กระตุ้นความจำบำรุงสมองทำได้อย่างไร

0
ความสำคัญของสมองกับความจำ
สมองเป็นอวัยวะมหัศจรรย์ ยิ่งใช้สมองเพื่อคิดวิเคราะห์ หรือจินตนาการอยู่บ่อยๆสมองจะยิ่งพัฒนาก้าวหน้ามาก
ความสำคัญของสมองกับความจำ
สมองเป็นอวัยวะมหัศจรรย์ ยิ่งใช้สมองเพื่อคิดวิเคราะห์ หรือจินตนาการอยู่บ่อยๆสมองจะยิ่งพัฒนาก้าวหน้ามาก

สมอง คือ

สมอง ( Brain ) คือ อวัยวะส่วนสำคัญของมนุษย์และในสัตว์ต่างๆ เป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่นซึ่งมีความมหัศจรรย์ที่ถูกวิวัฒนาการมาเพื่อความอยู่รอด การมีสมองดี ความจำที่ดี สมองปลอดโปร่ง มีความกระฉับกระเฉง เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ ซึ่งสมองมีความสามารถในการจำต่างๆ โดยการสร้างทางเชื่อมระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์เข้าด้วยกัน เมื่อได้ระบบการเชื่อมต่อของความทรงจำ แต่ละความทรงจำแล้วเก็บไว้เป็นหมวดหมู่เรียกว่า เอ็นแกรม ซึ่งจะเก็บไว้ตามกลีบสมองเมื่อมีการกระตุ้นความทรงจำนั้นๆก็จะระลึกได้ว่าเคยผ่านประสบการณ์นั้นมา

การทำงานของสมองนั้นสลับซับซ้อนมาก ถึงแม้ว่าเราจะมีการศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่และส่วนประกอบของสมองจนทำให้เราได้รู้จักกับสมองมากยิ่งขึ้นแล้ว แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับความลับที่ซ่อนอยู่ของสมอง โดยเฉพาะเรื่องของความจำ เรายังไม่สามารถกำหนดเป็นกฎเกณฑ์มาตรฐานได้เลยว่า จะต้องกระตุ้นอย่างไร คนๆ หนึ่งถึงจะมีความจำที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ หรือเมื่อความทรงจำสูญหายไปเราจะต้องทำอย่างไรถึงจะเรียกความจำทั้งหมดให้กลับคืนมาได้ ข้อมูลที่มีจึงออกมาในรูปแบบของการให้แนวทางโดยรวมเท่านั้นเอง อย่างไรก็ตามเมื่อต้องการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความจำกับสมองก็ต้องศึกษาว่าสมองแต่ละส่วนทำหน้าที่อะไรบ้าง เพื่อใช้ต่อยอดในการศึกษาเชิงลึกต่อไป

สมอง มีหน้าที่อะไรบ้าง

สมองทุกส่วนจะทำงานสัมพันธ์กันในลักษณะเครือข่าย ต่อให้แต่ละส่วนมีหน้าที่หลักต่างกัน แต่การทำงานก็ไม่ได้แยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง สมองของมนุษย์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1. สมองส่วนหน้า ( Forebrain )

สมองส่วนหน้าเป็นส่วนของก้อนสมองที่ใหญ่ที่สุด และมีรอยหยักมากที่สุดด้วย มีหน่วยย่อยที่ทำหน้าที่หลายอย่างรวมกันอยู่ในส่วนนี้ หน่วยย่อยเหล่านั้น ได้แก่

ออลเฟกทอรีบัลบ์ ( Olfactory Bulb ) : เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าสุดของก้อนสมอง มีหน้าที่หลักในการดมกลิ่นต่างๆ สมองส่วนนี้ไม่มีการพัฒนามากนักในมนุษย์ แต่เราใช้เยื่อบุในโพรงจมูกช่วยในการดมกลิ่นแทน

ซีรีบรัม ( Cerebrum ) : นี่คือส่วนสำคัญที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และการเพิ่มพูนความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์กลางการทำงานด้านประสาทสัมผัสของร่างกาย ส่วนนี้ยังแยกย่อยได้อีก 4 ส่วนคือ

  • สมองกลีบหน้า ( Frontal Lobe ) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความคิด การตัดสินใจ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก ความประทับใจ การมีเหตุผลคิดอย่างเป็นนามธรรม ( Abstract Thinking ) การพูด การใช้ภาษาและการออกเสียง
  • สมองกลีบขมับ ( Temporal Lobe ) ซีกซ้ายจะทำหน้าที่รับรู้และเข้าใจภาษา ส่วนซีกขวาจะเกี่ยวข้องกับการเข้าใจเสียงสูงต่ำในประโยค หรือในบทเพลง
  • สมองกลีบข้างขม่อม/กระหม่อม ( Parietal Lobe ) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ การสัมผัส การรับรส ความเข้าใจในมิติสัมพันธ์ของร่างกายและสิ่งแวดล้อม
  • สมองกลีบท้ายทอย ( Occipital Lobe ) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเห็นภาพ ซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสมองกลีบข้างขม่อม ( parietal lobe ) คือเมื่อมองเห็นแล้วก็รับรู้ได้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นคืออะไร หรือสิ่งที่ได้สัมผัสนั้นเป็นอย่างไร เป็นต้น

ทาลามัส ( Thalamus ) : เป็นศูนย์รวมของกระแสประสาทที่ผ่านเข้า-ออกทั้งหมด พูดให้เข้าใจง่ายก็คือเป็นสถานีถ่ายทอดที่ทำหน้าที่กระจายคำสั่งไปยังส่วนต่างๆ ทาลามัสเป็นอีกส่วนหนึ่งของสมองที่มีรายละเอียดเยอะมาก และร่างกายจะเจ็บปวดอย่างรุนแรงหากส่วนนี้ถูกทำลายไป

ไฮโปทาลามัส ( Hypothalamus ) : ศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองอีกที เกี่ยวเนื่องกับการปรับอุณหภูมิของร่ายกาย อารมณ์ ความรู้สึก และวงจรชีวิตเกือบทั้งหมด เช่น การนอนหลับและตื่น อาการหิวและอิ่ม เป็นต้น

2. สมองส่วนกลาง ( Midbrain )

ส่วนนี้ต่อเนื่องมาจากสมองส่วนหน้า และมี ออพติกโลบ ( Optic Lobe ) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยย์ตาและการเปิดปิดของรูม่านตาด้วย

3. สมองส่วนท้าย ( Hindbrain )

ส่วนท้ายสุดของสมองมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 3 ส่วนดังนี้

  • พอนส์ ( Pons ) ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น การเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย เป็นต้น
  • เมดัลลา ( Medulla ) ทางผ่านของกระแสประสาทจากสมองสู่ไขสันหลัง
  • ซีรีเบลลัม ( Cerebellum ) ตรงนี้คือส่วนที่เราเรียกกันว่า “ สมองน้อย ” เป็นส่วนหลักในการประมวลการรับรู้และควบคุมการสั่งงานของสมอง

นอกจากนี้ก็ยังมีองค์ประกอบที่เราต้องรู้จักเพิ่มเติมอีก 2 อย่าง คือ ปมประสาทเบซัล และ สมองส่วนอมิกดาลา

3.1 ปมประสาทเบซัล ( Basal Ganglia ) : เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทสั่งการ ทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับคำสั่งจากสมองเนื้อเทา ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทั้งการวิ่ง เดินและการขยับแขนขา นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยควบคุมพฤติกรรมที่สืบเนื่องมาจากแรงกระตุ้นความต้องการของมนุษย์ที่เรียกว่า impulse control อีกด้วย

3.2 สมองส่วนอมิกดาลา ( Amygdala ) : อมิกดาลาเป็นส่วนของสมองที่ถูกค้นพบจากการวิจัยเกี่ยวกับความกลัวของมนุษย์ เป็นสมองส่วนเล็กๆ ที่มีขนาดเท่ากับเมล็ดอัลมอนด์เท่านั้น ฝังอยู่ที่ซีรีเบลลัมและเชื่อมต่อกับไฮโปทาลามัส อมิกดาลาจะไวต่อความหวาดกลัวค่อนข้างมาก รวมไปถึงความปวดร้าว และความเจ็บช้ำใจด้วย เมื่ออมิกดาลาถูกกระตุ้นก็จะเกิดกระบวนการเชื่อมโยงกับสมองส่วนอื่นๆ เพื่อบันทึกเป็นความทรงจำด้วย

นี่เป็นภาพรวมคร่าวๆ ของสมองทั้งหมด เราจะเห็นว่าประเด็นของความจำจะจับกลุ่มอยู่ที่สมองส่วนหน้ามากที่สุด แต่ก็ยังไม่ได้แยกขาดออกจากส่วนอื่นๆ อย่างที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่าทุกส่วนของสมองนั้นเชื่อมโยงถึงกัน นั่นหมายความว่าถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดเสียหายไป ก็จะต้องมีผลกระทบต่อสมองเกือบทั้งหมด และเราไม่สามารถเลือกได้ว่าจะพัฒนาแค่เฉพาะบางส่วนของสมองที่ต้องการได้เลย

การกระตุ้นสมองเพื่อพัฒนาความจำ

ความเชื่อเก่าเกี่ยวกับสมองมีอยู่ว่า เมื่อเราอายุเพิ่มมากขึ้น สมองของเราจะเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ทำให้คนสูงอายุเจ็บป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองกันเยอะมาก เช่น อัลไซเมอร์ สมองเสื่อม พาร์กินสัน เป็นต้น แต่เมื่อมีการศึกษาแบบเจาะลึกลงไปเรื่อยๆ บวกกับนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ส่งเสริมให้เข้าถึงความลับของสมองได้มากขึ้น จึงรู้ว่าอายุไม่ใช่ปัจจัยหลักหนึ่งเดียวในความเสื่อมของสมอง หมายความว่า ต่อให้อายุมากขึ้นเท่าไร เราก็สามารถมีมันสมองที่ดีเยี่ยมและทำงานเต็มประสิทธิภาพได้อยู่ดี หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ

สมองเป็นอวัยวะมหัศจรรย์ที่ต้องการ  “ การใช้งาน ” คล้ายๆ กับร่างกายที่ยิ่งออกกำลังกายก็ยิ่งแข็งแรง คนที่ใช้สมองเพื่อคิดวิเคราะห์ หรือจินตนาการอยู่บ่อยๆ จึงมีแนวโน้มว่าสมองจะพัฒนาก้าวหน้ามากกว่าคนอื่นๆ โดยที่ไม่เกี่ยวกับเพศหรือวัย

และไม่ใช่แค่การนึกคิดเท่านั้น เพราะการทำงานของสมองเชื่อมโยงมาถึงการแสดงออกและการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วย ดังที่เราจะเคยได้ยินเทคนิคของคนเก่งหลายๆ คนว่า ต้องออกกำลังกายอย่างเหมาะสมด้วยถึงจะฉลาด เมื่อไรที่เราออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา สมองเราจะทำหน้าที่หลายอย่างพร้อมกัน เช่น ตัดสินใจ วางแผน ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ เป็นต้น มันจึงเป็นการใช้งานสมองอย่างเต็มที่ ต่อมาเป็นเรื่องของอารมณ์ มีหลายงานวิจัยที่ระบุแน่ชัดแล้วว่าคนที่มีสภาวะอารมณ์ซึ่งเป็นบวก นั่นคือ อารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะ สนุกสนาน จะเสริมศักยภาพของสมองได้ดีกว่าคนที่มีความตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา

ความจำดีทำได้อย่างไร

นอกจากนี้ก็ยังมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่เราสามารถใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดความจำที่ดีขึ้นได้ เทคนิคที่นิยมใช้กันมากมีดังนี้

  • ใช้ภาษาภาพ : การผูกเรื่องราวหรือข้อมูลเข้ากับภาพจำ โดยเน้นภาพที่โดดเด่นหรือจำได้ง่าย จะทำให้จดจำสิ่งเหล่านั้นได้ดี ไม่เกิดความสับสนและไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก เพราะสมองไวต่อภาพมากกว่าข้อความ
  • ใส่อารมณ์ความรู้สึก : กรณีตัวอย่างง่ายๆ ก็คือภาพยนตร์ระทึกขวัญหรือภาพยนตร์สยองขวัญ เราจะจดจำได้ดีแทบทุกฉากทุกตอน เพราะมันน่ากลัว แต่ที่ต้องขยายความเพิ่มก็คือ ไม่จำเป็นต้องเป็นความกลัวเท่านั้น เราสามารถใส่อารมณ์แบบไหนก็ได้ให้กับข้อมูลที่ต้องการจดจำ ยิ่งใส่อารมณ์เข้มข้นมากเท่าไรก็ยิ่งช่วยให้จดจำได้ดีมากขึ้นเท่านั้น
  • เพิ่มจุดเด่น : คนหลายคนเป็นที่จดจำของผู้อื่นก็เพราะมีจุดเด่นบางอย่าง การสร้างความแปลกหรือแตกต่างให้กับสิ่งที่เราต้องการจดจำก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะนำมาใช้ได้
  • ทวนซ้ำ : วิธีนี้บ้านเราใช้กันเยอะมากทีเดียว เช่น การให้เด็กท่องสูตรคูณ การท่องตารางธาตุในวิชาเคมี เป็นต้น พวกนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการทวนซ้ำ ถ้าเรามีเรื่องที่ต้องการจำ ก็ให้ยกเรื่องนั้นมาทวนซ้ำเมื่อเวลาผ่านไป เช่น วันนี้อ่านข้อมูลหนึ่งที่สำคัญไปแล้วรอบหนึ่ง อีกสองวันก็เอามาอ่านทวนใหม่ เป็นต้น

สาเหตุของความจำเสื่อม

สาเหตุของความจำเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุมีทั้งรักษาได้และรักษาไม่ได้ ในประเทศไทยมักพบปัญหาเกี่ยวกับระบประสาทและสมองในผู้สูงอายุมาก ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว ซึ่งสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ดังนี้
1. ผู้ป่วยเริ่มมีอาการถามซ้ำๆ พูดซ้ำๆ ความจำเริ่มถดถอย สับสนทิศทาง ลืมชื่อหรือสถานที่
2. อาจมีความจำแย่ลง เดินออกไปนอกบ้านโดยไม่มีจุดหมาย มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์เกิดขึ้น มีอาการหงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย เกิดภาพหลอน คิดว่าจะมีคนมาทำร้ายร่างกายเกิดขึ้น มีอาการหวาดระแวง และกระวนกระวายร่วมด้วย
3. อาการจะรุนแรงมากขึ้น อาจกระทบกับคนในครอบครัวหรือบุคคลรอบตัวผู้ป่วยได้ จึงต้องมีคนดูแลผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา

จากนั้นพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกี่ยวกับสมองที่ร้ายแรงหรือไม่ จะได้ดูแลรักษาได้ทันท่วงที แล้วครอบครัวที่ต้องให้ความเข้าใจและคอยกระตุ้นให้ผู้ที่เริ่มมีปัญหาด้านความจำ เพื่อให้เขาได้ใช้สมองส่วนของความจำมากขึ้น

การดูแลร่างกายเสริมประสิทธิภาพของสมองและความจำได้จริงหรือ

1. ฝึกการหายใจ : สมองจะทำงานได้ดีมากในสภาวะที่มีออกซิเจนมากพอ การหายใจที่ถูกต้องจึงช่วยได้มาก วิธีการหายใจที่เป็นธรรมชาติของร่างกายก็คือ เมื่อหายใจเข้าท้องต้องป่องออกมา ไม่ใช่ส่วนหน้าอกหรือการยกไหล่ และเมื่อหายใจออกท้องต้องยุบเข้าไป

2. ออกกำลังกาย : การหมุนเวียนเลือดที่ดีช่วยอำนวยความสะดวกต่อการทำงานของสมองมาก และการออกกำลังกายก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกาย รวมถึงส่วนของสมองด้วย

3. ควบคุมปริมาณไขมัน : ระดับไขมันที่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม เป็นตัวการหนึ่งซึ่งทำให้หลอดเลือดในสมองมีปัญหา แน่นอนว่าส่งผลต่อการทำงานของสมองและความจำโดยตรง

4. ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ : น้ำเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้เพราะเป็นองค์ประกอบหลักของร่างกาย การดื่มน้ำสะอาดมากพอกับความต้องการ จะช่วยให้ร่างกายและสมองสดชื่น ระบบโดยรวมทำงานได้ตามปกติ

อาหารแบบไหนที่ช่วยบำรุงสมอง

สารอาหารแต่ละชนิดมีส่วนช่วยบำรุง และชะลอความเสื่อมของสมอง ได้แก่ โสม วิตามินชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ในอาหารหลายประเภท เช่น

  • วิตามินบี 1 พบในอาหารจำพวก ข้าวแข็ง ๆ ไข่แดง ปลา ถั่วเหลือง
  • วิตามินบี 6 พบใน ไข่ เนื้อสัตว์ จมูกข้าว ข้าวโพด กล้วย
  • วิตามินบี 12 ช่วยในการทำงานของระบบประสาท ทำให้ความจำระยะสั้นดีขึ้น ลดความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุราว 4 เท่า อาหารที่เหมาะสมประกอบด้วยไข่ เครื่องในสัตว์ นม เนื้อสัตว์อื่น ๆ ที่มีไขมันต่ำ
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ พบในผลไม้จำพวกกีวี่ ฝรั่ง มะละกอ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง
  • วิตามินอี มีมากในผักคะน้า ผักโขม ถั่ว อัลมอนด์ น้ำมันรำข้าว ธาตุเหล็ก ซึ่งจะช่วยส่งออกซิเจนเลี้ยงสมอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Luk KC, Kehm V, Lee VM, et al. (2012). Pathological alpha-synuclein transmission 
initiates Parkinson-like neurodegeneration in nontransgenic mice. Science. 338 : 949-953.

ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีต่อกระดูก

0
ผลกระทบจากการฉายรังสีต่อกระดูก
ภาวะกระดูกเน่าและตายที่เกิดจากการฉายรังสีในการรักษาที่เกิดขึ้นกับกระดูกกลาง
ผลกระทบจากการฉายรังสีต่อกระดูก
ภาวะกระดูกเน่าและตายที่เกิดจากการฉายรังสีในการรักษาที่เกิดขึ้นกับกระดูกกลาง

การฉายรังสีมีผลต่อกระดูก

ในปี ค.ศ.1922 Regaud เป็นผู้ที่ให้คำนิยามกับการเกิด Osteoradionecrosis ขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมา James Ewing ก็ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดภาวะ Osteoradionecrosis พบว่าภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นได้ยากมาก แต่ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ ปริมาณรังสีที่จะรักษาโรคมะเร็ง สร้างความเสียหายต่อกระดูก ( Bones ) และถ้าปริมาณรังสีที่ กระดูก ได้รับมีค่ามากกว่า 5,000 จนถึง 8,000 Gy จะส่งผลให้กระดูกที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้วเกิดเน่าหรือตายลง [adinserter name=”มะเร็ง”]

จากการศึกษาของ Roher พร้อมกับคณะเกี่ยวกับ การฉายรังสี ด้วยเครื่อง Cobalt-60 เข้าสู่ร่างกายว่ามีผลกระทบใดเกิดขึ้นบ้าง พบว่าเมื่อทำการทดลองฉายรังสีเข้าสู่บริเวณขากรรไกรล่างของลิงส่งผลให้ปริมารของเยื่อ Lamella ของ กระดูก ( Bones ) ปริมาณของหลอดเลือดในเยื่อหุ้มกระดูก และจำนวนช่องของไขกระดูกมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดของผู้ป่วยเกิดการอักเสบที่จะทำให้การไหลเวียนของเลือดเกิดปัญหา และถ้ามีการฉายรังสีในปริมาณที่สูงมากขึ้นอีกจะส่งผลให้เกิด Necrosis แก่ Osteoblast และ Osteocyte ที่อยู่ใน Harvesian System ที่อยู่ข้างในส่วนที่ได้รับการฉายรังสี ซึ่งจะทำให้การบวนการ Necrosis ของส่วนของกระดูก ( Bones ) และResorption ของเนื้อเยื่อ Lamella ที่เกิดการตายไปแล้วมีการทำงานที่ลดลง จึงทำให้กระดูก ( Bones ) ทำการซ่อมแซมตัวเองได้น้อยลง

ต่อมา Matsubayashi พร้อมกับคณะได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก การฉายรังสี โดยทำการศึกษาจากศพของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง พบว่าเมื่อเซลล์มะเร็งตายไปและเกิด Necrosis ขึ้นแล้ว พบว่าจะมี Fibrous Tissue เข้ามาแทนที่จนสุดท้ายทั้งหมดจะถูกแทนที่ด้วย Woven bone จนกลายเป็น Lamellar bone ในลำดับสุดท้าย ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับการรักษาประมาณ 4 เดือน – 13 ปี การที่จะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับว่ามากน้อยแค่ไหน ถ้าได้รับปริมาณรังสีมากก็จะเกิดอาการแทรกซ้อนได้เร็วกว่าผู้ป่วยที่ได้รับปริมาณรังสีน้อยนั่นเอง ภาวะ Osteoradionecrosis จะส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลงมาก ทำให้ กระดูก ( Bones ) ไม่สามารถรับน้ำหนักตัว โดยเฉพาะในส่วนของกระดูก Long Bone ดังนั้นในขั้นตอนการทำการรักษาต้องทำการป้องกันส่วนของกระดูก เพื่อให้กระดูก ( Bones ) มีความสามรถในการซ่อมแซมตัวเองให้กลับมาสู่สภาพปกติ เช่น การทำ Internal Fixation

การเกิด Osteoradionecrosis ในผู้ป่วยจะมีลักษณะคล้ายกับการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำที่เกิดเนื่องจากการรักษาด้วย การฉายรังสี ซึ่งการแยกอาการทั้งสองอย่างนี้สามารถแยกได้ด้วยการตัดชิ้นเนื้อกระดูกไปทำการตรวจด้วยวิธีการ Precutaneous Needle

การเกิด Osteoradionecrosis ในส่วนของ Femoral Head จัดเป็นอาการแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงกับผู้ป่วย ทำให้เกิด Necrosis และหลอดเลือดอักเสบเกิดขึ้นที่ส่วนต่าง ๆ ของ Femoral Head ที่มีการเกิด Necrosis ในส่วนของ กระดูก ( Bones )

[adinserter name=”มะเร็ง”] ช่วงแรกหลังจากที่ผู้ป่วยทำการฉายรังสีผู้ป่วยจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงจนน่าตกใจ เพราะว่ากระดูกอ่อนบางส่วนได้ถูกทำลายและหลุดออกจาก Subchondral ที่อยู่ภายในข้อต่อกระดูกส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อน ไหวได้หรือเคลื่อนไหวได้อย่างลำบากมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสามารถสังเกตได้จากการทำเอกซเรย์ MRI จะเป็นวิธีที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูงที่จะบอกได้ว่าเป็น Avascular Necrosis ที่สามารถแสดงให้เห็นบนฟิล์มที่ทำการเอกซเรย์ สำหรับการรักษาอาการ Avascular Necrosis สามารถรักษาได้ด้วยการเจาะ Femoral Neck and Head เพื่อช่วยเร่งให้เกิด Vascular in flow ที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีการซ่อมแซมตัวเองได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม หรือจะใช้วิธีการปลูกถ่าย Free vascularized Fibular เข้าไปสู่ Femoral Neck and Head เพื่อเป็นการกระตุ้นการซ่อมแซมตัวเองให้รวดเร็วอีกวิธีหนึ่ง แต่ว่าการที่จะรักษาด้วยวิธีทั้งสองผู้ป่วยจะต้องมีกระดูกสะโพกที่อยู่ในสภาวะปกติ นอกจากทั้งสองวิธีนี้ยังมีวิธี Total Hip Replacement ที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้โดยที่ไม่มีความเจ็บปวดเกิดขึ้น

นอกจากส่วนของกระดู Long Bone ที่สามารถเกิด Osteoradionecrosis ยังมี กระดูก Mandible และ Maxilla การที่จะเกิดผลกระทบนี้ก็ต่อเมื่อมี การฉายรังสี เข้าสู่บริเวณศีรษะและลำคอ อาการดังกล่าวนี้อาจจะเกิดขึ้นเองได้หรืออาจจะเกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อในบริเวณใกล้เคียงที่เกิดการชักนำ ทำให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้น้อยลง และสามารถแบ่งระยะของโรคตาม

การรักษาด้วย Hyperbaric Oxygen ( HBO )

การตอบสนองต่อการรักษาด้วย Hyperbaric Oxygen ( HBO ) ได้เป็น 3 ระดับตามความรุนแรง ดังนี้
1. เห็นกระดูก Alveolar Bone ซึ่งระยะนี้จะตอบสนองต่อการรักษาดีที่สุด

2. ระยะที่ 2 เป็นระยะที่พบได้ไม่บ่อยนัก เป็นระยะที่เมื่อทำการรักษาแล้วร่างกายไม่ตอบสนองต่อการรักษา ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องทำการผ่าตัดเอากระดูกที่เกิดการเน่าและตายออกจากร่างกาย ( Sequestrectromy/Saucerization )

3. ระยะที่ 3 เป็นระยะที่จะสังเกตเห็นแผลตลอดแนวความหนาของทุกเนื้อเยื่อ ( Full Thick Ness Involment ) หรืออาจมีอาการกระดูกกรามหักร่วมด้วย

การเกิด Osteoradionecrosis จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับรังสีที่มีปริมาณ 6,000 Gy แต่โอกาสที่จะเกิดอาการข้างเคียงนี้จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นถ้ามีการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย ซึ่งมีข้อสันนิฐานเกี่ยวกับการเกิดได้ 2 แบบ คือ  [adinserter name=”มะเร็ง”]

1. เกิดขึ้นได้เอง คือ การที่กระบวนการ Normal Turnover ของกระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยที่มีการเกิดกระบวนการ Degradative Function เกิดขึ้นมากกว่าการเกิดกระบวนการ New Bone Production

2. เกิดเนื่องจากผลพวงจากอาการบาดเจ็บ คือ อาการข้างเคียงนี้จะเกิดจากการที่เนื้อเยื่อส่วนที่อยู่ใกล้และ กระดูก กลางในส่วนที่เคยได้รับรังสีจนไม่มีความสามารถที่จะซ่อมแซมตัวเองได้ เช่น การถอนฟัน การผ่าตัดมะเร็งหรือเนื้องอกบริเวณนี้ออกไป หรือการทำหัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับฟันหรือทำหัตกรรมภายในช่องปาก รวมถึงการเกิดภาวะ Endarteritis ที่ทำให้เลือดและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อเหงือกเน่าตายได้

Osteradionecrosis ของกระดูกกรามอธิบายได้ดังนี้ คือ เยื่อหุ้มกระดูกและเนื้อเยื่อครอบคลุมที่อยู่บริเวณด้านบนของกระดูกกรามที่มีการได้รับ การฉายรังสี ส่งผลให้เกิดภาวะ Hyperemia เกิดมี Endarteritis กับ Inflammation ซึ่งทุกสภาวะที่เกิดขึ้นนั้นจะนำไปสู่การเกิด Thrombosis จนทำให้เซลล์ตายเนื่องจากจำนวนเส้นเลือดน้อยลง ( Hypovascularity ) จนกลายเป็นพังผืด ( Fibrosis ) และเนื้อเยื่อที่เคยได้รับการฉายรังสีจะมีจำนวนเซลล์ที่ลดน้อยลงและเกิดสภาวะขาดแคลนเซลล์ชนิด Fibroblasts Osteoblasts รวมถึงขาดแคลนเซลล์ที่จะสามารถพัฒนาเป็น กระดูก ( Undifferentiated Osteocompetent Cells ) ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะส่งผลต่อกระบวนการ Healing Process

อาการของภาวะกระดูกเน่าและตายที่เกิดจากการฉายรังสีในการรักษาที่เกิดขึ้นกับกระดูกกลางคือ การปวด บวม อ้าปากได้เพียงเล็กน้อย มีแผลที่เหงือกและมีการเปิดออกจนเห็นกระดูกกลางอย่างชัดเจน

อาการของ Osteoradionecrosis ที่เกิดขึ้นกับ กระดูก กลางที่เกิดขึ้น คือ การปวด บวม อ้าปากได้เพียงเล็กน้อย มีแผลที่เหงือกและมีการเปิดออกจนเห็นกระดูกกลางอย่างชัดเจน บางครั้งกระดูกกรามอาจแตกหักได้หรือมีแผลระหว่างภายในช่องปากกับส่วนของผิวหนัง ( Oral Cutaneous Fistula ) และยังพบการมี Fibrosis กับThrombosis ที่อยู่ในชั้น Intima ของส่วนของเส้นเลือดแดงที่มีหน้าที่ส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงเยื่อที่ห่อนหุ้มกระดูกโดยเฉพาะส่งนของเส้นเลือด Inferior Alveolar Artery ที่ถือเป็นเส้นเลือดหลักที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงกระดูก Mandible ในส่วนบริเวณของไขกระดูก พบว่ามีการแทนที่ด้วย Fibrous Tissue ชนิดที่มีความหนาแน่นเต็มไปหมด จนแทบจะไม่พบ Osteocytes ที่อยู่ในชั้น Cortex และยังพบว่ามีเศษเนื้อของกระดูกที่ตายไปและมีเยื่อหุ้มกระดูกที่ได้กลายเป็นพังผืดแล้วและพร้อมที่จะลอกตัวออกมาจาก Cortex เกิดขึ้นด้วย  [adinserter name=”มะเร็ง”]

การรักษาภาวะ Osteoradionecrosis ที่เกิดขึ้นในส่วนของกระดูกกราม

การรักษาภาวะ Osteoradionecrosis ที่เกิดขึ้นในกระดูกกรามสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่แผลเปิดออกเล็กน้อย แผลค่อนข้างตื้นและสามารถมองเห็น กระดูก ที่เกิดการกร่อนไปได้ บางครั้งอาจจะมีการแยกชั้นของผิวหนังหรือในส่วนของชั้น Mucosa การทำการรักษาในระยะนี้ คือ การทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ปราศจากแอลกอฮอล์ ร่วมกับการให้ยา HBO และยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายในช่อปาก ซึ่งการให้ยา HBO ในครั้งแรกจะให้ 20 Dives ก่อนเมื่อร่างกายมีการตอบสนองที่ดี นั่นคือผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นให้เพิ่ม HBO เข้าไปอีก 10 Dives เพื่อให้เนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบหรือแผลที่เกิดขึ้นทำการซ่อมแซมตัวเองจนหายดี

ระยะที่ 2 ระยะนี้จะพบว่าแผลที่เกิดขึ้นมีความกว้างและลึกมากจนเห็นชั้นของ Cortical และชั้น Medullary Bone ยังพบว่ามีการฉีกขาดของMucosal และ Cutaneous ที่มีขนาดกว้างกว่าเดิม การรักษาเมื่อผลกระทบเข้ามาในระยะนี้ คือ การให้ยาปฏิชีวนะ การทำ Transoral Debridement รวมถึงการทำ Sequestr Ectomy ที่ทำการตัดเอา กระดูก ส่วนที่ตายออกไปและทำการเย็บแผลให้ติดและให้ยา HBO ร่วมด้วย จนกว่าแผลจะปิดสนิท

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่กระดูกตลอดแนวความหนาตายไปจนถึงชั้น Inferior Border ในส่วนของกระดูกกราม ซึ่งสามารถพบว่ามี Fistula หรือกระดูกกรามแตกหัก ( Pathological Fracture ) ร่วมด้วย การรักษาเมื่อผลกระทบเข้ามาในระยะนี้ คือ ต้องทำการผ่าตัดเอาเนื้อส่วนที่ตายออกไปทั้งหมด และทำการซ่อมแซมด้วย Free Radical ในส่วนของ immediate และสามารถทำ Bone Transplant ฝั่งไว้ที่ส่วนของ กระดูก ที่ไม่เคยได้รับ การฉายรังสี มาก่อน ที่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นปกติ ซึ่งการรักษาในระยะนี้ไม่จำเป็นต้องทำ HBO ร่วมด้วย

การเกิด Avascular Necrosis ที่ส่วนของกระดูกจากการรักษาด้วย Steroid

การรักษาด้วย Steroid ส่งผลให้เกิด Avascular Necrosis กับกระดูกได้ ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 50-80- คนจะมีอาการแทรกซ้อนนี้เกิดขึ้นเมื่อได้รับการรักษาด้วย Steroid ซึ่งมักจะเกิดกับกระดูกสะโพกทั้งด้านขวาและด้านซ้าย จากการศึกษาในช่วงแรกพบว่าบางครั้งการเกิด Avascular Necrosis ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกับปริมาณของ Steroid ที่ใช้ ต่อมา Felson พร้อมกับคณะได้พบว่าปริมาณ Steroid ที่ใช้ในแต่ละวันนั้นส่งผลต่อการเกิด Avascular Necrosis อย่างชัดเจน [adinserter name=”มะเร็ง”]

การพัฒนาของโรค Avascular Necrosis เริ่มต้นด้วยการปวด ความสามารถในการเคลื่อนไหวลดลง หรือเคลื่อนได้ไม่สมดุล อาการที่เกิดขึ้นมานั้นสามารถเกิดขึ้นทั้งแบบเฉียบพลันและเกิดขึ้นในภายหลังจากที่ทำการรักษาก็ได้ และถ้าเริ่มมีอาการเกิดขึ้นแล้วอาการก็จะค่อย ๆ ลุกลามไปเรื่อยจนไม่สามารถหยุดยั้งได้ การตรวจหาว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ต้องทำการตรวจด้วยวิธีทำ MRI จึงจะสามารถบ่งชี้ได้ในระยะเริ่มแรกที่เริ่มมีอาการเกิดขึ้น ไม่สามารถตรวจวัดได้ด้วยการเอกซเรย์แบบปกติทั่วไป โดยสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงของ Femoral Head การตรวจวินิจฉัยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะถ้าตรวจพบได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นแล้ว จะสามารถยับยั้งการเกิดโรคไม่ให้รุนแรงมากขึ้นได้
การรักษา Avascular Necrosis ที่ดีที่สุดเมื่อทำการพบในระยะเริ่มแรก คือ การทำ Core Decompression เพื่อที่จะลดแรงกดที่อยู่ภายใน Medullary เพื่อหยุดหรือย้อนกลับกระบวนการที่ทำให้เกิดโรค Avascular Necrosis ต่อมา Wang กับคณะได้ทดลองทำการ Decompression ในกระต่าย พบว่าช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ส่วนของ Femoral Head กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับของ Avascular Necrosis หรือที่เรียกว่า Revascularization
แต่ทว่าในปัจจุบันนี้การตรวจพบ Avascular Necrosis จะตรวจพบในระยะที่มีการพัฒนามาเป็น Avascular Necrosis เต็มตัวแล้ว การรักษาให้หายจึงเป็นไปได้ยาก ทำให้แต่ Total Hipreplacement เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวตัวได้มากขึ้นเท่านั้นเอง

การเกิดมะเร็งทุติยภูมิชนิด Sarcoma ที่มีสาเหตุมาจากการฉายรังสี

การรักษาโรคมะเร็งมีความสำเร็จเกิดขึ้นมากมาย ส่งผลให้มีผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นจำนวนมากและมีอายุยืนยาวมานับสิบสิบปี แต่บางครั้งผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากการรักษาโรคมะเร็งด้วย การฉายรังสี พบว่ามีการเกิดเป็น Sarcoma เพิ่มมากขึ้น Sarcoma จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอายุประมาณ 60 ปี เมื่อเกิด Sarcoma แล้วจะมีอาการบวมร่วมด้วย ซึ่งการเกิดอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันในส่วนของกระดูกที่เคยเจ็บป่วยมาก่อน
ซึ่งการที่ผู้ป่วยจะมีการพัฒนากลายเป็น Sarcoma ได้นั้นต้องอาศัยระยะเวลาอย่างน้อย 20 ปีขึ้นไป และการฉายรังสีที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิด Sarcoma ได้นั้นต้องมีความเข้มข้นของรังสีมากกว่า 300 Gy และมีการฉายรังสีนานเกิน 28 วัน แต่ถ้าได้รับปริมาณรังสีน้อย ๆ ก็ต้องได้รับรังสีเป็นระยะเวลาที่นานมากจึงจะส่งผลกระทบให้เกิด Sarcoma ได้ การเกิด Sarcoma นี้สามารถเกิดขึ้นได้กับ กระดูก ( Bones ) ทุกส่วนของร่างกายรวมถึงเนื้อเยื่ออ่อนก็มีโอกาสที่จะเกิดได้เช่นกัน
เราไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง Sarcoma ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วย การฉายรังสี กับ Osteogenic Sarcoma ชนิดที่เรียกว่า Idiopathic ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เอง ซึ่งการสันนิฐานว่าเป็นมะเร็งชนิดใด ต้องอาศัยการดูประวัติย้อนหลังของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาร่วมด้วย จากการเอกซเรย์เราสามารถเห็นลักษณะเฉพาะบางแบบที่เกิดขึ้นในส่วนของกระดูก ( Bones ) ที่ถูกทำลายไปและมีการซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ ซึ่งที่กระดูส่วนนี้จะมีความหนาแน่นที่ไม่สูงมาก โดยจะค่อย ๆ เกิด Periosteal Elevation ในขณะที่ก้อนเนื้อจะเกิดในส่วนของ Soft Tissue จึงเป็นเรื่องยากที่เรายะทำการแยกความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงของ nercrosis ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการฉายรังสี แต่ในการเกิด Osteogenic Sarcoma ชนิดที่เรียกว่า Idiopathic จะไม่มีลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น ดังนั้นการตรวจว่าเป็นมะเร็งชนิดใดสามารถทำได้ด้วยการตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่จะสามารถแยกมะเร็งทั้งสองชนิดออกจากกันได้สำหรับผู้ป่วยที่เกิดเป็น Sarcoma ภายหลังจากที่ได้รับการรักษานั้นจะมีโอกาสรอดชีวิตที่น้อยมาก และเมื่อเกิด Sarcoma จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1 ปีหลังจากที่อาการแสดงออกมา ซึ่งผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตจากโรคนี้แค่ร้อยละ 1-2 เท่านั้น  [adinserter name=”มะเร็ง”]

ผู้ป่วยที่เป็น radiation Induced Osteogenic Sarcoma นิยมรักษาด้วยการผ่าตัดและการให้เคมีบำบัดในการรักษา แต่ไม่นิยมใช้ การฉายรังสี ร่วมด้วยในการรักษา ถึงแม้ว่าการเกิด Sarcoma จะมีอัตราการเกิดที่น้อยมาก แต่ว่าถ้ามีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้ว จะเป็นอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเป็นอย่างมาก จึงไม่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสี นอกจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นต้องจริง ๆ เท่านั้น

การแพร่กระจายของมะเร็งเข้าสู่มดลูก

ปัจจุบันนี้ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากในอดีต แต่ว่าผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากการรักษาโรคมะเร็งนั้นมีความถี่ในการเกิดแตกหักของ กระดูก ที่เป็นโรคอื่น ๆ ( Pathological Fracture ) อยู่แล้วเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก พบว่ามะเร็งที่เต้านมเป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายเข้าไปสู่กระดูกมากที่สุด มากถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มีการกระจายตัวของมะเร็งเข้าสู่กระดูกเลยทีเดียว การกระจายตัวจะกระจายแบบ Lytic Lesions และสามารถพัฒนาไปเป็น Sclerotic Lesions ที่สามารถพบได้บ่อยในมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ทั้งนี้ยังมีการเกิดรอยโรคที่ส่วนของกระดูกได้อีกด้วย ทั้งแบบ Sclerotic และ Lytic ซึ่งพบมากในกรณีที่เป็นมะเร็งเต้านม

การแพร่กระจายของมะเร็งสามารถแพร่กระจายเข้าสู่กระดูกได้ทุกส่วน โดยมักจะเริ่มจากการกระดูกที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่ไขกระดูกแดงเป็นอันดับแรกก่อน จึงจะแพร่เข้าไปใน Infilrate ที่อยู่ใน Cortex ของกระดูก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ Axial Skeleton มากกว่าที่จะส่งผลกระทบต่อ Appendicular Skeleton ทางการแพทย์จะใช้ Bone Scintigraphy ในการบอกตำแหน่งที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งที่เกิดขึ้นแต่ละชนิดได้ และยังเป็นการตรวจสอบที่มีประโยชน์มาก และยังสามารถตรวจ Bone Secondaries ที่มีขนาดเพียง 10 ml ได้ นอกจากนั้นยังสามารถใช้วิธี Emission Isoto Pic Tomographic Scintigraphy ในการตรวจรอยโรคแพ้ที่มีขนาดเล็กมากถึงขนาด 2 ml ได้อีกด้วย

ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมที่อยู่ในระยะลุกลามจะมีอการเจ็บปวดเกิดขึ้นเป็นส่วนมาก แต่ก็มีส่วนน้อยที่อาการปวด บวมจะไม่แสดงอาการออกมา และอาการแรกที่บ่งบอกว่ามะเร็งมีการแพ่กระจายไปสู่ส่วนของ กระดูก แล้วเป็นอาการ Pathological Fracture ซึ่งสามารถทำการตรวจสอบได้ด้วยเทคนิค Scintigraphy ที่มีการใช้ Technetium-99m เข้ามาในการตรวจสอบ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าการแพร่กระจายของมะเร็งนั้นมีลักษณะเป็น Multifocal นั่นเอง
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมที่อยู่ในระยะที่มีการแพร่กระจายแล้ว เมื่อทำการตรวจสอบเปรียบเทียบระหว่าง X-ray Bone Scan กับการทำ CT Scan พบว่าการทำ CT Scan นั้นสามารถทำการแยกความแตกต่างระหว่างโรคข้อเสื่อมกับลักษณะของมะเร็งที่เกิดการแพร่กระจายได้ แต่ถ้าการทำตรวจสอบด้วยเทคนิค Technetium-99m จะไม่เห็นความแตกต่างระหว่างว่าเป็นการแพร่กระจายของมะเร็งหรือเป็นโรคข้อเสื่อม ทางด้านการตรวจทาง Metabolic นั้นไม่มีประโยชน์ต่อการประเมินเพื่อบ่งบอกว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นอะไร  [adinserter name=”มะเร็ง”]

ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากระดูกต้องทำการรับน้ำหนักมาก ๆ ซึ่งอาการปวดสามารถบรรเทาได้ด้วย การฉายรังสี แต่ถ้าทำการฉายรังสีนานเข้าจากที่ทำการฉายแล้วจะหายปวดในทันทีก็จะกลายเป็นว่าความเจ็บปวดจะอยู่นานขึ้นกว่าครั้งแรกที่ทำการฉายรังสี นั่นแสดงว่ามะเร็งที่เป็นอยู่เกิดการดื้อต่อการฉายรังสี

กระดูก จะมีการตอบสนองหลายแบบมากเพื่อที่กระดูกจะได้เข้าสู่กระบวนการ Reossifcation ถ้าหลังจากที่รักษาด้วยการฉายรังสีแล้วเกิดมีรอยโรคแบบ Lytic เกิดขึ้นมา อัตราในการเกิดกระบวนการ Reossifcation หลังจากที่ทำการรักษาแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 35-80 % ซึ่งสามารถลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ เริ่มจากการเกิด Necrosis ภายในเซลล์มะเร็ง และเริ่มมีการ Proliferation ของส่วน Fibrous Tissue เข้าไปใน Woven Bone ซึ่งจะสามารถพัฒนาต่อไปเป็น Lamellar Bone ในเวลาต่อมาได้ ซึ่งถ้าอยู่ในสภาวะปกติ Woven Bone จะไม่สามารถพัฒนาไปเป็น Lamellar Bone ได้เลย

สำหรับผู้ป่วยบางส่วนจะมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องทำ Prophylactic Internal Fixation เพื่อไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นมา ซึ่งการทำ Prophylactic Internal Fixation จะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงต่อการเกิด Pathological Fracture โดยที่อัตราการเกิด Pathological Fracture จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับระดับของ Cortical Destruction โดยเฉพาะส่วนในของกระดูก Long Bone นั่นคือถ้า Cortical Destruction มีระดับมากกว่า 50 % แล้วจะส่งผลให้มีความถี่ในการเกิด Pathological Fracture ทำให้มี Pathological Fracture เพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังมีตัวบ่งชี้อีกอย่างที่ต้องทำการ Fixation นั่นคือการปวดที่กระดูกอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า Long Bone จะยังคงหลงเหลืออยู่และถึงจะทำ การฉายรังสี แล้วก็ตาม
การเกิด Pathological Fracture มักจะเกิดการสะสมจาก Microfracture หลายจุด ซึ่งบางครั้งก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับค่าน้ำหนักที่ต้องกดลงบนส่วนดังกล่าวในขณะที่ทำการเคลื่อนไหวหรือเดิน ดังนั้นเมื่อเกิดรอยแตกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 ml ในบริเวณProximal Femur หรือแม้กระทั่งการมี Pathological Avulsion ในส่วนของ Lesser Trochanter ทั้งหมดนี้ต่างเป็นตัวบ่งชี้ว่า Femur นั้นมีความอ่อนแอลงเป็นอย่างมาก และมีแน้วโน้มที่ว่าจะสามารถพัฒนาไปเป็น Pathological Fracture ในอนาคตได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำ Internal Fixation เพื่อที่จะเข้าไปช่วยในการพยุงกระดูกและป้กงักนไม่ให้กระดูกเกิดการบาดเจ็บในอนาคตได้ และยังต้องทำการฉายรังสีเข้าสู่กระดูกต่อไปเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกถูกทำลายเพิ่มขึ้นอีก [adinserter name=”มะเร็ง”]

จึงสรุปได้ว่าการทำ Pathological Fixation เป็นสิ่งที่ดีสำหรับตัวผู้ป่วย เพราะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด Fixation และช่วยประคองอาการของผู้ป่วยไม่ให้แย่ลงไปกว่าเดิม ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดน้อยลง เคลื่อนไหวได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข

Pathological Fracture

พบว่าการเกิด Pathological Fracture ในบริเวณของกระดูกสันหลังและ กระดูก Long Bone จะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดอย่างรุนแรงและร่างกายบางส่วนต้องสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงานไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในขณะที่ทำการรักษาหรือหลังจากที่ได้รับการรักษาแล้ว ที่เป้ฯเช่นนั้นก็เพราะว่ารังสีทำให้เกิดกสภาวะกระดูกมีรูพรุน ที่มีส้าเหตุมาจากการเกิด Hyperaemie ที่มีปริมาณเพื่อขึ้นชนิดชั่วคราวทำให้กระดูกมีความแข็งแรงลดลง ส่งผลให้กระดูกที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งเข้าเกิดการแตกหัก ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถระบุความสัมพันธ์ที่แน่ชัดของการเกิด Pathological Fracture กับปริมาณรังสีว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร แต่ก็พบว่ามีการเกิด Pathological Fracture หลังจากที่ได้รับ การฉายรังสี เกิดขึ้นได้
ซึ่งเป้าหมายของการรักษา Pathological Fracture ก็คือ ความต้องการที่จะรักษาสภาพของ Fragment ให้อยู่ในสภาวะปกติให้ได้มากที่สุด เพื่อที่กระดูกจะได้มีความแข็งแรงที่เพียงพอในการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ได้โดยที่ไม่เจ็บปวดและไม่ใช้เครื่องช่วยพยุงด้วย เพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป

การ Fixation กับกระดูก Long Bone ที่มีการเกิด Fracture ต้องได้รับการดูแลสภาพของ กระดูก ตลอดทั้งชิ้นไม่ใช่ทำการดูแลเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยที่ fractures เข้าไปที่ Proximal Femur ด้วยวิธี Joint Replacement ในขณะที่ส่วนของ Shaft fractures นั้นควรได้รับการรักษาด้วยวิธีการ Intramedullary Nailinl ที่มีการใช้ Interlocking Nail ในส่วนหรือในจุดที่ทำการระบุเอาไว้ ซึ่งจะช่วยพยุงกระดูกทั้งชิ้นและ Nail ยังสามารถใส่ด้วยเทคนิคปิดที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดน้อยลงด้วย

บางครั้งการ Fractures Lytic ที่มีขนาดใหญ่มากเมื่อทำการ Fixation ก็อาจจะทิ้งร่องรอย Defect ที่มีขนาดใหญ่ตามไปด้วยแต่ก็มีเพียงแค่วิธี Fixation Device เท่านั้นที่จะสามารถช่วยพยุงร่างกายเอาไว้ได้ ซึ่งเมื่อผ่านไปเป็นเวลานานขึ้น การทำ Fixation Device จะส่งผลให้เกิดอาการอ่อนล้า ส่งผลให้มี Fractures เพิ่มมากขึ้นเรื่อยจนในที่สุด กระดูก ก็จะเกิดการแตกหักได้ในที่สุด เพื่อป้องกันอาการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นจึงมีการทำ Methyl Methacrylate Cement ที่สามารอุดรอย Defect ที่อาจเกิดขึ้นมาได้ เป็นการช่วยพยุงส่วนรอบ ๆ Fixation Device ซึ่งทำการเชื่อมต่อด้วย Cement เมื่อ Cement แข็งตัวแล้ว ผู้ป่วยก็จะทำการเคลื่อนไหวร่างกายได้ และการเติม Cement เข้าไปในส่วนของรอย Defect นั้นยังช่วยป้องกันแรงกดทับที่จะเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับ Fragment ที่ส่วนต่าง ๆ และช่วยผ่อนการทำงานของ Fixation Device ซึ่งการใช้ Cement ในผู้ป่วยไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่คาดว่าจะมีอายุรอดต่ำกว่า 3 เดือน[adinserter name=”มะเร็ง”]
พบว่าการรักษา Pathological Fracture ที่ทำอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่ช่วยลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นและยังสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น ซึ่งสำหรับผู้ป่วยแล้วแนวทางการรักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นแนวทางที่ดีสุดแล้ว ถึงแม้ว่าเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการ Pathological Fracture หลังจากที่ได้รับการรักษาด้วย การฉายรังสี แล้วจะมีโอกาสรอดชีวิตน้อยมากก็ตาม แต่การรักษา Pathological Fracture ที่ใช้อยู่ก็สามารถยืดชีวิตผู้ป่วยออกไปได้อีกระยะเวลาหนึ่งอีกด้วย

ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้อาการข้างเคียงอย่าง Pathological Fracture เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วย การฉายรังสี ทั้งที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำการฉายรังสีและหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีไปแล้ว จึงจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับตัวผู้ป่วยและทีมแพทย์ที่ทำการรักษา

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

Bahadur, G. (2000). “Age definitions, childhood and adolescent cancers in relation to reproductive issues”. Human Reproduction. 15: 227. doi:10.1093/humrep/15.1.227.

ผลข้างเคียงจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะ และ มะเร็งลำคอ

0
ผลข้างเคียงจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะ และ มะเร็งลำคอ
การฉายรังสีรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ อาจทำให้เนื้อเยื่อที่อยู่ภายในต่อมน้ำลายจะถูกทำลาย
ผลข้างเคียงจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะ และ มะเร็งลำคอ
การฉายรังสีรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ อาจทำให้เนื้อเยื่อที่อยู่ภายในต่อมน้ำลายจะถูกทำลาย

มะเร็งศีรษะ และ มะเร็งลำคอ

มะเร็งศีรษะ ( Head Cancer ) และ มะเร็งลำคอ ( Throat Cancer ) มีหลายครั้งที่การรักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอที่ต้องทำการฉายแสงเข้าสู่บริเวณศีรษะและคอ ซึ่งเมื่อทำการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนของต่อมน้ำลาย ต่อมรับรู้รส กระดูก และส่วนของฟัน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้

ข้อดีของการฉายรังสีในระยะใกล้

  1. บริเวณรอยโรคจะได้รับรังสีในปริมาณที่สูง เพราะว่าส่วนของรอยโรคอยู่ใกล้กับไอโซโทปของรังสี

2. เนื้อเยื่อที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงจะได้รับรังสีในปริมาณที่ต่ำ เพราะว่าเนื้อเยื่อนั้นอยู่ห่างจากไอโซโทปของรังสี

การรักษามะเร็งศีรษะและลำคอสามารถทำการรักษาด้วยการฉายรังสีระยะใกล้ได้ทั้งแบบที่เป็นการฝังเข้าไปในรอยโรคและแบบที่วางในช่องโพรง

ผลกระทบจากการฉายรังสีมะเร็งศีรษะ และมะเร็งลำคอ

1. ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อต่อมน้ำลายจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ

มะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ แน่นอนว่า น้ำลาย อยู่ในลำคอ มีหน้าที่ในการช่วยหล่อลื่นอาหารให้สามารถเคลื่อนย้ายเข้าสู่ลำไส้ได้ง่าย ช่วยรักษาสมดุลของแร่ธาตุในฟัน ช่วยทำความสะอาดช่องปาก รักษาความเป็นกรด-ด่างภายในช่องปาก และยังเป็นตัวที่ช่วยย่อยอาการปากชนิดภายในช่องปากอีกด้วย น้ำลายจะสร้างจากต่อมน้ำลาย โดยที่ต่อมน้ำลายแต่ละต่อมจะมีหน้าที่ในการสร้างและหลั่งน้ำลายที่แตกต่างกันออกมา คือ

  1. ต่อม Parotid ซึ่งประกอบด้วย Serousacini ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำลายเป็น Proteinaceous ที่มีลักษณะคล้ายกับน้ำ

2. ต่อม Submandibular ซึ่งประกอบด้วย Mucous และ Serousacini ที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำลายที่มีลักษณะค่อนข้างเหนียวไม่มาก

3. ต่อม Sublingual ซึ่งประกอบด้วย Mucousacini ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำลายที่มีลักษณะเหนียวมากที่สุด ทั้ง 2 ต่อมนี้ต่อมหลักที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำลายในช่องปาก โดยจะทำการผลิตน้ำลายประมาณ 70-80 % ส่วนที่เหลืออีก 20-30% จะผลิตด้วยต่อมน้ำลายขนาดเล็กอื่น ๆ ในสภาวะปกติละสภาวะที่ได้รับการกระตุ้น เช่น เวลาหิว หรือการเห็นอาหารที่อยากรับประทาน เป็นต้น ต่อม Parotid จะทำหน้าที่ในการผลิตน้ำลายประมาณ 65-75 % และต่อม Submandibular กับต่อม Sublingual จะทำการผลิตน้ำลายออกมาเพียงแค่ 2-5 % เท่านั้น

เมื่อต่อมน้ำลายได้รับการฉายรังสีเข้าไปรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในต่อมน้ำลายจะถูกทำลายไป ส่งผลให้ต่อมน้ำลายไม่สามารถหลั่งน้ำลายตามปกติได้ โดยหลังจากที่เนื้อเยื่อในต่อมน้ำลายโดนทำลายไปแล้วส่วนนี้จะถูกแทนที่ด้วย Fibrous Connective Tissue ที่มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ และมี Plasma Cell กับ Lymphocytes แทรกซึมอยู่ด้วย ทำให้ต่อมน้ำลายเกิดเป็น Atrophy ผลกระทบจากมะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอจนกลายเป็นพังผืดในที่สุด ถึงแม้ว่าต่อมน้ำลายจะเป็นอวัยวะส่วนที่มีการแบ่งตัวที่ช้ามากเมื่อเทียบกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ แต่ว่าเซลล์ที่อยู่ในต่อมน้ำลายกลับมีความว่องไวต่อการฉายรังสีสูงมาก โดย Serous Acinar Cells ที่อยู่ในต่อม Submandibular จะมีความว่องไวมากว่าที่อยู่ในต่อม Parotid และMucous Acinar Cells ที่อยู่ในต่อม Sublingual จะเป็นส่วนที่มีความว่องไวต่อรังสีน้อยที่สุด

ผลกระทบจากการฉายแสงรักษา มะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ ที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายเมื่อได้รับการฉายรังสีคือ ต่อมน้ำลายจะทำการผลิตน้ำลายออกมาน้อยลง ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปากแห้ง ซึ่งผลกระทบจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีไปแล้วประมาณ 7 วัน และปริมาณของรังสีที่ส่งผลกระทบจะเริ่มตั้งแต่ปริมาณ 2.25 Gy เท่านั้น เรียกว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายนี้จะเกิดขึ้นเมื่อทำการเริ่มฉายรังสีเลยทีเดียว
เมื่อน้ำลายมีความเข้มข้นน้อยลงกลับพบว่าความเข้มข้นของแร่ธาตุที่อยู่ในน้ำลายบางชนิดมีความเปลี่ยนแปลงไป โดยโซเดียม คลอรีน แมกนีเซียมโปรตีนและแคลเซียมจะมีความเข้มข้นที่สูงขึ้น แต่ไบคาร์บอเนตที่อยู่ในน้ำลายกลับมีความเข้มข้นที่ลดลง ส่งผลให้น้ำลายมีค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้นด้วย

2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการได้รับรังสีต่อเยื่อบุ Mucous Membrane จากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ

Mucous Membrane เป็นเนื้อเยื่อที่มีความว่องไวต่อรังสีสูงและมีการผลัดเซลล์อย่างรวดเร็ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดกับ Mucous Membrane จะเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น Fractionation ของรังสีที่ใช้ในการรักษา ตำแหน่งที่รังสีทำการฉาย และสุขลักษณะภายในช่องปากของผู้ป่วย โดยเมื่อมีการฉายรังสีที่มีประมาณเกิน 2 Gy/Fraction จะส่งผลให้เกิดภาวะ Cell Killing มากว่าการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นของเซลล์ต้นกำเนิด ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะ Confluent Mucositis ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีประมาณ 21 วัน แต่ถ้าได้รับการฉายรังสีในปริมาณปกติ จะมีอาการบวมแดงเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการรักษาไปแล้วประมาณ 7 วัน และอัตราการเกิด Cells Killing จะเท่ากับการเพิ่มขึ้นของเซลล์ต้นกำเนิดซึ่งถือว่าเป็นผลกระทบที่เล็กน้อย ซึ่งอาการบวมแดงที่เกิดขึ้นเนื่องจาก Epithelium มีปริมาณลดลงและเส้นเลือดมีการขยายตัวรวมถึงมีการอักเสบของชั้น Submucosa เกิดขึ้นร่วมด้วย ถ้าต้องทำการ ให้รังสีต่อไป Mucosa จะหลุดจนเกิดเป็นแผลขึ้น และมี Fibrinous Exudate เข้ามาปกคลุมไว้แทน ส่งผลให้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนเกิดขึ้น ซึ่งอาการจะมีความรุนแรงมากขึ้นถ้าผู้ป่วยได้รับอาหารหยาบ อาหารแข็งหรืออาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน ในบางครั้งอาการดังกล่าวจะส่งผลต่อการกลืนอาหารและการพูดคุยของผู้ป่วยด้วย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะคงอยู่หลังจากที่ทำการรักษาประมาณ 14-21 วันจากนั้นจะค่อย ๆ หายไปเอง

3. มะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากาการฉายรังสีต่อต่อมรับรส

ต่อมรับรสจะมีอยู่ทั่วลิ้น ซึ่งจะมีอยู่มากที่บริเวณ Cirumvallate Papillae ของลิ้น ต่อมรับรสที่ตำแหน่งต่างกันจะทำหน้าที่รับรสที่ต่างกัน ดังนี้

  1. ต่อมรับรสที่ปลายลิ้นจะทำหน้าที่ในการรับรสหวาน
  2. ต่อมรับรสที่ด้านข้างของลิ้นจะทำหน้าที่ในการรับรสเปรี้ยว
  3. ต่อมรับรสที่ Cirumvallate จะทำหน้าที่รับรสขม
  4. ต่อมรับรสที่อยู่ทั่วทั้งลิ้นจะสามารถรับรสเค็มได้

ต่อมรับรสจะทำงานได้ดีเมื่อทำงานร่วมกับน้ำลายที่หลั่งออกมาโดยแร่ธาตุที่อยู่ในน้ำลาย เช่น โซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียมและไบคาร์บอเนตจะช่วยให้ต่อมรับรสทำงานได้เป็นอย่างดี เมื่อได้รับการฉายรังสีที่ปริมาณมากกว่า 30 Gy นอกจากจะส่งผลให้การทำงานของต่อมน้ำลายเกิดความเสียหายแล้วยังส่งผลต่อเนื่องมาสู่การทำงานของต่อมรับรสด้วย โดยที่ต่อมรับรสจะเกิดการทำงานที่ผิดปกติคือรับรู้รสชาติได้น้อยลง จนในที่สุดก็จะไม่สามารถรับรู้รสชาติได้ และรังสียังเข้าไปทำลาย Microvilli ที่อยู่ในต่อมรับรสทำให้การรับรู้รสชาติยิ่งแย่กว่าเดิม ซึ่งการรับทำงานของต่อมรับรสจะกลับมาเข้าสู่สภาวะปกติภายหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีผ่านไปประมาณ 2-4 เดือน แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับด้วย

4. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีที่มีต่อฟันจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับฟันที่ได้รับรังสีในการรักษาโรคพบว่า การฉายรังสีจะส่งผลให้เส้นเลือดที่นำเลือดไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อโพรงของเส้นประสาทฟัน ( Dental Pulp ) มีปริมาณลดลงและมีพังผืดเกิดขึ้นมาก นอกจากนั้นยังมีอาการฝ่อตัว ( Arthropy ) เกิดขึ้นตามมาด้วย ผู้ป่วยที่มีผลกระทบ Dental Pulp จะไม่แสดงอาการปวดเลยแม้ว่าฟันจะมีอาการผุหรือเกิดแผลที่เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันเกิดขึ้นก็ตาม

5. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีที่มีต่อกระดูกจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ

กระดูกเป็นส่วนที่มีความหนาแน่นสูงกว่าเนื้อเยื่อทั่วไป ดังนั้นปริมาณรังสีที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายกับกระดูกก็จะมีค่าที่สูงมากตามไปด้วย โดยเมื่อกระดูกได้รับรังสีในปริมาณสูงจะทำให้เส้นเลือดที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงกระดูกเกิดการตีบตันทำให้เลือดไปเลี้ยงกระดูกได้น้อยหรือไม่มีเลือดไปเลี้ยงกระดูกเลย ส่งผลให้กระดูกเปราะแตกหักและตายในที่สุด

การฉายแสง หรือ การฉายรักสีรักษามะเร็งนั้นทำได้โดยการวางไอโซโทปในบริเวณที่ชิดหรือบริเวณที่ติดกับรอยโรคโดยตรง หรือทำการผ่านอุปกรณ์ ( Applicator )

ลักษณะของผู้ป่วยที่สามารถฉายแสงระยะใกล้ได้

1. ขนาดของรอยโรค ผู้ป่วยที่จะทำการรักษาด้วยการฉายรังสีในระยะใกล้ต้องมีรอยโรคขนาดเล็กกว่า 4 เซนติเมตรเท่านั้น ถ้ามีขนาดของรอยโรคใหญ่กว่า 4 เซนติเมตรไม่ควรทำการรักษาด้วยวิธีนี้ เพราะถ้ารอยโรคมีขนาดใหญ่กว่า 4 เซนติเมตรแล้ว การรักษาด้วยการฉายรังสีระยะใกล้จะไม่สามารถคลอบคลุมรอยโรคทั้งหมดได้

2. ตำแหน่งของรอยโรค ตำแหน่งของรอยโรคที่ต้องการรักษาไม่ควรอยู่ใกล้กับกระดูก ระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างรอยโรคกับกระดูก คือ 1 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย เพราะว่าถ้ารอยโรคอยู่ใกล้กับกระดูกน้อยกว่า 1 เซนติเมตร เมื่อทำการรักษาด้วยการฉายรังสีเข้าไปแล้ว ผู้ปป่วยมีโอกาสที่จะเกิดภาวะเนื้อเยื่อกระดูกเน่าตายได้จากการโดนรังสีในปริมาณที่สูงมาก

3. สุขภาพผู้ป่วย สุขภาพและสภาวะของผู้ป่วยต้องอยู่ในสภาวะที่สามารถทำการวางยาสลบได้ เพราะว่าผู้ป่วยบางรายที่เข้ารับการรักษาจำเป็นจะต้องทำการวางยาสลบเพื่อที่จะทำการวางอุปกรณ์ ซึ่งสภาวะของผู้ป่วยเราสามารถทำการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนที่จะทำการรักษาทำได้ ดังนี้

3.1 วาง Shielding Prosthesis ในกรณีที่ต้องทำการฉายรังสีในช่องปากที่ใกล้กับส่วนของ Oral Cavity แล้ว ผู้ป่วยควรทำการวาง Shielding Prosthesisท ที่ทำจากวัสดุที่เป็นตะกั่ว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้รังสีเข้าสู่ส่วนของกระดูกกราม ซึ่งตะกั่วที่ใช้ความมีความหนาอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร

3.2 เตรียมฟัน ก่อนที่จะทำการรักษาด้วยการฉายรังสีระยะใกล้ผู้ป่วยต้องทำการตรวจสุขภาพของฟันก่อน ถ้าพบว่าฟันมีการผุที่อยู่ในชั้นรุนแรงต้องทำการรักษาให้หายหรือทำการถอนออกก่อนที่จะทำการฉายรังสี และควรรอให้แผลที่เกิดจากการถอนฟันหายสนิทก่อนจึงเริ่มทำการฉายรังสี 

เมื่อทำการเตรียมตัวก่อนที่จะทำการฉายรังสีแล้ว แต่ก็ยังมีผลกระทบเกิดขึ้นมาอีก ก็สามารถลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้

1. ถ้าผู้ป่วยมีการฉายรังสีในส่วนที่ครอบคลุมต่อมน้ำลาย แพทย์จะต้องให้ผู้ป่วยใช้ Fluoride ชนิดแบบเจลวันละ5-10 นาทีต่อวัน ซึ่งการใช้ Fluoride ชนิดแบบเจลผู้ป่วยจะต้องใช้ไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันการผุของฟันให้ลดน้อยลง

2. ผู้ป่วยที่ทำการฉายรังสีใกล้กับบริเวณ Interstital Brachytherapy และมีการใส่อุปกรณ์ป้องกันแสงไว้ในช่องปาก แพทย์ต้องบอกถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเมื่อนำอุปกรณ์ออกแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการอักเสบเกิดขึ้นทันทีและอาการจะมีความรุนแรงขึ้นประมาณ 21 วัน ถึง 1 เดือน และเมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 6 อาการอักเสบดังกล่าวจะหายไป ซึ่งช่วงที่เกิดการอักเสบผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดมาก สามารถให้ยาเพื่อลดความเจ็บปวด ลดการติดเชื้อและลดการอักเสบแก่ผู้ป่วยได้

ผลข้างเคียงจากการฉายแสงรักษามะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ

ในการฉายรังสีระยะใกล้มีผลข้างเคียงจากการฉายแสงกับเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยได้เช่นเดียวกับการรักษาแบบอื่น ๆ ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉายแสงที่พบจากการฉายรังสีระยะใกล้ให้กับผู้ป่วยที่ทำการรักษามะเร็งที่ส่วนของศีรษะและลำคอ สามารถแบ่งได้จากลักษณะการวางอุปกรณ์การฉายรังสี ดังนี้

1. ภาวะเลือดออกจากผลข้างเคียงจากการฉายแสง

2. ภาวะการสำลักจากผลข้างเคียงจากการฉายแสง อาการข้างเคียงนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการวางอุปกรณ์ในการฉายรังสีระยะใกล้ไว้ในตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับตำแหน่งของการกลืน เช่น ตำแหน่งที่โคนลิ้น ( Base of Tongue ) ในการรักษามะเร็งที่ส่วนของโคนลิ้น เป็นต้น

ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉายแสงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยสามารถป้องกันได้ด้วยการประเมินก่อนที่ทำจะการวางอุปกรณ์และการใช้อุปกรณ์ช่วยก่อนที่จะทำการวางอุปกรณ์ในตำแหน่งดังกล่าว เช่น การใส่ NG Tube หรือการเจาะคอ ( Tracheostomy ) เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดขึ้นของภาวะ Aspiration ในการรักษาผู้ป่วยที่ป่วยเป็นมะเร็งที่บริเวณโคนลิ้น เป็นต้น ซึ่งการจัดวางอุปกรณ์ต้องคำนึกถึงความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยได้ และต้องนึกถึง Aseptic Technique ด้วย เพราะการทำอย่างนี้จะสามารถช่วยลดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยให้น้อยลงได้  

นอกจากผลข้างเคียงจากการฉายแสงที่เกิดขึ้นกับการฉายรังสีระยะใกล้เพียงอย่างเดียวแล้ว เมื่อทำการฉายรังสีระยะใกล้ร่วมกับการฉายรังสีจากฉายนอกจะส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้มากขึ้น ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉายแสงหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยการฉายรังสีทั้งสองวิธีจะมีความรุนแรงสูงมาก อาการข้างเคียงที่พบได้คือ

อาการข้างเคียงที่พบ

1. ภาวะเนื้อเยื่อตาย ( Soft Tissue Necrosis ) ซึ่งผลข้างเคียงจากภาวะเนื้อตายสามารถพบได้ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยที่ทำการรักษา

2. ภาวะกระดูกตาย ( Bone Necrosis ) ซึ่งผลข้างเคียงจากภาวะกระดูกตายสามารถพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยที่ทำการรักษา

ผลกระทบหลังการฉายรังสีส่วนศีรษะและคอ

ภายหลังจากที่ทำการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณศีรษะและคอแล้ว รังสีจะส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง เช่น ต่อมน้ำลาย ต่อมรับรส ฟัน กระดูกใบหน้า เยื่อบุเยื่อเมือก แล้ว ยังมีผลกระทบข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้อีก ดังนี้

1. การเกิดเปลี่ยนแปลงของ Oral Micro Flora

น้ำลายจะมีระบบที่สามารถช่วยต่อต้านจุลินทรีย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยมี สารโพลีเปปไทด์ชนิดที่มี Proline และ Mucin อิเล็กโทรไลท์ที่ช่วยในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในช่องปาก และยังมี Secretory Lg A ที่สามารถเข้าไปจับตัวกับเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่เข้ามาในปากให้รวมตัวกัน และนำก้อนเชื้อที่รวมตัวกันไปจับตัวกับเม็ดเลือดขาวเพื่อให้เม็ดเลือดขาวทำการกำจัดทิ้งต่อไป นอกจากนั้นพอลิเปปไทด์ที่อยู่ในน้ำลายนี้จะมีประจุเป็นลบที่สามารถเข้าไปจับตัวกับผนังเซลล์ของแบคทีเรียและเชื้อราส่งผลให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเกิดการฉีกขาด ซึ่งกลไกนี้เป็นกลไกหลังที่ป้องกันการเกิด Oral Candidiasis
จะพบว่าถ้าต่อมน้ำลายโดนทำลายหรือมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงจะส่งผลให้การจัดการกับเชื้อโรคที่เข้ามาในช่องปากมีประสิทธิภาพที่ลดลง ช่องปากติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ฟันผุมากขึ้น ในผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยรังสีพบว่ามีโอกาสที่จะติดเชื้อมากกว่าคนปกติถึง 100 เท่าเลยทีเดียว 

ในระยะแรกอาการ Candidiasis จะมีเยื่อบุสีแดงเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างในลักษณะที่สมมาตรกันซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเป็น Radiation Mucositis แต่ว่าเยื่อบุที่พบจะพบทั้งบริเวณที่ทำการฉายรังสีและบริเวณรอบนอกด้วย และในระยะยาวอาการเรื้อรังของ Candidiasis จะพบตามที่มุมปากหรือบริเวณที่อยู่ใต้ฟันปลอม
เมื่อผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีแล้วจุลินทรีย์ที่อยู่ในปากจะเป็นจุลินทรีย์ชนิดที่ทำให้ฟันผุมากกว่าชนิดที่ไม่ทำให้เกิดฟันผุ เช่น Stretococus Mutans กับ Lactobacillus เป็นต้น และฟันที่ผุเนื่องจากการได้รับรังสีจะเริ่มผุที่บริเวณส่วนที่เป็นผิวเรียบก่อนและเกิดการลุกลามอย่างรวดเร็ว อาการฟันผุจะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีไปแล้วหลายสัปดาห์

2. การเกิดอ้าปากไม่ได้หรืออ้าปากได้ยาก ( Trismus )

เมื่อทำการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณ ศีรษะและลำคอ แล้ว อาจจะเกิดผลกระทบในบริเวณ Temporomandibular Joint ( TMJ ) และส่วนของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งจะมีอาการ Trismus เกิดขึ้นได้ และยังไม่สามารถคาดคะเนว่าอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นบ่อยหรือมีความรุนแรงมากแค่ไหน ทางแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้น

3. การเกิดภาวะทุพโภชนการ

น้ำลายมีลักษณะที่เป็นน้ำทั้งแบบที่เหนียวข้นและใส ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยให้อาหารจับตัวกันเป็นก้อน ทำความสะอาดภายในช่องปากและช่วยในการเพิ่มการรับรู้รสของอาหารในปากแล้ว ในน้ำลายยังมีเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร เช่น เอนไซม์อไมเลส ( Amylase ) เอนไซม์ไลเปส ( Lypase ) เป็นต้น ดังนั้นถ้าเกิดภาวะที่ต่อมน้ำลายทำ การผลิตน้ำลายออกมาน้อยหรือมีปริมาณลดลงจะส่งผลให้การรับรู้รสชาติของคนเราเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้รับรู้รสชาติได้น้อยลงความอยากอาหารก็น้อยลงตามไปด้วย จนบางครั้งผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดในช่องปากและบริเวณคอหอยจากการเกิด Rediation Mucositis เข้าร่วมด้วย เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยเกิดสภาวะขาดอาหารและในบางรายอาการอาจจะรุนแรงจนส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอได้

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์. ผลกระทบจากการรักษาโรคมะเร็ง. เชียงใหม่: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557.

World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.4. ISBN 9283204298.

คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้

0
ผลไม้กับคุณค่าทางโภชนาการ
ผลไม้เป็น1ในอาหารหลัก5หมู่ที่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายจำพวกวิตามินและแร่ธาตุเช่น กล้วย ส้ม สตรอว์เบอร์รี่ เมล่อน แอปเปิ้ล
ผลไม้กับคุณค่าทางโภชนาการ
ผลไม้เป็น1ในอาหารหลัก5หมู่ที่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายจำพวกวิตามินและแร่ธาตุเช่น กล้วย ส้ม สตรอว์เบอร์รี่ เมล่อน แอปเปิ้ล

คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้

คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ ผลไม้ ถูกนับว่าเป็น 1 ในอาหารหลัก 5 หมู่ที่สำคัญของมนุษย์ เนื่องจากมีวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายสูง ผลไม้มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำมากถึงร้อยละ 21-92 ( ขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้ ) การที่ผลไม้มีปริมาณน้ำสูง จึงทำให้เวลาทานผลไม้เข้าไปนั้น ผู้ทานจะรู้สึกสดชื่น และลดการกระหายได้ นอกจากน้ำแล้ว ผลไม้ยังสามารถให้พลังงานประเภทคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลธรรมชาติที่จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจากกลไกภายในร่างกายของมนุษย์ เช่น น้ำตาลกลูโคส ฟรักโตส และซูโครส ยังไม่หมดแค่นี้ เพราะผลไม้ ยังมีคุณประโยชน์ที่สำคัญต่อร่างกายอีกหลายประการ เช่น มีใยอาหารหรือไฟเบอร์ ที่ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารและการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยลดริ้วรอยและชะลอความแก่ได้อีกด้วย

นอกจากผลไม้ จะมีคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้แล้วผลไม้ยังเป็นแหล่งรวมวิตามินหลาย ๆ ชนิดแล้ว ยังเป็นแหล่งรวมสารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxident ) และสารพฤกษเคมี ( phytochemicals ) เช่น Lycopene เบตาแคโรทีน รวมทั้งสารประกอบโพลีฟีนอล โดยสารต้านอนุมูลอิสระมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระต่างที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาภายในร่างกาย ซึ่งจะเป็นตัวทำให้เซลล์ต่างในร่างกายมีความเสื่อมลงเร็วกว่าที่ควร เช่น การเกิดริ้วรอยบนลำตัวและใบหน้า เนื่องจากการสูญเสียคอลลาเจนที่เกิดจากอนุมูลอิสระ เป็นต้น จากการศึกษาทางคลินิกและระบาดวิทยาพบว่า การรับประทานผลไม้ที่หลากหลายเป็นประจำทุกวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางชนิด และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง ( จากสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้ ) มีรายงานการเก็บสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทย พบว่า คนไทยมีอายุยืนมากยิ่งขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีการพบการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปริมาณที่มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นเพราะวิถีชีวิตรวมทั้งเรื่องของอาหารการกินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคนไทยบริโภคอาหารกลุ่มผักและผลไม้ลดน้อยลง ทานแป้ง ไขมันและน้ำตาลมากขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ เมื่อทานผลไม้เป็นประจำ จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคร้ายขึ้นได้ในระดับหนึ่ง

คุณค่าสารอาหารที่มีในผลไม้

1. วิตามิน ในผลไม้มีวิตามินซีและเบต้าเคโรทีน ช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย และช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ

2. แร่ธาตุ ในผลไม้มีโปแตสเซียม ช่วยรักษาสมดุลของน้ำและความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย ช่วยในการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและระบบประสาท

3. น้ำ ในผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ 70 – 90 % ทำให้กินแล้วรู้สึกชุ่มคอ สดชื่น และช่วนให้ผิวพรรณสดใส

4. ใยอาหาร ในผลไม้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
• ใยอาหารชนิดละลายน้ำ ( soluble dietary fiber ) มีประโยชน์ในเรื่องของการลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว ( LDL cholesterol ) ในเลือด ที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมคาร์โบไฮเดรตได้ช้าลง ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นาน ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน
• ใยอาหารชนิดไม่ละลายในน้ำ ( insoluble dietary fiber ) มีประโยชน์ในเรื่องของระบบขับถ่าย บรรเทา อาการท้องผูก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การบริโภคใยอาหารชนิดนี้ ยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย

5. พลังงาน ในผลไม้จะมีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งผลไม้จะมีคารืโบไฮเดรต 10 – 35 % และผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงจะมีรสหวานจัด

ข้อแนะนำในการบริโภคผลไม้

ตามหลักของธงโภชนาการ หรือ ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ได้แนะนำให้ทานผลไม้อย่างน้อยวันละ 3-5 ส่วน เพื่อที่จะได้รับพลังงาน รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เราจึงได้ทำการเปรียบเทียบส่วนของผลไม้ กับปริมาณกิโลแคลอรี่ให้เข้าใจกัน ดังต่อไปนี้
ผลไม้ 1 ส่วน = ผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ( ผลไม้แต่ละชนิดมีคาร์โบไฮเดรตไม่เท่ากัน บางชนิดอาจจะต้องทานในปริมาณมาก แต่บางชนิดอาจจะต้องทานในปริมาณน้อย ไม่ใช่ว่าผลไม้ 1 ชนิดจะเท่ากันทุกอย่าง ) ยกตัวอย่างเช่น
• ส้ม 1 ส่วน เท่ากับส้ม 1 ผล
• เงาะ 1 ส่วน เท่ากับเงาะ 5 ผล
ฝรั่ง 1 ส่วน เท่ากับฝรั่ง 1/3 ผล
ในวัยเด็ก ควรทานผลไม้อย่างน้อยวันละ 3 ส่วน เพื่อให้เพียงพอกับพลังงานที่ร่างกายต้องการ คือ 1,600 กิโลแคลอรี่
ในวัยรุ่นชายหญิง วัยทำงาน และผู้สูงอายุ ควรทานผลไม้อย่างน้อยวันละ 4 ส่วน เพื่อให้เพียงพอกับพลังงานที่ร่างกายต้องการ คือ 2,000 กิโลแคลอรี่
เกษตร ผู้ใช้แรงงาน และ นักกีฬา ควรทานผลไม้อย่างน้อยวันละ 5 ส่วน เพื่อให้เพียงพอกับพลังงานที่ร่างกายต้องการ คือ 2,400 กิโลแคลอรี่

หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดผลไม้ 1 ส่วนหรือ 1 หน่วยบริโภคของผลไม้ ให้คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม และพลังงานประมาณ 60 กิโลแคลอรี เป็นไปตาม “ คู่มือธงโภชนาการ ” ของกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และตารางอาหารแลกเปลี่ยน ( food exchange lists ) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล ด้วยเหตุนี้ประชาชนทุกคนจึงสามารถนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้ในการบริโภคผลไม้อย่างเหมาะสมได้

คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน สำหรับคนไทย

สารอาหาร  หน่วย  Thai RDI
วิตามินซี มิลลิกรัม 60
วิตามินอี มิลลิกรัม 10
โฟเลต ไมโครกรัม 400
โซเดียม มิลลิกรัม 2,400
โพแทสเซียม มิลลิกรัม 3,500
แคลเซียม มิลลิกรัม 800
ฟอสฟอรัส มิลลิกรัม 800
แมกนีเซียม มิลลิกรัม 350
เหล็ก มิลลิกรัม 15
ทองแดง มิลลิกรัม 2
สังกะสี มิลลิกรัม 15
ใยอาหาร กรัม 25

ข้อควรระวังในการรับประทานผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคไต

ในผลไม้ 1 ส่วน ( ตามหลักธงโภชนาการ ) จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 4 – 172 กรัม โดยผลไม้ที่มีน้ำมากที่สุด คือแตงโมเหลือง อันดับรองลงมาคือแตงโมแดงและสตรอเบอร์รี่ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต จะต้องมีการจำกัดปริมาณน้ำที่รับเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งในกรณีนี้ก็รวมผลไม้ที่มีส่วนประกอบของน้ำมากเอาไว้ด้วย
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ( end-stage renal disease ) นอกเหนือไปจากเรื่องของน้ำในผลไม้แล้ว ก็ต้องระวังโพแทสเซียมในผลไม้ด้วยเช่นกัน เพราะผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกทางปัสสาวะได้เหมือนคนปกติ ผู้ป่วยจึงต้องระวังเป็นอย่างยิ่งสำหรับผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง แก้วมังกร ส้ม ทุเรียน มะละกอ กล้วย เพราะถ้าหากทานเข้าไปในปริมาณมาก อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ข้อควรระวังในการรับประทานผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนหรือผู้ต้องการลดน้ำหนัก

ผู้ที่เป็นโรคอ้วน อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน หรือผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคอ้วนแต่ต้องการจะลดน้ำหนัก ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานน้อยจะดีกว่าผลไม้ที่มีรสหวานจัด เพราะปริมาณน้ำตาลจะสูงขึ้นตามไปด้วย และควรเลือกทานผลไม้ที่มีส่วนประกอบของใยอาหาร ( ไฟเบอร์ ) ในปริมาณมาก เพราะจะช่วยให้อิ่มท้องได้นานยิ่งขึ้น

ข้อควรระวังในการรับประทานผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงให้มากที่สุด รวมทั้งผลไม้ด้วย ถึงแม้ว่าผลไม้ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะมีปริมาณน้ำตาลไม่มาก ( ไม่ถึง 55 มิลลิกรัมต่อผลไม้ 1 ส่วน ) แต่ในประเทศไทยพึ่งจะมีการรวบรวมดัชนีน้ำตาลในผลไม้เพียง 11 ชนิดเท่านั้น คือ

กล้วยหอม
• มะละกอ
• ทุเรียนหมอนทอง
• เงาะโรงเรียน
• ส้มโอขาวน้ำผึ้ง
• ชมพู่ทับทิมจันทร์
• มะม่วงอกร่อง
• ลำไย
• สับปะรด
ฝรั่ง
แก้วมังกร
จากผลไม้ทั้ง 11 ชนิดนี้ พบว่าส้มโอขาวน้ำผึ้ง มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ 59 รองลงมา คือ มะม่วงอกร่องและชมพูทับทิมจันทร์ มีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 51 และ 50 ตามลำดับ ส่วนแตงโม มีผลดัชนีน้ำตาลของต่างประเทศอยู่ที่ 72 เพราะฉะนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรพิจารณาเลือกทานผลไม้ให้เหมาะสม แนะนำให้ทานผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยและมีไฟเบอร์สูงเช่นเดียวกับผู้ลดน้ำหนัก จะช่วยให้รดะดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้นด้วย

ข้อควรระวังเรื่องการดื่มน้ำผลไม้

1. การดื่มน้ำผลไม้ที่ดีที่สุดให้ได้ คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้  คือการดื่มน้ำคั้นจากผลไม้สด 100% เพื่อที่จะได้รับสารอาหารต่าง ๆ อย่างครบถ้วนเช่นเดียวกับการทานผลไม้สด แต่อาจจะสูญเสียกากใยอาหารที่อยู่ในรูปของเนื้อผลไม้ไปบ้าง ในกรณีที่ทานน้ำผลไม้ชนิดที่มีการแยกกาก จะไม่ได้รับใยอาหารใด ๆ ทั้งสิ้นเลย เพราะใยอาหารจะถูกทำลายไปจากเนื้อผลไม้ที่ถูกสกัดออกจนเหลือแต่น้ำ

2. น้ำผลไม้ 1 ส่วน คิดตามหลักธงโภชนาการ จะมีปริมาตร 120 มิลลิลิตร หรือแค่ ½ ถ้วยตวง การดื่มน้ำผลไม้ 1 ส่วน ไม่สามารถทดแทนปริมาณผลไม้สดที่ควรจะทานใน 1 วันได้ หรือถ้าหากจะนำมาทดแทนก็จะต้องทานในปริมาณที่มากขึ้น เนื่องจากในน้ำผลไม้นั้น จะไม่มีกากใยเหมือนผลไม้สด แต่ถ้าดื่มน้ำผลไม้ในปริมาณมาก โดยที่ทานผลไม้สดในปริมาณปกติ ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานและน้ำตาลมากขึ้น จนเกิดการเปลี่ยนสภาพเป็นไขมัน และจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ( ใครที่ชอบดื่มน้ำผลไม้แบบไม่ 100% จะมีส่วนผสมของน้ำตาลมากกว่าหลายเท่าตัว ส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าจะได้รับประโยชน์ )

3. การดื่มน้ำผลไม้ที่มีกากใยอาหารหลงเหลืออยู่น้อย แม้จะเป็นน้ำคั้นสด 100% ก็ตาม ร่างกายจึงสามารถดูดซึมสารอาหาร และน้ำตาลเข้าไปเร็วกว่าผลไม้สด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ก็ขอให้เลือกทานผลไม้สดที่มีรสชาติไม่หวานและเต็มไปด้วยกากใยอาหารมาก ๆ จะดีที่สุด เพราะจะช่วยให้อิ่มนานและไม่ต้องกังวลกับปริมาณน้ำตาลในเลือดอีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง 

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

ขอบคุณคลิปสาระที่มีประโยชน์จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

Armstrong, Wayne P. “Identification Of Major Fruit Types”. Wayne’s Word: An On-Line Textbook of Natural History. Archived from the original on November 20, 2011. Retrieved 2013-08-17.

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

โรคสมองเสื่อมวัยกลางคน ( Early Onsel Dementia )

0
โรคสมองเสื่อมวัยกลางคน (Early Onsel Dementia)
โรคสมองเสื่อมส่งผลต่อพฤติกรรม ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร เกิดกับช่วงอายุ 45 ปี
โรคสมองเสื่อมวัยกลางคน ( Early Onsel Dementia )
โรคสมองเสื่อมส่งผลต่อพฤติกรรม ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร เกิดกับช่วงอายุ 45 ปี

ภาวะสมองเสื่อม

เมื่อนวัตกรรมทางการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้น ภาวะสมองเสื่อม หรือโรคสมองเสื่อม ( Dementia ) ก็กลายเป็นโรคที่คนพูดถึงให้ได้ยินกันหนาหูมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ผู้คนจำนวนมากยังไม่รู้จักโรคสมองเสื่อมดีพอ และเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมกันอยู่มากเหมือนกัน เช่น การเข้าใจว่าโรคอัลไซเมอร์คือโรคสมองเสื่อม ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วไม่ใช่ แต่อัลไซเมอร์เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเกิดโรคสมองเสื่อมในเวลาต่อมา หรือการเข้าใจว่าคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมก็คือคนที่ความจำเสื่อมบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งอันนี้ก็ต้องยอมรับว่าเป็นอิทธิพลของสื่อประเภทของหนังและละครด้วยเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อเกิดความไม่เข้าใจก็จะมีความกลัวต่อภาวะสมองเสื่อมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้ไม่รู้ว่าการป้องกันตัวที่ถูกต้องเป็นอย่างไรอีกด้วย

โรคสมองเสื่อม เป็นคำที่ใช้เรียกอาการผิดปกติหลากหลายประเภทที่เกิดจากความเสื่อมสภาพหรือความเสียหายของสมอง ไม่ใช่แค่เรื่องของความจำ แต่รวมทั้งหมดที่สมองมีหน้าที่ควบคุมดูแล ไล่ตั้งแต่อารมณ์และพฤติกรรม การเคลื่อนไหวร่างกาย การตัดสินใจ บุคลิกภาพ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไปจนถึงความคิดและการเรียนรู้ทั้งหมด ส่วนมากเราจะพบโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุประมาณ 65 ปีขึ้นไป แต่ก็ไม่ใช่ว่าวัยเด็กจะไม่มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมเลยเพราะสามารถเป็นกันได้ทุกช่วงวัย เพียงแค่การเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ในวัยเด็กนั้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก ยกเว้นจะเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรง ประเด็นที่น่าสนใจในปัจจุบันก็คือเราพบจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในวัยกลางคนมากขึ้น แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าผู้คนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าเมื่อก่อน อาจจะเป็นเพียงแค่เดิมทีเรายังไม่เข้าใจหรือยังไม่รู้ว่าอาการที่แสดงออกมานั้นเป็นส่วนหนึ่งของโรคสมองเสื่อมเท่านั้นเอง

ภาวะสมองเสื่อมวัยกลางคน ( Early Onsel Dementia )

จะเกิดกับคนที่อายุไม่เกิน 65 ปี ส่วนใหญ่เป็นช่วงอายุตั้งแต่ 45 ปี ไปจนถึง 55 ปี ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้เป็นความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกาย แต่มักเกิดจากอาการเจ็บป่วยอื่นๆ แล้วส่งผลให้กลายเป็นโรคสมองเสื่อมในที่สุด บางรายเริ่มจากโรคหลอดเลือดในสมอง มาเป็นอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมตามลำดับ บางรายเริ่มจากโรคสมองอักเสบจากภูมิต้านทางต่อตนเองหรือโรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อ และเปอร์เซ็นต์ผู้ป่วยที่มีสถิติในการตรวจพบมากที่สุดจะเป็นกลุ่มหลัง คือ โรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อ ( Frontotemporal Dementia : FTD ) เรียกง่ายๆ ว่าโรคเอฟทีดี เป็นลักษณะของภาวะสมองเสื่อมที่เกิดในวัยกลางคนสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และเจอบ้างในผู้สูงอายุอีก 20 เปอร์เซ็นต์

โรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อ ( Frontotemporal Dementia : FTD ) มีความหมายตรงตัวก็คือส่วนของสมองกลีบหน้าและสมองกลีบขมับฝ่อตัวหรือยุบตัวลง โดยที่หลอดเลือดสมองยังปกติดีทั้งหมด เป็นอาการเริ่มต้นที่คล้ายคลึงกับผู้ป่วยจิตเวชหรือที่เราเรียกกันตามประสาชาวบ้านว่าคนบ้า การเปลี่ยนแปลงของก้อนสมองในลักษณะนี้จะไม่ค่อยกระทบกระเทือนต่อการคิดวิเคราะห์ แต่เจาะจงไปที่พฤติกรรมที่แสดงออกมา มันจะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากทีเดียว โรคนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ และทำให้ผู้ป่วยมีอายุสั้นลงด้วย เราสามารถแบ่งย่อย

โรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อหรือโรคเอฟทีดี ( Frontotemporal Dementia : FTD ) มี 3 ประเภท

1. สมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อที่โดดเด่นด้านพฤติกรรม (ฺ Behavioral Variant )
สรุปเป็นนิยามสั้นๆ ได้ว่า “ มีความผิดปกติทางด้านพฤติกรรม ” คือ มีอาการหงุดหงิด ดื้อเงียบ ย้ำคิดย้ำทำ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป ความคิดอ่านเกี่ยวกับการบริหารจัดการผิดเพี้ยน บางครั้งก็หุนหันพลันแล่น ใจร้อน เพียงไม่นานก็กลับนิ่งเฉยหรือซึมเศร้าไปได้ นี่คือลักษณะเด่นของโรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อที่โดดเด่นด้านพฤติกรรม ซึ่งพอพิจารณาดูให้ดีแล้ว ก็ดูคล้ายกับอารมณ์ปกติของคนทั่วไป หากไม่ได้เป็นคนใกล้ชิดก็ยากที่จะตัดสินได้ว่ามีอาการป่วยหรือไม่ อีกทั้งยังใกล้เคียงกับโรคอัลไซเมอร์อย่างมากอีกด้วย แพทย์ผู้ดูแลจึงต้องวินิจฉัยอย่างละเอียดทั้งการซักประวัติและการตรวจวัดด้วยเทคนิคทางการแพทย์

2. สมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อที่สูญเสียทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร ( Primary Progressive Aphasia )
ผู้ป่วยจะมีอาการถดถอยทางด้านภาษาและการสื่อสารอย่างชัดเจน อาจเริ่มจากมีปัญหาในการเรียกชื่อคนและสิ่งของ มีปัญหาในการเรียงประโยคตามหลักไวยกรณ์ที่เคยใช้ตามปกติ ต้องทวนซ้ำบ่อยๆ ก่อนที่จะตอบคำถาม ทักษะในการสื่อสารจะแย่ลงเรื่อยๆ และกลายเป็นกระตุ้นให้ไม่อยากพูดในที่สุด เรายังสามารถแบ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้อีก 2 แบบ คือ

กลุ่มพูดช้า : จังหวะการพูดจะช้าลงอย่างเห็นได้ชัด พูดตะกุกตะกัก ติดขัด หลายคำที่เคยใช้จะหายไป เหมือนกับว่าสิ่งที่ต้องการสื่อสารออกไปนั้นมีความเข้าใจเพียงส่วนตัวภายในสมอง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำที่ผู้อื่นเข้าใจด้วยได้ เราจึงได้เห็นการสร้างคำขึ้นใหม่ในแบบของตัวเองกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย

กลุ่มพูดเร็ว : ถึงแม้จังหวะการพูดจะรวดเร็วฉับไว แต่ก็ไม่มีความหมาย เพราะจะมีปัญหาเรื่องความถดถอยของความคิดและความจำร่วมด้วย ในระยะแรกความจำจะยังดีอยู่ ผู้ป่วยจะมีอาการแค่ใช้เวลาในการนึกคำนานกว่าปกติ หรือใช้คำไม่ถูกต้อง ต่อมาก็จะเริ่มไม่รู้จักสิ่งของที่เคยรู้จัก ไม่สามารถเรียกชื่อหรือนำมาใช้งานได้

3.สมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อที่บกพร่องในการเลือกใช้คำ ( Semantic Dementia )
กลุ่มนี้จะเน้นหนักไปที่การเลือกใช้คำ คือโดยรวมยังสามารถสื่อสารได้ปกติ ความคิดความอ่านก็ยังทำงานได้ดี แต่จะมีอาการสับสนในการเลือกใช้คำ เช่น เรียกชื่อโต๊ะสลับกับเก้าอี้ เรียกเสือสลับกับสิงโต เรียกชื่อคนสลับกัน เป็นต้น ถึงจะดูไม่ค่อยมีปัญหามากเท่ากับแบบอื่นๆ แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสูญเสียความมั่นใจอย่างมาก เมื่อการสื่อสารไม่ตรงกับที่ต้องการบ่อยครั้ง

การตรวจวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อ

เนื่องจากว่าโรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อ ( Frontotemporal Dementia : FTD ) หรือโรคเอฟทีดีนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ หากทำการซักประวัติแล้วพบว่ามีคนในครอบครัวเป็นโรคเอฟทีดี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการตรวจเลือดจึงเป็นการตรวจมาตรฐานที่แพทย์จะใช้ในการวินิจฉัย โดยเน้นไปที่การค้นหายีนส์ 3 ตัวหลักที่มีความเกี่ยวข้อง ได้แก่ MAPT ( Microtubule associated proteintau ), GRN ( Progranulin ) และ C9ORF72 ( Chromosome9 open reading frame72 ) ยีนส์เหล่านี้มีผลต่อการเกิดโรคถึงร้อยละ 90 นี่จึงเป็นกุญแจสำคัญในการแยกโรคเอฟทีดีออกจากโรคเกี่ยวกับสมองในรูปแบบอื่นๆ
นอกจากนี้จะเป็นการตรวจหาสารพิษในเลือด ทั้งสารพิษที่เกิดจากอาการป่วยอย่างอื่นและสารพิษที่เกิดจากการใช้ยาหรือสรเสพติดด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ใช่การกระตุ้นของสารพิษเหล่านั้น และทำการ CT scan หรือ MRI scan เพื่อตรวจดูสภาพของก้อนสมอง แต่การแสกนสมองนี้แทบจะไม่เห็นความผิดปกติเลยในระยะแรกๆ จนกระทั่งกินเวลา 3-4 ปีไปแล้วจึงจะเห็นการยุบตัวสมองกลีบหน้า ( กลีบฟรอนทอล ) และสมองกลีบขมับมีการทำงานลดน้อยลง ( กลีบฟรอนโตเทมพอรัล ) แล้วจะยิ่งเห็นได้ชัดว่าสมองมีการยุบเป็นวงกว้างมากๆ เมื่อผ่านไปราวๆ 5-7 ปี สุดท้ายคือการเจาะน้ำไขสันหลังออกมาตรวจวัดปริมาณสารแอมีลอยด์ เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการแยกโรคเอฟทีดีออกจากอัลไซเมอร์

การรักษาและการบำบัดโรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อ

โรคสมองเสื่อมเกือบทั้งหมดไม่มีแนวทางในการรักษาที่ชัดเจนและเจาะจงเป็นแบบเดียวกันในผู้ป่วยทุกราย เนื่องด้วยความละเอียดอ่อนของสมองนั่นเอง โรคโรคสมองเสื่อมกลีบหน้าและกลีบขมับฝ่อ ( Frontotemporal Dementia : FTD ) หรือโรคเอฟทีดีนี้ก็เช่นเดียวกัน เมื่อตรวจพบและสรุปแน่ชัดว่าเป็นแล้ว ก็ต้องรักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้นและต้องติดตามผลเพื่อเปลี่ยนยาตามอาการไปเรื่อยๆ จะมีการให้ยาเพื่อปรับสมดุลของพฤติกรรมและกระบวนการของสมองตามความเหมาะสม กลุ่มยาที่ใช้ ได้แก่ กลุ่มยาที่ทำให้อารมณ์คงที่ ( Mood Stabilizers ) ยาต้านอาการซึมเศร้า ( Antidepressants ) ยาต้านโรคจิต ( Antipsychotics ) ยากระตุ้นการรับรู้ที่เกี่ยวกับความทรงจำและการตัดสินใจ ( Cholinesterase Inhibitors ) นอกจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแล เช่น กรณีที่นอนไม่หลับเลยจนส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมก็ต้องให้ยานอนหลับ เป็นต้น
เพื่อให้การรักษาดำเนินไปได้ด้วยดีจึงต้องมีการบำบัดควบคู่ไปกับการให้ยาตามอาการด้วย ในส่วนของการบำบัดอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้

บำบัดโดยปรับเปลี่ยนการทำงาน : เนื่องจากว่าผู้ป่วยกลุ่มวัยกลางคนนี้ยังเป็นวัยทำงาน และอาการของภาวะสมองเสื่อมแบบนี้จะมีผลต่อรูปแบบการทำงานอย่างแน่นอน หากอาการยังไม่หนักมากนัก และสามารถทำงานได้ตามปกติ ก็ใช้วิธีจัดระบบระเบียบและขั้นตอนการทำงานให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อลดความสับสันและแบ่งเบาภาระในการประมวลผลของสมองให้ลดน้อยลง

บำบัดโดยปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม : เมื่อสมองผิดปกติไปด้วยการฝ่อตัวลง การโฟกัสหรือจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งของผู้ป่วยก็จะลดน้อยลงด้วย ดังนั้น สภาพแวดล้อมที่อยู่จึงต้องตัดสิ่งรบกวนออกไปให้ได้มากที่สุด ด้วยการจัดข้าวของให้เป็นระเบียบ ลดการใช้เสียงดังหรือเสียงน่ารำคาญให้น้อยลง

บำบัดโดยร่วมบำบัดกับนักจิตบำบัดอย่างสม่ำเสมอ : นี่เป็นการปรับสภาพจิตใจและพฤติกรรมที่ค่อนข้างตรงจุด ทั้งยังให้ผลลัพธ์ที่ดีมาก แต่ต้องอาศัยความเข้าใจและการยอมรับของตัวผู้ป่วยเองด้วย โดยเฉพาะในบ้านเราที่มีความเชื่อว่าการบำบัดจิตหรือการไปหาจิตแพทย์คือคนบ้า ทำให้ไม่มีใครอยากมาหาหมอ ในขณะที่การเข้าบำบัดจิดในต่างประเทศเป็นเรื่องปกติมากๆ เป็นเรื่องที่ยังต้องให้ความรู้และความเข้าใจกับคนทั่วไปอีกมาก

สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมก็คือคนใกล้ชิดหรือครอบครัว จำเป็นต้องให้ความเอาใจใส่ในรายละเอียดของอาการอย่างมาก หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งเร้าและแนวโน้นของอารมณ์ผู้ป่วยในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการรักษาในลำดับต่อๆ ไป ทางครอบครัวต้องไม่เป็นฝ่ายใส่อารมณ์กับพฤติกรรมของผู้ป่วยเสียเอง และระมัดระวังการตอบสนองที่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกจิตตก หดหู่และรู้สึกไร้ค่าด้วย การดำเนินโรคของผู้ป่วยวัยกลางคนจะรวดเร็ว จึงเป็นธรรมดาที่พฤติกรรมต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วกว่าปกติด้วยเช่นกัน ซึ่งต่างกันไปหากโรคเอฟทีดีเกิดในผู้สูงอายุ ระยะเวลาการพัฒนาลำดับขั้นของโรคจะช้า ใช้เวลานานเช่นเดียวกับอัลไซเมอร์ ผู้ดูแลใกล้ชิดจึงต้องเข้าใจส่วนนี้เพื่อให้การดูแลได้อย่างถูกต้องเหมาะสมด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Luk KC, Kehm V, Lee VM, et al. (2012). Pathological alpha-synuclein transmission 
initiates Parkinson-like neurodegeneration in nontransgenic mice. Science. 338 : 949-953.

สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง

0
สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้สมองหยุดทำงานเฉียบพลัน ส่งผลให้เซลล์สมองตาย และแสดงอาการออกมาเป็นภาวะสมองเสื่อม
สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้สมองหยุดทำงานเฉียบพลัน ส่งผลให้เซลล์สมองตาย และเกิดเป็นภาวะสมองเสื่อม

โรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke )

โดยปกติแล้วสมองจะสามารถทำงานได้ดีหากไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดเสียหาย นั่นคือเนื้อสมองต้องไม่ถูกทำลาย มีเลือดวิ่งมาหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง แต่เมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุไม่พึงประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อมในเวลาต่อมา ทีนี้อาการสมองเสื่อมก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทั้งวงการแพทย์และผู้รักสุขภาพให้ความสนใจกันมาก เพราะยังมีอีกหลายเรื่องราวที่เราต้องค้นหาเกี่ยวกับสมอง และก็มีหลายปัจจัยเหลือเกินที่จะทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมขึ้นได้ หนึ่งในนั้นก็คือ โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke ) คือความผิดปกติของหลอดเลือดที่มีหน้าที่ส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ สุดท้ายคือสมองจะตกอยู่ในสภาวะขาดเลือดและนำไปสู่การถูกทำลายของเนื้อเยื่อสมองในที่สุด เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วสมองก็หยุดการทำงาน อาจจะทั้งหมดของก้อนสมองหรือแค่บางส่วนก็ได้ และแสดงอาการออกมาเป็นภาวะสมองเสื่อม โดยมากแล้วความผิดปกติของหลอดเลือดสมองก็จะแบ่งเป็น 2 กรณีใหญ่ๆ คือ หลอดเลือดอุดตัน และหลอดเลือดปริแตก นอกจากนี้หากจะเจาะลึกลงรายละเอียดกันอีกหน่อยก็จะพูดถึงประเด็นของจุดที่เกิดความผิดปกติ เช่น เกิดกับหลอดเลือดใหญ่หรือเล็ก เกิดที่สมองส่วนไหน เป็นต้น และทั้งหมดเป็นองค์ประกอบที่มีผลต่อระดับความรุนแรงและวิธีการรักษาของภาวะสมองเสื่อมด้วยกันทั้งสิ้น

ประเภทของภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง

ความผิดปกติของหลอดเลือดที่มีผลต่อความเสียหายของสมองแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.หลอดเลือดสมองอุดตันหรือตีบทำให้สมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke )

ส่วนของหลอดเลือดอุดตัน เกิดจากลิ่มเลือดจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายไหลไปกองสะสมที่หลอดเลือดสมอง หรือเป็นการก่อตัวของลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดสมองเองแล้วขยายขนาดใหญ่ขึ้นก็ได้ ในขณะที่ส่วนของหลอดเลือดตีบ มักจะเป็นสาเหตุเดียวกันกับเส้นเลือดบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย นั่นก็คือเรื่องของไขมันสะสมนั่นเอง ทั้งแบบอุดตันและแบบตีบ ต่างให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน คือช่องทางในการส่งต่อเลือดไปยังสมองมีขนาดเล็กลงมาก ไปจนถึงอุดตันปิดกั้นการลำเลียงเลือด เมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงก็จะหยุดทำงานและเริ่มเกิดความเสียหาย แต่ในบางครั้งลิ่มเลือดก็ถูกกระแสเลือดดันออกไปอย่างรวดเร็ว แบบนี้จะทำให้สมองขาดเลือดเพียงชั่วขณะเท่านั้นซึ่งไม่เป็นอันตรายใดๆ

2.หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาดทำให้เลือดออกในสมอง ( Hemorrhagic Stroke )

เป็นเรื่องของผนังหลอดเลือดที่เปราะบางเกินไปและยืดหยุ่นไม่เพียงพอ อาจจะด้วยกรรมพันธุ์หรือการขาดสารอาหารที่จำเป็นก็ได้ ทำให้เวลาเส้นเลือดบีบตัวส่งน้ำเลือดไปด้วยแรงดัน ผนังเส้นเลือดส่วนที่ทนแรงดันไม่ได้ก็จะปริแตกหรือฉีกขาด เมื่อเส้นเลือดแตกแล้วก็จะมีอาการเลือดออกในสมอง ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองส่วนนั้นถูกทำลาย

ถึงแม้ว่ารูปแบบความผิดปกติของหลอดเลือดจะมีอยู่ 2 แบบ แต่เกือบทั้งหมดของผู้ป่วยสมองเสื่อมจะมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือตีบ อาจเหลือเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เกิดจากเส้นเลือดสมองปริแตก และโรคหลอดเลือดสมองนี้ก็มีทั้งปัจจัยการเกิดที่ป้องกันได้และป้องกันไม่ได้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถตีกรอบที่ชัดเจนได้ว่าคนกลุ่มไหนจะมีความเสี่ยงในการเป็นภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองมากกว่ากัน อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนยังไม่เข้าใจก็คือ ภาวะสมองเสื่อมบางประเภทสามารถรักษาให้หายขาดได้ อยู่ที่ว่าความเสียหายของเนื้อเยื่อสมองนั้นเกิดบริเวณไหน และรุนแรงมากแค่ไหน อย่างเช่น ถ้าสมองขาดเลือดเป็นส่วนสีเทาใต้ฐานสมองที่เราเรียกว่า ทาลามัส ( thalamus ) ก็สามารถให้ยาต้าน acetylcholinesterase ซึ่งเป็นยาตัวกลุ่มเดียวกันกับที่ใช้รักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ในระยะเวลาไม่นานนักผู้ป่วยก็สามารถกลับมาเป็นปกติได้เช่นกัน

อาการของผู้ป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง

ความจริงแล้วเราแยกผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองออกจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์หรือพาร์กินสันได้ค่อนข้างยาก และจำเป็นต้องใช้เวลานาน นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้ป่วยหลายรายไม่ได้รับการรักษาที่รวดเร็วเพียงพอ เมื่อไม่มีอาการผิดปกติที่รุนแรง คนใกล้ชิดก็เข้าใจผิดว่าเป็นอาการของผู้สูงอายุทั่วไป เช่น ซึมเศร้า ก้าวร้าว หงุดหงิด หรือมีพฤติกรรมบางอย่างที่ผิดแผกไปจากเดิม ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องกำชับคนดูแลให้มากว่าอย่าชะล่าใจเด็ดขาด ทางที่ดีก็คือเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาเสียแต่เนิ่นๆ ดีกว่า อาการที่สามารถใช้เพื่อสังเกตความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ อารมณ์ที่ไม่คงที่ บุคลิคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตัวเกร็ง เคลื่อนไหวช้า เห็นภาพหลอน อัมพฤกษ์อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความสามารถของสมองถดถอยอย่างรวดเร็ว เป็นต้น สิ่งสำคัญคืออาการที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลด้วย หมายถึงไม่จำเป็นต้องมีลำดับอาการที่เหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องมีอาการครบถ้วนทุกประเด็นที่กล่าวไป เพราะความเสียหายในส่วนของสมองที่ต่างกันจะแสดงอาการแตกต่างกันไปด้วย ผู้ป่วยอาจมีอาการทรุดๆ ทรงๆ อยู่ได้เป็นปีๆ หรือทรุดหนักรวดเดียวเลยก็ได้ใน
กรณีที่เนื้อเยื่อสมองเสียหายอย่างรุนแรง การหมั่นสังเกตความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ จึงสำคัญมากกับผู้ป่วยกลุ่มนี้

การรักษาภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง

ก่อนอื่นก็ต้องผ่านการวินิจฉัยของแพทย์ก่อนว่าเป็นภาวะสมองเสื่อมแบบไหน แบบโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือโรคหลอดเลือดสมองปริแตก เพราะการรักษาจะแตกต่างกันออกไปดังนี้

1.หลอดเลือดสมองอุดตันหรือตีบทำให้สมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke )

โดยมากจะเป็นการใช้ยาที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษายาวนาน ยาที่ใช้ได้แก่

ยาละลายลิ่มเลือด : ใช้กับผู้ป่วยที่ไม่มีความเสี่ยงของอาการเลือดออกในสมองเลย และต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลภายใน 4 ชั่วโมง

ยาต้านเกล็ดเลือด : เน้นลดการก่อตัวของเกล็ดเลือด และช่วยให้การอุดตันค่อยๆ ลดน้อยลงได้

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด : เป็นการป้องกันการเพิ่มขึ้นของลิ่มเลือด

ยาลดไขมันในเลือด : ใช้กับผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการอุดตันเส้นเลือดเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ก็จะเป็นการผ่าตัดเพื่อขยายหลอดเลือดหรือเพื่อกำจัดลิ่มเลือด สำหรับกรณีของผู้ป่วยที่มีอาการหนักมากๆ และยาไม่สามารถรักษาได้แล้ว

2.หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาดทำให้เลือดออกในสมอง ( Hemorrhagic Stroke )

การรักษากรณีเลือดออกในสมองจะยุ่งยากกว่าเส้นเลือดอุดตันพอสมควร เพราะต้องระวังเรื่องของภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างมาก อย่างเช่น ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ ( Hydrocephalus ) เป็นต้น การรักษาที่นิยมใช้กับภาวะเลือดออกในสมอง ได้แก่

  • การผ่าตัดเพื่อหยุดเลือด : เป็นการผ่าตัดแล้วใช้คลิปหนีบที่ฐานหลอดเลือดบริเวณที่มีเลือดออก
  • การใส่ขดลวด : ใช้การสวนท่อเข้าไปที่หลอดเลือดผ่านทางขาหนีบ ขดลวดนี้มีหน้าที่ขัดขวางการไหลของเลือดที่จะเข้าไปตรงจุดสำคัญ และลดการเกิดลิ่มเลือดด้วย
  • การผ่าตัดกำจัดเส้นเลือดที่มีปัญหา : มักใช้ในกรณีที่วินิจฉัยจนแน่ใจแล้วว่าไม่มีผลกระทบตามมาในภายหลังอย่างแน่นอน แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อเอาส่วนของเส้นเลือดนั้นทิ้งไปเลย
  • การผ่าตัดด้วยรังสี : เป็นการผ่าตัดในลักษณะซ่อมแซมเส้นเลือดให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

หลังจากการขั้นตอนในการรักษาเหล่านี้แล้ว ผู้ป่วยก็ยังต้องได้รับการดูแลหรือรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่มเติมอีก เช่น การให้อาหารทางสายยาง การใช้อาหารเสริม การให้ออกซิเจน เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง

อายุ : เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะเกิดการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ และทำให้คนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองได้ทั้งสองแบบ

กรรมพันธุ์ : หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ก็มีโอกาสที่จะเป็นได้สูงกว่าคนปกติกทั่วไป

ประวัติทางการแพทย์ : หากเป็นผู้ที่เคยมีอาการสมองขาดเลือดเฉียบพลัน หรือหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันก็แสดงว่ามีความเสี่ยงที่หลอดเลือดจะอุดตันอยู่ก่อนแล้ว

เพศ : เพศชายมีโอกาสเป็นได้มากกว่าเพศหญิง

นอกจากนี้จะเป็นปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ทั้งสิ้น ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การทานยาคุมกำเนิดที่มีระดับฮอร์โมนสูงเกินไป และการสูบบุหรี่

กรณีพิเศษที่มีผลต่อหลอดเลือดสมอง

อุบัติเหตุ : เมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยที่ทำให้สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง จะทำให้หลอดเลือดในสมองแตกได้ทั้งในส่วนของเนื้อสมองบริเวณผิวสมองใต้เยื่อดูรา ( Subdural Hematoma ) หรือเนื้อเยื่อดูรา ( Epidural Hematoma ) เราจึงพบได้บ่อยว่าผู้ป่วยจะมีเลือดออกจำนวนมากในหลายๆ จุด และเป็นกรณีเร่งด่วนที่ต้องทำการรักษา ไม่ใช่แค่หลอดเลือดแตกและมีเลือดออกเท่านั้น แต่เนื้อสมองจะถูกเหวี่ยงไปมาระหว่างเกิดอุบัติเหตุ อาจถูกดึงรั้งจนเสียหาย ซึ่งนั่นก็จะเป็นส่วนที่แพทย์จะต้องดูแลมากเป็นพิเศษด้วย

การติดเชื้อ : นี่เป็นอีกหนึ่งตัวการสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดสมองอักเสบจนอุดตันหรือแตกได้ ยิ่งถ้าเป็นแบบเรื้อยังยาวนาน ก็จะส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ร่วมได้ เช่น โรคเอสแอลอี ( SLE : Systemic Lupus Erythematosus ) หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นต้น

ความน่าสนใจของภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองอีกประเด็นหนึ่งก็คือ การเกิดอาการที่สมองน้อย ( Cerebellum ) สมองส่วนนี้ทำหน้าที่หลักในการประสานงานของสมองโดยรวม มีกลไกควบคุมความคิด ความจำ การตัดสินใจและการควบคุมอารมณ์ด้วย เมื่อก่อนเราเข้าใจกันว่าหากมีอาการเกี่ยวกับหลอดเลือดที่สมองส่วนนนี้ จะไม่ทำให้ผู้ป่วยเป็นภาวะสมองเสื่อมได้ แต่ปัจจุบันเมื่อนวัตกรรมทางการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้เรารู้ว่าความจริงแล้วมีผลต่อผู้ป่วยด้วย นั่นคือ ทำให้ผู้ป่วยคลื่นไส้อาเจียนต่อเนื่องในช่วงแรก และมีอาการคล้ายกับปัญหาความเสียหายที่สมองกลีบหน้า ( Frontal Lobe ) ผู้ป่วยจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ที่รวดเร็วและมีความบกพร่องในความคิดและความจำ

การป้องกันภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง

นอกเหนือไปจากปัจจัยเสี่ยงที่เราไม่สามารถป้องกันได้แล้ว ก็เป็นเรื่องของการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ ระมัดระวังเรื่องของระดับน้ำตาล ระดับไขมัน และค่าความดันโลหิตของร่างกาย งดการสูบบุรี่และทานยาคุมกำเนิดโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ป้องกันภาวะอ้วนลงพุง ( Metabolic Syndrome ) ด้วยการทานอาหารให้ครบหมู่อย่างพอดี ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียดจนเกินไป

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

คุณค่าสารอาหารจากผลไม้ 100 กรัม ส่วนที่กินได้

0
ผลไม้ที่มีตามฤดูกาล แอปริคอต แอปเปิ้ล สับปะรด กล้วย องุ่น
ผลไม้ที่มีตามฤดูกาล แอปริคอต แอปเปิ้ล สับปะรด กล้วย องุ่น
ผลไม้ที่มีตามฤดูกาล แอปเปิ้ล สับปะรด กล้วย องุ่น
ผลไม้ที่มีตามฤดูกาล แอปเปิ้ล สับปะรด กล้วย องุ่น

คุณค่าสารอาหารจากผลไม้

[adinserter name=”คุณค่าสารอาหารในผักและผลไม้”]

คุณค่าสารอาหารจากผลไม้ สามารถวัดได้จากประเภทและความสดใหม่ของผลไม้ที่มีมาก ในเมืองไทยเป็นเมืองแห่งผลไม้ มีผลไม้ให้รับประทานกันทุกฤดู ยิ่งในปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมานิยมรับประทานผลไม้กันมากขึ้นบวกกับกระแสความนิยมเรื่องสุขภาพจึงเป็นเทรนด์ใหม่ที่คุณค่าสารอาหารจากผลไม้จะเป็นตัวกำหนดให้ผู้บริโภคเลือกรับประทานผลไม้ให้มีประโยชน์ต่อตัวเองและทั้งผู้ป่วยมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ผลไม้ซึ่งมีวิตามินแร่ธาตุมากมายรวมถึงน้ำที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย เรามาดูกันว่าการรับประทานผลไม้ในแต่ละวันที่เหมาะสมกับคนไทย อะไรบ้าง ?

ตาราง คุณค่าสารอาหารจากผลไม้ 100 กรัม ส่วนที่กินได้ ปริมาณความชื้น เบตาแคโรทีน ไลโคพีน วิตามินอี วิตามินซี และ โฟเลต ในผลไม้ 100 กรัมส่วนที่กินได้

ผลไม้ ปริมาณน้ำ (กรัม) เบตาแคโรทีน (ไมโครกรัม) ไลโคพีน (ไมโครกรัม) วิตามินอี (มิลลิกรัม) วิตามินซี* (มิลลิกรัม) โฟเลต (ไมโครกรัม)
แก้วมังกรเนื้อแดง 84.4 1.0 ไม่พบ 4 6.6
ขนุน 74.1 26 ไม่พบ 0.5 5 38.2
เงาะโรงเรียน 80.8 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ 37
ทุเรียน ชะนีไข่ 67.2 372 ไม่พบ 24 142.3
ทุเรียนหมอนทอง 70.9 41 ไม่พบ 0.7 42 122.6
น้อยหน่า 74.1 ไม่พบ ไม่พบ 0.1
กล้วยหอม 75.5 25 ไม่พบ 0.1 10 7.2
กล้วยน้ำว้า 67.1 33 ไม่พบ 0.1 8 10.8
แก้วมังกรเนื้อขาว 85.0 1.4 3 0.3 7 5.4
ชมพู่ทับทิมจันทร์ 89.0 22 17 0.2 2.7
แตงโมแดงจินตหรา 88.8 616 6,693 0.1
ทุเรียนชะนี 66.8 96 ไม่พบ 1.4 14
ฝรั่งแป้นสีทอง 87.5 14 ไม่พบ 0.2 143
พุทรา นมสด 88.1 29 ไม่พบ 2.8
มะขามหวานสีทอง 20.9 6 ไม่พบ ไม่พบ 20.8
มะพร้าวอ่อนน้ำหอม 90.9 0.3 ไม่พบ 1 5.7
มะเฟืองมาเลเซีย 89.2 21 ไม่พบ 0.1
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก 80.0 308 22 0.9 9
มะละกอฮอลแลนด์ 88.5 549 164 59 36.6
ลำใยกะโหลกเบี้ยว 79.8 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ 24
ลิ้นจี่จักรพรรดิ์ 82.5 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ 1 49.9
สตรอว์เบอร์รี่ 89.6 9 ไม่พบ  0.3
ส้มสายน้ำผึ้ง 85.9 173 2,886 0.5 24
สับประรดศรีราชา  84.9 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ 8
สาลี่น้ำผึ้ง  86.2 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ
สาลี่หอม  85.4 8 ไม่พบ 0.4
มังคุด  80.2 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ 2 1.5
ลองกอง  80.6 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ 2.6
ละมุดมาเลเซีย  75.5 18 ไม่พบ 0.2 6.7
องุ่นเขียว  82.6  7 ไม่พบ 0.2 0.6
แอปเปิลเขียว 86.2 27 ไม่พบ 0.2
ส้มโอขาวน้ำผึ้ง 88.2 9  7 0.2 1.0
ส้มโอทองดี 88.7 26 288 0.2 21.9
สละสุมาลี 81.6 87 3 3 5.0
แอปเปิลฟูจิ 85.1 32 ไม่พบ 0.2

วิตามินซี วิตามินอี ไลโคพิน คือ คุณค่าสารอาหารที่ได้จากผลไม้

ปริมาณแร่ธาตุชนิดต่างๆ ในผลไม้ 100 กรัมส่วนที่กินได้

ผลไม้ โซเดียม (มิลลิกรัม) โพแทสเซียม (มิลลิกรัม) แคลเซียม (มิลลิกรัม) ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม) แมกนีเซียม (มิลลิกรัม) เหล็ก (มิลลิกรัม) ทองแดง (มิลลิกรัม) สังกะสี (มิลลิกรัม)
แก้วมังกรเนื้อแดง  16 196  10  37 24 0.2  0.05  0.4
ขนุน  5 207 10 26 19 0.3 0.20 0.2
เงาะโรงเรียน 3 78 8 10  0.2 0.16 0.1
ทุเรียนชะนีไข่ 37 376 5 53 19  0.7 0.23 0.3
ทุเรียนหมอนทอง 2 292 4 57 20  0.2 0.21 0.2
น้อยหน่า 1 214 15 21  0.2 0.11 0.2
กล้วยหอม 4 347 3 21 21  0.2 0.11 0.1
กล้วยน้ำว้า 5 204 6 25 25  0.3 0.10 0.1
แก้วมังกรเนื้อขาว 4 271 3 23 23  0.2 0.06 0.2
ชมพู่ทับทิมจันทร์ 6 106 1 16 7 0.1 0.04 0.1
แตงโมจินตราแดง 5 120 7 8 0.2 0.07 0.1
ทุเรียนชะนี 4 406 4 16 0.3 0.22 0.3
มะเฟืองมาเลเซีย 3 74 2 7 0.2 0.05 0.2
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก 3 81 4 9 0.2 0.08 0.1
มะละกอฮอลแลนด์ 3 211 13 15 8 0.2 0.02 0.1
ฝรั่งแป้น สีทอง 6 210 3 6 0.2 0.09 0.1
พุทรา นมสด 117 19 4
มะขามหวานสีทอง 24 988 94 107 110 0.4 0.41 0.2
มะพร้าวอ่อนน้ำหอม 17 204 13 13 13 0.1 0.03 0.1
ลำใยกะโหลกเบี้ยว 11 105 7 8 0.2 0.14 0.1
ลิ้นจี่จักรพรรดิ์ 3 165 2 35 9 0.2 0.11 0.1
สตรอว์เบอร์รี่ 3 132 12 10 0.3 0.06 0.1
ส้มโอทองดี 8 92 9 29 6 0.1 0.05 0.1
สละสุมาลี 15 184 4 19 8 0.2 0.03 0.1
สับประรดศรีราชา 4 61 10 10 0.2 0.05 0.3
มังคุด 2 32 7 12 12 0.1 0.10 0.1
ลองกอง 3 192 8 12 12 0.2 0.11 0.1
ละมุดมาเลเซีย 16 128 15 10 10 0.1 0.04 0.2
ส้มสายน้ำผึ้ง 5 229 14 7 7 0.1 0.05 0.2
ส้มโอขาวน้ำผึ้ง 8 80 8 5 5 0.1 0.05 0.1
สาลี่น้ำผึ้ง 4 51 2 6 0.1 0.07 0.1
สาลี่หอม 5 40 6 7 0.2 0.08 0.1
องุ่นเขียว 7 130 6 5 0.2 0.35 0.1
แอปเปิลเขียว 2 30 5 4 0.2 0.06 0.1
แอปเปิลฟูจิ 2 29 4 4 0.1 0.06 0.1

โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง สังกะสี คือคุณค่าสารอาหารและแร่ธาตุที่ได้จากผลไม้ การรับประทานผลไม้นอกจากได้รับประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ผลไม้ยังมีสรรพคุณทางยา เช่น ลองกอง ฝรั่ง เป็นต้น

ปริมาณน้ำตาลชนิดต่างๆ ในผลไม้ 100 กรัมส่วนที่กินได้

ผลไม้ ซูโครส (กรัม) กลูโคส (กรัม) ฟรักโทส (กรัม) น้ำตาลทั้งหมด (กรัม)
แก้วมังกรเนื้อแดง ไม่พบ 5.3 8.0 13.3
ขนุน 6.6 6.4 6.1 19.1
เงาะโรงเรียน 12.0 2.4 4.1 18.5
กล้วยหอม 0.1 10.3 9.9 20.3
กล้วยน้ำว้า 1.2 8.0 9.1 18.3
แก้วมังกรเนื้อขาว ไม่พบ 5.2 3.4 8.6
ชมพู่ทับทิมจันทร์ ไม่พบ 4.5 4.3 8.8
แตงโมจินตราแดง 1.4 2.6 4.0 8.0
ทุเรียนชะนี 1.3 2.3 3.4 7.0
ฝรั่งแป้นสีทอง 1.5 2.3 3.4 7.2
พุทรานมสด8 ไม่พบ 4.3 4.4 8.7
มะขามหวานสีทอง ไม่พบ 24.6 28.7 53.3
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก 7.5 1.8 4.6 13.9
มะละกอฮอลแลนด์ ไม่พบ 4.4 4.9 9.3
ทุเรียนชะนีไข่ 12.7 1.2 1.5 15.4
ทุเรียนหมอนทอง 0.9 1.4 5.6 7.9
น้อยหน่า ไม่พบ 8.4 8.8 17.2
มะพร้าวอ่อนน้ำหอม 1.1 2.2 2.9 6.2
มะเฟืองมาเลเซีย ไม่พบ 3.2 3.8 7.0
ลำใยกะโหลกเบี้ยว 2.8 1.6 2.8 7.2
ลิ้นจี่จักรพรรดิ์ 0.5 8.4 9.0 17.9
สตรอว์เบอร์รี่ ไม่พบ 2.1 2.4 4.5
สละสุมาลี 8.1 2.5 4.6 15.2
สับประรดศรีราชา 2.7 4.7 3.5 10.9
สาลี่น้ำผึ้ง ไม่พบ 1.2 3.5 4.7
มังคุด 3.1 5.6 8.8 17.5
ลองกอง 0.5 6.9 7.8 15.2
ละมุดมาเลเซีย ไม่พบ 4.2 6.0 10.2
ส้มสายน้ำผึ้ง 5.2 1.6 3.7 10.5
ส้มโอขาวน้ำผึ้ง 13.0 0.5 1.3 14.8
ส้มโอทองดี 9.5 0.5 1.0 11.0
สาลี่หอม ไม่พบ 2.2 4.7 6.9
องุ่นเขียว 0.1 7.5 7.1 14.7
แอปเปิลเขียว 0.7 3.5 5.8 10.0
แอปเปิลฟูจิ ไม่พบ 1.6 4.6 6.2

ผลไม้เป็นแหล่งรวมของวิตามินและแร่ธาตุและใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายชนิด

ปริมาณใยอาหารทั้งหมด ใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำและละลายน้ำ
ในผลไม้ 100 กรัมส่วนที่กินได้

ผลไม้ ใยอาหาร
ชนิดไม่ละลายน้ำ (กรัม) ชนิดละลายน้ำ (กรัม) ใยอาหารทั้งหมด (กรัม)
แก้วมังกรเนื้อขาว 1.5 0.3 1.8
แก้วมังกรเนื้อแดง 2.5
ขนุน 1.5 0.6 2.1
ทุเรียนชะนี 4.3 1.1 5.4
ทุเรียนชะนีไข่ 3.6
ทุเรียนหมอนทอง 2.4 1.0 3.4
กล้วยหอม 1.1 0.6 1.7
กล้วยน้ำว้า 2.0 1.0 3.0
พุทรานมสด 1.5
มะขามหวานสีทอง 7.6
มะพร้าวอ่อนน้ำหอม 0.4
เงาะโรงเรียน 0.6 1.0 1.6
ชมพู่ทับทิมจันทร์ 0.8 0.3 1.1
แตงโมจินตราแดง 0.4 0.3 0.7
มะเฟืองมาเลเซีย 1.8 0.6 2.4
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก 0.5 0.8 1.3
มะละกอฮอลแลนด์
น้อยหน่า 1.9 1.0 2.9
ฝรั่งแป้นสีทอง 3.0 0.9 3.9
ลำใยกะโหลกเบี้ยว 0.5 0.2 0.7
ลิ้นจี่จักรพรรดิ์ 0.4 0.4 0.8
สตรอว์เบอร์รี่ 2.7 1.2 3.9
องุ่นเขียว 1.0 0.4 1.4
แอปเปิลเขียว 3.1 1.0 4.1
แอปเปิลฟูจิ 2.4 1.0 3.4
มังคุด 1.4 0.6 2.0
ลองกอง 0.2 0.6 0.8
ละมุดมาเลเซีย 10.2 1.3 11.5
สละสุมาลี 1.8
สับประรดศรีราชา 0.9 0.2 1.1
สาลี่น้ำผึ้ง 2.2 0.3 2.5
สาลี่หอม 2.9 0.4 3.3
ส้มสายน้ำผึ้ง 0.9 0.8 1.7
ส้มโอขาวน้ำผึ้ง 0.6 0.8 1.4
ส้มโอทองดี 0.4 0.6 1.0

 

ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ ในผลไม้ 100 กรัมส่วนที่กินได้

ผลไม้ โพลีฟีนอล (มิลลิกรัม)  แทนนิน (มิลลิกรัม)  คาเทชิน (มิลลิกรัม)  ไฟเทต (มิลลิกรัม)
แก้วมังกรเนื้อขาว 64.0 2.0  0.4 6.0
แก้วมังกรเนื้อแดง 63.2  –
ขนุน 47.2 0.8 0.1 1.2
กล้วยหอม 90.4 2.2 0.3 0.1
กล้วยน้ำว้า 96.1 13.4 4.6 0.4
น้อยหน่า 323 43.4 21.4 ไม่พบ
ฝรั่งแป้นสีทอง 108 7.1 1.2 2.4
เงาะโรงเรียน 67.4 2.9 1.0 2.0
ชมพู่ทับทิมจันทร์ 19.7 3.5 0.5 ไม่พบ
แตงโมจินตหราแดง 28.2 0.9 ไม่พบ ไม่พบ
พุทรานมสด 96.2
มะขามหวานสีทอง 419
มะพร้าวอ่อนน้ำหอม 29.4
ทุเรียนชะนี 116 5.2 0.4 ไม่พบ
ทุเรียนชะนีไข่ 52.3
ทุเรียนหมอนทอง 177 4.9 0.2 ไม่พบ
มะเฟืองมาเลเซีย 148 9.2 8.0 0.3
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก 79.2 32.4 0.8 0.1
มะละกอฮอลแลนด์ 39.5
ลำใยกะโหลกเบี้ยว 100 5.5 0.2 0.1
ลิ้นจี่จักรพรรดิ์ 117 12.9 8.9 4.3
สตรอว์เบอร์รี่ 221 15.8 ไม่พบ 2.2
องุ่นเขียว 77.5 6.3 1.9 0.6
แอปเปิลเขียว 90.2 1.8 0.8 1.7
แอปเปิลฟูจิ 24.4 2.2 1.4 1.5
สละสุมาลี 72.0
สับประรดศรีราชา 50.3 0.7 0.1 ไม่พบ
สาลี่น้ำผึ้ง 14.6 1.8 1.8 0.9
สาลี่หอม 29.8 4.7 3.0 0.8
มังคุด 86.9 1.2 ไม่พบ 0.2
ลองกอง สารอาหาร 36.7 0.9 1.5 3.2
ละมุดมาเลเซีย 57.6 26.3 11.3 1.5
ส้มสายน้ำผึ้ง 67.1 0.7 ไม่พบ 0.8
ส้มโอขาวน้ำผึ้ง 37.9 0.6 0.2 0.8
ส้มโอทองดี 32.6 0.6 0.1 2.0

เมื่อทราบถึงประโยชน์ และ คุณค่าจากสารอาหารของผลไม้ ที่เป็นที่นิยมแต่ละชนิดแล้ว เราก็สามารถเลือกรับประทานผลไม้ตามฤดูกาลที่มีประโยชน์ตามความชอบและความต้องการสารอาหารในร่างกายได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผลไม้. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2558. 128 หน้า 1.ผลไม้. I.ชื่อเรื่อง. 581.464 ISBN 978-616-7746-49-9.

Fernquest, Jon (2016-05-04). “Pesticides in fruits & vegetables: Govt quality mark fails test”. Bangkok Post. Retrieved 7 October 2016.

Armstrong, Wayne P. “Identification Of Major Fruit Types”. Wayne’s Word: An On-Line Textbook of Natural History. Archived from the original on November 20, 2011. Retrieved 2013-08-17.

ภูมิคุ้มกันในร่างกายคืออะไร

0
ภูมิคุ้มกันคืออะไร?
ภูมิคุ้มกันเป็นระบบที่คอยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่อาจเข้ามาทำอันตรายร่างกายเรา
ภูมิคุ้มกันคืออะไร?
ภูมิคุ้มกัน เป็นระบบที่คอยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่อาจเข้ามาทำอันตรายร่างกายเรา

ภูมิคุ้มกัน คืออะไร ?

โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมี ภูมิคุ้มกัน อยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือภูมิคุ้มกันธรรมชาติ และภูมิคุ้มกันจำเพาะ โดยระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติ จะมีการทำงานอย่างเป็นปกติอยู่แล้ว เมื่อใดที่ทำไม่ไหวหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ ไม่เพียงพอ ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ก็จะเข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน เพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากเปรียบเทียบ ระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติก็เป็นเหมือนกองทหารในแนวหน้า และภูมิคุ้มกันจำเพาะก็จะเป็นเหมือนกองหนุนที่จะคอยช่วยเหลือในยามฉุกเฉินนั่นเอง

ส่วนสารต่างๆ จะเป็นสารที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งได้แก่ ไลโซไซม์ ( Lysozyme ) คอมพลีเมนต์ ( Complement ) อินเตอร์เฟียรอน ( Interferon ) โดยเป็นเสมือนอาวุธของระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติ และยังมีพวกเซลล์ต่างๆ อีกด้วย ซึ่งเซลล์ที่มีบทบาทมากที่สุด ก็คือเซลล์เอ็นเค ( NK Cell ) นั่นเอง โดยเซลล์เอ็นเคจะลาดตระเวนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อค้นหาเซลล์ที่มีความผิดปกติอย่างมะเร็ง และเข้าทำการจู่โจ้มเพื่อทำลายทันที ดังนั้นหากร่างกายมีเซลล์เอ็นเคน้อยลง หรือด้อยประสิทธิภาพลงไป ก็จะทำให้ไม่สามารถต้านมะเร็งได้ และป่วยด้วยโรคมะเร็งในที่สุด

ภูมิคุ้มกันอยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือภูมิคุ้มกันธรรมชาติ และภูมิคุ้มกันจำเพาะ

โดยทั้งนี้มีการค้นพบว่าเซลล์เอ็นเคที่อยู่ในร่างกายของคนเราจะมีอยู่ไม่น้อยกว่า 5 พันล้านเซลล์เลยทีเดียว แต่เซลล์ชนิดนี้จะมีความอ่อนไหวในเรื่องของความเครียดและอาหารเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากจิตใจเกิดความเครียดหรือได้รับอาหารที่มีประโยชน์น้อย ก็จะทำให้เซลล์เอ็นเคเกิดความอ่อนแอ ไม่สามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้นั่นเอง

ส่วนภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราก็จะทำหน้าที่ในการต่อสู้กับเชื้อโรคและเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะ จึงได้มีการนำหลักการดังกล่าวนี้มาใช้ผลิตวัคซีนขึ้นมา ซึ่งก็ได้ผลดีและน่าพอใจมากทีเดียว เพราะเมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแล้ว ร่างกายจะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาและจดจำโรคนั้นๆ เอาไว้ ทีนี้เมื่อมีเชื้อโรคที่จะก่อให้เกิดโรคดังกล่าวเมื่อไหร่ แอนติบอดีก็จะกำจัดออกไปในทันทีเช่นกัน นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะก็ถูกแบ่งออกได้เป็น 2 แบบย่อยๆ คือ แบบเซลล์ ( Cellular Immunity ) และแบบฮิวมอรัล ( Humoral Immunity )

ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะมี 2 แบบ

ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะ หรือระบบภูมิคุ้มกันที่มีการสร้างขึ้นมาเองในภายหลังจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือแบบฮิวมอรัลและแบบเซลล์ โดยหน้าที่ของภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ ก็คือจะจู่โจมไวรัสและทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไป โดยมีเซลล์ทีชนิด Th-1 เป็นตัวทำหน้าที่นี้นั่นเอง ทั้งนี้เมื่อลิมโฟไซต์มีการสร้างขึ้นมาที่ไขกระดูก ก็จะถูกเคลื่อนย้ายต่อไปยังต่อมไทมัสและค่อยๆ เติบโตจนกลายเป็นเซลล์ทีที่โตเต็มวัย ซึ่งทั้งนี้ก็จะมีการพัฒนาเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีแอนติเจน CD4   และชนิดที่มีแอนติเจน CD8 โดย CD4 ก็ยังสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ Th- 1 และ Th- 2 ได้อีกด้วย โดย Th- 1 จะช่วยเร่งการทำงานของเซลล์ทีเพชฌฆาตและแมคโครฟาจ ส่วนเซลล์ที CD4 ก็จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ 
โดยเหตุผลที่เซลล์ Th- 1 สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ดีนั้นก็เพราะที่เซลล์จะมีเรดาร์ตรวจจับสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ทำให้ทราบทันทีว่าสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามานั้นเป็นมิตรหรือศัตรู หากพบว่าเป็นศัตรูก็จะเข้าจัดการทันที พร้อมกับเร่งแมคโครฟาจให้ปลดปล่อยตัวทำลายไวรัสออกมาอย่างรวดเร็วกว่าเดิม จึงทำให้ร่างกายปลอดภัยจากอันตรายของเชื้อไวรัส

สำหรับเซลล์มะเร็ง รู้หรือไม่ว่าร่างกายของคนเรานั้นจะมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นทุกวัน แต่เนื่องจากถูกจับได้และกำจัดทิ้งไปซะก่อน จึงทำให้เราปลอดภัยจากมะเร็งได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อร่างกายตรวจพบเซลล์มะเร็ง เซลล์เอ็นเคก็จะเข้าเล่นงานเซลล์มะเร็งในทันที พร้อมกับเซลล์ทีเพชฌฆาตจู่โจมเซลล์มะเร็งโดยตรง ประกอบกับเร่งให้แมคโครฟาตปล่อยอินเตอร์เฟียรอน และรวมกับทูเมอร์เนโครซิสแฟกเตอร์เพื่อจัดการมะเร็ง เท่านี้เซลล์มะเร็งก็ถูกกำจัดไปแล้ว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Gherardi E. The Concept of Immunity. History and Applications. Archived 2007-01-02 at the Wayback Machine. Immunology Course Medical School, University of Pavia.

Lindquester, Gary J. (2006) Introduction to the History of disease. Archived 2006-07-21 at the Wayback Machine. Disease and Immunity, Rhodes College.

Silverstein, Arthur M. (1989) History of Immunology (Hardcover) Academic Press. Note: The first six pages of this text are available online at: (Amazon.com easy reader).

วิตามินและสารอาหารในผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้

0
คุณค่าสารอาหารจากผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้
ผักมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายและเป็นแหล่งใยอาหารที่ช่วยดูดซึมของคอเลสเตอรอลและไขมัน
คุณค่าสารอาหารจากผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้
ผักมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายและเป็นแหล่งใยอาหารที่ช่วยดูดซึมของคอเลสเตอรอลและไขมัน

 

วิตามินและสารอาหารในผัก

[adinserter name=”คุณค่าสารอาหารในผักและผลไม้”]

ผักที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดและแผงผักตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป และมีขายทุกฤดูไม่ชาดตลาด แต่รู้หรือไม่ว่า ผักที่มีสีสันต่าง ๆ ที่เรารับประทานเข้าไปนั้น มีแร่ธาตุ สารอาหาร วิตามินในผัก หรือ ประโยชน์อย่างอื่นที่นอกเหนือจากทำให้อิ่มหรือไม่? เรามาดูกันว่า การบริโภคผักประจำวันที่เหมาะกับคนไทย มีอะไรบ้าง ?

ตารางคุณค่าวิตามินในผักและสารอาหารในผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้

ปริมาณน้ำ ใยอาหาร และวิตามินในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้

ชื่อผัก น้ำ (G/100 g) ใยอาหาร (G/100 g) วิตามินซี (ML/100 g) เบต้าแคโรทีน (Mg/100g) ลูทีน (Mg/100g)
กะหล่ำปลีม่วง 89.4 2.64 22.0 ND ND
ข้าวโพดอ่อน 91.6 2.18 3.8 ND ND
ถั่วงอก 90.9 1.72 6.4 ND ND
ถั่วฟักยาว 90.0 3.79 13.5 39.4 179.1
กะหล่ำดอก 91.9 1.47 40.6 ND ND
กะหล่ำปลี 90.9 2.30 20.0 4.0 29.1
แครอต 91.5 2.75 1.4 4,471.5 107.4
แตงกวา 95.4 0.97 9.7 1.8 42.2
ใบมันปู (เนียงน้ำ) 78.8 11.81 19.2 1,405.5 3,425.4
ใบส้มแป้น 82.6 0.55 17.6 26.1 318.6
ผักกาดแก้ว 96.2 0.50 0.9 2.8 44.7
ผักกาดขาว 97.4 0.53 17.0 5.8 143.0
ผักชีล้อม 88.3 4.95 3.3 1,687.1 7,439.1
ผักตำลึง 94.3 2.08 19.1 990.6 4,989.1
ผักบุ้งจีน 93.1 3.05 7.6 37.0 96.2
ผักพูม 84.5 5.13 31.1 818.0 5,947.7
มะเขือเปราะ 92.7 2.55 5.5 14.3 52.6
มะเขือยาว 91.9 2.87 4.9 6.0 63.2
พริกหวานเหลือง 91.7 1.34 145.7 76.9 573.4
ฟักเขียว 95.2 1.71 30.7 6.4 9.8
มะระขี้นก 90.4 4.19 115.8 18.6 483.1
ยอดมะม่วงหิมพานต์ 82.5 9.83 19.9 942.8 3,019.8
ยอดมะระหวาน (ฟักแม้ว) 93.1 2.36 6.5 582.6 1,794.9
ฟักทอง 87.8 1.80 14.9 143.6 212.1
มะเขือเทศ 95.7 0.60 12.1 96.6 70.7
ลูกเหรียง 77.5 5.80 10.5 109.5 256.6
ถั่วลันเตา 86.6 5.12 32.0 44.2 157.7
บร็อกโคลี 88.9 1.76 26.8 84.8 405.6
บวบเหลี่ยม 94.9 0.71 5.0 9.6 222.9
ผักกะเฉด 89.5 4.22 19.1 887.7 13,403.3
ผักกวางตุ้ง 92.4 2.57 34.8 52.1 129.0
ผักกาดหอม 96.7 1.01 11.7 458.5 727.9
ผักกูด 91.0 3.73 3.5 798.8 3,198.8
ผักหนาม 89.5 3.08 3.1 40.2 823.0
ผักเหลียง 85.7 5.06 109.4 404.5 6,731.7
ผักหวานบ้าน 90.2 3.36 78.0 85.0 545.3
พริกหวานสีเขียว 94.6 1.63 58.8 ND 241.3
ผักคะน้า 92.1 2.58 52.1 55.4 127.3
ผักชีล้อม 88.3 4.95 3.3 1,687.1 7,439.1
ผักตำลึง 94.3 2.08 19.1 990.6 4,989.1
หน่อไม้ฝรั่ง 91.6 2.42 17.6 13.2 125.6
สะเดา 75.9 16.10 33.3 612.1 1,160.9
เสม็ดชุน 86.7 7.13 3.4 407.7 1,390.1

หมายเหตุ : ND = Not Detected

ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้

ชื่อผัก

 FRAP
(ไมโครโมล
ทีอี / 100 กรัม)
 ORAC
(ไมโครโมล ทีอี /100กรัม)
 โพลีฟีนอล
(มิลลิกรัม/
100 กรัม)
ไซยานิดิน
(มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
 พีโอนิดิน
(มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
ข้าวโพดอ่อน  61  933  47.1  ND ND
แครอต  26  174  10.1  ND ND
แตงกวา  9  207  12.9 ND  ND
ถั่วงอก 33  1,135 58.7  0.29  ND
กะหล่ำดอก  60 688 44.9 ND ND
กะหล่ำปลี 131 866 43.0  ND ND
กะหล่ำปลีม่วง 853 2,637 138.0  19.44  0.12
ใบมันปู (เนียงน้ำ) 53,972 42,498 4,612.5  15.81 ND
ใบส้มแป้น 3,283 30,651  682.8 ND  ND
ผักกะเฉด 698 4,665 333.1 1.79 ND
ถั่วฟักยาว 460 1,862 101.4 5.59 0.12
ถั่วลันเตา 424 1,890 123.8 3.42 0.11
บร็อกโคลี 96 1,608 96.8 ND ND
บวบเหลี่ยม 8 178 10.0 ND ND
ผักกวางตุ้ง 270 1,430    59.3 ND ND
ผักกาดแก้ว 15 197 11.5 ND ND
ผักกาดขาว 36 215 10.8 ND ND
ผักกาดหอม 50 231 20.0 ND ND
ผักกูด 342 1,170 78.3 0.09 ND
ผักบุ้งจีน 152 748 23.7 ND ND
ผักพูม 912 7,421 311.7 ND ND
ผักหนาม 1,440 7,971 210.0 20.22 0.34
พริกหวานสีเหลือง 278 826 59.3 ND ND
ฟักเขียว 29 128 12.0 ND ND
ฟักทอง 38 511 14.0 ND ND
มะเขือเทศ 109 193 21.9 ND ND
ผักคะน้า 171 1,042 54.5 ND ND
ผักชีล้อม 1,545 8,258 242.7 ND ND
ผักตำลึง 166 1,306 45.9 ND ND
ผักเหลียง 646 8,849 229.1 0.15 ND
ผักหวานบ้าน 409 2,215 105.2 ND ND
พริกหวานสีเขียว 53 422 20.2 ND ND
ลูกเหรียง 419 6,424 76.7 0.22 ND
มะระขี้นกND 72 289 40.0 ND ND
ยอดมะม่วงหิมพานต์ 34,559 34,656 4,102.8 37.32 0.76
ยอดมะระหวาน    (ฟักแม้ว) 413 1,505 44.1 ND ND
มะเขือเปราะ 196 879 64.6 ND ND
มะเขือยาว 64 843 55.3 ND ND
สะเดา 8,656 12,704 691.7 18.81 ND
เสม็ดชุน 10,974 12,752 1,119.2 3.02 0.06
หน่อไม้ฝรั่ง 120 871 57.5 ND ND

(ไมโครโมล ทีอี /100 กรัม) : Micromole of Trolox equivalent per 100 g
ND = Not detected

ผักอุดมไปด้วย วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารพฤกเคมี ช่วยเสริมสร้าง ควบคุมการทำงาน และช่วยควบคุมการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย

ปริมาณแร่ธาตุวิตามินในผักที่ร่างกายต้องการในปริมาณมากในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้

ชื่อผัก โซเดียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) โพแทสเซียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) แคลเซียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) แมกนีเซียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
ข้าวโพดอ่อน 2.8 132.8 13.7 25.4 54.3
แครอต 124.8 183.6 42.1 7.1 32.5
แตงกวา 12.3 167.7 24.1 18.2 25.6
ถั่วลันเตา 3.6 168.8 49.2 28.4 87.9
บร็อกโคลี 22.1 301.2 59.1 24.5 93.1
กะหล่ำดอก 30.0 182.1 14.5 15.3 40.6
กะหล่ำปลี 10.0 197.2 30.2  17.6 36.5
กะหล่ำปลีม่วง 22.1 264.0 46.0  16.1 33.0
ถั่วงอก 12.6 88.0 11.8  20.1 55.4
ถั่วฟักยาว 6.6 177.9 32.9 37.2 64.1
ผักกะเฉด 14.8 307.2 46.8 33.2 76.5
ผักกวางตุ้ง 54.0 383.4 103.4 29.1 31.3
ผักกาดแก้ว 17.6 113.1 20.3 8.9 27.6
บวบเหลี่ยม 4.9 119.6 15.6 11.6 38.7
ใบมันปู (เนียงน้ำ) 8.5 356.7 84.9 56.4 64.5
ใบส้มแป้น 15.5 394.8 250.6 59.8 61.8
ผักกาดขาว 26.5 118.8 45.8 8.9 31.8
ผักกาดหอม 21.3 212.7 38.0 10.4 24.0
ผักกูด 10.0 389.0 15.1 46.2 93.8
ผักพูม 9.6 448.0 117.3 91.0 74.4
ผักหนาม 3.3 321.7 158.1 53.9 73.2
ผักเหลียง 6.3 297.3  35.2 27.4 72.7
ผักหวานบ้าน 8.5 165.5 69.0 48.9 68.8
ฟักเขียว 4.0 114.2 12.1 7.1 19.2
ฟักทอง 5.9  287.9 11.6 15.4 56.4
มะเขือเทศ 9.0 156.1 5.9 7.3 24.8
มะเขือเปราะ 5.1 233.9 19.6 17.9 31.6
ผักคะน้า 26.3 327.5 108.0 28.4 50.6
ผักชีล้อม 6.0 414.5 133.1 30.0 60.6
ผักตำลึง 11.0  181.7 73.2 28.3 43.9
ผักบุ้งจีน 176.6 144.0 72.5 24.3 26.3
พริกหวานสีเขียว 6.2  132.8 10.6 8.9 27.4
พริกหวานสีเหลือง 6.3  173.0 8.0 12.1 29.3
ยอดมะระหวาน     (ฟักแม้ว) 16.0 277.5 37.5 24.9 108.7
ลูกเหรียง 8.8 435.2 131.8 64.1 79.7
มะเขือยาว 7.7 167.2 9.0 13.6 20.0
มะระขี้นก 10.6 334.2 28.2 37.9 47.4
ยอดมะม่วงหิมพานต์ 17.2 282.3 15.5 44.7 66.1
เสม็ดชุน 13.4 224.4 15.2 22.1 44.8
หน่อไม้ฝรั่ง 5.1 272.7 17.1 18.7 73.9
สะเดา 7.6 467.4 74.2 60.6 94.5

ปริมาณแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการวิตามินในผักในปริมาณน้อยในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้

ชื่อผัก เหล็ก (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) ทองแดง (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) สังกะสี (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
ข้าวโพดอ่อน 0.11 0.12 0.41
แครอต 0.07 0.15 0.04
แตงกวา 0.12 0.04 0.09
บร็อกโคลี 0.93 0.07 0.25
บวบเหลี่ยม 0.12 0.08 0.18
ใบมันปู (เนียงน้ำ ) 0.58 0.29 0.51
กะหล่ำดอก 0.24 0.07 0.13
กะหล่ำปลี 0.25 0.04 0.06
กะหล่ำปลีม่วง 0.13 0.08 0.07
ถั่วงอก 0.29 0.12 0.25
ถั่วฟักยาว 0.34 0.20 0.36
ถั่วลันเตา 0.45 0.18 0.62
ผักกาดแก้ว 0.16 0.08 0.08
ผักกาดขาว 0.16 0.04 0.11
ผักกาดหอม 0.31 0.07 ND
ผักกูด 0.76 0.27 0.68
ใบส้มแป้น 0.72 0.18 0.23
ผักกะเฉด 1.13 0.07 0.30
ผักกวางตุ้ง 1.53 0.15 0.76
ผักบุ้งจีน 1.13 0.12 0.06
ผักพูม 0.59 0.33 0.57
ผักคะน้า 0.17 0.09 0.13
ผักชีล้อม 1.35 0.13 0.26
ผักตำลึง 0.49 0.11 0.21
พริกหวานสีเขียว 0.12 0.07 0.04
พริกหวานสีแดง 0.05 0.10 ND
ผักหนาม 0.92 0.13 1.05
ผักเหลียง 0.40 0.18 0.30
ผักหวานบ้าน 0.76 0.20 0.44
มะเขือเทศ 0.10 0.07 ND
มะเขือเปราะ 0.12 0.16 ND
มะเขือยาว 0.20 0.08 0.13
ยอดมะระหวาน (ฟักแม้ว) 0.81 0.17 0.30
ลูกเหรียง 0.98 0.37 0.42
พริกหวานสีเหลือง 0.04 0.09 ND
ฟักเขียว 0.09 0.02 ND
ฟักทอง 0.15 0.14 0.09
มะระขี้นก 0.20 0.18  0.16
ยอดมะม่วงหิมพานต์ 0.53 0.32  0.40
สะเดา 3.22 0.37  0.57
เสม็ดชุน 0.27 0.20 0.10
หน่อไม้ฝรั่ง 0.40 0.25 0.59

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผัก. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 128 หน้า 1.ผัก-แง่โภชนาการ-ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641.303 ISBN 978-974-484-346-3.

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

Fernquest, Jon (2016-05-04). “Pesticides in fruits & vegetables: Govt quality mark fails test”. Bangkok Post. Retrieved 7 October 2016.

ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งในเด็ก

0
ผลกระทบระยะยาวจากการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก
การรักษาโรคมะเร็งในผู้ป่วยเด็กคือการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี หรือการใช้ยาเคมีบำบัดหลาย ๆ ชนิดร่วมกันในการรักษามะเร็งที่ตรวจพบ
ผลกระทบระยะยาวจากการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก
การฉายรังสีเข้าสู่บริเวณดวงตาและกระจกตาด้วยรังสีประมาณ 6-7.5 Gy จะเกิดต้อที่บริเวณกระจกตา

มะเร็งในเด็ก

อดีตการรักษามะเร็งในเด็ก ให้หายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ในช่วงศตวรรษที่ 70 เป็นต้นมาได้มีการรักษาผู้ป่วยเด็กด้วยวิธีการรักษาที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งมีโอกาสรอดชีวิตสูง ซึ่งวิธีการที่นิยมนำ มารักษาโรคมะเร็งในเด็กคือการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี หรือการใช้ยาเคมีบำบัดหลาย ๆ ชนิดร่วมกันในการรักษามะเร็งที่ตรวจพบ หลังจากที่ทำการรักษาแล้วนอกจากผลกระทบที่เกิดแบบเฉียบพลันแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังก็ได้รับการศึกษาหลังจากที่ผู้ป่วยเด็กได้ทำการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจาการรักษาทั้งที่มาจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการรักษาด้วยการฉายรังสี และยังรวมถึงผลกระทบที่เกิดจากชนิดของโรคด้วย ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยแบ่งตามชนิดของมะเร็งที่ทำการรักษาเป็นหลัก ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว Solid Tumors ชนิดต่างๆ และมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับส่วนของระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึง Secondary Neoplasms ด้วย

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ชนิดของมะเร็งในเด็ก

1. มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )

พบว่าในผู้ป่วยเด็กประมาณ 30% จะป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ซึ่ง 60-70 % ของผู้ป่วยสามารถรักษาให้หาย และจาการศึกษาผลกระทบระยะยาวที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่รักษาหายและรอดชีวิตจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวพบว่าผู้ป่วย 31 คนจากผู้ป่วยทั้งหมด 77 คนมีความผิดปกติเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปนานแล้ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะยาวที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นกับอวัยวะบางส่วนของร่างกายเท่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย จากการศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบ Lymphoblastic ( Acute Lymphoblastic Leukemia ) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ALL แต่จากการผลการศึกษาที่ได้รับมาก็สามารถนำมาอธิบายหรือปรับใช้กับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Non- Lymphocytic หรือ ANLL ได้ด้วย ซึ่งความผิดปกติในระยะยาวที่เกิดขึ้น คือ

1.1 ความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต

จากการศึกษาและเฝ้าสังเกตการณ์พบว่ากลุ่มผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ที่กการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดทั้งแบบที่ใช้ยาเคมีบำบัดเพียงชนิดเดียวหรือการใช้เคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน ไม่ส่งผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตของร่างกายเด็ก ดังนั้นจึงสามารถสรุกได้ว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กนั้นเกิดขึ้นจากการรักษา ด้วยการฉายรังสี และผลกระทบจะเกิดขึ้นกับบริเวณที่โดนรังสีโดยเฉพาะกระดูกที่อยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโตเท่านั้นไม่ใช่เกิดขึ้นกับอวัยวะทุกส่วน รวมถึงการฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะต่อ Hypothalamic Pituiary Axis ที่จะส่งผลให้ร่างกายของเด็กเกิดสภาวะขาดแคลนฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต หรือ Growth Hormone หรือไม่ก็ส่งผลต่อการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์ได้ แต่บางครั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการรักษาด้วยยาที่มี Steroid นานเกินไปหรือการเกิดอาการป่วยชนิดเรื้อรังบางชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์อีกด้วยและพบว่าการฉายรังสีแบบ Craniospinal Irradition มีการรายงานผลกระทบว่าสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเด็กที่รอดชีวิตจากการรักษาได้ แต่ว่าความสูงโดยเฉลี่ยที่ลดลงนั้นมีความน้อยมาก และยังพบว่าโรคมะเร็งในเด็กที่มีอายุน้อย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมากกว่าเด็กที่มีอายุมาก และผู้ป่วยเด็กเพศหญิงจะได้รับผลกระทบด้านการเจริญเติบโตมากกว่าผู้ป่วยเพศชายอีกด้วย
แพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายคณะ เช่น Kirk, Costin, Blatt, Moell พร้อมทั้งคณะของพวกเขา ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อทำการฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะ พบว่าผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL นั้นส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติของ Growth Hormone เกิดขึ้น ทั้งด้านการสร้างฮอร์โมนที่มีปริมาณน้อย ส่งผลให้ร่างกายเกิดสภาวะขาดแคลนฮอร์โมนดังกล่าวขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อศีรษะได้รับรังสีประมาณ 18-24 Gy และผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นกับเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชายทำให้มีการเจริญเติบโตของร่างกายที่ช้ากว่าเด็กปกติ
การฉายรังสีแบบ Craniospinal ยังสามารถสร้างผลกระทบต่อความสูงของท่านั่งของผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาอีกด้วย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าผลกระทบจากการฉายรังสีส่งผลต่อกระดูกสันหลัง แต่ว่าผลกระทบแบบนี้จะเกิดขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตในส่วนที่มีการฉายรังสีโดยตรง

นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ Growth Hormone แล้ว ผลกระทบที่ส่งผลให้เกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำก็สามารถส่งผลกระทบต่อรูปร่างของเด็กที่เตี้ยลงของเด็กได้

โดย Robinson กับคณะพบว่าผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดมีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งผู้ป่วยประมาณร้อยละ 7 จะเกิดภาวะไทรอยด์ต่ำแบบ Compensated ส่วนอีกร้อยละ3 จะเกิดภาวะไทรอยด์ต่ำแบบ Primary

ผลกระทบที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติของผู้ป่วยเด็กจะพบได้ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วย Corticosteriod ที่ต้องใช้ระยะเวลานาน หรือในการรักษาผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นโรคไตและโรคหอบหืดที่ทำการรักษาด้วย Prednisolone ในปริมาณที่น้อยกว่า 3 mg/m²ต่อวัน ถ้ามีการรักษาในระยะเวลาที่น้อยกว่า 6 เดือนผลกระทบด้านการเจริญเติบโตของผู้ป่วยนั้นมีค่าน้อยมาก แต่ถ้าทำการรักษาในระยะเวลาที่นานกว่า 6 เดือนจะพบว่าการเจริญเติบโตของผู้ป่วยมีค่าน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าปริมาณ Corticosteroid ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ด เลือดขาวชนิด ALL จะมีปริมาณมาก แต่การที่จะใช้ Steroid มารักษาผู้ป่วยติดต่อกันนานเกิน 6 อาทิตย์ก็เป็นไปได้ยาก จึงแสดงว่าผลกระทบด้านการเจริญเติบโตที่เกิดจากการใช้ Corticosteroid ที่นำมารักษานั้นควรจะมีค่าที่น้อยมาก
และผลกระทบอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ที่มีการรักษาด้วยการฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะคือ โรคอ้วน แต่ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนนั้นยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่แน่ชัด แต่จากสถิติพบว่าผู้ป่วยเด็กจำนวน 21 คนจากทั้งหมด 77 คนที่ทำการศึกษานั้น เป็นโรคอ้วน จึงมีการสันนิฐานว่าการฉายรังสีไปยังศรีษะ รังสีอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลายภายในสมอง ในส่วนของ Hypothalamus ที่ส่งผลให้ร่างกายเป็นโรคอ้วนและมีการเรียนรู้ได้ช้า  [adinserter name=”มะเร็ง”]

1.2 ความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง

ผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางที่เกิดจากการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดและการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะนั้นมีความเสียหายเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL พบว่าทำให้เกิด Necrotizing Leukoencephalopathy ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาประมาณ 4-12 เดือน อาการนี้จะก่อให้เกิดการถดถอยด้านพัฒนาการ ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง สติสัมปชัญญะเกิดการเปลี่ยนแปลง มีภาวะเดินเช ชัก หรือบางครั้งเกิดอาการอัมพาตของร่างกายบริเวณส่วนล่าง เกิดสภาวะ Pseudobulbar Paresis หรือการเกิดสภาวะข้างเคียงที่มีความรุนแรงอื่น ๆ ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือบางครั้งก็อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเด็กที่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจะเป็นเด็กที่มีการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะมาก่อนทั้งสิ้น ซึ่งปริมาณที่ได้รับการฉายรังสีจะอยู่ที่มากกว่า 20 Gy และมีการใช้ยาเคมีบำบัดชนิด Metrothexate เข้าทางเส้นลือดดำและทางกระดูกไขสันหลัง ได้มีการทำการวิจัยแล้วพบว่าผู้ป่วย 55% ที่เคยได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดชนิด Metrothexate เข้าทางเส้นเลือดดำและไขสันหลังร่วมกับการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณศีรษะด้วยรังสี 24 Gy และมีการให้ยาสัปดาห์ละ 40-80 mg/m² ที่จะทำให้เกิดสภาวะ Leukoencephalopathy ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเกิดโรค Leukoencephalopathy ภายหลังจากที่ได้รับการรักษา แต่ถ้ามีการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพียงอย่างเดียการเกิดโรค Leukoencephalopathy จะมีโอกาสน้อยแค่ 0.5-2.0 % เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ยังไม่พบวิธีการรักษาโรคนี้ที่สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากภาวะข้างต้นที่พบแล้วยังพบ สภาวะ Neuropsychological Sequelae ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีไปยังศีรษะเพื่อป้องกันการรุกลามและแพร่กระจายของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเข้าสู่ระบประสาทส่วนกลาง สภาวะ Neuropsychological Sequelae ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างน้อยไม่รุนแรงเหมือนกับอาการที่กล่าวมาในตอนแรก

จากความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีจะพบว่าปริมาณรังสีที่จะทำให้เกิดผลกระทบนั้นจะต้องมีปริมาณตั้งแต่ 24 Gyขึ้นไป ดังนั้นถ้าสามารถลดปริมาณรังสีให้น้อยกว่า 24 Gy ค่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจจะมีค่าลดลงตามไปด้วย ซึ่งค่าประมาณรังสีที่จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติน้อยสุดและสามารถรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวให้หายได้จะอยู่ที่ประมาณ 18 Gy และเมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียวเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดในการป้องกันไม่ให้มะเร็งเกิดการแพร่กระจาย พบว่าผู้ที่ได้รับการฉายรังสีจะมีคะแนนเกี่ยวกับความจำที่ไม่ดีเท่ากับกลุ่มที่ได้รับยาเคมีบำบัดด้วย

1.3 ผลกระทบต่อการทำงานของต่อมเพศ

ผู้ป่วยเด็กชายที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL จะมีการเจริญเติบโตอย่างปกติ และยังสามารถมีลูกได้อย่างปกติเหมือนกับคนทั่วไป จากผลการสังเกตดังกล่าวทำให้มีความเชื่อว่าการรักษาโรคมะเร็งด้วยการให้เคมีบำบัดในกลุ่ม Alkylating Agent นั้นไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติกับอัณฑะ ต่อมา Blatt กับคณะได้ทำการศึกษาผู้ป่วยชายที่ทำการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL จำนวน 14 คนด้วยกัน โดยผู้ป่วย 9 คนเป็นเด็กชายที่ยังไม่เข้าสู่วัยหนุ่ม ผู้ป่วย 4 คนเป็นผู้ชายที่อยู่ในวัยหนุ่ม และผู้ป่วย 1 คนอยู่ในวัยที่มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเต็มตัวแล้ว ทำการรักษาผู้ป่วยด้วยให้เคมีบำบัดหลาชนิดเข้าด้วยกัน ( Prednisolone Vincristine Methotrexate กับ 6-Mercaptopurine ) ทำการรักษาและเฝ้าติดตามอยู่ประมาณ 5 ปีครึ่ง พบว่าผู้ป่วยทุกคนมีลูกอัณฑะที่สามารถทำงานได้อย่างปกติเหมือนกับคนทั่วไป ซึ่งพิจารณาจาก tanner staging ร่วมกับระดับของ Gonadotropin กับประมาณระดับของ Testosterone Range จึงสรุปได้ว่าการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วยไม่ส่งผลต่อการทำงานและการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับต่อมเพศ

แต่ทว่าการฉายรังสีกลับให้ผลในทางตรงกันข้าม โดยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีที่ความเข้มข้น 18-24 Gy ที่บริเวณลูกอัณฑะในการรักษา Testticular Leukemia จากการรักษาจะส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นหมันชนิดถาวร ทั้งที่ระดับ Testtosterone ยังอยู่ในระดับปกติ ซึ่งระดับของ Luteinizing Hormone ( LH ) กับ Follicle Stimulating Hormone ( FSH ) อาจจะมีค่าคงที่หรือสูงขึ้นได้ และจากการศึกษาของ Brauner, Shalet พร้อมทั้งคณะของพวกเขาพบว่า เมื่อทำการฉายรังสีที่มีความเข้มข้น 24 Gy เข้าสู่บริเวณลูกอัณฑะทั้งสองข้างของผู้ป่วยเด็กชาย 12 คน ผู้ป่วยเด็กชาย 10 คนจะส่งผลให้ Leyding Cell ทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งดูได้จากอาการตอบสนองที่มีเต็มที่ของ Plasma testosterone ที่ส่งผลต่อ Human Chorionic Gonadotrophin หรือการที่ส่งผลต่อ Basal LH ที่มีค่าเพิ่มขึ้น และยังพบอีกว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีอยู่หลายอย่างมาก และการหลั่งของ Gonadotropin จะมีเกิด พร้อมกับความเสียหายของลูกอัณฑะของเด็กผู้ชายที่เข้ารับการรักษาถึง 9 คนจากผู้ป่วยทั้งหมด 11 คนที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่ส่วนของลูกอัณฑะ ซึ่งสามารถทำการรักษาได้ด้วยการให้ Androgen เข้าไปทดแทนส่วนที่ขาดหายไป [adinserter name=”มะเร็ง”]

สำหรับเด็กผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL พบว่าไม่มีความผิดปกติต่อการเจริญทางเพศของเด็กพวกนั้นแม้แต่น้อย ผู้ป่วยทุกคนเมื่อโตสามารถมีบุตรที่มีลักษณะปกติดีทุกประการ ซึ่งจากการสังเกตยังบอกได้อีกว่าเด็กผู้หญิงที่ป่วยและทำการรักษาก่อนที่จะเข้าสู่วัยสาวเต็มตัวจะมีความเปลี่ยนแปลงด้านการเจริญเติบโตที่น้อยมากจนถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติเกิดขึ้น แต่ว่าถ้าเด็กผู้หญิงทำการรักษาโรคมะเร็งเมื่อเข้าสู่วัยสามเต็มตัวหรือมีการรักษาหลังจากที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกไปแล้ว พบว่าเด็กผู้หญิงจะมีความผิดปกติของการทำงานใน Hypothalamus และยังสามารถพบการทำงานที่มีความผิดปกติแบบ Primary เกิดขึ้นที่รังไข่ได้อีกด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้มีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้ไม่ถึงครึ่งของผู้ป่วยที่ตรวจพบความผิดปกติ และยังพบว่าการรักษาด้วยเคมีบำบัดชนิด Cyclophosphamind ในการรักษาจะส่งผลให้การทำงานของรังไข่มีความผิดปกติเกิดขึ้นสูงมาก
นอกจากผลจากการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดและการฉายรังที่ในการรักษาโดนตรงแล้ว การฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางก็ส่งผลต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบเพศด้วยเช่นกัน โดยพบว่าเด็กผู้หญิงที่ได้รับการฉายรังสีเข้าสู่ศีรษะจะมีประจำเดือนช้ากว่าคนปกติและการงานของต่อมเพศของผู้หญิงก็อาจจะเกิดความล้มเหลวได้ด้วย หรือบางครั้งก็ส่งผลในทางตรงกันข้ามคือเข้าไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ ซึ่งสันนิฐานว่าที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ารังสีเข้าไปกระตุ้นการทำงานของต่อม Hypothalamus ที่ผิดปกติจนส่งผลให้เกิดสภาวะ Hypothalamic Pituitary Gonadal Axis นั่นเอง

1.4 ความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อระบบส่วนอื่น ๆ

ระบบส่วนอื่น ๆที่กล่าวถึงในที่นี้ คือ เลนส์ตา ฟัน กระดูกและตับ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้

1.4.1 ดวงตา
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับดวงตาที่พบได้บ่อย คือ การเกิดต้อกระจก ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากการใช้ Steroid จะทำให้เกิดต้อกระจกแบบ Subcapsular อัตราการเกิดต้อกระจกแบบนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณ Steriod และระยะเวลาที่ได้รับด้วย หรือการเกิดต้อกระจกเนื่องจากการฉายรังสีเข้าไปกระทบเลนส์ที่ในดวงตาซึ่งจะเมื่อเลนส์ได้รับรังสี cranial Irradiation มีความเข้มข้นระหว่าง 4-20 Gy ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีเพื่อการป้องกันการแพร่กระจายจึงไม่ค่อยมีผลข้างเคียงที่เกิดเป็นต้อกระจกเท่าใดนัก

1.4.2 ฟัน
ผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีที่มีความเข้มข้น 18-24 Gy ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL พบว่าผู้ป่วยประมาณ 40% และการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดไม่ว่าจะเป็นการรักษาทั้งสองวิธีพร้อมกันหรือรักษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ส่งผลให้รากฟันและครอบฟันกรามมีลักษณะที่สั้นลงและบางลง ซึ่งการที่รากฟันและครอบฟันสั้นลงจะทำให้ฟันมีอายุที่น้อยลงตามไปด้วย

1.4.3 กระดูก
ผู้ป่วยที่ทำการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ที่ทำการรักษาด้วยการใช้ Corticosteroid หรือใช้ยา Methotrexate จะส่งผลให้เกิดสภาวะ Skeletal Undermineralization ที่ทำให้กระดูกมีความเปราะบางจึงแตกหักได้ง่ายกว่าปกติ

1.4.4 ตับ
ผลข้างเคียงต่อตับที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดเสียเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะการรักษาด้วยยา Methotrexate หรือยา 6-Mercaptopurine ถึงแม้ว่าอาการที่แสดงในตอนแรกที่ทำการรักษาจะไม่เด่นชัดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นแต่ทว่าหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้ว ประมาณ 10-40% ของผู้ป่วย พบว่าฤทธิ์ของยาจะเข้าไปทำลายเซลล์ที่อยู่ภายในตับจนเกิดความเสียหายจนกลายเป็นพังผืดหรือโรคตับแข็ง และถ้ามีการให้ยาเคมีบำบัดเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลให้ท่อน้ำดีเกิดการอุดตันเป็นเหตุให้เซลล์ที่อยู่ภายในตับตายได้ ส่งผลให้ค่า Serum Bilirubin Transaminases มีค่าเพิ่มขึ้นด้วย ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตับไม่ใช่ผลกระทบชนิดเรื้อรังเพราะว่าอาการบางอย่างสามารถรักษาให้หายได้เป็นปกติหลังจากที่ทำการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเสร็จแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางรายก็พบว่ายังมีอาการโรคตับเรื้อรังเกิดขึ้นซึ่งมีค่าน้อยมากประมาณ 1% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเท่านั้น

2. โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ Hodgkin’s Diseaseและ Non-Hodgkin’s Lymphoma ซึ่งเด็กที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้พบได้เพียงแค่ 15% ของผู้ป่วยเด็กทั้งหมดที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ผลกระทบที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังที่มาจากการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบได้มากและมีความสำคัญ คือ  [adinserter name=”มะเร็ง”]

2.1 สภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง ( Overwhelming Bacterial Infection )

การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะมีการตัดม้ามออก ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดสภาวะ Spontaneous Sepsis ซึ่งสภาวะเป็นภาวะเสี่ยงที่มีความรุนแรงสูงมากสำหรับตัวผุ้ป่วย จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 50 จะเสียชีวิตเนื่องจากมีการติดเชื้อที่รุนแรงจากการตัดม้าม ซึ่งการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เกิดการติดเชื้อจะเกิดขึ้นมากในช่วง 1-2 ปีแรกหลังจากที่ทำการรักษาด้วยการตัดม้ามออก แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่มีอายุยืนยาวกว่า 12 ปีจึงเกิดภาวะติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด ส่วนการรักษาด้วยการฉายรังสีที่มีความเข้มข้น 40 Gy เข้าสู่พบว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเหมือนกับผลที่เกิดขึ้นเมื่อตัดม้ามออกคือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดรุนแรงได้เช่นกัน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้มีการแก้ไขด้วยการลดปริมาณรังสีที่ใช้ในการรักษาให้น้อยลงกว่า 20 Gy และมีการให้ยาก Penicilin เพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยก็สามารถช่วยลดการติดเชื้อชนิดรุนแรงเนื่องจากการถูกตัดม้ามหรือม้ามสูญเสียการทำงานได้บางส่วน

2.2 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานของต่อมเพศ

จากการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของต่อมเพศในผู้ป่วยที่เข้ารับการโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 2 กลุ่ม พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มแรกที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีและให้ยาเคมีบำบัดในกลุ่ม MOPP (Mechlorethamine/Vincristine/Procabazine/Prednisine) พร้อมกับ MOPP Analoguse มีความผิดปกติของการทำงานของกลุ่มเพศเกิดขึ้น โดยในเด็กชายจะสามารถกลับมามีบุตรภายหลังที่ทำการรักษาไปแล้วอย่างน้อย 8 ปี ซึ่งต่างจากการรักษาด้วยการฉายรังสีและการให้ยาในกลุ่ม ABVD (Doxorubicin/Blemycin/Vinblastine/Dacarbazine) ที่ไม่สร้างผลกระทบต่อมการทำงานของต่อมเพศ
ในการฉายรังสีเข้าสู่ลูกอัณฑะพบว่าการฉายรังสีแบบ Inverted Y-field ส่งผลให้มีการเกิด Oligospermia หรือเกิด Azoospermia ซึ่งลักษณะที่เกิดขึ้นมีทั้งแบบที่เกิดขึ้นชั่วคราวหรือแบบถาวรก็ได้ แต่ว่าแบบถาวรนั้นมีโอกาสที่พบได้น้อยมาก ซึ่งจำนวนสเปิร์มที่ลดลงจะสามารถกลับเข้าสู่ปกติหลังจากที่ทำการรักษาเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 26 เดือน ซึ่งประมาณ 40% จะมีปริมาณสเปิร์มน้อยต่อไปจนกระทั้งโตเป็นหนุ่ม

สำหรับในวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตทางเพศเต็มที่แล้ว พบว่าถ้ามีการรักษาด้วยการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณอุ้มเชิงกรานแล้ว โอกาสที่ Spermatogenic และ Fertility ที่จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมจะมีโอกาสที่น้อยมากหรือบางในผู้ป่วยบางคนจะไม่กลับมาเป็นปกติเลย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าอัณฑะของเด็กผู้ชายที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธจะมีความว่องไวต่อ Cytotoxic Effects ของ Alkylating Agent น้อยกว่าในผู้ป่วยที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วนั่นเอง และเมื่อทำการตรวจคุณภาพของน้ำอสุจิของผู้ป่วยที่เข้าสู่วัยหนุ่มหรือเลยวัยหนุ่มมาแล้วหลังจากที่ทำการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดเป็นเวลาตั้งแต่ 4 ปีจนถึง 11 ปี พบว่าน้ำอสุจิมีภาวะ Azoospermia อย่างสูงสุด
สำหรับผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองHodgkin’s Disease ด้วยการให้เคมบำบัดและการฉายรังสี พบว่ารังไข่ของเด็กผู้หญิงจะมีการทำงานที่ลดลง และผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปรังไข่จะมีความว่องไวต่อรังสีสูงกว่ารังไข่ของผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี และผู้หญิงที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีและให้เคมีบำบัดที่บริเวณอุ้มเชิงกรานจะส่งผลให้รังไขทำงานผิดปกติมากกว่าผู้หญิงที่รักษาด้วยการฉายรังสีหรือการให้เคมีบำบัดเพียงชนิดเดียว
ส่วนในเด็กผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปีที่เข้ารับการรักษา Hodgkin’s Disease ที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีไปยังบริเวณหน้าท้องส่วนล่างหรือบริเวณอุ้มเชิงกรานโดยมีการ Midline Overian Blacking กลับพบว่าความสามารถในการทำงานของรังไข่นั้นเป็นปกติเหมือนคนที่ไม่เคยผ่านการรักษามาก่อน และยังพบอีกว่าผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดชนิด MOPP ส่งผลให้ผู้ป่วยประมาณ 25-65 %ไม่มีประจำเดือนติดต่อกันอย่างยาวนาน โดยผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี จะมีโอกาสที่จะเกิดผลกระทบเช่นนี้มากกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี และเมื่อทำการศึกษาในผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการให้เคมีบำบัดก็ได้ผลเช่นเดียวกับการให้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว นั่นคือ ผู้หญิงที่มีอายุมากจะมีโอกาสที่จะไม่มีประจำเดือนมากกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยที่เข้ารับการรักษาแบบเดียวกัน แสดงว่าอายุของผู้ที่เข้ายิ่งมีอายุน้อยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษาจะมีค่าน้อยกว่าผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานของรังไข่ก็จะยิ่งน้อยลงหรือแทบจะไม่เกิดผลกระทบกับตัวผู้ป่วยเลยแม้แต่น้อย

2.3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหัวใจ

การรักษา Hodgkin’s Disease ด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัด พบว่าการฉายรังสีจะมีรังสีเข้าสู่หัวใจในบางส่วน และยาเคมีบำบัดที่ใช้จะมีส่วนผสมของยา Anthracycline ยาชนิดนี้เป็นยาที่มีความเป็นพิษต่อหัวใจเป็นอย่างมาก ซึ่งผลกระทบที่เกิดเป็นอาการแทรกซ้อนเมื่อทำการฉายรังสีทีเกิดขึ้นกับหัวใจ มีดังนี้

2.3.1 โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
โดยเฉพาะโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อย ซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 30 ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่มีปริมาณ 35 Gy เข้าสู่ส่วน Mediastinum พบว่าจะมีอาการเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นได้มีการพยายามหาทางแก้ไขด้วยการลดปริมาณของรังสีที่ใช้ในการฉายเพื่อรักษาและทำการ Subcarinal Blocking แล้วพบว่า การเกิดอาการแทรกซ้อนมีค่าลดลงเพียงแค่ 2-3 % เท่านั้น
และอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาเสร็จแล้วหลายปี ซึ่งบางครั้งอาการอาจจะไม่แสดงออกมาให้เห็นเด่นชัดนัก โดยอาการจะเริ่มตั้งแต่การมีน้ำในช่องเยื้อหุ้มหัวใจส่งผลให้กัวจเกิดการบีบตัวที่รุนแรง ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามจนถึงชีวิตได้

2.3.2 หลอดเลือดแดงบาดเจ็บ
การที่หลอดเลือดแดงเกิดอาการบาดเจ็บหลังจากที่มีการรักษาด้วยการฉายรังสี สามารถพบได้แต่ก็ไม่บ่อยนัก ซึ่งเมื่อเกิดอการดังกล่าวแล้วอาจจะพัฒนาไปเป็นโรคหลอดเลือกหัวใจในอนาคตได้ อาการแทรกซ้อนที่ทำให้หลอดเลือกหัวใจบาดเจ็บจะส่งผลในระยะยาวกับผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดและโรคกล้ามเนื้อหัวใจที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในผู้ป่วยเด็กที่ทำการรักษาจะพบว่าเมื่อทำการรักษาจนมีอายุ 18-25 ปีจะมีอัตราเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากสาเหตุนี้ จะเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหัวใจมีความอันตรายค่อนข้างสูง จึงพยายามที่จะหาทางลดอาการแทรกซ้อนด้วยการฉายรังสีให้มีปริมาณต่ำประมาณ 20 Gy เข้าสู่บริเวณ Mediastium และทำการเปลี่ยนยาเคมีบำบัดมาเป็นแบบ MOPP / ABVD แทนยา Anthracycline ซึ่งค่า Median Cumulative Dose ของ Doxorubicin ควรอยู่ที่ 176 mg/m² ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้  [adinserter name=”มะเร็ง”]

2.4 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานต่อมไทรอยด์

การรักษาด้วยการฉายรังสีไปที่ลำคอพบว่าสามารถส่งผลให้ต่อมไทรอยด์เกิดการทำงานที่ผิดปกติ โยมีต่อมไทรอยด์จะทำงานน้อยลงหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีที่บริเวณลำคอแล้ว ปัจจัยที่ส่งผลให้ต่อไทรอยด์ทำงานน้อยลง คือ ปริมาณรังสีที่ได้รับมีค่าสูงนั่นเอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุน้อยจะได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับต่อมไทรอยด์สูงกว่า ซึ่งถ้าได้รับปริมาณรังสีต่ำกว่า 26 Gy ผู้ป่วยเด็ก 17 % ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติ แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีมากกว่า 26 GY จะมีโอกาสที่ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติมากถึง 78 % เลยทีเดียว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้วประมาณ 3 เดือน -6 ปี ซึ่งการรักษาสามารถทำได้ด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน

2.5 ผลกระทบที่เกิดต่อการทำงานของปอด

การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง Hodgkin’s Disease ด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัด จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอด ก็ต่อเมื่อมีการฉายรังสีไปยังบริเวณ Mediastinum หรือบริเวณเนื้อเยื่อปอดทุกส่วน ซึ่งการรักษาอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก้ปอดทำให้ปอดอักเสบ หายใจติดขัด มีอาการไอ หรือมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งเมื่อทำการ เอกซเรย์ทรวงองจะแสดงให้เห็นว่า Mediastinum มีความกว้างมากขึ้นแบะยังแสดง Shaggy Border ในส่วนที่อยู่รอบ ๆ Mediastinum อีกด้วย โดยอาการปอดอักเสบจะมีเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับรังสีที่ปริมาณ 35-45 Gy ที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ส่วนบนของร่างกาย นอกจากอาการปอดอักเสบอาการแทรกซ้อนที่พบได้ก็คือ ภาวะมีน้ำเกิดขึ้นในช่องปอดชนิดเรื้อรัง หรือการเกิดพังผืดที่ส่วนของ Aqical ชนิดที่ไม่มีอาการแสดงออกมาและเกิด พังผืดแบบ Paramediastinal ได้อีกด้วย ส่วนการให้เคมีบำบัดจะเกิดอาการแทรกซ้อนแบบนี้ก็ต่อเมื่อมีการให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน โดยเฉพาะยา Bleomycin ที่จะส่งผลให้ปอดมีความยืดหยุ่นน้อยลง แต่ถ้าลดปริมาณยาให้เหลือน้อยกว่า 200 unit/m2 ก็จะสามารถลดอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ และอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอย่างมากสำหรับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการให้เคมีบำบัดคือ การติดเชื้อชนิดรุนแรงที่ปอด ซึ่งถ้ามีอาการแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้นผู้ป่วยจะมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้

3. โรคมะเร็งชนิดอื่น ( Other Solid Tumors ) 

Solid Tumors สามารถพบได้ในเด็กประมาณ 1 ใน 3 เท่านั้น ซึ่ง Solid Tumors ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ Rhabomysarcoma Osteogenic Sarcoma Ewing’s Sarcoma Wilm’sTumors และ Neuroblastoma ซึ่ง Solid Tumors เป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัด ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่สามารถทำการสรุปได้ว่าเกิดขึ้นจากการผ่าตัด จากการฉายรงสีหรือการให้เคมีบำบัด และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษา Solid Tumors มีดังนี้

3.1 ผลกระทบต่อการเกิดขึ้นกับปอด

การรักษา Wilms’tumors ด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดพบว่า ผู้ป่วยมีสภาวะล้มเหลวในการทำงานของกกระบวนการ Alveolar Multiplication ส่งผลให้ปอดมีปริมาตรลดลง ผนังทรวงอกมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ส่งผลให้เกิดภาวะตีบตันของทางเดินหายใจได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้น้อยเพียง 2 จาก 15 คนของผู้ป่วยทั้งหมด

3.2 ผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ

การรักษา Solid Tumors จะมีอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมชนิดเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หลอดเลือดหัวใจตีบตัน โดยพบว่าผู้ที่ได้รับยาที่มีปริมาณน้อยกว่า 550 mg/m2 จะมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาในปริมาณมากกว่า 600 mg/m2 และจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่ม Anthracyline ในการรักษาร่วมด้วย วิธีการให้ยาก็มีผลต่ออาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นด้วยพบว่าถ้าให้ยาในแบบ Continuous Infusion จะช่วยลดความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้
การประเมินอาการแทรกซ้อนสามารถทำได้หลายวิธีเช่น Radionuclide Angiography การประเมินการบีบตัวของหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงที่สะท้อนของหัวใจหรือการตัดชิ้นเนื้อเพื่อไปตรวจว่ามีอาการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่
และถ้าทำการตรวจว่าผู้ป่วยมีอัตราเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว ต้องรีบหยุดการให้ยาเคมีบำบัดกับผู้ป่วยในทันที

3.3 ผลกระทบต่อการทำงานของไต

การรักษา Solid Tumors ที่ไตมักจะทำการรักษาด้วยการตัดเอาไส้ที่ไตออกไป พบว่าหลังจากที่ทำการรักษาผ่านไป 3 ปี ตาส่วนที่เหลืออีกข้างจะมีขนาดใหญ่ขึ้น จากการศึกษาที่ดูจาก Serum Creatinine และ Creatinine Clearance ด้วยการติดตามผลถึง 23 ปี พบว่ามีการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ และมีสภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเพศชาย และการฉายรังสีปริมาณมากกว่า 23 Gy ไปยังบริเวณอุ้มเชิงกรานกับบริเวณท้องของผู้ป่วยจะเกิดอาการแทรกซ้อนส่งผลให้ไตอักเสบได้ และการใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษาในผู้ป่วยเด็กจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน และจะมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นอาการแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง ซึ่งอาการแทรกซ้อนดังกล่าวสามารถลดความรุนแรงด้วยการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ ทั้งก่อน ในขณะที่ให้ยาเคมีบำบัดและหลังการให้ยาเคมีบำบัด

3.4 ผลกระทบต่อบริเวณศีรษะและคอ

ผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็กที่เข้ารับการรักษา sarcoma ของส่วนเนื้อเยื่ออ่อนของสมองและคอ ด้วยการให้เคมีบำบัดและการฉายรังสีจะสร้างผลกระทบต่อร่างกายดังนี้  [adinserter name=”มะเร็ง”]

3.4.1 ตา
เมื่อมีการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณดวงตาและกระจกตาได้รับรังสีประมาณ 6-7.5 Gy จะเกิดต้อที่บริเวณกระจกตา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 6 เดือนจนกระทั้งถึง 35 ปีหลับจากที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี และถ้ามีการฉายรังสีเข้าสู่เบ้าตาในประมาณที่น้อยกว่า 40 Gy จะส่งผลให้เยื่อบุตาเกิดการอักเสบชนิดรุนแรงและถ้าได้รับรังสีมากกว่า 57 Gy จะส่งผลให้ตามองไม่เห็นภายใน 1 ปีหลังจากที่ได้รับการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับรังสีที่มีปริมาณ 28 Gy จะทำให้เกิดสภาวะตาแห้ง

3.4.2 การได้ยิน
อาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับการได้ยินเป็นปัญหาที่พบได้น้อยมากเมื่อเทียบกับอาการแทรกซ้อนชนิดอื่น ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับการได้ยิน จะเกิดจากการฉายรังสีปริมาณ 40-60 Gy เข้าสู่บริเวณหูชั้นกลางจะส่งผลให้เกิดน้ำในหูชั้นกลางชนิดเฉียบพลันขึ้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้จะหายได้เองในภายหลังและจะไม่ส่งผลให้การได้ยินสูญเสียไป แต่ก็จะมีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่จะสูญเสียอาการได้ยินหลังจากที่ได้รับการฉายรังสี
แต่สำหรับการให้เคมีบำบัดพบวายา Cisplatin ที่จะมีความเป็นพิษต่อหูมากซึ่งการให้ยานี้ในปริมาณที่สูงกว่า600 mg/m2 พบว่าผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินที่ความถี่สูงทุกคน

3.4.3 ความเสียหายต่อฟัน
เมื่อมีการฉายรังสีที่ปริมาณ 4 Gy เข้าสู่ฟันที่อยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต ส่งผลให้ฟันมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ มีรากฟันที่สั้นลงและครอบฟันที่บางลง และอายุของฟันก็มีอายุสั้นลงด้วยทำให้ผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีจะต้องทำการดูแลฟันเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันการสูญเสียฟันก่อนเวลา นั่นแสดงว่าความเสียหายต่อฟันจะเกิดขึ้นเมื่อทำการรักษาผู้ป่วยที่มีอายุน้อยหรือผู้ป่วยที่ฟันมีการพัฒนายังไม่เต็มที่นั่นเอง

3.4.4 ความเสียหายต่อต่อมน้ำลาย
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีปริมาณ 45 Gy จะพบว่าผู้ป่วยจะมีน้ำลายที่มีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น น้ำลายเหนี่ยวขึ้น หรือน้ำลายมีลักษณะที่ใสขึ้น เป็นต้น

3.4.5 ความเสียหายต่อ Growth hormone
ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีปริมาณ 44 Gy ด้วยการฉายรังสีแบบ Incidental เข้าสู่บริเวณ Hypothalamic Pituitary Gland พบว่าผู้ป่วยเด็กร้อยละ 61 มีความสูงลดลงเนื่องจากการทำงานของต่อมไทโอทาลามัสมีความผิดปกติ ส่งผลให้มีการสร้าง Growth Hormone ลดลงทำให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตที่ลดลงตามไปด้วย ซึ่งอาการแทรกซ้อนนี้จะส่งผลให้กับผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับการรักษาประมาณ 6 ปี

3.4.6 ความเสียหายต่อกระดูกใบหน้า
เมื่อมีการฉายรังสีปริมาณ 40 Gy เข้าสู่บริเวณเบ้าตาเพื่อรักษา Rhabdomyosarcoma พบว่าอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษาส่งผลให้เนื้อเยื่ออ่อนบริเวณเบ้าตามีความพิการผิดรูปเกิดขึ้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยที่การเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้ายังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ อาการแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้วประมาณ 9 ปี และอาการแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงก็ต่อเมื่อได้รับปริมาณรังสีเกิน 50 Gy
ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการฉายรังสีควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดว่ามีผลข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อนใดที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นบ้าง เพื่อลดความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

3.5 ผกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจากการรักษามะเร็งในเด็ก

ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยหรือยังอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโต เมื่อได้รับการฉายรังสีเข้าสู่ช่องท้องเพื่อทำการรักษามะเร็ง พบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกสันหลังคดงอหรือมีอาการหลังค่อมเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับรังสีปริมาณ 32 Gy และทำการฉายแสงด้วยเครื่อง Orthovoltage ซึ่งอาการแทรกซ้อนนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการรักษาแล้วประมาณ 12-13 ปี นอกจากนั้นความผิดปกติของกระดูกอาจจะเกิดขึ้นจากการฉายรังสีที่มีปริมาณ 30 Gy ด้วยการฉายรังสีแบบ Orthovoltage และการฉายรังสีแบบที่ไม่สมมาตรก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งด้วย
ความถี่ในการเกิดเลื่อนของ Epiphysis ของส่วน Femoral Head จะมีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยเด็กได้รับการฉายรังสีเจ้าสู่บริเวณอุ้มเชิงกรานพร้อมกับการให้เคมีบำบัด พบว่าเซลล์ที่มีความว่องไวต่อการรักษาจะหลัดจรการเลี้ยงเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่มีความทนทานต่อความกดดันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นในการรักษาต้องทำการตรวจอุ้มเชิงกรานก่อนที่จะทำการรักษาว่าสามารถทนต่อการรักษาได้หรือไม่เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น

4. มะเร็งในเด็กที่เกิดขึ้นในระบบประสาทส่วนกลาง

ผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นมะเร็งในสมองจะพบได้ประมาณร้อยละ 20 และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะรอดชีวิต ซึ่งการรักษามะเร็งที่ส่วนของสมองจะรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดร่วมด้วย ซึ่งการรักษาย่อมมีผลกระทบต่อผู้ ป่วยเกิดขึ้นด้วย ซึ่งผลกระทบหรืออาการแทรกซ้อนระยะยาวที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กที่ทำการรักษามะเร็งสมอง คือ

4.1 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบต่อมไร้ท่อ

4.1.1 การทำงานต่อมไฮโปทาลามัส
การรักษามะเร็งที่สมองด้วยการฉายรังสีจะส่งผลต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อที่อยู่ในสมองส่งผลให้เกิดสภาวะขาดแคลน Growth Hormone ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ที่มีต้นเหตุมาจากาการทำงานที่ผิดปกติของต่อมไฮโปทาลามัสที่มีหน้าที่ในการสร้าง Growth Hormone นั่นเอง ซึ่งถ้าร่างกายได้รับรังสีในปริมาณ 36-60 Gy สู่ส่วนขอสมองทั้งหมดหรือ 46-54 Gy ที่ส่วนของ Posterior Fossa จะส่งผลให้ร่างกายทำการผลิต Growth Hormone มีความผิดปกติ ซึ่งสภาวะการขาดแคลน Growth Hormone นี้จะเริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยทำการรักษาไปแล้วประมาณ 3 เดือน ซึ่งสภาวะการขาดแคลน Growth Hormone จะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตมากกว่าผู้ใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว  [adinserter name=”มะเร็ง”]

4.1.2 การทำงานของต่อมเพศ
การทำงานของต่อมเพศพบว่าถ้ามีการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณสมองจะส่งผลน้อยมากต่อการทำงานของต่อมเพศ ต่างจากผลจากการใช้เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งที่สมอง เพราะว่าการใช้เคมีบำบัดส่งผลต่อการพัฒนาของต่อมเพศอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กที่การพัฒนาของต่อมเพศยังไม่สมบูรณ์เต็มที่จะแสดงผลอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของลูกอัณฑะที่มีขนาดเล็กลง จำนวนอสุจิและคุณภาพของอสุจิก็ลดลงตามได้ด้วย ส่วนในผู้หญิงจะพบว่ารังไข่มีการทำงานที่ผิดปกติส่งผลต่อการมีประจำเดือนที่ขาดหายไม่สม่ำเสมอ

4.2 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ Neurocognitive Function

ผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณสมอง พบว่าหลังจากที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการเรียนรู้ ความจำและการสั่งงานของสมองต่อการตอบสนองสิ่งเร้าที่อยู่รอบตัวเป็นอย่างมาก ทำให้มีปัญหาด้านการเรียนการศึกษา กระบวนการคิด การตัดสินใจ มีระดับ IQ ที่ลดลงกว่าเด็กปกติ นอกจากนี้ในผู้ป่วยเด็กบางคนก็มีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้น มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ก้าวร้าว หวาดระแหวง ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้มีผลมาจากการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณสมองมากกว่าการให้เคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง
ในผู้ป่วยบางคนที่เข้ารับการรักษาเมื่ออายุแค่ 2-5 ปีมีอัตราเสี่ยงที่จะมีอาการแทรกซ้อนกลายเป็นโรคปัญญาอ่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้เนื่องจากการที่มีน้ำคั่งอยู่ในสมองและมีแรงดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มมากขึ้น
การแก้ไขผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนี้ ทำได้ด้วยการรักษาผู้ป่วยเมื่อมีอายุมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือให้พ้นจากช่วงที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตของสมอง เพื่อลดอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีเข้าสู่สมอง

4.3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับปอด

การใช้ยาเคมีบำบัดชนิด Carmustine ( BCNU ) ในปริมาณ 1550 mg / m2 เพื่อทำการรักษาโรคมะเร็งที่สมอง พบว่าจะสร้างผลกระทบต่อปอดหลังจากที่ทำการรักษาเสร็จประมาณ 2-5 ปี โดยจะส่งผลให้เกิดอาการไอ หายใจหอบ เหนื่อยง่าย และกลายเป็นอาการปอดบวมในที่สุด ในผู้ป่วยบางหลายก็จะเกิดพังผืดที่ในปอดชนิดรุนแรง ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา ดังนั้นการลดอาการแทรกซ้อนที่มีต่อปอดคือการลดปริมาณยา Carmustine ( BCNU ) ที่ใช้ในการรักษาให้เหลือเพียง 1400 mg/m2 และในขณะที่ทำการรักษาต้องคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยว่ามีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่น เช่น อาการหอบหืด หายใจติดขัด เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีอาการเกิดขึ้นควรดูแลอย่างใกล้ชิดหรือหากจำเป็นให้หยุดการรักษาไว้ก่อน

การเกิดมะเร็ง ทุตติยภูมิ ( Second Malignancy Neoplasms : SMN )

1. ผลกระทบที่เกิดจากพันธุกรรม

ผู้ป่วยเด็กที่เคยได้รับการรักษามะเร็งจนหายไปแล้ว พบว่าสามารถกลับมาเป็นมะเร็งได้อีกครั้งหรือเรียกว่ามะเร็งทุตติยภูมิ ซึ่งลักษณะของมะเร็งทุตติยภูมิที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละคนนั้นก็จะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของผู้ป่วยเอง และวิธีการรักษามะเร็งที่เคยใช้ในการรักษาครั้งแรกอีกด้วย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งทุตติยภูมิคือ

พันธุกรรม พบว่าเด็กที่มีการโครโมโซม 13q14 จะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็ง Retinoblastoma ที่ตาทั้งสองข้าง ซึ่งมะเร็งชนิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่รักษามะเร็งหายแล้วประมาณ 20 ปี

กลุ่มโรคบางชนิดก็สามารถส่งผลให้เกิด SMN ได้เช่นกัน เช่น Neurofibromatosis หรือ Xeroderma เป็นต้น

2. ผลกระทบที่เกิดจากวิธีการรักษา

การฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดในการรักษาผู้ป่วย พบว่าสามารถส่งผลกระทบให้เกิดมะเร็ง SMN ได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวมักเกิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีในปริมาณต่ำ และSolid Tumors ที่จะเกิดกับผู้ป่วยที่ได้รับรังสีในปริมาณสูง ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากทำการรักษาประมาณ 10-15 ปี โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาจะได้รับผลกระทบที่ก่อให้เกิดมะเร็ง SMN สูงกว่าในผู้ใหญ่ สำหรับการให้เคมีบำบัดนั้นยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าสามารถส่งผลกระทบต่อการเกิดมะเร็ง SMN ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่ทรงประสิทธิภาพสูง สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ แต่ทว่าการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวก็มีผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กที่ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งร่างกายและสมอง ดังนั้นถ้าเป็นไปได้การรักษาควรรักษาเมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เพื่อร่างกายจะได้รับผลกระทบทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังน้อยที่สุด และร่างกายก็จะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็ว อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระยะยาวก็จะน้อยลงตามไปด้วย แต่ถึงอย่างไรทุกอย่างก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นหลักด้วย

ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันที่พบว่ามีผลจากการฉายรังสีในผู้ป่วยเด็ก

1.อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับระบบประสาท

อาการข้างเคียงจากภาวะแทรกซ้อนจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ หรือความเป็นพิษต่อระบบประสาทชนิดเฉียบพลันที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กจะพบได้ในผู้ป่วยเด็กที่มีการฉายรังสีหรือมีการให้เคมีบำบัดบริเวณศีรษะ ซึ่งอาการเฉียบพลันที่พบได้ คือ

1.1 อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะสภาวะง่วงซึมในเด็ก ( Somnolence Syndrome )
ภาวะแทรกซ้อนจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ สภาวะง่วงซึมหรือที่เรียกว่า Post-Irradiation Syndrome Apathy Syndrome, Late Transient Encephalopathy Syndrome อาการที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กมีตั้งแต่ ง่วงนอน เซื่องซึม คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ขึ้น และอาจจะมีอาการท้องร่วงเกิดขึ้นด้วย ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายใน 4-8 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับการฉายรังสีที่บริเวณของศรีษะไปแล้ว และ Druckman ได้ทำการอธิบายอาการดังกล่าวไว้ว่า 3 % ของผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณหนังศีรษะเพื่อรักษา Tinea Capitis จะมีอการเหล่านี้เกิดขึ้น ภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสีที่ศีรษะและอาการง่วงซึมยังสามารถพบได้ในผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็น Leukemia ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีบริเวณศีรษะเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็งไปสู่สมองอีกด้วย ( Prophylaxis Cranial Irradiation ) ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ทำการฉายรังสีเพื่อที่จะรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในสมองลำคอและศีรษะอีกด้วย    [adinserter name=”มะเร็ง”]
ผลข้างเคียงจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ ที่เกิดขึ้นนี้จะไม่เกี่ยวกับข้องกับเพศ อายุ จำนวนเม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือดหรือ Hepato Sple Nomegaly เลยแม้แต่น้อย นั่นคือผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีแบบนี้ล้วนแต่จะมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเหมือนกันนั่นเอง

1.2 อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะ
ภาวะแทรกซ้อนจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ จากสภาวะง่วงซึมที่พบได้จากผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะและลำคอแล้ว ยังมี ผลกระทบ ข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก เช่น Tumor Necrosis เป็นต้น ซึ่งอาการนี้ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยเหมือนอาการง่วงซึมแต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ความเป็นพิษที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อฉายรังสีที่ความความเข้มข้นหรือปริมาณรังสีที่สูงกว่าปริมาณรังสีที่ฉายเพื่อเป็น Prophylaxsis Cranial Irradiation ตัวอย่างเช่น การฉายรังสีเพื่อรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ซึ่งความเข้มข้นของรังสีที่ระดับนี้ สามารถนำมาใช้ในการทำลายเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในสมองได้ แต่การความเป็นพาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบประสาทของผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นสิ่งที่คาดคะเนได้ยากมาก เพราะว่าผลกระทบที่มาจากการผ่าตัดก้อนมะเร็งและการที่มีก้อนมะเร็งอยู่ในสมอง ส่งผลให้การแปลผลเป็นสัญญาณและอาการของผลกระทบข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นการยากว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ระหว่างการฉายรังสีหรือเพราะก้อนเนื้องอกที่อยู่ในสมอง
ผข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะ เมื่อฉายรังสีที่ความความเข้มข้นหรือปริมาณรังสีที่สูงกว่าปริมาณรังสีที่ฉายเพื่อรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ความเข้มข้นของรังสีสามารถนำมาใช้ในการทำลายเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในสมองได้

2. อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะและปอด

การรักษาโรคด้วยการฉายรังสีที่บริเวณปอดมักจะมีอาการแทรกซ้อนที่เรียกว่า ปอดอักเสบ ( Pneumonitis ) ซึ่งอาการจะปรากฏให้เห็นหลังจากที่ทำการฉายรังสีไปแล้วประมาณ 2-3 เดือน แต่ถ้าผู้ป่วยเคยทำการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดหรือมีการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีหรือมีการให้เคมีบำบัดหลังจากที่มีการฉายรังสีในการรักษาไปแล้ว
ผลข้างเคียง ที่เกิดขึ้นมานี้ควรที่จะได้รับการประเมินสภาพความน่าจะเป็นของผลที่จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับการรักษาด้วยการประเมินการทำงานของปอดเป็นประจำ ซึ่งรวมถึงการ Carbon Monoxide Diffusion Studies ซึ่งการรักษาด้วย Prednisolone จะเป็นการรักษาที่ได้ผลดีกว่าและมีประโยชน์ที่สูงกว่าถ้ามีการ Interstital Pneumonitis เกิดขึ้นร่วมด้วยในขณะที่ทำการรักษาร่วม และการรักษาด้วย Prednisolone ควรที่จะเริ่มใช้ Prednisolone วันละประมาณ 40-60 mgต่อตารางเมตรของร่างกาย และทำการให้ยากับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แล้วจึงทำการลดปริมาณยาที่ให้ลงทีละน้อย และการให้ออกซิเจนที่ความเข้มข้นสูงอาจจะส่งผลให้ปอดได้รับความเป็นพิษเกิดขึ้นอย่างรุนแรงหลังจากได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีโดยเฉพาะการรักษาที่ให้ยากลุ่ม Bleomycin จะทำให้ความเป็นพิษที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงยิ่งกว่าเดิม ดังนั้นถ้าต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมด้วยแพทย์และทีมที่ทำการผ่าตัดต้องระวังเป็นอย่างมาก

2.1 อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะและลำตัว
การรักษาที่บริเวณผิวหนังอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น Erythema Multiforma, Steven Johnson Sydrome, Toxic Epidermal Necrolysis เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับ ผู้ป่วยเด็ก ที่เข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับ การฉายรังสี หรือไม่ก็ตาม แต่อัตราการเกิดขึ้นของอาการแทรกซ้อนดังกล่าวพบได้น้อยมาก ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในขณะที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือก่อนที่จะได้รับรังสีหรือหลังจากที่ได้รับรังสีไปแล้ว ซึ่งในการเกิเดปฏิกิริยาที่ผิวหนังนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ให้เคมีบำบัดไปแล้วนานพอประมาณ
ยาเคมีบำบัด Doxorubicin หรือยา 5-fluorouracil และ Hydroxyurea เป็นยาที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา Radiation Recall ในส่วนพื้นที่ที่เคยได้รับ การฉายรังสี มาแล้วก่อนที่จะได้รับเคมีบำบัด ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับยาเคมีบำบัดไปแล้วประมาณ 7-8 วัน
ยาเคมีบำบัด Cytosine Arabinoside ยา Etoposide Melphalan และยา Thiotepa ยาเหล่านี้ไม่ว่าจะใช้เพียงชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกันในการรักษาโดยเคมีบำบัดพบว่าสามารถสร้างปฏิกิริยาที่รุนแรงให้เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะยา Cytosine Arabinoside ที่มีการใช้ในปริมาณที่สูงหรือมีการให้ยาแบบ Methotre แบบ High Dose ซึ่งยาทุกตัวสามารถเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงได้ทั้งส่วนที่เป็นผิวหนังและเนื้อเยื่อที่พบได้บ่อยครั้งผู้ป่วยที่ได้รับ Perparative Therapy ในการปลูกถ่ายไขกระดูกด้วย และในกลุ่มที่มีการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีร่วมกัน

ดังนั้นถ้าต้องทำการรักษาผู้ป่วยแล้วสามารถเกิดอาการแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้นได้ แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญต้องทำการชี้แจงก่อนที่จะทำการรักษาด้วยว่าจะมีอาการผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงเกิดขึ้นในส่วนของบริเวณที่ได้รับการฉายรังสี ดังนั้นถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องออกไปอยู่กลางแจ้งหรือต้องโดนแสงแดดโดยตรงควรทาครีมกันแดดหรือหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจะเป็นการดีที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังไหม้ขึ้น เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับ ผลกระทบ จากการรักษาน้อยที่สุด

การรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดและ การฉายรังสี ในปัจจุบันนี้เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งให้หายและป้องกันการแพร่กระจายได้ดีที่สุด แต่ทว่าในการรักษายังมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเกิดขึ้นด้วย ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมีทั้งชนิดที่รุนแรงและชนิดที่ไม่รุนแรง ดังนั้นแพทย์ผู้ทำการรักษาควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบก่อนที่จะทำการรักษาเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้เตรียมตัวและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งก่อน ในขณะที่ทำการรักษาและหลังจากที่ได้รับการรักษาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

“Screening for Oral Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2004. Archived from the original on 24 October 2010.

“Screening for Prostate Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2008. Archived from the original on 31 December 2010.