปริมาณ 1 หน่วยบริโภคเท่ากับ 1 ถ้วยตวง แต่เรารับประทาน 2 ถ้วยตวง ก็จะได้พลังงาน ไขมัน และ สารอาหารอื่นๆที่ระบุไว้เป็น 2 เท่า

  • คุณค่าโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึงข้อมูลที่แจ้งให้ทราบว่าหากรับประทานตามปริมาณที่ระบุไว้ใน ” หนึ่งหน่วยบริโภค “ แล้วจะได้รับสารอาหารอะไรเข้าไปบ้าง เช่น ปริมาณของไขมันรวมไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร โซเดียม น้ำตาล วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี แคลเซียม ธาตุเหล็ก หรือ สารอาหารชนิดอื่นๆ ที่มีอยู่ในบัญชีสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป
  • ปริมาณพลังงานและไขมันรวมหมายถึงข้อมูลที่แจ้งให้ทราบว่าหากรับประทานตามปริมาณที่ระบุไว้ใน “หนึ่งหน่วยบริโภค” แล้วจะได้รับพลังงานเท่าใด และมีพลังงานจากไขมันเท่าใด โดยสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงลดน้ำหนักควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้พลังงานต่ำและมีปริมาณไขมันที่น้อยด้วยโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และต้องปลอดจากไขมันทรานส์
  • ร้อยละของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน ( % Daily Value = % DV ) หมายถึงค่าเฉลี่ยของสารอาหารชนิดนี้ ว่าคุณค่าทางโภชนาการคิดเป็นร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวันได้เท่าไร เช่น หากฉลากระบุไว้ว่าหนึ่งหน่วยบริโภคของอาหารนี้ให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตคิดเป็น คือ 300 กรัมต่อวัน แต่หนึ่งหน่วยบริโภคให้คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 45 กรัม คิดเป็น ( 45/300 ) x 100 = 15 % ของที่แนะนำ ในวันนั้นเราต้องการอีก 85 เปอร์เซ็นต์จากอาหารอื่นๆ ( ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ( Thai RDI ) โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี )
  • ไขมันรวม หมายถึงปริมาณของไขมันทั้งหมดในอาหารชนิดนั้น ทั้งไขมันชนิดดี และไขมันชนิดไม่ดีผู้บริโภคควรเลือกอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำที่สุด หรือน้อยกว่า 1 กรัม ต่อ 1 หน่วยบริโภคและไม่ควรเกิน 3 กรัม ต่อ 1 หน่วย บริโภค 
  • ไขมันทรานส์ หมายถึง ไขมันชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อาจะทำให้เกิดโรคหัวใจได้ ควรเลือกอาหารที่มีไขมันทรานส์น้อยหรือหากไม่มีเลยจะดีที่สุด
  • โซเดียม หมายถึง ปริมาณโซเดียมที่มีในอาหาร หากได้รับมากจะมีผลเรื่องความดันโลหิต ดังนั้นควรเลือกอาหารที่มีโซเดียมไม่เกิน 140 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
  • โปรตีน หมายถึง ปริมาณโปรตีนที่มีในอาหารผู้บริโภคควรเลือกโปรตีนชนิดที่ดี เช่น เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ไข่ นมไขมันต่ำและถั่วประเภทต่างๆ เป็นต้น
  • คาร์โบไฮเดรต หมายถึง ปริมาณของสารอาหารคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วย น้ำตาล แป้ง และใยอาหารผู้บริโภคควรเลือกคาร์โบไฮเดรตชนิดดี เช่น เลือกข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต ธัญพืชไม่ขัดสี ผัก และผลไม้
  • ปริมาณน้ำตาล หมายถึง น้ำตาลที่ผสมอยู่ในอาหารชนิดนั้น อาจเป็นน้ำตาลทางธรรมชาติหรือน้ำตาลในรูปแบบอื่น เช่น น้ำตาลทราย หรือน้ำผึ้งก็ได้ผู้บริโภคควรเลือกอาหารที่มีเปอร์เซ็นต์ของน้ำตาลเป็นส่วนผสมให้น้อยที่สุด
  • เลือกอาหารที่มีสารอาหารที่ดี หมายถึง ผู้บริโภคอ่านฉลากและพิจารณาว่าอาหารนั้นๆ มีสารอาหารที่ดีและมีประโยชน์เป็นส่วนประกอบอยู่หรือไม่ เช่น ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็กและควรเลือกสารอาหารเหล่านี้ในปริมารที่มีเปอร์เซ็นต์ DV สูงๆเพื่อช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงภาวะกระดุกพรุนและโลหิตจาง

ตารางแสดงระดับพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน หมายถึง ปริมาณไขมันรวมและไขมันอิ่มตัวสูงสุด คอเลสเตอรอล คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร โซเดียม และอื่นๆ ที่ควรรับประทานในหนึ่งวัน

นอกจากนี้หากอาหารชนิดใด ที่มีองค์ประกอบของสารอาหารมากกว่าหนึ่งอย่าง ในฉลากก็ต้องระบุให้ครบ โดยจะทำ การแสดงองค์ประกอบอาหารที่มากสุดในฉลากเป็นอันดับแรกและจะเรียงลำดับไปหาองค์ประกอบที่น้อยสุด ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ก็จะมีประโยชน์สำหรับผู้บริโภคที่อาจจะแพ้องค์ประกอบของอาหารในบางชนิด เช่น ผงชูรส อาหารทะเล เพื่อจะหลีกเลี่ยง หรือเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ ก็จะทำให้เลือกอาหารได้ตามเป้าหมาย

ความหมายของข้ออ้างบนฉลากโภชนาการ

นอกจากข้อมูลทางโภชนาการ ในฉลากอาหารยังอาจมีการอ้างสรรพคุณ ( Claim ) อยู่ด้วย เพื่อเป็นการโฆษณาจุดขายของอาหารนั้นๆ เช่น เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ มีไขมันต่ำ หรือ คอเลสเตอรอลต่ำ เป็นต้น ซึ่งคำอ้างสรรพคุณต่างๆ จะต้องมีความหมายที่ชัดเจนไม่อ้างสรรพคุณเกินความจริง และต้องเป็นไปตามที่องค์การอาหารและยากำหนดไว้ 

ตัวอย่างข้อมูลการอ้างสรรพคุณในฉลากอาหาร

ตัวอย่างข้อมูลการอ้างสรรพคุณในฉลากอาหาร

1. ปลอดพลังงาน ( Calorie Free )   คือ มีพลังงานน้อยกว่า 5 กิโลแคลอรีต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

2. พลังงานต่ำ ( Low Calorie ) คือ มีพลังงานต่ำกว่า 40 กิโลแคลอรีต่อหนึ่งหน่วยบริโภค มีพลังงานต่ำลง 1 ใน 3 หรือมีไขมันน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ปกติ 50 เปอร์เซ็นต์

3. ปลอดไขมัน ( Fat Free ) คือ มีไขมันน้อยกว่า 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

4. ไขมันต่ำ ( Low Fat ) คือ มีไขมันต่ำกว่า 3 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

5. ลดไขมัน ( Saturated fat / Less Fat ) คือมีไขมันลดลงอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคเมื่อเทียบกับสูตรปกติ

6. คอเลสเตอรอลต่ำ ( Low Cholestero ) คือ มีคอเลสเตอรอลไม่เกิน 20 มิลลิกรัมหรือไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 2 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

7. ปลอดคอเลสเตอรอล ( Cholesterol Free ) คือ มีคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 2 มิลลิกรัมหรือไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 2 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

8. ปลอดน้ำตาล ( Sugar Free ) คือ  มีน้ำตาลต่ำกว่า 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

9. ไม่เติมน้ำตาล ( No Added Sugar ) คือ ไม่เติมน้ำตาลในระหว่างกระบวนการผลิตหรือกระบวนการผลิตไม่ทำให้มีน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิมในธรรมชาติ

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FDA ได้กำหนดให้บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ต้องอ้างสรรพคุณเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคสามารถพิจารณาได้ว่า อาหารเหล่านั้นเหมาะสมกับตนเองหรือไม่ โดยผู้บริโภคจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า อาหารนั้นมีสารอาหารที่ต้องการสูงหรือไม่ และสามารถช่วยลดความเสี่ยงโรคบางชนิดได้ เช่น หากในอาหารมีแคลเซียมสูงก็จะส่งผลดีกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องกระดูกพรุน หรือ อาหารนั้นมีไขมันสูง ผู้ที่มีโรคหัวใจก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงนั้นเอง

2. การจดบันทึกและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การจดบันทึกและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คือ การบันทึกข้อมูลของอาหารและเครื่องดื่ม ชนิดอาหาร สัดส่วนอาหาร เวลาและ สถานที่ ในของแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า จนถึงเวลาเข้านอน มีจุดประสงค์ในการทำคือ เพื่อช่วยให้เข้าใจ พฤติกรรมการบริโภค ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ และจะได้นำสาเหตุที่ได้มาหาแนวทางแก้ไขและป้องกัน ตลอดจนปรับพฤติกรรมในการทานอาหารให้ดีขึ้นต่อไป

ตัวอย่างพฤติกรรมที่ทำให้อ้วนและแนวทางแก้ไข

1. ทานอาหารในตอนกลางคืน   

คนที่ชอบทานอาหารในเวลากลางคืน หรือช่วงเวลาก่อนเข้านอน มักจะพบกับปัญหาที่ทำให้อ้วนได้ง่ายกว่าปกติ

แนวทางแก้ไข : ทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ และตรงเวลา และควรทานอาหารมื้อเย็นก่อนเข้าน้อยอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง

2. ทานอาหารมากเกินพิกัด 

การทานอาหารที่มากและเกินความจำเป็นต่อร่างกาย  ทำให้ร่างกายมีพลังงานส่วนเกินไปสะสมในรูปแบบของไขมัน  เมื่อบ่อยๆเข้าก็จะทำให้อ้วนได้นั้นเอง

แนวทางแก้ไข : ศึกษาปริมาณสัดส่วนของอาหารที่เหมาะสมต่อร่างกายในแต่ละวัน และทานแค่ปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละมื้อ

3. ทานอาหารสนองความรู้สึกทางอารมณ์

การใช้วิธีการทานอาหารต่างๆ เข้าไปเพื่อสนองความรู้สึกทางอารมณ์ของตนเอง เช่น  อารมณ์เครียด หรือเบื่อ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความอ้วนได้ง่ายอีกสิ่งหนึ่ง

แนวทางแก้ไข : ใช้กิจกรรมอื่น ในการบำบัดอารมณ์ แทนการกิน เช่น เดินเที่ยว ออกกำลังกาย ดูหนังฟังเพลง และพยายามควบคุมอารมณ์ตนเองให้อยู่ในภาวะที่ดีเสมอ 

4. ทานอาหารว่างบ่อยเกินไป 

นอกจากอาหารในมื้อหลักแล้ว ผู้ที่อ้วนมักจะมีการกินจุกกินจิกตลอดเวลา

แนวทางแก้ไข : หลีกเลี่ยงการนำอาหารว่างต่างๆ มาวางใกล้ตัวหรืออยู่ในระดับสายตา เพราะอาจจะทำให้เกิดความอยากได้ และ ควรเปลี่ยนประเภทอาหารว่างเป็นสิ่งที่ให้พลังงานน้อย เช่น ผลไม้ หรือ ธัญพืชต่าง แทนการทานอาหารว่างประเภทขนมคบเคี้ยวต่างๆ

5. งดอาหารมื้อหลัก

การงดอาหารมื้อหลัก จะส่งผลให้สามารถทานอาหารในมื้อถัดไปได้มากขึ้น  ทำให้ได้รับพลังงานมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ

แนวทางแก้ไข : ควรทานอาหารมื้อหลักให้ครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าเป็นมื้อที่มีวามสำคัญต่อร่างกายมาก

6. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแคลอรีสูงเกินไป

เครื่องดื่มในปัจจุบันหลายชนิดให้แคลอรี่ที่สูงพอๆกับในอาหารเลยทีเดียว  เช่น กาแฟเย็น ชาเขียวชนิดหวาน รวมถึงประเภทเครื่องดื่มชนิดแอลกอฮอล์ด้วย

แนวทางแก้ไข : เลือกทานเครื่องดื่มที่ให้พลังงานต่ำ และมีน้ำตาลน้อย โดยเฉพาะน้ำเปล่า เป็นสิ่งที่ดีที่สุด

7. ทานอาหารนอกบ้านบ่อยๆ

การทานอาหารนอกบ้าน ทำให้ได้เจอเมนูแปลกๆและอร่อย อาจทำให้ทานได้มากกว่าปกติ และยังไม่สามารถควบคุมปริมาณของส่วนผสมในอาหารเหมือนการทำทานเองอีกด้วย

แนวทางแก้ไข : ทานอาหารนอกบ้านให้น้อยลงกว่าเดิม หรือวางแผนเมนูก่อนสั่งอาหารทานนอกบ้าน โดยเน้นอาหารที่ไขมันต่ำ และทานแค่ในปริมาณที่เหมาะสม

จะเห็นได้ว่าการใช้วิธีการติดตามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เป็นวิธีที่ดีและมีประโยชน์อย่างมาก ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ต้นเหตุของการเกิดโรคอ้วนได้ ว่ามีสาเหตุมาเกิดจากอะไร เนื่องจากการเป็นโรคอ้วนในแต่ละคนนั้น ล้วนมีหลายปัจจัยสาเหตุแตกต่างกันออกไป การหาต้นตอของสาเหตุ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาของโรคอ้วนได้ง่ายขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Whitlock, EP (October 2011). “Screening for and management of obesity and overweight in adults”. Evidence Syntheses, No. 89. U.S. Agency for Healthcare Research and Quality (AHRQ). Retrieved 27 June 2013.

Bray, G. A. (2008). “Weight Loss and Blood Pressure Control (Pro)”. Hypertension. 51 (6): 1420–1425.

การตรวจการทำงานของตับ ( Liver Function Test )

0
ตรวจการทำงานของตับ ตับคืออะไร มีหน้าที่อะไร?
การตรวจตับ เป็นการเช็คการทำงานของตับ และตรวจการเสี่ยงในการเป็นโรค
ตรวจการทำงานของตับ ตับคืออะไร มีหน้าที่อะไร?
การตรวจตับ เป็นการเช็คการทำงานของตับ และตรวจการเสี่ยงในการเป็นโรค

การตรวจการทำงานของตับ

การตรวจการทำงานของตับ ( Liver Function Test ) คือ การตรวจสอบเช็คสุขภาพของตับ ว่ายังทำงานได้ดีมากน้อยเพียงใด หรือมีภาวะสุ่มเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวตับหรือไม่อย่างไร โดยวัดค่าเอนไซม์และโปรตีนในเลือด ซึ่งมีวิธีการตรวจในทางการแพทย์ดังนี้

1. วิธีการตรวจหาโปรตีนที่สร้างจากตับ  เนื่องจากในตับมีโปรตีนหลายชนิด การเกิดภาวะโรคหลายชนิด เช่น โรคตับ โรคไต มะเร็ง ขาดอาหาร จะไปทำให้ค่าโปรตีนในตับผิดปกติ โดยโปรตีนที่ใช้ตรวจได้แก่

  • Globulin เป็นโปรตีนที่สร้างจากตับและเม็ดเลือดขาว
  • Albumin เป็นโปรตีนที่สร้างจากตับ ถ้าตับสร้างสารนี้ไม่ได้ก็จะเกิดการบวมน้ำ

2. วิธีการตรวจเอนไซม์จากตับ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมและให้ผลการตรวจที่แม่นยำ หากมีการทำลายหรือการอักเสบของตับเกิดขึ้น จะมีการหลั่งเอนไซม์ประเภทนี้ ออกจากตับสู่กระแสเลือด.ในปริมาณที่ผิดปกติ มีวิธีดังต่อไปนี้

2.1 การตรวจ  AST ( SGOT) พบได้ในตับ ไต เนื้อเยื่ออื่นๆ หากค่าที่ตรวจได้ มีค่าสูงกว่าปกติ ก็อาจเป็นตัวบ่งชีว่า มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับตับ ได้

2.2 การตรวจ  ALT ( SGPT ) พบมากในตับและไต พบน้อยในกล้ามเนื้อหัวใจ และตับอ่อน หากมีค่าสูงก็อาจจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงในการเป็น โรคตับอักเสบและโรคตับแข็ง

ตับ ( liver ) คือ

ตับ ( liver ) เป็นอวัยวะประเภทต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่บริเวณในช่องท้องชิดติดกับกะบังลม ค่อนไปทางฝั่งขวา มีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง มีลักษณะรูปทรงคล้ายรูปสามเหลี่ยม สีออกแดงปนน้ำตาล มีขนาดน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.3 ถึง 1.5 กิโลกรัม เป็นอวัยวะที่มีแค่ชิ้นเดียวในร่างกาย แต่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ตับซีกซ้ายและตับซีกขวาหลอดเลือดที่สำคัญในตับ ซึ่งภายในตับจะประกอบไปด้วย หลอดเลือดสำคัญที่ใช้ทำหน้าที่ในการผ่านเข้า – ออกจำนวน 3 ช่องทาง คือ

1. Hepatic Portal Vein คือ หลอดเลือดดำจากลำไส้ มีหน้าที่นำเลือดดำจากลำไส้ที่เพิ่งผ่านการย่อยและอุดมไปด้วยกลูโคส สารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่มาส่งให้ยังตับเพื่อนำไปคัดแยกประเภท ก่อนนำไปใช้งานอื่นๆในร่างกายต่อไป

2. Hepatic Artery คือ หลอดเลือดแดงจากหัวใจ มีหน้าที่นำเลือดแดงที่อุดมด้วยออกซิเจนมาส่งยังเซลล์ตับ ขณะเดียวกันก็รับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นของเสียจากตับส่งออกกลับไปทางหลอดเลือดดำ ไปที่หัวใจและปอดเพื่อดำเนินการตามกลไกร่างของกายต่อไป 

3. Hepatic Vein คือ หลอดเลือดดำจากตับสู่หัวใจ มีหน้าที่นำเลือดดำที่อุดมสมบรูณ์ไปด้วยสารอาหารต่างๆซึ่งตับได้รับมา และได้ดำเนินกรรมวิธีทางร่างกายเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่น กลูโคส ไตรกลีเซอไรด์ โปรตีนชนิดต่างๆ ( อัลบูมิน, โกลบูลิน ) คอเลสเตอรอล วิตามิน แร่ธาตุ เป็นต้น ส่งผ่านไปยังหลอดเลือดดำขึ้นไปสู่หัวใจ เพื่อให้เข้าสู่ระบบการไหลเวียนโลหิต และเพื่อส่งให้เซลล์ต่างๆ ของอวัยวะเป้าหมาย ในร่างกายได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้

การทำงานของตับ ( Liver function )

หากให้อธิบายหน้าที่ของตับ เราสามารถจำกัดความได้สั้นๆก็คือ  “ ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านภายในร่างกาย ” เนื่องจาก ตับจะคอยทำหน้าที่ทั้งเป็นผู้ผลิต ผู้รับและเก็บรักษาวัตถุดิบ คอยตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบก่อน แจกจ่ายไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย นอกจากนี้ยังรวมถึงการรับและขจัดของเสียส่วนเกินจากร่างกายออกไปด้วย ซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียดและแบ่งเป็นข้อๆได้ดังนี้

1. ตับเป็นผู้ผลิต ในแต่ละวันที่เราทานอาหารต่างๆ เข้าไป ร่างกายจะไม่สามารถใช้งานจากอาหารนั้นได้ทันที ซึ่งอาหารเหล่านั้นจะต้องผ่านกระบวนการย่อยอาหารจาก ลำไส้เล็ก และ กระเพราะอาหารเสียก่อน  แล้วจึงส่งไปให้ตับผลิตเป็นอาหารที่ร่างกายสามารถเอาไปใช้งานได้ต่อไป  เช่น

  • น้ำตาลกลูโคส ที่เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย
  • โปรตีน เพื่อนำไปใช้ซ่อมแซมอวัยวะที่สึกหรอทั่วร่างกาย รวมทั้งโปรตีนที่จำต้องใช้งานอื่นๆ อีกมากมาย เช่น สารทำให้เลือดแข็งตัว Coagulation อัลบูมิน โกลบูลิน เป็นต้น
  • น้ำดี เพื่อใช้ย่อยอาหารประเภทไขมัน ขณะเดียวกัน ก็ใช้ท่อน้ำดีเป็นช่องทางในการส่งของเสีย หรือของมีพิษที่ตับกรองเก็บไว้ ให้พ้นออกไปกับกากอาหารทางลำไส้และจะขับถ่ายออกมาทางอุจาระต่อไป
  • สารประเภทไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไลโปโปรตีน LDL,HDL เป็นต้น

2. ตับเป็นหน่วยคลังเก็บรักษา ตับจะทำหน้าที่เป็นผู้เก็บสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามินต่าง ( A, D, K, B12 ) ไกโคนเจน เป็นต้น เอาไว้ใช้ในยามจำเป็นเมื่อร่างกายต้องการหรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

3. ตับเป็นหน่วยรักษาความสะอาด ตับยังเป็นผู้รักษาความสะอาดในร่างกายของมนุษย์ด้วย โดยตับจะทำ หน้าที่ในการกำจัดขยะ ของมีพิษ หรือทำของมีพิษให้หมดพิษไป ตัวอย่างขยะหรือสิ่งมีพิษที่สำคัญ เช่น

  • แอมโมเนีย ( Ammonia ) เป็นขยะที่เกิดจากการย่อยสลายอาหารประเภทโปรตีน โดยตับจะทำการเปลี่ยน แอมโมเนีย ให้กลายเป็นยูเรีย จากนั้นจึงส่งไปยังกรวยไต เพื่อขับออกทางปัสสาวะ
  • สารบิลิรูบิน ( Bilrubin ) เป็นขยะที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงที่ตายแล้ว ปกติเม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ 120 วันโดยเม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วจะถูกม้ามทำลาย และเปลี่ยนสภาพให้เป็นสารสีเหลืองไปเกาะกับอัลบูมิน ลอยไปตามกระแสเลือด เพื่อรอให้ตับนำไปย่อยสลายเป็นสารบิลิรูบิน แล้วส่งผ่านไปทางท่อน้ำดีไปถึงลำไส้รอการขับถ่ายเป็นอุจจาระต่อไป
  • ฮอร์โมน ( Hormones ) เป็นขยะที่เกิดจากฮอร์โมนที่หมดอายุหรือมากเกินความจำเป็น ตับก็จะจัดการเก็บมาเพื่อทำลายทิ้งต่อไป
  • ยา ( Medicine ) ถือเป็นสารเคมี หรือสิ่งแปลกปลอม ที่ตับไม่รู้จัก ที่มีการผ่านเข้ามาในกระแสเลือด ตับจึงมองว่าเป็นสารมีพิษ จึงทำการกักเอาไว้ และจะทำการระบายขับทิ้งเป็นของเสียต่อไป
  • แอลกอฮอล์ ( Alcohol ) ที่พบได้ในเครื่องดื่มต่างๆ โดยตับจะมองว่าเป็นสารพิษและหาทางในการขับออกจากร่างกายเช่นกัน ซึ่งหากร่างกายมีการได้รับเป็นปริมาณมาก ติดต่อกันนานๆ จนตับไม่สามารถรับไหว ก็อาจจะทำให้เกิดโรคตับอักเสบหรือตับแข็งได้
  • สารพิษ ( Toxin ) คือสารพิษจำพวกต่างๆ ที่ร่างกายได้รับ  เช่น  ยาฆ่าแมลงจากผักและผลไม้ อาหารที่เป็นพิษ อาหารเน่าเสีย เป็นต้น  เมื่อสิ่งพวกนี้เข้าสู่ร่างกาย ตับจะทำการจัดการกับสารพิษเหล่านี้ตามกระบวนการต่อไป

ดังนั้น ตับจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อร่างกายมาก เพราะหากตับถูกทำลายหรือมีการทำงานของตับ ( Liver function ) การทำงานที่บกพร่อง สารพิษต่างๆที่เข้าไปในร่างกาย จะไม่สามารถถูกขับออกมาได้เลย จะยังคงสะสมในร่างกายจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้นั้นเอง

โรคเกี่ยวกับตับที่พบได้บ่อยๆ

เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่ต้องรับมือกับสารพิษหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าไปในร่างกาย  จึงอาจจะทำให้ตับต้องทำงานหนักและมีความเสี่ยงในโรคที่สามารถพบได้บ่อยๆ ดังนี้

1. โรคตับอักเสบ ( Hepatitis ) มีสาเหตุหลักเกิดจาก การดื่มสุราเรื้อรัง สารพิษต่างๆที่มากเกินไป จนทำให้เซลล์ของตับตายหรือเกิดการอักเสบขึ้นได้

2. โรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) มักเป็นโรคที่เกิดต่อเนื่องจากผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบมาก่อน เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นซ้ำๆ จะทำให้เนื้อเยื่อที่ดีของตับถูกทำลาย เกิดเป็นแผลจนในที่สุดก็จะกลายเป็นโรคตับแข็ง

3. โรค Haemochromatosis เกิดจากร่างกายได้รับปริมาณของธาตุเหล็กมากเกินไป จนตับต้องเก็บรวมเอาไปไว้เพื่อไม่ให้ไปเกิดพิษกับอวัยวะอื่นๆ  เมื่อมากเกินที่ตับจะรับไหว ก็จะทำให้เกิดการย้อนกลับมาทำลายเซลล์ตับนั้นเอง

4. โรคมะเร็งตับ ( Liver Cancer ) เกิดจากเชื้อมะเร็งซึ่งอาจเกิดในตับเอง หรือมีการแพร่กระจายเชื้อมะเร็งมาจากอวัยวะอื่นๆได้เช่นกัน

5. โรค Wilson’s Disease เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารประเภททองแดงมากเกินไป และไม่สามารถขับออกได้หมด จนไปเกิดการสะสมที่ตับ

6. โรคมะเร็งในท่อน้ำดี ( Disease of Bile Duct ) เกิดจากการที่ตับมีการอักเสบหรือมีเชื้อมะเร็งเกิดขึ้น จึงทำให้การผลิตน้ำดีบกพร่องตามไปด้วย

7. โรคท่อน้ำดีแข็งตัว เกิดจากการอักเสบของท่อน้ำดี จนเกิดเป็นแผล ทำให้เกิดการอุดตันการไหลของน้ำดีไปยังระบบทางเดินอาหาร หากเป็นเรื้อรังจะทำให้เกิดตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับขึ้นได้

8. สภาวะ Budd – Chiari Syndrome  เป็นสภาวะโรคที่มีสาเหตุมากจากการอุดตันที่หลอดเลือดดำเส้นที่ชื่อว่า Hepatic Vein  

จากข้อมูลการตรวจการทำงานของตับที่กล่าวมาทั้งหมด คงพอสรุปได้ว่าตับเป็นอวัยวะอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์เราอย่างมาก ไม่น้อยไปกว่า สมองหรือหัวใจเลย ตับเปรียบเสมือนแม่บ้านในร่างกาย เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้เก็บรักษาและยังคอยทำหน้าที่ขจัดสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกายอีกด้วย ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพตับให้แข็งแรงดีอยู่เสมอ  และต้องรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่างๆ ที่จะส่งผลเสียต่อตับได้ เช่น การดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก เป็นต้น  และควรหมั่นไปตรวจสุขภาพให้แพทย์ ใช้วิธีการตรวจสมรรถภาพของตับ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะตับมีเพียงชิ้นเดียวในร่างกาย หากตับเสื่อมไปก็อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

McClatchey, Kenneth D.(2002). Clinical laboratory medicine. Lippincott Williams & Wilkins.  Retrieved 5 August 2011.

Nyblom H, Berggren U, Balldin J, Olsson R (2004). “High AST/ALT ratio may indicate advanced alcoholic liver disease rather than heavy drinking”. Alcohol Alcohol.

Nyblom H, Björnsson E, Simrén M, Aldenborg F, Almer S, Olsson R (September 2006). “The AST/ALT ratio as an indicator of cirrhosis in patients with PBC”. Liver Int. 26.

Mengel, Mark B.; Schwiebert, L. Peter (2005). Family medicine: ambulatory care & prevention. McGraw-Hill Professional.

การตรวจสาร Serum Glutamic Pyruvate Transaminase ( SGPT ) ในตับ

0
การตรวจสาร SGPT (เอส จี พี ที) ในตับ
SGPT คือ เอนไซม์ที่ประกอบด้วยโปรตีนอยู่ภายในเลือดโดยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่อวัยวะต่างๆ
การตรวจสาร SGPT (เอส จี พี ที) ในตับ
SGPT คือ เอนไซม์ที่ประกอบด้วยโปรตีนอยู่ภายในเลือดโดยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่อวัยวะต่างๆ

SGPT ALT คืออะไร

SGPT ALT คือ การตรวจที่แพทย์มักใช้ไปประกอบกับค่าการตรวจอื่น ๆ เพื่อที่จะให้ผลการตรวจที่ได้ออกมามีความแม่นยำมากที่สุดค่า โดยค่าต่างๆในเลือดที่จะนิยมตรวจพร้อมกัน 3 ชนิดคือ SGOT หรือ AST , Alk. Phosphatase หรือ ALP, Lactate Dehydrogenase หรือค่า LDH นั่นเอง

การตรวจ SGPT หรือ ALT จะใช้สำหรับการตรวจสุขภาพของตับเป็นหลักซึ่งค่าที่ออกมามักให้ความน่าเชื่อถือที่ดีมากกว่า ค่าผลการตรวจเลือดชนิดอื่น เช่น SGOT แต่ถึงยังไงก็แล้วแต่การตรวจหาค่าความผิดปกติของตับ ก็มักจะใช้ค่าการตรวจเลือดวิธีอื่นๆเข้ามาประกอบด้วยเสมอ

การตรวจสารเซรั่มกลูตามิก ( SGPT ) ในตับ

การตรวจการทำงานของตับจากการตรวจหาสาร Serum Glutamic Pyruvate Transaminase หรือเรียกว่า SGPT ALT หรือชื่อ Alanine Transaminase ในตับ คือ ร่างกายคนเราจะมีเอนไซม์ที่ประกอบด้วยโปรตีนอยู่ภายในเลือดโดยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่อวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ กล้ามเนื้อ และอื่นๆ ก็จะทำให้ค่าของ SGPT เปลี่ยนแปลงไปจากค่ามาตรฐานปกติซึ่งในตับนั้น ค่า SGPT จะ ให้ค่าผิดปกติที่แสดงออกมามากกว่าอวัยวะชนิดอื่น แต่ทั้งนี้ ค่า SGPT ที่ได้ออกมาก็ไม่สามารถบ่งบอกได้ว่ามาจากอวัยวะชนิดใดการตรวจ SGPT หรือ ALT

จุดประสงค์ในการตรวจเซรั่มกลูตามิก

1. การตรวจตับ หรือ การตรวจ Serum Glutamic Pyruvate Transaminase ( SGPT ) คือ การตรวจสอบในความเสียหายของตับจากเหตุการณ์ต่างๆ ว่ามีความเสียหายหรือผลกระทบมากน้อยเท่าไหร่

2. ใช้ตรวจกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคดีซ่าน เพื่อหาสาเหตุของโรคว่าเกิดมาจากโรคเลือด หรือมาจากกินยาลดคอเลสเตอรอลหรือสาเหตุอื่นๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรักษาต่อไป

3. ใช้ตรวจกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคตับ และต้องการทราบความชัดเจนว่า มีสาเหตุของโรคมาจากเหตุอะไร และระดับของโรคอยู่ในช่วงใดแล้ว เป็นตับอักเสบหรือตับแข็งการตรวจ Serum Glutamic Pyruvate Transaminase ( SGPT ) หากต้องการให้ค่าที่ออกมาได้ผลตรงที่สุด ต้องทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่จะตรวจ SGPT ต้องงดอาหารและเครื่องดื่มก่อนตรวจเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ( ยกเว้นน้ำดื่ม )
  • งดทานยาทุกชนิดก่อนที่จะไปรับการตรวจล่วงหน้าหลายๆวัน หากมียาจำเป็นที่ต้องทานควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากยาบางตัวจะส่งผลทำให้ค่า SGPT ที่ได้ออกมาผิดเพี้ยนไป
  • งดทานอาหารแปลกๆ อาหารพื้นเมือง หรือสมุนไพรต่างๆ ตามความเชื่อ เช่น อุ้งตีนหมี สมองลิง ดีงู เป็นต้น ก่อนการตรวจ SGPT หลายวัน
  • ไม่ควรออกกำลังกายแบบหนักๆหรือหักโหมจนเกินไป ช่วงก่อนวันที่จะไปตรวจ SGPT
  • หากเพิ่งผ่านพ้นจากการผ่าตัด หรือ มีการใส่หลอดโลหะขยายหลอดเลือดกล้ามเนื้อหัวใจ ในทุกกรณี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพราะองค์ประกอบเหล่านี้ล้วนทำให้ค่า SGPT ที่ตรวจได้มีความคาดเคลื่อนสูง

การตรวจค่ามาตรฐานของ Serum Glutamic Pyruvate Transaminase ( SGPT ) หรือ ALT ของคนปกติ

ผู้ชาย SGPT ค่ามาตรฐานอยู่ระหว่าง 10 – 40 U/L
ผู้หญิง SGPT ค่ามาตรฐานอยู่ระหว่าง 7 – 35 U/L

 

สำหรับผู้ที่ตรวจ Serum Glutamic Pyruvate Transaminase ( SGPT ) หรือ ALT และการอ่านค่าตับที่ได้ออกมาได้ ไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถที่จะสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. กรณีค่า SGPT หรือ ALT ต่ำกว่าปกติในการตรวจมักจะไม่พบ กรณีค่า SGPT หรือ ALT ต่ำกว่าปกติ

2. กรณีค่า SGPT หรือ ALT สูงกว่าปกติสามารถแบ่งได้ตามระดับความสูงของค่า ดังนี้

2.1 SGPT หรือ ALT ระดับที่ตรวจได้มีค่าสูงกว่าปกติเล็กน้อยมีสาเหตุดังต่อไปนี้

  • อาจมีไขมัน สะสมแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อของตับ ปริมาณสูงเกินกว่าปกติ
  • อาจได้ทานยาบางชนิดอยู่เป็นประจำ หรือทานอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน เช่น
กลุ่มยา Statin ใช้สำหรับลดระดับคอเลสเตอรอล
กลุ่มยา Antibiotics ใช้ฆ่าเชื้อจุลชีพก่อโรค
กลุ่มยา
Chemotherapy ใช้รักษาโรคมะเร็ง
กลุ่มยา Aspirin ใช้แก้ปวด ใช้รักษาให้เลือดหายข้น
กลุ่มยา Narcotics ใช้เนื่องจากติดในผู้ที่ติดยาเสพติดต่าง ๆ
กลุ่มยา Barbiturates ใช้แก้อาการโรคซึมเศร้า หรือปัญหาการนอนไม่หลับ
  • ค่า Serum Glutamic Pyruvate Transaminase ( SGPT ) ที่สูงผิดปกติอาจเกิดได้กรณีที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ที่ยังแสดงอาการไม่มาก แต่ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดโรคตับแข็ง ขึ้นได้

SGPT คือเอนไซด์ที่ประกอบด้วยโปรตีนอยู่ภายในเลือดโดยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่อวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ กล้ามเนื้อฯลฯ ค่าของ SGPT ก็จะเปลี่ยนแปลงไป

2.2 Serum Glutamic Pyruvate Transaminase ( SGPT ) หรือ ALT ระดับที่ตรวจได้มีค่าสูงกว่าปกติปานกลางมีสาเหตุดังต่อไปนี้

  • อาจจะเกิดจากการดื่มสุรามากและติดต่อกัน จนกลายเป็นโรคติดสุราเรื้อรัง
  • อาจเกิดจากการกินยาเกินขนาด ในกลุ่มของยาพาราเซตามอล
  • อาจเกิดจากโรคตับอักเสบ
  • อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ทางน้ำลาย

2.3 Serum Glutamic Pyruvate Transaminase ( SGPT ) หรือ ALT ระดับที่ตรวจได้มีค่าสูงกว่าปกติมากมีสาเหตุดังต่อไปนี้

  • ร่างกายอาจได้รับสารตะกั่ว จนตับเกิดความเสียหายจากพิษของตะกั่ว
  • อาจจะเกิดจากการที่ร่างกายได้รับยารักษาโรคบางตัว ที่ไปส่งผลให้ตับ มีการเป็นพิษร้ายแรง
  • อาจจะเกิดจากการที่ตับได้รับความเสียหายหรือมีความผิดปกติ จากการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซึ่งโรคนี้มีความอันตรายค่อนข้างมากเนื่องจาก จะมีผลต่อเนื่องให้ตับทรุดหนักลงไปจนถึงโรคตับแข็งหรืออาจจะเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด และเป็นโรคที่ไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพทั่วไป
  • ร่างกายอาจได้รับสารพิษอย่าง ” คาร์บอนเตตราคลอไรด์ “ โดยสารนี้จะอยู่ในอุปกรณ์เครื่องดับเพลิง
  • เกิดจากสาเหตุของโรคมะเร็งตับ โดยมีผลทำให้ร่างกายแสดงค่า SGPT ในระดับที่สูงมาก
  • ร่างกายเกิดอาการช็อกหรือหัวใจปั๊มเลือดไม่ทัน ทำให้ตับได้รับเลือดไปเลี้ยงต่ำกว่าปกติ ทำให้เซลล์ตับบางตัวเสียหายและตายไป

การตรวจ Serum Glutamic Pyruvate Transaminase ( SGPT ) หรือ ALT จะใช้สำหรับการตรวจสุขภาพของตับเป็นหลักซึ่งค่าที่ออกมามักให้ความน่าเชื่อถือที่ดีมากกว่า ค่าผลการตรวจเลือดชนิดอื่น เช่น SGOT แต่ถึงยังไงก็แล้วแต่การตรวจหาค่าความผิดปกติของตับ ก็มักจะใช้ค่าการตรวจเลือดวิธีอื่นๆเข้ามาประกอบด้วยเสมอ เพื่อให้ผลตรวจที่ได้ออกมามีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด และจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการรักษาทางแพทย์ต่อไป

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0

Koski RR (2008). “Omega-3-acid Ethyl Esters (Lovaza) For Severe Hypertriglyceridemia”. Pharmacy and Therapeutics. 33 (5): 271–303. PMC 2683599 Freely accessible.

Watkins PB, Kaplowitz N, Slattery JT, Colonese CR, Colucci SV, Stewart PW, Harris SC (July 2006). “Aminotransferase elevations in healthy adults receiving 4 grams of acetaminophen daily: a randomized controlled trial”. JAMA. 296

Association for Clinical Biochemistry and Laboratory Medicine. Retrieved 7 October 2013.

Paul T. Giboney M.D., Mildly Elevated Liver Transaminase Levels in the Asymptomatic Patient, American Family Physician.

การตรวจหาสาร Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) ในตับ

0
การตรวจหาสาร SGOT ในตับ (เอส จี โอ ที)
SGOT เป็นเอนไซม์ที่ใช้ช่วยตรวจภาวะโรคตับ และภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหัวใจ
การตรวจหาสาร SGOT ในตับ (เอส จี โอ ที)
SGOT เอนไซม์ของเม็ดเลือดแดงที่ใช้ช่วยตรวจภาวะโรคตับ และภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหัวใจ

Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) คือ

เซรั่มกลูตามิกอ็อกซาโลเอเซติก ทรานซามิเนส Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) เป็น เอนไซม์ที่อาจตรวจพบได้ในเลือด จากกรณีมีเหตุสำคัญ หรือมีโรคร้ายแรงซึ่งมากระทบต่ออวัยวะ หรือเนื้อเยื่อของร่างกาย โดย SGOT อาจจะมาจากเอนไซม์ของเม็ดเลือดแดง หัวใจ กล้ามเนื้อ ตับอ่อน ไต หรือตับ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งในตับมีจะความไวต่อโรคมากหรือการที่มีสภาวะแวดล้อมที่มากระทบ เช่น สารพิษ จะไปทำให้ค่าของ SGOTสูงขึ้นตามไปด้วย ค่า SGOT ที่มีค่าสูงขึ้นหลังจากมีเหตุเกิดขึ้นแล้ว จะใช้ระยะเวลานานกว่า 6-10 ชั่วโมง และจะอยู่ในค่าระดับนี้อาจนานถึง 4 วัน เลยทีเดียว

การตรวจหาสารวัดค่าตรวจตับ

การตรวจหาสารวัดค่าตรวจตับ เซรั่มกลูตามิกอ็อกซาโลเอเซติก ทรานซามิเนส Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) มีชื่ออื่นว่า AST, Aspartate Transaminase ค่าเอนไซม์ AST เป็นเอนไซม์ที่ใช้ช่วยตรวจภาวะโรคตับ โดยจะพบเอนไซม์ AST มากที่ตับและกล้ามเนื้อหัวใจ คือ เอนไซม์ที่ประกอบด้วยโปรตีนที่ตับสร้างขึ้น เอนไซม์ตัวนี้อาจมีการหลั่งสูงมากกว่าปกติ ในกรณีที่ตับทำ งานผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งจะมีสาเหตุจากหลายๆอย่าง เช่น ภาวะเครียดเรื้อรัง พักผ่อนไม่พอจนเกิดอาการอ่อนเพลีย ดื่มสุราหนักเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรัง ไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง มะเร็งตับ โรคดีซ่าน และการใช้ยาบางชนิดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

วิธีการตรวจหา Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) คือ อะไร

คือการตรวจค่าสัญญาณในตับ เพื่อใช้ช่วยตรวจวินิจฉัยภาวะโรคตับและภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือวิเคราะห์ค่าสัญญาณของโรคตับ

จุดประสงค์ในการตรวจ Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT )

1. ตรวจสุขภาพตับ เพื่อหาความผิดปกติต่างๆ

2. ตรวจในกรณีมีอาการดีซ่าน เพื่อหาสาเหตุว่ามาจากโรคเลือด หรือจากโรคตับ

3. เพื่อตรวจสอบอาการผิดปกติที่ร่างกายเป็นว่า มาจากโรคตับอักเสบ หรือ โรคตับแข็งหรือไม่

4.ตรวจติดตามผลการรักษา ในกรณีที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ และได้มีการรักษาอยู่ก่อนแล้ว

5. ตรวจหาสาเหตุของความผิดปกติในร่างกายต่างๆ ว่าเกี่ยวกับตับหรือไม่ เช่น ปวดช่องท้องส่วนบน มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง

6. ตรวจและติดตามผล หรือพิษจากยาลดคอเลสเตอรอล หรือจากยารักษาโรคอื่นว่า ได้สร้างความเสียหายให้แก่ตับหรือไม่ เช่น ยารักษาระดับไขมันในร่างกาย

ค่ามาตรฐานของการตรวจหาค่า SGOT หรือ AST ของคนปกติ
ผู้ชาย ค่า SGOT มาตรฐานอยู่ระหว่าง 14 – 20 U/L
ผู้หญิง ค่า SGOT มาตรฐานอยู่ระหว่าง 10 – 36 U/L

 

ค่าผิดปกติของ Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) หรือ AST

1. ในกรณีที่ SGOT หรือ AST ต่ำกว่าค่ามาตรฐานโดยส่วนมากถือว่าไม่พบความผิดปกติใด

2. ในกรณีที่ SGOT หรือ AST สูงกว่าค่ามาตรฐานอาจแสดงผลในด้านสุขภาพทั่วไป ดังต่อไปนี้

2.1 อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดเซลล์เม็ดเลือดแดงลดจำนวนน้อยลงอย่างเฉียบพลัน

2.2 อาจเกิดสภาวะเลือดแดงไหลผ่านเข้าตับได้น้อยกว่าปกติ ทำให้เซลล์ตับตายลงเฉพาะที่

2.3 อาจเกิดโรคตับอักเสบ

2.4 อาจเกิดจากสภาวะเซลล์ตับตายลงบางส่วน

2.5 อาจเกิดสภาวะเม็ดเลือดแดงสีซีดลง อันเนื่องมาจากพันธุกรรม

2.6 อาจเกิดโรคมะเร็งตับ

2.7 อาจเกิดจากมีอาการของโรคชัก มาไม่นาน

2.8 อาจเกิดโรคกล้ามเนื้อลีบขั้นร้ายแรง

2.9 อาจเกิดโรคหัวใจ

2.10 อาจเกิดสภาวะโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

2.11 อาจเกิดสภาวะโรคไตวายเฉียบพลัน

2.12 อาจเกิดโรคตับแข็ง

2.13 อาจเกิดโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อขั้นแรก

2.14 อาจเกิดจากการเพิ่งได้รับการรักษาโรคหัวใจ ด้วยวิธีสอดใส่ห่วงถ่างขยายหลอดเลือดกล้ามเนื้อหัวใจมาได้ไม่นาน

2.15 อาจเกิดจากการรับการผ่าตัด มาไม่นาน

2.16 อาจเกิดจากแผลถูกไฟลวกที่ลึกและรุนแรง

2.17 อาจเกิดจากการกินยารักษาโรคบางชนิด เช่น กลุ่มยาสตาติน Statin ที่ใช้ลดคอเลสเตอรอล

วิธีการป้องกันค่า Serum Glutamic-Oxaloacetic Transaminase ( SGOT ) ไม่ให้มีค่าสูงเกินปกติ

ที่ดีที่สุดก็คือการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มสุราจัด เป็นต้น และหากเมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคที่อาจทำให้ค่า SGOT สูงขึ้น เช่นโรคโลหิตจางเรื้อรัง ไขมันจับตับ ไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาโรคเหล่านั้นให้หายขาดโดยเร็ว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0

Karmen A, Wroblewski F, Ladue JS (Jan 1955). “Transaminase activity in human blood”. The Journal of Clinical Investigation. 34 (1): 126–31. PMC 438594 Freely accessible. PMID 13221663.

Ghouri N, Preiss D, Sattar N (September 2010). “Liver enzymes, nonalcoholic fatty liver disease, and incident cardiovascular disease: a narrative review and clinical perspective of prospective data”. Hepatology. 52 (3): 1156–61

Wang CS, Chang TT, Yao WJ, Wang ST, Chou P (April 2012). “Impact of increasing alanine aminotransferase levels within normal range on incident diabetes”. Journal of the Formosan Medical Association = Taiwan Yi Zhi. 111 (4): 201–8.