มาร์คหน้า เคล็ดลับหน้าเด็กสำหรับผู้หญิง 30 Up ด้วยวิธีธรรมชาติ

0
เคล็ดลับหน้าเด็ก ด้วยเวชศาสตร์ชะลอวัย
ลดความเสื่อมของเซลล์อย่างเห็นผลจึงช่วยให้สุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก สดใสอ่อนกว่าวัย และมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ
เคล็ดลับหน้าเด็ก ด้วยเวชศาสตร์ชะลอวัย
ลดความเสื่อมของเซลล์อย่างเห็นผลจึงช่วยให้สุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก สดใสอ่อนกว่าวัย และมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ

หน้าเด็ก

หน้าเด็ก ( Baby Face ) คือ การจะดูแลผิวให้อ่อนเยาว์เปล่งประกายนั้นเป็นเป้าหมายหลักสำหรับสาว ๆ ทุกคนวันนี้บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ จากผู้เชี่ยวชาญด้านความงามด้วยเคล็ดลับหน้าเด็ก ผิวสวยเปล่งปลั่งเป็นธรรมชาติ เพราะความสวยความงามบอกได้ว่าเป็นเพียงผิวเผินเท่านั้น แต่ความสำคัญของผิวลึกลงไปมาก โดยเฉพาะผิวเป็นชั้นแรกของระบบภูมิคุ้มกันของคุณทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันระหว่างคุณและเชื้อโรค แบคทีเรียต่างๆ วิธีทำให้ผิวเปล่งประกายอย่างเป็นธรรมชาติ การมีใบหน้าดูอ่อนเยาว์ เนียนนุ่มเหมือนเด็กเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการ โดยเฉพาะในสุภาพสตรีที่ชื่นชอบความสวยความงามการมี หน้าเด็กนั้นเป็นสิ่งที่ใฝ่ฝันหา เพื่อใบหน้าที่ดูเด็กแล้วยอมลงทุนทั้งเวลาและเงินทองเพื่อค้นหาและทำวทุกวิถีทางที่มีการบอกว่าดีสามารถช่วยทำให้ใบหน้าเด็กลงได้ และเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในยุคปัจจุบันที่ต้องการมีหน้าเด็ก ได้มีการสร้างสถาบันเสริมความงามที่ช่วยทำให้หน้าเด็กลงได้ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น การเลเซอร์ การฉีดฟิลเลอร์บางชนิดเข้าสู่ใบหน้า การร้อยไหม เป็นต้น

เมื่อกล่าวถึงเวชศาสตร์ชะลอวัย ( Anti-Aging ) แล้วหลายคนจะคิดถึงการลดเลือนริ้วรอยเหี่ยวย่นที่อยู่บนใบหน้าด้วยครีมทาบำรุงผิวหรือเครื่องสำอางค์ที่ช่สยลดเลือนริ้วรอยหลายยี่ห้อ ตามที่มีการโฆษณาอยู่ในท้องตลาดและสื่อโฆษณาทั้งหลายว่าช่วยชะลอวัยให้ใบหน้าดู อ่อนเยาว์ ที่จริงแล้วเวชศาสตร์ชะลอวัย ( Anti-Aging ) ไม่ใช่การใช้ครีมหรือเครื่องสำอางเพื่อให้มีใบหน้าที่อ่อนเยาว์เท่านั้น

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยชั้นผิวหนัง คือ

1. หนังกำพร้า ( Epidermis )

เป็นชั้นของผิวหนังที่ปกคลุมอยู่บนสุดหรือผิวหนังชั้นนอกที่เราสามารถสัมผัสได้นั่นเอง ผิวหนังในชั้นนี้จะประกอบไปด้วยเชลล์ที่มีการเรียงซ้อนกันประมาณ 15-20 ชั้น มีความหนาตั้งแต่ 0.05 มิลลิเมตรถึง 1.5 มิลลิเมตรขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหนังกำพร้า ส่วนที่มีหนังกำพร้าบางที่สุด คือ หนังตาและส่วนที่มีหนังกำพร้าหนาที่สุด คือ ฝ่ามือและฝ่าเท้า หนังกำพร้าที่อยู่ชั้นนอกหรือชั้นบนสุดจะเรียกว่าชั้นขี้ไคล ( Stratum Corneum ) เซลล์ในชั้นขี้ไคลเมื่อหลุดออกจะกลายเป็นขี้ไคล ( Keratin ) ที่เรารู้จักกัน เมื่อเซลล์ขี้ไคลหลุดออกจากร่างกาย เซลล์ที่อยู่ชั้นในของชั้นหนังกำพร้าก็จะเลื่อนขึ้นมาทดแทนเซลล์ที่หลุดออกไป ชั้นหนังกำพร้ามีหน้าที่ในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ด้วยการควบคุมการขับเหงื่อเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายออกมาในขณะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูง ทำหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากสารพิษ แสงแดด สารเคมีและเชื้อแบคทีเรียไม่ให้เข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง และการสูญเสียน้ำ และทำหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกายทางเหงื่ออีกด้วย นอกจากนั้นผิวหนังยังเป็นช่องที่ทางที่ช่วยในการดูดซึมยาและวิตามินบางชนิดเข้าสู่ร่างกายได้อีกด้วย เช่น วิตามินดีที่มีอยู่แสงแดด เป็นต้น

2. หนังแท้ ( Dermis )

เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่างถัดจากชั้นหนังกำพร้าและอยู่ตรงกลางระหว่างชั้นหนังกำพร้า ( Epidermis ) และชั้นใต้ผิวหนัง ( Subcutaneous Tissue ) ชั้นหนังแท้จะมีขนาดที่หนากว่าชั้นหนังกำพร้ามาก มีหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดของเหงื่อและไขมันที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง ปกป้องอวัยวะที่อยู่ภายในของร่างกาย เป็นแหล่งสร้างพลังงานและอาหารให้กับชั้นหนังกำพร้าและทำหน้าที่ร่วมกับชั้นหนังกำพร้าในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่อีกด้วย ชั้นหนังแท้ประกอบด้วยโปรตีนหลักอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ คอลลาเจน ( Collagen ) และอีลาสติค ( Elastic ) หน้าที่ช่วยสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง ช่วยในการซ่อมแซมผิวหนังที่มีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้น     

3. ชั้นใต้ผิวหนัง ( Subcutaneous Tissue ) หรือ ชั้นไขมัน ( Subcutaneous )

เป็นชั้นผิวหนังที่อยู่ในสุดของร่างกายอยู่ติดกับอวัยวะภายในและชั้นหนังแท้ ชั้นใต้ผิวหนังประกอบด้วยเซลล์ไขมันเป็นจำนวนมากเรียกว่าส่วนประกอบหลักของชั้นนี้เป็นไขมันแทบทั้งหมด ขนาดความหนาของชั้นนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันของแต่ละคน ชั้นใต้ผิวหนังมีหน้าที่รักษาและสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายฉนวนที่ช่วยกันความร้อนและช่วยลดแรงกระทบกระเทือนจากภายนอกสู่อวัยวะภายในร่างกาย ชั้นใต้ผิวหนังบนใบหน้าจะมีความหนามากอยู่ที่บริเวณแก้ม คาง โดยเฉพาะบริเวณคาง ซึ่งเมื่อเรามีน้ำหนักตัวสูงแล้วไขมันก็จะสะสมอยู่ที่บริเวณนี้มากกว่าส่วนอื่น จึงเกิดลักษณะแก้มป่อง เกิดเหนียงใต้คางหย่อนออกมาเป็นชั้น ๆ

วิธีดูแลผิวสำหรับผู้หญิง

1. เลือกครีมบำรุงผิวที่มีคุณสมบัติช่วยซ่อมแซมผิว ลดริ้วรอย ลดจุดด่างดำ และป้องกันสิว
2. ควรใช้ครีมกันแดดที่ปลอดภัยจากสารต่างๆ มีค่า SPF 30 ขึ้นไป และต้องเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่สามารถทาได้ทุกวัน เพื่อป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต (UV) อาจเป็นสารก่อมะเร็งผิวหนังได้
3. ควรขัดผิวเบาๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อผลัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายออกไปกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ และยังช่วยให้ผิวเรียบเนียนยิ่งขึ้น
4. ควรดูแลเรื่องการขับถ่ายที่สม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายขับของเสียออกไปทุกวัน ทำให้มีผิวพรรณที่สดใส หน้าดูเด็กลง ลดการเกิดสิวได้เป็นอย่างดี
5. ควรเสริมด้วยคอลลาเจน เพราะคอลลาเจนเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เสริมสร้างกระดูก ผิวหนัง ผม กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และช่วยให้ผิวที่หย่อนคล้อยของเรากลับมาดูสดใส เปล่งปลั่ง แลดูอ่อนเยาว์อีกด้วย
6. ควรปรับสมดุลแบคทีเรียไมโครไบโอม (Microbiome) ที่ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์
ผิวหนังของคุณ

https://www.youtube.com/watch?v=yjUOmUOs01c

สาเหตุที่ทำให้ใบหน้าของเราแก่หรือเซลล์บนใบหน้าเกิดความเสื่อม

1. พันธุกรรม

ลักษณะทางพันธุกรรมหรือยีนส์เป็นสิ่งที่ส่งต่อมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งยีนส์จะบ่งบอกถึงลักษณะของทุกสิ่งทุกอย่างของร่างกายว่าจะต้องมีรูปร่าง สูง ต่ำ อ้วน ผอม ผิวขาว ผิวดำ รวมถึงลักษณะของผิวพรรณและใบหน้าด้วยว่าจะมีลักษณะ อ่อนเยาว์ หรือว่าแก่เร็วกว่าปกติ ก็ขึ้นอยู่กับยีนส์ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังที่อยู่บนใบหน้า

2. แสงแดด

แสงแดดประกอบไปด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี 3 ประเภท คือ รังสีอัลตราไวโอเลตเอ ( UVA ) รังสีอัลตราไวโอเลตบี ( UVB ) และรังสีอัลตราไวโอเลตซี ( UVC ) ซึ่งรังสีอัลตราไวโอเลตซีที่มีผลต่อความแกของใบหน้าคือ
รังสีอัลตราไวโอเลตเอและรังสีอัลตราไวโอเลตบี รังสีอัลตราไวโอเลตจะซึมผ่านเข้าสู่ภายในของชั้นผิวหนังและเข้าไปกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระภายในร่างกาย ส่งผลให้อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผิวหน้าดูหยาบกร้าน มีริ้วรอยเหี่ยวย่น

3. ความเครียด

ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ใบหน้าดูแก่ก่อนวัย เพราะเวลาที่เรามีความเครียดเกิดขึ้นร่างกายจะมีการสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล ( cortisol ) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่อยู่ในกลุ่มของสเตียรอยด์ออกมามากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้มีหน้าที่ในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด โดยการกระตุ้นการทำงานของตับไกลโคเจนให้เป็นน้ำตาลเข้ามาในกระแสเลือดในสภาวะที่ร่างกายขาดน้ำตาลหรือเวลาที่สมองต้องใช้พลังงานสูงมาก ๆ ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันทำให้มีการขับไขมันออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของไขมันอุดตันตามรูขุมขน สิว อาการหน้ามันและเพิ่มการสะสมไขมันที่บริเวณใบหน้าทำให้หน้ากลม มีเหนียงที่คอยื่นออกมาอีกด้วย นอกจากนั้นฮอร์โมนคอร์ติซอลยังสามารถเข้าไปทำลายโปรตีนคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิว จนเป็นที่มาของริ้วรอยก่อนวัย

4. สูบบุหรี่

บุหรี่เต็มไปด้วยสารพิษมากกว่า 4,000 ชนิด สารพิษเหล่านี้จัดเป็นอนุมูลอิสระที่ยอดเยี่ยมสามารถทำลายเซลล์ผิวหนังอย่างได้ผล เพราะสามารถทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ( Oxidation ) กับผนังและดีเอ็นเอของเซลล์จนเซลล์เสื่อมสภาพ หรืออาจกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนั้นในขณะที่ทำการสูบบุหรี่เส้นเลือดจะมีการหดตัว ทำให้เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายรวมถึงผิวหนังบนใบหน้าด้วย ทำให้คอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวอ่อนแอและเสื่อมสภาพจนทำให้ใบหน้าดูแก่ขึ้น

5. ดื่มน้ำน้อย

น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิต เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบหลักของเลือด ถ้าร่างกายขาดน้ำอาจทำให้ถึงตายได้ เพราะน้ำมีหน้าที่ในการขจัดของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยสร้างออกซิเจนและลำเลียงสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควบคุมและรักษาอุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่างของร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล ดังนั้นถ้าเซลล์ได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอเซลล์จะอ่อนแอและมีเกิดการเหี่ยวย่น ซึ่งทำให้ใบหน้าดูหยาบกร้าน ไม่เรียบเนียนดูแก่ขึ้น

6. พักผ่อนน้อย

การนอนเป็นการพักผ่อนที่ดีสุดของร่างกาย เพราะว่าเวลาที่เรานอนร่างกายจะสร้างผลิตไซโตไคน์ ( Cytokines ) และแอนติบอดี้ ( Anti-Body ) ที่มีหน้าที่ช่วยต่อต้านเชื้อโรค รวมถึงต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรงปราศจากโรค ดังนั้นถ้าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอหรือนอนน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการแล้ว ภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะแข็งแรงส่งผลให้ร่างกายไม่เจ็บป่วย นอกจากนั้นการนอนน้อยคนที่นอนน้อยยังมีโอกาสที่หน้าจะแก่เร็วอีกด้วย เพราะว่าเมื่อเรานอนไม่พอร่างกายจะทำการสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล ( Cortisol ) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียดเช่นเดียวกับเวลาที่เราเครียด ออกมาทำลายคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิว และอีกอย่างคือช่วงเวลาการนอนร่างกายจะทำการสร้างโกรทฮอร์โมนออกมาเพื่อซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังให้มีสภาพแข็งแรง แต่ถ้าเรานอนพักผ่อนไม่เพียงพอหรือนอนอย่างไม่มีคุณภาพแล้ว ร่างกายก็จะไม่สร้างโกรทฮอร์โมนจึงทำให้ไม่มีการซ่อมแซมเซลล์ใต้ผิวหนัง และไม่มีการสร้างคอลลาเจนขึ้นใหม่ ทำให้ผิวหน้าขาดความชุ่มชื่น ยืดหยุ่นจนเป็นสาเหตุให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ความหมองคล้ำ ผิวหยาบกร้านกับผิว ทำให้ใบหน้าแลดูแก่ก่อนวัย

7. ขาดสารอาหาร

คนเราแม้มีรูปร่างที่สูงใหญ่ก็ใช่ว่าร่างกายจะแข็งแรงได้รับสารอาหารครบถ้วน แต่เนื่องจากร่างกายยังอยู่ในช่วงที่ระบบการฟื้นฟูและซ่อมแซมยังทำงานได้มีประสิทธิภาพดีอยู่ร่างกายจึงยังไม่เกิดอาการเจ็บป่วย แต่ถ้าร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายไปทีละน้อยเรื่อย ๆ ก็จะส่งผลให้ระบบการทำงานภายในเกิดความผิดปกติขึ้น ซึ่งในช่วงแรกความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลต่อการทำงานของร่างกายในภาพรวม แต่เมื่อมีการขาดสารอาหารไปเรื่อย ๆ จนความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วย เกิดความเสื่อม รวมถึงความเสื่อมของผิวหนังบนใบหน้าของเราด้วย ซึ่งความเสื่อมของระบบการทำงาน เช่น ระบบการผลิตคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิว การขจัดของเสียออกจากร่างกาย ส่งผลให้ใบหน้าเหี่ยวย่น มีสิ่งสกปรกตกค้างเป็นที่มาของปัญหาด้านผิวพรรณ ผิวหน้าจึงหม่นหมองตามมา

มาร์คหน้าทำเองง่ายๆ ด้วยวิธีมาร์คหน้าธรรมชาติ

1. มาร์คหน้าลดสิว

สูตรมาร์คหน้า : ข้าวโอ๊ต 1 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำเปล่า 1/2 ช้อนชา ผสมให้เข้ากัน ทาให้ทั่วใบหน้าทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วนวดเบาๆ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ช่วยลดการอักเสบของผิวได้

2. มาร์คหน้าขาว และมาร์คหน้าใส

สูตรมาร์คหน้า :โยเกิร์ตรสธรรมชาติ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำมันงาเล็กน้อย พอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ช่วยให้หน้าขาวเนียนใส

3. มาร์คหน้าด้วยโคลน

สูตรมาร์คหน้า : นำโคลนผง 2 ช้อนโต๊ะ มาผสมกับขมิ้นผง 1 ช้อนชา แล้วเติมน้ำแร่ลงไปเล็กน้อยผสมให้เข้ากัน พอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

4. มาร์คหน้าด้วยไข่ขาว

สูตรมาร์คหน้า : ไข่ขาว 1 ฟอง อะโวคาโดบด 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ ปั่นจนเนียนพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ช่วยลดรอยดำรอยแดงที่เกิดจากสิว ดีท็อกซ์ผิวหน้าให้กระจ่างใสไร้สารพิษตกค้าง   

5. มาร์คหน้าด้วยโยเกิร์ต

สูตรมาร์คหน้า :โยเกิร์ตรสธรรมชาติ 1/4 ถ้วย น้ำมันมะกอก 1/2 ช้อนชา อะโวคาโดบด 2 ช้อนโต๊ะ กลีบดอกดาวเรือง 1 ช้อนชา บดให้เข้ากันทาหน้าทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วล้างออก น้ำมันอะโวคาโดช่วยเพิ่มปริมาณคอลลาเจนในผิว มีวิตามินที่ให้ความชุ่มชื้น

6. มาร์คหน้าด้วยมะขามเปียก

สูตรมาร์คหน้า : ใช้มะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะและน้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ ผสมเข้าด้วยกัน นวดสครับเบาๆ ประมาณ 5 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วทำการล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่เราใช้เป็นปกติ
5.มาร์คหน้าแตงกวา
สูตรมาร์คหน้า : แตงกวาปั่น 4 ช้อนโต๊ะ ผงโกโก้ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากับเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้มาส์กหน้าทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 10 นาที ล้างออกด้วยน้ำอุ่น

7. มาร์คหน้าด้วยน้ำผึ้ง

สูตรมาร์คหน้า : น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนชา อะโวคาโดบด 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันลาเวนเดอร์ 2 หยด ใช้มาส์กหน้าทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 10 นาที ล้างออก

8. มาร์คมะเขือเทศ

สูตรมาร์คหน้า : บดมะเขือเทศผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย พอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ช่วยลดผิวแห้งกรานเพิ่มความชุ่มชื้น

ในปัจจุบันทางการแพทย์ที่เน้นการสร้างสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี ระบบการทำงานของร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกระบวนการสร้างคอลลาเจนและการขจัดสารที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ภายในร่างกาย ที่สามารถทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงและคงใบหน้าให้ดูเยาว์วัยได้อีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

คลิปความรู้ และสาระ ของ หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

wikipedia.org

Japsen, Bruce (15 June 2009). “AMA report questions science behind using hormones as anti-aging treatment”. The Chicago Tribune. Retrieved 17 July 2009.

Stampfer, M., Hu, F., Manson, J., Rimm, E., Willett, W. (2000) Primary prevention of coronary heart disease in women through diet and lifestyle. The New England Journal of Medicine, 343 (1) , 16-23. Retrieved October 5, 2006, from ProQuest database.

วิธีเลือกครีมกันแดดที่เหมาะสมกับสภาพผิว ( Sunscreen )

0
วิธีเลือกครีมกันแดดที่เหมาะสมกับสภาพผิว (Sunscreen)
ครีมกันแดด ช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีเอ และยูวีบี ให้เราห่างไกลจากมะเร็งผิวหนัง ฝ้า กระ และอาการผิวไหม้
วิธีเลือกครีมกันแดดที่เหมาะสมกับสภาพผิว (Sunscreen)
ครีมกันแดด ช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีเอ และยูวีบี ให้เราห่างไกลจากมะเร็งผิวหนัง ฝ้า กระ และอาการผิวไหม้

ครีมกันแดด ( Sunscreen )

ครีมกันแดด ( Sunscreen ) หรืออาจเรียกง่าย ๆ ว่ายาทากันแดด ( ซึ่งส่วนมากเป็นครีม ) ในอดีตที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนให้รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายโดยแพทย์โรคผิวหนังบางกลุ่ม และสถาบันการแพทย์ที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งผิวหนังเป็นผู้แนะนำ 

คำว่า Sunscreen หมายถึงสารที่ใช้ทาบนผิวหนัง มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันผิวหนังจากการถูกแสงอาทิตย์ทำอันตรายในภาษาเครื่องสำอางมักจะเรียกว่า ครีมกันแดด ( Sunscreen )

Sunblock (ซันบล็อก) หมายถึงครีมที่ขัดขวางแสงแดด คือ ครีมกันแดด ( Sunscreen )อีกแบบหนึ่ง ซึ่งไม่ใช้สารเคมีเพื่อทำหน้าที่ในการดูดซับรังสียูวีเอาไว้ แต่ใช้วิธีสะท้อนรังสียูวีกลับออกไป ดังนั้น Sunblock จึงเป็น Physical Sunscreen เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้สารเคมีง่าย แต่เวลาทาจะดูเป็นคราบขาว ๆ มองดูเหมือนของราคาถูก

โดยปกติทั่ว ๆ ไป คำว่า Sunblock ใช้ความหมายเดียวกับ Sunscreen ได้และหลัง ค.ศ.2002 FDA ( อย.ของอเมริกา ) ออกระเบียบใหม่ทุกอย่างโดยให้เรียก Sunscreen เพียงคำเดียว

ประโยชน์ของ ครีมกันแดด ( Sunscreen )

ถ้าเราใช้ ครีมกันแดด ( Sunscreen ) อย่างถูกวิธี สามารถทำประโยชน์ได้ดังนี้คือ

  • ป้องกันผิวไหม้เกรียมจากแสงแดด (Sunburn) ซึ่งรังสี UVB (ยูวีบี) ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญ
  • ป้องกันผิวเสียจากแสงแดด (Photodamaged Skin) ที่สำคัญคือการเกิดริ้วรอยถาวร (Wrinkle) ผิวดูเหมือนคนแก่ (Aged Look) เป็นต้น
  • ป้องกันเนื้องอกของเซลล์บริเวณชั้นหนังกำพร้า (Squamous Cell Cancers)
  • ครีมกันแดดที่ดีต้องป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอ (UVA) และยูวีบี (UVB) แต่ครีมกันแดดที่ขายทั่วไปจะป้องกันได้แต่ UVB ซึ่งเป็นรังสีที่ทำให้เกิดผิวหนังไหม้ Sunburn

มีตัวยาเพียง 3 ชนิด ที่ได้รับคำรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่าสามารถป้องกันรังสี ยูวีเอได้ คือ ไททาเนียม ไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) สังกะสีออกไซด์ (Zinc Oxide) และอโวเบนโซน (Avobenzone) หรือ Parsol 1789 ถ้าซื้อยากันแดดแล้วผู้ขายอ้างว่าป้องกันรังสียูวีได้ทั้งหมด ท่านต้องดูสูตรของครีมเสียก่อนว่ามีตัวยา 3 ตัวนี้หรือไม่ ถ้ามีเพียงตัวใดตัวหนึ่งก็ถือว่าเป็นของจริง สามารถซื้อใช้ได้

เวลาซื้อยากันแดด ครีมกันแดด ( Sunscreen ) ต้องดูวันผลิต (Mfd Date) และวันหมดอายุด้วย (Exp. Date) มักพิมพ์ไว้ที่ข้างขวดหรือก้นขวด เพราะประสิทธิภาพของการป้องกันรังสียูวีจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไปหรืออายุของยา แนะนำให้ซื้อใช้ที่ผลิตไม่เกิน 1 ปี เพราะอายุของครีมกันแดดจะสั้นมาก (Short Shelf Life) อย่าซื้อมาเก็บตุนไว้ เพราะอาจจะใช้ไม่ทัน 

FDA (คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา – Food and Drug Administration) กำหนดให้ยากันแดดต้องมีอายุถึง 3 ปี นับจากวันผลิตและอนุญาตให้จำหน่ายโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ วันผลิตต้องแสดงให้ปรากฏ แต่วันหมดอายุไม่ต้องพิมพ์ลงไปก็ได้ ซึ่งจะถือว่า 3 ปีหมดอายุ อย่างไรก็ดีไม่แนะนำให้ท่านซื้อครีมกันแดดอายุนานเกิน 1 ปี นับจากวันผลิต
ครีมกันแดด ( Sunscreen ) มี 2 แบบ เพราะใช้ 2 วิธี ในการกั้นแสงยูวี

Sunscreen แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ

ครีมกันแดดชนิดดูดซึมรังสียูวี ( Absorber Sunscreen )

โดยสารเคมีที่เป็นตัวผสมสำคัญของครีมจะดูดซึมรังสียูวีโดยปฏิกิริยาเคมีไว้ไม่ให้ผ่านเลยไปทำอันตรายต่อผิวหนังได้ ตัวอย่างคือตัวครีม Oxybenzone จัดว่าเป็น Chemical Sunscreen

ครีมกันแดดชนิดสะท้อนรังสียูวีกลับไป ( Reflector Sunscreen )

คือสารเคมีที่อยู่ในครีมจะทำหน้าที่เหมือนกระจกสะท้อนรังสียูวีกลับทำให้ไม่มีรังสีเหลือผ่านเลยไปทำลายผิวหนัง ตัวยาสำคัญคือ ไททาเนียม ไดออกไซด์ ( Titanium Dioxide ) ซึ่งใช้ป้องกันรังสียูวีเอ ( UVA ) ได้ด้วยจัดว่าเป็น Physical Sunscreen, Titanium Dioxide ( ไททาเนียม ไดออกไซด์ ) นี้เมื่อทาหน้าจะทำให้ผิวขาวโพลนชนิดขาวไม่สวย คือ ขาววอก เหมือนหน้าลิเก ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่จึงทำเป็นผงละเอียดขึ้น ( Microfined Particle ) จนไม่ทำให้หน้าดูขาวมากเกินไป ครีมกันแดดชนิดหลังนี้มีจำหน่ายในเมืองไทยแล้ว

น้ำยาทาผิวสีแทน ( Suntan Lotion ) ไม่กันแดด

ครีมกันแดด ( Sunscreen ) รุ่นใหม่ๆ สามารถช่วยชะลอความแก่ของผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยป้องกันไม่ให้รังสียูวีมาทำลายผิวหนังและคอลลาเจนได้ ในอดีตเคยนิยมใช้โลชั่นทาผิวสีแทน ( Suntan Lotion ) ทาเพื่อกันแดด ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่ได้ป้องกันรังสียูวีแต่อย่างใดเลย หลงใช้กันมานาน ยิ่งเมื่อเวลานอนอาบแดดตามชายหาด ผลก็คือคนรุ่นเก่าทั้งหลายซึ่งเป็นผู้สูงอายุขณะนี้ ต้องประสบปัญหาผิวเสียจากแสงแดด ( Skin Photodamage ) อยู่ในปัจจุบันจำนวนมาก 

ครีมกันแดดเพื่อใช้กับผู้ว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ

ครีมกันแดด ( Sunscreen ) รุ่นล่าสุดมีตั้งแต่เป็นเจลอ่อน ๆ ( Ligh Gel ) ไว้ใช้ทาผิวเพื่อไปทำงานได้ทุกวัน ไปจนถึงชนิดครีมเหนียวเหนอะป้องกันน้ำได้ (Waterproof Cream) ใช้ทาตัวตอนอาบน้ำในสระว่ายน้ำ

คำว่า “ป้องกันน้ำ” ( Waterproof ) จะทาตัวเวลาเล่นน้ำในสระอยู่ได้นานกว่าชนิด “ทนน้ำ” ( Water Resistant )

ปัจจุบันคำว่า Waterproof ( กันน้ำ ) ทาง FDA ( อาหารและยา ) ของประเทศสหรัฐอเมริกาห้ามใช้โฆษณาบนฉลาก ตั้งแต่ ค.ศ.2002 ( พ.ศ.2545 ) เป็นต้นมา

ค่ากันแดด ( Sun Protection Factor )

SPF ( เอส พี เอฟ ) เป็นคำย่อของ Sun Protection Factor ( ค่ากันแดด ) ซึ่งจะต้องตามด้วยตัวเลข เช่น SPF 15 โดยตัวเลขที่ตามคำว่า SPF หมายถึง ระดับความสามารถของ ครีมกันแดด ( Sunscreen ) ที่จะปกป้องผิวอันเกิดจากการทำลายของแสงแดดที่มีรังสียูวี นั่นคือถ้าตัวเลขสูงย่อมป้องกันผิวหนังจากแสงแดดได้เหนือกว่าคือนานกว่า เช่น SPF 40 ( เอส พี เอฟ สี่สิบ ) ย่อมแรงกว่า SPF 15 เป็นต้น เนื่องจากศัตรูอันดับหนึ่งของผิวสวย คือ แสงแดด ( ควรจะอยู่ตั้งแต่อันดับ 1 ถึงศัตรูอันดับ 10 คือเหมาทั้งหมดเลย )

ความรู้เรื่อง ค่ากันแดด (SPF) ที่คุณผู้หญิงควรจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ

ทำไมแสงแดดจึงสามารถทำอันตรายต่อผิวหนังได้?
ที่ใดที่มีแสงแดด ไม่ว่าจะส่องแสงแรงจ้าหรือมืดครึ้มเพราะเมฆหมอกมาบดบังก็ตาม จะต้องมีรังสียูวี ( UV Radiation ) ร่วมมาด้วยเสมอเพราะทั้งรังสียูวีเอและรังสียูวีบี ถึงแม้ตาเปล่าจะมองไม่เห็นแต่มันก็เป็นส่วนประกอบที่มากับแสง ( Light ) ซึ่งแผ่มาจากดวงอาทิตย์

ผู้ที่ปีนเขาอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล หรือแม้แต่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจะได้รับรังสียูวีที่แรงมาก เครื่องสำอางที่ใช้จะต้องมีสารกันแดดผสมในความเข้มข้นสูงอยู่ด้วย

รังสียูวีเป็นพลังงาน ( Energy ) มาในรูปของคลี่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagentic Wavelength ) ที่ความถี่ระหว่าง 200 – 400 mm. ( นาโนมิเตอร์ ) พลังงานดังกล่าวทำให้รังสียูวี ( UV ) สามารถทะลุผ่านผิวหนัง เมื่อทะลวงแนวป้องกัน ( Barrier ) ของผิวหนังกำพร้า ( Epidermis ) สามารถทำอันตรายให้กับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายในได้ มากน้อยขึ้นกับขนาดของพลังงานหรือความแน่นของรังสียูวี

รังสียูวี ( UV Ray ) ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ( Free Radical ) ซึ่งจะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ ( Cell Membrane ) ชำรุด ผิวหนังอักเสบแดง ( Sunburn ) และมากพอที่ DNA ( ดี เอน เอ ) ซึ่งเป็นรหัสพันธุกรรมเหมือนพิมพ์เขียวของเซลล์ ( Cell Blueprint ) เสียหาย จนเซลล์ที่บาดเจ็บทำงานผิดเพี้ยน แบ่งตัวไม่เป็นระเบียบก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งขึ้น โปรตีนคอลลาเจนและ อีลาสตินซึ่งเป็นเนื้อเยื่ออยู่ในชั้นหนังแท้ทับซ้อนกันเป็นโครงสร้างมีหน้าที่ช่วยให้ผิวหนังตึงและแข็งแรง เหมือนหมอนที่อัดนุ่น ( นุ่นเปรียบเป็นคอลลาเจน ) หมอนก็จะดูแน่นน่านอน ถ้าคอลลาเจนเสื่อมสภาพกระด้างขาดความยืดหยุ่นเนื่องจากรังสียูวีทำอันตราย ใบหน้าจึงเกิดริ้วรอยถาวร ( Face Wrinkle )

วิตามิน ดี ( Vitanin D ) ขาด ยากที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย
การทา ครีมกันแดด ( Sunscreen ) ที่มีคุณภาพเหมาะสมสามารถป้องกันศัตรูอันดับ 1 ถึง 10 ของผิวหนังคือ แสงแดดได้ แพทย์โรคผิวหนังทราบดีว่าควรป้องกันผิวหนังจากแสงแดดให้ได้ตั้งแต่วัยเด็ก และสร้างนิสัยความกลัวแดดเอาไว้ด้วย ซึ่งเป็นการถนอมผิวที่ดีที่สุดในโลกอนาคต

วิตามิน ดี ( Vitamin D ) เป็นสิ่งซึ่งร่างกายสร้างขึ้นมาจากผิวหนังเมื่อถูกแสงแดด เพื่อไว้ป้องกันโรคกระดูกอ่อน การจะขาดวิตามิน ดี เพราะไม่ถูกแสงแดดนั้นเกิดขึ้นได้ยาก เป็นปัญหาของประเทศเมืองหนาวไม่ใช่ประเทศไทย

ความหมายของตัวเลขที่ตามหลังค่า SPF ( เอส พี เอฟ ) คืออะไร

นักวิทยาศาสตร์ออสเตรียชื่อ ฟรานซ์ กรีทเตอ ( Franz Greiter ) เป็นคนแรกที่เสนอความคิด เรื่องการกำหนดค่ากันแดด ( SPF ) ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับอย่างพร้อมเพรียงกันจากกลุ่มบริษัทเครื่องสำอาง, กลุ่มอุตสาหกรรมยา, รวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ

ตัวเลขที่ปรากฏอยู่หลังคำว่า SPF คือ จำนวนเท่าของระยะเวลาที่ผิวหนังซึ่งถูกทาด้วย ครีมกันแดด ( Sunscreen ) ชนิดหนึ่งจะทนแดดอยู่ได้ เมื่อเปรียบเทียบกันกับผิวหนังที่ไม่ได้ทาครีมกันแดดใด ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าไม่ทาครีมกันแดด ผิวหนังนั้นเมื่อถูกแสงแดดจะใช้เวลา 10 นาที จึงเกิดอาการแดงขึ้น (Erythema หรือ Sunburn) แต่ถ้าทาครีมกันแดดชนิดหนึ่งแล้วพบว่าผิวหนังนั้นทนได้นาน 150 นาที ผิวหนังถึงจะปรากฏอาการแดงแบบ Sunburn เช่นเดียวกัน คือถ้าทาครีมทำให้อยู่นานกลางแดดเป็น 15 เท่า จาก 10 นาทีผิวจะแดงมาเป็น 150 นาที ผิวถึงจะแดงเพราะครีมกันแดดช่วยป้องกันไว้ ดังนั้น ค่า SPF ( เอส พี เอฟ ) ของครีมกันแดดชนิดนั้นจึงเป็น SPF 15 ( ได้มาจาก 150 นาที หารด้วย 10 นาที เท่ากับ 15 ) 

ค่า SPF ใช้กับรังสียูวีบี ( UVB ) ไม่เกี่ยวกับรังสี ยูวีเอ ( UVA )

จะเห็นได้ว่าการคำนวณค่าของ SPF เราพูดถึงระยะเวลาที่ผิวแดงเกิดขึ้น (Erythema หรือ Sunburn) เอามาเป็นตัวชี้ ซึ่ง Sunburn เป็นการรบกวนของรังสียูวีบี (UVB) ที่กระทำต่อผิวหนังไม่ใช่ UV ชนิด เอ (A) หรือ ซี (C)

รังสียูวีบี ( UVB ) คือรังสี Ultraviolet ชนิด B ( บี ) โดยคำว่า B ที่ตามท้าย UV หมายถึง Burn ( ไหม้เกรียม )

เมื่อพูดถึงค่า SPF 15 หรือค่า SPF 40 เราไม่ได้หมายถึงการป้องกันรังสี UVA ดังนั้น เมื่อจะเลือกซื้อ ครีมกันแดด ( Sunscreen ) จึงต้องอ่านฉลากให้แน่ใจเสียก่อนว่ามีสารสังกะสีออกไซค์ (Zinc Oxide) ไททาเนียม ไดออกไซด์ หรือ อโวเบนโซน (Avobenzone) อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ด้วย จึงจะถือว่าป้องกันรังสียูวีได้ครอบคลุมทั้งหมดคือป้องกันทั้งรังสี UVA , UVB และ UBC จากดวงอาทิตย์ไม่ค่อยส่องมาถึงโลกโดยเฉพาะเมื่อเราอยู่ในประเทศไทย เพราะชั้นโอโซนในบรรยากาศเหนือประเทศไทยหนาแน่นกว่าบนท้องฟ้าของประเทศอังกฤษและประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งมีชั้นโอโซนที่บางมาก

ข้อควรทราบ วิธีใช้ ครีมกันแดด ( Sunscreen ) ที่บอกค่า SPF

SPF หรือค่ากันแดด Sun Protection Factor มีตัวเลขห้อยท้าย ที่แสดงถึงประสิทธิภาพของ ครีมกันแดด ( Sunscreen ) ในการป้องกันรังสียูวีบี แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับรังสียูวีเอแต่อย่างใด

รังสียูวีเอ UVA มีอันตรายมากกว่ารังสียูวีบี UVB  เพราะมันเจาะทะลุผิวหนังได้ลึกมากกว่า ก่อนซื้อจึงควรตรวจดูให้แน่ใจก่อนว่ามีตัวยาป้องกันรังสียูวีเอผสมอยู่ด้วยซึ่งได้แก่ Zinc Oxide หรือ Titaninu Dioxide หรือ Avob enzone ตัวใดตัวหนึ่งตามมาตรฐานของประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ให้เป็นกฎไว้เลยว่าเพื่อให้ได้ผลสมบูรณ์ ต้องทาขนาด 2 มิลลิกรัมของครีมต่อพื้นที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตร แต่ตามความเป็นจริงจากผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้เกือบทุกรายที่ทำวิจัยมักจะทาครีมกันแดดปริมาณเพียงครึ่งเดียวของคำแนะนำ

ข้อแนะนำของสถาบันโรคผิวหนังเกือบทุกประเทศทั่วโลก คือ ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ ครีมกันแดด ( Sunscreen ) ที่มีค่า SPF 15 หรือมากกว่าและต้องมีสารป้องกันรังสียูวีเอ UVA ผสมอยู่ด้วย
หลังจากการอาบน้ำหรือว่ายน้ำ เล่นกีฬาเหงื่อออกมากควรทาครีมกันแดดเพิ่มขึ้นอีก ถึงแม้ในสภาวะอากาศมืดครึ้ม ก็ต้องใช้ครีมกันแดดเพราะรังสียูวีจะผ่านมาถึงโลกได้ในตอนกลางวันตลอดเวลา ถึงจะไม่เห็นแสงแดดก็ตาม ควรสวมหมวกปีกกว้างเวลาออกไปกลางแจ้ง เลือกใช้แว่นตากันแดดชนิด Anti UV คือป้องกันรังสียูวีได้ เสื้อผ้าชนิดทอเนื้อแน่นแสงแดดจะไม่ทะลุ โดยเฉพาะกลุ่มที่ตีกอล์ฟ ถ้าประมาทไม่ระวังเรื่องแสงแดดพออายุประมาณ 40 ปี ผิวหนังจะทรุดโทรมเร็วมากและถ้าเผอิญเล่นแพ้บ่อย ๆ จะดูหน้าแก่และมีริ้วรอยถาวรขึ้นง่ายอีกด้วย 

ควรหลบแดดระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 16.00 น. เพราะชั้นบรรยากาศจะกรองรังสียูวีได้น้อยมากกว่าเวลาอื่น ๆ (คือรังสียูวีตอนนี้มีความเข้มข้นมาก) ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ทา ครีมกันแดด ( Sunscreen ) หนา ๆ ไว้โดยเฉพาะบริเวณปลายจมูกให้ทามากเป็นพิเศษ มิฉะนั้นอาจจะเสียโฉม

อย่าปล่อยเด็กซึ่งเป็นลูกหลานของท่านถูกแสงแดดจัด ๆ โดยป้องกันไม่เพียงพอ รังสียูวีที่ทำลายผิวหนังถึงแม้จะได้รับทีละเล็กละน้อย แต่สามารถสะสมจนภายหลังอาจเกิดเป็นมะเร็งผิวหนังได้เมื่อตอนโตเป็นผู้ใหญ่ หัดให้เด็กรู้จักทาครีมกันแดดเวลาออกไปเล่นกีฬากลางแจ้งจนติดเป็นนิสัย

ผลการวิจัยจากสถาบันบางแห่งรายงานว่า ผู้บริโภคเกือบทุกคนมักทา ครีมกันแดด ( Sunscreen ) เพียงครึ่งเดียวจากที่ควรจะต้องใช้ แพทย์ผิวหนังซึ่งต้องการให้คนไข้ทาครีมที่มี SPF 15 จึงต้องใช้วิธีจ่ายยากันแดดที่มีค่า SPF 30

ไม่แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดชนิด SPF 45 หรือมากกว่า เพราะคุณอาจมีปัญหากับสารเคมีที่เข้มข้นมาก เกิดอันตรายได้การเลือกใช้ SPF 15 นับว่าเหมาะสม ขยันทาให้บ่อยขึ้นจะปลอดภัยกว่า ในประเทศญี่ปุ่นจะไม่มี ครีมกันแดด ( Sunscreen ) ที่มีค่าเกิน SPF 50 ออกมาวางจำหน่ายเลย

เสื้อผ้าของนักกอล์ฟอาชีพชาวต่างประเทศ มักนิยมใช้สารเคมีซันการ์ดบางชนิดเติมในเวลาซักล้างเสื้อผ้า ซึ่งสารเคมีดังกล่าวจะติดกับใยผ้า ทำหน้าที่ป้องกันแดดได้ถึง 96 เปอร์เซ็นต์ ไม่ยอมให้รังสียูวีผ่านเสื้อผ้ามาถึงผิวหนัง โดยวิธีดูดซึม Absorb เอาไว้ เมื่อออกไปกลางแดด อย่าลืมสวมแว่นตากันแดดที่กั้นรังสีความถี่ต่ำกว่า 400 nm ทุกครั้ง

ผ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษสามารถป้องกันแสงแดดได้มีจำหน่ายมานานหลายปีแล้ว ผู้ตัดสินกีฬาโอลิมปีกเกมส์ที่เมืองซิดนีย์ประเทศออสเตรเลียทุกคนสวมใส่ชุดกรรมการผู้ตัดสินที่ทอด้วยผ้าดังกล่าว ซึ่งช่วยป้องกันรังสียูวีได้ดี แต่ราคาในขณะนั้นแพงมาก ( ปัจจุบันราคาถูกลงกว่าเดิมถึง 3 เท่า แต่ก็ยังนับว่าแพงอยู่ )

FDA ( องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ) ออกกฎใหม่เกี่ยวกับยาทากันแดดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

นอกจากจะควบคุม ครีมกันแดด ( Sunscreen ) อย่างเข้มงวดแล้วค่า SPF ของเครื่องสำอางในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ถูกควบคุมโดยองค์การอาหารและยา FDA เช่นกัน

กฎใหม่เกี่ยวกับเครื่องสำอางจากประเทศสหรัฐอเมริกาประเภท ครีมกันแดด ( Sunscreen ) มีข้อความตอนหนึ่งว่า นับตั้งแต่ ค.ศ.2002 (พ.ศ.2545) เป็นต้นไป องค์การอาหารและยา (FDA เอฟ ดี เอ) ไม่อนุญาตให้ใช้คำที่ก่อให้เกิดความสับสนกับผู้บริโภคในครีมกันแดดคือ Sunblock ( ครีมกันแดดชนิดสะท้อนแสงกลับ Waterproof (กันน้ำ ) และ All-Day Protection ( ป้องกันได้ตลอดวันบนผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดหรือยากันแดด ( Sunscreen )

FDA ( เอฟ ดี เอ ) ของสหรัฐอเมริกามีข้อบังคับให้ติดคำเตือน ( Warning ) ไว้บนผลิตภัณฑ์ครีมทาผิวสีแทน ( Tanning Product ) ที่ไม่มีส่วนผสมของยากันแดด ดังนี้

“ผลิตภัณฑ์นี้ไม่มียากันแดด” ครีมกันแดด ( Sunscreen ) และไม่ป้องกันผิวไหม้จากแสงแดด การตากแดดบ่อย ๆ ขณะทาสีแทนเอาไว้ อาจก่อให้เกิดเนื้องอกของผิวหนัง ผิวหนังเหี่ยวแก่ Skin Aging และอันตรายอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ผิวหนังอาจไม่มีรอยไหม้ก็ตาม ( Sunburn ) ( จากประกาศของ FDA ประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ.2002 )

lll. Skincare and the Sun ( การทะนุถนอมผิวกับแสงแดด )
เอกสารข้างต้นค่อนข้างใหม่ล่าสุดมีอายุไม่เกิน 7 ปี เกือบทั้งสิ้นในทุกบทความ เพื่อให้ท่านได้มั่นใจและซาบซึ้งดีว่าแสงแดดคือศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของผิวหนัง ( Excessive Sun Light is the Skin’s Worst Enemy )

ถึงแม้ว่าผิวหนังจะเสียไป แต่ด้วยความสามารถของแพทย์ผิวหนังและแพทย์ศัลยกรรมตกแต่งของประเทศเรา ซึ่งเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกจะช่วยท่านแก้ไขลบรอยตำหนิได้โดยง่าย แต่อาจต้องใช้เงินจำนวนมาก รวมถึงระยะเวลาในการรักษาที่นานพอสมควร

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศ.ดร.น.พ. สมศักดิ์ วรคามิน. ผิวสวย (BEAUTY SECRET THE UNTOLD STORY) กรุงเทพ: 2539 – 2560 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) © Copy Right 1996, 2017.

ริตา, เกรียร์. อาหารขจัดอนุมูลอิสระ. กรุงเทพ: หมอชาวบ้าน,2551. 176 หน้า : 1.อาหาร-แง่สุขภาพ. 2.อนุมูลอิสระ. I.วูดเวิร์ด,โรเบิร์ต, II.พิสิฐ วงศ์วัฒนะ,ผู้แปล. III.ชื่อเรื่อง. 613.2 ISBN 978-974-04-5522-6.

ออกกำลังกายอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับคุณ

0
ออกแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล
การออกกำลังกาย คือ การที่เราเคลื่อนไหวร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อช่วยสร้างความทานของระบบไหลเวียนเลือดและปอด
ออกแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล
การออกกำลังกาย คือ การที่เราเคลื่อนไหวร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อช่วยสร้างความต้านทานของระบบไหลเวียนเลือดและปอด

ออกกำลังกาย

การออกแบบออกกำลังกายที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลนั้น เป็นหนึ่งในเวชศาสตร์ชะลอวัย หรือ วิทยาศาสตร์ว่าด้วยการชะลอความชรา ( Anti-Aging Medicine ) หรือ การยืดอายุ ซึ่งศึกษากระบวนการเพื่อการชะลอหรือย้อนกระบวนการของความแก่ชรา ดังนั้น การออกกำลังกายจึงถือเป็นหนึ่งในเวชศาสตร์ชะลอวัยด้วยนั่นเอง

การสร้างร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงนอกจากการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว การพักผ่อนให้เพียงพอแล้วการ ออกกำลังกาย ก็นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายของเราได้ การออกกำลังกาย คือ การที่เราเคลื่อนไหวร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อช่วยสร้างความทานของระบบไหลเวียนเลือดและปอด เพราะว่าเวลาออกกำลังกายร่างกายจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง จึงต้องทำการหายใจเข้าเพื่อเอา ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายมากกว่าในสภาวะปกติ เลือดที่ทำหน้าที่ในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย เมื่อร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้นเลือดจึงต้องมีทำการไหลเวียนเพิ่มขึ้นเพื่อนำออกซิเจนเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ การออกกำลังกายจึงเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นการออกกำลังกายยังเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อให้กล้ามเนื้อมีการยืดหดเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพกล้ามเนื้อของร่างกายให้แข็งแรง ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพดีมากขึ้นกว่าเดิม

การออกกำลังกายแบ่งออกเป็น 3 แบบ

เวชศาสตร์ชะลอวัยเป็นศาสตร์ที่ทำการศึกษาข้อมูลของร่างกายอย่างละเอียด โดยจะทำการตรวจทุกระบบของร่างกาย ทำการตรวจถึงระดับวิตามิน ระดับฮอร์โมน แร่ธาตุและสารอาหารที่มีอยู่ในร่างกายว่ามีปริมาณมากหรือน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ซึ่งการตรวจจะทำการตรวจในระดับสารชีวะโมเลกุลและสารพันธุกรรมของร่างกายที่สามารถบ่งบอกได้ถึงความบกพร่องและความขาดเกินของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งผลการตรวจนี่เองที่สามารถนำมาวิเคราะห์และออกแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลออกมาก ซึ่งระดับการออกกำลังกายจะแบบออกเป็น 3 แบบดังนี้

1. การออกกำลังกายระดับเบา ( Light-Intensity Activities ) เช่น การเดินช้า การว่ายน้ำช้า การทำสวน การทำกวาดบ้าน การล้างจาน การลำกะบี่กะบอง เป็นต้น ซึ่งการออกกำลังกายแบบนี้ควรออกติดต่อกัน 60 นาทีถึงจะดี หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 220 – อายุผู้ที่ออกกำลังกาย เช่น คนอายุ 30 ปี ออกกำลังกายแล้วมีการเต้นของหัวใจ (220-30) 190 ครั้งต่อนาที จัดว่าเป็นการออกกำลังอย่างเบา

2. การออกกำลังกายระดับปานกลาง ( Moderate-Intensity Activities ) เช่น การเดินเร็ว การว่ายน้ำอย่างต่อเนื่อง การเล่นเทสนิส การขัดพื้น การยกน้ำหนัก การเล่นบาสเก็ตบอล การเล่นวอลเลย์บอล การเล่นสควอช ซึ่งต้องเล่นต่อเนื่องอย่างน้อย 30-60 นาทีต่อหนึ่งครั้ง หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ ( 220-อายุ ) x 50 / 100 ถึง ( 220-อายุ ) x 70 / 100 เช่น คนอายุ 40 ปี ออกกำลังกายแบบนี้จะมีการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 90 ถึง 126 ครั้งต่อนาที

3. การออกกำลังกายระดับหนัก ( Vigorous-Intensity Activities ) เช่น การวิ่งจ็อกกิ่ง แข่งว่ายน้ำ ขี่จักยานขึ้นเขา ขี่จักรยานอยู่กับที่ ขี่จักรยานมากกว่า 16 กิโลเมตร เข้าฟิตเนส เต้นแอโรบิค โดยเล่นต่อเนื่อง 20-30 นาทีไม่หยุดพักเลยต่อครั้ง หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ ( 220-อายุ) x 70 / 100 ถึง ( 220-อายุ ) x 85 / 100 เช่น คนอายุ 40 ปี ออกกำลังกายแบบนี้จะมีการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 126 ถึง 153 ครั้งต่อนาที

การออกกำลังกายเป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย แต่ทำไมเรายังได้รับข่าวว่ามีผู้ที่เป็นลมหมดสติ ได้รับบาดเจ็บหรือแม้แต่เสียชีวิตเนื่องจากการออกกำลังกาย หรือแม้แต่ผลที่ได้รับของการออกกำลังในแต่ละบุคคลถึงออกมาไม่เหมือนกัน ทั้งที่ขั้นตอนและวิธีการออกกำลังกายที่ทำการปฏิบัติก็เหมือนกันทุกอย่าง แต่ทำไมผลที่ได้รับจึงไม่เหมือนกัน บางคนร่างกายแข็งแรง หน้าตาสดใส ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ดูอ่อนกว่าวัย รูปร่างสมส่วนมีกล้ามเนื้อที่สวยงาม แต่ทำไมบางคนผิวพรรณยังเหี่ยวย่น ร่างกายรู้สึกเหนื่อยโดยเฉพาะเวลาที่ออกกำลังกาย รูปร่างก็ไม่สมส่วนอย่างที่ต้องการ

ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าร่างกายของคนเราแต่ละคนมีระบบการทำงานของร่างกายที่แตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการบริโภคอาหาร การพักผ่อน การทำงานและพฤติกรรมประจำวันของแต่ละคนมีความต่างกัน ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายมีความผิดปกติที่ไม่เหมือนกัน ส่งผลให้สมดุลทางด้านโภชนาการ ฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายได้รับในแต่ละวันก็มีปริมาณที่ไม่เท่ากันตามไปด้วย หรือแม้แต่ลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมากจากบรรพบุรุษก็มีความต่างกัน ด้วยความต่างของระบบการเผาพลาญพลังงาน ระบบย่อยอาหาร ระบบการกำจัดของเสียออกจากร่างกายที่ทำงานจึงทำให้ผลของการ ออกกำลังกาย ในแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการแนะนำและออกแบบการออกกำลังกายที่มีลักษณะเฉพาะบุคคลออกมา เพื่อที่ผลของการออกกำลังกายที่เกิดขึ้นจะเข้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภายในร่างกาย ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีมากขึ้นกว่าเดิม

การออกกำลังกายไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ถือว่าเป็นตัวช่วยให้ร่างกายแข็งแรงทั้งสิ้น แต่ทว่าร่างกายของคนเราทุกคนไม่เหมือนกันไปทั้งหมด บางคนมีระบบการเผาผลาญพลังงานที่ดีมากไม่ว่าจะกินอาหารเข้าไปเท่าไหร่ก็สามารถเผาผลาญไปจนหมดไม่มีสะสมเป็นไขมันส่วนเกินของร่างกาย แต่บางคนมีระบบการเผาผลาญที่แย่มากหรือเนื่องจากพฤติกรรมการกินที่ส่งผลให้ระบบการเผาผลาญพลังงานมีการทำงานที่ผิดปกติ จึงไม่สามารถเผาผลาญอาหารที่กินเข้าไปออกมาใช้ในรูปของพลังงานเพื่อการดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ มีแต่ทำการเก็บสะสมอาหารไว้ในร่างกายจนกลายเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอัตราเมตาบลิซึม ซึ่งโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอัตราเมตาบอลิซึม เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันอุดตันในเลือดหรือไขมันในเส้นเลือดมีปริมาณสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน และโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดที่บริเวณหัวใจ ที่เกิดเนื่องจากการทำงานของระบบที่มีหน้าที่ในการการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ( Insulin ) มีความผิดปกติเกิดขึ้น ทำให้ระดับอินซูลินที่มีอยู่ในเลือดมีปริมาณน้อยลงส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน

การตรวจในการรักษาแบบเวชศาสตร์ชะลอวัยสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าระบบการผลิตฮอร์โมนอินซูลินนั้นมีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้วแพทย์จะทำการออกแบบโดยเน้นการออกกำลังแบบแอโรบิคที่มีการใช้ออกซิเจนในการออกำลังเป็นอย่างมาก เพราะการออกกำลังแบบแอโรบิคร่างกายจะใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานที่อยู่ในกล้ามเนื้อ เช่น ไกลโคเจน ( Glycogen ) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)และ กลูโคส (Glucose) ก่อน เมื่อทำการ ออกกำลังกาย มาถึงจุดที่แหล่งให้พลังงานไม่สามารถให้พลังงานอย่างเพียงพอ ร่างกายจะทำการสั่งงานของระบบภายในร่างกายให้ทำการผลิตและหลั่งสารอินซูลินออกมาเพื่อที่อินซูลินจะได้ไปดึงน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดเข้ามาใช้เป็นแหล่งให้พลังงานของร่างกายนั่นเอง ต่างจากการออกกำลังกายแบบแอนาแอโรบิค ( Anaerobic ) ที่มีการใช้พลังงานเพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ จึงไม่จำเป็นต้องไปดึงน้ำตานำตาลในกระแสเลือดออกมากใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย

ในกรณีที่ร่างกายต้องเผชิญกับความเครียดสูงมาก แพทย์ก็จะทำการแนะนำให้ ออกกำลังกาย แบบที่ช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนแคลทีโคลามีน ( Catecholamines ) และกลูคากอน ( Glucagon ) ที่สามารถช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้นภายในร่างกายและยังช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำตาลในกระแสเลือด หรือแม้แต่ทำการออกแบบการออกกำลังกายที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไตให้ทำการหลั่งฮอร์โมนอิพิเนฟริน (Epinephrine) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) มีผลทำให้ร่างกายมีการตื่นตัว หัวใจมีการสูบฉีดและมีอัตราการเต้นของหัวใจที่มีความแรงและความถี่เพิ่มขึ้นย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้เป็นอย่างดี สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคที่เกี่ยวข้องกับการที่เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงพอ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคสมองขาดเลือด เป็นต้น

และสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการขจัดของเสียภายในร่างกาย แพทย์จะทำการแนะนำการ ออกกำลังกาย ที่สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไตในการหลั่งสารนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และอะดีนาลีน (Adrenaline) ออกมาในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการในการสร้างสมดุลของความดันเลือด ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจทำให้มีการส่งเลือดเข้าและออกจากหัวใจในปริมาณที่เพิ่มขึ้นร่างกายจึงมีแลกเปลี่ยนก๊าซ ของเสียที่อยู่ภายในร่างกายออกมา ลดการสะสมของเสียรวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในร่างกายด้วย สารนี้มีส่วนช่วยในการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติโดยการสื่อสัญญาณคำสั่งไปยังอวัยวะ จึงช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการตกค้างของสารพิษและอนุมูลอิสระภายในร่างกาย เช่น โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคมะเร็ง เป็นต้น

จะเห็นว่าร่างกายที่มีระบบการทำงานที่ผิดปกติในตำแหน่งที่ต่างกัน หรือปริมาณความต้องการของฮอร์โมนที่ไม่เหมือน จะมีรูปแบบการ ออกกำลังกาย ที่เหมาะสมที่มีความต่างกันตามไปด้วย ซึ่งเวชศาสตร์ชะลอวัยสามารถทำการออกแบบการออกกำลังที่เหมาะสมกับเฉพาะบุคคล การออกกำลังกายที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคลนี้จะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งระบบภูมิคุ้มกันโรค ระบบการเผาพลาญพลังงาน ระบบการขจัดของเสียและระบบการไหลเวียนเลือด

การ ออกกำลังกาย ที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคลนั้นมีความจำเป็นและเหมาะสมเป็นอย่างมากกับวิถีชีวิตในปัจจุบันที่เวลาเป็นสิ่งที่มีค่ามาก การใช้เวลาในการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและถูกต้องจึงจะสร้างร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ต่างจากการออกกำลังกายที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคลที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงในระยะเวลาอันรวดเร็วและได้ผลอย่างชัดเจนอีกด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการออกกำลังกายเฉพาะบุคคลสามารถช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย ผิวพรรณเปล่งหลั่ง และช่วยให้มีอายุยืนนับร้อยปีแบบที่มีคุณภาพ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

wikipedia.org/

Japsen, Bruce (15 June 2009). “AMA report questions science behind using hormones as anti-aging treatment”. The Chicago Tribune. Retrieved 17 July 2009.

Stampfer, M., Hu, F., Manson, J., Rimm, E., Willett, W. (2000) Primary prevention of coronary heart disease in women through diet and lifestyle. The New England Journal of Medicine, 343 (1) , 16-23. Retrieved October 5, 2006, from ProQuest database.

ประโยชน์ของกระดูกสันหลังและ 7 พฤติกรรมที่ทำร้ายกระดูกสันหลัง

0
7 พฤติกรรมที่ทำรายกระดูกสันหลัง
การนั่งไขว่ห้างจะทำให้กระดูกเชิงกรานเกิดผิดรูปเนื่องจากการเสียดสีของกระดูก
7 พฤติกรรมที่ทำรายกระดูกสันหลัง
การก้มดูหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังที่บริเวณคอมีการโค้งเพิ่มมากขึ้น และเมื่อทำการยืดคอตรงจะพบว่าคอมีการยื่นมากกว่าเดิม

ประโยชน์ของกระดูกสันหลังและ 7 พฤติกรรมที่ทำร้ายกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังเป็นกระดูกแกนบริเวณกึ่งกลางของลำตัว เป็นทั้งแกน ลักษณะของกระดูกจะเป็นข้อต่อกันเป็นแนว ตั้งแต่ส่วนคอมาจรดส่วนของทวารหนัก กระดูกภายในจะเป็นช่องว่างบรรจุไขสันหลัง หน้าที่ของกระดูกสันหลังช่วยในการทรงตัว ทำให้มีความสูง เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อที่บริเวณหลัง ช่วยในการเคลื่อนที่ของร่างกายและส่งเส้น  ประสาทไปยังอวัยวะภายในร่างกายแล้ว ยังทำหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้ไขสันหลังได้รับอันตรายด้วย กระดูกสันหลังโดยปกติทุกคนจะประกอบไปด้วยกระดูกทั้งหมด 33 ชิ้น สามารถแบ่งตามระดับของกระดูก ดังนี้

การแบ่งระดับกระดูกสันหลัง

1. กระดูกสันหลังส่วนคอ ( Cervical vertebrae ย่อว่า C-spine )

ประโยชน์ของกระดูกสันหลังคือ กระดูกส่วนลำคอ ประกอบด้วยกระดูกทั้งหมดจำนวน 7 ชิ้น ทำหน้าที่เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เอ็นและเส้นประสาทที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวลำคอกับศีรษะ

2. กระดูกสันหลังส่วนอก หรือ กระดูกหลังส่วนบน ( Thoracic verte brae หรือ Dorsal vertebrae ย่อว่า T spine หรือ D spine )

ประโยชน์ของกระดูกสันหลังคือ กระดูกส่วนหน้าอก ประกอบด้วยกระดูกทั้งหมดจำนวน 12 ชิ้น กระดูกส่วนนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ คือมีจุดเชื่อมต่อที่สามารถเชื่อต่อกับกระดูกซี่โครง ที่เป็นโครงกระดูกของช่องอก

3. กระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว ( Lumbar vertebrae ย่อว่า L spine )

ประโยชน์ของกระดูกสันหลัง คือ กระดูกที่อยู่ในช่วงเอว ประกอบด้วยกระดูกทั้งหมดจำนวน5 ชิ้น เป็นกระดูกที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนได้ทั้งหมด มีหน้าที่เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อส่วนด้านหลังของช่องท้อง

4. กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ ( Sacral vertebraeย่อว่า S spine )

ประโยชน์ของกระดูกสันหลังคือ กระดูกส่วนนี้อยู่ต่อจากกระดูกเอว เป็นการรวมของกระดูก 5 ชิ้นเข้าด้วยกันทำหน้าที่ต่อกับกระดูกเชิงกราน  ( pelvic bone ) ซึ่งมีช่องเปิด ( sacral foramina ) ที่เป็นเส้นทางผ่านของเส้นประสาทที่จะเข้าไปสู่บริเวณเชิงกรานและขา

5. กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ ( Coccygeal vertebrae หรือ Coccyx )

ประโยชน์ของกระดูกสันหลังคือ กระดูกสันหลังชิ้นท้ายสุด ประกอบด้วยกระดูกทั้งหมด 4 ชิ้นแต่ในบางรายกระดูกส่วนนี้อาจมีเพียงแค่ 3 ชิ้นหรือมีเพิ่มเป็น 5 ชิ้นได้ ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อให้เป็นกระดูกชิ้นเดียว ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะออกมาเป็นกระดูกรูปสามเหลี่ยมที่ปลายด้านล่างสุดนั่นเอง

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังเป็นกระดูกแกนกลางของลำตัว ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทของร่างกาย ดังนั้นความผิดปกติ อาการและโรคที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังจึงมีบทบาทที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลัง

1. ความผิดปกติที่มีตั้งแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เช่น สไปนา ไบฟิดา ( Spina bifida ) ที่เกิดขึ้นตอนที่อยู่ในครรภ์มารดา เกิดเนื่องจากแนวโค้งของ vertebral arches ทั้งสองด้านไม่สามารถเชื่อมต่อกันในขณะที่ทารกกำลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ ส่งผลให้กระดูกสันหลังมีช่องว่างที่อยู่ภายในกระดูกสันหลังมีการเปิดออกมา เป็นต้น ซึ่งความผิดปกติที่แบบนี้ไม่สามารถทำการรักษาให้หายเป็นปกติได้

2. ความผิดปกติเนื่องจากโรคร้าย เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากผลข้างเคียงของโรคร้ายแรง ตัวอย่างเช่น อาการหลังค่อม ( Kyphosis ) ที่ทำให้ความโค้งของกระดูกสันมีความโค้งที่ผิดปกติตั้งแต่ส่วนหน้าอกลงไป ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะหลังค่อม ซึ่งอาการนี้เป็นอาการข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อนของโรคอื่น เช่น วัณโรค ( tuberculosis ) ที่เชื้อได้แพร่กระจายเข้าไปในส่วนของกระดูกสันหลัง ส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดอาการติดเชื้อจนทำให้หลังเกิดการงอลงมา ที่เรียกว่า Gibbus Deformity

3. ความผิดปกติเนื่องจากอุบัติเหตุ การเกิดอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งผลของการเกิดอุบัติเหตุสามารถส่งผลให้เกิดอาการกระดูกสันหลังแตกหัก ( Vertebral fractures ) ได้ กระดูกสันหลังสามารถเกิดการแตกหักได้ทุกส่วน ทั้งส่วนคอ อก เอว กระเบนเหน็บ ก้นกบ เมื่อกระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงจะส่งผลให้เป็นอัมพาตทั้งแขนและขา ( quadriplegia ) และยังสามารถส่งผลกระทบระบบหายใจได้อีกด้วย

4. ความผิดปกติเนื่องจากพฤติกรรม การดำรงชีวิตในปัจจุบันต้องอยู่ด้วยความเร่งรีบ ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน เดินหรือนอน การยก การก้ม การเงย ทุกสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติอยู่เป็นนิจ ซึ่งการกระทำบางอย่างที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันบางครั้งก็ได้รับการปฏิบัติที่ผิดตามหลักสรีระศาสตร์ ส่งผลให้กระดูกสันหลังของคนเราเกิดความผิดปกติได้ ซึ่งพฤติกรรมที่เราทำอยู่ทุกวันเราอาจจะกำลังทำร้ายกระดูกสันหลังโดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระดูก สันหลังจะส่งผลให้กระดูกสันหลังมีรูปร่างที่ผิดปกติไป การเกิดความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังนั้นในช่วงแรกจะมีอาการปวดเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นและหายไปได้เองในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ แต่ทว่าถ้ายังคงทำพฤติกรรมดังกล่าวต่อไปเรื่อย จะส่งผลให้กระดูกสันหลังมีรูปร่างที่ผิดปกติตลอดชีวิต ทำให้ลักษณะการเดิน ยืนหรือนั่งมีทวงท่าที่ผิดปกติตามไปด้วย

7 พฤติกรรมที่สามารถส่งผลให้เกิดอาการกระดูกสันหลังผิดปกติ ที่ต้องพึงระวัง

1. การทิ้งน้ำหนักลงที่ขาข้างเดียว

การยืนปกติจะต้องลงน้ำหนักบนขาทั้งสองข้างด้วยน้ำหนักที่เท่ากัน นั้นคือมีการยีนขาตรงทั้งสองข้าง ไม่มีการงอขาข้างใดข้างหนึ่งหรือมีการทิ้งน้ำหนักตัวลงบนขาข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าขาอีกข้างหนึ่งอย่างเด็ดขาด เพราะว่าการที่ลงน้ำหนักลงบนขาข้างใดข้างหนึ่งนาน ๆ แล้ว จะทำให้กระดูกเชิงกรานจะรับน้ำหนักมากและเกิดการสึกหรอมีการผิดรูปทีละน้อย ทีละน้อย และกลายเป็นกระดูกสันหลังยุบ เมื่อนานเข้าจะทำให้เรายืนตัวเอียงโดยอัตโนมัติเพราะว่ากระดูกเชิงกรานเสียสมดุล เนื่องจากกระดูกเชิงรานข้างที่รับน้ำหนักมากจะมีการสึกหรอมากกว่ากระดูกเชิงกรานข้างที่ไม่ค่อยได้รับน้ำหนัก จึงทำให้เรายืนเอียงตัวนั่นเอง การป้องกันไม่ให้เกิดการสึกหรอของกระดูกเชิงกราน คือ เวลาที่ยืนต้องทิ้งน้ำหนักลงบนขาทั้งสองข้างให้เท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด ยืนท่าหลังตรง อกผาย ไหล่พึงแล้ว โอกาสที่กระดูกเชิงกรานจะสึกหรอจนทำให้ยืนเอียงนั้นลดน้อยลง

2. การนั่งไขว่ห้าง

การนั่งไขว่ห้างเป็นท่าที่ผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมนั่งกัน เพราะเป็นท่าที่นั่งแล้วหลังจะตั้งตรงดูมีสง่า แต่รู้หรือไม่ว่าการนั่งไขว่ห้างจะทำให้กระดูกเชิงกรานเกิดผิดรูปเนื่องจากการเสียดสีของกระดูกในขณะที่นั่งไขว่ห่างนั่นเอง นอกจากนั้นการนั่งไขว่ห่างยังเป็นท่านั่งที่ไม่ต้องใช้กล้ามเนื้อเพื่อพยุงตัว จึงทำเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้มากขึ้นด้วย ดังนั้นการนั่งที่ดีควรนั่งโดยที่ขาทั้งสองข้างวางลงบนพื้น โดยฝ่าเท้าแนบสนิทกับพื้นถึงจะเป็นท่านั่งที่สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและลดโอกาสการสึกหรอของกระดูกเชิงกราน แต่ถ้าจำเป็นต้องทำการนั่งไขว่ห่างก็ควรทำการสลับขาที่ทำการไขว่ห้างบ่อย ๆ เพื่อให้กระดูกเชิงกรานมีการสึกหรอที่เท่ากันทั้งขวาและข้างซ้าย

3. การเล่นเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะหันไปทางใดพบแต่คนที่ก้มหน้าอยู่กับจอโทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต ไอแพท ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ว่าเป็นขณะที่เดิน ยืนหรือนั่ง ซึ่งการก้มดูหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ นั้นจะส่งผลให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังที่บริเวณคอมีการโค้งเพิ่มมากขึ้น และเมื่อทำการยืดคอตรงจะพบว่าคอมีการยื่นมากกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็นความผิดปกติชนิดหนึ่งของกระดูกสั้นหลังส่วนคอ ดังนั้นเมื่อเราจำเป็นต้องดูหน้าจอเหล่านี้ ควรที่จะยกหน้าจอขึ้นมาเสมอกับระดับสายตาจะเป็นท่าการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้อง และไม่สร้างความเสียหายให้กับกระดูกสันหลัง

4. การสะพายกระเป๋า

กระเป๋าสะพายเป็นสิ่งของที่จำเป็นสำหรับใครหลายคน ภายในกระเป๋าจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่จำเป็นและไม่จำเป็นหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น กระเป๋าสตางค์ สมุดจดบันทึก ครีมกันแดด ปากกา เครื่องสำอาง กระดาษทิชชู เป็นต้น ซึ่งน้ำหนักของกระเป๋าที่นำมาสะพายก็มีน้ำหนักมิใช่น้อย บางครั้งกระเป๋าบางลูกมีน้ำหนักถึง 5 กิโลกรัมเลยทีเดียว แต่ด้วยความเคยชินของจ้าของกระเป๋าที่จำเป็นต้องสะพายทุกวันจึงไม่รู้สึกว่ากระเป๋าใบนั้นหนักมาก แต่ว่าการสะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักด้วยบ่าหรือไหล่ข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียวตลอดเวลา หรือแม้แต่การทำงานที่ต้องยกของหนักด้วยบ่าหรือไหล่ข้างเดียวเป็นประจำ จะส่งผลให้กระดูกสันหลังผิดรูปเกิดการเอียงหรือโค้งไปข้างที่รับน้ำหนักของกระเป๋า และเดินก็จะเอียงตามกระดูกสันหลังที่เอียงไปด้วย ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องยกหนักหรือสะพายกระเป๋าควรทำการสะพายกระเป๋าด้วยไหล่ทั้งสองข้าง โดยการสลับกันสะพายหรือใช้ยกของ เพื่อที่กระดูกสันหลังจะได้ไม่เอียงหรือโค้งไปด้านใดด้านหนึ่งมากกว่านั่นเอง

5. การใช้คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊กเป็นอุปกรณ์การทำงานที่ทุกคนต้องใช้ในการทำงานเป็นส่วนมาก การตั้งโต๊ะสำหรับทำงานด้วยคอมพิวเตอร์สามารถส่งผลต่อกระดูกสันหลังได้ ถ้ามีการตั้งหน้าจอให้มีระดับต่ำกว่าระดับสายตา ผู้ใช้งานจึงต้องทำการก้มคอเพื่อมองหน้าจอเวลาที่ทำงาน เวลาที่ทำงานหน้าจอมักเป็นเวลาที่ค่อนข้างนานเป็นชั่วโมงหรือหลายชั่วโมงต่อวัน ซึ่งการก้มเข้าหาหน้าจอนี้ก็จะทำให้เกิดอาการคอยื่นแล้ว ยังก่อให้เกิดอาการไหล่ห่อ กล้ามเนื้อส่วนไหล่และหลังเกิดอาการเกร็ง ซึ่งเมื่อไหล่หอนานเข้าก็จะทำให้กลายเป็นอาการหลังค่อมในที่สุด และอาจเป็นสาเหตุของกระดูกสันหลังยุบได้ ดังนั้นเมื่อต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรตั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์บนโต๊ะที่ตั้งหน้าจออยู่ในระดับสายตาของผู้ใช้ ตัวผู้ใช้ควรนั่งเก้าอี้ที่สามารถห้อยขาลงวางบนพื้นพอดี นั่งหลังตรง เมื่อรู้สึกเมื่อยก็ให้ทำการหยุดพักและคลายกล้ามเนื้อด้วยการยกมือขึ้นประสานกัน ยกแขนขึ้นเหนือหัว พร้อมทั้งเอนตัวไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างขวาและข้างซ้าย หรือลุกขึ้นเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังด้วย

6. ท่านั่งเก้าอี้

การนั่งเก้าอี้ควรนั่งให้ก้นอยู่บนพื้นเก้าอี้ทั้งหมด ไม่มีควรให้สะโพกส่วนใดส่วนหนึ่งหลุดออกมาจากพื้นของเก้าอี้ เพราะด้วยความเคยชินเมื่อเรานั่งเก้าอี้แล้วรู้สึกเมื่อยเราจะทำการขยับสะโพกไปเรื่อย ๆ จนบางครั้งสะโพกจะอยู่บนพื้นเก้าอี้เพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น ซึ่งการนั่งแล้วสะโพกไม่อยู่บนพื้นเก้าอี้ทั้งหมดจะทำให้กระดูกบั้นท้ายและกระดูกสะโพกมีแรงกดเกิดขึ้น ส่งผลให้ความโค้งงอของกระดูกบริเวณสันหลังลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อเราต้องทำงานที่ต้องนั่งอยู่บนเก้าอี้เป็นเวลานาน ๆ ควรที่จะลุกขึ้นเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถเป็นประจำ และควรใช้แผ่นรองนั่งรองที่พื้นเก้าอี้ในกรณีที่เก้าอี้ทำด้วยวัสดุเนื้อแข็ง แต่ก็ไม่ควรนั่งบนเก้าอี้ที่มีความนุ่มมากเกินเช่นกัน

7. โซฟาหรือฟูกนอนนิ่มเกินไป

การนั่งหรือนอนบนโซฟาที่นุ่มมาก ๆ นั้น เมื่อเรานั่งลงไปกระดูกส่วนสะโพกจะต้องทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักตัวของเราทั้งหมด และสะโพกยังต้องช่วยในการพยุงลำตัวเพื่อไม่ให้ล้มลงจากที่นั่ง การเลือกโซฟากับที่นอนควรเลือกที่ไม่นุ่มหรือแข็งจนเกิดไป โดยสามารถสังเกตได้จากเวลาที่ล้มตัวลงนอน ที่นอนไม่ควรยุบลงเกิน 1 เซนติเมตร ถือว่าเป็นที่นอนที่มีความเหมาะสมในการนอน อาจทำให้กระดูกสันหลังยุบได้ การเลือกโซฟาก็ไม่ควรยุบลงเกิน 1 เซนติเมตรเช่นเดียวกัน ท่านั่งที่ดีควรนั่งหลังตรง หน้ามองตรงตลอดเวลาที่นั่ง เมื่อรู้สึกเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังก็ควรหยุดพักในทันที

กระดูกสันหลังเป็นกระดูกที่อยู่กึ่งกลางของร่างกาย เป็นหลักของร่างกายให้ยืดตัวตรง เดินได้อย่างสง่างาม การที่จะรักษากระดูกสันหลังให้สามารถใช้งานไปได้เป็นเวลานานโดยที่ไม่ผิดรูปไป สามารถทำได้ด้วยการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยท่าทางที่ถูกต้อง เราก็จะมีกระดูกสันหลังที่ตั้งตรงและแข็งแรง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง 

เอกสารอ้างอิง

โทะชิมะสะ โอตะ. ปรับรูปร่างด้วยมือเปล่า สร้างหุ้นฟิต พิชิตโรค. กรุงเทพฯ : อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560.

Weiss, J.M. (15 March 2010). “Spinal cord injury”. In Weiss, L.D.; Weiss, J.M.; Pobre, T. Oxford American Handbook of Physical Medicine and Rehabilitation. Oxford University Press, USA. ISBN 978-0-19-970999-1.

Teufack, S.; Harrop, J.S.; Ashwini, D.S. (29 October 2012). “Spinal Cord Injury Classification”. In Fehlings, M.G.; Vaccaro, A.R.; Maxwell B. Essentials of Spinal Cord Injury: Basic Research to Clinical Practice. Thieme. ISBN 978-1-60406-727-9.

การเห็นภาพหลอนในอาการผู้ป่วยสมองเสื่อม

0
การเห็นภาพหลอนในอาการผู้ป่วยสมองเสื่อม
หลอน เป็นอาการทางประสาทที่ทำให้เห็นภาพ ได้ยินเสียง ได้กลิ่น รับรู้รสชาติ หรือเกิดความรู้สึก ทั้งที่ในความเป็นจริงไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
การเห็นภาพหลอนในอาการผู้ป่วยสมองเสื่อม
ภาพหลอน เป็นอาการทางประสาทที่ทำให้เห็นภาพ ได้ยินเสียง ได้กลิ่น รับรู้รสชาติ หรือเกิดความรู้สึก ทั้งที่ในความเป็นจริงไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น

ภาพหลอน

นิยามของการเห็น ภาพหลอน ( Visual hallucination ) คือ การรับรู้ถึงวัตถุหรือเหตุการณ์ของผู้ป่วยทั้งๆ ที่ไม่ได้มีวัตถุหรือเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น การเห็นบุคคลในขณะที่คนรอบข้างไม่ได้เห็นบุคคลนั้นด้วย การเห็นว่ามีสิ่งมีชีวิตที่แปลกปะหลาดอยู่ใกล้ๆ การเห็นสิ่งของมีรูปร่างผิดแปลกไปหรือเคลื่อนไหวได้ เป็นต้น ผู้ป่วยที่เห็นภาพหลอนเกิดจากความผิดปกติของการรับรู้ ซึ่งควรได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ การเห็นภาพหลอนไม่ใช่อาการป่วยที่รุนแรงและไม่ใช่สาเหตุเบื้องต้นของการป่วยทางจิตแต่อย่างใด

การเห็นภาพหลอนมีสาเหตุมาจากความผิดปกติหลายๆ อย่างรวมกันซึ่งมีการศึกษาและสรุปโดย Asaad และ Shapiro ออกมาได้เป็น 3 หัวข้อหลักๆ คือ ความผิดปกติที่มาจากโครงสร้างของสมองถูกรบกวน, ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง และการมีสภาพไม่รู้สึกตัว ( Unconscious ) ในขณะที่ยังอยู่ในสภาพรู้สึกตัว ( Consciousness ) ซึ่งความผิดปกติทั้ง 3 สิ่งนี้มักจะเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน

ถ้ากลไกการเห็นภาพหลอนนั้นเป็นผลมาจากความผิดปกติของสมอง ก็มักจะเป็นภาวะที่สมองมีพยาธิสภาพบริเวณสมองกลีบหน้า สมองกลีบขมับ ก้านสมองตลอดจนส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับระบบการมองเห็นทั้งหมด ที่น่าสนใจคือไม่ใช่แค่คนที่มองเห็นได้เท่านั้นถึงจะเห็นภาพหลอน ในผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็นหรือที่เราเรียกว่าคนตาบอด ก็เป็นอีกกลุ่มที่สามารถเห็นภาพหลอนได้เช่นเดียวกัน กรณีนี้จะพบได้มากกับคนที่ไม่ได้บกพร่องทางการมองเห็นมาตั้งแต่เกิด เดิมทีมีการมองเห็นเป็นปกติแล้วมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นจึงกลายเป็นผู้บกพร่องทางการมองเห็นในภายหลัง เมื่อถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม สมองส่วนลิมบิค ( Limbic System ) ซึ่งเป็นกลุ่มของส่วนสมองตามแนวโค้งระหว่างทาลามัสกับซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ และพฤติกรรมจะค่อยๆ ปล่อยความทรงจำเก่าๆ ออกมา ผู้ป่วยจึงมองเห็นภาพสดใสภายในความมืดมิดที่มีอยู่เดิม แน่นอนว่าอาการนี้ไม่ได้เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยด้วยเช่นกัน ทั้งยังมีข้อดีที่หลายครั้งช่วยให้ผู้ป่วยได้มีความสุขกับการได้เห็นบางสิ่งบางอย่างจากที่มองไม่เห็นมานานอีกด้วย

อาการอื่นๆ ที่มักเกิดขึ้นพร้อมกับการเห็นภาพหลอน

ความผิดปกติทางจิต ผู้ป่วยที่เป็นจิตเภท ( Schizophrenia ) ส่วนใหญ่พบว่าจะมีอาการเห็นภาพหลอนร่วมด้วย โดยมีรายงานว่าพบได้มากถึง 16-72% ในผู้ป่วยที่เป็นจิตเภท มีการศึกษาเพิ่มเติมว่าอาการภาพหลอนในผู้ป่วยที่เป็นจิตเภทมักจะมีความรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นจิตเภทเพราะมีปัจจัยทางจิตร่วมด้วย โดยการเห็นภาพหลอนของผู้ป่วยจิตเภทจะเกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัว วัตถุที่เป็นความเชื่อทางศาสนาและสัตว์ การแสดงอาการของการเห็นภาพหลอนจะขึ้นอยู่กับสภาพเงื่อนไขของผู้ป่วยด้วย อย่างเช่น อยู่ในอาการกลัวมากๆ หรือปลาบปลื้มใจ การเห็นภาพหลอนของผู้ป่วยที่เป็นจิตเภทจัดเป็นภาพหลอนประเภทที่มีขนาดและสีสันปกติ

อาการเพ้อคลั่ง ( Delirium )

เป็นกลุ่มอาการโดยรวมของการถูกรบกวนการมีสติรู้ตัว หรือความบกพร่องในการตั้งใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งกลุ่มอาการนี้มีสาเหตุมาจากหลายๆ ปัจจัย ได้แก่ การถูกรบกวนระบบเผาผลาญของผู้ป่วย ( metabolic disturbance ), การติดเชื้อ, ผลข้างเคียงจากการใช้ยา และความผิดปกติภายในสมอง ในกรณีผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรังที่ไม่ได้รับแอลกอฮอลล์ หรือผู้ที่ติดยาเสพย์ติด เช่น โคเคน แอมเฟตามีน มีรายงานว่าผู้ป่วยกลุ่มที่เกิดอาการเพ้อคลั่งส่วนหนึ่งจะเห็นภาพหลอนเป็นแมลงที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาหา ( พบมากในผู้ป่วยที่ติดโคเคน )

โรคสมองเสื่อม (Dementia) ผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และ สมองเสื่อมชนิด DLB (Dementia with Lewy bodies) พบว่ามีรายงานการเห็นภาพหลอนอยู่ที่ประมาณ 20% ของผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมทั้งหมด ตัวอย่างของการเห็นภาพหลอน ได้แก่ เห็นวัตถุเคลื่อนที่ทั้งๆ ที่วัตถุนั้นหยุดนิ่ง การเห็นเหตุการณ์ที่มีผู้คนหรือวัตถุหลายๆ ชิ้นทั้งที่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้มีอยู่หรือเกิดขึ้นจริง เห็นสิ่งเร้นลับในจินตนาการ เป็นต้น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันเองก็พบว่ามีอาการเห็นภาพหลอนมากกว่า 50% เลยทีเดียว

กลุ่มอาการ Charles Bonnet Syndrome ( CBS )

เป็นกลุ่มอาการที่มักพบร่วมกับการเห็นภาพหลอนที่เกิดจากความบกพร่องทางการมองเห็น เช่น จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน ความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง และเนื้องอกในสมอง ในผู้ที่มีอาการ Charles Bonnet Syndrome หรือ CBS นี้ เกือบทั้งหมดจะไม่เกี่ยวข้องกับอาการจิตเภทแต่อย่างใด ผู้ป่วยที่เป็นโรค CBS มักจะไม่ยอมเข้าพบแพทย์หรือแจ้งอาการเห็นภาพหลอนเนื่องจากกลัวจะเป็นการเข้าใจผิดว่าตนมีเข้าข่ายของคนโรคจิต การเห็นภาพหลอนในผู้ที่มีอาการ CBS มักจะเกี่ยวข้องกับผู้คน, ใบหน้า, สัตว์ และเครื่องใช้ประจำวัน ในส่วนการรักษาการเห็นภาพหลอนสำหรับผู้ป่วย CBS ที่ดีที่สุดคือการรักษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบกพร่องทางการมองเห็น

อาการชัก ( Seizure )

สาเหตุของผู้ป่วยที่แสดงอาการชักคือ การทำงานของสมองส่วน Cerebral Hemisphere ที่ผิดปกติ โดยอาการชักมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความถี่ในการเกิด ผู้ป่วยที่มีอาการชักจำนวนไม่น้อยพบว่ามีอาการเห็นภาพหลอนร่วมด้วย ลักษณะของภาพหลอนจะมีขนาดเล็ก เป็นจุดสีสดใสและสว่างจ้า ถ้าเป็นวัตถุก็จะมีการบิดเบือนหรือมีการเปลี่ยนขนาดของวัตถุอย่างฉับพลันทันใด อาจเห็นภาพวัตถุเคลื่อนไหวได้โดยจะเคลื่อนไหวจากด้านริมเข้ามาสู่ด้านตรงกลางของคลองจักษุ อาการชักจะแยกกับอาการปวดหัวแบบไมเกรน ( Migraines ) และแพทย์จะต้องทำการวินิจฉัยแยกแยะให้ได้เสียก่อนว่าเป็นรูปแบบใดจึงจะทำการรักษาอาการเห็นภาพหลอนต่อไปได้

การปวดหัวแบบไมเกรน ( Migraines )

เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการทำงานของสมองในลักษณะที่ผิดแผกไปจากเดิม เน้นเจาะจงไปที่บริเวณก้านสมองหรือหลอดเลือดในสมอง ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวแบบไมเกรนจะปวดบริเวณขมับอาจจะด้านเดียวหรือสองด้านก็ได้ ซึ่งจะแตกต่างจากการปวดหัว คลื่นไส้ ในผู้ป่วยที่มีอาการชัก ( Seizure ) เคยมีการทดสอบสร้างภาพโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก หรือ fMRI ในผู้ป่วยช่วงที่แสดงอาการไมเกรน พบว่ามีพฤติกรรมกดการทำงานของสมองส่วน Cortex ซึ่งมีผลข้างเคียงไปสู่การเห็นภาพหลอนได้เช่นกัน ลักษณะของภาพหลอนนี้จะเป็นแบบ เส้นยวบยาบ ไร้สีสัน และมีเส้นกรอบซิกแซก

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ( Sleep Disturbances )

การเห็นภาพหลอนในลักษณะนี้จะเกิดในช่วงที่หลับไม่สนิทหรือเคลิ้มหลับเคลิ้มตื่น มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับเป็นมาเวลานาน หรือมีความผิดปกติทางด้านจิตใจอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ยังพบการเห็นภาพหลอนแบบเดียวกันในกลุ่มคนที่เป็นโรคไม่สามารถควบคุมการนอนหลับของตัวเองได้ ( narcolepsy )

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ( Drug Effects )

ยาบางชนิดจะมีการระบุไว้บนฉลากหรือคู่มือการใช้ ถึงผลข้างเคียงเกี่ยวกับอาการเห็นภาพหลอนได้ เช่น Mescaline, Psilocybin และ Lysergic acid diethylamide โดยยาเหล่านี้จะทำงานโดยการเสริมหน้าที่ของตัวรับ Serotonin 5-HT ในร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการหลอนได้ง่ายกว่าปกติ นั่นหมายความว่ายาเหล่านี้เกือบทั้งหมดเป็นยาควบคุม ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น และผู้ที่จะมีอาการเห็นภาพหลอนจากกรณีนี้ก็เป็นผู้ที่ใช้ยาเกินขนาดนั่นเอง

เนื้องอก ( Tumor )

มีรายงานการเห็นภาพหลอนในผู้ป่วยที่พบก้อนเนื้องอกกดทับประสาทส่วนของการมองเห็น การกดทับนี้ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนในขั้นตอนของการส่งข้อมูลจึงเกิดเป็นภาพหลอนขึ้น ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกกดทับสมองกลุ่มนี้อาจจะเกี่ยวพันกับอาการชัก ( Seizure ) ร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรคการเห็นภาพหลอนในอาการผู้ป่วยสมองเสื่อม

เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้เกิดการมองเห็นภาพหลอนมีได้หลากหลายสาเหตุอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนั้นก่อนที่จะดำเนินการรักษาอาการเห็นภาพหลอนต่างๆ ทีมแพทย์จะต้องวินิจฉัยหารูปแบบของอาการหลอนที่แท้จริงให้ได้เสียก่อน เพราะต้นเหตุที่แตกต่างกันย่อมจะมีแนวทางในการรักษาที่ต่างไป เริ่มที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด สังเกตอาการและชนิดของภาพหลอนที่ผู้ป่วยเห็น เนื่องด้วยลักษณะของภาพหลอนเป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งที่ทำให้เรารู้ได้ว่าต้นตอของปัญหาอยู่ที่ไหนกันแน่ และทำการเชื่อมโยงสัญญาณหรือการแสดงอาการของผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นจิตเภท, การบกพร่องในการสนใจ, ความผิดปกติทางการมองเห็น, อาการสมองเสื่อมแบบต่างๆ, อาการชัก ( Seizure ) หรือการปวดหัวแบบไมเกรน ก็จะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยสาเหตุได้ใกล้เคียงกับสาเหตุของการเกิดภาพหลอนมากยิ่งขึ้น

เครื่องมือที่นำมาวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ การบันทึกคลื่นไฟฟ้าในสมอง ( Electroencephalography หรือ EEG ) เป็นการวัดกิจกรรมการทำงานของสมองโดยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าและแสดงออกมาในรูปแบบกราฟ ซึ่งการทำ EEG นี้มีประโยชน์มาก เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ให้ข้อมูลได้แบบละเอียดถี่ถ้วน ไม่เพียงแต่จะตรวจพบอาการชัก ( Seizure ) ยังสามารถตรวจอาการเพ้อคลั่ง ( Delirium ) แบบต่างๆ ได้ นอกจากนั้นแพทย์อาจจะทำการตรวจสแกนสมองแบบ MRI ร่วมด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แนวทางการรักษาอาการเห็นภาพหลอน

แนวทางการรักษาอาการเห็นภาพหลอนขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยหาสาเหตุ ถ้าวินิจฉัยถูกต้องหรือใกล้เคียงก็จะสามารถทำการรักษาได้ตรงจุดมากขึ้น แต่ถ้าวินิจฉัยผิดไม่เพียงแต่อาการเห็นภาพหลอนจะไม่ทุเลาลงแล้ว อาจจะส่งผลให้อาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ตัวยา Benzodiazepines ที่เป็นยาตัวเลือกอันดับหนึ่งซึ่งมีประสิทธิภาพสูงมากในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเพ้อคลั่งจากการติดสุรา แต่กลับจะส่งผลเสียอย่างมากถ้านำมาใช้ในผู้ป่วยมีอาการเพ้อคลั่งจากปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่สุรา นอกจากนี้ยังมียากลุ่มอื่นๆ ที่แพทย์ใช้ในการรักษาอาการเห็นภาพหลอน เช่น ยาต้านชัก ( Anti-seizure ) หรือยาที่ต่อต้านการทำงานของสารโดปามีนที่หลั่งจากสมอง เป็นต้น การเลือกยาเพื่อรักษาขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ซึ่งมาจากการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นนั่นเอง
นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาแล้วการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดการมองเห็นภาพหลอน เช่น การเลิกสุราอย่างถูกวิธี ไม่หักดิบ, การผ่าตัดหรือฉายรังสีเพื่อรักษาอาการเนื้องอกในสมอง การเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อรักษาอาการต้อกระจก หรือต้อหิน สำหรับการได้รับคำปรึกษาที่ดีในการใช้ชีวิตประจำวันจากจิตแพทย์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการรักษาอีกทางหนึ่งเช่นกัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Luk KC, Kehm V, Lee VM, et al. (2012). Pathological alpha-synuclein transmission 
initiates Parkinson-like neurodegeneration in nontransgenic mice. Science. 338 : 949-953.

ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อหัวใจ

0
การฉายรังสีรักษามะเร็งมีผลกระทบจากต่อหัวใจอย่างไร
ผู้ป่วยที่รักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีการฉายรังสี มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคหัวใจ อาการที่เกิดขึ้นคือหลอดเลือดจะแข็งตัวและอุดตัน
การฉายรังสีรักษามะเร็งมีผลกระทบจากต่อหัวใจอย่างไร
ผู้ป่วยที่รักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีการฉายรังสี มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคหัวใจ อาการที่เกิดขึ้นคือหลอดเลือดจะแข็งตัวและอุดตัน

หัวใจ คือ

หัวใจ เป็นอวัยวะที่สามารถเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทั้งการเคลื่อนไหวตามการหายใจเข้าออกหรือการเคลื่อนไหวตามร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการบิดตัวของร่างกายหรือการบิดตัวของหัวใจเองด้วย และการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของหัวใจนั้นสามารถทำการกำหนดได้เพราะว่าการที่จะแยกพื้นที่ของหัวใจจากตับและส่วนของกระบังลม แต่ก็ยังมีสิ่งที่ยากกว่าการแยกพื้นที่ของหัวใจออกจากตับและกระบังลมคือ การหาขอบเขตที่อยู่ด้านบนขอเส้นเลือดใหญ่ชนิดต่าง ๆ ที่นำพาเลือดเข้าสู่หัวใจและออกจากหัวใจ นอกจากนั้นเรายังมี Clinical Endoints ที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ

1.ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ( Pericarditis )

2.โรคหัวใจขาดเลือด ( Ischemic Heart Disease )

3. Decreased Myocardial Perfusion / Myocardial Infarction

ดังนั้นปริมาณที่เราสามารถนำมาพิจารณา คือ Entire Heart Pericardium และ Left Ventricle

ปัจจัยการฉายรังสีที่เสี่ยงต่อหัวใจ

1. ยาเคมีบำบัด Anthercycline

พบว่าเมื่อมีการใช้ยาเคมีบำบัด Anthercycline ในการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอร์ดกินและมะเร็งเต้านม จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจชนิด Dilated Cardiomyopathy ที่จะนำไปสู่สภาวะหัวใจล้มเหลว และสิ่งที่เป็นตัวกำหนดความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นคือ ปริมาณยา Doxorubirin ที่เกิดการสะสมประมาณ 500 mg / m2 และการที่ยา Edpirubicin ที่มีปริมาณสะสม ประมาณ 900 mg / m2 ถ้ามีปริมาณยาเกิดการสะสมตามปริมาณข้างต้นจะส่งผลให้ผู้ป่าวมีความเสี่ยงมากถึงร้อยละ 20 และอันตราความเสี่ยงก็จะมีค่าเพิ่มสูงขึ้นเมื่อมีการสะสมของปริมาณยาเพิ่มขึ้น จากการศึกษาที่ทำแบบ Prospective Study ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉาย รังสีรักษา จะส่งผลให้หัวใจของผู้ป่วยมีโอกาสที่จะถูกทำลายมากขึ้น

2. ปัจจัยส่วนบุคคล

สภาวะของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงมากหรือน้อย ไม่ว่าจะเป็น อายุ เพศ พฤติกรรมประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า โรคประจำตัวที่มาจากการดำรงชีวิตหรือโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงหรือต่ำ ระดับไขมันในเส้นเลือด ระดับคอลเลสเตอรอลทั้งชนิดดีและชนิดเลว ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อหัวใจทั้งสิ้น

Dose-Volume Limits ที่ทำการแนะนำ

ในการรักษามะเร็งเต้านมพบว่าปริมาณแนะนำที่ควรใช้ในการรักษาอย่างได้ผลและมีผลกระทบต่อหัวใจน้อยที่สุด คือ กำหนดให้มีค่า V25 Gy และควรมีปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 10 ถือว่าค่านี้เป็นค่า Fraction มาตรฐาน เมื่อใช้ปริมาณดังกล่าวนี้จะสามารถลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยการฉาย รังสีรักษา ให้ลดลงเหลือน้อยเพียงแค่ร้อยละ 1 เท่านั้น

สำหรับการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) ที่ใช้อยู่ในยุคปัจจุบันนี้จะให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีรักษา และยาเคมีบำบัดที่นิยมนำมาใช้ต้องมีส่วนผสมของ Doxorubicin ผสมอยู่ด้วย และได้มีการศึกษาและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องถึงปริมาณรังสีรักษาที่ใช้ จนปัจจุบันนี้ปริมาณรังสีรักษาที่ใช้ลดลงเหลือเพียง 15 Gy เท่านั้น และมีการจำกัดขอบเขตที่ในการฉายรังสีให้อยู่ในพื้นที่ที่ค่อนข้างจำกัด ซึ่งสามารถช่วยลดผลกระทบข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีรักษาต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียงได้มากขึ้น ซึ่งเมื่อมีการลดปริมาณ รังสีรักษา ให้เหลือ 15 Gy เราก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่เกิดกับเยื่อหุ้มหัวใจที่ถ้าได้รับรังสีที่ปริมาณ 26 Gy และ V30 ที่มากกว่าร้อยละ 46 ให้ลดน้อยลง

สรุป

QUANTEC:Approximate Dose / Volume / Outcome Data ด้วยวิธีการใช้ Conventional Fractionation

อวัยวะ ปริมาตร เทคนิคการฉายรังสี ( Partial organ ) Endpoint Dose ( Gy ), or dose /  Volume Parameters  Rates ( % ) หมายเหตุ
หัวใจ Pericardium 3D-CRT Pericarditis Mean Dose<26 <15 ข้อมูลได้มาจากการศึกษา
หัวใจ Pericardium 3D-CRT Pericarditis V30<46% <15 กรณีเดียว
หัวใจ Whole organ 3D-CRT Long-term Cardiac mortality V25<10% <1

การรักษาโรคมะเร็งอย่างได้ผลที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นการรักษาร่วมกันหลายแบบ ทั้งการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัดและการฉาย รังสีรักษา เพื่อลดความเจ็บปวดและผลกระทบที่จะสร้างอาการข้างเคียงให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดและสามารถรักษาชีวิตของผู้ป่วยให้มีโอกาสรอดสูงมากขึ้น รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยที่รอดชีวิตสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติเหมือนก่อนที่จะเกิดการเจ็บป่วยขึ้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง 

อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์. ผลกระทบจากการรักษาโรคมะเร็ง. เชียงใหม่: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557.

Lessell S. Friendly fire:Neurogenic visual loss from radiation therapy. J Neuroophthalmol. 24:243-250, 2004.

Jiang GL, Tucker SL, Guttenbenberger R, et al. Radiation-induced injury to the visual pathway. Radiother Oncol. 30:17-25, 1994.

Klin LB, Kim JY, Ceballos R. Radiation opticneuropathy. Ophthalmol.92:1118-1126, 1985.

แสงแดด ( Sunlight ) มีผลกับความงามอย่างไร

0
แสงแดดกับความงาม (Sunlight)
ฝรั่งผิวขาวนิยมทำผิวสีแทน เพื่อให้เกิดความสวยงามและตามสมัยนิยม
แสงแดดกับความงาม (Sunlight)
ฝรั่งผิวขาวนิยมทำผิวสีแทน เพื่อให้เกิดความสวยงามและตามสมัยนิยม

แสงแดด ( Sunlight )

ศัตรูอันดับหนึ่งของผิวสวย คือ แสงแดด ( Sunlight ) การหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนแสงแดด เป็นคำเตือนที่เด็ดขาด เป็นสิ่งที่ทุกท่านต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาผิวสวย แสงแดดเป็นอันตรายต่อผิวหนังมันจะทำให้ผิวหนังเหี่ยวและแก่เร็ว ( Skin Aging ) [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

แพทย์เรียกความแก่ที่เกิดจากการไปถูกแดดมาว่า Photoaging ( หมายถึงว่า Aging produced by Light ) ซึ่งถ้าแปลเป็นไทยตรงตัว คือ “แก่เพราะแดด” คำนี้ไม่ใช่คำว่า “แก่แดด” ซึ่งอธิยายถึง วัยรุ่นที่รู้มากเกินไปในสิ่งที่ไม่เหมาะกับวัย

ผิวของทุกคนทุกเชื้อชาติไม่อาจต้านทานได้เมื่อต้องถูกเผาไหม้ด้วยแสงแดด ( Sun Damage ) แม้แต่คนผิวดำมีเม็ดสีเมลานิน ( Melanin ) หนาแน่นก็ไม่สามารถเอาชนะได้ เพียงแต่ความรุนแรงอาจจะไม่มากเท่ากับคนที่ผิวขาวเท่านั้น

พระอาทิตย์ ( Sun ) คือ เตาพลังงานขนาดใหญ่

ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นเสมือนเตาปฏิกรณ์ปรมาณูขนาดใหญ่ ( Huge Nuclear Fusion Reactor ) อยู่ห่างจากโลก 93 ล้านไมล์ ส่งพลังงานออกมาในรูปของแสง ( Light ) ซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่ามายังโลกมนุษย์ พร้อมกับคลื่นแสงที่มองไม่เห็นร่วมมาด้วยอีก 2 กลุ่ม คือ แสงอินฟราเรด ( Infrared ) กับรังสีอุลตราไวโอเลต ( Ultraviolet หรือ UV ) โดยเฉพาะกลุ่มหลังนี้หรือยูวีที่เป็นตัวทำให้เกิดปัญหาสำคัญกับผิวของมนุษย์บนโลก

ถึงแม้เม็ดสีเมลานิน ( Melanin Pigment ) จะช่วยลดอันตรายจากรังสียูวีได้บ้าง แต่ถ้าผิวหนังต้องถูกรังสียูวีตลอดเวลาทำให้มีการสะสมของอนุมูลอิสระมากพอที่จะทำอันตรายแก่เซลล์ผิวหนัง รวมทั้งคอลลาเจนให้เสื่อมสภาพได้ จนท้ายที่สุดก็เกิด Photoaging ( แก่เพราะแดด ) ขึ้นได้ในทุกๆ คนและในทุกสีผิว

การทำผิวสีแทน ( Tanning ) ป้องกันอันตรายจากแสงอาทิตย์ไม่ได้

พวกฝรั่งผิวขาว ( Light Skinned People ) พยายามทำให้เกิดผิวสีแทน เพื่อให้เกิดความสวยงามและตามสมัยนิยม ( เมื่อ 40 ปีก่อนฮิตกันมาก ) เป็นวิธีเก่าโดยกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีเมลานินในชั้นหนังกำพร้า ( Melanin หรือ Skin Pigment )

การสร้างผิวสีแทน ( Tanning )ไม่สามารถป้องกันอันตรายจากแสงอาทิตย์ได้ ดังนั้น การทำผิวสีแทนในปัจจุบันจึงเลิกนิยม เพราะขณะที่ทำโดยการทาครีมและผึ่งแดดจะด้วยวิธีใดก็ตาม ผิวหนังก็ได้รับอันตรายสะสมจากแสงยูวีไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

ปัจจุบันคนผิวขาวที่อยากมีผิวสีแทนจะเลือกใช้วิธีง่าย ๆ คือเอาน้ำยาย้อมผิว ( Self – Tanning Lotion หรือ Suntan Lotion ) ทาตามตัวให้เกิดสีแทนขึ้นโดยไม่มีการผลิตเมลานิน เลือกความเข้มของสีแทนตามความพอใจและไม่เป็นการย้อมถาวรอีกด้วย โลชั่นสีแทนที่ทาตัวนี้ ( Suntan-Lotion ) ไม่สามารถป้องกันแสงแดด ( Sun Block ) ได้

ผิวหนังของเต้านม ( Breast ) ไม่เคยถูกแดด

จึงเป็นผิวหนังที่สวยงามและดูดีที่สุด ( The Best Looking Skin )

เอกสารทางวิชาการของต่างประเทศกล่าวเหมือนกันหมดว่า คนเราจะมีผิวหนังที่ดูดี คือ บริเวณที่ไม่ถูก แสงแดด ( Sunlight ) เลย ข้อพิสูจน์ที่เห็นได้ชัดคือผิวหนังบริเวณเต้านมของผู้หญิง ( Female Breasts ) ที่บ่งชี้เฉพาะเต้านมผู้หญิงเพราะผู้ชายอาจถอดเสื้อเดินหรือทำงานตากแดด ซึ่งเป็นเรื่องที่ปกติธรรมดาของสังคมโลกมนุษย์ จากเอกสารดังกล่าวยังเสริมอีกว่า ผิวหนังบริเวณเต้านมนั้นจะดูเหมือนผิวหนังเรียบเนียนของเด็กทารกเลยที่เดียว ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยต้องใช้เครื่องสำอางราคาแพง ๆ หรืออาศัยเครื่องประเทืองผิวเป็นพิเศษแต่อย่างใดกับผิวหนังบริเวณนี้

โดยสรุปก็คือ ถ้าเราไม่ถูกแสงแดดเลย ผิวหนังก็จะไม่ต้องอาศัยเครื่องสำอางใด ๆ ทั้งสิ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ผิวหนังของเต้านมสตรี จะยังคงสภาพละเอียดอ่อน นุ่มนวล และดูมีสุขภาพดีอยู่เสมอ

การป้องกันอันตรายจากแสงแดดตั้งแต่เด็ก เป็นวิธีที่ควรรีบปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

สถาบันทางวิชาการของประเทศสหรัฐอเมริการวม 3 แห่ง คือ สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันโรคเด็ก และมูลนิธิโรคเนื้องอกผิวหนัง ได้ร่วมกันเสนอแนะว่าการป้องกันผิวหนังไม่ให้ถูก แสงแดด ( Sunlight ) มากเกินไปนั้น ควรจะเริ่มทำตั้งแต่วัยเด็ก สถาบันทั้ง 3 ยังสรุปถึงการใช้สารกันแดดที่มีค่า SPF 15 ควรเริ่มตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือน ( แต่ทางปฏิบัติควรเริ่มตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ) และใช้ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอจนถึงอายุ 18 ปี ผลการศึกษาพบว่า จะลดโอกาสเกิดโรคเนื้องอกผิวหนังในช่วงชีวิตที่เหลือลงได้ถึงร้อยละ 78 ( จากวารสารโรคผิวหนังและโรคมะเร็ง ประเทศสหรัฐอเมริกาหน้า 657-660 ค.ศ.1988 หัวเรื่อง The Sun and Sunscreen Protection : Recommendations for Children )

นายแพทย์แซทเชอร์ ( Satcher, D ) ได้รายงานในเอกสารชื่อ “โรคเนื้องอกผิวหนัง” ( Skin Cancer ) ของโครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องการป้องกันโรคเนื้องอกผิวหนัง แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1997 ว่า มนุษย์เราโดยทั่ว ๆ ไปจะโดนแสงแดดมาตั้งแต่อายุได้ 6 เดือน จนถึง 18 ปี เป็นปริมาณสะสมถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ของการถูกแสงแดดรวมตลอดชีวิต หลังอายุ 18 ปีไปยาวนานจนกระทั่งแก่กลับถูกแสงแดดน้อยลงคือ มีปริมาณเพียงแค่ 1 ใน 4 ของช่วงเป็นเด็กจนถึงวัยรุ่นนายแพทย์แซทเซอร์ ยังย้ำในตอนท้ายว่า การป้องกันอันตรายของผิวหนังจากแสงแดดจึงควรให้เริ่มตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไปถึงจะเกิดประโยชน์  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

รังสียูวีที่มากับแสงแดดจะเพิ่มความรุนแรง ถ้ามีการสะท้อนของแสงร่วมด้วย

เดชิโมน ( Desimone EM ) เขียนเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับ ครีมกันแดด ( Sun Screen ) ไว้ในคู่มือการใช้ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ พิมพ์ครั้งที่ 10 ค.ศ.1986 ของสมาคมเภสัชประเทศสหรัฐอเมริกาว่า พื้นผิวของวัตถุบางอย่าง เช่น ทราย ( หาดทรายชายทะเล ) หิมะ ( ภูเขาเล่นสกี ) สามารถสะท้อนรังสียูวีจาก แสงแดด ( Sunlight ) ได้ถึง ร้อยละ 85 ผู้ที่เดินตามชายหาดหรือเล่นสกีบนเขาจึงควรระวังเป็นพิเศษ เมื่อต้องไปในพื้นที่เหล่านั้น ( เพราะทำให้ร่างกายถูกรังสียูวีแรงเพิ่มขึ้นอีก 85 เปอร์เซ็นต์ ) ภายในเวลาเท่ากันกับบริเวณอื่น และควรสวมแว่นตาดำชนิดแอนตี้ยูวี เพื่อถนอมสายตาอีกด้วย

เทเรชา ( Teresa. L ) เขียนเรื่อง “อันตรายจากดวงอาทิตย์” ( Dangers of the Sun ) ของศูนย์ควบคุมสารพิษของรัฐไอโอวา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้สรุปถึงอันตรายเพราะแสงแดดจากดวงอาทิตย์ไว้ว่า ความเสี่ยงภัยเพราะถูกแสงแดดกับการเกิดโรคเนื้องอกผิวหนังนั้น ได้มีเอกสารยืนยันเป็นจำนวนมาก ว่าเกี่ยวพันกับการใช้ครีมกันแดดเป็นประจำดูจะช่วยให้ความเสี่ยงอันตรายนี้ลดลง ดังนั้น จึงได้เสนอแนะให้ทุกคนทาครีมกันแดดหรือครีมแอนตี้ยูวี ( Anti UV ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ใช้กับเด็ก ๆ ที่อาจต้องถูกแสงแดดด้วย

2. รังสีอุลตร้าไวโอเลต ( Ultraviolet Ray )

ในปี ค.ศ.1666 นักวิทยาศาสตร์สำคัญของโลก ชื่อเซอร์ไอแซค นิวตัน ( Sir lsaac Newton ) ได้ค้นพบคลื่นแสงเป็นครั้งแรก โดยให้ แสงแดด ( Sunlight ) จากดวงอาทิตย์ส่องเข้าไปในห้องมืด ผ่านรูเล็ก ๆ ที่มีแก้วสามเหลี่ยมปริซึม ( Prism ) ขวางไว้ แสงสีขาวของดวงอาทิตย์เมื่อผ่านแก้วปริซึมไปกระทบฝาผนังห้องตรงข้าม จะแตกออกเป็นสีรวมเจ็ดสี คือ แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม และม่วง แต่ในขณะนั้นยังไม่รู้จักว่าจะยังมีรังสีอื่นที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอยู่อีกหรือไม่ นอกจากรังสี 7 สี ของคลื่นแสงที่กล่าวมาแล้ว

รังสีอินฟราเรด ถูกค้นพบก่อนรังสีอุลตร้าไวโอเลต
ในปี ค.ศ.1800 เซอร์ William Hershel ได้พบว่ายังมีคลื่นรังสี ( สายตามองไม่เห็น ) เกินออกมาจากรังสีของแสง เขาสังเกตโดยใช้การวัดความร้อนพบว่า แม้จะเลยสีแดงมาแล้ว ปรอทวัดความร้อนได้ชี้ให้เห็นถึงอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทั้ง ๆ ที่ไม่มีแสงมาตกบริเวณนั้น นั่นคือต้องมีรังสีที่อยู่เลยแสงสีแดงออกมาอีก และเขาเรียกรังสีที่เกินแสงสีแดง ( Red หรือ เรด ) นี้ว่า รังสีอินฟราเรด ( Infra Red ) รังสีนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนอกจากใช้กล้องเฉพาะช่วย ( อย่างในภาพยนตร์ ที่ทหารอเมริกันใช้ตอนกลางคืน )  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

การค้นพบรังสีอุลต้าไวโอเลต
อีก 1 ปีต่อมา ในปี ค.ศ.1801 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ J.W Ritter ได้ศึกษาถึงรังสีที่อยู่อีกปลายของแสง คือ ต่ำกว่ารังสีม่วง โดยใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นตัววัดไม่ใช้ปรอท พบว่ามีพลังงานแต่ไม่ใช่ความร้อน ออกมาในบริเวณที่เกินแสงสีม่วง ทั้ง ๆ ที่ตาเปล่ามองไม่เห็นอะไร รังสีที่เลยสีม่วงออกมานี้ สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมี นั่นคือจะต้องมีรังสีที่คลื่นแสงต่ำกว่าสีม่วงออกมาด้วย แต่ตาเปล่ามองไม่เห็น Ritter เลยเรียกรังสีต่ำกว่าสีม่วงนี้ว่า รังสีอุลตร้าไวโอเลต ( Ultraviolet ) อุลตร้า ( Ultra ) แปลว่าต่ำกว่าไวโอเลต ( Violet ) แปลว่า ม่วง

รังสีอุลตร้าไวโอเลต ( UV ) ตามธรรมชาติแผ่มาจากดวงอาทิตย์ แต่นักวิทยาศาสตร์สามารถทำรังสี UV เทียมได้ โดยใช้หลอดไฟฟ้าชนิด ไอปรอทที่มีความดันต่ำ ( Low Pressure Mercury Vapour Lamp ) ซึ่งจะให้คลื่นแสงของรังสีอุลตร้าไวโอเลตอยู่ในช่วง 253.7 นาโนมีเตอร์ ( nanometer ) ช่วงคลื่นนี้ทำอันตรายให้กับเชื้อจุลินทรีย์ได้

UVA คือ รังสียูวี ชนิด เอ ( Ultraviolet Light Type A ) มีช่วงความถี่ของคลื่นยาวที่สุดของกลุ่ม คือ อยู่ระหว่าง 320-400 นาโนมิเตอร์ ( nanometer ) คลื่นรังสียูวี เอ สามารถทะลุผิวหนังผ่านชั้นหนังกำพร้า ( Epidermis ) และหนังแท้ ( Dermis ) เข้าไปทำลายคอลลาเจนจึงทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอย นักวิทยาศาสตร์ให้สมญาคลื่นแสงของรังสียูวีช่วงนี้ว่า รังสีจากดวงอาทิตย์ที่ทำให้แก่ ( Sun-Aging Ray ) หรือ UVA โดยคำว่า A ( เอ ) นี้เป็นตัวย่อที่อาจจะมาจากคำว่า Age ( แก่ ) ทำให้จำง่ายขึ้น

คลื่นรังสียูวีเอเป็นคลื่นที่แผ่มายังโลกของเราอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาด้วยความแรงของรังสีเกือบคงที่ ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลอะไรก็ตาม กระจกหน้าต่างรถยนต์ (หรือกระจกธรรมดาทั่วไป) ก็กั้นไม่อยู่ ผิวหนังจะดูดซึมรังสียูวีเอ (UVA) ไว้มากกว่ารังสียูวีบี ( UVB ) ถึง 25 เท่า

อันตรายจากรังสียูวีเอ ( UVA )

รังสียูวีเอ ( UVA ) นี้ทำให้ผิวหนัง ( Skin ) แก่ตัวเร็วขึ้น ( Premature Aging ) โปรตีนคอลลาเจน ( Collagen ) และอีลาสติน ( Elastin ) ในชั้นหนังแท้จะเสื่อมคุณภาพและปริมาณก็ลดลงจนดูเหี่ยว ( Degradation ) เกิดเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น และทำให้ผิวหนังมีจุดสีน้ำตาล ( Brown Spot ) กระจายทั่วไปแบบผิวหนังของคนแก่
เมื่อก่อนปี ค.ศ.1980 ( พ.ศ.2523 ) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคผิวหนังในขณะนั้นเชื่อกันว่า รังสี UVA ไม่มีอันตรายและยังเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย แต่หลังจากนั้นต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ วงการวิทยาศาสตร์กลับพบว่ารังสียูวีเอ ( UVA ) ทำอันตรายแบบสะสมต่อร่างกายมนุษย์มากกว่ารังสียูวีบี ( UVB ) เพราะร่างกายได้รับตลอดเวลา ไม่ว่าโลกของเราจะใกล้หรือไกลจากดวงอาทิตย์ ความเข้มข้นของรังสียูวีเอนี้เท่ากับรังสีเอ็กซ์อย่างอ่อน ๆ เป็นคลื่นแสงที่ทำให้ สีทาบ้าน เสื้อผ้า สี ซีดลง ( ที่เรียกกันว่าแดดเลียสี )  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

การที่ผิวหนังแก่ลงกว่าที่ควรเป็นเพราะรังสี UVA แผ่กระจายไปทั่วทุกหนทุกแห่งตลอดปี สามารถทะลุผ่านจนถึงชั้นหนังแท้ ทำลายทั้งคอลลาเจนและอีสาสติน จากเส้นใยที่เคยเต่งตึง กลายเป็นเปราะ ร้าวและหดตัวเหี่ยวลง รวมทั้งสารอุ้มน้ำที่คอยช่วยยึดโปรตีนคอลลาเจนให้อยู่เป็นกลุ่มก็พลอยลดจำนวนลงด้วยผลก็คือชั้นหนังแท้ ( Dermis ) จะแบน ยุบตัว แห้ง กระด้าง กระทบต่อไป จนทำให้ชั้นหนังกำพร้า ( Epidermis ) หยาบกร้านและย่นแบบหนังคนแก่

UVB คือรังสียูวี ชนิด บี ( Ultraviolet Light Type B ) มีช่วงความถี่อยู่ที่ 285-320 นาโนมิเตอร์ ( nanometer – nm ) ที่ใช้คำว่า บี ( B ) ก็เพราะรังสีนี้จะ Burn ( เผาไหม้ ) ผิวหนัง

รังสี UVB นี้เช่นเดียวกับ UVA โดยทั้งสองมีคลื่นแสงยาวกว่ารังสียูวีซี UVC ( ซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป ) สามารถส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลกมาจนถึงผิวดินถึงแม้ว่าจะมีเมฆมืดครึ้ม นั่นคือ ผิวหนังก็เกิดอาการไหม้แดด ( Sunburn ) ได้เมื่ออยู่กลางแจ้ง ถึงจะไม่ได้กระทบกับ แสงแดด ( Sunlight ) โดยตรงก็ตาม

เม็ดสีเมลานิน (Melanin) ป้องกันได้แต่รังสียูวีบี ( UVB ) เท่านั้น
รังสี UVB ซึ่งมีคลื่นแสงสั้นกว่า UVA จะผ่านได้เพียงชั้นหนังกำพร้าเพราะถูกกั้นไว้โดยเม็ดสีเมลานิน แต่ถ้าเม็ดสีไม่มากพอ มันก็จะเลยต่อเข้ามาในชั้นหนังแท้ได้บ้าง ส่วนรังสี UVA นั้น เม็ดสีเมลานิน ( Melanin Pigment ) จะต้านไม่อยู่จึงลงลึกทะลุถึงชั้นหนังแท้ (Dermis) เสมอ เหตุผลนี้สามารถนำไปอธิบายได้ว่า ทำไมครีมทากันแดดทั่ว ๆ ไป จึงได้ผลในการต้านรังสี UVB แต่ไม่เพียงพอในการป้องกันรังสี UVA ยกเว้นผสมตัวยาพิเศษเท่านั้น

รังสี ยูวีบี ( UVB ) มีความแรงไม่เท่ากันตลอดทั้งวัน ผิดกับรังสียูวีเอ (UVA)
รังสี UVA จากดวงอาทิตย์จะสาดส่องเข้มข้นเท่ากันตลอดทั้งวัน ถึงแม้จะมีอากาศมืดครึ้มก็ตาม แต่รังสี UVB จะมีความแรงสูงสุดในช่วง 10.00 นาฬิกา ( 4 โมงเช้า ) จนถึง 14.00 นาฬิกา ( บ่าย 2 โมง ) อย่างไรก็ดีทั้งรังสี UVA (ยูวีเอ) และ UVB ( ยูวีบี ) สามารถทำอันตรายต่อลูกนัยน์ตาอย่างง่ายดาย ( ทั้ง Cornea กระจกตา Lens เลนส์แก้วตา และ Retina จอภาพ ) เมื่อยืนกลางแดด ถึงแม้จะไม่มอง แสงแดด ( Sunlight ) เลยก็ตาม ก็อาจทำให้เกิดต้อกระจก ( Cataract ) และสูญเสียความคมของภาพที่มอง (Visual Acuity Problem) ได้

ถ้าไม่ป้องกันผิวหนังด้วยการทาครีมกันแดด รังสียูวีบีและรังสียูวีเอจะผ่านเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดโลหิตขาวขนาดใหญ่ ( Macrophage ชื่อ Langerhans Cell ) มีผลกระทบต่อภูมิต้านทานโรคของผิวหนัง สมรรถภาพในการป้องกันตนเองจะเสื่อมลงจนเชื้อจุลินทรีย์ เช่น ไวรัส หรือแบคทีเรียสามารถเข้าไปทำให้เกิดโรคผิวหนังได้  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

ผิวหนังที่ช้ำง่าย มีเลือดออกเห็นเป็นจ้ำ ๆ ( Easy Bruising ) เกิดได้เพราะผิวหนังเสื่อมคุณภาพ พบง่ายในผู้สูงอายุ

นักตีกอล์ฟต้องระวัง แสงแดด ( Sunlight ) ให้มาก โดยเฉพาะนักกอล์ฟสตรีถ้าผิวเสียแล้วจะเสียเลย
นักกอล์ฟทั้งหลาย ถ้าไม่มีแพทย์ผิวหนังประจำตัวไว้คอยดูแล อย่างนักกอล์ฟอาชีพต่างประเทศ ควรทราบไว้ว่าผิวของท่านจะทนแสงแดดได้เพียงระดับหนึ่งและในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และมีอันตรายสะสมด้วย เมื่อผิวถูกทำลายโดยรังสียูวีแล้วจะแก้คืนไม่ได้ พออายุเลย 30 ปี ผิวหนังนี้จะเริ่มแสดงความอ่อนแอ หนังแท้ ( Dermis ) ทรุดโทรมและลดการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ( Renew )

ผิวของสุภาพสตรีโดยเฉพาะกลุ่มที่ตีกอล์ฟจะบอบบาง ความรุนแรงของปัญหาจึงมีมาก (Premature Skin Aging) ถ้าไม่คอยเอาใจใส่ดูแลผิวพรรณให้ถูกต้อง ใช้ยาทาผิวไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันแดด ถึงแม้มีร่มก็ไม่เพียงพอที่จะกั้นรังสียูวีได้

UVC ( รังสีอุลตร้าไวโอเลตชนิด ซี – Ultraviolet Light Type C )

นักวิทยาศาสตร์บางท่านมักจะเรียกว่า Ultraviolet Cosmic Ray ทำให้จำได้ง่ายว่าเป็นชนิด ซี (C) ซึ่งอยู่ในคลื่นความถี่ 200 – 280 นาโนมีเตอร์ หรือ C Band

คลื่นรังสี UVC นี้ในวงการแพทย์ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคมานานกว่า 100 ปี จึงมักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คลื่นรังสีที่ใช้ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ ( Germicidal Irradiation – GI ) และเรียก UVC อีกชื่อหนึ่งว่า UVGI

รังสียูวีซีมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสั้นกว่าทั้ง UVB และ UVA และมีฤทธิ์ทำลายรุนแรงกว่า
ดร.นีล ฟินเซน ( Dr.Niels Finsen 1860-1904 ) ได้รับรางวัลโนเบล ( Nobel Prize ) สาขาการแพทย์ เมื่อ ค.ศ.1903
( พ.ศ.2446 ) เป็นคนแรกที่ใช้รังสียูวีซีในการรักษาโรค โดยประดิษฐ์ตะเกียง ชื่อฟินเซนที่ให้รังสียูวี ( Finsen Curative Lamp ) และใช้ติดต่อกันมาจน ค.ศ.1950

รังสียูวีซีจากธรรมชาติ ( ดวงอาทิตย์ ) จะไม่ผ่านชั้นบรรยากาศ จึงไม่มาถึงผิวโลกได้  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

รังสี UVC นี้มีอำนาจทำลายเซลล์ที่มีชีวิต ( Living Cell ) เพราะสามารถทะลุทะลวงผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ( Cell Membrane ) ทั้งของเชื้อจุลินทรีย์และของมนุษย์ได้อย่างสะดวกสบาย และสามารถเข้าไปถึงแกนกลางของเซลล์ ( Nucleus ) ทำลายรหัสพันธุกรรม คือ DNA ( ดี เอน เอ ) จนเสียหาย ถ้าเป็นสัตว์เซลล์เดียว เช่น แบคทีเรีย ก็จะตายโดยง่าย แต่ถ้าเป็นเซลล์ของสัตว์ชั้นสูง DNA อาจจะทำงานเพี้ยนไปจากปกติได้ และเกิดเป็นเซลล์มะเร็งขึ้น

ยังถือว่าเป็นความโชคดีต่อมนุษย์ชาติ ที่รังสีชนิดนี้ ติดชั้นโอโซน ( Ozone ) ของบรรยากาศที่ปกคลุมโลกอยู่ ไม่ส่องมาถึงมนุษย์บนผิวโลกได้ ยกเว้นในอนาคตที่อาจเกิดสภาวะเรือนกระจก ชั้นโอโซนถูกทำลายจนหนาไม่พอกั้นหรือจะกรองรังสียูวีซีที่มาพร้อมกับ แสงแดด ( Sunlight ) โอกาสนี้มีสูงมากใน 20 ปีข้างหน้า ถึงแม้เกือบทุกประเทศจะให้สัตยาบันในสัญญาเกียวโตแล้วก็ตาม

แสงแดด คือ ตัวทำลายโปรตีนคอลลาเจน ( Collagen )
สุภาพสตรีผู้สนใจปัญหาเรื่องผิวพรรณที่เหี่ยวย่น มีริ้วรอย จะต้องเคยได้ยินคำว่า “คอลลาเจน” บางท่านอาจรู้จักในฐานะเป็นตัวยาผสมในครีมเครื่องสำอางทาผิวชนิดราคาแพง หรือสารโปรตีนใช้ฉีดเข้าในผิวหนังเพื่อขจัดริ้วรอยบนในหน้าเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วคอลลาเจนมีคุณสมบัติที่ดีต่อผิวหนังมากกว่านั้น

คอลลาเจนเป็นใยโปรตีนอยู่ในชั้นหนังแท้ จับกันเป็นโครงสร้างพยุงผิวทำให้ผิวหนังเต่งตึง ดูสวยงามน่ามอง คอลลาเจน ( Collagen ) เปรียบเหมือนปุยนุ่นที่ยัดหมอนให้ฟูแต่แน่น ถ้านุ่นน้อยไปหรือมีสภาพแข็ง ไม่อ่อนนุ่ม หมอนก็จะเสียรูปและกระด้าง คอลลาเจนนอกจากจะพบหนาแน่นอยู่ในผิวหนังแล้ว ยังพบได้โดยเป็นโครงสร้างของเนื้อกระดูก ( Bone ) และเอ็น ( Ligament ) แม้แต่ที่ลิ้นหัวใจก็ยังต้องมีคอลลาเจน

คอลลาเจน ( Collagen ) เป็นเช่นเดียวกับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย คือมีสึกหรอและเสื่อมสภาพตามอายุขัย แต่แสงแดดจะกลับเร่งให้การหมดสภาพเร็วยิ่งขึ้นกว่าปกติ จนเซลล์ที่อยู่ในผิวหนังชื่อ Fibroblast ซึ่งมีหน้าที่ผลิตคอลลาเจนขึ้นใหม่เพื่อมาชดเชยที่เสียไปทำงานไม่ทัน ในกรณีที่อายุยิ่งมากขึ้น ความสามารถของเซลล์ Fibroblast ก็ลดลงตามวัยอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ใบหน้าเกิดเป็นริ้วรอยถาวรบนใบหน้า ( Face Wrinkle )  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

มีคอลลาเจนสมบูรณ์ ก็ไม่เกิดริ้วรอยบนใบหน้า

หลักการป้องกันริ้วรอยก็คือ ต้องลดการสูญเสียคอลลาเจน หรือหาวิธีเพิ่มคอลลาเจนขึ้นมาทดแทนส่วนที่ขาดไป การห้ามอายุตัวเราเองไม่ให้มากขึ้นไม่สามารถทำได้ ถึงจะรวยล้นฟ้าก็ทำไม่สำเร็จ แต่การไม่ให้ผิวหนังถูก แสงแดด ( Sunlight ) และเลือกใช้ครีมกันแดดชนิดที่มีคุณภาพนั้นเราสามารถทำได้ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ยึดถือให้ต้องปฏิบัติตามอีกด้วย โดยควรเริ่มทาครีมกันแดดให้ตั้งแต่เด็ก เพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนังเมื่อโต

การใช้คอลลาเจน ( Collagen ) ผสมในครีมทาบนผิวหนังพบว่าไม่ได้ผล เพราะโมเลกุลของคอลลาเจน ( Collagen Molecule) จะมีขนาดใหญ่เกินไปไม่สามารถซึมทะลุไปถึงชั้นหนังแท้ ( Dermis ) ได้ มันจะติดค้างบนผิวหนังเท่านั้น และเป็นได้แค่ตัวทำให้ชุ่มชื้น ( Moisturized ) เครื่องสำอางในปัจจุบันจึงได้พัฒนาให้ขนาดโมเลกุลของคอลลาเจนเล็กลงเรียก Microcollagen ( Micro แปลว่า เล็กมาก ) มาใช้ผสมกับครีมทาผิว เพื่อหวังให้แทรกชั้นหนังกำพร้าเข้าไปได้ ชื่อเต็ม ๆ เรียก Microcollagen Pentapeptide แพทย์จะฉีดโปรตีนคอลลาเจนชนิดบริสุทธิ์เข้าไปในผิวหนัง ( Collagen Replacement Therapy ) ตรงบริเวณที่มีริ้วรอย Skin Wrinkle วิธีนี้จะช่วยลบรอยย่นบนใบหน้า การเติมคอลลาเจนโดยใช้ฉีดวิธีดีที่สุดคือ สกัดเอาเซลล์ที่ผลิตคอลลาเจนของตัวเอง (Fibroblast) มาฉีด

โปรตีนของคอลลาเจนบริสุทธิ์ชนิดฉีด ถ้ามีราคาถูกจะผลิตจากสัตว์ ( Animal Source ) เช่น ลูกวัว ดังนั้น มันจะเป็นโปรตีนแปลกปลอมที่เข้าไปในร่างกายมนุษย์ เมื่อฉีดคอลลาเจนที่ผลิตมาจากสัตว์เข้าไป บางคนอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง เพราะภูมิต้านทานในตัวของเราอาจออกมาโจมตีเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม ที่เข้ามาปนเปื้อนในกระแสโลหิต นอกจากนี้คอลลาเจนจากสัตว์ที่ฉีดเข้าไป ก็ไม่สามารถผสมกับคอลลาเจนของตัวเราเองได้ ทำให้ตัวคอลลาเจนที่ฉีดเสื่อมสภาพเร็วมาก ( ถ้าไม่สลายอาจก่อให้เกิดเป็นก้อนไตแข็ง ๆ ยิ่งเป็นปัญหามากขึ้น ) ผลก็คือ ริ้วรอยที่หายไปหลังการฉีดจะกลับมาใหม่ ได้ผลการรักษาระยะสั้น ทำให้ต้องฉีดซ้ำ ๆ ซาก ๆ เกือบทุก 3 เดือน

คอลลาเจนรุ่นใหม่ที่ใช้ฉีดจึงมีการพัฒนาโดยทำมาจากมนุษย์ ( Human Collagen ) แทนมาจากลูกวัว ได้ผลดีขึ้น แพ้น้อยลง และไม่ต้องกังวลโรควัวบ้า ( Mad Cow Disease ) อีกด้วย
สำหรับเทคโนโลยีล่าสุด ( New Technology ) คือการสกัดเอาเซลล์ที่ผลิตคอลลาเจนของตัวเอง ( Person, Own Collagen Producing Cell-Fibroblast ) มาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ( ห้อง Lab ) จนมีจำนวนพอเพียงจึงนำมาฉีดตรงบริเวณที่มีริ้วรอย วิธีนี้ยุ่งยากและราคาค่อนข้างแพง ผลการรักษาอยู่ในระยะประเมินเบื้องต้น   [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

อันตรายจากแสงแดดต่อผิวหนังอย่างร้ายแรง คือ เป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็ง

รังสียูวีที่มาพร้อมกับ แสงแดด ( Sunlight ) อาจทำให้ดี เอน เอ ( DNA ) ในนิวเคลียสซึ่งเป็นแกนกลางของเซลล์ผิวหนังมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดีจนทำงานผิดไปจากปกติ แบ่งตัวเป็นเซลล์ใหม่อย่างเพี้ยน ๆ โดยไม่ยอมอยู่ภายใต้การควบคุม เกิดเป็นเซลล์มะเร็งขึ้น

เซลล์มะเร็งผิวหนัง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม รวม 3 ชนิดด้วยกัน จัดเรียงตามลำดับโรคเนื้องอกที่พบบ่อยมากขึ้นดังนี้

  • เนื้องอกผิวหนังชนิดไม่เกี่ยวข้องกับเม็ดสีเมลานิน (Non-Melanoma Skin Cancer) เนื้องอกชนิดนี้ไม่รุนแรงเป็นเนื้องอกผิวหนังที่ไม่ค่อยมีอันตราย เวลาผ่าตัดเลาะออกก็ง่ายพบบ่อยมากบริเวณใบหน้า หู คอ และแขน ซึ่งเป็นอวัยวะที่ผิวหนังถูกแสงแดดบ่อยที่สุด รังสียูวีเป็นตัวก่อให้เกิดโรคนี้ แพทย์โรคผิวหนังแบ่งเนื้องอกชนิดไม่เกี่ยวกับเม็ดสี Melanin ออกเป็น 2 ชนิดคือ
  • มะเร็งของเซลล์บริเวณชั้นฐานหนังกำพร้า ( Basal Cell Carcinoma ) เป็นเนื้องอกผิวหนังที่พบมากที่สุดใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเกิดเนื้องอกชนิดนี้เพิ่มสูงขึ้นมากปีต่อปี ลักษณะของเนื้องอกจะเป็นก้อนเล็ก ๆ มีสะเก็ดนูนสูง โตขึ้นช้า ๆ ไม่มีรากฝังลึก ไม่กระจายไปบริเวณใกล้เคียง (Metastasis) และผ่าตัดง่ายมาก
  • มะเร็งของเซลล์หนังกำพร้า ( Squamous Cell Carcinoma )
    พบได้มากเช่นกันแต่ก็น้อยกว่าอย่างแรก ลักษณะของเนื้องอกจะเป็นวงสะเก็ด หนา สีแดง มักจะขึ้นนูนบนผิวหนังที่ถูก แสงแดด ( Sunlight ) บ่อย ๆ ตรงกลางตุ่มแตกเป็นแผล บางครั้งอาจกระจายไป ( Metastasis ) ยังบริเวณใกล้เคียง จึงดูจะมีอันตรายมากกว่าชนิด Basal Cell Carcinoma ที่กล่าวมาแล้ว ( A.1 ) แต่ถ้ารีบทำการผ่าตัดรักษาตั้งแต่เมื่อเริ่มเป็น จะปลอดภัยมาก

ผู้ที่ชอบกัดริมฝีปากเล่นเป็นนิสัย ( Lip Biting ) จนมีแผลเรื้อรังและกลายเป็นโรคเนื้องอกชนิดนี้บ่อยมาก

เนื้องอกผิวหนังชนิดเกี่ยวข้องกับเม็ดสีเมลานิน ( Melanoma Skin Cancer ) เนื้องอกผิวหนังชนิดนี้มีอันตรายมากที่สุด    [adinserter name=”navtra”]

ความร้ายแรงถึงแก่ชีวิตเลยทีเดียวจึงเรียกชื่อว่า Malignant Melanoma ( โรคมะเร็งเม็ดสีเมลานิน ) และมีอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพียง 47,000 ราย จากโรคเนื้องอกผิวหนังชนิดต่าง ๆ ที่ตรวจพบทั้งหมดถึง 1.8 ล้านรายในหนึ่งปี แต่อัตราการตายกลับสูงมาก คือตายด้วยโรคมะเร็ง (Melanoma Skin Cell) ชนิดนี้ถึง 79 รายจากผู้ป่วย 42,000 คน แต่จากการตายด้วยโรคมะเร็งผิวหนังทั้งหมดมีเพียง 100 คนจากเกือบ 2 ล้านคน ถึงแม้การพัฒนาด้านการผ่าตัดจะก้าวหน้ามากเพียงใด แต่ผลของการรักษาก็ยังคงสร้างความผิดหวังไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น การป้องกันไม่ให้ แสงแดด ( Sunlight ) ทำอันตรายต่อผิวหนังได้จึงเป็นมาตรการที่ดีที่สุดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
พยาธิสภาพของโรคเนื้อร้าย Malignant Melanoma จะเริ่มจากเป็นตุ่มคล้าย ๆ ไฝขนาดใหญ่ หรือ หูด (Mole) ขอบของก้อนเนื้องอกขรุขระไม่ชัดเจน สามารถกระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้ จึงทำให้เกิดอันตรายสูง ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า การถูกแสงแดดจัด ๆ และบ่อย ๆ ตั้งแต่วัยเด็กสะสมมา อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งชนิดนี้ได้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ คนงานที่ทำงานกลางแจ้งและตากแดดเป็นประจำ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนังของเม็ดสีเมลานินสูงมากกว่าคนที่ทำงานในร่ม

แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนัง จากมูลนิธิมะเร็งผิวหนังของสหรัฐอเมริกา

The Skin Cancer Foundation ได้ให้คำแนะนำเพื่อปฏิบัติตนดังนี้

  • หลบเลี่ยงแสงแดดระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 16.00 น. ( 4 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น )
  • สวมหมวกปีกกว้าง
  • ใช้ครีมกันแดด ที่มีค่ามากกว่า SPF 15 ทุกครั้งที่ถูกแดด
  • เลือกใช้เสื้อผ้าที่ทำด้วยผ้าทอแน่น ( เพื่อไม่ให้รังสียูวีผ่านไปถูกผิวหนัง )
  • ใส่เสื้อแขนยาวและนุ่งกางเกงขายาว
  • เลือกใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ
  • ซื้อแว่นกันแดดที่กันรังสียูวีได้
  • รีบเข้าอยู่ในที่ร่มทันทีที่สังเกตเห็นว่าเงาของตัวท่านสั้นกว่าตัวจริงของท่าน ( แสดงว่าพระอาทิตย์ส่องเกือบตรง
  • ศีรษะของท่านแล้ว ) เพราะเวลานี้รังสียูวีจะแรงมาก
  • อย่าใช้สีแทน – Tan ทากันแดด (  เพราะมันไม่ช่วยป้องกันอะไรได้ ) ถ้าทาเพื่อให้สวยสามารถทำได้
  • สอนบุตรหลานของท่านให้มีนิสัยป้องกันตนเองจาก แสงแดด ( Sunlight ) อย่างถูกวิธีตั้งแต่ยังเด็กอยู่
  • ตรวจความผิดปกติของผิวหนัง ตั้งแต่ศีรษะจรดหัวแม่เท้า ทุก ๆ 3 เดือน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศ.ดร.น.พ. สมศักดิ์ วรคามิน. ผิวสวย (BEAUTY SECRET THE UNTOLD STORY) กรุงเทพ: 2539 – 2560 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) © Copy Right 1996, 2017.

ริตา, เกรียร์. อาหารขจัดอนุมูลอิสระ. กรุงเทพ: หมอชาวบ้าน,2551. 176 หน้า : 1.อาหาร-แง่สุขภาพ. 2.อนุมูลอิสระ. I.วูดเวิร์ด,โรเบิร์ต, II.พิสิฐ วงศ์วัฒนะ,ผู้แปล. III.ชื่อเรื่อง. 613.2 ISBN 978-974-04-5522-6.

อาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

0
เสริมสร้างร่างกายด้วยโภชนาการที่สมดุล
โภชนาการเป็นการเลือกรับประทานแล้วมีประโยชน์และไม่สร้างโทษต่อร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดตามมา
เสริมสร้างร่างกายด้วยโภชนาการที่สมดุล
โภชนาการเป็นการเลือกรับประทานที่มีประโยชน์และไม่สร้างโทษต่อร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดตามมา

อาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดอาหาร คือ สิ่งที่เรารับประทานแล้วมีประโยชน์และไม่สร้างโทษต่อร่างกายของเรา เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปอาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายจะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ส่วนประกอบที่สำคัญของอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราก็คือ สารอาหารที่อยู่ภายในอาหารนั่นเอง

สารอาหารหรือสารประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในอาหาร เมื่อเราทานอาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายรับประทานอาหารเข้าไปร่างกายจะทำการย่อยอาหารเพื่อสกัดเอาสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารออกมา อาหารแต่ละอย่างจะประกอบสารอาหารที่ต่างกันไป โดยที่อาหารแต่ละอย่างอาจจะมีสารอาหารมากกว่าหนึ่งชนิดรวมตัวอยู่ด้วยกัน
โดยปกติแล้วร่างกายของเรามีความต้องการสารอาหารเพื่อการดำรงชีวิตอย่างน้อยวันละ 40 กว่าชนิด หรือรวมกันคืออาหารหลัก 5 หมู่ที่เรารู้จักกัน ได้แก่

อาหารหมู่ที่ 1 โปรตีนประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่วต่างๆ
อาหารหมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต ประกอบไปด้วยข้าว น้ำตาล แป้ง มัน และเผือก เป็นต้น
อาหารหมู่ที่ 3 เกลือแร่หรือแร่ธาตุ ประกอบด้วยผักทุกชนิดที่สามารถนำมารับประทานได้โดยที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
อาหารหมู่ที่ 4 วิตามิน ประกอบด้วยผลไม้ชนิดทุกชนิดที่สามารถรับประทานได้ โดยไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน ประกอบด้วยกะทิมะพร้าว น้ำมันหรือไขมันจากสัตว์และน้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำ น้ำนมถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น
ซึ่งอาหารทั้ง 5 หมู่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงานกับร่างกาย
เราเรียกสารอาหารกลุ่มนี้ว่า “ สารอาหารหลัก ( Macronutrients ) ” ได้แก่ อาหารหมู่ที่ 1,2 และหมู่ที่ 5 อาหารทั้ง 3 หมู่นี้จะเป็นแหล่งที่ให้พลังงานกับร่างกายโดยตรงเมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายจะขาดอาหารกลุ่มนี้ไม่ได้เด็ดขาด เพราะจะทำให้ร่างกายไม่มีแรงในการทำกิจกรรม เช่น การยืน เดิน นั่ง คิด เป็นต้น

2.กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานกับร่างกาย
เราเรียกสารอาหารกลุ่มนี้ว่า “สารอาหารรอง ( Micronutrients ) ” ได้แก่ อาหารที่อยู่ในกลุ่มที่ 3 และ 4 คือ วิตามินและเกลือแร่อาหารที่อยู่ใน 2 หมู่นี้แม้จะไม่ได้เป็นแหล่งพลังงานโดยตรงของร่างกาย แต่มีหน้าที่ในการนำพาสารอาหารในกลุ่มหลักเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าสารอาหารในกลุ่มนี้จะเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานกับร่างกาย ทว่าร่างกายก็ไม่สามารถขาดสารอาหารกลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกับสารอาหารกลุ่มแรก เพราะว่าถ้าเราขาดสารอาหารในกลุ่มนี้จะส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น ระบบภูมิต้านทานโรคน้อยลง ป่วยบ่อยและส่งผลให้เกิดโรคที่มีความร้ายแรงในอนาคตได้   

อาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายมีสารอาหารทุกอย่างล้วนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเรา ทว่าสภาวะการในปัจจุบันนี้ที่คนเราต้องอยู่กับความเร่งรีบไปเสียทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเดินทาง การพักผ่อน โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกินที่มีการดูแลเอาใจใส่เรื่องคุณค่าทางโภชนาการของอาหารน้อยลง หันไปเน้นเพียงแต่ความรวดเร็วเพื่อประหยัดเวลาในการปรุงให้น้อยที่สุด จะได้มีเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความจำเป็นแต่ได้รับสารอาหารบางชนิดน้อยหรือไม่ได้รับเลยจนเกิดเป็นภาวะโภชนาการขาดความสมดุลขึ้น

อาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย มีอาหารที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป หลัก ๆ จะปรุงด้วย แป้ง ข้าว น้ำตาลและน้ำมันเป็นหลัก เพราะมีราคาถูก ปรุงง่าย รสชาติอร่อย กินแล้วให้พลังงานสูง อิ่มนาน มีส่วนประกอบเป็นผักและผลไม้ในปริมาณที่น้อยมาก ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดสารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ แม้ว่าสารอาหารกลุ่มนี้จะไม่มีผลกับการได้รับพลังงานของร่างกาย นั่นคือ กินหรือไม่กินเราก็มีพลังงานในการทำกิจวัตรประจำวันได้ แต่รู้หรือไม่ว่าการขาดสารอาหารในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะ แคลเซียม ( Calcium ) และคอนดรอยติน ( Chondroitin ) ที่จะส่งผลในระยะยาวเกี่ยวกับโครงสร้างของกระดูก รวมถึงการเกิดกระดูกสันหลังผิดรูปทรงตามธรรมชาติ เนื่องจากการเสื่อมของกระดูกอีกด้วย

ภาวะการขาดแคลเซียม

แคลเซียม ( Calcium ) คือ แร่ธาตุเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูกและฟันเป็นส่วนใหญ่ทำหน้าที่เพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน และยังมีแคลเซียมอีกจำนวนหนึ่งจะอยู่ในกระแสเลือดหรือเรียกว่า “ ฟังก์ชันแนลแคลเซียม ( Functional Calcium ) ”แคลเซียมส่วนนี้จะช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อโดยช่วยให้กล้ามเนื้สามารถยืดและหดตัวได้ดี เช่น การยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น ช่วยเป็นตัวส่งผ่านของสัญญาณของเซลล์ประสาทในการสื่อสารของระบบประสาท ยังช่วยรักษาภาวะความเป็นกรด-ด่างช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน และช่วยให้เลือดแข็งตัวได้เร็วในกรณีที่มีบาดแผลเกิดขึ้น ปกติผู้ใหญ่จะต้องได้รับแคลเซียมวันละประมาณ 1,000 มิลลิกรัม แต่ถ้าได้รับน้อยกว่าวันละ 800 มิลลิกรัมจะทำให้มีความเสี่ยงในการภาวะขาดแคลเซียม
ภาวะขาดแคลเซียมเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทอง ( ผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ) ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายต้องการแคลเซียมเพื่อส่งให้ทารกในครรภ์ใช้ในการสร้างโครงสร้างกระดูกของตัวอ่อน หรือเกิดจากการที่รับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 

เมื่อร่างกายมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำจะส่งผลให้เกิดอาการสับสัน ขี้หลงขี้ลืม ปลายนิ้วมีอาการชา กล้ามเนื้อมีอาการกระตุก หรือเกิดอาการซึมเศร้า เมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมจากภายนอกไม่เพียงพอต่อความต้องการ ร่างกายจะทำการดึงแคลเซียมที่อยู่ภายในกระดูกและฟันออกมาใช้ทดแทนแคลเซียมที่ขาดไป หรือที่เรียกว่า “ ภาวะแคลเซียมพาราดอกซ์ ( Calcium Paradox ) ” หรือ “ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ( HYPOCALCEMIA )” โดยที่ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีปริมาณแคลเซียมในเลือดที่น้อยมาก แล้วทำให้การทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ ( Parathyroid Glands ) ที่มีหน้าที่ทำการสลายแคลเซียมที่อยู่ในกระดูกและฟันออกมา ทำการดึงแคลเซียมออกมามากผิดปกติ เพื่อที่จะรักษาสมดุลของแคลเซียมในกระแสเลือด ส่งผลให้ปริมาณแคลเซียมที่อยู่ในกระดูกและฟันมีปริมาณที่น้อยลง จึงเกิดภาวะกระดูกเสื่อมหรือกระดูกพรุนได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าปริมาณฟังก์ชั่นแคลเซียมมีอยู่ในกระแสเลือดมี่ปริมาณสูงเกินความจำเป็นที่ร่างกายต้องนำไปใช้ ฟังก์ชั่นแคลเซียมนี้จะทำการสะสมอยู่ตามผนังกล้ามเนื้อของเส้นเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดมีการหดตัวมากขึ้น จนเกิดภาวะความดันโลหิตสูงตามมา หรือสะสมอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ถุงน้ำดี เกิดนิ่วในกระเพาะอาหารหรือถุงน้ำดีได้ การทำงานของกระดูกและข้อต่อกระดูกจะทำงานได้เมื่อกระดูกแคลเซียมที่สร้างความแข็งแรงและมีปริมาณของไกลโคอมิโนไกลคอน ( Glycosaminoglycans ( GAGs ) ) หรือ มิวโคโพลิแซกคาไรด์ ( Mucopolysaccharides ) ที่เข้ามาทำงานร่วมกับแคลเซียมและคอลลาเจน ในการสร้างกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ในการรองรับช่วงรอยต่อและเชื่อมต่อกระดูกแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน

ซึ่งไม่ว่าแคลเซียมหรือนิวโคโพลิแซกคาไรด์อยู่ในภาวะขาดแคลนจะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเจ็บปวดเนื่องจากภาวะกระดูกพรุน กระดูกเสื่อมซึ่งเป็นที่มาของโรคกระดูกสันหลังผิดรูปทรงตามธรรมชาติอีกด้วย
ดังนั้นเมื่อเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหารแล้ว เราจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ แต่สำหรับในผู้ที่ไม่สามารถกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ได้ ด้วยความจำเป็นของการใช้ชีวิต ก็มีทางเลือกที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าวได้ นั่นคือ การรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยเสริมแคลเซียมและไกลโคอมิโนไกลคอน ( Glycosaminoglycans ( GAGs ) ) อย่างเช่น คอนดรอยติน ( Chondroitin )
คอนดรอยติน ( Chondroitin ) เป็นไกลโคอะมิโนไกลคอน ( Glycosaminoglycans ( GAGs ) )ชนิดหนึ่ง ที่มีทำหน้าที่เหมือนกับไกลโคอมิโนไกลคอนและพบอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ พบได้ที่บริเวณข้อต่อตามอวัยวะของร่างกาย โดยจะพบมากที่บริเวณกระดูกอ่อน คอนดรอยตินมีหน้าที่ช่วยลดการเสียดสีของกระดูกส่วนปลายที่ต้องเชื่อมต่อกันของกระดูกที่บริเวณข้อต่าง ๆ ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อชนิดเกี่ยวพันที่พบอยู่ในร่างกายทั้งหมด โดยเฉพาะเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นข้อต่อ ช่วยทำการเก็บรักษาของเหลวและน้ำบริเวณข้อต่อ สารชนิดนี้จึงสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นและการหล่อลื่นของเนื้อเยื่อทั่วไปและบริเวณข้อต่อ ทำให้ข้อต่อสามารถขยับได้อย่างลื่นไหลไม่มีการสดุดหรือติดขัดเกิดขึ้น
การรับประทานอาหารเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณแคลเซียมและไกลโคอะมิโนไกลคอน ( glycosaminoglycans ( GAGs ) )ในร่างกายเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ว่าการรับประทานอาหารเสริมมากเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน   

อาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายก็ควรรับประทานในปริมาณที่น้อยกว่าหรือพอดีกับความต้องการของร่างกายต่อวัน อย่ารับประทานจนเกือบเท่าปริมาณสูงสุดที่ร่างกายรับได้ เพราะว่าอาหารที่เรารับประทานตลอดทั้งวันอาจจะมีองค์ประกอบ่ของแคลเซียมจากธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อรับประทานอาหารเสริมเข้าไปอาจจะทำให้ปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวันสูงเกินกว่าค่าที่ควรได้รับ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ แต่ถ้าเรารับประทานอาหารเสริมในปริมาณเท่ากับปริมาณที่ต้องการต่อวันแล้ว เมื่อได้รับแคลเซียมจากอาหารเพิ่มเข้าไปปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายได้ย่อมไม่เกินปริมาณสูงสุดที่รับได้แน่นอน

กอาหารและโภชนาการที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายต่างจากอาหารทั่วไปไม่สามารถทำให้ร่างกายได้รับปริมาณวิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมในยุคปัจจุบันที่มีแต่ความเร่งรีบ อาหารที่เรารับประทานล้วนมีแต่สารให้พลังงานสูงแต่มีวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อความต้องการของร่างกายน้อยมาก ดังนั้นเราจึงควรรับประทานอาหารเสริมควบคู่กับการรับประทานอาหารหลักทั้ง 5 หมู่ เพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารครบถ้วน เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและอายุที่ยืนยาวนับ 100 ปีก็อยู่ไม่ห่างไกล

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

โทะชิมะสะ โอตะ. ปรับรูปร่างด้วยมือเปล่า สร้างหุ้นฟิต พิชิตโรค. กรุงเทพฯ : อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560.

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/316/contact.php.

การถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่เกิดจากสมองเสื่อม

0
การถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่เกิดจากสมองเสื่อม
สมองเสื่อมทำให้มีการถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ทำกิจกรรมต่างๆช้าลงหรืออาจทำไม่ได้เลย
การถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่เกิดจากสมองเสื่อม
สมองเสื่อมทำให้มีการถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ทำกิจกรรมต่างๆช้าลงหรืออาจทำไม่ได้เลย รวมไปถึงการปรับตัวเข้าสังคม

สมองเสื่อม

เรามักจะเปรียบเทียบสมองของคนเหมือนกับซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ คือเป็นหน่วยประมวลผลที่สำคัญที่สุด หากซีพียูเสียหายหรือมีส่วนใดผิดปกติไป คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็ทำอะไรไม่ได้ต้องซ่อมแซมในส่วนที่มีปัญหาเสียก่อน    แม้ว่าจะไม่เหมือนซะทีเดียวแต่การอุปมาอุปไมยแบบนี้ก็พอช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมๆ ได้ว่า สมองนั้นมีส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตมากมายขนาดไหน การตัดสินใจ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การใช้ภาษา การเคลื่อนไหวที่ต้องควบคุม เช่น การขยับแขนขา การส่ายหน้า เป็นต้น และการเคลื่อนไหวแบบที่ไม่ต้องควบคุม คือเป็นไปตามธรรมชาติไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ เช่น การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลล้วนต้องผ่านการทำงานของสมองทั้งสิ้น เมื่อ สมองเสื่อม หรือเกิดความเสียหายขึ้นจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทุกอย่างในร่างกายจึงเข้าสู่สภาวะถดถอยไปเรื่อยๆ จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับกระบวนการรักษาและตัวผู้ป่วยเอง
ความสามารถของสมองเราอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ 6 กลุ่ม ดังนี้

การรับรู้ ประสาทสัมผัสทั้งหมด รูป รส กลิ่น เสียง
ความจำ ข้อมูลหรือเรื่องราวที่มีประสบการณ์ผ่านมา เรียนรู้มา
เหตุผล การหาความเชื่อมโยงในการเกิดของบางสิ่งบางอย่าง และวิเคราะห์ความเป็นไปต่อได้
จินตนาการ การนึกวาดภาพหรือสร้างภาพขึ้น โดยอาศัยสิ่งที่ได้รับรู้มาก่อนบวกกับความสร้างสรรค์
ความคิด การวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านเข้ามาในทุกๆ ด้าน เพื่อความเข้าใจและการตกผลึก หรือเพื่อหาทางต่อยอดไปสู่สิ่งอื่น
การตัดสินใจ การเลือกเส้นทาง วิธีการ หรือรูปแบบที่ต้องการในสถานการณ์ต่างๆ

ทั้งผู้ป่วยอื่นๆ และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีลักษณะถดถอยบางอย่างที่ทับซ้อนหรือคล้ายคลึงกันอยู่ ดังนั้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจึงต้องมีรูปแบบที่ใช้เพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยร่วมกับการตรวจวัดด้วยเครื่องมืออื่นๆ ว่าความถดถอยที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากสมองเสื่อมหรือไม่

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีอาการถดถอยทางความสามารถของสมอง ดังต่อไปนี้

  • คิดวิเคราะห์ วางแผน จัดลำดับความสำคัญไม่ได้ ไม่เข้าใจในเหตุผลต่างๆ
  • มีความบกพร่องในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร ทั้งๆ ที่เคยทำได้ดีมาก่อน เช่น พูดไม่ถูก เรียกชื่อสิ่งของไม่ได้ ไปจนถึงพูดไม่ได้เลย
  • มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดจนการดึงความรู้เดิมๆ ที่มีอยู่แล้วออกมาใช้ด้วย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ การจดจำและความเข้าใจบางอย่างสูญหายไป
  • เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่วดังเดิม ควบคุมอวัยวะไม่ค่อยได้ทำให้ทำงานและกิจวัตรประจำวันได้ลำบาก
  • ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับอะไรได้เป็นเวลานาน
  • เริ่มมีความบกพร่องในการเข้าสังคม การร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ราบรื่นและยุ่งยากมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อผู้ป่วยมีความบกพร่องในด้านหนึ่งแล้ว ก็สามารถบกพร่องด้านอื่นๆ ได้เพิ่มอีกในภายหลัง และยังเพิ่มระดับความรุนแรงของการถดถอยได้ตลอดเวลา หากไม่ทำการรักษาและบำบัดอย่างถูกวิธี หลายคนมีอาการถดถอยทางสมรรถภาพของสมองโดยไม่รู้ตัว เพราะยังออกไปทำงานต่างๆ ได้เหมือนปกติ เพียงแค่บางครั้งทำอะไรที่ซับซ้อนมากไม่ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ก็มักจะคิดว่าความสามารถของตัวเองไม่ถึงหรือไม่เคยทำจึงทำไม่เป็นเท่านั้น เช่น นักบัญชีที่คิดเลขได้คล่องแคล่วมาตลอด แล้วอยู่ๆ วันหนึ่งก็ไม่สามารถทำได้แบบเดิมหรือทำได้ช้าลง อีกตัวอย่างคือครูที่สอนได้ตามปกติแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาจำนวนข้อสอบกับจำนวนนักเรียนที่ไม่เท่ากันได้ และนี่ก็เป็นสัญญาณที่อาจจะเล็กน้อยจนเกิดการมองข้ามไป ถือเป็นการปล่อยให้ความถดถอยนั้นเพิ่มระดับมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ทำการรักษาเลย

ระยะการถดถอยของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน

ระยะการถดถอยของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันจะแบ่งระยะเป็น 3 ช่วง คือ ระยะที่มีผลต่องานและสังคม ระยะที่เกี่ยวกับการดูแลตนเอง และระยะที่เกี่ยวกับการรู้จักตนเอง

ระยะที่มีผลต่องานและสังคม : เมื่อเกิดภาวะโรคสมองเสื่อมขึ้นและเริ่มมีความถดถอย ระยะแรกสุดจะเกิดความบกพร่องกับการเข้าสังคมและส่งผลต่ออาชีพการงานที่ทำอยู่ หากเป็นในผู้สูงอายุคงไม่เท่าไร แต่มีคนมากถึงร้อยละ 15 ที่ต้องพบเจอปัญหานี้ในช่วงวัยทำงาน หรือที่เรารู้จักกันดีในโรค “ สมองเสื่อมก่อนวัย ” ซึ่งเป็นความผิดปกติของกลุ่มสมองกลีบหน้าและกลับขมับฝ่อ ดังนั้นจึงมีปัญหาทั้งเรื่องของเนื้องาน เพื่อนร่วมงานและสังคมที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วย จากที่ทำงานได้ง่ายๆ สบายๆ ก็จะรู้สึกยากขึ้น เป็นต้น

ระยะที่เกี่ยวกับการดูแลตนเอง : ระยะนี้เน้นไปที่การทำกิจวัตรประจำวันที่ควรทำได้ตามปกติ แต่ก็เกิดทำไม่สะดวกหรือทำไม่ได้ขึ้นมา โดยเรื่องของกิจวัตรประจำวันยังแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ กิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและกิจวัตรประจำวันขั้นสูง ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในลำดับถัดไป ช่วงนี้คนใกล้ชิดจะเริ่มมองเห็นความผิดปกติแล้ว แต่จะจับสัญญาณได้หรือไม่ก็อยู่ที่ความใส่ใจและระดับความสนิทสนมของคนใกล้ชิดกับผู้ป่วย

กิจวัตรประจำวัน 2 ประเภท

กิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน ( Basic Activities of Daily Living ) เป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่ายๆ ไม่มีลำดับขั้นตอนที่ซับซ้อนมากนัก เช่น การเดิน กิน นั่ง ลุกขึ้นยืน อาบน้ำ ขับถ่าย แต่งตัว เป็นต้น โดยปกติแล้วสิ่งเหล่านี้เราจะทำได้เอง ไม่จำเป็นต้องมีคนช่วยดูแล แต่กับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีภาวะถดถอยแล้ว มันกลับกลายเป็นเรื่องยากพอสมควร วิธีการสังเกตว่าผู้ป่วยมีความถดถอยในกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานหรือไม่ต้องดูที่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น ถ้าผู้ป่วยใส่เสื้อได้เองแต่ติดกระดุมเองได้ช้ากว่าปกติไปมาก หรือมีปัญหากับการอาบน้ำและหลีกเลี่ยงไปด้วยการหาข้ออ้างที่จะยังไม่อาบน้ำ เช่น ยังหนาวอยู่ ยังไม่อยากอาบ ทำให้ต้องคะยั้นคะยอตลอดเวลา แบบนี้ก็ต้องเอะใจก่อนว่ามีสัญญาณของความถดถอยบ้าแล้ว
กิจวัตรประจำวันขั้นสูง ( Instrumental Activities of Daily Living ) เป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนขึ้นมาหน่อย เช่น การขับรถ การซักผ้า จ่ายตลาด ทำอาหาร ทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น รวมไปถึงกิจกรรมที่ดูเหมือนไม่ซับซ้อนอะไรในขณะที่สมองจำเป็นต้องประมวลผลหลายอย่าง เช่น การเดินขึ้นลงบันได การจัดหนังสือเข้าชั้นหนังสือ เป็นต้น ที่น่าสนใจคือหลายคนมองว่าทักษะหรือสกิลบางอย่างจะเสื่อมถอยลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น จึงปล่อยปละละเลยไปและคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วหากร่างกายเรายังสามารถทำสิ่งนั้นได้จะไม่มีทักษะไหนเลยที่เสื่อมลงตามวัย

ระยะที่เกี่ยวกับการรู้จักตนเอง : นี่เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยเริ่มไม่รู้จักตนเอง หมายความว่า ไม่สามารถจดจำเรื่องราวบางส่วนของตัวเองได้ ไม่รู้ที่มาที่ไป หรือเครือญาติของตัวเอง บางครั้งก็พบว่าผู้ป่วยจำตัวเองไม่ได้เลยว่าตัวเองเป็นใครก็มีเหมือนกัน

แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีภาวะถดถอยในการประกอบกิจวัตรประจำวัน

ความถดถอยที่เกิดขึ้นเป็นผลกระทบจากโรคสมองเสื่อมก็จริง แต่เราสามารถชะลอให้ระดับความถดถอยที่จะแย่ลงเรื่อยๆ นั้นช้าลงได้ หรือหากดูแลได้ดีไปพร้อมกับการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ก็สามารถหยุดไม่ให้การถดถอยนั้นเสื่อมลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่ได้ และนี่คือวิธีการดูแลผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นความสามารถของสมองในด้านต่างๆ

  • กระตุ้นทักษะที่มีเหลืออยู่โดยหลีกเลี่ยงจุดที่ทำไม่ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะลงมือทำอย่างต่อเนื่อง เน้นทำตามกำลังที่มีและตามความเหมาะสมของช่วงวัย เมื่อไรที่อารมณ์ของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปเชิงลบ เช่น หงุดหงิด โมโห ต้องหยุดทันที
  • ฝึกให้ทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานด้วยตัวเองเป็นประจำ โดยผู้ดูแลคอยสังเกตอยู่ห่างๆ อย่ายืนจ้องเหมือนจับผิดหรือคอยระวังแทนผู้ป่วยมากเกินไป จะยิ่งทำให้เกิดความเครียดและมีความรู้สึกว่าตนเองด้อยสมรรถภาพในผู้ป่วย
  • หากผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้ดี ก็ให้ลองทำกิจวัตรประจำวันขั้นสูงดูบ้าง แต่ต้องเริ่มจากสิ่งที่ไม่ยากจนเกินไป ให้ทำด้วยความรู้สึกสบายและผ่อนคลายอยู่เสมอ
  • เล่นเกมส์เพื่อเพิ่มกระบวนการคิดและทักษะร่างกายเล็กๆ น้อยๆ
  • ชักชวนให้ผู้ป่วยดึงเอาความสามารถเดิมๆ มาทำ เช่น การวาดภาพระบายสี เล่นดนตรี เย็บปักถักร้อย เป็นต้น

นอกจากกระบวนการที่ต้องกระตุ้นให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมได้ทำอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาของอาการถดถอยให้ไปในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงได้อีก นั่นคือเรื่องของอาหารการกินที่เป็นประโยชน์ สุขภาพโดยรวม การสนับสนุนของครอบครัวและคนรอบข้าง อาการ ความเปลี่ยนแปลง และระยะของโรคสมองเสื่อมที่เป็นอยู่ ตลอดจนผู้ดูแลซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด ดังนั้นการปรับทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยของผู้ดูแลจึงสำคัญมาก ถ้าเป็นครอบครัวเดียวกันซึ่งรักใคร่และพร้อมที่จะดูแลเอาใจใส่จะดีมาก แต่ถ้าไม่มีครอบครัวหรือคนในบ้านติดภารกิจอื่นๆ ไปเสียหมด หากจะดูแลกันเองก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่จริงๆ มันจะกลายเป็นทำให้เกิดปัญหาเสียมากกว่า แบบนี้ก็ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญที่มาในรูปแบบของอาสาสมัครแทน และอาสาสมัครที่ว่านี้ก็สามารถสอบถามไปยังสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมได้เลย

ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีความถดถอยอยู่ในระยะไหนก็ตามแต่ การเข้าใจในความเจ็บปวดจากอาการป่วย และสัญญาณแห่งความถดถอยต่างๆ นั้นจำเป็นมากที่จะต้องเรียนรู้ ความใจเย็นและรอบคอบคือพื้นฐานที่ผู้ดูแลต้องมี

เสริมอีกนิดในส่วนของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีความถดถอยอยู่ในระยะไหนก็ตามแต่ การเข้าใจในความเจ็บปวดจากอาการป่วย และสัญญาณแห่งความถดถอยต่างๆ นั้นจำเป็นมากที่จะต้องเรียนรู้ ความใจเย็นและรอบคอบคือพื้นฐานที่ผู้ดูแลต้องมี วิธีสื่อสารอย่างมีศิลปะและมีชั้นเชิงจะเป็นอีกตัวช่วยให้การกระตุ้นผู้ป่วยทำได้ง่ายขึ้น ต้องไม่มีคำพูดที่กระทบกระเทือนจิตใจ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม หรือแม้แต่จะมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการทำกิจกรรมของผู้ป่วย ก็ห้ามใช้คำพูดที่รุนแรงเกินไปควรหันเหไปเลือกการโน้มน้าวแบบอื่นแทน

สิ่งแวดล้อมที่ต้องระวังสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อม

  • ผนัง พื้น และการตกแต่งที่มีสีสันฉูดฉาด มีลวดลายมากเกินไป จะทำให้สมองของผู้ป่วยเกิดความสับสนจนนำไปสู่อันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ทรงตัวไม่อยู่ หกล้ม เวียนหัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • ผนัง พื้นที่มีความมันเรียบจนเห็นเป็นเงาสะท้อนคล้ายกระจก มันอาจจะดูสวยงามสำหรับคนปกติ แต่กับผู้ป่วยมันจะสร้างความสับสนในแสงสะท้อนที่เกิดขึ้นอย่างมาก
  • ขั้นบันไดที่มีระดับซับซ้อนแต่ละช่วงสูงต่ำไม่เท่ากัน รวมไปถึงบันได้ที่มีขั้นบันไดแบบปกติทั่วไปแต่มีระยะยาวมาก เพราะการเดินขึ้นลงบันไดถือเป็นกิจวัตรขั้นสูงแล้ว หากสมองไม่สามารถควบคุมการตัดสินใจและการเคลื่อนไหวร่างกายได้ ก็จะเกิดอุบัติเหตุขึ้น
  • การตกแต่งหรือข้าวของที่เปลี่ยนที่วางใหม่ๆ อยู่ตลอด จะสร้างความเครียดให้กับผู้ป่วย ที่ไม่สามารถจดจำได้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน และยิ่งถ้าผู้ป่วยเลือกที่จะไม่จำเลยก็จะทำให้ความสามารถด้านความคิดและความจำถดถอยไปอีก
  • ระวังเสียงอึกทึกครึกโครม และเสียงเพลงที่มีจังหวะบีบเค้นโสตประสาท

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Walter J, Kaether C, Steiner H, Haass C. The cell biology of Alzheimer’s disease: uncovering the secrets of secretases. Curr Opin Neurobiol. 2001;11(5):585–590.

Sastre M, Steiner H, Fuchs K, et al. Presenilin-dependent gamma-secretase processing of beta-amyloid precursor protein at a site corresponding to the S3 cleavage of Notch. EMBO Rep. 2001;2(9):835–841. 

Lin MT, Beal MF. Alzheimer’s APP mangles mitochondria. Nat Med. 2006;12(11):1241–1243. 

ภาวะถดถอยทางสมองหรือภาวะเอ็มซีไอ ( MCI )

0
ภาวะถดถอยทางสมองหรือภาวะเอ็มซีไอ (MCI)
การเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองทำให้เกิดภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ ต้องตรวจรักษาด้วยเครื่องทีซีสแกน

ภาวะถดถอยทางสมองหรือภาวะเอ็มซีไอ (MCI)
การเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองทำให้เกิดภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ

เอ็มซีไอ ( MCI )

ภาวะถดถอยทางสมอง หรือ Mild Cognitive impairment ( MCI ) เป็นภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ มีสาเหตุมาจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองซึ่งแตกต่างจากการเสื่อมในภาวะปกติตามอายุขัย ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ประสาทที่มากกว่าภาวะปกติ ได้แก่ อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับสมอง เนื้องอก การขาดวิตามินและสารอาหาร

การติดสุรา หรือการใช้ยาบางชนิดที่มากเกินไป ภาวะ MCI เป็นอาการเบื้องต้นก่อนจะลุกลามกลายเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) โดยถ้าสามารถสังเกตภาวะ MCI ได้ก่อนก็จะช่วยชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) ได้ ความชุกของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ทั่วโลกอยู่ที่ 2-4 เปอร์เซ็นต์ที่ช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป ในสหรัฐอเมริกามีการบันทึกสถิติเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์พบว่ามีการป่วยแบบทวีคูณมากขึ้นในทุกช่วงอายุ 5 ปี เช่น ช่วงอายุ 60-64 ปีมีการป่วยอยู่ที่ 1-2 เปอร์เซ็นต์ ช่วงอายุ 70-74 ปี เป็น 12 เปอร์เซ็นต์ และช่วงอายุ 80-84 ปีพบ 31 เปอร์เซ็นต์ โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งค่าดูแลรักษาค่อนข้างสูง อยู่ที่ประมาณวันละ 200-300 บาทซึ่งถ้าคิดเป็นรายปีแล้วถือว่าค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นการเฝ้าระวังอาการเบื้องต้นจึงเป็นการช่วยชะลอการเกิดโรค รวมถึงลดความรุนแรงของการเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ได้ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำมีหลายรูปแบบดังต่อไปนี้

Mild Cognitive impairment ( MCI ) เป็นภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ มีสาเหตุมาจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองซึ่งแตกต่างจากการเสื่อมในภาวะปกติตามอายุขัย

ความรุนแรงของโรคสมองเสื่อมทำให้ความจำหายไป

ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ เช่น เมื่อวานนี้ไปทานอาหารเย็นที่ไหน วันหยุดยาวเมื่อต้นปีที่แล้วไปเที่ยวไหนมา หรือสองวันก่อนไปซื้อของที่ห้างไหน โดยผู้ป่วยที่มีการสูญเสียความจำในด้านนี้มีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์มากกว่าการสูญเสียความจำแบบอื่นๆ โดยการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้คือสมองกลีบขมับในส่วนกลาง รวมถึงสมองส่วน Hippocampus และ Parahippocampus

ความจำเกี่ยวกับความหมาย เช่น การจำความรู้ทั่วไป นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย ชื่อเมืองหลวงของประเทศต่างๆ สีประจำชาติ ประจำวัน หรือสัญลักษณ์ประจำเมือง

ความจำเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม เช่น การขับรถยนต์ การเล่นกีฬาต่างๆ โดยการทำงานของสมองส่วนนี้คือสมองกลีบขมับใน สมองส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย และปมประสาทในการมองเห็น ( Supplementary Motor Areas, Basal Ganglia and Cerebellum ) การสูญเสียความสามารถของสมองส่วนนี้มักพบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

สุดท้ายคือความจำระดับใช้งาน ซึ่งเกี่ยวกับสมองกลีบขมับในส่วนหน้าทั้ง 2 ข้าง ( Prefrontal Cortex ) โดยความจำรูปแบบนี้ได้แก่ การจำหมายเลขโทรศัพท์ได้แม้ไม่ได้จดไว้ การจำแผนที่ ถนนเส้นต่างๆ ที่จะขับรถไป เมื่อจำได้แล้วไม่ได้ใช้ต่ออีกก็จะจำไม่ได้ในเวลาต่อมา

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าสมองทำงานเกี่ยวกับความจำหลากหลายรูปแบบ และในแต่ละส่วนพื้นที่สมองก็ทำงานต่างกัน สำหรับผู้ป่วยโรคภาวะถดถอยทางสมอง ( MCI ) คือผู้ที่มีความบกพร่องทางสมองเกี่ยวกับความจำ ความผิดปกติของสมองที่เกี่ยวกับความจำที่ต่างกันก็มาจากความผิดปกติของพื้นที่สมองที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกแยะอาการผิดปกติ หรือผู้ที่อยู่รอบข้างผู้ป่วยควรพาไปพบแพทย์ด้วยเช่นกัน ภาวะสูญเสียความสามารถของสมองในการจำ ( MCI ) สามารถพัฒนาไปเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) หรืออาจจะเป็นเพียงแค่อาการเสื่อมทางสมองในภาวะปกติก็ได้ ซึ่งในทางการแพทย์มีกระบวนการวินิจฉัยดังต่อไปนี้

จากแผนภูมินี้สามารถอธิบายได้ถึงวิธีการวินิจฉัยแยกว่าผู้ป่วยมีภาวะการสูญเสียความสามารถทางสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำหรือไม่ และอาการบกพร่องเกี่ยวกับด้านความจำเพียงอย่างเดียวหรือมีอาการผิดปกติด้านอื่นร่วมด้วย ซึ่งมีผลในการพิจารณาวิธีรักษาและให้คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยต่อไป

แผนภูมินี้แสดงถึงพัฒนาการของอาการผิดปกติต่างๆ ไปสู่อาการสมองเสื่อม จะเห็นได้ว่าอาการเริ่มต้นที่แตกต่างกันจะพัฒนาไปเป็นโรคสมองเสื่อมที่แตกต่างกัน

อาการของผู้ที่เป็นโรคสมองบกพร่องความสามารถในการจำ ( MCI ) สามารถเริ่มต้นสังเกตได้ด้วยตนเองหรือคนรอบข้าง เช่น ความสามารถในการจำสิ่งต่างๆ การถามซ้ำคำถามเดิมบ่อยๆ ใช้เวลาในการแก้ปัญหา ให้เหตุผล และการวางแผนต่างๆ นานขึ้น สมาธิสั้นและสนใจกระตุ้นอื่นง่าย เป็นต้น อาการดังกล่าวที่ระบุมาอาจจะพบเจอได้บ้างและไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก แต่ถ้าพบได้บ่อยหรือมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากผู้ป่วยอาจจะอยู่ในภาวะที่เป็นโรคสมองเสื่อมแล้ว

สำหรับผู้ที่มีอาการคล้ายกับอาการโรค MCI ควรจะเข้าพบแพทย์เพื่อทดสอบวินิจฉัยว่ามีโอกาสที่จะเป็น MCI หรือไม่ การวินิจฉัยโรค MCI แพทย์จะมีการตรวจประเมินหลายๆ ด้านร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการซักประวัติเกี่ยวกับอาการที่เป็นอยู่ การทดสอบด้วยแบบทดสอบ การตรวจสุขภาพ การตรวจแสกนสมอง ( ในกรณีสงสัยว่ามีเลือดออกหรือเนื้องอกในสมอง ) ในกรณีพบว่าผู้ป่วยมีอาการของโรค MCI แพทย์สามารถวางแผนการรักษาเพื่อชะลอการเกิดภาวะโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ในอนาคตได้ โดยงานวิจัยระบุว่า 10-15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีอาการบกพร่องทางความจำ ( MCI ) อาจพัฒนาต่อไปเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ได้ และเมื่อศึกษาเพิ่มเติมด้วยระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นพบว่าอัตราการเปลี่ยนจากภาวะ MCI เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์อาจมีมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์
มีการศึกษาวิจัยถึงตัวยาที่ช่วยชะลอเวลาของอาการ MCI ไปสู่ภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ได้ แต่ยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้อย่างเป็นทางการ ดังนั้นแนวทางการรักษาในรายของผู้ป่วยที่เป็นโรค MCI คือการลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมลง

การรักษาในรายของผู้ป่วยที่เป็นโรค MCI

  • การรักษาโรคทางร่างกายอื่นๆ ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ภาวะหลอดเลือดอุดตัน ระดับไขมันในหลอดเหลือด รวมไปถึงการรักษาระดับความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะทั้งปริมาณและความดันของเลือดที่สูบฉีดไปยังสมองถ้ามากหรือน้อยเกินไปจะส่งผลต่อเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมอง
  • การจำกัดการดื่มให้น้อยลง หรือถ้าสามารถเลิกได้เลยก็จะเป็นการดี รวมไปถึงงดการสูบบุหรี่ เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
  • การกินอาหารที่ดีทั้งในด้านของโภชนาและปริมาณซึ่งจะส่งผลต่อดัชนีมวลรวมของร่างกาย ไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป
  • ที่สำคัญผู้ป่วย MCI จะต้องมีการทำกิจกรรมที่ทำให้ตื่นตัวเสมอๆ ทั้งในด้านอารมณ์และสังคม เช่น การฝึกทำปริศนาพัฒนาสมอง หรือการไปพบเพื่อนฝูง

มีการศึกษาพบว่าการช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ควรทำร่วมกันหลายๆ ทางจะได้ผลดีกว่าการมุ่งเน้นเพียงทางใดทางหนึ่ง เช่น รักษาสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสุรา และออกไปพบเพื่อนฝูงสม่ำเสมอ
ถึงแม้ว่าผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีอาการโรค MCI จะเป็นเรื่องที่ไม่น่ายินดีเท่าใดนัก แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการดูแลสุขภาพร่างกายส่วนอื่นๆ ของผู้ป่วยเองได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การดูแลผู้ป่วย MCI

  •  รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ ถึงแม้ว่าจะรู้สึกว่าร่างกายปกติดี
  • เป็นจุดเริ่มต้นของการเลิกเหล้าและบุหรี่ รวมถึงการงดชาและกาแฟก่อนนอนเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ความเครียดและความกังวลจะทำให้อาการ MCI มีความรุนแรงมากขึ้นดังนั้นควรทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส
  • ใช้เครื่องมืออุปกรณ์อีเลคโทรนิก การจดบันทึก หรือปฏิทินนัดหมายช่วยในเรื่องการจดจำ
  •  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที
  • กินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ฝึกสมองด้วยการเล่นแก้ปริศนาหรือแบบทดสอบที่ช่วยฝึกสมอง เป็นการฝึกให้เซลล์ประสาทได้ทำงานอย่างสม่ำเสมอ
  • ฝึกวิธีการผ่อนคลายในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง การนั่งพักผ่อนในบริเวณสวนหย่อม นอกจากเป็นผลดีต่อการชะลอภาวะ MCI แล้วยังช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดีให้กับจิตใจของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

อาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับสมองสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจหรือไม่มีข้อมูลเท็จจริง มักจะมองว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจหรือเกี่ยวกับภูติผีปีศาจ ซึ่งบางครั้งเพียงแค่พื้นที่สมองส่วนเล็กๆ เกิดความผิดปกติ ก็จะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันส่วนอื่นๆ เปลี่ยนแปลงได้

การศึกษาความรู้เกี่ยวกับอาการขั้นต้นของความผิดปกติของสมอง ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของสมองส่วนความจำ หรือส่วนของการเคลื่อนไหว ก็สามารถช่วยแก้ไขความรุนแรงของโรคสมองเสื่อมที่จะตามมาได้ ดังนั้นก่อนที่จะโทษกล่าวว่าผู้ป่วยจิตใจผิดปกติหรือแก้ไขด้วยวิธีผิดปกติอื่นๆ ควรเริ่มต้นด้วยการเข้าพบจิตแพทย์หรือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสมอง เนื่องจากค่านิยมของคนส่วนมากมักจะมองว่าการพบจิตแพทย์เสมือนว่าผู้นั้นเป็นคนบ้าไปแล้ว ควรปลูกฝังค่านิยมในการเข้าพบจิตแพทย์เมื่อสังเกตเห็นอาการผิดปกติทันที

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Luk KC, Kehm V, Lee VM, et al. (2012). Pathological alpha-synuclein transmission 
initiates Parkinson-like neurodegeneration in nontransgenic mice. Science. 338 : 949-953.