Home Blog Page 163

การปฏิบัติตนในการกินอาหารในโอกาสต่างๆของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

0
การวางแผนและการปฏิบัติตนในโอกาสต่างๆของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การปฏิบัติที่ดีที่สุดของผู้ป่วยโรคเบาหวานก็คือ การทานอาหารให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และรู้ว่าอาหารชนิดใดที่ควรหลีกเลี่ยง
การวางแผนและการปฏิบัติตนในโอกาสต่างๆของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การปฏิบัติที่ดีที่สุดของผู้ป่วยโรคเบาหวานก็คือ การทานอาหารให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และรู้ว่าอาหารชนิดใดที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน

ในปัจจุบันงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ เปรียบเสมือนกิจกรรมอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไปแล้ว กิจกรรมงานสังสรรค์เกิดขึ้นได้ตามโอกาสมากมาย อย่างเช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงรุ่น งานเลี้ยงปีใหม่ วันครบรอบต่างๆ หรือกิจกรรมการพบปะกันของครอบครัวหรือเพื่อนฝูง ที่นานๆจะได้มีโอกาสอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน เป็นต้น  งานเลี้ยง สังสรรค์เป็นกิจกรรมที่มีความสุขและสร้างความสนุกให้กับใครหลายๆคน  ไม่ว่าจะเป็น การได้พบปะพูดคุยกัน การได้ฟังเพลงหรือดนตรีในงาน รวมกระทั่งเมนูอาหารอร่อยต่างๆให้ได้กินกันอย่างเต็มที่อีกด้วย แต่ทั้งนี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานก็ยังคงมีข้อสงสัยว่าตนเองสามารถใช้ชีวิตไปงานเลี้ยงสังสรรค์ตามปกติเหมือนคนทั่วไปได้หรือไม่ และ อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน เป็นอย่างไร ต้องปฏิบัติตนเองอย่างไร ซึ่งมีคำตอบและข้อแนะนำที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานดังต่อไปนี้

ผู้ป่วยเบาหวานกับการไปงานเลี้ยง

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก็คงอาจมีความวิตกกังกลเกิดขึ้นในการไปงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ รวมถึงการไปทานอาหารนอกบ้าน และการเดินทางไปในที่ไกลๆด้วย  เนื่องจากต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติ ไม่สามารถทานอาหารได้ตามใจชอบ หรือใช้ชีวิตแบบไม่มีระเบียบ ได้เหมือนกับคนที่มีร่างกายปกติ  ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่สามารถไปร่วมงานเลี้ยงหรือกิจกรรมต่างๆ การออกไปทานอาหารนอกบ้าน รวมถึงการเดินทางไปในที่ต่างๆได้เหมือนคนทั่วไป เพียงแต่ต้องรู้จักวิธีปฏิบัติตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันและการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายของตนเอง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำจนเกินไป

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อต้องไปงานเลี้ยงในลักษณะต่างๆ

การกำหนดรูปแบบงานเลี้ยงในงานสังคมในปัจจุบันนี้ มีมากมายหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับผู้จัดงานว่าต้องการกำหนดให้เป็นแบบไหน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานควรต้องรู้และต้องคอยปฏิบัติตัวเองให้ถูกต้องตามลักษณะงานที่จัดเลี้ยงขึ้น ดังต่อไปนี้

1. งานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ ( แบบค็อกเทล ) งานเลี้ยงแบบค็อกเทล จะมีลักษณะของงานคือ เป็นการจัดอาหารว่าง หรืออาหารต่างๆหลากชนิด รวมถึงเครื่องดื่ม ไว้ในรูปแบบของซุ้มอาหาร ในงานเลี้ยงจะไม่มีโต๊ะอาหารจัดให้แขกนั่งรับประทาน มีเพียงโต๊ะวางอาหารตั้งไว้เป็นส่วนกลางเท่านั้น ผู้ร่วมงานสามารถเดินเลือกรับประทานเองได้ โดยปกติงานมักจะเริ่มระหว่างเวลา 6 เย็นจนถึงเวลาประมาณ 2 ทุ่ม

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน : เนื่องจากงานมักจะเริ่มช้าหรือดึกไปสักหน่อย สำหรับเวลาการทานอาหารเย็นปกติของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนั้นก่อนไปงานเลี้ยงควรหาอาหารทานรองท้องไปก่อน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ และควรเลือกทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณของน้ำตาลและไขมันที่น้อย

2. งานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ งานเลี้ยงแบบบุฟเฟ่ต์นี้จะแตกต่างจากแบบค็อกเทล คือ การจัดเลี้ยงจะใช้ ใช้โต๊ะขนาดใหญ่จัดวางอาหารเรียงบนถาดหรือภาชนะขนาดใหญ่ตามประเภท และอาหารมีตั้งแต่อาหารเรียกน้ำย่อย อาหารหลัก อาหารหวาน เครื่องดื่ม ในปริมาณที่มากกว่างานเลี้ยงแบบค็อกเทล เพราะจัดในเวลามื้ออาหารหลักที่ผู้มาร่วมงานสามารถทานได้อิ่มท้องเต็มที่ 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน : เนื่องจากอาหารมีหลากหลายชนิดผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง โดยต้องพยายามหลีกเลี่ยง พวกอาหารไขมันสูง อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลหรือแป้งในปริมาณมาก ถ้าผู้ป่วยสามารถควบคุมปริมาณในการรับประทานของตนได้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารไปงานเลี้ยงชนิดนี้ได้เช่นกัน

3. งานเลี้ยงแบบโต๊ะจีน เป็นการจัดเลี้ยงโดยมีโต๊ะให้ผู้ร่วมงานนั่ง อาหารจะค่อยๆทยอยเสิร์ฟทีละจานไล่ตั้งแต่ เมนูของทานเล่น อาหารต่างๆ จนไปถึงเมนูขนมหวาน

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน : ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรระมัดระวังการทานอาหารแบบนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากโต๊ะจีนมักประกอบไปด้วยเมนูอาหาร ที่ให้พลังงานหรือมีไขมันสูง ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรลดความถี่ในการไปงานเลี้ยงประเภทนี้ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรรู้จักวิธีการจำกัดปริมาณอาหารที่ควรรับประทาน

การวางแผนและแนวปฏิบัติ

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หากจะไปงานเลี้ยงต่างๆ ควรรู้จักเตรียมตัวและวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้สุขภาพร่างกายและระดับน้ำตาลผิดไปจากเกณฑ์มาตรฐานปกติ ซึ่งมีวิธีที่สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
1. เตรียมตัวเพื่อวางแผนการรับประทานอาหารล่วงหน้า ก่อนถึงวันที่จะไปงานเลี้ยง โดยก่อนถึงวันงานควรลดปริมาณของไขมันในมืออื่นๆลง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับงานเลี้ยงที่อาจได้รับปริมาณไขมันที่สูงกว่าการทานอาหารในวันปกติ เปรียบเสมือนเป็นการชดเชย แต่ไม่ควรทำบ่อยๆ
2. ทานอาหารมื้อหลักให้ครบปกติทั้ง 3 มื้อ ไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง หากงานเลี้ยงใดที่เลยเวลาอาหารในมื้อหลัก ให้ผู้ป่วยทานอาหารว่าง อย่างผลไม้ไปรองท้องก่อน เนื่องจากการการทานอาหารไม่ตรงเวลาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติได้ และนอกจากนี้ยังอาจจะทำให้เกิดการกินมากกว่าปกติ จากความรู้สึกหิวมากนั้นเอง
3. เลือกนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับคนรู้จัก เพื่อให้เกิดการสนทนาพูดคุยมากขึ้น ก็จะช่วยทำให้ทานอาหารได้น้อยและช้าลง
4. ก่อนเริ่มรับประทานอาหารในงาน ควรดื่มน้ำเปล่าก่อน 1 แก้ว เสมอเพื่อให้อิ่มเร็วขึ้นและไม่รับประทานอาหารมากเกินควร

แนวปฏิบัติเพื่อควบคุมการรับประทาน     

1. เลือกทานผักสด สลัด หรือซุปใสก่อนการรับประทานอาหารชนิดอื่น จะช่วยทำให้ลดปริมาณอาหารชนิดอื่นโดยเฉพาะอาหารทีมีไขมันสูง
2. อย่าให้ความเกรงใจทำให้ละเลยการควบคุมอาหาร ผู้ป่วยเบาหวานต้องรู้จักการปฏิเสธอาหารที่ต้องหลีกเลี่ยง หากมีบุคคลอื่นๆชวนให้ลองรับประทาน
3. ควรทานอาหารประเภทจำพวกข้าวหรืออาหารในกลุ่มของข้าวตามปริมาณปกติที่เคยทาน ไม่ทานให้มากเกินไปหรือทานน้อยจนเกินไป
4. หลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ที่ติดมัน รวมถึงหนังสัตว์ชนิดต่างๆ ที่มีปริมาณไขมันมากด้วย
5. เลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน เช่น หมี่กรอบ ขนมจีนน้ำยาพริก หรือน้ำจิ้มชนิดต่างๆ ที่มีรสหวาน
6. ควรจำกัดและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารประเภทชุปแป้งทอดต่างๆ เช่น  แกงกะทิต่างๆ ไก่ชุบแป้งทอด หมูชุปแป้งทอด กุ้งชุปแป้งทอด เป็นต้น
7. ควรเลี่ยงอาหารที่อยู่ในรูปของไขมันซ่อนรูป อย่างเช่น  พาย คุกกี้ เค้ก ถั่ว น้ำสลัด มันฝรั่งทอดกรอบ เป็นต้น
8. เลี่ยงขนมหวานและทานผลไม้ชนิดไม่หวานมากทดแทน
9. เลือกดื่มน้ำเปล่าแทนการดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวานต่างๆ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ด้วย
10. เคี้ยวอาหารอย่างช้าๆให้ละเอียด และวางช้อนส้อมทุกครั้งจะช่วยลดปริมาณอาหารที่รับประทานให้น้อยลง เป็นต้น

การปฏิบัติที่ดีที่สุดของผู้ป่วยโรคเบาหวานก็คือ การทานอาหารให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และควรรู้ว่าอาหารชนิดใดสามารถทานได้และอาหารชนิดใดที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ

วิธีเลือกรับประทานอาหารแบบโต๊ะจีน

โดยทั่วไปบริการอาหารแบบจีนจะประกอบไปด้วย อาหารคาว อาหารหวาน รวมถึงอาหารว่าง จะมีเมนูอาหารเฉลี่ยอยู่ประมาณ 8-10 เมนู  ส่วนอาหารที่นำมาจัดเลี้ยงก็แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนมากจะเป็นอาหารที่มีไขมันและให้พลังงานสูง ถึงแม้จะตักแบ่งทานชนิดละ 2-3 คำ ก็ยังอาจทำให้ได้รับปริมาณแคลอรี่ที่เกินความจำเป็นของร่างกายได้ ดังนั้นหากต้องไปทานโต๊ะจีน ควรทำตามคำแนะนำดังนี้ 

  • อาหารชนิดแรกของโต๊ะจีน ส่วนมากจะเป็นอาหารประเภทซุป เช่น ซุปหูฉลาม หรืออื่นๆ ซึ่งอาหารเหล่านี้มักมาพร้อมกับปริมาณไขมันที่สูง ดังนั้นจึงควรทานในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรือไม่เกิน 1 ถ้วยเล็ก
  • อาหารชนิดต่อมาในโต๊ะจีน ส่วนมากจะเป็นเมนูอาหาร เช่น เป็ดปักกิ่ง หรือหมูหัน ซึ่งเป็นเมนูที่มาพร้อมกับไขมัน จากการทานเนื้อติดมัน หรือหนังสัตว์ต่างๆเหล่านี้  ควรทานเพียงแค่ให้หายอยาก 1 – 2 ชิ้นเท่านั้น และยังรวมถึงเครื่องเคียงน้ำจิ้มหวานที่มากไปด้วยน้ำตาล ก็ควรเลือกจิ้มแต่ในปริมาณที่เหมาะสมด้วย  หรือหากจะให้ดีจริงๆก็ควรจะเลี่ยงเมนูต่างๆเหล่านี้เลย
  • เมนูอาหารอื่น เช่น เมนูอาหารผัดที่ใช้น้ำมันในปริมาณมากๆ ก็ควรทานเพียงแต่น้อย ไม่ควรให้เกิน 2 ช้อนเสิร์ฟ หรือประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ และควรหลีกเลี่ยงการตักน้ำราดของอาหารนั้นๆมาทานด้วย
  • บางเมนู เช่น ผัดผัก อาจจะดูเป็นเมนูที่ดีมีประโยชน์  แต่การถูกนำมาปรุงแล้วมีปริมาณน้ำมันที่มาก ก็อาจเปลี่ยนจากเมนูดีเป็นเมนูที่มีผลเสียต่อร่างกายได้ จึงควรเลือกทานเฉพาะตัวผักเท่านั้น และพยายามหลีกเลี่ยงน้ำราดของเมนูชนิดนี้ที่มีปริมาณไขมันสูง แม้จะมีรสชาติที่อร่อยก็ตาม
  • เมนูอาหารทอดต่างๆ บนโต๊ะจีน ควรเลือกทานแค่เพียง 1-2 ชิ้น และพยายามหลีกเลี่ยงน้ำจิ้มรสหวานที่มากับอาหารทอดชนิดนั้น เช่น น้ำบ๊วย เป็นต้น
  • กลุ่มอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต มักจะเป็นข้าวผัดหรือผัดหมี่ต่างๆ  ควรทานอย่างมากไม่ให้เกิน 1 ถ้วยซุปขนาดเล็ก
  • เมนูอาหารทะเลต่างๆ เป็นอาหารที่มีไขมันน้อย เหมาะกับการทาน เช่น ปลานึ่ง  ปูนึ่ง กุ้งอบวุ้นเส้น เป็นต้น แต่ควรระวังเครื่องเคียงที่ประกอบมาด้วย เช่น เมนูปลานึ่งอาจมีส่วนผสมของมันหมูร่วมด้วย เพื่อให้รสชาติดียิ่งขึ้น จึงควรเลือกทานเฉพาะเนื้อของปลาเท่านั้น
  • เมนูอาหารหวานต่างๆ ควรทานแต่ในปริมาณที่น้อย ( ไม่เกิน 1 ช้อนเสิร์ฟ )
  • เมนูผลไม้ ส่วนมากจะเป็นผลไม้ตามฤดูกาลหรือผลไม้ยอดนิยม เช่น ส้ม แตงโม มะละกอ สับปะรด เป็นต้น ควรทานชนิดละไม่เกิน 2 ชิ้น ก็เพียงพอที่จะได้รับประโยชน์จากวิตามินซีและวิตามินเอ ในผลไม้แล้ว
  • เครื่องดื่ม หากเป็นไปได้ควรทานเครื่องดื่มหรือชาที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลจะดีที่สุด และควรเลี่ยงเครื่องดื่มที่มากไปด้วยน้ำตาลอย่าง น้ำอัดลม น้ำหวาน และยังรวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆด้วย

ผู้ป่วยเบาหวานกันการรับประทานอาหารนอกบ้าน

เนื่องด้วยภาระหน้าที่การงานและการดำเนินชีวิต จึงมีบ่อยครั้งที่อาจจะมีความจำเป็นต้องทานอาหารนอกบ้าน เช่น ร้านอาหารตามแผลลอย ร้านอาหารขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ โรงอาหารของบริษัทหรือสถานที่ทำงาน ซุ้มขายอาหารฟ้าสฟู้ดส์ต่างๆ และยังรวมไปถึงการไปทานอาหารตามงานเลี้ยงต่างๆด้วย  ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานก็สามารถทานอาหารนอกบ้านได้เหมือนคนปกติ แต่ก็มีข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติตามดังต่อไปนี้   
1. จำกัดปริมาณอาหารที่ต้องรับประทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อน้ำหนักเกิน
2. ลดปริมาณไขมันในอาหารที่รับประทาน
3. จำกัดการใช้น้ำตาลหรืออาหารที่มีน้ำตาล
4. ผู้ป่วยเบาหวานต้องเรียนรู้ปริมาณและสัดส่วนของอาหารชนิดต่างๆ โดยอาจขอคำแนะนำจากนักโภชนาการ

นอกจากนี้ส่วนมากจะพบได้ว่า เมนูอาหารตามร้านต่างๆ ที่มีรสชาติดีและอร่อย ก็มักจะมากับปริมาณไขมันที่สูงไปด้วย เนื่องจากไขเป็นตัวที่ทำให้อาหารมีรสชาติดียิ่งขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานก็สามารถทานได้แต่ต้องจำกัดปริมาณไขมันที่จะรับประทานต้องไม่เกิน 30% ของพลังงานที่ได้จากอาหารทั้งหมดในวันนั้น

การเลือกร้านอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

การเลือกร้านอาหารเวลาไปทานอาหารนอกบ้าน ก็เป็นอักปัจจัยหนึ่งที่เราสามารถควบคุมได้ โดยมีหลักการในการเลือกร้านอาหารเวลาไปทานอาหารนอกบ้าน ดังต่อไปนี้

1. เลือกร้านอาหารที่สามารถสั่งอาหารได้ตามที่เราต้องการ เช่น ไม่ใส่ผงชูรส ไม่ใส่น้ำตาล เป็นต้น
2. เมื่อไม่แน่ใจในส่วนผสมของอาหาร ควรสอบถามพนักงานทันที เพื่อไม่ให้กระทบต่อสุขภาพของเรา
3. กรณีสั่งอาหารมาทานมากกว่าปกติ แล้วกินไม่หมด ควรแจ้งให้ทางร้านใส่กล่องหรือห่อกลับบ้านให้ ไม่ควรฝืนกินจนหมดเพราะความเสียดาย
4. การเลือกทานอาหารที่มีเมนูเป็นอาหารฝรั่ง มักจะสามารถควบคุมหรือประเมินสัดส่วนของปริมาณอาหารได้ง่ายกว่า อาหารไทยและอาหารจีน
5. ควรระวังเมนูอาหารที่มีลักษณะเป็นครีมน้ำซอสหรือน้ำราดข้นๆ อาหารชุปแป้งทอดหรืออาหารที่ผัดโดยใช้น้ำมันมาก เช่น ผัดกระเพาะ ผัดผักต่างๆ ข้าวผัด เนื่องจากจะมีปริมาณของไขมันที่สูง
6. หากจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควรได้รับอนุญาตจากแพทย์เสียก่อน และต้องจำกัดปริมาณและความถี่ในการทานให้เหมาะสม แต่หากเลี่ยงได้ก็จะเป็นการดีที่สุด

ผู้ป่วยเบาหวานกับการเดินทาง

ในบางครั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานก็มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปในที่ต่างๆ เช่น เดินทางเพื่อเรื่องงาน หรือ การเดินทางเพื่อการพักผ่อน ซึ่งก็สามารถทำได้เหมือนคนปกติ แต่ต้องไม่ละเลยในสิ่งที่ต้องทำเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ อย่างเช่น การทานหรือฉีดยาตามแพทย์สั่ง การออกกำลังกาย หรือการทานอาหารที่เหมาะสมด้วย หากผู้ป่วยมีวินัยในการควบคุมตนเองให้ดี เพียงเท่านี้ผู้ป่วยเบาหวานก็สามารถเดินทางได้อย่างมีความสุขแล้ว  ซึ่งก็มีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องเดินทาง ดังต่อไปนี้   
1. กรณีที่ต้องเดินทางด้วยรถยนต์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเตรียมอาหารว่างติดรถไว้บ้าง ไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเช่น รถติด รถเสีย จนทำให้เลยเวลาอาหารมื้อหลัก เพราะผู้ที่ป่วยโรคเบาหวานต้องทานอาหารให้ตรงเวลาเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่ต่ำจนเกินไป  โดยอาหารที่แนะนำให้มีติดรถไว้ในการเดินทาง เช่น น้ำผลไม้ธรรมชาติ นมจืดพร่องมันเนยชนิดกล่อง ผลไม้แห้งธรรมชาติ ( เช่น ลูกเกด ) ผลไม้ต่างๆ เป็นต้น
2. การเลือกร้านอาหารก็ควรเลือกร้านที่สามารถปรุงตามสั่งเราได้ ว่าอะไรที่ให้ใส่ หรืออะไรที่ไม่ให้ใส่ลงไปในเมนูนั้น และควรหลีกเลี่ยงร้านอาหารประเภทที่มีเมนูไม่สุกหรือปรุงสุกๆ ดิบๆ เพราะอาจจะทำให้ท้องเสีย ซึ่งจะทำให้การควบคุมเบาหวานทำได้ยากขึ้นอีกด้วย
3. หากต้องเดินทางด้วยเครื่องบินควรแจ้งไปทางสายการบินล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ว่าต้องการเมนูอาหารควบคุมโรคเบาหวาน ซึ่งปัจจุบันสายการบินต่างส่วนมาก ก็สามารถจัดอาหารควบคุมเบาหวานให้ได้ หากได้แจ้งล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว
4. กรณีที่ต้องเดินทางไปในต่างประเทศ โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้อเมริกากลาง ประเทศในแถบเอเชีย หรือประเทศในแถบแอฟริกา ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ  นมสด ไอศกรีม น้ำดื่มหรือน้ำแข็งผลไม้ที่ปอกเปลือกทิ้งไว้ รวมถึงผักสดซึ่งอาจมีการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์สูง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้
5. การเดินทางไปในต่างประเทศที่ไกลมากๆ โดยเฉพาะประเทศที่เวลาแตกต่างจากเวลาท้องถิ่นของไทยมาก เช่น กลางวันเป็นกลางคืน ผู้ป่วยต้องทำการสอบถามข้อมูลจากแพทย์หรือนักโภชนาการไว้ล่วงหน้า ในเรื่องของการปรับเวลาทานอาหารสำหรับและการใช้อินซูลิน โดยในวันแรกไม่ควรตั้งเวลานาฬิกาใหม่ ควรรับประทานอาหารและของว่างตามเวลาเดิม และควรปรึกษาแพทย์สำหรับการปรับอินซูลินไนวันต่อๆไป ควรเตรียมยาและอินซูลิน ให้มากเพียงพอกับระยะเวลาในการเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ และควรเก็บอุปกรณ์เหล่านี้ไว้ในกระเป๋าใบเล็กที่สามารถนำขึ้นเครื่องไปยังที่นั่งได้ด้วย ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว ร่างกายของผู้ป่วยมักจะสามารถปรับตัวตามมาตรฐานเวลาที่เปลี่ยนไปได้อยู่ที่ 2 -3 วัน และเมื่อกลับประเทศไทยก็จะต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยนกลับคืนสู่เวลาของไทยอีก ฉะนั้นการควบคุมเบาหวานในช่วงนี้อาจจะทำได้ไม่ดีนัก แต่ก็ควรปฏิบัติให้อยู่ในวินัยการควบคุมตามปกติ เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาระดับน้ำตาลเกินมาตรฐานได้

จากข้อมูลต่างๆที่ได้กล่าวมา ก็จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาวานก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามคนปกติทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น การไปทานอาหารนอกบ้าน การไปงานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ การเดินทางไปยังที่ไกลๆ ก็ทำได้อย่างที่ใจต้องการ เพียงแต่อาจจะต่างจากคนปกติตรงที่ มีข้อจำกัดบางอย่าง ที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำไปกว่าระดับมาตรฐานปกติ   ทั้งนี้แล้วสุดท้ายก็จะอยู่ที่วินัยก็ผู้ป่วยโรคเบาหวานเองว่า สามารถปฏิบัติตามข้อแนะนำนั้นๆได้มากน้อยเพียงใด หากทำได้ก็ยังคงสามารถใช้งานตามคนปกติได้อย่างไม่มีทีแตกต่างเลยทีเดียว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. 

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

6 พืชผักสมุนไพรกับการช่วยดูแลสุขภาพ

0
6 พืชผักสมุนไพรกับการช่วยดูแลสุขภาพ
พริก มะนาว เป็นเครื่องปรุงรสทำให้ช่วยเจริญอาหาร
6 พืชผักสมุนไพรกับการช่วยดูแลสุขภาพ
กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรหรือเครื่องเทศที่มีประโยชน์และสรรพคุณมากมายที่มีทุกครัวเรือน

6 พืชผักสมุนไพรกับการช่วยดูแลสุขภาพ

ประเทศไทยของเรา เป็นเมืองแห่งสังคมเกษตรกรรม ที่อุดมไปด้วยการปลูกพืชไม้นานาพันธุ์ ทั้งไม้ดอกไม้ประดับ พืชทานผล และยังรวมถึงพืชสมุนไพรอีกด้วย สมุนไพรในประเทศมีด้วยกันหลากหลายชนิด สามารถพบได้ในแทบจะทุกๆ พื้นที่ของประเทศ โดยอาจจะปลูกไว้ทานเองในครอบครัว หรือปลูกไว้เป็นไว้สำหรับทำเป็นธุรกิจก็ได้ สมุนไพรส่วนใหญ่จะมากไปด้วยสรรพคุณที่ดี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ บ้างก็ใช้เป็นยาบำรุง บ้างก็ใช้เป็นยารักษาโรค และสรรพคุณอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน

พืชผักสมุนไพรและมีประโยชน์

พืชผักสมุนไพรสวนครัว ถือเป็นพืชผักที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้มากมาย ทั้งใบ ลำต้น ดอก หรือผล นอกจากนี้สามารถปลูกพืชผักสวนครัวในบริเวณบ้านได้ ซึ่งพืชผักสวนครัวส่วนใหญ่เป็นแหล่งรวมสารอาหารมากมาย ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายโดยตรง จะขอยกตัวอย่างพืชผักสมุนไพรที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้

1. กระเจี๊ยบ พืชผักสมุนไพรหาง่าย

กระเจี๊ยบ เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นพุ่ม ขนาดปานกลาง ดอกมีสีแดงสด นิยมปลูกสำหรับนำดอกมาใช้ประโยชน์ เช่น นำมาทำเป็นเมนูเครื่องดื่มที่หลายๆคน ก็คงเคยได้ทาน คือ น้ำกระเจี๊ยบ ที่มีกลิ่นหอมสดชื่น มีรสชาติเปรี้ยวๆหวานๆ หรือจะนำไปประกอบเป็นเมนูอาหารอื่นๆก็ได้เช่นกัน กระเจี๊ยบเป็นสมุนไพรชนิดที่สามารถหาทานได้ง่าย ปลูกกันแทบจะทุกพื้นที่ของประเทศ

สรรพคุณและประโยชน์ของกระเจี๊ยบ

  • ช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือด และ ช่วยลดระดับความดันในโลหิต
  • ช่วยลดอาการหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยให้ระบบขับปัสสาวะในร่างกาย ทำงานได้ดีขึ้น  เป็นยาระบายชนิดอ่อน
  • ช่วยให้ร่างกายมีความสดชื่น เพราะในกระเจี๊ยบ มีกรดซีตริคเป็นส่วนประกอบ
  • ช่วยรักษาแผลในกระเพราะอาหาร
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ช่วยบำรุงเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง
  • ช่วยเบาเทาอาการไอและอาการเจ็บคอ
  • ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ

2. แอปเปิ้ล พืชผักสมุนไพรหลากชนิด

แอปเปิ้ล เป็นหนึ่งในผลไม้ที่หลายๆคนนิยมทานกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เป็นผลไม้ที่มีสีสันสวยงาม เปลือกบาง ผลกรอบ มีรสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว ผลสดแอปเปิ้ล สามารถทานได้ทั้งเปลือก หรือจะนำไปแปรรูปทำเป็น น้ำผลไม้ หรือแยมก็สามารถทำได้เช่นกัน นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว แอปเปิ้ลยังเป็นผลไม้ที่มากไปด้วยสรรพคุณมากมาก ดังต่อไปนี้

สรรพคุณและประโยชน์ของแอปเปิ้ล

  • ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด และปริมาณของสารโลหะหนักในร่างกาย ที่มักปะปนมากับอาหาร เช่น ปรอท ตะกั่ว ซึ่งหากเข้าสู่ร่างกายปริมาณมากจะส่งผลต่อการไปทำลายเซลล์สมอง
  • ช่วยขับสารพิษต่างๆ ให้ออกจากร่างกาย
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งในลำไส้ใหญ่
  • ช่วยลดไข้และช่วยลดการอักเสบต่างๆ ในร่างกาย
  • ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยให้เจริญอาหาร
  • ช่วยบำรุงปอด
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ  หรือการจุกเสียดหลังรับประทานอาหาร

3. กระเทียม ผักสมุนไพรท้องถิ่น

กระเทียม เป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่ง ที่มักจะต้องมีติดห้องครัวกันไว้แทบจะทุกบ้าน เพื่อเตรียมไว้ใช้ในการประกอบเมนูอาหารต่างๆ ทั้งอาหารไทย และอาหารนานาชาติ ล้วนมีกระเทียมเป็นส่วนประกอบแทบทั้งสิ้น โดยกระเทียมจะช่วยทำให้อาหารมีรสชาติที่ดีและมีกลิ่นหอมมากขึ้น เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่น่าสนใจหลายประการ ดังต่อไปนี้

สรรพคุณและประโยชน์ของกระเทียม

  • ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน
  • ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
  • ช่วยลดระดับความดันในโลหิต
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้
  • ช่วยป้องกันโรคภัยต่างๆ เช่น  ไข้หวัด วัณโรค คอตีบ ปอดบวม  ไข้มาลาเรีย คออักเสบ และอหิวาตกโรค

จากผลการวิจัยพบว่า การทานกระเทียมแบบสด จะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากกระเทียมได้ดีที่สุด มากว่าการทานแบบนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารอื่นๆแล้ว  แต่หลายๆคนมักไม่ทานกระเทียมแบบสด เนื่องจาก เรื่องของกลิ่น ที่มีความฉุดอย่างรุนแรง จนติดปาก ของกระเทียมนั้นเอง จึงมีผู้ผลิตหลายรายนำกระเทียมสดมาแปรรูปให้อยู่ในรูปของ การอัดเม็ดหรือ แบบแคปซูน เพื่อให้ทานได้ง่ายขึ้น

4. มะนาว พืชผักสมุนไพรในสวนครัว

มะนาว เป็นผลไม้รสเปรี้ยวชนิดหนึ่ง ที่สามารถหาทานได้ง่าย นิยมนำใช้เป็นเครื่องปรุงรส มะนาวประกอบไปด้วยกรดอินทรีย์หลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดซีตริก กรดมาลิก ฟอสฟอรัส แคลเซียม และอุดมไปด้วยวิตามินซี  ซึ่งมะนาวถือว่าเป็นพืชผักสวนครัวอีกหนึ่งชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย

สรรพคุณและประโยชน์ของมะนาว

  • เป็นยาขับเสมหะ ขับลม และใช้เป็นยาแก้ไอได้
  • ช่วยบำรุงผิว ให้มีความชุ่มชื่น สดใส และช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาให้มีสุขภาพดี
  • ช่วยแก้อาเจียน อาการเมาสุรา
  • ช่วยบรรเทาอาการเลือดออกตามไรฟัน และอาการเหงือกบวม
  • ช่วยป้องกันโรคไข้หวัด
  • ช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้น
  • ช่วยล้างพิษในร่างกาย ทำให้เลือดสะอาด โดยการนำน้ำมะนาวสดมาผสมกับน้ำอุ่น ใช้ดื่มตอนเช้าหลังตื่นนอน
  • ช่วยป้องกันอาการท้องผูก  โดยการใช้น้ำมะนาวสด 1-2 ลูก ผสมกับโยเกิร์ตรสธรรมชาติ 1 ถ้วยและน้ำผึ้ง 2 ช้อนชา และทานเป็นประจำ
  • อื่นๆ

5. พืชตระกูลกะหล่ำ ผักสมุนไพรมีประโยชน์

พืชตระกูลกะหล่ำ เป็นพืชสมุนไพร ชนิดที่นำใบมารับประทาน สามารถหาทานได้ง่าย พบได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย พืชตระกูลกะหล่ำมีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อกโคลี่ และกะหล่ำปม  ซึ่งทุกชนิดต่างมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายมนุษย์เราทั้งสิ้น  คนในสมัยโบราณใช้กะหล่ำปลีเป็นยา โดยมีความเชื่อว่า กะหล่ำปลีสามารถช่วยสลายหนองจากแผลได้ นอกจากนี้กะหล่ำปียังถูกใช้เป็นยาครอบจักรวาล มาตั้งแต่ในประวัติศาสตร์โรมันแล้วด้วย  มีรายงานผลการวิจัยพบว่า การทานกะหล่ำปลีมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยลดโอกาสการเป็นมะเร็งลำไส้ในผู้ชายได้ถึง 66% และ การทานกะหล่ำปลีปรุงสุกวันละ 2 ช้อนโต๊ะ จะสามารถช่วยป้องกันมะเร็งในช่องท้องได้ เช่นกัน 

สรรพคุณและประโยชน์ของพืชตระกูลกะหล่ำ

  • ช่วยกำจัดของเสีย  และสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย เช่น  ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์
  • ช่วยให้ตับผลิตเอนไซม์ออกมาให้เพียงพอต่อการกำจัดของเสียในแต่ละวัน
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากในพืชตระกูลกะหล่ำ มีสารต้านมะเร็ง และสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นจำนวนมาก
  • ช่วยให้ตับลดการขับฮอร์โมนความเครียดที่มีผลเสียต่อร่างกาย
  • ช่วยทำความสะอาดระบบย่อยอาหารรักษา จากเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสชนิดต่างๆ
  • ช่วยป้องกันการเป็นโรคกระเพาะอาหาร
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
  • อื่นๆ

6. พริกขี้หนู พืชผักสมุนไพรคู่ครัวไทยมาช้านาน

พริกขี้หนู  อีกหนึ่งพืชสมุนไพร ที่หลายๆบ้านต้องมีติดก้นครัวเอาไว้ เป็นพืชที่มากไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อ ร่างกาย เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีนเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และธาตุเหล็ก นอกจากนี้ในพริกขี้หนู จะมีสารที่ให้ความเผ็ดร้อน ชื่อว่า แคปไซซิน Capsicin กระจายอยู่ในทุกส่วน แต่ส่วนที่พบมากที่สุด ก็คือส่วนของรกหรือไส้พริก ซึ่งเป็นส่วนที่มีความเผ็ดที่สุด สารแคปไซซิน ที่อยู่ในพริกขี้หนูนี้ จะละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และไขมัน แต่ไม่ละลายในน้ำ ซึ่งทำให้เมื่อเวลาเรามีอาการเผ็ดจากการกินพริก การดื่มน้ำจะไม่ทำให้หายเผ็ด แต่การดื่มนมหรือหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้หายเผ็ดได้ดีกว่านั้นเอง

สรรพคุณและประโยชน์ของพริกขี้หนู

  • ช่วยละลายลิ่มเลือด และ ยืดระยะเวลาของการจับตัวของเกล็ด ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
  • ช่วย ขับเหงื่อได้ดี ทำให้รูขุมขนสะอาด ผิวพรรณสดใส
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยทำให้อารมณ์แจ่มใส โดยสาร Capsaicin ที่อยู่ในพริกขี้หนูจะไปเร่งต่อมใต้สมองให้สร้างสาร Endorphin
  • รักษาอาการอาเจียน  โรคบิด โรคหิด โรคกลาก  ได้
  • ช่วยลดอาการปวดบวม ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อและข้อได้
  • อื่นๆ 

จะเห็นได้ว่า พืชผักสมุนไพรต่างๆ ล้วนมีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพอย่างมากมาย และที่สำคัญสามารถหาทานได้ง่าย โดยอาจจะปลูกไว้ทานเอง หรือจะไปหาซื้อก็ราคาไม่แพงแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่จำเป็นเลยที่เราจะต้องไปเสียเงินแพงๆ ในการซื้ออาหารเสริมที่มีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณต่างๆในการช่วยให้สุขภาพดี เพราะนอกจากจะมีราคาที่แพงแล้ว อาหารเสริมบางตัว ก็อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้เช่นกัน หากอยากมีสุขภาพที่ดีก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากทานพืชสมุนไพรใกล้ตัวทั้ง 6 ชนิดที่กล่าวมาก่อนอย่างเป็นประจำ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แค่นี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่ช่วยทำให้เรามีสุขภาพดีแล้วนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

Bucci, Luke (1995). Nutrition applied to injury rehabilitation and sports medicine. Boca Raton: CRC Press. p. 151. ISBN 0-8493-7913-X.

ดูแลชีวิต พิชิตโรค

0
ดูแลชีวิต พิชิตโรค
อาหารหมักดอง อาหารเหล่านี้จะมีเกลือมาก ซึ่งความเค็มจะทำให้หลอดเลือดแดงมีความตึง ไตทำงานหนักขึ้น
ดูแลชีวิต พิชิตโรค
อาหารรมควัน อาหารเหล่านี้จะมีเกลือมาก ซึ่งความเค็มจะทำให้หลอดเลือดแดงมีความตึง ไตทำงานหนักขึ้น

สุขภาพดีพิชิตโรค

อย่าปล่อยให้โรคร้ายทำลายคุณไม่ว่าจะร่ำรวยมีเงินทอง มีบ้านหลังใหญ่ๆ มีรถดีๆขับแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ใครหลายคนคงอยากให้เกิดกับตัวเองก็คือ การมีสุขภาพร่างกายที่ดี แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ การมีสุขภาพดีพิชิตโรค ไม่สามารถใช้เงินทองมากมายที่คุณมีหาซื้อมาได้ การดูแลสุขภาพตนเองเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรปฏิบัติ เหมือนคำที่ว่า “ดูแลชีวิต พิชิตโรค”

ในยุคสมัยนี้ ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์เราเอง มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น มีเครื่องมือทุ่นแรงเกิดขึ้นมากมายให้ได้เลือกใช้ หากไม่ได้คิดอะไรมากมาย หลายคนก็คงคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่ช่วยทำให้ประหยัดเวลาและช่วยทุ่นแรงได้มากขึ้นในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่หากมองลงไปให้ลึกก็จะพบว่า การที่มนุษย์เรามีความสะดวกสบายเกินไปทำให้ละเลยเรื่องสุขภาพแบบนี้ ก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพได้เช่นกัน

ทุกวันนี้มนุษย์เราขาดการออกกำลังกายและยังมีเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ประกอบกับสมัยนี้ที่มีอาหารให้เลือกกินกันอย่างมากมาย โดยอาหารในปัจจุบันหลายๆอย่างเน้นไปทางสร้างความอร่อย รสชาติเข้มข้น และมีสีสันที่สวยงาม จนผู้บริโภคมองข้ามเรื่องของหลักโภชนาการไป หลายๆเมนูมากไปด้วยไขมัน และน้ำตาลปริมาณมาก แต่เราก็สามารถเลือกกินอาหารที่ดีพิชิตโรคร้ายได้โดยไม่พึ่งยา

นอกจากเรื่องความสะดวกสบายและการทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการแล้ว ผู้คนในสมัยนี้หลายๆคน มักให้ความสำคัญกับเรื่องชื่อเสียงเงินทองเป็นหลัก จนบางคนยอมทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ เพื่อให้ได้เงินแยอะๆ หรือ เพื่อให้ได้การยอมรับจากหัวหน้างาน ได้เลื่อนตำแหน่ง มีชื่อเสียงดังไปไกล จนลืมไปว่าร่างกายของคนเรา ต้องการเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ เนื่องจากมนุษย์เราไม่ใช่หุ่นยนต์ที่จะสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง  หลายคนที่พักผ่อนน้อยก็มักใช้อุปกรณ์ในการกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวให้ทำงานได้ต่อเนื่อง เช่น ดื่มกาแฟ สูบบุหรี่ เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้สุขภาพของใครหลายๆคนแย่ลงตามไปด้วย

ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวไปนี้ ล้วนแต่เป็นตัวบั่นทอนทำลายสุขภาพมนุษย์เรา จนทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆมากมาย ทั้งโรคเบาหวาน โรคความดันสูง โรคมะเร็ง โรคไตวาย เป็นต้น  ดังนั้นหากตัวเราเองอยากมีสุขภาพที่ดี และห่างไกลจากโรคภัยต่างๆก็สามารถทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และใส่ใจเรื่องการบริโภคอาหารให้มากขึ้น โดยมีคำแนะนำดังต่อไปนี้

หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำลายสุขภาพ

เรื่องการบริโภคอาหาร เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก หลายคนมักจะทานอาหารตามใจที่ตนเองชอบ โดยไม่ได้มองว่าอาหารต่างๆเหล่านั้น มีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร ซึ่งอาหารในกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงมีดังต่อไปนี้   
1. อาหารที่มีปริมาณของน้ำตาลสูง เมนูอาหารมากมายในปัจจุบันนี้ หลายๆเมนูมันจะประกอบไปด้วยปริมาณน้ำตาลที่สูง เช่น ขนมหวานชนิดต่างๆ  น้ำอัดลม ผลไม้แช่อิ่ม น้ำผลไม้กระป๋อง  เป็นต้น อาหารที่มีปริมาณของ น้ำตาลเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่สูงนี้ หากทานเข้าไปบ่อยๆมากๆ ก็สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคชนิดต่างๆได้หลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน  โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคอื่นๆ ดังนั้นจึงควรเลือกทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลไม่สูงจะดีที่สุด
2. อาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น  เครื่องในสัตว์ นม เนย ไข่แดง อาหารทะเล กุ้ง ปู ปลาหมึก หอยนางรม กะทิ เป็นต้น เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะมีปริมาณของไขมันอิ่มตัวที่สูง หากกินเข้าไปประจำมากๆ ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการมีระดับไขมันในเส้นเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคร้ายอย่างเช่น โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองได้ด้วย
3. เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงเครื่องดื่มบำรุงกำลังบางชนิด เนื่องจากการได้รับปริมาณของคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก จะส่งผลให้ไปกระตุ้นหัวใจให้ทำงานหนักขึ้น กระตุ้นการสูบฉีดเลือดให้แรงขึ้น จึงเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง เป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงควรทานแต่ในปริมาณพอดี ไม่ให้มากจนเกินไป
4. สารเคมีที่ใช้ประกอบอาหาร อาหารที่อร่อยและมีสีสันสวยงามในหลายๆเมนู อาจจะมีส่วนประกอบของสารเคมีที่ถูกผลิตขึ้นมาใช้กับอาหาร เช่น ผงชูรส ผงฟู โซเดียม สารกันบูด เป็นต้น  แม้ว่าสารเคมีเหล่านี้จะถูกผลิตขึ้นมาใช้กับอาหาร แต่ถ้าใช้ในปริมาณมากๆ ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน
5. อาหารที่มีความเค็มเป็นหลัก รวมถึงอาหารแห้ง อาหารหมักดอง และอาหารรมควันด้วย เช่น ปลาเค็ม กุ้งแห้ง เนื้อเค็ม หมูแฮม เบคอน ไส้กรอก เป็นต้น เนื่องจากอาหารรสเค็มเหล่านี้ จะมากไปด้วยเกลือ หรือโซเดียม ซึ่งความเค็มจะทำให้หลอดเลือดแดงมีความตึงตัวมากขึ้น การทานอาหารประเภทนี้มากๆ จะส่งผลให้ ไตทำงานหนักขึ้นด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นปัจจัยที่ไปกระตุ้นให้เกิดโรคอย่าง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคไต รวมถึงโรคมะเร็งอันมีสาเหตุจากเชื้อราที่สะสมอยู่ในอาหารแห้งบางชนิด ดังนั้น จึงควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น
6. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ เป็นต้น หลายคนมักจะชอบเป็นพิเศษกับเครื่องดื่มเหล่านี้  โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการสังสรรค์ เป็นพิเศษ แต่หากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากๆ จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ เนื่องจาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว การไหลเวียนของเลือดเร็วและแรงขึ้น หัวใจทำงานหนัก ความดันโลหิตสูงขึ้น  ซึ่งจะทำให้ไปกระตุ้นการเกิดโรคร้ายต่างๆได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งตับ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน เป็นต้น ในทางที่ดีควรลดหรือเลิกบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้ไปเลย เพราะนอกจากจะมีราคาที่สูงแล้ว ยังไร้ประโยชน์กับร่างกายอีกด้วย

พิชิตโรคร้ายด้วยการเริ่มต้นดูแลสุขภาพของคุณตั้งแต่วันนี้

การปรับสมดุลร่างกาย

การปรับสมดุลร่างกาย เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้สุขภาพร่างกายเราดีขึ้น หากทำได้อย่างถูกวิธี  โดยปกติ ร่างกายและจิตใจของมนุษย์ มีพลังที่สามารถรักษาสุขภาพ และขจัดความเจ็บป่วยในตัวเองได้  ด้วยวิธีการรักษาท่าทางให้ถูกต้อง การบริหารร่างกายและออกกำลังกายให้ถูกวิธี ดังต่อไปนี้
1. การรักษาท่าทางที่ถูกต้อง  เช่น การเดิน การนั่ง การนอน การยืน การกระทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ ไม่ว่าสิ่งไหนจะต้องมีสติในการทำเสมอ ต้องคอยรักษาทวงท่าให้ถูกต้อง แนวกระดูกสันหลังต้องยืดตรงเพื่อรักษาสมดุลของโครงสร้างทั้งหมดของร่างกาย โดยเฉพาะเวลานั่งทำงานนานๆ หรือต้องเดินไกลๆ เพื่อรักษาพื้นฐานท่าทางที่ถูกต้อง มีหลักการดังนี้

  • แขม่วหน้าท้องให้ชิดหลัง รักษากระดูกสันหลัง กระชับหน้าท้องให้แบนราบ
  • สะบักชนก้น ยืดอก ดึงกระดูกสันหลังให้ชิดก้นบริเวณกลางสันหลัง
  • คางชิดคอ รักษาหน้าให้ตั้งตรง ด้านหลังคอ และท้ายทอยยืดตรง

2. การหายใจพื้นฐาน วิธีการนี้ จะใช้การหายใจเข้า หายใจออกทางรูจมูก อย่างช้าๆ ลึกๆ ไม่ให้เกิดเสียงดังขึ้น โดยจะต้องให้ทรวงอกยืดขยายเต็มที่ และต้องทำการขมิบบริเวณทวารเล็กน้อย

3. การบริหารร่างกาย หรือการออกกำลังกาย  วิธีนี้ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง สำหรับผู้ที่เริ่มออกกำลังกายใหม่ๆ ควรเริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ ไม่หักโหมจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จากนั้นจึงค่อยๆพัฒนาขึ้นตามความสามารถและความแข็งแรงของร่างกายอย่างช้าๆ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป และต้องเลือกอุปกรณ์การแต่งกายให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ ควรหาเวลาออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกิจวัตรประจำวัน ให้เป็นการออกกำลังกายไปในตัว เช่น เดินขึ้นสะพานลอย แทนการข้ามถนน เดินขึ้นบันได 3-4 ชั้น แทนการขึ้นลิฟต์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้หากทำเป็นประจำจนเป็นนิสัยก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดีได้ไม่ยาก

เลิกพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

1. ด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต หลายๆพฤติกรรมในชีวิต ที่ไม่ดีและเป็นอันตรายต่อร่างกาย ก็ควรที่จะเลิกหรือตัดทิ้งให้ออกจากชีวิตไป เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทำให้สุขภาพมีแต่แย่ลง แม้ว่าอาจจะทำได้ยากสักหน่อย แต่ควรหาแรงบันดาลใจที่จะทำให้ได้ เช่น ให้คิดซะว่าทำเพื่อลูก หรือทำเพื่อคนที่เรารัก เพื่อจะได้มีกำลังใจในการในการเลิกพฤติกรรมไม่ดีเหล่านี้ให้พ้นออกไปจากชีวิต 

2. ด้านสภาวะอารมณ์ อารมณ์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยกำหนด ทิศทางของสุขภาพเราได้เช่นกัน เพราะหากตัวเรามีสภาวะอารมณ์ที่ไม่ดี มีแต่ความเครียด ก็จะส่งผลให้เกิดโรคร้ายๆตามมาได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เพราะอารมณ์ที่ฉุนเฉียว โกรธ เกรี้ยวกราด ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักมากยิ่งขึ้น มีการสูบฉีดเลือดแรงขึ้น หลอดเลือดก็ทำงานหนักขึ้น จนทำให้ร่างกายเกิดความแปรปรวนในระบบต่างๆ ตามไปด้วย ดังนั้นจึงควรรู้จักวิธีในการบริหารอารมณ์ตัวเองให้ดีเสมอ อย่าให้มีภาวะความเครียดสะสม

จะเห็นได้ว่าแนวทางต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  แต่ละข้อแต่ละวิธีนั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำได้และไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป เพียงแต่ทุกวันนี้ คนเรามักยึดติดกับความสบาย และใช้ชีวิตตามความพึงพอใจของตนเองเป็นหลัก จนลืมไปว่าสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญ  เพราะหากเกิดความเจ็บป่วยขึ้นมาแล้ว ตัวเราเองนั้นละที่จะต้องเจ็บปวดและทรมานกับโรคร้ายต่างๆที่เกิดขึ้น  ร่างกายมนุษย์เราไม่ใช่เครื่องจักรหรือหุ่นยนตร์ ที่เสียแล้วสามารถนำกลับมาซ่อมใหม่ได้ตลอด  ดังนั้นควรเริ่มหันมาดูแลสุขภาพตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้สุขภาพดีๆอยู่กับเราต่อไปนานๆ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

Bucci, Luke (1995). Nutrition applied to injury rehabilitation and sports medicine. Boca Raton: CRC Press. p. 151. ISBN 0-8493-7913-X.

มะเร็งองคชาต ( Penile Cancer ) สาเหตุ อาการ และการรักษา

0
โรคมะเร็งองคชาติ (Penile Cancer)
โรคมะเร็งองคชาติมักจะพบได้ในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เกิดขึ้นที่ผิวหนังที่ห่อหุ้มตัวอวัยวะเพศหรืออวัยวะส่วนหัว

มะเร็งองคชาต

มะเร็งองคชาต ( Penile Cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ผิวหนังของอวัยวะเพศชายหรือภายในในอวัยวะ
เพศชาย มักมีผลต่อผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมะเร็งองคชาตมีปลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งที่พัฒนาขึ้นนั่นเอง

ประเภทของมะเร็งองคชาต

  • โรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous cell carcinoma) มีอัตราการเกิดสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเซลล์มีลักษณะเหมือนเนื้อเยื่อที่ประกอบขึ้นเป็นผิวหนังเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ มะเร็งเซลล์สความัสสามารถเริ่มต้นที่ใดก็ได้บนอวัยวะเพศชาย แต่มักเกิดที่หรือใต้หนังหุ้มปลายลึงค์ เมื่อพบในระยะเริ่มต้นมักจะสามารถรักษามะเร็งเอพิเดอร์มอยด์ให้หายได้
  • โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ (Basal cell Carcinoma) เป็นเซลล์มะเร็งลักษณะกลมอยู่ใต้เซลล์
    สความัสเซลล์ในชั้นผิวหนังหรือหนังกำพร้าชั้นล่าง ซึ่งมีอัตราการเกิดน้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์
  • มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) ซึ่งพบได้น้อยแต่มีความรุนแรงมากกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่น พบได้บริเวณชั้นหนังกำพร้าที่ลึกที่สุดของอวัยวะเพศชาย ประกอบด้วยเซลล์ที่กระจัดกระจายเรียกว่า เมลาโนไซต์

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งองคชาตในผู้ชายมีอะไรบ้าง

  • การติดเชื้อ HPV ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของมะเร็งอวัยวะเพศชาย
  • การสูบบุหรี่อาจทำให้เกิดมะเร็งองคชาตได้โดยเฉพาะในผู้ที่มีเชื้อ HPV
  • อายุ มะเร็งองคชาตพบบ่อยในผู้ชายโดยเฉลี่ยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  • ภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบหรือหดกลับได้ยาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งองคชาตในเพศชายได้
  • การดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะเพศในผู้ชายที่ไม่ดีพอก็สามารถเพิ่มโอกาสในการอักเสบเรื้อรัง ซึ่ง
    อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้เช่นกัน
  • เอดส์ ( HIV ) การติดเชื้อไวรัส HIV ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์บกพร่อง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของ
    เป็นมะเร็งองคชาต เมื่อคนมีเชื้อเอชไอวีระบบภูมิคุ้มกันต่ำลงจะต่อสู้กับมะเร็งระยะเริ่มต้นได้น้อยลง
  • การรักษาโรคสะเก็ดเงิน (ยา) ร่วมกับการใช้แสงอัลตราไวโอเลต (UV) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด
    มะเร็งองคชาตได้อีกด้วย   

อาการของมะเร็งองคชาตที่แสดงออกได้เจน

  • รู้สึกเจ็บที่อวัยวะเพศโดยเฉพาะที่หนังหุ้มปลายลึงค์
  • การเปลี่ยนแปลงของสีที่อวัยวะเพศชาย
  • รู้สึกถึงความหนาของผิวหนังบนอวัยวะเพศชาย
  • ผิวหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมีกลิ่นเหม็น
  • มีเลือดออกที่ปลายอวัยวะเพศชาย
  • มีผื่นแดง หรือตุ่มใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมที่ขาหนีบ
  • อาการอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศผิดปกติ

การวินิจฉัยโรคมะเร็งองคชาต

แพทย์ใช้การทดสอบหลายอย่างเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการต่างๆ ที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจน เช่น

  • การซักประวัติผู้ป่วย
  • การซักประวัติครอบครัว
  • การเจาะชิ้นเนื้อมาตรวจ
  • การตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลือง
  • การเอ็กซเรย์
  • การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก ( MRI )

การรักษามะเร็งองคชาตมีวิธีอย่างไร

สำหรับวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็งองคชาต และตำแหน่งที่พยาธิสภาพ โดยหลักๆ แล้ว
แพทย์จะนิยมใช้อยู้ 4 แบบ คือ การผ่าตัด การใช้ยาเคมี การฉายรังสี และเทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก 3 มิติ ซึ่งวิธีนี้ทำให้แผลมีขนาดเล็กลง เลือดออกน้อยลงด้วย อย่างไรก็ตามหากพบว่าพยาธิสภาพอยู่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ก็จะทำการตัดให้ห่างจากพยาธิสภาพประมาณ 0.5 เซนติเมตร นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาได้อีกด้วย เช่น Topical 5 FU cream ทาเฉพาะที่ Nd YA Glaser เป็นต้น   

วิธีการดูแล และการป้องกันความเสี่ยงการเกิดมะเร็งองคชาติ

  • หมั่นดูแลและทำความสะอาดอวัยะเพศชายเป็นประจำทุกวัน
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หรือมีคู่นอนจำนวนมากๆ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ช่วยลดการติดเชื้อ HPV ที่เสี่ยงในการเป็นมะเร็งองคชาตในผู้ชายได้

อย่างไรก็ตามการเลือกใช้วิธีการรักษามะเร็งองคชาต แพทย์ผู้รักษาจะใช้วิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะ
สมและความรุนแรงของโรค และความพร้อมของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยเช่นกัน กรณีที่มะเร็งในขั้นลุกลาม ซึ่งได้ลุกลามเข้าสู่น้ำเหลืองและกล้ามเนื้อเรียบร้อยแล้ว รวมถึงมีขนาดใหญ่มาก
จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อออกโดยด่วนเป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.

ไบโอตินหรือวิตามินบี 7 ( Biotin – Vitamin B7 )

0
ไบโอตินหรือวิตามินบี 7 (Biotin – Vitamin B7)
ไบโอตินเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ ไม่มีสะสมได้ร่างกาย มีอยู่ทั่วไปในอาหารที่รับประทาน
ไบโอตินหรือวิตามินบี 7 (Biotin – Vitamin B7)
ไบโอตินเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ ไม่มีสะสมได้ร่างกาย มีอยู่ทั่วไปในอาหารที่รับประทาน

วิตามินบี7 ไบโอติน ( Biotin – Vitamin B7 )

วิตามินบี 7 ถูกค้นพบปี ค.ศ. 1930 โดย ดร.เฮเลน พาร์สันส์ (Dr.Helen Parson) สังเกตเห็นว่าหนูทดลองที่เลี้ยงไว้ด้วยไข่ขาวดิบจะมีอาการขนร่วง โดยเฉพาะรอบตาจนทำให้มีลักษณะคล้ายๆกรอบแว่น น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว และขาหลังเป็นอัมพาต ซึ่งในที่สุดแล้วพวกมันจะตาย เขาเรียกอาการนี้ว่า “ Egg White Injury ” แต่หากเขาใช้ไข่สุกเลี้ยงอาการแบบนี้จะไม่มีเลย

ปี ค.ศ. 1936 แควกึล และทอนนิช ( Kogl & Tonnis ) ได้ทำการแยกสารออกมาจากไข่แดงแล้วทำการตั้งชื่อว่า “ไบโอติน” ( Biotin ) โดยสารตัวนี้จะเป็นสารเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของยีสต์และแบคทีเรียบางชนิด เมื่อพวกเขาทำการศึกษาต่อก็พบอีกว่า ไบโอติน จะเป็นสารที่มีฤทธิ์ป้องกันอาการผิดปกติที่เกิดจากไข่ขาวดิบได้ และเจ้าตัวนี้เมื่ออยู่ในร่างกายคนก็จะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ของปฏิกิริยาคาร์บอกซิเลชั่น ( Carboxylation )

คุณสมบัติของไบโอตินหรือวิตามินบี 7 ( Vitamin B7 )

ไบโอตินมีลักษณะเป็นผลึกรูปเข็มไม่มีสี ทนแสงสว่าง ทนกรด ด่าง ความร้อนได้อย่างดี อีกทั้งมีคุณสมบัติละลายได้ดีในน้ำร้อนและแอลกอฮอล์ ส่วนในน้ำเย็นจะละลายได้เล็กน้อย

หน้าที่ของไบโอตินหรือวิตามินบี 7

– วิตามินบี 7 จะเข้าไปทำหน้าที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน

– วิตามินบี 7 นำคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในกระบวนการสร้างพิวรีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ DNA และ RNA

– วิตามินบี 7 ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในปฏิกิริยาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปฏิริยาดีคาร์บอกซิเลชั่น (Decarboxylation) ในการสังเคราะห์ พิวริน (Purine) ที่เป็นหน่วยโครงสร้างของ DNA และ RNA ปฏิกิริยาคาร์บอกซิเลชั่น ในการสร้างกรดไขมัน และปฏิกิริยาดีแอมมิเนชั่น (Deamination) ในการขจัดหมู่อะมิโนออกจากทรีโอนีน เซรีน และกรดแอสพาร์ทิก

– วิตามินบี 7 เป็นตัวช่วยในการสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป ทั้งเซลล์ผิวหนังและเล็บ

การดูดซึมไบโอตินหรือวิตามินบี 7

ไบโอตินจะถูกดูดซึมได้ดีในลำไส้เล็ก โดยส่วนใหญ่จะสามารถพบไบโอตินได้ทุกเซลล์ แต่ที่มีมากสุดก็คือ ตับ และไต 

แหล่งของไบโอตินหรือวิตามินบี 7 ในอาหาร

ไบโอตินมีอยู่ทั่วไปในอาหารจากธรรมชาติ แต่ที่พบมากคือ ในไข่แดง เครื่องในสัตว์ ยีสต์ในเนื้อสัตว์ ถั่ว นม และสามารถพบได้ในผักและผลไม้แต่ไม่มากนัก

ปริมาณไบโอตินที่ควรได้รับในแต่ละวันสำหรับคนไทย 
อายุ  ปริมาณที่ควรได้รับ ไมโครกรัม/วัน   
วัยทารก (6-11 เดือน) 6 ไมโครกรัม/วัน
วัยเด็ก  (1-3 ปี)

วัยเด็ก  (4-8 ปี)

8

12

ไมโครกรัม/วัน

ไมโครกรัม/วัน

วัยรุ่น    (9-12 ปี) 20 ไมโครกรัม/วัน
วัยรุ่น   (13-18 ปี) 25 ไมโครกรัม/วัน
วัยผู้ใหญ่  (19 –≥ 71 ปี) 30 ไมโครกรัม/วัน
หญิงตั้งครรภ์ ควรเพิ่มอีก

หญิงให้นมบุตร ควรเพิ่มอีก

30

5

ไมโครกรัม/วัน

ไมโครกรัม/วัน

ผลของการขาดไบโอตินหรือวิตามินบี 7

สำหรับคนที่กินยาต้านปฏิชีวนะ ( Antibiotic ) อยู่เป็นประจำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดการขาดวิตามินบี 7 ไบโอตินได้ ส่วนคนทั่วไปจะขาดไบโอตินได้น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในคนที่กินไข่ดิบหรือสุกๆ ดิบๆ เป็นประจำ หรือคนที่กินยาทำลายแบคทีเรียในลำไส้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยในไข่ขาวนั้นจะมีสารชนิดหนึ่งชื่อ อะวิดิน ( Avidin ) ที่เป็นไกลโคโปรตีน ( Glycoprotein ) สามารถรวมกับไบโอติน ในอาหารหรือแบคทีเรียที่สังเคราะห์ขึ้นมาในลำไส้และทำให้ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมได้ง่ายอีกด้วย

อาการที่พบ ส่วนใหญ่จะมีอาการอักเสบของผิวหนังตามเยื่อบุต่างๆ ผิวหนังลอก ตกสะเก็ด ผิวคล้ำ ผมร่วง เล็บเปราะหักง่าย ซึม เบื่ออาหาร แน่นท้อง อาเจียน ปวดตามกล้ามเนื้อ และอาจหมดความรู้สึกบางจุด เมื่อตรวจเลือดจะพบว่าระดับเฮโมโกลบินต่ำ คอเลสเทอรอลในเลือดสูง ซึ่งจะคล้ายกับอาการขาดวิตามินบี 1 นอกจากนี้ก็อาจพบว่าสีของเม็ดเลือดจางลงกว่าปกติ แม้ได้ขาดธาตุเหล็กก็ตาม โดยการรักษาก็จะต้องให้ผู้ป่วยทานไบโอตินในปริมาณ 150 มก./วัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วันนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

Miller, Ariel; Korem, Maya; Almog, Ronit; Galboiz, Yanina (June 15, 2005). “Vitamin B12, demyelination, remyelination and repair in multiple sclerosis”. Journal of the Neurological Sciences. 233 (1–2)

British national formulary : BNF 69 (69 ed.). British Medical Association. 2015. pp. 660–664. ISBN 9780857111562.

อาหารมังสวิรัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

0
อาหารมังสวิรัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
อาหารมังสวิรัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
อาหารมังสวิรัติ คือ อาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ทุกชนิด

อาหารมังสวิรัติ

ปัจจุบันคนหันมาสนใจ อาหารมังสวิรัติ กันมากขึ้นเพราะมีข้อมูลมากมายที่ชี้ให้เห็นว่าชาวมังสวิรัติมักจะมีอายุยืนกว่าชาวอมังสวิรัติ ( ผู้ที่บริโภคเนื้อสัตว์ ) โรคภัยไข้เจ็บที่ร้ายแรงบั่นทองสุขภาพกายและสุขภาพใจหลายๆ โรค เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ฯลฯ มักไม่ค่อยพบกับชาวมังสวิรัติและโรคดังกล่าวก็ล้วนเป็น โรคที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารไม่ถูกหลักและไม้ถูกส่วน เมื่อเกิดโรคเหล่านี้ วิธีการรักษาก็จำเป็นที่จะต้องใช้อาหารเป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดโรค 

ไม่ว่าจะเป็นมังสวิรัติประเภทเคร่งที่เรียกว่าวีแกน Vegan หรือ ประเภทละเว้นเพียงเนื้อสัตว์แต่รับประทานไข่และนม Lacto-Ovo-Vegetarian ก็สามารถบรรลุเป้าหมายในการควบคุมโรคเบาหวานได้ถ้ามีการวางแผนการรับประทานที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ชาวมังสวิรัติปัญหาระดับไขมันในเลือด โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตน้อยกว่าชาวอมังสวิรัติ การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นการลดไขมันประเภทอิ่มตัวและคอเลสเทอรอลไปในตัว ขณะเดียวกันก็ได้ประโยชน์จากสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินซี และสาร แคโรทีนอยด์ สารพฤกษาเคมี Phytochemical เช่น ไลโคพีน ( Lycopene ) และไอโซฟลาโวน ( Isoflavone ) นอกจากนี้ยังได้โพแทสเซียมและเส้นใยอาหาร ชาวมังสวิรัติที่เป็นโรคเบาหวานจึงได้ประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

อาหารมังสวิรัติมีปริมาณเส้นใยอาหารมากกว่าอาหารอมังสวิรัติ ( หมายถึงอาหารทั่วไปที่มีเนื้อสัตว์ปน ) 2-3 เท่า

และอาหารมังสวิรัติที่ให้เส้นใยมากขึ้นนี้ยังช่วยลดปริมาณแคลอรีที่ได้จากอาหาร ทำให้ชาวมังสวิรัติควบคุมน้ำหนักได้ดีกว่าชาวอมังสวิรัติ และอาจช่วยลดปริมาณอินซูลินที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องใช้ ชาวมังสวิรัติส่วนใหญ่จึงมีดรรชนีมวลกายต่ำกว่าชาวอมังสวิรัติ

อาหารมังสวิรัติมีส่วนประกอบของธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสีสูงจึงมีธาตุโครเมียมสูง ซึ่งช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

อาหารมังสวิรัติมีโปรตีนต่ำกว่าอาหารอมังสวิรัติ จึงเป็นการช่วยลดโรคแทรกซ้อนจากโรคไต นอกจากนี้ โปรตีนจากพืชยังช่วยลดโปรตีนในปัสสาวะ Proteinuria ลดอัตราการกรองปัสสาวะของไต Glomerular Filtration Rate จึงเป็นการลดอันตรายที่จะเกิดจากไตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน   

ปัจจุบันการวางแผนอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องให้สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่และความต้องการของร่างกายในแต่ละบุคคล ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นชาวมังสวิรัติจึงควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อให้อาหารมีผลต่อการควบคุมโรคโดยมีเป้าหมายต่อไปนี้

1. ให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน

2. ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงกับปกติ

3. ควบคุมระดับไขมันให้ใกล้เคียงกับปกติ

4. ให้มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม

5. ป้องกันหรือชะลอโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ โรคไต ปลายประสาทเสื่อม และโรคตา ฯลฯ

สารอาหารที่ควรให้ความสนใจในอาหารมังสวิรัติ

คาร์โบไฮเดรต

อาหารมังสวิรัติมีคาร์โบไฮเดรตสูง ซึ่งอาหารคาร์โบไฮเดรตมีผลต่อระดับน้ำตาลในระยะสั้น ในปัจจุบันจึงนิยมการนับจำนวนคาร์โบไฮเดรตเพื่อปรับปริมาณอินซูลินในผู้ป่วยที่ต้องฉีดอินซูลิน ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่แนะนำทั่วไปคือร้อยละ 50-60 ของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน แต่คาร์โบไฮเดรตที่รับประทานควรเป็นชนิดที่มีกากใย เช่น จากเมล็ดข้าวที่ไม่ได้ขัดสี ( ข้าวซ้อมมือ ลูกเดือย ฯลฯ ) ถั่ว ผัก และผลไม้ ในขณะเดียวกันก็ลดปริมาณเนื้อสัตว์และไขมันรวมในอาหาร ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการฉีดอินซูลินได้ ข้อมูลการวิจัยบ่งชี้ว่าอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใยสูงช่วยเพิ่มความไวของการทำงานของอินซูลิน ในขณะที่ในอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงแต่ใยอาหารต่ำมีผลในการเพิ่มระดับน้ำตาลและไทรกลีเซอไรด์ในเลือด 

ไขมัน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรลดปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเทอรอลเพื่อลดปัญหาโรคหัวใจ การลดปริมาณไขมันนอกจากจะช่วยลดน้ำหนักได้แล้วยังช่วยลดปริมาณการใช้อินซูลินได้ด้วย ยกเว้นในกรณีการเพิ่มการรับประทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวที่อาจช่วยควบคุมระดับไทรกลีเซอไรด์ ระดับน้ำตาล และความดื้อต่ออินซูลินได้

กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวมีข้อดี คือ สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลโดยไม่มีผลต่อระดับ เอชดีแอล ( HDL ) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่มีประโยชน์ กรดไขมันชนิดนี้มีมากในถั่วเปลือกแข็ง มะกอก น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันปาล์มโอเลอิน และน้ำมันอโวคาโด

ปริมาณไขมันรวมที่แนะนำอยู่ในช่วงร้อยละ 15-40 ของพลังงานทั้งหมด โดยที่พลังงานจากไขมันอิ่มตัวอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 7-10 เท่านั้น

โปรตีน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรจำกัดอาหารโปรตีนให้อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-20 ของพลังงานทั้งหมด ควรเลือกเกณฑ์ที่ต่ำไว้ก่อนโดยเฉพาะในผู้ที่ไตเริ่มมีปัญหา การรับประทานโปรตีนจากพืชแทนโปรตีนจากสัตว์จะช่วยรักษาไตให้ทำงานได้อย่างปกติ อาหารมังสวิรัติส่วนใหญ่ให้โปรตีนประมาณร้อยละ 10-14 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่เพียงพอ จึงไม่ทำให้ชาวมังสวิรัติขาดโปรตีน

การเปลี่ยนแบบแผนการรับประทานอาหาร

การเปลี่ยนมารับประทานอาหารมังสวิรัติย่อมให้คุณประโยชน์แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และควรจะเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยเป็นไปเพื่อให้เวลาในการปรับเปลี่ยนระดับน้ำตาลและระดับยา จึงควรปรึกษาแพทย์และนักโภชนาการ ในกรณีนี้อาจมีการลดยาฉีดหรือยารับประทานประมาณร้อยละ 10-50 จากปริมาณเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงอาหาร หลังจากนั้นการปรับยาจะขึ้นกับระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน   

การใช้หมวดอาหารแลกเปลี่ยนในการวางแผนรายการอาหาร

การวางแผนรายการอาหารนั้นนักโภชนาการควรพิจารณาเป็นรายบุคคลเพราะปัญหาและความชอบในการรับประทานอาหารจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล หมวดอาหารแลกเปลี่ยนจะให้ประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องควบคุมและจำกัดแคลอรีรวมถึงการกระจายสารอาหาร หมวดอาหารแลกเปลี่ยนจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานแลกเปลี่ยนเนื้อสัตว์กับโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง และโปรตีนเกษตร ฯลฯ ได้อย่างถูกสัดส่วน

โปรตีนจากพืช 1 ส่วนให้โปรตีน 7 กรัม ซึ่งเท่ากับโปรตีนจากสัตว์แต่ปริมาณไขมันและคาร์โบไฮเดรตจะแตกต่างกัน อาหารต่อไปนี้แต่ละอย่างคิดเป็นอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ในปริมาณ 1 ส่วน

อาหารทดแทนเนื้อสัตว์ในปริมาณ 1 ส่วน
ถั่วเมล็ดแห้งสุก 1/2 ถ้วยตวง
เต้าหู้ 1/2 ถ้วยตวง
เทมเป้ ( ถั่วหมัก ) 1/2 ถ้วยตวง
ถั่วคั่ว 1/4 ถ้วยตวง
โปรตีนถั่วเหลืองหรือโปรตีนเกษตร (แห้ง) 1/4 ถ้วยตวง
แฮมเบอร์เกอร์ถั่วเหลือง 60 กรัม
ฮอตดอกจากถั่วเหลือง 30 กรัม
เนยถั่ว 2 ช้อนโต๊ะ

สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร และเด็กที่เป็นโรคเบาหวาน ควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อควบคุมอาหารให้ถูกต้อง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. 

เบาหวาน [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล; (ม.ป.ท.) 

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯซ บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัดม 2557.

ไตวาย ไม่ตายไว

0
ไตวาย ไม่ตายไว
ภาวะไตวาย คือ ภาวะที่ไตทั้งสองข้างสูญเสียการทำงาน
ไตวาย ไม่ตายไว
ภาวะไตวาย คือ ภาวะที่ไตทั้งสองข้างสูญเสียการทำงาน สาเหตุมาจากการใช้ชีวิตหรือการกินหาอาหารที่ไม่ถูกต้อง

ไตวาย

ก่อนที่จะไปกล่าวถึงโรคไตวาย ลองมาดูความสำคัญและหน้าที่ของไตกันก่อนว่า ไต คืออะไร และมีหน้าที่สำคัญอย่างไรต่อร่างกายของมนุษย์เรา
ไต หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Kidney คือ อวัยวะอย่างหนึ่งที่อยู่ภายในร่างกายของมนุษย์มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดงอยู่บริเวณส่วนล่างของช่องท้อง ไตมีสองข้าง คือซ้ายและขวา ไตขวาอยู่ในช่องท้องด้านขวาด้านใต้อยู่ติดกับตับ ส่วนไตซ้ายอยู่ใต้กะบังลมติดกับม้าม มีต่อมหมวกไต ( Adrenal Gland ) อยู่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง โดยจะมีชั้นไขมันสองชั้นห่อหุ้มอยู่ ภายในไตนั้นจะมี 2 ชั้น คือ ชั้นนอก เรียกว่า คอร์เทกซ์ ( Cortex ) ส่วนนี้มีสีแดง ขณะที่ชั้นใน จะเรียกว่า เมดูลลา ( Medulla ) ส่วนนี้มีสีขาว 

โรคไตวาย

ในทุกๆวันนี้ มีโรคภัยไข้เจ็บมากมายที่เกิดขึ้นกับบุคคลรอบข้างเรา รวมกระทั้งที่เกิดกับตัวเราเองด้วย มีตั้งแต่โรคที่มีความรุนแรงของโรคน้อยจนไปถึงโรคที่มีความรุนแรงของโรคมาก  ซึ่งหากมาลองวิเคราะห์กันดูถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่เกิดขึ้นก็จะพบว่า สาเหตุของหลายๆโรค มักมาจากการใช้ชีวิตพฤติกรรมที่ผิดๆ การทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ เป็นส่วนใหญ่ โรค ไตวาย ก็เป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่มักมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตหรือการกินหาอาหารที่ไม่ถูกต้อง เป็น โรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในทุกๆวัน  หากเกิดโรคไตวายขึ้นกับร่างกายจะทำให้ไตที่เป็นอวัยวะสำคัญของมนุษย์ไม่สามารถทำงานได้ปกติเหมือนเดิม จึงทำให้ระบบกลไกในร่างกายมีความผิดปกติตามไปด้วย โรคไตวายมีรายละเอียดอย่างไร จะอธิบายดังต่อไปนี้

หน้าที่หลักของไต คือ เป็นอวัยวะที่เกี่ยวกับกับระบบปัสสาวะ ทำหน้าที่ กรองของเสีย น้ำ และเกลือแร่ ส่วนเกินในร่างกายออกจากเลือด แล้วจึงทำการขับออกมาพร้อมกับน้ำในรูปของปัสสาวะ

ภาวะไตวาย คืออะไร?

ภาวะไตวาย ( Renal failure ) หรือ ไตล้มเหลว หรือ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ไตล้ม คือ ภาวะที่ไตทั้งสองข้างสูญเสียการทำงาน จนทำงานได้น้อยกว่าปกติหรืออาจทำงานไม่ได้เลย ทำให้ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะได้ ทำให้มีของเสียเกิดการสะสมจนเป็นพิษต่อร่างกาย อาการนี้ส่งผลกระทบต่อดุลของอิเล็กโทรไลต์ และความเป็นกรดด่างในเลือด และถ้าเป็นไตวายชนิดเรื้อรัง ฮอร์โมนบางชนิดที่ไตเป็นสร้างขึ้นมา ก็จะลดน้อยลงไปด้วย ทำให้อวัยวะแทบทุกส่วนในร่างกายมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น 

ประเภทของภาวะไตวาย

เราสามารถแบ่งประเภทของโรคภาวะไตวายออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. ภาวะไตวายชนิดเฉียบพัน ( Acute Kidney Failure หรือ Acute Renal Failure )

ไตวายเฉียบพลัน คือ การที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน มีอาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยที่ผู้ป่วยไม่เคยมีโรคของไตมาก่อน เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การได้รับสารซึ่งเป็นอันตรายต่อไต  การกินยารักษาโรคในปริมาณที่มากติดต่อกัน เป็นเวลานาน เกิดการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

อาการไตวายเฉียบพลัน โดยทั่วไปสามารถรักษาให้หายกลับมาได้เป็นปกติ โดยใช้วิธีล้างไต เพื่อนำของเสียและสารพิษต่างๆออก เพื่อให้ไตกลับมาทำงานได้เป็นปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เคยเป็นไตวายเฉียบพันแล้วก็มีความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นไตวายซ้ำได้อีก หรือในบางราย ไตจะค่อย ๆ เสื่อมลงกลายเป็นไตวายเรื้อรังได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค หรือการได้รับการรักษาที่ล่าช้า จนไตเริ่มเสื่อมแล้ว

2. ภาวะไตวายชนิดเรื้อรัง ( Chronic Kidney Failure หรือ Chronic Renal Failure ) 

ไตวายเรื้อรัง เกิดจากภาวะการที่เนื้อไตถูกทำลายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย อาจจะใช้ระยะเวลานานเป็นเดือน หรือเป็นปี โรคนี้จัดเป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรง พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ ที่มีอายุมาก นอกจากภาวะนี้ไตวายเรื้อรัง ยังเป็นผลแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆด้วย  เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและอื่นๆ โดยโรคเหล่านี้จะไปทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไต และยังรวมถึงการใช้ยาที่มีพิษต่อไตเป็นจำนวนมากอีกด้วย

สาเหตุของการเกิดโรคไตวายชนิดต่างๆ

สาเหตุในการเกิดโรค ของภาวะไตวายชนิดต่างๆ  อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งที่เกิดจากไตโดยตรง หรือเกิดจากสาเหตุภายนอก ซึ่งสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดไตวายเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้ 

1. เกิดจากสาเหตุก่อนเข้ามาถึงไต โดยมักจะเกิดจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงในไตน้อยกว่าปกติ เช่น

  • มีการตกเลือด หรือเกิดการสูญเสียน้ำในร่างกายปริมาณมากและรุนแรง  เช่น มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง หรือ ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ส่งผลให้ไตเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานลงอย่างเฉียบพลัน
  • มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด ซึ่งส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงไตได้น้อยลง เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย  ภาวะหัวใจวาย ภาวะตับวายเรื้อรัง หลอดเลือดแดงไตตีบ ความดันโลหิตสูง ซึ่งหากมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา  อาจเป็นสาเหตุหนึ่งให้ไตเสื่อมได้ในที่สุด
  • เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือ ครรภ์เป็นพิษ

2. เกิดจากสาเหตุที่ไตเอง ส่วนมากจะเป็นสาเหตุมาจากภาวะของโรคแทรกในร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันสูง ซึ่งอาจจะยังไม่แสดงอาการออกในช่วงแรกๆ แต่จะเริ่มมีอาการเมื่อไตเกิดความผิดปกติ และยังสามารถพบได้จากสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น

  • ผลข้างเคียงจากการได้รับยาบางประเภท เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Amino Glycoside หรือสารเคมีบางชนิด
  • การติดเชื้อชนิดรุนแรง เช่น โรคมาลาเรีย ภาวะโลหิตเป็นพิษ เป็นต้น
  • เกิดโรคเกี่ยวกับไตขึ้น ทำให้การทำงานของไตผิดปกติไปจากเดิม
  • ภาวะอื่นๆ เช่น ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ตับวาย มะเร็งไมอีโลมา เป็นต้น

3. เกิดจากสาเหตุหลังออกจากไต เกิดจาก การมีปัจจัยที่ไปขัดขวางการไหลออกของปัสสาวะ ทำให้เกิดความดันจนย้อนกลับไปทำลายเนื้อของไต เช่น

  • เกิดโรคที่ส่งผลต่อการอุดตันของระบบปัสสาวะ เช่น โรคนิ่วในไต ต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบ มีเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
  • กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ มีน้ำปัสสาวะคั่งในกระเพาะปัสสาวะมาก ทำให้น้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะไหลย้อนขึ้นไปที่กรวยไต

อาการของโรคไตวาย

อาการของไตวายชนิดเรื้อรัง และไตวายชนิดเฉียบพัน จะมีความแตกต่างกันทางอาการของโรคที่แสดงออกมาดังต่อไปนี้
1. อาการของโรคไตวายชนิดเฉียบพลัน
เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด โดยจะมีอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วย ดังต่อไปนี้

  • มีปัสสาวะน้อยลงกว่าปกติ (น้อยกว่า 400 มิลลิลิตร /1 วัน)  หรือไม่ปัสสาวะออกมาเลย แม้จะใช้วิธีการสวนท่อปัสสาวะแล้วก็ตาม
  • มีอาการบวมที่ขาและเท้า
  • มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกมึนงง
  • มีอาการปวดหลังบริเวณชายโครง หายใจถี่
  • หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา ผู้ป่วยจะมีอาการซึม สับสน ชัก จนถึงหมดสติ

2. อาการของโรคไตวายชนิดเรื้อรัง 
หากเกิดโรคไตวายเรื้อรังขึ้น จะทำให้ไตทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การกรองของเสียออกจากเลือดทำได้แย่ลงตามไปด้วย โดยในช่วงแรกไตส่วนที่ยังใช้ได้จะทำงานชดเฉยส่วนที่เสียไป ทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น สิ่งหากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานติดต่อกันก็จะส่งผลทำให้ไตเสื่อมสภาพลงได้เร็วยิ่งขึ้นจากการทำงานที่หนักขึ้น
อาการที่แสงออกมาจะต่างกับโรคไตวายชนิดเฉียบพัน จะค่อยๆแสดงออกมาที่ละเล็กที่ละน้อย ขึ้นอยู่กับอยู่กับความรุนแรงของโรคและความเสื่อมของไต  ในระยะแรก ยังคงไม่มีอาการอะไรที่แสดงออกมา แต่สามารถทราบได้จาก การตรวจเลือด ซึ่งจะมีระดับของค่า ครีอะตินินและบียูเอ็น สูงแต่เมื่อไตทั้ง 2 ข้าง ถูกทำลายจนทำหน้าที่ได้น้อยกว่าร้อยละ 30 ของไตปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการที่แสดงออกมาดังนี้

  • มีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน และมีปัสสาวะออกมากว่าปกติ
  • รู้สึกเบื่ออาหาร ไม่อยากกินอะไร
  • คลื่นไส้อาเจียน และมีอาการท้องเดินบ่อยๆ บางครั้งจะอาเจียนเป็นเลือด
  • มีภาวะนอนไม่หลับ
  • รู้สึกปวดศีรษะบ่อยๆ  ขาดสมาธิ มีอาการตามัว มองไม่ชัดเจน
  • ผิวหนังแห้งและมีสีคล้ำ มีอาการคันตามผิวหนัง ชาตามปลายมือปลายเท้า
  • รู้สึกใจสั่น เจ็บหน้าอก
  • เมื่อเป็นถึงขั้นสุดท้ายผู้ป่วยจะมีอาการซึม และชักหมดสติได้ 

อาการแทรกซ้อนของโรคไต

นอกจากปัญหาของระบบปัสสาวะ การขับถ่ายของเสียและสารพิษออกจากร่างกายที่จะทำได้น้อยลงแล้ว  เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่สำคัญหากมีปัญหาเกี่ยวกับไตเกิดขึ้น ก็จะส่งผลให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตวาย มักจะมีภาวะของโรคแทรกซ้อนต่างๆเกิดขึ้น โดยแบ่งตามชนิดของโรคไต ดังต่อไปนี้

อาการแทรกซ้อนจากไตวายชนิดเฉียบพลัน  สามารถพบได้หลายภาวะ เช่น
1. ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง และเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวาย เนื่องจาก ไตมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง  ไม่สามารถขับน้ำออกได้เหมือนปกติ จึงทำมีการคั่งของน้ำในกระแสเลือด ซึ่งส่งผลต่อระบบความดันและหัวใจ
2. ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง เนื่องจากไตไม่สามารถขับสารพิษออกจากร่างกายได้หมดเหมือนปกติ ทำให้มีสารพิษค้างในร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนอาจถึงหยุดเต้นได้
3. เกิดภาวะเลือดเป็นกรด เนื่องจากไตขับกรดที่ได้รับจากการเผาผลาญโปรตีนได้น้อยลง ส่งผลให้มีอาการหายใจลำบาก มีอาการหอบ
4. เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง เช่น มีอาการซึม ชัก  เนื่องจากภาวะยูรีเมีย Uremia หรือภาวะเลือดออก อันเนื่องมาจากเกล็ดเลือดไม่จับตัว ทำให้มีเลือดออกง่าย อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เกิดการคั่งของสารยูบีเอ็น มีอาการไข้สูง เจ็บหน้าอก
5. เกิดภาวะภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ สามารถติดเชื้อโรคต่างๆได้ง่าย  ในบางครั้งอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษได้ด้วย
6. เกิดภาวะซีดเนื่องจากไตสร้างสารอีริโทรพอยเอทิน Erythropoietin ไม่ได้ สารนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อขาดก็ทำให้สร้างเม็ดเลือดแดงได้ไม่ดีมีภาวะฟอสเฟต และยูริก ในเลือดสูง

อาการแทรกซ้อนจากไตวายชนิดไตวายเรื้อรัง  สามารถพบอาการภาวะแทรกซ้อนเหมือนกับโรคไตวายชนิดเฉียบพลัน และยังมีอาการภาวะอื่นๆ เช่น
1. อาการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด เยื่อหุ้มปอด ปลายประสาท
2. มีความรู้สึกชาบริเวณปลายมือและปลายเท้า
3. เกิดภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
4. เกิดภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ
5. เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย และประจำเดือนมาผิดปกในเพศหญิง 

การตรวจวินิฉัยโรคไตวาย

หากพบว่าตนเองหรือบุคคลรอบข้าง มีอาการคล้ายกับโรคไตวาย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจจะดีที่สุด เนื่องจากแพทย์จะมีวิธีในการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อดูความผิดปกติของไต ได้หลายวิธี เช่น
1. การตรวจเลือด โดยเช็คค่าของบียูเอ็น (ค่าปกติอยู่ที่ ประมาณ 5-20 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร) และครีอะตินิน  (ค่าปกติอยู่ที่ ประมาณ 0.6-1.2  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชาย และ 0.5-1.1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้หญิง)
2. การตรวจปัสสาวะ แพทย์จะตรวจปัสสาวะ เพื่อหาปริมาณของปัสสาวะที่ร่างกายขับออกมาได้ รวมทั้งตรวจหาโปรตีนหรือเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวที่ปะปนออกมากับปัสสาวะ วิธีนี้จะบอกได้เบื้องต้นว่าไตยังทำงานได้ดีหรือไม่
3. การตรวจด้วยการเอกซเรย์
4. การตวจด้วยการอัลตราซาวนด์
5. การตรวจพิเศษอื่นๆ ตามดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา

การรักษาโรคไตวาย

การรักษาโรคไตวาย สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งในแต่ละวิธีจะต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์  สำหรับผู้ป่วยที่ยังที่ยังอาการไม่ทรุดหนักมาก แพทย์จะใช้วิธีจัดการกับต้นเหตุของปัญหา เช่น  จำกัดปริมาณของน้ำ โซเดียม  โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโปรตีน ที่ร่างกายได้รับในแต่ละวันให้เหมาะสม เพื่อให้ไต ไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป ฉีดยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์ และให้โซเดียมไบคาร์บอเนต เพื่อแก้ภาวะเลือดเป็นกรด ให้เลือดในรายที่ตกเลือด เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ไม่สามารถรักษาด้วยการให้ยา หรือการจำกัดปริมาณของอาหาร แพทย์จะมีวิธีการรักษาที่ใช้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่น การล้างไต หรือการปลูกถ่ายไต  ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การล้างไตหรือการฟอกไต
การล้างไตหรือการฟอกไต นิยมเรียกว่า การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม  หรือการทำไตเทียม  คือ การนำเอาของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือดของผู้ป่วย ใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคไตวาย ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีปกติได้แล้ว แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม  เป็นการล้างไต โดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์เข้ามาช่วย วิธีนี้ผู้ป่วยต้องไปทำที่โรงพยาบาลเท่านั้น โดยต้องไปทำครั้งละ 3-4 ชั่วโมง และทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • การฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร เป็นการล้างไต โดยใช้วิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาเพื่อกรองของเสียในร่างกายออก วิธีนี้ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้าน สามารถเลือกเวลาทำได้เอง แต่ต้องทำทุกวัน และต้องมีการเปลี่ยนน้ำยา 4–5 ครั้ง/วัน  โดยแพทย์หรือพยาบาลจะเป็นผู้แนะนำวิธีการปฏิบัติให้ผู้ป่วยหรือญาติได้รับรู้ก่อนไปทำเองที่บ้าน

2. การปลูกถ่ายไต
การปลูกถ่ายไต เป็นวิธีการรักษาภาวะไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ดีที่สุดในปัจจุบัน หมายถึง การผ่าตัดเอาไตจากผู้อื่นมาเปลี่ยนแทนไตของตนเอง ที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว โดยไตที่นำมาเปลี่ยนทดแทนนี้ อาจได้มาจากผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วและมีการขอยื่นเรื่องบริจาคอวัยวะให้กับสภากาชาดไทย หรืออาจได้มาจากผู้ที่ชีวิตอยู่ เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง  ซึ่งปกติแล้วคนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยมีไต เพียงข้างเดียว  ก่อนการเปลี่ยนแพทย์ จะเป็นผู้ตรวจและวิเคราะห์ก่อนว่า ไตใหม่ที่จะนำมาเปลี่ยน สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยหรือไม่
หลังปลูกถ่ายไตแล้ว ผู้ป่วยจะต้องกินยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดภาวะที่ร่างกายต่อต้านไตอันใหม่ที่ได้รับไป หลังการผ่าตัดผู้ป่วยอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆได้ หากร่างกายไม่แข็งแรงพอ

อาการไตวาย เป็นโรคที่ร้ายที่มีผู้เสียชีวิตในแต่ละปีที่สูงมากโรคหนึ่ง หรือหากสามารักษาได้ก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงในการฟอกไต หรือวิธีสุดท้ายอย่างการปลูกถ่ายไต ซึ่งโรคไตวายนี้ก็มีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตที่ผิดๆ การชอบทานอาหารรสเค็มจัด เป็นหลัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้  ดังนั้นนั้นหากไม่อยากให้มีภาวะไตวายเกิดขึ้นกับตนเองหรือผู้ใกล้ชิด ต้องรู้จักดูแลตนเองให้ห่างจากพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไตวาย ส่วนผู้ที่ ป่วยเป็นโรคไตวายแล้ว ก็ไม่ต้องเสียกำลังใจไป เพราะโรคนี้หากรู้จักดูแลตนเองดีๆ ทำตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไปได้นั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

The PD Companion. Deerfield, Illinois: Baxter International Inc. 2008-05-01. pp. 14–15. 08/1046R.

Dr.Per Grinsted (2005-03-02). “Kidney failure (renal failure with uremia, or azotaemia)”. 2009-05-26.

การตรวจเลือดหา สัญญาณโรคกระดูก ( Bone Markers )

0
การตรวจเลือดหาสัญญาณโรคกระดูก
โรคกกระดูกเป็นการเกิดความผิดปกติของกระดูกภายในร่างกายซึ่งทำให้มีอาการปวดข้อตามอวัยวะต่างๆ
การตรวจเลือดหาสัญญาณโรคกระดูก (Bone Markers)
โรคกกระดูกเป็นการเกิดความผิดปกติของกระดูกภายในร่างกายซึ่งทำให้มีอาการปวดข้อตามอวัยวะต่างๆ

สัญญาณโรคกระดูก ( Bone Markers ) สำคัญอย่างไร

นอกจากโรคเบาหวาน ภาวะความดันสูงแล้ว อีกหนึ่งอาการเจ็บป่วยที่มักพบได้บ่อยๆ เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น คือ การปวดตามข้อ ปวดกระดูก ตามส่วนต่างๆในร่างกาย  ซึ่ง สัญญาณโรคกระดูก ( Bone Markers ) เหล่านี้มีผลมาจาก กระดูกเริ่มมีความเริ่มเสื่อม หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้น และถือว่าจุดตั้งต้นของภาวะ โรค กระดูก ( Bone ) นั่นเอง โรคกระดูกสามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนมากจะพบ ได้ในผู้สูงอายุเป็นหลัก

การเสื่อมของกระดูก ( Bone ) ในร่างกายจะช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกัน ปัจจุบันในทางการแพทย์ มีวิธีการตรวจหา สัญญาณโรคกระดูก ได้แล้ว ซึ่งมีด้วยกันมากมายหลากหลายวิธี เพื่อช่วยให้สามารถวินิจฉัยภาวะของโรคกระดูกที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต และใช้เป็นข้อมูลสำหรับในการรักษาและป้องกันก่อนที่จะเกิดภาวะของโรคกระดูกในอนาคตได้นั่นเอง โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

บทบาทหน้าที่และประโยชน์ของกระดูกต่อร่างกาย

กระดูก คือ อวัยวะชนิดหนึ่งของมนุษย์ เป็นโครงร่างภายในของร่างกาย มีลักษณะแข็งตายตัว ไม่ยืดหยุ่น

1. เป็นโครงสร้างของร่างกายที่มีความแข็งแรง  คอยช่วยพยุงร่างกายทั้งร่างที่มีแต่ความอ่อนนุ่มให้มีรูปร่างคงที่
2. ช่วยเป็นคาน ( Levers ) เพื่อยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ สำหรับการเคลื่อนไหว เช่น การยกของ หิ้วของ เป็นต้น
3. ช่วยห่อหุ้มปกป้องเส้นใยประสาทที่อาศัยกระดูกเป็นวงจรผ่านร้อยสายคู่ขนานกันไปอย่างปลอดภัย
4. ช่วยป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่นกะโหลกศีรษะที่ห่อหุ้มสมอง หรือซี่โครงป้องกันปอดและหัวใจจากการกระทบกระเทือน
5. เป็นแหล่งเก็บสะสมแคลเซียมที่สำคัญของร่างกาย เปรียบเสมือน ” คลังแคลเซียม “
6. เป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดที่สำคัญ ของร่างกายจากไขกระดูก

สัญญาณโรคกระดูก บ่งบอกถึงอะไร

โรคที่เกี่ยวกับภาวะกระดูกของในร่างกาย มีการเกิดความผิดปกติขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ ชีวิตประจำวัน เช่น มีอาการปวดหลัง ปวดขา ปวดตามข้อตามอวัยวะต่างๆ โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์เราจะมีการสร้างกระดูก ( Bone Formation ) และการเสื่อมสลายของกระดูก (Bone Resorption) ทำงานควบคู่กันไป แต่เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น การเสื่อมสลายของกระดูกก็จะมากขึ้นไปด้วย จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเกี่ยวกับโรคกระดูกได้จึงจำเป็นต้องตรวจหาสัญญาณโรคกระดูกซึ่งสามารถอธิบายภาวะการเสื่อมของกระดูกได้ดังนี้

เงื่อนไข ผลกระทบต่อร่างกาย
Bone Formation >  Bone Resorption กระดูกแข็งแรงไม่มีภาวะโรคกระดูก
Bone Formation =  Bone Resorption สุขภาพกระดูกยังเป็นปกติ
Bone Formation <  Bone Resorption กระดูกเริ่มเสื่อมอาจมีภาวะของโรคกระดูกได้

ประเภทของโรค กระดูก ( Bone )

เราสามารถแบ่งประเภทของโรคเกี่ยวกับกระดูกออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
โรคกระดูกทั่วไป ( Osteoporosis )

โรคกระดูกทั่วไป หมายถึง การที่ร่างกายมีภาวะของมวลกระดูกลดลง ( Low Bone Mass ) หรือมีความหนาแน่นของกระดูกน้อยลง ทำให้เกิดโพรงในกระดูก หรือมีภาวะกระดูกพรุนเกิดขึ้น ซึ่งอาการนี้จะส่งผลทำให้ กระดูกทุกส่วนในร่างกายขาดความแข็งแรง และจะค่อยๆเสื่อมมากขึ้น โรคนี้มักพบได้มากในผู้สูงอายุเป็นหลัก และพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคกระดูกพรุนนี้ มีสิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ การกระทบกระทั่งของร่างกาย การล้ม หรือ การชนกับของแข็ง เนื่องจากภาวะของกระดูกที่พรุนและเป็นโพรงนี้ จะทำให้กระดูกมีความแข็งแรงน้อยกว่าปกติ จึงทำให้กระดูกสามารถแตกและหักได้ง่าย

โรคกระดูกผิดรูป ( Paget’s Disease )

โรคกระดูกผิดรูป หมายถึง ภาวะที่กระดูกภายในร่างกายเรียงตัวกันไม่เป็นระเบียบ หรือมีภาวะที่กระดูกมีรูปร่าง เล็กหรือโค้งแบน ผิดปกติไปจากรูปร่างของกระดูกมาตรฐานปกติ โดยมีสาเหตุอาจเกิดจาก เชื้อไวรัสที่มีผลต่อการสร้าง [adinserter name=”ตรวจเลือดและตรวจเช็คมาตรฐานสุขภาพ “]และเรียงตัวกระดูก หรือ ถูกถ่ายทอดความผิดปกติมาจากพันธุ์กรรม หรือ อาจเกิดจากการเสริมสร้างรักษารูปทรงกระดูกที่ผิดปกติ ซึ่งโรคกระดูกผิดรูปนี้มักจะเกินในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และสามารถพบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง

ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง

กระดูกของมนุษย์จะมีสุขภาพดีและมีความแข็งแรงได้ จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ดังต่อไปนี้
สารของแข็งที่ปราศจากชีวิต ( Non-Living Substance )

มีลักษณะเป็นเกลือคริสตัล เช่น ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส ออกซิเจน และไฮโดรเจน รวมกันเป็นสารประกอบทางเคมี ที่มีความแข็งเป็นพิเศษ เรียกว่า ไฮดรอกซีแอปาไทต์ ( Hydroxyapatite ) ปกติแล้ว ในร่างกายของมนุษย์เราจะมีปริมาณของ
– แคลเซียม ( Ca ) อยู่ที่กระดูกและฟันมากถึง 99 % ส่วนที่เหลืออีก 1 % จะอยู่ในองค์ประกอบของเลือด
– ฟอสฟอรัส ( P ) จะพบได้ในกระดูกประมาณ 85 % ส่วนที่เหลืออีก 15 % จะอยู่ในองค์ประกอบของเลือดและเนื้อเยื่อ

โดยจะมีอัตราส่วนของสูตรทางเคมี  คือ Ca/p = 10/6 = 5/3
สรุปคือ แคลเซียม : ฟอสฟอรัส จะเท่ากับ  5 : 3

 

หากบริโภคอาหารที่มีฟอสฟอรัสปริมาณสูงเกินไป จะส่งผลให้ร่างกายจำเป็นจะต้องดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกออกมาช่วยลดฤทธิ์ของฟอสฟอรัสในเลือดลง เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เมื่อมีการนำแคลเซียมออกมาใช้ในปริมาณมาก ก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของกระดูก ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่ายกว่าปกตินั่นเอง โดยอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงมาก เช่น เนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง เครื่องดื่ม Soft Drink และ น้ำโซดาทุกชนิด จึงควรเลี่ยงหรือทานในปริมาณที่เหมาะสม
เนื้อเยื่อที่มีชีวิต ( Living Tissue ) จะประกอบด้วย หลอดเลือด เส้นประสาท สารโปรตีนยึดโยงเซลล์ ( Collagen ) ทุกๆเซลล์กระดูกให้เกาะเกี่ยวกัน

– เซลล์ที่มีชีวิตของกระดูกเฉพาะที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างกระดูก ได้แก่

1) สัญญาณโรคกระดูก ออสเตโอไซต์ ( Osteocyte ) คือ เซลล์กระดูกประจำที่ถาวร ซึ่งยึดเหนี่ยวเกาะกันเองจนสร้างเป็นกระดูกแต่ละชิ้นให้คงรูปอยู่ตามที่ควรจะเป็น
2) สัญญาณโรคกระดูก ออสเตโอแคลสต์ ( Osteoclast ) คือ เซลล์สลายกระดูกที่มีหน้าที่ดึงเอาแคลเซียมและแร่ธาตุออกไปจากกระดูก ในภาวะที่จำเป็นต่อร่างกาย ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลงไปด้วย เรียกว่า กระทำการเสื่อม สลายกระดูก ( Bone Resorption ) หากเกิดบ่อยๆ จะส่งผลให้เกิดให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้
3) สัญญาณโรคกระดูก ออสเตโอแบลสต์ ( Osteoblast ) คือเซลล์เสริมสร้างกระดูกอีกชนิดหนึ่ง มีหน้าที่รับผิดชอบในการดึงเอาแคลเซียม และสารอาหารจากเลือดมากระทำการช่วยซ่อมแซมเนื้อกระดูกที่เสียหาย ด้วยกระบวนการที่ เรียกว่า การทำการเสริมกระดูก คือ Osteoblast

อาหารที่มีฟอสฟอรัสปริมาณสูงเกินไป ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่ายกว่าปกติ เช่น เนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง เครื่องดื่ม Soft Drink และ น้ำโซดาทุกชนิด จึงควรเลี่ยงหรือทานในปริมาณที่พอเหมาะ

ปัจจัยเสริมต่อการมีสุขภาพกระดูกที่ดี

นอกจาก Osteoblast ที่เป็นเซลล์ในการซ่อมแซมกระดูกที่เสียหายแล้ว กระดูกจะแข็งแรงและสมบรูณ์ได้ด้วยปัจจัยเสริมหลายๆอย่าง ดังต่อไปนี้

  • วิตามินดี ช่วยให้ลำไส้สามารถดูดซึมแคลเซียมจากอาหาร มาให้ร่างกายใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยเร่งให้ เซลล์ Osteoblast นำแคลเซียมไปซ่อมแซมกระดูกที่สึกหลอได้ดีขึ้นอีกด้วย
  • Parathyroid Hormone ( PTH ) เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่สั่งให้ไต ดูดแคลเซียมกลับคืนมาให้ร่างกายได้ใช้งาน แทนการขับทิ้งเป็นของเสียออกทางปัสสาวะ
  • Calcitonin เป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยต่อมไทรอยด์ ช่วยส่งเสริมให้ Osteoblast ทำงานได้ดีขึ้น ทำหน้าที่กระตุ้นการสะสมของแคลเซียมที่กระดูก และยังคอบควบคุมให้ระดับของแคลเซียมในกระแสเลือดไม่มากเกินไป นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ยับยั้งไม่ให้แคลเซียมออกจากกระดูกอีกด้วยในปัจจุบันมีการผลิต Calcitonin ขึ้นมาเป็นยา ก็อาจใช้ทดแทนได้เหมือนกัน แต่ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์
  • Estrogen เป็นฮอร์โมนหลักของเพศหญิง ช่วยให้ไต นำแคลเซียมที่จะถูกขับถ่ายออกเป็นของเสีย กลับคืนสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้งาน แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทองภายหลังหมดประจำเดือน ในเพศหญิงแล้ว ฮอร์โมนชนิดนี้จะมีปริมาณที่ลดลงกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายได้รับแคลเซียมน้อยลงตามไปด้วย เมื่อได้รับแคลเซียมน้อยลงก็จะมีผลทำให้เซลล์ Osteoclast มีประสิทธิภาพในการซ่อมแซมกระดูกที่สึกหรอได้น้อยลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่ายนั่นเอง
  • Testosterone เป็นฮอร์โมนหลักของเพศชาย ที่มีส่วนในการช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้เหมือนกับ ฮอร์โมน Estrogen ของเพศหญิง

วิธีการตรวจโรคของกระดูก

โรคเกี่ยวกับกระดูกที่พบได้มากในปัจจุบัน เช่น โรคกระดูกพรุน หรือ โรคมวลกระดูกน้อย  ซึ่งโรคแต่ละชนิดนั้นก็จะมีสาเหตุของโรคที่แตกต่างกันออกไป เช่น การที่ไตทำงานผิดปกติ การลดลงของระดับฮอร์โมน  หรือ กินยา Steroid รักษาโรคอื่นนานเกินไป เป็นต้น ซึ่งโรคกระดูกที่เกิดขึ้นสามารถใช้วิธีทางการแพทย์ตรวจวินิจฉัยได้ดังนี้
1. การตรวจด้วยวิธีรังสีวิทยา ( X-ray )
2. การตรวจโดยใช้ความหนาแน่นของมวลกระดูก ( Bone Mineral Density, BMD ) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการตรวจหาโรคกระดูกพรุน มีเครื่องมือหลายชนิดที่ถูกสร้างขึ้นมาวัดค่านี้ แต่เพื่อความเป็นมาตรฐาน  องค์การอนามัยโลก ( WHO ) จึงกำหนดให้การวัดด้วยเครื่อง “ Dual Energy X-ray Absorptionmetry ”  ( DXA ) เป็นวิธีมาตรฐานเท่านั้น

3. การตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก ด้วยวิธี QCT ( Quantitative Computed Tomography )
4. การตรวจความหนาแน่นของกระดูกด้วยวิธี อัลตร้าซาวด์  ( Ultrasound Absorption )
นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคที่เป็นวิธีใหม่ คือ การตรวจสัญญาณโรคกระดูก จากค่าการหมุนเวียนของสารชีวะเคมีที่บ่งชี้การสร้างเสริมหรือสลายกระดูก ( Bone Turnover Biochemical Markers ) โดยจะมีค่าสำคัญ 3 ชนิดที่นำมาวิเคราะห์ คือ

1. β-CrossLaps เป็นการตรวจหาค่าที่เกี่ยวกับ การสลายของกระดูก หากมีปริมาณที่มากเกินปกติ จะหมายถึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
2. N-MID Osteocalcin เป็นค่าที่แสดงถึงการมีการสร้างของกระดูก หากมีปริมาณที่มากเกินปกติ จะหมายถึงมีสภาวะกระดูกกำลังพอกพูนขึ้น
3. PTH เป็นค่าของฮอร์โมน Parathyroid Hormone มีหน้าที่รักษาระดับแคลเซียมในเลือด และเป็นตัวสั่งให้ไตดูดแคลเซียมกลับสู่ร่างกาย แทนการขับทิ้งเป็นของเสียออกทางปัสสาวะ ซึ่งค่าของ PTH จะสูงหรือต่ำ จึงอาจมีความหมายว่า ณ เวลาขณะนั้นว่า กำลังมีการเสริมสร้าง หรือ กำลังเสื่อมสลายของกระดูกอยู่นั่นเอง
การตรวจด้วยวิธีนี้ จะมีแตกต่างจาการวินิจฉัยวิธีอื่นๆ คือ สามารถทราบผลการตรวจได้ทันทีว่ากระดูกกำลังอยู่ในสภาวะถูกเสริมสร้าง หรือกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมสลายโดยไม่ต้องรอเวลาเหมือนวิธีอื่นๆที่แพทย์อาจจะต้องนำผลตรวจที่ได้ไปวิเคราะห์ก่อน และหากในช่วงนั้นมีการใช้ยารักษาก็จะทราบว่ายารักษาโรคกระดูก ณ เวลานั้นได้ผลหรือไม่ ด้วยเช่นกัน

สัญญาณโรคกระดูกที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แม้ว่าจะดูว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคต่ำ ไม่ได้ร้ายแรงอะไร หลายคนจึงมักมองข้ามโรคนี้ไป แต่ถ้าหากเลือกได้ใครหลายคนก็คงไม่อยากให้โรคนี้เกิดกับตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความเจ็บปวดต่อร่างกายแล้ว ยังก็ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย ทั้งนี้หากเกิดโรคกระดูกเกิดขึ้นแล้ว โดยที่ผู้ป่วยเลือกที่จะไม่รักษาปล่อยทิ้งไว้นานเป็นเรื้อรัง อาการที่เคยเป็นแต่น้อยนิดก็อาจจะรุนแรงเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน การตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกมีด้วยกันหลากหลายวิธี หากตรวจพบและเจออาการของโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้ช่วยป้องกันและสามารถรักษาโรคกระดูกต่างๆเหล่านี้ ให้ดีขึ้นได้ไม่ยากเลย ดังนั้นอย่ารีรอเวลา หากสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูก ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจจะดีที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

https://emedicine.medscape.com/article/128567.

กล้ามเนื้อหัวใจตาย เสี้ยวนาทีแห่งชีวิต

0
กล้ามเนื้อหัวใจตาย เสี้ยวนาทีแห่งชีวิต
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หมายถึง โรคหัวใจที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบและแข็งตัว
กล้ามเนื้อหัวใจตาย เสี้ยวนาทีแห่งชีวิต
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หมายถึง โรคหัวใจที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบและแข็งตัว

กล้ามเนื้อหัวใจตาย

หัวใจ  เป็นอวัยวะสำคัญอันดับต้นๆ ที่คนเราต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะไม่ว่าร่างกายของคุณจะแข็งแรงขนาดไหนจะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นประจำ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่เคยมีโรคประจำตัวเลยก็ตาม แต่หากคุณไม่ เคยดูแล หัวใจ เลย หัวใจ ก็ทนไม่ไหว และถ้ากล้ามเนื้อหัวใจตายอาจพรากชีวิตของคุณโดยไม่รู้ตัว แม้แต่ระดับนักกีฬามืออาชีพ ยังล้มลงขาดใจตายคาสนามมาหลายรายแล้วโรคร้ายที่เข้ามาพรากชีวิตคนที่เรารักอย่างคาดไม่ถึงชนิดนี้ เราเรียกมันว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาทำความรู้จักกับเจ้ามฤตยูตัวร้ายกันดีกว่า

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือ Acute Myocardial Infarction ( Acute MI ) หมายถึง โรคหัวใจที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่คอยส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจนั้นตีบและแข็งตัว ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือชะงักขาดช่วงไปเมื่อหัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น

เวลาที่เราออกแรงมากๆ โกรธใครสักคนอย่างรุนแรง หรือเครียดจากเรื่องต่างๆ จนทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกเป็นครั้งคราว นั่นเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจบางอย่างอาจยังไม่ถึงขั้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายทันที อาการแบบนี้เรียกว่า โรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ หรือ แองจินา

ถ้ามีกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน เลือดจะไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยเจ็บหน้าอกรุนแรงขึ้น อาจถึงขั้นช็อก หรือมีอาการหัวใจวายร่วมด้วย เราเรียกโรคนี้ว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

โรคกล้ามเนื้อหัวใจวายนี้เกิดกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะกับผู้มีอันจะกินทั้งหลาย กินดีอยู่ดี วันๆ ทำงานนั่งโต๊ะอย่างเดียว ไม่ค่อยได้ลุกเดินไปไหน หรือไม่ก็คอยชี้นิ้วสั่งคนอื่นให้ทำแทน โรคนี้จึงมักเกิดกับคนรวย หรือคนเมือง มากกว่าคนที่มีฐานะยากจน คนต่างจังหวัด ผู้ใช้แรงงาน หรือชาวบ้านที่มักทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ต้องได้รับการวินิจฉัย และให้การรักษาทันท่วงที เพราะทุกนาทีที่ผ่านไปหมายถึง โอกาสรอดของผู้ป่วย

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกล้าเนื้อหัวใจตาย

กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเป็นการตีบตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เลือดไปเลี้ยวหัวใจไม่พอนั้น เกิดจากผนังหลอดเลือดแข็ง มีไขมันเกาะ และความเสื่อมของร่างกายตามวัยนอกจากนี้ ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น มักมีสาเหตุจาการมีไขมันในเลือดสูง ความอ้วน สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย กรรมพันธุ์ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน หากตรวจร่างกายแล้วพบโรคเหล่านี้ ต้องรีบรักษาทันที อย่าปล่อยไว้เป็นอันขาด

ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหลายคน เสียชีวิตระหว่างเดินทางไปโรงพยาบาล บางคนไปถึงโรงพยาบาลแล้ว แพทย์ก็ยังช่วยชีวิตเอาไว้ไม่ทัน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่คือผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาลช้า หรือไปถึงโรงพยาบาลแล้ว แต่โรงพยาบาลแห่งนั้นไม่มีแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจจึงต้องทำการส่งตัวคนไข้ไปรักษาอีกโรงพยาบาลหนึ่งแม้ทีมแพทย์และพยาบาลของโรคพยาบาลที่รอรับผู้ป่วยจะเตรียมพร้อมรับสถานการณ์เอาไว้แล้ว แต่ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ เพราะระยะเวลาส่งตัวที่นานกว่า 1 ชั่วโมงอาจทำให้ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นไปแล้วก็เป็นได้

“อาการเตือนล่วงหน้าคือเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน”

รายที่เป็นแค่ โรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ จะมีอาการจุกแน่นหน้าอก และร้าวไปถึงไหล่ซ้ายด้านในของแขนซ้ายอาจลุกลามไปที่คอ ขากรรไกร หลัง แขนขา หรือจุกแน่น ใต้ลิ้นปี่ อาการคล้ายอาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ
ในรายที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะมีอาการเหมือนโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ แต่รุนแรงมากกว่า อ่อนเพลีย ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน หอบเหนื่อย มีภาวะหัวใจวาย หรือช็อก เป็นลม หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตทันทีทันใด เมื่อรู้สึกตัวว่ามีอาการเหล่านี้ ต้องรีบบอกคนใกล้ชิดคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ให้รับรู้ในทันที เพื่อให้พาไปโรงพยาบาลเป็นการด่วน ห้ามไปโรงพยาบาลคนเดียว เพราะทุกนาทีหมายถึงความเป็นความตาย คุณอาจมีอาการกำเริบขึ้นมากลางทางได้

อย่ารอให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจนสายเกินแก้

หากคุณเป็นผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แล้วมักจะละเลยเรื่องสุขภาพ คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะยังแข็งแรงดีอยู่ ยังเดินเหินไปไหนมาไหนได้รับประทานอาหารได้ตามปกติ จึงไม่ต้องไปพบแพทย์ก็ได้แต่นั่นหมายถึงคุณกำลังละเลยเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิตไป 

เพื่อหลีกเลี่ยง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคุณจึงควรหันมาใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น เพราะโรคนี้สามารถป้องกันได้ อย่ารอให้สายจนเกินไป

1. งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ซึ่งอัตราการเกิดโรคหัวใจ พบในคนสูบบุหรี่มากกว่าคนที่ไม่สูบ 3-4 เท่า

2. พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

3. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้หลอดเลือดขยายใหญ่ขึ้น และทำให้การติดต่อระหว่างหลอดเลือดดีขึ้น ป้องกันโรคหัวใจได้

4. อย่าให้ อ้วน ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเพราะอาหารประเภทไขมันประกอบด้วยโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ อันเป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบตัน

5. ผ่อนคลายความเครียด ด้วยวิธีต่างๆ อย่าวิตกกังวลหรือทำให้เกิดความเครียดบ่อยๆ ป้องกันโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี

6. เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ควรวัดความดันโลหิตทุกปีเพราะโรคความดันโลหิต อาจเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดแดงตีบและตันได้

7. ตรวจเช็คระดับไขมันในเลือดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง คนปกติไม่ควรมีระดับไขมันในเลือดเกิน 200 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 ซีซี ถ้าผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ ต้องควบคุมอาหาร หรืออาจต้องใช้ยา

8. ถ้าเป็นผู้ป่วยเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่

9. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมระดับความดันเอาไว้ให้ดี โดยการควบคุมอาหาร และการใช้ยา

เปิด ทางด่วน รอรักษา

เป้าหมายการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพของ “โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน” คือ การทำให้เลือดกลับมาไหลผ่านหลอดเลือดที่อุดตันอย่างเร็วที่สุดเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดฟื้นคืนกลับมาทำงานให้ได้มากที่สุด

ฉะนั้นคนไข้จึงควรได้รับยาละลายลิ่มเลือด หรือได้รับการสวนหัวใจด้วย ลูกโป่งขยายหลอดเลือด (บอลลูน) โดยเร็วที่สุด

หลายโรงพยาบาลตั้งเกณฑ์มาตรฐานในเรื่องระยะเวลาของการรักษาไว้ว่า เมื่อผู้ป่วยไปถึงห้องฉุกเฉิน จนถึงการได้รับยาละลายลิ่มเลือด Door to Drug Time ต้องใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที และหากต้องสวนหัวใจด้วยลูกโป่งขยายหลอดเลือด Door to Balloon Time ต้องใช้เวลาน้อยกว่า 90 นาที บางโรงพยาบาลจึงจัดระบบ ทางด่วน Fast Track เอาไว้เพื่อรองรับผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โดยเฉพาะนอกจากนี้ยังมีการสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ร่วมกับ โรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลชุมชนในต่างจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีกลุ่มเครือข่ายคอยให้คำปรึกษาผ่านระบบสารสนเทศ เป็นต้น

เลือกวิธีการรักษาให้ถูกคน

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ และสภาพร่างกายของผู้ป่วยได้แก่

1. การให้ออกซิเจน

2. การให้ยาแก้ปวด

3. การใช้ยาขยายหลอดเลือด

4. การใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว หรือยาละลายลิ่มเลือด

5. การรักษาอย่างอื่น ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป

โดยทั่วไป ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจโดยเฉพาะ ผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อน อย่างภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยควรจะได้รับการตรวจสัญญาณชีพจรบ่อยๆ และควรรับการบันทึกคลื่นไฟฟ้าใจตลอดเวลา

กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว ให้อมยาไนโตรกลีเซอรีน หรือไนเตรตไว้ใต้ลิ้น แล้วรีบไปโรงพยาบาล เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นระหว่างทาง

ป้องกันไว้อย่าให้อาการกำเริบ

เมื่อผ่านการตรวจวินิจฉัยโดยทีมแพทย์เฉพาะทางแล้วทางที่ดี เราสามารถป้องกันอาการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายไม่ให้กำเริบได้ ดังนี้

1. หากมีอาการผิดปกติ ควรไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ด้วยการตรวจคลื่นหัวใจ เอกซเรย์ ตรวจเลือดตรวจปัสสาวะ และรับคำแนะนำการรักษาจากแพทย์

2. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง และอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ทุกเวลา ควรพบแพทย์เป็นประจำ และควรพกยาไนโตรกลีเซอรีนติดตัวไว้ใช้ยามเกิดอาการ

3. ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เมื่อกลับจากโรงพยาบาลแล้ว ควรพักฟื้นที่บ้าน อย่าทำงานหนัก และงดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 4-5 สัปดาห์

4. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

5. งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด

6. ถ้าอ้วน ต้องลดน้ำหนัก งดอาหารที่มีไขมันสัตว์สูง ใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันจากสัตว์

7. ออกกำลังกายที่เบาๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น

8. หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการโรคหัวใจกำเริบ เช่น สิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นตกใจ อารมณ์โกรธ หรือกระทบกระเทือนหักโหมเกินไป ระวังอย่าให้ท้องผูก อย่ากินอาหารให้อิ่มมากเกินไป งดชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่ใส่คาเฟอีน หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ รับประทานไข่ครั้งละ 1 ฟอง วันเว้นวัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อน เข้าใจกว่า การตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 240 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1647-7

Ishikawa T et al. (March 2006). “Differences between men and women in terms of clinical features of ST-segment elevation acute myocardial infarction”. Circulation Journal 70 (3): 222–226. PMID 16501283.

Erhardt L, Herlitz J, Bossaert L, et al. (2002). “Task force on the management of chest pain” (PDF). Eur. Heart J. 23 (15): 1153–76.

มะเร็ง โรคที่คนไทยเป็นเยอะสุด

0
สิ่งผิดปกติที่เรียกว่า โรคมะเร็ง
มะเร็ง หมายถึง การที่เซลล์ผิดปกติในร่างกายเจริญเติบโตจนควบคุมไม่ได้ เซลล์ใหม่นั้นก่อตัวเป็นก้อนเนื้อเยื่อที่เรียกว่า เนื้องอก
สิ่งผิดปกติที่เรียกว่า โรคมะเร็ง
มะเร็ง คือ การที่เซลล์ผิดปกติในร่างกายเจริญเติบโตจนควบคุมไม่ได้ เซลล์ใหม่นั้นก่อตัวเป็นก้อนเนื้อเยื่อที่เรียกว่า เนื้องอก

มะเร็ง

รคที่ร้ายแรงที่สุดของคนไทยในขณะนี้คือ โรคมะเร็ง กระทรวงสาธารณะสุข วิเคราะห์สถิติการเสียชีวิตของคนไทยย้อนหลังตั้งแต่ปี 2543 พบว่า มะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันถึง 9 ปีซ้อน

สถิติล่าสุดปี 2551 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งสิ้นถึง 55,403 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 32,060 คน และผู้หญิง 23,343 คน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นผู้สูงวัย (มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ถึงร้อยละ 53 และรองลงมาก็คือ วัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี ร้อยละ 46 

เฉลี่ยแล้วในแต่ละวันจะมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งสิ้น 152 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน ซึ่งถือเป็นสถิติที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง มะเร็งที่คนไทยเป็นเยอะสุด ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ มะเร็งตับ
มะเร็งปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งลำไส้ เป็นต้น

เป็นเรื่องใกล้ตัวผู้หญิง สอดคล้องกับการสำรวจของคณะผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติแห่ง สหประชาชาติ lARC WHO นำโดย อาจาร์ปีเตอร์ บอยล์ คาดการณ์ว่า มะเร็งกำลังมาแรงและจะแซงโรคหัวใจในปี 2553 เมื่อแยกตามอวัยวะที่เกิดมะเร็งในคนไทย พบว่า

อันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งตับ คือมีจำนวนผู้ป่วยจำนวน 14,084 คน เป็นชาย 9,951 คน หญิง 4,133 คน

อันดับ 2 มะเร็งหลอดลม มะเร็งปอด มีผู้ป่วยจำนวน 8,565 คน ชาย 5,801 คน หญิง 2,764 คน ซึ่งทั้งมะเร็งตับและมะเร็งปอดมีผู้เสียชีวิต เป็นชายมากกว่าหญิงถึง 2 เท่าตัว

อันดับ 3 มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม จำนวน 2,347 คน

อันดับ 4 มะเร็งลำไส้ใหญ่ทวารหนัก จำนวน 1,839 คน

ขณะที่องค์การอนามัยโลกรายงานว่าในปี 2548 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งรวมแล้วเกือบ 8 ล้านคน

รู้จัก มะเร็ง อย่างลึกซึ้ง

มะเร็ง คืออะไร? มะเร็ง Cancer ถ้าเป็นศัพท์ทางการแพทย์ เรียกว่า Malignancy

มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน Latinroots, Mal- = Bad and Genus = Born

อันหมายถึงกลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวมเร็วและมากกว่าปกติ ซึ่งร่างกายไม่สามารถควบคุมการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้ได้ จนอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ Solid Tumor ซึ่งก้อนมะเร็งเหล่านี้ จะหลั่งสารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่เพื่อไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง ดังนั้น อาการแสดงของมะเร็งในระยะท้ายๆ ก็คือการมีเลือดออกผิดปกติ เช่น มะเร็งปากมดลูก อาจมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด มะเร็งลำไส้ใหญ่อาจมีเลือดปนมากับอุจจาระ เป็นต้น แต่เนื่องจากก้อนมะเร็งจะโตอย่างรวดเร็วจนในที่สุดเส้นเลือดที่สร้างใหม่ก็ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงก้อนมะเร็งได้ทัน ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงนั่นเอง

เซลล์มะเร็งเหล่านี้ถ้าเกิดในอวัยวะใด มักจะเรียกชื่อตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด ( Lung Cancer ) มะเร็งตับ ( Liver Cancer ) มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) มะเร็งผิวหนัง ( Skin Cancer ) เป็นต้น

โรคที่ร้ายแรงที่สุดของคนไทยในขณะนี้คือ โรคมะเร็ง ซึ่งมีถิติการเสียชีวิตของคนไทยย้อนหลังตั้งแต่ปี 2543 พบว่า มะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1

การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก

ส่วนใหญ่แล้วเรามักตรวจพบ มะเร็ง ด้วยความบังเอิญ หรือจากการตรวจสุขภาพทั่วไป เพราะโดยมากแล้วเซลล์มะเร็งอาจเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัวและไม่มีอาการมาก่อน ซึ่งถ้าตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรกมะเร็งก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ ยิ่งพบเร็วยิ่งดี การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก มี 3 หลักการ ดังนี้

1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด มีความสำคัญมากอันดับแรก เนื่องจากเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ช่วยให้แพทย์ผู้ตรวจวินิจฉัยโรคได้ โดยดูจากประวัติการเป็น มะเร็ง ของคนในครอบครัว สิ่งแวดล้อมบางอย่างก็อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดมะเร็งบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ทำงานกับสารกัมมันตภาพรังสีนานๆ อาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ เป็นต้น

ประวัติที่ต้องตอบให้ชัดเจนที่สุดก็คือ ประวัติส่วนตัว อุปนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัว ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือไม่ ประการใด

อีกอย่างหนึ่งที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบโดยเร็วคือ อาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น เป็นตุ่ม ก้อน แผล ที่เต้านม ผิวหนัง ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม หรือที่ลิ้น มีตกขาวมากหรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ เป็นแผลเรื้อรังรักษาไม่หายอาการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นตัวบ่งชี้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นแก่ร่างกาย จึงควรได้รับการตรวจร่างกายโดยละเอียดต่อไป

2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด ในทางปฏิบัตินั้นแพทย์ไม่สามารถตรวจร่างกายผู้ป่วยได้ทุกอวัยวะและทุกระบบ แต่มีหลักเกณฑ์ง่ายๆ ว่าควรตรวจอวัยวะต่างๆ เท่าที่จะตรวจได้ ได้แก่ ผิวหนังและเนื้อเยื่อบางส่วน ศีรษะและคอ ทรวงอกและเต้านม บริเวณท้อง อวัยวะเพศ ทวารหนักและลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจอื่นๆ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ รวมถึงการเอกซเรย์อวัยวะต่างๆ ที่ต้องสงสัยว่า จะเป็น มะเร็ง เช่น การเอกซเรย์ปอด เต้านม ระบบทางเดินอาหารเข้าไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วเอกซเรย์การกระจายของสารนั้นๆ เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยโรค   

นอกจากนี้ ก็ยังมีการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา แต่การตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัย โรคมะเร็ง คือ การตัดเนื้อเยื่อบริเวณที่สงสัยแล้วส่งไปตรวจอย่างละเอียด ซึ่งมะเร็งที่พบได้บ่อยในประเทศไทยก็ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งในช่องปาก ซึ่งมะเร็งที่อวัยวะเหล่านี้ตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก ถ้าเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

ประโยชน์ของการตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก มีประโยชน์มาก ทำให้การรักษาได้ผลดี และป้องกันมิให้ผู้ป่วยเป็น มะเร็ง ระยะลุกลามอันเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ในภายหลัง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง 

Prasad AR, Bernstein H (March 2013). Epigenetic field defects in progression to cancer. World Journal of Gastrointestinal Oncology.

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.