อาการเป็นลมหมดสติ ( Syncope )

0
อาการเป็นลมหมดสติ ( Syncope )
อาการเป็นลม อาการหน้ามืด จนหมดสติ หรืออาการวูบ เป็นอาการป่วยทั่วไปที่เข้ามารับการรักษาจากแผนกฉุกเฉิน มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป
อาการเป็นลมหมดสติ ( Syncope )
อาการเป็นลม อาการหน้ามืด จนหมดสติ หรืออาการวูบ เป็นอาการป่วยทั่วไปที่เข้ามารับการรักษาจากแผนกฉุกเฉิน มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป

อาการเป็นลม ( Syncope )

อาการหน้ามืด หรือ อาการเป็นลม ( Syncope ) จนหมดสติหรืออาการวูบ ( Syncope หรือ Spontaneous transient lost of consciousness ) เป็นอาการป่วยทั่วไปที่เข้ามารับการรักษาจากแผนกฉุกเฉิน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้แรงงานประมาณร้อยละ 1 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทั้งหมด โดยในปัจจุบันนี้มีการให้คำนิยามของคำว่า “ Syncope ” คือ “ a transient loss of consciousness ( TLOC ) due to transient global cerebral hypoperfusion characterized by rapid onset , short duration , and spontaneous complete recovery ” หรือ “ การสูญเสียความรู้สึกหรือรู้สำนึกเพียงชั่วคราว ( TLOC ) เนื่องจากการลดลงของอาการสมองไม่สมดุลระหว่างสมองที่เกิดจากการเริ่มมีอาการอย่างรวดเร็วระยะเวลาสั้น ๆ และการฟื้นตัวที่สมบูรณ์แบบตามธรรมชาติ ” ภาวะเป็นลมมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป แต่ทว่าถ้าพบภาวะนี้ในวัยรุ่นมักจะมีสาเหตุที่ร้ายแรงมากกว่าที่พบในผู้สูงอายุ

ชนิดของ อาการเป็นลม

ชนิดของอาการเป็นลมที่พบในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา สามารถทำการแบ่งตามลักษณะทางพยาธิสรีรวิทยาออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.Reflex syncope หรือ neutrally mediated syncope

คือ อาการหน้ามืดหมดสติที่เกิดจากการทำงานระบบประสารทอัตโนมัติ ( Parasympathetic system ) ได้รับการกระตุ้นมากเกินไป ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นช้าลงหรือกระตุ้นทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัวมากขึ้น จนเป็นผลให้ความดันโลหิตต่ำจนเลือดไม่สามารถที่จะพาออกซิเจนขึ้นไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอหรือขึ้นไปได้ในปริมาณที่น้อยมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเป็นลมและหมดสติในเวลาต่อมา ซึ่งสาเหตุของอาการหน้ามืดแบบนี้คือ

1.1 การเป็นลมธรรมดา ( Vasovagal syncope ( VVS ) หรือ common faint )

เป็นอาการหน้ามืดที่สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุน้อยที่มีสุขภาพร่างกายหรือจิตใจอ่อนแอ เช่น คนป่วย อดนอน หิว หรืออยู่ในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมหรือตัวกระตุ้น ( Triggers ) อื่น ๆ เช่น อากาศร้อน แสงแดด ความเครียด ความวิตกกังวล ยืนท่าเดียวเป็นเวลานาน ( Postural stress ) เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติเกิดการหยุดทำงานแบบชั่วคราว ทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลงและเป็นลมหมดสติ หรือบางครั้งสิ่งเร้าอาจทำให้หัวใจมีจังหวะการเต้นที่ช้าลงหรือหัวใจหยุดเต้นเพียงเล็กน้อย หรือเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน กลางแจ้งโดย อาการเป็นลม หมดสติเนื่องจากความร้อน ( Heat syncope ) เกิดขึ้นได้ ซึ่งก่อนที่จะหมดสติผู้ป่วยมักมีอาการนำมาก่อน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หน้าซีด เหงื่อแตก จึงจะหมดสติ หรือเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดและเส้นประสาทเวกัส ( Vasovagal syncope หรือ neurocardiogenic syncope ) มีเลือดคั่งตามส่วนต่าง ๆ ทำให้เลือดพาออกซิเจนขึ้นไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอนั่นเอง

1.2 ภาวะเป็นลมเนื่องเกิดจากอากัปกิริยา ( Situational Syncope )

คือ อาการเป็นลมหมดสติเนื่องจากร่างกายมีการทำกิริยาใดกิริยาหนึ่งอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เช่น การไออย่างรุนแรงติด ๆ การจาม การหัวเรา การกลืน ปัสสาวะหรือการอุจจาระ บ่อย ๆ หรือซ้ำ ๆ หลายครั้งจนทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติ ( Autonomic nervous system ) เกิดการดึงอย่างฉับพลัน ส่งผลให้เกิดอาการเป็นลม เช่น การเป็นลมเพราะปัสสาวะปัสสาวะ ( Micturition syncope ) เนื่องจากการเบ่งปัสสาวะหรือหลังจากปัสสาวะที่ทำการอั้นมานาน เป็นต้น

1.3 Carotid sinus syncope (CSS)

คือ อาการเป็นลมหมดสติที่เกิดจากการกระตุ้นคาโรติด ไซนัส ( Carotid sinus ) ด้วยการกดหรือการนวด การทำ Carotid Massage สามารถทำให้เกิดอาการซ้ำได้ ซึ่งมักเกิดจากหัวใจมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia ) หรือการที่โครงสร้างของหัวใจมีความผิดปกติที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพาการบีบของหัวใจทำงานได้ไม่ดี

2. ภาวะเป็นลมที่เกิดจากความดันโลหิตตกในท่ายืน ( Orthostatic hypotension )

คือ การที่ความดันในของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดเข้าสู่หลอดเลือด หรือความดันโลหิตซีสโตลิค (Systolic blood pressure หรือ systolic BP) และความดันเลือดที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจเกิดการพักคลายตัว หรือความดันโลหิตไดแอสโตลิค (Diastolic blood pressure หรือ diastolic BP) มีค่าลดลงมากกว่า 20 mmHg หรือเท่ากับ 10 mmHg ภายในระยะเวลา 3 นาที หลังจากทำการเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เปลี่ยนจากท่านอนเป็นยืน ท่านั่งเป็นยืน เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 15 จะเป็นลมเนื่องจากสาเหตุนี้ ซึ่งจะพบว่าผู้สูงอายุจะเป็นลมเนื่องจากสาเหตุนี้มากกว่าวัยรุ่น และสามารถทำการแบ่งสาเหตุย่อยได้อีกดังนี้

2.1 ระบบประสาทอัตโนมัติล้มเหลว ( Autonomic failure ) ซึ่งอาจเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติเอง

( Primary Autonomic Failure )

คือ อาการเป็นลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานของระบบประสาทมีความผิดปกติหรือล้มเหลวจากโรค เช่น Multiple system atrophy (MSA) ที่ระบบของร่างกายเกิดความผิดปกติหรือมีความเสื่อมเกิดขึ้น โรคพาร์กินสันกับความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Parkinson’s disease with autonomic failure), โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีบอดี้ (Dementia with Lewy body) ที่มีความคิดสับสน บางวันปกติ บางวันไม่ชัด เห็นอาการของภาพหลอน (visual hallucination) มีอาการสั่นเทา ( tremor ) หรือข้อมีอาการแข็งเกร็ง ( rigidity )

2.2 อาการข้างเคียงจากโรคอื่น ๆ ( Secondary autonomic failure )

คือ อาการเป็นลมที่เกิดขึ้นจากโรคอื่น ๆ หรือโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ที่ร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลิน ( Insulin ) , โรคแอมีลอยโดซิส หรือ อะมีลอยโดซิส ( Amyloidosis ) คือโรคที่เกิดจากโปรตีนมีความผิดปกติ ที่มักเรียกว่า แอมีลอยด์ ( Amyloid ) มีการสะสมในเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกายมากเกินไป

2.3 Volume depletion

ภาวะขาดน้ำ สูญเสียเลือดหรือโรคแอดดิสัน ( Addison’s disease ) ที่ต่อมหมวกไตซึ่งอยู่เหนือไตทั้ง 2 ข้างผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล ( Cortisol ) และฮอร์โมนอัลดอสเตอโรน ( Aldosterone ) ได้ไม่เพียงพอ

2.4 ผลข้างเคียงของยา ( Drug induced )

อาการเป็นลม อาจเกิดเป็นอาการข้างเคียงของการได้รับยาบางชนิดได้ เช่น ยาขยายหลอดเลือด ( Vasodilators ) , ยาขับปัสสาวะ ( Diuretic ) ที่เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มของยาที่มีฤทธิ์ในการขับน้ำ ( Water Pills ) ออกจากร่างกายหรือยารักษาอาการซึมเศร้า ( Antidepressant ) เป็นต้น

อาการเป็นลม อาการหน้ามืด จนหมดสติ หรืออาการวูบ เป็นอาการป่วยทั่วไปที่เข้ามารับการรักษาจากแผนกฉุกเฉิน มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป

3.ภาวะเป็นลมจากโรคหัวใจ ( Cardiac syncope หรือ cardiovascular syncope )

คือ อาการเป็นลม ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ ทำให้การทำงานของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วย มีสาเหตุหลัก ๆ อยู่ 2 แบบด้วยกันคือ

3.1หัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia )

อาการเป็นลม สามารถเกิดจากการที่หัวใจเต้นผิดปกติทั้งแบบหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ( Bradycardia ) คือ ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจ ( Beat per minute ย่อว่า BPM ) ต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งน้อยกว่าการเต้นของหัวใจในอัตราปกติ หรือหรือแบบที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ( Tachycardia ) คือ ภาวะที่หัวใจมีอัตราการเต้น ( Beat per minute ย่อว่า BPM ) มากกว่า 100ครั้งต่อนาที

3.2รูปร่างหัวใจผิดปกติ ( Structural Heart Disease )

ซึ่งสามารถเกิดได้จาก obstructive heart diseases เช่น ลิ้นหัวใจตีบ ( aortic stenosis ) , กล้ามเนื้อหัวใจหนา โดยเฉพาะผนังหัวใจห้องซ้ายล่างที่กั้นระหว่างหัวใจห้องซ้ายล่างและขวาล่าง ( Interventricular septum ) จะมีความหนามากจนเข้าไปปิดกั้นการสูบฉีดเลือดที่มาจากหัวใจห้องซ้ายล่างไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า ( Hypertrophic Obstructive CardioMyopathy , HOCM ) , โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน Acute pulmonary embolism ( PE ) , prosthesis valve dysfunction หรือ non-obstructive heart disease เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ( Acute myocardial infarction ) โรคหัวใจขาดเลือด (  Ischemic Heart Disease ) เป็นต้น

4.ไม่ทราบสาเหตุ ( Undetermined )

ภาวะเป็นลมประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยบางครั้งอาจจะไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนของการเป็นลมได้

เมื่อผู้ป่วยมีภาวะเป็นลมเกิดขึ้นจำเป็นจะต้องทำการประเมินเบื้องต้นถึงสาเหตุที่ทำให้เป็นลมได้ ซึ่งหลักการประเมินเบื้องต้นที่ปฏิบัติ มีจุดประสงค์ก็เพื่อให้ทราบถึงคำตอบของคำถาม 3 ข้อ คือ

1.เกิดภาวะเป็นลมหมดสติ ( True syncope ) จริงหรือไม่

2.สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นลมได้หรือไม่

3.อาการเป็นลม ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมีอัตราความเสี่ยงสูงหรือไม่ เพื่อช่วยในการประเมินว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าพยาบาลหรือแพทย์ผู้ทำการรักษา ถ้าจำเป็นให้ทำการรับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยใน พร้อมทั้งทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อเติมอย่างรวดเร็ว เพื่อหาสาเหตุของภาวะเป็นลมที่เกิดขึ้น

การประเมินความเสี่ยง ( Risk Stratification )

ลักษณะของภาวะเป็นลมของผู้ป่วยที่จัดว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต ( Cardiovascular death ) ดังนี้

1.ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับโครงสร้าง ( Severe structural ) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease ) หรือโรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ( coronary artery ) เกิดการตีบหรือตัน

2.คุณสมบัติทางคลินิกหรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่มีการบ่งชี้ว่ามีลักษณะของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia ) จนทำให้เกิดภาวะเป็นลม

3.โรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น โลหิตจาง ( Anemia ) หรือภาวะซีดที่ทำให้ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงอยู่ในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง หรือความสมดุลของอิเล็กโตรไลท์ ( Electrolyte ) มีการถูกรบกวนทำให้เสียสมดุลไป ส่งผลให้ความดันผิดปกติ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่เป็นลมหมดสติ

เมื่อพบผู้ป่วยที่เป็นลมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้

1. จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายศีรษะต่ำกว่าลำตัว พร้อมทั้งทำการยกขาทั้งสองข้างขึ้นให้สูงกว่าหัวใจ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรู้สึกตัวได้ภายในเวลาสั้น

2. ทำการคลายเสื้อผ้าด้วยการปลดกระดุม สายรัดหรือเข็มขัดที่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อช่วยให้การหายใจและการไหลเวียนของเลือดไหลได้ดีขึ้น

3. ทำการตรวจนับอัตราการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจหรือจับชีพจรที่ข้อมือหรือบริเวณคอดูการเต้นของหัวใจ

4.รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

อาการเป็นลมบางครั้งอาจมองว่าเป็นภาวะที่ไม่อันตราย ผู้ป่วยบางรายไม่ให้ความสำคัญในการตรวจรักษา แต่รู้หรือไม่ว่า ภาวะเป็นลมบางครั้งอาจนำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นเมื่อมีภาวะเป็นลมเกิดขึ้นควรรีบเข้าไปรับการรักษาเพื่อหาสาเหตุในทันที เนื่องจากภาวะเป็นลมสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยการ ทำให้การหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะเป็นลมจึงมีความสำคัญสูงมาก เพราะสาเหตุบางชนิดที่ทำให้เกิดภาวะนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่รีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที เช่น โรคหัวใจตีบหรือตัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ซึ่งเมื่อผู้ป่วยเขารับการรักษาต้องทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียดตามหลักการเพื่อทำการแยกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงน้อย สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถประเมินเบื้องต้นถึงสาเหตุที่แท้จริงได้ ต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อเป็นองค์ประกอบในการวินิจฉัยสาเหตุและแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับตัวผู้ป่วยเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ. อาการทางอายุรศาสตร์ Medical Symptomatology ฉบับปรังปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Red Blood Cell (RBC) คืออะไร? การตรวจและความสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง

0
เซลล์เม็ดเลือดแดง เกิดจากไขกระดูกมีอายุประมาณ 120 วัน ทำหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจนส่งให้ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกด้วยการหายใจออก
การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง RBC ( Red Blood Cell Count )
เซลล์เม็ดเลือดแดง เกิดจากไขกระดูกมีอายุประมาณ 120 วัน ทำหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจนส่งให้ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกด้วยการหายใจออก

Red Blood Cell (RBC) คืออะไร? การตรวจและความสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง

เซลล์เม็ดเลือดแดงหรือ Red Blood Cell (RBC) เป็นส่วนประกอบสำคัญของเลือดที่มีบทบาทหลักในการลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับหน้าที่ของ RBC วิธีการตรวจ การแปลผล และการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเซลล์เม็ดเลือดแดง

บทบาทของเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายคืออะไร?

เซลล์เม็ดเลือดแดงมีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของร่างกายและการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต โดยทำหน้าที่หลักในการลำเลียงออกซิเจนและรักษาความสมดุลของร่างกาย

RBC ทำหน้าที่อะไรในระบบไหลเวียนโลหิต?

RBC ทำหน้าที่หลักในการลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาที่ปอดเพื่อขับออก

เซลล์เม็ดเลือดแดงเกี่ยวข้องกับการลำเลียงออกซิเจนอย่างไร?

เซลล์เม็ดเลือดแดงมีฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนที่จับกับออกซิเจนได้ดี ทำให้สามารถลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

RBC มีผลต่อความสมดุลของร่างกายอย่างไร?

RBC ช่วยรักษาความสมดุลของกรด-ด่างในเลือด และมีส่วนในการควบคุมความหนืดของเลือด ซึ่งส่งผลต่อการไหลเวียนโลหิตโดยรวม

การตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดแดง (RBC Count) คืออะไร?

การตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count – CBC) ซึ่งวัดจำนวน RBC ในเลือด

การตรวจ RBC ทำได้อย่างไร?

การตรวจทำโดยการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำที่แขน แล้วนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการด้วยเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ

ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงอยู่ในช่วงใด?

ค่าปกติของ RBC อยู่ในช่วง:

  • ผู้ชาย: 4.5-5.9 ล้านเซลล์ต่อไมโครลิตร
  • ผู้หญิง: 4.1-5.1 ล้านเซลล์ต่อไมโครลิตร

จำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนตรวจ RBC หรือไม่?

โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ สามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม ควรแจ้งแพทย์หากกำลังรับประทานยาใดๆ

อะไรเป็นสาเหตุของค่าผิดปกติของ RBC?

ค่า RBC ที่ผิดปกติอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากโรค พฤติกรรม หรือปัจจัยอื่นๆ

อะไรเป็นสาเหตุของเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ (Anemia)?

สาเหตุของเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ ได้แก่:

  • การขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี12 หรือโฟเลต
  • การสูญเสียเลือด
  • โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคไต
  • ความผิดปกติของไขกระดูก

อะไรเป็นสาเหตุของเซลล์เม็ดเลือดแดงสูง (Polycythemia)?

สาเหตุของเซลล์เม็ดเลือดแดงสูง ได้แก่:

  • การอาศัยอยู่ในที่สูง
  • โรคปอดเรื้อรัง
  • ความผิดปกติของไขกระดูก
  • การสูบบุหรี่

ปัจจัยใดที่อาจทำให้ค่าผลตรวจ RBC ผิดปกติ?

ปัจจัยที่อาจทำให้ผลตรวจ RBC ผิดปกติ ได้แก่:

  • การขาดน้ำ
  • การออกกำลังกายหนักก่อนตรวจ
  • การตั้งครรภ์
  • การใช้ยาบางชนิด

การแปลผลค่า RBC บ่งบอกถึงสุขภาพอย่างไร?

การแปลผลค่า RBC ต้องพิจารณาร่วมกับอาการทางคลินิกและผลการตรวจอื่นๆ

ค่า RBC ต่ำส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

ค่า RBC ต่ำอาจส่งผลให้:

  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • หายใจลำบาก
  • หน้ามืด วิงเวียน
  • ผิวซีด

ค่า RBC สูงบ่งบอกถึงภาวะหรือโรคอะไรได้บ้าง?

ค่า RBC สูงอาจบ่งชี้ถึง:

  • ภาวะเลือดข้น (Polycythemia)
  • โรคปอดเรื้อรัง
  • ความผิดปกติของไขกระดูก

ค่าผิดปกติของ RBC ควรดำเนินการอย่างไรต่อไป?

หากพบค่า RBC ผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม อาจต้องตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจระดับธาตุเหล็ก หรือการตรวจไขกระดูก

โรคและภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับค่า RBC ผิดปกติ

ค่า RBC ที่ผิดปกติอาจเกี่ยวข้องกับโรคและภาวะสุขภาพหลายอย่าง

โรคโลหิตจาง (Anemia) มีผลต่อ RBC อย่างไร?

โรคโลหิตจางทำให้จำนวน RBC หรือฮีโมโกลบินต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ลดลง

ภาวะเลือดข้น (Polycythemia) เกี่ยวข้องกับ RBC อย่างไร?

ภาวะเลือดข้นเกิดจากการมี RBC มากเกินไป ทำให้เลือดหนืดขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด

โรคไตและโรคไขกระดูกส่งผลต่อค่า RBC อย่างไร?

โรคไตเรื้อรังอาจทำให้การผลิตฮอร์โมน erythropoietin ซึ่งกระตุ้นการสร้าง RBC ลดลง ส่วนโรคไขกระดูกอาจส่งผลต่อการผลิต RBC โดยตรง

วิธีดูแลสุขภาพให้ระดับ RBC อยู่ในเกณฑ์ปกติ

การดูแลสุขภาพโดยรวมช่วยรักษาระดับ RBC ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

อาหารและโภชนาการที่ช่วยรักษาระดับ RBC มีอะไรบ้าง?

อาหารที่ช่วยรักษาระดับ RBC ได้แก่:

  • อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อแดง ถั่ว ผักใบเขียว
  • อาหารที่มีวิตามินบี12 เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม
  • อาหารที่มีโฟเลต เช่น ผักใบเขียว ถั่ว ธัญพืช

การออกกำลังกายส่งผลต่อจำนวน RBC อย่างไร?

การออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยกระตุ้นการสร้าง RBC และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ออกซิเจนของร่างกาย

พฤติกรรมที่ช่วยปรับสมดุลของ RBC คืออะไร?

พฤติกรรมที่ช่วยปรับสมดุล RBC ได้แก่:

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์

เมื่อไรควรพบแพทย์เกี่ยวกับค่า RBC?

การสังเกตอาการผิดปกติและพบแพทย์เมื่อมีข้อสงสัยเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพ

อาการที่ควรเฝ้าระวังเมื่อค่า RBC ผิดปกติ

อาการที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่:

  • เหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • หน้ามืด วิงเวียนบ่อยครั้ง
  • หายใจลำบากแม้ออกแรงเพียงเล็กน้อย
  • ผิวซีดมาก
  • ใจสั่นผิดปกติ

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีค่า RBC สูงหรือต่ำกว่าปกติ

สำหรับผู้ที่มีค่า RBC ผิดปกติ ควรปฏิบัติดังนี้:

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์
  • ตรวจติดตามค่า RBC และการทำงานของร่างกายอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด
  • แจ้งแพทย์ทุกครั้งเกี่ยวกับยาที่ใช้ รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจส่งผลต่อ RBC โดยไม่ปรึกษาแพทย์
  • สังเกตอาการผิดปกติและรีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการที่น่ากังวล
  • พักผ่อนให้เพียงพอและจัดการความเครียด
  • หากมีโรคประจำตัว ควบคุมโรคให้ดีตามคำแนะนำของแพทย์

การตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดแดง (RBC) เป็นการตรวจที่สำคัญในการประเมินสุขภาพโดยรวมและการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต การเข้าใจถึงบทบาทของ RBC การแปลผลการตรวจ และการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาระดับ RBC ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หากมีข้อสงสัยหรือพบความผิดปกติเกี่ยวกับค่า RBC ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

เรียบเรียงโดย Amprohealth และ

ประสาร เปรมะสกุล,พลเอก. คู่มือแปล ผลเลือด เล่มแรก: กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์, 2554. 372 หน้า: 1.เลือด-การตรวจ. I. ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-48-7.,

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0.

ม้ามโต ( Splenomegaly) อาการ สาเหตุ

0
อาการม้ามโตบ่งบอกอะไร ( Splenomegaly)
ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะทรงเรียวรีคล้ายเมล็ดถั่ว อยู่ด้านหลังซ้ายของช่องท้องใต้กะบังลม ทำหน้าที่ดึงธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงและนำของเสียออกจากเลือด
อาการม้ามโตบ่งบอกอะไร ( Splenomegaly)
ม้าม เป็นอวัยวะทรงเรียวรีคล้ายเมล็ดถั่วอยู่ด้านหลังซ้ายของช่องท้องใต้กะบังลม ทำหน้าที่ดึงธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงและนำของเสียออกจากเลือด

อาการม้ามโต

อาการม้ามโต ( Splenomegaly ) คืออาการผิดปกติของม้าม ปกติเราจะไม่สามารถคลำเจอม้ามได้ ยกเว้นในผู้ที่มีร่างกายผอมมากหรือม้ามมีขนาดที่โตผิดปกติจึงจะสามารถคลำม้ามเจอได้ ซึ่งม้ามที่มีการทำงานที่ผิดปกติจะมีน้ำหนักประมาณ 4-5 เท่าของม้ามปกติหรือมีนำหนักมากกว่า 500 กรัม

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะมีรูปทรงเรียวรี คล้ายเมล็ดถั่วขนาดประมาณ 11 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 150 กรัม อยู่ที่บริเวณทางด้านหลังซ้ายของช่องท้อง อยู่ใต้ต่อจากกะบังลม ซึ่งจะอยู่แถวกระดูกซี่โครงซี่ที่ 9 – 12 ม้ามเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลือง หน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและการสร้างเม็ดเลือดการควบคุมปริมาณของเลือดในร่างกายให้คงที่ โดยม้ามจะทำหน้าที่ดึงธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงเพื่อนำมาใช้ในร่างกาย และทำหน้าที่นำของเสียที่มีอยู่ในกระแสเลือดออกไปจากเลือดโดยขับออกมาในรูปของน้ำปัสสาวะ เช่นเดียวกับการทำงานของตับ นอกจากนั้นม้ามสร้างมีหน้าที่ในการสร้างแอนตีบอดี ( Antibody ) ที่ช่วยต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย รวมถึงช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงให้กับร่างกายอีกด้วย สำหรับทารกในครรภ์ ม้ามจะทำหน้าที่หลักในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และหลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว ม้ามจะหยุดสร้างเม็ดเลือดแดงเปลี่ยนและไขกระดูกจะทำการสร้างเม็ดเลือดแดงแทน แต่หากไขกระดูกไม่สามารถทำการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ ม้ามจึงจะกลับมาทำการสร้างเม็ดเลือดแดงอีกครั้ง

ลักษณะการทำงานที่ทำให้ม้ามทำงานผิดปกติ

1.ร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค ทำให้ม้ามต้องทำการกำจัดเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ( Clearance of microorganisme ) และปฏิกิริยา particulate antigens จากเลือด

2.เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ( Synthesis of immunoglobulin G ( lgG ) )

3.การกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีความผิดปกติ ( Removal of abnormal red blood cells )

4.ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง เช่น การสร้างเม็ดเลือดแดงจากม้ามในตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ ( Embryonic hematopoiesis ) หรือการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ม้าม ( extramedullary hematopoiesis ) ในผู้ป่วยโรคบางชนิด เป็นต้น

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ม้ามโตเกิดจากอะไร ?

1. โรคตับ เช่น โรคตับแข็ง เนื่องจากตับมีระบบไหลเวียนเลือดระบบเดียวกับม้าม เมื่อตับมีความผิดปกติจึงส่งผลเกิดความผิดปกติที่ม้ามด้วย
2. โรคเลือด เช่น โลหิตจาง ธาลัสซีเมีย ภาวะที่มีเม็ดเลือดแตก เนื่องจากตับและม้ามเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบิน เมื่อเม็ดเลือดถูกทำลายมาก จึงส่งผลให้ตับม้ามมีขนาดโตขึ้นด้วย
3. เกิดการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งม้ามก็มีบทบาทในการกำจัดเชื้อโรค
4. เป็นโรคออโตอิมมูน หรือโรคภูมิต้านทานตัวเอง ทำให้เซลล์ในร่างกายถูกกำจัดจำนวนมาก
5. เส้นเลือดดำในตับอุดตัน ทำให้การไหลเวียนเลือดของตับและม้ามผิดปกติ
6. เป็นโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สาเหตุที่ทำให้ม้ามมีการทำงานที่ผิดปกติจนมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น

1.ม้ามมีการทำงานที่มากเกินไป ( Hyperfunction )

ภูมิคุ้มของร่างกายมีการตอบสนองต่อการเจริญเติบโตมากเกินไป หรือม้ามมีการตอบสนองต่อการอักเสบหรือมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเยื่อบุโพรงหัวใจอักเสบจากแบคทีเรียแบบกึ่งเฉียบพลัน ( subacute bacterial endocarditis ) , โรคฝีที่ม้าม ( splenic abscesses ) หรือการติดเชื้อไวรัส เช่น การติดเชื้อไวรัส (EPV) ที่ชักนำให้เกิดโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส ( Epstein-Barr virus-induced mononucleosis ) , โรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคSLE ( Systemic lupus erythematosus ) หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ( Rheumatoid arthritis ) ที่มี อาการม้ามโตร่วมด้วย ( Felty’s syndrome ) เป็นต้น หรือการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายอย่างรุนแรง (destruction work hypertrophy) เช่น ภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม ( Hereditary Spherocytosis: HS ) หรือโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ( Thalassemia disease ) เป็นต้น

2.การคั่งของเลือดที่ม้าม ( Congestion )

ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ( Venous thrombosis ) หรือภาวะหลอดเลือดดำในม้ามอุดตัน ( splenic vein thrombosis ) หรือภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล ( portal hypertension ) สูงเกิน 12 มมปรอทหรือภาวะหัวใจวาย ( Congestive Heart failure : CHF ) โดยเมื่อผู้ป่วยได้รับยาออกซาลิพลาติน ( Oxaliplatin ) จะมี อาการม้ามโตเป็นอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ โดยจะทำให้โพรงเลือดดำในม้ามอุดตัน ( Sinusoidal Obstruction Syndrome ) หรือหลอดเลือดดำในม้ามอุดตัน ( Hepatic veno-occlusive disease ) แต่หากผู้ป่วยได้รับยาบีวาซิซูแมบ ( Bevacizumab ) ร่วมด้วย อาการม้ามโตจะเกิดขึ้นได้น้อยลง  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3.การแทรกซึม ( Infiltration )

โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคต่างๆที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์ชนิดต่างๆ ที่มีการผลิตมาจากส่วนของไขกระดูก หรือโรคมัยอีโลโพรลิฟเฟอเรทีฟ ( Myeloproliferative neoplasm ) เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวซีเอ็มแอล ( Chronic Myelogenous Leukemia ) , ภาวะเม็ดเลือดแดงข้น (Polycythemia vera ) , โรคเกล็ดเลือดสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ ( Essential Thrombocythemia ) หรือโรคพังผืดในไขกระดูกแบบเกิดเอง ( primary myelofibrosis , PMF ) เป็นต้น รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งทางโลหิตวิทยาบางชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ( chronic lymphocytic leukemia ) หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) เป็นต้น นอกจากผู้ป่วยที่ไขกระดูกทำงานผิดปกติกับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งทางโลหิตแล้ว ยังมีผู้ป่วยโรคอื่น เช่น

  • ซาร์คอยโดซิส ( Sarcoidosis ) คือ โรคที่เกิดการอักเสบชนิดไม่ใช่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ
  • โรคเกาเชอร์ ( Gaucher’s disease ) คือ โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของการสะสมไขมัน
  • โรคอะมีลอยโดซิส ( Amyloidosis ) คือ ภาวะที่เกิดจากมีสารโปรตีนผิดปกติชนิดหนึ่ง
  • เนื้องอกในระยะลุกลาม ( Metastatic malignancy )

ซึ่งโรคเหล่านี้จะทำการแทรกซึมเข้าไปทำให้ม้ามมีการทำงานที่ผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้ม้ามมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นนั่นเอง

4.สาเหตุอื่น ๆ ของ อาการม้ามโต ( Splenomegaly )

นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้ว บางครั้งอาการม้ามโตอาจเกิดเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก ได้แก่ การเกิดอุบัติเหตุจนมีเลือดออก ( Trama ) , การเกิดซีสต์ ( Cyst ) , เนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมาหรือ ปานแดงที่ตับ ( Hemangioma ) , การได้รับยาบางชนิด เช่น Rho ( D ) immune globulin เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถส่งผลให้ม้ามโตขึ้นได้เช่นเดียวกัน

จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยม้ามโตทั้งหมด 449 ราย พบว่าสาเหตุที่ทำให้ม้ามโตสามารแบ่งได้ดังนี้  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

1.โรคตับจำนวน 148 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของผู้ป่วยทั้งหมด

2.โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา จำนวน 121 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของผู้ป่วยทั้งหมด

3.การติดเชื้อ จำนวน 103 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของผู้ป่วยทั้งหมด

4.Congestion หรือ inflammation จำนวน 35 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของผู้ป่วยทั้งหมด

5.โรคของม้ามเองหรืออื่นอีก ร้อยละ 9 ของผู้ป่วยทั้งหมด

นอกจากนั้นขนาดของม้ามผิดปกตินั้น ยังสามารถระบุถึงสาเหตุของความผิดปกติได้อีกด้วย โดยม้ามที่มีขนาดโตเล็กน้อยจนถึงปานกลางอาจมีหลายสาเหตุ แต่ว่าม้ามที่มีขนาดโตมาก ๆ ( massive หรือ huge splenomegaly ) มักมีสาเหตุมาจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ ( Chronic Myelogenous Leukemia; CML ) โรคไขกระดูกเป็นพังผืดปฐมภูมิ ( Primary myelofibrosis ;PMF ) ธาลัสซีเมียเมเจอร์ ( Thalassemia Major ) โรคลิชมานิเอซิส ( Leishmaniasis ) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากปรสิต โปรโตซัว หรือโรคเกาเชอร์ ( Gaucher’s disease ) ที่เกิดจากความผิดปกติของการสะสมไขมัน ( lysosomal storage disease ) เป็นต้น ซึ่งถ้าม้ามมีขนาดที่ใหญ่มาให้พึงระลึกถึงสาหตุเหล่านี้เป็นหลัก

ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะทรงเรียวรีคล้ายเมล็ดถั่ว ทำหน้าที่ดึงธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงและนำของเสียออกจากเลือด  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

แนวทางในการซักประวัติและการตรวจร่างกาย

ซึ่งแนวทางในการซักประวัติและทำการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา อาการม้ามโตต้องทำการวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการม้ามโต จะพิจาณาอายุของผู้ป่วยเป็นหลัก ร่วมกับขนาดและอาการที่เกิดขึ้นร่วมด้วย

1.หากผู้ป่วยเป็นโรคตับชนิดเรื้อรังจากการดื่มสุราหรือภาวะตับอักเสบ ย่อมมีความเสี่ยงที่ตับแข็งและม้ามโตจากภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล ( Portal hypertension ) สูงเกิน 12 มม.ได้

2.หากผู้ป่วยมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอร่วมกับอาการม้ามโต อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เช่น infectious mononucleosis หรือไวรัสอื่นๆ

3.ผู้ป่วยภาวะเม็ดเลือดแดงข้น Polycythemia vera ที่ไขกระดูกของผู้ป่วยทำการสร้างเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก ผิดปกติ อาจพบม้ามมีขนาดโตเกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการคันหลังจากอาบน้ำอุ่นร่วมด้วย

4.ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วหรือมีเหงื่ออกกลางคืนมาก จะพบว่าอาการม้ามเนื่องจากหลายโรครวมกัน เช่น เอดส์ ( AIDS ) systemic lupus erythematosus , rheumatoid arthritis , sarcoidosis มาลาเรีย วัณโรค การติดเชื้อไวรัส ( infectious mononucleosis , cytomegalovirus , hepatitis) โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา ( chronic myeloid leukemia , chronic lymphocytic leukemia , hairy cell leukemia ) ซึ่งถ้าผู้ป่วยหายจากโรคที่กล่าวมานั้น ม้ามก็จะกลับมามีขนาดปกติและมีประสิทธิภาพการทำงานเหมือนเดิม

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

5.ผู้ป่วยที่มีอาการม้ามโต แต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้นั้น ควรทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น เช่น anti-HIV เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจเลือด ได้แก่ CBC และ blood smear แต่บางครั้งการความผิดปกติที่ได้จากการตรวจ CBC ก็ไม่สามารถช่วยระบุสาเหตุของอาการม้ามโตได้ เพราะค่าที่ได้จากการตรวจมักเป็นผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่ม้ามโตแล้ว หรือค่าของเม็ดเลือดที่ต่ำมากหรือน้อยไม่ขึ้นก็ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดม้ามที่โต แต่หากพบว่ามีภาวะเม็ดเลือดขาวที่สูง Neutrophilia เช่น absolute neutrophil count >7,700/uL ทั้งที่มีการพบหรือไม่พบการเพิ่มปริมาณของ band form และ metamyelocyte (left shift) ให้ทำการสันนิฐานว่าผู้ป่วยม้ามโตเนื่องจากการติดเชื้อหรือพบ toxic granule หรือ vacuoles ในเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลล์หรือบางครั้งอาจพบเชื้อในเรื่อง เช่น มาเลเรียบาโทแนลโลสิส ( bartonellosis ) หรือบาบีสิโอสิส ( babesiosis ) แต่มีการพบลักษณะเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ เช่น พบ Schistocytes ( fragmented red cells ) ที่เป็นเศษของเม็ดเลือดแดงที่มีฮีโมโกลบินบางส่วนหรือทั้งหมดหลุดและสลายไป ทำให้เม็ดเลือดแดงมีหลายรูปร่างไปหรือเม็ดเลือดแดงมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กเกิดการผิดปกติ ซึ่งการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือการที่เม็ดเลือดแดงจับตัวกันเป็นกลุ่มเนื่องจาก cold agglutinins และอาจพบอะทิปปิเคิลลิ้มโฟไซต์ ( Atypical lymphocytes ) ใน infectious mononucleosis และอาจพบ atypical lymphocytes ร่วมด้วยเรียกว่า Felty’s syndrome

การตรวจเพิ่มเติมที่สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น

นอกจากการตรวจดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นหรือเพื่อเป็นการยืนยันข้อสงสัยว่าเป็นจริงหรือไม่อีกด้วย

1.การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง ในรายที่สงสัยมะเร็งในทรวงอกหรือในท้อง เช่น Lymphoma, hepatoma หรือกรณี advanced liver disease, portal hypertension

2.การตรวจชิ้นเนื้อในบางส่วนของร่างกาย เช่น การตรวจหาเซลมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ( Lymph node biopsy) การดูดและเจาะเอาเนื้อเยื่อไขกระดูกส่งตรวจ ( Bone marrow aspiration biopsy ) การเจาะชิ้นเนื้อตับ ( Liver biopsy ) ที่อาจช่วยยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาหรือไม่ แล้วจึงทำการส่งเพาะเชื้อและส่งย้อมสีชนิดพิเศษในผู้ป่วยที่ยังไม่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง เพื่อเป็นการยืนยันว่า อาการม้ามโตเกิดจากภาวะของโรคมะเร็งจริงหรือไม่

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถระบุถึงสาเหตุของอาการม้ามโต จากการตรวจข้างต้น จะต้องทำการตัดม้ามเพื่อนำมาวินิจฉัย ( Diagnostic splenectomy ) ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่ทำการตรวจชิ้นเนื้อจากม้ามจะมีสาเหตุม้ามโตจาก Lymphoma/leukemia ร้อยละ 57 Metastatic carcinoma / sarcoma ร้อยละ 11 และ cyst/pseudocyst ร้อยละ 96 แต่ว่าการตัดม้ามไม่นิยมหากไม่จำเป็นจริง ๆ เนื่องจากการตัดม้ามมีอาการข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ลักษณะเม็ดเลือดแดงผิดปกติ เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดสูงขึ้น รวมถึงต้องติดตามอาการและทำการให้ยาแอสไพรินเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันที่ปอด นอกจากนั้นแล้วอาการข้างเคียงที่สำคัญและสามารถพบบ่อยคือ การติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง โดยเฉพาะแบคทีเรียที่อยู่ในกลุ่มเชื้อที่มีแคปซูล เช่น Steptococcus pneumoniae, Haemophilus influenZae และเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้ทำการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น Pnenmococcal vaccine และ H. influenzae vaccine แต่ไม่แนะนำให้รับประทานยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เพราะมีความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะดื้อยาได้ง่าย

การวิจัยภาวะ hypersplenism เกิดขึ้นมีเกณฑ์

เมื่อทราบถึงสาเหตุของภาวะม้ามโตแล้ว การรักษาก็จะสามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยแพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุที่ให้ม้ามโต ซึ่งเมื่อรักษาแล้วม้ามก็จะมีขนาดที่เล็กลง ซึ่งบางครั้งการรักษาอาจต้องทำการตัดม้ามออกไปในกรณีที่ม้ามโตเนื่องจากโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ โรคเม็ดเลือดแดงแตกง่ายทางพันธุกรรม อาจไม่ต้องรักษาเพื่อลดขนาดน้ำหากไม่มี hypersplenism หรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากม้ามที่โตมาก ซึ่งภาวะ Hypersplenism หรือภาวะที่ม้ามโตและเข้าไปทำลายเม็ดเลือดมากกว่าปกติ ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดลดลง ซึ่งภาวะนี้ไม่ใช่โรค แต่เกิดจากโรคที่มีอาการม้ามโต เป็นระยะเวลานานและส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาก โดยจะพบมากได้ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคธาลัสซีเมีย

1.ม้ามมีขนาดโตมาก

2.ตรวจพบว่าปริมาณเลือดต่ำ ซึ่งรวมถึงภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ( pancytopenia ) หรือมีภาวะเลือดต่ำผิดปกติมาก 2 ชนิด ( bicytopenia ) คือเกล็ดเลือด 75,000 ( ปกติ 140,000- 400,000 ) เม็ดเลือดขาว 25,000 และเม็ดเลือดแดง 21%

3.เมื่อทำการตรวจไขกระดูกแล้วพบว่ามีการสร้างเม็ดเลือดในส่วนของกระดูกยังอยู่ในภาวะปกติหรือมีการสร้างเพิ่มขึ้น

[adinserter name=”oralimpact”]

การรักษาภาวะ hypersplenism ทำด้วยการตัดม้ามออกไป แต่ถ้าร่างกายมีเม็ดเลือดต่ำมากจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ต้องรับเลือดบ่อย ๆ หรือมีอาการเลือดออกจากเม็ดเลือดขาว หรือปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ

ม้ามเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภาวะม้ามโตที่พบมีสาเหตุทั้งจากการติดเชื้อ การอักเสบ โรคตับชนิดเรื้อรังหรือโรงมะเร็ง ซึ่งการวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ทำให้ม้ามโตนั้นต้องอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและยืนยันด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อที่จะได้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการม้ามโตเมื่อทราบสาเหตุแล้วการรักษาจะได้ผล ทำให้ม้ามที่มีขนาดผิดปกติกลับมาสู่สภาวะปกติได้ไม่ยาก ดังนั้นเมื่อทำการตรวจพบว่ามีอาการม้ามโตเกิดขึ้นจึงควรรีบเข้ารับการรักษาก่อนที่ภาวะม้ามโตจะทำการรักษาได้ด้วยการตัดเท่านั้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ดีซ่าน ( Jaundice ) อาการ สาเหตุ

0
โรคดีซ่าน ( Jaundice )
โรคดีซ่าน หมายถึง อาการที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าตามตัวมีสีเหลืองผิดปกติ นัยน์ตาเหลืองจนสังเกตเห็นได้
โรคดีซ่าน ( Jaundice )
โรคดีซ่าน หมายถึง อาการที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าตามตัวมีสีเหลืองผิดปกติ นัยน์ตาเหลืองจนสังเกตเห็นได้

ดีซ่าน ( Jaundice )

สัญญาณอย่างหนึ่งของ ดีซ่าน ก็คืออาการตัวเหลือง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการตาเหลืองและตัวเหลืองจะเป็นโรคดีซ่าน ก่อนหน้านี้ไม่กี่ปีโรคดีซ่านรู้จักกันดีในกลุ่มคนทั่วไป และทุกคนรู้ประเด็นสำคัญที่ว่าเมื่อมีอาการตัวเหลืองผิดปกติจากที่เคยเป็น

นั่นหมายความว่าไม่นับรวมคนที่มีผิวโทนเหลืองมากๆ มาแต่กำเนิด เมื่อนั้นก็ต้องระวัง ดีซ่านแต่พอเวลาผ่านไปโรคนี้กลับมีคนเข้าใจน้อยลง ในขณะที่จำนวนคนป่วยอาจไม่ได้น้อยลงตามไปด้วย น่าจะเป็นเพราะมีโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่ดึงความสนใจของผู้คนไปได้ อย่างไรก็ตามโรคดีซ่านก็ยังเป็นโรคที่มีสาเหตุการเป็นที่อันตราย จำเป็นต้องเรียนรู้ เฝ้าระวังและรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา

ดีซ่าน คืออะไร

ดีซ่าน หมายถึงอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าตามตัวมีสีเหลืองผิดปกติ นัยน์ตาเหลืองจนสังเกตเห็นได้ ประเด็นของนัยน์ตาเหลืองจะต่างจากคนที่นอนไม่พออยู่มาก คือไม่ใช่แค่ดูหมอง ไม่สดใส แต่จะออกสีเหลืองแบบที่มองครั้งเดียวก็สรุปได้เลยว่ามีสีเหลือง โดยปกติโรคดีซ่านเกิดจากการสะสมของสารบิลิรูบินมากเกินไป หากมากกว่า 3 มก. / ดล. เมื่อไร ก็มีความเสี่ยงว่าจะเป็นดีซ่านเมื่อนั้น สารบิลิรูบินที่ว่านี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า ฮีมาตอยดิน เป็นผลผลิตจากการย่อยส่วนหนึ่งในฮีโมโกลบินที่เรียกว่า “ ฮีม ” ตามกระบวนการปกติสารนี้จะถูกขับออกจากร่างกายอยู่แล้ว แต่เมื่อมันมีมากเกินไปก็ไม่สามารถขับออกได้ทันนั่นเอง อาการที่มักพบร่วมกันกับอาการตัวเหลืองและตาเหลือง ได้แก่ อ่อนเพลียง่าย เบื่ออาหาร เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียน ตัวบวม ท้องบวม ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ไปจนถึงมีอาการหนาวสั่น เป็นไข้

สาเหตุของการเกิดดีซ่าน

ใจความหลักของดีซ่าน คือความไม่สมดุลของสารบิลิรูบินในร่างกาย ถ้ากล่าวในเชิงการแพทย์สักหน่อยก็คือ มีความผิดปกติเกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึมของบิลิรูบินเอง

ความผิดปกติของกระบวนการเมตาบอลิซึมของบิลิรูบิน

1. Unconjugated hyperbilirubinemia 

มีอัตราการสร้างบิลิรูบินเพิ่มขึ้น : เนื่องจากการสร้างบิลิรูบินเกิดจากการสลายตัวของฮีม ดังนั้นต้นตอของปัญหาจริงๆ จึงอยู่ที่เม็ดเลือดแดง เช่น เม็ดเลือดแดงแตก เม็ดเลือดแดงที่สร้างออกมามีความผิดปกติ เป็นต้น

มีอัตราการรับสารบิลิรูบินเข้าสู่เซลล์ตับน้อยลง : อันที่จริงแล้วมีต้นเหตุแห่งการเกิดที่หลากหลาย บ้างก็เป็นความผิดปกติของร่างกาย บ้างก็เป็นผลกระทบจากอาการเจ็บป่วยอื่นๆ แต่ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นการใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของตับโดยตรง

การ conjugation ของบิลิรูบินลดลง : บ่อยครั้งที่พบว่าความผิดปกติแบบนี้เกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรม บ้างเกิดจากความผิดปกติของระดับเอนไซม์ ซึ่งเวลาที่ทำการตรวจอาจจะพบว่าค่าบิลิรูบินไม่ได้สูงมากนัก แต่มันจะรุนแรงมากขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมีสิ่งเร้าอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วยขาดน้ำหรืออาหาร เป็นต้น

2. Conjugated or mixed hyperbilirubinemia ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม แต่จะเป็นประเภทที่ไม่ได้พบกันบ่อยนัก อย่างเช่น Rotor’s syndome หรือ Dubin-Johnson syndome

ความผิดปกติของเซลล์ตับ

เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่อยู่ในวงจรของสารบิลิรูบิน โดยทำหน้าที่เปลี่ยนบิลิบูรินที่ไม่ละลายน้ำให้กลายเป็นแบบที่ละลายน้ำได้ จากนั้นจึงสามารถขับสารนี้ออกจากร่างกายร่วมกับน้ำดีต่อไป ดังนั้นเมื่อตับทำงานผิดปกติไป กระบวนการเหล่านี้ก็ไม่สมบูรณ์ หรือมีประสิทธิภาพที่ด้อยลงไป และสารบิลิบูรินก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นต้นเหตุของดีซ่านนั่นเอง ความผิดปกติของเซลล์ตับนี้ เราจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. Acute hepatocellular dysfunction เป็นอาการอักเสบของตับแบบฉับพลัน เกิดขึ้นทันทีทันใด นั่นหมายความว่าอาการของ ดีซ่านที่เกิดขึ้นก็จะรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในผู้ป่วยหลายรายนี่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการตับวายในที่สุด กลุ่มโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่

ภาวะติดเชื้อไวรัส : อาจจะเป็นไวรัสตับอักเสบเอ หรือไวรัสตับอักเสบบีก็ได้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกอย่างชัดเจนล่วงหน้า คือ มีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย คล้ายกับคนที่เป็นไข้หวัด แล้วจากนั้นก็จะเริ่มสังเกตเห็นสีผิวที่เหลืองกว่าปกติ

ภาวะอักเสบจากยา : มีกรณีศึกษาจำนวนไม่น้อยเลยเกี่ยวกับการใช้ยาผิดวิธีหรือผิดขนาด ผลกระทบนั้นร้ายแรงเกินกว่าที่หลายคนเข้าใจ ไม่ใช่แค่อาการดื้อยาเท่านั้น แต่อาจเปลี่ยนระบบการทำงานในร่างกายได้เลย อย่างเช่นกรณีนี้ ยาจะส่งผลให้ตับเกิดการอักเสบจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

ภาวะอักเสบจากสิ่งเร้าอื่นๆ : บ้างก็เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นต้น บ้างก็เกิดจากผลข้างเคียงของโรคภัยอื่นๆ เช่น หลอดเลือดอุดตัน ไข้มาลาเรีย เป็นต้น

2. Chronic hepatocellular dysfunction เป็นอาการตับแข็งที่เราคุ้นหูกันดี แต่นี่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำเท่านั้น มันมีสาเหตุหลายหลายรูปแบบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสก็ได้ เกิดจากอาการตับอักเสบเรื้อรังก็ได้ จึงเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อแยกแยะให้ได้ก่อนว่า สาเหตุที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ 

ดีซ่าน ( Jaundice ) หมายถึง อาการที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าตามตัวมีสีเหลืองผิดปกติ นัยน์ตาเหลืองจนสังเกตเห็นได้

ความผิดปกติในส่วนของน้ำดี

อย่างที่ได้รู้กันไปแล้วว่าสารบิลิบูรินจะถูกขับออกร่างกายร่วมกับน้ำดี เมื่อไรที่กระบวนการขับน้ำดีมีปัญหา เมื่อนั้นสารบิลิบูรินจึงตกค้างและสะสมปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดที่ท่อน้ำดีภายในตับ หรือท่อน้ำดีภายนอกตับก็ได้ รายละเอียดของทั้ง 2 กลุ่มมีดังนี้

1. Intrahepatic cholestasis เป็นภาวะที่ทางเดินน้ำดีเกิดการขยายตัวผิดปกติ อาจเกิดจากการใช้ยาก็ได้ หรือเกิดจากการติดเชื้อวัณโรคในตับก็ด้ หรือแม้แต่ภาวะตั้งครรภ์ ภาวะหลังการผ่าตัดใหญ่ ก็ล้วนเป็นสาเหตุได้ทั้งนั้น

2. Extrahepatic cholestasis เป็นภาวะที่ทางเดินน้ำดีเกิดการอุดตัน ส่วนใหญ่มักมีการติดเชื้อร่วมด้วย จึงมีอาการแสดงออกมาให้เห็นภายนอกได้อย่างชัดเจน เช่น มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น เราอาจคุ้นกับคำว่า “นิ่วในทางเดินน้ำดี” มากกว่า แต่ก็ไม่ใช่การเกิดเช่นเดียวกันกับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะแต่อย่างใด

การวินิจฉัย อาการดีซ่าน

ซักประวัติ : แน่นอนว่าทุกอาการเจ็บป่วยต้องเริ่มที่การซักประวัติ จะรู้ผลได้ตรงและรวดเร็วมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลในตอนซักประวัตินี่เอง สำหรับ ดีซ่าน จะต้องสังเกตว่ามีอาการตาเหลืองร่วมกับตัวเหลืองด้วยหรือไม่ หรือมีเพียงแค่ตัวเหลืองเท่านั้น ระยะเวลาที่เป็นยาวนานเท่าไร มีอาการเจ็บป่วยแบบไหนก่อนหน้าหรือไม่ รวมไปถึงสอบถามประวัติคนในครอบครัว โรคประจำตัวและการใช้สารเสพติดทุกประเภทด้วย

ตรวจร่างกาย : ดูภาพรวมว่าร่างกายสมบูรณ์ดีหรือไม่ การดูแลเรื่องอาหารเป็นอย่างไร ตรวจวัดโรคเรื้อรังต่างๆ ที่อาจส่งผลให้มีอาการตัวเหลืองได้ วิเคราะห์ส่วนของช่องท้องอย่างละเอียด ตลอดจนตรวจความผิดปกติของทวารหนักและอุจจาระด้วย

ข้อมูลสำคัญที่ใช้สำหรับการวินิจฉัยเพื่อแยกแยะกลุ่มของดีซ่าน

แม้ว่าจะแน่ใจแล้วว่าป่วยเป็นดีซ่านจริง ก็ยังต้องค้นหาต่อไปว่าสาเหตุของการป่วยคืออะไร เพราะกลุ่มย่อยของโรคดีซ่านมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้การรักษาต้องแตกต่างกันไปด้วย และต่อไปนี้จะเป็นจุดสำคัญที่ใช้เพื่อการแบ่งประเภทโรคดีซ่าน ก่อนนำข้อมูลไปยืนยันความถูกต้องอีกครั้งด้วยการตรวจละเอียดแบบเฉพาะเจาะจง

ช่วงอายุ : จากสถิติที่เคยมีมา ผู้ป่วยอายุน้อยจะเป็น ดีซ่านที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือการใช้ยาผิดวิธี ในขณะที่ผู้สูงวัยเกินกว่าครึ่งจะเป็นโรคดีซ่านที่เป็นผลข้างเคียงมาจากโรคเนื้องอก

สัญญาณล่วงหน้า : หากมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน หรือปวดเมื่อยร่างกายนำหน้ามาก่อนที่จะสังเกตเห็นภาวะตัวเหลือง ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อไวรัสแบบฉับพลัน แต่ถ้าอาการที่เกิดก่อนหน้าเป็นอาการจุกแน่นแถวๆ ชายโครง ก็มักจะเป็นนิ่วในถุงน้ำดี หากมีอาการคันที่ผิดปกติ ก็มีโอกาสที่จะเกิดจากความผิดปกติของการขับน้ำดีออกจากร่างกาย

ช่วงท้องเห็นหลอดเลือดดำชัดเจนกว่าปกติ : แบบนี้เกิดจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของหลอดเลือดดำ เป็นข้อบ่งชี้ว่ามีภาวะความดันสูง ซึ่งเกิดจากโรคตับแข็ง

มีภาวะท้องมาน : ท้องมานก็คือลักษณะของท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยไม่ได้มีการตั้งครรภ์ มักเกิดจากมีของเหลวสะสมอยู่ระหว่างหน้าท้องและอวัยวะภายในช่องท้อง หากเป็นแบบนี้ก็คาดคะเนได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งบริเวณช่องท้อง

ประวัติการใช้ยา : ตัวที่โดดเด่นมากๆ ก็คือยาพาราเซตามอล เพราะเป็นยาสามัญประจำบ้าน ใครๆ ก็มี ใครๆ ก็ทานได้โดยง่าย หลายคนทานยาพาราเซตามอลแทบจะทุกวัน จึงเกิดขนาดการใช้ไปมาก แบบนี้ทำให้ตับอักเสบฉันพลันได้ เมื่อรู้ประวัติการใช้ยาที่ถูกต้องก็จะระบุ ภาวะดีซ่านได้แม่นยำมากขึ้น ทั้งนี้รวมไปถึงยาแผนโบราณ อาหารเสริม และสารเสพติดด้วย

พฤติกรรมเสี่ยง : หากมีกิจกรรมบางอย่างที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสโดยไม่รู้ตัว เช่น สัมผัสกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ การรับเลือดจากผู้อื่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนการรับวัคซีนบางประเภท

มีภาวะตับโต : ตับโตจะมี 2 แบบคือ เมื่อกดแล้วเจ็บเป็นบางจุด จะเป็นการเกิดฝีที่ตับ แต่ถ้าไม่ใช่ก็อาจจะเป็นภาวะตับโตทั้งหมด ซึ่งแต่ละอย่างจะก่อให้เกิดโรคดีซ่านที่ต่างกัน

มีภาวะม้ามโต : ส่วนของม้ามไม่ได้มีผลโดยตรงต่อวงจรของสารบิลิบูรินที่เป็นต้นเหตุของดีซ่าน แต่จะเป็นสัญญาณที่บอกว่ามีภาวะตับแข็งอยู่ เมื่อเจอแบบนี้ก็ต้องไปตรวจตับอย่างละเอียดต่อไป

การตรวจพิเศษที่เกี่ยวกับดีซ่าน

  • Endoscopic retrograde cholangiopancreaticography ( ERCP )

การตรวจโดยใช้การส่องกล้องผ่านทางเดินอาหาร เพื่อดูความผิดปกติของท่อน้ำดี ถือเป็นวิธีที่ให้คำตอบแม่นยำที่สุดในขณะนี้ และยังเป็นกระบวนการที่ช่วยรักษาภาวะอุดตันของท่อน้ำดีได้ด้วย

  • การตรวจชิ้นเนื้อ

เมื่อซักประวัติและตรวจร่างกายจนครบถ้วนแล้ว ไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงในการเกิด ดีซ่านได้ ก็จะต้องตัดชิ้นเนื้อของตับเพื่อไปตรวจอย่างละเอียดด้วยวิธีการอื่นๆ แทน แม้ว่าจะใช้เวลามากสักหน่อย แต่ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำเช่นเดียวกัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ. อาการทางอายุรศาสตร์ Medical Symptomatology ฉบับปรังปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Roger Jones (2004). Oxford Textbook of Primary Medical Care. Oxford University Press. p. 758. ISBN 9780198567820. Archived from the original on 2017-09-08.

Ferri, Fred F. (2014). Ferri’s Clinical Advisor 2015: 5 Books in 1. Elsevier Health Sciences. p. 672. ISBN 9780323084307. Archived from the original on 2017-09-08.

ผื่นบนผิวหนัง ( Maculopapular Eruption ) อาการ สาเหตุ

0
ผื่นผิวหนัง Maculopapular Eruption
อาการผื่นผิวหนัง คือ กลุ่มอาการที่มีการแสดงออกเป็นผื่นนูน ตุ่ม ผื่นแบนหรือรอยแดง ที่มีการกระจายบนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ทั่วบริเวณของร่างกายอย่างเฉียบพลัน
ผื่นผิวหนัง Maculopapular Eruption
อาการผื่นผิวหนัง คือ กลุ่มอาการที่มีการแสดงออกเป็นผื่นนูน ตุ่ม ผื่นแบนหรือรอยแดง ที่มีการกระจายบนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกายอย่างเฉียบพลัน

อาการผื่นผิวหนัง Maculopapular Eruption

อาการผื่นผิวหนัง ( Maculopapular eruption ) คือ กลุ่มอาการที่มีการแสดงออกเป็นผื่นนูน ตุ่ม ผื่นแบนหรือรอยแดง ที่มีการกระจายบนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ทั่วบริเวณของร่างกายอย่างเฉียบพลัน ( acute generalized eruption ) นอกจากคำนี้แล้ว อาการผื่นผิวหนังที่แสดงออกมา ยังสามารถใช้คำว่า exanthematous หรือ morbiliform eruption โดยมีความหมายเช่นเดียวกัน

สาเหตุของการเกิดผื่น

การสังเกตหรือประเมินอาการของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการผื่นบนผิวหนัง ( Maculopapular eruption ) นอกจากจะสามารถทำการสังเกตจากลักษณะของผื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ยังจำเป็นต้องสังเกตลักษณะในการกระจายตัวของผื่น ( distribution ) ร่วมด้วย ว่ามีลักษณะการกระจายตัวอยู่ที่บริเวณใดของร่างกาย ระยะเวลาที่มีการเกิดผื่นนานเท่าใดและมีอาการใดเกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น อาการไข้ อาการไอ อาการต่อน้ำเหลืองโต หรือมีแผลในปาก รวมถึงประวัติการรับประทานยาก่อนหน้าที่จะเกิดอาการผื่น ซึ่งลักษณะของผื่นผิวหนัง สามารถทำการแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ตามสาเหตุของการเกิดผื่น ได้ดังนี้

1.ไข้ออกผื่น ( Viral Exanthem ) การติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้ ส่งผลให้มีผื่นเป็นจุดสีชมพูไปจนถึงสีแดง ซึ่งไม่มีอาการคันร่วมด้วย เช่น Viral Exanthem, Common esanthems เป็นต้น

2.ผื่นแพ้ยา ( Maculopapular drug eruption ) คือ อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรับประทานยาบางชนิด ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติเป็นผื่นหรือตุ่มตามผิวหนัง

3.โรคติดเชื้อริกเกตเซีย ( Rickettsial infection ) คือ โรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อ Rickettsial ซึ่งมีลักษณะกึ่งพืชกึ่งสัตว์ โดยขนาดของเชื้อโรคจะขนาดเล็กกว่าเชื้อแบคทีเรียแต่ว่ามีขนาดใหญ่กว่าเชื้อไวรัส ดังนั้นจึงมีสภาพกึ่งแบคทีเรีย กึ่งไวรัส เช่น ไข้รากสาดใหญ่ เป็นต้น

4.โรคซิฟิลิสระยะที่สอง ( Secondary syphilis ) ที่ระยะนี้ ร่างกายจะเกิด ผื่นผิวหนังหรือตุ่มนูน ที่มีลักษณะคล้ายหูด เกิดขึ้นที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า อวัยวะเพศ และส่วนอื่นทั่วร่างกาย

5. ภาวะสะเต็มเซลล์ใหม่ต่อต้านร่างกายเฉียบพลัน ( Acute Graft versus host disease หรือ Acute GVHD ) คือ ภาวะที่ร่างกายเกิดผื่น ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือสะเต็มเซลล์จากเลือด

6.ระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อเอชไอวี ( Acute retroviral syndrome ) สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเฮชไอวี ( HIV ) ในระยะเริ่มต้นจนกระทั่งร่างกายเริ่มมีการสร้างแอนติบอดี ( antibody ) ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นร่วมกับอาการอื่น ๆ

ลักษณะของอาการผื่นผิวหนังที่เกิด

ซึ่งการแสดงออกของผื่นผิวหนัง จะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันออกไปตามสาเหตุของการเดผื่น ซึ่งลักษณะของอาการที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะดังนี้

1.ไข้ออกผื่น ( Viral Exanthems ) การเกิดผื่นเนื่องจากการได้รับเชื้อไวรัสจนร่างกายเกิดอาการไข้ สามารถแบ่งตามชนิดของโรคที่ทำให้เกิดไข้ คือ

1.1 โรคหัด ( Measles )

โรคหัดสามารถพบได้มากในเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 1 – 4 ปี แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาวัคฉีดเพื่อป้องกันโรคหัดในเด็ก ทำให้มีเด็กป่วยเป็นโรคหัดน้อยลงมาก ซึ่งอาการนำ ( Prodrome ) ในช่วงแรกคือมีไข้ ไอ มีขี้ตา และหลังจากแสดงอาการ 3-4 วัน จะเริ่มมีตุ่มขนาด 1 – 3 มิลลิเมตร โดยที่ตุ่มจะมีลักษณะเป็นจุดขาวเทา ซึ่งพบได้มากที่บริเวณกระพุ้งแก้มด้านหลังฟันกรามซึ่งที่สอง ที่เรียกว่า “ Koplik’s spot ” ตุ่มลักษณะนี้เป็นตุ่มลักษณะเฉพาะของโรคหัด ซึ่ง Koplik’S spot เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดไข้จนถึงวันที่ 2 ของอาการ หลังจากนั่นในวันที่ 4 เป็นต้นไป ผื่นจะแพร่กระจายไปทั่วตัว จากบริเวณหลังหู ไปที่ไรผมและลงไปที่ส่วนของลำตัว ( Cephalocaudal direction ) โดยเฉพาะที่บริเวณใบหน้าและลำคอจะมีปริมาณของผื่นมากที่สุด ต่อมาเมื่อผื่นเกิดขึ้นทั่วลำตัวจนถึงบริเวณเท้า อาการไข้ที่เกิดขึ้นก็จะหายไปได้เอง และผื่นที่เกิดขึ้นก็จะเริ่มจางลงตามไปด้วย ปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีวัคฉีดป้องกันโรคหัด แต่โรคหัดก็ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น โรคหัด atypical ( atypical measles ) ที่เกิดจากเชื้อไวรัสจากภายนอก ( wild type virus ) หรือความบกพร่องขอ
งระบบภูมิคุ้มกันบางส่วน ( partial immunity ) ซึ่งจะมีไข้สูง ไอและมีรอยโรคเกิดขึ้นในปอด แต่จะไม่พบอาการตาแดงหรือมีขี้ตาเกิดขึ้น ส่วนผื่นที่เกิดขึ้นอาจพบจุดเลือดออก ( petechiae ) ที่บริเวณปลายมือปลายเท้า และยังมีอาการเท้าบวมเกิดขึ้นด้วย

1.2 โรคหัดเยอรมัน ( Rubella, German measles )

เมื่อเกิดในเด็กหรือผู้ใหญ่จะมีอาการที่อันตราย แต่ถ้าเกิดจากการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกที่อยู่ในครรภ์จะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ซึ่งร้ายแรงถึงขนาดทารกเสียชีวิตได้ โดยอาการนำ ( Prodrome ) ที่เกิดขึ้นในช่วง 5 วันแรก จะมีไข้ ปวดศีรษะ ไอ มีน้ำมูก เมื่อไข้ลดลงที่บริเวณใบหน้าจะเริ่มมีผื่นสีชมพู ( Rose-pink ) และเริ่มกระจายตัว ( Cephalocaudal direction ) ลงไปที่บริเวณลำตัว ซึ่งจะพบผื่นที่เยื่อบุปากที่มีลักษณะเป็นจุดเลือดออกที่บริเวณเพดานอ่อน ( Forchheimer’s spot ) ซึ่ง ผื่นผิวหนังจะหายไปหลังจากมีอาการ 2-3 วัน นอกจากนั้นยังมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย ซึ่งต่อมน้ำเหลืองที่มักมีอาการโต คือ ต่อมน้ำเหลืองท้ายทอย ( occipital lymph nodes ), ต่อมน้ำเหลืองหลังใบหู ( Posterior auricular ), ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอส่วนบน ( cervical ) เกิดขึ้นร่วมด้วย นอกจากอาการดังกล่าวแล้วยังมีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่อันตรายและสามารถพบได้บ่อย เช่น ปวดข้อ ข้ออักเสบ หรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายที่พบได้น้อย เช่น อาการตับอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการเม็ดเลือดแดงเนื่องจากสมองอักเสบ ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจะพบได้มากในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าผู้ป่วยเพศชายอีกด้วย

1.3 โรคฟิฟธ์ ( Fifth Disease ) หรือ Erythema Infectiosum หรือ Parvovirus B19 infection

โรคฟิฟธ์เป็นโรคที่สมารถพบได้บ่อยในเด็ก เกิดเนื่องจากการติดเชื้อไวรัส Parvovirus B19 ในส่วนระบบทางเดินหายใจแล้วเกิดการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ( Viremia ) ส่งผลให้มีการผลิตเม็ดเลือดลดลง ( Reticuloctopenia ) ในเวลาต่อมาเมื่อเชื้อเข้าสูกระแสเลือดจะมีการสร้างแอนติบอดี ( Antibody,IgM ) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะธาลัสซีเมีย ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก ผู้ที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงต่ำ หรือผู้ที่ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยที่ได้รักการปลูกถ่ายไขกระดูก จะมีเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวถูกทำลาย ( Aplastic crisis ) ทำให้เกิดผื่นแดงเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้าที่เรียกว่า “ Slapped cheek ” โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดข้อและมีผื่นแดงที่บริเวณใบหน้าเป็นแถบใหญ่ ๆ คล้ายกับรอฝ่ามือและที่รอบปาก โดยเฉพาะที่ส่วนของแก้มทั้งสองข้าง แต่ไม่พบผื่นที่ส่วนของสันจมูก ( nasal bridge ) ซึ่งผื่นจะคงอยู่ประมาณ 4 วัน แล้วจึงค่อยเกิดขึ้นที่บริเวณแขนขาโดยมีลักษณะคล้ายร่างแห ( lacy, reticulated pattern ) ซึ่ง ผื่นผิวหนังจะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่ประมาณ 1-3 สัปดาห์

1.4 โรคส่าไข้ ( Roseolainfantum, Exanthemsubitum, Sixth disease )

เป็นโรคที่พบได้ในเด็กอายุ ตั้งแต่ 6 เดือน 3 ปี เกิดจากเชื้อ HHV-6 หรือเชื้อ HHV-7 ซึ่งส่วนมากที่พบจะเกิดจากเชื้อHHV-6 โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงประมาณ 3-5 วัน ซึ่งอาจมีอาการชักเกิดขึ้นร่วมด้วย และหลังจากที่ไข้เริ่มลดลง จะมีผื่นสีชมพู ( rose-pink ) ที่บริเวณลำตัว ลำคอและส่วนแขนขา บางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ ต่อมน้ำเหลื่องที่บริเวณคอโต เปลือกตาบวมหรือเยื่อแก้วหูแดง ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยมาก

1.5 การติดเชื้อ Epstien-Barr virus

เมื่อติดเชื้อไวรัส “เอ็บสไตบาร์” ( Epstein-Barr virus: EBV ) ในครั้งแรก จะทำให้ป่วยเป็นโรคโมโนนิวคลีโอซิสหรือที่เรียกสั้นว่า “โรคโมโน” ( Infectious mononucleosis หรือย่อว่าMono ) ซึ่งเกิดเนื่องจากภูมิคุ้มกันมีการติดเชื้อ ( EBV-induced antibody ) เกิดเป็นอิมมูนคอมเพล็กซ์ที่สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยากับระบบคอมพลีเมนท์จนเกิดเป็นผื่นขึ้น ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในวัยรุ่นขึ้นไป โดยจะมีไข้ ต่อน้ำเหลืองโต ( Lymphadenopathy ) คออักเสบ ( Pharyngitis ) และเมื่อทำการรักษาด้วยยาในกลุ่ม aminopenicillin เช่น ยาปฏิชีวนะ cephalexin, erythromycin, levofloxacin โดยผู้ป่วยร้อยละ 5-15 จะมีผื่นนูนแบนที่มีลักษณะเป็นรอยแบนสีแดงบริเวณผิวหนังและบางส่วนมีผื่นนูนขึ้น ( maculopapular eruption ) หรือมีผื่นแบบผื่น morbilliform ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับผื่นของโรคหัด ( measles ) หรือมีผื่นนูนแดงขนาดเล็กเริ่มจากบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือมีอาการคัน หนังตาบวมและมีผื่นที่พบบนเยื่อเมือก ( Mucous membrane ) ร่วมด้วยหรือมีผื่นแพร่กระจายไปยังส่วนของลำตัว ( Scarlatiniform ) หรือส่วนที่มีการกดทับ โดยเมื่อมีอาการไข้ประมาณ 7 วันผื่นที่เกิดขึ้นจะผื่นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าและในช่องปากซึ่งจะผื่นที่เกิดขึ้นจะสามารถหายไปได้เอง แต่จะมีอาการผิวจะลอก ( desquamation ) ออกมาด้วย บางครั้งอาจมีการเกิดแผลที่บริเวณอวัยวะเพศซึ่งเป็นอาการของการติดเชื้อ EBV โดยมีการสันนิษฐานว่าเกิดจากปฏิกิริยาอิมมูน (Immune) โดยลักษณะรอบของ ผื่นผิวหนังจะมีสีแดงม่วง สามารถพบได้ที่บริเวณแคมเล็ก ( Labia minora )

อาการผื่นผิวหนัง คือ กลุ่มอาการที่มีการแสดงออกเป็นผื่นนูน ตุ่ม ผื่นแบนหรือรอยแดง ที่มีการกระจายบนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ทั่วบริเวณของร่างกายอย่างเฉียบพลัน

2. ผื่นแพ้ยา  ( maculopapular drug eruption, exanthematous drug eruption )

เป็นผื่นที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาอิมมูนชนิด Type IVb ( Cell mediated ) ผื่นแพ้ยาเป็นผื่นที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด โดยผื่นแพ้ยาจะเป็นผื่นแบบ maculopapular คือ ผื่นที่มีลักษณะทั้งแบบราบและแบบนูน แต่ว่าผื่นที่เกิดขึ้นจะไม่มีตุ่มน้ำหรือตุ่มหนอง มีอาการคัน มีไข้ร่วมด้วย ซึ่งไข้ที่เกิดขึ้นเป็นไข้ต่ำเท่านั้น โดยผื่นจะเริ่มขึ้นที่บริเวณลำตัว แขนขาและกระจายออกไปทั่วตัวตามลำดับ โดยเฉพาะที่บริเวณลำตัวจะมีผื่นหนาแน่นมากที่สุด แต่จะไม่พบผื่นแพ้ยาภายในปาก ผื่นแพ้ยาเป็นผื่นที่ไม่รุนแรงและสามารถหายไปหลังจากที่หยุดยาประมาณ 1-2 วัน เมื่อผื่นหายไป ผิวหนังที่เกิดผื่นจะมีสีดำและลอกออก ตัวอย่างยาที่ทำให้เกิดผื่นแพ้ยา คือ ยาฆ่าเชื้อกลุ่ม aminopenicillin, sulfonamides, cephalosporins และยากันชัก

แนวทางการรักษาผื่นแพ้ยา นอกจากการหยุดยาที่ทำให้เกิดผื่นแพ้ยาแล้ว เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาโรคให้เปลี่ยนเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มอื่นแทน ร่วมกับการใช้ยาที่ช่วยลดอาการคันและบรรเทาการเกิดผื่น เช่น ยาทาสเตียรอยด์ ยาต้านฮีสตามีน และควรดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการแพ้ยาอย่างรุนแรง โดยสังเกตอาการหน้าแดงบวม ผื่นผิวหนังเป็นปื้นแดงขนาดใหญ่และหนา เมื่อกดทีบริเวณผื่นรู้สึกเจ็บ ที่ผื่นมีสีคล้ำบริเวณตรงกลาง ( Atypical target ) หรือมีแผลที่บริเวณเยื่อบุ ตา ช่องปากหรืออวัยวะเพศ

3. การติดเชื้อริกเกตเซีย ( Rickettsial infection )

คือ การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ( Gram negative bacteria ) ซึ่งเป็นแบคทีเรีย ( bacteria ) ที่ทำการย้อมแกรม ( gram staining ) แล้วจะติดสีแดงของ safranin ที่อาศัยอยู่ในเซลล์ของ สัตว์ขาปล้อง ( arthropod ) เช่น เห็บ ( Tick ), หมัด ( Flea ), โลน ( Louse ), เล็น ( mite ) เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้จัดเป็นพาหะที่สามารถนำเชื้อแบคทีเรียแกรมลบเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านทางเยื่อบุหลอดเลือด ( endothelium ) ตัวอย่างโรคที่เกิดที่สามารถพบได้มากจากการติดเชื้อริกเก็ตเซีย ( Rickettsia ) คือ

1. Orientiatustsgamush: Scrub typhus

2. Rickettsia typhi: Murine ( endemic ) typhus

3. Coxiellaburnetii: Q fever

4. Rickettsia rickettsia: Rocky mountain spotted fever

โรคนี้จะมีอาการไข้ ปวดศีรษะและผื่น โดยเริ่มจากมีไข้ประมาณ 3 วันและในวันที่ 2 หรือ 4 หลังจากผู้ป่วยมีไข้ ผู้ป่วยจะเกิดผื่นแดงทั้งแบบราบและแบบนูน ซึ่งผื่นจะมีจุดเลือดออกหรือเกิดเป็นจ้ำ Purpura บนผิวหนังร่วมกับผื่นชนิดอื่น โดย ผื่นผิวหนังจะเริ่มขึ้นที่บริเวณข้อมือ ฝ่ามือ ข้อเท้าหรือฝ่าเท้า แล้วจึงกระจายตัวขึ้นสู่บริเวณลำตัวภายใน 6-18 แต่ผื่นที่จะไม่แพร่ไปยังบริเวณใบหน้า 

4. โรคซิฟิลิสระยะที่สอง ( Secondary syphilis )

โรคซิฟิลิส ( syphilis ) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า ทรีโพนีมา แพลลิดัม ( Treponema pallidum ) ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยขีดข่วนที่ทำให้เกิดบาดแผลบนผิวหนังหรือผ่านทางเยื่อบุต่าง ๆ ซึ่งโรคซิฟิลิสสามารถแบ่งออกเป็นระยะดังนี้

โรคซิฟิลิสระยะที่หนึ่ง (Primary Syphilis) ในบริเวณที่เชื้อผ่านเข้าสู่ร่างกายบริเวณขอบแผลจะแข็ง ( Chancre ) แต่ไม่มีอาการเจ็บ มักเกิดที่บริเวณส่วนปลายของอวัยวะเพศ

โรคซิฟิลิสระยะที่สอง ( Secondary Syphilis ) ผู้ป่วยซิฟิลิสระยะที่สองจะมี ผื่นผิวหนังขึ้นทั่วตัวรวมถึงบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วย บางครั้งอาจมีแผลคล้ายหูด ( Wart-like sores ) ขึ้นภายในปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วย และที่บริเวณทวารหนักสามารถพบผื่นนูนขนาดใหญ่ สีเทา หรือขาว บริเวณที่มีความชื้น ( condyloma lata ) ร่วมกับอาการต่อมน้ำเหลืองโตอีกด้วย

โรคซิฟิลิสระยะแฝง ( Latent Syphilis ) คือ ระยะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงออก แต่เชื้อยังคงอยู่ภายในร่างกาย สามารถทำการตรวจหาเชื้อได้ด้วยการตรวจเลือด

โรคซิฟิลิสระยะที่ 3 ( Tertiary Syphilis ) ที่ระยะนี้ผิวหนังจะพบ Gumma และมีการทำลายระบบประสาท ( neurosyphilis ) หรือระบบหัวใจหลอดเลือด ( vascular syphilis ) ร่วมด้วย

โดยซิฟิลิสระยะที่สองจะพบว่ามีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ฝ่ามือและฝ่าเท้า ร่วมกับอาการไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโตและอ่อนเพลียร่วมด้วย ซึ่งสามารถสรุปอาการผื่นที่พบในผู้ป่วยซิฟิลิสระยะที่สอง ได้ดังนี้

4.1 ผื่นสีชมพู ( Roseola-like ) เป็นผื่นที่เกิดขึ้นในระยะแรก โดยผื่นจะเกิดขึ้นทั่วทั้งตัว เริ่มตั้งแต่ที่ส่วนของไหล่หรือส่วนข้างลำตัว

4.2 ผื่นแบบ maculopapular หรือ papulosquamous ซึ่งจะเกิดขึ้นทั่วทั่งตัว โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า

4.3 รอยโรคซิฟิลิสเฉพาะที่ ( Localized syphilis ) เป็นรอยโรคที่สามารถทำการตรวจพบเชื้อได้โดยใช้กล้อง darkfield microscope ซึ่งลักษณะที่รอยโรคที่ตรวจพบ คือ ผื่นนูนและมีขุยเป็นสะเก็ดแบบ collarette ( Biette’s collarette ) ที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า มีการเกิด Condyloma lata ที่ส่วนของเยื่อเมือกที่บริเวณทวารหนัก ( Anogenital area ) และมีผื่นที่มีลักษณะคล้ายกับ sebrrheic dermatitis ที่บริเวณใบหน้าและไรผม (crown of Venus)

5. ภาวะสะเต็มเซลล์ใหม่ต่อต้านร่างกายเฉียบพลัน ( Acute graft-versus-host disease ( GVHD )

เมื่อมีภาวะนี้เกิดขึ้นจะมีผื่นชนิด maculopapular โดยจะเริ่มจากบริเวณส่วนปลายของอวัยวะ (acral part) เช่น ส่วนของหลังมือ ส่วนฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส่วนลำตัวด้านบน ซึ่งผื่นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไขกระดูกไปแล้วประมาณ 4 -6 สัปดาห์ ผื่นผิวหนังที่เกิดขึ้นจะมีจุดเลือดออกร่วมด้วย

6. ระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อเอชไอวี ( Acute retroviral syndrome )

ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ในช่วงแรกก่อนที่ร่างกายจะมีการสร้างแอนติบอดี ( Anti body ) ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อ โรคโมโนนิวคลิโอสิส ( acute mononucleosis ) เช่น มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ร่วมกับการเกิดผื่นแบบ maculopapular eruption ทั่วทั้งตัว โดยเฉพาะที่บริเวณใบหน้าและลำตัว ซึ่งผื่นที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ หายไปหลังจากที่ร่างกายเริ่มสร้างแอนติบอดีหรือประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อนั่นเอง การเกิดผื่นจะมีลักษณะคล้ายกับการเกิดผื่นเนื่องจากการติดเชื้อไวรัส ดังนั้นเพื่อความแน่ใจควรทำการตรวจเลือด HIV RNA/DNA หรือ p24Ag เพื่อยืนยันว่าเป็นผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อ HIV หรือการติดเชื้อไวรัส

การเกิดผื่นผิวหนัง เป็นอาการที่สามารถพบได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยที่มาด้วยการเกิดผื่นอย่างรวดเร็วทั้งแบบตุ่มนูนหรือแบบรอยแดง ควรเริ่มด้วยการซักประวัติและทำการตรวจเลือด เพื่อที่จะสามารถทำการแยกสาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดผื่นได้ นอกจากนั้นการสังเกตลักษณะเฉพาะของผื่นแต่ละแบบ เช่น การเรียงตัวของผื่น การเปลี่ยนแปลงของผื่นที่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของโรค ( Evolution ) ร่วมในการวินิจฉัยด้วย

การเกิด ผื่นผิวหนังเป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป ผื่นบางชนิดเกิดขึ้นเนื่องจากโรคร้ายแรง แต่ผื่นบางชนิดเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายเกิดการแพ้ยาหรือร่างกายได้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นเมื่อเกิดผื่นขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้อง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

McGovern ME (2005). “Taking aim at HDL-C. Raising levels to reduce cardiovascular risk”. Postgrad Med. 117 (4)

Stanford University 1997, Accessed Oct. 2014 https://web.stanford.edu

ประจำเดือนไม่มาหรือขาดประจำเดือน ( Amenorrhea )

0
ภาวะขาดระดูหรือภาวะขาดประจำเดือน ( Amenorrhea )
ภาวะขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู สาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้หญิงส่วนมากเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมน estrogen ที่ผิดปกติ เกิดขึ้นได้ทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้เกิดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผิดปกติจนเกิดภาวะขาดประจำเดือน
ภาวะขาดระดูหรือภาวะขาดประจำเดือน ( Amenorrhea )
ภาวะขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู สาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้หญิงส่วนมากเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมน estrogen ที่ผิดปกติ

ประจำเดือนไม่มา หรือ ขาดประจำเดือน ( Amenorrhea )

อาการขาดประจำเดือน ( Amenorrhea ) หรือภาวะขาดระดู สาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้หญิง สาเหตุส่วนมากเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมน estrogen ที่ผิดปกติ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สาเหตุของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ( Estrogen ) ที่ผิดปกติจนทำให้เกิดภาวะขาดประจำเดือนมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย มีทั้งปัจจัยที่มีความรุนแรงสูงหรือมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย ซึ่งการตรวจหาสาเหตุสามารถทำได้ด้วยจากการสอบประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ถึงแม้ว่า อาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู จะเป็นภาวะที่ไม่ร้ายแรง แต่ถ้าเกิดขึ้นในวัยรุ่นก่อนวัยมีระดูจะส่งผลให้อัตราการมีบุตรน้อยลง และยังส่งผลต่ออัตราเมตาบอลิซึม ( Metabolism ) ของกลูโคส ( Gluycose ) ไขมัน ( Lipid ) และเกลือแร่ ( Mineral ) ที่ทำให้สัดส่วนของกระดูกที่อยู่ภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดสัดส่วน นอกนั้นยังส่งผลต่อการกระจายตัวของไขมันอีกด้วย ดังนั้นการสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดระดูเพื่อที่จะยับยั้งอาการที่เกิดขึ้นจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งภาวะขาดระดู ( amenorrhea ) สามารถทำการแบ่งตามระยะเวลาการเกิดภาวะขาดระดูว่าเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการมีการมีประจำเดือนครั้งแรก ( menarche )

การแบ่งตามระยะเวลาการเกิดภาวะขาดประจำเดือนที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังการมีการมีประจำเดือนครั้งแรก

1.การขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( Primary amenorrhea ) คือ ภาวะที่เด็กผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 15 ปี แต่ยังไม่มีประจำเดือน หรือมีอายุ 13 ปี แต่ลักษณะที่บ่งบอกถึงลักษณะทางเพศของเพศหญิง ( Secondary Sex Characteristic ) ยังไม่มีการแสดงออก เช่น การขยายของเต้านม สะโพกเริ่มผาย

2.การขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ( Secondary amenorrhea ) คือ ภาวะที่ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาแล้วเป็นประจำ แต่ในระยะเวลาต่อมาประจำเดือนเกิดการขาดหายต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนหรือ 3 รอบเดือน ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

2.1 ภาวะประจําเดือนไม่มาตามธรรมชาติ ( Physiologic secondary amenorrhea ) คือ ภาวะที่มีการ อาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น เด็กผู้หญิงที่ยังไม่เข้าสู่วัยรุ่นหรืออายุน้อยกว่า 13 ปี ผู้หญิงในระยะตั้งครรภ์หรือหลังการคลอดลูกและช่วงที่มารดาให้นมบุตร และในช่วงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน

2.2.ภาวะประจำเดือนไม่มาจากพยาธิสภาพ ( Pathologic secondary amenorrhea ) คือ ภาวะที่มี อาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดูต่อเนื่อง 3 เดือนหรือ 6 เดือนขึ้นไป สาเหตุเกิดจากมีโรคเกิดขึ้นภายในร่างกาย ที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนของร่างกาย ระบบการทำงานของรังไข่และมดลูก รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ( Polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS ) เนื่องจากระบบต่อมไร้ท่อมีการทำงานที่ผิดปกติ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ( Estrogen ) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ( Progesterone ) ฮอร์โมนแอนโดรเจน ( Androgen ) หรือฮอร์โมนเพศชาย ( Male sex hormone ) และอินซูลิน ( Insulin ) ที่อยู่ร่างกายมีระดับที่ไม่สมดุล จึงทำให้เกิดถุงน้ำเล็ก ๆ เป็นจำนวนมากในรังไข่ รังไข่จึงมีขนาดที่โตขึ้นส่งผลให้เกิดภาวะขาดประจำเดือน ซึ่งพบได้มากในผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ชัดเจน แต่สามารถสรุปชนิดและสาเหตุของภาวะขาดระดูได้ดังนี้  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

การที่ร่างกายของผู้หญิงมีระดูเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการทำงานของฮอร์โมนที่อยู่ในส่วนของแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล ( hypothalamic-pituitary-ovarian axis ) และยังรวมถึง outflow tract มีการทำงานหรือได้รับการรบกวนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น ทั้งในระดับเล็กน้อยและระดับรุนแรงก็สามารถส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับการมีระดูทั้งสิ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดprimary amenorrhea อาจมีสาเหตุเดียวกับเกิดการขาดระดูแบบ secondary amenorrhea แต่ยังมีบางสาเหตุที่ทำให้เกิด primary amenorrhea เช่น ความผิดปกติทางด้านพันธุกรรม ความผิดปกติทางด้านกายวิภาคของระบบสืบพันธ์ที่ส่งผลให้เกิดการขาดระดูแบบ primary amenorrhea แต่ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการขาดระดูแบบ secondary amenorrhea

โรคที่เกิดขึ้นของภาวะขาดระดูหรือภาวะขาดประจำเดือน

การตั้งครรภ์ จัดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดระดูทั้งแบบ primary amenorrhea และแบบ secondary amenorrhea แต่พบได้บ่อยในการขาดระดูแบบ secondary amenorrhea สำหรับในกรณีที่เป็นแบบ primary amenorrhea จะเกิดจากการที่ร่างกายไม่มีการภาวะไข่ไม่ตก ( Anovulation ) ดังนั้นสำหรับในผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์เมื่อเข้ามาพบแพทย์ด้วยอาการขาดระดู แพทย์จะทำการสอบถามและตรวจการตั้งครรภ์ก่อนเป็นอันดับแรกในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้

1. Primary amenorrhea

สามารถตวจได้ด้วยการสังเกตพัฒนาการของเต้านม อวัยวะเพศภายนอก และการตรวจภายในเพื่อดูลักษณะของมดลูก ซึ่งสาเหตุของ Primary amenorrhea ที่พบได้คือ

1.เต้านมมีการพัฒนาปกติแต่ว่าไม่มีมดลูก

จัดเป็นภาวะที่ผิดปกติมาแต่กำเนิดของระบบสืบพันธุ์ ( Mullertan agenesis ) ซึ่งทำให้มดลูกไม่สามารถเจริญโต และอาจมีความผิดปกติของระบบปัสสาวะร่วมด้วย ( Mayer-Rokitansky-Kuster-Huaser syndrome ) ที่จัดเป็นสาเหตุหลักในการเกิดภาวะ Primary amenorrhea ซึ่งสามารถทำการตรวจได้ด้วยการตรวจระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ( Testosterone ) และยังมีอีกสาเหตุหนึ่งคือ ผู้ป่วยบางรายมีอาการต่อต้านแอนโดรเจนโดยสมบูรณ์ ( compelte androgen insensitivity syndrome; CAIS ) ส่งผลให้การพัฒนาของเต้านมผิดปกติ แต่ว่าที่บริเวรหัวหน่าวและรักแร้กับมีขนขึ้นเล็กน้อย ซึ่งการตรวจพบแค่ blind vaginal pouch และ 5-alpha reductase deficiency ที่มีการแสดงออกของอวัยวะเพศภายนอก่ของเพศหญิงหรือมีลักษณะที่กำกวม ในสภาวะนี้ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ( testosterone ) อยู่เท่ากับที่มีอยู่ในเพศชายและมี และ karyotype เป็น 46, XY    [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ซึ่งการตรวจสอบว่าการพัฒนาของเต้านมมีความผิดปกติหรือไม่ อาจมีสาเหตุมากจาก

1.1 ความผิดปกติของต่อมไฮโปทาลามัส ( Hypothalamus )

ตัวอย่างเช่น ตัวเตี้ยในลักษณะเป็นม้าตีนปลาย ( Constitutional delayed growth and puberty =CDGP ) จัดเป็นสาเหตุของภาวะ normal variant ที่สามารถพบได้มากในการขาดระดูแบบ primary amenorrhea ซึ่งมักเกิดในบุคคลที่ครอบครัวมีประวัติเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้า หรือการเกิดภาวะ Functional Hypothalamic Amenorrhea ( FHA ) ที่หมายถึงภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง ( chronic anovulation ) ที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ แต่มักเกิดจากอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่ทำการควบคุมอย่างเป็นลำดับขั้นเป็นแกน ( hypothalamus-pituitary-ovarian axis ) และฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิ่ง ( Gonadotropin releasing hormone หรือ GnRH ) มีการถูกยับยั้งเนื่องจากภาวะเครียด น้ำหนักลดลง หรือการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง โดยไม่พบรอยโรค ซึ่งสามารถทำการตรวจได้ด้วยการตรวจระดับฮอร์โมน follicle-stimulating hormone ( FSH ) มีหน้าที่ในการกระตุ้นไข่สุก ตรวจฮอร์โมน Luteinizing hormone ( LH ) ที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นบริเวณอัณฑะในเพศชายและรังไข่ในเพศหญิง และฮอร์โมนเอสโทรน ( Estrone ) ว่ามีปริมาณสูงหรือต่ำ ซึ่งรอยโรคที่สมองส่วนโฮโปทาลามัสที่สามารถพบได้ เช่น การติดเชื้อ เนื้องอก เป็นต้น และที่ภาวะ isolated GnRH deficiency สามารถเป็นได้ทั้งแบบที่ไม่ทราบสาเหตุ ( idiopathic ) และแบบกลุ่มที่มีอาการขาดฮอร์โมน ( Kallmann Syndrome ) ที่มักเกิดขึ้นร่วมกับภาวะเสียการรู้กลิ่น ( Anosmia ) หรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคมะเร็ง หรือการดูดซึมสารอาหารที่ผิดปกติ จึงทำให้เกิดภาวะไข่ไม่ตกได้

1.2 ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ( Pituitary Gland )

ตัวอย่างเช่น การเกิดเนื้องอก ( functioning และ nonfunctioning pituitary adenoma ) เนื้องอกทีเกิดขึ้นจะเข้าไปกดหรือเบียดอวัยวะที่ข้างเคียง ส่งผลให้เกิดอาการตามัว เห็นภาพซ้อน ลานสายตาผิดปกติ หรือมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย แต่ถ้าเป็น functioning pituitary adenoma จะทำให้มีภาวะของฮอร์โมนในร่างกายมากเกิน ซึ่งนอกจากอาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีสาเหตุอื่น เช่น autoimmune, infiltrative disease ( sarcoidosis ) หรือ empty sella syndrome เป็นต้น ที่ทำให้ต่อมใต้สมองเกิดความผิดปกติ

1.3 ความผิดปกติของต่อมบ่งเพศ ( Gonad )

คือ ภาวะต่อมเพศขาดหายไปแต่กำเนิด ( gonadal agenesis ) ภาวะต่อมเพศไม่เจริญ ( gonadal dysgenesis ) ที่มีทั้งที่จำนวนและลักษณะของโครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ยูคาริโอตหรือคาริโอไทป์ ( karyotype ) แบบปกติ ( 46, XX และ 46, XY[Swyer syndrome] ) หรือมีคาริโอไทป์แบบที่ผิดปกติ เช่น ผู้ที่มีภาวะโมเซอิค ( Turner mosaicism ) ที่เมื่อทำการตรวจร่างกายแล้วจะพบลักษณะตัวเตี้ย ( short stature ) โดยผู้ป่วยจะมีส่วนสูงที่วัดได้มีค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติของเพศและอายุในช่วงนั้นม ภาวะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้ากว่าปกติ Delayed Puberty, low hairline, มีแผ่นที่คอ ( webbed neck ), wide-spaced nipples, มุมที่ข้อศอก ( carrying angle ) มากกว่าปกติ เป็นต้น บางครั้งอาจมีการพัฒนาสติและปัญญามีความล่าช้าร่วมด้วย ซึ่งการตรวจ karyotype พบ 45 X หรือภาวะโมเซอิก ( Mosaicism ) ภาวะที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ มีเซลล์ซึ่งมีจีโนไทป์แตกต่างกันสองแบบที่เจริญมาจากไข่ที่ผสมแล้วใบเดียว และถ้าทำการตรวจพบโคโมโซม Y ที่สามารถตรวจพบได้ประมาณ 5% แพทย์จะทำการแนะนำให้ทำการตัดต่อมเพศ ( gonadectomy ) เพราะแสดงว่ามีความเสี่ยงในการเกิด gonadoblastoma 5- 30%    [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

2. การพัฒนาของเต้านมปกติและตรวจพบมดลูก

ในกรณีนี้เมื่อทำการตรวจภายในจะมีลักษณะที่ปกติ ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้ คือ ภาวะหรือโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ ( Primary hypothyroidism ) ที่ส่งผลให้อัตราการเผาผลาญสารอาหารภายในร่างกายลดลง จะทำการกระตุ้นให้ต่อมไฮโพทาลามัสทำการหลั่งสารไทโรโทรปิน รีลิสซิงฮอร์โมน เรียกย่อว่าที อาร์ เอช ( TRH :thyrotropin releasing hormone ) และเกิด hyperprolactinemia ( prolactinoma, stalk effect  pituitary adenoma ) ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นจะทำให้ยับยั้งการหลั่ง outflow tract ( imperforate hymen, transverse vagingl septum ) หากว่าการตรวจพบว่าระบบภายในเกิดผิดปกติ แสดงว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น คือ การอุดตันของ outflow tract ( imperforate hymen, transverse vagingl septum ) ที่จะทำให้มีอาการ cyclic pelvic pain ซึ่งสามารถทำการวินิจฉัยอาการจากการตรวจหรือการทำอัตราซาว์ชนิด pelvic ultrasound

2.การขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ( Secondary amenorrhea )

การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุในการเกิดภาวะนี้ คือ การตรวจหาลักษณะของ hyperandrogenism เช่น ขนดก ( hirsutism ), มีสิวหรือผมร่วงแบบผู้ชาย ( androgenic alopecia ) ซึ่งสามารถทำการแยกสาเหตุได้ดังนี้

2.1 มีลักษณะของ hyperandrogenism สาเหตุที่เป็นไปได้

1. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือ Polycystic ovary syndrome ( PCOS ) ที่เมื่อทำการวินิจฉัยตาม Rotterdam 2003 criteria ที่มีลักษณะ 2 ใน 3 คือ

  • Hyperandrogenism ( ทางคลินิกหรือตรวจพบทางห้องปฏิบัติการ )
  • Polycystic ovaries ( ตรวจพบทาง ultrasound )
  • การตกไข่ผิดปกติ ( Oligo/Anovulation )

ซึ่งผู้ป่วยบางรายจะมีอาการดื้อต่ออินซูลินเกิดขึ้นร่วมด้วย และสามารถทำการตรวจพบ FSH กับ LH และ estrogen ในภาวะปกติหรือสูงกว่าปกติ

2. Late-onset congenital adrenal hyperplasia ( CAH )

CAH คือ โรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดทางยีนส์ด้อย เกิดจากความผิดปกติของการขาดเอ็นไซม์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ฮอร์โมนสเตียรอยด์ ( steroid ) ที่บริเวณต่อมหมวกไต โดยที่อาการของภาวะขาดฮอร์โมนสเตียรอยด์อาจเกิดร่วมกับภาวะแอนโดรเจนสูงเกิน ส่งผลให้เกิดการขาดเอ็นไซม์ 21-hydroxylase ที่เมื่อทำให้การตรวจจะพบว่าปริมาณ 17-hydroxyprogesterone เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น androgen-secreting tumor จากการที่มีเนื้องอกเกิดที่บริเวณต่อมหมวกไต ซึ่งอาจเกิดร่วมกับ Cushing’s syndrome ที่เนื้องอกในบริเวณต่อมใต้สมองส่งผลให้มีการสร้าง adrenocorticotropic hormone ( ACTH ) มากผิดปกติ ซึ่งอาการของ hyperandrogenism ที่เกิดจะมีความรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่า PCOS ด้วย

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

2.2 ไม่มีลักษณะของ hyperandrogenism แสดงให้เห็น ซึ่งสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไฮโปทาลามัส ( hypothalamus ), ต่อมใต้สมอง ( pituitary ), รังไข่และมดลูก ดังนี้

1 ความผิดปกติของต่อมไฮโปทาลามัส ( hypothalamus )

ตัวอย่างเช่น functional hypothalamic amenorrhea ที่สามารถพบรอยโรคที่ hypothalamus เช่น การติดเชื้อ การเกิดเนื้องอก การเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีการบาดเจ็บที่บริเวณสมอง

2 ความผิดปกติต่อมใต้สมอง ( pituitary )

ตัวอย่างเช่น เนื้องอก ( Functioning และ nonfunctioning pituitary adenoma ) ซึ่งเนื้องอกที่เกิดขึ้นจะเข้าไปกดหรือเบียดอวัยวะข้างเคียง แต่ถ้าเป็น functioning pituitary adenoma จะส่งผลให้ร่างกายมีภาวะฮอร์โมนเกิน เช่น มีการเกิด galactorrhea จากภาวะ hyperprolactinemia ซึ่งอาจเกิดจากโปรแลกติโนมา ( prolactinoma ) หรือ stalk effect หรือการที่ลักษณะของฮอร์โมน ยากลูโคคอร์ติคอยด์ ( Glucocorticoid ) มีค่าสูงเกินเนื่องจากโรค Cushing’s disease นอกจากยังสามารถเกิดจากโรค autoimmune, infiltrative disease, empty sella syndrome และ sheehan syndrome โดยผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการเสียเลือดมากในระหว่างการคลอดบุตรแล้ว อาจส่งผลให้ไม่มีน้ำนมสำหรับเลี้ยงบุตรได้อีกด้วย

3.ความผิดปกติของรังไข่

ความผิดปกติของรังไข่จะทำให้เกิด primary ovarian insufficiency ( premature ovarian failure ) ที่มักมีสาเหตุจาก จาก idiopathic, autoimmune ซึ่งบางครั้งอาจเกิดร่วมกับ Addison’s disease, type 1 DM, และ autoimmune thyroid disease เนื่องจากมีการฉายรังสีหรือการได้รับยาเคมีบำบัด ที่สามารถทำการตรวจ FSH อยู่ในระดับที่เท่ากับหญิงสาวที่อยู่ในวัยหมดระดูที่พบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี

2.3 ความผิดปกติของ outflow tract

ตัวอย่างเช่น Asherman syndrome คือ ภาวะที่มีผังผืดเกิดขึ้นในมดลูก เนื่องจากการทำหัตถการ เช่น การขูดมดลูก การติดเชื้อวัณโรคในมดลูก เป็นต้น

2.4 สาเหตุอื่นๆ เช่น hyperthyroidism, hypothyroidism, hyperprolactinemia

ภาวะขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู สาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้หญิงส่วนมากเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมน estrogen ที่ผิดปกติจนเกิดภาวะขาดประจำเดือน และเกิดขึ้นได้ทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

การประเมินเพื่อหาสาเหตุของอาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู

การประเมินต้องเริ่มต้นด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จึงจะสามารถระบุสาเหตุของภาวะขาดระดู ( amenorrhea ) ซึ่งมักจะเริ่มต้นประเมินว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหรือไม่ก่อน ถ้าไม่ใช่จึงหาสาเหตุว่าเป็น ของ primary amenorrhea และ secondary amenorrhea แม้ว่าสาเหตุของทั้งภาวะทั้งสองจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ทว่าภาวะ primary amenorrhea จะเริ่มทำการประเมินด้วยการตรวจมดลูกและการเจริญเติบโตของต่อมนม ส่วนภาวะ secondary amenorrhea ควรเริ่มต้นตรวจว่ามีลักษณะ hyperandrogenism หรือไม่ เพื่อทำเป็นตัวช่วยในการแยกภาวะ amenorrhea ซึ่งแต่ละขั้นตอนสามารถทำได้ดังนี้

การซักประวัติ ควรถามด้วยคำตามดังนี้

1.ประวัติการมีประจำเดือนในอดีตและระยะเวลาที่ประจำเดือนขาดไป ในผู้ป่วยที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน

2.ประวัติการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิดที่ใช้

3.ประวัติการลดน้ำหนัก การับประทานอาหาร การออกกำลังกาย อาการเจ็บป่วยเรื่อรังหรือความเครียด โรคประจำตัว การรับรู้กลิ่นของตนเองและคนในครอบครัว หรือประวัติการได้รับอาการบาดเจ็บทางสมอง

4.ประวัติการตกเลือด แท้งบุตร หรือมีเนื้องอกที่ทำให้เกิดการกดหรือเบียดของต่อมใต้สมอง ( pituitary )

5.อาการของ hypothyroidism เช่น อ่อนเพลีย น้ำหนักขึ้น ขี้หนาว ท้องผูก ผิวแห้ง เป็นต้น

6.ประวัติการเป็นโรคไทรอยด์ ( hypothyroidism และ hyperthyroidism )

7.ประวัติของอาการ hyperandrogenism เช่น สิว ผิวมัน ขนดก ผมร่วง แบบชาย เป็นต้น ซึ่งควรซักถามถึงระยะเวลาในการเกิดโรคด้วย

8.ประวัติการได้รับการฉายรังสีหรือการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง

9.ประวัติการทำหัตถการ เช่น การขูดมดลูก การติดเชื้อวัณโรคในมดลูก เป็นต้น

10.ประวัติการมีประจำเดือนครั้งแรก ( menarche ) ของตนเองและคนในครอบครัว

11.ประวัติการใช้ยาก่อนที่จะเกิด  อาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู    [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

การตรวจร่างกาย ควรเริ่มทำการตรวจร่างกาย ดังนี้

1.ทำการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนักและคำนวณดัชนีมวลกาย

2.ทำการตรวจ Tanner staging เพื่อดูการพัฒนาของเต้านมและลักษณะของอวัยวะเพศภายนอก

3.ทำตรวจบริเวณลานสายตา และทดสอบการได้กลิ่น

4.ทำการคลำบริเวณต่อมไทรอยด์

5.ทำการตรวจลักษณะของ Cushingoid appearanec ที่แสดงออก เช่น หน้ากลม ผิวบาง striae, buffalo hump เป็นต้น

6.ทำการตรวจลักษณะของ Turner syndrome เช่น short stature, delayed puberty, low hairline, webbed neck, wide-spaced nipples,carrying angle ของศอกเพิ่มเติม เป็นต้น

7.ทำการตรวจภายในเพื่อสังเกตดูว่าที่บริเวณหรือภายในมดลูกมีความผิดปกติหรือไม่ โดยดูว่ามีภาวะการอุดตันของ outfow tract หรือเยื่อบุช่องคลอดมีลักษณะอย่างไร ถ้ามีลักษณะที่บางแสดงว่าร่างกายมีภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจน ( estrogen ) ต่ำนั่นเอง

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำและช่วยยืนยันภาวะที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งการตรวจในห้องปฏิบัติการ คือ

1.การตรวจฉี่หรือตรวจเลือดเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์

2.การตรวจปริมาณฮอร์โมน TSH, prolactin, LH, FSH ที่มีอยู่ในร่างกาย แต่การตรวจฮอร์โมน estradiol ต้องระวังการแปลผลที่ทำการตรวจออกมาได้ เนื่องจากค่าที่ตรวจวัดได้จะมีความแปรปรวนในผู้หญิงที่มี primary ovarian insufficiency ในระยะแรก หรือมี functional hypothalamic amenorrhea ที่อยู่ในระยะฟื้นตัวรวม ซึ่งการตรวจดังกล่าวนี้ควรตรวจมากกว่าหนึ่งครั้ง เพราะการตรวจเพียงครั้งเดียวผลที่ได้อาจไม่ได้แสดงถึงระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ( estradiol ) ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ และต้องทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ร่วมด้วยเพื่อช่วยในการประเมินความหนาของเยื่อบุมดลูกนั่นเอง        [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3.ทำการตรวจปริมาณฮอร์โมน testosterone ซึ่งเป็นการตรวจที่ทำในที่ตรวจไม่พบมดลูกหรือมีการตรวจพบภาวะ hyperandrogenism ร่วมกับการตรวจปริมาณฮอร์โมน dehydroepiandrosterone sulfate ( DHEA-S ) ที่สามารถบ่งถึงฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนเอนโดรเจน ( androgen ) ที่มาจากส่วนของต่อมหมวกไต

4.ทำการตรวจปริมาณฮอร์โมน 17- hydroxyprogesterone ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยภาวะเกิดภาวะ Congenital Adrenal Hyperplasia ( CAH )

5.ทำการตรวจ karyotype โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะเตี้ย short stature หรือตรวจไม่พบมด

6.นอกจากนี้ยังมีการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น

  • Pelvic ultrasound เพื่อดูการลักษณะของมดลูกและรังไข่ ( PCOS ) หรือความผิดปกติของ outflow tract ที่เกิดขึ้นด้วย
  • การตรวจต่อมใต้สมอง ( pituitary ) ด้วยการทำ MRI ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นเนื้องอกต่อมใต้สมอง ( pituitary adenoma )
  • การทำ progesterone challenge test เพื่อช่วยในการประเมินภาวะ estrogen ที่อยู่ในร่างกาย โดยการให้รับประทาน norethisterone acetate ( Primolut-N ) วันละ 5- 10 มก. หรือ medroxyprogesterone acetate ( Provera ) วันละ 10 มก. ติดต่อกัน 7- 10 วัน แล้วสังเกตว่ามีเลือดออก ( withdrawal bleeding ) หรือไม่ ซึ่งแสดงภาวะ endogenous estrogen เพียงพอ ร่วมกับลักษณะทางกายวิภาคของ outflow ที่ปกติ แต่ถ้าไม่มีเลือดออก สามารถบ่งชี้ได้ว่าร่างกายมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ( estrogen ) ผิดปกติ หรือมีการอุดตันของ outflow tract เกิดขึ้น ดังนั้นต้องทำการให้ estrogen/progesterone challenge test ต่ออีก โดยให้ปริมาณ conjugated estro gen ( Premarin ) วันละ 1.25 มก. ติดต่อกัน 21 วัน เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับเยื่อบุมดลูกแล้วจึงตามด้วยการให้ progesterone แล้วถ้ามีประจำเดือนไหลออกมา แสดงว่ามีภาวะ hypothalamicpituitary-ovarian axis ที่ผิดปกติ แต่ถ้ายังไม่มีประจำเดือนไหลออกมา แสดงว่ามีการอุดตันของ outflow tract นั่นเอง

อาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจากความผิดปกติภายนอก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ primary amenorrhea และ secondary amenorrhea ดังนั้นเมื่อมีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาด้วยภาวะขาดประจำเดือน จึงจำเป็นต้องอาศัยการซักประวัติ ร่วมกับการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาสู่การวินิจฉัยเพื่อหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง และที่สำคัญควรทำการตรวจเบื้องต้นก่อนว่าผู้ป่วยมีภาวะการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหรือไม่ แล้วไม่มีการตั้งครรภ์จึงทำการตรวจหาสาเหตุอื่นต่อไป ซึ่งสาเหตุของภาวะขาดประจำเดือนทั้งแบบ secondary amenorrhea มักมีสาเหตุเดียวกับภาวะ primary amenorrhea ได้ แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ primary amenorrhea อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่สาเหตุเดียวกับ secondary amenorrhea ก็เป็นได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

De Souza, M. J.; R. J. Toombs (2010). “Amenorrhea”. In Nanette F. Santoro and Genevieve Neal-Perry. Amenorrhea: A Case-Based, Clinical Guide. Humana Press. pp. 101–125. ISBN 978-1-60327-864-5.

Speroff, Leon; Glass, Robert H.; Kase, Nathan G. (1 June 1999). Clinical gynecologic endocrinology and infertility. Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 978-0-683-30379-7.

ปัสสาวะมากเกิดจากอะไร? (Polyuria) สาเหตุที่คุณควรรู้

0
ภาวะปัสสาวะมากเกิดจากสาเหตุอะไร
ภาวะปัสสาวะมาก จึงจำเป็นต้องตรวจวัดด้วยการเก็บปัสสาวะตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมง เพื่อดูว่าแท้จริงแล้วปริมาณปัสสาวะ

ปัสสาวะมาก ( Polyuria )

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า อะไรคือ “ปัสสาวะมากผิดปกติ” โดยทั่วไปในวัยผู้ใหญ่ ปริมาณปัสสาวะต่อวันไม่ควรเกิน 3 ลิตร และในวัยเด็กไม่ควรเกิน 2 ลิตร ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่ปัสสาวะ แต่เน้นวัดจาก “ปริมาณรวม” เป็นหลัก ทั้งนี้บางคนอาจปัสสาวะบ่อย แต่ปริมาณรวมยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งกรณีนี้อาจจัดเป็นภาวะปัสสาวะถี่ (Frequent urination) หรือภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ มากกว่าที่จะเป็นอาการปัสสาวะมาก (Polyuria) สำหรับการวินิจฉัยภาวะ Polyuria จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบปริมาณอย่างชัดเจน หากปริมาณปัสสาวะเกินค่าที่กำหนดไว้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

เป็นเรื่องที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า การดื่มน้ำมากๆ นั้นดีต่อสุขภาพ แต่เชื่อว่าหลายคนก็เลือกที่จะเลี่ยงการดื่มน้ำให้เพียงพอ เปลี่ยนเป็นดื่มเฉพาะเวลากระหายแทน เพราะรำคาญใจที่จะต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ซึ่งอันที่จริงแล้วไม่ค่อยดีเท่าไร โดยปกติร่างกายจะไม่ได้กระตุ้นให้เกิดปวดปัสสาวะบ่อยมากนัก ยังคงเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่ไม่ได้สร้างความยุ่งยากต่อการดำเนินชีวิตอย่างที่คิด แต่ถ้าสังเกตเห็นว่ามีอาการปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมากเกินไปจริงๆ ให้รู้ไว้ว่านั่นไม่ใช่เพราะการดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่เป็นอาการของโรคหรือความผิดปกติของร่างกายต่างหาก

ปัสสาวะมากเกิดจากอะไร

ถ้าไม่นับ อาการปัสสาวะมากเนื่องจากดื่มน้ำมากเกินไป มากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย จึงต้องเกิดการขับออกตลอดเวลา ก็จะเป็นผลกระทบมาจากความผิดปกติต่างๆ ภายในร่างกาย และต่อไปนี้คือตัวอย่างที่พบได้บ่อยครั้ง

1. มีภาวะโรคเบาจืด : เป็นโรคเกี่ยวกับการเสียสมดุลของน้ำในร่างกาย ซึ่งมีอัตราการเกิดน้อยมาก นานๆ ครั้งจึงจะพบผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาจืดสักทีหนึ่ง ส่วนมากเป็นเพราะความผิดปกติของฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก ผู้ป่วยก็จะมีความกระหายน้ำอย่างรุนแรง ต้องดื่มน้ำเข้าไปมาก จึงปัสสาวะมากด้วยเช่นกัน ผลข้างเคียงอื่นๆ ก็คือ เมื่อดื่มน้ำมากแล้ว จะทำให้ทานอาหารได้น้อยลง ร่างกายจึงขาดสารอาหารที่จำเป็น เรียกว่าเสียสมดุลหลายระบบเลยทีเดียว

2. มีภาวะ Psychogenic polydipsia : เป็นความผิดปกติในด้านพฤติกรรม คือ ติดนิสัยการทานน้ำปริมาณมาก เป็นพฤติกรรมที่บางครั้งเชื่อมโยงกับระบบประสาท แต่บางครั้งก็ไม่ กลับกลายเป็นว่าถูกหล่อหลอมมาจากสภาพแวดล้อมแทน คนกลุ่มนี้จะนอนหลับได้ดีเป็นพิเศษ และ อาการปัสสาวะมากก็จะหยุดไปในช่วงที่หลับนี่เอง

3. มีโรคเบาหวาน : อันที่จริงตัวโรคเบาหวานเองไม่ได้มีอะไรที่เป็นอันตรายจนน่าวิตกกังวลนัก แต่สิ่งที่แทรกซ้อนเข้ามาต่างหากที่อันตราย อาการปัสสาวะมากก็เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนเหล่านั้น ผู้ป่วยเบาหวานจะรู้สึกกระหายน้ำบ่อยกว่าปกติ และทานอาหารมาก แต่น้ำหนักตัวกลับลดลง แน่นอนว่าต้องปัสสาวะมากตลอดทั้งวัน แม้ในยามหลับ หากเป็นขั้นรุนแรงก็อาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนได้

4. โรคเกี่ยวกับไต : ประเด็นนี้เน้นหนักไปที่โรคอะไรก็ตาม ที่ทำให้ไตไม่สามารถเก็บน้ำเอาไว้ได้ เมื่อเก็บไม่ได้ก็ต้องปล่อยออกเท่านั้นเอง ตัวอย่างของโรคก็คือ hypercalcemia ( ภาวะแคลเซียมสูงในเลือด ) chronic pyelonephritis ( ภาวะกรวยไตอักเสบ ) chronic hypokalemia ( ภาวะผิดปกติของค่าโพแทสเซียมในร่างกาย ) เป็นต้น

ประเภทของอาการปัสสาวะมาก

เราสามารถแยกอาการ อาการปัสสาวะมากจำพวก Polyuria ออกเป็นส่วนย่อยๆ ตามองค์ประกอบของปัสสาวะได้ 2 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่ม Solute diuresis : เป็นภาวะปัสสาวะมากที่มีต้นตอมาจาก เกิดปริมาณสารบางอย่างที่ดึงน้ำออกจากร่างกาย แล้วกลายเป็นปัสสาวะ โดยที่จะเป็นสาร electrolyte หรือ nonelectrolyte ก็ได้
  • กลุ่ม Water diuresis : เป็นภาวะที่ปัสสาวะถูกขับออกมาเร็วกว่าปกติ ลักษณะจะเป็นของเหลวที่เจือจางมาก หากพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ น้ำผ่านกระบวนการดูดซึมน้อยเกินไปนั่นเอง ซึ่งจะต้องวินิจฉัยด้วยค่า urine osmolality < 250 mosm/kg

ความสำคัญของค่า ADH

ADH หรือ Antidiuretic hormone เป็นฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ เราอาจเคยได้ยินชื่ออื่นๆ นอกจากนี้มาบ้าง เช่น เวโซเพรสซิน นี่เป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยสมองส่วนไฮโพทาลามัส แล้วส่งต่อไปยังคลังเก็บที่สมองส่วนหลัง เพื่อรอการดึงออกมาใช้งาน หน้าที่หลักของ ADH ก็คือควบคุมการทำงานของไต กลไกการดูดซึมและกรองสารพิษต่างๆ จึงดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ส่งผลกระทบในทางไม่ดีต่อร่างกาย รักษาสมดุลน้ำในร่างกายให้เป็นปกติ เนื่องจากสสารในร่างกายทั้งหมดเป็นน้ำมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ หากเสียสมดุลไป ระบบก็จะรวนและเสียหาย นอกจากนี้ ADH ก็ยังดูแลเรื่องความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายอีกด้วย ในผู้ป่วยที่มี อาการปัสสาวะมากส่วนใหญ่จึงมีปัญหาค่า ADH ลดน้อยลง อาจเป็นเพราะร่างกายไม่สามารถผลิตสาร ADH ได้ตามปกติ หรือมีพฤติกรรมบางอย่างที่ฝึกให้ร่างกายดึงเอา ADH มาใช้งานน้อยลง

การตรวจวินิจฉัยอาการปัสสาวะมาก

แม้ว่า อาการปัสสาวะมากนี้จะไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงในระยะสั้น แต่ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ เมื่อรู้สึกว่ามีปริมาณปัสสาวะมากกว่าปกติจนผิดสังเกต ก็ให้เก็บข้อมูลด้วยตัวเองเบื้องต้นก่อนเข้าพบแพทย์ดังนี้

  • บันทึกความถี่ในการปัสสาวะ และสิ่งที่ทำให้คิดว่าปริมาณปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
  • สังเกตสีและลักษณะอื่นๆ ของปัสสาวะ
  • สังเกตอาการปวดปัสสาวะช่วงเข้านอน ว่าต้องตื่นและลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึกหรือไม่ บ่อยแค่ไหน

จากนั้นจึงนำข้อมูลที่มีเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป แน่นอนว่าทีมแพทย์จะมีกระบวนการตรวจวัดอยู่แล้ว แต่การที่ผู้ป่วยสังเกตตัวเองและเก็บข้อมูลมาบ้าง จะช่วยให้การตรวจรักษาเป็นไปอย่างตรงจุดและรวดเร็วมากขึ้น

ภาวะปัสสาวะมาก จึงจำเป็นต้องตรวจวัดด้วยการเก็บปัสสาวะตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมง เพื่อดูว่าแท้จริงแล้วปริมาณปัสสาวะ

การซักประวัติผู้ป่วย

การซักประวัติเป็นขั้นตอนแรกของการรักษาทุกโรค มีรูปแบบและวิธีการที่ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะของแพทย์ผู้ดูแล อย่างไรก็ตามนี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ยิ่งเก็บข้อมูลได้มากและถูกต้องเท่าไร ก็ยิ่งดำเนินการแก้ไขได้อย่างตรงจุดมากเท่านั้น ต่อไปนี้เป็นรูปแบบการซักประวัติที่จำเป็นต่อผู้ป่วยที่มาด้วย อาการปัสสาวะมาก

  • เมื่อเทียบกับเวลาปกติ อาการที่เกิดขึ้นคือ ปัสสาวะมากขึ้น หรือปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • ในช่วงเวลากลางคืนที่นอนหลับไปแล้ว เคยตื่นเพื่อลุกมาเข้าห้องน้ำหรือไม่ บ่อยมากแค่ไหน
  • มีโรคประจำตัวอื่นๆ หรือไม่ เช่น โรคเบาจืด โรคเบาหวาน เป็นต้น
  • เคยมีความกระทบกระเทือนทางสมอง มีอุบัติเหตุหรือโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับสมองหรือไม่
  • มียาอะไรที่ใช้เป็นประจำหรือไม่
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงจนผิดสังเกตหรือไม่

เมื่อซักประวัติเรียบร้อย ก็พอจะได้ข้อมูลคร่าวๆ แล้วว่า ใช่ อาการปัสสาวะมากจริงหรือไม่ จากนั้นก็ต่อด้วยการตรวจวัด

ตรวจปัสสาวะ

ทีมแพทย์จะทำการตรวจวัดปริมาณปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ซึ่งตรงนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยด้วยเช่นกัน เพราะมักมีปัญหาว่าเก็บปัสสาวะไม่ครบ จนเป็นเหตุให้การวินิจฉัยผิดเพี้ยนไปมาก เมื่อเก็บตัวอย่างปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำการตรวจลงลึกในรายละเอียดต่อไป ดังนี้

  • Urine specific gravity : การตรวจเบื้องต้นที่ถือว่าง่ายที่สุด เป็นการวัดค่าความถ่วงจำเพาะ หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ค่าความหนาแน่นของปัสสาวะเมื่อเทียบกับน้ำนั่นเอง ในคนปกติจะมีค่า Urine specific gravity อยู่ที่ 1.010-1.025 แต่ถ้าใครมีค่า Urine specific gravity ต่ำกว่า 1.005 ก็มีแนวโน้มว่าจะมีอาการของ water diuresis
  • Urine osmolality : นี่เป็นการตรวจวัดค่าความเข้มข้นของสารละลายในปัสสาวะ ซึ่งโดยปกติก็จะทีค่าอยู่ในช่วง 50-1200 mosm/kg หากตรวจผู้ป่วยแล้วพบว่า มีค่าน้อยกว่า 250 mosm/kg ก็มีโอกาสที่จะเป็น water diuresis แต่ถ้าค่านั้นมากกว่า 300 mosm/kg ก็น่าจะเป็น solute diuresis มากกว่า จะเห็นได้ว่าค่าที่ใช้เป็นเกณฑ์ตรวจวัดไม่ได้ออกนอกช่วงค่าปกติที่พบเจอได้ เพราะหากหลุดจากช่วงนั้นไป ก็แสดงว่าเข้าสู่ภาวะอันตรายแล้ว
  • Urine glucose : เป็นการตรวจหาน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ ซึ่งเป็นการตรวจขั้นพื้นฐานในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ถ้าในปัสสาวะมีน้ำตาลมาก ก็แสดงว่าร่างกายไม่สามารถดูดซึมหรือจัดการน้ำตาลได้ตามปกติ ในผู้ป่วยที่มี อาการปัสสาวะมากก็เกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน

ตรวจเลือด

แม้ว่าจะดูเหมือนไม่ค่อยเกี่ยว แต่จริงๆ แล้วเลือดนั้นเป็นเสมือนกุญแจที่ไขความลับทุกอย่างในร่างกายของแต่ละคน เมื่อเลือดแข็งแรงสมบูรณ์ดี ร่างกายย่อมสมบูรณ์ดีเช่นกัน แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ ไม่ว่าที่อวัยวะส่วนไหนหรือระบบใด ต่างก็แสดงออกมาให้เห็นชัดในผลเลือดทั้งสิ้น สำหรับอาการปัสสาวะมากจะแบ่งการตรวจเลือดออกเป็น 4 แบบ ดังนี้

  • Serum sodium : เป็นการตรวจวัดค่าโซเดียมที่อยู่ในน้ำเลือด ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงสมดุลของน้ำในร่างกาย และค่า ADH ค่าที่วัดได้สามารถใช้เพื่อแยกแยะสาเหตุได้ 2 อย่าง คือ ถ้าค่าที่ได้ต่ำกว่าปกติ อาการปัสสาวะมากอาจมีสาเหตุมาจาก primary polyuria แต่ถ้าค่าที่ได้สูงกว่าปกติ ก็มักจะมีผลมาจาก DI
  • Blood suger : เป็นการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เน้นหนักในผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นพิเศษ
  • Serum potassium : เป็นการตรวจวัดค่าโปแตสเซียมว่าอยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่ เพราะมีผลโดยตรงต่อความเข้มข้นของปัสสาวะ
  • Serum calcium : เป็นการตรวจวัดค่าแคลเซียมในเลือด ซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานที่ผิดปกติของไตได้

กระบวนการ Water deprivation test

นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะตรวจสอบภาวะปัสสาวะมากที่มีสาเหตุมาจาก water diuresis โดยจะต้องให้ผู้ป่วยอดน้ำ พร้อมกับวัดปริมาณปัสสาวะ ทุก 1 ชั่วโมง ขณะเดียวกันนี้ก็วัดค่า urine osmolality ไปด้วย จากนั้นก็ตรวจ serum sodium และ plasma osmolality เพิ่มอีกทุก 2 ชั่วโมง

แนวทางการรักษาภาวะปัสสาวะมาก

แนวทางการรักษาภาวะปัสสาวะมากหากตรวจวินิจฉัยครบถ้วนทุกองค์ประกอบแล้ว พบว่าผู้ป่วยมี อาการปัสสาวะมากหรือ polyuria จริง ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาต่อไป

1. กรณีผู้ป่วยมีภาวะ Center DI หรือมีภาวะเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน ADH ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับการเสียสมดุลของน้ำในร่างกาย ใจความสำคัญในการรักษาก็จะเป็นการลดปริมาณปัสสาวะด้วย 3 แนวทาง ต่อไปนี้

  • Low solute diet : การใช้อาหารที่มีความเข้มข้นต่ำ เพื่อลดการขับปัสสาวะของร่างกาย
  • Desmopressin : เป็นการใช้สารสังเคราะห์ที่ทำหน้าที่เทียบเท่ากับฮอร์โมน ADH ในร่างกาย โดยจะเริ่มที่ 5 mcg ก่อน แล้วค่อยปรับค่าเพิ่มหรือลดตามความเหมาะสม
  • ใช้ยาอื่นๆ ที่สามารถลดปริมาณปัสสาวะได้ ตัวอย่างเช่น carbamazepine, NSAIDs, thiazid diuretic เป็นต้น

2. กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะ Nephrogenic DI หรือภาวะเบาจืดจากความผิดปกติของหน่วยไต

  • Low sodium, Low protein diet
  • ใช้ยาในกลุ่ม amiloride ซึ่งเป็นยาขับปัสสาวะชนิดหนึ่ง โดดเด่นในเรื่องของการลดปริมาณน้ำและเกลือแร่ในปัสสาวะ
  • Desmopressin : ใช้เมื่อรักษาด้วยแนวทางอื่นแล้ว ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจ

3. กรณีที่ผู้ป่วยเป็น Primary polydipsia ก็สามารถรักษาเบื้องต้นได้ง่ายๆ ด้วยการจำกัดน้ำ และอาจใช้การรักษาในทางจิตเวชร่วมด้วย หากผู้ป่วยมีสัญญาณเกี่ยวกับภาวะทางจิต

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Rippe, editors, Richard S. Irwin, James M. (2008). Irwin and Rippe’s intensive care medicine (6th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 909. ISBN 978-0-7817-9153-3. Retrieved 5 August 2015.

Rudolf, Mary (2006). Paediatrics and Child Health (2nd ed.). Wiley. p. 142. ISBN 9781444320664. Retrieved 5 August 2015.

อาการเจ็บหน้าอก ( Chest pain ) บ่งบอกอะไร

0
อาการเจ็บหน้าอก
อาการเจ็บหน้าอก เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยที่หลากหลาย ซึ่งอาจมีทั้งแบบไม่อันตรายและอันตราย
อาการเจ็บหน้าอก
อาการเจ็บหน้าอก เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยที่หลากหลาย

อาการเจ็บหน้าอก ( Chest pain )

อาการเจ็บหน้าอก ( Chest pain ) ในกรณีนี้หมายความถึงสภาวะที่เจ็บแน่นภายใน ไม่ใช่ส่วนของเต้านมหรือทรวงอก ดังนั้นในเพศหญิงจึงต้องทำความเข้าใจและแยกแยะอาการเจ็บป่วยของตัวเองให้ชัดเจนดีเสียก่อน เพื่อให้ค้นหาสาเหตุและรูปแบบการรักษาได้อย่างถูกต้องตรงจุด อาการเจ็บหน้าอกเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยที่หลากหลาย บางครั้งเป็นเพียงอาการชั่วคราวที่ไม่ได้สื่อถึงโรคภัยใดๆ

ในขณะที่บางครั้งกลับมีอันตรายสูงมากถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ปัญหาก็คือผู้ป่วยมักระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเจ็บแน่นที่ตรงไหน ทำให้การวิเคราะห์ของทีมแพทย์ต้องเป็นไปแบบมองภาพกว้าง ร่วมกับการตรวจละเอียดด้วยเครื่องมืออื่นๆ เพิ่มเติม ก่อนจะยืนยันต้นตอของอาการเจ็บเหล่านั้นและเริ่มดำเนินการรักษาตามขั้นตอนได้

สาเหตุของ อาการเจ็บหน้าอก

เราสามารถกำหนดขอบเขตกว้างๆ ของอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้โดยการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับหัวใจซึ่งทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกอยู่เรื่อยๆ และกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดเลย ในแต่ละประเภทก็จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

อาการเจ็บหน้าอก จากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด ( Cardiovascular chest pain )

หัวใจเป็นอวัยวะส่วนที่ทำงานแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องผ่านกระบวนการคิดหรือตัดสินใจ เป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่อยไป จนกว่าสภาพร่างกายจะเสื่อมโทรมลงเกินกว่าจะเดินหน้าระบบต่างๆ ได้ตามปกติ สิ่งที่มีผลกับการทำงานของหัวใจจึงเป็นส่วนของเลือดที่หล่อเลี้ยง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ส่วนประกอบชิ้นเล็กๆ เช่น ลิ้นหัวใจ เป็นต้น เราสามารถแบ่งย่อยอาการเจ็บหน้าอกในรูปแบบนี้ได้อีก 2 ประเภท คือ

ประเภทที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( lschemic chest pain ) : ส่วนใหญ่สาเหตุที่ทำให้หัวใจขาดเลือดจริงๆ จะเป็นปัญหาของเส้นเลือดที่ทำหน้าที่ส่งเลือดมาเลี้ยงหัวใจ มักมีคราบไขมันจำนวนมากอุดตันหรือมีสิ่งกระตุ้นอื่นๆ ที่ทำให้เส้นเลือดตีบจนขนส่งเลือดไม่ได้

ประเภทที่ไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( non ischemic chest pain ) : มักมีอาการอักเสบเป็นต้นเหตุหลัก เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นแล้วร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูให้หายขาดได้ อาการเหล่านั้นก็จะยังคงอยู่ และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นมา อาจเกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ อาจมีเลือดออกจากหลอดเลือด เป็นต้น

อาการเจ็บหน้าอก เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย เป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยที่หลากหลาย บางครั้งเป็นเพียงอาการชั่วคราวที่ไม่ได้สื่อถึงโรคภัยใดๆ ในขณะที่บางครั้งกลับมีอันตรายสูงมากถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด ( Non – Cardiovascular chest pain )

ทันทีที่มี อาการเจ็บหน้าอกหลายคนจะนึกถึงโรคเกี่ยวกับหัวใจเป็นอันดับแรก เลยทำให้อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น สร้างความวิตกกังวลที่รุนแรงให้กับผู้ป่วยเสมอ ทั้งๆ ที่อาจจะไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับอวัยวะส่วนหัวใจและหลอดเลือดเลยก็ได้ อย่าลืมว่าในช่องอกของเรามีอวัยวะหลายส่วน หัวใจ ปอด ทางเดินอาหาร มัดกล้ามเนื้อ ดังนั้นสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกจึงเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะส่วนใดก็ได้ ตัวอย่างของภาวะเจ็บหน้าอกในกรณีนี้ได้แก่

อาการอักเสบของทางเดินอาหารหรือภาวะกรดไหลย้อน : นี่เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกและแสบร้อน เนื่องจากมีกรดจากกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาตามหลอดอาหาร วิธีสังเกตคือจะมีความรู้สึกว่าได้รับรสเปรี้ยวของกรดไล่ตั้งแต่ช่วงท้องขึ้นมาถึงอกและคอ อาจเจ็บท้องที่ส่วนบนหรือล่างก็ได้ หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหัวใจเพราะทางเดินอาหารกับหัวใจอยู่ใกล้กันมาก จึงต้องสังเกตสิ่งที่แตกต่างเล็กๆ เหล่านี้ให้ดี

โรคกระเพาะอาหาร : ดูคล้ายว่าเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากอาการเจ็บหน้าอกมาก แต่ความจริงแล้วทุกส่วนในร่างกายก็เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด เมื่อมีการหดเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณกระเพาะที่ผิดปกติ หลอดอาหารก็จะบีบตัวรุนแรงและส่งผลให้เจ็บหน้าอกได้เหมือนกัน หรือมีอาการของโรคกระเพาะและมีภาวะหลอดอาหารทะลุร่วมด้วย สิ่งที่ควรอยู่แค่ในทางเดินอาหารก็หลุดออกมา ส่งผลให้เจ็บหน้าอกได้นั่นเอง

ภาวะกระดูกอ่อนบริเวณซี่โครงอักเสบ : กระดูกอ่อนซี่โครงก็คือกระดูกตรงผนังอก เมื่อมีการอักเสบขึ้นมาด้วยสาเหตุใดก็ตาม ก็จะทำให้เกิดอาการบวม ตึง และเจ็บช่วงหน้าอกได้ ยิ่งถ้าจัดร่างกายในลักษณะที่จะกระทบกระเทือนอาการอักเสบนั้น ก็จะยิ่งเจ็บมากขึ้นหลายเท่า เช่น การนอนหงาย การไอหรือจาม เป็นต้น

ภาวะตับอ่อนอักเสบ : อาการอักเสบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผลมาจากนิ่วในถุงน้ำดี หรือเกิดกับคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เมื่อตับเริ่มอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหน้าอกที่ส่วนล่าง และเจ็บหนักขึ้นเมื่อตับถูกกดทับด้วยอวัยวะอื่นๆ

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด : ไม่ว่าจะเป็นลิ่มเลือดที่เกิดจากสาเหตุใดก็ตาม เมื่อเข้าไปอุดตันปิดกั้นการเดินทางของเลือดในปอดแล้ว เนื้อเยื่อปอดก็จะค่อยๆ ขาดเลือด และเกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้น โดยจะเป็นการเจ็บแปลบๆ หายใจไม่สุด ถ้าเป็นหนักมากและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะมีอาการไอเป็นเลือดตามมา

ปอดบวม : ส่วนใหญ่โรคปอดบวมจะเกิดจากการติดเชื้อภายในปอด ส่งผลให้เยื่อหุ้มอักเสบ บวม และปวด อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น จึงเป็นไปในลักษณะของการเจ็บลึกๆ เข้าไปข้างใน มักมีไข้ร่วมด้วย

ภาวะเครียดและวิตกกังวล : ความเครียดเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่หลากหลาย รวมถึง อาการเจ็บหน้าอก นี้ด้วย เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น ระบบในร่างกายก็จะทำงานผิดปกติไป หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมา จังหวะการหายใจก็จะสั้นกระชั้น ร่างกายจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มีอาการเวียนหัวและเจ็บหน้าอกตามมา

การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก

การซักประวัติผู้ป่วย

การตรวจรักษาทุกประเภทจะเริ่มที่การซักประวัติผู้ป่วย ทั้งข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลที่น่าจะเป็นปัจจัยสุ่มเสี่ยงต่างๆ สำหรับการซักประวัติผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกนี้ ก็จะมีองค์ประกอบสำคัญ 2 อย่างที่จะต้องเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด เพื่อตีกรอบความเป็นไปได้ของสาเหตุการเกิดความผิดปกตินี้

1. ประเมินลักษณะของการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น ได้แก่ ลักษณะของอาการเจ็บ ตำแหน่งที่เกิด ช่วงเวลา ความเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ อาการร่วมต่างๆ

2. ประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับหลอดเลือด โดยวิเคราะห์จากปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ วัย เพศ โรคเบาหวาน โรคไขมัน การสูบบุหรี่และประวัติของครอบครัว

ความหมายของตัวอักษรที่ใช้วิเคราะห์อาการเจ็บหน้าอก

ยิ่งทีมแพทย์สามารถเก็บข้อมูลได้มากและลึกเท่าไร ก็ยิ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วยมากเท่านั้น จึงมีรูปแบบการซักประวัติ OLD CAAARS ขึ้นมา ใช้เป็นแบบแผนเบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์และวินิจฉัยโรค มีรายละเอียดและความหมายตามตัวอักษรทั้งหมด ดังต่อไปนี้

O (Onset) : เป็นการแยกรูปแบบของ อาการเจ็บหน้าอกว่าเจ็บแบบทันทีทันใด เป็นๆ หายๆ หรือว่าเริ่มจากเจ็บเล็กน้อย แล้วเพิ่มความรุนแรงขึ้นตามเวลา เพียงแค่วินิจฉัยตามอักษรตัวแรกนี้ก็สามารถตีกรอบของอาการเจ็บได้ประมาณหนึ่งแล้ว เช่น ถ้าเจ็บแบบที่ค่อยๆ เจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ ก็สามารถสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเจ็บรุนแรงแต่หายได้อย่างรวดเร็ว ก็สันนิษฐานเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจแทน เป็นต้น

L ( Location ) : ตำแหน่งการเกิดสำคัญมากต่อการระบุต้นตอของอาการเจ็บป่วยต่างๆ แต่ก็ถือว่าเป็นการยากที่จะชี้ชัดได้จริงๆ ว่าเจ็บตรงไหน เพราะผู้ป่วยส่วนมากมักไม่รู้ รู้เพียงแค่เจ็บเท่านั้น ทีมแพทย์อาจช่วยด้วยการซักถามชี้นำ ว่าเป็นแบบนั้น แบบนี้ หรือไม่

D ( Duration ) : ระยะเวลาในการเจ็บ นอกจากจะบอกว่าอาการที่เป็นอยู่น่าจะมีสาเหตุมาจากสิ่งใด ก็สามารถบอกได้ว่าระดับความรุนแรงอยู่ช่วงไหนแล้ว เช่น ถ้าการเจ็บแต่ละครั้งกินเวลาราวๆ 2-10 นาที ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นภาวะหัวใจขาดเลือด หรือถ้าเจ็บนานเกินกว่า 30 นาที ก็น่าจะเป็นภาวะหัวใจอุดตันฉับพลัน เป็นต้น

C ( Character ) : เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ผู้ป่วยบอกได้ยาก ว่าอาการที่เป็นอยู่นั้น เจ็บในรูปแบบไหน เช่น เจ็บแปลบ เจ็บหน่วงๆ หรือเจ็บแสบร้อน แต่ทีมแพทย์ก็ละเลยไม่ได้ เพราะหลายคนเคยมีอาการป่วยมาก่อนแล้ว จึงรู้ว่าตัวเองเจ็บแบบไหน ถ้าเป็นกรณีนี้ก็จะช่วยให้ข้อมูลสำคัญได้อย่างดีทีเดียว  

A ( Aggravating factors ) / A ( Alleviating factors ) / A ( Associated symptoms ) : กลุ่มนี้เป็นการวัดว่าปัจจัยไหนบ้างที่ทำให้มีอาการเจ็บเกิดขึ้น และปัจจัยไหนบ้างที่ทำให้เจ็บเพิ่มมากขึ้นอีกระดับ อย่างเช่น ถ้ารู้สึกเจ็บหน้าอกเฉพาะเวลาที่กลืนอาหาร ก็คาดเดาได้ว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร ถ้ารู้สึกเจ็บเมื่อหายใจเข้าลึกๆ ก็อาจเกี่ยวกับปอด เป็นต้น เหตุผลที่ต้องแยกเป็น A 3 ชุด ก็เพื่อการจัดกลุ่มการตรวจวัดให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและจำเพาะเจาะจงมากขึ้นนั่นเอง

R ( Radiation ) : รัศมีของอาการเจ็บป่วย หลายครั้งที่ผู้ป่วยไม่รู้ว่าเจ็บตรงไหนกันแน่ เพราะต้นตอของ อาการเจ็บหน้าอกได้ส่งผลกระทบต่อบริเวณใกล้เคียง เช่น เมื่อเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ก็มักจะลามไปยังบริเวณคอ บ่า ไหล่ และไล่มาตามฟันกราม เป็นต้น หากชี้ชัดได้ว่ารูปแบบการขยายวงกว้างของอาการเจ็บปวดนั้นเป็นอย่างไร ก็จะระบุโรคได้ง่ายขึ้น

S ( Severity ) : เป็นการประมาณระดับความเจ็บป่วยแบบคร่าวๆ แทนการระบุแบบชัดเจนซึ่งทำได้ยาก ทั้งนี้ก็เพื่อวัดความรุนแรงของอาการ ว่าจะมีอันตรายถึงระดับไหน เป็นกรณีเร่งด่วนหรือไม่

การตรวจร่างกายและวิเคราะห์รายละเอียดอื่นๆ

เมื่อซักประวัติจนครบถ้วนแล้ว ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการตรวจร่างกาย จำเป็นต้องแยกแยะอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงให้ได้เสียก่อน หากกรณีไหนอันตรายถึงชีวิต ก็จะมีรูปแบบการรักษาเร่งด่วนที่แตกต่างไปจากกรณีปกติ นอกนั้นก็จะไปต่อที่ขั้นตอนการตรวจร่างกาย ในตอนนี้ทีมแพทย์จะมีคำตอบในใจบ้างแล้วจากการซักประวัติ การตรวจจึงเป็นการหาข้อมูลสนับสนุนว่าเป็นสิ่งที่คิดไว้จริงหรือไม่ และมีสิ่งใดที่ต้องรู้เพิ่มเติมอีกบ้าง เช่น ผู้ป่วยมีสภาพร่างกายที่พร้อมสำหรับการรักษาหรือไม่ ระดับของโรคประจำตัวเป็นอย่างไร เป็นต้น นั่นหมายความว่าในแต่ละคนก็จะมีวิธีการตรวจที่ต่างกันไป อาจเป็นการตรวจแบบง่ายๆ ด้วยเครื่องมือแพทย์พื้นฐาน หรืออาจเป็นการตรวจที่ต้องอาศัยห้องปฏิบัติการก็ได้

การตรวจร่างกายอย่างง่าย

  • ตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • ตรวจวัดอาการของหลอดเลือดแดงเสื่อม
  • ตรวจวัดอาการของ atherosclerosis หรือภาวะเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด
  • ตรวจหาสัญญาณจากสิ่งอื่นๆ   

ตรวจร่างกายด้วยห้องปฏิบัติการ

  • EKG หรือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคุณสมบัติของเลือด แบ่งย่อยออกเป็น 2 อย่าง ดังนี้ หาค่า CK และค่า CK-MB หาค่า Cardiac troponin

  • การตรวจวัด Chest X-ray
  • การตรวจวัด Stress Testing

จะเห็นได้ว่าอาการเจ็บแน่นหน้าอกนั้น นอกจากจะมีสาเหตุการเกิดค่อนข้างกว้าง มีการตรวจวินิจฉัยที่ละเอียด และมีเงื่อนไขในการรักษาหลายอย่างแล้ว ก็ยังเป็นอาการเจ็บที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตอีกด้วย ดังนั้นเมื่อไรที่มี อาการเจ็บหน้าอกก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาที่ถูกต้อง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Marx JA, Hockberger RS, Walls RM, Biros MH, Danzl DF, Gausche-Hill M, Jagoda A, Ling L, Newton E, Zink BJ, Rosen P (2014). Rosen’s Emergency Medicine: Concepts and Clinical Practice (Eighth ed.). Philadelphia, PA: Elsevier/Saunders. ISBN 978-1-4557-0605-1. OCLC 853286850.

Wertli MM, Ruchti KB, Steurer J, Held U (November 2013). “Diagnostic indicators of non-cardiovascular chest pain: a systematic review and meta-analysis”. BMC Medicine. 11: 239. doi:10.1186/1741-7015-11-239. PMC 4226211. PMID 24207111.

อาการตัวเขียว ( Cyanosis )

0
ภาวะตัวเขียว (Cyanosis)
ภาวะตัวเขียว หมายถึง ภาวะความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบิ่นในหลอดเลือดแดงต่ำ เป็นอาการที่เนื้อเยื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจน จึงทำให้เนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนหรือมีสีที่คล้ำลง
ภาวะตัวเขียว (Cyanosis)
ภาวะตัวเขียว หมายถึง ภาวะความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบิ่นในหลอดเลือดแดงต่ำ เป็นอาการที่เนื้อเยื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจน ทำให้เนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนหรือมีสีที่คล้ำลง

อาการตัวเขียว

อาการตัวเขียว ( Cyanosis ) คือ อาการที่สามารถพบได้ในเวชปฏิบัติ เป็นอาการที่เนื้อเยื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจน จึงทำให้เนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนหรือมีสีที่คล้ำลง และเมื่อมีภาวะตัวเขียวเกิดขึ้นกับบริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้กับผิวหนังหรือเยื่อบุที่บริเวณช่องปาก เราจะสามารถสังเกตได้ว่าที่ส่วนของลำตัว ริมฝีปาก มือ เท้า เล็บจะมีการเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ   

โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการจะมีทั้งที่เป็นแบบอาการเรื่อรังหรือแบบอาการเฉียบพลันที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบเร่งด่วน ดังนั้นเพื่อการรักษาที่การวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องแล้ว ต้องทำการซักประวัติหรือทำการตรวจร่างกาย เพราะการซักประวัติและการตรวจร่างกายจะสามารถช่วยให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งระบุแนวทางรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยภาวะตัวเขียวที่เข้ามารักษาได้

สาเหตุของอาการเขียว

อาการเขียวมีสาเหตุหลายอย่างซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเฉพาะที่จากการฟกช้ำ พรายย้ำ โรคผิวหนัง การตีบตันของหลอดเลือดเฉพาะที่ หรือจากสาเหตุอื่นๆ หรืออาการเขียวอาจจะเกิดขึ้นทั่วร่างกายจากการขาดออกซิเจนหรือขาดอากาศหายใจ โรคปอด โรคหัวใจ ได้รับสารพิษ หรือสาเหตุอื่นๆ

1. เขียวเพราะขาดออกซิเจน (cyanosis) : เกิดจากฮีโมโกลบินอยู่ในสภาพที่ขาดออกซิเจนเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เม็ดเลือดแดงจะเปลี่ยนจากสีแดงสดเป็นสีแดงดำ หรือสีม่วง ซึ่งอาจพบได้ทั่วร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง
2. เขียวเพราะฟกช้ำ (bruise) : เมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายถูกกระทบกระแทกแรงๆ ส่วนนั้นอาจเกิดเป็นรอยฟกช้ำเห็นเป็นสีเขียวได้ เนื่องจากมีเลือดออกอยู่ใต้ผิวหนัง
3. เขียวเพราะพรายย้ำ (purpura) : พรายย้ำ คือ การมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดจากเลือดแข็งตัวยาก เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังไม่แข็งแรง เช่น ในคนชรา ในสตรีบางคนที่มักเป็นรอยจ้ำเขียวๆ ตามแขนขา เป็นต้น
4. เขียวเพราะสาเหตุอื่นๆ เช่น ปาน โรคผิวหนังบางชนิด ภาวะถูกพิษ เป็นต้น

การแบ่งระดับหรือประเภทของภาวะตัวเขียว ( Definition and Classification )

ภาวะตัวเขียว หมายถึง ภาวะความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินในหลอดเลือดแดงต่ำ ( Arterial oxygen desaturation ) โดยเมื่อมีภาวะตัวเขียวจะตรวจพบว่ามีค่า Arterial oxygen saturation ( SaO2 ) ต่ำกว่าร้อยละ 85หรือมีระดับปริมาณของฮีโมโกลบินที่ปลดปล่อยออกซิเจนออกไปแล้ว(Absolute level of deoxyhemoglobin)ที่กลับมาจับตัวกับคาร์บอนไดออกไซต์ ( Carbon dioxide ) โดยที่บริเวณเส้นใยกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการรับส่งเซลล์เม็ดเลือดแดงเพื่อทำการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ( Oxygen )กับคาร์บอนไดออกไซด์( Carbon dioxide ) หรือที่เรียกว่าบริเวณร่างแหแคปปิลารี่ ( Capillary beds ) มีค่ามากกว่า 5 g/100 mL สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะซีด ( Anemia ) เมื่อทำการตรวจจอาจพบว่า ค่า Arterial oxygen saturation ( SaO2 ) มีค่าต่ำกว่า 85% แต่ผู้ป่วยยังไม่มีการแสดงภาวะเขียวออกมา เนื่องจากค่า Absolute level of deoxyhemoglobin ที่อยู่ในบริเวณ capillary bed มีค่าต่ำ ดังนั้นจึงสามารถทำการแบ่งภาวะเขียว ( Cyanosis ) ออกเป็น 2 แบบ ด้วยกัน คือ

1.อาการเขียวบริเวณส่วนกลาง ( Central cyanosis )

อาการตัวเขียว คือ ภาวะนี้เมื่อทำการตรวจร่างกายจะพบว่าร่างกายมีภาวะเขียวที่บริเวณผิวหนังและเยื่อเมือกบุ ( mucous membrane ) เช่น บริเวณลิ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Central Cyanosis มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย คือ

1.1 ภาวะความดันบรรยากาศลดลง ( Decreased atmospheric pressure ) เกิดขึ้นเมื่อต้องขึ้นไปอยู่ในพื้นที่สูง ( High Altitude ) และสามารถเริ่มพบอาการได้ที่ระดับความสูงมากกว่า 2,500 เมตรหรือ8,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล และที่ความสูงประมาณ 5,000 เมตรหรือ16,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล เมื่อทำการวัดค่า FiO2 ที่บริเวณดังกล่าวจะมีค่าประมาณ 85 mmHg ค่าออกซิเจนในถุงลมปอด ( Alveolar PO2 หรือPaO2 ) ควรมีค่าอยู่ที่ประมาณ 50 mmHg และค่าความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินในหลอดเลือดแดง ( Arterial oxygen saturation หรือ SaO2 ) มีค่าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 75 ซึ่งจะทำให้ร้อยละ 25ของฮีโมโกบิน ( Hemoglobin ) ที่อยู่ในหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ ( Arterialblood ) กลายเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน ( Reduce form ) จึงส่งผลให้ค่าความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินในหลอดเลือดแดงต่ำลง

1.2 ภาวะPulmonary Function Impaired pulmonary function

ที่การกำซาบหรือเกิดจากกระบวนการขนส่งสารอาหารของเลือดแดงจากหลอดเลือดแดงไปยังแขนงหลอดเลือดฝอยในเนื้อเยื่อ ( Perfusion ) ของไม่สามารถทำการระบายหรือ unventilated หรือ poorly ventilated areas หรือภาวะที่ผู้ป่วยหายใจลดลง ทำให้ปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ปริมาณของออกซิเจนที่อยู่ในถุงลมปอด ( PAO2 ) มีค่าลดลง ( Alveolar Hypoventilation ) จัดเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดภาวะเขียวได้บ่อยมาก ซึ่งภาวะตัวเขียวที่เกิดขึ้นมีการเกิดได้ 2 แบบ คือ

1.2.1 แบบเฉียบพลัน เช่น ภาวะ extensive pneumonia, pulmonary edema หรือโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอด ( Pulmonary Embolism )

1.2.2 เกิดแบบเรื้อรัง เช่น ภาวะถุงลมโป่งพอง ( Emphysema ) ที่เป็นแบบเรื้อรัง ( Chronic ) มักพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการนิ้วปุ้ม ( Clubbing of the fingers ) และการที่ร่างกายได้รับสารกระตุ้นที่ใช้ในการสร้างเม็ดเลือดเพิ่มสูงขึ้น ( Secondary Polycythemia ) ร่วมด้วย สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ( Chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD ) และ obliteration of the capillary vascular bed ที่ทำให้กระแสเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงที่บริเวณ underventilated areas จึงไม่ทำให้เกิดภาวะ Central cyanosis

1.3 ภาวะ Shunting of systemic venous blood into arterial circuit

ที่มีสาเหตุเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ( Congenital Heart Disease ) เป็นชนิดที่มีภาวะ Central cyanosis เพราะว่าในสภาวะปกติการไหลเวียนของเลือดจะมีการไหลจากที่ที่มีความดันสูงกว่าไปสู่บริเวณที่มีความดันที่ต่ำกว่า ( higher pressure to lower pressure region ) แต่ทว่าในผู้ที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ( Congenital Heart Disease ) ที่มี right to left shunt เกิดขึ้นร่วมกับการอุดตันที่บริเวณส่วนปลาย ( obstructive lesion distal downstream to defect ) เช่น tetralogy of Fallot ( ventricular septal defect และ pulmonary outflow tract obstruction ) ซึ่งอาจมีภาวะความดันโลหิตภายในหลอดเลือดที่เข้าสู่ปอดสูง ( elevated pulmonary vascular resistance ) เกิดขึ้นร่วมได้ ดังนั้นความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากภาวะเขียวของ tetralogy of Fallot จะมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของ pulmonary outflow tract obstruction ด้วย

1.4 ภาวะกลุ่มอาการไอเซนเมนเกอร์ ( Eisenmenger syndrome )

ภาวะซึ่งเกิดจากการที่ภาวะทางเชื่อมจากซ้ายไปขวาที่เกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดทำให้เกิดการไหลของเลือดไปยังหลอดเลือดของปอดมากจนทำให้มีความดันหลอดเลือดพัลโมนารีสูง ซึ่งเป็นภาวะ pulmonary vascular obstructive disease ที่เกิดจาก large preexisting left-to-right shunt เช่น large PDA large VSD, large ASD ที่เกิดร่วมกับภาวะหลอดเลือดในปอดมีการเปลี่ยนแปลง ( pulmonary vasculature remodeling ) ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะ pulmonary artery pressures สูงขึ้นได้ จึงทำให้มีค่าเท่ากับค่า systemic levels และทิศทาง ( direction ) ของ flow ส่งผลให้ร่างกายภาวะ bidirectional หรือ right to left

1.5 ภาวะ Differential cyanosis

คือ ภาวะเขียวที่เกิดขึ้นที่บริเวณกระดูกระยางค์ส่วนล่าง ( Lower Extremities ) หรือกระดูกของขามีทั้งหมด 62 ชิ้น แต่จะไม่เกิดขึ้นกับบริเวณกระดูกระยางค์ส่วนบน ( Upper Extremities ) หรือกระดูกของแขนที่มีทั้งหมด 64 ชิ้น ซึ่งภาวะเขียวนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน ( Patent ductus arteriosus: PDA ) ที่เป็นความผิดปกติในส่วนของหลอดเลือดดักตัส-อาร์เทอริโอซัส ( ductus arteriosus ) ที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างส่วนของหลอดเลือดแดงใหญ่และส่วนของหลอดเลือดปอด มีการเปิดอยู่หรือมีการปิดไม่สนิท ซึ่งมักเกิดร่วมกับภาวะความดันหลอดเลือดแดงปอดสูง ( pulmonary arterial hypertension, PAH ) ซึ่งเป็นภาวะที่ความดันเฉลี่ยของหลอดเลือดแดงในปอด ( mPAP ) มีค่าเท่ากับหรือมีค่าสูงกว่า 25 มม. หรือร่วมกับ right to left shunt ได้เช่นกัน

ภาวะความผิดปกติในเชิงคุณภาพ ( abnormal hemoglobin ) เช่น ภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด ( Methemoglobinemia ), Sulfhemoglobinemia ซึ่งภาวะเขียวที่พบนั้นไม่ได้มีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบไหลเวียน ( Circulation ) หรืออัตราการหายใจ ( Respiratory ) และเมื่อทำการตรวจร่างกายก็จะไม่พบภาวะนิ้วปุ้ม ( Clubbing of the fingers ) อีกด้วย หรือในผู้ป่วยที่เลือดมีเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล เมื่อมีการสัมผัสกับอากาศภายนอกจะเรียกภาวะที่เกิดขึ้นนี้ว่า “ Methemoglobinemia ”

อาการเขียวเมื่อทำการตรวจร่างกายจะพบว่าร่างกายมีภาวะเขียว ที่บริเวณผิวหนังและเยื่อเมือกบุ

2.อาการเขียวบริเวณส่วนปลาย ( Peripheral cyanosis )

อาการเขียวบริเวณส่วนปลาย คือ ภาวะเขียวที่เมื่อทำการตรวจร่างกายแล้วจะพบว่าพื้นที่ที่เกิดภาวะเขียวจะเกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ ( cool areas ) เช่น บริเวณเนื้อใต้เล็บ ( nail beds ), จมูก ( nose ), แก้ม ( cheeks ), ติ่งหู ( earlobes ) และบริเวณผิวด้านนอกของลิมฝีปาก ( outer surface of lips ) เป็นต้น ซึ่งการนวดหรือการเพิ่มความอบอุ่นให้กับบริเวณดังกล่าวจะสามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่บริเวณส่วนปลาย ( peripheral blood flow ) จึงช่วยลดอาการหรือทำให้ภาวะเขียวบริเวณส่วนปลายหายได้ แต่สำหรับภาวะเขียวส่วนกลาง ( Central cyanosis ) จะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวให้หายได้ ซึ่งสาหตุของภาวะเขียวส่วนปลาย ( Peripheral cyanosis ) เกิดเนื่องจาก

2.1 การที่บริเวณหรืออวัยวะดังกล่าวมีการสัมผัสกับสิ่งขอที่มีความเย็นจัด เช่น น้ำแข็ง หิมะ เป็นต้น หรือสัมผัสกับอากาศเย็นเป็นระยะเวลานาน

2.2 ภาวะบีบตัวของหลอดเลือดหรือการตีบของหลอดเลือด ( vasoconstriction ) เนื่องจากภาวะของกลไกในการชดเชย ( compensatory mechanism ) ในกรณีที่ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที ( cardiac output ) มีปริมาณลดลง 

2.3 ภาวะที่เส้นเลือดมีการอุดตันของหลอดเลือดแดงจากการมีสิ่งแปลกปลอมไหลไปตามกระแสเลือดและเข้ามาอุดหลอดเลือด ( embolus )

2.4 ภาวะที่เส้นเลือดมีการบีบรัดตัว  ( arteriolar constriction ) เช่น cold induce vasospaem หรือโรคเรเนาด์ทุติยภูมิ ( Raynaud’s phenomenon ) เป็นต้น

2.5 ภาวะที่เส้นเลือดดำเกิดการอุดตันจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบของหลอดเลือดดำ ( Thrombophlebitis ) เป็นต้น

ภาวะตัวเขียว หมายถึง ภาวะความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบิ่นในหลอดเลือดแดงต่ำ เป็นอาการที่เนื้อเยื่อเกิดภาวะขาดออกซิเจน จึงทำให้เนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนหรือมีสีที่คล้ำลง

การประเมินอาการของผู้ป่วย

การประเมินอาการของผู้ป่วยเพื่อทำการวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเขียวสมารถทำได้ดังนี้

1.การสอบประวัติ โดยเฉพาะ Timming of the onset of cyanosis เช่น ให้ทำการซักประวัติว่าเกิดภาวะเขียวตั้งแต่แรกเกิดหรือไม่ เพราะว่าถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว สาเหตุของการเกิดภาวะเขียวที่เกิดขึ้นจะเกิดเนื่องจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ( Congenital heart disease ) เป็นต้น

2.ทำการวินิจฉัยเพื่อแยกชนิดของภาวะตัวเขียวแบบ Peripheral cyanosis และแบบ Central cyanosis ออกจากกัน โดยทำการวิเคราะห์หาสาเหตุจากพยาธิสภาพของระบบหายใจ หรือระบบไหลเวียนเลือด

3.ทำการตรวจร่างกาย ซึ่งมักจะเริ่มต้นด้วยการค้นหาภาวะนิ้วปุ้ม ( Clubbing of the fingers ) เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และหาความสัมพันธ์กับโรค Congenital heart disease with right to left shunt หรือโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ( pulmonary disease ) เช่น โรคฝีในปอด ( lung abscess ), การผ่าตัดทาเส้นเลือดล้างไตในปอด ( pulmonary arteriovenous fistulae ) เป็นต้น เพราะภาวะตัวเขียวแบบ Central cyanosis จะมีพบภาวะนิ้วปุ้ม ( Clubbing of the fingers ) แต่ที่ภาวะเขียวแบบ Peripheral cyanosis จะไม่สามารถพบภาวะนิ้วปุ้ม ( Clubbing of the fingers ) นั่นเอง

4.การตรวจเลือด เพื่อช่วยทำการวิเคราะห์และแยกภาวะ Methemoglobinemia และตรวจวัดค่าภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง ( PaO2 ) และความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบิ่นในหลอดเลือดแดง ( Arterial oxygen saturation / SaO2 )

ภาวะเขียว ( Cyanosis ) หรือ ภาวะความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินในหลอดเลือดแดงต่ำ ( Arterial oxygen desaturation ) เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจำเป็นต้องได้รับการซักประวัติและทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยและแยกภาวะเขียวที่เกิดขึ้นว่าเป็น

1.ภาวะเขียวแบบส่วนกลาง ( Central cyanosis ) ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

2.ภาวะเขียวแบบส่วนปลาย ( Peripheral cyanosis ) ที่มีความรุนแรงน้อยกว่าภาวะเขียวแบส่วนปลาย ซึ่งสามารถรักษาด้วยการนวดหรือการเพิ่มความอบอุ่นกับบริเวณดังกล่าว อาการเขียวก็จะหายไปได้เอง

การวิเคราะห์และตรวจร่างกายจะช่วยให้แพทย์สามารถทำการแยกประเภทและทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของภาวะเขียวที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากพยาธิสภาพทางระบบหายใจหรือความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งเมื่อทราบสาเหตุแล้วจึงจะสามารถออกแบบแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป ดังนั้นเมื่อมีภาวะเขียวเกิดขึ้นอย่างนิ่งนอนใจและปล่อยนาน ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ในทันทีเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ และคณะ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.

ผลไม้ที่กินเพื่อลดน้ำหนักเหมาะสำหรับคนอ้วน

0
ผลไม้ที่ควรกินก่อนและหลังอาหารมีอะไรบ้าง
ผลไม้ เป็นอาหารมีประโยชน์ต่อร่างกายค่อนข้างสูง ด้วยวิตามิน แร่ธาตุและไฟเบอร์ต่างๆ
ผลไม้ที่ควรกินก่อนและหลังอาหารมีอะไรบ้าง
ผลไม้ เป็นอาหารมีประโยชน์ต่อร่างกายค่อนข้างสูง ด้วยวิตามิน แร่ธาตุและไฟเบอร์ต่างๆ

ผลไม้

ผลไม้ ( fruit ) เป็น อาหารหลัก 5 หมู่ อีกประเภทหนึ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกายค่อนข้างสูง อุดมไปด้วยด้วยวิตามิน แร่ธาตุและไฟเบอร์ต่างๆ และข้อได้เปรียบของบ้านเราก็คือ เป็นเขตเมืองร้อนที่มีผลไม้หลากหลายสายพันธุ์สลับหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันออกผลตลอดปี เรียกว่ามีให้เลือกทานกันได้ไม่ขาดช่วง เช่น ผลไม้หน้าร้อน ผลไม้หน้าหนาว ผลไม้หน้าฝน ดังนั้นการเลือกรับประทานผลไม้ที่มีสีสันสดใสสวยงามก็สามารถทำให้เจริญอาหารได้สีในผลไม้แต่ละชนิดมีประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นผลไม้สีแดงมีสารสำคัญ คือ สารไลโคปีนช่วยต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็ง ผลไม้สีม่วงมีสารสำคัญ คือ สารแอนโทไซยานินช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง ผลไม้สีเขียวมีสารสำคัญ คือ สารคลอโรฟิลล์ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันใฟ้แข็งแรง ผลไม้สีส้มหรือสีเหลืองมีสารสำคัญ คือ สารต้านอนุมูลอิสระแคโรทีนอยด์ เบต้าแคโรทีน ไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง บำรุงสายตาชะลอความเสื่อมของเซลล์ลดความเสี่ยงจากการเป็นต้อกระจก แต่ที่สำคัญถ้าเป็นผลไม้ในฤดูกาล ก็จะมีความสดใหม่ในราคาย่อมเยา สามารถเลือกซื้อเลือกทานกันได้ตามใจชอบเลย ทีนี้เมื่อลงรายละเอียดไปอีกนิด ประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจก็คือ ช่วงเวลาไหนที่ทานผลไม้แล้วได้ประโยชน์มากที่สุด โดยเน้นไปที่ก่อนและหลังมื้ออาหารเป็นหลัก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อันที่จริงหากเราไม่ได้มีระบบย่อยอาหารที่อ่อนไหวหรือบอบบางมากเกินไป ก็สามารถทานผลไม้ได้ทุกชนิด และทุกช่วงเวลา แต่สำหรับบางคนอาจจะต้องระวังนิดหน่อย เช่น ไม่ทานผลไม้ที่เป็นกรดสูงในช่วงที่ท้องว่าง เป็นต้น แต่ถ้าจะเน้นเอาประโยชน์จากสารอาหารแบบเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ต้องเลือกชนิดของผลไม้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลานั่นเอง

ทีนี้เมื่อลงรายละเอียดไปอีกนิด ประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจก็คือ ช่วงเวลาไหนที่ทานผลไม้แล้วได้ประโยชน์มากที่สุด โดยเน้นไปที่ก่อนและหลังมื้ออาหารเป็นหลัก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อันที่จริงหากเราไม่ได้มีระบบย่อยอาหารที่อ่อนไหวหรือบอบบางมากเกินไป ก็สามารถทานผลไม้ได้ทุกชนิด และทุกช่วงเวลา แต่สำหรับบางคนอาจจะต้องระวังนิดหน่อย เช่น ไม่ทานผลไม้ที่เป็นกรดสูงในช่วงที่ท้องว่าง เป็นต้น แต่ถ้าจะเน้นเอาประโยชน์จากสารอาหารแบบเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ต้องเลือกชนิดของผลไม้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลานั่นเอง

10 ผลไม้ที่ดีที่สุดสำหรับการลดน้ำหนัก

การกินผลไม้ที่ได้จากธรรมชาติอุดมไปด้วยวิตามิน ไฟเบอร์และสารอาหารอื่นๆ มากมาย ยังให้แคลอรี่ต่ำควรกินผลไม้เพื่อลดน้ำหนัก ลดความอ้วน เผาผลาญไขมันส่วนเกิน มีผลไม้ดังนี้

1.แอปเปิ้ลเขียว

เหมาะสมที่สุดในการลดน้ำหนัก เพราะเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยเต็มไปด้วยใยอาหารสูงแคลอรี่ต่ำ ช่วยชะลอการย่อยอาหารและทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น คุณค่าทางโภชนาการของแอปเปิ้ลเขียวในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานเพียง 52 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 10 กรัม

2.ราสเบอร์รี่

เป็นหนึ่งในแหล่งไฟเบอร์ที่ดีที่สุด ความหวานของราสเบอร์รี่สามารถช่วยตอบสนองความอยากน้ำตาลได้
คุณค่าทางโภชนาการของราสเบอร์รี่ในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 53 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 4.42 กรัม

3.ส้มโอ

การกินส้มโอเป็นประจำสม่ำเสมอสามารถช่วยลดความอ้วน ลดน้ำหนัก และลดไขมันในร่างกายได้ เพราะส้มโอมีเอนไซม์ช่วยให้ระบบเมตาบอลิซึ่ม หรือระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกายได้ดีขึ้น คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 8 กรัม

4.สับปะรด

เป็นหนึ่งในผลไม้เมืองร้อนที่พบมากที่สุดอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินบี6 ทองแดง ธาตุเหล็ก และโฟเลต สับปะรดสามารถช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดน้ำตาล และรักษาอาการอักเสบ ค่าทางโภชนาการของสับปะรดในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 50 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 10 กรัม

5.กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยหักมุก

เป็นตัวช่วยในการเผาผลาญไขมัน เนื่องจากมีเส้นใยอาหารสูงและมีแคลอรีต่ำเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มลดความอ้วน ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยไข่ในปริมาณ 100 กรัม กล้วยไข่ให้พลังงาน 56 กิโลแคลอรี่ กล้วยน้ำว้าห้พลังงาน 59 กิโลแคลอรี่ กล้วยหอมให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาลประมาณ 14 กรัม   

6.แตงโม

เป็นผลไม้ที่ให้ความสดชื่นช่วยให้ไม่ขาดน้ำ เพราะแตงโมเป็นน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาตินิยมกินเพื่อลดน้ำหนักมากที่สุด ค่าทางโภชนาการของแตงโมในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 6 กรัม

7.ทับทิม

ถือได้ว่ามีสารต้านอนุมลอิสระ ไฟเบอร์ โปรตีน โฟเลต โพแทสเซียม ฟลาโวนอยด์ ทับทิมช่วยในการเผาผลาญไขมัน ช่วยควบคมระดับความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีค่าทางโภชนาการของทับทิมในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 83 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 14 กรัม

8.อะโวคาโด

อะโวคาโดเป็นทั้งผลไม้และผัก มีไขมันดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นอาหารที่ช่วยลดน้ำหนักทำให้ไม่อ้วน ช่วยให้เผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกายได้ ค่าทางโภชนาการของอะโวคาโดในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 0.7 กรัม

9.มะละกอ

เป็นผลไม้ที่ช่วยในการย่อยอาหารและยังช่วยให้มีผิวพรรณที่เปล่งปลั่งมีสารต้านอนุมูลกอิสระเป็นยาขับปัสสาวะและอุดมไปด้วยใยอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำสุด ช่วยลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี มีคุณค่าทางโภชนาการของมะละกอในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 8 กรัม

10.ฝรั่งสด

การกินผลฝรั่งช่วยลดน้ำหนักได้เนื่องจากเป็นแหล่งวิตามินที่อุดมไปด้วย ได้แก่ วิตามิB1 วิตามิน B3 วิตามินB6 และโฟเลต ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตกลายเป็นเชื้อเพลิงแทนที่จะเก็บไว้เป็นไขมันค่าทางโภชนาการของฝรั่งในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 55 กิโลแคลอรี่ มีน้ำตาล 9 กรัม

การทานผลไม้ก่อนอาหารคือช่วงเวลาที่ดีที่สุด จริงหรือ

คำตอบคือ จริงบางส่วนและไม่จริงบางส่วน องค์ประกอบสำคัญใน ผลไม้จะมีทั้งส่วนที่แข็งแรงทนทาน คือ ไฟเบอร์ หรือ เส้นใยอาหาร และส่วนที่อ่อนไหวต่อสิ่งเร้า คือ กลุ่มวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งในกลุ่มของวิตามินนี้ก็ยังแยกย่อยไปอีกว่าสามารถละลายได้ดีในน้ำหรือในไขมัน การที่บอกว่าทานผลไม้ก่อนอาหารดีที่สุด จึงเป็นในแง่ของผลไม้ที่วิตามินละลายในน้ำและอ่อนไหวง่าย เช่น วิตามินซี วิตามินบี เป็นต้น ก่อนมื้ออาหารที่ท้องยังว่างอยู่ การทานผลไม้เหล่านี้เข้าไป ร่างกายจะดูดซึมวิตามินได้อย่างเต็มที่และรวดเร็ว รวมไปถึงการย่อยผลไม้ก็ทำได้รวดเร็วด้วย เป็นการกระตุ้นน้ำย่อยก่อนมื้ออาหารที่ดีอีกทางหนึ่ง สิ่งที่ต้องระวังก็มีเพียงแค่ ผลไม้บางชนิดที่อยู่ในกลุ่มนี้กลับมีความเป็นกรดสูงมาก ก็ต้องถือเป็นข้อยกเว้นไป เพราะเหมาะที่จะทานหลังมื้ออาหารมากกว่า

การทานผลไม้หลังมื้ออาหาร ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยใช่หรือไม่

เช่นเดียวกันกับกรณีของการทานผลไม้ก่อนอาหาร คือไม่ใช่ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ มีผลไม้หลายชนิดที่ทานหลังมื้ออาหารแล้วได้ประโยชน์สูงมากกว่า โดยเฉพาะผลไม้ที่มีวิตามินเอและวิตามินอี ซึ่งละลายได้ดีในไขมัน หากทานหลังมื้ออาหารจะถูกดูดซึมไปพร้อมการสารอาหารอื่นๆ ที่ได้จากมื้อหลัก แต่ถ้าทานผลไม้อีกกลุ่มหนึ่งที่อุดมด้วยวิตามินซี วิตามินบี และแร่ธาตุอื่นๆ หลังมื้ออาหารจะให้ผลในทางตรงกันข้าม

เพราะอาหารประเภทแป้ง โปรตีน ไขมัน ต้องใช้เวลาในการย่อยนาน เมื่อทานผลไม้ตามไปก็จะถูกกักไว้ ไม่ได้รับการย่อยในทันที ร่างกายจำเป็นต้องย่อยอาหารกลุ่มแรกให้เสร็จสิ้นเสียก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ผลไม้จึงผ่านกระบวนการหมักจนกลายสภาพเป็นกรด หลายคนจึงมีอาการท้องอืดและจุกเสียดตามมา วิตามินต่างๆ ที่รออยู่ก็เสื่อมสภาพไปเสียก่อนที่จะถูกดูดซึม เราจึงไม่ได้รับวิตามินแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าที่ควร

จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า การทานผลไม้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ได้อยู่ที่ช่วงเวลาเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ว่าเราเข้าใจการเลือกทานผลไม้แต่ละชนิดมากน้อยแค่ไหน ผลไม้ยอดนิยมที่ควรทานก่อนและหลังมื้ออาหารกันบ้าง

การทานผลไม้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ได้อยู่ที่ช่วงเวลาเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ว่าเราเข้าใจการเลือกทานผลไม้แต่ละชนิดมากน้อยแค่ไหน

ผลไม้ ที่ควรทานก่อนมื้ออาหาร

1. องุ่น : ผลไม้ที่มีเนื้อนิ่ม เปลือกบาง มีวิตามินซีและฟลาโวนอยด์ค่อนข้างสูง ช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมอง บำรุงกำลังร่างกาย บำรุงสายตา ลดความดันโลหิตสูง และสามารถใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ ได้ หากทานก่อนมื้ออาหารเป็นประจำ ก็ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย แต่ถือว่าเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลเยอะพอสมควร จึงต้องทานในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป เหมาะกับมื้อเช้ามากกว่ามื้ออื่นๆ

2. แอปเปิ้ล : สำหรับใครก็ตามที่ต้องคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นี่คือตัวเลือกที่ดีที่สุดเพราะมีค่าน้ำตาลต่ำ แต่มีวิตามินและไฟเบอร์ในปริมาณสูง แอปเปิ้ลแต่ละสีจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ต่างกันไปเล็กน้อย ดังนี้ แอปเปิ้ลสีแดง มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์สูงมาก จึงดีต่อการบำรุงร่างกายและผิวพรรณ ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง แอปเปิ้ลสีเขียว มีน้ำตาลต่ำแต่อุดมด้วยคอลลาเจนและอิลาสติน เหมาะกับคนที่กำลังลดน้ำหนัก ส่วนแอปเปิ้ลสีเหลือง ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับหัวใจด้วยสารเควอร์ซิทิน บำรุงสายตา ลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกด้วย ทานก่อนมื้ออาหารสัก 1 ผลก็เพียงพอและถ้าจะให้ดีก็ควรทานทั้งเปลือก

3. ฝรั่ง : ผลไม้ที่จัดว่าเป็นตัวช่วยที่ดีมากต่อการลดน้ำหนัก เพราะในฝรั่งมีน้ำตาลต่ำ แต่กลับมีไฟเบอร์และวิตามินซีสูง ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกาย ส่งผลให้ผิวพรรณมีความยืดหยุ่นไร้ริ้วรอย ล้างพิษโดยรวม และลดไขมันในเลือด เราสามารถทานฝรั่งได้ตลอดทั้งวันในช่วงที่ท้องยังว่าง แน่นอนว่าเหมาะที่จะทานก่อนมื้ออาหารด้วย แต่ก็อย่าทานมากเกินไปเพราะจะอิ่มท้องเสียก่อนที่จะทานมื้อหลัก

4. สตรอเบอร์รี่ : ผลไม้ลูกสีแดงจัดที่มีวิตามินซีค่อนข้างสูง และยังมีซูเปอร์ไฟเบอร์เพคตินที่มาพร้อมกับสีแดงของสตรอว์เบอร์รีซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยลดคลอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ตลอดจนช่วยป้องกันอาการอักเสบต่างๆ สามารถทานก่อนมื้ออาหารได้แบบสบายๆ รสชาติอมเปรี้ยวอมหวานอันเป็นเอกลักษณ์ก็ยังช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารอีกด้วย

5. พุทรา : ผลไม้ที่หาทานได้ง่าย และมีรสชาติถูกปากคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็กหรือใหญ่ ต่างก็มีวิตามินซีสูงเหมือนกันหมด พุทราโดดเด่นในเรื่องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้นด้วย ในพุทรามีเส้นใยอาหารอยู่ในปริมาณมากเมื่อเทียบกับน้ำหนัก จึงช่วยให้อิ่มเร็วและดีต่อระบบขับถ่าย

6. ชมพู่ : ผลไม้ฉ่ำน้ำ กรอบหวาน ไม่ว่าจะเป็นชมพู่พันธุ์สีเขียวหรือสีแดงก็จะมีจุดเด่นตรงที่มีวิตามินซีและเส้นใยสูง เป็นผลไม้กลุ่มที่ทานได้บ่อยแต่ไม่อ้วน เพราะให้พลังงานในระดับที่ต่ำมาก หากทานก่อนมื้ออาหารเล็กน้อยก็จะช่วยให้อิ่มได้เร็วขึ้นด้วย ในชมพู่มีสารไลโคปีน ( Lycopiene ) ซึ่งพบได้ไม่ง่ายนักในผลไม้ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งต่อมลูกหมาก

7. มังคุด : ราชินีแห่งผลไม้ที่ไม่ได้มีดีแค่รสชาติ แต่มีคุณสมบัติในทางยาหลายอย่าง ในมังคุดมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อุดมด้วยวิตามินหลายชนิด ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน ช่วยยับยั้งแบคทีเรีย ลดสิวอุดตัน ลดความดันโลหิต และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อทานเนื้อหมดแล้วก็ยังเอาเปลือกไปทำยาได้ต่ออีกด้วย เพียงแค่ทานก่อนมื้ออาหารสักวันละ 5 ผลก็จะมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว   

ผลไม้ ที่ควรทานหลังมื้ออาหาร

1. ส้ม : ส้มเป็นผลไม้ที่ทานได้ง่าย อุดมด้วยวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน จัดเป็นผลไม้สารพัดประโยชน์ชนิดหนึ่ง จะทานเป็นผลสดๆ คั้นเป็นน้ำ หรือแปรรูปเป็นอย่างอื่นก็ได้ มีข้อดีตรงที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ดีต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย และแน่นอนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากคุณสมบัติของวิตามินซีด้วย แต่ด้วยความเป็นกรดอ่อนๆ จึงไม่เหมาะที่จะทานตอนท้องว่างเท่าไร ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เป็นผลไม้ที่ห้ามทานตอนท้องว่างแต่อย่างใด ยกเว้นกับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารเท่านั้น

2. สัปปะรด :  ผลไม้ชนิดนี้มีความเป็นกรดสูงมาก เราสามารถใช้สัปปะรดสดมาหมักเนื้อเพื่อให้นุ่มขึ้นก่อนนำไปปรุงอาหารได้เลย ดังนั้นจึงเป็นผลไม้ที่ไม่ควรทานตอนท้องว่างอย่างเด็ดขาด ข้อดีของสัปปะรดก็คือมีวิตามินบี วิตามินซี แคลเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด ช่วยบรรเทาอาการหวัด ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ดีต่อผิวพรรณและยังช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ ได้ เมื่อทานหลังมื้ออาหารก็จะทำหน้าที่ช่วยย่อยอีกด้วย

3. มะละกอ : ส่วนสำคัญในมะละกอที่ทำให้เราไม่ควรทานตอนที่ท้องยังว่างอยู่ก็คือ เอมไซน์ ตัวที่รู้จักกันดีก็คือเอมไซน์ปาเปน ( papain ) ซึ่งมีอยู่ทั้งในส่วนของยางและเนื้อ มีคุณสมบัติในการย่อยโปรตีนได้อย่างดีเยี่ยม จึงเหมาะกับการนำมาทานพร้อมหรือหลังมื้ออาหารมากกว่า ในมะละกอยังมีไขมันและน้ำตาลในระดับที่ต่ำมาก แม้แต่ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็ยังทานได้อย่างสบาย ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารบางชนิดได้

4. ลูกพลับ : เชื่อว่านี่เป็นผลไม้ในดวงใจของใครหลายๆ คนแน่นอน ด้วยกลิ่นหอมและรสชาติหวานเป็นเอกลักษณ์นั่นเอง ลูกพลับอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี แถมแคลอรี่ต่ำสุดๆ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการท้องเดิน และจุดเสียดได้ แม้ว่าลูกพลับจะไม่ได้มีฤทธิ์เป็นกรด แต่ก็ห้ามทานก่อนมื้ออาหาร เพราะในเนื้อลูก

พลับมียางและสารแขวนลอยอยู่ เมื่อผสมกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้เวียนหัวได้

5. เสาวรส : ถึงแม้จะมีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งถ้าว่าตามหลักแล้วก็ควรทานตอนท้องว่างเพราะจะได้ดูดซึมวิตามินไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ แต่อย่างที่เรารู้กันดีว่าเสาวรสมีรสชาติเปรี้ยวจัดจนเข็ดฟัน มีความเป็นกรดไม่น้อยหน้าไปกว่าสัปปะรด ถ้าทานตอนท้องว่างจะเกิดอาการมวนท้องได้ ในเสาวรสมีสารฟลาโวนอยด์อยู่มาก ช่วยต้านอนุมูลอิสระและชะลอวัยได้ดี แต่มีสิ่งที่ต้องระวังอยู่ด้วย คือ มีเอนไซม์ที่กระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิงให้สูงขึ้น เมื่อทานในปริมาณมากจึงเป็นอันตรายต่อคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนในร่างกาย

ผลไม้แม้ว่าจะมีให้เลือกมากมายแต่ควรรู้ว่าผลแต่ละชนิดมีรสชาติที่แตกต่างกันโดยส่วนใหญ่ผลไม้ที่เราเคยกินนั้นจะมีผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้รสหวาน และผลไม้รสฝาก อย่างไรก็ตามการกินเพียงผลไม้อย่างเดียวอาจทำให้การลดน้ำหนักในคนอ้วนอาจทำได้ช้าลง แนะนำให้ทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย ควบคุมปริมาณอาหารมัน อาหารหวาน อาหารเค็ม เพื่อลดความเสี่ยงของโรคอ้วน โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันและที่สำคัญจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอายุยืนอีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Rost, Thomas L.; Weier, T. Elliot; Weier, Thomas Elliot (1979). Botany: a brief introduction to plant biology. New York: Wiley. pp. 135–37. ISBN 0-471-02114-8.

Esau, K. 1977. Anatomy of seed plants. John Wiley and Sons, New York.
[1] Archived December 20, 2010, at the Wayback Machine.

Mauseth, James D. (2003). Botany: an introduction to plant biology. Boston: Jones and Bartlett Publishers. p. 258. ISBN 978-0-7637-2134-3.