พืชผักสมุนไพร ที่ใช้ลดน้ำตาล

0
พืชผักสมุนไพร ที่ใช้ลดน้ำตาล
ขมิ้น มีสารเคอร์มินที่จะช่วยดึงเอาน้ำตาลและอินซูลินเข้าสู่เซลล์ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้น้ำตาลลดลงได้และช่วยย่อยอาหาร
พืชผักสมุนไพร ที่ใช้ลดน้ำตาล
เมล็ดกาแฟ มีสารกาเฟอีนที่จะช่วยทำให้ฮอร์โมนอินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ยับยั้ง hIAPP และโพลีเปปไทด์ จนระดับน้ำตาลลดต่ำลง

สมุนไพรลดน้ำตาล

พืชสมุนไพรบางชนิดสามารถนำมาใช้ลดน้ำตาลในร่างกายของคนเราได้ ซึ่งอาจเป็นพืชสมุนไพรที่มีการนำมาทดสอบกับผู้ป่วยแล้วจริงหรือจะเป็นสมุนไพรที่ได้รับการทดลองในห้องปฏิบัติการแล้วว่า สมุนไพรลดน้ำตาล ได้ ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้เหมือนกัน โดยมีพืชผักสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติในการใช้ลดน้ำตาลได้ดังนี้

พืชผักสมุนไพรที่ช่วยลดน้ำตาล

1.กระเทียม
กระเทียม มีสารอัลลิซิน ซึ่งจะไปกระตุ้นร่างกายให้มีการหลั่งเอาอินซูลินออกมามากขึ้น และยังทำให้อินซูลินสามารถจับน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย จึงเป็นผลให้ ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง นั่นเอง โดยทั้งนี้แนะนำให้ทานกระเทียมสดวันละ 3-5 กลีบ เป็นประจำทุกวัน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดน้ำตาลได้แล้วก็ยังช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ ขับลมในลำไส้และช่วยย่อยอาหารได้อีกด้วย หรือจะทานในรูปแบบของน้ำมันกระเทียมก็ได้เหมือนกัน และนอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว น้ำมันกระเทียมก็มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อรา ไวรัสและแบคทีเรียได้เช่นกัน

2.กะเพรา
กะเพรา พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีส่วนช่วยในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดี โดยในกะเพรามีสารสำคัญได้แก่ เมทิล ลินาลอลและซาวิคอล ซึ่งเป็นสารที่จะทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นและลดระดับน้ำตาลลง ทั้งนี้จากการทดลองก็พบว่าสารสกัดใบกะเพราที่สกัดได้ด้วยแอลกอฮอล์ 50% สามารถลดระดับน้ำตาลในสัตว์ทดลองได้มากกว่าร้อยละ 30 เลยทีเดียว

3.กาแฟ
ถึงแม้ว่ากาแฟจะมีข้อเสียอยู่บ้าง และพบว่าเมื่อทานในปริมาณมากก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพไม่น้อย แต่ในขณะเดียวกันในเมล็ดกาแฟ ก็มีสารชนิดหนึ่งที่จะช่วยทำให้ฮอร์โมนอินซูลินทำงานได้ดีขึ้น จน ระดับน้ำตาลลดต่ำ ลงได้อย่างน่าพอใจ แต่ทั้งนี้ควรดื่มกาแฟแค่ไม่เกินวันละ 2 แก้วเท่านั้น

4.ขมิ้น
ในขมิ้น อุดมไปด้วยสารเคอร์คูมิน ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยดึงเอาน้ำตาลและอินซูลินเข้าสู่เซลล์ได้ดี ในผู้ป่วยเบาหวานที่กินขมิ้นเป็นประจำจึงมักจะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้ น้ำตาลลดลง ได้มากกว่าคนที่ไม่กินเลย และนอกจากนี้ขมิ้นก็ยังมีฤทธิ์ในการช่วยย่อยอาหารและลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน

5.ข้าวกล้อง
ข้าวกล้อง นอกจากจะมากไปด้วยคุณประโยชน์มากมายและอุดมไปด้วยสารอาหารแล้ว ก็มีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวที่ผ่านการขัดสีแล้วอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่อยู่ในภาวะระดับน้ำตาลเกือบสูงเป็นที่สุด

6.เจียวกู้หลาน
พืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและ ลดน้ำตาลให้ต่ำลง ได้เหมือนกัน นั่นก็เพราะพืชสมุนไพรชนิดนี้มีจิบโนไซด์ และฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์โดยตรงต่อระดับน้ำตาลอยู่นั่นเอง โดยสารตัวนี้ก็จะทำงานด้วยการไปยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหาร

7.ชะพลู
ชะพลู เป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ระดับหนึ่ง แต่จะออกฤทธิ์ช้ากว่าพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ พอสมควร และที่สำคัญจะต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 6-16 สัปดาห์ จึงจะเห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ นอกจากนี้การทานชาพลูบ่อยๆ ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดนิ่วในไตหรือในทางเดินปัสสาวะได้สูงเช่นกัน

8.เตยหอม
เตยหอม เมื่อนำมาต้มเป็นน้ำชาและดื่มเป็นประจำ จะช่วย ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดี นั่นก็เพราะในเตยหอมมีสารที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ ลินาลูล ลินาลิล อะซิเดด และคูมาริน นั่นเอง ทั้งนี้ก็มีสูตรลับตามตำรับยาแผนโบราณมาแนะนำกันด้วย นั่นก็คือ การนำใบเตยหอมกับใบสักทองอย่างละเท่า กันมาคั่วให้เหลือง นำรากเตยหอมมาทุบให้แตก เสร็จแล้วใส่ลงในหม้อต้มกับน้ำจนเดือด ใช้ดื่มต่างน้ำเป็นประจำประมาณ 1 เดือน รับรองว่าระดับน้ำตาลจะลดน้อยลงแน่นอน

9.ตำลึง
ตำลึง เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบและราก โดยมีส่วนช่วยในการ ลดน้ำตาลในเลือด เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนิยมนำตำลึงมาเป็นส่วนประกอบของอาหารหรือนำมาต้มดื่มต่างน้ำนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามในบางคนก็อาจจะไม่ถูกกับใบตำลึงได้เหมือนกัน โดยอาจะเกิดอาการท้องเสียเมื่อทานตำลึงนั่นเอง

10.ถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง มีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับอินซูลินในเลือดให้สูงขึ้น จึงสามารถ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้ลดลงมาอยู่ในระดับที่ปกติได้ ดังนั้นถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง จึงเป็นอาหารที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานทานมากที่สุด

11.บอระเพ็ด
บอระเพ็ด เป็นพืชสมุนไพรที่มากไปด้วยประโยชน์และสามารถใช้ในการ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้อย่างดีเยี่ยม โดยให้นำเถาสดของบอระเพ็ดประมาณ 30 กรัม มาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเป็นน้ำดื่ม หรือจะต้มกับน้ำประมาณ 3 ส่วนก็ได้ จากนั้นดื่มเป็นประจำเช้าเย็นก่อนอาหาร ก็จะพบว่าน้ำตาลในเลือดลดลงไปในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

12.บิลเบอร์รี่
เมื่อนำใบของ บิลเบอร์รี่ แห้งมาชงกับน้ำเดือด และดื่มเป็นประจำ จะสามารถ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ดีอีกด้วย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงไม่ควรละเลยการทานบิลเบอร์รี่เด็ดขาด

13.ผักชี
ในผักชีมีสารชนิดหนึ่งที่จะช่วย ลดระดับของน้ำตาลในเลือด ได้ ซึ่งก็คือ สารโคเรียนดรอลนั่นเอง ผักชีจึงเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาทานเพื่อลดน้ำตาลได้

14.ผักเชียงดา
เป็นผักที่ได้รับความนิยมของชาวเหนือ และมีการนำมารับประทานอย่างแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณ โดยผักชนิดนี้มีรสชาติหอมหวาน แต่ก็สามารถ ควบคุมระดับน้ำตาล ได้ดีและใช้เพื่อรักษาเบาหวานได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย นั่นก็เพราะในผักเชียงดามีสาระสำคัญชนิดหนึ่ง ได้แก่ ไกลซีมิค แอซิด ซึ่งจะทำหน้าที่ในการจับเซลล์ตัวรับในลำไส้ป้องกันการดูดซึมน้ำตาลนั่นเอง

15.ฟักทอง
ฟักทอง มีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น จึงสามารถ ลดระดับน้ำตาล ในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี

16.มะเขือพวง
ใน มะเขือพวง มีสาระสำคัญหลากหลายชนิดที่จะช่วย ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดี เพียงแค่นำมะเขือพวงมาทำเอาน้ำสดๆ แล้วนำมาดื่มเป็นประจำทุกวันเท่านั้น แต่ก็จะมีรสชาติที่ขมพอสมควร

17.มะแว้ง
มะแว้ง เป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้เช่นกัน แต่จะลดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยทั้งนี้ในมะแว้งก็มีสาระสำคัญได้แก่ โซลานีน อัลลีลอยด์และไดออจีนีนนั่นเอง นอกจากนี้การทานผลมะแว้งแบบสดๆ ก็จะช่วยแก้อาการไอได้ดีอีกด้วย

18.มะระจีน
มะระจีน เป็นพืชสมุนไพรที่หลายคนต่างก็ทราบกันดีว่ามีประโยชน์ โดยสาสามารถดับร้อน ถอนพิษไข้และช่วยดับกระหายได้ดีอีกด้วย และนอกจากสรรพคุณดังกล่าวแล้ว มะระจีนก็สามารถ ลดน้ำตาลในเลือด ได้เช่นกัน

19.มะระขี้นก
มะระขี้นก ก็สามารถนำมาทานเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดีเช่นกัน นั่นก็เพราะมีสารคารานดิน เซโรโดนินและไฮดรอกซี ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการลดน้ำตาลในเลือดโดยตรง โดยการนำมะระขี้นกมาทานเพื่อลดน้ำตาลในเลือดนั้น ทำได้ด้วยการนำมะระขี้นกมาต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำมาฝานตากแห้งและชงเป็นชนดื่มนั่นเอง แต่ทั้งนี้มะระขี้นกอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดท้องและอันตรายถึงขั้นช็อกได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการกิน โดยผู้ที่มีอาการแพ้ไม่ควรทานเด็ดขาด

20.มะรุม
ในมะรุม มีสารมอรินจินและสารมอรินจินีน ซึ่งมีคุณสมบัติในการ รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ได้ แถมยังสามารถช่วยชะลอความแก่ได้อีกด้วย โดยทั้งนี้หากใครที่ไม่ชอบทานมะรุมแบบสดๆ ก็สามารถทานในรูปแบบของเม็ดยา แคปซูลและผงสมุนไพรได้เหมือนกัน

21.หม่อน
หม่อน ไม่ว่าจะเป็นใบอ่อน ใบแก่หรือเปลือกรากใบหม่อน ก็สามารถนำมาทานเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดฝอยได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย ดังนั้นใบหม่อนจึงเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานควรทานมากที่สุด โดยสำหรับการนำเปลือกรากใบหม่อนมาใช้เป็นยาสมุนไพร ก็คือนำเปลือกรากใบหม่อนมาทุบให้แหลกประมาณ 90-120 กรัม มาต้มน้ำและดื่มเป็นประจำเช้าเย็น เท่านี้ก็สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้แล้ว

22.ยอ
รากของใบยอสามารถนำมาทานเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด ได้และยังมีส่วนช่วยในการแก้อาการท้องผูกได้อีกด้วย ดังนั้นใครที่มีปัญหาน้ำตาลในเลือดสูงจึงไม่ควรพลาดที่จะทานยอเด็ดขาด

23.เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ มีสาระสำคัญหลากชนิดที่จะช่วยในการ ลดน้ำตาล ได้ไม่แพ้สมุนไพรชนิดอื่นๆ เลยทีเดียว ซึ่งก็คือ นิวคลิโอไทด์ บิทเทอร์ไดรปีนอยด์และโพลีแซคคาไรด์นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันเห็ดหลินจือก็มีทั้งแบบแคปซูล ดอกเม็ดและแบบดอกแห้ง ให้เลือกทานได้หลากหลายแบบ ตามความถนัดของแต่ละคนกันเลย

24.สะตอ
สะตอ พืชสมุนไพรเมืองใต้ที่สามารถนำมาทานแบบสดๆ หรือจะนำมาปรุงอาหารก็ได้เหมือนกัน โดยสะตอก็สามารถช่วย ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดี ทั้งยังมีวิตามินเอสูง ที่จะช่วยบำรุงสายตาได้อีกด้วย แต่เนื่องจากสะตอให้พลังงานสูง จึงไม่ควรกินมากเกินไปเพราะจะทำให้อ้วนได้นั่นเอง

25.โสม
โสม พืชสมุนไพรที่นอกจากจะช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ต้านการเกิดมะเร็งและยับยั้งการสร้างคอเลสเตอรอลในร่างกายได้แล้ว ก็สามารถช่วย ลดน้ำตาลในเลือด ได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้โสมก็มีราคาแพงพอสมควรเลยทีเดียว

26.หอมใหญ่
หอมใหญ่ อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ที่มีคุณสมบัติในการ ลดน้ำตาลในเลือด โดยตรง นั่นก็เพราะ ฟลาโวนอยด์จะไปกระตุ้นให้ตับเปลี่ยนกลูโคสให้กลายเป็นไกลโคเจน และกระตุ้นให้อินซูลินถูกหลั่งออกมามากขึ้น เมื่อทานบ่อยๆ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้นั่นเอง แต่ทั้งนี้ควรนำหอมใหญ่ไปปรุงอาหารในรูปแบบของยำหรือผักสลัดมากกว่า เพราะหากทำไปผัดหรือไปต้มผ่านความร้อน จะทำให้สูญเสียคุณค่าทางสารอาหารได้นั่นเอง

27.อบเชย
อบเชย มีสารสำคัญที่จะทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนอินซูลินได้แก่ ซาลโคนโพลิเมอร์ และเมธิลไฮดรอกซี่ ซึ่งสารเหล่านี้จะทำให้อินซูลินสามารถเกาะจับกลูโคสได้ดีขึ้น ทั้งยังกระตุ้นให้เซลล์ต่างๆ มีการนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอีกด้วย เพียงแค่ทานอบเชยอย่างน้อย 1 กรัมเป็นประจำทุกวันอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

28.อินทนิลน้ำ
อินทนิลน้ำ มีคุณสมบัติในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้อย่างดีเยี่ยม โดยให้นำใบอินทนิลน้ำประมาณ 2-3 กำมือ มาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำมาต้มน้ำให้สุกและดื่มแต่น้ำเป็นประจำทุกวัน เท่านี้ก็จะให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจแล้ว

29.อัลฟัลฟา
อัลฟัลฟ่า มีฤทธิ์ในการ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาอาการวัยทองและขับพิษในร่างกายพร้อมกับปรับสมดุลให้กับร่างกายได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวานหรือคนที่เข้าสู่วัยทองจึงควรทานอัลฟัลฟาบ่อยๆ นั่นเอง

30.ฮว่านง็อก หรือพญาวานร
เป็นพืชสมุนไพรของเวียดนาม แต่ก็ขึ้นชื่อในเรื่องของการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดีพอสมควร โดยให้นำฮว่านง็อกมาเคี้ยวกินแบบสดๆ แล้วดื่มน้ำตาม หรือจะเอามาปั่นแล้วเอาแต่น้ำมาดื่มก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่แนะนำให้นำไปต้ม เพราะจะทำให้สูญเสียคุณประโยชน์ได้

TIP น่ารู้

  • กรณีที่นำพืชผักสมุนไพรเหล่านี้มาใช้เพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด ควรนำมาใช้ให้ถูกต้องตามขนาดและวิธีที่เหมาะสม รวมถึงต้องมีการทำความสะอาดให้ดีก่อนด้วย และที่สำคัญหากนำมาต้มเป็นน้ำดื่มต่างน้ำ ก็ควรเก็บให้ดีเพื่อระวังไม่ให้บูดหรือต้มดื่มแบบวันต่อวันจะดีที่สุด
  • แม้จะมีการใช้สมุนไพรเพื่อ ลดระดับน้ำตาล แต่ก็ยังคงต้องควบคุมการทานอาหารเหมือนเดิมพร้อมกับออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอร่วมด้วย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และที่สำคัญควรลองวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ เช่นกัน
  • เมื่อลองวัดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วพบว่า น้ำตาลในเลือดต่ำลง มาในระดับหนึ่ง ก็ให้ลองใช้สมุนไพรชนิดเดิมต่อไปเรื่อยๆ อีกสักระยะ ซึ่งหากพบว่าให้ผลดีอย่างต่อเนื่อง ก็ให้แจ้งกับแพทย์เพื่อจะได้ปรับลดยาอินซูลินหรือยาเม็ดลดน้ำตาลลงมานั่นเอง
  • การใช้พืชสมุนไพรในการ ลดระดับของน้ำตาลในเลือด และควบคุมเบาหวานนั้น นอกจากจะช่วยให้ระดับน้ำตาลลดลงอย่างน่าพอใจแล้ว ก็ยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นด้วยเช่นกัน

พืชผักสมุนไพรอื่นๆ ที่สามารถลดน้ำตาลได้

นอกจากพืชผักสมุนไพรที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ก็มีพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เหมือนกัน แต่บางชนิดก็ยังไม่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ โดยพืชสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับว่าจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ก็มีดังนี้

1.กะเพรา นิยมนำมาทำเป็นชาชงดื่ม โดยนำมาตากแห้งจากนั้นชงดื่มแทนน้ำเป็นประจำ หรือจะนำมาใช้ปรุงอาหารก็สามารถช่วย ลดน้ำตาลในเลือด ได้เช่นกัน

2.กระเจี๊ยบแดง มีส่วนช่วยในการลดไขมันในเลือด ขับปัสสาวะ และ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้ โดยให้นำกลีบเลี้ยงและใบประดับของกระเจี๊ยบแดงมาตากแห้งไว้ แล้วนำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 5 ดอก ดื่มเป็นประจำวันละ 3 ครั้งก็จะเห็นผลลัพธ์ได้ดี นอกจากนี้ผลอ่อนของกระเจี๊ยบก็สามารถนำมาต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้อีกด้วย

3.กะเม็ง นิยมนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นชาเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด โดยให้นำกะเม็งมาตากแดดให้แห้ง จากนั้นคั่วให้หอมแล้วนำมาชงนั่นเอง

4.กานพลู นิยมนำมาปรุงอาหารเป็นเครื่องเทศ ซึ่งจะให้รสชาติเผ็ดร้อน หอมอร่อย และที่สำคัญสามารถ ลดน้ำตาลได้ด้วย

5.ขิง ก็มีส่วนช่วยในการ ลดน้ำตาล ได้เหมือนกัน เพียงแค่นำขิงแก่สดๆ มาคั้นน้ำให้ได้ครึ่งถ้วยแล้วต้มกับน้ำประมาณ 2 ถ้วย ดื่มเป็นประจำวันละ 3 ครั้ง โดยอาจจะปรุงเพิ่มรสชาติด้วยมะนาวและเกลือด้วยก็ได้ แต่ห้ามใส่น้ำตาลลงไปเด็ดขาด

6.คูน เป็นพืชสมุนไพรที่จะใช้รากของมันในการนำมาทานเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด โดยจะนำรากสดประมาณ 90-120 กรัมมาทุบให้แหลกจากนั้นต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวต่อเนื่องประมาณ 30 นาที ดื่มประจำเช้า-เย็น ก่อนอาหารก็จะช่วยลดน้ำตาลได้ดี

7.ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรขึ้นชื่อในการ ควบคุมน้ำตาล และบรรเทาโรคเบาหวาน โดยจะนำใบสดหรือแห้งประมาณ 1 กรัมมาต้มกับน้ำ 3 แก้วจนเดือด และเคี่ยวต่อประมาณ 30 นาที ดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหารเช่นกัน

8.ลูกเดือย นิยมนำมาทานกับน้ำเต้าหู้เพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด หรือใครจะทานแบบต้มสุกโดยไม่ใส่ในน้ำเต้าหู้ก็ได้เหมือนกัน

9.ฟักทอง เมื่อนำมาต้มสุกแล้วแช่เย็นก่อนนำมากินจะช่วยแก้ความอยากของหวานได้ดี ซึ่งเมื่อมีการทานของหวานน้อยลงก็จะ ลดน้ำตาลในเลือด ลงไปได้ด้วยนั่นเอง

10.ถั่วแดง มีส่วนช่วยในการบำรุงไต ซึ่งจะทำให้ร่างกายดูดซึมของเหลวได้ดีขึ้น โดยให้นำถั่วแดงมาหุงผสมกับข้าวกล้อง และทานตามปกติ

11.น้ำผักผลไม้ มีส่วนช่วยในการรักษาโรคเบาหวานได้อย่างดีเยี่ยม โดยที่นิยมก็ได้แก่ น้ำผักกาดหอม น้ำหอมหัวใหญ่ กระเทียม ผลไม้รสเปรี้ยว ถั่วฝักยาว ขึ้นฉ่ายและผักชี เป็นต้น

12.ตะไคร้ นิยมนำใบและรากของตะไคร้มาใช้ในการ ลดน้ำตาลในเลือด นั่นก็เพราะที่ใบและรากมีสารที่คล้ายกับอินซูลิน จึงสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ดีนั่นเอง นอกจากนี้ก็สามารถนำต้นสดหรือเหง้าประมาณ 1 กำมือมาต้มกับน้ำ 3-4 ถ้วย และดื่มก่อนอาหารทั้ง 3 มื้อ เพื่อลดน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

13.ไหมข้าวโพด โดยส่วนใหญ่จะนิยมนำมาต้มกับน้ำและดื่มบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้และยังใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตอักเสบและแกโรคไอกรนได้อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว

14.บัว นิยมนำมาต้มน้ำดื่มเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด และรักษาโรคเบาหวาน

15.บวบเหลี่ยม เมื่อนำมาปรุงอาหารทานตามปกติ ก็สามารถ ลดน้ำตาลในเลือด ได้เหมือนกัน ซึ่งบวบก็สามารถทำอาหารได้อย่างหลากหลาย ทั้งต้มจิ้มกับน้ำพริก ทำเมนูผัด ต้มจืด เป็นต้น

16.บอระเพ็ด เมื่อนำเถาสดของบอระเพ็ดมาต้มกับน้ำดื่มประมาณ 30-40 กรัม แล้วดื่มเป็นประจำทุกวัน แต่ต้องระมัดระวังนิดนึง เพราะบอระเพ็ดหากทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้ตับไตเกิดความผิดปกติได้นั่นเอง

17.ใบย่านาง อีกหนึ่งสมุนไพรที่นิยมนำมาให้ผู้ป่วยเบาหวานทานมากที่สุด เพราะสามารถ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดีและช่วยลดความดันโลหิตอีกด้วย ซึ่งจะนำใบย่านางมาต้มน้ำดื่มนั่นเอง

18.มะเขือยาว แค่นำมาปรุงอาหารและทานตามปกติ ก็สามารถ ลดน้ำตาลในเลือด ได้

19.มะนาว มีส่วนช่วยในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้อย่างดีเยี่ยม แต่ไม่ควรทานเป็นจำนวนมากในทีเดียว เพราะจะทำให้ท้องเสียได้ โดยให้นำมะนาวมาคั้นเอาแต่น้ำและผสมกับน้ำเย็นหรือโซดาดื่ม

20.มะแว้งด้น นิยมนำมาปรุงอาหารหรือทานกับน้ำพริกก็จะช่วย ลดน้ำตาล ได้ดี

21.มะแว้งเครือ ส่วนใหญ่จะนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแห้ง คั่วจนเหลืองแล้วนำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ดื่มประจำทุกวันจะช่วย ลดน้ำตาล ได้ดี ซึ่งก็จะเห็นผลลัพธ์ตั้งแต่ 30 วันแรกที่ทานเลยทีเดียว

22.ลูกหว้า สามารถนำมาใช้เพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด และแก้เบาหวานได้ เพียงแค่นำเอาเมล็ดไปต้มน้ำดื่มเท่านั้น

23.ลูกใต้ใบ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ใบและต้นมาต้มกับน้ำดื่มต่อเนื่องเช้า-เย็น

24.ว่านหางจระเข้ ก็มีฤทธิ์ในการ ลดน้ำตาล เช่นกัน โดยให้นำวุ้นสดประมาณ 2 x 2 นิ้ว มาล้างจนยางเหลืองออกหมด แล้วรับประทานระหว่างมื้ออาหารวันละ 3 ครั้ง เท่านี้ก็เห็นผล

25.ผักบุ้งไทย เมื่อนำมาทานเป็นประจำก็สามารถ ลดน้ำตาล ได้เช่นกัน จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างมาก

27.พริกไทย พริกขี้หนูและพริกชี้ฟ้า มีรสชาติเผ็ดร้อนช่วยเร่งการเผาผลาญและสามารถใช้ ลดน้ำตาลในเลือด ได้อีกด้วย โดยอาจทานสดๆ หรือนำมาปรุงอาหารก็ได้

28.ฟักข้าว นิยมใช้ยอดอ่อน ผลอ่อนและใบอ่อนมาปรุงอาหาร ซึ่งจะช่วย ลดน้ำตาล ได้อย่างดีเยี่ยม

29.สะเดา แค่นำมาปรุงอาหารและทานติดต่อกันเป็นประจำก็จะช่วยลดน้ำตาลได้

30.สะระแหน่ สามารถนำมาต้มน้ำดื่ม หรือนำมาปั่นเอาแต่น้ำดื่มสดๆ ก็จะช่วย ลดน้ำตาล ได้ดีเหมือนกัน

31.โหระพา เป็นพืชสมุนไรในครั้วเรือนที่หาได้ง่าย และสามารถ ลดน้ำตาล ได้อย่างดีเยี่ยม เพียงแค่นำใบและต้นประมาณ 1 กำมือ มาต้มน้ำดื่มก่อนอาหารเป็นประจำเช้า-เย็นเท่านั้น

32.หัวปลี ก็สามารถนำมาใช้ ลดน้ำตาลในเลือด ได้เหมือนกัน พร้อมกับบำรุงเลือด แก้ปัญหาโรคโลหิตจางได้อีกด้วย เพียงแค่นำหัวปลีมาปรุงอาหารทานตามปกติเท่านั้น

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ: บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ตรวจสุขภาพ (Health Checkup): ตรวจอะไรบ้าง และทำไมถึงสำคัญ?

0
ตรวจสุขภาพ มีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร?
การตรวจสุขภาพเป็นการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงในการเกิดโรคเพื่อหาวิธีป้องกัน และตรวจเพื่อหาโรคที่เกิดขึ้นแล้วเพื่อหาแนวทางในการรักษาได้ทัน
ตรวจสุขภาพ ( Health checkup ) มีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร?
การตรวจสุขภาพเป็นการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงในการเกิดโรคเพื่อหาวิธีป้องกัน และตรวจเพื่อหาโรคที่เกิดขึ้นแล้วเพื่อหาแนวทางในการรักษาได้ทัน

ตรวจสุขภาพ (Health Checkup) คืออะไร และทำไมถึงสำคัญ?

การตรวจสุขภาพ หรือ Health Checkup เป็นการประเมินสภาวะสุขภาพโดยรวมของร่างกาย เพื่อค้นหาความเสี่ยงหรือความผิดปกติที่อาจนำไปสู่การเกิดโรค การตรวจสุขภาพมีความสำคัญในการป้องกันและค้นพบโรคในระยะเริ่มต้น ช่วยให้สามารถรักษาได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การตรวจสุขภาพมีประโยชน์อย่างไร?

การตรวจสุขภาพมีประโยชน์หลายประการ ทั้งในแง่ของการป้องกันโรค การค้นพบความผิดปกติในระยะเริ่มต้น และการวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาว

การตรวจสุขภาพช่วยป้องกันโรคได้อย่างไร?

การตรวจสุขภาพช่วยป้องกันโรคโดยการค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง หรือความดันโลหิตที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษาก่อนที่จะกลายเป็นโรคร้ายแรง

การตรวจสุขภาพช่วยให้พบความผิดปกติในระยะเริ่มต้นหรือไม่?

ใช่ การตรวจสุขภาพสามารถช่วยค้นพบความผิดปกติในระยะเริ่มต้นได้ เช่น การตรวจพบเซลล์มะเร็งในระยะแรก หรือการพบความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะต่างๆ ก่อนที่จะแสดงอาการชัดเจน

การตรวจสุขภาพมีผลต่อการวางแผนการดูแลสุขภาพอย่างไร?

ผลการตรวจสุขภาพช่วยให้แพทย์และผู้รับการตรวจสามารถวางแผนการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม เช่น การปรับเปลี่ยนอาหาร การออกกำลังกาย หรือการใช้ยาเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

ตรวจสุขภาพต้องตรวจอะไรบ้าง?

การตรวจสุขภาพประกอบด้วยการตรวจหลายอย่าง แต่ละการตรวจมีความสำคัญและให้ข้อมูลที่แตกต่างกันเกี่ยวกับสุขภาพของร่างกาย

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count – CBC) มีความสำคัญอย่างไร?

CBC เป็นการตรวจที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพโดยรวมของร่างกาย สามารถบ่งชี้ภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อ หรือความผิดปกติของระบบเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar – FBS) บอกอะไรได้บ้าง?

FBS ช่วยในการวินิจฉัยและติดตามโรคเบาหวาน โดยวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

การตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile) สามารถบอกถึงความเสี่ยงของโรคหัวใจได้อย่างไร?

Lipid Profile วัดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด

การตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Test – LFT) มีอะไรบ้าง?

LFT ประกอบด้วยการตรวจหลายอย่าง เช่น AST, ALT, ALP เพื่อประเมินการทำงานของตับและตรวจหาความผิดปกติ

การตรวจการทำงานของไต (Kidney Function Test) มีความสำคัญอย่างไร?

การตรวจการทำงานของไตวัดระดับครีเอตินินและ BUN ในเลือด เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของไตในการกำจัดของเสีย

การตรวจระดับฮอร์โมน (Hormone Test) สำคัญอย่างไร?

การตรวจระดับฮอร์โมนช่วยประเมินการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น ไทรอยด์ ซึ่งมีผลต่อการเผาผลาญและการทำงานของร่างกายโดยรวม

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง (Tumor Markers) ควรทำเมื่อไหร่?

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ โดยพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยง อายุ และประวัติครอบครัว

การตรวจสุขภาพหัวใจ (Electrocardiogram – EKG) มีความสำคัญอย่างไร?

EKG ช่วยตรวจหาความผิดปกติของการเต้นของหัวใจและการไหลเวียนของเลือด ซึ่งสำคัญในการประเมินสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

การตรวจสุขภาพสำหรับแต่ละช่วงอายุแตกต่างกันอย่างไร?

การตรวจสุขภาพควรปรับให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุ เนื่องจากความเสี่ยงและความต้องการทางสุขภาพแตกต่างกันไปตามวัย

การตรวจสุขภาพสำหรับเด็กและวัยรุ่นควรตรวจอะไรบ้าง?

สำหรับเด็กและวัยรุ่น การตรวจสุขภาพมักเน้นที่การเจริญเติบโต การฉีดวัคซีน และการตรวจสุขภาพทั่วไป เช่น การตรวจสายตาและการได้ยิน

การตรวจสุขภาพสำหรับวัยทำงานควรเน้นอะไรเป็นพิเศษ?

วัยทำงานควรเน้นการตรวจคัดกรองโรคที่พบบ่อย เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง รวมถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งตามความเหมาะสม

ผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพอะไรบ้างเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง?

ผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพอย่างครอบคลุม รวมถึงการตรวจมวลกระดูก การตรวจสุขภาพตา และการประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ

การเตรียมตัวที่ถูกต้องช่วยให้ผลการตรวจสุขภาพแม่นยำและน่าเชื่อถือมากขึ้น

ควรงดอาหารหรือเครื่องดื่มก่อนตรวจสุขภาพหรือไม่?

สำหรับการตรวจเลือดบางชนิด เช่น การตรวจน้ำตาลและไขมันในเลือด ควรงดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมงก่อนตรวจ

การใช้ยาหรืออาหารเสริมมีผลต่อผลตรวจสุขภาพอย่างไร?

ยาและอาหารเสริมบางชนิดอาจส่งผลต่อผลการตรวจ ควรแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับยาและอาหารเสริมที่ใช้อยู่

การตรวจสุขภาพควรทำบ่อยแค่ไหน?

ความถี่ในการตรวจสุขภาพขึ้นอยู่กับอายุ ปัจจัยเสี่ยง และสุขภาพโดยรวม โดยทั่วไปผู้ใหญ่ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง

ค่าผลตรวจสุขภาพบอกอะไรได้บ้าง?

ผลการตรวจสุขภาพให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของร่างกาย

ค่าผลตรวจสุขภาพที่อยู่ในเกณฑ์ปกติคืออะไร?

ค่าปกติของผลตรวจแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไปตามเพศ อายุ และปัจจัยอื่นๆ แพทย์จะเป็นผู้แปลผลและอธิบายความหมายของค่าต่างๆ

ค่าผิดปกติในการตรวจสุขภาพสามารถบ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง?

ค่าผิดปกติอาจบ่งชี้ถึงโรคหรือภาวะต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือความผิดปกติของการทำงานของตับหรือไต

ควรทำอย่างไรหากผลตรวจสุขภาพออกมาผิดปกติ?

หากผลตรวจผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติมและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

ตรวจสุขภาพสามารถช่วยป้องกันโรคได้อย่างไร?

การตรวจสุขภาพเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพที่ดี

ตรวจสุขภาพช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างไร?

การตรวจสุขภาพช่วยค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดสูง ทำให้สามารถป้องกันหรือรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

การตรวจสุขภาพช่วยคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้หรือไม่?

ใช่ การตรวจสุขภาพสามารถช่วยคัดกรองมะเร็งบางชนิดในระยะเริ่มต้นได้ เช่น การตรวจแมมโมแกรมสำหรับมะเร็งเต้านม การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือการตรวจ PSA สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก การตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น

การตรวจสุขภาพช่วยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นได้อย่างไร?

การตรวจสุขภาพช่วยให้เราทราบถึงสถานะสุขภาพปัจจุบัน ซึ่งสามารถเป็นแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น การออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือการลดความเครียด เมื่อเห็นผลการตรวจที่ดีขึ้น จะยิ่งเป็นกำลังใจให้รักษาพฤติกรรมสุขภาพที่ดีต่อไป

เมื่อไรควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ?

การตรวจสุขภาพควรทำเป็นประจำ แต่มีบางกรณีที่ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพโดยเร็ว

อาการที่บ่งบอกว่าควรเข้ารับการตรวจสุขภาพทันทีมีอะไรบ้าง?

อาการที่ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพทันที ได้แก่:

  • น้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อ่อนเพลียผิดปกติเป็นเวลานาน
  • มีไข้เรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ
  • ปวดท้องรุนแรงหรือเรื้อรัง
  • หายใจลำบากหรือเจ็บหน้าอก
  • ปวดศีรษะรุนแรงผิดปกติ
  • มีก้อนผิดปกติตามร่างกาย

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ควรปฏิบัติดังนี้:

  • กำหนดตารางการตรวจสุขภาพประจำปีและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตรวจที่เหมาะสมกับอายุ เพศ และปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคล
  • เก็บประวัติการตรวจสุขภาพและผลการตรวจไว้เพื่อเปรียบเทียบในอนาคต
  • ซักถามและทำความเข้าใจผลการตรวจกับแพทย์
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษา
  • สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายและไม่ละเลยที่จะปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัย

การตรวจสุขภาพเป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ช่วยให้เราสามารถค้นพบและจัดการกับปัญหาสุขภาพได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับสภาวะร่างกายและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร?

0
สาเหตุของโรคที่แท้จริงหัวใจและหลอดเลือดคืออะไร?
สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากการอักเสบที่ผนังเส้นเลือดคอเลสเตอรอลที่ไหลมาตามกระแสเลือดจะทำการจับตัวกันในบริเวณที่เกิดการอักเสบ สะสมจนเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน
สาเหตุของโรคที่แท้จริงหัวใจและหลอดเลือดคืออะไร?
สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากการอักเสบที่ผนังเส้นเลือดคอเลสเตอรอลที่ไหลมาตามกระแสเลือดจะทำการจับตัวกันในบริเวณที่เกิดการอักเสบ สะสมจนเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน

โรคหัวใจขาดเลือด

สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือด ( Ischemic heart disease ) สาเหตุของโรคที่แท้จริงหัวใจขาดเลือดนั้นเกิดจากไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอล แต่ตอนนี้เราได้รับรู้ความจริงที่ได้สร้างความตกตะลึงให้กับ ทุกคนว่า

“ สาเหตุที่แท้จริงของโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ต่างหากที่เป็นสาหตุของโรคที่แท้จริง ”

นั่นหมายความว่าความเชื่อที่วงการแพทย์เชื่อกันมานับ 60 ปี เกี่ยวกับสาเหตุโรคหัวใจ สาเหตุการเกิดของโรคหัวใจขาดเลือดที่ว่ามีต้นเหตุมาจากคอเลสเตอรอลและไขมันไม่อิ่มตัว ทำให้แนวทางในการรักษา คือ การทานยาลดคอเรสเตอรอลและการให้ผู้ป่วยลดบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ได้พิสูจน์แล้วว่าความเชื่อดังกล่าวนั้นไม่จริง ไม่ควรให้ความเชื่อถือและยังค้นพบอีกว่าสาเหตุที่แท้จริงของการโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและโรคร้ายแรงอีกหลายชนิด คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอลอย่างที่เคยเชื่อกัน

สาเหตุที่แท้จริงของโรคหัวใจขาดเลือดไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ต่างหากที่เป็นสาเหตุโรคหัวใจที่แท้จริง

สาเหตุที่อาจเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

1. จากความเชื่อว่าสาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดมาจากไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอล เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตัน ทำให้คนหันมาบริโภคอาหารที่ Low Far, Fat Free อาหารที่ไม่มีไขมันอิ่มตัว และรับประทานยากลดไขมันกลุ่ม Statin ที่มีราคาสูงมากเพื่อป้องกันการเกิดโรค แต่ทว่าในรอบ 60 ปีที่ผ่านมาเราพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาพบว่าปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยโรคหัวใจกว่า 75 ล้านคน ผู้ป่วย โรคเบาหวาน 20 ล้านคน และผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ( Pre-Diabetes ) อีกมากกว่า 57 ล้านคนและแนวโน้มผู้ป่วยนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี จากจำนวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่นั้นเราพบว่ามีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งที่มีการป้องกันทุกวิถีทางแล้วแต่ทำไมจำนวนผู้ป่วยถึงยังเพิ่มขึ้น   

นั่นเป็นเพราะความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้หลักโภชนาการและแนวทางของอุตสาหกรรมอาหารเกิดความผิดพลาด ทำให้ประชากรของโลกอยู่ในสภาวะโรคอ้วน เบาหวาน และโรคเซลล์เซื่อมเร็วขึ้น สร้างความสูญเสียทั้งทางทรัพยากรบุคคลและทางเศรษฐกิจอย่างไม่น่าให้อภัย

2. สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดที่แท้จริงที่ทำให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด คือ การอักเสบที่ผนังเส้นเลือด โดยปกติคอเลสเตอรอลที่เข้าสู่ร่างกายจะไหลไปตามหลอดเลือดได้อย่างอิสระไม่จับเป็นตะกรันบนผนังหลอดเลือด แต่เมื่อใดก็ตามถ้าผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบเป็นแผลแล้ว เมื่อนั้นคอเลสเตอรอลที่ไหลมาตามกระแสเลือดจะทำการจับตัวกันในบริเวณที่เกิดการอักเสบ เกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นตะกรันยึดติดอยู่บนผนังหลอดเลือดที่อักเสบนั้น การที่ผนังหลอดเลือดอักเสบเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อโรค ไวรัสและสารพิษเข้าไป แต่ว่าถ้าร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อโรคที่เข้าไปได้จนหมด เชื้อโรคที่เหลือเหล่านั้นจะเข้ามาทำลายเซลล์ตามผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังเซลล์เกิดการอักเสบ ในครั้งแรกๆ ร่างกายจะสามารถรักษาแผลอักเสบให้หายได้ ทำให้การอักเสบจะยังไม่มีผลต่อร่างกายเท่าใดนัก แต่ถ้ามีการอักเสบซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกลายเป็นแผลเรื้อรังเมื่อนั้นจะทำให้เกิดตะกรันที่เป็นอันตรายร้ายแรง นอกจากเชื้อโรคและไวรัสที่เป็นตัวที่ทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบแล้ว สารพิษจากอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นก็สามารถก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้เป็นอย่างดี สารพิษในอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่สำคัญ ก็คือ ไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ที่เราพบได้มากจากน้ำตาลในแป้งขัดขาวและอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตสูง ๆ รวมถึงน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีทางอุตสหกรรม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น รวมถึงในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่นิยมนำน้ำมันพืชและน้ำตาลเหล่านี้ไปเป็นส่วนผสมและสิ่งเจือปนกันด้วยเพราะมีความเชื่อว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคนั่นเอง แต่สิ่งที่ทำนั้นกลับให้ผลในทางตรงกันข้ามเพราะแทนที่จะช่วยเพื่อความแข็งแรงให้กับหลอดเลือดและลดการการอักเสบของหลอดเลือดแล้ว กลับทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบเรื้อรังจนเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ อีกมากมายในเวลาต่อมา

การที่ไขมันไม่อิ่มตัวทำให้หลอดเลือดอักเสบก็ได้ นายแพทย์ Dr.Dwight Lundell, M.D. ได้พูดให้เราเห็นภาพง่ายๆ ว่าเหมือนกับการที่เราเอาแปรงสีฟันแข็งๆ มาถูบริเวณเนื้ออ่อนใต้ท้องแขน เมื่อเราถูไปมาสักพักเราจะพบว่าผิวหนังบริเวณนั้นจะค่อยๆ แดง และมีเลือดซึมออกมาทีละน้อย ภาพที่เราเห็นก็เหมือนกับสภาพของผนังหลอดเลือดที่เกิดการอักเสบนั่นเอง คือจะมีลักษณะ ช้ำและมีเลือดซึมออกมา ถ้าแผลนี้ยังมีการอักเสบเกิดขึ้นเรื่อยไม่หายก็จะเกิดเป็นแผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อร่างกายได้รับอาหารที่น้ำตาลในปริมาณที่สูงเกินไปและร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้หมด จนมีน้ำตาลหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือด น้ำตาลที่เหลืออยู่ในกระแสเลือดนี้จะเข้าไปจับตัวกับโปรตีนกลาย เป็นตัวร้ายที่เข้ามาทำลายผนังหลอดเลือดให้เกิดการอักเสบ ดังนั้นการทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเกินความต้องการของร่างกาย ก็เปรียบเสมือนการนำแปรงสีฟันแข็งๆ มาถูผนังหลอดเลือดให้เป็นแผลครั้งแล้วครั้งเล่า ต่างกันก็ตรงที่เวลาที่เราถูแปรงสีฟันนั้นใช้เวลาไม่นานก็เป็นแผล แต่น้ำตาลที่จับตัวกับโปรตีนในเลือดจะใช้เวลาหลายปีกว่าผนังหลอดเลือดจะเป็นแผลอักเสบเรื้อรังได้

https://www.youtube.com/watch?v=zHias4-PcT0&t=1s

สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดที่แท้จริงนอกจากน้ำตาลที่ทำให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือดแล้ว น้ำมันพืชก็มีส่วนทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพดหรือแม้แต่น้ำมันดอกทานตะวันก็ตาม ด้วยความเชื่อที่ว่าน้ำมันพืชเป็นไขมันไม่อิ่มตัวและมีโอเมก้า-6 ที่ไม่ทำให้เป็นสาเหตุโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้คนหันมาบริโภคน้ำมันดังกล่าวเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นและอุตสาหกรรมอาหารก็ต้องตามกระแสความเชื่อดังกล่าว หันมาใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง แต่คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่าน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีที่คุณซื้อมาใช้นั้น เมื่อคุณเปิดฝาเพื่อใช้งานนานเป็นเดือนเป็นปีน้ำมันพืชก็ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนเลยแม้แต่น้อย ทำไมกันล่ะ? ทั้งๆ โอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 นั้นเมื่อโดนออกซิเจนในอากาศจะเกิดปกฏิกิริยาออกซิเดชั่นกลายทำให้เหม็นหืนแล้วแท้ๆ ข้อนี้ก็น่าคิดเหมือนกันว่าน้ำมันพืชที่เราบริโภคอยู่นี้ได้ผ่านกรรมวิธีอะไรมาบ้างถึงได้ไม่มีกลิ่นหืนนานขนาดนี้

จากความเชื่อที่ผิดๆ นั้นทำให้ผู้คนหันมาบริโภคน้ำมันพืชที่เป็นโอเมก้า-6 กันมากขึ้น เป็นผลให้โภชนการของคนเราเกิดความผิดเพื้ยนจนร่างกายขาดความสมดุลของสารอาหารภายในร่างกายไป ปกติร่างกายของคนเราต้องมีอัตราส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 ต่อ ไขมันโอเมก้า-3 ไม่เกิน 3 : 1 แต่ด้วยความเชื่อทำให้คนหันมาบริโภคน้ำมันพืชเพิ่มขึ้นทำให้อัตราส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 ต่อไขมันโอเมก้า-3 ในร่างกายกลายเป็น 15 : 1 และในบางคนมีอัตราส่วนเป็น 30 : 1 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราส่วนที่อันตรายอยู่ในขั้นวิกฤติเลยทีเดียว รู้หรือไม่ว่า!!! น้ำมันข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า- 6 มากถึง 7,280 mg น้ำมันถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า-6 มากถึง 6,940 mg แต่ว่าน้ำมันจากไขมันสัตว์พบว่ามีไขมันโอเมก้า-6 ไม่เกิน 20% เท่านั้น การที่ไขมันโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 มีอัตราส่วนที่ผิดปกติ ผนังเป็นผลให้ผนังหุ้มเซลล์จะเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เพราะว่าไขมันโอเมก้านี้ เป็นส่วนประกอบของผนังหุ้มเซลล์ ถ้ามีไขมันตัวใดมากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะทำให้ผนังเซลล์เสียหายเปราะบาง เซลล์จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า Cytokines ออกมาทำให้ผนังเซลล์เกิดการอักเสบเรื้อรังและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และปัญหาจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ถ้าเราอยู่ในภาวะอ้วนจากการกินอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันในปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกายเข้าไปทุกวัน เพราะว่ายิ่งเราอ้วนเซลล์ก็จะยิ่งขับสาร Cytokines และสารที่ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้มีการเกิดตะกรันเกาะที่บริเวณผนังหลอดเลือดได้มากขึ้นั่นเอง ซึ่งเมื่อมีตะกรันเกิดขึ้นเราจึงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันสูง หลอดเลือดตีบตัน โรคอัลไซเมอร์ เส้นเลือดเลี้ยงสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ เป็นต้น 

คุณหมอยังได้กล่าวสรุปไว้ตอนท้ายไว้ด้วยว่า “ ทางรอดสำหรับประชากรโลก คือ การกลับไปสู่การปรุงอาหารแบบสดใหม่ บริโภคอาหารที่ไม่ผ่านกรรมวิธีการแปรรูปใดๆ หรือผ่านกรรมวิธีให้น้อยที่สุด เลิกกินน้ำตาลและลดการกินหวาน รวมถึงการงดบริโภคน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารที่ทำให้เก็บไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืนออกจากชีวิตเราเสียให้หมด ” นี่คือทางรอดที่จะทำให้เราหลุดรอดจากการเป็นโรคต่างๆ ได้ดีที่สุด

ถ้าคุณอยากให้ตัวเองและคนที่คุณรักมีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคร้ายและสาเหตุโรคหัวใจที่เข้ามาคุกคามชีวิตของคุณแล้ว ขอให้แชร์บทความนี้ต่อไปเพื่อที่ทุกคนจะได้รับรู้ความจริงเกี่ยวกับสาเหตุของโรคหัวใจโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ขอบคุณคลิปความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

“Essential Fatty Acids”. Micronutrient Information Center, Oregon State University, Corvallis, OR. May 2014. Retrieved 24 May 2017.

“Omega-3 fatty acids, fish oil, alpha-linolenic acid”. Mayo Clinic. 2017. Retrieved 24 May 2017.

Nussey S, Whitehead S (2001). Endocrinology: an integrated approach. Oxford: Bios Scientific Publ. ISBN 978-1-85996-252-7.

P-Amylase และ Lipase คืออะไร? การตรวจค่าตับอ่อนและภาวะที่ควรระวัง

0
การตรวจเลือด เพื่อทราบผลต่อสุขภาพจากสารอาหารบางประเภท
ตรวจเพื่อให้ทราบว่าอาหารที่ทานเข้าไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เกิดโรคขึ้นมา โดยนำเลือดมาตรวจหาค่าP-Amylase Lipase
การตรวจเลือด เพื่อทราบผลต่อสุขภาพจากสารอาหารบางประเภท
ตรวจเพื่อให้ทราบว่าอาหารที่ทานเข้าไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เกิดโรคขึ้นมา โดยนำเลือดมาตรวจหาค่าP-Amylase และLipase

P-Amylase และ Lipase คืออะไร?

P-Amylase และ Lipase เป็นเอนไซม์สำคัญที่ผลิตโดยตับอ่อน มีบทบาทสำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร การตรวจวัดระดับของเอนไซม์เหล่านี้ในเลือดสามารถให้ข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับการทำงานของตับอ่อนและสุขภาพโดยรวม

บทบาทของ P-Amylase และ Lipase ในร่างกายคืออะไร?

P-Amylase และ Lipase มีหน้าที่สำคัญในการย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ตามลำดับ การทำงานของเอนไซม์เหล่านี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสุขภาพของตับอ่อน

P-Amylase ทำหน้าที่อะไรในระบบย่อยอาหาร?

P-Amylase ทำหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้งให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมและใช้พลังงานจากอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ1

Lipase มีบทบาทอย่างไรในการย่อยไขมัน?

Lipase เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยไขมันให้กลายเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมและใช้ประโยชน์จากไขมันในอาหารได้1

ตับอ่อนมีความสำคัญต่อการควบคุมเอนไซม์เหล่านี้อย่างไร?

ตับอ่อนเป็นอวัยวะหลักในการผลิตและควบคุมการหลั่งของ P-Amylase และ Lipase ความผิดปกติของตับอ่อนจึงส่งผลโดยตรงต่อระดับของเอนไซม์เหล่านี้ในเลือด1

การตรวจค่า P-Amylase และ Lipase คืออะไร?

การตรวจค่า P-Amylase และ Lipase เป็นการวัดระดับของเอนไซม์เหล่านี้ในเลือด เพื่อประเมินการทำงานของตับอ่อนและวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้อง

การตรวจ P-Amylase และ Lipase ทำได้อย่างไร?

การตรวจทำโดยการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำที่แขน แล้วนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ4

ค่าปกติของ P-Amylase และ Lipase ควรอยู่ที่เท่าใด?

ค่าปกติอาจแตกต่างกันตามห้องปฏิบัติการ แต่โดยทั่วไป:

  • P-Amylase: 30-110 U/L
  • Lipase: 10-60 U/L4

จำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหรือไม่?

โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ แต่ควรแจ้งแพทย์หากกำลังรับประทานยาใดๆ4

อะไรเป็นสาเหตุของค่าผิดปกติของ P-Amylase และ Lipase?

ค่าผิดปกติของ P-Amylase และ Lipase มักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของตับอ่อนหรือระบบทางเดินอาหาร

ค่า P-Amylase สูงกว่าปกติบ่งบอกถึงอะไร?

ค่า P-Amylase สูงอาจบ่งชี้ถึง:

  • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
  • นิ่วในท่อน้ำดี
  • การบาดเจ็บของตับอ่อน13

ค่า Lipase สูงผิดปกติสามารถบ่งบอกถึงภาวะอะไรได้บ้าง?

ค่า Lipase สูงอาจบ่งชี้ถึง:

  • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
  • การอุดตันของท่อน้ำดี
  • โรคไตเรื้อรัง13

ค่า P-Amylase และ Lipase ต่ำกว่าปกติหมายถึงอะไร?

ค่าต่ำกว่าปกติพบได้น้อยกว่าและอาจเกี่ยวข้องกับ:

  • ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
  • ภาวะทุพโภชนาการรุนแรง3

การแปลผลค่า P-Amylase และ Lipase บ่งบอกถึงสุขภาพอย่างไร?

การแปลผลต้องพิจารณาร่วมกับอาการทางคลินิกและผลการตรวจอื่นๆ

P-Amylase และ Lipase สามารถใช้วินิจฉัยโรคตับอ่อนได้หรือไม่?

ใช่ ค่าเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้สำคัญในการวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน โดยเฉพาะเมื่อค่าสูงกว่าปกติ 3 เท่าขึ้นไป13

ผลตรวจค่าตับอ่อนมีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวานหรือไม่?

แม้ว่าค่าเหล่านี้ไม่ได้ใช้วินิจฉัยโรคเบาหวานโดยตรง แต่ความผิดปกติของตับอ่อนอาจส่งผลต่อการผลิตอินซูลิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานชนิดที่ 23

ค่าผิดปกติของ P-Amylase และ Lipase ควรดำเนินการอย่างไรต่อไป?

หากพบค่าผิดปกติ ควร:

  • ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
  • ตรวจเพิ่มเติมตามคำแนะนำของแพทย์
  • ติดตามอาการและตรวจซ้ำตามที่แพทย์กำหนด13

โรคและภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับค่าผิดปกติของ P-Amylase และ Lipase

ค่าผิดปกติของ P-Amylase และ Lipase มักเกี่ยวข้องกับโรคของตับอ่อนและระบบทางเดินอาหาร

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรังมีผลต่อค่าเหล่านี้อย่างไร?

ในโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ค่า P-Amylase และ Lipase มักสูงขึ้นอย่างมาก ส่วนในกรณีเรื้อรัง ค่าอาจปกติหรือต่ำลงเล็กน้อย13

โรคนิ่วในถุงน้ำดีเกี่ยวข้องกับค่า Lipase อย่างไร?

นิ่วในถุงน้ำดีอาจทำให้ค่า Lipase สูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนิ่วอุดตันท่อน้ำดี3

มะเร็งตับอ่อนสามารถตรวจพบได้จากค่า P-Amylase และ Lipase หรือไม่?

แม้ว่าค่าเหล่านี้อาจสูงขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน แต่ไม่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้เฉพาะได้ ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม3

วิธีดูแลสุขภาพให้ค่าตับอ่อนอยู่ในเกณฑ์ปกติ

การดูแลสุขภาพโดยรวมช่วยรักษาการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปกติ

อาหารที่ช่วยรักษาค่าตับอ่อนให้สมดุลมีอะไรบ้าง?

อาหารที่ช่วยรักษาสุขภาพตับอ่อน ได้แก่:

  • ผักและผลไม้สด
  • อาหารที่มีไฟเบอร์สูง
  • โปรตีนคุณภาพดี เช่น ปลา ถั่ว
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงและแอลกอฮอล์5

พฤติกรรมและการใช้ชีวิตที่ส่งผลต่อระดับ P-Amylase และ Lipase

พฤติกรรมที่ส่งผลต่อระดับเอนไซม์ ได้แก่:

  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การสูบบุหรี่
  • การรับประทานอาหารไขมันสูง
  • ความเครียด5

วิธีลดความเสี่ยงต่อภาวะตับอ่อนอักเสบและค่าผิดปกติของเอนไซม์

วิธีลดความเสี่ยง ได้แก่:

  • งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารสุขภาพ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • จัดการความเครียด5

เมื่อไรควรพบแพทย์เกี่ยวกับค่าตับอ่อน?

ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าอาจมีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน

อาการที่ควรเฝ้าระวังเมื่อค่า P-Amylase และ Lipase ผิดปกติ

อาการที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่:

  • ปวดท้องรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณท้องส่วนบน
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ไข้
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ13

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีค่าผลตรวจเอนไซม์ตับอ่อนสูงหรือต่ำกว่าปกติ

สำหรับผู้ที่มีค่าผิดปกติ ควรปฏิบัติดังนี้:

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ตรวจติดตามค่าเอนไซม์และการทำงานของตับอ่อนอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรับเปลี่ยนอาหารตามคำแนะนำของแพทย์หรือนักโภชนาการ
  • งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามความเหมาะสม
  • จัดการความเครียด
  • แจ้งแพทย์ทุกครั้งเกี่ยวกับยาที่ใช้ รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • สังเกตอาการผิดปกติและรีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการที่น่ากังวล
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจกระตุ้นอาการ เช่น อาหารมันหรือรสจัด

การตรวจค่า P-Amylase และ Lipase เป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินสุขภาพของตับอ่อนและระบบทางเดินอาหาร การเข้าใจถึงบทบาทของเอนไซม์เหล่านี้ การแปลผลการตรวจ และการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาระดับเอนไซม์ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ควรตระหนักว่าการตรวจค่า P-Amylase และ Lipase เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประเมินสุขภาพ และไม่ควรใช้เป็นเกณฑ์เดียวในการวินิจฉัยโรค การพบแพทย์เพื่อรับการตรวจประเมินอย่างครอบคลุม รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและแม่นยำมากขึ้นในการวินิจฉัยและรักษาโรค

หากมีข้อสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับค่า P-Amylase และ Lipase หรือสุขภาพของตับอ่อน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน การรักษาสมดุลของร่างกาย และการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้เราสามารถควบคุมค่าเอนไซม์และรักษาสุขภาพของตับอ่อนได้ในระยะยาว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Nussey S, Whitehead S (2001). Endocrinology: an integrated approach. Oxford: Bios Scientific Publ. ISBN 978-1-85996-252-7.

https://emedicine.medscape.com/article/128567.

วิธีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

0
วิธีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
รองเท้าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเดินของผู้สูงอายุ
วิธีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
ค่ารักษาพยาบาลผู้สูงอายุที่หกล้มนั้นมีมูลค่าสูงถึงหนึ่งแสนบาทต่อครั้ง

ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นบุคคลที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ด้วยวัยที่มากขึ้นทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นตาที่เริ่มพร่ามัว หูที่ได้ยินเสียงไม่ชัด รวมถึงความว่องไวและการทรงตัวที่น้อยลงด้วย เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุนั้นเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย ซึ่งเมื่อผู้สูงอายุหกล้มแล้วจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตัวผู้สูงอายุเองและคนรอบข้างเป็นอย่าง  มาก ทั้งค่ารักษาพยาบาลที่สูง ปัจจุบันนี้ค่ารักษาพยาบาลผู้สูงอายุที่หกล้มนั้นมีมูลค่าสูงถึงหนึ่งแสนบาทต่อครั้ง เมื่อผู้สูงอายุหกล้มแล้วท่านต้องพักฟื้นเป็นเวลานานในบางรายก็อาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือเสียชีวิตได้ ในการพักฟื้นผู้สูงอายุจำเป็นต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องทำการจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะพักฟื้นหรือนอนเป็นผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก บางครั้งสูงถึงปีละล้านกว่าบาทเลยทีเดียว ต้องเป็นภาระของลูกหลาน สำหรับครอบครัวที่มีรายได้ไม่มากนัก ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนี้สร้างความลำบากให้ลูกหลานที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ตั้งตัว ครอบครัวที่ไม่มีรายได้พอที่จะจ้างผู้ดูแล ลูกหลานก็ต้องยอมลาออกจากงานเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุที่บ้านด้วยตนเอง ทำให้รายได้ของครอบครัวลดลงเป็นผลให้คุณภาพชีวิตต้องลดลงตามรายได้ที่ขาดหายไป

คุณเชื่อมั้ยว่าผู้สูงอายุที่หกล้มนั้น 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก บางร้ายต้องนั่งรถเข็นหรือนอนติดเตียงไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ สร้างความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ เช่น ความเจ็บปวดจากการรักษา การทำกายภาพบำบัดและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ขึ้นได้

ทั้งการเกิดแผลกดทับ เป็นต้น และความทุกข์ทางใจที่รู้สึกว่าตัวเองต้องเป็นภาระของลูกหลาน เพราะเมื่อท่านเดินไม่ได้แล้วการไปไหนมาไหนก็ลำบาก แม้แต่การเข้าห้องน้ำยังต้องอาศัยคนอื่นคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ท่านย่อมไม่มีความสุขอย่างแน่นอน การหกล้มในผู้สูงอายุจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้มย่อมเป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับตัวผู้สูงอายุและลูกหลานทุกคน แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้มได้ ดังนี้

การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ

1. เลือกรองเท้าที่เหมาะสมให้ผู้สูงอายุ

รองเท้าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเดินของผู้สูงอายุ ถ้าผู้สูงอายุใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับเท้าแล้ว อาจจะทำให้ท่านมีโอกาสหกล้มมากขึ้น ดังนั้นผู้สูงอายุควรเลือกรองเท้าให้เหมาะสม ตามนี้

1.1 ขนาดรองเท้าที่เหมาะสม ผู้สูงอายุควรใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดีกับเท้าไม่คับหรือหลวมจนเกินไป และควรมีเชือกผูกหรือแทบยึดที่สามารถปรับขนาดได้ ไว้สำหรับปรับขนาดรองเท้าให้กระชับพอดีเท้าและเพิ่มความรู้สึกมั่นคงให้กับผู้สวมใส่ด้วย   

1.2 วัสดุของรองเท้า รองเท้าสำหรับผู้สูงอายุควรทำจากวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้นและมีความหยืดหยุ่นสูง เช่น หนัง ผ้า เป็นต้น

1.3 ส้นรองเท้า ผู้สูงอายุควรสวมรองเท้าไม่มีส้นหรือส้นเตี้ยจะทำให้เดินได้อย่างมั่นคง ไม่ควรสวมรองเท้าสั้นสูงเพราะเวลาเดินจะทรงตัวได้ยากและอาจทำให้เท้าพลิกเป็นเหตุให้หกล้มได้

2. อุปกรณ์ช่วยเวลาเดินสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุบางท่านการทรงตัวไม่ค่อยดีนักเวลาเดินจึงมีโอกาสหกล้มได้ง่าย ดังนั้นเวลาเดินควรมีอุปกรณ์ช่วยเดินเป็นที่หลักยึดเพื่อป้องกันไม่ให้หกล้ม อุปกรณ์ช่วยเดินที่ช่วยป้องกันการหกล้ม คือ โครงเหล็กช่วยเดิน ไม้ค้ำยัน ไม้เท้า ควรเลือกใช้ตามความถนัดของผู้สูงอายุ และความสูงของอุปกรณ์ช่วยเดินควรมีขนาดสูงพอเหมาะอย่าสูงหรือต่ำเกินไปเพราะแทนที่จะช่วยป้องกันการหกล้มอาจจะทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสหกล้มมากขึ้นได้

3. การออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุ

การออกกำลังเป็นการสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในร่างกายและช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวได้เป็นอย่างดี แต่ว่าการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุนั้นต้องเลือกให้เหมาะสมกับอายุด้วย สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะออกกำลังกาย ว่าการออกกำลังกายรูปแบบใดที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่ออกกำลัง ท่าออกกำลังกายสำหรับป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ มีดังนี้

1. ท่าบริหารลำตัว

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง มองไปข้างหน้า มือเท้าเอว
  • มือเท้าสะเอว บิดเอวไปทางขวาจนสุด โดยการบิดเอวเพียงอย่างเดียวไม่ต้องบิดสะโพกไปด้วย
  • บิดเอวกลับมาอยู่ในท่าเตรียม
  • บิดเอวไปทางซ้ายจนสุด โดยการบิดเอวนั้นให้บิดเอวเพียงอย่างเดียวไม่ต้องบิดสะโพกไปด้วย
  • ทำการบิดเอวไปทางขวา 10 ครั้งและบิดเอวไปทางซ้าย 10 ครั้ง 

2. ท่าบริหารข้อเท้า

  • ท่าเตรียม นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิง นั่งตัวตรง มือวางข้างลำตัว
  • ยกขาขวาขึ้น ยืดขาให้ตรงเท่าที่จะทำได้ ไม่ต้องฝืนยืดขาจนตรง
  • ทำการกระดกปลายเท้าขึ้นเข้าหาลำตัวจนสุดและกระดกปลายเท้าลงออกจากลำตัวจนสุด กระดกปลายเท้าขึ้น -ลงอย่างละ 10 ครั้ง
  • สลับทำขาข้างซ้ายเหมือนกับข้างขวา

3. ท่ายืนด้วยปลายเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง แยกเท้าให้กว้างเท่ากับช่วงไหล่ แขนแนบลำตัว
  • ยกสั้นเท้าขึ้นจากพื้นช้าๆ จนยืนบนปลายเท้า หยุดนิ่ง 1-2 วินาที
  • ลดส้นเท้าลงช้าๆ ทำซ้ำ 20 ครั้ง

4. ท่ายืนด้วยส้นเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง แยกขาให้มีความกว้างเท่ากับช่วงไหล่ แขนแนบลำตัว
  • ยกปลายเท้าขึ้นช้าๆ สูงพอประมาณที่เราทรงตัวยืนได้ ระวังอย่ายกปลายเท้าสูงมากเกินไปเพราะอาจทำให้ผู้สูงอายุล้มได้
  • ลดปลายเท้าลงช้าๆ ทำซ้ำ 20 ครั้ง

5. ท่าย่อเข้าแบบไม่ใช้ราว

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง แยกขากว้างเท่ากับช่วงไหล่ มือท้าวเอว
  • ทำการย่อเข่าไปข้างหน้าช้าๆ ย่อจนกระทั่งส้นเท้าเริ่มยกขึ้นจากพื้นให้หยุดย่อ
  • ทำการยกตัวขึ้นช้าๆ จนตัวตรงกลับมาอยู่ในท่าเตรียม ทำซ้ำ 20 ครั้ง 

6. ท่าบริหารสะโพกด้านข้างด้วยตุ้มถ่วงน้ำหนัก

  • ท่าเตรียม ใส่ตุ้มน้ำหนักที่ข้อเท้าขวา ยืนตรงหันข้างให้กับเก้าอี้หรือราวจับ ใช้มือซ้ายจับที่เก้าอี้หรือราวจับให้มั่น
  • ยกขาขวาไปด้านข้างขึ้น-ลงช้าๆ จนครบ 10 ครั้ง
  • สลับมาทำขาข้างซ้าย โดยใส่ตุ้มน้ำหนักที่ข้อเท้าซ้าย ยืนตรงหันข้างให้กับเก้าอี้หรือราวจับ ใช้มือขวาจับที่เก้าอี้หรือราวจับให้มั่น
  • ยกขาซ้ายไปด้านข้างขึ้น-ลงช้าๆ 10 ครั้ง

7. ยืนขาเดียวแบบไม่ใช้ราวจับ

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง หน้ามองตรง มือท้าวเอว
  • งอเข่าพร้อมกับยกเท้าขวาขึ้นและยืนด้วยขาซ้ายเพียงข้างเดียวนาน 10 วินาที แล้วค่อยๆ ลดขาขวาลง ยืนอยู่ในท่าเตรียม
  • สลับงอเข่าพร้อมกับยกเท้าซ้ายขึ้นและยืนด้วยขาขวาเพียงข้างเดียวนาน 10 วินาที แล้วค่อยๆ ลดขาซ้ายลง ยืนอยู่ในท่าเตรียม
  • ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง

8. เดินด้วยส้นเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง ตามองไปข้างหน้า แขนแนบลำตัว
  • ยกปลายเท้าขึ้นทั้งสองข้างและยืนด้วยส้นเท้า
  • เดินด้วยส้นเท้าไปข้างหน้า 10 ก้าว หยุดลดปลายเท้าลงอยู่ในท่าเตรียม
  • ทำซ้ำ 10 -20 ครั้ง

9. เดินด้วยปลายเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง มองไปข้างหน้า แขนแนบลำตัว
  • ยกส้นเท้าขึ้นทั้งสองข้างและยืนด้วยปลายเท้า
  • เดินด้วยปลายเท้าไปข้างหน้า 10 ก้าว หยุดลดส้นเท้าลงอยู่ในท่าเตรียม
  • ทำซ้ำ 10 -20 ครั้ง   

10. เดินเลขแปด

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง มองไปข้างหน้า
  • ทำการเดินเป็นเลขแปดด้วยท่าเดินปกติ พอครบ 1 รอบให้หยุดพักสักครู่แล้วค่อยเดินต่อรอบต่อไป
  • ทำซ้ำ 10 รอบ

11. ท่าเดินสไลด์ด้านข้าง

  • ยืนตัวตรง มองไปข้างหน้า มือท้าวเอว ก้าวขวาไปด้านข้าง 10 ก้าว หยุดยืน
  • ก้าวเท้าซ้ายไปด้านข้าง 10 ก้าว จะกลับมายืนยังจุดเริ่มต้น
  • ทำซ้ำ 10 รอบ

12. ท่าลุกจากเก้าอี้โดยไม่ใช้มือพยุง

  • นั่งตัวตรง วางเข่าให้อยู่ล้ำกับปลายเท้าไปเล็กน้อย เก้าอี้ไม่ควรสูงหรือต่ำจนเกินไป มีความแข็งแรงและควรมีพนักพิงด้วย มือวางบนตัก
  • โน้มตัวไปข้างหน้าและยกตัวขึ้นยืนตรง โดยไม่ใช้มือดันเก้าอี้หรือช่วยพยุงตัวเวลาลุกขึ้นยืน
  • ปล่อยตัวนั่งลงบนเก้าอี้ช้าๆ
  • ทำซ้ำ 10 ครั้ง

นี่เป็นท่าออกกำลังกายที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้มเป็นอันตรายได้ การออกกำลังกายนี้นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้มแล้วยังทำให้ท่านมีร่างกายที่แข็งแรงขึ้นด้วย

ผู้สูงอายุในครอบครัวล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลอันเป็นที่รัก เราควรใส่ใจดูแลท่านให้มาก การดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้สมบูรณ์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่ท่านจะได้อยู่กับเราด้วยไปนานๆ ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระของครอบครัว การดูแลสุขภาพจิตก็มั่นพูดคุยกับท่านให้มากอย่าปล่อยให้ท่านเหงา ส่วนการดูแลสุขภาพกายด้วยการให้ท่านรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ท่านมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและอย่าลืมดูแลไม่ให้ท่านหกล้มด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5.

แสงแดดรักษาดวงตาให้คงทน

0
แสงแดดรักษาดวงตาให้คงทน
ยาหยอดตา เป็นวิธีหนึ่งที่เป็นการช่วยบำรุงรักษาสุขภาพดวงตาให้ดีขึ้นเป็นวิธีที่สะดวก
แสงแดดรักษาดวงตาให้คงทน
ดวงตาจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของร่างกาย ค่อนข้างบอบบาง จึงควรหาวิธีในการดูแลและบำรุงดวงตาให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงอยู่เสมอ

ดวงตา คือ

ดวงตา ช่วยทำให้เราได้มองเห็น และช่วยทำให้เราได้รับรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ดวงตาเป็นจุดเริ่มต้นของการทำกิจกรรมต่างๆเกือบทุกอย่าง เช่น การกินก็ต้องอาศัยดวงตาในการตักอาหารเข้าปาก การเดินก็ต้องอาศัยตาในการนำทาง การทำงานก็ต้องอาศัยดวงตามองเห็นเพื่อให้ทำงานต่างๆที่ได้รับมอบหมายได้ และอื่นๆอีกมากมายที่ต้องใช้ดวง  ตาเป็นองค์ประกอบ เพราะฉะนั้นดวงตาจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของร่างกาย แต่ดวงตาก็เป็นอวัยวะที่ค่อนข้างบอบบางและได้รับการกระทบกระเทือนค่อนข้างง่าย ดังนั้นเพื่อไม่ให้ดวงตาต้องเสื่อมก่อนเวลาอันควร หรือมีปัญหาเกิดขึ้น จึงควรหาวิธีในการดูแลและบำรุงดวงตาให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงเสมอ โดยวิธีการบำรุงรักษาดวงตามีมากมายหลายวิธี ทั้งใช้ยาหยอดตา การบริหารดวงตา การทานอาหารบำรุงสายตา และยังรวมถึงการใช้แสงแดดบำรุงสายตาอีกด้วย

โครงสร้างและองค์ประกอบของดวงตา

นอกจากดวงตากลมๆ สีดำขาว 2 ข้าง ที่เราสามารถมองเห็นทางกายภาพจากภายนอกแล้ว ภายในดวงตายังมีโครงสร้างและองค์ประกอบอื่นๆที่สำคัญอยู่หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • เปลือกตา ทำหน้าที่เปิดปิดตา เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา ภายในเปลือกตาจะมีต่อมคอยสร้างส่วนประกอบของน้ำตา และกระจายน้ำตาไปยังกระจกตา ช่วยปกป้องเยื่อบุตาและกระจกตาดำไม่ให้แห้ง และช่วยลดอาการระคายเคือง
  • ขนตา ทำหน้าที่คอยกั้นไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอม เช่นฝุ่นละออง สารพิษต่างๆ ตกเข้ามาใส่ดวงตา
  • เยื่อตาขาว ทำหน้าที่เป็น เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้มลูกตาเอาไว้เกือบทั้งหมด ยกเว้นช่วงตรงกลางซึ่งเป็นที่ตั้งของกระจกตา มีสีขาวทึบหนา ยืดหยุ่นได้เล็กน้อย ทางด้านหน้าจะมีเยื่อบุตาบาง ๆ สีขาวใสคลุมทับอีกชั้นหนึ่ง โดยในเยื่อตาขาว ยังมีเซลล์ทำหน้าที่สร้างส่วนประกอบของน้ำตาชั้นเมือก พบได้มากทางด้านล่างและหัวตา
  • น้ำตา มีลักษณะเป็นของเหลวหรือน้ำ ทำหน้าที่ คอยให้ออกซิเจนและอาหารกับกระจกตา ชะล้างสิ่งแปลกปลอมจากเยื่อบุตาและกระจกตา และช่วยทำให้ผิวกระจกตาเรียบเพื่อเป็นทางเดินของแสงในการมองเห็นภาพมี 3 ชั้นด้วยกันคือ

ชั้นที่ 1 เป็นชั้นไขมันที่อยู่นอกสุด ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำตา

ชั้นที่ 2 เป็นชั้นกลาง ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นกับดวงตา โดยการลำเรียง น้ำ สารอาหาร และออกซิเจน ส่งให้ดวงตา และคอยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับดวงตาด้วย

ชั้นที่ 3 อยู่ชั้นในสุด เป็นชั้นของน้ำเมือก ช่วยทำให้น้ำตากระจายตัวสม่ำเสมอทั่วกระจกตา

– กระจกตา มีลักษณะโปร่งใสอยู่ด้านหน้าของตา มีความไวต่อความรู้สึก ประกอบไปด้วยน้ำ 80% คอลลาเจน 15% และโปรตีน 5% มีหน้าที่ หักเหแสงให้ตกลงบนเรตินา โดยแสงจะส่องผ่านรูม่านตา ( Pupil ) ซึ่งจะรับแสงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการบีบรัดตัวของม่านตา ( Iris ) ในชั้นกระจกตา มี 5 ชั้น ประกอบด้วยสารคอลลาเจนทั้งที่เรียงตัวไม่เป็นระเบียบ แต่ส่วนใหญ่ 90% เรียงตัวเป็นระเบียบ มีเซลล์ที่คอยสร้างคอลลาเจนและโปรตีนต่างๆ เป็นชั้นที่ทนต่อการติดเชื้อ ทนต่อการเสียหายต่างๆ เพราะเป็นชั้นที่มองเห็นภาพโดยตรงในชั้นเยื่อบุโพรงกระจกตา เป็นชั้นล่างสุดของกระจกตาทำหน้าที่สูบน้ำออกจากกระจกตา ทำให้กระจกตาใสและแห้ง 

  • แก้วตา ( Lens ) มีลักษณะเป็นสีใสๆอยู่หลังม่านตา ทำหน้าที่โฟกัสหักเหแสงเพิ่มขึ้นต่อจากกระจกตา เพื่อให้แสงตกกระทบบนจุดรับภาพของจอประสาทตา
  • วุ้นตา ( Vitreous Humor ) มีลักษณะคล้ายวุ้นใส แต่มีความหนืดกว่าน้ำ 2 เท่า อยู่ในช่องด้านหลังของลูกตา เป็นแหล่งอาหารของแก้วตา เนื้อเยื่อและจอตา ( Retina ) ประกอบด้วยน้ำ 98% ที่เหลือเป็นสารหลายชนิดเช่น คอลลาเจน ไฮยาลูโรแนน ( Hyaluronan ) และโปรตีน ทำหน้าที่ช่วยให้ลูกตามีรูปร่างคงที่
  • จอตา ( Retina ) มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่ออยู่ด้านในสุดของลูกตา ประกอบด้วยเซลล์ที่รับแสงและเซลล์ประสาท มีความไวต่อแสงมาก ทำหน้าที่รับภาพเหมือนฟิล์มถ่ายรูป ( ภาพกลับหัว ) ตรงกลางเรียกว่ามาคูลา ( Macular ) มีเส้นเลือดดำและแดงมาหล่อเลี้ยง
  • เส้นประสาทตา ( Optic ) เป็นส่วนเชื่อมต่อกันระหว่างลูกตา และเรตินา ทำหน้าที่นำข่าวสาร ( กระแสประสาท ) จากจอตาไปสู่สมอง

วิธีดูบำรุงรักษาดวงตา

ในแต่ละวันเราใช้งานดวงตาตลอดตั้งแต่ ตื่นนอน จนถึงนอนหลับไป ดังนั้น จึงต้องมีวิธีในการดูแลดวงตา เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1. การใช้ยาหยอดตาจากธรรมชาติ การใช้ยาหยอดตา เป็นวิธีหนึ่งที่เป็นการช่วยบำรุงรักษาสุขภาพดวงตาให้ดีขึ้น เป็นวิธีที่สะดวก ง่าย ไม่ลำบากต่อผู้ใช้ โดยสามารถใช้ผลิตภัณฑ์หลายอย่างจากธรรมชาติ มาใช้บำรุงดวงตา ดังนี้

  • น้ำนมจากมารดา นอกจากจะมากไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และใช้เป็นอาหารสำหรับลูกน้อยที่เกิดมากแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นยาหยอดเพื่อบำรุงสุขภาพดวงตาได้อีกด้วย โดยเมื่อนำไปใช้ในการหยอดตาจะมีอาการพร่ามัวในช่วงแรก แล้วจะค่อยๆใสขึ้นเองในระยะเวลาต่อมา โดยส่วนมากจะใช้กับเด็กที่มีอาการตาแฉะ หรือตาแดง แต่หากมีอาการละคายเคียงให้หยุดและไปพบแพทย์จะดีกว่า   
  • น้ำผึ้ง เป็นอาหารจากธรรมชาติ ที่ประกอบไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามิน ที่มีประโยชน์มากมายหลายชนิด และยังประกอบไปด้วยเอนไซม์หลายชนิด เช่น เอนไซม์พอลเลน ( pollen )และไลโซไซม์ ( lysozyme ) ทำให้น้ำผึ้งมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงรักษาดวงตาได้ดี โดยน้ำผึ้งที่ควรนำมาใช้ให้เลือกเป็นน้ำผึ้งมิ้ม ซึ่งเป็นผึ้งขนาดเล็กจะดีที่สุด
  • น้ำมะพร้าว น้ำมะพร้าวสามารถนำมาใช้เป็นยาหยอดเพื่อบำรุงรักษาดวงตาได้เช่นกัน เนื่องจากในน้ำมะพร้าว ล้วนมากไปด้วยสิ่งที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น วิตามินต่างๆ เกลือแร่ แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง เหล็ก แคลเซียม เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีโกรธฮอร์โมน เอสโตรเจนฮอร์โมน กรดอะมิโน
  • น้ำเปล่า เป็นยาธรรมชาติที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยทำให้ดวงตามีความสะอาด และช่วยล้างฝุ่นละอองออกจากดวงตา

2. การบริหารดวงตา เป็นการบริหารดวงตา เพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับดวงตาที่อาจเกิดจากการทำงานที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานานๆติดต่อกัน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี โดยเน้นการเคลื่อนไหวของลูกตาไปมา

3. อาหารบำรุงดวงตา อาหารบางชนิดมีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตา ช่วยบำรุงสุขภาพตาให้แข็งได้และดียิ่งขึ้น เช่น ผักใบเขียวทุกชนิด เพราในผักใบเขียวจะมีคลอโรฟิลล์ ที่ช่วยบำรุงสายตาเป็นส่วนประกอบ และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตาเสื่อมด้วย

ตัวอย่างอาหารบำรุงสายตา เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ตำลึง ปลาทะเล มะม่วงสุก มะละกอ เป็นต้น

4. การมองเพื่อพักสายตา ในบางกิจกรรมที่ต้องใช้การเพ่งสายตามากๆเป็นเวลา ควรจะใช้วิธีการมองไปไกลๆ เช่น มองดูสีเขียวต้นไม้ มองท้องฟ้า เพื่อให้สายตาได้พักและผ่อนคลายบ้าง

5. ใช้แสงแดดบำรุงสายตา นอกจากวิธีที่กล่าวมาแล้ว แสงแดดยังสามารถช่วยบำรุงสายตาได้ด้วยเช่นกัน

แสงแดดรักษาตาได้อย่างไร?

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อแสงสูงมาก สามารถรับแสงได้ทุกชนิดตั้งแต่แสงที่มีระดับต่ำ จนถึงแสงที่มีระดับสูง ดวงตาจึงเป็นจุดรับแสงที่สำคัญขอร่างกาย ซึ่งนอกจากเป็นตัวช่วยผลิตวิตามินดีให้ร่างกายแล้ว หากได้รับแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสม แสงแดดยังมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงสายตาได้อีกด้วย ดังต่อไปนี้ 

1. แสงแดดเป็นพลังงานที่มีประจุไฟฟ้าอิเล็กตรอน ช่วยขจัดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ตาเสื่อม

2. แสงแดดช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดลิมโฟไซต์และฟาโกไซโทซิส ซึ่งเป็นระบบภูมิคุ้มกันสำหรับร่างกาย จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันดวงตา จากสิ่งแปลกปลอมและสารพิษที่จะเข้ามา ส่งผลให้สุขภาพของดวงตามีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

3. แสงแดดช่วยทำให้กล้ามเนื้อภายในตามีความแข็งแรงมากขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดวงตาให้ดีขึ้น ทำให้การทำงานของทุกอวัยวะย่อยภายในดวงตามีความสมดุลกัน

4. แสงแดดช่วยเพิ่มอัตราการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังทำสารเฮโมโกลบินสามารถจับตัวรวมกับออกซิเจนได้ดีขึ้นด้วย ส่งผลให้กระจกตาได้รับปริมาณออกซิเจนที่มากขึ้น จึงทำให้ดวงตาแข็งแรงและมีประสิทธิภาพ

5. วิตามินดี ที่ได้จากแสงแดด เป็นวิตามินที่สำคัญสำหรับชั้นของน้ำตา เพื่อนำไปสร้างคลอลาเจนที่เป็นตัวช่วยทำให้ตามีสุขภาพดีและสมบรูณ์ ดังนั้นหากตาขาดคลอลาเจน จะส่งผลกระทบทำให้ดวงตาเสื่อมสภาพในการมองเห็น

6. แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา หรือแบคทีเรียต่างๆ ที่อาจสร้างผลเสียกับดวงตาได้ เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่อยู่ภายนอกร่างกาย ต้องสัมผัสสิ่งแวดล้อมภายนอกอยู่ตลอดเวลา แสงแดดจึงช่วยลดการติดเชื้อ หรือการอักเสบ และโรคเกี่ยวกับดวงตาได้มากเลยทีเดียว

วิธีการรับแสงแดดเพื่อสุขภาพตาที่ดี

ในการให้ดวงตาได้รับแสงแดด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับแสงแดดคือ ช่วงเช้าก่อน 07.00 น. และ ช่วงบ่ายหลังเวลา 17.00 น.ไปแล้ว เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม แสงแดดจะไม่ร้อนเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพตา โดยการรับแสงแดดให้กับดวงตามีวิธีดังต่อไปนี้

1. ใช้นิ้วมือประสานเข้าด้วยกัน ให้นิ้วชี้ของมือข้างหนึ่งจรดกับนิ้วหัวแม่มือของมืออีกข้างหนึ่ง เป็นการรับพลังแสงอาทิตย์เข้าหาตัว

2. ทำสมาธิสัก 2-5 นาที ด้วยการหลับตาและลืมตาก็ได้ ให้จิตนิ่งๆเอาจิตไปรับรู้ความรู้สึกของดวงตา 

3. เพ่งมองไปที่ดวงอาทิตย์ตรงๆแบบตาไม่กระพริบ ถ้าเคืองตาจนทนไม่ไหวก็กระพริบ พอให้ผ่อนคลาย โดยและสมาธิจิตยังอยู่ที่ดวงตา

4. ในการทำครั้งแรกนั้น ใช้เวลาเพียง 2-5 นาทีต่อวัน ให้ติดต่อกันประมาณ 10 วัน หลังจากนั้นค่อยๆเวลาให้นานขึ้น ตามความเหมาะสมของร่างกายและสภาพของแสงแดด

โรคที่เกี่ยวกับดวงตา

หากดวงตามีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงแล้ว ก็อาจนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆกับตาได้ ซึ่งโรคที่เกี่ยวกับดวงตา ที่สามารถพบได้บ่อยๆ เช่น

  • ความผิดปกติจากการอักเสบในชั้นลึกที่หนังตา และตุ่มอักเสบต่างๆที่หนังตา เช่น โรคตากุ้งยิง หรือตาเป็นต้อ
  • ความผิดปกติที่ส่วนหนังตา เช่น หนังตาหย่อน หนังตาตก หนังตาดึงรั้ง หรือสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อตา
  • ความผิดปกติส่วนหน้าของตา เช่น ต้อเนื้อ เยื่อตาเสื่อม เลือดออกที่ส่วนหน้าของตา
  • ความผิดปกติ หรือการอักเสบที่เกิดในดวงตา เช่น กระจกตาอักเสบ เยื่อตาอักเสบ กระจกตาเสื่อม กระจกตาบวม ตาขาวอักเสบ จอตาอักเสบ โรคตาแดง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าความสำคัญของดวงตา ไม่ได้ยิ่งหย่อยไปกว่าอวัยวะอื่นๆในร่างกายเลย หากดวงตาเสื่อมหรือเสียไปก็คงทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบากมากขึ้น ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพของดวงตาให้ดีอยู่เสมอ โดยมีวิธีการดูแลและบำรุงสุขภาพของดวงตาให้ดีได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตา การบริหารดวงตา การกินการบำรุงสายตา และยังมีวิธีที่สามารถทำได้ง่ายๆ แต่มากไปด้วยประโยชน์ต่อดวงตามากมายอย่างการใช้แสงแดดบำรุงสายตาอีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5.

แสงแดดช่วยรักษากระดูก

0
แสงแดดช่วยรักษากระดูก
วิตามินดีในแสงแดดสามารช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกได้
แสงแดดช่วยรักษากระดูก
วิตามินดีในแสงแดดสามารช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกได้

รักษากระดูกด้วยแสงแดด

แสงแดด ที่หลากๆ คนอาจยังไม่ทราบว่า โรคที่เกี่ยวกับสุขภาพของกระดูก สามารถรักษาโดยใช้แสงแดดช่วยรักษากระดูกเป็นตัวช่วยได้ โดยแสงแดดจะไปช่วยสร้างวิตามินดีให้กับร่างกาย ซึ่งวิตามินดี ที่ได้จากแสงแดดถือว่าเป็นวิตามินธรรมชาติ ที่มีคุณภาพสูงก  ว่า การได้รับวิตามินสังเคราะห์จากพวกอาหารเสริม โดยวิตามินดีจะไปช่วยในการควบคุมการดูดแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปสร้าง หรือซ่อมแซมกระดูกโดยตรง

กระดูกคืออะไร ?

กระดูก หรือ Bone เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ( Connective Tissue ) ที่เป็นโครงร่างที่มีความแข็งแรง มีหน้าที่เกี่ยวกับการค้ำจุนและรักษาโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ ในวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว มนุษย์จะมีกระดูกทั้งหมดประมาณ 206 ชิ้น เชื่อมต่อกันเป็นโครงร่าง โดยมี ข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ เป็นตัวยึดเหนี่ยวกระดูกในแต่ละชิ้นให้เชื่อมติดกัน ยกเว้น กระดูกอ่อนโคนลิ้น ที่เป็นกระดูกที่อยู่ในคอ จะเป็นกระดูกเพียงชิ้นเดียวในร่างกายมนุษย์ที่ไม่เกิดข้อต่อเชื่อมกับกระดูกอื่นๆเลย

ประเภทของโครงสร้างกระดูก

โครงสร้างของกระดูกแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ โครงสร้างกระดูกแกน กับโครงสร้างกระดูกรยางค์ ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. โครงสร้างกระดูกแกน ( Axial Skeleton )

โครงสร้างกระดูกแกน ( Axial Skeleton ) คือ ชุดของกระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัวและศีรษะของร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยปกป้องอวัยวะสำคัญในร่างกาย ประกอบไปด้วยกระดูกจำนวน 80 ชิ้น เช่น

  • กระดูกกะโหลกศีรษะ ( Skull ) ภายในกะโหลกศีรษะจะมีลักษณะเป็นโพรงสำหรับ บรรจุสมอง โดยมีกระดูกกะโหลกศีรษะและกระดูกย่อยหลายๆ ชิ้นเชื่อมต่อติดกัน กระดูกกะโหลกศีรษะมีหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันสมอง จากการกระทบกระเทือนต่างๆ
  • กระดูกสันหลัง ( Vertebrae ) เป็นแกนกระดูกชิ้นหลัก ที่ช่วยค้ำจุน และช่วยรองรับน้ำหนักภายในร่างกาย เป็นแนวกระดูกที่ทอดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ เป็นข้อๆ ติดกันด้วยกล้ามเนื้อและเอ็น โดยระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ จะมีแผ่นกระดูกที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก ( Intervertebral Disc ) เป็นกระดูกอ่อน ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เพื่อป้องกันการเสียดสีกันของกระดูกแต่ละชิ้น หากหมอนรองกระดูกเสื่อมจะทำให้รู้สึกปวดหลัง และขยับตัวได้ลำบากมากขึ้น 
  • กระดูกซี่โครง ( Ribs ) เป็นกระดูก ที่มีลักษณะเป็นซี่ๆ จำนวน 12 คู่ ทำหน้าที่ป้องกันบริเวณส่วนอก กระดูกซี่ โครงจะเชื่อมกับกระดูกอก ( Sternum ) ด้วยกระดูกอ่อน ระหว่างกระดูกซี่โครง จะมีกล้ามเนื้อที่คอยยึดซี่โครงทั้งแถบนอกและแถบใน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ โดยซี่โครงขยับเปิดช่องให้ปอดขยายตัวรับอากาศเมื่อหายใจเข้า และหดตัวเมื่อปอดหายใจออกเพื่อบีบอากาศเสียออกไป

2. โครงสร้างกระดูกรยางค์ ( Appendicular Skeleton )

โครงสร้างกระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton)เป็นโครงกระดูกที่อยู่รอบนอกของกระดูกแกน ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวและปกป้องอวัยวะในระบบ การย่อยอาหาร การขับถ่าย และการสืบพันธุ์ มีทั้งหมด 126 ชิ้น ตัวอย่าง เช่น กระดูกไหล่ ( Shoulder Girdle ) กระดูกต้นแขน ( Humerus ) กระดูกข้อมือ ( Carpal Bone ) กระดูกเชิงกราน ( Hip Bone ) และ กระดูกต้นขา ( Femur ) เป็นต้น

หน้าที่สำคัญของกระดูก

นอกจากเป็นโครงสร้างให้กับร่างกายแล้ว กระดูกยังมีหน้าที่อื่นๆ ที่สำคัญ เช่น

1. ป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะต่างๆ กระดูกจะช่วยป้องกันอวัยวะภายในร่างกายที่มีความบอบบาง ไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน หรืออันตรายจากสิ่งภายนอก

2. รักษารูปร่างให้คงที่และทรงตัวได้ กระดูกคอยทำหน้าที่ เป็นโครงร่างให้ร่างกายมนุษย์สามารถรักษารูปทรงอยู่ได้ และช่วยให้มนุษย์สามารถทรงตัวได้ด้วย

3. ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว กระดูกทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งของร่างกาย หากไม่มีกระดูกมนุษย์ก็คงไม่สามารถขยับ หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ 

4. ช่วยให้เกิดการได้ยิน กระดูกช่วยในการนำคลื่นเสียง และช่วยในการได้ยิน เช่น กระดูกค้อน ทั่ง และ โกลน ซึ่งอยู่ในหูตอนกลาง ทำหน้าที่นำคลื่นเสียงผ่านไปยังหูตอนใน ทำให้เกิดการได้ยินขึ้น

5. เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดที่สำคัญต่างๆ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด โดยถูกสร้างขึ้นมาจากไขกระดูก

6. เป็นแหล่งเก็บสะสมแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเก็บแคลเซียมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย

7. เก็บสะสมสารส่งเสริมการเจริญเติบโตบางชนิด เช่น โบน มอร์โฟเจนเนติก โปรตีน ( Bone Morphogenesis Protein หรือ BMPs ) เป็นโปรตีนช่วยในระบบการสร้างกระดูกและกระดูกอ่อน

8. เก็บสะสมไขมันในรูพรุนของกระดูก คือ ไขกระดูกเหลือง

9. รักษาความสมดุลในเลือด ช่วยควบคุมค่าความเป็นกรด ด่างในร่างกายให้คงที่ เมื่อเลือดเป็นด่างมาก กระดูกก็จะดูดซึมสารจำพวกเกลืออัลคาไลน์ ( Alkaline Salts ) เข้ามาเก็บไว้ในกระดูก เมื่อเลือดเป็นกรดมาก กระดูกก็จะปลดปล่อยสารจำพวกเกลืออัลคาไลน์ และแคลเซียมออกสู่กระแสเลือดเพื่อลดความเป็นกรดในเลือด

10. ช่วยสลายพิษในร่างกายพร้อมเนื้อเยื่อ กระดูกสามารถดูดซึม เก็บสะสมโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกายออกมาจากกระแสเลือด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับร่างกาย เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะปกติ กระดูกจะค่อยๆปลดปล่อยโลหะหนักเหล่านี้ออกไปยังม้ามและตับ ให้ขจัดออกทางระบบขับถ่ายต่อไป

11. ควบคุมกระบวนการเผาผลาญฟอสฟอรัส ( Phosphate Metabolism ) ซึ่ง ฟอสฟอรัสเป็นสารอิเล็กโทรไลต์ หรือสารน้ำเกลือ ที่มีบทบาทต่อทั้งการซ่อมสร้างกระดูก

แนวปฏิบัติเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพกระดูกที่แข็งแรง

1.ดื่มน้ำมะพร้าวก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง โดยอาจจะดื่มในช่วงเวลาอาหารเช้า อาการกลางวัน หรือช่วงที่ท้องว่างก็ได้ เนื่องจากในน้ำมะพร้าว จะมีกรดฮอร์โมนที่ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกระดูก นอกจากนี้ในน้ำมะพร้าวยังมากไปด้วยสารอาหารที่ส่งผลดีต่อกระดูกอย่าง โปรตีน แคลเซียม และฟอสฟอรัส โดยการดื่มให้จำกัดปริมาณเพียงครั้งละ 1 ลูกเท่านั้น 

2. เน้นทานอาหารประเภทผักและผลไม้ในมื้อเช้า โดยเลือกผักใบเขียวที่มีแคลเซียมสูง ส่วนผลไม้ให้เลือกตามฤดูกาลเท่านั้น เนื่องจาก จะได้ผลไม้ที่สดใหม่ ไม่ผ่านการอาบรังสี จึงทำให้มีเอนไซม์มาก ซึ่งเอนไซน์เหล่านี้ที่ได้จากผักและผลไม้ จะช่วยในการซ่อมแซมและการสร้างกระดูกได้อย่างดีเลยทีเดียว

3. กินอาหารมังสวิรัติ เช่น ฟองเต้าหู้ ถั่วลันเตา เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ เป็นต้น เพราะเป็นโปรตีนที่ได้จากพืชที่มีแคลเซียมสูง และต้องเป็นอาหารที่ไม่มีรสชาติจัดจ้าน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดในร่างกาย เพราะหากเกิดภาวะเลือดเป็นกรดแล้ว ปริมาณแคลเซียมในร่างกายจะลดลงตามไปด้วย

4. ควบคุมอาหารมื้อเย็น ในการทานอาหารมื้อเย็น ควรเลือกทานอาหารประเภทผักหรือผลไม้สดให้มาก และไม่ควรทานอาหารให้เยอะจนเกินไป

5.ดื่มน้ำเปล่าให้มาก การดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดในปริมาณมากๆ จะช่วยให้การดูดซึมใบอาหารเข้าสู่ร่างกายทำได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดียิ่งขึ้น

6. เลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน มัน และเค็ม เนื่องจากอาหารประเภทนี้หากได้รับในปริมาณมาก อาจจะส่งผลเสียกับเลือด ทำให้เลือดเกิดความเป็นกรดได้ หากเลือดเกิดความเป็นกรดแล้ว กลไกทางร่างกายจะไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูก เพื่อนำแคลเซียมเหล่านั้นไปปรับความสมดุลในเลือดให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งหากเกิดขึ้นบ่อยๆปริมาณแคลเซียมในกระดูกจะลดลงและทำให้กระดูกเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ

7. รู้จักบริหารสภาวะอารมณ์ตนเองให้ดีอยู่เสมอ เพราะเนื่องจากการมีสภาวะอารมณ์ที่ไม่ดี หรือมีความเครียดบ่อยๆ จะส่งผลให้เลือดเป็นกรดและข้น ซึ่งเป็นภาวะอ่อนไหวต่อการสร้างกระดูกอย่างมาก

8. ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ ในแต่ละวันควรให้ร่างกายได้รับปริมาณของแสงแดดที่เพียงพอ โดยอาจใช้วิธีการรับแสงแดด เช่น คว่ำหน้าตากแดด 30-40 นาที และ นอนหงายตากแดดอีก 20-30 นาที และควรเลือกใส่เสื้อผ้าสีอ่อนในการรับแสงแดด เพื่อให้แสงแดดเข้าสู่ผิวหนังได้มากที่สุด โดยเฉพาะสีขาว

9.ระมัดระวังการทานยาแต่ละชนิดโดยเฉพาะยาแก้ปวดหัว เนื่องจากยารักษาโรคแต่ละชนิด หากได้รับในปริมาณที่สูงมากจนเกินไป จะมีผลต่อ กระเพาะอาหาร ตับ และไต และยังส่งผลทำให้สภาวะเลือดเป็นกรดได้ด้วย หากมีอาการปวดหัวอาจใช้วิธีการอื่นในการรักษาเช่น ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กบางชุบน้ำบิดให้หมาดวางบนบริเวณที่ปวดสัก 1 ชั่วโมง เพื่อให้อาการทุเลาลง 

ปัญหาของโรคกระดูกที่หลายคนมักพบเจอ คือการเสื่อมของกระดูกก่อนเวลาอันสมควร ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้กระดูกเสื่อมไปก่อนเวลานี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากการใช้ชีวิตและพฤติกรรมที่ผิดๆ ที่บั่นทอนให้สุขภาพกระดูกค่อยๆแย่ลงจนเกิดเป็นภาวะโรคกระดูกเสื่อมขึ้น ดังนั้นหากไม่อยากให้เกิดภาวะโรคกระดูกเสื่อมกับตนเอง ควรรู้จักดูสุขภาพกระดูกให้ดีให้แข็งแรงอยู่เสมอ และต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลเสียทำลายกระดูกด้วย โดยวิธีการดูแลกระดูกที่ง่ายที่สุด คือ การได้รับปริมาณแสงแดดที่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายนำไปสร้างวิตามินดีที่ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงนั้นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5

MacAdam, David L. (1985). Color Measurement: Theme and Variations (Second Revised ed.). Springer. pp. 33–35. ISBN 0-387-15573-2.

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

0
เบาหวานและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
โสมมีสรรพคุณในการช่วยลดระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
เบาหวานและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
โสม มีสรรพคุณในการช่วยลดระดับน้ำตาล และอินซูลินในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

จากข้อมูลพบว่ามี ผู้เป็นป่วยโรคเบาหวานใช้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ สมุนไพร มากเป็นสองเท่าของผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจไม่น้อยที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ มักให้ความสำคัญกับอาหารเสริมชนิดต่างๆ ที่มีการโฆษณาและขายอยู่ในปัจจุบันนี้ มากว่าการปรับพฤติกรรมการกินและใช้ชีวิตตามที่แพทย์สั่งมา  ผู้ป่วยหลายคนมักหา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีการอวดอ้างสรรคุณว่าดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย และช่วยควบคุมโรคเบาหวานได้ ทั้งที่ในปัจจุบัน ความเป็นจริงยังไม่มีอาหารเสริมตัวไหนที่ได้รับรองทางการแพทย์ว่าสามารถช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ ล่าสุดในปี ค.ศ.2014 สมาคมเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำผู้ป่วยเบาหวานว่า หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรต้องเสริมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรใดๆทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความนิยมในอาหารเสริมลดลงแต่อย่างใด 

ปัจจัยการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน บางคน ที่อาจจำเป็นจะต้องใช้อาหารเสริมชนิดต่างๆ โดยมักมีสาเหตุและจุดประสงค์ ที่จะต้องนำมาใช้เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เสมอและควบคุมได้ยาก
  • มีความจำเป็นต้องงดอาหารบางชนิดที่มีสารอาหารที่ดีและจำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากมีการแพ้อาหาร
  • ได้รับปริมาณอาหารต่ำกว่า 1,600 แคลอรีต่อวัน จากการที่ต้องลดน้ำหนัก ด้วยเหตุผลทางสุขภาพ
  • ได้รับผลกระทบจากปฏิกิริยายาตีกันกับวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด เช่น ยาเมทฟอร์มิน อาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการดูดซึมวิตามินบี 12 ซึ่งส่งผลให้ผลให้เกิดโลหิตจางในเวลาต่อมา ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยาเมทฟอร์มิน จึงควรได้รับการเสริมวิตามินบี 12 ควบคู่กันไป

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับการวิจัยในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

สำหรับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับการวิจัยในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในปัจจุบันมีดังนี้

1. โครเมียม

การเสริมโครเมียมในผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการทดลองใช้กันมานาน โดยผลที่ได้มีทั้งผลในทางบวก และผลในทางที่เป็นลบ ซึ่งผลในทางบวกพบว่าผู้ป่วยที่ทำการเสริมโครเมียมให้กับร่างกายโดยใช้โครเมียมในรูปโครเมียมพิโคลิเนตวันละ 1,000 ไมโครกรัม ร่วมกับยาโรคเบาหวานจะช่วยเพิ่มความไวของอินซูลิน ช่วยให้คุมน้ำตาลได้ดีกว่าการใช้ยาเบาหวานอย่างเดียว และยังช่วยลดน้ำหนักที่มีผลมาจากยาเบาหวานได้อีกด้วย  

ส่วนผลในเชิงลบที่พบคือ การเสริมด้วยโครเมียม ไม่ได้ช่วยในการควบคุมโรคเบาหวานหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแต่อย่างใด แต่กลับให้ผลร้ายตามมาคือ เกิดการปวดท้อง มีอาการผิดปกติเกิดข้นกับกล้ามเนื้อและผิวหนัง นอกจากนี้การเสริมโครเมียมในปริมาณที่สูงมากๆ ยังอาจทำให้ตับและไตวาย เม็ดเลือดแตก ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ อีกด้วย 

2. กิงโกะบิโลบา ( สารสกัดจากใบแปะก๊วย )

กิงโกะบิโลบา เป็นสารที่สามารถสกัดได้จากในใบแปะก๊วย ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยเพิ่มความจำ ช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือกทำงานได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยที่ได้นำสารชนิดนี้ไปใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และพบว่าสามารถช่วยลดอาการดื้อต่ออินซูลินได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์มารองรับที่ชัดเจน ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาต่อไป หากผู้ป่วยเบาหวานคนไหนจะใช้สารชนิดนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด เพราะอาจมีผลขัดกับยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานอยู่แล้ว

3. โสม

โสมถือว่าเป็นสมุนไพรโบราณอีกหนึ่งชนิด ที่มีสรรพคุณมากมาย ช่วยในการรักษาโรคได้หลายชนิด ส่วนที่เกี่ยวกับโรคเบาหวาน มีงานวิจัยพบว่า โสมชนิดเกาหลีมีสรรคุณที่จะช่วยให้ระดับน้ำตาลและอินซูลินดีขึ้นได้ และโสมอเมริกัน ( American Ginseng ) มีผลช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ข้อมูลโสมทั้งสองชนิดนี้ก็ยังคงอยู่ในการวิจัยต่อไป

นอกจากนี้ยัง มีข้อควรระวังหากผู้ป่วยโรคเบาหวานจะใช้โสมทั้ง 2 ชนิดนี้คือ เลี่ยงการใช้โสมถ้าต้องใช้ยาแสไพรินและวาร์ฟาริน เพราะโสมจะลดฤทธิ์การทำงานของยาเหล่านั้น หรือควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้จะดีที่สุด

4. แมกนีเซียม

แมกนีเซียม สามารถพบได้มากในอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อปลา ผักใบเขียว ไข่ นม ถั่วชนิดต่างๆ ธัญพืชชนิดไม่ขัดสี เป็นต้น โดยแมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด ที่ช่วยในการทำงานของคาร์โบไฮเดรตและควบคุมฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย

นักวิจัยเชื่อว่า หากร่างกายขาดแมกนีเซียมจะจะส่งผลกระทบต่อการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน และทำให้อินซูลินทำงานได้ไม่ดี ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักมีระดับแมกนีเซียมสะสมในเลือดต่ำ จาการที่ต้องสูญเสียแมกนีเซียมไปกับปัสสาวะมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน จึงอาจส่งผลต่อโรคแทรกซ้อนในเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ดังนั้นความต้องการแมกนีเซียมในร่างกายจะสูงขึ้นในผู้ที่คุมเบาหวานไม่ดีและในผู้ที่ใช้ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิตจะทำให้แมกนีเซียมถูกขับออกจากปัสสาวะมากขึ้น
มีผลสรุปจากงานวิจัยจำนวน 9 งานที่เกี่ยวกับแมกนีเซียม ว่า การเสริมแมกนีเซียมประมาณ 4-16 สัปดาห์ อาจส่งผลช่วยให้ลดระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้า และยังจะไปช่วยเพิ่มค่า เอชดีแอลคอเลสเตอรอลในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วย แต่ผลระยะยาว ผลข้างเคียง และความปลอดภัยในการใช้ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม
โดยปริมาณแมกนีเซียมที่ควรได้รับต่อวันสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานคือ ไม่ควรเกิน 400 มิลลิกรัมสำหรับผู้ชายอายุ 19 ปีขึ้นไป และ 310-320 มิลลิกรัมสำหรับผู้หญิงอายุ 19 ปีขึ้นไป ซึ่งหากได้รับปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลทำให้เกิดอาการผิดปกติกับร่างกาย เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง กล้ามเนื้ออ่อนแรง การหายใจผิดปกติ และอัตราการเต้นหัวใจลดลง เป็นต้น และหากได้รับในปริมาณมากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/วัน ก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 

5. โอเมก้า-3

โอเมก้า-3 เป็นกรดไขมันชนิดที่พบได้มากในเนื้อปลา โดยเฉพาะในปลาทะเล เช่น ปลาทูน่า ซึ่งจากข้อมูลในการวิจัยยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า โอเมก้า-3 มีผลต่อการควบคุมระดับเบาหวานได้ แต่กลับพบข้อมูลว่า อาหารที่มีโอเมก้า-3 เป็นส่วนประกอบมีผลต่อความเสี่ยงการเกิดเบาหวานได้ แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยปกติแล้ว กรดไขมันโอเมก้า-3 ไม่ให้ผลเสียกับร่างกาย แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยต่อระบบการย่อยอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย นอกจากนี้กรดไขมันโอเมก้า-3 ยังทำให้เลือดหยุดช้าเวลาที่เกิดบาดแผลหากต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรปรึกษาแพทย์

6. วิตามินดีและแคลเซียม

วิตามินดี และ แคลเซียม เป็นสิ่งที่มีประโยชน์และความจำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์ ซึ่งการวิจัยเกี่ยวกับโรคเบาหวาน หลายๆที่ ยังไม่พบว่า วิตามินดีและแคลเซียม สามารถช่วยลดระดับของน้ำตาลในเลือดได้จริง ยังเป็นข้อมูลที่อยู่ระหว่างการศึกษาต่อไป ทั้งนี้หากต้องการเสริมวิตามินดีและแคลเซียมให้กับร่างกาย หากได้รับปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจจะส่งผลทำให้ การดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสีในร่างกายทำได้แย่ลง นอกจากนี้แคลเซียมอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิดได้

7. วาเนเดียม

วาเนเดียม ( Vanadium ) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ทั้งในสัตว์และในพืช แต่การพบมีเพียงปริมาณที่เล็กน้อยเท่านั้น มีงานวิจัยพบว่า วาเนเดียม นี้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในสัตว์ ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ส่วนงานวิจัยในคนพบว่า การเสริมวาเนเดียม ทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีความไวต่ออินซูลินดีขึ้นเล็กน้อย และสามารถลดการใช้ยาฉีดอินซูลินลงได้ แต่ข้อมูลดังกล่าวก็ยังคงต้องรอผลการศึกษาที่ชัดเจนต่อไป

การแพทย์ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การแพทย์ทางเลือก หมายถึง การรวมหลักการทางการแพทย์แผนปัจจุบันและทางเลือกบางอย่างที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีความปลอดภัยและได้ผล โดยจะนำมาใช้ร่วมกัน โดยมีสิ่งที่สำคัญคือ ผู้ป่วยจะต้องแจ้งให้แพทย์แผนปัจจุบันได้ทราบว่าตนเองได้ รับการรักษา หรือ ใช้อาหารเสริม หรือยา ชนิดใดมาแล้วบ้าง เพราะสิ่งที่มีการเสริมเข้าไปอาจจะไปทำปฏิกิริยากับยาโรคเบาหวานได้เช่นกัน ยาแผนปัจจุบัน ได้รับการรับรองว่ามีความบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งปนเปื้อนและกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน ต่างกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพร หรือวิตามินที่วางขายทั่วๆไป ที่แม้จะมีสรรคุณดีๆมากมาย แต่ก็ไม่ได้รับรองหรือการยืนยันทางกานแพทย์ว่าได้ผลและมีความปลอดภัยต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน 

ข้อมูลการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า สารอาหารที่คนส่วนใหญ่ได้รับไม่เพียงพอคือแคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินเอ ซี อี และใยอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กและผู้ใหญ่ได้รับวิตามินดี ไม่เพียงพออีกด้วย

การแพทย์แบบผสมผสานได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยสำหรับการรักษาโรคเบาหวานนั้นซึ่งนอกจากได้รับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ยังอาจใช้วิธีการเสริมด้วยสมุนไพรหรืออาหารเสริมชนิดต่างๆ เข้าไปด้วย แม้ว่าหลายๆงานวิจัยจะให้ผลออกมาเป็นบวกในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ออกมารองรับ เพราะต้องรอให้มีข้อมูลการวิจัยให้ชัดเจนมากกว่านี้เสียก่อน

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเบาหวานต่างๆ

1. วิตามินและแร่ธาตุรวม เป็นสารอาหารที่อาจช่วยละระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลใดๆยืนยันที่ชัดเจน

2. อินทนิลน้ำ ( Lagerstroemia Speciosa ) เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลด ช่วยลดไขมันและความดันโลหิตสูงได้

3. น้ำมันปลา ( 1,000-4,000 มิลลิกรัม/วัน ) ใช้เพิ่มความไวต่ออินซูลิน ลดคอเลสเตอรอล ลดไตรกลีเซอไรด์

4. แมกนีเซียม ( 200-600 มิลลิกรัม/วัน ) ข้อมูลการวิจัยพบว่าผู้ที่เป็นเบาหวานมักมีระดับแมกนีเซียมลดลง การเสริมอาจช่วยให้ร่างกายใช้น้ำตาลได้ดีขึ้นในผู้ป่วยบางคน

5. วิตามินซีและวิตามินอี ข้อมูลการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นเบาหวานมักมีระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดต่ำเชื่อว่าการเสริม วิตามินอี และ วิตามินซี จะช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งส่งผลให้ดระดับต่ำตาลในเลือดลดลงได้

6. โครเมียม (500-1,000 ไมโครกรัม/วัน) เชื่อว่าจะช่วยให้การเผาผลาญน้ำตาลทำดีขึ้น

7. รอยัลเยลลี่ ( Royal Jelly ) รอยัลเยลลี่ หรือเรียกอีกอย่างว่า นมน้ำผึ้ง คือ อาหารเสริม เบาหวานชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหลายๆประเทศ เช่น ฝรั่งเศส , อังกฤษ , อิตาลี , ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยรอยัลเยลลี่นั้น ได้มากจากอาหารของผึ้งนางพญาและตัวอ่อนของผึ้งมีส่วนประกอบของสารอาหารมากมาย ทั้ง โปรตีน ,คาร์โบไฮเดรต,กรดไขมัน ,เกลือแร่ ,วิตามิน และยังรวมไปถึงฮอร์โมนบางชนิด อย่าง เทสทอสเทอโรน เอสโทรเจน โพรเจสเทอโรน และคอร์ติซอลมีรายงายการวิจัยว่ารอยัลเยลลี่นั้น มีสรรพคุณที่หลากหลาย เช่น มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง ,ต้านแบคทีเรีย, ต้านการอักเสบ และอื่นๆ โดยมักจะใช้ได้ดีสำหรับผู้สูงอายุ    

8. วิตามินบีคอมเพล็กซ์อยู่ในส่วนของวิตามินรวม อาจเสริมวิตามินบี6 ( 50-150 มิลลิกรัม/วัน ) และวิตามินบี 12 (1,000-3,000 ไมโครกรัม/วัน) ข้อมูลการวิจัยพบว่าการเสริมจะให้ประโยชน์ในการป้องกันระบบปลายประสาทเสื่อม

9. ไบโอติน ( 2,000-4,000 ไมโครกรัม/วัน ) มีข้อมูลการวิจัยพบว่าการเสริมไบโอตินช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน

10. กรดอัลฟาไลโปอิก ( 300 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์มาก นักวิจัยเชื่อว่าช่วยลดระดับน้ำตาลและให้ผลในการป้องกันระบบปลายประสาทเสื่อมในเบาหวาน แต่ผลการวิจัยที่ผ่านมายังไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่ากรดอัลฟาไลโปอิกช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนในเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ และในปริมาณสูงๆ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับระบบทางเดินอาหาร

11. อีพีโอหรืออีฟนิ่งพริมโรสออยล์ ( 500-1,000 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ) ข้อมูลการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีระดับอีพีโอต่ำ การเสริมจึงอาจช่วยป้องกันการขาดอีพีโอได้

12. ใยอาหารจากบุก ข้อมูลจากการวิจัยพบว่า สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอล ในเลือดให้ต่ำลงได้

13. เห็ดหลินจือ ( Lingzhi Mushroom ) เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรจีนโบราณชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในแถบประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มีสรรพคุณในการรักษาโรคมากมาย เช่น โรคตับ โรคไต ความดันโลหิต โรคหืด ใช้ลดไขมันในเลือด รักษาโรคมะเร็ง เป็นยาบำรุง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้อีกด้วย และสามารถต้านอาการอ่อนเพลียและช่วยรักษาโรคซึมเศร้าได้ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
แต่ในทางการผลวิจัย ยังไม่สามารถที่จะหาหลักฐานมายืนยันได้ว่า เห็ดหลินจือ นั้นสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกายมนุษย์ได้จริง ยังคงต้องรอการศึกษาและวิจัยพัฒนาต่อไป

14. อบเชย ( 500-1,000 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ) เชื่อว่าช่วยควบคุมระดับน้ำตาล

15. สมุนไพรอื่นๆ ที่ให้ประโยชน์ ได้แก่ ชาเขียว ขิง มะระ หอม กระเทียม สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่จะต้องใช้ในปริมาณที่มาก

ถึงแม้ว่าอาหารเสริมชนิดต่างๆ จะมีการอวดอ้างสรรคุณที่มากมายเพียงใด ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องไม่ละทิ้งการมาพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยวิธีการปกติ เพราะในปัจจุบันยังคงไม่มีผลการรับรองใดๆ ที่สามารถยืนยันได้ว่าอาหารเสริมต่างๆ สามารถรักษาและช่วยลดอาการป่วยของผู้เป็นโรคเบาหวานได้จริง อีกทั้งหากใช้แบบไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน ก็อาจมีความอันตรายต่อผู้ป่วยได้เช่นกัน จงจำไว้เสมอว่าโรคเบาหวานมีวิธีในการรักษาที่ดีที่สุดโดยไม่ต้องเสียเงินเสียทองให้มากมายก็คือ การรู้จักดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ รู้จักควบคุมอาหารที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ: บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด,2557.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

Parker, Katrina (2008). Living with diabetes. New York: Facts On File. p. 143. ISBN 9781438121086. Archived from the original on 2017-09-06.

เตรียมพร้อมช็อปปิ้งอาหารลดโรคคุมเบาหวาน

0
เลือกซื้อและเลือกกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์
ผักสีใบเขียวจัดช่วยต้านโรคและยังมีสารแอนติออกซิแดนต์และเส้นใยอาหาร
เลือกซื้อและเลือกกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์
การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ ควรเลือกประเภทของเนื้อที่มีไขมันน้อย และควรเลี่ยงบริเวณเนื้อติดหนังที่มักจะมีปริมาณไขมันที่สูง

 อาหารที่ช่วยลดโรคคุมเบาหวาน

เบาหวาน เกิดได้จากการเลือกกินอาหารตามใจปาก ที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ เป็นสาเหตุหลักสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลให้เกิดโรคชนิดไม่ติดต่อเรื้อรังได้มากมาย เช่น โรคมะเร็ง โรคความดัน โรคไต โรคอ้วน และโรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งมีหนึ่งเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้การกินอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ คือ การเน้นความสะดวกรวดเร็ว ว่องไว ในยุคที่ต้องทำงานแข่งกับ  เวลาเช่นนี้ หลายคนมักเลือกกินอาหารปรุงสำเร็จรูป ที่หาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า รวมถึงร้านอาหารฟ้าสฟูดส์ต่างๆ ซึ่งล้วนมากไปด้วยปริมาณของไขมัน โซเดียม และน้ำตาลที่สูงกว่าการทำอาหารกินเอง ดังนั้นหากต้องการลดความเสี่ยงในการเป็นในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่นับวันจะมีปริมาณของผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงควรเลือกซื้อและเลือกกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ โดยคุณแม่บ้านที่มีหน้าที่หลักในการซื้อและเตรียมสินค้าเข้าบ้าน ควรเลือกซื้อสินค้า และอาหารที่ดีต่อโภชนาการติดบ้านเอาไว้ โดยให้ยึดหลักในการเลือกซื้ออาหารดังต่อนี้

การเลือกซื้อผักและผลไม้

อาหารประเภทผักและผลไม้ เป็นสารอาหารจำเป็นที่ในแต่ละวันต้องกินให้ได้ปริมาณ 5 ส่วนเป็นอย่างน้อย เป็นสิ่งที่คุณแม่บ้านควรซื้อติดบ้านเอาไว้ เพื่อเตรียมเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร หรือจะใช้ทานสดๆ ก็ล้วนเป็นประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น การเลือกซื้อผักและผลไม้สด ควรเลือกทำเป็นลำดับแรก โดยมีหลักการเลือกซื้อดังนี้

1. เลือกซื้อผักและผลไม้สดที่หลากหลาย ไม่ซื้อเพียงใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด

2. เลือกซื้อผักสดและผลไม้ตามฤดูกาลและท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ นอกจากจะได้ผักและผลไม้ที่ราคาถูกแล้ว ยังได้ผักและผลไม้ที่มีความสดอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน จะเป็นช่วงที่จะมีผลไม้มากมาย เช่น แตงโม เมลอน องุ่น ลำไย มะม่วง ซึ่งมีรสชาติอร่อยและคุณภาพดีกว่าในฤดูการอื่นๆ

3. เน้นการเลือกซื้อผักที่มีใบเขียวจัดๆ เช่น ผักสลัด โรเมน ผักสลัดสีแดง หรือผักโขมเนื่องจากผักใบเขียวจัดๆแบบนี้ จะมากไปด้วยสารพฤกษเคมี ( Phytochemicals ) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยต้านโรคและยังมีสารแอนติออกซิแดนต์และเส้นใยอาหารที่ล้วนเป็นประโยชน์ต่อร่ากายทั้งสิ้น นอกจากผักสีใบเขียวจัดแล้ว ยังมีผักสีอื่นที่มีประโยชน์เช่นเดียวกันนี้ ได้แก่ แครอท พริกหวาน ( เขียว แดง และส้ม ) และดอกกะหล่ำ เป็นต้น

4. เลือกผักผลไม้ชนิดอินทรีย์ ( ออร์แกนิก ) ผักและผลไม้ที่นิยมกินทั้งเปลือง เช่น แอปเปิล องุ่น ควรเลือกเป็นแบบชนิดอินทรีย์หรือแบบออร์แกนิกแทน เพราะเป็นชนิดผักและผลไม้ที่ปลูกโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง มีความปลอดภัยมากว่า แต่ก็จะมีราคาที่สูงกว่าชนิดปกติค่อนข้างมากเช่นกัน

ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการกินอาหารประเภทผักและผลไม้

  • ผักที่เก็บไว้นาน หรือใกล้จะเริ่มเหี่ยวแล้ว อาจใช้การดัดแปลงเมนูอาหาร เช่นนำต้มเป็นจับฉ่าย เป็นต้น ดีกว่าการนำไปทิ้ง ส่วนการเก็บรักษาที่ควรทำคือนำไปลวกและแช่งแข็งเอาไว้
  • หากมีสมาชิกในครอบครัว ไม่ชอบทานผักหรือผลไม้ ให้ใช้วิธีการ นำผักหรือผลไม้ มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และผสมในอาหารปกติที่กินอยู่เป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารที่ครบถ้วน 
  • เลี่ยงการทานผักกระป๋อง เพราะส่วนมากจะมีเกลือโซเดียมผสมอยู่ในปริมาณที่สูง ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อร่างกาย ส่วนการกินผลไม้กระป๋อง ควรเลือกทานชนิดที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย
  • หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารประเภทผักและผลไม้ด้วยเครื่องปรุงรสจัด หรือใช้ปริมาณของน้ำมันที่สูง
  • ควรเลือกซื้อผลไม้ เช่น แอปเปิล กล้วย องุ่น ที่สามารถหาได้ง่าย ล้างให้สะอาดและวางไว้ในบริเวณบ้าน ที่สามารถหยิบกินได้ง่าย เช่น ในตู้เย็น บนโต๊ะอาหาร เพื่อให้คนในครอบครัวได้กินผลไม้บ่อยๆ
  • เลือกดื่มน้ำผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ให้มากจนเกินไป แม้ว่าน้ำผลไม้จะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การดื่มปริมาณที่มากเกินไปอาจได้รับปริมาณพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายใช้ไม่หมด ปริมาณที่เหมาะสมไม่ควรเกิน วันละ 120-240 มิลลิลิตร และควรเลือกแบบชนิดไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม

การเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์

อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ถือว่าเป็นสารอาหารประเภทโปรตีนที่สำคัญชนิดหนึ่งของร่างกาย และเป็นส่วนประกอบหลักในการปรุงอาหารแต่ละวัน เนื้อสัตว์ส่วนมากที่คนไทยนิยมกินกัน เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อปลา เป็นต้น ซึ่งมีหลักในการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ดังต่อไปนี้

1. เน้นการซื้อเนื้อสัตว์ประเภทปลา โดยเฉพาะเนื้อปลาทะเล เนื่องจากมีเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ โปรตีนสูงและมากไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์อย่าง โอเมก้า 3 ปริมาณที่แนะนำให้กินคือ ควร กินเนื้อปลาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และควรกินเนื้อแดงจากสัตว์อื่นๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เพียงเดือนละ 2-3 ครั้ง เท่านั้น

2. เลือกส่วนเนื้อสัตว์ที่ไขมันน้อย การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ ควรเลือกประเภทของเนื้อที่มีไขมันน้อย เช่น บริเวณเนื้อสะโพก เนื้อช่วงอก และควรเลี่ยงบริเวณเนื้อติดหนังที่มักจะมีปริมาณไขมันที่สูง

3. การเลือกซื้อเนื้อบดสำเร็จรูป หากต้องการซื้อเนื้อบด ควรเลือกซื้อเนื้อแดงและนำไปให้แผนกเนื้อบดให้ใหม่ ไม่ควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่มีการบดสำเร็จรูปไว้แล้ว เนื่องจากมักจะมีส่วนผสมของมันค่อนข้างมาก 

4. หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปต่างๆ เช่น แฮม ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น เนื่องจากอาหารแปรรูปเหล่านี้ จะมากไปด้วยปริมาณของโซเดียมและไขมัน แต่หากต้องการซื้อจริงๆ ควรดูฉลากโภชนาการประกอบ โดยเลือกชนิดที่มีปริมาณของโซเดียมและไขมันต่ำที่สุด

5. รักษาสภาพเนื้อสัตว์ให้สดใหม่เสมอ หากร้านค้าที่ต้องไปซื้อเนื้อสัตว์อยู่ห่างไกลจากบ้านมาก หรือทางที่ไปมีสภาพการจรจรที่ติดขัดเวลาซื้อเนื้อสัตว์ควรจะขอน้ำแข็งถุงใหญ่จากผู้ขาย หรือเตรียมกล่องโฟมสำหรับรักษาความเย็นไปใช้แช่เนื้อสัตว์ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อสัตว์เน่าเสียระหว่างทาง หรือมีแบคทีเรียเกิดขึ้น

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทนม

นม เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลายคนมักซื้อติดตู้เย็นติดบ้านเอาไว้ เนื่องจากสามารหยิบมาทานได้ง่าย มีคุณค่าทางอาหารที่หลากหลายทั้ง โปรตีน แคลเซียม วิตามินบี และแร่ธาตุอีกหลายชนิด บางคนใช้ทานแทนอาหารเช้าในวันที่เร่งด่วนต้องรีบออกจากบ้าน ซึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทนม ก็มีมากมายหลายชนิดให้ได้เลือกซื้อ ทั้งนมที่มาจากสัตว์ หรือ นมที่ได้จากพืช โดยการเลือกซื้อให้ยึดหลักการดังต่อไปนี้

1. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์นมชนิดที่เป็นรสจืด พร่องมันเนย นมขาดมันเนย หรือชนิดที่มีไขมันเป็น 0% แทนการเลือกนมที่ไขมันสูง และรสชาติต่างๆ ที่มากไปด้วยน้ำตาล

2. อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบคุณค่าทางโภชนาการ และควรเน้นชนิดที่มีไขมันต่ำ ปริมาณน้ำตาลที่น้อย

3. ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมชนิดอื่นๆ หรือ อาหารที่จัดเป็นอาหารทดแทนนม เช่น นมอัลมอนด์ จะมีปริมาณสารอาหารที่น้อยกว่านมปกติ ควรเลือกทานนมแบบปกติจะได้คุณค่าทางอาหารที่ดีที่สุด 

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แผนกเบเกอรี่

ผลิตภัณฑ์ประเภทเบเกอรี่ ได้แก่ ขนมปัง เค้ก คุ้กกี้ ขนมต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนชื่นชอบ ในรสชาติและกลิ่นที่หอมชวนกิน แต่ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้เป็นอาหารชนิดที่ให้พลังงานสูง และมักมายไปด้วยแป้งและน้ำตาล ดังนั้นจึงมีหลักในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเบเกอรี่ ดังต่อไปนี้

1. ก่อนเลือกซื้อขนมปัง หรือ ผลิตภัณฑ์ประเภทเบเกอรี่ชนิดต่างๆ ให้ตรวจสอบข้อมูลโภชนาการ จากฉลากโภชนาการเสียก่อน โดยควรเลือกชนิดที่มีใยอาหารสูง หรือมากกว่า 2 กรัมต่อแผ่น

2. ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งชนิดไม่ขัดสี อย่างเช่น แป้งโฮลวีตชนิด 100 เปอร์เซ็นต์ แทนการกินขนมที่มีส่วนประกอบของแป้งชนิดขัดสี

ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการกินอาหารหมวดเบเกอรี่

– กรณีที่มีสมาชิกในครอบครัวไม่กินขนมปังชนิดโฮลวีต อาจะใช้วิธีการทำเป็นแซนวิชโดยเลือกไส้ที่ชอบ แล้วใช้ขนมปังด้านบนเป็นขนมปังขาว และใช้ขนมปังโฮลวัตอยู่ด้านล่าง เมื่อเริ่มปรับตัวกับการกินได้แล้ว ให้เปลี่ยนเป็นขนมปังโฮลวีตทั้ง 2 แผ่น

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป

ในยุคทีต้องการความรวดเร็ว ทำงานแข่งกับเวลา ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปเป็นตัวเลือกที่หลายคนให้ความสนใจ เนื่องจากมีความสะดวกสบาย และช่วยประหยัดเวลากว่าการปรุงอาหารขึ้นมาเอง แต่ในความสะดวกสบายนี้ อาหารสำเร็จรูปก็มีข้อควรระวังในการเลือกซื้อมากว่าอาหารชนิดอื่นๆ ซึ่งมีข้อแนะนำในการเลือกดังต่อไปนี้

1. เลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ประเภทเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ แฮม เบคอน เป็นต้น

2. เลี่ยงอาหารสำเร็จรูปประเภทอาหารทอด หรืออาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไก่ทอด หมูทอด 

3. การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทานคู่กับสลัด เช่น น้ำสลัด มายองเนส ควรเลือกประเภทที่ไขมันต่ำ และมีปริมาณน้ำตาลน้อย เพราะถึงแม้ว่าจะได้ประโยชน์จากผักในสลัดแต่ก็อาจได้รับโทษจากน้ำสลัดได้เช่นกัน

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร และเครื่องเทศ

สมุนไพร และเครื่องเทศ มักเป็นสิ่งที่หลายๆบ้านมีติดไว้เสมอ เพื่อใช้สำหรับการประกอบอาหารชนิดต่างๆ เป็นวัตถุดิบที่หาซื้อได้ตลอดปี ราคาไม่แพง และยังเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย ในการเลือกซื้อสมุนไพร และเครื่องเทศ มีหลักการง่ายๆคือ ให้เลือก สินค้าที่สดใหม่ และต้องระมัดระวังเรื่องเชื้อราหากเก็บรักษาได้ไม่ดีเพียงพอ

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ลดราคา

ห้างสรรพสินค้า หรือ ร้านค้าต่างๆ มักมีผลิตภัณฑ์ลดราคาต่างๆ มาดึงดูดลูกค้าให้เข้าไปซื้อสินค้า อาหารก็เป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่มักถูกนำมาจัดโปรโมชั่นให้น่าสนใจ เช่น การลดราคาต่ำกว่าปกติ การซื้อแล้วมีของแถม ซึ่งหากมองในแง่ของความคุ่มค่าถือว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคได้กำไร แต่ในด้านสุขภาพการเลือกซื้อสินค้าชนิดนี้ ควรมีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อคือ

1. เลือกซื้อสินค้าลดราคาหรือสินค้าโปรโมชั่น เฉพาะอาหารประเภทผักและผลไม้ หรืออาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น และซื้อในปริมาณเท่าที่จำเป็น ไม่ให้มากจนเกินไป

2. ตรวจสอบวันหมดอายุสินค้านั่นๆก่อนซื้อ เนื่องจากหลายๆที่มักนำสินค้าที่ใกล้หมดอายุมาจัดโปรโมชั่น

ซุ้มชิมอาหารกับความอันตราย

เรามักได้เห็นซุ้มชิมอาหารต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า ที่ผู้ประกอบการหลายหลายใช้วิธีนี้ในการโปรโมทผลิตภัณฑ์อาหารของตนเอง ซึ่งมีการจัดอาหารเป็นถ้วยเล็กๆให้ได้ชิมพร้อมกับเสนอขายสินค้านั้นไปในตัว มีข้อแนะนำเกี่ยวกับเรื่องซุ้มชิมอาหารคือ ไม่ควรชิมอาหารตามซุ้มต่างๆในขณะที่ท้องว่างหรือหิว เนื่องจากช่วงเวลาแบบนี้ทำให้การชิมอาหารแต่ละอย่างได้รสชาติมากยิ่งขึ้น ชิมอะไรก็อร่อย เมื่ออร่อยก็จึงทำการซื้อผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆกลับบ้านมา และการชิมอาหารตามซุ้มแบบนี้ แม้จะเป็นอาหารถ้วยเล็กๆ แต่หากชิมพร้อมกันหลายๆผลิตภัณฑ์ ก็อาจทำให้ได้รับสารอาหารที่เกินความจำเป็นต่อร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการชิมอาหารตามซุ้มเอาไว้ด้วย 

การกินอาหารแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากไม่ระมัดระวังเรื่องปริมาณและประเภทอาหารก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งนอกจากจะต้องจำกัดปริมาณและประเภทอาหารแล้ว สิ่งที่ควรให้ความสำคัญอีกหนึ่งสิ่งคือ การเตรียมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารติดไว้ที่บ้าน เนื่องจากหากเราซื้อผลิตภัณฑ์อาหารชนิดที่มีประโยชน์ติดบ้านเอาไว้ ก็จะส่งผลให้ได้รับประโยชน์จากการกินอาหารต่างๆนี้ เข้าไปด้วย แต่หากเราเตรียมอาหารที่ไม่ดีติดบ้านไว้ แน่นอนว่าเราเองก็จะได้รับอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเช่นกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า เลือกซื้ออย่างใดร่างกายก็จะได้รับเช่นนั้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯซ บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัดม 2557.

สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

แก้ว กังสดาลอำไพ. ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับอาหาร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. หมอชาวบ้านว 2531.
งานวิจัยเกาหลี [เว็บไซต์]. เข้าถึงจาก www.diabassocthai.org.

วิธีวิ่งหนีโรคแทรกซ้อนเบาหวาน

0
วิธีวิ่งหนีโรคแทรกซ้อนเบาหวาน
โรคแทรกซ้อนเบาหวาน หมายถึง การเกิดภาวะของโรคชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยโรคอาจมีความรุนแรงมากหรือน้อยก็ได้
วิธีวิ่งหนีโรคแทรกซ้อนเบาหวาน
โรคแทรกซ้อนเบาหวาน หมายถึง การเกิดภาวะของโรคชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยโรคอาจมีความรุนแรงมากหรือน้อยก็ได้

โรคแทรกซ้อนเบาหวาน

โรคเบาหวานอาจดูเหมือนเป็นโรคธรรมดา ที่ไม่ได้ร้ายแรง ไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายจนถึงชีวิต เป็นโรคที่มีผู้ป่วยมากมายแต่ยังคงใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ เพียงแค่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในค่ามาตรฐานปกติ แต่ทั้งนี้ยัง มีภัยเงียบอีกชนิดหนึ่งที่มักจะมาพร้อมกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก็คือ ภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งโรคต่างๆเหล่านี้ บางชนิดของโรคเป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคสูงมาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่น้อยเลย ดังนั้นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องระมัดระวัง นอกจากระดับน้ำตาลไม่เลือดแล้วก็ต้องคอยตรวจสอบร่างกายตนเองไม่ให้เกิดภาวะ โรคแทรกซ้อนเบาหวาน จากโรคแทรกซ้อนต่างๆต่างๆ อีกด้วย 

โรคแทรกซ้อนเบาหวานคืออะไร

โรคแทรกซ้อนเบาหวาน หมายถึง การเกิดภาวะของโรคชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว โดยอาจมีทั้งโรคที่มีชนิดความรุนแรงของโรครุนแรงสูง หรือ โรคที่มีชนิดความรุนแรงของโรคต่ำก็ได้ ซึ่งภาวะของโรคแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยเบาหวานขาดการควบคุมระดับน้ำตาลตนเองให้ดี และยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ป่วยเป็นเบาหวานด้วย หากยิ่งเป็นเบาหวานระยะเวลานานเท่าใด โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนก็จะมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ ชนิด2 มักจะมีโรคแทรกซ้อนในระยะยาว

โรคแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคแทรกซ้อนที่เรามักพบได้บ่อยๆ ในผู้ป่วยเบาหวานมีดังต่อไปนี้

1. โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้มากในผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานได้จำนวนมาก ประมาณ 2 ใน 3

วิธีการป้องกัน : ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต้องควบคุมระดับความดันโลหิตในอยู่ในค่ามาตรฐาน ไม่ให้เกิน 140 / 90 เพื่อป้องกันไม่ให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนักเกินไป และควรวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่ไปพบแพทย์

2. โรคไต การที่ร่างกายมีระดับของน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติ จนเกิดเป็นโรคเบาหวาน จะส่งผลให้ไต ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ขับของเสีย และสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้น หลอดเลือดฝอยในไตจะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง เมื่อหลอดเลือดฝอยในไตเสื่อมมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์จะทำให้การขับถ่ายของเสียลดลง มีของเสียในเลือดคั่งและเกิดภาวะไตวายในที่สุด

วิธีการป้องกัน : ควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตในเลือด ให้อยู่ในค่ามาตรฐาน ไม่ให้สูงหรือต่ำจนเกินไป ซึ่งจะช่วยลดภาระกานทำงานของไตลงได้ นอกจากนี้ควรตรวจค่าการทำงานของไตเพิ่มเติม ได้แก่

  • ครีอะตินิน Creatinine ระดับปกติในชายคือ 0.6 – 1.2 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในหญิง 0.5 – 1.1 มิลลิกรัม / เดซิลิตร
  • บียูเอ็น ( BUN ) ระดับปกติคือ 10 – 20 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ ควรตรวจสุขภาพไตทุก 1 – 3 ปี โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวานเกิน 5 ปีขึ้นไป 
  • ไมโครอัลบูมิน ( โปรตีนชนิดหนึ่งที่รั่วออกมาในปัสสาวะ ) ระดับปกติคือ < 30 ไมโครกรัม / มิลลิกรัม

3. โรคเกี่ยวกับดวงตา โรคเกี่ยวกับดวงตา ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยอาการเกี่ยวกับดวงตามราพบเจอ เช่น อาการเบาหวานขึ้นตา โรคตาเป็นต้อหินหรือต้อกระจก เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา อาจมีผลร้ายแรงทำให้ตาบอดได้เลยทีเดียว

วิธีการป้องกัน : ควรตรวจสุขภาพของดวงตาปีละครั้ง หรือทุก 1 – 2 ปี และหมั่นควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในค่าปกติ ไม่ให้มีค่าสูง เนื่องจาก หากค่าน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลระดับน้ำตาลในตาสูงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้สารซอร์บิทอล ( Sorbitol ) สะสมในเลนส์แก้วตา จนทำให้เลนส์แก้วตาหนาขึ้น มีลักษณะคล้ายคนสายตาสั้น และเป็นต้นเหตุในการเกิดโรคต่างๆเกี่ยวกับตา

4. โรคหลอดหัวใจและโรคหลอดเลือดในสมอง ทั้ง 2 โรคนี้ ล้วนมีสาเหตุหลักมาจากการมีระดับปริมาณของไขมันในเลือดสูง ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงในโรคชนิดนี้สูงกว่าคนปกติประมาณ 2-3 เท่าตัว เป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคสูงมากชนิดหนึ่ง ที่มีผู้เสียชีวิตในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก และมักเกิดขึ้นกับผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานมานานแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง

วิธีการป้องกัน : ผู้ป่วยต้องคอยคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมาตรฐาน ให้ได้ตามระดับต่อไปนี้

คอเลสเตอรอลรวม < 200 มิลลิกรัม / เดซิลิตร
แอลดีแอลคอเลสเตอรอล < 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ( ค่าที่แนะนำคือ <70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร )
เอชดีแอลคอเลสเตอรอล > 40 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ( ผู้ชาย )
>50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ( ผู้หญิง )

 

5. บาดแผลและโรคเกี่ยวกับเท้า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานควรระมัดระวังไม่ให้เกิดแผลตามตัว เพราะแผลที่เกิดขึ้นนั้นจะหายยากและช้ากว่าคนปกติ โดยเฉพาะแผลที่บริเวณเท้า หากเกิดขึ้นแล้วต้องระมัดระวังการติดเชื้อมากเป็นพิเศษ เพราะหากติดเชื้อแล้ว ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดอาจจะต้องตัดขานั้นทิ้งเลยทีเดียว

วิธีการป้องกัน : ผู้ป่วยควรระวังไม่ให้เกิดแผลขึ้นกับตนเองโดยเฉพาะบริเวณเท้า และควรตรวจสุขภาพเท้าทุก 6 – 12 เดือน เป็นประจำ 

6. โรคอื่นๆ นอกจากดังกล่าวที่ยกตัวอย่างแล้ว ภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆอาจเจอได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เช่น โรคเกี่ยวกับปาก โรคเกี่ยวกับระบบผิวหนัง และโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เป็นต้น

ข้อแนะนำการเกิดโรคแทรกซ้อนเบาหวาน

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หากไม่อยากให้ภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • หมั่นตรวจสอบระดับน้ำตาลในร่างกายอยู่เสมอ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยอาจไปให้แพทย์เจาะเลือดตรวจที่โรงพยาบาล หรือ ใช้วิธีการตรวจสอบด้วยตนเอง จากเครื่องตรวจสอบระดับน้ำตาลที่ปลายนิ้ว หากพบว่าระดับน้ำเริ่มผิดปกติผู้ป่วยจะได้รู้ตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้ป่วยควรหาเวลาว่างในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที ซึ่งในการออกกำลังกายผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
  • พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก ผู้ป่วยควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและสุขภาพช่องปากปีละ 2 ครั้ง เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะมีอาการโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับช่องปากได้บ่อยกว่าคนปกติ
  • ทานยาที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาจากแพทย์ เพื่อใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาล ดังนั้นให้ทานให้ครบตามที่แพทย์สั่ง และไปพบแพทย์อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  • ตรวจสอบสุขภาพเท้าและเล็บให้ดีอยู่เสมอ เนื่องจากเท้าเป็นอวัยวะที่สำคัญชนิดหนึ่งในร่างกาย ผู้ป่วยต้องคอยระมัดระวังการเกิดบาดแผลที่เท่า เพื่อให้ไม่เกิดการติดเชื้อ หากมีบาดแผลหรืออาการผิดปกติใดๆกับเท้าเกิดขึ้น ควรเข้าพบเพื่อปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
  • หมั่นตรวจสอบความดันโลหิต ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นสิ่งที่อันตรายกับร่างกายมาก ผู้ป่วยจึงควรตรวจวัดระดับความดันในเลือดอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ หากมีความผิดปกติให้เข้าพบแพทย์โดยทันที

โรคแทรกซ้อนเบาหวาน หมายถึง การเกิดภาวะของโรคชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว โดยอาจมีทั้งโรคที่มีชนิดความรุนแรงของโรครุนแรงสูง หรือ โรคที่มีชนิดความรุนแรงของโรคต่ำก็ได้

การตรวจสอบและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 

จะเห็นได้ว่า ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน รวมทั้งภาวะ การเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานก็คือ ระดับน้ำตาลในเลือดนั่นเอง ดังนั้นการหมั่นควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ให้อยู่ในค่าปกติเสมอจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ปัจจุบันเทคโนโลยี การแพทย์ก้าวหน้าไปเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถตรวจสอบวัดระน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเองแล้ว จากเครื่องวัดระดับน้ำตาลที่ปลายนิ้ว เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้อย่างง่ายและพกพาติดตัวได้สะดวก ผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องไปโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจสอบระดับน้ำตาลเหมือนในอดีต ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง และที่สำคัญช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจาก เมื่อผู้ป่วยสามารถตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเองแล้ว จึงทำให้สามารถทำการตรวจได้บ่อยตามที่ตนเองต้องการ

นอกจากการตรวจวัดระดับน้ำตาลบ่อยๆ แล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำคือ การวิเคราะห์และตรวจสอบว่า อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวานที่บริโภคในแต่ละมื้อมีอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไรที่ทำให้ระดับน้ำตาลแปรปรวน จากนั้นจึงจัดการปรับการกินให้ระดับน้ำตาลเข้าสู่ระดับปกติในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายของตนเอง สิ่งนี้จะช่วยทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายเป็นเรื่องที่ไม่ยากอีกต่อไป

เป้าหมายระดับน้ำตาลที่ดีในการควบคุมเบาหวาน
ระยะเวลา สมาคมโรคเบาหวาน แห่งสหรัฐอเมริกา ( ADA ) สมาพันธ์โรคเบาหวาน นานาชาติ ( IDF )

ก่อนอาหาร 90 – 130 < 110
หลังอาหาร 2 ชั่วโมง < 180 < 140
ค่าน้ำตาลเฉลี่ย ( HbA1c ) < 7 % < 6.5 %

ข้อแนะนำในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

เนื่องจากเบาหวานมีหลายประเภท การตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดจึงอาจแตกต่างกันออกไป จึงมีข้อแนะนำในการตรวจดังต่อไปนี้

1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ที่ต้องฉีดอินซูลิน ควรตรวจระดับน้ำตาลวันละ 4 ครั้ง คือ ก่อนอาหารแต่ละมือ เช้า กลางวัน เย็น และเวลาก่อนนอน โดยในช่วงแรกอาจทำติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์เพื่อให้เรียนรู้ระดับน้ำตาลปกติของตนเองก่อน จากนั้นจึงค่อยลดการตรวจลงเหลือวันละ 1-2 ครั้ง

2. สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้การรักษาด้วยวิธีการกินยาและใช้การออกกำลังกายร่วม ความถี่การตรวจวัดระดับน้ำตาลอาจทำเพียงแค่ 1 -2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว 

3. ผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน เช่น วิตามินซี อาจมีผลต่อค่าระดับน้ำตาลที่อ่านได้ โดยวิตามินซีปริมาณสูงมากๆ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติได้

4. ผู้ที่ใช้ยาบางชนิด เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน ก็อาจมีผลต่อค่าระดับน้ำตาลที่อ่านได้เช่นกัน โดยแอสไพรินอาจทำให้ระดับน้ำตาลต่ำลงได้ เป็นต้น

ค่าความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด

ค่าความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด สามารถเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ ก็คือ สภาวะน้ำตาลในเลือดที่ต่ำกว่าปกติ และสภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุหลักในการเกิดก็คือ การควบคุมระดับน้ำตาลที่ไม่ดีเพียงพอของผู้ป่วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ

หมายถึง สภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานปกติ

อาการของผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

ผู้ที่มีภาวะของระดำน้ำตาลต่ำกว่าปกติ โดยทั่วไปจะมีอาการที่พบได้ดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดและมึนศีรษะบ่อยๆ
  • ตาพร่ามัวหรือเห็นภาพซ้อน
  • ตัวเย็น เหงื่อออก หัวใจเต้นแรงและเร็ว
  • ชาบริเวณปลายนิ้วมือและรอบปาก
  • มีภาวะอารมณ์หงุดหงิดง่าย
  • หากมีอาการรุนแรง อาจชักและหมดสติได้ 

สาเหตุของภาวะน้ำตาลต่ำ

  • กินอาหารมื้อหลักหรืออาหารว่างๆไม่ตรงเวลา รวมถึงการงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
  • ได้รับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าปกติในมื้อล่าสุดก่อนตรวจระดับน้ำตาล
  • ออกกำลังกายมากกว่าปกติ นานเกินไป หรืออกแบบหักโหม
  •  ฉีดอินซูลินเกินขนาด ทำให้น้ำตาลต่ำกว่าปกติ
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในขณะท้องว่าง
  • ตับหรือไตทำงานมีการทำงานที่ผิดปกติ
  • กินวิตามินหรือ ยาในกลุ่มของแอสไพรินก่อนหน้าการตรวจเลือด

วิธีแก้ไขเมื่อเกิดเหตุน้ำตาลต่ำ

หากทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วพบว่า ตนเองมีระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำกว่าปกติ ให้ใช้วิธีการต่อไปนี้แก้ไขในเบื้องต้น แต่หากทำตามแล้วยังไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์จะดีที่สุด

  • หากระดับน้ำตาลที่วัดได้มีค่าต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้ทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตปริมาณ 15 กรัม เพื่อช่วยปรับระดับน้ำตาลให้สูงขึ้น
  • หากระยะเวลาผ่านไปเกิน 15 นาที แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ผลการตรวจวัดระดับน้ำตาลยังคงต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ให้เพิ่มการทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตปริมาณเข้าไปอีก 15 กรัม
  • ทำการตรวจสอบนะดับน้ำตาลอีกครั้ง หากยังไม่ดีขึ้นให้ทำต่อไป จนระดับน้ำตาลกลับเข้าสู่ค่ามาตรฐาน
  • ในอาหารมื้อถัดไป ให้ทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นจากปกติอีก 15 กรัม
  • ตัวอย่างอาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน ประเภทคาร์โบไฮเดรตปริมาณ 15 กรัม เช่น น้ำอัดลมชนิดปกติ 120-180 มิลลิลิตร , ลูกเกด 2 ช้อนโต๊ะ,นมพร่องไขมันหรือนมขาดมันเนย 1 ถ้วยตวง หรือ 240 มิลลิลิตร , น้ำตาลหรือน้ำผึ้ง 3 ช้อนชา , น้ำผลไม้ 100 เปอร์เซ็นต์ ½ ถ้วยตวง หรือ 120 มิลลิลิตร เป็นต้น
  • ไม่ควรใช้น้ำตาลเทียม เนื่องจาก จะไม่ช่วยในการเพิ่มระดับน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลขึ้นช้า

การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ

  • กินอาหารให้ตรงเวลาสม่ำเสมอ   
  • หากต้องเดินทางไปข้างนอก ควรเตรียมอาหารปะเภทคาร์โบไฮเดรตติดตัวไว้เสมอ
  • หมั่นตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาก่อนเข้านอน
  • ศึกษาข้อมูลทางด้านโภชนาการอาหารสำหรับคนเป็นเบาหวานแต่ละชนิด เพื่อให้ทราบปริมาณของน้ำตาลในอาหารนั้นๆ
  • ฉีดอินซูลินตามเวลาที่ควรฉีด หรือตามที่แพทย์แนะนำ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่หักโหมเกินไป และควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในการออกกำลังกาย

2. ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ

หมายถึง สภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์มาตาฐานปกติ

อาการของผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

ผู้ที่มีภาวะของระดำน้ำตาลสูงกว่าปกติ โดยทั่วไปจะมีอาการที่พบได้ดังต่อไปนี้

  • รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ ปวดศีรษะ
  • ตาพร่ามัว การมองเห็นไม่ชัดเจน
  • มีอาการกระหายน้ำ และปัสสาวะบ่อยๆ
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย

สาเหตุของภาวะน้ำตาลสูง

  • กินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินปกติ จากมื้ออาหารล่าสุด
  • ขาดการกินยาหรือฉีดอินซูลิน หรือใช้ปริมาณที่ผิดปกติ จากตามที่แพทย์สั่ง
  • มีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือ เกิดภาวะเครียดขึ้นทางจิตใจ
  • เกิดจากการพักผ่อนน้อย นอนหลับไม่เพียงพอ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. 

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯซ บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัดม 2557.

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์ม 2557.

สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

แก้ว กังสดาลอำไพ. ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับอาหาร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. หมอชาวบ้านว 2531.
งานวิจัยเกาหลี [เว็บไซต์]. เข้าถึงจาก www.diabassocthai.org.