Home Blog Page 178

สารตรวจค่ามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ Bladder Tumor Antigen ( Urine BTA )

0
มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นในเยื่อบุกระเพาะอาหาร
Urine BTA,มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ,มะเร็ง,สารวัดค่ามะเร็ง
การตรวจค่ามะเร็งกะเพาะปัสสาวะโดยใช้ปัสสาวะในการตรวจหาสารแปลกปลอมและสัญญาณของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

Bladder Tumor Antigen ( Urine BTA )

Bladder Tumor Antigen ( Urine BTA ) เป็นสารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งเพื่อตรวจหาสัญญาณมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และใช้ติดตามผลการรักษา โดยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะ และยังสามารถแพร่กระจ่ายไปยังอวัยวะอื่นๆของร่างกายได้ 

  [adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับ Urine BTA

Urine BTA เป็นสารวัดค่ามะเร็งกระเพาะอาหารที่จะใช้ในการตรวจน้ำปัสสาวะ เพื่อหาสารแปลกปลอมและสัญญาณของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สำหรับการตรวจปัสสาวะ จะใช้ปัสสาวะที่ได้จากการขับถ่ายใหม่ๆ โดยจะเป็นช่วงเวลาไหนก็ได้แต่จะต้องไม่เกินเที่ยงวันของวันนั้น เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำมากที่สุด

วัตถุประสงค์ที่ตรวจ Bladder Urine BTA

ตรวจคัดกรองเพื่อดูว่ากำลังป่วยด้วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือไม่เพื่อจะได้ทำการตรวจรักษาต่อไป
ตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา โดยจะใช้ประเมินว่าการรักษาที่ใช้อยู่ได้ผลหรือเกิดความล้มเหลว ซึ่งการตรวจเพื่อติดตามผลการรักษานี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจการใช้กล้องส่องทะลุผ่านช่องทางปัสสาวะ เป็นต้น

เพราะอะไรจึงตรวจหามะเร็งกระเพาะปัสสาวะด้วย  Urine BTA

เพราะว่าโดยปกติหากเป็นมะเร็งดังกล่าว ผนังด้านในของกระเพาะปัสสาวะจะมีโปรตีนชนิดพิเศษที่เรียกว่า NMP 22 อยู่ จากนั้นเมื่อสิ้นอายุขัย โปรตีนชนิดนี้จะหลุดและปนไปกับน้ำปัสสาวะ เมื่อนำน้ำปัสสาวะมาตรวจจึงสามารถวิเคราะห์หาค่า Urine BTA ได้นั่นเอง

[adinserter name=”oralimpact”]

ค่าปกติของ Urine BTA และ NMP 22

สำหรับค่าปกติของ Urine BTA และ NMP 22 จะมีค่าปกติเท่ากับ

Urine BTA :  < 14  units/mL
Urine NMP 22 :  < 10  units/mL

และนอกจากค่าดังกล่าวแล้ว ก็สามารถยึดตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือดได้อีกด้วย

ค่าความผิดปกติของ Urine BTA 

ค่าความผิดปกติของ Urine BTA ให้ยึดตามผลการตรวจดังนี้

หากค่าไปในทางน้อย ให้ถือว่าปกติ
หากค่าไปในทางมาก ให้ถือว่าเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 

ตรวจค่าเลือดเฟอร์ริติน สำคัญแค่ไหนต่อสุขภาพของเรา?

0
สารตรวจค่าเลือดเฟอร์ริติน ( Ferritin )
เฟอร์ริติน ( Ferritin ) คือ โปรตีนในเซลล์ทั่วไปที่ถูกธาตุเหล็ก ซึ่งในการตรวจหาเฟอร์ริตินต้องใช้การตรวจหาค่าในเลือดโดยตรง

เฟอร์ริติน ( Ferritin )

การตรวจค่าเลือด เฟอร์ริติน ( Ferritin )เป็นการทดสอบที่ช่วยให้เราทราบถึงระดับธาตุเหล็กในร่างกาย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานของเซลล์และระบบต่างๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะในการขนส่งออกซิเจนในเลือด หากค่าเฟอร์ริตินต่ำอาจส่งผลให้เกิดภาวะขาดธาตุเหล็กและทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ขณะที่ค่าเฟอร์ริตินสูงอาจบ่งชี้ถึงปัญหาการสะสมธาตุเหล็กที่เกินความจำเป็น ซึ่งอาจนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น โรคตับหรือโรคหัวใจ การตรวจค่าเลือดเฟอร์ริตินจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินสุขภาพและการดูแลตัวเองในด้านของธาตุเหล็กอย่างมีประสิทธิภาพ.

การตรวจหาค่าธาตุเหล็กในเลือดด้วยค่า จะทำให้ทราบว่าขณะนี้ธาตุเหล็กอยู่ในระดับความพร่อง ที่อาจนำไปสู่ผลเลือดที่แสดงออกว่าเป็นโรคโลหิตจาง หรือมีธาตุเหล็กสูงเกินไปที่อาจนำไปสู่การเกิดสภาวะเป็นพิษจากธาตุเหล็กที่มีความอันตรายเช่นกัน และนอกจากนี้การตรวจหาค่า Ferritin ก็สามารถตรวจวัดสัญญาณบ่งชี้โรคมะเร็ง ( Tumor marker ) ได้อีกด้วย เมื่อพบว่าระดับของ Ferritin มีค่าที่สูงผิดปกติในเลือดนั่นเอง 

โดยส่วนใหญ่แล้วธาตุเหล็กภายในร่างกายมักจะรวมอยู่กับโปรตีนเสมอ ทำให้ร่างกายต้องมีการสร้างกรดชนิดหนึ่งขึ้นมา คือ กรดเซียลิค ( Sialic Acid ) โดยเป็นกรดที่จะทำให้โปรตีนสามารถเก็บรักษาธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อกรดเซียลิค รวมกับโปรตีนและน้ำตาล ( จากเลือด ) ก็จะทำให้เกิดเป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่เรียกว่า SAG หรือ Siakicasid – Rich Glycoprotein นั่นเอง

โดยสาร SAG นี้จะทำให้ธาตุเหล็กทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ว่องไวมากขึ้น จนเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นสารอนุมูลอิสระ ที่อาจจะทำให้ก่อให้เกิดมะเร็งกับเนื้อเยื่อที่สารตัวนี้ไปสัมผัสกระตุ้นให้เซลล์โรคมะเร็งที่มีอยู่ก่อนแพร่กระจายตัวออกไปอย่างรวดเร็วและลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆเนื่องจากภาวะที่ร่างกายมีระดับของธาตุเหล็กสูงเกินกว่าปกติ จะนำไปสู่การเกิดมะเร็งหรือส่งผลให้มะเร็งเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

ดร.เออยีน ดี.ไวน์เบิร์ก ( Dr.EugeneD.Weinberg ) ผู้เป็นศาสตราจารย์แห่งภาคชีววิทยาของมหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐฯ และตัวแทนหอสมุดการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา จึงได้ทำการจัดทำรายงานขึ้นมาเพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวและแถลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1996 เพื่อให้ประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดจากการได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปนั่นเอง

ภาวะธาตุเหล็กเกิน นอกจากจะทำให้เกิดการก่อเซลล์มะเร็งในร่างกายได้แล้ว ก็มีฤทธิ์ในการลดภูมิต้านทาน จนทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและมีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น

จากการรวบรวมข้อมูลของผลการค้นคว้าวิจัยถึงภาวะธาตุเหล็กของ ดร.ไวน์เบิร์ก ก็ได้ผลสรุปอย่างเข้าใจว่า
เมื่อร่างกายได้รับปริมาณของธาตุเหล็กที่เกินพอดี จะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองโปรตีน เนื่องจากร่างกายจากนำโปรตีนจำนวนหนึ่งมาสร้างเฟอร์ริตินและสร้าง Transferrin เพื่อห่อหุ้มธาตุเหล็กเอาไว้ส่งผลให้ร่างกายมีโปรตีนน้อยลงและไม่สามารถนำมาทดแทนในยามที่ร่างกายทรุดโทรมได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วย ติดเชื้อได้ง่าย และมีโอกาสเป็นมะเร็งได้

สารในเลือด หรือธาตุเหล็กส่วนเกินในร่างกายส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน มันมักจะนำพาเอาออกซิเจนติดตัวไปด้วยเสมอ เป็นผลให้เกิดประจุไฟฟ้าของเหล็กที่มีความว่องไวมากในรูปแบบของอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจเรียกได้ว่ามันมีความว่องไวในระดับ มหาอนุมูลอิสระ ( Super Radicals ) เลยทีเดียว และเมื่อมันได้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ก็จะกลายเป็นอภิมหาวายร้ายอนุมูลอิสระ ( Hydroxyl Radicals ) ที่สามารถเข้าไปทำลาย DNA ของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายได้อย่างง่ายดาย และส่งผลให้เซลล์บางส่วนเกิดการกลายพันธุ์จนเป็นเซลล์มะเร็งที่พร้อมจะคร่า ชีวิตผู้ป่วยได้ง่าย และสำหรับใครที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งอยู่แล้ว มันก็จะยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดการลุกลามอย่างรวดเร็วอีกด้วยซึ่งก็จะเห็นได้ว่าการมีภาวะเหล็กเกินในร่างกาย เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด

ในขณะที่ธาตุเหล็กส่วนเกินภายในร่างกายกำลังแผลงฤทธิ์อยู่นั้น หากมีจุลชีพหลุดเข้าไปในร่างกายก็จะยิ่งไปกระตุ้นและเสริมฤทธิ์ให้สามารถสร้างความเสียหายต่อเซลล์ต่างๆ ในร่างกายและก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ในรูปของการติดเชื้อหรือการอักเสบได้สูงมากอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการก่อโรคจากธาตุเหล็กอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว

ดังนั้นโดยสรุปแล้ว การตรวจวัดค่าเฟอร์ริตินนอกจากจะช่วยวัดปริมาณของธาตุเหล็กภายร่างกายได้ดีแล้ว ก็เป็นเครื่องมือในการบ่งชี้สัญญาณของโรคมะเร็งได้อีกด้วย การวัดค่า Ferritin จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาตรวจหาสัญญาณบ่งชี้มะเร็งควบคู่ไปกับวิธีอื่นๆ เพื่อยืนยันความแม่นยำ
ค่าความปกติของ Ferritin

ค่าธาตุเหล็กหรือค่าปกติของ Ferritin คือเท่าไหร่?

ค่าธาตุเหล็กหรือค่าปกติของ Ferritin คือเท่าไหร่?

ค่าเฟอร์ริตินของผู้ชาย 12 – 300  ng / mL
ค่าเฟอร์ริตินของผู้หญิง 10 – 150  ng / mL

ค่าผิดปกติของ Ferritin คือ

การตรวจหาค่าความผิดปกติของ เฟอร์ริติน ( Ferritin ) จะถือเอาตามผลการตรวจค่าที่ได้ออกมาดังนี้

ตรวจค่าเลือดพบ Ferritin น้อยกว่าค่าปกติ

ผู้ป่วยอาจกำลังป่วยด้วยโรคโลหิตจางชนิดขาดธาตุเหล็ก โดยเฉพาะหากพบว่าค่าเฟอร์ริตินมีค่าเท่ากับหรือต่ำกว่า 10 ng / mL ซึ่งจะให้ความแม่นยำสูงมาก มีการตกเลือดภายในอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะช่องทางเดินอาหาร และลำไส้ หรืออาจเป็นโรคบางชนิดที่ทำให้มีเลือดออกภายในอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งในร่างกาย ประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือมานานกว่าปกติ และเป็นต่อเนื่องหลายเดือน

ตรวจค่าเลือดพบ Ferritin สูงกว่าค่าปกติ

ตรวจค่าเลือดพบ Ferritin สูงกว่าค่าปกติหากตรวจค่าเลือดเฟอร์ริตินพบว่าสูงกว่าปกติ อาจเป็นโรคทั่วๆ ไปที่มีความเกี่ยวพันธ์กับธาตุเหล็ก เช่น
1.โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโตผิดปกติ โดยโรคนี้เม็ดเลือดแดงจะมีความเปราะบางและอาจแตกได้ง่าย หรือโรคโลหิตจางชนิดสร้างฮีโมโกลบินไม่ได้แต่ไม่ได้ขาดธาตุเหล็ก รวมถึงอาจเป็นโรคโลหิตจางชนิดทาลัสซีเมียด้วย

2.มีการอักเสบของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับอักเสบจากพิษแอลกอฮอล์ ( Alcoholic Liver Disease ) การพยาบาลภาวะธาตุเหล็กเกินนั้นไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบให้เร็วที่สุด

ค่าเฟอร์ริตินที่สูงผิดปกตินั้น อาจเกิดจาก tumor marker ตรวจค่าเลือดบ่งชี้ว่า เป็นโรคมะเร็ง เช่น
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) โรคมะเร็งตับ ( Hepatocellular Carcinoma ) และ โรคมะเร็งปุ่มน้ำเหลือง ( Lymphoma ) เพราะเป็นมะเร็งที่สัมพันธ์กับธาตุเหล็กโดยตรง นอกจากนี้ก็อาจพบเป็นโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วยก็ได้ทั้งนี้ อาจเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อตรวจค่าเลือด เฟอร์ริติน ( Ferritin ) พบว่ามีค่าที่สูงกว่าปกติ พร้อมกับการตรวจค่า CEA มีค่าที่สูงด้วยที่อาจเกิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย

จะเห็นได้ว่าการที่ร่างกายได้รับธาตุเหล็กเกิน ไม่เป็นผลดี จึงควรควบคุมปริมาณธาตุเหล็กให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจะดีที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Nussey S, Whitehead S (2001). Endocrinology: an integrated approach. Oxford: Bios Scientific Publ. ISBN 978-1-85996-252-7.

Free PSA สารวัดค่า มะเร็งต่อมลูกหมาก ชนิดใหม่

0
Free PSA สารวัดค่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดใหม่
Free PSA เป็นสารที่ได้มาจากสารชีวเคมีแปลกปลอมจากต่อมลูกหมาก สารตัวนี้จะลอยอยู่ในกระแสเลือดอย่างอิสระ
Free PSA สารวัดค่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดใหม่
Free PSA เป็นสารที่ได้มาจากสารชีวเคมีแปลกปลอมจากต่อมลูกหมาก สารตัวนี้จะลอยอยู่ในกระแสเลือดอย่างอิสระ

Free PSA

Free  PSA เป็น สารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมากชนิดใหม่ ซึ่งสารตัวนี้เพิ่งจะได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้อย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้นั่นเอง

ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับ Free  PSA

Free PSA เป็นสัญญาณบ่งชี้ มะเร็งต่อมลูกหมาก ชนิดใหม่ที่เพิ่งได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้ได้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที 10 มีนาคม ค.ศ. 1998 โดยคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน

Free PSA เป็นสารที่ได้มาจากสารชีวเคมีแปลกปลอมจากต่อมลูกหมาก เหมือนกับสาร PSA แต่สารตัวนี้พบว่าจะลอยอยู่ในกระแสเลือดอย่างอิสระ ซึ่งต่างจาก PSA ที่จะต้องจับตัวกับโปรตีนก่อนจึงจะเข้าไปในกระแสเลือดได้ นอกจากนี้หน่วยในการตรวจหาค่าความเสี่ยงมะเร็ง ก็จะใช้เป็นหน่วยนับเปอร์เซ็นต์ โดยหากพบว่ามีเปอร์เซ็นต์ของ Free  PSA ต่ำมาก ก็แปลว่ามีแนวโน้มเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก สูงมากเช่นกัน

สำหรับการตรวจหาสัญญาณบ่งชี้มะเร็งด้วยค่าเปอร์เซ็นต์ของ Free PSA ในทางวิชาการได้มีการสรุปไว้ดังนี้
ให้ยึดค่า Free  PSA ที่ 25% เป็นหลัก โดยพบว่า หากค่า Free PSA มีเปอร์เซ็นต์มากกว่า 25 แสดงว่าไม่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมีโอกาสเป็นน้อยมาก หากค่า Free PSA มีเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่า 25 แสดงว่าน่าจะมีแนวโน้มเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงมาก แต่เพื่อความแน่นอน แพทย์จะตรวจด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อความเป็นไปได้ของ มะเร็งต่อมลูกหมาก

Free PSA นิยมนำมาใช้ในการตรวจเพื่อความแม่นยำเมื่อผู้ตรวจ PSA พบว่าค่า PSA อยู่ระหว่าง 4-10 ng/mL โดยเป็นเขตบ่งชี้สีเทาที่ผู้ป่วยอาจเป็นหรือไม่เป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก ก็ได้ ซึ่งการตรวจหาความแม่นยำด้วย Free  PSA อีกครั้ง ก็จะให้ผลที่รวดเร็วมากกว่าการใช้วิธีแบบเดิมๆ ที่ต้องตรวจไปจนถึงขั้นการเจาะเนื้อมาตรวจ โดยเป็นขั้นตอนที่สิ้นเปลืองเวลาและเสียค่าใช้จ่ายมากพอสมควร

ผลการตรวจ Free PSA

พบว่าค่า Free PSA มีมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าไม่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแน่นอน
พบว่าค่า Free PSA มีน้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่จะอยู่ในระยะไหนนั้น ก็ต้องตรวจเช็คอีกทีค่าความปกติของ Free  PSA

ค่าความปกติของ Free  PSA

Free  PSA: >25% หรือให้ยึดเอาตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือดค่าความผิดปกติของ Free  PSA

ค่าความผิดปกติของ Free  PSA

ค่า Free  PSA ที่ได้ไปในทางน้อย แสดงว่าอาจป่วยเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยความรุนแรงก็จะขึ้นอยู่กับคาตัวเลขของจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่น้อยลง
ค่า Free  PSA ที่ได้ไปในทางมาก แสดงว่าไม่เป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก หรืออาจเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ มะเร็งต่อมลูกหมาก แน่นอน

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม 

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

Total PSA สารตรวจวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก

0
Total PSA สารตรวจวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก
PSA เป็นสารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก ทำให้ทราบถึงความผิดปกติของต่อมลูกหมาก
Total PSA สารตรวจวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก
PSA เป็นสารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก ทำให้ทราบถึงความผิดปกติของต่อมลูกหมากในเพศชาย

PSA คือ

PSA ย่อมาจาก Prostate Specific Antigen ( พรอซ-เทท สเปซิฟิก แอนติเจน ) คือ สารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเป็นสารแปลกปลอมที่เจาะจงว่าผลิตมาจากต่อมลูกหมากเป็นสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากที่มีความไวต่อการตรวจเป็นอย่างมาก ทำให้ทราบได้อย่างรวดเร็วว่ามีความผิดปกติที่ต่อมลูกหมาก

ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับ Total PSA

ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่ตั้งอยู่ที่ก้นถุงกระเพาะปัสสาวะ โดยมีหน้าที่หลักคือ

1. ต่อมลูกหมากผลิตน้ำซีเมน ( Semen ) ซึ่งเป็นน้ำที่ใช้หล่อเลี้ยงตัวอสุจิ และทำหน้าที่ดันตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ของผู้หญิงจนเกิดเป็นการปฏิสนธิเกิดมาเป็นทารก

2. ต่อมลูกหมากมีหน้าที่เป็นวาล์ว เปิด-ปิด ท่อปัสสาวะตามคำสั่งของระบบประสาท เพื่อปล่อยเอาน้ำปัสสาวะออกมาจากร่างกาย และต่อมลูกหมากก็มีการสารพิเศษชนิดหนึ่งออกมาจับตัวเข้ากับโปรตีน จนได้เป็น PSA อีกด้วย

การตรวจค่า PSA บ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากได้แน่นอนหรือเปล่า

PSA เป็นสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากที่มีความไวต่อการตรวจเป็นอย่างมาก และมีความแม่นยำน่าเชื่อถือมากกว่าการตรวจด้วยสัญญาณบ่งชี้อีกตัวหนึ่ง ซึ่งก็คือ Prostatics Acid Phosphatase ( PEP ) ในปัจจุบันจึงนิยมหันมาตรวจหาสัญญาณมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย PSA กันมากขึ้น ส่วน PEP ไม่ค่อยมีผู้นิยมใช้กันแล้ว

ในการตรวจค่า PSA ที่สูงกว่าปกติ จะให้ค่าความแม่นยำประมาณ 80% โดย 20% ที่เหลืออาจเป็นเพราะความผิดปกติของต่อมลูกหมากที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ ต่อมลูกหมากโต หรือภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ก็มีข้อจำกัดอีกด้วยว่า ค่า PSA ควรจะอยู่ในระดับ 4-10 ng / mL เท่านั้น ถึงจะเรียกได้ว่า “ เขตบ่งชี้สีเทา ” โดยหากพบค่า PSA ที่สูงเกินกว่า 10 mg/mL ก็บ่งชี้ได้ว่าอาจเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้สูงมากทีเดียว

โดยปกติแล้วค่า PSA จะสูงขึ้นจากปกติเล็กน้อย หลังจากเพิ่งมีการหลั่งน้ำกามได้ไม่นาน ดังนั้นการตรวจหาค่า PSA หลังจากมีเพศสัมพันธ์จึงอาจได้ผลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ ดังนั้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจึงให้คำแนะนำว่า ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนการเข้ารับการตรวจ PSA หรือให้งดกิจกรรมทางเพศทุกอย่างก่อนเข้ารับการตรวจหาค่า PSA เป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมงนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลการตรวจมีความแม่นยำมากที่สุด

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าผลการตรวจค่า PSA อาจจะไม่แน่ชัด แต่ก็มีวิธีการแยกแยะเพื่อเพิ่มความแม่นยำว่าผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่เหมือนกัน

วิธีการตรวจสำหรับผู้ที่มีค่า PSA สูงกว่า 4 ng / mL เพื่อหาความแม่นยำของสัญญาณบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก สำหรับวิธีการตรวจเพื่อความแม่นยำสามารถทำได้หลายวิธี โดยอาจตรวจสอบเพียงวิธีใดวิธีหนึ่งหรืออาจตรวจหลายวิธีร่วมกันเพื่อความมั่นใจก็ได้

ตรวจด้วยค่า Free PSA คือ การตรวจเลือดเพื่อหาค่า PSA ไปพร้อมๆ กับการหาค่า Free PSA ไปด้วย โดยการพิจารณาผลการตรวจนั้น หากพบว่าค่า Free PSA มีค่าน้อยกว่า 25% ก็แสดงว่า ผู้ป่วยน่าจะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแน่นอน

ตรวจด้วยอัตราส่วน Free PSA ต่อ PSA จะใช้วิธีการตรวจด้วยวิธีนี้ โดยจะเอาค่าที่ได้ของทั้งสองค่ามาเทียบอัตราส่วนกัน เพื่อแยกให้ชัดเจนมากขึ้นว่าผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมีต่อมลูกหมากโตกันแน่ โดยส่วนใหญ่จะพบตัวเลขดังนี้

อัตราส่วนของ Free PSA : PSA ที่บ่งชี้ว่าอาจจะเป็นคือ
ผลลัพธ์ = ตัวเลขสูง ต่อมลูกหมากโต
ผลลัพธ์ = ตัวเลขต่ำ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

 

ตรวจด้วยค่าความเร็วของ PSA การตรวจด้วยวิธีนี้จะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 2 ปีและทำการบันทึกผลเอาไว้ โดยจะตรวจทั้งหมด 3 ครั้ง ซึ่งหากค่าการตรวจที่ได้เป็นดังนี้

การตรวจ PSA ตรวจด้วยอัตราส่วน Free PSA ต่อ PSA ใช้เวลาในการตรวจอย่างน้อย 2 ปี
การตรวจต้นปีที่ 1 ได้ค่า PSA = X
การตรวจต้นปีที่ 2 ได้ค่า PSA = Y
การตรวจต้นปีที่ 3 ได้ค่า PSA = Z
และเมื่อทำการคำนวณผลการตรวจค่าดังกล่าวแล้ว พบว่า
Y-X > 0.75 ng/mL/Year หรือ
Z-Y > 0.75 ng/mL/Year หรือ
Z-X/2 > 0.75 ng/mL/Year
ผลลัพธ์ที่ได้ในข้อใดมีค่ามากกว่า 0.75 ng/mL/Year
ให้บ่งชี้ว่าผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตรวจความหนาแน่นโดยการใช้นิ้วสัมผัส โดยการตรวจด้วยวิธีนี้แพทย์จะทำการสอดนิ้วชี้เข้าไปในช่องทวารหนัก จากนั้นใช้ปลายนิ้วสัมผัสบริเวณที่ตรงกับเนื้อต่อมลูกหมาก ซึ่งหากพบว่าต่อมลูกหมากมีลักษณะดังกล่าวนี้ ให้สันนิษฐานว่าให้สัมผัสที่อ่อนนุ่ม คาดว่าเป็นเพียงแค่อาการของต่อมลูกหมากโต ให้สัมผัสที่แข็งกระด้าง คาดว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตรวจค่า PSA โดยการใช้คลื่นเสียง ( Ultrasound ) เป็นการตรวจสอบเพื่อความมั่นใจอีกวิธีหนึ่ง โดยจะใช้เครื่องมือส่งสัญญาณเสียงความถี่สูงในการตรวจสอบโดยตรง ซึ่งวิธีนี้จะให้ผลลัพธ์ที่มีความชี้ชัดได้เกือบแน่นอนว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่และกำลังอยู่ในระยะไหน โดยการตรวจด้วยวิธีนี้ก็จะมีศัพท์เรียกการตรวจแบบเต็มๆ ว่า Transrectal Ultrasound และเรียกโดยย่อว่า TRUS

ตรวจค่า pas ด้วยการวิเคราะห์จากชิ้นเนื้อ ( Biopsy ) เป็นการเจาะเอาชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากมาตรวจวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยา ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำและแน่นอนที่สุด แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการตรวจที่สูงมากเหมือนกัน โดยส่วนใหญ่แล้วการตรวจด้วยวิธีนี้ แพทย์มักจะทำควบคู่ไปกับการตรวจด้วยวิธี TRUS เพื่อให้เกิดความมั่นใจในผลลัพธ์ที่ได้มากที่สุด

วิธีการตรวจต่างๆ ที่กล่าวมา เป็นการตรวจโดยแพทย์ที่จะสามารถแยกแยะระหว่างอาการต่อมลูกหมากโตและโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เป็นอย่างดี ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีการตรวจเหล่านี้ในคนที่พบค่า PSA สูงกว่า 4 ng / mL

Total PSA ค่าปกติคือเท่าไหร่

โดยปกติแล้วค่าปกติของ Total PSA จะมีค่าปกติทั่วไป Total PSA : <4 ng / mL หรือยึดตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือดเป็นหลัก

ค่าปกติของ Total PSA

Total PSA : <4 ng / mL

 

ค่าความผิดปกติของ Total PSA

ผลการตรวจค่า psa น้อยกว่า <4 ng/mL หรือเท่ากับ 4 คือปกติ
หากผลการตรวจค่า psa เกิน 4 ng/mL คืออาการผิดปกติ

อาจเกิดจากต่อมลูกหมากอักเสบ
อาจเกิดจากสภาวะต่อมลูกหมากโต
หรืออาจเกิดจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ค่า High PSA คือ ค่า PSA ที่สูงกว่าปกติ

ค่า PSA สูงเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้

ซึ่งสรุปได้ว่าค่า PSA ที่สูงกว่าปกติ ก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้มะเร็งหรือไม่ใช่ก็ได้ โดยจะใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ผ่านทางการตรวจเลือด ดังนั้นเมื่อตรวจพบว่าผลของค่า PSA มากกว่าค่าปกติ ควรให้แพทย์วินิจฉัยจนได้ข้อสรุปที่แท้จริงก่อน เพราะจริงๆ แล้วอาจไม่ได้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็ได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 

Catalona WJ, Richie JP, Ahmann FR, Hudson MA, Scardino PT, Flanigan RC, deKernion JB, Ratliff TL, Kavoussi LR, Dalkin BL (May 1994). “Comparison of digital rectal examination and serum prostate specific antigen in the early detection of prostate cancer: results of a multicenter clinical trial of 6,630 men”. The Journal of Urology. 151 (5): 1283–90. PMID 7512659.

Velonas VM, Woo HH, dos Remedios CG, Assinder SJ (2013). “Current status of biomarkers for prostate cancer”. International Journal of Molecular Sciences. 14 (6): 11034–60. doi:10.3390/ijms140611034. PMC 3709717 Freely accessible. PMID 23708103.

“Prostate cancer – PSA testing – NHS Choices”. NHS Choices. 3 January 2015.

“Talking With Your Patients About Screening for Prostate Cancer” (PDF). Retrieved 2012-07-02.

สารวัดค่ามะเร็งเต้านม Cancer Antigen 15-3 ( CA 15-3 )

0
Cancer Antigen
CA 15-3 เป็นสารที่จะใช้ในการวัดค่าเพื่อหามะเร็งเต้านม ว่าผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยมะเร็งเต้านมจริงๆ และติดตามผลการรักษามะเร็งเต้านม
CA 15-3 สารวัดค่ามะเร็งเต้านม
CA 15-3 เป็นสารที่จะใช้ในการวัดค่าเพื่อหามะเร็งเต้านม ว่าผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยมะเร็งเต้านมจริงๆ และติดตามผลการรักษามะเร็งเต้านม

สารวัดค่ามะเร็งเต้านม

สารวัดค่ามะเร็งเต้านม CA 15-3 หรือ Cancer Antigen 15-3 คือ สารโปรตีน ( Glycoprotein ) ที่หลั่งจากเซลล์เนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติ โดยเฉพาะจากเซลล์มะเร็งเต้านม ซึ่งใช้ในการวัดค่าเพื่อหามะเร็งเต้านมหรือเพื่อติดตามผลการรักษามะเร็งเต้านมที่มีการแพร่กระจาย และการกลับเป็นใหม่ของโรคหลังการรักษา แต่ไม่นิยมใช้ในมะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่ม     

ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับสารวัดค่า มะเร็งเต้านม

Cancer Antigen 15-3 คือเป็นสารที่ใช้เพื่อตรวจหาสัญญาณบ่งชี้มะเร็งเต้านมและมักจะใช้ควบคู่ไปกับสาร CA 27-29 เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและความแม่นยำ ว่าผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยมะเร็งเต้านมจริงๆ

Cancer Antigen 15-3 จะไม่ค่อยมีผลต่อมะเร็งเต้านมในระยะแรกมากนัก ทำให้การตรวจในช่วงแรกของการมะเร็งอาจได้ค่าที่ไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจาก CA 15-3 เป็นสารชีวเคมีแปลกปลอมที่ได้ผลิตขึ้นมาจากเซลล์กลายพันธุ์ของเซลล์เต้านมนั่นเอง

การตรวจพบค่า CA 15-3 ที่สูงจนผิดปกติ อาจไม่ใช่มะเร็งเต้านมเสมอไป แต่อาจเป็นเพราะมะเร็งชนิดอื่นๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่หรือมะเร็งปอด เป็นต้น

ในบางคนที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง ก็อาจตรวจพบค่าความผิดปกติของ CA 15-3 ได้เหมือนกัน เช่นผู้ที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบ มีสภาวะก้อนเนื้อบวมเทียมที่เต้านม หรืออยู่ในระยะที่กำลังให้นมบุตร จึงทำให้ผลที่ได้มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

การตรวจหาค่า Cancer Antigen 15-3 มักจะพบว่ามีค่าความผิดปกติสูงมากจนเกินไปเมื่อ เป็นมะเร็งเต้านมในระยะกำลังลุกลามแล้ว อาจกลับฟื้นขึ้นมาอีกหลังจากที่ได้ทำการรักษาจนหายแล้ว หรือ ลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ แม้ว่าจะได้ทำการผ่าตัดเต้านมทิ้งไปแล้ว

ค่าปกติของ CA 15-3 และ CA 27-29

โดยปกติแล้วค่า CA 15-3 จะมีความปกติอยู่ที่ CA 15-3 : < 22 units / mLและค่า CA 27-29 จะมีความปกติอยู่ที่ CA 27 – 29  : <38  units / mL หรืออาจยึดตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือดนั่นเอง  

ค่าความผิดปกติของ Cancer Antigen 15-3

สำหรับการตรวจหาค่าความผิดปกติของ CA 15-3 ให้ดูว่า หากค่าไปในทางน้อย ถือว่าปกติ แต่หากค่าไปในทางมาก ให้ถืว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมอย่างแน่นอน และอาจกำลังอยู่ในระยะที่มีการแพร่กระจายและลุกลามอีกด้วย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 

สารวัดค่ามะเร็งรังไข่ Cancer Antigen 125 ( CA 125 )

0
CA 125 สารวัดค่ามะเร็งรังไข่
CA 125 เป็น สารที่ใช้สำหรับการวัดหาค่ามะเร็งรังไข่ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำที่ช่วยยืนยันอาการป่วยที่บ่งชี้ถึงมะเร็งรังไข่ได้ดี
CA 125 สารวัดค่ามะเร็งรังไข่
CA 125 เป็น สารที่ใช้สำหรับการวัดหาค่ามะเร็งรังไข่ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำที่ช่วยยืนยันอาการป่วยที่บ่งชี้ถึงมะเร็งรังไข่ได้ดี

Cancer Antigen 125 ( CA 125 ) คืออะไร

Cancer Antigen 125 ( CA 125 ) คือ สารที่ใช้สำหรับการวัดหาค่าการป่วยมะเร็งรังไข่ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำที่สุด ค่า CA125 มักมีค่าขึ้นสูงในผู้ป่วย มะเร็งรังไข่ ชนิด non-mucinous type รวมทั้งมะเร็งตับอ่อน, มะเร็งปอด, มะเร็งของระบบทางเดินอาหาร, มะเร็งตับอาจพบ CA 125 สูงกว่าปกติได้ในหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีการอักเสบของช่องท้อง ( peritonitis ) และอวัยวะภายในช่องท้อง, ตับอ่อนอักเสบ ( acute pancreatitis ), ตับแข็ง ( cirrhosis ), การอักเสบของอวัยวะภายในช่องเชิงกราน

รังไข่ มีหน้าที่อะไร

หน้าที่ของรังไข่ คือ เป็นที่เกิดของไข่ หรือ โอวุม ( Ovum ) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงทำหน้าที่ตกไข่อย่างน้อย 1 เซลล์ ( หรือไข่ 1 ฟอง ) ในหนึ่งรอบเดือนช่วงวัยเจริญพันธุ์เพื่อพร้อมสำหรับการผสมกับอสุจิ รังไข่จะสร้างฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน ( Estrogen ) จากเซลล์หลักคือ Granulosa Cell และจาก Theca Cell ( เป็นส่วนน้อย ) ฮอร์โมนนเอสโตรเจนจะทำให้เกิดลักษณะภายนอกของเพศหญิง เช่น การเริ่มมีประจำเดือน การเกิดเต้านม มีขนมที่อวัยวะเพศ มีไขมันใต้ผิวหนังบริเวณสะโพกและต้นขา เป็นต้น สร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนหรือโปรเจสติน ( Progesterone, Progestin ) ทำหน้าที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อให้พร้อมรับการฝังตัวของรกเมื่อตั้งครรภ์ หรือกลายเป็นเลือดประจำเดือนถ้าไม่เกิดการตั้งครรภ์ เป็นต้น

Cancer Antigen 125 ใช้ตรวจมะเร็งรังไข่

1. CA 125 ใช้เพื่อตรวจหาสัญญาณบ่งชี้มะเร็งรังไข่ในผู้หญิง และใช้สำหรับติดตามผลการรักษา เพื่อทราบว่าการรักษาให้ผลดีหรือล้มเหลวอย่างไร

2. CA 125 เป็นสารวัดค่ามะเร็งที่มีความไวมากจึงสามารถตรวจพบมะเร็งได้ดีกว่าสารชนิดอื่นๆ ซึ่งพบว่ามีความไวกว่าค่า AFP และค่า HCG มากทีเดียว

3. ถึงแม้ว่า CA 125 จะเป็นสารวัดค่ามะเร็งรังไข่ที่มีความไวมาก แต่ก็มีความแม่นยำเพียงแค่ 80% เช่นกัน เพราะพบว่าในผู้หญิงบางคนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งรังไข่ แต่เมื่อตรวจกลับไม่พบค่าความผิดปกติของ CA 125 ได้เช่นกัน

ค่า Cancer Antigen 125  จะช่วยยืนยันอาการป่วยที่บ่งชี้ถึงมะเร็งรังไข่ได้ดีโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอาการท้องบวมหรือคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อยที่โตผิดปกติ

4. อย่างไรตามแม้จะตรวจพบว่าความผิดปกติที่ยืนยันได้ว่ากำลังป่วยด้วยมะเร็งรังไข่ ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อตรวจมะเร็งมดลูกโดยตรงอีกครั้ง โดยอาจใช้วิธีการอัลตราซาวด์หรือวิธีอื่นๆ ที่เหมาะสม   

5. CA 125 สามารถใช้ตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาได้ โดยหากพบว่าหลังการรักษายังคงมีค่า CA 125 สูงกว่า 3,535 units / mL ก็จะถือว่าผู้ป่วยยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อทันที

6. อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะตรวจพบว่า Cancer Antigen 125 มีค่าที่สูงกว่าปกติ แต่ก็อาจไม่ใช่โรคมะเร็งก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความผิดปกติของอวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น โรคตับแข็ง เยื่อบุช่องท้องอักเสบหรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นต้น หรือในบางคนที่มีสุขภาพปกติ ก็อาจตรวจพบค่า CA 125 ที่สูงเกินค่าปกติได้เหมือนกัน

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เมื่อมีการตรวจพบค่า CA 125 ที่สูงกว่าปกติก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนกหรือตกใจจนเกินไป เพราะผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่เป็นอย่างที่คิด โดยอาจเป็นเพราะ

มีค่า CA 125 สูงกว่าปกติ แต่ความจริงแล้วไม่ได้ป่วยด้วยโรคอะไรเลย
มีค่า CA 125 สูงกว่าปกติ แต่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง โดยอาจจะป่วยด้วยโรคอื่นๆที่มีผลต่อค่าดังกล่าว
มีค่า CA 125 สูงโดยคาดว่าน่าจะเป็นมะเร็ง แต่เมื่อตรวจวินิจฉัยกับแพทย์แล้ว กลับพบว่าไม่ได้ป่วยด้วยโรคมะเร็งแน่นอน

ค่าปกติของ CA 125 คือเท่าไหร่

CA 125 จะมีค่าปกติอยู่ที่ CA 125 : 0-35 units / mL 

ค่าความผิดปกติของ Cancer Antigen 125

หากค่า CA 125 น้อยกว่า 35 units / mL คือ ปกติ

ค่า Cancer Antigen 125  มากปกติ

หากค่า CA 125 มากกว่า 35 units / mL คือ ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งในช่องภายในที่ไม่ใช่ช่องทางรังไข่ของอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง อาจเป็นโรคตับแข็ง โรคตับอ่อนอักเสบ หรือกำลังตั้งครรภ์หรือเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อน เข้าใจว่า การตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2557. 240 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1647-7

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.

Cancer risk. British Journal of Cancer. 2010.

สารวัดค่ามะเร็งทางเดินอาหาร Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 )

0
CA 19-9 สารวัดค่ามะเร็งช่องทางเดินการย่อยอาหาร
สารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งในช่องทางเดินการย่อยอาหาร เพื่อตรวจหามะเร็ง
CA 19-9 สารวัดค่ามะเร็งช่องทางเดินการย่อยอาหาร
CA 19-9 เป็นสารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งในช่องทางเดินการย่อยอาหาร เพื่อตรวจหามะเร็ง

Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) คือ

Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) คือ สารที่ใช้ในการวัดค่า มะเร็งทางเดินอาหาร เพื่อตรวจหามะเร็งในตำแหน่งดังกล่าว

ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับ Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 )

Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) คือ สารที่ใช้ในการวัดค่า มะเร็งทางเดินอาหาร ซึ่งจะใช้วิธีการตรวจเลือดเพื่อคัดกรอง โดยโรคมะเร็งที่นิยมตรวจด้วยวิธีนี้คือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น

Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) คือ สารที่สามารถตรวจหามะเร็งในอวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย จึงสามารถนำค่าการตรวจมาใช้เพื่อร่วมยืนยันกับสัญญาณมะเร็งตัวอื่นๆ ได้ เพื่อความแม่นยำว่าผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งหรือไม่นิยมใช้เพื่อติดตามผลการรักษา ซึ่งก็จะให้ผลลัพธ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงมาก โดยจะบอกได้ว่าการรักษาได้ผลดีหรือไม่นั่นเอง

การตรวจคัดกรองมะเร็งด้วย Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) อาจไม่สามารถให้ผลที่แม่นยำถึง 100% ได้ ซึ่งพบว่าในผู้ป่วยบางรายที่ป่วยด้วย มะเร็งทางเดินอาหาร แต่การตรวจค่า CA 19-9 ก็ไม่แสดงผลว่ามีค่าสูงกว่าปกตินั่นเอง ดังนั้นจึงอาจจำเป็นต้องทำการตรวจสารบ่งชี้ตัวอื่นร่วมด้วย บางครั้งการตรวจพบว่ามีค่า CA 19-9 สูงมากผิดปกติ ก็อาจไม่ได้หมายความว่าเป็นมะเร็งเสมอไป เพราะนั่นอาจเกิดจากการที่มีอาการอักเสบค่อนข้างรุนแรง จนทำให้ค่า CA 19-9 สูงขึ้นจนน่าตกใจ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งตื่นตระหนก ควรรอผลตรวจที่มีความแน่ชัดจากแพทย์ก่อน

ค่าความปกติของ Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 )

โดยทั่วไปแล้ว ค่า CA 19-9 จะมีค่าปกติ CA 19-9 : <37 ng/mL หรือให้ยึดตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือด ( ถ้ามี )

ค่าผิดปกติของ Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 )

สำหรับค่าผิดปกติของ Cancer Antigen 19-9 ( CA 19-9 ) ให้ดูจากความมากน้อยของค่าที่วัดได้ กล่าวคือหากค่าไปในทางน้อย ถือว่าปกติ  และหากค่าไปในทางมาก ถือว่าผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพราะป่วยด้วย มะเร็งทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal Cancer ) มะเร็งท่อน้ำดี ( Bile duct Cancer ) และมะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) เป็นต้น เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาการป่วยมะเร็ง เช่น โรคนิ่วในถุงน้ำดี ( Gallstones ) โรคตับอ่อนอักเสบ ( Pancreatitis ) เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 

ตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ – สารวัดค่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ Carcinoembryonic Antigen ( CEA )

0
โรคมะเร็งลำไส้โดยเกิดก้อนเนื้อเล็กๆในลำไส้ จะเกิดขึ้นตั้งแต่บริเวณลำไส้เล็กจนถึงปลายทวานหนัก
โรคมะเร็งลำไส้โดยเกิดก้อนเนื้อเล็กๆในลำไส้ จะเกิดขึ้นตั้งแต่บริเวณลำไส้เล็กจนถึงปลายทวานหนัก
สารวัดค่ามะเร็งลำไส้จะใช้ตรวจมะเร็งในช่องทางเดินอาหารและตรวจการย้อนกลับเป็นซ้ำหรือการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง
สารวัดค่ามะเร็งลำไส้จะใช้ตรวจมะเร็งในช่องทางเดินอาหารและตรวจการย้อนกลับเป็นซ้ำหรือการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง

Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) คือ

Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) คือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ที่เป็นสารบ่งชี้ในการตรวจ มะเร็งลำไส้ใหญ่ CEA ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและตรวจประเมินผลการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นไกลโคโปรตีน ( Glycoprotein ) ชนิดหนึ่ง ไกลโคโปรตีน ( Glycoprotein ) คือองค์ประกอบหลักของสารอาหารโปรตีนที่หลั่งออกมานอกเซลล์ และยังเป็นโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อหุ้มเซลล์ ไกลโคโปรตีน มีหน้าที่หลากหลาย พบในโมเลกุลที่เป็นโครงสร้าง เช่น ไฟบริน หรือคอลลาเจน ทั้งยังพบในโมเลกุลที่มีหน้าที่ขนส่ง วิตามิน ไขมัน แร่ธาตุต่างๆ เป็นตัวรับสัญญาณจากฮอร์โมน รวมทั้งโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น อิมมูโนโกลบูลิน ( Immunoglobulin ) เอนไซม์บางชนิด เช่น ไฮโดรเลส ( Hydrolase ) โปรตีเอส ( Protease ) สารคัดหลั่งต่างๆ เช่น แล็กติน ( Lectin ) มูซิน ( Mucin ) หรือ ซีเลกทิน ( Selectin ) ซึ่งมีบทบาทในการจดจำเซลล์เป้าหมายของเชื้อก่อโรค หากเจาะเลือดไปตรวจค่าเลือด แล้วพบการหลั่งสาร CEA มากกว่าค่าปกติ อาจเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ปัจจุบันใช้การตรวจค่า Carcinoembrionic Antigen หรือ Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) ในการค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ค่า CEA ที่สูงขึ้นผิดปกติ อาจบอกได้ว่ากำลังป่วยด้วยมะเร็งจริง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนไหน และอาจอยู่ในขั้นที่กำลังลุกลามแล้วก็ได้

ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับ Carcinoembryonic Antigen ( CEA )

1. Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) คือ สารตรวจค้นหาค่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และตรวจเบื้องต้นในการวินิจฉัยโรคมะเร็งในช่องทางเดินอาหารหรือตรวจค่ามะเร็งเต้านม รวมถึงใช้เพื่อร่วมค้นหาโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กันด้วย

2. Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) เริ่มมีการนำมาใช้ตั้งแต่ต้นปี 1960 โดยใช้เป็นสัญญาณมะเร็งในการตรวจค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ซึ่ง CEA จะมีลักษณะเป็นโปรตีนที่คล้ายกับเนื้อเยื่อของลำไส้ทารกในครรภ์ที่เพิ่งปฏิสนธิ จึงมีชื่อเรียกแบบเต็มว่า

Carcinoembryonic Antigen ( CEA )
Cacino มะเร็ง
Embryo ทารกแรกปฏิสนธิ
Atigen สารแปลกปลอม

 

3. การใช้ Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) ในการ ตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจไม่ได้ค่าที่ถูกต้องเสมอไป เพราะการตรวจอาจได้ผลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

4. ทางการแพทย์ปัจจุบันได้ระบุว่า บางครั้งการ ตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนปลายบางชนิด ทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าเป็นมะเร็ง แต่ค่าที่ได้จากการตรวจอาจไม่พบว่า Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) ผิดปกติเลย จึงยืนยันได้ว่าผลการตรวจอาจไม่แน่นอนเสมอไป

5. การตรวจหาค่า Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) พบว่ามีประโยชน์ต่อการเฝ้าตรวจใน 2 กรณี ดังนี้

  • การตรวจสุขภาพของคนปกติว่ามีแนวโน้มป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ โดยจะทำการตรวจบ่อยๆ และบันทึกค่าการตรวจเอาไว้ ซึ่งหากการตรวจครั้งแรกมีค่า CEA ปกติ และการตรวจหลังจากนั้นพบว่าค่า CEA สูงขึ้น ก็อาจสรุปได้ว่ามีแนวโน้มจะเกิดสภาวะบวมนูน แต่จะเป็นมะเร็งหรือไม่ต้องตรวจพิจารณาอีกที
  • การตรวจเพื่อประเมินผลการรักษาในผู้ที่กำลังป่วยด้วยโรคมะเร็ง โดยจะวัดจากค่า CEA ว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น หรืออาการทุเลาลง

ค่า Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) สูงขึ้น ก็อาจสรุปได้ว่ามีแนวโน้มจะเกิดสภาวะบวมนูน แต่จะเป็นมะเร็งหรือไม่ต้องตรวจพิจารณาโดยแพทย์อีกครั้ง

6.ในปัจจุบันมีการนำ Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) มาตรวจหาสัญญาณบ่งชี้มะเร็งช่องทางเดินอาหารและมะเร็งเต้านมด้วย แต่ค่าที่ได้ก็ไม่อาจปลงใจเชื่อได้ในทีเดียว เพราะมี 20% ที่ค่า CEA อาจไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าป่วยมะเร็งหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องตรวจหลายๆ วิธี เพื่อสนับสนุนและยืนยันผลการ ตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่แม่นยำที่สุด

7.ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีผลต่อการตรวจหาค่า Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) ซึ่งอาจทำให้ได้ผลคลาดเคลื่อน ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ โดยบางคนอาจพบว่ามีค่า CEA สูงมากแต่ไม่ได้ป่วยมะเร็ง ซึ่งเป็นผลจากการสูบบุหรี่นั่นเอง

ค่าปกติของ Carcinoembryonic Antigen ( CEA )

ค่า Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) ปกติ อยู่ที่เท่าไหร่นั้น สามารถตรวจสอบได้จาก 2 กรณีคือ

ค่าปกติของ CEA หรือ สารวัดค่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ 
ค่าปกติทั่วไปของ CEA CEA < 5 ng/mL
ค่าที่ระบุไว้ในรายงานผลการตรวจเลือด

ค่าความผิดปกติของ Carcinoembryonic Antigen ( CEA )

การวัดค่าความผิดปกติของ CEA มีวิธีการดูดังนี้

ค่าผิดปกติของ CEA หรือ สารวัดค่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ 
ค่า CEA น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ng/mL ปกติ

หากตรวจแล้วค่า Carcinoembryonic Antigen ( CEA ) ไปในทางมาก อาจแสดงได้ถึงผลตรวจดังนี้

ค่าผิดปกติของ CEA หรือ สารวัดค่ามะเร็งลำไส้ใหญ่
ค่า CEA มากกว่า 5 ng/mL ผิดปกติ
บ่งชี้ได้ว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็ง ณ อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
บ่งชี้ว่าอาจกำลังมีภาวะของโรคกระเพาะมีอาการเปื่อย หรือกระเพาะอาหารผิดปกติ
บ่งชี้ได้ว่ามีการอักเสบและบวมในบางอวัยวะ แต่อาจไม่ถึงขั้นกับเป็นมะเร็ง
บ่งชี้ว่าอาจกำลังมีภาวะโรคตับแข็ง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง

0
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง
เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและดูว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ระยะใด และหาแนวทางรักษาต่อไป
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและดูว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ระยะใด และหาแนวทางรักษาต่อไป

โรคมะเร็ง

การตรวจวินิจฉัย หรือ วินิจฉัยโรค หมายถึง การตรวจวินิจฉัยทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับ โรคมะเร็ง ซึ่งได้แก่

การตรวจวินิจฉัยว่าเป็น โรคมะเร็ง หรือไม่?
การตรวจประเมินสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี?
การตรวจเพื่อประเมินระยะของอาการป่วยมะเร็ง?
การตรวจประเมินผลในช่วงของการรักษาและภายหลังการรักษา?
การตรวจเพื่อติดตามผลในระยะยาว ค้นหาความเสี่ยงการของป่วยด้วยโรคมะเร็งซ้ำอีก?

สำหรับการพิจารณาว่าวินิจฉัยโรคจะตรวจอะไรบ้าง แพทย์จะทำการวินิจฉัยถึงอาการเบื้องต้นของผู้ป่วย แล้วจึงเริ่มตรวจในสิ่งที่มีความสอดคล้องกับอาการป่วย เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและดูว่าเป็น โรคมะเร็ง หรือไม่ โดยหากพบว่าป่วยด้วยมะเร็ง ก็จะแจ้งให้กับผู้ป่วยและญาติทราบทันที จากนั้นจึงทำการตรวจประเมินระยะของโรค สุขภาพผู้ป่วย เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป โดยการตรวจจะได้รับข้อมูล ดังนี้

1.วินิจฉัยโรคและชนิดของมะเร็งที่ผู้ป่วยกำลังเป็น

2.วินิจฉัยโรคและระยะของโรคมะเร็งในขณะนั้น

3.วินิจฉัยโรคและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

โดยหลังจากได้รับข้อมูลดังนี้แล้ว แพทย์จะทำการพูดคุยและแนะนำถึงวิธีและขั้นตอนในการรักษาแก่ผู้ป่วยและญาติ รวมถึงอาการแทรกซ้อน ผลข้างเคียงที่อาจต้องระมัดระวัง

ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยมะเร็ง

ก่อนการตรวจวินิจฉัยหรือทำการรักษา แพทย์จำเป็นต้องทราบประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถวินิจฉัยอาการง่ายขึ้นและเลือกวิธีการตรวจหรือวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสม โดยประวัติของผู้ป่วยที่แพทย์ต้องทราบ ได้แก่ อาการสำคัญ อาการอื่นๆ การแพ้ยา โรคประจำตัว หรือประวัติอื่นๆ ทางการแพทย์ เป็นต้น

วินิจฉัยโรคและอาการสำคัญ

อาการสำคัญ คืออาการที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ โดยเป็นอาการสำคัญที่จำเป็นต้องแจ้งกับแพทย์เป็นอันดับแรก เนื่องจากอาการสำคัญจะช่วยชี้ชัดถึงโรคที่กำลังป่วยได้อย่างแม่นยำที่สุดและทำให้แพทย์รักษาได้อย่างถูกทางมากขึ้น โดยทั่วไปอาการสำคัญ ได้แก่ อาการผิดปกติหลักๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนรงมีอากรปวดท้อง คลำพบก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณเต้านม เป็นต้น

วินิจฉัยโรคความกังวลหรือความสงสัยว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งหรือไม่นั้นต้องการให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อความสบายใจ และหากพบว่าป่วยด้วยมะเร็งชนิดไหน ก็จะได้ทำการรักษาได้ทัน มีความต้องการที่จะตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เพื่อความมั่นใจและสบายใจ

อาการสำคัญของการตรวจวินิจฉัยโรค เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและอวัยวะที่น่าจะมีความผิดปกติได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้การตรวจวินิจฉัยมีวงแคบลงและทราบผลเร็วกว่าเดิม ดังนั้นอาการสำคัญจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ที่ผู้ป่วยหรือญาติควรแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อมาพบแพทย์นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก่อนเริ่มตรวจวินิจฉัยหรือทำการรักษา แพทย์จะเริ่มพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติเพื่อซักประวัติ และอาจมีการซักถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการอื่นๆ รวมถึงปัญหาครอบครัวที่อาจนำมาสู่อาการเจ็บป่วยดังกล่าว

วินิจฉัยโรคอาการอื่นๆ

เป็นอาการที่เกิดขึ้นก่อนอาการสำคัญ โดยจะเป็นอาการที่ไม่รุนแรงทำให้ผู้ป่วยยังไม่มาพบแพทย์ก่อนหน้านี้ แต่ก็ถือเป็นอาการร่วมที่จำเป็นต่อการวินิจฉัยที่ผู้ป่วยหรือญาติต้องแจ้งแก่แพทย์เช่นกัน เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ มีไข้อ่อนๆ หรืออาการไอ เป็นต้น

วินิจฉัยโรคอาการสำคัญของโรคมะเร็ง

เป็นอาการที่คาดว่าอาจเกิดจาก โรคมะเร็ง และต้องการให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผู้ป่วยกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งหรือไม่ เช่น มีอาการอักเสบบ่อย พบก้อนเนื้อที่อาจเป็นมะเร็งโดยทั้งนี้เมื่อแพทย์วินิจฉัยร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆแล้ว ก็จะทำให้ได้ผลการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

อาการสำคัญที่พบได้บ่อยเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็ง

เนื่องจาก ” โรคมะเร็ง “ เป็นโรคที่ไม่มีอาการเฉพาะจึงต้องพิจารณาจากหลายๆ กรณีและอาการที่อาจบ่งชี้ว่าป่วยมะเร็ง โดยมีอาการสำคัญที่มักจะพบได้บ่อยๆ เมื่อป่วยด้วย โรคมะเร็ง ดังนี้

1. มีไฝ หูดหรือปานโตฝังลึกลงในผิวหนัง และมีสีที่เปลี่ยนไปจากเดิมพร้อมกับขอบที่ขรุขระขึ้น นอกจากนี้ในบางรายก็อาจมีแผลหรือมีเลือดไหลออกมาอีกด้วย
2. มีก้อนเนื้องอกออกมาและโตเร็วมาก โดยในระยะเริ่มแรกนั้นจะยังไม่มีอาการเจ็บปวด แต่เมื่อปล่อยไว้นานๆ จะเริ่มเกิดเป็นแผลแตกและมีเลือดออกเรื้อรัง พร้อมกับอาการเจ็บปวดที่เกิดถี่ขึ้น ซึ่งก็อาจเป็นสัญญาณหนึ่งของโรคมะเร็งได้
3. มีแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หายสักที โดยเป็นมานานกว่า 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะแผลบริเวณอวัยวะเพศหรือแผลในช่องปาก
4. ต่อมน้ำเหลืองโตผิดปกติ โดยอาจจะคลำเจอเป็นก้อนๆ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ซึ่งอาการเจ็บปวดจะเกิดขึ้นเมื่อต่อมน้ำเหลืองเริ่มติดเชื้อนั่นเอง โดยส่วนใหญ่จะคลำเจอบริเวณรักแร้ ขาหนีบและลำคอ ซึ่งหากเกิดจากมะเร็งก็จะพบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนใหญ่
5. มีอาการปวดศีรษะแบบเรื้อรังและค่อยๆ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่อาจบอกได้ถึงการป่วยมะเร็งเช่นกัน อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวก็อาจเกิดจากโรคเนื้องอกหรือเพราะความเครียดก็ได้
6. น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ประมาณร้อยละ 10 ภายในเวลา 6 เดือน ทั้งที่ยังคงทานอาหารตามปกติและแทบไม่ได้ออกกำลังกายเลย หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุนั่นเอง
7. มีอาการหนังตาตก ตาเหล่และอาจเดินเซแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนโดยอาจเป็นผลจากการอักเสบของเส้นประสาทหรือ โรคมะเร็ง ได้
8. มีอาการแขนขาอ่อนแรงหรืออยู่ดีๆ ก็ไม่มีแรงขึ้นมาเฉยๆ ซึ่งก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งสูงมาก โดยเฉพาะมะเร็งสมองและมะเร็งบางชนิดที่มีการแพร่กระจายเข้าสู่สมองหรือไขสันหลัง
9. มีเสมหะ น้ำลายหรือน้ำมูกออกมาเป็นเลือด ซึ่งนอกจากจะเกิดจากการอักเสบภายในช่องปาก คอหอยหรือโพรงจมูกแล้ว ก็อาจเป็นเพราะ โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งโพรงจมูกอีกด้วย
10. เสียงแหบอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะคนที่เป็นหวัด เมื่ออาการไข้หวัดหายแล้วแต่เสียงยังแหบอย่างต่อเนื่อง แบบนี้ก็อาจสงสัยได้เลยว่าอาจกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งอยู่ก็ได้
11. มีเลือดกำเดาออกแบบเรื้อรัง คือมักจะมีเลือดกำเดาออกบ่อยๆ คาดว่าอาจจะเป็นมะเร็งระบบโลหิตวิทยา มะเร็งจมูกหรือ โรคมะเร็ง หลังโพรงจมูก เป็นต้น
12. มีอาการผิดปกติที่เต้านม โดยคลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หัวนมบุ๋มและแข็ง มีผื่นคันเรื้อรังเกิดขึ้นบริเวณหัวนม เจ็บเต้านมบ่อยๆ หรือในคุณแม่หลังคลอดบุตรก็อาจจะมีน้ำนมเป็นเลือด ซึ่งทุกอาการล้วนเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมทั้งสิ้น จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ
13. ต่อมไทรอยด์โตผิดปกติ โดยเมื่อคลำบริเวณลำคอด้านหน้าทั้งซ้ายขวา พบก้อนเนื้อผิดปกติ อาจบ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งได้เช่นกัน มีอาการอาเจียนหรือไอออกมาเป็นเลือด ซึ่งก็ไม่ควรชะล่าใจเด็ดขาด
14. ปวดท้องเรื้อรังอย่างไม่ทราบสาเหตุ ถึงแม้ว่าจะกินยาลดกรดหรือยารักษาโรคกระเพาะ แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น โดยอาจเสี่ยงเป็น มะเร็งโรคกระเพาะอาหารได้
15. มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสียบ่อยๆ ซึ่งในบางรายอาจมีอุจจาระเป็นเลือดหรือเป็นมูกเลือดด้วย โดยอาการดังกล่าวก็อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคมะเร็งหรือเป็นเพราะลำไส้ใหญ่เกิดการอักเสบก็ได้
16. ตัวและตาซีดเหลืองผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งตับและความผิดปกติของโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับตับ
17. ถ่ายปัสสาวะผิดปกติและอาจถ่ายปัสสาวะเป็นเลือดได้ รวมถึงมีอาการปวดเบ่ง ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะออกกะปริดกะปรอยหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยอาการดังกล่าวก็อาจบ่งชี้ได้ถึงโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็งไต หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น 
18. อัณฑะโตผิดปกติจนสัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงได้ ในบางคนก็อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย
19. มีตกขาวผิดปกติ ซึ่งอาจจะออกมาเป็นมูกเลือด มีกลิ่นเหม็นหรือมีอาการคันร่วมด้วย โดยอาการดังกล่าวอาจเกิดจากการติดเชื้อของช่องคลอด หรือเกิดจากโรคมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งช่องคลอดได้เหมือนกัน
20. กระดูกมีความเปราะบาง หักได้ง่าย และอาจมีอาการปวดบริเวณกระดูกและข้อต่อบ่อยๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะภาวะโรคกระดูกพรุนในวัยที่มีอายุมาก หรือเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคมะเร็งกระดูก และมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่แพร่เข้าสู่กระดูกจนทำให้เกิดอาการดังกล่าว
21. ประจำเดือนมาผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดได้หลายกรณีเช่น ประจำเดือนมามากหรือมาน้อยกว่าปกติ มาไม่สม่ำเสมอ มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังวัยหมดประจำเดือน มีเลือดออกระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งหมดนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของมดลูกเองหรือเกิดจากผลกระทบของมะเร็งก็ได้
22. มีอาการปวดหลังเรื้อรังและอาจปวดร้าวไปจนถึงขาตามแนวกระดูก คาดว่าอาจเกิดจากการอักเสบของกระดูก เส้นประสาทหรือป่วยด้วยมะเร็งที่แพร่เข้าสู่กระดูกจนทำให้เกิดอาการปวดแบบเรื้อรัง
23. เป็นซีสต์เรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ รวมทั้งโรคมะเร็งด้วย

วินิจฉัยโรคมะเร็ง อาจมีอาการที่แสดงออกมาอย่างหลากหลายและเกิดได้จากมะเร็งหลายชนิด จึงต้องมีการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีทางการแพทย์อย่างเคร่งครัดและถูกต้องตามกระบวนการ จึงจะทราบสาเหตุที่แท้จริงและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

WHO (October 2009). “Cancer”. World Health Organization.

Cancer by tumour type. Journal of Internal Medicine. 

การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ สัญญาณมะเร็ง

0
การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ สัญญาณป่วยโรคมะเร็ง
การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ สัญญาณป่วยโรคมะเร็ง
การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ สัญญาณป่วยโรคมะเร็ง
การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้ สัญญาณป่วยโรคมะเร็ง

ตรวจเลือด

ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง Tumor Marker จึงเป็นเหมือนการสืบสวนเพื่อย้อนรอยหาผู้ก่อการร้าย ซึ่งก็คือมะเร็ง ว่าแอบซ่อนอยู่ตรงไหนของร่างกาย เพื่อจะได้ทำการกำจัดออกไปก่อนจะเข้าสู่ระยะที่สามที่เป็นระยะอันตรายมากที่สุด

Tumor Marker คือ สารชนิดหนึ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงการป่วยด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งสาร Tumor Marker อาจเกิดจากการที่ โปรตีน สารประกอบชีวเคมี หรือ เอนไซม์ ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากเซลล์มะเร็งเองหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีปฏิกิริยาตอบโต้การบุกรุกทำลายของเซลล์มะเร็ง จนทำให้สารบ่งชี้ดังกล่าวมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นและค่อยๆ รั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งก็สามารถตรวจพบสารบ่งชี้ได้ด้วย การตรวจเลือด นั่นเอง

Hyperplasia คือ เซลล์ที่เกิดใหม่และทำให้จำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม มีผลให้อวัยวะหรือเซลล์ในส่วนนั้นมีขนาดที่บวมใหญ่ขึ้น เซลล์ชนิดนี้มักจะพบได้จาก สภาวะต่อมไทรอยด์โต ( Thyroid Hyperplasia ) และ สภาวะต่อมลูกหมากโต ( Benign Prostate Hyperplasia, BPH ) เป็นต้น
Hypertrophy คือ เซลล์ที่เกิดใหม่โดยไม่ได้ทำให้จำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น แต่ทำให้เซลล์มีขนาดและรูปร่างที่ใหญ่กว่าเดิมแทน ส่งผลให้อวัยวะหรือเซลล์ในส่วนนั้นมีขนาดที่บวมโตขึ้น พบได้จาก สภาวะหัวใจโต (Cardiac Hypertrophy) เป็นต้น
Metaplasia คือ เซลล์เกิดใหม่ที่งอกขึ้นมาแทนตัวเดิม โดยจะมีจำนวนมากแต่ขนาดไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งพบได้ในเซลล์เนื้อเยื่อของผิวหนัง ( Squamous Metaplasia ) ที่มีการงอกขึ้นมาเพื่อแทนที่ผิวหนังเดิมที่ได้ลอกออกไปตามอายุหรือการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว
Dyplasia คือ เซลล์เกิดใหม่ในสภาพของวัยที่ยังโตไม่เต็มที่ โดยจะเข้ามาแทนที่เซลล์เก่าที่ได้หลุดลอกออกไป ส่วนใหญ่จะเป็นเซลล์ผนังด้านในโพรงมดลูก ( Dysplasia of the Cervix Epithelium ) ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเติบโตเต็มที่ 28 วัน แล้วหลุดออกมาเป็นประจำเดือนในที่สุด

ร่องรอยทางกายภาพของมะเร็ง

ร่องรอยทางกายภาพของมะเร็ง มีทั้งชนิดที่มองเห็นได้ง่ายและชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ นั่นคือ

ชนิดที่ไม่มีอาการบวม โดยจะไม่แสดงอาการออกมาทำให้สังเกตได้ยาก ส่วนใหญ่จะเป็น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) ซึ่งจะไหลเวียนในหลอดน้ำเหลืองจึงไม่บวมออกมา
ชนิดที่มีอาการบวม โดยจะมีก้อนเนื้อบวมนูนขึ้นมาทำให้สังเกตเห็นได้โดยง่าย ซึ่งชนิดนี้เรียกว่า Tumor อาจเกิดจากเซลล์มะเร็งหรือไม่ใช่เซลล์มะเร็งก็ได้ กล่าวคือ
Benign Tumor คือก้อนเนื้อที่บวมออกมาแต่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง เช่น ถุงไขมัน ( Cyst ) เนื้อเยื่อที่บวมในเต้านม เป็นต้น
Malignant Tumor คือก้อนเนื้อที่บวมนูนออกมา โดยเกิดจากเซลล์มะเร็งร้าย ซึ่งก็อาจจะเป็นมะเร็งหลากชนิดกันไป

การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้โรคมะเร็ง

การตรวจเลือด เพื่อหาสารบ่งชี้การป่วยด้วยโรคมะเร็ง เป็นวิทยาการแพทย์ที่มีความก้าวหน้า ซึ่งสามารถทำการตรวจวิเคราะห์เลือดได้ว่ามีระดับหรือค่าความเสี่ยงมะเร็งมากแค่ไหน และสามารถสรุปได้อีกด้วยว่ากำลังป่วยเป็นมะเร็งชนิดใด เนื่องจากสามารถตรวจวิเคราะห์สารบ่งชี้สัญญาณมะเร็งต่ออวัยวะได้หลายชนิดสัญญาณนั่นเอง

วัตถุประสงค์ ในการตรวจเลือดเพื่อหาสัญญาณโรคมะเร็ง

โดยภาพรวม การตรวจเลือด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้โรคมะเร็ง มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อคัดกรองสุขภาพของแต่ละบุคคลในการตรวจสุขภาพประจำปี ถึงความเสี่ยงที่อาจเป็นมะเร็ง ซึ่งจะทำให้เตรียมตัวและรับมือกับอาการป่วยได้ทันรวมถึงทราบด้วยว่าเป็นมะเร็งชนิดใดและเกิดขึ้นตรงส่วนไหนของร่างกาย เป็นการตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา โดยหากการรักษาได้ผล สารบ่งชี้มะเร็งก็จะค่อยๆ ลดลงไปสามารถพยากรณ์ความร้ายแรงของโรคมะเร็งบางชนิดได้ โดยดูได้จากค่าของสารบ่งชี้ที่ตรวจพบใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งที่ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อมาตรวจได้ เช่น มะเร็งเซลล์สมอง โดยสารบ่งชี้จะเป็นตัวบอกว่าเซลล์ผิดปกติที่พบในตำแหน่งนั้นเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่

Tumor Marker คือ สารชนิดหนึ่งที่บ่งชี้ถึงกโรคมะเร็ง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ โปรตีน สารประกอบชีวเคมี หรือ เอนไซม์ ที่ถูกผลิตขึ้นจากเซลล์มะเร็ง หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

วิธีการตรวจเลือดเพื่อหาสัญญาณมะเร็ง หรือสารบ่งชี้มะเร็ง

สำหรับวิธีการตรวจเพื่อหาสัญญาณหรือสารบ่งชี้มะเร็ง สามารถกระทำได้ 2 วิธีคือ

1.ตรวจโดยการระบุชื่อสัญญาณมะเร็ง ( Cancer – Specific Marker ) เป็นการตรวจแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อทราบสัญญาณมะเร็งของชนิดที่ต้องการเท่านั้น โดยมะเร็งแต่ละชนิดก็จะมีการกำหนดไว้ว่าต้องตรวจหาค่าอะไรจึงจะพบ เช่น การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ จะต้องตรวจค่า AFP ซึ่งจะทำให้ทราบอย่างชัดเจนว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งตับหรือไม่ นอกจากนี้การตรวจ AFP ก็มีผลพลอยได้ ทำให้ทราบสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่และมะเร็งลูกอัณฑะ
2.ตรวจโดยการระบุอวัยวะ (Tissue – Specific Marker) เป็นการตรวจเฉพาะเจาะจง เพื่อทราบสัญญาณมะเร็งจากอวัยวะภายในร่างกายที่กำลังสงสัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ โดยจะใช้วิธีการตรวจเฉพาะจุด เช่น ต้องการทราบว่ากำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือไม่ จะต้องตรวจสัญญาณบ่งชี้ 3 ตัว คือ CEA, CA 19-9 และ CA 125 โดยการตรวจหาค่าดังกล่าวนอกจากจะทำให้ทราบผลตามต้องการแล้ว ก็ได้ผลพลอยได้ โดยทราบถึงสัญญาณบ่งชี้มะเร็งของอวัยวะอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กันอีกด้วย 

ข้อควรระวังในการใช้ Tumor Markers ตรวจเลือดหามะเร็ง

อย่าสรุปผลตรวจจากค่าที่ได้ตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียว เพราะค่าที่ได้อาจมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง การตรวจเลือด หลายๆ ครั้งเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง ควรตรวจจากห้องปฏิบัติการแห่งเดียวกันและต้องใช้อุปกรณ์ น้ำยาวิเคราะห์ต่างๆ ที่เป็นชนิดเดียวกันเสมอ ควรพิจารณาจากสารบ่งชี้มะเร็งหลายๆ ตัวที่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ สามารถบ่งชี้มะเร็งแบบเจาะจงในจุดเดียวกันได้เพื่อความแม่นยำที่มากขึ้น สามารถเลือกพิจารณาจากสัญญาณมะเร็งที่ไม่เจาะจงแต่มีคุณสมบัติความไวในการบ่งชี้ได้ดี เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการตรวจ ต้องมีการบันทึกประวัติข้อมูลตัวเลขสารบ่งชี้มะเร็งก่อนการรักษาอย่างชัดเจน เพื่อวิเคราะห์ผลการรักษาได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น
อาจเกิดปรากฎการณ์ “ Hook effect ” ซึ่งเป็นการหลบซ่อนของสัญญาณมะเร็ง ทำให้ไม่ได้ค่าการตรวจที่ชัดเจน จึงต้องระมัดระวังและมีความรอบคอบในการตรวจมากเป็นพิเศษ

การตรวจเลือด หาสารบ่งชี้มะเร็ง เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมและทำให้ทราบอาการป่วยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อทำการรักษาได้ทันเวลา แต่เนื่องจากการตรวจด้วยวิธีนี้ก็ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง 100% เสมอไป ผู้ตรวจจึงต้องมีความรอบคอบและทำตามคำแนะนำในการใช้ Tumor Markers อย่างเคร่งครัด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Cancer causation: association by tumour type”. Journal of Internal Medicine. 

Deerfield, Illinois: Baxter International Inc. 2002-08-07.