อาหารต้านความเสื่อมของร่างกาย

0
อาหารต้านความเสื่อมของร่างกาย
กลูตาไธโอนเป็นสารที่เซลล์สามารถผลิตขึ้นเองได้
อาหารต้านความเสื่อมของร่างกาย
แคปซูลบรรจุอาหารเสริมทำจากเจลาตินง่ายต่อการกลืนและมีระยะในการแตกตัวที่แน่ชัด

อาหาร

อาหารต้านความเสื่อมของร่างกายคืออะไร? โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานจะมีความต้องการสารต้านอนุมูลอิสระมากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมและกระตุ้นให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติมากขึ้น ดังนั้นในแต่ละมื้ออาหารจึงควรเน้น อาหาร ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเพียงพอ

สารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายมีความต้องการ

1. กลูต้าไธโอน

กลูต้าไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ประกอบไปด้วยซีลีเนียมและกรดอะมิโน 3 ชนิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระและป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างดีเยี่ยม โดยแหล่งอาหารที่จะพบกลูต้าไธโอนได้สูง ก็คือ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ข้าวซ้อมมือ ตับ ไต ไข่ และนมนั่นเอง นอกจากนี้ก็ยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่จะช่วยเพิ่มระดับของกลูต้าไธโอนให้สูงขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งได้แก่ วิตามินอี วิตามินซี วิตามินบีและสังกะสี เป็นต้น

2. วิตามินเอ

สารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเยื่อบุเซลล์ พร้อมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นและการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี โดยแหล่งที่สามารถพบวิตามินเอได้มาก ก็ได้แก่ ไข่แดง ตับ นม น้ำมันตับปลา เนย และผักผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงอาหารที่อุดมไปด้วยแคโรทีนอีกด้วย เพราะร่างกายสามารถเปลี่ยนแคโรทีนเป็นวิตามินเอและนำมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

4. วิตามินซี

มีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระในเลือดโดยตรง ซึ่งก็จะช่วยป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ทั้งยังสามารถซ่อมแซมทุกเซลล์ที่สึกหรอได้ดีอีกด้วย รวมถึงสามารถสร้างวิตามินอีและกลูต้าไธโอนภายในเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้เช่นกัน โดยอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีสูง ก็ได้แก่ ฝรั่ง ส้ม มะขามป้อม มะนาวและผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆ แต่ทั้งนี้ควรทานแบบสดๆ จะได้คุณประโยชน์สูงสุด

5. ซีลีเนียม

มีส่วนสำคัญในการช่วยป้องกันการออกซิเดชั่นของกรดไขมันไม่อิ่มตัวและช่วยประสานการทำงานของเอนไซม์ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งแหล่งที่สามารถพบซีลีเนียมได้สูง ก็คือ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล กระเทียม เนื้อสัตว์และหัวหอมธัญพืชไม่ขัดสี เป็นต้น 

6. ไบโอฟลาโวนอยด์

สารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยในการลดปริมาณของไขมันชนิดเลวในร่างกาย โดยเฉพาะคอเลสเตอรอล ซึ่งก็พบได้มากในพืชผักทั่วไปหลากหลายชนิด เช่น เม็ดองุ่น ชาเขียว ไวน์แดง และบร็อคโคลี

7. โปรแอนโทไซยานิดีน

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีความแรงในการต่อต้านมากกว่าวิตามินอีและวิตามินซีหลายเท่า ซึ่งก็สามารถดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็กโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำสารต้านอนุมูลอิสระตัวนี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุด โดยพบได้มากในเปลือกองุ่นแดงและไวน์แดง

8. โคเอนไซม์คิวเทน

สารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า อารมณ์และความรู้สึกสดชื่นตื่นตัว พร้อมลดอาการซึมเศร้าและช่วยเสริมสร้างความจำให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสารตัวนี้ก็จะพบได้มากในถั่วลิสง ปลาซาดีน เนื้อสัตว์ น้ำมันถั่วเหลือง ผักใบเขียว ปลาแมคคาเรลและในอาหารเสริมบางชนิด โดยปกติแล้วสารต้านอนุมูลอิสระตัวนี้ ร่างกายก็สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง แต่ในภาวะที่ร่างกายเจ็บป่วย ขาดสารอาหารหรือแก่ชราลง จะทำให้สร้างสารตัวนี้ได้น้อยหรือแทบสร้างไม่ได้เลยนั่นเอง

9. กรมแอลฟ่า-ไลโปอิค

เป็นสารที่จะช่วยในการสร้างวิตามินซี วิตามินอีและโคเอนไซม์คิวเทน ซึ่งปกติร่างกายจะต้องการที่วันละ 15-30 มิลลิกรัม โดยพบได้มากในตับและบริเวอร์ยีสต์

10. สารไลโคปีน

สารต้านอนุมูลอิสระอีกหนึ่งชนิดที่จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดีมาก โดยจะกำจัดสารพิษต่างๆ ที่คาดว่าจะเป็นตัวกระตุ้นมะเร็งให้หมดไปนั่นเอง ซึ่งก็สามารถพบไลโคปีนได้มากในมะเขือเทศ กุ้ง ปู ปลาแซลมอน ส้มโอแดง เมล็ดทับทิม ผลตำลึงสุก เชอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่และแตงโม เป็นต้น   

11. สารลูทีน

เป็นสารที่จะช่วยในการบำรุงสายตาและเสริมสร้างการมองเห็นเป็นหลัก พร้อมทั้งช่วยป้องกันการเกิดโรคและชะลอการเสื่อมของดวงตาได้ดีอีกด้วย โดยแหล่งอาหารที่สามารถพบลูทีนได้สูง ก็ได้แก่ คะน้า ผักโขม บร็อคโคลี กะหล่ำปลีชนิดแข็งใบย่นและผักปวยเล้ง

12. แอสตาแซนทิน

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์สูงกว่าเบต้าแคโรทีนถึง 10 เท่า โดยจะผ่านเข้าไปในสมองและทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระในสมองได้โดยตรง ซึ่งสารชนิดนี้ก็พบได้มากในสัตว์ที่มีสีแดง ได้แก่ กุ้ง ปูและปลาแซลมอน เป็นต้น

13. สารเรสเวอราทรอล

สารตัวนี้มีส่วนช่วยในการยับยั้งโรคเบาหวานและโรคอ้วนโดยตรง ซึ่งจะช่วยป้องกันการสะสมของไขมัน ลดความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตันและยังช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายอีกด้วย โดยพบได้มากในไวน์แดงและองุ่นแดงนั่นเอง

อาหารอันตรายเพิ่มอนุมูลอิสระ

นอกจากผู้ป่วยเบาหวาน ควรจะทานอาหารต้านอนุมูลอิสระให้มากๆ แล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอันตรายหรือเป็นตัวการเพิ่มอนุมูลอิสระให้กับร่างกายเช่นกัน นั่นก็เพราะผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีภูมิต้านทานต่ำ จึงสามารถติดเชื้อหรือเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายนั่นเอง และที่สำคัญก็ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดทุกชนิดด้วย 

อาหารอันตรายที่ควรหลีกเลี่ยง

1. อาหารที่ผ่านการทอดโดยใช้น้ำมันซ้ำ เพราะน้ำมันที่ใช้ซ้ำจะเกิดสารก่อมะเร็งขึ้นมาโดยที่เราไม่รู้ตัวนั่นเอง

2. อาหารที่ใส่สารกันบูด ฟอร์มาลีน สารกันรา กันหืนหรือมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลง เป็นต้น เพราะสารเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งทั้งสิ้น

3. สารแปลกปลอมที่ไม่แน่ใจว่าเป็นของแท้หรือไม่ เพราะอาจมีสารปลอมที่เป็นตัวเป็นอันตรายปนเปื้อนมานั่นเอง

4. อาหารที่หมดอายุ เสื่อมสภาพ บูดเน่าหรือมีการขึ้นรา อาหารเหล่านี้มักจะมีอนุมูลอิสระสูง

5. สัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุว่าตายเพราะอะไร ซึ่งอาจนำโรคร้ายมาสาคุณได้

6. อาหารที่มีการปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ เนื่องจากอาจมีแบคทีเรียและเชื้อโรคอันตรายปะปนอยู่

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

อาหารที่เหมาะสมเมื่อเป็นโรคปลายประสาทเสื่อม

0
อาหารที่เหมาะสมเมื่อเป็นโรคปลายประสาทเสื่อม
วิตามินบี 6 พบได้มากในข้าวซ้อมมือ แคนตาลูปช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทในสมอง
อาหารที่เหมาะสมเมื่อเป็นโรคปลายประสาทเสื่อม
ปลาทะเลน้ำจืด มีโอเมก้า 3 ช่วยกระตุ้นเซลล์สมองที่มีความไวต่อการรับสัญญาณประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปลายประสาทเสื่อมหรืออักเสบ

เมื่อระบบประสาทเกิดการอักเสบ หรือเสื่อม จะทำให้ความสามารถในการนำกระแสประสาทไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมไปด้วย ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาปลายประสาทเสื่อม ก็พบว่าเกิดจากการที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไปจนไม่สามารถจำกัดได้นั่นเอง โดยสำหรับความผิดปกติที่สังเกตได้ก็คือ ในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีอาการชาและปวดเจ็บบริเวณปลายเท้าทั้งสองข้างก่อน จากนั้นจึงเริ่มเป็นหนักขึ้นเรื่อยๆ และมี  อาการชาปลายนิ้วตามมา โดยหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะนำไปสู่ความผิดปกติในการทำงานของไต หัวใจ ระบบปัสสาวะและการย่อยอาหารอีกด้วย และนอกจากนี้ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ เช่น

  • การได้รับโลหะหนักมากเกินไป ซึ่งโลหะหนักเหล่านี้อาจมาจากสารหนู ยาฆ่าแมลงและสารตะกั่ว เป็นต้น
  • การได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะวิตามินบี
  • การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เพราะแอลกอฮอล์จะไปทำลายวิตามินบีในร่างกายได้นั่นเอง

การรักษาระบบปลายประสาทเสื่อม

สำหรับการรักษาระบบปลายประสาทเสื่อมสามารถทำได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ทานยากลุ่มวิตามินบีที่มีส่วนช่วยในการบำรุงระบบปลายประสาท ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบลงได้ และหากมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วยก็จะต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อเป็นการฟื้นฟูกล้ามเนื้อนั่นเอง และที่สำคัญก็คือการหลีกเลี่ยงทุกสาเหตุที่จะทำให้ระบบปลายประสาทเสื่อมได้ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มสุรา การทานอาหารหรือทำกิจกรรมบางอย่างที่ทำให้ร่างกายได้รับโลหะหนักและอื่นๆ เป็นต้น

เมื่อระบบประสาทเกิดการอักเสบหรือเสื่อมลงไป จะทำให้ความสามารถในการนำกระแสประสาทไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมไปด้วย ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาปลายประสาทเสื่อม ก็พบว่าเกิดจากการที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไปจนไม่สามารถจำกัดได้นั่นเอง

1.การรักษาด้วยยากลุ่มวิตามินบี

กลุ่มวิตามินบีก็ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 6 บี 12 และกรดโฟลิกนั่นเอง โดยวิตามินบีกลุ่มนี้จะมีส่วนช่วยในการบำรุงระบบประสาทโดยตรง พร้อมสร้างสารสื่อประสาทและซ่อมแซมเส้นประสาทในส่วนที่สึกหรออีกด้วย จึงช่วยลดอาการชาตามปลายมือปลายเท้าได้ดีนั่นเอง

  • วิตามินบี 1 เป็นวิตามินที่พบมากในเม็ดธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ขนมปัง ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู และข้าวสาลีไม่ขัดขาว เป็นต้น โดยมีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์ประสาทให้แข็งแรง
  • วิตามินบี 5 พบได้มากในเนื้อวัว ผลไม้ นม กระถิน ปลา ไก่ ถั่วและสัตว์ปีก ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างโคเอนไซม์ที่จะใช้ถ่ายทอดสัญญาณประสาทนั่นเอง
  • วิตามินบี 6 พบได้มากในข้าวซ้อมมือ แคนตาลูป นม ไข่ ข้าวสาลีไม่ขัดขาว เมล็ดถั่วธัญพืช เครื่องในสัตว์และปลา โดยมีส่วนช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทในสมอง
  • วิตามินบี 12 พบได้มากในไข่ ปลา เนื้อสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์ที่ใช้วิตามินบี 12 ในรูปของเมทิลโคบาลามีน โดยจะทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยซ่อมแซมปลอกเยื่อหุ้มประสาท โดยทั้งนี้ควรได้รับวิตามินบี 12 ที่วันละ 1,500 ไมโครกรัม อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12 สัปดาห์
  • กรดโฟลิก เป็นวิตามินบีอีกชนิดหนึ่งที่พบได้มากใน ตับ ไข่แดง น้ำส้ม กล้วย มะนาว ผักใบเขียวจัด ฟักทอง ถั่วเหลือง ถั่วลันเตาและถั่วลิสง เป็นต้น ซึ่งจะทำหน้าที่ในการชะลอปัญหาระบบประสาท จึงลดการเสื่อมของระบบประสาทและบรรเทาอาการชาตามปลายมือปลายเท้าได้ดี

2.การรักษาด้วยกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ

กลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระก็ได้แก่ ทองแดง วิตามินอี สังกะสี วิตามินเอ โครเมียมและผลไม้ตระกูลเบอร์รี่นั่นเอง ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระแบบนี้อาจจะทานในรูปแบบของอาหารหรือในรูปแบบของเม็ดยาก็ได้ โดยสำหรับแหล่งอาหารที่พบสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ได้สูง ก็ได้แก่

  • น้ำมันอีฟนิงพริมโรส ซึ่งมีกรดแกมมาลิโนเลนิก โดยเป็นกรดที่จะช่วยในการบรรเทาอาการประสาทเสื่อมได้
  • ปลาทะเลน้ำจืด โดยจะพบโอเมก้า 3 ได้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเซลล์สมองที่มีความไวต่อการรับสัญญาณประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ข้าวกล้อง ข้าวโพดและผักใบเขียวต่างๆ จะพบโคลีนได้มาก ซึ่งจะช่วยบำรุงปลายประสาท เสริมสร้างความจำและลดอาการเศร้าหมองหรือจิตใจหดหู่ได้ 
  • เนื้อสัตว์ ปลา กล้วย ถั่วลิสง นมและอินทผลัม จะพบทริปโตเฟนได้มาก ซึ่งก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยบำรุงปลายประสาทได้ดีเช่นกัน
  • ข้าวกล้องงอก จะพบสารกาบาได้สูง โดยเป็นสารที่จะทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างสารสื่อประสาทนั่นเอง
  • อาหารทะเล ผักใบเขียว มะม่วง แอปเปิ้ลและตับหมู จะพบแมงกานีสได้สูง
  • ผลไม้ ธัญพืชและผักใบเขียวเข้ม สามารถพบแคลเซียม แมกนีเซียมและโพแทสเซียมได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบประสาท แต่สำหรับโพแทสเซียมจะไม่ค่อยเหมาะกับคนที่เป็นโรคไตมากนัก
  • เมล็ดฟักทอง นม ไข่ จมูกข้าว มัสตาร์ดผงและบริวเวอร์ยีสต์ จะพบสังกะสีได้มากที่สุด

เคล็ดลับการดูแลผู้ป่วยปลายประสาทเสื่อม

1.นอกจากการทานอาหารและยาเพื่อบำรุงระบบปลายประสาทแล้ว ก็ควรยืดเส้นยืดสายบ่อยๆ เพื่อให้เลือดและน้ำเหลืองมาหล่อเลี้ยงปลายมือปลายเท้าและเส้นประสาทอย่างเพียงพอด้วย

2.อย่าอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานานเกินไป เพราะจะทำให้ประสาทตึงและเกิดการอักเสบได้ในที่สุด

3.ทาเจลพริกหรือขี้ผึ้งพริก เพราะเจลเหล่านี้มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดเส้นประสาทได้ แต่ก็ไม่ควรทามากเกินไป หรือทาเฉพาะเมื่อมีอาการปวดและชาตามปลายมือปลายเท้าก็พอ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

น้ำตาลธรรมชาติ ใช้ได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไร?

0
น้ำตาลธรรมชาติใช้ได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไร?
น้ำผึ้งเป็นน้ำตาลจากธรรมชาติที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูป ประกอบไปด้วยน้ำตาลฟรุคโตส
น้ำตาลธรรมชาติใช้ได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไร?
น้ำตาลทรายแดงเป็นน้ำตาลที่มีกลิ่นหอมมากแต่หวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายขัดขาว ได้จากการนำน้ำอ้อยมาเคี่ยว

น้ำตาลธรรมชาติ

น้ำตาลทราย คืออะไร?

น้ำตาลธรรมชาติคือ น้ำตาลทราย หรือ ซูโครส คือ น้ำตาลทรายขัดขาวบริสุทธิ์ ซึ่งจะเป็นก้อนผลึกเล็กๆ ให้ความหวานได้ 100% จัดอยู่ในประเภทของอาหารทั่วไปที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ก็สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยสำหรับ  โครงสร้างของน้ำตาลชนิดนี้ก็จะประกอบไปด้วยน้ำตาลทราย 2 ชนิด ได้แก่ กลูโคสและฟรุคโตส ซึ่งเมื่อทานน้ำตาลชนิดนี้เข้าไป ร่างกายจะทำการย่อยน้ำตาลซูโครสให้เป็นน้ำตาล 2 ชนิดนี้ก่อนจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปนั่นเอง โดยพบว่าน้ำตาลทราย 1 ช้อนชา จะให้พลังงานถึง 16 แคลอรี

โดยสำหรับน้ำตาลกลูโคสจากน้ำตาลธรรมชาตินั้น ปกติจะมีจำหน่ายเป็นกระป๋องโลหะสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน โดยถูกจัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะในหมวดเครื่องดื่ม ราคากิโลกรัมละ 70 กว่าบาท ซึ่งก็มีราคาสูงกว่าน้ำตาลทรายถึง 5 เท่าเลยทีเดียว จึงไม่เหมาะที่จะนำมาปรุงอาหารมากนัก โดยข้อดีของน้ำตาลกลูโคสก็คือร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยเพิ่มพลังงานและฟื้นฟูร่างกายในผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียได้ดี แต่ก็มีจุดด้อยอยู่บ้าง นั่นคือจะมีความหวานต่ำกว่าน้ำตาลทรายถึง 40% นั่นเอง

น้ำตาลทรายหรือซูโครสคือน้ำตาลทรายขัดขาวบริสุทธิ์ ซึ่งจะเป็นก้อนผลึกเล็กๆ ให้ความหวานได้ 100% จัดอยู่ในประเภทของอาหารทั่วไปที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ก็สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้อย่างปลอดภัย

น้ำตาลธรรมชาติจากน้ำตาลทรายแดง

เป็นน้ำตาลที่มีกลิ่นหอมมากแต่หวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายขัดขาว ซึ่งน้ำตาลชนิดนี้ได้จากการนำน้ำอ้อยมาเคี่ยว ตักเอาสิ่งสกปรกออกจนได้น้ำเชื่อมใสและใส่ปูนขาวลงไปเล็กน้อย เคี่ยวต่อไปจนน้ำเชื่อมเริ่มแห้งก็จะได้เป็นน้ำตาลทรายแดง เพียงแต่จะมีการจับก้อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง โดยทั้งนี้น้ำตาลทรายแดงก็มักจะมีวิตามินและแร่ธาตุลดลงไปจากการเคี่ยวพอสมควร จึงไม่แนะนำให้ใช้ในปริมาณมาก ซึ่งจะนิยมนำมาใช้ทำน้ำขิงและผัดหมี่มากที่สุด

น้ำตาลธรรมชาติจากน้ำตาลอ้อย

น้ำตาลอ้อยทำมาจากลำอ้อย โดยการนำลำอ้อยมารีดเอาน้ำอ้อยออก จากนั้นเคี่ยวในกระทะใบบัวจนกระทั่งได้น้ำอ้อยที่เหนียวได้ที่ ซึ่งจะมีสีน้ำตาลเข้มจัด จากนั้นนำมาหยอดลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ ก็จะได้น้ำตาลอ้อยที่มีกลิ่นหอม นิยมนำมาปรุงอาหารที่เน้นเครื่องเทศเป็นหลัก เพราะน้ำตาลอ้อยจะช่วยขับกลิ่นของเครื่องเทศในอาหารให้หอมน่าทานยิ่งขึ้นทั้งยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามินและกากใยอาหารเป็นจำนวนมากอีกด้วย

น้ำตาลธรรมชาติจากน้ำตาลหม้อ น้ำตาลโตนด

น้ำตาลธรรมชาติชนิดนี้จะมีรสชาติหวานน้อยหน่อย ซึ่งก็ทำมาจากช่อดอกของต้นตาลนั่นเอง โดยการนำช่อดอกมาตัดให้น้ำหวานไหลซึมออกมาจากนั้นนำน้ำหวานที่ได้ไปเคี่ยวจนงวดได้ที่ แล้วนำมากวนและตีเพื่อให้น้ำตาลขึ้นตัว จากนั้นหยอดลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ ซึ่งน้ำตาลที่ได้ก็จะเหมาะกับการนำมาทำอาหารคาวหวานที่สุด โดยเฉพาะกล้วยบวชชี แกงส้ม ลอดช่อง เป็นต้น สำหรับชื่อของน้ำตาลชนิดนี้ก็จะมีการเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ภาชนะที่ใส่ เช่น น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลหม้อ เป็นต้น

น้ำตาลธรรมชาติจากน้ำตาลมะพร้าว

เป็นน้ำตาลจากธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่ให้ความหวานน้อยเช่นกัน โดยทำมาจากตาลมะพร้าวหรือช่อดอกของต้นมะพร้าวนั่นเอง สำหรับน้ำตาลที่ได้ก็จะมีความคล้ายกับน้ำตาลโตนดมาก แต่จะมีกลิ่นหอมน้อยกว่าและมีรสชาติที่หวานแล่มกว่าน้ำตาลโตนด หวานน้อยกว่าน้ำตาลขัดขาวอยู่มากและไม่ค่อยกลมกล่อมมากนัก สำหรับการนำมาใช้ประโยชน์ก็จะนิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหารแทนน้ำตาลโตนดนั่นเอง

น้ำตาลธรรมชาติจากน้ำผึ้ง

น้ำผึ้งเป็นน้ำตาลธรรมชาติที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูปใดๆ ทั้งสิ้น โดยในน้ำผึ้งจะประกอบไปด้วยน้ำตาลฟรุคโตส ซึ่งก็จะมีสีเหลืองอ่อน เหลืองเข้มออกเขียว สีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลไหม้ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งชนิดไหนและชนิดของเกสรดอกไม้บริเวณที่ผึ้งอาศัยอยู่นั่นเอง โดยทั้งนี้น้ำผึ้งเดือนห้าจะถือเป็นน้ำผึ้งที่มีความบริสุทธิ์ที่สุด เพราะเป็นช่วงที่มีการเก็บเกี่ยวน้ำหวานได้เต็มและไม่ค่อยมีน้ำเจือปน จึงนิยมนำน้ำผึ้งเดือนห้ามาใช้ประโยชน์มากกว่าน้ำผึ้งในช่วงเวลาอื่นๆ นอกจากนี้น้ำผึ้งยังมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากนิยมนำมาทานกับขนมปังแพนเค้ก ชงกับเครื่องดื่มต่างๆ แล้ว ก็สามารถช่วยในการขับถ่ายและฆ่าเชื้อบางชนิดได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ไม่ควรใช้ในปริมาณมากเพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียได้

น้ำตาลธรรมชาติฟรุ๊กโตสในผลไม้

น้ำตาลฟรุคโตสพบได้มากในผลไม้ ซึ่งก็จะให้ความหวานที่ 140% ของน้ำตาลทรายเลยทีเดียว ดังนั้นจึงควรใช้ในปริมาณเล็กน้อยต่อครั้งเท่านั้น สำหรับข้อดีของน้ำตาลชนิดนี้ก็คือ สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยใดๆ ทั้งสิ้น โดยจะเข้าไปในตับเพื่อเปลี่ยนเป็นกลูโคสก่อนจะเข้าไปสู่กระแสเลือดต่อไป แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นน้ำตาลที่ได้จากผลไม้ก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและอ้วนได้เหมือนกัน สำหรับการนำมาใช้ประโยชน์ ก็จะนิยมใช้ปรุงอาหารคาวหวานและใส่ในเครื่องดื่มนั่นเอง

น้ำตาลธรรมชาติน้ำตาลมอลล์

น้ำตาลธรรมชาติขากมอลล์เป็นน้ำตาลอีกชนิดหนึ่งที่ให้ความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทราย ซึ่งจะประกอบไปด้วยกลูโคส 2 โมเลกุลมาเชื่อมต่อกัน พบได้มากในข้าวบาร์เลย์หรือข้าวมอลล์ที่กำลังงอก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปรุงอาหารได้เช่นกัน

เคล็ดลับน่ารู้ของน้ำตาลธรรมชาติ

ก่อนเลือกทานน้ำตาลไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ควรทำความเข้าใจกับ TIP น่ารู้เหล่านี้ก่อน ได้แก่

1.หากทานน้ำตาลไม่ว่าชนิดใด มากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของพลังงาน จะทำให้ระดับไขมันและคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกายเพิ่มขึ้นได้

2.ควรสังเกตหากผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่ซื้อใช้คำว่า Sugar จะหมายถึงน้ำตาลกลูโคส แต่หากใช้คำว่า Sugars จะหมายถึงว่ามีน้ำตาลชนิดอื่นๆ รวมอยู่ด้วย ซึ่งอาจเป็นซูโครส ฟรุคโตนหรือมอลโตสก็ได้

3.สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาว่าปราศจากน้ำตาล นั่นไม่ได้หมายความว่าไม่มีน้ำตาลอยู่เลย แต่หมายถึงไม่มีน้ำตาลซูโครสเป็นส่วนผสมอยู่เท่านั้น ส่วนน้ำตาลชนิดอื่นๆ อาจมีอยู่ได้โดยที่เราไม่รู้นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนิยมใช้น้ำตาลฟรุคโตสที่เป็นน้ำตาลจากผลไม้แทนนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ขอบคุณข้อมูลความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

มารู้จักสารให้ความหวานกันเถอะ

0
มารู้จักสารให้ความหวานกันเถอะ
น้ำตาลเทียม เป็นสารให้ความหวานที่สังเคราะห์ขึ้นมาให้มีความหวานเหมือนน้ำตาล สามารถนำมาใช้แทนน้ำตาลได้
มารู้จักสารให้ความหวานกันเถอะ
น้ำตาลเทียม เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาให้มีความหวานเหมือนน้ำตาล สามารถนำมาใช้แทนน้ำตาลได้

สารให้ความหวาน

สารให้ความหวาน คือ สารที่สังเคราะห์ขึ้นมา โดยจะให้ความหวานเหมือนน้ำตาลจึงสามารถนำมาใช้แทนน้ำตาลได้ ทั้งยังได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาว่ามีความปลอดภัยอีกด้วย ซึ่งทั้งนี้น้ำตาลเทียมก็มีมากมายหลายชนิด แต่ที่ได้รับการยอมรับและมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายที่สุด ก็คือ แซคคาริน แอสปาแทมนั่นเอง และเนื่องจากน้ำตาลเทียมไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ค่อยได้หรือต้องการควบคุมน้ำหนัก ก็สามารถใช้น้ำตาลเทียมในการประกอบอาหารหรือใส่ในเครื่องดื่มแทนได้เหมือนกัน แต่ก็ต้องใช้น้ำตาลเทียมอย่างถูกต้องและถูกวิธี เพื่อไม่ให้เกิดโทษตามมานั่นเอง และที่สำคัญไม่ควรนำน้ำตาลเทียมมาปรุงในอาหารร้อนๆ เด็ดขาด โดยเฉพาะน้ำตาลเทียมชนิดซัคคารีนและแอสปาแทม เพราะทนความร้อนได้แค่ไม่เกิน 65 องศาเซลเซียสเท่านั้น หากเกินจากนี้จะก่อให้เกิดโทษได้ในที่สุด

ชนิดของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

1. แอสปาแทม

แอสปาแทม ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิด ได้แก่ ฟินิลอลานินและกรดแอสปาติก สามารถให้ความหวานได้ที่ 200-300 เท่าของน้ำตาลทรายและมีรสชาติความหวานที่ใกล้เคียงกับน้ำตาลทรายมากที่สุด จึงนิยมนำมาใช้ในการเพิ่มความหวานให้กับเครื่องดื่ม เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือนำมาใส่ในอาหารแห้ง ไอศกรีม และพวกขนมหวานทั้งหลาย เป็นต้น แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างเหมือนกัน นั่นก็คือแอสปาแทมจะไม่ทนต่อความร้อน โดยจะเกิดการสลายตัวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิสูงและในสภาพความเป็นกรดด่างที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้ ความหวานลดน้อยลงหรือสูญเสียไปจนหมดสิ้น นอกจากนี้หากใช้ในปริมาณสูงมาก ก็อาจทำให้เป็นมะเร็งและสมองมีความผิดปกติได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรทานแอสปาแทมในปริมาณที่เหมาะสม นั่นคือไม่เกินวันละ 10 มก./กก. ของน้ำหนักตัวนั่นเอง

2. ซัยคลาเมต

เป็นน้ำตาลเทียมที่ให้ความหวานประมาณ 30 เท่าของน้ำตาลทราย และไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย การทานน้ำตาลเทียมชนิดนี้จึงไม่ทำให้อ้วนนั่นเอง และยังให้รสชาติของอาหารที่พอดี ไม่หวานเอียนจนเกินไปอีกด้วย อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสารชนิดนี้ได้ถูกห้ามใช้ไปแล้ว เพราะเมื่อราวปี พ.ศ.2500 ได้มีการค้นพบว่าอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ

3. ซัคคารินหรือขันฑสกร

ซัคคารินเป็นสารให้ความหวานที่ให้ความหวานที่ประมาณ 300-400 เท่าของน้ำตาลทรายเลยทีเดียว จึงให้รสชาติที่หวานจัดและอาจหวานติดลิ้นได้ แต่ไม่ให้พลังงาน จึงไม่ต้องกังวลเรื่องความอ้วนหรือระดับน้ำตาลในเลือดนั่นเอง แต่ทั้งนี้หากใช้ในปริมาณมากก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกขมคอได้เหมือนกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการทานซัคคารินในขนาด 5-25 กรัมต่อวันติดต่อกันเป็นเวลานานหรือทานในครั้งเดียวที่ 100 กรัม ก็จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน ง่วงซึมหรือชักได้อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่นิยมนำซัคคารินมาใช้แทนน้ำตาลมากนัก โดยสำหรับอาหารที่นิยมใส่ซัคคารินก็ได้แก่ ไอศกรีม ขนมหวานและผลไม้ดอง เป็นต้น

4. อะซิซัลเฟม เค

สำหรับน้ำตาลเทียมชนิดนี้ ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้นำมาใช้ผสมอาหารได้ โดยมีคุณสมบัติในการให้ความหวานที่สูงกว่าน้ำตาลถึง 200 เท่า แต่ไม่ให้พลังงาน จึงสามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักได้เหมือนกัน ซึ่งในปัจจุบันก็มีการใช้น้ำตาลเทียมตัวนี้อยู่ประมาณ 20 ประเทศ โดยจะนิยมใส่ในน้ำอัดลม ลูกกวาด ของหวานต่างๆ และเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ นั่นเอง

คุณสมบัติของสารที่ให้ความหวานแต่ละชนิด

สารให้ความหวาน รสชาติ พลังงาน (แคลอรี่/ กรัม) เหมาะกับโรคเบาหวานและคนอ้วน  ข้อควรระวัง
ฟรุคโตส อร่อย 4 ไม่เหมาะ มีมากในน้ำผลไม้
ซอร์บิทอล ไซลิทอล อร่อย 2.6 ไม่เหมาะ ถ้าบริโภคมากอาจท้องเสียและฟันผุได้
อีริไธทอล อร่อย น้อยกว่า 0.2 เหมาะ ราคาสูงมาก ไม่ทำให้ฟันผุ
ซูคราโลส อร่อย 0 เหมาะ ราคาสูง ไม่ทำให้ฟันผุ
สตีวิโอไซด์ (หญ้าหวาน) อร่อย 0 เหมาะ หวานปนขม ไม่ทำให้ฟันผุ
แอสปาเทม ปานกลาง 0 เหมาะ อย่าใส่ในอาหารร้อน

ห้ามใช้ในโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

ไม่ทำให้ฟันผุ

ซัคคาริน แย่ 0 เหมาะ อย่าปรุงอาหารร้อน

ไม่ทำให้ฟันผุ

มีปนรสขนของโลหะ

อะซิซัลแฟมเค แย่ 0 เหมาะ ไม่ทำให้ฟันผุ

มีปนรสขมของโลหะ

น้ำตาลเทียมที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

สำหรับน้ำตาลเทียมที่มีในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำตาลผสม โดยผสมน้ำตาลเทียมเล็กน้อยเข้ากับน้ำตาลแอลกอฮอล์ในปริมาณที่สูงกว่านั่นเอง ซึ่งก็จะมีขายในรูปของผงแบบบรรจุซอง และมีหลายยี่ห้อ เช่น สลิมมา 1 ซอง หวานเท่าน้ำตาลทราย 2 ช้อนชา

คอนโทรล 1 ซอง หวานเท่าน้ำตาลทราย 2.5 ช้อนชา

อีควล 1 เม็ด หวานเท่าน้ำตาลทราย 1 ช้อนชา

ยี่ห้อสารที่ให้ความหวานตามท้องตลาด

อีควล
สลิมม่า
ฟิตเน่
ไลท์ชูการ์
ทรอปิคาน่า
สวิซซี่
สวีตเอ็นโลว์
ดี-เอ็ด
คอนโทรล

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

เส้นใยอาหาร ประโยชน์จากธรรมชาติช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด

0
เลือกเส้นใยอาหารมาช่วยรักษาระดับน้ำตาล
ถั่วฝักยาวมีเส้นใยอาหารสูง ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่ร่างกาย ช่วยให้ลำไส้ทำงานดี
เลือกเส้นใยอาหารมาช่วยรักษาระดับน้ำตาล
พุทรา ประกอบไปด้วยเส้นใยอาหาร ช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็ว และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี

เส้นใยอาหาร

เส้นใยอาหาร ประโยชน์จากธรรมชาติช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เส้นใยอาหารสำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ควรเน้นการทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นหลัก โดยควรทานที่ประมาณวันละ 20-35 กรัม นั่นก็เพราะเส้นใยอาหารเหล่านี้จะไปลดการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตไม่ให้ถูกดูดซึมเร็วเกินไป จึงไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นหรือลดลงเร็วมากนัก แถมยังมีส่วนช่วยในการลดการดูดซึมไขมันในลำไส้ได้อีกด้วย

เส้นใยอาหาร พบได้ที่ไหน และดีอย่างไร?

เส้นใยอาหาร คืออะไร? เส้นใยอาหารโดยส่วนใหญ่แล้วจะพบได้มากในผักผลไม้และธัญพืชต่างๆ โดยเฉพาะธัญพืชที่ไม่ขัดสี ส่วนในอาหารอื่นๆ ก็จะพบเส้นใยได้บ้างแต่มีไม่มากนัก เช่น แป้งขัดขาว มีเส้นใยน้อยจนแทบไม่มีเลย ขนมปัง โดยจะพบในขนมปังโฮลวีตมากกว่าขนมปังธรรมดา ส่วนประโยชน์ของการทานเส้นใยอาหาร นอกจากจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลได้ดีแล้ว ก็สามารถช่วยด้านการขับถ่ายอุจจาระได้เหมือนกัน โดยจะช่วยป้องกันอาการท้องผูก ทำให้อุจจาระมีกากใยและขับถ่ายง่ายนั่นเอง

เส้นใยอาหารจากพืช แบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด?

เส้นใยอาหารจากพืชแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ซึ่งได้แก่

1. เส้นใยอาหารเซลลูโลส เป็นเส้นใยเหนียวๆ ที่แม้ว่าจะผ่านการหุงต้มแล้วแต่ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก จึงทำให้อุจจาระมีกากใยมากขึ้นและขับถ่ายออกมาได้ง่ายกว่าปกติ ทั้งยังมีฤทธิ์ช่วยดูดซึมสารก่อมะเร็งและจับเอาน้ำตาลและไขมันให้ออกมาพร้อมกับอุจจาระอีกด้วย โดยทั้งนี้เซลลูโลสจะพบได้มากใน เมล็ดพืช ถั่วต่างๆ และเปลือกต้นไม้

2. เส้นใยอาหารเฮมิเซลลูโลส เป็นเส้นใยที่มักจะรวมอยู่กับเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำ มีโมเลกุลเล็กและสามารถแตกตัวด้วยกรดและด่างได้ดี ส่วนมากจะมีฤทธิ์ในการป้องกันอาการท้องผูกโดยตรง ซึ่งทั้งนี้ก็จะพบเส้นใยชนิดนี้ได้มากในผนังเซลล์ของพืชนั่นเอง

3.เส้นใยอาหารลิกนิน เป็นเส้นใยอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ไม่ละลายน้ำ มีส่วนช่วยในการต้านทานปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยาเอนไซม์และต้านแบคทีเรียได้ ซึ่งจะพบได้มากในผนังเซลล์ของพืชและพบในข้าวที่ยังไม่ผ่านการขัดสี รวมถึงกะหล่ำปลี มะเขือเทศ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่และถั่วงอกอีกด้วย

4. เส้นใยอาหารเพคติน มีลักษณะคล้ายวุ้นจึงนิยมนำไปทำเป็นเยลลีมากที่สุด ซึ่งเส้นใยชนิดนี้ก็จะพบได้มากในกล้วย ส้ม องุ่น แอปเปิ้ล สตรอว์เบอร์รี่และแครอต เป็นต้น

5. เส้นใยอาหารกัมและมิวซิเลส มีคุณสมบัติในการลดไขมันคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาลในเลือดและทำให้ซอสมีความเหนียว ส่วนใหญ่จะพบได้มากในซอสมะเขือเทศ รำข้าวโพด และรำข้าว 

เส้นใยอาหารในผักผลไม้ ที่มีเส้นใยอาหารสูง

สำหรับผักและผลไม้ที่มีเส้นใยอาหารสูง คือมากกว่า 3 กรัม/อาหาร 100 กรัม ได้แก่

  • เส้นใยอาหารจากฝรั่ง มังคุด ข้าวโพดอ่อน ถั่วฝักยาว เม็ดแมงลัก ถั่วเขียว แครอต และถั่วแระ
  • เส้นใยอาหารจากรำข้าว เมล็ดทานตะวัน สะเดา ผักกระเฉด กระเทียม ถั่วแดง ใบชะพลู งา ถั่วลิสงและมะเขือพวง
  • สปาเก็ตตี ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพดต้ม พุทรา ทับทิม ขนมปังโฮลวีต มักกะโรนี กะหล่ำปลี และน้อยหน่า
  • เส้นใยอาหารจากตะขบ มะกอก มะละกอสุก ข้าวกล้อง ทุเรียน กล้วยดิบ ส้มเช้ง เห็ด ถั่วลันเจาและฝรั่ง

ผักผลไม้ที่มีเส้นใยอาหารต่ำ

ผักผลไม้ที่มีเส้นใยอาหารต่ำมาก คือมีเส้นใยน้อยกว่า 1 กรัม / อาหาร 100 กรัม ได้แก่

  • กล้วยสุก แตงโม ขนุนสุก มะม่วงดิบและสุก ลิ้นจี่ แตงไทย และชมพูนาค
  • แอปเปิ้ล อุง่น สับปะรด หน่อไม้ หัวผักกาด ส้มจีน และสะตอ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

เทคนิคควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยวิธีง่าย ๆ

0
รักษาน้ำหนักตัวให้พอดีกันเถอะ
การเดินขึ้นลงบันไดสามารถช่วยลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักตัวได้

การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยากหรือซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายสามารถทำได้โดยการตั้งเป้าหมายที่เป็นจริง และทำตามขั้นตอนที่ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเลือกอาหารที่มีประโยชน์และลดการบริโภคอาหารที่มีแคลอรีสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ดและขนมหวาน นอกจากนี้ การเพิ่มการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินหรือทำกิจกรรมที่ชอบ จะช่วยให้การควบคุมน้ำหนักเป็นเรื่องที่สนุกและง่ายดายขึ้น

สำหรับการดูว่ารูปร่างของตัวเองอยู่ในระดับที่พอดีแล้วหรือยัง ก็สามารถดูได้จากดัชนีมวลกาย ( BMI ) โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้

BMI = น้ำหนัก ( กิโลกรัม ) หารด้วยส่วนสูง ( เมตร )2

เมื่อได้ผลลัพธ์จากการคำนวณตามสูตรแล้ว ก็ให้เอามาแปลผล ดังนี้

ถ้า BMI ต่ำกว่า 19 หมายความว่า รูปร่างผอม
ถ้า BMI 20-24.9 หมายความว่า รูปร่างพอดี สมส่วน
ถ้า BMI 25-29.9 หมายความว่า อ้วน น้ำหนักเกินมาตรฐาน
ถ้า BMI 30 ขึ้นไป แสดงว่าอ้วนถึงขนาดที่เรียกว่า โรคอ้วน

เมื่อพบว่ามีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรือเข้าข่ายที่เรียกว่าอ้วน ควรรีบทำการลดน้ำหนักในทันที โดยให้ลดแบบค่อยเป็นค่อยไป และใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมานั่นเอง

วิธีการลดน้ำหนักที่เหมาะสมวิธีการลดน้ำหนักที่เหมาะสม

1.การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโดยลดพลังงานจากอาหาร

ความอ้วน เกิดจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป ดังนั้นจึงต้องลดความอ้วนด้วยการลดพลังงานจากอาหารในแต่ละวันให้น้อยลง โดยสามารถทำได้ด้วยการจำกัดอาหารพลังงานสูง จำกัดอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ลดปริมาณน้ำตาลให้น้อยลงหรืออาจใช้น้ำตาลเทียมแทนก็ได้ นอกจากนี้ควรเน้นเพิ่มผักผลไม้และอาหารที่มีประโยชน์ให้มากขึ้นด้วย

2.การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายก็จะช่วยลดน้ำหนักได้ดี เพราะเป็นการเพิ่มการใช้พลังงานให้มากขึ้นนั่นเอง โดยแนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเดินหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 20-30 นาที เป็นประจำทุกวัน

3.การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายได้มีการซ่อมแซมตัวเองอย่างเต็มที่ และยังช่วยลดความรู้สึกหิวได้ดีอีกด้วย โดยทั้งนี้ควรนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เท่านี้การลดน้ำหนักก็จะไม่ยากจนเกินไปแล้ว

4.ทานยาอาหารเสริมลดน้ำหนัก

สามารถใช้ยาอาหารเสริมลดน้ำหนักเป็นตัวช่วยได้แต่จะต้องเลือกอาหารเสริมที่เป็นสมุนไพรเท่านั้น และทานในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งอาหารเสริมที่จะช่วยในการลดน้ำหนักได้ดี ก็คือ บุก สารสกัดจากผลส้มแขก โครเมียม สารสกัดจากพริก สารสกัดจากชาเขียวและสารสกัดจากเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น และที่สำคัญก่อนซื้อก็ควรดูด้วยว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดังกล่าวมีเครื่องหมาย อย. หรือไม่ นั่นก็เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณนั่นเอง

5.รู้จักยับยั้งชั่งใจ

และที่สำคัญเลย ก็คือการรู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่ให้ตัวเองเผลอทานอาหารมากเกินความจำเป็น ซึ่งหากทำได้ก็จะสามารถลดน้ำหนักได้อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ก็อาจต้องใช้ความพยายามพอสมควร โดยเฉพาะคนที่ตามใจปากจนติดเป็นนิสัย

โรคร้ายที่อาจจะมาพร้อมกับความอ้วน ก็ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง มะเร็งเต้านม โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคนิ่วในถุงน้ำดีนั่นเอง

วิธีการดูแลและควบคุมน้ำหนักตัว

1. ควบคุมสัดส่วนและปริมาณอาหารแต่ละกลุ่มให้พอเหมาะแต่ละวัน
2. กินอาหารเช้าทุกวัน
3. กินอาหารพออิ่มในแต่ละมื้อ
4. กินอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป
5. กินผักและผลไม้ที่มีรสไม่หวานมาก
6. กินอาหารมื้อเย็นห่างจากเวลานอนไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง
7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารมันจัด
8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
9. ประเมินและวิเคราะห์น้ำหนักตัวเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ

ผลเสียของการมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์

โดยเหตุผลที่เราควรลดน้ำหนักทันทีเมื่อพบว่าน้ำหนักเกิน หรือต้องรักษาน้ำหนักตัวให้พอดีอยู่เสมอนั้น ก็เป็นเพราะการมีน้ำหนักตัวเกินจะนำมาซึ่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมากมายนั่นเอง โดยโรคร้ายที่มักจะพบบ่อยจากการเป็นโรคอ้วนก็ได้แก่

1. โรคไขมันในเลือดสูง เกิดจากการที่ร่างกายมีไขมันมากเกินไป ซึ่งก็อาจทำให้ไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการเป็นไขมันอุดตันเส้นเลือดได้ในที่สุด

2. โรคหัวใจ อีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก โดยในคนที่มีน้ำหนักตัวเกินก็จะเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคนี้ได้มากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ

3. โรคเบาหวาน แน่นอนว่าเมื่อเป็นโรคอ้วน ก็มักจะเป็นเบาหวานตามมาด้วยเสมอ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เกิดจากการทานน้ำตาลหรือของหวานมากเกินไป และผลจากความอ้วนที่ทำให้อินซูลินมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงทำให้เป็นเบาหวานได้นั่นเอง ทั้งนี้โรคเบาหวานเมื่อเป็นแล้วก็จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และยังมีความอันตรายเป็นอย่างมากอีกด้วย

4. โรคข้อกระดูกเสื่อม เพราะร่างกายต้องรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไปอยู่เสมอ จึงอาจทำให้ข้อกระดูกเกิดการเสื่อมสภาพได้

เปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันด้วยการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาที่จะควบคุมน้ำหนักของตนเองได้อย่างเต็มที่มากนัก ก็สามารถเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันให้กลายเป็นการลดน้ำหนักและรักษาน้ำหนักตัวให้พอดีได้ไม่ยาก โดยมีวิธีดังนี้

1. ตื่นนอนเร็วกว่าเดิม
การตื่นนอนเร็ว จะทำให้เรามีเวลาทำอะไรต่ออะไรมากขึ้น พร้อมทั้งได้เคลื่อนไหวร่างกายในหนึ่งวันมากกว่าเดิมจึงสามารถลดน้ำหนักได้ดี

2. เดินขึ้นลงบันไดแทนลิฟท์
การเดินขึ้นลงบันไดสามารถช่วยลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักตัวได้ดีอย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นมาเดินขึ้นลงบันไดแทนลิฟท์กันดีกว่า

3. ทำอาหารกลางวันเอง
ควรทำอาหารเพื่อห่อไปกินกลางวันด้วยตัวเองจะดีกว่า เพราะจะได้เลือกวัตถุดิบและควบคุมเครื่องปรุงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ แถมยังมั่นใจได้ถึงความสะอาด ปลอดภัยอีกด้วย

4. ทำงานบ้าน
การทำงานบ้านก็สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ดี เพราะร่างกายได้เคลื่อนไหวอยู่เสมอ จึงมีการนำพลังงานในร่างกายออกไปใช้อยู่ตลอดเวลา

5. ปั่นจักรยานแทนการขับขี่รถ
เพราะการปั่นจักรยานจะช่วยบริหารกล้ามเนื้อหาและลดไขมันบริเวณต้นขาได้เป็นอย่างดี

เพื่อสุขภาพที่ดี ควรรักษาน้ำหนักตัวให้พอดีอยู่เสมอ โดยสามารถคำนวณดูได้จากสูตร BMI นั่นเอง ซึ่งหากพบว่าน้ำหนักอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ ก็ควรรีบลดน้ำหนักโดยด่วน เพื่อควบคุมน้ำหนักให้ได้มากที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

 Elena (2008). The Culture of Obesity in Early and Late Modernity. Palgrave Macmillan. 
Robert (2001). Fat: Fighting the Obesity Epidemic. Oxford, UK: Oxford University Press. 

สาเหตุและอาการของโรคหัวใจ

0
สาเหตุและอาการของโรคหัวใจ
โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจทำให้เกิดความบกพร่องของหลอดเลือดหัวใจ
สาเหตุและอาการของโรคหัวใจ
โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจทำให้เกิดความบกพร่องของหลอดเลือดหัวใจ

โรคหัวใจ

โรคหัวใจ ( Heart Disease) คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของหัวใจ ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด โรคหัวใจไม่ใช่แค่โรคที่เกิดขึ้นในหัวใจเท่านั้น และรวมถึงโรคที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการทำงานของหัวใจด้วย

สาเหตุของโรคหัวใจ แบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติในการเจริญเติบโตของหัวใจตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมหรือการติดเชื้อ การได้รับสารเสพติด รังสี ยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของหัวใจในขณะที่มารดาตั้งครรภ์อยู่ ทำให้หัวใจไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ ความผิดปกติแต่กำเนิดของหัวใจที่พบได้แก่ ผนังกั้นหัวใจรั่ว ไม่มีผนังกั้นหัวใจเลย ลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจตีบ หรือความพิการแบบซ้ำซ้อน คือ มีความพิการของหัวใจหลายๆ แบบอยู่ด้วยกัน เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว ( Tetralogy of Fallot หรือ TOF ) คือมีผนังหัวใจห้องล่าง ขวาหนาโต หลอดเลือดเอออร์ต้าคร่อมอยู่ระหว่างห้องล่างและบนจึงรับทั้งเลือดดำและแดงเข้าห้องซ้าย ผนังกั้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องล่างซ้ายและขวามีรูรั่ว ( Ventricular Septal defect ) และเส้นเลือดที่ออกสู่ปอดตีบตันเกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นต้น

2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม ( Dilated Cardiomyopathy ) คือ การที่กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ เนื่องจากเซลล์ที่ทำการปล่อยคลื่นไฟฟ้าทำงานผิดปกติ ทำให้การบีบตัวหรือหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติรวมถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจที่มาจากโรคอื่นๆ ภายในร่างกาย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

2.1 โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ผิดปกติ ( Dilated Cardiomyopathy ) คือ การที่กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหรือห้องล่างขวาเกิดการขยายตัวออกมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถหดตัวหรือหดตัวได้น้อยส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อย เป็นผลให้อวัยวะเกิดอาการขาดเลือดและเกิดอาการเลือดคั่งอยู่ในหัวใจและปอดมากเกินไป

2.2 โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่กล้ามเนื้อหนา ( Hypertrophic Cardiomyopathy ) คือ การที่กล้ามเนื้อหัวใจมีความหนามากกว่าปกติและความหนาของแต่ละตำแหน่งมีความหนาไม่เท่ากัน โดยเฉพาะหัวใจห้องล่างซ้ายนั้นจะส่งผลมากที่สุด เพราะเมื่อความหนาของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นจะทำให้ขนาดของห้องหัวใจมีขนาดเล็กลงส่งผลหัวใจได้รับเลือดได้น้อยลง ส่งผลให้เลือดที่ส่งไปหล่อเลี้ยงร่างกายมีปริมาณที่ไม่เพียงพอ หรืออีกกรณีหนึ่งคือกล้ามเนื้อหัวใจที่หนาขึ้นอยู่ใกล้กับทางออกของเลือด จึงไปบดบังทางออกของเลือดทำให้เลือดไหลออกจากหัวใจได้น้อยลง ส่งผลให้เลือดออกจากหัวใจไม่ได้หรือออกไปได้น้อยมาก โรคกล้ามเนื้อหัวใจแบบนี้เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างกะทันหัน

2.3 โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวมากกว่าปกติ ( Restrictive Cardiomyopathy ) คือ การที่กล้ามเนื้อหัวใจมีธาตุเหล็ก โปรตีนบางชนิดหรือเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการแข็งตัว ไม่สามารถทำการบีบรัดตัวหรือบีบรัดตัวได้น้อยลงกว่าปกติที่ควรเป็น ส่งผลให้การส่งเลือดไปยังปอดและอวัยวะตามร่างกายน้อยลง ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียไม่มีแรง เกิดสภาวะร่างกายขาดออกซิเจน 

3.โรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Artery Disease ) คือ เกิดจากการที่หลอดเลือดแดง ( Coronary artery ) ที่เข้าสู่หัวใจเพื่อไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการตีบตัน เนื่องจากไขมันหรือเนื้อเยื่อสะสมอยู่บนผนังของหลอดเลือดทำให้ช่องทางเดินเลือดในหลอดเลือดมีขนาดเล็กลง เลือดจึงส่งไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดสภาวะขาดเลือดเป็นที่มาของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งโรคหัวใจแบบนี้จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆหรืออาจเสียชีวิตได้ในทันที

4.โรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ คือ โรคที่เกิดแทรกซ้อนจากการที่ลิ้นหัวใจมีความผิดปกติ นั่นคือ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดแต่ร่างกายกำจัดได้ไม่ทันก่อนที่จะเข้าสู่หัวใจ ทำให้เชื้อโรคนี้จะเข้าไปจับกับลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติจนลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เมื่อกระแสเลือดผ่านบริเวณลิ้นหัวใจที่อักเสบจะทำให้เชื้อโรคจากการอักเสบนี้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นที่มาของโรคที่มาของการติดเชื้อในกระแสเลือดและโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้

5.โรคลิ้นหัวใจพิการจากไข้รูห์มาติก ไข้รูห์มาติก คือ โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเสตปโตคอคคัสในช่องปากแพร่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อแบคทีเรียเสตปโตคอคคัสขึ้นมา แต่ภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นมานี้จะมีผลข้างเคียงต่อร่างกายโดยเฉพาะในเด็กอายุ 5-12 ปี จะทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบเกิดหรือลิ้นหัวใจรั่ว ชนิดของลิ้นหัวใจที่เกิดภาวะอักเสบหรือรั่วจากไข้รูห์มาติกที่พบได้บ่อย คือ ลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจหัวใจเออร์ติก

โรคหัวใจ ( Heart Disease) คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของหัวใจ

การสังเกตอาการโรคหัวใจ

นอกจากความพิการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว หัวใจยังมีความผิดปกติที่พบได้อีก คือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตสูงหรือต่ำ โรคที่เกี่ยวข้องกับต่อมไร้ท่อ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งโรคที่เกี่ยวกับหัวใจนี้อาจจะนำมาซึ่งการเสียชีวิตได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคหัวใจหรือไม่ การที่เราจะรู้ว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั้นเราสามารถสังเกตความผิดปกติของร่างกายได้ ดังนี้ 

1.ปลายมือ ปลายเท้าและปากมีสีเขียวคล้ำเพียงแค่นั่งอยู่เฉยๆ หรือทำกิจกรรมเล็กน้อยที่ไม่ได้ออกแรงมาก

2.อวัยวะช่วงล่างบวมโดยไม่รู้ต้นเหตุ ไม่ว่าจะเป็นขาหรือเท้าและเมื่อทำการกดบริเวณที่บวดแล้วเกิดรอยบุ๋มตามแรงกดให้เห็นอย่างชัดเจน

3.เหนื่อยง่าย ทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่ไม่หนักมากก็รู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจไม่ทันเหมือนจะขาดใจหรือรู้สึกว่าหัวใจเต้นแรงผิดปกติ

4.วูบหมดสติ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีอาการวูบหมดสติบ่อยๆ ไม่ว่าจะนั่ง ยืน นอน ทั้งที่กินอาหารตามปกติแล้วก็ตาม

5.เจ็บหรือแน่นหน้าอกบ่อยๆ มีอาการอึดอัดหายใจไม่ออก เจ็บแปลบที่บริเวณหน้าอกโดยเฉพาะเวลาที่ต้องออกแรงมากหรือเวลาที่ออกกำลังกาย

6. หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ มีความรู้สึกว่าเดี๋ยวหัวใจก็เต้นแรงขึ้นมาสลับกับเต้นช้าๆ ทำให้ใจสั่น เหนื่อยง่าย หายใจไม่ทัน

7.หัวใจล้มเหลว รู้สึกว่านอนแล้วหายใจไม่ได้ต้องลุกขึ้นมานั่ง หรือเวลานอนรู้สึกว่าหายใจลำบากจนบางครั้งตอนกลางคืนต้องสดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะขาดอากาศ เหนื่อยแม้จะนั่งอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำสิ่งใดก็ตาม

วิธีการตรวจโรคเกี่ยวกับหัวใจ

ถ้าคุณมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นไม่ว่าจะเพียง 1 ข้อ แสดงว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจแล้ว ทางที่ดีควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจและวินิจฉัยว่าคุณนั้นเป็นโรคหัวใจหรือไม่ โดยการตรวจร่างกายโดยละเอียด ซึ่งการตรวจโรคเกี่ยวกับหัวใจนั้นมีวิธีการตรวจดังนี้   

1.การตรวจแบบพื้นฐาน เป็นการตรวเบื้องต้นเพื่อดูว่ามีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจหรือไม่ ซึ่งการตรวจแบบพื้นฐาน คือ

1.1 การตรวจร่างกาย แพทย์จะทำการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจสอบว่าร่างกายอยู่ในสภาวะอ้วนหรือไม่ ฟังการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตเพื่อตรวจเช็คว่าหัวใจทำงานปกติหรือไม่

1.2 การตรวจเลือด เพื่อหาค่าของไขมัน คอเรสเตอรอลหรือสารอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลต่อหัวใจ เช่น ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคเบาหวาน เป็นต้น

1.3 การเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อตรวจสอบว่าในทรวงอกนั้นมีสภาวะผิดปกติเกิดใดเกิดขึ้น เช่น ขนาดของเส้นเลือดใหญ่ปกติดีหรือมีการขยายใหญ่ ขนาดของหัวใจ เป็นต้น

1.4 การตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ เป็นการตรวจสอบเกี่ยวกับหัวใจโดยเฉพาะ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับหัวใจและโรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจ เช่น ขนาดของหัวใจแต่ละห้อง ความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ ลักษณะกล้ามเนื้อหัวใจว่ามีส่วนใดเกิดตายหรือมีความผิดปกติหรือไม่

2. การตรวจแบบพิเศษ เป็นการตรวจเพื่อเจาะลึกรายละเอียดลงไปอีกว่าหัวใจในขณะนี้มีปัญหาใดเกิดขึ้นแล้ว

2.1 การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง ( Echocardiogram ) หรือเรียกสั้นว่า เอคโค ( Echo ) เป็นการตรวจโดยใช้หลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสี่ยงที่มีความถี่สูง เป็นการตรวจที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและไม่สร้างความเจ็บปวดต่อร่างกาย การตรวจวิธีนี้เราจะเห็นการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัว ขนาดห้องหัวใจ การไหลเวียนและการทำงานของลิ้นหัวใจ เป็นต้น ทำให้รู้ว่าหัวใจทำงานปกติดีหรือไม่

2.2 การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย ( Exercise Stress Test ) เป็นการตรวจกล้ามเนื้อหัวใจหรือภาวะของหลอดเลือดที่ส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ สำหรับคนที่มีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติในขณะที่ออกกำลังกาย ซึ่งการตรวจแบบนี้ผู้ทดสอบต้องทำการเดินบนสายไฟฟ้าหรือจักรยานและทำการบันทึกข้อมูลของคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ ความดันโลหิต เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลว่าเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจหรือไม่ต่อไป

2.3 การตรวจด้วยเตียงปรับระดับ ( Tilt Table Test ) เป็นการตรวจโดยใช้เตียงที่สามารถปรับระดับได้เพื่อหาสาเหตุในการเป็นหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งการตรวจนี้จะทำให้ทราบสาเหตุการหมดสติว่าเกิดปัญหาจากสมอง หัวใจหรือระบบประสาท นิยมใช้ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอาการหมดสติบ่อยๆ โดยที่ไม่ทราบสาเหตุทั้งที่นอนหรือนั่งอยู่เท่านั้น 

2.4 การบันทึกคลื่นหัวใจ ( Electrocardiography หรือ ECG ) เป็นการตรวจที่ทำการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจไว้กับตัวผู้ทดสอบ ส่วนจะติดกี่วันนั้นก็ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ทำการทดสอบ การติดเครื่องบันทึกแบบนี้จะทำให้เราทราบว่าการเต้นของหัวใจนั้นมีความผิดปกติหรือไม่ และการเต้นที่ผิดปกตินั้นเกิดจากสาเหตุใด

2.5 การฉีดสีสวนหัวใจ เป็นการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจและทำการถ่ายภาพด้วยการเอกซเรย์ ซึ่งสารทึบรังสีที่ใช้ก็คือสารไอโอดีน ดังนั้นผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเลไม่ควรได้รับการตรวจแบบนี้เพราะอาจจะมีอันตรายได้ การตรวจแบบนี้จะช่วยตรวเช็คได้ว่าหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดตีบหรือตันที่ส่วนใดหรือไม่ ลิ้นหัวใจมีการเปิดปิดปกติและยังสามารถตรวจเช็คการทำงานของหัวใจได้ด้วย

ที่กล่าวมานี้ คือ การตรวจหาความผิดปกติของหัวใจทั้งอวัยวะภายในหัวใจและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจทุกส่วน ถ้ารู้สึกตัวว่าตัวเองมีอาการที่เสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจแล้ว ควรรีบทำการตรวจทันทีเพราะว่าโรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ เลยทีเดียว แต่ถ้าเราได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีแล้วเราก็โอกาสรอดชีวิตจากโรคหัวใจสูง นั่นคือ โรคหัวใจเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ซึ่งการรักษาโรคหัวใจมีอยู่ด้วยกัน คือ

วิธีการรักษาโรคหัวใจ

1.การทำบอลลูน ( Balloon Angioplasty ) คือ การขยายหลอดเลือดส่วนที่ตีบตันให้ขยายกลับเข้าสู่ปกติ เพื่อที่เลือดจะไหลไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดังเดิม โดยสอดเอาบอลลูนสอดเข้าไปในหลอดเลือดที่เกิดการตีบตัน เมื่อบอลลูนถึงตำแหน่งที่มีการตีบตันหรืออุดตันก็ทำให้บอลลูนขยายตัว ซึ่งหลอดเลือดก็จะเกิดการขยายตัวตามไปด้วย ทำให้เลือดสามารถผ่านเข้าไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพิ่มมากขึ้น แต่วิธีการนี้เมื่อทำการรักษาผ่านไปสักระยะหลอดเลือดอาจจะกลับมาตีบตันได้อีก จึงมีการนำนวัตถกรรมใหม่เข้ามาช่วยลดการกลับมาตีบตันซ้ำของหลอดเลือด คือ ขดลวดเคลือบยา ( Drug Eluting Stent ) ที่จะส่งเข้าไปพร้อมกับบอลลูนเพื่อที่ยาที่เคลือบอยู่บนขดลวดเข้าไปช่วยยับยั้งการสมานแผลที่ผนังหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดกลับมาตีบตันได้อีก

2.การรักษาด้วยคลื่นไฟฟ้า ( Ablation therapy ) เป็นการรักษาโรคหัวใจที่เต้นผิดจังหวะ โดยการสอดสายสวนเข้าไปยังตำแหน่งที่มีความผิดปกติในการปล่อยคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ และทำการปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูงไปยังตำแหน่งนั้น เพื่อกระตุ้นหรือทำลายกล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดความผิดปกติให้กลับสู่สภาวะปกติ ซึ่งวิธีการนี้สามารถรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างได้ผล 

3.การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ( Pacemaker implantation ) เป็นการฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กเข้าไปบริเวณใต้ผิวหนังหน้าอกเพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจให้ถูกจังหวะโดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าส่งไปยังหัวใจ ทำให้กัวใจสามารถสูบแดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ การรักษาแบบนี้จะช่วยใช้ในการรักษากรณีที่ผู้ป่วยมีการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติทำให้อวัยวะตามร่างกายขาดเลือด ซึ่งจะพบมากในผู้สูงอายุ เครื่องกระตุ้นหัวใจจะมีขนาดประมาณ 4-5 เซ็นติเมตร

หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด เราจึงต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ คอยสังเกตุถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแม้จะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เพราะสิ่งที่ตามมาอาจจะหมายถึงการสูญเสียชีวิตก็เป็นได้ การดูแลสุขภาพที่ดีนอกจากจะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การทำให้จิตใจผ่องใสไม่เครียดย่อมส่งผลดีกับหัวใจมากที่สุด วันนี้คุณดูแลหัวใจตัวเองดีพอแล้วหรือยัง?

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Dantas AP, Jimenez-Altayo F, Vila E (August 2012). “Vascular aging: facts and factors”. Frontiers in Vascular Physiology 3 (325): 1–2. PMC 3429093. PMID 22934073. doi:10.3389/fphys.2012.00325.

Countries, Committee on Preventing the Global Epidemic of Cardiovascular Disease: Meeting the Challenges in Developing; Fuster, Board on Global Health ; Valentin; Academies, Bridget B. Kelly, editors ; Institute of Medicine of the National (2010). Promoting cardiovascular health in the developing world : a critical challenge to achieve global health. Washington, D.C.: National Academies Press. pp. Chapter 2. ISBN 978-0-309-14774-3.

Mendis, S.; Puska, P.; Norrving, B.(editors) (2011), Global Atlas on cardiovascular disease prevention and control, ISBN 978-92-4-156437-3

Finegold, JA; Asaria, P; Francis, DP (Dec 4, 2012). “Mortality from ischaemic heart disease by country, region, and age: Statistics from World Health Organisation and United Nations.”. International journal of cardiology 168 (2): 934–945. PMID 23218570. doi:10.1016/j.ijcard.2012.10.046.

ประโยชน์ของน้ำมันคาโนลา ( Canola Oil )

0
ประโยชน์ของน้ำมันคาโนลา (Canola Oil)
น้ำมันคาโนลามีลักษณะสีใส เนื้อบางเบา ไม่มีกลิ่นหืน ผลิตจากเมล็ดของต้นคาโนลาซึ่งพบมากในจีน อินเดีย ประเทศแทบยุโรปและประเทศแคนาดา
legal roids
น้ำมันคาโนลามีลักษณะสีใส เนื้อบางเบา ไม่มีกลิ่นหืน ผลิตจากเมล็ดของต้นคาโนลาซึ่งพบมากในจีน อินเดีย ประเทศแทบยุโรปและประเทศแคนาดา

น้ำมันคาโนล่า ดีต่อสุขภาพหรือไม่?

น้ำมันคาโนล่า คือ น้ำมันพืชมีไขมันไม่อิ่มตัว รสชาติที่เป็นกลางดีต่อสุขภาพสูงมาก ซึ่งกลุ่มคนรักสุขภาพมักใช้น้ำมันคาโนล่าปรุงอาหารมีประโยชน์ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงได้ ช่วยลดน้ำหนัก และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ วันนี้เรามีน้ำมันคุณภาพสูงมาแนะนำเพื่อใช้ปรุงอาหารรับประทาน น้ำมันที่ว่าก็ คือ น้ำมันคาโนลา ( Canola Oil ) มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อัลฟา-ไลโนเลนิก (ALA) สูงกว่าน้ำมันอื่นๆ หากนำน้ำมันพืชมาปรุงอาหารแล้วนำไปเปรียบเทียบกับน้ำมันมะกอกพบว่าน้ำมันคาโนลามีปริมาณแคลอรี่ 124 กรัมและไขมัน 14 กรัมเท่าน้ำมันมะกอก แต่มีไขมันอิ่มตัวแค่ครึ่งเดียวของน้ำมันมะกอกเท่านั้น

น้ำมันคาโนลามีลักษณะสีใส เนื้อบางเบา ไม่มีกลิ่นหืน ผลิตจากเมล็ดของต้นคาโนลาซึ่งพบมากในจีน อินเดีย ประเทศแทบยุโรปและประเทศแคนาดา

ประโยชน์ของน้ำมันคาโนล่า

– สร้างเยื่อหุ้มเซลล์
– ช่วยเพิ่มพลังงานให้สมอง
– มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
– ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
– ช่วยลดการอักเสบและความฝืดของข้อ
– ช่วยลดน้ำหนัก และลดไขมันหน้าท้อง
– ช่วยลดปัญหาผิวและสัญญาณแห่งวัย เช่น สิว ริ้วรอย รอยตีนกา และจุดด่างดำ
– ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นมให้แก้ผิว บำรุงผิว บำรุงเส้นผม และช่วยป้องกันรังแค

จะเห็นว่าน้ำมันโคโนลาเป็นน้ำมันที่ทรงคุณค่าทางโภชนการไม่แพ้น้ำมันมะกอกเลยทีเดียว และสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผัดหรือทอดที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงมากแค่ไหนก็สามารถใช้ได้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ทว่าในประเทศไทยนั้นยังไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใด เนื่องจากน้ำมันคาโนลานั้นมีราคาสูงและหา ซื้อได้ยาก แต่ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่รักสุขภาพแล้ว น้ำมันโคโนลาจัดเป็นน้ำมันพืชทางเลือกที่ดีมากอีกชนิดหนึ่งสำหรับคนที่รักสุขภาพอย่างคุณ แต่อย่าลืมนะว่าการบริโภคน้ำมันไม่ว่าจะดีมากแค่ไหนถ้าบริโภคมากเกินไปก็เป็นอันตรายต่อร่างกายได้นะ ดังนั้นจึงควรบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

Javitt NB (December 1994). “Bile acid synthesis from cholesterol: regulatory and auxiliary pathways”. FASEB J. 8 (15): 1308–11.

สาเหตุและอาการของโรคซึมเศร้า

0
สาเหตุและอาการของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือรู้สึกว่าตนด้อยค่า เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่โดยมากมักเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 20-30 ปี
สาเหตุและอาการของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือรู้สึกว่าตนด้อยค่า เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า (Depression) คือ คนที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทภายในสมอง ทำให้การกระทำและความคิดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  ซึ่งโรคซึมเศร้าอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการของโรคซึมเศร้าที่พบได้บ่อย คือ ไม่สนใจทำกิจกรรมต่างๆ เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารผิดปกติ กระวนกระวายใจ จิตใจเลื่อนลอย ทำอะไรก็รู้สึกว่าไม่มีความสุข รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า อ่อนเพลียง่าย ไม่มีสมาธิ ไม่กล้าตัดสินใจ โรคซึมเศร้าจัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่เกิดจาการมีปัญหาทางด้านอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง โรคซึมเศร้าจะส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เช่นนั้นอาการของโรคอาจจะกำเริบจนเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายได้ โดยโรคซึมเศร้าสามารถแบ่งออกได้ 6 ชนิด ดังนี้

ประเภทของโรคซึมเศร้า

1. โรคซึมเศร้าแบบรุนแรง ( Major Depression ) ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าอย่างหนักและเห็นชัดเจนประมาณ 2 สัปดาห์ต่อเนื่อง ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการที่รุนแรงถึงขนาดฆ่าตัวตายได้

2. โรคซึมเศร้าแบบเรื้อรัง ( Dysthymia Depression ) ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นเป็นระยะๆ คือ แสดงอาการบ้างไม่แสดงอาการบ้าง เวลาที่แสดงอาการก็จะรู้สึกหมดอาลัยในชีวิตไม่อยากทำกิจกรรม แต่บางเวลาก็กลับมาเป็นปกติเหมือนคนที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบนี้มักจะมีอาการตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยทำงานโดยที่ไม่รู้ตัว สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้อย่างปกติ แต่ตัวเองจะรู้สึกว่าไม่มีค่าพอที่จะมีความสุข ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียวไม่ชอบเข้าสังคมกับคนอื่นเท่าที่ควร ขาดสมาธิ ใจลอย มองโลกในแง่ร้าย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจจะเกิดสภาวะซึมเศร้าแบบรุนแรงได้ ถ้าได้รับความกดดัน ความเครียด ผิดหวังจากความรักหรือการสูญเสียสิ่งที่รักอย่างกระทันหัน

3. โรคอารมณ์สองขั้ว ( Bipolar Disorder ) คือ ประเดี๋ยวดีประเดี๋ยวร้ายสลับกันไปมา ช่วงที่มีอารมณ์ดีก็ดีมาก ช่างพูดช่างคุยแต่ถ้าได้รับการขัดใจจะหงุดหงิดง่ายพร้อมที่จะอาละวาดทันทีสลับกับช่วงอารมณ์ซึมเศร้า เบื่อหน่ายกับชีวิต รู้สึกว่าชีวิตไม่มีความสุข ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบนี้มักที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล และถ้ามีอาการซึมเศร้าแบบรุนแรงแทรกขึ้นมาก็อาจจะฆ่าตัวตายได้เช่นกัน

4. โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล โรคซึมเศร้าแบบนี้จะพบได้ในฤดูกาลหนาวที่แสงแดดน้อย มีสภาพอากาศที่มืดมัวทำให้รู้สึกหดหู่ ไม่มีชีวิตชีวา รู้สึกว่าตัวเองเฉื่อยชาไม่มีพลังงาน บางรายอาจจะซึมเศร้าจนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้เลย

5. โรคซึมเศร้าหลังคลอด โรคซึมเศร้าชนิดนี้จะเกิดกับผู้หญิงหลังคลอดประมาณ 1% เท่านั้น อาการที่พบคือ เหม่อลอย ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล ไม่สนใจลูกตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความรักจากคนรอบข้าง ซึ่งโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะหายไปเองหลังคลอดประมาณ 1 ปีหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน

6. โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น มีลักษณะคล้ายกับโรคสมาธิสั้นจึงทำให้พ่อแม่เข้าใจผิดกันมาก อาการของโรค คือ เด็กหรือวัยรุ่นจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว โวยวาย เจ้าอารมณ์เมื่อไม่ได้ดั่งใจ คิดว่าพ่อแม่ไม่รัก ไม่มีสมาธิในการเรียน ชอบเก็บอยู่คนเดียว ไม่เล่นหรือไม่ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทที่อยู่ในสมอง 3 ชนิดด้วยกัน คือ สารซีโรโตนิน สารนอร์เอฟิเนฟรินและสารโดปามีน สารสื่อประสาทมีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทผ่านเซลล์ ช่องว่างระหว่างเซลล์ เพื่อให้ส่วนต่างๆ ของสมอง เช่น ไขสันหลัง เส้นประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น ให้ได้รับสัญญาณอย่างทั่วถึงและครบถ้วน แต่ถ้าสารสื่อประสาทเกิดความผิดปกติหรือขาดความสมดุลแล้ว การสื่อสารภายในสมองก็จะเกิดความผิดพลาดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า โดยที่สารสื่อประสาทแต่ละตัวจะมีหน้าที่ดังนี้

1. สารซีโรโตนิน ( Serotonin ) เป็นสารสื่อประสาทที่มีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ความโกรธ ความหิว อุณหภูมิภายของร่างกาย การับรู้และความเจ็บปวด ว่าสารตัวนี้ทำหน้าที่ควบคุมวงจรชีวิตว่าเวลานี้เราต้องทำอะไร เช่น เมื่อถึงเวลาที่ต้องกินก็จะรู้สึกหิว เมื่อถึงเวลานอนก็จะรู้สึกง่วงนอนเป็นต้น

2. สารนอร์เอฟิเนฟริน ( Norepinephrine ) เป็นสารสื่อประสาทที่มีหน้าที่ในการควบคุมการตื่นตัว กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและควบคุมการแสดงออกเวลาที่รู้สึกกลัว

3. สารโดปามีน ( Dopamine ) เป็นสารที่มีหน้าที่ในการควบคุมสมาธิ ควบคุมอารมณ์และกระตุ้นประสาทสัมผัส่ต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว เวลาที่ร่างกายมีสารโดปามีนมาคือเวลาที่เรามีความสุข ความยินดี และความรัก จนบางครั้งเราเรียกสารนี้ว่า “ สารเคมีแห่งรัก ” ( Chemical of love )

จะพบว่าสารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นสารสื่อประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกคล้ายกัน และร่างกายของเราจะหลั่งสารออกมาในอัตราส่วนที่เท่าๆ กันหรือสมดุลกัน แต่ถ้าร่างกายมีการหลั่งสารชนิดใดชนิดหนึ่งมากกว่ากันจะทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้นั่นเอง

สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทที่อยู่ในสมอง 3 ชนิดด้วยกัน คือ สารซีโรโตนิน สารนอร์เอฟิเนฟรินและสารโดปามีน

โดยปกติแล้วสารแต่ละตัวจะหลั่งออกมาในปริมาณที่สมดุลกัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แต่ก็มีสาเหตุที่ทำให้ร่างกายหลังสารแต่ละชนิดออกมาไม่เท่ากัน ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า คือ

1. พันธุกรรม ผู้ที่มีครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนปกติมากถึง 2-3 เท่า ส่วนมากจะเป็นโรคซึมเศร้าแบบเรื้อรัง คือ จะมีอาการป่วยเป็นระยะเวลานาน อาการซึมเศร้าก็จะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา เวลาที่โรคกำเริบก็จะมีอาการซึมเศร้าอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่ออาการหายไปก็จะกลับมาเหมือนคนปกติทุกประการ สาเหตุของโรคซึมเศร้าจากพันธุกรรมนี้เกิดจากความผิดปกติของสารซีโรโทนิน ( Serotonin ) และสารนอร์เอฟิเนฟิน ( Norepinephrine ) ที่ลดน้อยลง

2. ความผิดปกติทางร่างกาย อาการป่วยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง เช่น โรคหลอดเลือดแข็งตัวชนิด Arteriosclerosis โรคเส้นเลือดอุดตันหรือแตกในสมอง โรคเนื้องอกในสมอง หรือการได้รับอุบัติเหตุทางสมอง รวมถึงโรคที่ส่งผลต่อสมองอย่าง โรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน โรคตับอักเสบ โรคเหล่านี้ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เนื่องจากโรคส่งผลกระทบกับการสร้างสื่อประสาทในสมองทำให้สมองสร้างสารสื่อประสาทเกิดความผิดปกติเป็นที่มาของโรคซึมเศร้า

3. จิตใจ ( Psychological Case ) สาเหตุทางด้านจิตใจนี้มีผลทำให้มีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรงและเฉียบพลัน ถ้าคนปกติได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจครั้งแรกก็จะยังไม่เป็นโรคซึมเศร้า แต่ถ้าได้รับความกระทบกระเทือนหลายๆ ครั้งอาจจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรงหรือเรื้อรังได้ สาเหตุด้านจิตใจที่พบได้ คือ การสูญเสียคนรัก การล้มเหลวในชีวิต ความผิดพลาดในการทำงาน ความรู้สึกกดดันที่ไม่สามารถระบายออกมาได้ หรือคนที่รู้สึกสิ้นหวัง ภายนอกจะเหมือนคนปกติทั่วไป แต่ว่าภายในจิตใจนั้นจะรู้สึกสับสน ขาดความมั่นใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าไม่รู้จะอยู่ต่อไปเพื่ออะไรเพราะชีวิตนี้สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไปหมดสิ้นแล้ว

4. สังคม ( Social Case ) ความกดดันทางด้านสังคมทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันที่มีการแก่งแย่งแข่งขันกันสูงมาก ตั้งแต่อายุยังน้อยก็มีการแข่งขันเรื่องการเรียน พอทำงานก็มีการแข่งขันกันในที่ทำงานเพื่อให้ได้ตำแหน่งหน้าที่หรือได้ทำงานในสถานที่ดีๆ คนที่ทำธุรกิจก็ต้องแข่งขันเพื่อให้ได้ลูกค้า สินค้าขายได้มากขึ้น มีกำไรเป็นกอบเป็นกำ แต่เมื่อไม่ได้ดังหวังหรือประสบสภาวะขาดทุนเนื่องจากเศรษฐกิจก็ทำให้เกิดความเครียด ซึ่งความเครียดนี้ไม่ว่ามากหรือน้อยก็ทำให้สารสื่อประสาทเสียสมดุลทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้

อาการของโรคซึมเศร้า

ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักมีอาการดังต่อไปนี้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์

  • เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม
  • รู้สึกเศร้า ท้อแท้ และสิ้นหวัง
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า
  • รู้สึกผิดและโทษตนเองตลอดเวลา
  • ขาดความสนใจหรือความเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • เคลื่อนไหวช้างลงหรือกระสับกระส่าย
  • เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา
  • ขาดสมาธิ ความสามารถในการคิดและการตัดสินใจน้อยลง
  • เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
  • นอนมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย
  • มีปัญหาในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม

การรักษาอาการโรคซึมเศร้า

สาเหตุที่ทำให้คนส่วนมากป่วยเป็นโรคซึมเศร้ากันมาก เกิดจากสภาพทางจิตใจและความเครียดที่คนในสังคมปัจจุบันได้รับความกดดันกันเป็นอย่างมาก ช่วงแรกๆ อาการอาจจะเป็นไม่มากแต่เมื่อได้รับความกดดัน ความเครียดหรือเกิดการสูญเสียผิดหวังครั้งแล้วครั้งเล่า อาการของโรคซึมเศร้าก็จะรุ่นแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ จะเห็นว่าโรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง การรักษาโรคซึมเศร้านั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

1. การรักษาด้วยการกินยา การรักษาแบบนี้ผู้ป่วยจะได้รับยาตามคำวินิจฉัยของแพทย์ โดยยาแก้โรคซึมเศร้า ( Antidepressants Drugs ) นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มใหญ่ตามโครงสร้างของตัวยา คือ

  • กลุ่มที่มีโครงสร้างแบบ Tricyclic หรือ Tricyclic Antidepressants ( TCAs )
  • กลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitors
  • กลุ่ม SSRI ( Serotonin-Specific Reptake Inhibitor )

ยาแก้โรคซึมเศร้าจะช่วยรักษาลดความกังวลทำให้กับผู้ป่วยหายจากโรคซึมเศร้า เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่อง 2- 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่ต้องกินยาจนหายสนิทถึงจะหยุดทานยาได้ เพราะถ้าหยุดยาโดยที่อาการยังไม่หาย โรคก็อาจจะกลับมากำเริบได้อีก การหยุดยาจึงต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้นห้ามหยุดโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่งอย่างเด็ดขาด

2. การรักษาโดยการเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ ทั้งสิ้น เอาแต่นั่งหรือนอนในสมองก็คิดเลื่อยเปื่อยไร้สาระ คิดโทษตัวเองว่าไม่ดี ไม่เก่ง ไม่น่าจะเกิดมาเลยหรือคิดถึงแต่สิ่งที่ไม่ดีในชีวิต การรักษาด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยต้องตั้งใจทำด้วยตัวเอง โดยหากิจกรรมที่ทำแล้วตัวเองรู้สึกมีค่า ทำแล้วสามารถทำให้สำเร็จได้โดยง่าย ถึงกิจกรรมนั้นอาจจะไม่ได้สร้างมูลค่าทางการเงินแต่ก็สร้างคุณค่าทางด้านจิตใจให้ผ็ป่วยรู้สึกว่าทำได้ทำประสบความสำเร็จด้วย และยังช่วยลดความฟุ้งซ่านของผู้ป่วยไม่ให้คิดมากอีกด้วย เช่น การจัดตู้เสื้อผ้า การกวาดบ้านถูบ้าน การล้างรถ รถน้ำต้นไม้ เป็นต้น

3. การรักษาด้วยไฟฟ้า ( Electroconvulsive Therapy หรือ ECT ) เป็นการรักษาในผู้ป่วยที่คิดฆ่าตัวตายหรือมีอาการขั้นรุนแรงมากๆ เท่านั้น โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่สมองของผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นสมองและปรับสารสื่อประสาทภายในสมอง ในขณะที่ทำการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการชัก ( Convulsion ) เกิดขึ้น ทำให้หลายคนมีความเข้าใจผิดจนไม่ยอมรับการรักษาด้วยวิธีนี้ แต่จริงๆ แล้ววิธีการรักษาด้วยไฟฟ้านี้ได้รับผลที่ดีมาก ผู้ป่วยสามารถหายจากโรคซึมเศร้าได้ในการรักษาเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น

อาหารที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยซึมเศร้า

  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ ชานมไข่มุก และน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
  • น้ำผลไม้ ตะกูลส้ม เสาวรส องุ่น เป็นต้น
  • อาหารเสริม อาหารเสริมบางอย่างขัดขวางากรออกฤทธิ์ของยาที่รักษา ทำให้มีความวิตกกังวล
  • ถั่วปากอ่า มีสารไทรามีนสูง
  • ไส้กรอก มีสารไทรามีนสูง
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์กดระบบประสาทและสมอง

แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า

โปรดใส่คะแนนให้ตรงกับคำตอบของท่าน
( เกณฑ์ให้คะแนน: ไม่เลย = 0, มีบางวันหรือไม่บ่อย = 1, มีค่อนข้างบ่อย = 2, มีเกือบทุกวัน = 3 )

ในช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา ท่านมีอาการดังต่อไปนี้บ่อยแค่ไหน ? ระดับคะแนน
เบื่อ ทำอะไร ๆ ก็ไม่เพลิดเพลิน
ไม่สบายใจ ซึมเศร้า หรือท้อแท้
หลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับมากไป
เหนื่อยง่าย หรือไม่ค่อยมีแรง
เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป
รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองล้มเหลว หรือเป็นคนทำให้ตัวเอง หรือครอบครัวผิดหวัง
สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ
พูดหรือทำอะไรช้าจนคนอื่นมองเห็น หรือกระสับกระส่ายจนท่านอยู่ไม่นิ่งเหมือนเคย
คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตาย ๆ ไปคงจะดี
ผลคะแนนรวม

ค่าการแปรผลและคำแนะนำ
คะแนนรวม 5-8      มีความผิดปกติ แต่ยังไม่มีภาวะซึมเศร้า ( ควรพักผ่อน ออกกำลังกาย หรือหาคนปรึกษา )
คะแนนรวม 9-14    มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ( หากมีผลกระทบต่อการทำงาน การดูแลสิ่งต่างๆในบ้าน หรือการเข้ากับผู้อื่น ควรพบแพทย์และให้การช่วยเหลือ )
คะแนนรวม 15-19  มีภาวะซึมเศร้าปานกลาง ( พบแพทย์เพื่อประเมินอาการและให้การช่วยเหลือ )
คะแนนรวม >20     มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง ( พบแพทย์เพื่อประเมินอาการและให้การช่วย

แบบทดสอบการประเมินนี้เป็นการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้น ผลการประเมินและคำแนะนำที่ได้รับจึงไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ได้ การตรวจรักษาเพิ่มเติมหรือการให้ยารักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และการปรึกษากันระหว่างแพทย์และตัวท่าน

โรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนยุคปัจจุบันนี้ เนื่องจากชีวิตที่เคร่งเครียดและความกดดันจากคนรอบข้าง เราจึงควรใส่ใจดูแลตัวเองและคนรอบข้าง หมั่นสังเกตว่ามีอาการของโรคซึมเศร้าเกิดหรือไม่ ถ้ามีจะได้ทำการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อลดความอันตรายของโรคซึมเศร้าที่อาจพรากคนที่เรารักไปจากเราโดยไม่รู้ตัว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-5), Fifth Edition (5 ed.). American Psychiatric Association. 2013. ISBN 978-0-89042-555-8. 2016-07-22.

Richards, C. Steven; O’Hara, Michael W. (2014). The Oxford Handbook of Depression and Comorbidity (ใน English). Oxford University Press. p. 254. ISBN 9780199797042.

พลังงานที่พอดีมาจากปริมาณอาหารเท่าใด ?

0
พลังงานที่พอดีมาจากปริมาณอาหารเท่าใด?
พลังงานที่ได้จากอาหาร เป็นคำนวณจากวัตถุดิบที่มีในอาหาร(กรัม)และคิดออกมาเป็นพลังงาน รวมกันทุกมื้อในวันนั้นๆ
พลังงานที่พอดีมาจากปริมาณอาหารเท่าใด?
พลังงานที่ได้จากอาหาร เป็นคำนวณจากวัตถุดิบที่มีในอาหาร(กรัม)และคิดออกมาเป็นพลังงาน รวมกันทุกมื้อในวันนั้นๆ

พลังงานที่ได้จากอาหาร

พลังงานที่ได้จากอาหาร ต้องคำนวณโดยการนำวัตถุดิบที่มีในอาหารมาคิดเป็นกรัมและคิดออกมาเป็นพลังงาน เมื่อนำมารวมกันทุกมื้อก็จะได้เป็นพลังงานที่ร่างกายได้รับในวันนั้นๆ นั่นเอง

โดยยกตัวอย่างการคำนวณพลังงานที่ได้จากอาหาร กรณีที่ร่างกายมีความต้องการโปรตีนวันละ 40 กรัม ดังนี้

ตัวอย่าง

เนื้อหมู 100 กรัม ( สเต็กชิ้นโตหนึ่งชิ้น ) ได้โปรตีน 20% คือ 20 กรัม หรือไข่ใบโต 1 ฟอง ( 70 กรัม ) ได้โปรตีน 10% คือ 7 กรัม นม 1 แก้ว ( 250 ซีซี. ) ได้โปรตีน 3.3% คือ 8.2 กรัม
ดังนั้น หากต้องการให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่วันละ 40 กรัม ก็จะต้องกินสเต็กชิ้นโต 1 ชิ้น ไข่ 1 ฟอง และนม 2 แก้ว นั่นเอง

หลายคนมักจะวัดการได้รับพลังงานของร่างกายว่าเพียงพอหรือไม่จากความอิ่มในแต่ละมื้อ ซึ่งนั่นไม่ถูกต้องเลย เพราะความอิ่มเกิดจากการที่กระเพาะอาหารมีอาหารอยู่เต็ม โดยสมองจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที เพื่อรับรู้ว่ากระเพาะมีอาหารเต็มแล้ว ซึ่งหากพบว่าอาหารที่กินเข้าไปมีไขมันสูงด้วย ก็จะทำให้คุณได้รับพลังงานที่ได้จากอาหารมากเกินความจำเป็นในที่สุด ดังนั้นจึงต้องทราบพลังงานที่ได้จากอาหารในแต่ละมื้อแต่ละจานด้วย เพื่อจะได้ควบคุมไม่ให้ร่างกายได้รับพลังงานสูงเกินไปนั่นเอง

รายการอาหาร พลังงานที่ได้จากอาหาร ( กิโลแคลอรี )
กระทงทอง 3 ชิ้น 215
กระเพาะปลา 1 ชาม 150
กุนเชียงทอด 1 คู่เล็ก 240
กุ้งทอดกระเทียม 3 ตัวกลาง 259
กุ้งนางนึ่งนมสด 1 ถ้วย 185
กุ้งผัดพริกอ่อน 1 จาน 235
กุ้งอบวุ้นเส้น 1 จาน 300
ก๋วยจั๊บ 1 ชาม 240
ก๋วยจั๊บญวน 1 ถ้วย 235
ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ 1 จาน 435
ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกุ้ง 1 ถ้วย 320
ผัดไทกุ้งสด 1 จาน 545
ราดหน้าปลากะพง 1 จาน 435
ก๋วยเตี๋ยวหลอด 1 จาน 225
ก๋วยเตี๋ยวเรือน้ำตก 1 ถ้วย 180
เส้นใหญ่ผัดซีอิ๊วใส่ไข่ 1 จาน 520
เส้นใหญ่ราดหน้าหมู 1 จาน 405
ก๋วยเตี๋ยวแขก 1 ถ้วย 380
กระท้อนทรงเครื่อง 1 ผล 205
กระยาสารท 1×3 นิ้ว 210
กล้วยฉาบ 9 ชิ้น 200
กล้วยตาก1/2ผล 60
กล้วยน้ำว้า 1 ผล 60
กล้วยบวชชี 1 ถ้วย 230
กล้วยปิ้งชุบกะทิ 1 ผล 145
กล้วยแขก 3 ชิ้น 255
กล้วยไข่เชื่อม 1 จาน (2ผล) 177
กาละแม 3 ห่อเล็ก 195
กะหรี่พัฟ 2 ชิ้น 380
กาแฟร้อน 1 แก้ว 55
กาแฟเย็น 1 แก้ว 115
กุยช่าย (นึ่ง) 1 อัน 140
ขนมกรวย 3 กรวย 190
ขนมกล้วย 2 ห่อ 240
ขนมครก 2 คู่  210
ขนมจีน ( 50 กรัม) 1 ตับ 50
ขนมจีนน้ำพริก 1 จาน 450
ขนมจีนน้ำยา 1 จาน 375
ข้าวสตูว์ไก่ 1 จาน 465
ข้าวกุ้งทอดกระเทียม 1 จาน 495
ข้าวขาหมู 1 จาน 690
ข้าวคลุกกะปิ 1 จาน 410
ข้าวซอยไก่, หมู 1 ถ้วย 395
ข้าวต้ม 1 ถ้วย 120
ข้าวต้มมัด 1 มัด 285
ส้มตำขนมจีน 1 จาน 180
ข้าวผัดกระเพรากุ้ง 1 จาน 540
ข้าวผัดกระเพราไก่ไข่ดาว 1 จาน 630
ข้าวผัดกุนเชียง 1 จาน 590
ข้าวผัดคะน้าหมูกรอบ 1 จาน 670
ข้าวผัดต้มยำทะเล 1 จาน 400
ข้าวผัดปลาหมึกน้ำพริกเผา 1 จาน 535
ข้าวผัดหนำเลียบ-หมู-ไข่ 1 จาน 370
ข้าวผัดอเมริกัน 1 จาน 790
ข้าวผัดแกงเขียวหวานไก่ 1 จาน 630
ข้าวผัดแหนม 1 จาน 610
ข้าวมันไก่ 1 จาน 585
ข้าวยำปักษ์ใต้ 1 จาน 180
ข้าวราดหน้าไก่ 1 จาน 400
ข้าวสวย 3 ทัพพี ( 1 ถ้วยตวง) 240
ข้าวเหนียวนึ่ง 1-2 ทัพพี 80
ข้าวหน้าเป็ด 1 จาน 495
ซุปหน่อไม้ 1 จาน 40
ตับไก่ปิ้ง 1 ไม้ 60
ต้มกะทิสายบัว ปลาทูนึ่ง 1 ถ้วย 225
ต้มข่าไก่ 1 ถ้วย 210
ต้มจับฉ่าย 1 ถ้วย 180
ต้มยํากุ้ง 1 ถ้วย 65
ต้มโคล้งปลากรอบ 1 ถ้วย 60
ทอดมันกุ้ง 1 จาน 225
ทอดมันปลากราย 1 ชิ้น 230
น้ำพริกกะปิผักสด 2 ช้อนโต๊ะ 55
น้ำพริกปลาป่น 1 ถ้วย 35
น้ำพริกมะขามสด 1 ถ้วย 210
น้ำพริกหนุ่ม 2 ช้อนโต๊ะ 35
น้ําพริกอ่อง 2 ช้อนโต๊ะ 160
บะหมี่กรอบราดหน้า 1 จาน 515
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปผัดขี้เมา 1 จาน 530
บะหมี่น่องไก่ 1ชาม 375
บะหมี่น้ำต้มยำหมู 1 ถ้วย 300
บะหมี่เกี๊ยวหมูแดงน้ำ 1 ชาม 305
ปลากระพงนึ่งมะนาว 1 ชิ้นกลาง 155
ปลาช่อนอบเกลือ 1 ตัว 220
ปลาซาบะย่าง 1 ตัว 220
ปลาทอดสามรส 1 ตัวกลาง 470
ปลาทูทอด 1 ตัวกลาง 280
ปลาราดพริก 1 จาน 300
ปลาร้าทรงเครื่อง 1 ถ้วย 155
ปลาร้าสับ 1 ถ้วย 35
ปลาสลิดทอด 1 ตัว 190
ปลาหมึกนึ่งมะนาว 1 ตัว 75
ปลาหมึกผัดฉ่า 1 ถ้วย 260
ปลาอินทรีย์เค็มทอด 1 จาน 115
ปลาแซลมอนย่าง 1 จาน 260
ขนมจีบสามโลก 120
ขนมชั้น 2 ชิ้น 184
ขนมตาล 2 กระทง 115
ขนมถั่วแปบ 3 ชิ้น 43
ขนมถ้วย 2 ถ้วย 265
ขนมบ้าบิ่น 1 ชิ้น 130
ขนมปลากริมไข่เต่า 1 ถ้วย 250
ขนมปังกระเทียม 2 ชิ้น 170
ขนมปังปอนด์ 1 แผ่น 80
ขนมปังมะพร้าว 1 ชิ้น 235
ขนมฝักบัว 2 ชิ้น 140
ขนมสอดไส้ 3 ห่อเล็ก 380
ขนมหม้อแกง 1 ชิ้น 179
ขนมหัวผักกาดผัด 1 จาน 560
ขนมเข่ง 1 กระทง 120
ขนมเทียน 2 อัน 205
ขนมเบื้องญวน 1 แผ่น 280
ขนมเปี๊ยะไส้ถั่ว 2 ชิ้น 300
ขนมเล็บมือนาง 1 จานเล็ก 27
ขนุน 2 ยวง 60
ข้าวหลาม 1 กระบอก 230
ข้าวเกรียบกุ้ง 3 แผ่น 110
ข้าวเหนียวกะทิทุเรียน 1 ถ้วย 225
ข้าวเหนียวดำเปียก 1 ถ้วย 205
ข้าวแช่ 1 ชุด 350
ข้าวโพดคลุก 1 จานเล็ก 156
จาวตาลเชื่อม 1 ลูก 190
ชมพู่ 2-3 ผล 60
ชาดำเย็น 1 แก้ว 110
ชาร้อน 1 แก้ว 55
ชิฟฟอนกาแฟ 1 ชิ้น 275
ชิฟฟอนคัสตาร์ดเค้ก 1 ชิ้น 340
ซาลาเปาไส้หมู 1 ลูก 120
ซาหริ่ม 1 ถ้วย 275
ตะโก้แห้ว 3 กระทงเล็ก 235
ถั่วลิสงต้ม 1 ช้อนโต๊ะ 45
ถั่วลิสงแผ่นทอด 1 แผ่น 150
ถั่วเขียวต้มน้ำตาล 1 ถ้วย 160
ถั่วและต้ม 1 ช้อนโต๊ะ 25
ทองหยิบ 2 ดอก 210
ทับทิมกรอบ 1 ถ้วย 250
ทุเรียนกระดุม 100 กรัม 129
ทุเรียนกวน 1 ช้อนโต๊ะ 115
ทุเรียนทอดกรอบ 7-8 ชิ้น 50
ทอฟฟี่นม 1 เม็ด 20
นมจืด 250 ซีซี. 160
นมจืด (ไม่มีไขมัน) 1 กล่อง 80
นมจืด (ไขมันต่ำ) 1 กล่อง 125
นมถั่วเหลืองหวานน้อย 1 กล่อง 140
นมปรุงแต่งรสหวาน 1 กล่อง 200
นมเย็น 1 กล่อง 150
น้อยหน่า 1/2ผล 60
น้ำกระเจี๊ยบ 1 แก้ว 120
น้ำจับเลี้ยง 1 แก้ว 100
น้ำชาเขียว (250 ml) 1 กล่อง 70
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา 20
น้ำนมข้าวโพด 1 แก้ว 80
น้ํามะตูม 1 แก้ว 120
ปีกไก่สอดไส้ทอด 3 ชุด 310
ป๊อปคอร์น 1 ถ้วย 65
ผัดคะน้าปลาเค็ม 1 จาน 200
ผัดถั่วงอกกับเต้าหู้ 1 จาน 155
ผัดบวบใส่ไข่ 1 จาน 210
ผัดผักกระเฉดน้ำมันหอย 1 จาน 185
ผัดผักกาดขาวหมู วุ้นเส้น 1 จาน 230
ผัดเผ็ดปลาทอดกรอบ 1 ถ้วย 290
ผัดพริกแกงหมูกับหน่อไม้ 1 ถ้วย 200
ผัดฟักทองใส่ไข่ 1 จาน 255
ผัดมะเขือยาวหมูสับ 1 จาน 210
ผัดวุ้นเส้นใส่ไข่ 1 จาน 265
ผัดสะตอกับหมู กุ้ง 1 จาน 200
ผัดหน่อไม้ฝรั่งกับกุ้ง 1 จาน 230
ผัดไชโป๊วใส่ไข่ 125
ผัดไทไข่ 1 จาน 656
ผัดไทไร้เส้น 1 จาน 350
พะแนงไก่ 1 ถ้วย 230
พิซซ่าขอบไส้กรอกชีส 1 ชิ้น 340
พิซซ่า 1 ชิ้น 335
ยากิโซบะ 1 จาน 400
ยํากุนเชียง 1 จาน 220
ยำขนมจีน 1 จาน 220
ยําถั่วพลู 1 จาน 185
ยำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 จาน 215
ยำปลาดุกฟู 1 จาน 275
ยำผักกระเฉด 1 จาน 115
ยําผักกาดดอง 35
ยำผักบุ้งทอดกรอบ 1 จาน 310
ยำมะเขือยาว 1 จาน 115
ยํารวมมิตรทะเล 1 จาน 150
ยำวุ้นเส้น 1 จาน 120
ยําหนังหมู 1 จาน 220
น้ำมันมะพร้าว 100 กรัม 881
น้ำมะพร้าวผสมเนื้อ 1 กล่อง 150
น้ำลำใย 1 แก้ว 100
น้ำส้มคั้น 1 แก้ว 90
น้ำอัดลม (หวาน) 1 แก้ว 75
น้ำอ้อย1/2 แก้ว 120
น้ำเต้าหู้ (จืด) 1 แก้ว 75
บราวนี่ 1 ชิ้น 340
บ๊ะจ่าง 1 ลูก 300
บัวลอยน้ำขิง 1 ถ้วย 160
บัวลอยเผือก 1 ถ้วย 300
ปาท่องโก๋ 1 คู่กลาง 270
เปาะเปี๊ยะทอด 2 ชิ้น 315
เปาะเปี๊ยะสด 1 ชิ้น 175
พายกรอบ (โรยน้ำตาล) 2 ชิ้น 235
ฝรั่ง 1/2 ผล 60
ฝอยทอง 1 แพ 146
พายชีสบลูเบอรี่ 1 ชิ้น 350
พายทูน่า 1 ชิ้น 280
พายเผือก 1 ชิ้น 425
พายไส้กรอก 1 ชิ้น 400
น้ำลำใย 1 แก้ว 100
น้ำส้มคั้น 1 แก้ว 90
น้ำอัดลม (หวาน) 1 แก้ว 75
พายไส้กรอก 1 ชิ้น 400
พุทรา 4 ผล 60
ฟรุตสลัด 1 ถ้วย 180
ฟรุตเค้ก 1 ชิ้น 400
ฟรุตบาร์ 1 ชิ้น 305
ฟักตุ๋นไก่มะนาวดอง 1 ถ้วย 125
ฟักทองเชื่อม 1 จากเล็ก 167
มะกอกแช่อิ่ม 5 ผล 135
มะกอกฝรั่ง 3 ผล 60
มะขามคลุก 6 เม็ด 10
มะขามหวาน 2 ฝัก 60
มะปรางสุก 3 ผล 60
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก 4 ชิ้น 60
ไข่นกกระทา 11 ฟอง 191
ไข่ลวก 1 ฟอง 75
ไข่ลูกเขย 1 ฟอง 205
ไข่เจียว 1 ฟอง 200
แหนมสด 1 จาน 175
แหนมสด ข้าวทอด 1 จาน 290
โจ๊กหมู 1 ถ้วย 160
โจ๊กหมู ตับ ไข่ลวก 1 ถ้วย 230
ไส้กรอกทอด 1 ชิ้น 280
ไส้กรอกอีสาน 1 อัน 90
ไส้อั่ว 4 ชิ้นพอคำ 240
โยเกิร์ตรธรรมชาติ 1 ขวด 95
โยเกิร์ตรผลไม้ 1 ขวด 175
โรตีใส่ไข่ 590
โรตีสายไหม 1 อัน 145
โรตีแกงเนื้อ, หมู 1 ชุด 675
โอวันติน 1 แก้ว 210
โอเลี้ยง 1 แก้ว 165
ไอศกรีมกะทิ 2 ก้อน 215
ไอศกรีมกาแฟ 1 ก้อน 142
ไอศกรีมวานิลา 140
ไอศกรีมเรซิน 1 ก้อน 264

พลังงานที่ได้จากอาหารที่ถูกสัดส่วนของแต่ละเพศแต่ละวัย
1. เด็กต้องการพลังงานที่ได้จากอาหารมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะต้องใช้ในการเจริญเติบโต
2. เด็กวัยรุ่นชายต้องการพลังงานที่ได้จากอาหารสูงสุด เมื่อเทียบน้ำหนักตัวเท่ากัน
3.ชายมีความต้องการพลังงานที่ได้จากอาหารมากกว่าหญิง เพราะมีโครงสร้างที่แข็งแรง
4.วัยเด็กต้องการโปรตีน มากกว่า 1 g ต่อน้ำหนักตัว 1 kg
5.ชายต้องการมากว่าหญิง และเด็กต้องการมากกว่าผู้ใหญ่ ยกเว้นแร่ธาตุเหล็ก หญิงวัยตั้งแต่ 13-49 ปี ต้องการมากกว่าเพศชาย เพราะมีประจำเดือนและหญิงให้นมบุตรและสตรีมีครรภ์ร่างกายต้องการพลังงานที่ได้จากอาหารและสารอาหาร เช่น โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
6.แคลเซียมฟอสเฟต ประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ออกซิเจน หญิงมีครรภ์ต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสมากกว่าคนปกติ เพื่อใช้สร้างกระดูกและฟัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.