Home Blog Page 106

ความดันต่ำเกิดจากอะไร ป้องกันและดูแลตัวเองอย่างไร

0
ความดันต่ำเกิดจากอะไร ป้องกันและดูแลตัวเองอย่างไร
ความดันโลหิตต่ำ เป็น ภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ
ความดันต่ำเกิดจากอะไร ป้องกันและดูแลตัวเองอย่างไร
ความดันโลหิตต่ำ เป็น ภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ

ความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำคือ ( Low Blood Pressure / Hypotension ) เป็น ภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ โดยแพทย์จะกำหนดความดันโลหิตต่ำเป็น 90 มากกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท

ความดันต่ำมีอาการอย่างไร

ผู้ที่มีความดันต่ำอาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เมื่อวัดค่าความดันโลหิตได้ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท อาการของความดันต่ำที่พบบ่อย และมีอาการต่างๆดังนี้

  • เวียนหัว มึนงง หน้ามืด
  • ตาพร่ามัว
  • หายใจเร็ว
  • หน้าซีด
  • มือ เท้าเย็น
  • กระหายน้ำ
  • ร่างกายอ่อนเพลีย
  • เหงื่อออกมาก
  • เป็นลมหมดสติ

สาเหตุความดันต่ำเกิดจากอะไร

ความดันโลหิตต่ำด้มีสาเหตุหลายประการสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
1) ภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า นั่ง นอน หรือลุกขึ้นยืนทันที
2) ภาวะความดันโลหิตต่ำภายหลังรับประทานอาหาร
3) ภาวะความดันโลหิตต่ำจากระบบประสาทอัตโนมัติ
4) ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือภาวะช็อก
5) ความดันต่ำจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคพาร์กินสัน

ปัจจัยเสี่ยงของความดันต่ำ

1. อายุ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปมักเกิดขึ้น เช่น เจอเหตุการณ์น่ากลัว ยืนเป็นเวลานาน การอยู่ในที่แออัด อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
2. ยาที่รับประทาน เช่น ยาในกลุ่ม Alpha blockers ยาในกลุ่ม Beta-blockers ยาไนโตรกลีเซอริน (Nitroglycerin) ยาขับปัสสาวะ ยาโรคซึมเศร้า
3. สารอาหาร เช่น ขาดวิตามินทั้ง B-12 โฟเลต ธาตุเหล็ก
4. โรค เช่น โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

การดูแลตัวเองสำหรับคนเป็นความดันต่ำ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 2 ถึง 3 ลิตรทุกวัน
  • ลุกขึ้นอย่างช้า ๆ หลังจากที่นั่ง หรือนอนราบ
  • ไม่เปลี่ยนท่านั่ง นอนลงไป หรือยืนทันที
  • นอนยกหัวขึ้นประมาณ 15 เซ็นติเมตร
  • รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง
  • ควรนอนราบหรือนั่งนิ่ง ๆ สักพักหลังจากรับประทานอาหาร
  • ทำจิตใจให้สบายลดความเครียด
  • การรับประทานเกลือ ผัก ผลไม้ที่มีโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมหรือ 1 ช้อนชา สามารถช่วยเพิ่มระดับความดันโลหิต
  • การออกกำลังกายเบา ๆ อย่างน้อย 30 นาที ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตได้
  • ควรสวมถุงน่องช่วยการบีบรัด ซึ่งช่วยให้เลือดไหลกลับขึ้นจากขาและเท้าได้อย่างดี

การป้องกันความดันต่ำทำได้อย่างไร

  • การรับประทานอาหารมื้อเล็กวันละหลาย ๆ ครั้ง ช่วยป้องกันความดันต่ำได้
  • หลีกเลี่ยงการนั่ง หรือยืนเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนตอนกลางคืน

การรักษาความดันต่ำเบื้องต้น

1. อาการไม่รุนแรง หรือระดับปานกลาง ให้คอยติดตามอาการ จดบันทึกอาการที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งเพื่อประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและรักษา
2. หากความดันต่ำที่เกิดจากการรับประทานยา แพทย์อาจเปลี่ยนตัวยาหรือปรับลดขนาดยาลง แต่สำหรับภาวะความดันต่ำที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้การรักษาจึงไม่เฉพาะเจาะจง แพทย์จะพิจารณาการใช้
3. สวมถุงน่อง หรือถุงน่องที่ใช้ในทางการแพทย์ ช่วยเพิ่มความดันโลหิตและการไหลเวียนของเลือด
4. เพิ่มปริมาณเกลือในอาหาร แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
5. ดื่มน้ำมากขึ้น จะช่วยเพิ่มปริมาณเลือดในร่างกาย ทำให้เลือดไม่ข้นหนืดและไหลเวียนดีขึ้น

อาหารแก้ความดันต่ำมีอะไรบ้าง

1. ธัญพืชต่างๆ เช่น เมล็ดงา ข้าวโอ๊ต ถั่วขาว ถั่วแระ นมถั่วเหลือง อัลมอนด์
2. ผลไม้ที่มีวิตามินซี วิตามินอี เช่น เงาะ ฝรั่ง กีวี ลิ้นจี่ ส้มโอ พุทรา มะขามป้อม มะขามเทศ มะละกอสุก และสตรอว์เบอร์รี สับปะรด มะปรางหวาน มะยงชิด แคนตาลูป ผลไม้ที่มีสีเขียวและสีเหลือง
3. อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่ ปลา เนยแข็ง เนื้อสัตว์ หอยนางรม ปลาซาร์ดีน สาหร่ายทะเล
4. เครื่องดื่มประเภทชาต่าง ๆ เช่น ชาโสม ชาขิง
5. ผลไม้อบแห้ง เช่น ลูกพรุนอบแห้ง ลูกเกด เมล็ดทานตะวัน อินทผาลัม

อย่างไรก็ตามคนที่เป็นความดันต่ำควรสังเกตุอาการของตนเอง ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาความดันโลหิตต่ำได้อย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

อาหารผู้ป่วยหลังการผ่าตัด คืออะไร

0
อาหารผู้ป่วยหลังการผ่าตัด คืออะไร
หากคุณกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดคุณอาจต้องเตรียมตัวเรื่องโภชนาการ เพราะผู้ป่วยหลังการผ่าตัดส่วนใหญ่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
อาหารผู้ป่วยหลังการผ่าตัด คืออะไร
หากคุณกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดคุณอาจต้องเตรียมตัวเรื่องโภชนาการ เพราะผู้ป่วยหลังการผ่าตัดส่วนใหญ่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ

อาหารผู้ป่วยหลังการผ่าตัด

หากคุณกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดคุณอาจต้องเตรียมตัวเรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดไว้ด้วย สามารถใช้ไดักับผู้ป่วยผ่าตัดสมอง ระบบประสาท เนื้องอก ลำไส้ มดลูก กระดูก แขน ขา และผ่าตัดมะเร็ง เพราะการทานอาหารประเภทโปรตีนคุณภาพสูงทุกมื้ออย่างน้อย 20 – 30 กรัมต่อมื้อจนถึงวันที่ผ่าตัด ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาได้เร็วยิ่งขึ้นและเป็นสิ่งสำคัญช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย ช่วยให้แผลหายเร็ว ลดภาวะความเครียด เพราะผู้ป่วยหลังการผ่าตัดส่วนใหญ่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร อาการทรุดลง ร่างกายอ่อนเพลีย แผลหายช้า ดังนั้น อาหารที่คุณกินจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดจึงควรได้รับอาหารที่เพียงพอและเหมาะสม ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการท้องผูก การติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัด ( Surgical site infection ) เกล็ดเลือดต่ำ ( Thrombocytopenia ) จากการสูญเสียเลือดหลังการผ่าตัด

ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

  • คลื่นไส้และอาเจียนจากการดมยาสลบ
  • เกล็ดเลือดต่ำ จากการสูญเสียเลือดหลังการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยทานอาหารได้น้อยลง อาจมีแผลในช่องปาก
  • เจ็บคอ ( เกิดจากใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างการผ่าตัด )
  • รู้สึกเจ็บปวด หรือบวมบริเวณบาดแผลที่ผ่าตัด
  • กระสับกระส่าย หรือนอนไม่หลับ
  • กระหายน้ำ
  • อาการท้องผูก

โภชนาการหลังการผ่าตัดสำคัญอย่างไร

โปรตีนเป็นอาหารที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการสมานแผล ช่วยสร้างผิวหนังและเนื้อเยื่อใหม่ให้แข็งแรง ดังนั้น

  • การรับประทานอาหารโปรตีนคุณภาพสูงทุกมื้อ จะช่วยเพิ่มโปรตีนในร่างกายซึ่งโปรตีนเป็นส่วนประกอบของร่างกายของเราในการรักษาแผลผ่าตัด และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  • ความเครียดจากการผ่าตัด อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังการผ่าตัดได้ ควรได้รับสารอาหารที่สำคัญ เช่น โปรตีน โอเมก้า-3 แอล-อาร์จินีน ไรโบนิวคลีโอไทด์ เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

อาหารที่ให้โปรตีนสูงมีอะไรบ้าง

ควรรับประทานอย่างน้อย 20 กรัมโปรตีนต่อมื้อและโปรตีน 10 กรัมต่ออาหารว่าง

  • ไก่ / เนื้อ / หมู เท่ากับ 7 กรัม
  • ไข่ 6 กรัม
  • นม 1 แก้ว เท่ากับ 8 กรัม
  • ปลาทูน่า 1 กระป๋อง เท่ากับ 40 กรัม
  • ชีส เท่ากับ 15 กรัม
  • โยเกิร์ตธรรมชาติ 1 ถ้วย เท่ากับ 12-20 กรัม
  • ถั่วเหลือง เท่ากับ 14 กรัม
  • เนื้อแดง เท่ากับ 7 กรัม

อาหารที่ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดควรรับประทาน

  • ควรทานอาหารอ่อนประเภท อาหารต้ม อาหารตุ๋น อาหารนึ่ง จะช่วยให้ง่ายต่อการกลืนและย่อยง่าย สามารถฟื้นฟูร่างกายให้ผู้ป่วยหลักการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี
  • อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
  • การทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหาร ไฟเบอร์ ซึ่งจำเป็นต่อการรักษารวมทั้งการฟื้นตัวจากการผ่าตัด
  • นม และผลิตภัณฑ์จากนม ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

สิ่งที่ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดควรหลีกเลี่ยง

  • อาหารแห้ง หรืออาหารอบแห้ง ( ยกเว้นลูกพรุนสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ )
  • อาหารแปรรูป ที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
  • นม และผลิตภัณฑ์จากนม ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
  • เนื้อแดง เพราะมีไขมันอิ่มตัวสูงอาจทำให้ท้องได้
  • อาหารหวานต่าง ๆ

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยหลังการผ่าตัดควรได้รับอาหารที่ครบถ้วนเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับประทานอาหารได้ตามปกติหรือเบื่ออาหาร ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการผ่าตัดดังนั้นอาหารเสริมทางการแพทย์ เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่เตรียมตัวผ่าตัดและหลังการผ่าตัด แนะนำให้ทานอาหารเสริมออรัล อิมแพค เป็นอาหารสูตรครบถ้วนที่มีโปรตีนสูงมีส่วนประกอบสำคัญ คือ โปรตีนเวย์ อาร์จีนีน โอเมก้า-3 ไรโบนิวคลีโอไทด์ และกลูตามีน ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น ช่วยให้แผลหารเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อต่างๆ และที่สำคัญช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

อาหารโปรตีนสูงทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ป่วยผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด

0
อาหารโปรตีนสูงทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ป่วยผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด
โภชนาการอาหารที่ดีในระหว่างการรักษามะเร็งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความเจ็บปวดจากการรักษาส่งผลกระทบต่อร่างกายรวมถึงการทานอาหารของผู้ป่วยด้วย
อาหารโปรตีนสูงทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ป่วยผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด
โภชนาการอาหารที่ดีในระหว่างการรักษามะเร็งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความเจ็บปวดจากการรักษาส่งผลกระทบต่อร่างกายรวมถึงการทานอาหารของผู้ป่วยด้วย

อาหารโปรตีนสูงทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ป่วย

การรับประทานอาหารที่ดี หมายถึง การรับประทานอาหารที่มีความหลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนที่ร่างต้องการ เพื่อต่อสู่กับโรคมะเร็งอาหารเหล่านี้หลักๆ ประกอบด้วย โปรตีน ใยอาหาร โอเมก้า-3 แอล-อาร์จินีน ไรโบนิวคลีโอไทด์ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และเกลือแร่ อาหารที่ดีในระหว่างการรักษาโรคมะเร็งโภชนาการที่ดีมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการรักษามะเร็ง เพราะความเจ็บปวดจากการรักษาส่งผลกระทบต่อร่างกายรวมถึงการทานอาหารของผู้ป่วยด้วย การกินอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละมื้อส่วนใหญ่เน้นการทานผัก ผลไม้ นม เนื้อแดง และธัญพืช เนื่องจากในระหว่างการรักษาโรคมะเร็งผู้ป่วยจำเป็นต้องเปลี่ยนอาหาร เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน เพิ่มกล้ามเนื้อจากโปรตีน สามารถลดผลข้างเคียงที่มีความรุนแรงจากการรักษามะเร็งได้ เช่น การผ่าตัด การฉายแสง และยาเคมีบำบัด ช่วยให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามะเร็ง

  • รู้สึกดีขึ้น
  • ช่วยในการเจริญเติบโตซ่อมแซมเนื้อเนื้อที่เสียหายทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ช่วนให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยป้องกันการสลายตัวของเนื้อเยื่อ และขนส่งวิตามินบางชนิดโดยผ่านเส้นเลือด
  • คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายมีการเผาผลาญเชื้อเพลิงสำหรับการออกกำลังกาย และการทำงานของอวัยวะที่เหมาะสม
  • ช่วยลดการอักเสบ และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
  • ช่วยปรับสมดุลของน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ช่วยให้ร่างกายทนต่อผลข้างเคียงจากการรักษาได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
  • ช่วยลดจำนวนการนอนพักฟื้นในโรงพยาบาลให้น้อย

ผู้ป่วยมะเร็งเกล็ดเลือดต่ำ มีผลต่อการรักษาอย่างไร

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ( Thrombocytopenia ) มักเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยหลังการผ่าตัด โดยมีรอยช้ำเป็นจ้ำ หรือจุดแดงใต้ผิวหนัง เกล็ดเลือด ( Platelet ) น้อยกว่า 100,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร แพทย์คิดว่าอาจทำให้เกิดปัญหากับผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องเข้ารับการรักษาในครั้งต่อไป ผู้ป่วยมะเร็งเกล็ดเลือดต่ำอาจทำให้การรักษาต้องเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนดเพราะร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ หรืออาจเป็นโรคขาดสารอาหารหลังการรักษาได้

ผลข้างเคียงสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง

ผู้ป่วยที่เข้ารักษามะเร็งส่วนใหญ่มักมีผลข้างเคียงน้อย ผลข้างเคียงมากหรือไม่มีเลยในระหว่างการรักษามะเร็ง ผลข้างเคียงสามารถเกิดขึ้นได้ในวันเดียวกันหรือหลังการรักษา การรักษาด้วยเคมีบำบัด การฉายแสง และการผ่าตัดมีผลต่อเซลล์มะเร็งเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ที่ดีได้เช่นกัน จากการศึกษาพบผลข้างเคียงต่างๆ รวมถึงตำแหน่งของร่างกายที่ได้รับผลกระทบจากการรักษามะเร็งด้วยการฉายแสง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ลิ้นไม่สามารถรับรสอาหารได้ ท้องอืด เป็นแผลในช่องปาก กลืนลำบาก กระหายน้ำ และน้ำหนักลด เป็นต้น

อย่างไรก็ตามภาวะเกล็ดเลือดต่ำจึงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและการฟื้นตัวจากการผ่าตัดของผู้ป่วยมะเร็ง อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการแนะนำให้ใช้ อาหารเสริมออรัลอิมแพค ( Oral impact ) ทีมีวางจำหน่ายในเว็บไซส์ www.amprohealth.com หากท่านใดสนใจอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด สามารถสอบถาม หรือสั่งซื้ออาหารเสริมออรัล อิมแพค ได้ที่ไลน์แอด : @ amprohealth

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

บุก สารสกัดกลูโคแมนแนนช่วยลดน้ำหนักป้องกันท้องผูก

0
บุก สารสกัดกลูโคแมนแนนช่วยลดน้ำหนักป้องกันท้องผูก
บุก มีสารกลูโคแมนแนนเป็นเส้นใยธรรมชาติ สามารถป้องกันอาการท้องผูกช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดโปรไบโอติกในระบบขับถ่าย
บุก สารสกัดกลูโคแมนแนนช่วยลดน้ำหนักป้องกันท้องผูก
บุก มีสารกลูโคแมนแนนเป็นเส้นใยธรรมชาติ สามารถป้องกันอาการท้องผูกช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดโปรไบโอติกในระบบขับถ่าย

บุก

บุก ( Konjac ) เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชีย พบมากที่สุดในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียที่พบมากกว่า 80 ชนิด แต่บุกที่รับประทานได้มีเพียง 3 สายพันธุ์ พบมากที่จังหวัดลำปาง พะเยา ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ลำต้นอวบสีเขียวเข้ม ใบเดี่ยวปลายแหลม ดอกคล้ายต้นหน้าวัว มีกลิ่นเหม็นเน่า ขนาดใบยาว 12 – 15 เซนติเมตร ลำต้นสูง 1- 2 เมตร หัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ขยายพันธุ์จากการแตกหน่อหรือเพาะเมล็ด จากงานวิจัยพบว่าบุกมีสารสำคัญที่เรียกว่า กลูโคแมนแนน ( Glucomannan ) สกัดจากรากบุก และมีแป้งบุก ( konjac powder ) ที่เรียกว่า แมนแนน ( Mannan ) เป็นเส้นใยธรรมชาติสามารถป้องกันอาการท้องผูกช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดโปรไบโอติกในระบบขับถ่าย หัวบุกอุดมไปด้วยปริมาณไฟเบอร์สูงและมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักต่าง ๆ นิยมใช้บุกในการควบคุมน้ำหนัก และลดน้ำหนักได้

คุณค่าโภชนาการของบุก

ข้อมูลโภชนาการของบุก 100 กรัมพลังงานทั้งหมด 14 แคลอรี่

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
โปรตีน 0 กรัม
ไขมัน 0.002 กรัม
โซเดียม 2 มิลลิกรัม
คอเลสเตอรอล 0 กรัม
แคลเซียม 2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 0.6 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 26 มิลลิกรัม
ไขมันไม่อิ่มตัว 0.002 กรัม
น้ำตาล 0.02 กรัม
เส้นใยอาหาร 0.1 กรัม

บุก สามารถป้องกันอาการท้องผูกช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดโปรไบโอติกในระบบขับถ่าย

ประโยชน์ของบุก

  • ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูก
  • ช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วน และการควบคุมน้ำหนัก
  • ช่วยจัดการโรคลำไส้แปรปรวน
  • ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
  • ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยกระตุ้นทางเดินอาหารส่วนล่าง
  • ช่วยให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวขับกากอาหารที่คั่งค้างออกมา
  • ช่วยเพิ่มและกระตุ้นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่
  • ช่วยให้อิ่มนานขึ้น
  • ช่วยควบคุมและลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • ช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคส
  • ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่
  • ช่วยป้องกันริดสีดวงทวาร
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคผนังลำไส้อักเสบ
  • ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้
  • ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
  • ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  • ช่วยให้ร่างกายสมานแผลได้เร็วขึ้น
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ
  • กลูโคแมนแนน มีประโยชน์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้มากถึง 8 มก. / ดล.
  • กลูโคแมนแนน ช่วยลดไขมันเสียได้ เช่น ลดปริมาณโคเลสเตอรอลได้ถึง 19.3 mg / dl ( 0.5 mmol / L )
    ลด LDL คอเลสเตอรอลได้ถึง 19.99 mg / dl ( 0.4 mmol / L ) และลด Triglycerides ได้ถึง 11 mg / dl ( 0.12 mmol / L )

เมนูอาหารคุมน้ำหนักจากเส้นบุก

  • ขนมจีนเส้นบุก น้ำยาป่า
  • ยำวุ่นเส้นหมูสับ ( เส้นบุก )
  • ยำเส้นบุกเห็ดหูหนูขาว
  • เส้นบุกผัดน้ำสลัดงาซีอิ๊วญี่ปุ่น
  • ผัดเส้นบุกใส่ไข่กุ้งสด
  • ปอเปี๊ยะสดห่อเส้นบุก
  • สุกี้หมูน้ำเส้นบุก
  • เส้นบุกผัดขี้เมา
  • ลาบเส้นบุกแซลมอน

คำแนะนำในการใช้บุก สำหรับการลดน้ำหนักลดความอ้วน
ปริมาณที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 3 – 5 กรัมต่อวัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์จากผงบุก หัวบุกสำหรับการลดน้ำหนักในปริมาณ 3 กรัมต่อวัน ก่อนรับประทานอาหาร 15 นาที ควรออกกำลังกายควบคู่กับการอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และไขมันต่ำเพื่อผลลัพธ์ลดน้ำหนักและได้หุ่นสวยของคุณกลับมา

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

สิวอุดตัน สามารถป้องกันได้ด้วยเทคนิคง่าย ๆ

0
สิวอุดตัน สามารถป้องกันได้ด้วยเทคนิคง่าย ๆ
สิวอุดตัน ( Comedones ) เกิดจากไขมันส่วนเกินที่ผลิตโดยต่อมน้ำมัน และมีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่ในรูขุมขน
สิวอุดตัน สามารถป้องกันได้ด้วยเทคนิคง่าย ๆ
สิวอุดตัน ( Comedones ) เกิดจากไขมันส่วนเกินที่ผลิตโดยต่อมน้ำมัน และมีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่ในรูขุมขน

สิวอุดตัน

สิวอุดตัน ( Comedones ) เกิดจากไขมันส่วนเกินที่ผลิตโดยต่อมน้ำมัน และมีสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่น
ละอองขนาดเล็ก เหงื่อไคล บางครั้งเซลล์ผิวที่ตายอาจตกค้างอยู่ในรูขุมขน เมื่อไขมันสัมผัสกับ
อากาศภายนอกผิวหนังทำให้สิวอุดตันใต้ผิวหนังมีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเป็นสีดำ

สิวอุดตันมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. สิวหัวดำหรือสิวหัวเปิด เกิดจากการอุดตันของขน เนื้อเยื่อ และไขมันภายในรูขุมขน
2. สิวหัวขาวหรือสิวหัวปิด มักพบบ่อยบริเวณ หน้าผาก แก้ม จมูก และคาง

สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของสิวอุดตันได้ ดังนี้
ระดับที่ 1 สิวอุดตันระดับไม่รุนแรง มีสิวอุดตันน้อยกว่า 20 จุด
ระดับที่ 2 สิวอุดตันระดับปานกลาง มีสิวอุดตัน 20 – 100 จุด
ระดับที่ 3 สิวอุดตันระดับรุนแรง มีสิวอุดตันมากกว่า 100 จุด

สาเหตุของสิวอุดตัน

เกิดขึ้นจากเซลล์ผิวที่ตายผสมกับน้ำมันบนใบหน้าแล้วมีการอุดตันบริเวณต่อมที่ผลิตน้ำมันใน
ผิวหนังปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิวอุดตัน ได้แก่

  • สารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง จากการสัมผัสแอลกอฮอล์หรือมีส่วนผสม
    ของน้ำมัน สีย้อมผม เจลใส่ผม
  • การผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากเกินไป
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือฮอร์โมนเพศชาย ทำให้มีการอุดตันของรูขุม
    ขนตามมาเกิดเป็นสิวอุดตันได้
  • การสัมผัสกับผิวที่รุนแรง เช่น การบีบสิว การกดสิว หรือการขัดผิวอย่างรุนแรง เป็นต้น
  • ผิวหนังถูกแสงแดดเป็นเวลานานเกินไป

การรักษาสิวอุดตัน

  • ทายาแต้มสิว เจลแต้มสิว
  • ใช้กรดซาลิไซลิกและกรดอะซีลิก เป็นกรดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • รับประทานยาปฏิชีวนะ สำหรับอาการสิวระดับปานกลาง และสิวที่มีความรุนแรง ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าแบคทีเรียบริเวณผิวหนังส่วนเกิน และลดรอยแดง
  • ทาครีมแต้มสิวกลุ่มเรตินอยด์
  • กดหัวสิวอุดตันออก ทายาฆ่าเชื้อ
  • การบำบัดด้วยแสงเลเซอร์
  • ยาคุมกำเนิดเพื่อปรับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสติน

การป้องกันการเกิดสิวอุดตัน

การดูแลผิวของคุณด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ ที่ช่วยป้องกันการเกิดสิวอุดตัน ดังนี้

  • ล้างหน้าอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์แต่งหน้าเป็นประจำ
  • ไม่ใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น
  • หลังการแต่งหน้าให้เช็ดหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทันที และล้างหน้าด้วยโฟมล้าง
    หน้าให้สะอาดอีกครั้ง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อหลีกเลี่ยงการระคายเคือง หรือ
    ก่อให้เกิดสิว
  • ล้างหน้าล้างผิวหลังทำกิจกรรมออกกำลังกายทันที
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง

อย่างไรก็หากสิวอุดตันมีอาการที่รุนแรงควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ
และหาวิธีรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนตามขั้นตอนของแพทย์ เพื่อลดความรุนแรง
ของการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังและลดการเกิดรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ฟันผุ สามารถรักษาและป้องกันได้ 

0
ฟันผุ สามารถรักษาและป้องกันได้ 
ฟันผุเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมถึงแบคทีเรียในช่องปากผลิตกรดบางชนิด พบได้ทั้งในเด็กจนถึงผู้ใหญ่ ถ้าไม่ได้รับการรักษาจากทันตแพทย์จะลุกลามขยายใหญ่และลึกขึ้นเรื่อยๆ
ฟันผุ สามารถรักษาและป้องกันได้ 
ฟันผุเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมถึงแบคทีเรียในช่องปากผลิตกรดบางชนิด พบได้ทั้งในเด็กจนถึงผู้ใหญ่ ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะลุกลามขยายใหญ่และลึกขึ้นเรื่อยๆ

ฟันผุ

ฟันผุ ( Dental Caries ) เป็น ปัญหาในช่องปากที่พบบ่อยที่สุดในประชากรโลกตั้งแต่เด็กฟันผุอายุระหว่าง 6 ถึง 11 ปี วัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 19 ปี และยังส่งผลต่อผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ขึ้นไป ฟันผุเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมถึงแบคทีเรียในช่องปากผลิตกรดบางชนิด โดยมีการทำลายแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อผิวเคลือบฟัน จนทำให้เกิดฟันเป็นรูเล็กๆ รากฟันผุเป็นรู ฟันเป็นโพรง มีอาการเหงื่อกบวม เหงือกอักเสบ เหงือกร่นร่วมด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษาจากทันตแพทย์จะลุกลามขยายใหญ่และลึกขึ้นเรื่อยๆ เกิดการเจ็บปวดทุกข์ทรมาน และสุดท้ายอาจต้องสูญเสียฟันโดยต้องถอนออกไป

สาเหตุฟันผุเกิดจากอะไร

ฟันผุเกิดมาจากการแปรงฟันได้ไม่สะอาดเพียงพอค่ะ คือแปรงไม่ทั่วถึงทุกซอกทุกมุม เวลาที่เราแปรงฟันไม่สะอาด มันก็จะเหลือคราบอาหาร และคราบจุลินทรีย์ทิ้งไว้ (เชื้อโรคนั่นเอง) ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบตามมาได้

1. คราบน้ำตาล มาจากอาหารที่เราทานอยู่ทุกมื้อทุกวันนี่แหละค่ะ จำได้ไหมคะ ตอนเด็กๆที่เราเคยเรียนกันมาว่าอาหารจำพวกแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต พอย่อยโดยเอ็นไซม์จากน้ำลายในช่องปากแล้ว ก็จะกลายเป็นน้ำตาล เพราะฉะนั้น เรากินข้าว กินขนม กินน้ำอัดลม น้ำผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกขนมหวาน สุดท้ายแล้วพอโดนย่อย ก็จะกลายเป็นน้ำตาลทั้งนั้น

2. เชื้อโรคในช่องปาก ในร่างกายของคนเรามีเชื้อแบคทีเรีย เชื้อจุลินทรีย์ อยู่แล้วค่ะ มีทั้งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่พวกให้โทษก็มีเยอะค่ะ ถ้าเราทำความสะอาดเก่งๆ แปรงฟันสะอาด แบคทีเรียพวกนี้มันก็จะอยู่กับเราอย่างสันติค่ะ คือถูกเรากำจัดออกไป(ก็โดยการแปรงฟันนี่แหละ)อยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถเพิ่มปริมาณได้มากจนทำร้ายเราได้ แต่ถ้าเราทำความสะอาดไม่ทั่วถึง แบคทีเรียพวกนี้มันก็จะเริงร่า พากันสร้างบ้านอย่างสุขสบายในปากเรา ยิ่งได้อาหาร(น้ำตาลนั่นเอง) ก็ยิ่งตัวอ้วน ออกลูกออกหลานกันใหญ่ ประกอบกับองค์ประกอบที่ 3 ก็จะทำให้เกิดฟันผุได้ค่ะ

3. มีเชื้อโรค และมีอาหารให้เชื้อโรคเจริญเติบโต (น้ำตาล) และปล่อยทิ้งไว้นานๆ ก็จะทำให้ฟันผุได้ค่ะ เริ่มต้นจากเชื้อโรค หรือแบคทีเรียจะมาย่อยสลายอาหารประเภทน้ำตาล ซึ่งจะทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดในช่องปาก ส่งผลให้ฟันเราถูกดึงแร่ธาตุออกไป (ถูกดึงแคลเซียม และฟอสฟอรัส) ถ้าเกิดสภาพความเป็นกรดบ่อยๆ ฟันถูกดึงแร่ธาตุออกไปบ่อยๆ ในที่สุดก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล สีดำ และเป็นรูฟันผุได้

ประเภทของฟันผุ ( Types of cavities )

1. ฟันผุเหนือรากฟัน (Root cavity )
เกิดขึ้นบนผิวเหนือรากฟันพบมากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติของเหงือกรวมทั้งเหงือกบวม
เหงือกอักเสบ เหงือกร่นลงเนื้อเยื่อรอบ ๆ ฟันจะร่นต่ำลงมาทำให้พื้นผิวของรากจะถูกเปิดออก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อ
การกัดกร่อนจากแบคทีเรียที่ผลิตกรดบางชนิดออกมาทำให้เกิดฟันผุเหนือรากฟันได้
2. ฟันผุตามหลุมรองฟัน ( Pit and fissure cavity )
มักพบร่องแยกหรือโพรงด้านในฟันกรามที่ใช้เคี้ยวอาหาร เนื่องจากเศษอาหารจะติดอยู่ในร่องฟันส่วนบน
มีการสะสมของคราบแบคทีเรียเป็นจำนวนมากติดอยู่ในร่องบริเวณรอยแยกที่ด้านบนของฟัน พบมากในผู้ที่แปรงฟันไม่สะอาด
3. ฟันผุผิวเรียบ ( Smooth surface cavity )
เกิดขึ้นที่ผิวด้านนอกของฟันและพบมากที่สุดบนฟันด้านข้าง มักเกิดกับคนที่แปรงฟันไม่ถูกวิธีและไม่ค่อยแปรงฟัน ฟันผุประเภทนี้จะค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย

การแปรงฟันที่ถูกวิธี

  • แปรงฟันวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันที่ยับยั้งและป้องกันแบคทีเรีย
  • วางแปรงสีฟันของคุณในมุม 45 องศากับเหงือก
  • ค่อย ๆ เลื่อนแปรงไปมาในจังหวะสั้น ๆ (กว้างฟัน)
  • แปรงพื้นผิวด้านนอกพื้นผิวด้านในและพื้นผิวเคี้ยวของฟัน
  • การทำความสะอาดฟันหน้าด้านใน ให้เอียงแปรงในแนวตั้งและหมุนขึ้นลงหลาย ๆ ครั้ง
  • ทำความสะอาดฟันทุกวันด้วยไหมขัดฟัน เพื่อกำจัดเศษอาหารตกค้างตามซอกฟัน
  • ทำความสะอาดฟันด้วยน้ำยาบ้วนปากเพื่อลดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก

ผู้ที่เสี่ยงต่อฟันผุ

โรคฟันผุมักจะพบได้บ่อยในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน โดยมีปัจจัยเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ

  • การบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต (แป้งและน้ำตาล)
  • การดื่มน้ำที่ไม่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ
  • อาการปากแห้ง
  • การใช้ยาบางชนิด
  • การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ

การรักษาฟันผุ

ฟันผุมีการรักษาได้ต่างๆ กันไป ตามระยะการเกิดโรคก็คือ การใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ หรือการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ จะช่วยรักษา ฟันที่เกือบจะผุ ให้กลับสู่ปกติได้ โดยแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นประจำ และทิ้งยาสีฟัน นั้นให้คงอยู่ในช่องปากนานขึ้นไม่น้อยกว่า 2 นาที แล้วค่อยบ้วนทิ้ง ก็จะช่วยให้ฟันไม่ผุต่อไปได้ (แต่ สำหรับเด็กเล็กๆ ต้องระวังไม่ให้กลืนยาสีฟัน เพราะอาจเกิดผลเสียได้) คนที่มีการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ หรือติดแน่น หรือผู้ที่ใส่ เครื่องมือเพื่อการจัดฟัน หากไม่ได้ดูแลทำความสะอาดฟันอย่างดี จะทำให้เกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ได้ง่าย เกิดความเสี่ยงต่อ การเป็นโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบได้เช่นเดียวกัน

1. อุดฟัน

เมื่อฟันผุเห็นเป็นรูชัดเจน อยู่ในระยะที่มีการทำลายเฉพาะถึงส่วนเนื้อฟัน การอุดฟัน มีวัสดุ 2 แบบ

1.1. การอุดฟันด้วยวัสดุอุดที่เป็นโลหะ (อมัลกัม)

1.2. การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน

2. รักษารากฟัน

เป็นการรักษาโรคฟันผุ ที่มีการผุลุกลามเข้าไปถึงโพรงประสาทฟันแล้ว

3. ถอนฟัน

เมื่อการอักเสบลุกลามไปมาก ไม่เหลือเนื้อฟันที่จะสามารถรักษาฟันซี่นั้น ไว้ได้ต่อไป

การป้องกันฟันผุ

  • แปรงฟันวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์หรือมีคุณสมบัติช่วยลดการก่อตัวของคราบแบคทีเรียได้
  • การใช้ไหมขัดฟัน หรือ แปรงทำความสะอาดฟอกฟันเป็นประจำ เพื่อทำความสะอาดบริเวณซอกฟันหรือบริเวณที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง
  • การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ออกฤทธิ์ในต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • บริโภคอาหารให้เหมาะสมตามหลักโภชนาการ และจำกัดการบริโภคคาร์โบไฮเดรต
  • เข้าพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เป็นประจำ
  • การเคลือบหลุมร่องฟัน ก็เป็นอีกวิธีที่ ทันตแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำ

ในช่องปากของเรามีแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการกินอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล แบคที่เรียจะผลิตสารที่เป็นอันตรายต่อผิวฟันจะค่อย ๆ กัดเซาะไปที่ผิวฟันชั้นนอกเมื่อเวลาผ่านไปผิวเคลือบฟันจะกร่อนลงและเริ่มเห็นร่องฟันชัดขึ้น จึงทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าอยู่ภายในเนื้อฟันได้ เมื่อเข้าไปข้างในแล้วแบคทีเรียสามารถพัฒนานำไปสู่ฟันผุและโรคเหงือกได้ ดังนั้น แคลเซียมสามารถช่วยบำรุงรักษาสุขภาพช่องปากของคุณด้วยการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากแบคทีเรียในช่องปาก แคลเซียมทำหน้าที่เคลือบฟันช่วยให้ฟันของคุณแข็งแรงยิ่งขึ้น คำแนะนำควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อดูแลและตรวจสุขภาพช่องปาก เช่น ถอนฟันรักษารากฟัน ใส่รากฟันเทียม เคลือบฟลูออไรด์ ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด ขอคำแนะนำที่กูกต้องเพื่อสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีของคุณ

ขอบคุณบทความ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

วิธีแก้ท้องผูกง่าย ๆ บทความนี้ช่วยคุณได้

0
วิธีแก้ท้องผูกง่าย ๆ บทความนี้ช่วยคุณได้
ท้องผูก ( Constipation ) เป็น อาการทางเดินอาหารที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากการถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่าสามครั้งต่อสัปดาห์
วิธีแก้ท้องผูกง่าย ๆ บทความนี้ช่วยคุณได้
ท้องผูก ( Constipation ) เป็น อาการทางเดินอาหารที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากการถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่าสามครั้งต่อสัปดาห์

ท้องผูก

ท้องผูก ( Constipation ) เป็น อาการทางเดินอาหารที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากการถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่าสามครั้งต่อสัปดาห์ ส่งผลให้อุจจาระการขับถ่ายอุจจาระแข็งและแห้งเป็นผลจากลำไส้ใหญ่ดูดซับน้ำมากเกินไป โดยปกติเมื่ออาหารเคลื่อนที่ผ่านลำไส้ใหญ่จะมีการดูดซับน้ำในขณะที่ของเสียกำลังถูกกล้ามเนื้อลำไส้บีบรัดและดันอุจจาระไปทางทวารหนัก แต่การที่ลำไส้ไม่สามารถขับของเสียออกได้ตามปกติจึงทำให้เกิดการจับตัวของอุจจาระในลำไส้มีลักษณะแข็งเป็นก้อนเล็กๆ ขับถ่ายออกได้ยากจนทำให้เกิดอาการท้องผูกในผู้สูงอายุ คนท้องท้องผูก เด็กท้องผูก

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการท้องผูก

  • กินอาหารที่มีกากใยไม่เพียงพอ
  • ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
  • การใช้ยาระบายมากเกินไป
  • ลำไส้แปรปรวน
  • ดื่มนมมากเกินไป
  • ชอบกลั้นอุจจาระ
  • ความเครียดสะสม
  • ลำไส้แปรปรวน
  • ใช้ยาระบายบ่อยเกินไป

อาการท้องผูก

  • ปวดท้อง ท้องอืดรุนแรง
  • การขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ต่อสัปดาห์
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็งและเล็ก
  • อุจจาระมีเลือดปน
  • ต้องเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติ
  • รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
  • เบ่งอุจจาระไม่ออก
  • รู้สึกอึดอัดท้อง

การวินิจฉัยอาการท้องผูก

แพทย์จะทำการทดสอบโดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความรุนแรงของอาการท้องผูก

  • ซักประวัติทางการแพทย์ อธิบายเกี่ยวกับอาการท้องผูก ระยะเวลาที่เป็น อาหารที่รับประเข้าไป
  • การตรวจร่างกาย เช่น การตรวจทางทวารหนักแบบดิจิทัล ซึ่งแพทย์จะใส่นิ้วเข้าไปในไส้ตรงเพื่อประเมินกล้ามเนื้อที่ปิดทวารหนักเป็นต้น
  • เอกซเรย์ (X-Ray) ในช่องท้อง

ใครมีความเสี่ยงต่อการท้องผูก

  • ผู้ที่กินอาหารที่มีกากใยน้อย ไม่ชอบกินผัก
  • ดื่มน้ำน้อย
  • ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ผู้ป่วยนอนติดเตียง
  • ผู้ที่มีความเครียด

ภาวะแทรกซ้อนของท้องผูก

ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องผูกเรื้อรังรวมถึง

  • มีเลือดออกทางทวารหนัก
  • เป็นริดสีดวงทวาร
  • เป็นฝีบริเวณทวาร
  • แผลปริที่ผิวหนังขอบทวารหนัก
  • ลำไส้ใหญ่โผล่ออกมาทางทวารหนัก
  • การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการแบ่ง
  • ลำไส้โป่งพอง หรือแตกทะลุได้
  • มะเร็งลำไส้
  • เนื้องอก
  • ลำไส้ตีบตัน

วิธีแก้ท้องผูกง่าย ๆ

ต่อไปนี้สามารถช่วยคุณหลีกเลี่ยงการพัฒนาอาการท้องผูกเรื้อรัง

  • การปรับเปลี่ยนอาหารที่มีไฟเบอร์สูงประมาณ 20 – 35 กรัมต่อวัน เช่น ถั่ว ผัก ผลไม้ ธัญพืชและข้าวกล้อง
  • ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6 – 8 แก้วต่อวัน
  • ควรกินอาหารแปรรูปให้น้อยลง ผลิตภัณฑ์จากนม และเนื้อสัตว์
  • พยายามออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน หรือวันละ 30 นาที
  • พยายามหากิจกรรมเพื่อลดความเครียด
  • พยายามขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน
  • จำกัดปริมาณการดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้ร่างกายขาดน้ำได้
  • อาหารแก้ท้องผูกเรื้อรังควรกินอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เพราะโปรไบโอติกมีประโยชน์ต่อลำไส้มากกว่าการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยระบบย่อยอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โปรไบโอติกช่วยให้ร่างกายของคุณฟื้นตัวหลังจากออกกำลังกาย และลดความเครียดของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
  • ใช้ยาระบายแก้ท้องผูกตามที่แพทย์สั่งเพื่อความปลอดภัย

แม้อาการท้องผูกจะพบได้ในคนทุกวัยโดยเฉพาะเกิดอาการท้องผูกในผู้สูงอายุ คนท้องท้องผูก เด็กท้องผูก หากอาการท้องผูกรุนแรงเรื้อรังอาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นได้แก่ ริดสีดวงทวาร มะเร็งลำไส้ หากคุณมีอาการท้องผูกเรื้อรังควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ไฟเบอร์พรีไบโอติกมีประโยชน์ต่อระบบขับถ่ายอย่างไร

0
พรีไบโอติก
ไฟเบอร์พรีไบโอติกมีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์และแบคทีเรียดีในระบบทางเดินอาหาร
ไฟเบอร์พรีไบโอติกมีประโยชน์ต่อระบบขับถ่ายอย่างไร
prebiotic ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์และแบคทีเรียดีในระบบทางเดินอาหาร พบได้ทั้งผัก ผลไม้ และธัญพืช

พรีไบโอติก

พรีไบโอติก ( Prebiotic ) คือ อาหารสำหรับโปรไบโอติกมีเส้นใยจากธรรมชาติที่ไม่สามารถย่อยได้ จากงานวิจัยพบว่าพรีไบโอติกและโปรไบโอติกมีประโยชน์ต่อสุขภาพลำไส้ ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์และแบคทีเรียดีในระบบทางเดินอาหาร เส้นใยเหล่านี้สามารถป้องกันเชื้อโรคที่ไม่พึงประสงค์ และที่สำคัญช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบลำไส้ได้อย่างสมบูรณ์ช่วยให้ลำไส้แข็งแรงอีกด้วย

อาหารที่มี Prebiotic สูงจากแหล่งธรรมชาติ

พบได้ทั้งผัก ผลไม้ และธัญพืช โดยเฉพาะอาหารดิบมีไฟเบอร์ Prebiotic มากกว่าอาหารปรุงสุก ได้แก่

  • กล้วย มีเส้นใย 2.6 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • กระเทียม มีเส้นใย 1.8 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • ข้าวโอ๊ตดิบ มีเส้นใย 15.4 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • ถั่วเหลือง มีเส้นใย 4.9 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • หอมแดง มีเส้นใย 3.2 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • กะหล่ำปลี มีเส้นใย 3.1 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • ถั่วพิสตาชิโอ มีเส้นใย 10.3 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • ถั่วแดง มีเส้นใย 15.2 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • อาร์ติโชค มีเส้นใย 1.6 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • ข้าวบาร์เลย์ดิบ มีเส้นใย 15.6 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • อัลมอลด์ มีเส้นใย 12.5 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
  • ต้นชิกโครี มีเส้นใย 3 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม

ประโยชน์ของ Prebiotic

  • ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
  • ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ช่วยลดและรักษาความดันโลหิตสูง
  • การป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
  • ช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้
  • ช่วยเพิ่มแบคทีเรียดีในระบบลำไส้
  • ช่วยลดการติดเชื้อในลำไส้
  • ช่วยลดการอักเสบในเยื่อผนังลำไส้
  • ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย
  • ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนสุขภาพ
  • ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารอย่างเหมาะสม
  • เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก
  • ช่วยป้องกันผมร่วง
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  • ช่วยควมคุมน้ำหนัก
  • เพิ่มความอยากอาหาร
  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • ช่วยลดระดับตรกลีเซอไรด์ในเลือด

พรีไบโอติกแม้จะไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง แนะนำให้ทานในปริมาณที่เหมาะสมไม่น้อยกว่า 2.5 – 10 กรัม ต่อวัน จะสามารถช่วยให้อาการท้องผูกและช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปตั้งแต่ 40 – 50 กรัมต่อวัน อาจทำให้ท้องอืดและท้องเสียได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เชื้อพยาธิเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้

0
พยาธิ
พยาธิ ( Parasite ) คือ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ คอยแย่งอาหาร หรือดูดเลือด และมักจะ ทำให้เกิดอันตรายต่อคนหรือสัตว์ตามอวัยวะต่างๆ

 

พยาธิ
เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ คอยแย่งอาหาร หรือดูดเลือด และมักจะ ทำให้เกิดอันตรายต่อคนหรือสัตว์ตามอวัยวะต่างๆ

เชื้อพยาธิ

เชื้อพยาธิ ( Parasite ) คือ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ คอยแย่งอาหาร หรือดูดเลือด และมักจะ ทำให้เกิดอันตรายต่อคนหรือสัตว์ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่มันอาศัยอยู่ พยาธิมีมากมายหลายชนิดแตกต่างกัน นอกจากนี้เราสามารถพบระยะต่าง ๆ ของพยาธิปะปนอยู่ในธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมัน เช่น ในดิน พื้นหญ้า ในน้ำ ในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พืชผักต่าง ๆ น้ำดื่ม และในแมลงพาหนะนำโรคหลายชนิด[/vc_column_text]

พยาธิสามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร

พยาธิสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้หลายทางที่สำคัญคือ

  • ทางปาก เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า พยาธิตัวตืดชนิดต่าง ๆ พยาธิใบไม้ตับ และพยาธิใบไม้ลำไส้บางชนิด พยาธิตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ปอด และพยาธิหอยโขง
  • ทางผิวหนัง เช่น พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย ทางสายรกในครรภ์ เช่น พยาธิตัวจี๊ด

พยาธิที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

1. Toxoplasma gondii ( T. gondii )

เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อปรสิต พบในสัตว์ เช่น นก หนู แกะ และมนุษย์ เกิดจากกินอาหารปนเปื้อนอุจจาระแมว การกินเนื้อไม่สุกหรือเนื้อดิบ ดื่มน้ำหรือของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อ กินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโดยตรงหรือที่ติดมากับเครื่องครัวต่างๆ ไม่ล้างมือหลังสัมผัสเนื้อที่ปนเปื้อน กินผักผลไม้ที่เปื้อนดินหรือน้ำที่ปนเปื้อน อาจมีผลทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ จากการศึกษาผู้ป่วยรายหนึ่งไม่ได้เลี้ยงแมว และไม่มีประวัติครอบครัวของมะเร็งใดๆ ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการกินอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด มีงานวิจัยพบว่าพยาธิ T. Gondii สามารถกำจัดได้ด้วยสารสกัดจากใบพลู ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 2 ได้ลองใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรต่าง ๆ คาดว่ามีใบพลูสกัดอยู่ด้วย ปรากฏว่าค่า PSA ลดลงเหลือเพียง 0.06 ng/ml ( จากเดิมมีค่าสูงเกือบ 20 ng/ml )

2. Trichomonas vaginalis ( T. vaginalis ) หรือ พยาธิในช่องคลอด

เป็นภาวะติดเชื้อปรสิตจากทางเพศสัมพันธ์ ขนาดเล็กยาวประมาณ 7 – 32 ไมโครเมตร และกว้างประมาณ 5 – 12 ไมโครเมตร อาศัยอยู่ในช่องคลอดและท่อปัสสาวะของผู้หญิง ส่วนในผู้ชายพบในต่อมลูกหมาก ในท่อเก็บอสุจิและท่อปัสสาวะ จากการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากรายหนึ่ง ซึ่งมีประวัติครอบครัวของโรคมะเร็ง (มารดาเป็นมะเร็งปอด และยายเป็นมะเร็งลำไส้) คาดว่าสาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อ ร่วมกับพันธุกรรม ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 1 รายนี้รักษาด้วยสารสกัดสมุนไพรกำจัดพยาธิ อาหารเสริม โปรไบโอติก และรวมทั้งเคมีบำบัดและการผ่าตัด

3. Echinococcus granulosus ( E. granulosus )

เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อปรสิตที่เกิดจากพยาธิตัวตืด อาศัยในลำไส้ของหมู ตัวเต็มวัยมีลำตัวแบนคล้ายริบบิ้น มีสีขาว ยาว 2 ถึง 3 เมตรหรือมากกว่า พยาธิดำเนินชีวิตครบวงจรในคนซึ่งเป็นโฮสต์จำเพาะ ( definitive host ) และหมูเป็นโฮสต์ตัวกลาง ( intermediate host ) มนุษย์ติดพยาธิชนิดนี้โดยการกินหมูที่ปรุงไม่สุกที่มีซีสต์และซีสต์เจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้เล็ก จากการศึกษาผู้เข้าร่วมการวิจัยรายหนึ่ง ( ยังไม่ป่วย แต่มีค่า PSA สูงประมาณ 16 – 19 ng/mi ) ที่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและกำจัดพยาธิได้สำเร็จ คาดว่าเชื้อนี้มาจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อน ซึ่งขณะกำลังอยู่ในระหว่างการแก้ไขปรับพฤติกรรมเพื่อลดค่า PSA เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ยีนที่ใช้ค้นหาการแทรกซ้อนฝังตัวของเชื้อโรคในจีโนม

p53 ( TP53 ) หรือ tumor protein 53 คือ ยีนซึ่งทำหน้าที่ซ่อมแซม DNA ที่ผิดปกติ ในกรณีที่ซ่อมแซมไม่ได้ ยีนนี้จะกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติทิ้งด้วยการทำให้เซลล์นั้นตาย ( Apoptosis ) เพื่อไม่ให้เซลล์ที่ผิดปกติมีการแบ่งตัวอีก ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ p53 ( TP53 ) ยังทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อต่างๆที่จะทำลายเซลล์ จนยีนเกิดการกลายพันธุ์ และทำให้ดีเอ็นเอ และ/หรือ อาร์เอ็นเอ หรือ จีโนมของเชื้อแทรกซ้อนฝังตัวเข้ามาในยีนนี้ ( และบนจีโนมของ มนุษย์ ) เป็นต้นเหตุทำให้เกิดการกลายพันธุ์โซมาติก การกลายพันธุ์โซมาติกของยีนนี้พบได้ มากกว่า 50% ในมะเร็งเกือบทุกชนิด เราจึงสามารถใช้ยีนนี้ค้นหาการแทรกซ้อนฝังตัวของเชื้อโรคในจีโนม เพื่อค้นหาเซลล์มะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อ

ตัวอย่างการถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

จากการถอดรหัสยีน p53 (TP53) ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก 2 ราย และ ยังไม่ป่วยแต่มีค่า PSA สูง 1 ราย เราได้พบพยาธิ Toxoplasma gondii (T. gondii) ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะ 2 (ขณะนั้นผู้ป่วยมีอายุ 64 ปี มารับบริการตรวจกับเราเมื่อเดือนกันยายน 2560 ขณะรอทำการรักษาด้วยเคมีบำบัด), พบพยาธิ Trichomonas vaginalis (T. vaginalis) ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 1 (มารับบริการตรวจกับเราเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2561 ขณะอายุ 49 ปี), ส่วนในผู้ที่ยังไม่ป่วยแต่มีค่า PSA สูงขึ้นเรื่อยๆแม้ปรับอาหารและวิธีการใช้ชีวิตอย่างเข้มงวดค่า PSA ก็ยังไม่ลดลง (มารับบริการตรวจกับเราเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2562 ขณะอายุ 60 ปี) เราพบพยาธิ Echinococcus granulosus (E. granulosus)
ดีเอ็นเอของพยาธิทั้ง 3 สายพันธุ์แทรกซ้อนฝังตัวอยู่ในจีโนม(ดีเอ็นเอ)ของผู้รับบริการทั้ง 3 ท่าน ดังแสดงในรูปที่ 1, 2, และ 3 ดังนี้

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก
Figure 1A-1C. การถอดรหัสยีน p53 (TP53) ในเซลล์มะเร็งหรือเซลล์แปลกปลอมที่อยู่ใน พลาสม่าได้พบดีเอ็นเอของพยาธิ Toxoplasma gondii VEG, chromosome chrX, complete genome แทรกซ้อนในเนื้อยีนส่วนที่ 7 (กราฟ 1A ส่วนที่อยู่ในกรอบ) ส่วนรหัสดีเอ็นเอของพยาธิจากฐานข้อมูล GenBank ได้แสดงไว้ในรูป 1B ในที่นี้ ได้ใช้ดีเอ็นเอจากเม็ดเลือดขาวถอดรหัสยีน p53 (TP53) บนบริเวณเนื้อยีนส่วนที่ 7 เปรียบเทียบ (control) เพื่อแสดงให้เห็นดีเอ็นเอปกติที่ยังไม่กลายพันธุ์ (กราฟ 1C)

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก
Figure 2A-2C. การถอดรหัสยีน p53 (TP53) ในเซลล์มะเร็งหรือเซลล์แปลกปลอมที่อยู่ใน พลาสม่าได้พบดีเอ็นเอของพยาธิ Trichomonas vaginalis G3 hypothetical protein (TVAG_248350) partial mRNA แทรกซ้อนในเนื้อยีนส่วนที่ 8 (กราฟ 2A ส่วนที่อยู่ในกรอบ) ส่วนรหัสดีเอ็นเอของพยาธิจากฐานข้อมูล GenBank ได้แสดงไว้ในรูป 2B ในที่นี้ ได้ใช้ดีเอ็นเอจากเม็ดเลือดขาวถอดรหัสยีน p53 (TP53) บนบริเวณเนื้อยีนส่วนที่ 8 เปรียบเทียบ (control) เพื่อแสดงให้เห็นดีเอ็นเอปกติที่ยังไม่กลายพันธุ์ (กราฟ 2C)

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

Figure 3A-3C. การถอดรหัสยีน p53 (TP53) ในเซลล์มะเร็งหรือเซลล์แปลกปลอมที่อยู่ใน พลาสม่าได้พบดีเอ็นเอของพยาธิ Echinococcus granulosus UDP-GlcNAc:betaGal beta-1,3-N-acetylglucosaminyltransferase (EGR_11071), partial mRNA แทรกซ้อนในเนื้อยีนส่วนที่ 5 (กราฟ 3A ส่วนที่อยู่ในกรอบ) ส่วนรหัสดีเอ็นเอของพยาธิจากฐานข้อมูล GenBank ได้แสดงไว้ในรูป 3B ในที่นี้ ได้ใช้ดีเอ็นเอจากเม็ดเลือดขาวถอดรหัสยีน p53 (TP53) บนบริเวณเนื้อยีนส่วนที่ 5 เปรียบเทียบ (control) เพื่อแสดงให้เห็นดีเอ็นเอปกติที่ยังไม่กลายพันธุ์ (กราฟ 3C)

ล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ได้มีงานวิจัยรายงานเชื้อต่างๆได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ และ รา ที่เป็นซิกเนเจอร์ของมะเร็งต่อมลูกหมาก ในบทความนี้ได้ระบุว่าพยาธิ T. gondii, T. vaginalis และ E. Granulosus เป็นซิกเนเจอร์ของมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

1. Sagarika Banerjee, James C Alwine, Zhi Wei, Tian Tian, Natalie Shih, Colin Sperling, Thomas Guzzo, Michael D Feldman, Erle S Robertson, Microbiome signatures in prostate cancer, Carcinogenesis, Volume 40, Issue 6, June 2019, Pages 749–764, https://doi.org/10.1093/carcin/bgz008

[/vc_column][/vc_row]

รู้จักแลคโตบาซิลลัส จุลินทรีย์ดีต่อสุขภาพ

0
แลคโตบาซิลลัส จุลินทรีย์นี้มีประโยชน์อย่างไร
แบคทีเรียชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นโปรไบโอติกที่พบมากในอาหารซึ่งนิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต

แลคโตบาซิลลัส

แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) คือแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พบได้ในหลายระบบของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ และลำไส้ใหญ่ จุลินทรีย์ชนิดนี้มีลักษณะเป็นแท่งเล็ก ๆ ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิร่างกาย และทนต่อสภาวะกรดในลำไส้ รวมถึงน้ำดีที่มีความเป็นกรดสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแลคโตบาซิลลัสใช้การย่อยน้ำตาลแลคโตสในผลิตภัณฑ์นมเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องอืดหลังการดื่มนม และยังส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้แลคโตบาซิลลัสยังเป็นโปรไบโอติกที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต รวมถึงในรูปแบบเสริมอาหารทั้งยาเม็ด ผงชง และยาเหน็บช่องคลอด เพื่อเสริมสร้างสุขภาพทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

Lactobacillus มีประโยชน์อย่างไร

  1. Lactobacillus มีประโยชน์อย่างไร 1 - รู้จักแลคโตบาซิลลัส จุลินทรีย์ดีต่อสุขภาพช่วยในระบบการย่อยอาหาร
  2. ช่วยสร้างวิตามินบี และวิตามินเคให้กับร่างกาย
  3. สร้างสารอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย ต้านมะเร็ง
  4. กระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกาย
  5. ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ
  6. ช่วยลดอาการท้องเสีย
  7. ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง
  8. ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
  9. สร้างสารต้านอนุมูลอิสระ
  10. ช่วยลดอาการท้องผูก
  11. ช่วยป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
  12. ช่วยป้องกันฟันผุ
  13. ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
  14. ช่วยลดความรุนแรงจากผิวสัมผัสกับแสงแดดได้
  15. ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิวได้
  16. ช่วยป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อในช่องคลอด

ชนิดของแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส

ชนิดของแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส1. L.acidophilus ช่วยลดอาการผื่นแพ้และผิวหนังอักเสบในเด็กทารก พบในโยเกิร์ต นม และมิโซะ
2. L. reuteri ช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ ลดอาการภูมิแพ้และโรคทางเดินหายใจ ลดอาการผื่นแพ้ในเด็กเล็ก และป้องกันฟันผุ พบในผักดอง กิมจิ
3. L. rhamnosus GG รักษาโรคท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อ โรคท้องเสียเฉียบพลันในเด็ก พบในนมเปรี้ยว และโยเกิร์ต
4. L. casei ช่วยลดความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า สามารถพบได้ใน นม โยเกิร์ต และนมเปรี้ยว

ข้อดี

ในปัจจุบันมีการนำ Lactobacillus มาทำเป็นยาหรืออาหารเสริมเพื่อป้องกันโรคท้องเสียจากการเดินทาง (Traveler diarrhea) และยังนำมาใช้คู่กับยาฆ่าเชื้อหลังจากที่มีการติดเชื้อท้องเสียแล้วอีกด้วย เช่น

  • ช่วยในคนที่มีปัญหาลำไส้แปรปรวนแบบท้องผูก โรคโคลิกในเด็กเล็ก การสำรอกนม และยังมีช่วยทำให้คนที่ผ่าตัดลำไส้ฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันผ่านระบบ Immunoglobulin ไปต่อสู้กับเชื้อหรือสารต่างๆที่ก่อโรคทางผิวหนัง เช่น แผลพุพอง แผลเปื่อย สิว รวมถึงผื่นแพ้ผิวหนัง ( Allergic dermatitis ) และมีการทดลองว่าสามารถใช้ได้ตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ ไปจนถึงทารกแรกเกิดที่มีปัญหาดังกล่าว
  • ช่วยแก้การตกขาวบ่อยๆในผู้หญิง ทั้งจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยให้มีจุลินทรีย์ที่ดีในช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น ช่วยป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอดซ้ำได้

คำแนะนำ

  • ผลข้างเคียงของ Lactobacillus มีน้อยมาก บางคนอาจจะรู้สึกท้องอืด แน่นท้อง แต่ต้องระมัดระวังการใช้ในผู้ที่มีลิ้นหัวใจผิดปกติเนื่องจากมีรายงานการเกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้โดยเฉพาะในช่วงที่มีการผ่าตัดร่วมด้วย ดังนั้นควรงดรับประทาน Lactobacillus ในช่วงเวลาดังกล่าวหรือปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง
  • การรับประทานยาฆ่าเชื้อร่วมก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพและปริมาณของ lactobacillus ลดลงควรรับประทานห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง และการใช้ร่วมกับยากดภูมิคุ้มกัน จะรบกวนการทำงานของยากดภูมิทำให้ภาวะโรคกำเริบได้

เห็นมั้ยคะว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมีมากจริงๆ รักสุขภาพอย่าลืมทานนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตที่มีแลคโตบาซิลลัสกันทุกวันนะคะ และสำหรับบางคนที่มีโรคหรือแพ้ควรปรึกษาแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม