พันธุกรรมกับอัลไซเมอร์ ( Genetics of Alzheimer Disease )

0
พันธุกรรมกับอัลไซเมอร์ (Genetics of Alzheimer Disease)
อัลไซเมอร์ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น คนที่อายุน้อยก็เป็นอัลไซเมอร์ได้ถ้าพันธุกรรมของพ่อแม่นั้นเป็นโรคอัลไซเมอร์
พันธุกรรมกับอัลไซเมอร์ (Genetics of Alzheimer Disease)
อัลไซเมอร์ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น คนที่อายุน้อยก็เป็นอัลไซเมอร์ได้ถ้าพันธุกรรมของพ่อแม่นั้นเป็นโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์

รหัสแห่งชีวิตที่เรียกว่า พันธุกรรม มีผลต่อลักษณะหรือเอกลักษณ์ของบุคคล ตลอดจนประเด็นของสุขภาพร่างกายด้วย หลายคนดูแลตัวเองดีมาก ถูกต้องตามหลักโภชนาการและหลักสุขภาพทุกอย่าง แต่ก็ยังเจ็บป่วยได้ง่ายเพราะปัญหาบางอย่างในรหัสพันธุกรรม ซึ่งถ่ายทอดโดยตรงจากรุ่นสู่รุ่น รุ่นพ่อแม่ที่ทำให้ความบกพร่องของรหัสพันธุกรรมกลายเป็นลักษณะเด่นก็ย่อมส่งผลต่อรุ่นลูกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ตาบอดสี ดาวน์ซินโดรม ฮีโมฟีเลีย เป็นต้น โรคสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ก็เช่นเดียวกัน หลายคนเข้าใจผิดว่าอัลไซเมอร์นั้นต้องเกิดกับคนที่อายุมากเท่านั้น แต่ความจริงแล้วในคนที่อายุยังน้อยก็เป็นอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกัน   

เพียงแต่ว่าสาเหตุในการเกิดจะแตกต่างออกไป ผู้สูงอายุจะเป็นอัลไซเมอร์ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพหรือมีส่วนเสียหายของสมอง แต่อัลไซเมอร์ในวัยรุ่น่หรือวัยกลางคนจะเกิดจากรหัสพันธุกรรมเป็นหลัก โดยคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้จะมีพ่อแม่ที่เป็น โรคอัลไซเมอร์ ชนิดเกิดก่อนวัย และค่าความเสี่ยงจะสูงถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องให้แน่ใจว่ารุ่นพ่อแม่ที่เป็นอัลไซเมอร์นั้นเป็นการเกิดแบบก่อนวัยจริงๆ ไม่ใช่การเป็นเมื่ออายุมากขึ้นแล้ว เพราะถ้าเป็นแบบนั้น รุ่นลูกก็จะมีค่าความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเทียบเท่ากับคนปกติทั่วไป

สารพันธุกรรมสำคัญ 3 ตัวที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคอัลไซเมอร์ เป็นสารพันธุกรรมที่อยู่ในโครโมโซมคู่ที่ 14 คู่ที่ 1 และคู่ที่ 21 เราเรียกว่า พรีซีนิลิน ได้แก่ PS-1, PS-2 และ APP ( Amyloid Precursor Protein ) เพียงแค่พ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสารพันธุกรรมที่ว่านี้ รุ่นลูกก็จะมีโอกาสได้รับการส่งต่ออยู่ที่ร้อยละ 50 อีกตัวหนึ่งเป็นสารพันธุกรรม ริสก์ยีน ( Risk Gene ) เช่น ApoE 4 อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 19 ซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมสูงถึง 4 เท่า แต่ความเสี่ยงนี้ก็ลดลงได้หากเรามีสารพันธุกรรม E2 อยู่ด้วย นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายละเอียดเกี่ยวกับอัลไซเมอร์เท่านั้นเอง

หลายคนเข้าใจผิดว่าอัลไซเมอร์นั้นต้องเกิดกับคนที่อายุมากเท่านั้น แต่ความจริงแล้วในคนที่อายุยังน้อยก็เป็นอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกัน

วิธีตรวจแบบอื่นๆ

การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ นอกจากการซักประวัติของผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อวัดค่าเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงแล้ว แพทย์ก็ยังสามารถใช้วิธีตรวจแบบอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ 

  • ทดสอบด้วยหลักการทางจิตวิทยา อาจเป็นแบบสอบถาม เป็นปัญหาเชาว์ หรือการขีดเขียนอย่างอิสระแล้วประเมินผลโดยแพทย์เฉพาะทาง
  • ใช้นวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมที่เป็นต้นเหตุของความเสี่ยง
  • เจาะไขสันหลังเพื่อนำของเหลวไปทดสอบ
  • เอกซเรย์ความสมบูรณ์ของสมองด้วยระบบคอมพิวเตอร์

ในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อมูลได้เลยว่ารุ่นพ่อแม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ก่อนวัยหรือไม่ ก็มักจะไม่มีการตรวจหาสารพันธุกรรม PS-1 และ PS-2 เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่เมื่อตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าเป็นอัลไซเมอร์ แพทย์ก็จะแนะนำวิธีการดูแลให้อย่างเหมาะสม เพราะถือว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนมาก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Lin MT, Beal MF. Alzheimer’s APP mangles mitochondria. Nat Med. 2006;12(11):1241–1243. 

Walter J, Kaether C, Steiner H, Haass C. The cell biology of Alzheimer’s disease: uncovering the secrets of secretases. Curr Opin Neurobiol. 2001;11(5):585–590.

Sastre M, Steiner H, Fuchs K, et al. Presenilin-dependent gamma-secretase processing of beta-amyloid precursor protein at a site corresponding to the S3 cleavage of Notch. EMBO Rep. 2001;2(9):835–841. 

Anandatheerthavarada HK, Biswas G, Robin MA, Avadhani NG. Mitochondrial targeting and a novel transmembrane arrest of Alzheimer’s amyloid precursor protein impairs mitochondrial function in neuronal cells. J Cell Biol. 2003;161(1):41–54. 

Scheuner D, Eckman C, Jensen M, et al. Secreted amyloid beta-protein similar to that in the senile plaques of Alzheimer’s disease is increased in vivo by the presenilin 1 and 2 and APP mutations linked to familial Alzheimer’s disease. Nat Med. 1996;2(8):864–870. 

ผู้ป่วยอาการสมองกลีบหน้าเสื่อมมีพฤติกรรมอย่างไร

0
ผู้ป่วยอาการสมองกลีบหน้าเสื่อมมีพฤติกรรมอย่างไร
ผู้ป่วยจะมีอาการเหม่อลอยเฉื่อยชา โมโหง่าย ไปจนถึงก้าวร้าวและหวาดกลัวจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
ผู้ป่วยอาการสมองกลีบหน้าเสื่อมมีพฤติกรรมอย่างไร
ผู้ป่วยจะมีอาการเหม่อลอยเฉื่อยชา โมโหง่าย ไปจนถึงก้าวร้าวและหวาดกลัวจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้

โรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้นแสดงออกอย่างไรแม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะพัฒนาก้าวหน้าไปมาก แต่โรคเกี่ยวกับสมองก็ยังจัดเป็นโรคพิเศษที่มีความละเอียดอ่อน ผู้ป่วยทางสมองต้องได้รับการดูแลและต้องอาศัยองค์ความรู้ในเชิงลึกและดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากกว่าการพึ่งพาเพียงแค่เทคโนโลยีอยู่ดี โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้น ผู้ป่วยทางสมองยังตรวจอาการพบได้บางครั้งอาการที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือแพทย์อันทันสมัย แต่ผู้ป่วยทางสมองไม่ได้รับการวินิจฉัยซ้ำอย่างถี่ถ้วนครบทุกด้าน ก็ทำให้ผลการตรวจผิดเพี้ยนไปได้เช่นเดียวกัน อย่างที่เราได้เห็นเป็นกรณีศึกษากันอยู่บ่อยๆ

โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้นจากอาการสมองกลีบหน้าเสื่อมก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นของโรคเกี่ยวกับสมองที่น่าสนใจ เพราะมีผู้ป่วยทางสมองหลายรายหรือแม้แต่ตัวแพทย์เองก็ตามที เกิดความเข้าใจผิดว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นผลจากโรคสมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม เหตุผลก็คือก้อนสมองทั้งหมดเชื่อมโยงถึงกัน หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดเสียหายก็ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออก กล่าวให้ชัดลงไปอีกก็คือ ผู้ป่วยทางสทองไม่ว่าส่วนใดของสมองเสียหายก็มักจะส่งผลกระทบต่อสมองกลีบหน้าที่เป็นตัวหลักในการควบคุมพฤติกรรมของเราทั้งนั้น และนั่นไม่ใช่พฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม

หากมีผู้ป่วยทางสมองสักคนมีอาการเหม่อลอย โมโหง่าย ไปจนถึงก้าวร้าวและหวาดกลัว ถึงจะดูคล้ายว่าเป็นโรคสมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม แต่ก็ยังไม่อาจสรุปได้ จำเป็นต้องตรวจสอบถึงสารเสพติด เนื้องอก หรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในประเด็นอื่นๆ ก่อน สิ่งสำคัญต้องรู้ว่าพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมนั้น ผู้ป่วยทางสมองจะต้องมีร่องรอยของโรคกระจายทั่วก้อนสมอง ไม่ใช่แค่จุดใดจุดหนึ่ง และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมก็คือ กลุ่มคนที่เป็นอัลไซเมอร์ระยะกลาง กลุ่มคนที่เป็นสมองเสื่อมวัยกลางคน และกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังมีพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม อันที่จริงก็ต้องตรวจสอบโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเสมอ เพื่อให้รู้แน่ชัดแบบเฉพาะเจาะจงรายบุคคล และนั่นส่งผลต่อการดูแลรักษาในภายหลังด้วย อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง ก่อนที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาในลำดับถัดไปได้ อาการของพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมมีดังนี้

อาการของผู้ป่วยทางสมองที่สมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม

เฉยเมยและเฉื่อยชา : ผู้ป่วยทางสมองพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะแรกสุดก็คือความเฉื่อยชาและเฉยเมยกับสิ่งรอบตัว เริ่มท้อ เริ่มเบื่อและเหนื่อยหน่ายกับชีวิตที่เป็นอยู่ หลายครั้งรุนแรงถึงขั้นหมดกำลังใจและมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ไม่เห็นเหตุผลของการมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ซึ่งนี่เป็นอาการที่ค่อนข้างคล้ายกับโรคซึมเศร้ามาก และบางกรณีก็เกิดการเป็นแบบทับซ้อนร่วมกันไป การรักษายังคงเป็นการให้ยาตามอาการและติดตามผลอย่างใกล้ชิด

หุนหันพลันแล่นและก้าวร้าว : ผู้ป่วยทางสมองจากเดิมที่สามารถจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมได้ดี ก็กลายเป็นคนขี้หงุดหงิด กระสับกระส่าย อาจเกิดจากสภาวะทางอารมณ์และจิตใจเพียงอย่างเดียว เช่น จิตใจไม่สงบ ไม่สบายใจกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ ยึดติดและหมกมุ่นกับบางสิ่งบางอย่างจนเกิดความตึงเครียด เป็นต้น หรืออาจจะเกิดจากสภาวะทางร่างกายร่วมด้วย มีอาการเจ็บปวดหรือความไม่สบายกายอย่างต่อเนื่อง เช่น ปวดท้องบ่อยๆ หิวบ่อยๆ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวเป็นประจำ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็กระตุ้นให้มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและก้าวร้าวได้เช่นเดียวกัน

อาการจากความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ : ผู้ป่วยทางสมองจะว่าง่ายๆคือการควบคุม “ความอยาก” ทั้งจากความต้องการภายในจิตใจและจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น อยากกิน อยากใช้จ่าย อยากมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น เหล่านี้เป็นความอยากพื้นฐานที่เราจะควบคุมจังหวะและปริมาณที่เหมาะสมได้ แต่พอมีอาการป่วยที่ทำให้ส่วนของการควบคุมความอยากเสียหาย มันจึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตค่อนข้างมาก และประเด็นนี้ก็ต้องให้ความเข้าใจมากกว่าการห้ามแบบเด็ดขาดด้วย

ยับยั้งใจไม่ได้ : เมื่อมองผิวเพินอาการนี้อาการผู้ป่วยทางสมองแทบจะซ้อนทับกับอาการจากความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ แต่เมื่อมองให้ละเอียดลงไป การยับยั้งชั่งใจไม่ได้นั้นรุนแรงและลึกซึ้งกว่า เพราะผู้ป่วยมีโอกาสสูงมากที่จะทำสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากกรอบความดีงามของสังคม และบางอย่างมันเป็นมากกว่าแค่ “ ความอยาก ” ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งกับผู้อื่นและตัวผู้ป่วยเอง

เมื่อพิจารณาดูกันชัดๆแล้ว อาการสมองเสื่อมจากของพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมนั้น ผู้ป่วยอาการสมองจะว่าสังเกตง่ายก็ง่าย จะว่าสังเกตยากก็ยากเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน เพราะหลายอย่างดูคล้ายกับพฤติกรรมธรรมดาทั่วไป หากไม่รุนแรงมากก็แทบจะจับความผิดปกติไม่ได้เลย ยิ่งถ้าเจ้าตัวไม่ยอมรับหรือญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดไม่ใส่ใจสังเกตมากพอ ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการดูแลรักษาไม่น้อย และต่อให้มองเห็นความผิดปกติแล้ว ก็ยังต้องตรวจเช็คอีกหลายขั้นตอนก่อนสรุปผล จึงต้องมีส่วนร่วมในการรักษาไปด้วยกันทั้งผู้ป่วยและแพทย์ผู้ดูแล

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

“Brain Cells for Socializing”. Smithsonian. Retrieved 30 October 2015.

Cardarelli R, Kertesz A, Knebl JA (December 2010). “Frontotemporal dementia: a review for primary care physicians”. Am Fam Physician. 82 (11): 1372–7. PMID 21121521.

Snowden JS, Neary D, Mann DM (February 2002). “Frontotemporal dementia”. Br J Psychiatry. 180 (2): 140–3. doi:10.1192/bjp.180.2.140. PMID 11823324.

ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีที่มีต่อไขกระดูก

0
ผลกระทบจากการฉายรังสีต่อไขกระดูก
ไขกระดูกไม่ว่าที่ส่วนใดก็ตามถูกทำลายร่างกายก็จะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลาย โดยสร้างทดแทนมากจากส่วนอื่นของร่างกาย
ผลกระทบจากการฉายรังสีต่อไขกระดูก
ไขกระดูกไม่ว่าที่ส่วนใดก็ตามถูกทำลาย ร่างกายก็จะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลาย โดยสร้างทดแทนมากจากส่วนอื่นของร่างกาย

ไขกระดูก

ไขกระดูก ( Marrow ) กับผลกระทบที่เกิดจากการรักษาด้วยการฉายรังสีต่อ Haemopoieic Tissue จะมีผลโดยตรงกับ ไขกระดูก เลือดและระบบน้ำเหลือง ได้มีการศึกษาและพัฒนามาอย่างต่อเนื้อง และพบว่าการรักษาด้วยรังสีในสัตว์ทดลอง พบว่าการป้องกัน Haemopoieic Tissue หรือการฉีดไขกระดูกใหม่เข้าสู่ร่างกายจะส่งผลให้สัตว์ทดลองช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์ทดลองมีชีวิตรอดเพิ่มมากขึ้นที่เกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบไขกระดูก อย่างที่ทราบกันดีว่าเซลล์ต้นกำเนิดเป็นเซลล์ที่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นได้แทบทุกชนิดที่อยู่ในร่างกาย ( Pluripotent Heamatopoietic System Cells ) ที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อชั้น Stroma ที่เป็นหน่วยสำคัญมากในของ Cell Line ที่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ทั้งชนิด Myeloid และชนิด Lymphoid ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ต้นกำเนิดว่าเซลล์ดังกล่าวจะเจริญเติบโตไปเป็นเซลล์ชนิดใดต่อไป

[adinserter name=”มะเร็ง”]

สำหรับผู้ใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตของร่างกายเต็มที่แล้วเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดจะอยู่ในกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก กระดูกเชิงกราน กะโหลกศีรษะ กระดูกโคนขา กระดูกสะบัก และส่วนหัวของกระดูกแขนท่อนบน ส่วนในเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตกระบวนการผลิตเม็ดเลือดจะอยู่ในส่วนของกระดูกยาว เซลล์ต้นกำเนิดเป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อไขกระดูกไม่ว่าที่ส่วนใดก็ตามถูกทำลายร่างกายก็จะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปได้ง่ายๆ โดยสร้างทดแทนมากจากส่วนอื่นของร่างกายนั่นเอง ซึ่งปริมาณไขกระดูกที่ถูกทำลายไปจะขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ไขกระดูกได้รับและส่งผลเข้าไปยับยั้งกระบวนการผลิตเม็ดเลือดว่ามีมากน้อยเพียงใด

เซลล์ต้นกำเนิดที่มีอยู่ใน ไขกระดูก ไม่ว่าจะอยู่ตามส่วนใดของร่างกายก็จะมีความหนาแน่นเท่ากันทั้งหมด แต่ทว่าไขกระดูกที่มีเซลล์ต้นกำเนิดจะมีปริมาณลดลงตามอายุที่มีการเพิ่มขึ้นของคนเรา และบริเวณที่เคยเป็นไขกระดูกจะถูกแทนที่ด้วยไขมัน ในวัยผู้ใหญ่ที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว กระบวนการผลิตเม็ดเลือดจะเกิดขึ้นมากที่ กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก กระดูกเชิงกราน และในยามจำเป็นที่กระดูกส่วนที่ถูกแทนที่ด้วยไขมันร่างกายสามารถเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับให้ไขมันส่วนดังกล่าวกลายกลับมาเป็นไขกระดูกแดงได้เช่นกัน

ถึงแม้ว่าเซลล์ต้นกำเนิด สเต็มเซลล์ ที่อยู่ในไขกระดูกแดงทุกส่วนจะมีค่าเท่ากัน แต่ภายในกระดูกกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ภายในโครงกระดูกไม่สามารถที่จะกระจายตัวได้เท่ากันทุกส่วน โดยพบว่าบริเวณที่อยู่ใกล้กับผิวด้านในของโครงกระดูกจะพบเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการแบ่งตัวได้ แต่ในบริเวณตรงกลางของ Marrow Space กลับพบเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในระยะพักตัวหรือเซลล์ต้นกำเนิดที่หยุดการแบ่งตัวไปแล้วเท่านั้น ซึ่งเซลล์ต้นกำเนิดที่พบในส่วน Marrow Space เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองและฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เซลล์ต้นกำเนิดนี้จะพบได้น้อยในกระแสเลือดแต่ก็สามารถพบและนำมาสกัดแยกเซลล์ต้นกำเนิดได้ โดยการสกัดแยกจากเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งการสกัดต้องทำการสกัดหลายครั้งมากจึงจะได้เซลล์ต้นกำเนิดออกมา เซลล์ต้นกำเนิดที่สกัดออกมาได้นี้คือเซลล์ต้นกำเนิดปลูกถ่ายเข้าสู่ตัวเองอีกครั้งได้ ( Autologous Transplantation )
ไขกระดูก ไม่ได้มีหน้าที่ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ไขกระดูกยังมีหน้าที่ในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอีกด้วย โดยทำหน้าที่สร้าง Lymphocyte Macrophage และ Dendritic Cell ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายระดับปฐมภูมิอีกด้วย

อย่างที่ทราบกันดีว่าเซลล์ต้นกำเนิดนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์พื้นฐานชนิดต่าง ๆ ได้ ทั้งในชนิด Myeloid และชนิด Lymphoid และรูป่างของเซลล์เหล่านี้ก็เหมือนกับเซลล์ชนิด Lymphoid ที่อยู่ใน ไขกระดูก ส่งผลให้ไม่สามารถทำการแยกเซลล์เหล่านี้ที่อยู่ในไขกระดูกได้จากรูปร่างของเซลล์ เซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดเป็นเซลล์ที่มีความสามารถสูงในการซ่อมแซมความเสียหายและฟื้นฟูตัวเองได้ แต่ทว่าความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองของเซลล์ต้นกำเนิดก็ยังขึ้นอยู่กับระยะของเซลล์ต้นกำเนิดด้วย โดยพบว่าเซลล์ที่มีอัตราการฟื้นฟูตัวเองได้ดีที่สุดคือเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในระยะพักตัวหรือระยะที่มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นได้น้อยมาก และโอกาสที่จะพบว่าเซลล์ต้นกำเนิดจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมมีแค่ 1 ใน 50,000 เซลล์เท่านั้น และจากการศึกษาพบว่า Pluripotent Stem Cell เพียงแค่หนึ่งเดียวก็สามารถที่จะกู้ระบบเลือดของสัตว์ทดลองที่ถูกฉายรังสีให้กลับคืนมาได้ทั้งหมดอีกด้วย เซลล์ต้นกำเนิดที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องมีความสามารถในการแบ่งเพื่อเพิ่มจำนวนได้อย่างมากมายซึ่งความสามารถดังกล่าวนี้จะไม่มีการสูญเสียไปเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์ต้นกำเนิดสำรองมีอยู่อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการฟื้นฟูและสร้างเซลล์เม็ดเลือดอย่างน้อย 5 รุ่นต่อไป แต่ว่าในการปลูกถ่ายไขกระดูกเข้าไปใหม่นั้น เซลล์ต้นกำเนิดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะไม่มีเกิดขึ้นให้เห็น ส่งผลให้เซลล์ต้นกำเนิดไม่มีความสามารถในการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีได้ระบบสำรองของกระบวนการผลิตเม็ดเลือด ( Haemopoietic Reserve ) มีอยู่มากมาย เนื่องจากเซลล์มีความสมารถในการซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเอง และจากการ Pluripotent Stem Cell ที่มีอยู่ในปริมาณที่สูงมาก ถึงแม้ว่าเซลล์ชนิดนี้จะไม่มีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองแต่ก็สามารถแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนได้มากมายเพียงพอต่อการผลิตเม็ดเลือดใหม่ ๆ ให้มีจำนวนมากขึ้นด้วย

กระบวนการผลิตเม็ดเลือด

เมื่อเราทราบถึงความสำคัญของระบบการผลิตเม็ดเลือดกันแล้ว ที่นี่เรามาดูกระบวนการผลิตเม็ดเลือดว่ามีกระบวนการอย่างไรกันบ้าง

1. เซลล์เริ่มแรกในกระบวนการผลิตเม็ดเลือด ( Progenitor Cell )

กระบวนการสร้างเซลล์ ไขกระดูก เริ่มแรกจะเกิดเนื่องมาจาก pluripotent Stem Cell จะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์โดยอาศัย Growth Factor ที่มีอยู่ในร่างกายทั้งแบบเฉพาะในการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของร่างกายและแบบที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย โดยที่เซลล์เริ่มแรกที่เข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีรูปร่างที่ไม่เด่นชัดเท่าใดนัก และยังมีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองที่น้อยมากด้วย Growth Factor จะทำหน้าที่ร่วมกับออกซิเจนในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์

[adinserter name=”มะเร็ง”]

2. เซลล์ส่วนที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตใกล้จะสมบูรณ์ ( Maturing Compartment )

เซลล์ ไขกระดูก ที่อยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโตใกล้จะสมบูรณ์แล้วจะมีรูปร่างที่อยู่ในกลุ่มของ Cell Line ที่อยู่ในสภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ( Differentiation ) ซึ่ง Cell Line จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ลำดับชั้น ( Division ) เริ่มตั้งแต่เซลล์เริ่มต้นไปเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนถึงขั้นที่เซลล์เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ส่วนกระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดกลุ่ม Granulocyte ( Granulopoiesis ) นี้มีถึง 12 ลำดับขั้นเลยทีเดียว

3. เซลล์ที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์แล้ว

เมื่อเซลล์มีการเจริญเตอบโตอย่างสมบูรณ์แล้ว เซลล์เม็ดเลือดในกลุ่มของ Myeloid ได้ผ่านกระบวนการเพิ่มจำนวนเซลล์ไปแล้ว ส่งผลให้ความว่องไวต่อรังสีที่ใช้ในการรักษาน้อยลง แต่ในทางตรงข้ามกลับพบว่าเซลล์ของเม็ดเลือดในกลุ่ม Lymphoid ยังมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและมีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเมื่อไปพบกับแอนติเจนแปลกปลอมจะมีความว่องไวต่อรังสีที่ฉายเข้ามามากว่ากลุ่ม Myeloid เสียอีก และเซลล์เหล่นี้ยังมีการ RE-Circulation เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้มีโอกาสที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการได้รับรังสี

ความว่องไวต่อรังสีไขกระดูกของส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบการสร้างเม็ดเลือด

ได้มีการทดลองและทำการศึกษาเกี่ยวกับความไวต่อรังสีของเซลล์เริ่มแรกในกระบวนการสร้างเม็ดเลือด พบว่าปริมาณรังสีที่สามารถลดการเจริญเติบโตของ CFU-S ในสัตว์ทดลองลงเหลือเพียงร้อย 37 ( Do ) และมีค่า Extrapolation Number อยู่ในช่วง 0.8-2.4 ซึ่งค่าบ่งบอกว่าการซ่อมแซมเกิดขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นและส่งผลให้เซลล์เป็นอันตรายถึงตายได้ ปริมาณรังสีที่ผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เริ่มแรกนั้น พบว่าค่า Dose Rate ที่ใช้มีผลต่อการรอดชีวิตของ CFU-S และเซลล์เริ่มแรกมีค่าที่น้อยมาก ค่า  Therpeutic Ratio ในการฉายรังสีทั้งตัวที่ใช้เพื่อเป็น Conditioning Treatment ก่อนที่จะทำการปลูกถ่าย ไขกระดูก นั้นสามารถหาค่าได้ด้วยการนำค่าความเป็นพิษต่อบริเวณที่ไม่ได้มีการผลิตเม็ดเลือดเทียบกับความเป็นพิษของบริเวณที่มีส่วนที่มีการผลิตเม็ดเลือดมาเปรียบเทียบกันนั่นเอง

ต่อมา Chaffey และคณะได้ให้ข้อสรุปที่ขัดแย้งกับการทดลองขั้นต้น โดยทำการทดลองแบ่งการฉายรังสีออกเป็นหลาย ๆ ครั้ง โดยทำการฉายรังสีครั้งละ 200 CGy จนครบ 1,400 CGy ซึ่งจากการทดลองพบว่ากลุ่มของเซลล์ต้นกำเนิดมีอยู่ส่วนหนึ่งที่ถูกทำลายโดยปริมาณรังสีที่ 200 CGy และเซลล์กลุ่มนั้นสามารถฟื้นตัวเองจากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาเพียง 1 วัน นั่นคือ ความเสียหายของเซลล์ต้นกำเนิดในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดไม่ได้มีผลกระทบที่เกิดจาก Dose Date แต่ทว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นเกิดจาก Fractionation ที่สามารถอธิบายได้ว่าศักยภาพของเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในระยะเริ่มแรกมีความสามารถในการซ่อมแซม Lethal Death ที่ต่ำมากแต่มีความสามารถในการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนสูงมาก Microenvironment ส่วนที่มีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดก็เปรียบเสมือนพื้นดินที่ใช้ในการเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ ส่วนเซลล์ต้นกำเนิดก็เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการหว่าน

ซึ่งกระดูกที่นำมาปลูกถ่ายจะยังคงมีเนื้อเยื่อ Stroma ติดมากับกระดูกด้วย แต่ว่าส่วนของกระดูกที่นำมานี้จะไม่เซลล์ที่ใช้ในการผลิตเม็ดเลือดติดมา โดยที่ส่วนนี้จะมีถูกแทนที่โดยการบวนการผลิตเม็ดเลือดของผู้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไป กระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดเพื่อเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดจะเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ว่างภายใน ไขกระดูก ของกระดูกที่นำมาปลูกถ่าย โดยที่เซลล์สำหรับผลิตเม็ดเลือดอาจจะเกิดขึ้นน้อยลงถ้าบริเวณนั้นเคยผ่านการฉายรังสีในปริมาณ 9.5 Gy มาแล้ว

เมื่อไขกระดูกไม่ว่าที่ส่วนใดก็ตามถูกทำลายร่างกายก็จะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปได้ง่ายๆ โดยสร้างทดแทนมาจากส่วนอื่นของร่างกายนั่นเอง ซึ่งปริมาณไขกระดูกที่ถูกทำลายไปจะขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ไขกระดูกได้รับและส่งผลเข้าไปยับยั้งกระบวนการผลิตเม็ดเลือดว่ามีมากน้อยเพียงใด

โดยมากแล้ว Erythropiesis จะมีความว่องไวต่อรังสีมากกว่า Granulopoiesis โดยภายในระยะเวลาที่มีการฉายรังสีนั้นค่า Mitotic Index จะมีค่าลดน้อยลง และสามารถที่จะพบเห็นความผิดปกติของ Nucleus และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในกระบวนการ Mitotic ที่พบได้ในส่วนน้อยของ Erythroblast เป็นระยะเวลาที่ยาวนานหลายวันเลยทีเดียว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณรังสีที่ได้รับเข้าไปเลย แต่สำหรับปริมาณของเซลล์ชนิดอื่นๆ ของเลือดกลับมีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยปริมาณ Lymphocyte มีปริมาณลดลงในช่วงที่มีการฉายรังสีเกิดขึ้นและปริมาณที่ลดลงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณรังสีที่ได้รับ ในขณะที่ปริมาณ Granulocyte จะใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีการลดลงและภายหลังจากที่เริ่มมีการลดลงประมาณ 248 ชั่วโมงปริมาณของ Granulocyte ก็จะกลับมาเพิ่มขึ้น ส่วนของเกร็ดเลือดจะมีปริมาณที่ลดลงอย่างช้า ๆ ซึ่งจะเกิดการลดลงของเกร็ดเลือดหลังจากที่ทำการฉายรังสีไปแล้วอย่างน้อย 5 วัน ทั้งปริมาณของเกร็ดเลือดและเม็ดเลือดขาวที่มีการเปลี่ยนแปลงไปก็ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ นอกจากปริมาณรังสีด้วย เช่น การติดเชื้อในร่างกาย อาหารที่ได้รับก่อนและหลังการฉายรังสี เป็นต้น ดังนั้นค่าที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดก็น่าจะเป็นปริมาณ Reticulocyte ซึ่งจะมีค่าลดลงหลังจากการฉายรังสีภายใน 24 ชั่วโมงซึ่งทิศทางของการลดลงมีความสัมพันธ์กับปริมาณของรังสีที่ได้รับด้วย
Heinz Bodies คือโครงสร้างที่สร้างขึ้นจากการสูญเสียสภาพของโปรตีนฮีโมโกบินที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเม็ดเลือดแดงที่มี Heinz Bodies พบได้บ่อยในผู้ที่ได้รับรังสีเป็นประจำทั้งในการทำงานหรือการรักษาด้วยการฉายรังสี โดยที่สภาวะโลหิตจางที่เกิดจากเม็ดเลือดแตก ( Hemolysis ) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่มีความสำคัญและเป็นข้อจำกัดในการรักษาด้วยการฉายรังสีแบบ Extracorporeal สู่เลือด ผลข้างเคียงดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้เกิดการสะสมของปริมาณรังสีประมาณ 100,000 cGy ในเลือด ทั้งนี้ทั้งนั้นอายุของเกร็ดเลือดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าร่างกายจะมีการรับรังสีเกินกว่า 75,000 cGy และการฉายรังสีในรูปแบบ Extracorporeal สู่เลือดจะทำให้เกิดสภาวะ Lymphopenia อย่างเฉียบพลัน และจะกลับสู่สภาวะปกติเมื่อมีการหยุดฉายรังสี Lymphocyte เป็นเซลล์ที่มีความว่องไวต่อรังสีมากที่สุด โดยปกติแล้วเซลล์ทั่วไปจะมีชีวิตอยู่จนกว่าเซลล์จะเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า Mitosis แต่สำหรับ Lymphocyt จะตายลงทั้งที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระยะ Mitosis เลย เรียกว่า Interphase Death และ B-Lymphocyt จะมีความว่องไวต่อรังสีมากกว่า T-Lymphocyt

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การกดภูมิเนื่องจากการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรุนแรง ถ้ามีการฉายรังสีก่อนที่ระบบภูมิคุ้มกันจะได้ทำการสัมผัสกับแอนติเจน ในทางกลับกันถ้ามีการฉายรังสีหลังจากที่ระบบภูมิคุ้มกันสัมผัสกับแอนติเจนแล้วจะสามารถช่วยเพิ่มการผลิตแอนติบอดี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกดภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการได้รับรังสีชนิดทั้งร่างกายถูกนำมาใช้ในการปลูกถ่าย ไขกระดูก ซึ่งการปลูกถ่ายไขกระดูกจากญาติที่มีสายเลือดเดียวกันได้ประสบความสำเร็จเมื่อผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีเข้าไปในปริมาณ 13.5 Gy ซึ่งการฉายรังสีที่เหมาะสมควรเป็นการฉายรังสีครั้งละน้อย ๆ แต่ทำการฉายรังสีหลายครั้งเพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณรังสีจนครบ โดยการฉายรังสีแต่ละครั้งควรห่างกันประมาณ 24-72 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยฉีดไขกระดุกเข้าไปในกระดูกอีกครั้งจะช่วยเพิ่มกระบวนการ repopulation ของต่อมไทมัธที่บริเวณม้าม ส่งผลให้ไขกระดูกที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้นมีโอกาสที่จะรอดชีวิตสูงมากขึ้น

  1. การฉายรังสีทั้งตัว

1.1การฉายรังสีทั้งตัวโดยแบ่งการฉายรังสีออกเป็นหลายครั้งและทำการฉายปริมาณครั้งละน้อย

การฉายรังสีแบบทั้งตัวในช่วงที่มีปริมาณรังสีอยู่ในระดับ Sublethal ได้มีการนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML และ Low malignant lymphoma โดยมีการแบ่งการฉายรังสีออกเป็น 2-5 ครั้ง และปริมาณรังสีที่ใช้ในแต่ละครั้งอยู่ที่ 5-15 cGy นั่นคือเมื่อทำการฉายครบจะได้ปริมาณรังสีรวมอยู่ที่ 1.5-3 Gy เมื่อเปรียบเทียบกับการฉายรังสีเพียงครั้งเดียวด้วยปริมาณ 3.0 Gy พบว่าเกิดการกดการทำงานของ ไขกระดูก โดยผู้ป่วยประมาณร้อยละ 30 มีระดับเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและระดับของเกร็ดเลือดต่ำลงกว่าปกติ แต่กลับพบว่าปริมาณรังสีที่ต่างกันในการฉายแต่ละครั้งกลับไม่มีผลกระทบต่ออาการกดกระดูกที่เกิดขึ้นเลย ใช่ว่าการฉายรังสีทั้งตัวจะมีแต่ข้อเสียเพราะข้อดีของการฉายรังสีทั้งตัวคือ ในผู้ป่วยที่มีสภาวะ Gammaglobulin ต่ำกว่าปกติ เมื่อมีการฉายรังสีแบบทั้งตัวผลปรากฏว่าระดับของ Immunglobulin ที่ต่ำกว่าปกติกลับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในสภาวะปกติ

การฉายรังสีทั้งตัวด้วยประมาณของรังสีและการ Regimen ที่มีการออกแบบมาใช้กันอย่างมากมายเพื่อช่วยในการทำลายไขกระดูกเก่าเพื่อรองรับไขกระดูกใหม่ที่จะนำมาปลูกถ่ายเข้าไป ( Preparative treatment ) เช่น การ Preparative Regimen ซึ่งเข้าไปกดการผลิตเม็ดเลือดของผู้ป่วยชนิดเฉียบพลัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับ Neutrophill และปริมาณเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติชนิดที่รุนแรงมาก อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นและคงอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์จนกว่าไขกระดูกที่ปลูกถ่ายเข้าไปใหม่จะเข้าไปควบคุมกระบวนการผลิตเม็ดเลือดของผู้รับการปลูกถ่ายได้อย่างสมบูรณ์ โดยที่เม็ดเลือดที่ผลิตขึ้นมาใหม่จะถูกผลิตมาจากไขกระดูกที่ปลูกถ่ายเข้าไปนั่นเอง บางครั้งก็มีข้อยกเว้นอยู่เช่นกัน ในกรณีที่ภายหลังจากที่ผู่ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกจากผู้ที่มี HLA ที่มีลักษณะเหมือนกัน เนื้อเยื่อ Stroma ที่ทำหน้าที่ในการค้ำจุนกระบวนการผลิตเม็ดเลือดของไขกระดูกจะยังหลงเหลือลักษณะของผู้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกอยู่ สำหรับกรณีที่ผู้ให้ไขกระดูกในการปลูกถ่ายกับผู้รับไขกระดูกในการปลูกถ่ายมีหมู่เลือดที่ไม่เข้ากัน แอนติบอดี้จะจับตัวกันและตกตะกอนเซลล์ของเม็ดเลือด ( Isoagglutinin ) และจะอยู่ในสภาพนั้นนานนับเดือนหลังจากที่สิ้นสุดการปลูกถ่าย ไขกระดูก แล้ว

นั่นแสดงให้เห็นว่า B-lymphocyte ของผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกทนจนมีชีวิตรอดจากการฉายรังสีในระดับ Lethal Dose ซึ่งอาการดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นหรือเกิดขึ้นเป็นเวลานานก็ได้ ส่วนในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกที่ผ่านการกำจัด T-Cell ออกไปจนหมดสิ้นแล้วจะพบว่ากระบวนการผลิตเม็ดเลือดที่ได้มาจากผู้รับการปลูกถ่ายและที่ได้มาจากการผลิตของไขกระดูกทั้งสองผสมกัน การที่ร่างกายของผู้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกเกิดการปฏิเสธเนื้อเยื่อที่นำมาทำการปลูกถ่ายให้นั้นก็เกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ่อยครั้งมาก ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากจะเกิดเฉพาะ Preparative regimen แล้วยังมีผลกระทบจาก Microenviroment ที่มีต่อกระบวนการผลิตเม็ดเลือดจากเนื้อเยื่อไขกระดูกที่นำมาปลูกถ่ายเป็นส่วนสำคัญด้วยและจากการเก็บตัวอย่างของไขกระดูกในช่วงเวลาต่าง ๆ หลังจากาการปลูกถ่าย เซลล์เริ่มแรกที่เกิดขึ้นมีจำนวนที่น้อยกว่าจำนวนที่น่าเกิดขึ้นทั้งที่เซลล์เม็ดเลือดที่พบในเลือดกลับยังอยู่ในสภาวะปกติ ดังนั้นการฟื้นกลับมาของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับการปลูกถ่าย ไขกระดูก นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับผู้ที่การรักษาด้วยการปลูกถ่ายแบบ Autologous หรือแบบ Allogeneic ซึ่งจะกลับมาสมบูรณ์แบบอีกครั้งภายใน 1-2 ปีหลังจากได้รับการปลูกถ่ายแต่ต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้นด้วย

2. การฉายรังสีแบบเฉพาะส่วน

จาการศึกษาของ Knospe เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจาการฉายรังสีต่อไขกระดูกพบว่าหลังจากทีทำการฉายรังสีที่มีปริมาณ 20-100 Gy เข้าสู่ไขกระดูก ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกหลังจากที่ได้รับรังสี เส้นเลือดที่มีขนาดเล็กที่อยู่ภายในไขกระดูกสันหลังจะมีความเสียหายเกิดขึ้น และไขกระดูกส่วนนั้นจะฝ่อลงภายใน 4 วันส่วนการซ่อมแซมความเสียหายของเส้นเลือดขนาดเล็กของไขกระดูกที่เกิดขึ้นจะมีให้เห็นในวันที่ 4 โดยที่ไขกระดูกจะเริ่มการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขึ้นมาใหม่อีกได้ภายใน 14 วัน และภายหลังจากที่ได้รับรังสี 1-3 เดือนจะพบว่าไขกระดูกจะเกิดการฝ่ออีกครั้งเป็นระยะที่ 2 พร้อมกับที่เส้นเลือดขนาดเล็กในไขกระดูกก็เกิดความเสียหายอีกครั้งด้วย ทั้งนี้เส้นเลือดที่มีขนาดเล็ดใน ไขกระดูก นี้จะสามารถผลิตขึ้นมาได้ใหม่อีกครั้ง และกรบวนการผลิตเม็ดเลือดจะกดขึ้นภาย 6-12 เดนอหลังจากที่ได้ทำการฉายรังสีในประมีที่ไม่เกิน 40 Gy แต่ถ้าหากได้รับการฉายรังสีในปริมารที่มากกว่า 60 Gy จะส่งผลให้เกิด สภาวะ Fibrosis ได้มากครั้งขึ้น จาการศึกษาพบว่าการะบวนการผลิตเม็ดเลือดที่อยู่ในส่วนที่ได้รับการฉายรังสีเพียงครั้งเดียวในปริมาณของรังสีที่มากกว่า 50 Gy จะมีมีความสามารถในการฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเองจากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้ามีการแบ่งการฉายรังสีออกเป็นหลายครั้งความสามารถในการฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเอจะมีมากว่า และปริมาณที่สามารถให้กับร่างกายจะมีปริมารที่สูงถึง 60 Gy เลยทีเดียว ซึ่งผลที่ว่านี้จะเกิดกับเซลล์เกือบทุกชนิดยกเว้นเซลล์ที่อยู่ในกลุ่ม Megakaryocyte

การเกิดขึ้นของสภาวะ ไขกระดูก ฝ่อชนิดถาวรได้มีการถูกเขียนรายงานไว้โดย Sykes และคณะ พบว่าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและ Slanina กับคณะ ที่ทำการศึกษาในผู้ป่วย Hodgkin’s Disease ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีในปริมาณความเข้มข้นที่มากว่า 30 Gy ซึ่งทั้งสองคณะได้ทำการศึกษาจากการดูดไขกระดูที่มาจากกระดูก Sternum และทำการศึกษาแบบย้อนกลับพบว่าผู้ป่วย Hodgkin’s Disease ที่ได้รังการฉายรังสีเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมด พบว่าไขกระดูกส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมีการเจริญกลับมาโดยที่จะเริ่มต้นตั้งแต่ 6 เดือนจนกระทั้งถึง 5 ปี
ปริมาตรของไขกระดูกที่ได้รับการฉายรังสีเข้าไปแล้วนั้นเป็นอึกปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอนาคตในการเจริญเติบโของไขกระดูกในส่วนที่ได้รับการฉายรังสี โดย Sacks และคณะได้ใช้ Bone Scan เพื่อทำการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นใหม่ของกระดูกที่ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฉายรังสีแบบเฉพาะที่กับผู้ป่วยที่รับการฉายรังสีแก่ต่อน้ำเหลืองที่บริเวณเหนือกระบังลม พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีแบบ Mantle Field ไขกระดูกมีการกลับมาเจริญเติบโตใหม่ได้เกิดขึ้นน้อยมาก แต่กลับพบว่าผู้ป่วยที่ไดรับการฉายรังสีแบบ Involved Field ไขกระดูกกลับมีการเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ได้มากกว่า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยน้อยและผู้ป่วยที่เป็นเพศชายจะช่วยให้มีการกลับมาเจริญเติบโตใหม่ได้มากกว่าผู้ที่มีอายุมากและผู้ป่วยที่มีเพศหญิง

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การกระตุ้นให้มีการผลิตเม็ดเลือดเพื่อชดเชยความเสียหายของ ไขกระดูก ที่เกิดจากรังสีจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ถ้าการฉายรังสีไม่ครอบคลุมพื้นที่มีความเสียหายน้อยกว่า 10-15% แต่จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการฉายรงสีครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 25-50 % การกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดจะไขกระดูกที่ไม่ได้รับการฉายรังสีจะยังคงอยู่นานเป็นเวลาหลายปี ไขกระดูกที่ได้รับการฉายรังสีจะมีมีความสามารถในการกลับมาเจริญเติบโตใหม่ได้อีกหากว่ามารได้รับปริมาณรังสีมากกว่า 30-40 Gy และการฉายรังสีแบบ Total Nodal Irrdiation ยาวนานประมาณ 50-75% ของประมาณไขกระดูกที่ได้รับรังสี ส่งผลให้ร่างการเกิดกลไกได้ 3 แบบด้วยกันในการชดเชยเซลล์ที่เกิดความเสียหายจากการได้รัวรังสีดังนี้

1.กระบวนการแบ่งตัวเพื่อสร้างเซลล์ในส่วนของไขกระดูกที่ไม่ได้รับรังสีจะมีอัตราส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น

2.กระบวนการสร้างเม็ดเลือดจะเกิดขึ้นในส่วนกลางของกระดูกต้นขาในช่วงปีแรกหลังจากที่ไดรับรังสีและกระบวนการนี้จะหยุดลงหลังจากผ่านไป 5 ปี

3.กระบวนการกลับมาเจริญเติบโตใหม่ในส่วนของพื้นที่ที่ได้รับรังสี โดยกระบวนการดังกล่าวจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากได้รับรังสีแล้ว 1ปี และจะมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆแบบค่อยเป็นค่อยไปภายใน 5 ปี

นอกจากนั้นกลไกอื่น ๆ สำหรับการลับมาเจริญเติบโตใหม่ของกระบวนการผลิตเม็ดเลือด คือ การเคลื่อนย้ายของเซลล์ต้นกำเนิดจากม้ามที่ได้รับการป้องกันไปทำการผลิตเซลล์เม็ดเลือดใหม่ในบริเวณที่ได้รับรังสี ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่มีการได้รับรังสี

อย่างไรก็ตามจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดที่อยู่ในเลือดก็ไม่ใช่ตัวที่ดีเสมอดไปในการบ่งบอกถึงความเสียหายต่อ ไขกระดูก โดยที่ Nothdurft และคณะได้พบว่าการฉายรังสีแก่ร่างกายเพียงบางส่วนในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานกลับไม่พบความผิดปกติของ Neutrophil ในเลือดต่ำ และยังพบว่าผู้ป่วย Malignant Lymphoma บางคนที่ได้รับรังสีมีระดับเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่น้อยกว่าปกติทั้งปริมาณ Granulocyte ปกติแต่มีความแปรผันโดยตรงกับความเข้มข้นของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเป็นอย่างมาก

ความเป็นพิษต่อเซลล์จากการใช้ยาเคมีบำบัดที่ร่างกายได้รับมาก่อนที่จะการฉายรังสี จะส่งผลให้กระบวนการผลิตเม็ดเลือดมีระดับความทนทานต่อรังสีมากขึ้น โดยยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาเมื่อได้รับในปริมาณที่มากจะส่งผกระทบอย่างชัดเจนต่อสเต็มเซลล์ ( Pluripotent Heamopoietic Stem Cell ) และลดความทนต่อรังสีของกระบวนการผลิตเม็ดเลือดเป็นเวลานาน และทราบกันเป็นอย่างดีว่าการรังสีแก่ม้ามให้กับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบ CML ที่เคยได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด Busulphan มาก่อนนั้น จะส่งผลให้เกิดการกดไขกระดูกที่รุนแรงมาก ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ายากลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ต่อเซลล์ที่อยู่ในระยะพักจึงเข้าไปทำลาย Pluripotent Stem Cell ที่เกิดขึ้นมาใหม่และยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ส่วนการกดการทำงานของไขกระดูกชนิดอื่นจะเกิดจากการเข้าไปยับยั้งการแบ่งเซลล์ของเซลล์ที่ใกล้จะสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นจึงส่งผลให้เกิดผลกระทบสั้นกว่า โดยเฉพาะยา 5-Fluorouracil จะเข้าไปช่วยเพิ่มความว่องไวต่อรังสีของเซลล์ต้นกำเนิดในกระบวนการผลิตเม็ดเลือด ดังนั้นในการนำยาเคมีบำบัดมาใช้ต้องคำนึกถึงทั้งเรื่องเวลาและปริมาณที่ให้มาประกอบในการเลือกและวางแผนการรักษาด้วย

สำหรับผลกระทบในระยะยาวที่เกิดจากการฉายรังสีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าการเข้าไปยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอาจจะส่งผลต่อการฉายรังสีด้วยให้ได้ประโยชน์น้อยลงได้ ซึ่งความเสื่อมของระบบภูมิคุ้มกันจะแย่ลงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่า ไขกระดูก ได้รับปริมาณรังสีมากน้อยเท่าใดนั่นเอง ซึ่งความสามารถในการทำงานของ Lymphocyte ที่ต่ำลงเกิดขึ้นจากการที่ Plostaglandins ชนิดต่าง ๆ ที่ Monocyte ทำการผลิตขึ้นมา โดยที่ T-lym-Phocyte จะมีค่าต่ำกว่าปกตินานถึง 10 ปีเลยทีเดียว จึงสรุปได้ว่า ปริมาณของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองและหรือปริมาณไขกระดูกที่ได้รับรังสีนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะมีการเข้าไปยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้มากน้อยแค่ไหน

ต่อมไทมัสในเด็กทารกเป็นอวัยวะที่มีความว่องไวต่อรังสีมากที่สุด ซึ่งวัดได้จากการสูญเสียของ Lymphocyte ที่มีอยู่ในต่อไทมัสนั่นเอง แต่เนื้อเยื่อ Stroma และ Epithelium ของต่อมไทมัสกลับมีความว่องไวที่น้อยกว่ามาก ในอดีตมีการรักษาเด็กทารกที่มีอาการต่อมไทมัสมีขนาดที่ใหญ่ผิดปกติโดยการฉายรังสีด้วย ซึ่งจากผลการรักษาดังกล่าวพบว่ามีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมไทมัสเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด AML ที่เป็นผลกระทบแบบเรื้อรังที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสี

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การป้องกันและรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับไขกระดูก

การเกิดสภาวะ Pancytopenia ชนิดรุนแรง เกิดขึ้นเพราะว่าภูมิคุ้มกันถูกกดการทำงานจากการได้รับการฉายรังสี อาจจะคงอยู่เป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์ และผู้ป่วยอาจจะอยู่ในสภาวะที่เป็นอันตรายจากการติดเชื้อและการมีเลือดออกอย่างรุนแรงได้ ดังนั้นในการรักษาด้วยรังสีจึงควรปรับปริมาณของรังสีให้เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะภูมิคุ้มกันถูกกดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุสูงและผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดชนิด Pluripotent  Stem Cell มาก่อนควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และควรทำการแยกห้องในการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยที่อาจจะเกิดจากการติดเชื้อจากผู้ป่วยรายอื่น ๆ ควรได้รับการที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและยาปฎิชีวินะเพื่อป้องกันการติดเชื้อไว้เบื้องต้นก่อน และควรให้เลือดที่มาจากผู้บริจาครายเดิมกับผู้ป่วยในการช่วยเพิ่มปริมาณเกร็ดเลือดเพื่อป้องกันความเสี่ยงในด้านภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ผ่านการเอาพลาสมาออกไปแล้วก็ควรกรองเพื่อกำจัดเอาเซลล์เม็ดเลือดขาวออกไป และการใช้ GM-CSF และ G-CSF ในรูปของRecombinant From ของผู้ที่มีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นจากรังสีต่อ ไขกระดูก จะช่วยเพิ่มปริมาณของ Granulocyte ที่มีอยู่ในเลือดให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและยังสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

www.cancer.ca/en/cancer-information/diagnosis-and-treatment/radiation-therapy/side-effects-of-radiation-therapy.

“Radiation therapy- what GPs need to know” on patient.co.uk http://patient.info/doctor/radiotherapy

Maverakis E, Cornelius LA, Bowen GM, Phan T, Patel FB, Fitzmaurice S, He Y, Burrall B, Duong C, Kloxin AM, Sultani H, Wilken R, Martinez SR, Patel F (2015). “Metastatic melanoma – a review of current and future treatment options”. Acta Derm Venereol. 95 (5): 516–524. doi:10.2340/00015555-2035. PMID 25520039.

Camphausen KA, Lawrence RC. “Principles of Radiation Therapy” in Pazdur R, Wagman LD, Camphausen KA, Hoskins WJ (Eds) Cancer Management: A Multidisciplinary Approach. 11 ed. 2008.

คุณค่าทางโภชนาการของผัก ที่คุณอาจจะไม่รู้

0
คุณค่าทางโภชนาการของผัก ที่คุณอาจจะไม่รู้
ผักกับคุณค่าทางโภชนาการ
ผักอุดมไปด้วยวิตามินที่สามารถควบคุมให้เซลล์เจริญเติมโตได้เต็มที่และเป็นปกติ เช่น พริกหวาน กะหล่ำปลี บร็อคโคลี

คุณค่าทางโภชนาการของผัก

คุณค่าทางโภชนาการของผัก จัดเป็นหนึ่งในอาหารหลักห้าหมู่ที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ โดยในผักมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 76-97% และให้พลังงานต่ำ นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญต่อสุขภาพ รวมถึงสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น ใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ

มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า สารอาหารที่ละลายน้ำได้ในผักสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือด และยังช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตในอาหาร ทำให้น้ำตาลถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกัน ใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ลดปัญหาท้องผูกและทำให้การขับถ่ายเป็นปกติ

การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำจนกลายเป็นนิสัย สามารถส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว โดยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้คุณค่าทางโภชนาการของผัก ผักยังเป็นสิ่งที่มีแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอยู่ภายใน อาทิเช่น โปแตสเซียม ทองแดง แมกนีเซียม เป็นต้น ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้ล้วนแต่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราทั้งสิ้น ภายในผักจะมีเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนสำคัญอันเป็นองค์ประกอบต่อการทำปฏิกิริยาประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย อาทิเช่น การช่วยรักษาสมดุลในเรื่องของกรดกับด่าง การรักษาสมดุลอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสารที่อยู่ภายในเลือดกับเนื้อเยื่อ คอยช่วยทำให้เซลล์ที่อยู่ตามกล้ามเนื้อรวมถึงระบบประสาทยังคงสามารถที่จะทำงานได้แบบเดิมและเป็นไปอย่างปกติมากที่สุด สามารถช่วยทำให้ระบบของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตตาบอลิซึม (กระบวนการเผาผลาญ) ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะผักเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เต็มไปด้วยวิตามินที่ดีต่อร่างกายมากมายจึงทำให้ช่วยยังคงสามารถควบคุมเกี่ยวกับปฏิกิริยาทางด้านเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี สามารถที่จะทำให้เซลล์นั้นยังคงเจริญเติบโตได้แบบเต็มที่และเป็นปกติ ซึ่งในปัจจุบันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับวิตามินบางประเภทที่มีผลในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่คอยทำหน้าที่จับหรือทำลายพวกอนุมูอิสระประเภทต่าง ๆ อันเกิดจากปฏิกิริยาชีวเคมีหรือกระบวนการสำคัญอย่างกระบวนการเผาผลาญพวกสารอาหารหรือแม้กระทั่งอนุมูลอิสระที่ส่งผลมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวก็ตาม อาทิเช่น ควันจากบุหรี่ ก๊าซที่เกิดจากท่อไอเสีย พฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์ การสัมผัสกับรังสียูวี การสัมผัสกับรังสีเอ็กซ์เรย์ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ของคนเราสามารถส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เกิดโรคหัวใจได้ เกิดโรคภาวะข้ออักเสบได้ เกิดต้อกระจกหรือแม้กระทั่งเกิดโดรคความจำเสื่อมได้ในอนาคตอีกด้วย

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการทานผัก

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการทานผักจากข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องของการรับประทานอาหารของคนไทยหรือคนทั่วไปที่รู้จักกันในนามของ “ธงโภชนาการ”แบบนี้เป็นการแนะนำเรื่องของการทานผักที่เหมาะสม คุณควรที่จะต้องทานผักให้ได้อย่างน้อยวันละ 4-6 ถ้วยตวง (ทัพพี) แบบนี้ถึงจะเรียกว่าดีมากเพราะนั่นจะสามารถช่วยให้คุณได้รับพลังงานรวมถึงสารอาหารที่ครบถ้วนและเป็นไปตามที่ร่างกายของคุณต้องการ ตามปกติสำหรับช่วงวัยเด็กจะเป็นช่วงที่มีความต้องการพลังงานอยู่ที่  1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน แบบนี้เด็กจะต้องทานผักประมาณ 4 ถ้วยต่อวัน หากเป็นหญิงสาวที่อยู่ในช่วงของวัยทำงานก็จะต้องการพลังงานอยู่ที่ 2,000 กิโลแคลอรี แบบนี้จะต้องทานผักให้ได้วันละ 5 ถ้วยตวงถึงจะเพียงพอ ส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องใช้พลังงานที่ค่อนข้างมากกว่า 2,400 กิโลแคลอรี อาทิเช่น เกษตรกร กลุ่มผู้ที่ต้องใช้แรงงาน กลุ่มนักกีฬา แบบนี้ควรต้องทานผักให้ได้ 6 ถ้วยตวงต่อวันถึงจะเพียงพอ

ผักอุดมไปด้วยวิตามินที่ดีต่อร่างกายมากมาย ที่สามารถควบคุมเกี่ยวกับปฏิกิริยาทางด้านเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี สามารถที่จะทำให้เซลล์นั้นเจริญเติบโตได้แบบเต็มที่และเป็นปกติ

คุณค่าทางโภชนาการของผักสำหรับส่วนของถ้วยตวงที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ก็จะเป็นถ้วยตวงที่เป็นลักษณะพลาสติกที่เมื่อนำไปบรรจุน้ำจะอยู่ที่ 220 กรัม (220 มิลลิลิตร) ซึ่งก็จะเท่ากับส่วนของถ้วยตวงที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในโปรแกรมสำหรับคิดคำนวณอาหารแบบ IMUCAL ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมของทางสถาบันโภชนาการในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลออกแบบออกมา สำหรับปริมาณของผักสด 1 ถ้วยตวงจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงมากเมื่อเปรียบเทียบกับ 1 ทัพพีนั่นจึงทำให้ในส่วนของการแนะนำการทานผักสำหรับคนไทยเรานั้นจึงได้ถูกกำหนดออกมาดังที่เห็นในธงโภชนาการทุกวันนี้ สำหรับปริมาณผักแต่ละประเภทนั้นก็จะถูกระบุลงไปในเรื่องของปริมาณน้ำหนักที่สามารถให้พลังงานไว้ด้วยนั่นคือในผักหนึ่งส่วนที่สามารถที่จะให้พลังงานได้มากถึง 25 กิโลแคลอรีนั้นจะมีความสามารถในการให้คาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ 5 กรัมและให้โปรตีนอยู่ที่ 2 กรัม

ในส่วนของตาราง FOOD EXCHANGE LIST นั้นจะมีประเภทของผักอยู่มากถึง 42 ชนิดเลยทีเดียว ผักทั้งหมดนี้เป็นผักที่ในประเทศไทยเรานั้นค่อนข้างที่จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เรียกว่ารู้จักกันเป็นอย่างดี คุณจะเห็นได้ว่าในตารางจะมีการแสดงส่วนของปริมาณน้ำ ปริมาณวิตามิน ปริมาณแร่ธาตุ ปริมาณใยอาหารแบบต่อน้ำหนักเอาไว้ (ต่อน้ำหนัก 100 กรัมที่คนเราสามารถทานได้) ซึ่งในผัก 1 ถ้วยที่ว่าจะยังคงรวมไปถึงเปอร์เซ็น THAI RDI ร่วมด้วย เปอร์เซ็นนี้จะเป็นเปอร์เซ็นที่คอยทำหน้าที่บอกปริมาณของสารอาหารที่คุณได้รับหากทานอาหารเหล่านั้นเข้าไปโดยจะเทียบกับปริมาณของสารอาหารที่ได้ทำการแนะนำให้ทานในแต่ละวัน

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย

สารอาหาร

หน่วย

Thai RDI

วิตามินซี มิลลิกรัม 60
โซเดียม มิลลิกรัม 2,400
โพแทสเซียม มิลลิกรัม 3,500
แคลเซียม มิลลิกรัม 800
แมกนีเซียม มิลลิกรัม 350
ฟอสฟอรัส มิลลิกรัม 800
เหล็ก มิลลิกรัม 15
ทองแดง มิลลิกรัม 2
สังกะสี มิลลิกรัม 15
ใยอาหาร กรัม 25

• ข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันและแนวทางการบริโภคสำหรับคนไทย พ.ศ. 2532

ข้อควรระวังเกี่ยวกับผักที่คุณจำเป็นต้องทราบ

ข้อควรระวังเกี่ยวกับผักที่คุณจำเป็นต้องทราบในกรณีของบุคคลที่อยากจะลดน้ำหนักแน่นอนว่าการเลือกทานผักย่อมเป็นอีกหนึ่งคำตอบที่ต้องอยู่ในใจ เพราะผักเป็นสิ่งที่มีใยอาหาร เป็นสิ่งที่ให้พลังงานค่อนข้างต่ำ ที่สำคัญยังมีเกลือแร่และวิตามินมากมายที่ดีต่อร่างกายอีกด้วย ส่วนในกรณีของบุคคลที่กำลังป่วยเป็นโรคเบาหวาน แบบนี้ก็ควรที่จะต้องทานผักให้มากขึ้น เพราะ จะเป็นการช่วยเพิ่มในเรื่องของใยอาหาร ช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลที่อยู่ภายในเลือดได้เป็นอย่างดี
สำหรับผักสดนั้นในจำนวน 1 ถ้วยตวงจะมีปริมาณของน้ำอยู่ที่ 7.4-124.4 กรัมโดยประมาณซึ่งพบว่าผักประเภทหนึ่งที่มีปริมาณของน้ำอยู่ภายในมากที่สุดนั่นคือ มะเขือเทศ ที่รองลงมาก็จะมีพวกแตงกวา ฟักทอง มะเขือเปราะ ฯลฯ ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการจำกัดเกี่ยวกับเรื่องของปริมาณน้ำที่จะทานเข้าไปในร่างกายโดยเฉพาะหากนั่นเป็นผู้ป่วยโรคไตยิ่งควรต้องระวังเป็นอย่างมากอีกหลายเท่าตัว จำเป็นที่จะต้องคำนึงในทุกรายละเอียดเพราะหากผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจนำอันตรายมาสู่ตัวผู้ป่วยได้ ในช่วงของภาวะที่ร่างกายคนเรานั้นเกิดความผิดปกติ เช่น การเกิดภาวะไตวายแบบเรื้อรังในช่วงระยะสุดท้ายแบบนี้ร่างกายจะไม่สามารถทำการขับเอาพวกโปแตสเซียมที่เกินออกมาผ่านทางปัสสาวะได้เลย ผู้ป่วยมีความจำเป็นมากที่จะต้องจำกัดอาหารประเภทที่มีส่วนของโพแทสเซียมอยู่ภายในเป็นพิเศษ ดังนั้นผักเองก็มีบางประเภทที่เข้าข่ายในส่วนนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด ผักที่ต้องบอกเลยว่าควรที่จะต้องระวังเป็นพิเศษนั้นได้แก่ มะระขี้นก ฟักทอง บล็อกโคลี ลูกเหรียง ผักเหล่านี้เรียกว่าเลี่ยงได้เลี่ยงเลยจะดีมากต่อผู้ป่วย

ทานผักอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เมื่อคิดจะทานผักแน่นอนว่านั่นย่อมเป็นความคิดที่ถูกต้องที่สุด ผักนั้นมีประโยชน์มากมายแล้วจะทานอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน สิ่งแรกที่คุณควรทำ คือ คุณควรที่ต้องทานผักสดไว้ก่อนจะดีที่สุดแต่หากจำเป็นที่จะต้องผ่านกระบวนการความร้อน เช่น ต้ม นึ่ง ก็ควรที่จะต้องใช้ระยะเวลาที่น้อยสุดและควรที่จะต้องใช้น้ำมันให้น้อยสุดเช่นกัน เนื่องจาก การที่คุณนำเอาผักนั้นไปผ่านความร้อน ความร้อนนั่นเองที่จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สารอาหารนั้นลดลงไปได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของวิตามินนั่นเอง ต่อมาคือ ควรที่จะทานผักให้มีความหลากหลายเพราะจะเป็นการช่วยทำให้สารอาหารนั้นมีความครบถ้วนมากยิ่งขึ้น การทานผักสดที่ดีควรจะต้องทำการล้างน้ำให้สะอาดก่อนหลายครั้งนั่นก็เพื่อเป็นการกำจัดสารเคมีที่ถูกพ่นมาก่อนหน้านั้น คุณไม่ควรที่จะทานผักแบบเดียวแบบเดิมอยู่เป็นประจำหรือแบบบ่อยเกินไป เนื่องจาก ร่างกายนั้นอาจจะเกิดได้รับสารพิษแบบเดิมที่มีการตกค้างอยู่ในผักประเภทนั้นและกลายเป็นว่าร่างกายเกิดการสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

I am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Complete Blood Count (CBC): การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและการแปลผล

0
การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง (Complete Blood Count-CBC)
เม็ดเลือดแดงเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำเลือด กรุ๊ปเลือดถูกแบ่งออกเป็น4หมู่ คือ เอ บี โอ เอบี
 การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง (Complete Blood Count-CBC)
เม็ดเลือดแดงสามารถบอกความสมบูรณ์ของร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำเลือดที่สำคัญต่อคนและสัตว์

Complete Blood Count (CBC) คืออะไร?

Complete Blood Count (CBC) หรือการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ของเลือด ช่วยประเมินสุขภาพโดยรวมและตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในร่างกาย

CBC ตรวจอะไรบ้าง?

CBC ตรวจวัดองค์ประกอบหลักของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด รวมถึงค่าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ค่าเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell – RBC) บ่งบอกถึงอะไร?

ค่า RBC บ่งบอกถึงจำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือด ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย

ค่าเม็ดเลือดขาว (White Blood Cell – WBC) มีบทบาทอย่างไร?

ค่า WBC แสดงถึงจำนวนเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อและโรคต่างๆ

ค่าเกล็ดเลือด (Platelet – PLT) มีความสำคัญอย่างไร?

ค่า PLT บ่งบอกถึงจำนวนเกล็ดเลือด ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการแข็งตัวของเลือดและการห้ามเลือด

ค่า Hemoglobin (Hb) และ Hematocrit (Hct) ใช้ในการประเมินภาวะโลหิตจางอย่างไร?

ค่า Hb วัดปริมาณฮีโมโกลบินในเลือด ส่วนค่า Hct วัดสัดส่วนของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาตรเลือดทั้งหมด ทั้งสองค่านี้ใช้ประเมินภาวะโลหิตจาง

ค่าดัชนีเม็ดเลือดแดง (MCV, MCH, MCHC) มีความสำคัญอย่างไร?

ค่าดัชนีเม็ดเลือดแดงช่วยในการวินิจฉัยประเภทของภาวะโลหิตจางและความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง

วิธีการตรวจ CBC ทำได้อย่างไร?

การตรวจ CBC เป็นการตรวจวิเคราะห์เลือดที่ทำได้ง่ายและให้ข้อมูลที่มีประโยชน์มาก

ขั้นตอนการตรวจ CBC เป็นอย่างไร?

การตรวจ CBC ทำโดยการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำที่แขน แล้วนำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ

จำเป็นต้องงดอาหารหรือเตรียมตัวก่อนตรวจหรือไม่?

โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือเตรียมตัวเป็นพิเศษ แต่ควรแจ้งแพทย์หากกำลังรับประทานยาใดๆ

ค่าปกติของ CBC อยู่ในช่วงใด?

ค่าปกติของ CBC แตกต่างกันไปตามเพศและอายุ ตัวอย่างเช่น:

  • RBC: 4.5-5.9 ล้านเซลล์/ไมโครลิตร (ชาย), 4.1-5.1 ล้านเซลล์/ไมโครลิตร (หญิง)
  • WBC: 4,500-11,000 เซลล์/ไมโครลิตร
  • PLT: 150,000-450,000 เซลล์/ไมโครลิตร

อะไรเป็นสาเหตุของค่าผิดปกติใน CBC?

ค่าผิดปกติใน CBC อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากโรค ภาวะทางสุขภาพ หรือปัจจัยอื่นๆ

ค่า RBC ผิดปกติสามารถบ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง?

ค่า RBC ต่ำอาจบ่งชี้ถึงภาวะโลหิตจาง ส่วนค่า RBC สูงอาจเกิดจากภาวะเลือดข้นหรือโรคปอดเรื้อรัง

ค่า WBC สูงหรือต่ำผิดปกติหมายถึงอะไร?

ค่า WBC สูงอาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อหรือการอักเสบ ส่วนค่า WBC ต่ำอาจเกิดจากโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

ค่า PLT ผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของภาวะอะไร?

ค่า PLT ต่ำอาจบ่งชี้ถึงภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ส่วนค่า PLT สูงอาจเกิดจากภาวะอักเสบเรื้อรังหรือโรคไขกระดูกบางชนิด

การแปลผลค่า CBC บ่งบอกถึงสุขภาพอย่างไร?

การแปลผล CBC ต้องพิจารณาร่วมกับอาการทางคลินิกและผลการตรวจอื่นๆ

CBC สามารถใช้วินิจฉัยโรคโลหิตจางได้อย่างไร?

CBC ช่วยวินิจฉัยโรคโลหิตจางโดยดูจากค่า Hb, Hct และดัชนีเม็ดเลือดแดง ซึ่งช่วยบ่งชี้ประเภทและสาเหตุของโลหิตจาง

CBC มีบทบาทในการตรวจหาการติดเชื้อและภาวะอักเสบหรือไม่?

ใช่ CBC มีบทบาทสำคัญในการตรวจหาการติดเชื้อและภาวะอักเสบ โดยดูจากค่า WBC และสัดส่วนของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ

ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดสามารถช่วยวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับไขกระดูกได้หรือไม่?

ใช่ CBC สามารถช่วยบ่งชี้ความผิดปกติของไขกระดูก เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยดูจากความผิดปกติของค่าต่างๆ ใน CBC

โรคและภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับค่าผิดปกติใน CBC

ค่าผิดปกติใน CBC อาจเกี่ยวข้องกับโรคและภาวะสุขภาพหลายอย่าง

โรคโลหิตจาง (Anemia) มีผลต่อ CBC อย่างไร?

โรคโลหิตจางทำให้ค่า Hb และ Hct ต่ำกว่าปกติ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีเม็ดเลือดแดง

โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่องมีผลต่อ WBC อย่างไร?

โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่องมักทำให้ค่า WBC ต่ำลง โดยเฉพาะจำนวนลิมโฟไซต์

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) มีความสัมพันธ์กับค่าผิดปกติของ CBC หรือไม่?

ใช่ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมักทำให้ค่า WBC สูงผิดปกติ และอาจพบความผิดปกติของ RBC และ PLT ร่วมด้วย

วิธีดูแลสุขภาพเพื่อรักษาระดับ CBC ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

การดูแลสุขภาพโดยรวมช่วยรักษาระดับ CBC ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

อาหารที่ช่วยรักษาค่า CBC ให้อยู่ในระดับสมดุลมีอะไรบ้าง?

อาหารที่ช่วยรักษาค่า CBC ให้สมดุล ได้แก่:

  • อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อแดง ถั่ว ผักใบเขียว
  • อาหารที่มีวิตามินบี12 เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม
  • ผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง

การออกกำลังกายมีผลต่อค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดอย่างไร?

การออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด

พฤติกรรมที่ช่วยปรับสมดุลของเม็ดเลือดคืออะไร?

พฤติกรรมที่ช่วยปรับสมดุลของเม็ดเลือด ได้แก่:

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์

เมื่อไรควรพบแพทย์เกี่ยวกับผลตรวจ CBC?

การสังเกตอาการผิดปกติและพบแพทย์เมื่อมีข้อสงสัยเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพ

อาการที่ควรเฝ้าระวังเมื่อค่า CBC ผิดปกติ

อาการที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่:

  • อ่อนเพลียผิดปกติ
  • ซีดหรือผิวซีด
  • มีไข้เรื้อรัง
  • มีจ้ำเลือดหรือเลือดออกง่าย

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีค่าผลตรวจ CBC สูงหรือต่ำกว่าปกติ

สำหรับผู้ที่มีค่า CBC ผิดปกติ ควรปฏิบัติดังนี้:

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ตรวจติดตามค่า CBC และการทำงานของร่างกายอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วน โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กและวิตามินที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามความเหมาะสม
  • พักผ่อนให้เพียงพอและจัดการความเครียด
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • แจ้งแพทย์ทุกครั้งเกี่ยวกับยาที่ใช้ รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • สังเกตอาการผิดปกติและรีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการที่น่ากังวล

การตรวจ Complete Blood Count (CBC) เป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินสุขภาพโดยรวมและช่วยในการวินิจฉัยโรคหลายชนิด การเข้าใจถึงความสำคัญของค่าต่างๆ ใน CBC การแปลผลการตรวจ และการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาระดับเม็ดเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีและสามารถป้องกันหรือจัดการกับโรคที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ควรตระหนักว่าการตรวจ CBC เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประเมินสุขภาพ และไม่ควรใช้เป็นเกณฑ์เดียวในการวินิจฉัยโรค การพบแพทย์เพื่อรับการตรวจประเมินอย่างครอบคลุม รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและแม่นยำมากขึ้นในการวินิจฉัยและรักษาโรค

หากมีข้อสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับผลการตรวจ CBC หรือสุขภาพโดยรวม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน การรักษาสมดุลของร่างกาย และการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้เราสามารถควบคุมค่า CBC และรักษาสุขภาพที่ดีได้ในระยะยาว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0.

American Association of Blood Banks (24 April 2014), “Five Things Physicians and Patients Should Question”, Choosing Wisely: an initiative of the ABIM Foundation, American Association of Blood Banks, retrieved 25 July 2014.

Napolitano, LM.American College of Critical Care Medicine of the Society of Critical Care, Medicine; Eastern Association for the Surgery of Trauma Practice Management, Workgroup (Dec 2009).

“Clinical practice guideline: red blood cell transfusion in adult trauma and critical care”. Critical Care Medicine. 37 (12): 3124–57. doi:10.1097/CCM.0b013e3181b39f1b. PMID 19773646.

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี

0
การป้องกันผลกระทบจากยาเคมีบำบัดที่ใช้ร่วมกับการฉายรังสี
การรักษาโรคมะเร็ง คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายรังสี โดยเฉพาะการให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ได้ผลดีสูงสุด
ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี
เคมีบำบัด หรือ คีโมคือ การให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เพื่อรักษาให้หาย ควบคุมก้อนมะเร็ง และบรรเทาการแพร่กระจาย

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี

ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด ที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการรักษาโรคมะเร็งจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการทำลายเซลล์มะเร็ง ในปัจจุบันนี้วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคมะเร็ง คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายรังสี ( Concurrent Chemoradiotherapy ) โดยเฉพาะการให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ได้ผลสูงสุด ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ายาเคมีบำบัดจะเข้าไปช่วยลดจำนวนและทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการกระจายตัวอย่างจำเพาะ มีผลข้างเคียงยาเคมีบำบัดทั้งในส่วนที่มีการฉายรังสีและบริเวณที่ไม่มีการฉายรังสี ดังนั้นการเลือกเอายาเคมีบำบัดมาใช้ในการรักษาร่วมกับการฉายรังสีนั้น ต้องมีการเลือกขนาดของยากับปริมาณความเข้มข้นของรังสีที่เหมาะสมกันด้วย เพื่อการรักษาด้วย 2 วิธีนี้จะได้มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยอีกด้วย

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การให้ยาเคมีบำบัดมี

  1. การให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีในการรักษา ( Concurrent Therapy )

2. การให้ยาเคมีบำบัดก่อนการฉายรังสีในการรักษา ( Induction Chemotherapy )

3. การให้ยาเคมีบำบัดเสริมตามหลังจากการฉายรังสีในการรักษา ( Adjuvant Therapy )

ดังนั้นการเลือกยาเคมีบำบัดที่จะนำมาใช้ร่วมกับการฉายรังสีย่อมมีความสำคัญไม่น้อย ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักกับยาเคมีบำบัดที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งกัน

ยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งและผลข้างเคียง

1. Antimetabolites

ยากลุ่มนี้เป็นยากลุ่มที่มีการใช้รักษามายาวนานแล้ว โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เข้าไปขัดขวาง Folate Metabolism หรือและทำตัวคล้ายกับเป็น Nucleoside Analogs ของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งร่วมกับการฉายรังสี คือ

1.1 5-FU

เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Fluoropyrimidines เป็นยาที่มีการใช้งานมาอย่างยาวนานร่วมกับการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งและยังมีการใช้ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้ ตัวอย่างมะเร็งที่รักษาด้วยยาชนิดนี้พร้อมกับการฉายรังสี คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งศรีษะและคอ มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU ซึ่งยาชนิดนี้มีกลไกในการออกฤทธิ์เข้าไปขัดขวาง Folate Metabolism ด้วยการเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Thymidilate Synthetase ที่เป็นเอนไซม์ตัวสำคัญในการสร้างและสบาย DNA พร้อมทั้งเข้าไปจับกับสายของ RNA และ DNA ให้เกิดความเสียหายหรือความผิดปกติจนเซลล์ของมะเร็งไม่สามารถมีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นได้

การให้ยา 5-FU ในการรักษาต้องให้ด้วยวิธีการฉายเข้าเส้นเลือด เนื่องจากยา 5-FU สามารถถูกทำลายได้สูงด้วยเอนไซม์ Dihydro Pyrimidne Dehydrogenase ( DPD ) ซึ่งจะพบมาในบริเวณผนังของลำไส้ เมื่อให้ยา 5-FU เข้าสู่ร่างกายแล้วมีการหลงเหลืออยู่ในร่างกาย ยา 5-FU ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU ยาส่วนที่หลงเหลืออยู่นั้นจะถูกกำจัดโดยเอนไซม์ DPD ออกไปจนหมด สำหรับผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ชนิดนี้เมื่อได้รับยา 5-FU ก็จะมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU นี้แม้ว่าผู้ที่ขาดภาวะเอนไซม์นี้จะพบได้น้อยมากก็ตาม แต่ทว่าในผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยยาชนิดนี้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ DPD บางรายก็มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้นได้เช่นกัน

[adinserter name=”มะเร็ง”]

และจากการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยา 5-FU มี ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU โดยการให้ยาเพื่อเสริมประสิทธิภาพพบว่ายา Leucovorin เป็นตัวยาชนิดที่ช่วยเสริมฤทธิ์ของยา 5-FU ได้ดีที่สุด และพบว่าการให้ยา 5-FU แบบต่อเนื่อง (Continuous Venous Infusion) นั้นส่งผลให้ยานี้สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้มากกว่าการให้ยาแบบระยะสั้น ๆ (Short Bolus) ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU จะทำให้ผลความเสียหายที่เกิดจากวิธีการให้ยานี้ก็มีความต่างกันตามไปด้วย แต่เมื่อนำการรักษาด้วยยา 5-FU ร่วมกับการฉายแสงก็พบว่าการให้ยาแบบต่อเนื่องก็ยังส่งผลต่อการรักษาได้ดีกว่าการให้ยาแบบสั้น ๆ ด้วยเช่นกัน

ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU

ผลข้างเคียงที่พบได้จากการให้ยา 5-FU ในการรักษาโรคมะเร็ง ได้แก่ ท้องเสีย อ้วก Diarrhea และการกดไขกระดูกซึ่งเป็น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU นอกจากนั้นยังมีการพบอาการเกี่ยวกับระบบประสาทแบบเฉียบพลันอีกด้วย เช่น การนอนไม่หลับ เป็นต้น แต่ทว่าผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU กับการให้ยา 5-FU เข้าสู่ร่างกายเพื่อรักษามะเร็งมีวิธีการที่ยุ่งยากมากจึงไม่เป็นที่นำนิยมนำมาใช้ในประเทศ ถึงอย่างไรก็ตามด้วยข้อดีของยาชนิดนี้มีอยู่มากจึงได้มีการพัฒนาและค้นพบยา Capecitabine ที่ออกฤทธ์ใกล้เคียงกับยา 5-FU แต่ใช้งานได้สะดวกกว่าการให้ยา 5-FU มาก

วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคมะเร็ง คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายรังสี (Concurrent Chemoradiotherapy) โดยเฉพาะการให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ได้ผลสูงสุด

1.2 Capecitabine

เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Fluoropyrimidines Carbamate คือ ยาที่มีการพัฒนามาจาก 5-FU ให้อยู่ในรูปที่สามารถรับประทานเข้าไปแล้วไม่โดนทำลายโดย DPD การทำงานของยา Capecitabine คือ เมื่อกินยา Capecitabine เข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะทำการดูดซึมได้อย่างง่ายและรวดเร็วที่บริเวณผนังของลำไส้ซึ่งมี Oral Bioavailability สูงมากถึง 80 % เลยทีเดียว เมื่อตัวยาได้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว ตัวยาจะยังไม่ออกฤทธิ์ในทันที แต่ตัวยานี้จะถูกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโดยเอนไซม์ในร่างกายถึง 3 ขั้นตอนกว่าที่ยาจะสามารถออกฤทธิ์ได้ โดยขั้นตอนสุดท้ายก่อนการออกฤทธิ์จะเกิดขึ้นที่บริเวณภายในเซลล์ของมะเร็งที่ทำการเปลี่ยน 5-Deoxy-5-Fluorouridine จนกลายเป็น 5-FU ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้เกิดขึ้นโดยเอนไซม์ THymidine Phoshorylase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเซลล์ของมะเร็งมากกว่าเนื้อเยื่อปกติ ยา Capecitabine และ Metabolites ที่เกิดขึ้นในร่างกายจะถูกขจัดออกจากการทำงานของไต ซึ่งต่างจากยา 5-FU ที่สามารถขจัดออกโดยการย่อยสลายของเอนไซม์ DPD ดังนั้นการใช้ยา  Capecitabine ในการรักษาต้องคอยตรวจสอบการทำงานของไตให้อยู่ในสภาวะปกติด้วย เพื่อป้องกันการตกค้างของยาในร่างกาย

ส่วนผลข้างเคียงของยา Capecitabine ที่เกิดขึ้น และพบได้บ่อยในการรักษาเคมีบำบัดด้วยยาชนิดนี้ คือ Diarrhea Hand –Foot Syndrome ส่วนอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่พบจะมีลักษณะคล้ายกับการใช้ยา 5-FU แต่ว่าความรุนแรงน้อยกว่า

[adinserter name=”มะเร็ง”]

1.3 Gemcitabine

ยา Gemcitabine ( 2’,2’-difluorodexycytodine ) เป็นยาชนิด Difluorinated Deoxycytidine Analogue ที่สามารถออกฤทธิ์เข้าไปยับยั้งเซลล์มะเร็งในช่วง S Phase ที่วัฏจักรของเซลล์ และยังมีฤทธิ์เข้าไปช่วยเสริมการทำงานของรังสีอีกด้วย ยา Gemcitabine จัดเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการรักษาโรคมะเร็งที่เกิดขึ้น การใช้ยา Gemcitabine แม้ว่าจะใช้เพียงตัวเดียวหรือใช้ร่วมกับยารักษามะเร็งชนิดอื่นผลของการรักษาจากยาชนิดนี้ก็จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเช่นกัน

ยา Gemcitabine ในการใช้ยาเพื่อรักษามะเร็งจะใช้วิธีการหยดซึ่งการให้ยานี้ในแต่ละครั้งต้องให้ยาตั้งแต่เริ่มจนยาเข้าสู่ร่างกายหมดภายใน 30 นาทีห้ามเกินอย่างเด็ดขาด เพราะพบว่าถ้าใช้เวลาในการให้ยาเกิน 30 นาทีขึ้นไป ผลกระทบแบบโดยเฉพาะการกดไขกระดูกที่พบว่ามีโอกาสที่จะเกิดสูงกว่าการให้ยาภายใน 30 นาทีอยู่สูงมากทีเดียว เมื่อยาเข้าสู่ร่างกายแล้ว ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมตัวยาและใช้ได้ทันที ตัวยาต้องผ่านขั้นตอนในร่างกายอยู่หลายขั้นตอนเสียก่อน ซึ่งกลไกที่ว่านี้จะเกี่ยวข้องกับระบบลำเลียงของนิวคลีโอไทด์ ( Nucleotide Transporter System ) ที่จะนำตัวยาที่ยังไม่สามารถออกฤทธิ์ได้เข้าสู่กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ จนตัวยา Gemcitabine กลายเป็น Gemcitabine Triphosphate ที่สามารถออกฤทธิ์กลับได้ โดย Gemcitabine Triphosphate จะกลับเข้าไปรวมตัวกับ DNA ของเซลล์มะเร็ง ทำให้ DNA ของเซลล์มะเร็งเกิดความเสียหายไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้

ผลค้างเคียงของการใช้ยา Gemcitabine ในการรักษามะเร็งที่พบได้มาก คือ การกดไขกระดูกซึ่งส่งผลให้จำนวนเม็ดเลือดจำนวนลดต่ำลงมากกว่าการพบปริมาณเกร็ดเลือดต่ำ นอกจากนั้นแล้วอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาชนิดนี้ที่สามารถเกิดขึ้นได้ คือ การเป็นไข้ เวียนศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับเวลาในการให้ยาที่นานเกิน 30 นาทีนั่นเอง แต่ข้อมูลการใช้ยา Gemcitabine ที่เป็นกรณีศึกษายังมีข้อมูลที่ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับยากลุ่ม .Antimetabolites ในการรักษาร่วมการฉายรังสี

2. Platinum Analogs Cisplatin คือ อะไร?

Cisplatin คือ ต้นแบบของยาที่อยู่ในกลุ่ม Platinum Analogs ที่ใช้กันอยุ่ในปัจจุบันนี้คือ Cisplatin, Carboplatin และ Oxaliplatin ซึ่งยาต้นแบบของยาในกลุ่มนี้คือ ยา Cisplatin ( Cisdiamminedichorplatineum [II] ) ที่นิยมใช้รักษาพร้อมกับการฉายรังสี กลไกการออกฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งของยาชนิดนี้พบว่ายาจะเข้าไปยับยั้งการสร้าง DNA ของเซลล์มะเร็งเป็นหลักเมื่อใช้ยานี้ในการรักษาเพียงอย่างเดียว แต่ว่าเมื่อใช้รักษาร่วมกับการฉายรังสีแล้ว กลไกการออกฤทธิ์จะเกิดโดยยาจะเข้าไปในสาย DNA ของเซลล์มะเร็งและทำการให้เกิดการแตกตักของสาย DNA ที่เป็นสายเดี่ยว ( Single Strand Break ) พร้อมทั้งทำการเปลี่ยนเป็น Double Strand Break ของสาย DNA ซึ่งสาย DNA ที่เป็นแบบนี้จะไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ และ Cisplatin ยังทำหน้าที่คล้ายกับ Free Electron Scavenger ที่สามารถเข้าไปรบกวนการซ่อมแซมสาย DNA ของเซลล์มะเร็งที่เกิดความเสียหายจากผลของการฉายรังสีจึงช่วยให้เซลล์ถูกทำลายได้มากขึ้นและมีโอกาสที่จะฟื้นฟูตัวเองได้น้อยลง

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ยา Cisplatin เป็นยาที่สามารถออกฤทธิ์ในการกำจัดมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งที่บริเวณศีรษะ มะเร็งคอ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาแต่ละครั้งจะทำการคำนวนได้ด้วยคิดเป็น มิลลิกรัมต่อพื้นผิวของร่างกายที่มีหน่วยเป็นตารางเมตร และวิธีการให้ยา Cisplatin จะให้โดยการผสมในน้ำเกลือ 250 ml และหยดเข้าสู่ร่างกาย โดยการให้ยาแต่ละครั้งควรให้อย่างช้า ๆ ซึ่งการให้แต่ละครั้งควรใช้เวลาประมาณ 1-4 ชั่วโมง นอกจากนั้นก่อนและหลังการให้ยา Cisplatin ผู้ป่วยควรได้รับน้ำเพื่อช่วยในการขับปัสสาวะเป็นอย่างปกติหรือมากกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อป้องกันการสะสมของยา Cisplatin ในร่างกายสูงเกินไป

ผลข้างเคียงที่เกิดจากยา Cisplatin ที่พบได้มากที่สุด คือ การทำงานของไตเสื่อมพร้อมกับการสูญเสียเกลือแร่ที่มีอยู่ในร่างกายไปพร้อมกับการขับปัสสาวะออกมา คลื่นไส้ อาเจียน การได้ยินน้อยลง อาการประสาทส่วนปลายเสื่อม การกดไขกระดูกซึ่งการกดไขกระดูกที่พบจากการใช้ยานี้จะส่งผลให้ปริมาณเกร็ดเลือดต่ำ และยังพบอาการ Hypersensitivy Reaction ที่เกิดจากการได้รับยาด้วย ดังนั้นการให้น้ำกับผู้ป่วยก่อนและหลังการให้ยา Cisplatin ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญมากเมื่อมีการใช้ยา Cisplatin ในการรักษาร่วมไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวหรือรักษาร่วมกับการฉายรังสีก็ตาม เพื่อป้องกันความเสื่อมของไต

ยาที่สามารถนำมาใช้ในการรักษามะเร็ง นั่นคือ ยา Oxaliplatin แต่ยาชนิดนี้ไม่นิยมใช้ในการรักษาร่วมกับการฉายรังสี

ยา Carboplatin หรือยา Cis-Diammine ( Cyclobutane Dicarboxylato )-platinum ( II ) ยากลุ่มนี้เป็นยาที่มีฤทธิ์คล้ายกับยา Cisplatin แต่ทว่าผลข้างเคียงต่อไตและการทำให้เกิดการอาเจียนคลื่นไส้มีเกิดขึ้นน้อยกว่ามาก แต่ก็ใช่ว่ายา Carboplatin จะดีกว่าเสียทั้งหมด เพราะว่ายา Carboplatin ส่งผลให้เกิดการกดไขกระดูกมากกว่ายา Carboplatin ด้วย ปริมาณที่ใช้ในการรักษาสามารถคำนวนได้จาก Area Under Curve ( AUC ) ซึ่งจะช่วยในการทำนายการกดไขกระดูกที่จะเกิดขึ้นได้แม่นยำกว่าการคำนวนยาเป็นมิลลิกรัมในการใช้ต่อพื้นผิวของร่างกายในหน่วยที่เป็นเมตร

ขนาดยาตาม Calvert Formula

= AUC ที่กำหนดไว้ x (Creatinine Clearance +25)

3. Mitomycin C

ยา Mitomycin C เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มของยาปฏิชีวานะที่สมารถออกฤทธิ์ในการรักษาโรคมะเร็งได้คล้ายกับยาที่อยู่ในกลุ่ม Alkylating Agent กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้จะเข้าไปยับยั้งการสร้างสาย DNA ของเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้เกิด Cee Cycle ที่อยู่ในช่วง G2 / M-phase Transition และยังพบว่ายายา Mitomycin C ยังเป็น Hypoxic Cell Radiosensitizer ที่ดีอีกด้วย

ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้ยา ยา Mitomycin C ร่วมกับยา Fluorouracil ไปพร้อมกับการรักษาด้วยการฉายรังสีในการรักษามะเร็งทวารหนักอีกด้วย การใช้ยาสามารถให้ได้ 2 แบบ คือ

[adinserter name=”มะเร็ง”]

  • การฉีดเข้าสู่เส้นเลือด แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ตัวยาไหลออกนอกเส้นเลือดเพราะจะไปสร้างผลกระทบกับเซลล์ที่ไม่ต้องการได้
  • การผสมยาในน้ำเกลือและทำการหยดยาให้หมดภายในระยะเวลา 15-30 นาที

ผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดจากการใช้ยา ยา Mitomycin คือ การเป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน การกดไขกระดูก แต่ว่าอาการกดไขกระดูกจะไม่เกิดขึ้นในทันทีแต่จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับการรักษาไปแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา ยา Mitomycin ร่วมกับการฉายรังสีจะมีการฟื้นตัวได้ช้ายู่ที่ประมาณ 8 -10 สัปดาห์

4. Taxanse

ยา Taxanse เป็นกลุ่มที่นิยมใช้กันมากอีกกลุ่มหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็ง ยากลุ่ม Taxanse นี้คือ Paclitaxel กับยา Docetaxal ยาในกลุ่มของ Taxanse จะมีกลไกการออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งโดยที่จะออกฤทธิ์เข้าไปยับยั้ง Mitotic Spindle ที่อยู่ภายในเซลล์ Microtubule Assembly และยังเข้าไปยับยั้ง Disaggregation อีกด้วย ผลของยาจะเข้าไปส่งผลให้การแบ่งตัวของเซลล์เกิดการหยุดชะงักที่ G2 / M phase ของวัฏจักรของเซลล์ ซึ่งซ่วงนี้จะเป็นช่วงที่เซลล์มีความว่องไวต่อการทำลายของรังสีสูงมาก ดังนั้นการรักษาด้วยยา Taxanse ร่วมกับการฉายรังสีจึงช่วยรักษามะเร็งอย่างได้ผล ซึ่งยาในกลุ่ม Taxanse ที่นิยมนำมาใช้รักษาร่วมกับการฉายรังสี คือ ยา Paclitaxel

การใช้ยา Paclitaxel ในการรักษาจะใช้วิธีการฉีดเข้าสู่ร่างกาย และยาชนิดนี้จะสามารถขับออกมาจากร่างกายได้โดยการขับออกมาพร้อมกับอุจจาระโดยผ่านการไหลเวียนของตัวยาและ Metabolites มาทางกระแสเลือดและส่งไปยังตับที่จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญมากในการขับยาชนิดนี้ออกจากร่างกาย ซึ่งกลไกการทำลายตัวยานั้นจะต้องอาศัยกลไกที่สำคัญของ Cytochrome P-450 Mixed Function Oxidase ตามส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ CYP2C8 และที่ CYP3A4 ซึ่งกลไกดังกล่าวนี้สามารถเกิดการยับยั้งการทำงานได้โดยการขาดเอนไซม์บางชนิด ดังนั้นการใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาชนิดอื่นต้องดูด้วยว่ายาที่ใช้ร่วมกันนั้นมาขัดกว้างการสร้างเอนไซม์ที่จำเป็นในการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามาขัดขวางแล้วย่อมส่งผลให้ยาชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่หรือไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้หมด เกิดการสะสมและสร้างผลเสียต่อเซลล์ปกติได้

ผลข้างเคียงของยา Paclitaxel ที่พบได้มากที่สุด คือ การที่เม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิวมีค่าต่ำลง ซึ่งจะเกิดหลังจากที่ทำการให้ยาไปแล้วประมาณ 8-10 วัน แต่ผลที่เกิดขึ้นต้องเป็นการให้ยาแบบทุก ๆ 3 สัปดาห์ แต่อาการนี้จะกลับสู่สภาวะปกติได้หลังจากเกิดอาการไม่กี่วัน การให้ยายังมีอาการแบบเฉียบพลันเกิดขึ้นด้วยนั่นคือ อาการ Hypersensitivity Reaction ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 10 นาทีของการให้ยาครั้งแรกกับตัวผู้ป่วย แต่อาการนี้จะหายไปทันทีหลังจากที่หยุดยาแล้ว การที่เกิดผลข้างเคียงดังกล่าวเชื่อว่าเกิดจากการหลั่งสาร Histamine-Like Substances ที่สามารถเกิดปฏิกิริยากับ Polyoxyethylate Case Castor oil Vehicle ของยา อาการนี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการให้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดจากการให้ยาชนิดนี้ คือ Peripheral Neuropathy โดยผู้ป่วยจะมีอาการชาที่มือ เท้าทั้งสองข้าง บางครั้งมีการตรวจพบ Deep Tendon Reflex ที่มีค่าลดลง ซึ่งอาการที่เกิดความเป็นพิษต่อเส้นประสาทชนิดรุนแรงจะพบได้น้อยมาก เมื่อมีการให้ยาน้อยกว่า 200 mg / m² เมื่อมีการให้ทุก 3 สัปดาห์หรือมีการให้ยาน้อยกว่า 100 mg / m² ซึ่งผลข้างเคียงที่พบนี้ในขณะนี้ยังไม่ยาที่เข้ามาช่วยลดอาการดังกล่าวได้ การจะทำให้อาการลดลงหรือหายไปก็มีเพียงวิธีเดียวคือการหยุดยานั่นเอง นอกจากผลข้างเคียงที่พบได้มากแล้วการใช้ยานี้ยังมีผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คือ เล็บเกิดร่อง เล็บมีสีเข้มขึ้น เล็บหลุดลอกออก เป็นต้น

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบันนี้ ยาเคมีที่ใช้ร่วมกับการฉายรังสีมีอยู่หลายชนิดที่นำมาใช้กัน การเลือกใช้ทั้งชนิดและปริมาณของยาก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งทางแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ทำการเลือกตัวยาที่ดีที่สุดที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นและส่งผลเสียต่อร่างกายของผู้ป่วยให้น้อยที่สุด เพื่อเพิ่มอัตรารอดจากการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของผู้คนทั่วไป

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งและประเมินระยะของโรค

0
การตรวจวินิจฉัยประเมินรัยะโรคเพื่อให้การรักษานั้นตรงโรคที่สุด
การตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินสุขภาพของผู้ป่วย
การตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินสุขภาพของผู้ป่วยก่อนทำการรักษามะเร็ง

การตรวจวินิจฉัยและประเมินระยะ

มะเร็งเป็นโรคที่จะต้องมี การตรวจวินิจฉัยและประเมินระยะ ที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่าโรคทั่วไป เพราะไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดจากการตรวจในครั้งแรกว่า ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ซึ่งจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมและใช้เวลาในการตรวจนานพอสมควรเลยทีเดียว โดยทั้งนี้ในการตรวจและแปลผล จะต้องใช้เวลาเป็นอย่างน้อย 3 วันหรืออาจนานเป็นสัปดาห์ เลยก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากที่สุดว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งจริงและเป็นมะเร็งชนิดไหน รวมทั้งจะได้ลดความผิดพลาดในการตรวจให้เหลือน้อยที่สุดด้วย นอกจากนี้การรักษาก็จะมีความยุ่งยากซับซ้อนเช่นกัน และอาจเกิดผลข้างเคียงจากอาการแทรกซ้อนได้อีกด้วยก่อนเริ่มรักษาจึงต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง และที่สำคัญจะต้องใช้เวลาในการรักษานานมาก ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง รวมถึงส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง

สำหรับผู้ป่วยใหม่ที่มีอาการสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็ง เริ่มแรกจะต้องทำ การตรวจวินิจฉัย โรคดูก่อนว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ แล้วจึงตามด้วยการประเมินระยะของโรค ตรวจประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อจะได้หาแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด โดยเมื่อเข้าสู่ช่วงการรักษาจนครบการรักษาแล้ว ก็จะมีการตรวจติดตามผลแบบระยะยาวไปจนตลอดชีวิต เพื่อเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำได้อีกนั่นเอง การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งจะแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่แน่ชัด โดยแบ่งได้ดังนี้

1. ตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีประวัติเป็นมะเร็งมาก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อคัดกรองว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่และวางแผนการรักษาได้อย่างถูกวิธี

2. ตรวจประเมินระยะของโรคว่าอยู่ในระยะไหนแล้ว เพื่อจะได้เตรียมการรักษาอย่างเร่งด่วน และพิจารณาเลือกวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมที่สุด

3. ตรวจประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม

4. ตรวจประเมินผลในช่วงการรักษา เพื่อดูผลการรักษาที่เกิดขึ้นว่าผลที่ได้มีความน่าพอใจมากแค่ไหน หรือหากผลไม่ค่อยน่าพอใจมากนักก็จะได้เปลี่ยนแผนการรักษาใหม่นั่นเอง

5. ติดตามผลระยะยาวของการรักษาไปจนตลอดชีวิต เพื่อระวังการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งอีกครั้งและอาจมีความรุนแรงมากกว่าเดิม

6. ตรวจวินิจฉัยเมื่อพบโรคหลงเหลือหลังจากครบกำหนดในการรักษาแล้ว

7. ตรวจวินิจฉัยกรณีโรคอาจย้อนกลับเป็นซ้ำอีกหรือแพร่กระจายได้

การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งในผู้ป่วยใหม่

สำหรับการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยใหม่ว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ จะมีวิธีการตรวจดังนี้

  1. ไปพบแพทย์ด้วยอาการสำคัญหรือความกังวลว่าตนเองกำลังป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง

2. แพทย์จะทำการสอบถามผู้ป่วยเพิ่มเติมถึงอาการอื่นๆ ที่แพทย์ต้องการทราบเพื่อประกอบการวินิจฉัย

3. สอบถามประวัติการรักษาทางแพทย์ของผู้ป่วย รวมถึงประวัติอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น อาชีพที่ทำ การใช้ยา การเจ็บป่วยที่เคยเกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน จากนั้นก็จะทำการตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจเฉพาะที่ เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัดมากขึ้น

ผู้ป่วยจะต้องคอยสังเกตอาการความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้วินิจฉัยและรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

นอกจากนี้ก็อาจจะมีการตรวจเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งด้วย ซึ่งก็จะมีวิธีการตรวจหลากหลายวิธีด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์ต้องการตรวจแบบไหน อย่างไรก็ตาม การจะตรวจหามะเร็งได้อย่างแน่ชัดมากที่สุด ก็คือการตัดเอาชิ้นเนื้อจากแผลหรือก้อนเนื้อมะเร็งไปตรวจทางพยาธิวิทยา จะทำให้ทราบว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือเป็นโรคอื่นๆ กันแน่ และเมื่อทำการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้ว แพทย์ก็จะทำการประเมินระยะของโรคว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะไหน พร้อมกับประเมินสุขภาพของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องคอยสังเกตอาการความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้วินิจฉัยและรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งในปัจจุบันมีโรคมะเร็งเพียงแค่ 3 ชนิดเท่านั้นที่สามารถทำการตรวจคัดกรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง ส่วนโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ยังไม่สามารถตรวจคัดกรองอย่างมีประสิทธิภาพได้ จึงต้องอาศัยการสังเกตความผิดปกติของตัวเองแทน

วิธีการประเมินระยะของโรคมะเร็งอย่างไร

1. สำหรับการประเมินระยะของโรค การประเมินระยะ ของโรค ว่าโรคอยู่ในระยะไหน มีการลุกลามไปยังอวัยวะส่วนไหนแล้วบ้าง เพื่อประเมินวิธีการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม แพทย์จะมีขั้นตอนในการรักษาดังนี้

1.1 ประเมินระยะของโรคมะเร็งในผู้ป่วยใหม่ เพราะเมื่อทราบระยะของอาการป่วยก็จะทำให้วางแผนการรักษาและเลือกวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

1.2 ประเมินผลในช่วงการรักษา เพื่อดูผลว่าการรักษาได้ผลดีแค่ไหนหรืออาจต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาอย่างไรบ้างหรือเปล่า

1.3 ประเมินผลหลังครบการรักษา เพื่อดูว่าหลังการรักษาผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งหรือไม่ หรือมีอาการอย่างไรบ้าง ดีขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่า

1.4 ประเมินผลแบบระยะยาวไปจนตลอดชีวิต เพราะผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคมะเร็งก็มักจะมีโอกาสที่จะกลับมาป่วยอีกได้ จึงทำให้แพทย์ต้องคอยติดตามประเมินผลผู้ป่วยตลอดเวลา เพราะหากมีแนวโน้มว่าจะกลับมาเป็นอีก ก็จะได้ทำการรักษาได้ทันนั่นเอง

2. การประเมินการลุกลามเฉพาะที่

โดยมี การประเมิน ดังนี้

1. ประเมินดูขนาดของก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็ง ว่ามีขนาดแค่ไหน เพราะจะเป็นตัวบอกได้ว่า ผู้ป่วยได้มีอาการลุกลามของมะเร็งไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว

2. ประเมินการรุกล้ำเฉพาะที่ของโรคมะเร็ง ซึ่งก็คือการลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงนั่นเอง เพื่อจะได้ประเมินวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

3. ประเมินการลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงกับอวัยวะต้นกำเนิดมะเร็ง

4. ประเมินก้อนเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงตลอดช่วงรับการรักษาและหลังครบการรักษา

5. ประเมินโอกาสที่จะย้อนกลับมาเป็นโรคมะเร็งได้อีก ซึ่งจะมีการตรวจติดตามผลแบบระยะยาว

โดยทั้งนี้ใน การตรวจประเมิน การลุกลามของโรคมะเร็งนั้นมักจะตรวจไปพร้อมกับการประเมินการแพร่กระจายของมะเร็งด้วย ซึ่งขั้นตอนที่นิยมใช้บ่อยๆ ในการตรวจก็มีดังนี้

การประเมินการแพร่กระจายของมะเร็ง

  • ตรวจภาพเนื้อเยื่อด้วยการเอกซเรย์ธรรมดา การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การอัลตราซาวด์หรือเอ็มอาร์ไอ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรตรวจด้วยวิธีไหนอย่างไร
  • ตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินผลการรักษา     

3. การตรวจเพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง

โดยจะตรวจดูว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนไหนแล้วบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีการแพร่กระจายเข้าสู่ปอด สมอง ตับและกระดูกเป็นต้น โดยวิธีการตรวจหากเป็นการตรวจการแพร่กระจายเข้าสู่ปอด จะตรวจด้วยการเอกซเรย์ เพราะเป็นวิธีที่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ให้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำสามารถประเมินโรคต่างๆ ของปอดและหัวใจได้และมีค่าใช้จ่ายไม่สูงจนเกินไปอีกด้วย แต่การตรวจการแพร่กระจายที่เข้าสู่อวัยวะอื่นๆ นั้น จะตรวจโดยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้นแพทย์จึงมักจะเลือกตรวจเฉฑาะกับบางรายเท่านั้น โดย

  • ผู้ป่วยที่มีอาการ แพทย์จะรักษาในส่วนที่ทำให้เกิดอาการ เข่น ใช้รังสีรักษา เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยหากมะเร็งแพร่เข้าสู่กระดูก
  • หากโรคอยู่ในระยะที่แพร่กระจายไปอย่างมากแล้ว แพทย์จะไม่ใช้วิธีการรักษาที่อันตรายหรือมีผลข้างเคียงสูงเด็ดขาด
  • หากอยู่ในระยะที่มีการลุกลามไปมาก แต่ผู้ป่วยยังมีความแข็งแรงอยู่ แพทย์จะตั้งเป้ารักษาเพื่อให้หายขาด แต่หากผู้ป่วยมีอาการอ่อนแอลง แพทย์จะตั้งเป้ารักษาเป็นการประคับประคองผู้ป่วยแทน

นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีการตรวจการแพร่กระจายของโรคมะเร็งอีกหลายวิธีด้วยกัน เช่นการเอกซเรย์ปอด เพื่อดูว่าได้แพร่กระจายเข้าสู่ปอดหรือยัง มากน้อยแค่ไหน การตรวจภาพกระดูกทั้งตัว เพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรคเข้าสู่กระดูก โดยอาจตรวจซ้ำด้วยเอ็มอาร์ไออีกครั้งเพื่อความแม่นยำ การตรวจภาพตับและต่อมหมวกไตด้วยการอัลตราซาวด์ เพื่อทำการวินิจฉัยการแพร่กระจายของโรคที่ได้แพร่กระจายเข้าสู่ตับและต่อมหมวกไต การตรวจภาพช่องท้องด้วยการอัลตราซาวด์ เพื่อดูการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ภายในช่องท้อง รวมถึงต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องและต่อมหมวกไตด้วย การตรวจภาพสมองด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูการแพร่กระจายเข้าสู่สมอง ส่วนใหญ่จะตรวจในผู้ที่มีอาการทางสมองด้วย การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง ตรวจไขกระดูก และการตรวจเพ็ตสแกน เป็นต้น

การประเมินสุขภาพของผู้ป่วย

การประเมินสุขภาพของผู้ป่วยเป็นขั้นตอนหนึ่งในการตรวจรักษาที่มีความสำคัญไม่แพ้กันเลยทีเดียว โดยจะตรวจหลังจากได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ซึ่งแพทย์ก็มักจะตรวจควบคู่ไปกับการประเมินระยะของโรคด้วย เพราะวิธีและขั้นตอนการตรวจส่วนใหญ่จะเหมือนกัน จึงสามารถที่จะตรวจไปพร้อมกันได้ และไม่เป็นการเสียเวลากับการตรวจซ้ำซ้อนอีกด้วย โดยทั้งนี้หาก การตรวจประเมิน สุขภาพ พบว่าผู้ป่วยมีโรคอื่นร่วมด้วย ก็จะทำการดูแลรักษาโรคที่เป็นอยู่ก่อนที่จะเริ่มรักษามะเร็ง เพราะหากปล่อยไว้ จะทำให้โรคดังกล่าวกลายเป็นโรคเรื้อรัง และทำให้สุขภาพของผู้ป่วยอ่อนแอลง จนไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่องได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีกด้วย โดยสำหรับการตรวจประเมินสุขภาพของผู้ป่วยโดยทั่วไปก็จะมีขั้นตอนการตรวจดังนี้

  • สอบถามอาการสำคัญรวมถึงอาการอื่นๆที่ผู้ป่วยเป็น พร้อมกับตรวจร่างกายและตรวจเฉพาะที่ ตามด้วยการตรวจเลือด ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะตรวจหาค่าซีบีซี ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าการทำงานของตับและไต ค่าเกลือแร่การติดเชื้ออื่นๆ เป็นต้น
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาปัญหาสุขภาพที่อาจจะมีอยู่
  • ทำการเอกซเรย์ปอด เพื่อดูว่าปอดยังคงปกติดีหรือไม่ โดยเฉพาะในคนที่สูบบุหรี่จัด
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วย โดยจะตรวจเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • ตรวจภาพหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูงและอาจมีการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม

เป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็ง

สำหรับเป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็งจะมี 2 เป้าหมายหลักคือ

1.การรักษาเพื่อหวังผลให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้นหรือการรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรค

2. การรักษาแบบประคับประคองเพื่อพยุงอาการของผู้ป่วยไม่ให้ทรุดมากเกินไปและทำให้ผู้ป่วยมีอายุยาวนานขึ้นกว่าเดิม ซึ่งส่วนใหญ่เป้าหมายที่สองนี้จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายหรือมีการลุกลามอย่างรุนแรง โดยเมื่อประเมินดูแล้วไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้

1. การรักษาให้หายขาด

ถึงแม้จะตั้งเป้าไว้ที่การรักษาให้หายขาด แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะสำเร็จตามเป้าหมายเสมอไป ซึ่งก็มีโอกาสที่จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เหมือนกัน แต่อย่างน้อยก็จะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นกว่าเดิม โดยทั้งนี้การตั้งเป้าหมายการรักษาให้หายขาด แพทย์จะใช้กับผู้ป่วยที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้

  • โรคมะเร็งยังอยู่ในระยะที่ไม่มีการแพร่กระจายออกไปภายนอกหรือแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด
  • ผู้ป่วยยังคงมีสุขภาพที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคอื่นๆ ร่วมด้วย นั่นก็เพราะวิธีการรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรคมะเร็ง จะทำได้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงดีเท่านั้น
  • ผู้ป่วยจะต้องไม่มีการกินยาสมุนไพรหรือยาพื้นบ้านอื่นๆ

ทั้งผู้ป่วยและครอบครัวจะต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์และพยาบาลในการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างดี พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะคาใช้จ่ายในการรักษามะเร็งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก หากขาดความร่วมมือจนหมดโอกาสการรักษา ก็จะทำให้ที่จ่ายมาทั้งหมดเกิดความไม่คุ้มค่าได้นั่นเอง นอกจากนี้จะต้องให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเรียนรู้ที่จะดูแลตนเองให้ดีเพื่อลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนจากการรักษาด้วย

2. การรักษาแบบประคับประคองหรือพยุงอาการ

ในกรณีนี้จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้ผู้ป่วยมีอายุอยู่ได้นานที่สุด ซึ่งจะใช้เฉพาะกับผู้ป่วยที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดจากโรคมะเร็งได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะระยะของโรคมะเร็งหรือสุขภาพของผู้ป่วยเอง จึงทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้นั่นเอง โดยผู้ป่วยที่แพทย์จะพิจารณาใช้วิธีนี้ในการรักษา ก็จะต้องมีปัจจัยดังต่อไปนี้

  • เป็นโรคมะเร็งในระยะที่มีการแพร่กระจายหรือลุกลามไปมากแล้ว ทำให้การจะรักษาให้หายขาดนั้นเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร
  • ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอเกินไปจนไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ นั่นก็เพราะหากรักษาในขณะที่ร่างกายของผู้ป่วยไม่พร้อมจะยิ่งเป็นอันตรายได้นั่นเอง
  • ผู้ป่วยและครอบครัวไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการรักษาให้หายขาด จึงต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการประคับประคองแทน

ความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเป็นโรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงเป็นอย่างมาก ทำให้การรักษามีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปด้วย แถมค่ารักษาพยาบาลก็สูงมากพอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้น การตรวจวินิจฉัย โรคมะเร็งจะต้องมีความแม่นยำสูงมาก เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้น โดยเฉพาะหากต้องรักษาโดยมีเป้าหมายเพื่อให้หายขาด

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำมากที่สุดนั้น แพทย์จะใช้หลากหลายวิธีด้วยกัน เช่น การซักประวัติอาการของผู้ป่วย การตัดชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา และจะมีการพิจารณาหลายๆ ครั้งเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ชัดเจนที่สุดและมั่นใจแล้วว่าไม่ผิดพลาดอย่างแน่นอน ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคมะเร็งก็มีความแม่นยำต่างกันดังนี้

1. การวินิจฉัยโรคมะเร็งที่จะได้ความแม่นยำที่สูง 100%

จะประกอบไปด้วยหลายวิธีด้วยกัน เช่น การซักประวัติอาการสำคัญ ประวัติการรักษาทางแพทย์ของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจภาพเนื้อเยื่อ การอัลตราซาวด์ เอกซเรย์และการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เป็นต้น โดยทั้งนี้จากการตรวจทุกวิธีจะต้องได้ผลที่มีความสอดคล้องกันว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง นอกจากนี้ก็ยังมีโรคมะเร็งบางชนิดที่สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำโดยไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อตรวจอีกด้วย เช่น โรคมะเร็งตับชนิดเอชซีซี

2. การวินิจฉัยโรคมะเร็งที่มีความแม่นยำ 95%

โดยจะมีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณร้อยละ 95 ขึ้นไป ซึ่ง การตรวจวินิจฉัย แบบนี้ก็จะตรวจแบบเดียวกับวิธีแรกเลย เพียงแต่ไม่มีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา ทำให้ผลการวินิจฉัยอาจมีความคลาดเคลื่อนได้บ้างเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่วิธีนี้จะใช้สำหรับผู้ป่วยในระยะลุกลามรุนแรงและผู้ป่วยที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงนั่นเอง

3. การวินิจฉัยโรคมะเร็งที่มีความแม่นยำรองลงมา

โดยจะมีการตรวจเหมือนกับแบบแรกเหมือนกัน แต่จะไม่มีการตรวจชิ้นเนื้อ ไม่มีการเจาะดูด การตรวจค่าสารมะเร็ง ทำให้ผลการตรวจที่ได้อาจมีความคลาดเคลื่อนมากกว่าวิธีที่ 2 ไปอีก ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้ก็มักจะใช้ในกรณีที่

  • ผู้ป่วยไปพบแพทย์ในภาวะฉุกเฉินแล้ว ซึ่งการรักษาแบบประคับประคองก็ไม่ได้ผล จึงไม่สามารถตรวจด้วยวิธีเหล่านี้ได้
  • ผู้ป่วยอยู่ในระยะของโรคที่ไม่สามารถทำการตัดชิ้นเนื้อหรือดูดเซลล์มาตรวจได้ นั่นก็เพราะอาจมีผลแทรกซ้อนสูง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้นั่นเอง
  • ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอมาก จนไม่สามารถที่จะตัดชิ้นเนื้อได้ 

สาเหตุของการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งผิดพลาด

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การตรวจวินิจฉัย โรคมะเร็งมีหลายวิธี และแต่ละวิธีก็มีระดับของความรุนแรงที่แตกต่างกันไปอีกด้วย ดังนั้นโอกาสที่จะตรวจผิดพลาดจึงมีได้เหมือนกัน เช่นอาจตรวจผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งว่าไม่เป็นมะเร็ง และอาจตรวจผู้ป่วยที่ไม่เป็นมะเร็งว่าเป็นมะเร็งได้นั่นเอง โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจได้ก็มีดังนี้

1. มีการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาหรือทางเซลล์วิทยาเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัญหาทางเทคนิคหรือเครื่องมือในการตรวจ เป็นผลให้ตรวจไม่พบมะเร็งทั้งที่ผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็ง

2. อาการสำคัญของผู้ป่วยแยกได้ไม่ชัดเจนว่านั่นเป็นอาการป่วยโรคมะเร็งหรือการอักเสบและติดเชื้อโดยทั่วไปกันแน่ ประกอบกับการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ เช่น อัลตราซาวด์ เอ็มอาร์ไอ ตรวจภาพเนื้อเยื่อ หรือเอกซเรย์แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ แพทย์จึงสรุปว่าผู้ป่วยไม่เป็นมะเร็ง ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นนั่นเอง

3. ก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็งมีขนาดที่เล็กมากจนไม่สามารถตรวจได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการสำคัญที่บอกได้ว่าผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็งก็ตาม ซึ่งทั้งนี้จะต้องรอให้ก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นมาซะก่อนจึงจะสามารถตรวจให้แน่ชัดอีกครั้งได้

4. ผู้ป่วยไปพบแพทย์ในภาวะที่มีอาการป่วยแบบฉุกเฉิน ประกอบกับอาการสำคัญ การตรวจภาพเนื้อเยื่อหรือการตรวจอื่นๆ ชี้นำว่าผู้ป่วยน่าจะเป็นมะเร็ง จึงทำให้แพทย์มีความเข้าใจไปว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่ และเนื่องจากในภาวะที่ไปพบแพทย์แบบฉุกเฉินนี้ ทำให้แพทย์ต้องรีบทำการรักษาอย่างเร่งด่วน ไม่สามารถรอผลการตรวจชิ้นเนื้อได้ จึงเกิดความผิดพลาดขึ้นนั่นเอง

5. ก้อนเนื้ออยู่ในตำแหน่งที่แพทย์ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อหรือดูดเซลล์มาตรวจได้ จึงจำเป็นต้องทำการรักษาในทันทีแม้ว่าจะไม่ได้ตัดชิ้นเนื้อมาตรวจก็ตาม ทำให้โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดมีสูงมาก ซึ่งตามจริงแล้วผู้ป่วยอาจไม่ได้เป็นมะเร็งอย่างที่แพทย์เข้าใจก็ได้เหมือนกัน

6. การตรวจชิ้นเนื้อไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ แต่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงที่จะต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน แพทย์จึงตัดสินใจรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งที่ความจริงแล้วผู้ป่วยไม่ได้เป็นมะเร็งอย่างที่แพทย์เข้าใจ ซึ่งนี่ก็เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้บ่อยเช่นกัน

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

“Screening for Oral Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2004. Archived from the original on 24 October 2010.

“Screening for Prostate Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2008. Archived from the original on 31 December 2010.

Manton Julia. Cancer Mortality and Morbidity Patterns in the U.S. Population: An Interdisciplinary Approach. Springer Science & Business Media. ISBN 978-0-387-78193-8.

โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease )

0
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์สมอง ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย
โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease )
โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์สมอง ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย

โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease )

อัลไซเมอร์ หรือโรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมส่งผลโดยตรงต่อสมองส่วนควบคุมควมทรงจำ ความคิด อารมณ์ โรคอัลไซเมอร์จะพบมากในผู้สูงอายุ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามสาเหตุ ได้แก่
1.ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้ 2.ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด

โรคอัลไซเมอร์จะพบว่าผู้ป่วยส่วนมากที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะเป็นโรคสมองเสื่อมด้วย จากอายุเฉลี่ยของคนไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน พบว่า คนไทยมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ตามข้อมูลในระหว่างปี พ.ศ. 254-2556 ชี้ให้เห็นว่า อัลไซเมอร์จะเกิดในคนอายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 ปี เมื่อดูข้อมูลเฉพาะปี พ.ศ. 2556 จะพบว่า เพศหญิงมีอายุเฉลี่ยสูงถึง 78 ปี ส่วนผู้ชายมีอายุเฉลี่ยถึงจะน้อยกว่าผู้หญิงแต่ก็สูงถึง 71 ปี ซึ่งอายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลมาจากการพัฒนาทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในการรักษาและการดูแลสุขภาพ และคนไทยในปัจจุบนเมื่อเทียบกับคนสมัยก่อน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใช้ชีวิตถูกสุขลักษณะมากขึ้นกว่าคนสมัยก่อน แต่เมื่อเทียบกับคนต่างชาติแล้ว คนไทยยังมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าคนต่างชาติ ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่คนไทยพบน้อยกว่าคนต่างชาติเช่นกัน

เมื่อดูสัดส่วนการเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม กับการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ของคนไทยกับคนต่างชาติ จากผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุคนไทยจำนวน 10 ที่เป็นโรคสมองเสื่อม จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ จำนวน 5-6 คน ส่วนผู้สูงอายุชาวต่างชาติที่เป็นโรคสมองเสื่อม จำนวน 10 คน เป็นโรคอัลไซเมอร์สูงถึง 8 คน ถือว่ามีเปอร์เซ็นสูงมากจนน่าตกใจ และนอกจากนี้ยังมีข้อมูลทางสถิติว่า คนไทยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มักจะมีโรคหลอดเลือดในสมองมากกว่าชาวต่างชาติที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ สูงถึงร้อยละ 30-70 ของคนที่มีปัญหาหลอดเหลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองตีบตัน

ความจำ ปัญหาหนักของโรคอัลไซเมอร์

อาการอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมหรือหลงๆลืมๆ จำอะไรไม่ค่อยได้ เป็นอาการที่พบในคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีอาการความจำระยะสั้นหาย อาการอัลไซเมอร์จะจำสภาพแวดล้อมตัวเองอยู่ไม่ได้ จึงมักจะได้ยินได้เห็นข่าวที่ตามหาผู้สูงอายุที่ออกจากบ้านไปแล้วหาทางกลับไม่ถูก เมื่อมีคนถามว่าบ้านอยู่ไหนก็จะตอบไม่ถูก ซึ่งเราจะพบว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักจะถามคำถามซ้ำๆเดิมๆบ่อยๆ แต่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะจำเรื่องราวในอดีตได้ จึงมักจะพูดถึงแต่เรื่องในอดีต เช่น สมัยเรียนชั้นประถม เรียนที่ไหน ความประทับใจมีอะไรบ้าง สามารถเล่าออกมาได้ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่า ความทรงจำเก่าๆในอดีตได้ฝังรากลึกลงในสมองหลายส่วนก็เลยทำให้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์สามารถจำเรื่องราวในอดีตได้

ในการทดสอบผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในความจำใหม่ๆที่ป้อนเข้าไปจะพบว่าผู้ป่วยไม่สามารถจำความจำใหม่ๆได้ เช่น ทดสอบให้ผู้ป่วยอ่านคำ 5 คำ แล้วให้จำเอาไว้ ให้ท่องและพูดตาม หลังจากนั้นก็ไปทดสอบเรื่องอื่นต่อ เช่น ให้ ดูรูปภาพ บรรยายรูป ให้แปลสุภาษิต ให้บวก ลบ คูณ หาร จากนั้นสักพักกลับมาย้อนถามเรื่องคำ 5 คำที่ให้ท่องไว้ ว่ามีคำอะไรบ้าง และมีตัวช่วยเพื่อให้ผู้ป่วยจำได้ แต่ปรากฏว่าผู้ป่วยจำไม่ได้ นั่นคือ อาการของโรคอัลไซเมอร์
มีการค้นพบถึงสาเหตุของความจำระยะสั้นของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ พบว่าสาเหตุเพราะสมองส่วนกลีบขมับด้านใกล้กลาง ( Medial Temporal Lobe ) มีผลเกี่ยวกับความจำใหม่ หรือความจำระยะสั้น ที่ต้องจดจำนั้นมีพยาธิสภาพฝ่อลงจึงทำให้สูญเสียความจำระยะสั้น หรือความจำใหม่ไป ดังนั้นผู้ที่อยู่ดูแลจึงควรเข้าใจและอย่าไปโมโหหรือโกรธเวลาผู้ป่วยหลงลืมหรือจำอะไรไม่ถึงแม้เราจะบอกซ้ำๆแล้วก็ตาม

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์

ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มีพยาธิกำเนิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ พบว่า สารแอมีลอยด์ ( Amyoid ) และโปรตีนที่เรียกว่า เทา ( Tau ) ซึ่งทั้งสองตัวนี้ทำหน้าที่คล้ายกันกับนั่งร้านของเซลล์ ถ้าหากว่านั่งร้านของเซลล์เกิดความผิดปกติ จะทำให้เซลล์สมองฝ่อลง ทำให้ความจำเสื่อม
สารแอมีลอยด์จะกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมทันทีเมื่อยู่นอกเซลล์ ทำให้สมองเกิดการอักเสบและบวมในเนื้อสมอง พอสมองเกิดการอักเสบเซลล์เกลีย ( Glia ) จะเข้ามาทำลายหรือขจัดสารแอมีลอยด์ออกไป เม็ดเลือดขาวก็จะเข้ามาแทน ทำให้เกิดปฏิกิริยา และ การหลั่งสารหลั่งในสมองที่ชี้ว่าเป็นอาการสมองอักเสบ ( Inflammation ) เช่น สารอินเทอร์ลิวคิน ( Interleukins )

มาทำความรู้จักสารแอมีลอยด์ให้มากขึ้น

สารแอมีลอยด์จะมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ละลายได้ กับ ระยะที่ตกผลึก ซึ่งสารแอมีลอยด์นี้ถือว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบและทำลายเซลล์สมอง และสารแอมีลอยด์ยังเป็นตัวบ่งบอกทางชีวภาพ Biomarker ว่า มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เป็นตัวช่วยวินิจฉัยโรคโดยที่ไม่ต้องรอให้ผู้ป่วยเสียชีวิต โดยการนำน้ำไขสันหลังของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มาตรวจดูว่าสารแอมีนอยด์และโปรตีนเทา มีความผิดปกติมากหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้ถือว่าช่วยให้แพทย์คัดกรองผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลซัลเมอร์กับคนปกติได้อย่างชัดเจน ทำให้สะดวกและง่ายต่อการรักษาอาการต่างๆ ที่มาเกี่ยวพันธ์กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย ซึ่งตัวชี้วัดทางชีวภาพนี้ แสดงอกมาทางภาพถ่ายรังสีภาพถ่ายคลื่นไฟฟ้า ที่เราเคยเห็นกัน คือ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ภาพสมองดูสภาพของสมองว่าฝ่อ หรือเหี่ยว หรือทรุดโทรมไปแค่ไหน และดูการทำงานของสมองว่ามีการทำงานผิดปกติหรือไม่ หรือจะใช้การเอกซเรย์เพื่อดูสารแอมีนอยด์เฉพาะพิเศษ โดยการตรวจ Positron Emission Tomography Scan ( PET Scan ) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ตรวจเอกซเรย์ในอุโมงค์ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์จริงหรือไม่ 

โรคอัลไซเมอร์กับการรับรู้มิติสัมพันธ์และการใช้ภาษาบกพร่อง

นอกจากเรื่อง ความจำแล้วที่บ่งบอกว่าเป็นผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ยังมีอาการเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ การรับรู้มิติสัมพันธ์และการใช้ภาษาบกพร่อง หรือ ภาษาผิดเพี้ยน เช่น เราจะสังเกตว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มักจะเรียกชื่อสิ่งของ หรือวัตถุต่างๆไม่ถูกต้อง เมื่อผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีอาการรับรู้มิติสัมพันธ์บกพร่อง หรือ ผิดเพี้ยน ถึงขั้นระดับรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเดินหลงทาง หากมีญาติที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ระดับรุนแรง ต้องคอยเฝ้าดูผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพราะหากปล่อยให้อยู่คนเดียวอาจเดินหลงไปทางอื่นจนเกิดอันตรายได้

ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มักจะเรียกชื่อสิ่งของหรือวัตถุต่างๆไม่ถูกต้อง มีอาการรับรู้มิติสัมพันธ์บกพร่องหรือผิดเพี้ยน ถึงขั้นระดับรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเดินหลงทาง

เมื่อผู้ป่วยโรคอัลซัลเมอร์มีอาการรับรู้มิติสัมพันธ์บกพร่องหรือผิดเพี้ยนในระดับที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยยังสามารถอยู่บ้านได้ยังไม่หลง แต่จะเกิดอาการสับสน จำผิดจำถูกว่าตัวเองอยู่ที่ไหน เป็นพักๆ เมื่อนอนหลับแล้วตืนขึ้นมา จะไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน ดังนั้น ผู้ที่ดูแลต้องจัดบ้านให้อยู่ในสภาพเดิมตลอด อย่าปรับเปลี่ยน เช่น เคยวางรูปภาพ แจกัน นาฬิกา ก็วางตรงนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่สภาพคุ้นชินกับสภาพแวดล้อม ทำให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตได้ ไม่หงุดหงิด ไม่ฟุ้งซ่าน จนเกิดอาการจิตตามมา แต่หากมีการรับรู้มิติสัมพันธ์บกพร่องระดับรุนแรง จะเรียกสิ่งที่อยากได้ไม่ถูก ไม่รู้เรียกว่าอะไร หรือบางรายจะชอบเก็บข้าวของเก่าๆไว้ แล้วก็เกิดอาการหวงของ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการและพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์

ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

ขั้นเริ่มต้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีความผิดปกติด้านอารมณ์ คือ จะมีอาการเฉยชา นิ่งเฉย และจะค่อยๆซึมเศร้า แต่อาการซึมเศร้าของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะไม่ได้แสดงออกว่าเสียใจ หรือท้อแท้หมดหวัง แต่แค่นั่งนิ่งๆ เฉยๆ ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากขยับตัว ไม่อยากกิน อยากอยู่เฉยๆ     

ระดับกลาง ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีอาการเริ่มรุนแรงมากขึ้น คือ จะเห็นภาพหลอน เห็นคนเสียชีวิตไปแล้ว หรือคนที่รู้จักสมัยก่อนมาเยี่ยม ซึ่งคนเหล่านี้จะเป็นคนที่มีความผูกพัน เช่น สามี ภรรยา หรือบางรายมักจะคิดว่ามีคนมาขโมยของ หรือบางรายถึงขั้นคิดว่าบ้านที่ตัวเองอยู่ไม่ใช่บ้านของตัวเอง แต่ก็ไม่รู้ว่าของตัวเองอยู่ตรงไหน

ระดับสูง ผู้ป่วยมีอาการหนักจะจดจำเรื่องราวอะไรไม่ได้ ถึงขนาดจำสามีของตัวเองไม่ได้และไม่รู้ว่าคนที่เป็นสามีอยู่ตรงหน้านี้เป็นใคร ถ้าผู้ป่วยมีอาการถึงขั้นนี้ต้องใช้อดทนและความเอาใจในการดูและเป็นพิเศษ การเข้าไปช่วยเหลือหรือดูแลผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์ บางครั้งผู้ป่วยจะไม่เข้าใจ เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว หรือทำธุระส่วนตัวต่างๆ ผู้ป่วยจะไม่ชอบให้ผู้ดูแลเข้าไปยุ่ง ซึ่งก็น่าแปลกว่าที่ผู้ป่วยยังรู้ว่ามันเป็นธุระส่วนตัว ไม่ต้องการให้ใครมายุ่ง อัลไซเมอร์จะแสดงอาการออกทันที จึงมักแสดงอาการก้าวร้าวออกมา ส่วนผู้ป่วยบางรายหากดูแลไม่ดี ก็มักจะมีอาการเดินไปอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ทำให้หลงทางอยู่บ่อยๆ การดูแลญาติๆควรพยายามเล่าเรื่องในอดีตให้ฟัง เพื่อรื้อฟื้นความจำเก่าๆ เช่น สถานที่ เพื่อนสมัยเรียน ละคร ดาราสมัยก่อน แต่อย่าเล่าเรื่องใหม่ๆ เพราะผู้ป่วยจะสับสนจนตามไม่ทัน

โรคอัลไซเมอร์ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน

เชื่อไหมว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน มีมากถึงร้อยละ 10 ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงพอสมควร เป็นอาการที่เรียกว่าสมองเสื่อมก่อนวัย ( Early Onset Dementia ) ส่วนมากคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจะมีประวัติว่าคนในครอบครัวหรือญาติเคยเป็นอัลไซเมอร์ ซึ่งมักจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น อาการชัก ร่างกายอ่อนแรงครึ่งซีก หรือขาสองข้างอ่อนแรง อาการจะแตกต่างจากผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ของวัยหนุ่มสาวมักแสดงอาการเร็วกว่าวัยผู้สูงอายุ โดยนับตั้งแต่อาการเริ่มต้นที่เป็นอัลไซเมอร์ จนถึงอาการหลงลืม เดินหลงทาง ผู้สูงอายุจะใช้เวลาถึง 7 ปี แต่ในวัยหนุ่มสาวจะใช้เวลาแค่ 3 ปี สาเหตุที่เป็นแบบนี้เกิดจาก มีสารพันธุกรรมผิดปกติอยู่ในตัว ทำให้วัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคนมีสารแอมีลอยด์ในอัตราสูง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเสียชีวิตเร็วกว่า

โรคอัลไซเมอร์ที่เกิดจากการติดเชื้อ

ผู้ป่วยโรคนี้ลักษณะการเสียชีวิตจะเกิดจากการติดเชื้อ เพราะว่าในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยมักจะขยับตัวไม่ได้หรือขยับตัวลำบาก เนื่องจากสมองไม่ทำงานและไม่สั่งการ ทำให้พูดไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ ทำได้เพียงแค่นอนลืมตาเฉยๆ เวลาป้อนอาการจึงทำให้สำลักอาหารบ่อยๆ และติดเชื้อทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ระบบปัสสาวะ หรือเกิดแผลกดทับ ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยร้อยละ 10 จะมีอาการชัก และเสียชีวิตจากการติดเชื้อ การเสียชีวิตของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ยังมีจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวานจนไตวาย เพราะในปัจจุบันการรักษาโรคอัลไซเมอร์สามารถชะลอการเดินทางของโรคทำให้อยู่ได้นานขึ้น ไม่ใช่แค่รักษาอาการ จนมีโรคแทรกซ้อนเข้ามา และเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน ก่อนที่จะเสียชีวิตจากโรคอัลไซเมอร์ 

https://www.youtube.com/watch?v=8Unm6uhreks

การรักษาโรคอัลไซเมอร์

ก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย ต้องรักษาอย่างทันท่วงที มีญาติของผู้ป่วยหลายคนพบว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เมื่อได้รักษาด้วยการรับยา จะรู้ว่าเหมือนยาอายุวัฒนะ เพราะผู้ป่วยจะมีอายุยืนยาว ทั้งที่ตอนแรกไม่คิดว่าจะอยู่ได้นาน เมื่อเทียบกับญาติอีกคนที่ไม่ได้เป็นโรคอัลไซเมอร์กลับเสียชีวิตก่อนด้วยโรคอื่น แต่ในปัจจุบันข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะอายุยืนเพราะยารักษาอัลไซเมอร์เพียงอย่างเดียว เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่กินยา แต่ผู้ป่วยที่ไม่กินยารักษา จะมีอาการรุนแรง คือ ก้าวร้าว หลงผิด เอะอะโวยวาย มากกว่าผู้ป่วยที่กินยา ซึ่งต่อมาก็มักจะมีอาการแทรกซ้อน จนเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต

ดังนั้น สำหรับการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ที่อาการยังไม่รุนแรงมาก ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมบ่อย ฝึกลับสมองบ่อย เพื่อให้สมองมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น การออกกำลังกาย ฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกจำสิ่งของ อย่างน้อย วันละ 120 นาทีต่อสัปดาห์ และพยายามควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างที่จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ ช่วยปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารโดยการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ก็จะช่วยทำให้อาการชะลอในการเป็นอัลไซเมอร์ หรือสมองเสื่อมได้

การรักษาโรคอัลไซเมอร์โดยการใช้ยา

ยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ยังไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่เป็นกลุ่มยามาตรฐาน เพราะว่ายามีราคาสูง และใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์บางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งยารักษาโรคอัลไซเมอร์นี้เป็นยาในกลุ่มต้าน Acetylcholinestesterase ใช้ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงไปจนถึงระยะที่รุนแรงและยังมียาในกลุ่มต้านตัวรับสารสื่อประสาท NMDA ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการป้องกันไม่ให้เซลล์แตกสลาย และยังช่วยป้องกันกระบวนการตายของเซลล์ ( Apoptosis ) ไม่ให้มีแคลเซียมซึมเข้าไปในเซลล์สมอง ยากลุ่มนี้จะนำมาใช้กับผู้ป่วยระยะกลางกับระยะรุนแรง

การรักษาโรคอัลไซเมอร์แบบไม่ใช้ยา

ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่ไม่อยากใช้ยาในการรักษา ควรให้ผู้ป่วยได้ฝึกสมองในหลายๆด้าน เช่น การฝึกทักษะในการเตือนความจำ เกี่ยวกับ เวลา สถานที่ การเต้นรำ เล่นหมากรุก หมากฮอส หรือให้เล่นเกมต่างๆที่ต้องใช้ความคิด ซึ่งวิธีเหล่านี้ต้องค่อยๆทำทีละน้อยแต่ทำทุกวัน ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควร แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไป ผู้ดูแลอย่าพยามยัดเยียดให้ผู้ป่วยเรียนรู้หรือฝึกทีละเยอะๆหรือนานต่อเนื่องจนเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้เครียด ค่อยๆเป็นค่อยๆจะดีกว่า

การฟื้นฟูสภาพร่างของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

การฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเดิน หรือเคลื่อนตัว ขยับตัวได้ โดยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ เพื่อไม่ให้ข้อติด และควรฝึกให้ผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการเดิน เช่น ไม้เท้า คอกช่วยเดิน หรือรถเข็ญ ให้ผู้ป่วยได้ทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระและเกิดความปลอดภัย โดยการฝึกให้ลูกจากเตียงแล้วมานั่งที่เก้าอี้ ผู้ป่วยบางกลุ่มอาจจะต้องใช้วิธีธาราบำบัด คือ การดึงกล้ามเนื้อ การประคบร้อน ประคบเย็น การใช้เคลื่อนเสียง การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ประสานกัน เพราะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมักมีปัญหาในการเคลื่อนไหว สิ่งสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ได้อีกอย่างก็คือ การดูแลสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ให้ผู้ป่วยได้ดำเนินชีวิตด้วยความปลอดภัย ปรับปรุงห้องนอนกับห้องน้ำให้อยู่ใกล้กัน หลีกเลี่ยงการใช้กลอนประตูแบบล็อกจากด้านใน เพราะหากผู้ป่วยเผลอล็อกอาจจะออกมาไม่ได้ และการช่วยเหลือก็จะลำบาก พื้นบ้านก็ควรเป็นพื้นเรียบ ระดับดับเดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยหกล้ม หรือการจัดวางสิ่งของควรวางอยู่จุดเดิม อย่าเปลี่ยนมุมบ่อย เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยจดจำไม่ได้และจำไม่ได้ว่าตัวเองอยู่บ้าน ดังนั้น ผู้ดูแลควรมีความอดทน และเข้าใจอาการของผู้ป่วยอย่างมาก เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันได้ และสามารถดูแลผู้ป่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันโดยเกิดปัญหาน้อยที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

ขอคุณคลิปความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

Luk KC, Kehm V, Lee VM, et al. (2012). Pathological alpha-synuclein transmission 
initiates Parkinson-like neurodegeneration in nontransgenic mice. Science. 338 : 949-953.

de Calignon A, Polydoro M, Suarez-Calvet M, et al. (2012). Propagation of tau pathology 
in a model of early AD. Neuron. 73(4) : 685-697.

ผลข้างเคียงจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด

0
ผลกระทบจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและเคมีบำบัด
ผลข้างเคียงจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด
ผลข้างเคียงในผู้ป่วยจากการรักษาร่วมระหว่างการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด

ผลข้างเคียงในการรักษามะเร็งจากการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัด

ผลข้างเคียงในผู้ป่วยที่เข้ารักการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด ผลข้างเคียงไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งทุกคน ดังนั้นผลข้างเคียงจะรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1. เกิดกับอวัยวะเดียวกัน ความเจ็บปวดนี้เกิดเนื่องจากเคมีและรังสีที่ใช้ในการรักษาเข้าไปทำปฏิกิริยากับอวัยวะเดียวกัน แต่แคมีและรังสีนั้นไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆกันทั้งสิ้น ส่งผลให้อวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากทั้งเคมีและรังสีเกิดความเจ็บปวดที่รุนแรงและมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียอวัยวะส่วนนั้น

2. เคมีบำบัดเสริมให้รังสีทำงานได้มากขึ้น ความเจ็บปวดกรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับการฉายรังสีเข้าไป แล้วมีการให้เคมีบำบัดเข้าไป ซึ่งเคมีบำบัดที่ได้รับเข้าไปนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของรังสีที่ฉายเข้าให้สามารถทำงานได้มากขึ้น ส่งผลให้ความเสียหายของเนื้อเยื่อเป้าหมายที่ต้องการทำลายเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จึงเกิดความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นนั่นเอง

3. การทำงานร่วมกันของเคมีบำบัดและรังสี เป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อมีการรักษาด้วยการฉายรังสีและเคมีบำบัดพร้อมกันหรือต่อเนื่องกันทันที แต่ความเจ็บปวดนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือฉายรังสีเพียงอย่างเดียว ซึ่งสันนิฐานว่าเคมีที่ใช้รักษากับรังสีทำปฏิกิริยาแบบเสริมกันส่งผลให้ความรุนแรงในการทำลายเซลล์เพิ่มมากขึ้น

4. รังสีช่วยให้เคมีบำบัดทำงานได้ดีขึ้น เป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อมีการรักษาด้วยการให้เคมีและมีการฉายรังสีเข้าไปด้วยเพื่อเข้าไปกระตุ้นให้เคมีสามารถทำงานได้ดีขึ้นในการทำลายเซลล์มะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็ง เพื่อที่จะกำจัดมะเร็งทั้งชนิดที่เกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่และมะเร็งชนิดที่แพร่กระจายให้หมดไปจากตัวผู้ป่วยอย่างสิ้นเชิง เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป ดังนั้นการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดและการฉายรังสีจึงเป็นทางเลือกที่ดีสุดในปัจจุบันนี้ ยาเคมีบำบัดในอุดมคติที่ทั้งแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยต้องการก็คือ  ยาที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการแพร่กระจายได้อย่างสิ้นเชิงและเข้าไปช่วยเสริมประสิทธิภาพของการฉายรังสีให้สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันรังสีที่ฉายก็ต้องทำลายเซลล์มะเร็งในส่วนที่ยาเคมีบำบัดไม่สามารถทำลายได้อย่างหมดสิ้น ปัจจุบันนี้การรักษาด้วยการฉายรังสีและเคมีบำบัดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดก็ตาม แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยสองวิธีนี้ก็ยังมีอยู่มากทีเดียว ผลกระทบมีทั้งที่เป็นแบบเฉียบพลันและแบบระยะยาวหลังจากการรักษา ซึ่งผลกระทบนี้ไม่มีความแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นแบบใดและเมื่อใดได้แต่เป็นการคาดเดาล่วงหน้าเท่านั้น

การทำความเข้าใจอย่างท่องแท้ถึงปฏิกิริยาที่สร้างความเจ็บปวดในการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีนั้น เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากเพราะว่ามีปัจจัยหลายตัวที่เข้ามามีผลทั้งวิธีการให้เคมี วิธีการฉายรังสี ความเข้มข้นของเคมี ความเข้มข้นของรังสี จำนวนครั้ง ระยะเวลาระหว่างการให้เคมีและการฉายรังสี ทุกอย่างมีผลต่อความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันแพทย์และผู้เชี่ยวชาญกำลังทำการศึกษาหาข้อมูลเพื่อที่จะได้ออกแบบการรักษาที่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุดและสร้างผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยน้อยที่สุด

ผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสี

ผลกระทบแบบเฉียบพลัน

ผลกระทบแบบเฉียบพลัน คือ ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยกำลังทำการรักษาอยู่หรือว่าเกิดขึ้นทันทีหรือไม่กี่วันภายหลังจากได้รับการรักษา ผลกระทบแบบเฉียบพลันมักเกิดจากการให้เคมีบำบัดเสียมากกว่า ซึ่งผลกระทบแบบนี้สามารถลดหรือทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ด้วยการปรับเปลี่ยนขนาดของยา สูตรยา ระยะเวลาในการให้มีค่า Tolerance ให้เหมาะสมกับตัวผู้ป่วย

ผลกระทบแบบเรื้อรัง

ผลกระทบแบบเรื้อรัง คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการรักษาได้เสร็จสิ้นไปแล้วเป็นเดือนหรือเป็นปี หรือหลายปี ซึ่งผลกระทบแบบเรื้อรังนี้ส่วนมากจะเป็นผลกระทบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเสียมากกว่า เพราะว่าผู้ป่วยบางรายก็มีผลกระทบแบบนี้เกิดขึ้นแต่บางรายก็ไม่มีผลกระทบเกิดขึ้น จึงไม่แน่นอนว่าผู้ป่วยทุกคนจะเกิดผลกระทบเช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งผลกระทบแบบนี้มักจะเกิดจากการฉายรังสีเพราะว่าการรักษาแต่ละครั้งนั้นใช้ปริมาณรังสีน้อย แต่เมื่อทำการรักษาหลายครั้งจะมีการสะสมของรังสีในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการรักษาด้วยรังสีจึงจะส่งผลในระยะยาว

ทั้งผลกระทบเฉียบพลันและผลกระทบเรื้อรังนั้นไม่สามารถคาดเดาได้อย่างแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นอย่างไรและเมื่อใด และถึงแม้ว่าในการรักษาจะเกิดผลกระทบเฉียบพลันแต่ก็ยังยืนยันไม่ได้ว่าจะเกิดผลกระทบในระยะยาว หรือในการรักษาไม่เกิดผลกระทบระยะสั้นก็ใช่ว่าจะไม่เกิดผลกระทบระยะยาว การที่จะรู้ว่าจะเกิดผลกระทบระยะแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการศึกษาแบบ Clinical และแบบ Subclinical การรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีล้วนแต่สามารถสร้างผลกระทบกับเซลล์ได้ทั้งสิ้น

ดังนั้นเมื่อมีการฉายรังสีก่อนก่อให้เกิดความเสียหายระดับ Subclinical เมื่อมีการให้เคมีบำบัดในเวลาต่อมาก็จะสามารถแสดงผลทาง Clinical ออกมาให้เห็นได้ เช่น การรักษาเด็กที่เป็น Wilms’tumor ด้วยการให้ฉายรังสีก่อนแล้วจึงให้เคมีบำบัดด้วยยา Dactinomycin เด็กจะมีอาการ Radiation Recall ที่บริเวณผิวหนัง อาการที่ผิวหนังที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้วหลายเดือน และเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่ได้รับการฉายรังสีโดยตรงเท่านั้น แสดงว่าการให้ฉายรังสีหลังจากการให้เคมีบำบัด จะทำให้อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในระดับ Subclinic นั่นแสดงอาการออกมาให้เห็นหรือแสดงอาการในระดับ Clinic นั่นเอง และอาการที่เกิดขึ้นในระยะยาวอาจจะก็ให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว เช่น ในการรักษาที่เกิดปอดอักเสบ ( Pneumonitis ) ที่เกิดจาการได้ฉายรังสีหลังจากที่ได้รับยา Dactinomycin หรือ Enteritis หรือ Severe Proctitis เป็นต้น

จากผลกระทบที่ได้รับเนื่องจากการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดจึงได้มีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อปกติ จึงได้มีการกำหนดค่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อว่า “Tolerance Dose” โดยมีค่า TD5/5 และ TD50/5 คือ แนวโน้มการเกิดผลกระทบที่ 5 % และ 50% เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี เมื่อคิดออกมาได้ค่า TD5/5 ควรอยู่ในระดับที่ต่ำจึงถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัยที่สุด แต่ก็ขึ้นอยู่กับความว่องไวของอวัยวะที่ได้รับการฉายรังสีด้วย ดังนั้นแนวคิดของ Dose Volume Histogram มีประโยชน์ต่อการคาดคะเนปริมาณรังสีที่อยู่ในระดับปลอดภัย
โดย Philips และ Fu ได้เสนอสูตร Dose Effect Factor (DEF) ว่าการวัดปริมาณ Relative Combine Effect ระหว่างยากับรังสีในเนื้อเยื่อชนิดปกติ วัดได้จากสูตร

DEF = ปริมาณรังสีที่ให้โดยไม่มียาเคมีบำบัดที่ส่งผลทางชีวภาพ / ปริมาณรังสีที่ให้รวมกับยาเคมีบำบัดแล้ดส่งผลทางชีวภาพ

ในการรักษามะเร็งค่า DEF นั้นควรมีค่ามากกว่า 1 นั่นคือ เซลล์มะเร็งควรโดนทำลายโดยรังสีได้มากกว่าการใช้รังสีร่วมกับการให้เคมีบำบัด แต่สำหรับเซลล์เนื้อเยื่อปกติควรมีค่า DEF น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้และต้องมีค่าต่ำกว่าค่า DEF ของเนื้อเยื่อมะเร็งด้วย ซึ่งค่าความแตกต่างนี้จะช่วยสำหรับ Therapeutic Gain สำหรับการเลือกใช้เคมีบำบัดและการฉายรังสีที่มีผลต่อเนื้อเยื่อมะเร็งและเนื้อเยื่อปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น

ค่า DEF ได้ถูกคิดค้นมาเพื่อชี้ถึงผลของเคมีบำบัดต่อปริมาณรังสีที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบกับเซลล์เนื้อเยื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึกถึงก็คือการทำลายเซลล์มะเร็งที่ดีที่สุดก็ต่อเมื่อการให้ยาและรังสีไม่เกิน Normal Tissue Dose Limits ด้วย

ความเกี่ยวข้องของการรักษามะเร็ง กับปฏิกิริยาต่อกันระหว่างรังสีและเคมีบำบัด

การรักษาด้วยรังสีและเคมีบำบัดนอกจากจะมีผลในการทำลายหรือสร้างความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อมะเร็งแล้ว ยังส่งผลกระทบกับเนื้อเยื่อปกติด้วย ซึ่งตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อปกติมีดังนี้

1. ผู้ป่วย ปัจจัยที่มาจากตัวผู้ป่วย เช่น โรคทางพันธุกรรมของผู้ป่วย เพศ อายุ เป็นต้น

2. วิธีการรักษา วิธีการที่ใช้ในการรักษามีส่วนที่จะสร้างผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติ

3. ลักษณะของมะเร็ง อวัยวะที่เกิดมะเร็ง ขนาดของมะเร็ง อายุของมะเร็ง ล้วนแต่มีผลต่อเนื้อเยื่อปกติทั้งสิ้น

4. Relative Timing ระยะเวลาสัมพันธ์ในการรักษาของแต่ละวิธี

แผนการรักษามะเร็งด้วยรังสีและเคมีบำบัด

แผนการรักษาที่นำมาใช้ในรักษาผู้ป่วยนั้น มีอยู่ด้วยกันหลากหลาย ซึ่งการเลือกใช้แผนและสูตร การรักษาโรคมะเร็ง จะขึ้นอยู่กับ

1. Neoadjuvant ซึ่งจะมีการให้ยาเคมีบำบัดก่อนจึงจะทำการฉายรังสีต่อในภายหลัง

2. Alternating คือ การรักษาที่มีการให้ยาเคมีบำบัดสลับการฉายรังสี ( Sandwich ) โดยมีการเว้นระยะในการให้เคมีบำบัดและฉายรังสีอย่างชัดเจน

3. Simultaneous / Concurrent / Concomitant คือ การรักษาโดยการให้เคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีในการรักษาโรคมะเร็ง

4. Adjuvant คือ การรักษาโรคมะเร็ง โดยการฉายรังสีก่อนและทำการให้เคมีบำบัดในภายหลัง

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างเคมีบำบัดและการฉายรังสี

วิธีการรักษามีอยู่หลายวิธีข้างต้น แต่การเลือกการรักษาจะเลือกที่มีอัตราการรักษา ( Therapeutic Ration) ดีที่สุดหรือดีขึ้น ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างเคมีบำบัดและการฉายรังสีนั้นสามารถแยกออกได้ ดังนี้

1. ประสิทธิภาพลดลง ( Diminished Activity ) คือ การที่ปฏิกิริยาระหว่างเคมีบำบัดกับการฉายรังสี โดยที่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นส่งผลให้การทำลายเซลล์มะเร็งมีค่าลดลง เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว ผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกได้เป็น

1.1 Inhibition ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นเมื่อทำการด้วยการรักษาทั้งสองวิธีมีค่าอยู่ระหว่างค่าประสิทธิภาพต่ำสุดและประสิทธิภาพสูงสุด

1.2 Antagonism ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นเมื่อทำการด้วยการรักษาทั้งสองวิธีมีค่าต่ำกว่าค่าประสิทธิภาพต่ำสุดของแต่การรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง 

2. ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ( Increased Activity ) คือ การที่รักษาด้วยทั้งสองวิธีสามารถจำกัดเซลล์มะเร็งได้มากกว่า การรักษาโรคมะเร็ง ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว และไม่ส่งผลกระทบหรือส่งผลกระทบน้อยมากต่อเนื้อเยื่อปกติ วิธีที่นำมาใช้ร่วมกันควรเป็นวิธีที่มีกลไกในการทำลายเซลล์มะเร็งเหมือนหรือคล้ายกันมากที่สุด แต่กลไกการเกิดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติควรต่างกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องลดปริมาณยาและรังสีให้น้อยลง แต่ผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติกลับน้อยลงนั่นเอง ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกได้เป็น

2.1 ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ( Sub Additive Effect ) ผลการรักษาเพิ่มขึ้นจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพียงวิธีเดียว แต่ว่าผลการรักษาที่เพิ่มขึ้นมีค่าน้อยกว่าผลรวมของการรักษาด้วยเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวกับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว

2.2 ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาก ( Additive Effect ) คือ การที่ผลการทำลายมะเร็งด้วยการรักษาทั้งสองแบบรวมกัน มีค่าเท่ากับผลรวมของ การรักษาโรคมะเร็ง ด้วยเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวกับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว

2.3 ประสิทธิภาพแบบทวีคูณ ( Enhanced Effect / Supra Additive Effect ) การที่ผลการทำลายมะเร็งมีค่ามากกว่าเป็นทวีคูณกับผลรวมของการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวกับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว

ความเสียหายในหลอดเลือดจะพบภายหลังการฉายรังสีเท่านั้น จะไม่พบภายหลังการให้เคมีบำบัด ถึงแม้ว่าจะไม่พบหลังการให้เคมีบำบัด

การรักษาย่อมที่จะต้องการสูตรการออกแบบที่ช่วยให้ยามีฤทธิ์เสริมกัน แต่ก็เป็นการยากที่จะกำหนดอย่างชัดเจนว่าใช้วิธีการแบบนี้แล้วจะได้ผลอย่างไร เพราะว่าเส้นตรงของการตอบสนองหรือ Dose Response Curve ที่บ่งบอกถึงความจำเพาะในการรักษาทั้งสองแบบนั้นยังไม่มีค่าที่แน่ชัดพอ แต่ การรักษามะเร็ง ทั้งสองแบบนี้ก็สามารถจำกัดเซลล์มะเร็งได้แต่ค่า Dose Effect Curve ไม่เป็นเส้นตรงเช่นเดียวกัน ทฤษฏีนี้ไม่สามารถใช้ได้กับยาที่มีฤทธิ์เป็น Sensitive และ Protector เช่น Halogenated Pyrimidine เป็นต้น เพราะยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องอาศัยยาชนิดอื่นเข้ามาช่วยจึงจะสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ รวมถึงยาที่ใช้ในการปกป้องเนื้อเยื่อปกติจากการฉายรังสีด้วย

ความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด

เซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งจะมีวัฏจักรของเซลล์ ( Cell Cycle Kinetics ) ต่างจากเซลล์ปกติ คือมีการเจริญเติบโตมากกว่า สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ดีกว่าเซลล์ปกติ ดังนั้นผลของยาที่ใช้ในการจำกัดเซลล์มะเร็งจะมีค่าต่างกันขึ้นอยู่กับว่ายาที่ใช้นั้นออกฤทธิ์ในช่วงวัฏจักรใดของเซลล์อย่างจำเพาะหรือว่าออกฤทธิ์ในช่วงระยะพัก ( Resting Phase ) ด้วยหรือไม่ เซลล์ที่อ่อนแอที่สุด คือ เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ที่อยู่ในวัฏจักรการกำเนิดของเซลล์ ไม่เหมือนกับเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในระยะ Go หรือ G1 ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในวัฏจักรจึงสามารถรอดพ้นจากการทำลายด้วยฤทธิ์ของยาที่มีการออกฤทธิ์เฉพาะในระยะ S-Phase

เซลล์ปกติบางชนิดก็สามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว เช่น ไขกระดูก เซลล์ ระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น เซลล์นี้จะมีการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วแต่ว่าก็ถูกทำลายได้ง่ายเช่นกัน ซึ่งเมื่อโดนทำลายจะแสดงอาการเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน แต่ในเซลล์ที่มีการซ่อมแซมตัวเองได้ช้ากลับสามารถทนต่อการใช้ยาเคมีบำบัดได้สูงกว่าทั้งระยะสั้นและระยะยาว แต่การที่จะเกิดร่างกายจะแสดงออกถึงผลกระทบที่ว่านี้ได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ใช้ในการรักษาด้วยเช่นกัน การแสดงออกของอาการดังกล่าวไม่ใช่ว่าเซลล์ทั้งหมดจะตายไป แต่เป็นการลดจำนวนของเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) ที่สร้างสำรองไว้แทน นั่นคือ พบว่าหลังจากที่มีการให้เคมีบำบัดกับผู้ป่วยแล้ว จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูกมีค่าน้อยลง ส่งผลให้เซลล์เนื้อเยื่อปกติมีจำนวนน้อยลงตามไปด้วย ในช่วงแรกความเสียหายที่เกิดจากสูตรยาอาจจะทำการฟื้นฟูมาได้ แต่ทว่าถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นซ้ำๆ แล้วความเสียหายก็จะไม่อาจฟื้นฟูกลับมาได้อีก

ความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสี

ความเสียหายของเซลล์ที่เกิดจากการฉายรังสีจะขึ้นอยู่กับ Mitotic Behavior และ State of Differentiation ของเซลล์ นั่นคือ เซลล์ที่อยู่ในสภาวะกำลังเจริญเติบโตจะมีความว่องไวต่อรังสีมากกว่าเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่หรือเซลล์ที่ทำงานได้เต็มที่แล้ว โดยปกติแล้วเซลล์จะมีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองอยู่แล้ว แต่ว่าจะมีความสามารถในการฟื้นฟูช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ด้วย นั่นแสดงว่า เซลล์ที่สามารถฟื้นฟูสภาพหลังจากการได้รับการฉายรังสีได้เร็วมักจะเป็นเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) ที่เพิ่มจำนวนและแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่หรือเซลล์ตามอวัยวะของร่างกายนั้นจะมีการฟื้นตัวได้ช้า ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้โดย Parenchyma Cell Compartment ที่ Turn Over อย่างเชื่องช้าแต่มักจะมีการ Differentiate และทำการแบ่งตัวเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ Parenchyma Cell ที่เกิดเจริญเติบโตจนเต็มที่แล้ว บางครั้งอาจจะกลับมามาเป็นเซลล์ต้นกำเนิดและเพิ่มจำนวน Parenchyma Cell ที่เกิดความเสียหายให้กลับเข้าสู่สภาพปกติ แต่ทว่าการกลับของเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่กลายมาเป็นเซลล์ต้นกำเนิดนั้นไม่ค่อยพบในอวัยวะในร่างกาย

เนื้อเยื่อที่จะได้รับผลกระทบแบบเฉียบพลัน คือ ระบบทางเดินอาหาร ผิวหนังและไขกระดูก ส่วนระยะเวลาที่จะแสดงออกถึงความเสียหายที่เซลล์จะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับอัตรา Turn Over ของเซลล์

ผลกระทบแบบเรื้อรังที่เกิดจากการฉายรังสี เกิดขึ้นเนื่องจาก Functional Paraenchyma Cell หยุดการทำงานและเซลล์สูญเสียประสิทธิภาพในการสร้างเซลล์เพื่อมาทดแทนเซลล์ที่เสียหายไปในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีความเสียหายที่เกิดจากระบบไหลเวียนเลือด โดยการเกิดพังผืดภายในหลอดเลือด ( Arterio Capillary Fibrosis ) ซึ่งความเสียหายแบบนี้เป็นความเสียหายระยะยาวที่ไม่สามารถทำการรักษาให้หายได้และยังส่งผลให้ Paraenchyma Cell มีจำนวนลดลง ผลความเสียหายระยะยาวนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มข้นของรังสีที่ใช้ในการรักษาและเมื่อผ่านไปเป็นระยะเวลายาวนานขึ้นปริมาณรังสีจะลดลง

ความเสียหายที่เกิดจากการรักษาร่วมกันของเคมีบำบัดและการฉายรังสี

การที่ใช้เคมีบำบัดและการฉายรังสีก็เพื่อประสิทธิภาพใน การรักษาโรคมะเร็ง ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งให้ได้มากขึ้นและมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติน้อยที่สุด ซึ่ง Philip และ Fu ได้เสนอกลไกการทำงานร่วมกันของเคมีบำบัดและการฉายรังสีไว้ว่า “ กลไลทางสรีรวิทยา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเข้มข้นของยาเคมีบำบัดที่เพิ่มเข้าไปในเนื้อเยื่อและระยะเวลาที่เนื้อเยื่อทำการสัมผัสกับตัวยา นอกจากนั้นยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของเซลล์ด้วย โดยที่การฉายรังสีจะเข้าไปเพิ่มการหมุนเวียนของเลือดไปยังเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาหลังจากที่ก้อนมะเร็งฝ่อลงแล้ว ส่วนเซลล์ปกติก็จะช่วยกระจายความเข้มข้นของยา ” ในกลุ่มของเซลล์ที่อยู่ในสภาวะ Hypoxia จะมีจำนวนลดลงเพราะการหมุนเวียนของเลือดที่ดีขึ้นจะพาออกซิเจนจึงช่วยลดเซลล์ที่อยู่ในสภาวะ  Hypoxia ลง เมื่อเซลล์มะเร็งมีขนาดลดลงด้วยการยาเคมีหรือการฉายรังสีแล้ว มีการรักษาต่อด้วยอีกวิธีหนึ่ง การทำลายเซลล์มะเร็งก็จะได้ผลดีขึ้นตามไปด้วยเพราะเซลล์มะเร็งมีการตอบสนองต่อการรักษาที่ได้รับทำให้เซลล์มะเร็งมีขนาดลดลงอย่างเห็นได้ชัด และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของยาได้โดยการเพิ่มการ Delivery เพื่อช่วยให้ยาเข้าสู่เซลล์ได้มากขึ้นด้วย 

ข้อมูลการฟื้นฟูและรอดชีวิตของเซลล์ภายหลังจากการฉายรังสีมีคำอธิบายมากมาย แต่ทว่าการฟื้นตัวและการรอดชีวิตหลังจากที่ได้รับเคมีบำบัดนั้นกลับไม่มีคำอธิบายที่สามารถอธิบายได้เล็กน้อยมาก ซึ่งข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มีเพียงแค่ผลของยาต่อ Radiation Dose Response Curve เท่านั้น เช่น ยา Dactinomycin และยา Cisplatin ที่มีคุณสมบัติเป็น DNA Intercalator ที่สามารถเข้าไปช่วยเพิ่มความชันของ Radiation Dose Response จึงใช้เป็นการอธิบายถึงการเสริมฤทธิ์ของกันและกันในการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการรักษาด้วยการฉายรังสี

นอกจากข้อสันนิฐานดังที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกหนึ่งกลไกที่สามารถช่วยอธิบายถึงการเสริมกันด้วยการรักษาเคมีบำบัดและการฉายรังสี นั่นคือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดก่อนนั้น เคมีบำบัดจะเข้าไปยับยั้งการซ่อมแซมตัวเองของเซลล์ เมื่อทำการฉายรังสีไปแล้ว และสามารถสังเกตได้จากค่า DEF เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งค่านี้จะไปในแนวเดียวกับจำนวนของ Radiation Fraction ที่มีค่าเพิ่มขึ้นด้วย

นอกจากนั้นยังได้มีการศึกษาถึงความซับซ้อนของปฏิกิริยาระหว่าง การรักษามะเร็ง ด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการแสดงให้เห็นว่าในการเปลี่ยนแปลงของสเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดหลังจากที่ทำการรักษาด้วยวิธีการทั้งสองแล้ว Kovacs พบว่าความเสียหายของการให้เคมีบำบัดที่เกิดขึ้นทั้งในระยะเฉียบพลัน ระยะเรื้อรังและผลเสียหายที่หลงเหลืออยู่กับสเต็มเซลล์นั้นขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ใช้ในการรักษา เช่น Doxorubicin จะส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อสเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดที่อยู่ในระยะกำลังพัฒนาไปสู่ระยะที่เจริญเต็มที่แล้ว ซึ่งสเต็มเซลล์ชนิดนี้มักจะอยู่ในไขกระดูก จึงส่งผลให้ไขกระดูกมีความว่องไวต่อรังสีมากขึ้น ซึ่งผลกระทบหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจะเป็นแบบเฉียบพลันมากแต่ก็มีแบบเรื้อรังตามมาภายหลังด้วย ส่วนยา 5-Fluorouracil และยา Cyclophosphom กลับส่งผลต่อสเต็มเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ส่งผลให้สเต็มเซลล์ที่โตเต็มที่มีความว่องไวต่อการรักษาด้วยรังสีมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า การรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัดมีผลกระทบต่อเซลล์สเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดและยังสามารถช่วยเพิ่มความ ว่องไวต่อการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีได้ด้วย ซึ่งค่าความว่องนี้ยังส่งผลกระทบต่อการสร้าความเสียหายที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการฉายรังสีต่อไปด้วย นั่นคือผลของความเสียหายจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ความเสียหายของสเต็มเซลล์ในขณะที่มีการใช้เคมีบำบัด แล้วส่งผลต่อความเสียหายที่จะได้รับในการฉายรังสี และยังรวมถึงการลดค่าความสามารถในการฟื้นฟูและซ่อมแซมตัวเองของเซลล์อีกด้วย

การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมีผลกระทบต่อเซลล์สเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดและยังสามารถช่วยเพิ่มความว่องไวต่อการรักษาด้วยการฉายรังสีได้ด้วย

ดังนั้น Dose Response Curve ที่ต้องการหรือในอุดมคติของผู้ทำการรักษาและผู้เข้ารับการรักษาในการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีน่าจะถูกกำหนดสำหรับวัดผลกระทบของการรักษาด้วยเคมีบำบัดต่อการฉายรังสีในรูปแบบของการมีชีวิตอยู่ของเซลล์และความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองของเซลล์ด้วย แต่การคำนวณที่ใช้ในปัจจุบันนี้ยังไม่พบในการรักษาด้วยเคมีบำบัดแต่พบการคำนวนนี้จากการฉายรังสีเสียมากกว่า คือ เมื่อฉายรังสีที่มีปริมาณความเข้มข้นต่างกันให้กับผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บป่วยที่มีความสัมพันธ์กับขนาดของความเข้มข้นของรังสีที่ใช้ ( Dose Response Curve ) และสามารถสร้างเป็นสมการได้ดังนี้

Effect = AlphaD + BetaD²
โดย Alpha กับ Beta คือ ค่าคงที่ของรังสีที่ใช้ในการรักษา D คือ ค่าปริมาณความเข้มข้นของรังสีที่ใช้ในการรักษา

ซึ่งสมการนี้สามารถช่วยในการคาดคะเนผลกระทบที่จะสร้างความเสียหายจากาการฉายรังสีแบบเป็น Fraction ต่อเนื้อเยื่อปกติได้ คือ ถ้าค่า Alpha และ Beta มีค่าสูง นั่นแสดงว่าผลกระทบจากการฉายรังสีมีค่าผลกระทบที่ช้า แต่ถ้าค่า Alpha และ Beta มีค่าต่ำ นั่นแสดงว่าผลกระทบจากการฉายรังสีมีค่าผลกระทบที่เร็ว

แสดงว่าถ้าต้องการหาดูว่าเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาดีไม่มีผลต่อการซ่อมแซมตัวเองของเซลล์มากแค่ไหนก็ดูจากค่า Alpha และ Beta ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง การเกิดผลกระทบแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ตัวผู้เข้ารับการรักษา วิธีการที่ใช้ในการรักษา และลักษณะของมะเร็งที่ต้องการทำการรักษา ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะสามารถคาดเดาได้ว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นอย่างไร เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีปัจจัยที่ต่างกันนั่นเอง

นอกจากนั้นคุณลักษณะเฉพาะของยาเคมีบำบัดและรังสีที่นำมาใช้ในการรักษาอีกด้วย เพราะยาแต่ละชนิดหรือรังสีแต่ละอย่างจะมีสมบัติเฉพาะตัวในการออกฤทธิ์ นั่นคือ ยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาจะมีผลต่อปอด ยาบางชนิดมีผลต่อไขกระดูก เป็นต้น และการใช้ยาในสภาวะที่ต่างกัน ผลของยาที่เกิดขึ้นก็ต่างกันตามไปด้วยจากชนิดของยาและรังสีที่ใช้เทคนิคในการใช้ยาและรังสีก็มีส่วนต่อการสร้างความเสียหายต่อเซลล์เช่นเดียวกัน เช่น การฉายรังสีแบบ Mantle Irradiation จะส่งผลให้เกิดการสะสมของรังสีในส่วนของหัวใจมากกว่าการสะสมของรังสีที่อวัยวะอื่น ทำให้โอกาสหรือความถี่ในการเกิด Cardiomyopathy ก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย ระดับและเวลาในการให้เคมีบำบัดและการฉายรังสีก็มีผลต่อการสร้างความรุนแรงของความเป็นพิษจากการใช้ การรักษามะเร็ง ทั้งสองวิธีร่วมกัน โดย Steel ได้ศึกษาและทำข้อสรุปได้ว่า “ ความเสียหายต่อเซลล์ปกติที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีพร้อม ๆ กันจะสร้างความเสียหายได้มากกว่าการให้เคมีบำบัดก่อนการฉายรังสี ” และได้รับการสนับสนุนจาก Yarnold เกี่ยวกับข้อสรุปนี้ของ Steel ด้วย นอกจากนั้นยังเสนอต่อว่า “ การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีก่อนที่จะทำการให้เคมีบำบัดนั้นเป็นสิ่งที่อันตรายมากเพราะจะส่งให้สร้างความเสียหายต่อสเต็มเซลล์ของเม็ดเลือดอย่างรุนแรงจนเป็นที่น่าตกใจมากทีเดียว ”

ต่อมาคณะแพทย์ของไทย เช่น แมใจ ชิตาพนารักษากับคณะ และวิชาญ หล่อวิทยาพร้อมคณะได้ทำการศึกษาทดลองสังเกตผลการรักษาจากทฤษฏีของทั้งสอง โดยแบ่งการรักษาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ทำการรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสีเพียงอย่างเดียง

กลุ่มที่ 2 ทำการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีและการให้ยาเคมบำบัดเสริมในภายหลัง ( Adjuvant Chemotherapy )

กลุ่มที่ 3 ทำการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีพร้อมกับการให้ยาเคมีบำบัด ( Concurrent Chemotherapy )

กลุ่มที่ 4 ทำการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดและตามด้วยการให้ยาเคมีบำบัดเสริมตามหลัง ( Concurrent and Adjuvant Chemotherapy )

จากการศึกษาพบว่า ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันในกลุ่มที่ 3 มีค่าสูงมากและสูงที่สุด โดยเฉพาะความเป็นพิษที่เกิดขึ้นกับไขกระดูก แต่ผลกระทบในระยะยาวกลับพบว่าอยู่ในระยะปกติเหมือนการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
การรักษามะเร็ง จุดประสงค์หลักก็คือการต้องการให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายออกไปจากร่างกายจนหมด และเซลล์ปกติมีความเสียหายหรือไม่มีความเสียหายเลย จึงจะเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับตัวผู้ป่วย ซึ่งทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญต้องทำการศึกษาและพัฒนาต่อไปเพื่อที่ผู้ป่วยมะเร็งจะได้หายกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข และไม่ต้องกังวลกับการกลับมาของโรคมะเร็งหรือโรคจากผลข้างเคียงของการรักษาโรคมะเร็งด้วย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

โรคสมองเสื่อมเร็วมีสาเหตุจากอะไร

0
โรคสมองเสื่อมเร็วมีสาเหตุจากอะไร
โรคสมองเสื่อมเร็ว คือเป็นอาการที่สูญเสียการทำงานของสมองทั้งหมด
โรคสมองเสื่อมเร็วมีสาเหตุจากอะไร
โรคสมองเสื่อมเร็ว คือเป็นอาการที่สูญเสียการทำงานของสมองทั้งหมด เช่น การสูญเสียความจำ การพูด การอ่าน การใช้ภาษา การควบคุมพฤติกรรม

โรคสมองเสื่อมเร็ว

โรคสมองเสื่อมเร็ว ไม่ได้หมายถึง ความจำเสื่อมเท่านั้น แต่หมายรวมถึง การสูญเสียความจำ การตัดสินใจ การคิด การพูด การอ่าน การใช้ภาษา การรับรู้มิติสัมพันธ์ การมีสมาธิ การควบคุมพฤติกรรม และควบคุมอารมณ์ต่างๆด้วย ซึ่งหากอาการทั้งหมดนี้สูญเสียไป ก็จะเรียกว่า โรคสมองเสื่อมเร็ว คือเป็นอาการที่สูญเสียการทำงานของสมองทั้งหมด

โรคสมองเสื่อมเร็ว ( Rapidly Progressive Dementia ) เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่เป็นจนถึงอาการสมองเสื่อม ใช้เวลาเพียงแค่ 3-4 เดือน ซึ่งเกิดขึ้นเร็วมากๆ

สาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อมเร็ว

โรคสมองเสื่อมเร็ว เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่

1. โรคสมองเสื่อเร็วที่เกิดจากโรคระบบประสาทเสื่อม อย่างโรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี โรคสมองเสื่อมกลีบหน้าแลกลีบขมับฝ่อ โรคเหนือนิวเคลียร์อัมพาตต่อเนื่อง ( Progressive Supranuclear Palsy )

2. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคภูมิต้านทานต่อตัวเอง อย่างเช่น โรคปลอกเส้นประสาทสมองอักเสบ พยาธิภาวะที่สมองจากภูมิต้านทาง VGKC, NMDAR พยาธิภาวะที่สมองฮาชิโมโต ( Hashimoto’s encephalopathy )

3. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคติดเชื้อ อย่างเช่น โรคพรีออน ( Prion Disease ) โรคซิฟิลิส โรคเอชไอวี โรคครอยท์ซเฟลตท์-จาคอบ

4. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคจิตเวช

5. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากเนื้องอก หรือ มะเร็ง

6. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคเมแทบอลิซึม และโรคเนื่องจากสิ่งที่ก่อพิษ อย่างเช่น โรคจากพิษสุราเรื้อรัง โรคจากพิษคาร์บอนมอนออกไซด์ โรคจากพิษยาบางชนิด

7. โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง พยาธิภาวะที่สมองจากไมโทคอนเดรีย

8. โรคสมองเสื่อมเร็วที่ยังไม่ทราบสาเหตุ

โรคสมองเสื่อมเร็ว ที่แสดงอาการชัดเจนที่สุด คือ โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี ( HIV ) อาการที่แสดงออกมาคือ ไม่พูดไม่คิดไม่ทำอะไร อยากอยู่นิ่งๆ ต่อเนื่องกันประมาณสองสัปดาห์ หากมีการเคลื่อนไหว ก็จะเคลื่อนไหวช้า สิ่งที่สังเกตเห็นชัดเจนเลยคือ ร่างกาย แขนขา เกร็ง มีอาการเซ อาการสั่น ส่วนการแสดงอาการทางอารมณ์ผู้ป่วย จะมีอาการเชื่องช้า หงุดหงิด ไม่ค่อยมีความสุข

โรคสมองเสื่อมเร็ว หมายถึง การสูญเสียความจำ การตัดสินใจ การคิด การพูด การอ่าน การใช้ภาษา การรับรู้มิติสัมพันธ์ การมีสมาธิ การควบคุมพฤติกรรม และควบคุมอารมณ์ต่างๆด้วย ซึ่งหากอาการทั้งหมดนี้สูญเสียไป ก็จะเรียกว่า โรคสมองเสื่อมเร็ว คือเป็นอาการที่สูญเสียการทำงานของสมองทั้งหมด

การรักษาโรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการสมองเสื่อมได้บ่อย แต่ในการรักษาโรคเอชไอวีต้องใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งยาต้านไวรัสนี้ทำให้อาการสมองเสื่อมหายไปอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า เชื้อไวรัสมีผลต่อสมองและเซลล์ประสาท ดังนั้น การทำให้ไวรัสแบ่งตัวน้อยลงในระบบประสาท ก็จะทำให้อาการสมองเสื่อมไม่ปรากฏออกมา

กรมอนามัยโลกยอมรับว่า หากผู้ป่วยเอชไอวีกลุ่มโรคสมองเสื่อมเร็วเกิดอุบัติเหตุทางสมอง การรักษาด้วยยาต้านเชื้อไวรัส ทำให้โรคสมองเสื่อมน้อยลง เมื่อใช้ยาต้านไวรัสทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง โรคสมองเสื่อมเร็วที่เกิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสที่มีการแบ่งตัวผิดปกติของไวรัสหัด ( Measles ) ที่พันธุกรรมมีการเปลี่ยนแปลง แล้วมาติดเชื้อในคน จนทำให้มีอาการสมองเสื่อมเร็ว จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว อย่างเช่น ผู้ป่วยจะไม่รับรู้อะไรเลย มีการพูดช้าและเนิบๆ มีอาการแขนขาเกร็ง กระตุก สั่น เมื่อมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะผิดปกติเด่น ตรวจน้ำไขสันหลังมีภูมิต้านทานชนิด IgG ต่อเชื้อหัด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เช่น โรค Subacute Sclerosing Panencephalitis ( SSPE ) และโรควัวบ้าในคน หรือที่เรียกว่า โรคครอยท์ซเฟลตท์-จาคอบ ( Creutzfeldt-Jakob Disease : CJD ) ซึ่งมีสาเหตุจากพันธุกรรม และที่เกิดขึ้นเอง โดยจะแบ่งประเภทของโรคครอย์เฟลดท์-จาคอบ ออกเป็นดังนี้

1. โรคครอย์ซเฟลดท์-จาคอบ สำหรับผู้ป่วยที่เกิดอาการนี้เป็นระยะๆ หรือ Sporadic ในช่วงเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการ เห็นภาพหลอน เห็นภาพแปลกๆ มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึ่งดูแล้วมีอาการคล้ายผู้ป่วยที่เป็นสมองเสื่อมพาร์กินสัน ซึ่งตัวจะบิดงอ เซ กระตุก ไม่พูด หรือ สื่อสารไม่ได้ ทรงตัวไม่อยู่ มีอาการเกร็ง เดินลำบาก ทรงตัวลำบาก ซึ่งจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานและเสียชีวิตในสองปี เมื่อมีการตรวจเคลื่อนไฟฟ้าสมอง จะพบว่ามีลักษณะของคลื่นสมองที่ซับซ้อนเป็นสามระยะ ( Triphasic Complex ) ตรวจน้ำไขสันหลัง พบว่ามีสารโปรตีน 14-3-3 และโปรตีนเทา ( Tau ) สูง

2. โรคครอย์ซเฟลดท์-จาคอบ ชนิดแปรปรวน ( Variant ) เป็นอาการของผู้ป่วยที่อาการทางจิตประสาท มักจะมีอาการ หงุดหงิด คิดผิด หลงผิด ซึมเศร้า เฉยเมย มีการรับรุ้คามรู้สึกเพี้ยนไป มีอาการเดินเซ ร่างกายกระตุก บิด งอ มีอาการปวดแสปวดร้อนตามร่างกาย เมื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองจะไม่พบความผิดปกติ เช่น ที่พบในโรคครอย์ซเฟลดท์-จาคอบ ที่เกิดเป็นระยะๆ แต่ภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง สามารถช่วยวินิจฉัยได้ว่าสมองเนื้อเทาส่วนที่อยู่ลึกได้ภาพที่เด่นชัดขึ้น

ในกลุ่มของผู้ป่วยที่เสียชีวิตภายใน 6 เดือน เมื่อนำชิ้นเนื้อสมองของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเร็ว หรือตัดต่อมทอนซิลมาตรวจด้วยการย้อนพิเศษ จะพบว่า เนื้อของสมองจะมีลักษณะคล้ายๆกับฟองน้ำ ซึ่งมีสารโปรตีนแทรกในสมอง
ซึ่งในบางครั้งผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะมีอาการที่ดูแล้วคล้ายกับอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมกลีบหน้า และกลีบขมับฝ่อ เพราะในช่วงแรกจะพูดภาษาสำเนียงเพี้ยน และต่อไปผู้ป่วยจะเงียบ ไม่พูด มีพฤติกรรมก้าวร้าว การเคลื่อนไหวผิดปกติ ตัวบิด งอ ซึ่งโรคนี้ยังไม่การรักษาโดยจำเพาะ แพทย์จะรักษาตามอาการ โดยการทดลองใช้ยาที่เคยได้ผล ซึ่งเป็นยาที่ไม่ได้เป็นยาที่ใช้รักษาตามมาตรฐาน เช่น แพทย์อาจทดลองใช้สารต้านอนุมูลอิสระ CoQ10 มาทำการรักษา ซึ่งผลที่ออกมาก็อาจจะยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่จำเป็นต้องรักษาตามอาการ

โรคเอสแอลอี ( SLE : Systemic Lupus Erythematosus ) เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบบ่อยในเมืองไทย ที่ผู้ป่วยจะมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ เรียกว่า แพ้ภูมิตัวเอง เป็นโรคที่อันตรายและต้องระมัดระวังตัวอย่างมากเพราะร่างกายสามารถสร้างสารขึ้นมาทำงายร่างกายตัวเองได้ จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการสมองเสื่อม เห็นภาพหลอน บางครั้งมีอาการซึมเศร้า ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายๆกับ โรคสมองส่วนหน้าเสีย เพราะทำอะไรก็ช้า อาจมีอาการชักร่วมด้วย

สาเหตุของโรคเอสแอลอี เกิดจากอาการทางสมองซึ่งมีหลายกลไก อาจจะมีผลมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองเนื้อเทาและสมองเนื้อขาวไม่สมดุล จึงทำให้เกิดมีภูมิคุ้มกันสร้างออกมาทำลายส่วนของสมอง การรักษา แพทย์จะมักใช้เตียรอยด์ให้ทางหลอดเลือด ซึ่งการรักษาจะเหมือนกับการรักษาโรคเอสแอลอีที่ทำลายอวัยวะสำคัญส่วนอื่นๆ เช่น ปอด ไต และอีกสาเหตุที่พบในผู้ป่วยบ่อยๆ เลยก็คือ ภาวะภูมิแพ้ต่อมไทรอยด์ ชนิด ฮาชิโมโต ( Hashimoto’s Thyroiditis ) ทำให้สมองเสื่อมเร็ว จากที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไม่สมดุล อาจทำงานน้อยไป หรือทำงานมากไป จึงมีการสร้างภูมิคุ้มกันทำลายต่อมไทรอยด์ จนเป็นภูมิแพ้ตนเองและส่งผลทำลายสมอง

โรคปลอกปลายเส้นประสาทสมองอักเสบ ( Multiple Sclerosis ) เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เกิดจากภูมิแพ้ตัวเอง ที่เกิดต่อปลอกเส้นประสาท โดยผู้ป่วยจะมีอาการตามองไม่เห็น เดินเซ ส่งผลให้ผู้ป่วยคิดช้า ในการรักษาแพทย์จะให้สเตรอยด์และยา สำหรับผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้ของปลอกเส้นประสาท

และยังมีรายงานว่า กลุ่มอาการผู้ป่วยอันเนื่องมาจากเนื้องอก ( Paraneoplastic Syndrome ) ทำให้สมองเสื่อมเร็วนั้น เกิดจากที่ผู้ป่วยมีเนื้องอกและร่างกายของผู้ป่วยสร้างภูมิต้านทานออกมาต้านเนื้องอก จึงทำให้เกิดอาการสมองเสื่อมเร็วได้ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการชักกระตุก ตัวเกร็ง บิด หรืออาจเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตร่วมด้วย

ในปัจจุบัน การที่จะวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเร็วทำได้ยาก และการรักษาก็ยุ่งยาก ยังไม่วิธีรักษาเฉพาะเจาะจงที่ชี้ชัดว่ารักษาโรคนี้เพราะมีหลายสาเหตุ ส่วนในทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ แพทย์จะทำการเจาะเลือดของผู้ป่วย พบว่ามีสารภูมิคุ้มกันจำเพาะ เช่น การรักษาด้วยสเตรอยด์ หรือ ให้อิมมโนโกลบลิน ทางหลอดเลือดดำ และทำการผ่าตัดเนื้องอกออก ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ จะเห็นได้ว่า โรคสมองเสื่อมเร็ว เป็นโรคที่น่ากลัวมาก เพราะนอกจากจะเกิดจากหลายสาเหตุแล้ว ยังทำการรักษายาก แต่ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก จนทำให้การรักษาหายได้ในกลุ่มอาการผู้ป่วยที่เกิดจากเนื้องอกที่ผลทำให้สมองเสื่อมเร็ว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Liu L, Drouet V, Wu JW, et al. (2012). Trans-synaptic spread of Tau Pathology in Vivo.
PLoS ONE. 7(2) : e31302.

Luk KC, Kehm V, Lee VM, et al. (2012). Pathological alpha-synuclein transmission
initiates Parkinson-like neurodegeneration in nontransgenic mice. Science. 338 : 949-953.

de Calignon A, Polydoro M, Suarez-Calvet M, et al. (2012). Propagation of tau pathology
in a model of early AD. Neuron. 73(4) : 685-697.