Home Blog Page 164

ตรวจเบาหวาน ( Diabetes test )

0
ตรวจเลือดวิเคราะห์โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเกิดขึ้นจากการที่อ้วนเกินไปไม่ออกกำลังกาย และถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ตรวจเลือดวิเคราะห์โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเกิดขึ้นจากการที่อ้วนเกินไปไม่ออกกำลังกาย และถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ตรวจเบาหวาน

ตรวจเบาหวาน ( Diabetes ) ถือว่าเป็นโรคทีมีจำนวนผู้ป่วยมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มีตั้งแต่อายุยังน้อย จนไปถึงผู้ที่อยู่ในวัยชราภาพ โรคนี้หากเป็นแล้วจะมีอาการที่เรื้อรัง ผู้ป่วยต้อยคอยดูแล ควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดของตนเองให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ  ในปัจจุบันมีวิธี ตรวจเบาหวาน ได้หลากหลายวิธี  แต่วิธีที่นิยมกันมากที่สุดก็คือ วิธีการเจาะเลือดมาตรวจ เพื่อวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากเป็นวิธีที่ให้ผลตรวจที่แม่นยำ มีความสะดวก ทำได้ง่าย และมีค่าใช้จ่ายน้อยในการตรวจนั้นเอง

ค่าการตรวจเลือดที่สำคัญในการวิเคราะห์ เบาหวาน

ในการตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานนั้น ในทางการแพทย์จะใช้ค่าในการตรวจหาปริมาณน้ำตาลหลายๆตัวด้วยกัน เช่น  FBS, FPG, HbA1c, GTT เป็นต้น ซึ่งในการตรวจนั้น แพทย์อาจใช้ค่าใดค่าหนึ่ง หรือ ใช้ค่าผลตรวจหลายๆตัวรวมกันก็ได้ เพื่อให้ผลตรวจที่ได้ออกมามีความแม่นยำมากที่สุด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจเลือด

การตรวจเลือดเพื่อหาความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานนั้น แพทย์จะให้ผู้ที่ต้องการตรวจเลือด งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดก่อนตรวจเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อให้ผลเลือดที่ออกมาปราศจากความคลาดเคลื่อนนั้นเอง

ค่า Fasting Blood Sugar ( FBS ) คืออะไร

Fasting Blood Sugar ( FBS ) คือ วิธีมาตรฐานที่นิยมใช้เป็นการตรวจโรคเบาหวาน หลังจากที่ได้มีการอดอาหาร และเครื่องดื่มมาอย่างน้อยเป็นเวลากว่า 8 ชั่วโมง หรือ สามารถเรียกการตรวจค่าชนิดนี้ว่า Fasting Plasma Glucose (FPG) ก็ได้เช่นกัน โดย FPG มีค่าปกติ คือ

FPG      < 110     mg / dL

 

ดังนั้นหากผู้ที่ทำการตรวจมีปริมาณของค่า FPG ผิดไปจากค่ามาตรฐาน สามารถสรุปในเบื้องต้นได้ดังนี้

ค่า FPG ที่วัดได้ สูงกว่า 110 mg / dL มีภาวะของโรคเบาหวานเกิดขึ้นแล้ว
ค่า FPG ที่วัดได้ ต่ำกว่า 70 mg / dL อาจเกิดมีสภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกิดขึ้น

 

การตรวจเลือด หาความผิดปกติของ Hemoglobin A1c ( HbA1c )

HbA1c มีชื่อเรียกที่หลากหลาย โดยมีความหมายและถือเป็นค่าเดียวกัน ได้แก่

1. HbA1c
2. GHb
3. GHB
4. Glycohemglobin
5. Glycolated Hemoglobin
6. Hemoglobin A1C
7. Diabetic Control Index
8. Glycated Protein
9. Glycosylated Hemoglobin
10. Hemoglobin-Glycosylated
11. A1C

ซึ่งวัตถุประสงค์ในการตรวจหาค่า Hemoglobin A1c ( HbA1c )  เพื่อตรวจเช็คสภาวะการเป็นโรคเบาหวาน รวมถึงใช้ตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาโรคเบาหวานอีกด้วย โดยการตรวจดังกล่าวนี้จะเป็นการตรวจดูว่ามีน้ำตาลกลูโคสที่เข้าไปจับและเคลือบผิวกับเฮโมโกบินในเลือดมากน้อยเท่าไหร่ เรียกการตรวจนี้ว่า “ เฮโมโกบิน เอวันซี ” Hemoglobin A1c ( HbA1c ) โดยค่าที่ตรวจออกมาจะได้เป็นจนวนเปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดง และสามารถบ่งชี้ถึงโรคเบาหวานได้อย่างแม่นยำมากทีเดียว

คำอธิบายอย่างสรุปในการตรวจหาค่า Hemoglobin A1c ( HbA1c )

1. เฮโมโกบิน เป็นสารโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเม็ดเลือดแดงเป็นอย่างมาก เพราะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จำเป็นต้องมีในเม็ดเลือดแดงนั่นเอง ซึ่งก็พบว่าส่วนใหญ่จะมีเฮโมโกลบินอยู่มากถึง 98 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ทางการแพทย์จึงใช้ศัพท์แบบย่อๆ ว่า “ HbA ” นอกจากนี้ HbA ก็สามารถแยกย่อยออกมาได้เป็น HbA1, HbA2 ฯลฯ อีกด้วย
แต่ทั้งนี้ HbA1 ก็ยังได้รับการแยกย่อยออกไปอีก โดยสามารถแยกได้เป็น HbA1a, HbA1b และ HbA1c ตามลำดับ แต่ตัวที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องโรคเบาหวานมากที่สุด ก็คือ HbA1c นั่นเอง นั่นก็เพราะ Hemoglobin A1c ( HbA1c ) มักจะชอบเข้าไปจับตัวกับน้ำตาลและยอมให้น้ำตาลเคลือบได้ จึงทำให้เกิดความเสียหายและส่งผลให้เป็นเบาหวานได้ ดังนั้นยิ่งมีการจับและเคลือบกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงได้ถึงการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นเท่านั้น

2. เม็ดเลือดแดงส่วนใหญ่มักจะมีอายุขัยเพียงแค่ 120 วันเท่านั้น โดยจะทะยอยเกิดขึ้นมาจากไขกระดูกและเข้าไปทำงานในหลอดเลือด จากนั้นก็จะถูกม้ามจับไปทำลายเมื่อสิ้นอายุขัย เพราะฉะนั้น Hemoglobin A1c ( HbA1c ) ที่ถูกน้ำตาลเข้าจับ จะสามารถตรวจเทียบเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่มากน้อยออกมา และใช้เพื่อบ่งชี้สภาวะค่าน้ำตาลในเลือดของช่วงระยะเวลา 120 วันที่ผ่านมาได้อีกด้วย ซึ่งก็จะได้ค่าการตรวจที่มีความแม่นยำมากพอสมควร

3. HbA1c ที่ถูกน้ำตาลจับเคลือบ จะสามารถตรวจเลือดออกมาเป็นค่าตัวเลขที่มีหน่วยนับเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ ดังนี้

สมาคมโรคเบาหวานอเมริกัน ( The American Diabetes Association ) ได้อำนวยความสะดวกจัดทำ และแสดงตัวเลขเทียบเคียงค่าน้ำตาลได้ดังตารางต่อไปนี้
ค่า HbA1c ( หน่วย : % ) ตรงกับค่าน้ำตาลในเลือด ( หน่วย : mg/dL )
4 60
5 90
6 120
7 150
8 180
9 210
10 240
11 270
12 300
13 330

4. ค่าน้ำตาลในเลือดที่ตรวจหลังจากอดอาหารเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ จะถูกเรียกว่า FBS โดยจะได้ค่าที่บอกได้ถึงความปกติและสงสัยว่าจะเป็นเบาหวานดังนี้

ค่าน้ำตาลในเลือดที่ตรวจหลังจากอดอาหารเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ  ( FBS )
ค่าน้ำตาลในเลือด ( mg/dL ) ข้อบ่งชี้
< 110 ปกติ
110 – 125 เสี่ยงเป็นเบาหวาน
> 126 สงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน

ตัวเลขดังกล่าวนี้ใช้เพื่อให้ง่ายต่อการเทียบตัวเลข ค่าเปอร์เซ็นต์ของ HbA1c ที่เข้ามาจับกับน้ำตาล เพื่อให้สะดวกในการอ่าน แนะนำ จะจำเพียงตัวเลขแค่ 2 ตัวคือ

≤ 5 % ของ HbA1c ถือว่า ปลอดภัย
≥ 6 % ของ HbA1c ถือว่า เริ่มไม่ปลอดภัย

 

ค่าปกติของ Hemoglobin A1c ( HbA1c )

ค่าปกติ ของ HbA1c
ผู้ใหญ่ ไร้สภาวะเบาหวาน HbA1c : 2.2 – 4.8 %
เด็ก ไร้สภาวะเบาหวาน HbA1c : 1.8 – 4.0 %
สภาวะเบาหวาน ควบคุมดี HbA1c : 2.5 – 5.9 %
สภาวะเบาหวาน ควบคุมพอใช้ HbA1c : 6 – 8 %
สภาวะเบาหวาน ควบคุมไม่ดี HbA1c : > 8 %

 

ค่าผิดปกติของ Hemoglobin A1c ( HbA1c )

  1. หากค่าผิดปกติที่ได้ไปในทางน้อย อาจแสดงได้ว่า
  • เป็นโรคโลหิตจางชนิดที่เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ( Hemolytic Anemia ) เป็นผลให้ไม่สามารถตรวจนับเม็ดเลือดแดงที่จับกับน้ำตาลได้ แม้ว่าจะมีน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินค่าปกติก็ตาม
  • เกิดการเสียเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุไม่ถึง 120 วัน และค่าของ HbA1c ที่ถูกน้ำตาลจับก็อาจตรวจได้เป็นค่าเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำเกินจากความเป็นจริงอีกด้วย
  • เกิดสภาวะไตวายแบบเรื้อรัง ( Chronic Renal Failure ) ทำให้ไตไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอีริทโธรปอยเอตินออกมาได้ตามปกติ ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงออกมานั่นเอง ดังนั้นจากการที่ฮอร์โมนดังกล่าวมีน้อยก็จะทำให้เม็ดเลือดแดงถูกผลิตออกมาน้อยกว่าปกติด้วย จึงทำให้ค่าของ Hemoglobin A1c ( HbA1c ) ที่ตรวจได้ มีค่าที่ต่ำมากไปด้วยนั่นเอง

2. หากค่าผิดปกติที่ได้ไปในทางมาก อาจแสดงได้ว่า

  • คาดว่าน่าจะเป็นเบาหวานมาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ช่วง 120 วันที่ผ่านมา ดังนั้นเพื่อความชัดเจนมากขึ้น แพทย์ก็จะทำการตรวจเลือดหาค่า FBS ด้วย
  • เป็นโรคเบาหวาน และควบคุมได้ไม่ดี จึงทำให้ตรวจพบค่าสูงได้ เพราะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่นั่นเอง
  • เป็นน้ำตาลในเลือดสูงโดยปราศจากเบาหวาน ซึ่งอาจเกิดจากสภาวะบางอย่าง เช่น ตกอยู่ในความเครียดอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน เป็นต้น
  • การถูกตัดม้ามทิ้ง ทำให้เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุขัยแล้ว ยังคงวนเวียนอยู่ในหลอดเลือดเพราะไม่มีแหล่งกำจัดทิ้งออกไปนั่นเอง ดังนั้น Hemoglobin A1c ( HbA1c ) ที่ตรวจพบจึงมีค่าเปอร์เซ็นต์ที่สูงอย่างผิดปกติด้วย เพราะค่าที่ตรวจได้รวมเอาเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุขัยแล้วแต่ยังคงวนเวียนอยู่มาด้วยนั่นเอง

การทดสอบการทนน้ำตาลกลูโคส Glucose Tolerance Test ( GTT )

ปกติแล้วในร่างกายมนุษย์เราจะมี ฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน ( Insulin ) ซึ่งผลิตได้มาจากตับอ่อนในร่างกาย มีหน้าที่หลักในการควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โดยนำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆในร่างกาย แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ร่างกายอาจผลิต อินซูลิน ได้น้อยกว่าปกติหรือผลิตไม่ได้เลย จึงทำให้มีปริมาณน้ำตาลตกค้างในเลือดมาก ส่งผลให้เกิดสภาวะของโรคเบาหวาน

ดังนั้นในการตรวจวินิจฉัยของแพทย์สำหรับโรคเบาหวานนั้น แพทย์จะต้องทำการตรวจ เพื่อทดสอบว่า ในกรณีที่ร่างกายได้รับปริมาณของน้ำตาล จากการบริโภคอาหารต่างๆ เข้าไปในปริมารมากอย่างทันทีทันใด แล้วร่างกายยังสามารถทนทานและรับมือกับน้ำตาลจำนวนมากนี้ ได้ดีมากน้อยเพียงใด  จึงเกิดการตรวจสอบที่เรียกว่า การทดสอบการทนน้ำตาล หรือ การตรวจ GTT มีชื่อเต็มๆ คือ Glucose Tolerance Test

วิธีการตรวจโรคเบาหวาน การทดสอบการทนน้ำตาลกลูโคส Glucose Tolerance Test ( GTT )

ในการทดสอบ Glucose Tolerance Test ( GTT ) นั้น จะใช้วิธีให้ผู้ที่ถูกตรวจ ดื่มน้ำตาลกลูโคสมาตรฐาน (Standard Oral Glucose) จำนวน 75 กรัม แล้วรอรับการเจาะเลือดตรวจค่าน้ำตาลในเลือด หรือ FPG ( ตรวจวัดระดับพลาสมากลูโคส ) ณ เวลาสิ้นสุดชั่วโมงที่ 1, 2 และ 3 โดยจะมีการบันทึกค่าไว้ทุกครั้ง

ค่าปกติของการตรวจ GTT เวลา ค่าปกติ FPG
ชั่วโมงที่ 1 FPG < 110      mg/dL
ชั่วโมงที่ 2 FPG < 200      mg/dL
ชั่วโมงที่ 3 FPG < 140      mg/dL

 

กรณีค่า FPG ที่ได้จากการตรวจ GTT มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

1. ตรวจวัด Glucose Tolerance Test ( GTT ) ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน  หมายถึง เป็นผู้ที่สามารถทนทานและรับมือกับน้ำตาลจำนวนมาก ได้ในระดับที่ดี โดยอาจเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • อาจมีภาวะเกี่ยวกับโรคตับเกิดขึ้นในร่างกาย
  • ต่อมใต้สมอง อาจทำงานผิดปกติ ทำงานได้น้อยเกินไป ( Hypopituitarism )
  • มีการฉีดอินซูลินที่เกินขนาด สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
  • อาจมีโรค  “ Insulinoma ” เกิดขึ้น  หมายถึง โรคเนื้องอกเกิดขึ้นที่เซลล์ของตับอ่อน ทำให้หลั่งอินซูลินออกมามากเกินเกินความจำเป็น
  • อาจได้รับปริมาณอาหารไม่เพียงพอ

2. ตรวจวัด FPG ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน  หมายถึง เป็นผู้ที่สามารถทนทานและรับมือกับน้ำตาลจำนวนมาก ได้ไม่ดี โดยอาจเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้มีภาวะของโรคเบาหวานเกิดขึ้นแล้ว
  • อาจกำลังตกอยู่ภายใต้สภาวะความเครียดอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน เช่น ร่างกายถูกไฟไหม้ หรือได้รับการผ่าตัดใหญ่ จึงเป็นเหตุให้ ฮอร์โมนกลูคากอน ( Glucagon ) ซึ่งมีบทบาทตรงข้ามกับอินซูลิน ช่วยนำน้ำตาลออกมามากเกินปกติ
  • อาจเกิดสภาวะไตวาย จึงทำให้ไตหมดประสิทธิภาพในการขับทิ้ง ฮอร์โมนกลูคากอน  ออกมาทางปัสสาวะ
  • อาจเกิดสภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ( Acute Panareatitis ) เป็นผลทำให้ผลิตอินซูลินไม่ได้ หรือผลิตได้ในปริมาณที่น้อยกว่าปกติ จึงควบคุมระดับน้ำตาลจำนวนมากไม่ได้

การตรวจเลือดเพื่อหาสภาวะของโรคเบาหวานในปัจจุบันนี้ สามารถตรวจได้ง่ายกว่าในอดีตมาก คลินิกและโรง พยาบาลแทบแห่ง ล้วนแต่มีแพทย์ที่จะสามารถตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ทั้งสิ้น  ดังนั้นหากผู้ใดที่คิดว่าตนเอง อยู่ในภาวะความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน ทั้งการแสดงออกของอาการเบื้องต้น ปริมาณช่วงอายุที่เหมาะสม หรือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานแล้วละก็ ควรรีบไปให้แพทย์ เพื่อเจาะเลือดตรวจจะดีที่สุด เพราะหากไม่เป็น ก็จะได้เกิดความสบายใจ หรือถ้าหากเป็นโรคเบาหวานจริงๆ แล้ว ก็จะได้รู้และเตรียมพร้อมที่จะปรับตัวรับมือกับโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นกับร่างกายนี้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์, 2557.

แก้ว กังสดาลอำไพ. ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับอาหาร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. หมอชาวบ้าน, 2531.

ความสำคัญของฮอร์โมน ( Hormone ) ในร่างกาย

0
การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน
การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน เป็นการตรวจหาว่าฮอร์โมนในร่างกายมีความผิดปกติหรือไม่
การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน (Hormone Assays)
การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน เป็นการตรวจหาว่าฮอร์โมนในร่างกายมีความผิดปกติหรือไม่

ฮอร์โมน ( Hormone )

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ฮอร์โมน ( Hormone ) แต่ก็มีส่วนไม่น้อยเลยที่อาจไม่ทราบว่า ” ฮอร์โมน ” คืออะไร? มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย ทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญกับฮอร์โมนด้วย จะสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

ฮอร์โมน คืออะไร ?

ฮอร์โมน คือ กลุ่มของสารเคมีที่ถูกปล่อยออกจากเซลล์ แล้วเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อให้ไปมีผลต่ออวัยวะหรือเซลล์เป้าหมาย ที่มีตัวรับที่เฉพาะเจาะจงต่อฮอร์โมนนั้น เพื่อให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ  โดยมีสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับฮอร์โมนที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

ฮอร์โมน เกิดขึ้นได้อย่างไร

ฮอร์โมน ที่อยู่ในร่างกายมนุษย์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลัก 2 สิ่งดังต่อไปนี้

1. เกิดจากปัจจัยภายในที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเอง

โดยปกติแล้ว ร่างกายมนุษย์เราสามารถที่จะผลิตหรือสร้าง ฮอร์โมน ชนิดต่างๆ ขึ้นมาใช้ได้เองในแต่ละวัน โดยจะผลิตมาจากเซลล์ 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.1 เซลล์ของต่อมไร้ท่อ ( Emdocrine Cells )  ฮอร์โมนถูกสร้างจากขึ้นจากต่อมไร้ท่อ มีหลายชนิด เช่น ต่อมใต้สมอง ( Pituitary Gland ) ต่อมไทรอยด์ ( Thyroid Glands ) ต่อมหมวกไต ( Adrenal ) และ รังไข่ ( Ovaries ) ในเพศหญิง และ อัณฑะ  (Test is ) ในเพศชาย เป็นต้น
1.2 เซลล์ของต่อมมีท่อ ( Exocrine Cells ) ฮอร์โมนบางชนิดถูกสร้างขึ้นจากจากต่อมมีท่อ เช่น ต่อมน้ำลาย ( Saliva Glands ) ต่อมน้ำนม ( Mammary Glands ) เป็นต้น

ฮอร์โมน มีความหมายคือ  ” กลุ่มของสารเคมี ” ที่ถูกปล่อยออกจากเซลล์ แล้วเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อให้ไปมีผลต่ออวัยวะหรือเซลล์เป้าหมาย ที่มีตัวรับที่เฉพาะเจาะจงต่อฮอร์โมนนั้น เพื่อให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ

2. เกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกาย

นอกจากร่างกายสามารถสร้างฮอร์โมนเองได้แล้ว ยังมี ฮอร์โมน บางชนิด ที่ถูกผลิตมาจากปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น ได้จากการทานอาหารทั้งที่มาจากพืชและมาจากสัตว์ ดังนี้

2.1 ฮอร์โมนที่ได้มาจากอาหารในกลุ่มของพืช ฮอร์โมนพืช หรืออาจเรียกว่า ไฟโตฮอร์โมน ( Phytohormone ) สามารถพบได้ใน พืชตระกูลถั่วเหลือง เช่น ในถั่วเหลือง หรือ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือ เช่น น้ำเต้าหู้ ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว  เป็นต้น  โดยอาหารประเภทถั่วเหลืองนี้ จะไปช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนที่ชื่อว่า  Phytoestrogen ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำหรับเพศหญิง มีประโยชน์คือ  ช่วยให้มีผิวพรรณมีความสวยงาม สดใส  ช่วยด้านสภาวะอารมณ์ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น  ทำให้มีเต้านม เตรียมพร้อมสำหรับการเป็นแม่คน

2.2 ฮอร์โมนที่ได้มาจากอาหารในกลุ่มของสัตว์  ฮอร์โมนที่มนุษย์สามารถได้รับจากสัตว์บ่อยๆ เช่น ฮอร์โมนความเครียด ( Adrenaline ) คือ ฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไตของสัตว์ Adrenaline จะหลั่งออกมาขณะที่ มีอาการ โกรธ ตกใจ ตื่นเต้น อย่างรุนแรง เป็นต้น ตัวอย่างเช่น จากไก่ที่ถูกเลี้ยงขังไว้ในกรงที่แออัด ดังนั้น เมื่อเราบริโภคไก่เข้าไปก็จะทำให้เราได้รับสาร Adrenaline นี้เข้าสู่ร่างกายไปด้วย ซึ่งการทานไก่ที่มี ฮอร์โมน Adrenaline เข้าไปในปริมาณมาก เช่น เมนูไก่ทอด ตามร้านฟ้าสต์ฟู้ดชื่อดัง  อาจทำให้ผู้ที่ทานมีอาการของโรคหลุกหลิก หรือ โรคสมาธิสั้น  มีชื่อทางวิชาการว่า “ Attention-Deficit Hyperactivity Disorder ” สามารถเรียกย่อๆว่า ADHD โดยจะมีอาการที่จะแสดงออกมาคือ  มีบุคลิกอยู่ไม่นิ่ง อยู่กับสิ่งใดได้ไม่นาน มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย  มีสมาธิสั้นกว่าคนอื่นๆ

ช่องทางผ่านของ ฮอร์โมน

ฮอร์โมน ชนิดต่างๆจะมีช่องทางในการลำเรียงตนเองออกจากแหล่งกำเนิด ไปยัง อวัยวะต่างๆหรือเซลล์เป้าหมายต่างๆ  ในร่างกาย โดยอาจแบ่งแยกได้ตามชนิดของฮอร์โมน ดังนี้

1. ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ ( Endocrine Hormone ) โดยปกติ ฮอร์โมน ที่ถูกสร้างมาจากต่อมไร้ท้อ จะทำการเข้าหาเป้าหมาย โดยผ่านกระแสเลือด ให้การไหลเวียนของเลือดเป็นผู้พาฮอร์โมนไปสู่เซลล์เป้าหมายต่างๆ

2. ฮอร์โมนจากต่อมมีท่อ ( Exocrine Hormone หรือ  Ectocrine Hormone ) ฮอร์โมนชนิดจากต่อมมีท่อ นี้จะสามารถเดินทางไปยังเซลล์เป้าหมายต่างๆ ได้หลายวิธี ทั้งการปล่อยฮอร์โมนผ่านออกทางท่อ (Duct) บางชนิดก็ตรงไปสู่เซลล์เป้าหมายโดยตรง แต่บางชนิดก็ไปอาศัยกระแสเลือดให้ส่งต่อไปยังเซลล์เป้าหมายอีกชั้นหนึ่ง

เซลล์เป้าหมายคืออะไร?

เซลล์เป้าหมาย หรือ อวัยวะเป้าหมาย คือ จุดหมายปลายทางที่ฮอร์โมนชนิดต่างๆ จะต้องเดินทางผ่านช่องทางในร่างกายไปให้ถึงอวัยวะที่มีตัวรับเฉพาะ  ( Specific Receptor ) ของ ฮอร์โมน นั้นอยู่  แม้ว่าในระหว่างทาง ฮอร์โมน ไหลเวียนไป กับกระแสเลือดทั่วร่างกาย พร้อมๆ กัน  ผ่านเซลล์ต่างๆมากมายหลายชนิด แต่จะไม่มีเกิดปฏิกิริยาชีวเคมีใดๆเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลก็ต่อเมื่อ ฮอร์โมนเดินทางไปถึงเซลล์หรืออวัยวะเป้าหมายเฉพาะแล้วเท่านั้น มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

เซลล์ต้นกำเนิด ชื่อฮอร์โมน ช่องทาง เซลล์เป้าหมาย
ต่อมใต้สมอง FSH เลือด สตรี   :   รังไข่
บุรุษ  :  อัณฑะ
ต่อมใต้สมอง Prolactin เลือด ต่อมน้ำนม  :  เร่งสร้างน้ำนม
รังไข่ Progesterone เลือด ผนังมดลูก  :  เตรียมให้ไข่เกาะ
ตับอ่อน Glucagon เลือด ตับ  :  เร่งให้ผลิตน้ำตาลในเลือด

กลไกการเพิ่มหรือลดระดับฮอร์โมนในร่างกาย

ฮอร์โมน ในร่างกาย เป็นสิ่งที่มีความแปรปรวนได้ง่าย สามารถเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงได้ตลอดเวลา จากปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบ โดยมีสาเหตุสำคัญที่ทำให้ฮอร์โมนเกิดความแปรปรวน ดังต่อไปนี้

1. มีฮอร์โมนตัวชนิดอื่นมากระตุ้นหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในร่างกาย ก็อาจจะส่งผลกระทบให้ฮอร์โมนต่างๆ เกิดการปรับเปลี่ยนไปด้วย เช่น หากร่างกายกำลังขาดอาหาร สมองส่วนไฮโปธาลามัส ( Hypothalamus ) จะไปสั่งต่อมใต้สมอง ( Pituitary Gland ) ทำการปล่อยฮอร์โมน “ Ghrelin ” ผ่านเลือดไปยังเซลล์ของกระเพาะอาหารให้เร่งกระตุ้นสร้างความอยากอาหาร ( Stimulate Appetite ) เพื่อให้เกิดการทานอาหารเข้าไปในช่วงที่ร่างกายขาดอาหารนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นความฉลาดในกลไกลในร่างกายมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้น หากมีการตรวจเลือดในขณะที่ร่างกายขาดอาหาร ก็จะพบค่าฮอร์โมน Ghrelin ที่จะมีระดับที่สูงกว่าปกติ

2. ปัจจัยทางด้านอาหารที่บริโภคเข้าไปปัจจัยด้านอาหาร ก็มีผลกระทบต่อการเพิ่มลดฮอร์โมนในร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งสามารถเกิดได้จากการที่มีระดับ ความเข้มข้นของสารอาหาร หรือประจุไฟฟ้าของธาตุใดในกระแสเลือดมีมากหรือน้อยเกินไป เช่น  การทานอาหารที่มากไปด้วยแป้งหรือน้ำตาล จนทำให้มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเข้มข้นเกินไป จะส่งผลให้ ตับอ่อน จะปล่อยฮอร์โมน Insulin ออกมาสู่กระแสเลือด เพื่อช่วยควบคุมและลดปริมาณของน้ำตาลในเลือดลง ดังนั้นในเวลานี้หากมีการตรวจเลือดจะสามารถพบฮอร์โมน Insulin ได้ในปริมาณที่สูงกว่าปกติ
3. สภาวะจิตใจและระบบประสาทหากมีภาวะความแปรปรวนทางอารมณ์เกิดขึ้น หรือ จิตใจในขณะนั้นไม่ได้อยู่ในสภาพปกติ เช่น การมีภาวะความเครียด จะส่งผลทำให้ ฮอร์โมน Cortisol ถูกสร้างขึ้นเพิ่มมากว่าปกติจากต่อมหมวกไป  โดย ฮอร์โมน Cortisol สามารถเกิดได้จากความเครียดต่างๆ เช่น การพักผ่อนน้อย การออกกำลังกายมากเกินปกติ  การทำงานหนัก เป็นต้น
4. สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ  ก็มีผลต่อการปรับเพิ่มลดของฮอร์โมนได้เหมือนกัน  เช่น ฮอร์โมน Prolactin ในขณะหลับจะมีระดับสูงกว่าในขณะตื่นมากถึง 2 – 3 เท่าตัวเลยทีเดียว

ฮอร์โมน มีบทบาทอะไรต่อร่างกาย

ฮอร์โมนมากมายที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ จะมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของฮอร์โมนชนิดนั้นๆ และ ฮอร์โมนบางชนิดก็อาจมีหลายบทบาทได้เหมือนกัน  โดยบทบาทหลักๆที่ฮอร์โมนจะส่งผลต่อร่างกาย เช่น ช่วยส่งสัญญาณ ( Signaling ) ช่วยควบคุม ( Controlling ) ช่วยยับยั้ง ( Inhibiting ) ช่วยกระตุ้นเร่งเร้า ( Stimulating ) เป็นต้น ซึ่งบทบาทสำคัญที่ฮอร์โมนมีต่อร่างกาย สามารถสรุปภาพรวม ได้ดังนี้ 

1. อาจช่วยฟื้นฟู หรือ ส่งเสริม หรือ ยับยั้งระบบภูมิต้านทานโรคของร่างกายได้
2. อาจช่วยควบคุมการเผาผลาญอาหารให้เป็นปกติ
3. อาจช่วยกระตุ้นหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย
4. อาจช่วยชะลอความชราภาพ ช่วยในการ ชะลอการตายของเซลล์ ( Apoptosis )
5. อาจช่วยเตรียมร่างกายและจิตใจสำหรับวาระการเปลี่ยนผ่านแต่ละวัย เช่น วัยเด็ก วัยรุ่น วัยเจริญพันธุ์ วัยทอง วัยอาวุโส
6. ฮอร์โมน จากวัยหนุ่มสาว ช่วยส่งผลต่อการแสดงออกในพฤติการณ์ หรือความประพฤติที่ไม่ปกติของอารมณ์และจิตใจของตัวบุคคลในวัยหนุ่มสาวนั้น
7. อาจช่วยเตรียมร่างกายและจิตใจในปฏิกิริยาสร้างพฤติกรรมแปลกใหม่ต่อ “ สิ่งเร้า ” ในสถานการณ์เฉพาะหน้า เช่น การต่อสู้ ถอยหนี หรือรู้สึก “ วูบ ” หรือ หน้ามืด “ ลมจับ ” เป็นต้น
8. อาจช่วยควบคุมวงรอบการสืบสายพันธุ์ ( Reproductive Cycle ) ในร่างกายสตรี  เช่น กระตุ้นการตกไข่

จะเห็นได้ว่า ฮอร์โมนนั้นมีบทบาทและมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกายมนุษย์เราเป็นอย่างมาก  ฮอร์โมนช่วยทำให้ระบบกลไกร่างกายทำงานได้เป็นปกติ  ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ ก็ล้วนแต่จะต้องได้รับฮอร์โมนที่จำเป็นต่อร่างกายทั้งสิ้น  หากร่างกายขาดฮอร์โมนที่สำคัญไป  ก็จะทำให้มีผลกระทบที่ไม่ดีตามมาได้  ดังนั้นเราจึงควรดูแลและรักษาระดับฮอร์โมนในร่างกายเราให้เป็นปกติอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายเรานั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Nussey S, Whitehead S (2001). Endocrinology: an integrated approach. Oxford: Bios Scientific Publ. ISBN 978-1-85996-252-7.

Hormones and behaviour: a psychological approach. Cambridge: Cambridge Univ. Press. ISBN 978-0521692014. Lay summary – Project Muse.

“Hormones”. MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine.

การตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ

0
การตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
การตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ เป็นการป้องและรักษาผู้ป่วยให้พ้นโรคที่เกี่ยวกับความบกพร่องทางหัวใจในขั้นต้น
การตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
การตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ เป็นการป้องและรักษาผู้ป่วยให้พ้นโรคที่เกี่ยวกับความบกพร่องทางหัวใจในขั้นต้น

การตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ

การตรวจเลือดเพื่อหาว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่ จะมีการตรวจพื้นฐานร่างกายทั่วไปก่อนว่ามีน้ำหนัก ส่วนสูง อัตราการเต้นของหัวใจ อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ หัวใจมีเสียงดังผิดปกติหรือไม่ หากการตรวจเบื้องต้นพบอาการผิดปกติของหัวใจ จะทำการตรวจต่อไปด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากพบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ จะทำการตรวจต่อไปด้วยการเอ็ฏซเรย์ทรวงอก ซึ่งจะเห็นหลอดเลือดแดงใหญ่ที่อยู่กะจายเต็มปอด หากพบอาการหัวใจล้มเหลวจะพบเงาอยู่ใจที่เอ็กเรย์พบ ณ จุดนี้ และสุดท้ายการตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ หาระดับสารต่างๆของหัวใจ จะช่วยวิเคราะห์แยกแยะโรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับหัวใจได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

มาทำความรู้จักกับหัวใจให้มากขึ้น ถือ ได้ว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญมากที่สุดชนิดหนึ่งของร่างกาย เพราะหากหัวใจเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว ก็อาจจะสร้างความอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยเช่นกัน โดยเฉพาะ ” โรคหัวใจวาย ” หรือ ” โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ” ( AMI ) ที่เป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคสูงมาก ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาไปอย่างมาก จึงสามารถที่จะตรวจวินิจฉัยได้ว่า ใครบ้างที่มีความ เสี่ยงในการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมคอยป้องกัน และรักษาผู้ป่วยให้พ้นจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับความบกพร่องทางหัวใจได้นั่นเอง

ปกติแล้วโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน มักจะไม่มีสัญญาณเตือนใดๆมาก่อน แพทย์อาจจะใช้วิธีการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น อย่างเช่น การตรวจสุขภาพร่ากาย การสอบถามประวัติตัวคนป่วยเองหรือคนใกล้ชิดในครอบครัว การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย เป็นต้น แต่ผลการตรวจค้นคว้าวิจัยล่าสุด ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในทางการแพทย์ปัจจุบัน ว่าสามารถตรวจสอบหาความผิดปกติในกรณีเกิดสภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้จากการตรวจเลือด โดยจะตรวจผ่านค่าเอนไซม์ที่สำคัญทางเลือด 6 ชนิด ดังต่อไปนี้

การตรวจสภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดผ่านค่าเอนไซม์ทางเลือด

1. Creatine Kinase-MB เรียกย่อๆว่า CK-MB

คือ เอนไซด์ชนิดหนึ่ง ที่ใช้เพื่อประเมินภาวะหัวใจวาย สามารถตรวจพบได้ในเลือด ใช้สำหรับวินิจฉัยและประเมินผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังใช้ ในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหรือภาวะอื่นๆที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติได้อีกด้วยมีผลการวิจัยจาก คุณหมอ ดร.ชาน ( Dr. W. K. Chan ) ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจระดับนานาชาติ และคณะ แห่งแผนกโรคหัวใจที่โรงพยาบาล United Christian Hospitalณ เกาะฮ่องกง ได้สรุปไว้ว่า เอนไซม์ที่แสดงผลของ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน ( AMI )ในปัจจุบันนี้มีจำนวนการตรวจเลือดที่อาจเชื่อถือได้ 3 ชนิด ก็เพียงพอที่จะสรุปได้แล้ว คือ CK-MB mass , Myoglobin และ Troponin I แต่จำเป็นต้องให้แต่ละตัวยืนยันแสดงผลซึ่งกันและกัน รวมทั้งจำเป็นต้องตรวจเลือด ตามช่วงระยะเวลาที่สัมพันธ์กันด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้ผลเลือดแต่ละตัวแสดงปฏิกิริยาความไว ให้เห็นและเป็นไปทางเดียวกัน ให้ผลตรวจออกมาตรงที่สุด

ลักษณะการเกิดสัญญาณของโรค AMI ดังนี้

ชนิดการตรวจเลือดเพื่อยืนยันโรค AMI ณ เวลา นับตั้งแต่เริ่มการเจ็บหน้าอก
ชั่วโมงที่
4-8 8-24 24-72
1 Myoglobin 92.30%
ความไว
2 CK-MB mass 96.20% >92 %
ความไว
3 Troponin I >92 % > 93 %
ความไว

การตรวจวัดค่า CK-MB แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ CK-MB activity และ CK-MB mass สำหรับในปัจจุบันการตรวจแบบ CK-MB mass จะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากสามารถตรวจวัดได้ แม้มีระดับของค่าที่วัดได้ต่ำมากๆ และมีผลเกี่ยวกับ กล้ามเนื้อหัวใจ มากกว่ากล้ามเนื้ออื่นๆในร่างกาย หากค่า CK-MB ที่วัดได้ในตัวผู้ป่วยยิ่งสูงมากเท่าไหร่ ก็ย่อมจะส่งให้มีความเสี่ยงในการเป็นสภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้มากเท่านั้น

การตรวจวัดค่าของ CK-MB mass

การตรวจวัดค่าของ CK-MB mass หมายถึง เป็นค่าที่ใช้วัดระดับ CK-MB mass ซึ่งในการตรวจสอบจะมีค่าปกติของ CK-MB mass ดังนี้

ค่าปกติทั่วไป CK-MB mass = 0.6 – 5.0 ng/mL

 

กรณีค่า CK-MB mass มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

ตรวจวัด CK-MB mass ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน

หากค่า CK-MB mass ที่ตรวจวัดได้มีระดับที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน คือ น้อยกว่า 0.6 ng/mL

แสดงว่า สุขภาพของหัวใจแข็งแรงปกติ ยังไม่เกิดการบาดเจ็บ ที่มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดสภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดตรวจวัด CK-MB mass ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน

หากค่าของ CK-MB mass ที่ตรวจวัดได้มีระดับที่สูงกว่าค่ามาตรฐาน คือ มากกว่า 0.6 ng/mL แสดงว่า สุขภาพของหัวใจเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้น

แม้อาจจะยังไม่เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรืออาการใดๆของโรค แต่ก็ถือว่ากำลังมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลันได้เช่นกัน การตรวจพบค่าผิดปกติในทางมาก ถือเป็นสัญญาณโรคหัวใจ ที่จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์โรคหัวใจโดยทันที

2. Myoglobin

Myoglobin คือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ในการเก็บออกซิเจน ภายในแต่ละเซลล์ของกล้ามเนื้อทุกแห่งรวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ เปรียบได้เสมือนเป็น “ คลังสำรองออกซิเจน ” ของกล้ามเนื้อ ซึ่งปกติแล้วเซลล์กล้ามเนื้อต่างๆจะได้รับออกซิเจนจากเม็ดเลือดแดงอยู่แล้ว แต่หากมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย ที่กล้ามเนื้อต้องออกแรงโดยใช้ออกซิเจนมากกว่าปกติ จะทำให้ Myoglobin จ่ายออกซิเจนที่เก็บสำรองไว้ออกมาใช้

โดยตัว Myoglobin เองก็อาจจะหลุดลอยเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้พบค่า Myoglobin ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นหากเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลันขึ้นในร่างกาย จะส่งผลให้หลอดเลือดแดงไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้เหมือนปกติ ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ได้รับก็น้อยตามไปด้วย กรณีที่เกิดขึ้นนี้ทำให้สาร Myoglobin ต้องทำการจ่ายออกซิเจนสำรองไปให้หัวใจ และอาจมีการหลุดลอยเข้าไปสู่กระแสเลือด โดยอาจใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาทีนับแต่เวลาเกิดเหตุ ซึ่งปกติแล้วไตจะขับ Myoglobin ทิ้งเป็นของเสียออกทางปัสสาวะ จึงทำให้ระยะแรกอาจไม่พบค่าในเลือดที่สูงผิดปกติมากนัก

การตรวจวัดค่าของ Myoglobin

หมายถึง เป็นค่าที่ใช้วัดระดับ Myoglobin ซึ่งในการตรวจสอบจะมีค่าปกติของ Myoglobin ดังนี้

ค่าปกติทั่วไป Myoglobin < 90 mcg/L

 

กรณีค่า Myoglobin มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน จะมีอยู่กรณีเดียวคือ ค่าที่ตรวจได้ สูงกว่าระดับปกติ หรือมีค่ามากว่า 90 Mcg/L ซึ่งสรุปในเบื้องต้นได้ว่า มีภาวะความผิดปกติเกิดขึ้นที่หัวใจ โดยหัวใจอาจจะมีปริมาณของออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ จากอาการตีบตันของหลอดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ส่งไป ทำให้ต้องมีการใช้ออกซิเจนสำรองจาก Myoglobin โดยในระหว่างที่ Myoglobin มีการนำออกซิเจนสำรองส่งไปให้หัวใจ ก็อาจจะมีออกซิเจนบางส่วนที่สามารถหลุดเข้าไปในกระแสเลือดได้ ทำให้ค่าที่ตรวจพบได้สูงเกินกว่าปกตินั่นเอง ผู้ป่วยที่มีอาการลักษณะนี้ จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลันได้เช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีผลการค้นคว้าวิจัย ทำให้อาจยืนยันได้ว่า ภายหลังเกิดเหตุกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดผ่านไปแล้วประมาณ 4 ชั่วโมง จะปรากฏมี Myoglobin ที่สะสมในเลือดสูงกว่าค่าปกติมากขึ้นอย่างชัดเจน

3. Homocysteine

Homocysteine คือ เป็น กรดอะมิโน ตัวหนึ่ง ที่ร่างกายใช้สร้างกรดอะมิโนชนิดอื่นได้อีกสองชนิดคือ สร้างเป็นเมไทโอนิน ( Methionine ) ซึ่งต้องมีกรดโฟลิก และ วิตามินบี 12 เป็นตัวช่วย หรือสร้างเป็น ซีสเตอีน ( Cysteine ) ซึ่งต้องมี วิตามินบี 6 เป็นตัวช่วย ดังนั้นจะเห็นว่าการมีวิตามินบี 6 บี 12 และกรดโฟลิก จะช่วยทำให้การเผาผลาญ Homocysteine ในร่างกายเป็นปกติ และไม่เกิดภาวะมีโฮโมซีสเตอีนเหลือคั่งค้าง
ดังนั้นหากร่างกาย ขาดวิตามินบี 6 บี 12 และกรดโฟลิก จะทำให้ Homocysteine จะไม่ถูกเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนตัวอื่น ทำให้มีสาร Homocysteine ค้างปริมาณมากในเลือด ส่งผลให้ไปทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการกระตุ้นการอุดตันของลิ่มเลือดตามมา และเกิดภาวะของ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลันได้ในที่สุด

การตรวจวัดค่าของ Homocysteine
หมายถึง เป็นค่าที่ใช้วัดระดับ Homocysteine ซึ่งในการตรวจสอบจะมีค่าปกติของ Homocysteine ดังนี้

ค่าปกติทั่วไป Homocysteine < 15 mcg/L

กรณีค่า Homocysteine มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน จะมีอยู่กรณีเดียวคือ ค่าที่ตรวจได้ สูงกว่าระดับปกติ หรือมีค่ามากว่า 15 mcg/L สามารถสรุปได้คือ ผู้ที่มีระดับ Homocysteine ในร่างกายสูง จะมีความเสี่ยงในการทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูงตามไปด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วจะดีที่สุด

4.CRP ( C-reactive protein ) หรือ hs-CRP

CRP – ( C-reactive protein ) หรือ hs-CRP คือ เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจากตับ สารชนิดนี้จะถูกสร้างขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อต่างๆ ในร่างกายได้เกิดการอักเสบขึ้น โดยสามารถตรวจพบได้ในเลือด ซึ่ง CRP นี้ เป็นสารที่มีความอ่อนไหวต่อปฏิกิริยาการอักเสบได้รวดเร็วว่องไวยิ่งกว่าการตรวจด้วยวิธีการหาค่า อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ที่เรียกว่า การตรวจค่า ESR แต่ค่า CRP ที่ได้มาไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดการอักเสบขึ้นที่อวัยวะใด ผลตรวจ CRP มักเรียกว่าค่า lab crp

เมื่อร่างกายเกิดภาวะของ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน จะส่งผลให้หลอดเลือดแดงอุดตันหรือมีการตีบแคบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง อาการต่างๆเหล่านี้ จะทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่กล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้ร่างกายจะมีการสร้าง CRP มากขึ้น ดังนั้น หากตรวจแล้วพบว่ามีค่าของ CRP สูงเกินมาตรฐานให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า อาจมีความเสี่ยงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันขึ้นในร่างกายได้

นับตั้งแต่วินาทีแรก ที่หลอดเลือดหัวใจเริ่มตีบตัน ไม่สามารส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ปกติ ทำให้เกิดการอักเสบที่ กล้ามเนื้อหัวใจ ขึ้น สาร CRP จะถูกสร้างขึ้นมาทันที เนื่องจากมีความไวต่อการอักเสบมาก และแม้ว่าปริมาณของ CRP ในเลือดจะน้อยในช่วงแรกๆ แต่ก็สามารถนำเลือดออกมาวิเคราะห์จนตรวจพบได้

ข้อแนะนำในการตรวจค่า CRP

1. ผู้ที่จะทำการตรวจหาค่า CRP ในเลือดควรเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ ไม่มีอาการของโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบของร่างกาย อย่างเช่น มีอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดโรคเกาต์ มีอาการฟกช้ำดำเขียว ตามร่างกาย เนื่องจากผู้ที่มีอาการเหล่านี้ มันมีค่าของ CRP สูงอยู่แล้ว จึงทำให้แยกออกได้ยากว่ามีภาวะทางโรคหัวใจหรือไม่ 

2. หากตั้งใจจะตรวจสุขภาพของหัวใจ ก็ควรจะได้ตรวจเลือดหาค่า ทั้ง CRP และ ค่า Lipid Profile ทุกตัวไปด้วยเลย โดยค่าที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ ค่าความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจ เพื่อให้ทราบรายละเอียดต่างๆของสุขภาพหัวใจตนเองอย่างชัดเจน

3. ผู้ที่เคยมีสภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดมาก่อนจนต้องได้รับการรักษา เช่น การใช้บอลลูนขยายภายในหลอดเลือดหัวใจ และใสหลอดโลหะที่เรียกว่า สเต็นท์ ( Stent ) ให้เข้าไปคาอยู่ในหลอดเลือดหัวใจตรงที่เคยตีบ ให้เลือดสามารถไหลได้ตามปกติ ควรจะได้รับการตรวจ CRP เป็นระยะ เนื่องจากอาจกลับมาเป็นอาการเดิมได้ เมื่อมีไขมันไปอุดตันภายในหลอดเลือดที่ทำบอลลูนไว้

การตรวจวัดค่าของ C-reactive protein ( CRP ) หมายถึง เป็นค่าที่ใช้วัดระดับ C-reactive protein ( CRP ) ซึ่งในการตรวจสอบจะมีค่าปกติของ C-reactive protein ( CRP ) ดังนี้

ค่าปกติทั่วไป CRP < 1.0 mg/mL
ค่าที่อยู่ในความเสี่ยง CRP 1.0 – 3.0 mg/mL
ค่าที่มีความเสี่ยงสูง CRP > 3.0 mg/mL

กรณีค่า CRP มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

ตรวจวัด CRP ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน

ในกรณีที่ตรวจวัดค่า CRP ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด ยิ่งมีค่าน้อยกว่า 1 mg/mL มากเท่าใด ก็จะหมายถึงว่า ร่างกายไม่มีการอักเสบใดๆของอวัยวะภายในร่างกายขึ้นเลย รวมถึงหัวใจด้วย

ตรวจวัด CRP ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน

ในกรณีที่ตรวจวัดค่า CRP ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน อาจแสดงผลได้ว่า

  • อาจเกิดอาการอักเสบจากความบกพร่องของร่างกายเอง โดยไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อใดๆ เช่น โรคข้ออักเสบ เป็นต้น
  • อาจเกิดสภาวะเนื้อเยื่อของอวัยวะใดขาดเลือดก็ได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือด ปอดขาดเลือด เป็นต้น
  • อาจเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เช่น โรควัณโรค โรคไข้กาฬหลังแอ่น เป็นต้น 

5. Troponin

โทรโปนิน ( Troponin ) คือ โปรตีนพิเศษชนิดหนึ่ง เป็นชั้นบางๆ อยู่ระหว่างแผ่นใยกล้ามเนื้อ โดยมีบทบาทในการรับประจุแคลเซียมเพื่อการยืด – หดตัวของกล้ามเนื้อ ปกติแล้ว สาร Troponin จะอยู่แต่ในระหว่างชั้นแผ่นใยกล้าม จะไม่มีการหลุดลอดเข้าไปสู่กระแสเลือด แต่เมื่อไรก็ตามที่เกิดภาวะ ต้องมีการออกแรงของกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ ออกแรงนานกว่าปกติ หรือ กล้ามเนื้อต่างๆได้รับออกซิเจนในระดับต่ำมากกว่าปกติ ความผิดปกติเหล่านี้ทำให้เกิดการบาดเจ็บและอักเสบขึ้นที่กล้ามเนื้อนั้นๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ สาร Troponin หลุดลอดออกจากกล้ามเนื้อเข้าสู่กระแสเลือดได้ จนทำให้สามารถตรวจพบได้ในเลือด ซึ่งค่าที่ได้ก็จะถูกนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไป

ประเภทของ Troponin
เราสามารถแบ่งประเภทของ Troponin ได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 ประเภทคือ

1.Troponin C หรือ TnC คือ Troponin ของกล้ามเนื้อโครงร่างทั่วไปของร่างกายที่พร้อมจะจับกับประจุแคลเซียมได้ 4 ตัว

2.Troponin I และ Troponin T หรือ TnI และ TnT คือ Troponin ของกล้ามเนื้อหัวใจ ที่อาจจับกับประจุแคลเซียมได้เพียง 3 ตัว

  • Troponin I : ทำหน้าที่ ยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อ
  • Troponin T: ทำหน้าที่ เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่าง Troponin ทั้งหมดกับ Tropomyosin
    TnI และ TnT จึงถือว่าเป็น “ Cardiac Troponin ” ( โทรโปรนินหัวใจ ) Cardiac Troponin เป็นตัวบ่งชี้ภาวะที่เกี่ยวกับโรคหัวใจ สามารถให้ผลที่แม่นยำ น่าเชื่อถือ และแน่นอนมากยิ่งกว่าผลการตรวจเลือดตัวอื่นๆ แต่ค่าของ Cardiac Troponin ที่ตรวจได้อาจไม่ใช่ผลจากการมีภาวะของ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือด เพียงอย่างเดียว แต่ค่าที่ตรวจพบได้ อาจมาจากสาเหตุอื่นๆที่กระทบต่อหัวใจ เช่น

1. สาเหตุจากสภาวะผิดปกติหรือโรคเกี่ยวกับหัวใจ ( Cardiac Causes ) เช่น

  • มีสภาวะโปรตีนพอกกล้ามเนื้อหัวใจ ( Cardiac Amayloidosis )
  • เกิดบาดแผลขึ้นบริเวณหัวใจ จากอุบัติเหตุต่างๆ ( Cardiac Contusion ) เช่น ตกจากที่สูง อุบัติเหตุจากรถยนต์ เป็นต้น
  • สภาวะบาดแผลภายหลังการผ่าตัดหัวใจ ( Cardiac Surgery )
  • เกิดสภาวะหัวใจวาย ( Heart Failure ) แต่ไม่ถึงขนาดกับเสียชีวิต จะมีลักษณะคือ หัวใจอ่อนแรง ไม่สามารถปั๊มเลือดได้เหมือนปกติ เช่น อาจเกิดลิ้นหัวใจรั่ว
  • สภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ โต ( Hypertrophic Cardiomyopathy )
  • การทำบอลลูนและใส่หลอดห่วงโลหะที่หลอดเลือดหัวใจ ( Percutaneous Coronary Intervention ) เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ปกติ

2. สาเหตุจากสภาวะหรือโรคอื่นที่ไม่เกี่ยวกับหัวใจ ( No Cardiac Causes ) แต่มีผลกระทบต่อหัวใจ เช่น

  • อาการป่วยร้ายแรงจากสภาวะพิษ เพราะเหตุจากการติดเชื้อ ( Sepsis )
  • การใช้วิธีเคมีบำบัดรักษาในขนาดสูง เช่น รักษาโรคมะเร็ง ( High – Dose )
  • สภาวะไตวาย ( Renal Failure )
  • สภาวะเกิดจากการได้รับพิษ จากการต่อยของแมลงป่อง ( Scorpion Venom )
  • สภาวะโรคลมปัจจุบัน หรือสมองมีปัญหาจากหลอดเลือด ( Stroke )
  • การออกกำลังกายที่เกิดกำลังผิดปกติ ( Very Heavy Exercise ) เช่น วิ่งมาราธอน

ในกรณีที่หัวใจเกิดความผิดปกติ จนทำให้ กล้ามเนื้อหัวใจ เกิดการบาดเจ็บ จะส่งผลทำให้ ค่า Cardiac Troponin เริ่มปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ 3 ชั่วโมงแรก หลังจากที่มีอาการหัวใจทำงานผิดปกติ และจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ในอัตราสูงสุด นับตั้งแต่ชั่วโมงที่ 8 ไปจนถึงชั่วโมงที่ 72 ทั้งนี้ Cardiac Troponin แต่ละตัวอาจปรากฏค่าในเลือดด้วยช่วงเวลาที่ยาวนานยิ่งกว่า เช่น cTnI อาจนานถึง 7 – 10 วัน และ cTnT อาจนานถึง 10 – 14 วัน
หากในการตรวจเลือดพบค่าของ Cardiac Troponin ได้ผลสูงเช่นเดียวกับการตรวจหาค่า CK-MB mass ที่เกินค่ามาตรฐานทั่งคู่ ก็จะยิ่งทำให้มั่นใจได้เลยว่าเกิดภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI) กับร่างกายแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน

การตรวจวัดค่าของ Troponin

หมายถึง เป็นค่าที่ใช้วัดระดับ Troponin ซึ่งในการตรวจสอบจะมีค่าปกติของ Troponin ดังนี้

ค่าปกติทั่วไป Cardiac Troponin T cTnT ≤ 0.2 ng/mL
ค่าปกติทั่วไป Cardiac Troponin I cTnI ≤ 0.03 ng/mL

กรณีค่า Troponin มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

ตรวจวัด Troponin ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน

ในกรณีที่ตรวจวัดค่า Troponin ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด ยิ่งมีค่าน้อยเท่าใดก็จะหมายถึงว่า กล้ามเนื้อหัวใจไม่ถูกกระทบกระทั้งเลย เป็นค่าที่ดีที่ควรมี 

ตรวจวัด Troponin ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน

ในกรณีที่ตรวจวัดค่า Troponin ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน อาจแสดงผลได้ว่า

  • อาจเกิดสภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • อาจเกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหัวใจ

6. CK-MB mass

CK-MB mass คือ เป็นค่าในการตรวจเลือดที่ค้นพบล่าสุด โดยอาจถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Creatine Kinase-MB หรือ CK-MB นั่นเอง

การตรวจทั้ง 6 วิธีที่ได้กล่าวไปทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นความโชคดีของมนุษย์เรา ที่วงการแพทย์สามารถหาวิธีในการตรวจวินิจฉัยสภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้สำเร็จ เนื่องจากโรคนี้มีความอันตรายของโรคที่สูงมาก และมักไม่มีอาการเตือนใดๆก่อนทั้งสิ้น หากเกิดขึ้นกับผู้ป่วยรายใดแล้ว ถ้าไม่สามารถนำผู้ป่วยส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา ก็อาจจะเกิดความสูญเสียได้เลยทีเดียว ดังนั้นหากคิดว่าตนเอง อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเป็นสภาวะโรค กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดแล้วละก็ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกายตนเองก่อนจะดีที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4

“Venipuncture – the extraction of blood using a needle and syringe”. Retrieved June 21, 2012.

MacLennan CA, van Oosterhout JJ, White SA, Drayson MT, Zijlstra EE, Molyneux ME (July 2007). “Finger-prick blood samples can be used interchangeably with venous samples for CD4 cell counting indicating their potential for use in CD4 rapid tests”. AIDS (London, England). 21 (12): 1643–5. PMC 2408852 Freely

Aaron SD, Vandemheen KL, Naftel SA, Lewis MJ, Rodger MA (2003). “Topical tetracaine prior to arterial puncture: a randomized, placebo-controlled clinical trial”. Respir Med. 97 (11): 1195–1199. 

ประโยชน์ทั่วไปของไขมันบริโภค

0
ประโยชน์ทั่วไปของไขมันบริโภค
ไขมันเป็นกรดที่จำเป็นต่อร่างกาย เซลล์ในร่างกายล้วนมีไขมันเป็นส่วนประกอบ
ประโยชน์ทั่วไปของไขมันบริโภค
ไขมันเป็นกรดที่จำเป็นต่อร่างกาย เซลล์ในร่างกายล้วนมีไขมันเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น

ประโยชน์ของน้ำมันไข

หากกล่าวถึงน้ำมันไข แค่ได้ยินชื่อ ใครหลายคนก็คงคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีและเป็นอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วน้ำมันไข ก็คือส่วนประกอบของอาหารชนิดหนึ่งที่อยู่ในสารอาหารหลัก 5 หมู่ ก็คือสารอาหาร ประเภทไขมันนั่นเอง ไขมัน ไม่ได้มีแต่โทษตามที่ใครหลายคนคิดเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ที่ดีกับร่างกายของมนุษย์เราด้วย หากบริโภคให้ถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ลองมาดูกันว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากน้ำมันไขมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของไขมันบริโภค

1. ประโยชน์ต่อร่างกาย

หากมีการบริโภคน้ำมันไขจากในเมนูอาหารต่างๆแล้ว  ร่างกายจะทำการย่อยสลายให้กลายเป็นกรดไขมัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆสำหรับร่างกายดังต่อไปนี้

  • ไขมันจะทำการให้พลังงานต่อร่างกาย เพื่อให้สามารถนำพลังงานที่ได้รับไปใช้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โดยไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 9 กิโลแครอลี่ และยังเก็บเป็นพลังงานสำรองของร่างกายเอาไว้ หากร่างกายขาดพลังงานที่มาจากคาร์โบไฮเดรต
  • ไขมันช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย โดยไขมันจะถูกเก็บไว้ใต้ผิวหนัง และช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกายได้อีกด้วย
  • เป็นตัวช่วยในการละลายวิตามินต่างๆที่ร่างกายได้รับไป เช่น วิตามิน A วิตามิน D วิตามิน E และ วิตามิน K เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินเหล่านี้ไปใช้งาน

– กรดไขมันบางชนิดในน้ำมันไข เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อกระบวนการกระบวนการในร่างกาย เช่นกระบวนการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ และแก้อาการผิวหนังอักเสบในบางชนิดได้

2. ประโยชน์ด้านอื่นๆ

นอกจาก ไขมัน จะให้ประโยชน์ต่อด้านร่างกายแล้ว ไขมันยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น

  • ใช้ในการประกอบอาหาร น้ำมันถือว่าเป็นวัตถุดิบหลักชนิดหนึ่งประจำห้องครัวในทุกๆบ้าน เนื่องจากน้ำมันไขที่ใช้ประกอบอาหาร เป็นสารที่มีจุดเดือดสูงมาก จึงสามารถเก็บความร้อนได้สูง ทำให้อาหารสุกเร็วและมีรสชาติที่ดี
  • ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสบู่ น้ำมันไขเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่สำคัญในการผลิตสบู่ โดยในกระบวนการผลิต จะทำการต้มน้ำมันไขกับสารละลายด่าง เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ ก็จะได้เป็นผลิตภัณฑ์ของแข็งลื่น มีฟอง ใช้ทำความสะอาดขจัดคราบสกปรกได้ดีก็คือ สบู่นั้นเอง 
  • ใช้ในการผลิตมาการีน น้ำมันไข สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตมาการีน ได้ด้วย โดยองค์ประกอบหลักในน้ำมันไข จะเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เมื่อไปรวมตัวกับแก๊สไฮโดรเจนตรงตำแหน่งพันธะคู่ได้เป็นกรดไขมันอิ่มตัวแล้ว ก็จะทำให้น้ำมันไขเปลี่ยนจากสถานะของเหลวเป็นของแข็ง จนได้เป็น มาการีนออกมา
  • ประโยชน์ของน้ำมันไขชนิดต่างๆ น้ำมันไขสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ น้ำมันไขชนิดมีความไม่อิ่มตัวต่ำ และชนิดที่มีมีความไม่อิ่มตัวสูง โดยแต่ละชนิดมีประโยชน์ที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
  1. น้ำมันไขที่มีความไม่อิ่มตัวต่ำ หรือมีปริมาณกรดไขมันไลโนลีอิกเป็นส่วนประกอบไม่ถึง 20%   เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันละหุ่ง น้ำมันถั่วลิสง เป็นต้น สามารถใช้ในการประกอบอาหารและ ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสบู่รวมถึงผลิตภัณฑ์ซักล้างชนิดต่างๆ
  2. น้ำมันไขที่มีความไม่อิ่มตัวสูง หรือ มีกรดไขมันไลโนลีอิกและกรดไขมันไลโนลีนิก เป็นจำนวนมาก เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น สามารถใช้ประโยชน์ได้คือ ทำสิ่งเคลือบ เช่น สีทาบ้านหรือเฟอร์นิเจอร์ น้ำมันขัดเงา นอกจากนั้นยังใช้ทำพลาสติกและน้ำมันหล่อลื่น  ได้ด้วย
  3. ประโยชน์ของน้ำมันไขที่มีกรดไขมันไลโนลีอิก 40-60% และมีคุณสมบัติผสมกันระหว่าง น้ำมันที่มีความไม่อิ่มตัวต่ำและน้ำมันที่มีความไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันงา น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่มีก็จะเหมือนกับ น้ำมันที่มีความไม่อิ่มตัวต่ำ คือ ใช้ในการประกอบอาหารหรือใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสบู่รวมถึงผลิตภัณฑ์ซักล้าง และยังมีประโยชน์ที่เหมือนกับ น้ำมันไขที่มีความไม่อิ่มตัวสูง อีกด้วย

เมื่อได้ทราบข้อเท็จจริงด้านบนเกี่ยวกับ ประโยชน์ของน้ำมันไข แล้ว คงทำให้ใครหลายคนเข้าใจได้อย่างถูกต้องสักทีว่า น้ำมันไขไม่ ได้มีแต่โทษเท่านั้น แต่ก็มีด้านที่มีประโยชน์มากมายรวมอยู่ด้วย เพียงแต่การที่จะได้ประโยชน์หรือโทษจากน้ำมันไขนั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมและอย่างถูกต้อง  ซึ่งน้ำมันไขแต่ละชนิดก็ทีคุณประโยชน์แตกต่างกันไป ผู้บริโภคควรเลือกบริโภคน้ำมันไขชนิดต่างๆตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับร่างกาย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

Holmes PD (1971). “The production of experimental vitamin A deficiency in rats and mice”. Laboratory Animals. 5 (2): 239–50. 

บทบาทหน้าที่ของวิตามินบี 2 ( Riboflavin – Vitamin B2 )

0
บทบาทหน้าที่ของวิตามินบี 2 (Riboflavin – Vitamin B2)
วิตามินบีสองเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ ไม่สะสมในร่างกาย ซึ่งถ้าขาดวิตามินบีสองจะทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง
บทบาทหน้าที่ของวิตามินบี 2 (Riboflavin – Vitamin B2)
วิตามินบีสองเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ ไม่สะสมในร่างกาย ซึ่งถ้าขาดวิตามินบีสองจะทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง

วิตามินบี 2

( Riboflavin – Vitamin B2 ) คืออะไร?

ค.ศ.1916 แมคคิลัมได้ทำการทดลองเกี่ยวกับวิตามินบีสอง โดยพบว่าเมื่อสารที่มีคุณสมบัติในการป้องกันโรคเหน็บชาถูกทำลายด้วยความร้อน ก็ปรากฏสารที่มีคุณสมบัติในการช่วยการเจริญเติบโตนั่นคือวิตามินบีนั่นเอง แต่สำหรับ อเมริกาจะเรียกว่า วิตามินจี ( Vitamin G )  และในเยอรมันกับอังกฤษก็เรียกว่า วิตามินบี 2 ( Vitamin B2 ) นั่นเอง และต่อมา วอร์เบิร์กและคริสเทียนก็ค้นพบว่าสารสกัดจากยีสต์ที่เรืองแสงได้และมีสีแดง เขียว เหลืองนั้น เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่แยกได้จากน้ำนม และต่อมาในปี

ค.ศ.1933 เกอร์กีและคูนก็ได้ทำการแยกสารชนิดนี้ออกมาจากธรรมชาติ โดยพบว่าสามารถแยกได้จากธรรมชาติหลากชนิด เช่น แยกสีเหลืองจากน้ำนม แยกจากไข่ขาว เป็นต้น และเนื่องจากสารที่แยกออกมาได้เป็นสารชนิดเดียวกันจึงตั้งชื่อให้เรียกได้ง่ายว่า ไรโบเฟลวิน ( Riboflavin )  นั่นเอง
ในปี

ค.ศ.1945 ได้มีการนำวิตามินบี 2 มาทดลองกับคนเป็นครั้งแรก โดยซีเบรลและบัทเลอร์ (Sebrell and Butlet) เป็นผู้ทำการทดลอง ซึ่งก็พบว่าวิตามินบี 2 มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของคนเป็นอย่างมาก และหากร่างกายขาดวิตามินบี 2  ก็จะทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังได้อีกด้วย โดยเฉพาะบริเวณสองข้างจมูกและมุมปากก่อให้เกิดโรคปากนกกระจอกเทศได้

วิตามินบี 2 มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของคนเป็นอย่างมาก และหากร่างกายขาดวิตามินบี 2 จะทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังได้อีกด้วย

ไรโบเฟลวิน ( Riboflavin ) หรือ วิตามินบี2 ( Vitamin B2 ) คือวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการสร้างเมแทบอลิซึมของสารอาหารต่างๆ เช่น ไขมัน เป็นสารอาหารที่ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและทำให้เส้นเลือดแข็งตัว เป็นต้น

นอกจากนี้ก็ยังพบอีกว่าวิตามินบี 2 มีคุณสมบัติที่สามารถเรืองแสงได้ โดยจะมีสูตร C17H20N406 ที่มีลักษณะเป็นผลึกรูปสีส้มปนเหลืองเมื่อเป็นสารละลายจะให้สีเหลืองอมเขียวและเรืองแสงออกมา โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่มืด
สำหรับการละลายน้ำ วิตามินบี2 ก็สามารถละลายน้ำได้เช่นกัน แต่ไม่เท่าวิตามินบี 1 และจะไม่ละลายในน้ำมัน นอกจากนี้หากอยู่ในสภาพที่เป็นกรดหรือมีความร้อนจะไม่สลายตัว ซึ่งจะสลายตัวได้ดีเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพเป็นด่างหรือมีแสงสว่างเท่านั้น

หน้าที่ของวิตามินบี 2 ( Vitamin B2 )

วิตามินบี 2 หรือ Riboflavinมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์ 2 ตัว ซึ่งเป็นโคเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารอาหารในร่างกาย ได้แก่ เฟลวินโมโนนิวคลีโอไทด์ ( Flavin Mono Nucleotide, FMN ) และเฟลวินอะดีนิน ไดนิวคลีโอไทด์ ( Flavin Adenine Dinucleotide,FAD ) โดยจะช่วยในการเจริญเติบโตขณะตั้งครรภ์และช่วยให้ร่างกายมีการจ่ายสารอาหารไปยังส่วนต่างๆ ตามปกติ
2. มีความจำเป็นต่อสุขภาพผิวหนังและระบบประสาท ซึ่งจะช่วยให้ผิวเปล่งปลั่ง สุขภาพดีและป้องกันการเกิดมือเท้าชาบ่อยๆ
3. ช่วยในการบำรุงสายตา โดยพบว่าหากขาดวิตามินบี 2 จะทำให้น้ำตาไหลง่ายและอาจมีเยื่อนัยน์ตาอักเสบได้
4. ทำหน้าที่ในการคงสภาพของผนังเม็ดเลือดแดงไว้เสมอ
5. ทำหน้าที่ผลิต Corticosteroids ซึ่งเป็นฮอร์โมนของ Adrenal Cortex โดยจะควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมมากขึ้น

การดูดซึมวิตามินบี 2 หรือ Riboflavin ( Vitamin B2 )

สำหรับการดูดซึมวิตามินบี 2 ร่างกายของคนเราจะสามารถดูดซึมได้ง่ายผ่านทางผนังลำไส้เล็ก โดยวิตามินบี 2 จะถูกเปลี่ยนเป็นเฟลวินโมโนนิวคลีโอไทด์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของเฟลวินอะดีนินไดนิวคลีโอไทด์ ที่จะถูกส่งไปยังกระแสเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย และบางส่วนก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะด้วย

วิตามินบี2 หรือ Riboflavinได้จากอะไร?

โดยสำหรับวิตามินบี 2 ที่พบในเนื่อเยื่อสัตว์จะอยู่ในรูปของ FAD ( Flavin Adenine Dinucleotide ) ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในระบบถ่ายทอดอิเล็กตรอน ช่วยให้เอนไซม์ดีไฮโดรจีเนส ( Dehydrogenase ) ทำหน้าที่โยกย้ายไฮโดรเจนจากโมเลกุลหนึ่งไปยังอีกโมเลกุลหนึ่ง และอยู่ในรูปแบบของ FMN คือ Flavin Mononucleotide โดยอวัยวะที่มีวิตามินบี 2 มากก็ได้แก่ ไต ม้าม กล้ามเนื้อ ตับและหัวใจนั่นเอง และสำหรับแหล่งวิตามินบี 2 จะพบได้ทั่วไปในพืชและสัตว์ แต่ส่วนใหญ่จะมีปริมาณไม่มาก

อาหารที่พบวิตามินบี2 ได้มากที่สุด ก็คือ เนื้อสัตว์ ไข่ ตับ และผักใบเขียว

นอกจากนี้ ในนมและผลิตภัณฑ์จากนมก็พบวิตามินบี 2 ได้มากเหมือนกัน ส่วนอาหารจำพวกแป้งข้าวเจ้า มันฝรั่ง ข้าว แป้งสาลี จะพบวิตามินได้น้อยมากส่วนภาวการณ์ขาดวิตามินบี 2 นั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากการทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์และผักน้อยเกินไป รวมถึงคนที่เลือกทานอาหาร ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ซึ่งโดยปกติแล้วแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของคนเราจะสามารถสังเคราะห์วิตามินบี2 ได้ แต่ปริมาณที่ดูดซึมได้มักจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกาย จึงต้องมีการทานวิตามินบีเสริมเข้าไปนั่นเอง นอกจากนี้ในกรณีที่มีการสูญเสียโปรตีนในร่างกายก็จะทำให้ขับถ่ายวิตามินบี 2 ทางปัสสาวะมากขึ้น และในกรณีที่มีการสร้างการเจริญของเนื้อเยื่ออย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้การขับถ่ายวิตามินบี 2 ออกมาน้องลงไปด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าร่างกายกำลังต้องการวิตามินบี 2 และโปรตีนมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลที่ทานมังสวิรัติ คนที่ติดสุราเรื้อรัง ผู้สูงอายุหรือคนที่มีภาวะเครียดจัด ก็มักจะต้องการวิตามินบี2 มากขึ้นเช่นกัน

อาการขาดวิตามินบี2 Riboflavin ( Vitamin B2 )

เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี2 จะมีอาการที่แสดงออกมาอย่างเห็นได้ชัด แต่บางครั้งก็อาจไม่ใช่การขาดวิตามินบี 2 เท่านั้น ยังอาจจะเป็นเพราะขาดวิตามินอื่นๆ ร่วมด้วยก็ได้ โดยอาการขาดวิตามินบีที่มักจะพบเห็นได้บ่อยๆ คือ
– อาการทางตา ตาจะไวต่อแสงแดดและอาจพร่าเลือนเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสว่าง รวมถึงมักจะเกิดอาการเมื่อยล้าของดวงตาได้ง่าย ซึ่งก็อาจจะมีอาการตาแดง น้ำตาไหลมากกว่าปกติและมีอาการเจ็บตาร่วมด้วย
– อาการทางปาก จะเห็นได้ว่าริมฝีปากแห้งและแตก ส่วนใหญ่บริเวณมุมปากจะซีดและแตกเป็นรอยหรืออาจเรียกว่า ปากนกกระจอก ( Angular Stomatitis ) ก็ได้ โดยอาการดังกล่าวนี้เริ่มแรกจะเป็นแผลรอยแตกลึก เมื่อแผลหายจะเห็นเป็นแผลเป็นอย่างเห็นได้ชัด
– อาการที่ลิ้น สังเกตได้ว่าลิ้นจะมีสีแดงปนม่วงและมีลักษณะเป็นมัน ส่วนใหญ่จะเรียกอาการนี้ว่า Glossitis และริมฝีปากมีสีแดงเลือดหมู
– อาการทาผิวหนัง สังเกตได้ว่าผิวหนังจะมีลักษณะเป็นสะเก็ดมันๆ ผิวบริเวณเปลือกตาอาจมีการอักเสบและเป็นขุย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับขี้กลากนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

Vitamin-b2-riboflavin, วันที่สืบค้น 14 เมษายน 2559 จาก www.foodnetworksolution.com

“Office of Dietary Supplements – Riboflavin”. ods.od.nih.gov. 11 February 2016. Archived from the original on 20 December 2016. Retrieved 30 December 2016.

Squires, Victor R. (2011). The Role of Food, Agriculture, Forestry and Fisheries in Human Nutrition – Volume IV. EOLSS Publications. p. 121. ISBN 9781848261952. Archived from the original on 2016-12-30.

The American Society of Health-System Pharmacists. Archived from the original on 30 December 2016. Retrieved 8 December 2016.

Board, NIIR (2012). The Complete Technology Book on Dairy & Poultry Industries With Farming and Processing (2nd Revised Edition). Niir Project Consultancy Services. p. 412. ISBN 9789381039083. Archived from the original on 2016-12-30.

อาหารที่ช่วยเสริมภูมิต้านทาน

0
อาหารที่ช่วยเสริมภูมิต้านทาน
วิตามินต่างๆจากผลไม้จะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเกิดความสมดุล และมีระบบภูมิต้านทานทำงานได้ดี
อาหารที่ช่วยเสริมภูมิต้านทาน
วิตามินต่างๆจากผลไม้ที่หลากหลายจะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเกิดความสมดุล และมีระบบภูมิต้านทานทำงานได้ดี

อาหารเพิ่มภูมิต้านทานโรค

อาหารเพิ่มภูมิต้านทานโรค ในอดีตการรับประทานอาหารของคนทั่วไปมักจะเป็นการบริโภคตามค่านิยมทางสังคม บริโภคตามโฆษณาชวนเชื่อบนสื่อโทรทัศน์และวิทยุ ไม่ได้ใส่ใจถึงคุณค่าและประโยชน์ของอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งอาหารเหล่านั้นล้วนประกอบ ด้วยแป้งเป็นหลัก ซึ่งให้พลังงานเกินกว่าความต้องการของร่างกายและสะสมในร่างกาย จนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในเวลาต่อมา แตกต่างจากในปัจจุบันที่คนเราให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น มีการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มภูมิต้านทานโรคเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย เราจะแข็งแรงหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่เรากินเข้าไปด้วย เพราะว่าเราต้องบริโภคอาหารทุกวัน มีทั้งประโยชน์และโทษ ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเข้าไปแล้วร่างกายย่อมแข็งแรง แต่ถ้ารับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์เข้าไปก็จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ นอกจากอาหารจะเป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกายแล้ว อาหารยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านให้กับร่างกายของเราได้อีกด้วย หรือที่เราเรียกว่าอาหารเพิ่มภูมิต้านทานโรค ทำไมอาหารถึงช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกายได้ แล้วอาหารอะไรบ้างที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

การที่ อาหารเพิ่มภูมิต้านทานโรค ให้กับร่างกายได้นั้น เพราะว่าในอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งวิตามินและแร่ธาตุนี่เองที่เข้าไปช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายของเรา วิตามินและแร่ธาตุจะมีอยู่มากในผักและผลไม้สด แต่ทว่าในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนามาอยู่ในรูปของอาหารเสริมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย และได้รับวิตามิน แร่ธาตุตามที่ต้องการโดยไม่ต้องบริโภคผักหรือผลไม้โดยตรง แต่อย่างไรก็ตามปริมาณของวิตามินและแร่ธาตุที่เข้าสู่ร่างกายนั้น ต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสมไม่เช่นนั้นแล้ว จากที่จะเกิดประโยชน์อาจจะเป็นโทษต่อร่างกายได้เช่นกันวิตามิน เป็นสารอาหารที่มีส่วนในการเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกายเป็นอย่างดี วิตามินมีอยู่มากในผักและผลไม้สด โดยวิตามินจะมีหน้าที่เข้าไปประสานการทำงานของระบบต่างให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ถ้าร่างกายขาดวิตามินจะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายขาดความสมดุล ระบบภูมิต้านทานทำงานได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วยได้ง่าย

ดังนั้นเราควรรับประทานผักและผลไม้สดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง วิตามินที่มีส่วนช่วยเกี่ยวกับเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซีและวิตามินอี โดยที่วิตามินแต่ละตัวจะมีหน้าที่ดังนี้

  • วิตามินเอ เป็นวิตามินที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นระบบการทำงานของต่อมไทมัสที่ช่วยในการสร้างเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า T-Cell  ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเม็ดเลือดขาวในการจัดการกับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้ามาสู่ร่างกายของเราให้ออกไป เราจึงไม่ต้องเจ็บป่วยจากเชื่อโรคที่เข้ามาในร่างกายนั่นเอง
  • วิตามินบี เป็นวิตามินที่เสริมสร้างความแข็งแรงของเส้นประสาททุกส่วนของร่างกาย ถ้าร่างกายขาดวิตามินบีแล้ว จะทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถทำงานได้ หรือกล่าวอีกอย่างก็คือประสาทไม่รับรู้ความรู้สึก ถ้าขาดในปริมาณเล็กน้อยก็จะทำให้ปลายประสาทชา และถ้าขาดวิตามินบีสูงมากก็จะเกิดผิวหนังอักเสบ โลหิตจางร่วมด้วยได้ 
  • วิตามินซี วิตามินซีเป็นวิตามินที่หลายคนคงรู้จักกันดีว่าช่วยป้องกันโรคหวัดได้เป็นอย่างดี วิตามินซีพบมากในผักและผลไม้มีรสเปรี้ยวและฝาด อย่าง ส้ม มะนาว ฝรั่ง วิตามินซีช่วยกระตุ้นการทำงานของอินเตอร์เฟียรอนที่มีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเจ้าเชื้อไวรัสนี่เองที่เป็นตัวที่ทำให้เกิดโรคหวัด และวิตามินซียังช่วยในการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นด้วย ทำให้เมื่อเรารับประทานอาหารเพื่อ เพิ่มภูมิต้านทานโรค ที่จะเข้าไปร่างกายก็จะได้รับสารอาหารเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากขึ้น ถ้าร่างกายขาดวิตามินซีร่างกายก็จะดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี เกิดการขาดสารอาหารทำให้เกิดโรคได้ เช่น โรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
  • วิตามินอี เป็นวิตามินที่บำรุงระบบประสาทการมองเห็นหรือที่เราเรียกง่ายๆว่า บำรุงสายตา แต่ว่าวิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ร่างกายไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะหรือเหงื่อได้ ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะทำให้มีการผลิตเม็ดเลือดขาวลดลง ซึ่งเมื่อร่างกายขาดเม็ดเลือดขาวแล้วก็จะมีภูมิต้านทานต่ำลง เราจึงไม่ควรบริโภควิตามินอีเสริมเข้าสู่ร่างกาย
  • แร่ธาตุ มีหน้าที่คล้ายกับวิตามิน คือมีหน้าที่ในการช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรค แร่ธาตุที่ช่วยในการสร้างภูมิต้านทานคือ ธาตุเหล็กและสังกะสี ธาตุเหล็กจะช่วยในการสังเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงที่เกิดขึ้นมีความแข็งแรง อาหารที่พบธาตุเหล็กสูงได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เครื่องในของสัตว์ ตับ เมื่อร่างกายขาดธาตุเหล็กจะเกิดสภาวะเลือดจางได้ ร่างกายจะดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีต้องรับประทานควบคู่กับวิตามินซี ส่วนสังกะสีเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย อาหารที่เป็นแหล่งของสังกะสีคือ ไข่ เนื้อวัว หอยนางรม และถั่วต่างๆ

นอกจากผักและผลไม้ที่มีวิตามินและแร่ธาตุแล้ว ยังมีอาหารอีกประเภทหนึ่งที่เป็นอาหารเพิ่มภูมิต้านโรคให้แก่ร่างกายของเราได้ อาหารที่ว่านั้นก็คือโสมและเครื่องยาจีน โสมและยาจีนเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงโด่งดังของชาวจีน เหมาะที่จะรับประทานในฤดูหนาว โสมและเครื่องยาจีนเป็นอาหารที่ช่วยบำรุงกายช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงสำหรับคนที่ป่วย และยังช่วย เพิ่มการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกาย

สมุนไพรไทยก็ถือว่าเป็นอาหารที่ช่วย เพิ่มภูมิต้านทานโรค ด้วย สมุนไพรที่เรารู้จักกันดีและเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารไทย เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ที่ช่วยขับเหงื่อ ลดพิษไข้ บรรเทาอาการคัดจมูกเมื่อมีเป็นหวัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ สำหรับสมุนไพรนั้นนอกจากจะนำไปปรุงอาหารแล้ว บางครั้งเพียงแค่สูดดมก็สามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้ เช่น การสูดดมสารระเหยจากหัวหอมแดงช่วยแก้อาการคัดจมูก โดยทำการทุบเบาให้สารระเหยออกมาจากหัวหอมวางไว้บริเวณหัวนอนหรือต้มในน้ำเดือดแล้วสูดดม ก็สามารถบรรเทาอาการคัดจมูกเมื่อเป็นหวัดได้เป็นอย่างดี

การรับประทานอาหารเพื่อช่วยเสริมภูมิต้านทานโดยเฉพาะเพื่อสร้างภูมิต้านทานแล้ว การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ก็เป็นการทานก็จัดเป็น อาหารเพิ่มภูมิต้านทานโรค ได้เช่นกัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเมื่อเรารับประทานอาหารครบ 5 หมู่แล้ว ร่างกายของเราจะแข็งแรงสมบูรณ์โดยเฉพาะระบบเกี่ยวกับภูมิต้านทานโรคจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หลายคนคิดว่าการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่นั้นง่ายมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วทำได้ยากมาก ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันนี้ต้องการความรวดเร็วและสะดวกสบาย เมื่อหิวแทนที่จะประกอบอาหารกินเอง ก็เดินเข้าซุป เปอร์มาเก็ตหรือร้านสะดวกซื้อ เพื่อซื้ออาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแช่แข็งที่ปรุงสำเร็จมาแล้ว เมื่อต้องการรับประทานก็เข้าเตาไมโครเวฟไม่กี่นาทีก็รับประทานได้แล้ว ซึ่งอาหารแช่แข็งสำเร็จรูปเหล่านี้ คุณค่าทางอาหารที่คงเหลืออยู่นั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการของร่างกาย และการที่จะรับประทานผักและผลไม้สดก็ยาก ทั้งราคาของสินค้าที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับรายรับที่ได้มา ทำให้โอกาสที่จะได้รับวิตามินและแร่ธาตุน้อยลงตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงขาดวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อการสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย เช่น โรคภูมิแพ้ โรคโลหิตจาง และที่โรคที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหวัด 

โรคหวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด โรคหวัดเกิดจากเชื้อไวรัสกว่า 200 ชนิดด้วยกัน ซึ่งโรคหวัดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ โรคหวัดแบบธรรมดาหรือ Common Cold และโรคไข้หวัดใหญ่ การเป็นหวัดธรรมดานั้นจะมีอาการไข้ต่ำ มีน้ำมูกเกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนถูกเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายจึงเกิดการอักเสบและระคายเคือง คนที่จะเป็นไข้หวัดได้ง่ายก็คือคนที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ พักผ่อนไม่เพียงพอโดยเฉพาะในเด็กที่ ภูมิต้านทานโรค ยังไม่แข็งแรงและในคนชราที่ระบบภูมิต้านทานทำงานได้น้อยลง สำหรับคนที่อยู่ในวัยกลางคนนั้นก็สามารถป่วยเป็นไข้หวัดได้ ถ้าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างเฉียบพลัน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตก ซึ่งทำให้อากาศภายนอกเปลี่ยนแปลงกระทันหันทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน ยิ่งในฤดูฝนและหนาวที่มีสภาพอากาศเย็นจะทำให้เชื้อไวรัสหวัดเจริญเติบโตและมีอายุยืนในบรรยากาศ ทำให้เรามีโอกาสได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายมากกว่าฤดูร้อน จะพบว่าในฤดูหนาวและฤดูฝนมีผู้ป่วยที่ป่วยเป็นไข้หวัดเป็นจำนวนมาก  เมื่อเราป่วยเป็นไข้หวัดหนึ่งครั้งร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัสชนิดที่ทำให้เราป่วยนี้ขึ้นมา ทำให้เราไม่เป็นไข้หวัดจากเชื้อตัวนี้อีก แต่อย่างที่เราบอกข้างต้นว่าเชื้อไข้หวัดเกิดเชื้อถึง 200 ชนิดดังนั้นถ้าเราจะไม่ป่วยเป็นไข้หวัดอีกเลยตลอดชีวิต เราก็ต้องป่วยเป็นไข้หวัดมาแล้ว 200 ครั้งเพื่อที่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดครบทั้ง 200 ตัวนั่นเอง แต่ว่าใครก็คงไม่อยากป่วยเป็นไข้หวัดถึง 200 ครั้ง ถ้าเราไม่ต้องการที่จะป่วยเป็นไข้หวัดเราก็ควรดูแลร่างกายให้อบอุ่นในฤดูหนาวและฤดูฝน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกกินผักผลไม้สดเป็นประจำทุกวันและพักผ่อนให้เพียงพอ โดยการนอนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพียงเท่านี้คุณก็ไม่ต้องกังวลกับการป่วยเป็นไข้หวัดกันแล้ว ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณจะได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่  ( Influenza หรือ Flu ) ที่เป็นการป่วยอย่างเฉียบพลันจากการได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่จากผู้อื่น ซึ่งอาการของไข้หวัดใหญ่จะรุ่นแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการไข้สูง ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดเหมื่อยกล้ามเนื้อ อาจจะมีอาการท้องร่วงร่วมด้วยในบางราย เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ เพราะว่าถ้าปล่อยไว้นานอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้โรคไข้หวัดเป็นโรคที่มีการแพร่กระจายได้จากการไอ จาม หรือสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ทั้งโดยทางตรงคือสัมผัสน้ำลาย น้ำมูกของผู้ป่วย โดนไอ จามใส่จากผู้ป่วยแล้วสูดดมเข้าสู่ร่างกาย และทางอ้อมจากการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ผ้าเช็ดหน้าที่ใช้แล้ว เป็นต้น คนที่ป่วยนั้นต้องดูแลรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ต่อมทอมซินอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไซนัส สมองอักเสบและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแยบพลัน ซึ่งโรคสมองอักเสบและกล้ามเนื้ออักเสบการที่จะเกิดแทรกซ้อนนั้นมีโอกาสน้อยมาแต่ว่าถ้าเกิดขึ้นมาจะร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น

การป้องกันตนเองให้ห่างไกลหวัด ร่างกายของคนเรามีช่วงเวลาที่แข็งแรงและอ่อนแออยู่เสมอ ช่วงที่ร่างกายของเราแข็งแรง เราก็ไม่ต้องกังวลว่าจะป่วยเป็นไข้หวัด แต่ทว่าถ้ามีการระบาดของไข้หวัดเกิดขึ้นแล้วแม้ว่าร่างกายของเราจะแข็งแรง เราก็ควรป้องกันและดูแลตัวเองด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ป่วยเป็นไข้หวัด

วิธีการป้องกันให้ห่างไกลจากโรคหวัด

1.ช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน ช่วงฤดูหนาวและฝนจะมีการระบาดของไข้หวัดมาก เนื่องจากสภาวะอากาสเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อหวัด การป้องกันเราต้องทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่ปิดมิดชิด สวมถุงมือและถุงเท้าในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นและทานอาหารที่ช่วย เพิ่มภูมิต้านทาน ให้กับร่างกาย
2.ล้างมือและกลั้วคออยู่เสมอ การแพร่ของเชื้อหวัดสามารถแพร่ผ่านการสัมผัสสิ่งของร่วมกันได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของเรา เราควรล้างมือก่อนที่จะใช้มือหยิบจับอาหารเข้าปากเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าทางปาก การล้างมือจึงเป็นการป้องกันได้ดีที่สุด การกลั้วคอก็ช่วยลดปริมาณเชื้อไข้หวัดให้น้อยลง เพราะเราทำการกลั้วคอล้างเอาเชื้อโรคออกมาไม่ได้กลืนกินเข้าสู่ร่างกาย
3.ใช้ผ้าปิดจมูก เมื่อเราต้องเดินทางหรือเข้าไปยังสถานที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เราไม่ทราบว่ามีใครบ้างที่ป่วยเป็นไข้หวัด เราจึงควรปิดปากปิดจมูกด้วยผ้าปิดจมูกเวลาที่อยู่ในสถานที่ดังกล่าว สำหรับคนที่ยังไม่ป่วยการปิดจมูกก็เพื่อป้องกันการรับเชื้อหวัดเข้าสู่ร่างกายเพื่อป้องกันเชื้อโรคจากบุคคลอื่นที่เราไปสัมผัส สำหรับคนที่ป่วยเป็นหวัดอยู่แล้วการปิดปากปิดจมูกก็เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อของตนเองเวลาที่ไอหรือจามไปสู่ผู้อื่น

คำแนะนำเมื่อเป็นหวัด

เมื่อเรามีอาการเหมือนจะเป็นหวัดนั่นคือ มีอาการคัดจมูก ไป ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เราควรปฏิบัติตนดังนี้
1.คัดจมูก เมื่อมีอาการคัดจมูกให้สั่งน้ำมูกออกจากโพรงจมูกอย่างเบาๆ ก็พอแล้ว หลายคนคิดว่าสั่งน้ำมูกแรงจะช่วยให้น้ำมูกออกจากจมูกหมดจะได้หายหวัดเร็วขึ้น สิ่งนี้เป็นความคิดที่ผิด เพราะการสั่งน้ำมูกแรงๆ นอกจากจะไม่ช่วยให้หวัดหายเร็วแล้ว ยังเป็นสามารถให้เชื้อโรคแพร่เข้าสู่ระบบหายใจหายใจส่วนอื่นด้วย และยังเกิดโรคแทรกซ้อนอย่าง หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ และไซนัสได้
2.ปวดศีรษะ เมื่อมีอาการปวดศีรษะเกิดขึ้น ถ้าปวดไม่มากก็ให้ประคบร้อนบริเวณศีรษะ และนอนพักผ่อน แต่ถ้าปวดมากให้ไปพบแพทย์เพื่อหายาแก้ปวดมารับประทานเพื่อตรวจสอบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดธรรมดา
3.ไอและเจ็บคอ เวลาที่เราเป็นหวัดเรามักจะมีอาการเจ็บคอและไอร่วมด้วย เมื่อมีอาการให้บ้วนปากและกลั้วคอด้วยน้ำอุ่นผสมกับเกลือเล็กน้อย เพื่อฆ่าเชื้อที่อยู่ในปากและลำคอ ควรดื่มน้ำอุ่นหรือเครื่องดื่มร้อนแทนเครื่องดื่มแช่เย็น และควรดื่มน้ำสะอาดมากด้วย
4.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สำหรับคนที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและไม่มีไข้นั้น แนะนำให้อาบน้ำอุ่นและนวดตัวเบาๆขณะที่อาบน้ำเพื่อช่วยกระตุ้นเลือดลมให้หมุนเวียนดีขึ้น แต่สำหรับคนที่มีไข้ให้ทำการเช็ดตัวแทนการอาบน้ำจะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้เช่นเดียวกัน
5.ดื่มน้ำสะอาด เมื่อเราเป็นหวัดมีไข้ควรดื่มน้ำสะอาดอุ่นเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายให้ลดลง โดยปริมาณน้ำที่ควรดื่มในช่วงที่เป็นหวัดคือ ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน
6.ห้ามเครียด คนมีป่วยก็ต้องหยุดพักผ่อน สำหรับบางคนแล้วการหยุดคือการไม่มีรายได้ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับคนป่วยเพราะจะทำให้อาการป่วยทรุดหนักได้ เราจึงควรทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่คิดมากจะได้พักผ่อนได้อย่างเต็มที เมื่อพักผ่อนเต็มที่ร่างกายก็จะหายป่วยได้เร็ว
7.ใช้ช้อนกลาง เวลาที่เรารับประทานอาหารกับผู้อื่นนั้น เราไม่ทราบว่าใครมีเชื้อหวัดอยู่บ้าง หรือเมื่อเรารับประทานอาหารร่วมกับคนเป็นหวัด เราควรที่จะใช้ช้อนกลางในการตักอาหารที่รับประทานด้วยกัน
8.ป่วยหนักให้ไปพบแพทย์ ปัจจุบันนี้โรคหวัดได้มีการพัฒนาสายพันธุ์เกิดขึ้นมาก บางสายพันธุ์มีความรุนแรงถึงชีวิต เมื่อเรารู้สึกว่าป่วยเป็นหวัดดูแลรักษาตัวขั้นพื้นฐานตามที่ได้บอกมาข้างต้นแล้วอย่างน้อย 5-7 วันแล้ว อาการยังไม่ทุเลาหรือมีอาการหนักขึ้นกว่าช่วงแรก ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วเพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยว่าเราเป็นไข้หวัดแบบใด จะได้รักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

หอยเป๋าฮื้อ ( Abalone ) กินแล้วดีอย่างไร ?

0
กินหอยเป๋าฮื้อแล้วดีอย่างไร ?
หอยเป๋าฮื้อ เป็นแหล่งของสารอาหารที่ดีและมีประโยชน์ ช่วยป้องกันโรคหัวใจและช่วยลดระดับความดันในโลหิตได้
หอยเป๋าฮื้อ ( Abalone ) กินแล้วดีอย่างไร ?
หอยเป๋าฮื้อ เป็นแหล่งของสารอาหารที่ดีและมีประโยชน์ ช่วยป้องกันโรคหัวใจและช่วยลดระดับความดันในโลหิตได้

หอยเป๋าฮื้อ

หอยเป๋าฮื้อ ภาษาอังกฤษ ( Abalone ) คือ อาหารอีกประเภทหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมสูง หลายคนมีความเชื่อว่าเป็นอาหารมงคล จึงมักนำหอยเป๋าฮื้อนี้ มาใช้เป็นเมนูในโอกาสพิเศษต่างๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นอาหารที่มีราคาสูงมากก็ตาม

หอยเป๋าฮื้อ คือ

หอยเป๋าฮื้อ หรือ หอยโข่งทะเล มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Abalone เป็นสัตว์ตระกูลหอย ที่อาศัยอยู่ตามซอกหินและชายฝั่งทะเล แต่จะต่างจากหอยชนิดอื่นๆ คือ เป็นหอยที่มีฝาเดียว มีรูเล็กๆมากมายอยู่บริเวณเปลือก หอยเป๋าฮื้อกินสาหร่ายในทะเลเป็นอาหาร มีอายุยืน นิยมนำไปใช้ทานเป็นอาหาร โดยเฉพาะประเทศในทวีปเอเชีย อย่าง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทย รวมถึงประเทศในโลกซีกตะวันตก ในทวีปยุโรป และอเมริกาด้วย

ประวัติความเป็นมาของ หอยเป๋าฮื้อ

ตามประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น เชื่อกันว่ามีการนำหอยเป๋าฮื้อมาใช้เขียนเป็นตัวอักษร เพื่อส่งถึงพระเจ้าด้วย ในสมัยโบราณเชื่อกันว่า อาหารที่ทำขึ้นจากหอยเป๋าฮื้อ เป็นอาหารสำหรับชนชั้นสูง สำหรับ ฮ่องเต้ ขุนนาง รวมถึงบุคคลที่มียศถาบรรดาศักดิ์เท่านั้นที่จะกินอาหารชนิดนี้ได้ แต่ในปัจจุบัน หอยเป๋าฮื้อก็สามารถหากินกันได้ทุกชนชั้นในสังคม เพียงแต่ เป็นอาหารที่มีราคาค่อนสูงมาก ผู้ที่จะซื้อมาทานก็อาจจะต้องมีเงินมากสักหน่อย และก็ยังมีความเชื่อที่ส่งต่อกันมาถึงยังทุกวันนี้ว่า หอยเป๋าฮื้อถือว่าเป็นอาหารมงคล หากผู้ใดได้ทานหอยเป๋าฮื้อแล้วจะเป็นมงคลกับชีวิตของตนเอง

หอยเป๋าฮื้อกับมูลค่าทางการตลาด

หอยเป๋าฮื้อ เป็นอาหารทะเล ที่ได้รับความนิยมในการบริโภคสูง มีมูลค่าการซื้อขายในท้องตลาดทั่วโลกต่อปีสูงมาก โดยหากเป็นหอยที่มีขนาดได้มาตราฐานการส่งออก จะมีลำตัวกว้าง 7-12 เซนติเมตร และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 200 – 300 กรัม ต่อหนึ่งตัว ตลาดในภูมิภาคเอเชีย จะมีมูลค่าการซื้อขายหอยเป๋าฮื้อต่อปีสูงเป็นเงินถึง 7,500 – 10,000 ล้านบาท ส่วนตลาดในอเมริกา มูลค่าการซื้อขายต่อปีอยู่ที่ประมาณ 750 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสัตว์เศรฐษกิจที่น่าจับตามอง ที่นับวันจะมีมูลค่าทางการตลาดสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแวดวงธรุกิจหอยเป๋าฮื้อ จะมีประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นำใหญ่ ทั้งในด้านการเป็นผู้ผลิต การบริโภค การนำเข้าและการส่งออกด้วย ซึ่งประเทศญี่ปุ่นจะนิยมนำเข้าหอยเป๋าฮื้อในรูปแบบ อาหารสดแช่แข็ง อาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป และส่งออกในรูปแบบของสินค้าตากแห้ง โดยมีประเทศไต้หวันและฮ่องกง เป็นลูกค้าสำคัญ

หอยเป๋าฮื้อ เป็นแหล่งของสารอาหารที่ดีและมีประโยชน์ ช่วยป้องกันโรคหัวใจและช่วยลดระดับความดันในโลหิตได้จริง

สำหรับ หอยเป๋าฮื้อ ที่มีขนาดใหญ่จะพบได้มากในทะเลเขตอากาศอบอุ่น นิยมนำมาบริโภคในลักษณะเนื้อเสต็กชิ้นบางๆ ส่วนขนาดเล็กจะพบได้ในทะเลเขตที่มีอากาศร้อน เป็นชนิดที่รสชาติดีและราคาถูก นิยมนำมาบริโภคในลักษณะค็อกเทล ตามงานเลี้ยงต่างๆ ผลผลิตของหอยเป๋าฮื้อ ทั่วโลก ประมาณ 90 % ได้มาจากการจับตามแหล่งธรรมชาติ ส่วนที่เหลือมาจากการเพาะเลี้ยง ในบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และอเมริกา ได้ออกข้อกำหนด ปริมาณในการจับหอยเป๋าฮื้อแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาการลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในขณะที่การนำออกจำหน่ายลดลง แต่ปริมาณความต้องซื้อยังคงมากขึ้นเรื่อยๆต่อเนื่อง ราคาของหอยเป๋าฮื้อจึงยังคงอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง

การเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทยเรานี้ ก็มีการเพาะเลี้ยง หอยเป๋าฮื้อ ไว้สำหรับจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศด้วยเช่นกัน แต่ก็ยังมีมูลค่าทางการตลาดที่ไม่มากนัก ปัจจุบันพื้นที่ฝั่งชายทะเลบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก็มีการเพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อเพื่อจำหน่าย แต่ยังคงได้ผลผลิตในจำนวนน้อยอยู่ เนื่องจาก หอยเป๋าฮื้อเพศเมียแม้จะมีการออกไข่ต่อครั้งในปริมาณที่มาก ( หอยเป๋าฮื้อ 50 ตัว จะออกไข่ได้มากถึง 12 – 14 ล้านฟอง ) แต่เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงจริงๆแล้ว จะเหลือลูกหอยเป๋าฮื้อที่มีชีวิตรอดแค่เพียง 0.5 % จากปริมาณไข่ทั้งหมด เท่านั้น ดังนั้น ในจำนวนไข่ 12 – 14 ล้านฟอง จะได้ลูกหอยเป๋าฮื้อที่มีขนาดเท่าเมล็ดงาดำ ประมาณเพียงแค่ 50,000 เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยมากๆ นอกจากจะเพาะเลี้ยง หอยเป๋าฮื้อ ได้จำนวนน้อยแล้ว ผู้เพาะเลี้ยงในประเทศไทยยังพบกับปัญหา ภาวะต้นทุนในการเลี้ยงสูงอีกด้วย ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อย มาหมุนเวียนในการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อนี้ ทั้งค่าอาหาร ค่าโรงเรือน การสร้างบ่อคอนกรีตสำหรับเลี้ยง ค่าแรงงาน ค่าไฟ และอื่นๆ ประกอบกับในปัจจุบัน ที่ยังไม่มีแหล่งในการจำหน่ายตัวอ่อนของหอยเป๋าฮื้อ ทำให้เกษตรกรทั่วไปไม่อาจริเริ่มในการเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ได้ ส่งผลให้หอยเป๋าฮื้อที่ผลิตได้ในประเทศมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นในแต่ละปีประเทศไทยจึงต้องมีการนำเข้าหอยชนิดนี้จากต่างประเทศ เป็นจำนวนมาก มูลค่าหลายสิบล้านบาท ส่งผลให้ราคาขายหอยเป๋าฮื้อ จึงสูงตามไปด้วย โดยราคาหอยเป๋าฮื้อต่อหนึ่งกิโลกรัม จะอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่า 800 บาท

หอยเป๋าฮื้อออกหากินเวลาใด

ตามธรรมชาติหอยเป๋าฮื้ออาศัยอยู่ในทะเลน้ำเค็ม กินพืชเป็นอาหาร ชอบขูดแทะพื้นผิวก้อนหินหรือซากปะการังบริเวณที่เดินผ่าน ออกหากินในเวลากลางคืน กลางวันจะหลบอยู่ตามซอกหิน หอยเป๋าฮื้อจะมีสีสันเข้ากับธรรมชาติหรือชนิดอาหารที่กินที่อาศัยอยู่

ประโยชน์ของหอยเป๋าฮื้อ และสรรพคุณ

แม้ว่าอาหารทะเลหลายๆประเภท มักจะมากไปด้วยปริมาณของคลอเลสเตอรอลที่สูง จึงทำให้หลายๆคนไม่กล้าที่จะทานอาหารชนิดนี้มากนัก แต่สำหรับอาหารกลุ่มประเภทหอยโดยเฉพาะหอยเป๋าฮื้อจะมีปริมาณของระดับระดับคลอเรสตอรอลที่ต่ำ ให้พลังงานน้อย หอยเป๋าฮื้อปริมาณขนาด 3 ออนซ์ จะให้พลังงานเพียงแค่ 85 แคลอรี่เท่านั้น แบ่งเป็นโปรตีนสูงถึง15 กรัม และไขมันเพียง 1กรัม ซึ่งนอกจากนี้ยังมีหอยเป๋าฮื้อสรรพคุณด้านอื่นๆอีกหลากหลายดังนี้

1. หอยเป๋าฮื้อจะมีสารที่ชื่อว่า สารสเทอรอล ( Sterol ) ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกับ คอเลสเตอรอล ( Cholesterol )  แต่ต่างกันที่ สารชนิดนี้ช่วยป้องกันการดูดซึมคลอเรสตอรอลเข้าไปยังทางเดินอาหาร ผู้บริโภค จึงไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพหากต้องทานหอยชนิดนี้ หอยเป๋าฮื้อมากไปด้วยสารอาหารอย่างแมกนีเซียม ซึ่งเป็นตัวช่วยชั้นดีในการลดระดับความดันในโลหิต จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตันได้

2. หอยเป๋าฮื้อมีสารที่เป็นประโยชน์ช่วยบำรุงกระดูก ข้อต่อ กระดูกอ่อน และกล้ามเนื้อในร่างกาย ช่วยลดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม และมีคอลลาเจนสูงที่ช่วยคงสภาพของหมอนรองกระดูก ช่วยลดอัตราการเกิดหมอนรองกระดูกเสื่อม และช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเลี้ยงไขข้อ ดีสำหรับผู้ที่มีปัญหาข้อเสื่อม ปัจจุบันได้มีการนำหอยเป๋าฮื้อไปสกัดเป็นอาหารเสริมเพื่อใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่า

3. หอยเป๋าฮื้อมีคอลลาเจนจากธรรมชาติ โดยมีการนำมาสกัดทำเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ซึ่งจะช่วยบำรุงผิวพรรณ กระชับรูขุมขน ผิวกระชับ เปล่งปลั่ง ช่วยลดริ้วรอยก่อนวัย และช่วยให้ผิวกระจ่างใสด้วย

4. หอยเป๋าฮื้อสามารถช่วยบำรุงร่างกายในผู้สูงอายุ ช่วยให้ไม่อ่อนเพลีย กระปรี้กระเปร่า ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น ป้องกันการเกิดโรคต่างๆได้

5. ในหอยเป๋าฮื้อมีวิตามินอี ซึ่งช่วยในการมองเห็น ทำให้การมองเห็นดีขึ้น ช่วยบำรุงสายตาให้มีสุขภาพดี โดยเฉพาะบำรุงสายตาในผู้สูงอายุ

6. เนื่องจากหอยเป๋าฮื้อมีวิตามินB1 วิตามินB2 วิตามินB6 วิตามินB12 ที่ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยในการเสริมสร้างการเรียนรู้และความจำ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้

แม้ความเชื่อเกี่ยวกับหอยเป๋าฮื้อที่ว่าเป็นอาหารมงคล หากทานแล้วจะส่งผลดีต่อชีวิต ยังคงเป็นสิ่งที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ แต่สำหรับความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้แล้วก็คือ หอยเป๋าฮื้อเป็นอาหารที่ดีและมีประโยชน์ ช่วยป้องกันโรคหัวใจและช่วยลดระดับความดันในโลหิตได้จริง หากทานในปริมาณที่เหมาะสม แต่ด้วยความที่เป็นอาหารที่มีราคาสูงอยู่มาก ผู้บริโภคจึงควรเลือกทานตามกำลังทรัพย์ที่ตนเองมี จึงจะดีที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

Cox, Keith W. (1962). “California abalone, family Haliotidae”. The Resources Agency of California Department of Fish and Game: Fish Bulletin. 118. ISSN 6306-2593.

“Mineralogy, Chemistry and Ultrastructure of the External Shell-layer in Ten Species of Haliotis With Reference to Haliotis tuberculata (Mollusca, Archaeogastropoda)”. Bulletin of the Geological Institutions of the University of Uppsala. 15: 7–38. ISSN 0302-2749.

EoL (2014). “Haliotis speciosa: Splendid Abalone”. Encyclopedia of Life. Archived from the original on 21 August 2014. Retrieved 21 August 2014.

“Unshelled Abalone and Corrupted Urchins; Development of Marine Calcifiers in a Changing Ocean” (PDF). Proceedings of the Royal Society Biological Sciences: Series B. 278: 1–9. ISSN 0962-8452. Retrieved 16 August 2014.

ปลากะตัก (Anchovy) เล็กแต่แจ๋ว เปิดสรรพคุณที่คุณต้องทึ่ง

0
ปลากะตัก (Anchovy) เล็กแต่แจ๋ว เปิดสรรพคุณที่คุณต้องทึ่ง
ประโยชน์และสรรพคุณของปลากะตักหรือปลาจิ้งจั้ง (Anchovy)
กินปลากะตัก หรือ ปลาฉิ้งฉ้าง (ปลาจิ้งจั้ง) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และยังช่วยลดระดับความดันในโลหิตได้

ปลากะตัก หรือ ปลาจิ้งจั้ง

ปลากะตัก (Anchovy) หรือที่หลายคนอาจเคยได้ยินในชื่อ ปลาจิ้งจั้ง คือปลาขนาดเล็กที่มักถูกมองข้าม แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ปลากะตัก ประโยชน์ และ ปลาจิ้งจั้ง ประโยชน์ นั้นมีมากมายจนคุณอาจคาดไม่ถึง? หากมีคนถามว่า ปลาจิ้งจั้ง คือปลาอะไร หรือ ปลาจิ้งจั้ง คือ ปลาประเภทไหน คำตอบก็คือ ปลาชนิดนี้เป็นอีกหนึ่งชื่อเรียกของปลากะตัก ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนคุณภาพสูง, กรดไขมันโอเมก้า-3, รวมถึงแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียมและฟอสฟอรัส

ด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย ปลากะตักจึงมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครอบคลุม ตั้งแต่ช่วยบำรุงสุขภาพกระดูกและสมอง เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ไปจนถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์จากสารพิษต่าง ๆ เมื่อมองในภาพรวม ปลากะตักและปลาจิ้งจั้งจึงเป็นวัตถุดิบที่ไม่ควรพลาดในการเสริมสร้างสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกายอย่างแท้จริง

ปลากะตัก หรือ ปลาจิ้งจั้ง

ปลากะตัก หรือ ปลาจิ้งจั้ง - ปลากะตัก (Anchovy) เล็กแต่แจ๋ว เปิดสรรพคุณที่คุณต้องทึ่งปลากะตัก ออกเสียงไม่เหมือนกันในแต่ละภาค บ้างก็เรียก ปลากะตะ ปลากระตัก คือ ปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีขนาดตัวโตเต็มที่ประมาณ 6 นิ้ว เป็นปลาที่มีลักษณะรูปร่าง คล้ายคลึงกับปลาซาดีน แต่มีขนาดที่เล็กกว่า มีเกร็ดเป็นสีเงินส่องประกาย เป็นปลาที่อยู่ในสายพันธุ์เดียวกับปลาไส้ตัน ปลากะตักนี้สามารถพบได้ตามท้องทะเลทั่วโลก

ปลากะตักหรือปลาจิ้งจั้งใช้ทำเป็นเมนูอะไรได้บ้าง?

ปลากะตัก เป็นปลาอีกหนึ่งชนิด ที่นำมาใช้ประกอบเป็นอาหาร นิยมนำมาหมักเค็มแล้วแช่ในน้ำมัน มีรสชาติออกเค็มและมีกลิ่นที่จัด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของปลาชนิดนี้ ปลาข้าวสาร คือชื่อเรียกลูกปลากะตักที่ยังไม่โตนั่นเอง ปลาข้างสาร มีประโยชน์มากมายสามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น นำไปทานคู่กับสลัด ใช้ทำเป็นหน้าพิซซ่า ใช้ผัดกับสปาเก็ตตี้ และอื่นๆแล้วตามความชอบ ปลากะตักชนิดสดโดยมากชาวตะวันตกจะนิยมนำไปทำเป็นซุปทานกัน

กินปลากะตัก หรือ ปลาฉิ้งฉ้าง ( ปลาจิ้งจั้ง ) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และยังช่วยลดระดับความดันในโลหิตได้

ประโยชน์ของปลากะตักหรือปลาจิ้งจั้ง

ประโยชน์ของปลากะตักหรือปลาจิ้งจั้งปลากะตัก จะอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์อย่าง เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 โปแทสเซียม ( Potassium ) และแคลเซียม ( Calcium ) ในปริมาณที่สูง การทานปลากะตัก ขนาด 3 ออนซ์ จะให้พลังงาน 10 แคลอรี แบ่งเป็น ไขมัน 4 กรัม โพแทสเซียมมากกว่า 300 มิลลิกรัม และแคลเซียม 125 มิลลิกรัม การทานปลากะตักในปริมาณที่เหมาะสม จะได้รับสรรพคุณที่ดี มีประโยชน์กับร่างกาย นอกจากปลากะตัก หรือ ปลาจิ้งจั้งแล้ว ปลาเล็กปลาน้อยก็มีประโยชน์ และให้แคลเซียมสูงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ปลากะตักยังสามารถนำไปดองน้ำปลาได้เหมือนกับปลาไส้ตัน

ข้อแนะนำในการทานปลากะตักหรือปลาจิ้งจั้ง

1. ปลากะตักแบบกระป๋อง เรียกว่า ปลาแอนโชวี่กระป๋อง ควรเลือกซื้อชนิดที่อยู่ในน้ำมันปลา หรือในน้ำมันมะกอก มากว่าการเลือกชนิดที่อยู่ในน้ำมัน เนื่องจากชนิดที่อยู่ในน้ำมัน จะมีปริมาณของไขมัน คอเลสเตอรอล ( Cholesterol ) และโซเดียม ( Sodium ) ในระดับที่สูง ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ

2. การเลือกซื้อปลากะตักแบบสดมาปรุงอาหาร หากใช้ไม่หมด จะสามารถเก็บใส่ตู้เย็น เพื่อรักษาความสดของปลาไว้ได้ประมาณ 2 วัน แต่หากนานกว่านี้ ต้องนำไปแช่แข็งโดยหุ้มให้สนิทด้วยกระดาษห่อสำหรับช่องแช่แข็งโดยเฉพาะ เพื่อให้เนื้อปลายังคงความสดไว้ได้นาน

ปลากะตัก ถือว่าเป็นปลาทะเลที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่ดีต่อร่างกาย ทั้งช่วยป้องกันโรคหัวใจ และช่วยลดระดับความดันโลหิต ผู้บริโภคควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และรู้จักเลือกประเภทให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับร่างกายอย่างสูงสุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

“ทะเลไทย” โดย ภาคภูมิ วิธานติระวัฒน์ จากหนังสือ “ปลาหายไปไหน” และ รายงานการประมงในประเทศไทยโดย กรีนพีซ มิถุนายน พ.ศ. 2555.

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, เกษตรและสหกรณ์,กระทรวง กรมประมง . ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย . พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา , 2535.

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

Nelson, Gareth (1998). Paxton, J.R.; Eschmeyer, W.N., eds. Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. pp. 94–95. ISBN 0-12-547665-5.

แสงแดดช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจได้อย่างไร?

0
แสงแดดช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจได้อย่างไร?
รังสีที่มีคุณสมบัติดี มีผลต่อการรักษาโรคและบำรุงสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ คือ รังสีอินฟาเรด รังสีแสงสีเขียวจากดวงอาทิตย์
แสงแดดช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจได้อย่างไร?
รังสีที่มีคุณสมบัติดี มีผลต่อการรักษาโรคและบำรุงสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ คือ รังสีอินฟาเรด รังสีแสงสีเขียวจากดวงอาทิตย์

แสงแดดช่วยรักษาโรค

มีคำถามที่หลายๆคนหาคำตอบเกี่ยวกับ แสงแดดช่วยรักษาโรค ได้จริงหรือไม? หากถามว่าอวัยวะใดที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกาย  เชื่อได้เลยว่าหลายคำตอบที่ได้รับก็คงหนีไม่พ้นไปจาก หัวใจ แต่หากถามให้ลึกลงไปอีกว่า หัวใจมีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร หากไม่ใช่หมอหรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ก็คงมีน้อยคนนัก ที่จะตอบคำถามนี้ได้อย่างละเอียดและสมบรูณ์  ในปัจจุบันมีโรคภัยไข้เจ็บมากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ หัวใจ  เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจวาย  ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ในทางการแพทย์ การรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจเป็นประเภทโรคที่รักษาได้ยากชนิดหนึ่ง และต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับหัวใจในการรักษาเท่านั้น ซึ่งวิธีในการรักษาก็มีมากมายหลายวิธี ตามความเจริญของการแพทย์ในยุคสมัยนี้ และนอกจากวิธีการรักษาทางการแพทย์แล้ว ยังมีการค้นพบข้อมูลที่สำคัญว่า มีวิธีสุดแสนธรรมดาที่สามารถช่วยบำรุงและรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจได้ก็คือ การใช้แสงแดดรักษา  หลายคนก็คงสงสัยว่าทำไมแสงแดดจึงรักษาโรคหัวใจได้จะอธิบายดังต่อไปนี้

หัวใจคืออะไรและสำคัญต่อมนุษย์อย่างไร

หัวใจ คือก้อนเนื้อที่อยู่ภายในร่างกายมนุษย์ มีขนาดประมาณเท่ากำมือของแต่ละคน ตั้งอยู่ใต้กระดูกบริเวณกึ่งกลางอก เบี่ยงไปข้างซ้ายเล็กน้อย มีหน้าที่หลักคือ คอยทำการสูบฉีดเลือด นำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ทุกส่วนของร่างกาย โดยภายในหัวใจจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน หรือ 4 ห้อง ประกอบด้วย

  • ห้องบนข้างขวา มีหน้าที่ รับเลือดเสีย หรือเลือดดำจากทุกส่วนของร่างกาย เพื่อส่งต่อให้หัวใจห้องล่างขวา
  • ห้องล่างข้างขวา มีหน้าที่ รับเลือดมาจากห้องบนขวา แล้วส่งเลือดไปฟอกที่ปอด
  • ห้องบนข้างซ้าย มีหน้าที่ รับเลือดดีหรือเลือดแดงที่ฟอกจากปอดแล้ว เพื่อนำไปส่งต่อให้ล่างซ้าย
  • ห้องล่างข้างซ้าย มีหน้าที่ รับเลือดดีจากห้องบนซ้าย แล้วส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

ในแต่ละห้องของหัวใจ จะมีลิ้นหัวใจ คอยกั้นระหว่างห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ทำให้เลือดเดินทางเดียวได้ตามกลไกของร่างกาย ปกติแล้วอัตราการเต้นของหัวใจคนเราจะอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที และมีจังหวะการเต้นที่สม่ำเสมอ ในการทำงานหรือการเต้นของหัวใจนี้ หัวใจจะมีการสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมา เพื่อกระตุ้นให้หัวใจมีการบีบตัว ซึ่งจะต้องเป็นการบีบตัวจากบนไปล่างอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้หัวใจห้องข้างบนและข้างล่างเต้นในจังหวะที่สัมพันธ์กัน ในการเต้นหรือการบีบตัวของหัวใจแต่ละครั้ง หัวใจจะมีการสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมา ด้วยเซลล์ชนิดที่พิเศษที่ชื่อว่า เอสเอ โนด ( SA Node )  เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจเกิดการบีบตัวอย่างสม่ำเสมอ โดยอาศัยออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการนี้ หากเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หรือที่มักเรียกกันว่า ภาวะไฟฟ้ารัดวงจรในหัวใจ จะส่งผลให้หัวใจมีความผิดปกติ และเต้นผิดจังหวะ

โรคเกี่ยวกับหัวใจที่พบได้บ่อยๆ

โรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่เกิดกับหัวใจ มีอยู่มากกมายหลายชนิด ซึ่งในแต่ละชนิดก็มีระดับความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันออกไป โดยชนิดที่พบได้บ่อยๆ มีดังต่อไปนี้
1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คือ ภาวะที่หลอดเลือดแดงที่มีหน้าที่ส่งเลือดไปให้หัวใจ เกิดการตีบตันขึ้น ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง เกิดอาการเจ็บที่หัวใจอย่างรุนแรง หรือหัวใจวาย เพราะเกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ กับประสิทธิภาพของหลอดเลือดที่แคบลง มีสาเหตุหลักมาจาก การเกิดภาวะสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด จนทำให้ไปขัดขวางการไหลของเลือด

2. หัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดขึ้นจากการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ ด้วยลิ่มเลือด จึงไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดเดินทางได้ไม่สะดวก เกิดการขาดออกซิเจนขึ้นในหัวใจ หากเป็นนานๆบ่อยๆ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจในส่วนนั้นก็จะถูกทำลายไป เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะตาย อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย

3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปทั่วทุกส่วนของร่างกายได้อย่างพอเพียง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลายๆอย่าง เช่นหัวใจอ่อนแอ กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย ความสามารถสูบฉีดโลหิตน้อยลงเอง ผลที่ตามมาคือมีเลือดคั่งอยู่ในห้องหัวใจ หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลาก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

4. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia ) หรือไฟฟ้าช็อตที่หัวใจ  หมายถึง ภาวะที่หัวใจมีความผิดปกติเกิดขึ้นจนส่งผลให้ อัตราจังหวะการเต้นของหัวใจผิดเพี้ยนไปจากเดิม โดยอาจเต้นเร็วไป หรือช้าไปก็ได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก กระแสไฟฟ้าในหัวใจมีระดับที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์เอส เอ โนด  มีการเสื่อมสภาพ ส่งผลกระทบให้ผู้ที่มีภาวะนี้จะรู้สึก เหนื่องง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน หากเป็นมากอาจเป็นลมหมดสติได้ จากการที่สมองได้รับเลือดที่ส่งให้จากหัวใจไม่เพียงพอ ในการรักษาภาวะอาการนี้ แพทย์จะเป็นผู้วิเคราะห์อาการของผู้ป่วย และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ในบางรายที่มีอาการหนัก หรือ มีอาการหัวใจอ่อนแรงอยู่บ่อยๆ แพทย์จะใช้วิธีการใส่เครื่องช่วยรักษาหัวใจ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะไปช่วยการบีบตัวของหัวใจฝห้ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ระดับกระแสไฟฟ้ากลับมาเป็นปกติ หัวใจก็จะเต้นเป็นจังหวะเหมือนเดิม

วิธีการดูแลรักษาหัวใจให้แข็งแรง

ภาวะโรคภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหัวใจ หากตัวเราเองมีการดูแลรักษาสุขภาพหัวใจให้ดีและแข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆที่เกี่ยวกับหัวใจได้มาก โดยการดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง มีวิธีการแนะนำดังต่อไปนี้

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  การออกกำลังกายให้ผิวสัมผัส แสงแดด ยามเช้า/เย็น อย่างเหมาะสมเป็นประจำ และทำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยส่งผลให้หัวใจมีการสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น หัวใจจะมีความแข็งแรงมากขึ้น

2. บริหารสภาวะอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ ในแต่ละวันไม่ควรปล่อยให้ตนเองมีความเครียดสะสม เนื่องจาก ความเครียด และภาวะอารมณ์ที่ไม่ดี ไม่ปกติ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักมากกว่าปกติ  การมีภาวะอารมณ์ที่ดี จึงช่วยส่งผลให้หัวใจมีสุขภาพที่ดี และไม่ต้องทำงานที่หนักจนเกินไป

3. เลือกทานอาหารที่ดี การเลือกทานอาหาร ควรเลือกประเภทอาหารที่ดีและมีประโยชน์กับร่างกาย เช่น เน้นการทานผักและผลไม้สด ทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ และต้องคอยเลี่ยงอาหารที่มากไปด้วยไขมัน เนื่องจากหากได้รับในปริมาณมาก จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และเป็นยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย

4. บำรุงและรักษาหัวใจด้วยพลังกายทิพย์  คือ การใช้พลังรังสีคอสมิก ซึ่งเป็นรังสีจากดวงอาทิตย์ เพื่อนำมาใช้รักษาโรคและอาการเจ็บป่วยต่างๆ  ในร่างกายของมนุษย์เรามีกระดูกสันหลังดามเอาไว้ ทำให้อวัยวะต่างๆอยู่กันเป็นโครงสร้าง และมีความเป็นระเบียบไม่มีการเบียดทับกัน ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในแนวกระดูกสันหลังจะมีจุดที่รับพลังจากแสงอาทิตย์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อนำมาเป็นพลังแห่งชีวิต ให้ชีวิตดำเนินไปอย่างสมดุล โดยจะเรียดจุดดังกล่าวว่า “ จักระ ” มีทั้งหมด 7 จุด ดังนี้

  • จักระ 1 มูลลัดดาจักระ ( Mooladhara Chakra ) ตั้งอยู่ระหว่างทวารหนักกับอวัยวะเพศของทั้งหญิงและชาย รับพลังคลื่นแสงสีแดง ควบคุมต่อมหมวกไต ขา เท้า กระดูก และลำไส้ใหญ่ ช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องผูก ริดสีดวงทวาร ความอ้วน ปวดหลัง ปวดขา ปวดข้อปวดเข่า โรคนอนไม่หลับ และระบบเกี่ยวกับอวัยวะเพศทั้งหมด
  • จักระ 2 สวัสดิ์ธนาจักระ ( Swadhisthana Chakra ) ตั้งอยู่บนกระดูกสันหลังแต่ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2-3 นิ้ว หรือปลายกระดูกสันหลังใต้ก้นกบข้อที่ 1-2 รับคลื่นแสงสีส้ม ควบคุมรังไข่ หรืออัณฑะ มดลูก อวัยวะเพศ ไต กระเพาะปัสสาวะ ระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยป้องกัน อาการทางไต และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยลดความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ และลดอาการปวดหลัง
  • จักระ 3 มณีปุรจักระ ( Manipura Chakra ) อยู่บนกระดูกสันหลังบริเวณเอว ตรงข้ามกับสะดือ รับคลื่นรังสีสีเหลือง ควบคุมต่อมหมวกไต และตับอ่อน การผลิตเม็ดเลือด การทำงานของตับและม้าม การทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน โรคตับ และโรคอ้วน
  • จักระ 4 อนันตาจักระ ( Anahata Chakra ) ตั้งอยู่บนกระดูกสันหลังส่วนทรวงอกข้อที่ 6 ตรงกับบริเวณที่ตั้งของหัวใจ รับคลื่นแสงสีเขียว ควบคุมต่อมไทมัส ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหลังลูกกระเดือก หัวใจ ปอด แขน และมือ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคความดันโลหิต หืดหอบ
  • จักระ 5 วิสุทธิจักระ ( Vishuddhi Chakra ) ตั้งอยู่บนต้นคอบริเวณกระดูกข้อที่ 3 ตรงข้ามกับลูกกระเดือก มีลักษณะเป็นโหนกสูง อยู่บริเวณเหนือไหล่ขึ้นไปเล็กน้อย รับคลื่นแสงสีฟ้า ทำหน้าที่ควบคุมต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์ ตับ คอ ไหล่ มือ หู ควบคุมระบบการหายใจ ช่วยป้องกันโรคต่อมไทรอยด์ การได้ยิน บรรเทาอาการปวดต้นคอ โรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ หืดหอบ ตลอดจนโรคผิวหนัง
  • จักระ 6 อัชณาจักระ ( Ajana  Chakra ) ตั้งอยู่ระหว่างคิ้วเหนือนดั้งจมูกขึ้น เรียกว่า ตาที่สาม รับพลังคลื่นแสงสีน้ำเงิน(สีไพลิน) สัมพันธ์กับต่อมพิทูอิทารี (pituitary gland) ต่อมนี้ทำงานร่วมกับต่อมไพเนียล ที่ควบคุมภายในดวงตา ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตาทุกชนิด
  • จักระ 7 สหัสราจักระ ( Sahassara Chakra ) ตั้งอยู่บริเวณกลางกระหม่อมค่อนไปด้านหลังเล็กน้อย เป็นจุดสูงสุดของร่างกาย จึงได้ชื่อว่า crown รับพลังคลื่นแสงสีม่วง เป็นศูนย์ควบคุมทุกจักระในร่างกาย ควบคุมสมองและระบบประสาททั้งหมด ประสานการทำงานของอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย

แสงแดดช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจได้อย่างไร ?

แสงแดด คือ แหล่งพลังงานมหาศาล จากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก ปกติแล้วจะมีแสงเป็นสีขาวที่ตามองเห็นได้ ประกอบไปด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต หรือเรียกสั้นๆว่ารังสียูวี มีอยู่หลากหลายชนิด เช่น UVA, UVB, UVC แต่จะมีเพียงประเภทของ UVA และ UVB เท่านั้นที่ส่องมาถึงพื้นโลกได้ โดยไม่ถูกดูดซึมให้หายไปโดยชั้นบรรยากาศ แต่

รังสีที่มีคุณสมบัติดี มีผลต่อการรักษาโรคและบำรุงสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ คือ รังสีอินฟาเรด รังสีแสงสีเขียว ที่ได้มาฟรีๆ จากแสงของดวงอาทิตย์เช่นกัน

แสงแดดที่ได้รับจะมีประโยชน์ต่อหัวใจและร่างกาย

1. ช่วยลดความเสี่ยงในการโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ เนื่องจากเมื่อร่างกายได้รับปริมาณที่ แสงแดด ที่เหมาะสม จะถูกนำไปสร้างวิตามินดี ให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ตามอวัยวะต่างๆ โดยวิตามินดีจากแสงแดดช่วยลดภาวะการอักเสบในกระแสเลือด ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการสูบฉีดเลือดของหัวใจ วิตามินดีที่ได้จากแสงแดด จะเป็นตัวควบคุมปริมาณแคลเซียมในกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานเป็นปกติ ช่วยเพิ่มประสิทธิในการการสูบฉีดเลือดของหัวใจ หากร่างกายไม่มีการควบคุมปริมาณแคลเซียมในกล้ามเนื้อหัวใจที่ดี จะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจจะไม่ขยายตัวและไม่หดตัวกลับอย่างปกติ ประสิทธิภาพในการสูบฉีดเลือดทำได้แย่ลง

3. ช่วยลดความดันในโลหิต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักอีกชนิดหนึ่งในการเกิดโรคหัวใจ แสงแดด ช่วยลดความดันโลหิตสูงโดยตรง และยังช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และการเกิดลิ่มเลือดได้อีกด้วย การได้รับแสงแดดเพียงแค่ 20 นาทีต่อวันก็เพียงพอแล้ว ที่จะช่วยทำให้เส้นเลือดปล่อยสารเคมีตัวสำคัญที่ชื่อว่า ไนตริกออกไซด์ออกมา ทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นโลหิต ซึ่งมีผลให้ความดันเลือดลดต่ำลง

4. ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด การได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ จะช่วยลดระดับของคลอเลสเตอรอลในเลือดให้ต่ำลงได้ โดยสาเหตุหลักในการเกิดโรคหัวใจเกือบทุกชนิด และโรคความดันในโลหิตสูง  มักมาจากการที่หลอดเลือดแดงโคโรนารี มีระดับของคลอเลสเตอรอลจับตัวกันที่ผนังหลอดเลือดจนหนา เรียกภาวะนี้ว่าพลัค ( Plaque ) ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดในหัวใจทำได้ไม่ดี จนทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ

5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเซลล์ในร่างกาย แสงแดดช่วยให้เฮโมโกลบิน ที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงจับตัวรวมกับออกซิเจนได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้เซลล์ต่างๆในร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น สุขภาพโดยรวมก็จะดีขึ้นรวมถึงสุขภาพของหัวใจด้วย

การป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ

โรคที่เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ มักเกิดจากการพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดๆ และการกินอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ ซึ่งก็มีวิธีในการป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้ดังต่อไปนี้

  • ทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ โดยเน้นทานผักและผลไม้เป็นหลัก และดื่มน้ำให้มากเพียงพอในแต่ละวัน
  • เลี่ยงอาหารที่มากไปด้วยไขมัน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น เช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน
  • ดูแลสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนัก
  • ออกรับแสงแดดให้ในแต่ละวันให้เพียงพอ ประมาณ 15 – 20 นาที เพื่อให้ได้ประโยชน์จาก แสงแดด ไปบำรุงหัวใจ

หัวใจเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เป็นหนึ่งในอวัยวะที่ไม่เคยหยุดพักเลย ตั้งแต่เป็นตัวอ่อนเกิดขึ้นในครรภ์ มารดา และยังคงทำงานต่อเนื่องจนกว่าเจ้าของร่างกายจะหมดลมหายใจไป  ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักดูแล และคอยบำรุงสุขภาพหัวใจของตัวเราเองให้ดี และแข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งนอกจากการทานอาหารที่ดี การออกกำลังกาย และการพักผ่อนที่เพียงพอแล้ว แสงแดด ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยบำรุงและรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจได้ด้วยเช่นกัน เพียงแค่แบ่งเวลาให้ตนเองได้รับแสงแดดวันละ 15 -20 นาที สุขภาพหัวใจรวมทั้งสุขภาพร่างกายอื่นๆ ก็จะได้รับประโยชน์มากมายจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้มาฟรีๆและไม่มีวันหมด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5

MacAdam, David L. (1985). Color Measurement: Theme and Variations (Second Revised ed.). Springer. pp. 33–35. ISBN 0-387-15573-2.

“Graph of variation of seasonal and latitudinal distribution of solar radiation”. Museum.state.il.us. 2007-08-30. Retrieved 2012-02-12.

อะโวคาโดมีสารอาหารอะไรบ้างนะ? ( Avocado )

0
อโวคาโดมีสารอาหารอะไรบ้างนะ? (Avocado)
อโวคาโด้ หรือลูกเนย มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามิน และแร่ธาตุหลากหลาย
อโวคาโดมีสารอาหารอะไรบ้างนะ? (Avocado)
อโวคาโด้ หรือลูกเนย มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิตามิน และแร่ธาตุหลากหลาย

อะโวคาโด

เมื่อกล่าวถึง อะโวคาโด ( Avocado ) หรือ ” ลูกเนย ” แล้ว ผู้ที่รักสุขภาพทุกคนย่อมรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะว่า อะโวคาโด จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพโดยแท้จริง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าอะโวคาโดมีวิตามินและแร่ธาตุมากกว่า 20 ชนิดและยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมากอีกด้วย

ความจริงอะโวคาโดจัดว่าเป็นผลไม้หรือผัก

อะโวคาโดที่จริงแล้วคือผลไม้ชนิดหนึ่งตระกูลเบอร์รี่ อะโวคาโดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด มีสารอาหารเกือบ 20 ชนิด มีน้ำตาลต่ำ และเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งในไม่กี่ชนิดที่มีโปรตีน

แหล่งกำเนิดของอะโวคาโด

อะโวคาโด มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโก เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Lauracease เป็นไม้ชนิดยืนต้น ลำต้นโตเต็มวัยมีความสูงสุดประมาณ 18 เมตร มีเปลือกรอบต้นสีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นสีเขียว มีดอกสีเขียวอมเหลือง เวลาออกดอกจะออกเป็นช่ออยู่ที่ปลายกิ่ง ผลมีลักษณะคล้ายลูกสาลีหรือลูกแพร์คือเป็นทรงกลมรี เปลือกมีสีเขียวเข้ม เนื้อมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองเข้ม เนื้อเนียนละเอียดคล้ายเนื้อครีม มีรสชาติเหมือนเนยจึงได้ชื่อว่าลูกเนย ภายในผลมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ผลดิบรับประทานไม่ได้เนื่องมีรสขมที่เกิดจากสารแทนนิน ซึ่งสารนี้ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะทำให้รู้สึกปวดศีรษะได้ แต่เมื่อผลสุกจะมีสีม่วงหรือสีดำสามารถรับประทานได้เนื่องจากไม่มีสารแทนนินหลงเหลืออยู่แล้ว นอกจากนิยมรับประทานผลสุกแล้วยังนำมาสกัดเอาน้ำมันไปไว้ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์ด้วย อย่างที่เราทราบกันว่าผลไม้ชนิดนี้เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญต่อร่างกาย ด้วยรสชาติและลักษณะเนื้อที่คล้ายกับเนยทำให้บางคนไม่ชื่นชอบในรสชาติสักเท่าใดนักแต่ก็นำมาดัดแปลงด้วยการนำมาปรุงเป็นอารหารชนิดอื่น ๆ เพื่อง่ายต่อการรับประทาน เช่น ทานกับน้ำสลัด ทานกับซอส ทานกับสเต็ก เป็นต้น แล้วใน

สารอาหารใน อะโวคาโด

สารอาหารใน อะโวคาโด จะอยู่ในส่วนที่เป็นเนื้อ การทานต้องทานเนื้อของผลที่สุกแล้วเท่านั้นห้ามทานผลดิบ ซึ่งสารอาหารที่มีอยู่ในเนื้อ คือ

วิตามินอี เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงมาก วิตามินอีในอะโวคาโดเป็นวิตามินที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ จึงต้องรับมาจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นวิตามินอีจากเนื้อสัตว์และผลไม้ วิตามินอีช่วยในการป้องกันเซลล์สมอง เซลล์ผิวหนัง เซลล์หัวใจและหลอดเลือด ไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ที่เกิดจากเซลล์สมองถูกทำลาย ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย ช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึงมีน้ำมีนวล

โพแทสเซียม ( Potassium ) ช่วยควบคุมอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งเป็นตัวควบคุมการหมุนเวียนของเลือดในร่างกายให้มีความไหลลื่นไม่อุดตัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไตในการทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำและเกลือของร่างกาย ลดการบวมน้ำและขับปัสสาวะออกมาเป็นปกติ ช่วยให้กระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ไกลโคเจนเกิดขึ้นอย่างสมดุล

วิตามินซี ( Vitamin C ) ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้มีความแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดีโดยเฉพาะโรคไข้หวัด และช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าบำรุงกระดูกทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง

วิตามินเอ ( Vitamin A ) ที่ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดโรคที่เกี่ยวกับดวงตา ลดความเสี่ยงในการเกิดต้อ และอาการตามองไม่เห็นในที่มืด

วิตามินบี ช่วยบำรุงระบบประสาท ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับเส้นประสาท เช่น ปลายประสาทเสื่อม เหน็บชา เป็นต้น

โฟเลท มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองของทารกที่อยู่ในครรภ์ บำรุงเซลล์ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่อมีอายุสูงขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของสเปิร์มเพื่อให้มีบุตรง่าย โฟเลทจัดเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ดีอีกตัวหนึ่งที่ช่วยป้องกันการออกซิเดชั่นของเซลล์จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้

โปรตีนสูง เป็นผลไม้ที่มีโปรตีนสูงและเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย มีเส้นใยสูง สามารถช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานมีประสิทธิภาพ ลดอาการท้องผูก ทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว

สารแคโรทีนอยด์ ที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระถึง 11 ชนิดด้วยกัน แคโรทีนอยด์นี้ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์โดนทำลายจากอนุมูลอิสระ เพิ่มความแข็งแรงของภูมิต้านทานในร่างกาย ลดการเจริญเติบโตและการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในส่วนต่างๆ ได้ ส่วนของเนื้อที่มีสารนี้อยู่มากที่สุดก็คือส่วนที่มีเข้มจัดบริเวณติดกับเปลือกของผล ดังนั้นการกินเนื้อ อะโวคาโด เราไม่ควรปอกเปลือกออกจนเหลือแต่เนื้อสีเหลืองเท่านั้น เราควรจะรักษาเนื้อส่วนที่ติดเปลือกไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อที่เราจะได้รับแคโรทีนอยด์มากขึ้น

กรดไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่เป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและหัวใจ เพราะร่างกายสามารถนำไปย่อยสลายพร้อมใช้งานได้ทันที ทำให้ไม่หลงเหลือสะสมอยู่ในเส้นเลือดที่เป็นสาเหตุของหลอดเลือดไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้ และยังช่วยลดคอเลสเตอรอล ซึ่งจากการทดลองของนักวิจัยได้มีการทดลองให้กลุ่มทดลองรับประทานอะโวคาโดวันละ 1 ผลต่อเนื่อง พบว่าระดับไขมันเลวในกลุ่มคนที่เข้าร่วมการทดลองนั้นลดลง ในที่นี้ยังมีการให้รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำแต่คาร์โบไฮเดรตสูง ที่เป็นไปตามมาตราฐานที่สมาคมหัวใจอเมริกากำหนดไว้ ( American Heart Association ) ซึ่งเป็นอาหารที่ทานแล้วคอเลสเตอรอลในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น และให้กลุ่มทดลองรับประทานอะโวคาโดเพิ่มเป็นวันละ 2 ผล ผลปรากฏกว่าไขมันไม่อิ่มตัวหรือ Low-Density Lipoprotein ( LDL ) และคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดลดลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน นอกจากไขมัน LDL จะลดลงแล้วไขมัน High Density Lipoprotein ( HDL ) ยังมีอตราส่วนที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

เราทราบประโยชน์ของ อะโวคาโด ว่ามีอยู่มากจริงๆ แต่ว่าการรับประทานอะโวคาโดสำหรับบางคนนั้นรู้สึกไม่คุ้มค่า เพราะปอกเปลือกแล้วเหลือเนื้อให้รับประทานอยู่นิดเดียวเอง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าไม่รู้เทคนิคในการปอกเปลือกอะโวคาโด ทำให้สูญเสียเนื้อส่วนที่ติดเปลือกไปมากจนเหลือแต่เนื้อส่วนในทำให้สูญเสียส่วนที่มีคุณค่ามากที่สุดไปนั่นเอง

ประโยชน์ด้านความงามของอะโวคาโด

1. เพิ่มชุ่มชื้นให้ผิวและหมักผม
อะโวคาโดมีไขมันดีค่อนข้างสูงจึงสามารถนำมาบำรุงผิวและเส้นผมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นได้ โดยให้นำอะโวคาโด ½ ลูก น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะและโยเกิร์ต ½ ถ้วย ผสมกันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นนำมาพอกหน้าและเส้นผมทิ้งไว้ แล้วล้างทำความสะอาด ทำเป็นประจำจะเห็นผลลัพธ์ที่ดี   

2. พอกหน้า
อะโวคาโดมีวิตามินสูงเมื่อนำมาพอกหน้าทำความสะอาดผิวหน้าได้ โดยใช้ไข่แดง 1 ฟอง นม ½ ถ้วยและอะโวคาโดบดละเอียด ½ ลูก นำมาตีให้ส่วนผมเข้ากันจนเป็นเนื้อครีม จากนั้นใช้สำลีแผ่นชุบแล้วนำมาเช็ดให้ทั่วใบหน้า ล้างหน้าให้สะอาด จะทำให้ใบหน้าสะอาดและดูสดใสขึ้น

3. ลดรอยคล้ำใต้ตา
ลดรอยคล้ำใต้ตา โดยการนำอะโวคาโดมาปอกเปลือกแล้วเฉือนเนื้อให้มีลักษณะเหมือนรูปพระจันทร์เสี้ยวประมาณ 3-4 ชิ้น จากนั้นนำอะโวคาโดวางไว้บริเวณใต้ตาประมาณ 20 นาที ทำเป็นประจำรอยหมองคล้ำใต้ตาจะค่อยๆ จางลงและดวงตาสดใสขึ้น

เทคนิคการปอกเปลือก อะโวคาโด

1.นำลูกอะโวคาดโดล้างให้สะอาดและพักไว้จนสะเด็ดน้ำ
2.นำมีดมากดลงบนลูกอะโวคาโดในแนวยาว คือแนวขั่วลูกจนถึงท้ายลูก การกดมีดให้กดผ่านเนื้อไปจนกระทบกับเมล็ดภายในของลูก ทำการหมุนมีดไปในแนวเดียวกันจนรอบลูก
3.ทำการบีดมีดเพื่องัดเนื้ออะโวคาโดด้านใดด้านหนึ่งออกมาจากเมล็ด เราจะได้เนื้อด้านหนึ่งมีเมล็ดอะโวคาโดติดอยู่ตรงกลาง เนื้ออีกด้านหนึ่งเป็นรูอยู่ตรงกลาง
4.นำปลายมีดทำการงัดเมล็ดอะโวคาโดออกจากเนื้อส่วนที่มีเมล็ดติดอยู่
5.ทำการลอกเปลือกอะโวคาโดออกให้บางที่สุด อย่าใช้ช้อนหรือมีดขูดเนื้อออกมาทานเพราะว่าการขูดจะทำให้เราสูญเสียเนื้อติดกับเปลือกมากกว่าการลอกเปลือก

เพียงเท่านี้เราก็จะได้รับประทานเนื้อ อะโวคาโด อย่างคุ้มค่าและอุดมไปด้วยสารอาหารอย่างครบครันแล้ว นอกจากวิธีการ ปอกอะโวคาโดแล้วการเก็บรักษาอะโวคาโดไม่ให้เนื้อกลายเป็นสีดำก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเนื้ออะโวคาโดเมื่อสัมผัสกับอากาศระยะเวลาหนึ่งเนื้อที่เป็นสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีดำไม่น่ารับประทาน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าในเนื้อของอโวคาโดมีสารประกอบฟินอลที่เมื่อเจอกับสารประกอบในอากาศแล้วจะจับตัวเกิดเป็น ควิโนน และเมื่อมีควิโนนหลายตัวจับตัวกันเป็นสายโพลีเมอร์กลายเป็นเมลานินที่เป็นเม็ดสีนั่นเอง ดังนั้นการเก็บไม่ให้ดำ ให้เราบีบน้ำมะนาวเคลือบไปบนเนื้อให้ทั่วทั้งลูก และนำไปใส่ในกล่องหรือถุงสุญญากาศ และนำไปแช่เย็น

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะรับประทานอะโวคาโดแบบไหนดี เรามีเมนูแนะนำในการปรุงอะโวคาโดคือ ” ซอสกัวคาโมชนิดเผ็ด “

ส่วนผสม

1.อะโวคาโดสด 2 ผล ( เลือกผลที่สุกพร้อมรับประทาน )
2.ครีมเปรี้ยว ½ ถ้วย ( แนะนำให้เลือกใช้แบบครีมขาดมันเนย )
3.หัวหอมแดง ½ หัว
4.มะเขือเทศ 1 ผล
5.ชิลันโต 2 ช้อนโต๊ะ
6.พริกแดง ¼ ช้อนชา ( ควรใช้พริกแดงที่ทำการป่นแบบหยาบ )
7.น้ำมันงา 1 ช้อนชา 

ขั้นตอนการทำ

1.นำหัวหอมแดง มะเขือเทศ ชิลันโต้มาสับให้ละเอียด
2.นำแต่เนื้ออะโวคาโดมาปั่นรวมกับพริกแดงป่น น้ำมันงาและหอมแดง มะเขือเทศ ชิลันโต้ที่สับเตรียมไว้
3. นำส่วนผสมที่ปั่นรวมกันเสร็จแล้วมาใส่ภาชนะ นำไปแช่เย็นประมาณ 30 นาที
4.เมื่อแช่เย็นครบเวลาเราก็จะได้ซอสกัวคาโมลชนิดเผ็ดพร้อมเสิร์ฟ สามารถรับประทานกับขนมปังแผ่นหรือกินแกล้มกับผักสดก็ได้ ปริมาณที่เตรียมได้นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 จาน

ชอสกัวคาโมลชนิดเผ็ดนี้ จะมีปริมาณสารอาหารดังนี้

ข้อมูลทางโภชนาการ
ซอสกัวคาโมลชนิดเผ็ด
( คำนวณจากปริมาณ 1 จาน )
ปริมาณสารอาหารในแต่ละจาน
พลังงานที่ได้รับทั้งหมด 122 แคลอรี     ไขมัน 63 แคลอรี่
%คุณค่าสารอาหารต่อวัน
ไขมันรวม 7 กรัม                                         11%
ไขมันอิ่มตัว 1 กรัม                                     5%
โคลสเตอรอล 0 มิลลิกรัม                                 0%
โซเดียม 40 มิลลิกรัม                                     2%
คาร์โบไฮเดรตรวม 13 กรัม                               4%
เส้นใยอาหาร 4 กรัม                                 16%
โปรตีน 4 กรัม
วิตามิน เอ      8%                         วิตามิน ซี  19%
แคลเซียม    13%                          ธาตุเหล็ก   4%

อะโวคาโด ในประเทศไทยมีให้เลือกซื้อกันตามห้างสรรพสินค้าหรือซุปเปอร์มาเก็ตชั้นนำหลายแห่ง ซึ่งราคาอะโวคาโดที่ขายอยู่ตามท้องตลาดก็ไม่สูงนักและหาซื้อได้ง่าย จัดเป็นผลไม้ทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับการรับประทานเพื่อสุขภาพที่คนรักสุขภาพห้ามพลาด สำหรับคนที่ต้องการหาผักหรือผลไม้ที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและมีคุณค่าทางสารอาหารให้กับร่างกายแล้ว ลองนำอะโวคาโดมาปรุงเป็นอาหารรับประทานก็ดีไม่น้อย จะทานเล่นแบบสด ๆ หรือว่าจะนำมาทำสลัดผักรวมทานกับผักหลายชนิดก็อร่อยไปอีกแบบ

การเก็บรักษาอะโวคาโด

ผลอะโวคาโดสุกที่ไม่ได้หั่นเป็นชิ้นสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้2-3วัน เมื่อหั่นเนื้ออะดวคาโดเป็นชิ้นสีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งมีวิธีเก็บรักษาไม่ให้เนื้อเปลี่ยนสีได้ง่ายๆ เพียงเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทไม่ให้อากาศเข้าได้ หรือ ห่อด้วยพลาสติกแรปอาหารห่อ หรือใช้น้ำมะนาวทาเคลือบเนื้ออะโวคาโด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

คลิปความรู้จาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผลไม้. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 1.ผลไม้–แง่โภชนาการ–ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641. ISBN 978-974-484-346-3.

“Persea americana Mill., The Plant List, Version 1”. Royal Botanic Gardens, Kew and Missouri Botanical Garden. 2010.

Morton JF (1987). “Avocado; In: Fruits of Warm Climates”. Creative Resource Systems, Inc., Winterville, NC and Center for New Crops & Plant Products, Department of Horticulture and Landscape Architecture, Purdue University, West Lafayette, IN. pp. 91–102. ISBN 0-9610184-1-0.