Home Blog Page 105

เลือดออกตามไรฟัน อาจเป็นสัญญาณเตือนการขาดวิตามินซีของร่างกาย

0
โรคเลือดออกตามไรฟัน หรือ โรคลักปิดลักเปิด
เลือดออกตามไรฟัน หรือ โรคลักปิดลักเปิด เป็นภาวะขาดวิตามินซี ทำให้ร่างกายร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ
โรคเลือดออกตามไรฟัน หรือ โรคลักปิดลักเปิด
เลือดออกตามไรฟัน หรือ โรคลักปิดลักเปิด เป็นภาวะขาดวิตามินซี ทำให้ร่างกายร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ

โรคเลือดออกตามไรฟัน หรือ โรคลักปิดลักเปิด

โรคเลือดออกตามไรฟัน หรือ โรคลักปิดลักเปิด ( Scurvy ) เป็น ภาวะขาดวิตามินซี ( กรดแอสคอร์บิก ) ทำให้ร่างกายร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ ซึ่งไม่สามารถสร้างคอลลาเจน ( Collagen ) ได้นำไปสู่การลายตัวของเนื้อเยื่อในร่างกาย วิตามินซี ( Vitamin C ) ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กหากร่างกายขาดธาตุเหล็กอาจนำไปสู่การเกิดโรคโลหิตจางได้ นอกจากนี้ยังควบคุมการทำงานที่สำคัญอื่น ๆ อีกมากมายเช่น การเจริญเติบโตของร่างกาย การทำงานของเซลล์ การสร้างฮอร์โมน และเนื้อเยื่อ เลือดออกตามไรฟันมักพบในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากได้รับสารอาหาร วิตามินซีที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายที่ได้จากการรับประทานอาหารเข้าไป เป็นต้น

สัญญาณเตือนของอาการเลือดออกตามไรฟันระยะเริ่มต้น

โดยทั่วไปอาการของเลือดออกตามไรฟันที่เห็นได้ชัด คือ มีเลือดออกบริเวณใต้เหงือกและไรฟัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคโลหิตจาง โรคลักปิดลักเปิด โรคเหงือกอักเสบ โดยทั่วไปสัญญาณของเลือดออกตามไรฟันจะเริ่มหลังจากขาดวิตามินซีอย่างรุนแรงอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 4 สัปดาห์หรืออาจใช้เวลา ประมาณ 3 เดือนขึ้นไปกว่าจะมีอาการ ได้แก่

  • ความอ่อนแอ
  • ความเหนื่อยล้าโดยไม่มีสาเหตุ
  • เบื่ออาหาร
  • หงุดหงิดง่าย
  • ปวดขา

หากอาการเลือดออกตามไรฟันหลังจาก 1 ถึง 3 เดือนอาจมีความรุนแรงมากขึ้นหรืออาจทำให้เกิดอาการ ต่อไปนี้

  • มีกลิ่นปากรุนแรง
  • เลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน
  • รู้สึกเจ็บบริเวณเหงือก
  • เหงือกบวมแดง เหงือกอักเสบรุนแรง
  • มีไข้เล็กน้อย
  • ฟันผุ
  • รู้สึกฟันโยก
  • หากไม่ได้รับการรักษาฟันอาจหลุดได้

วิตามินซีเป็นสารอาหารที่จำเป็นใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันและสามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนช่วยให้เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแข็งแรง

  • ช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น
  • ช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก
  • ช่วยเผาผลาญคอเลสเตอรอล
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยในการรักษาบาดแผล

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของการขาดวิตามินซี

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยล้างไต
  • ผู้ที่สูบบุหรี่หนักเสี่ยงต่อการเลือดออกตามไรฟัน
  • ทารกกินนมวัวอย่างเดียว
  • ผู้สูงอายุ บริโภคชาและขนมปังปิ้งเท่านั้น
  • คนจนที่ไม่สามารถซื้อผักผลไม้ได้
  • บุคคลที่มีความผิดปกติในการรับประทานอาหาร
  • เลือดออกตามไรฟันมักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 1 ที่ต้องการวิตามินซีสูง
  • บุคคลที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้อักเสบ
  • ผู้ที่มีธาตุเหล็กเกิน ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียวิตามินซี
  • ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือแพ้อาหาร

การวินิจฉัยโรคเลือดออกตามไรฟัน

ทันตแพทย์จะสอบถามประวัติหากมีโรคประจำตัว เช่น โรคโลหิตจาง และทำการตรวจเหงือกและฟัน เอกซเรย์ช่องปาก เพื่อดูการอักเสบของเหงือกรวมถึงพฤติกรรมการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน หรือชอบแคะฟันหลังจากกินอาหารเสร็จอาจทำให้เลือดออกได้เช่นกัน

การรักษาเลือดออกตามไรฟัน และป้องกันการขาดวิตามินซี

โรคเลือดออกตามไรฟันสามารถรักษาได้โดยการรับประทานอาหารเสริมวิตามินซี ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการได้ภายใน 1 สัปดาห์ เมื่ออาการนี้ดีขึ้นแนะนำให้กินคผักและผลไม้สดเพื่อรักษาระดับวิตามินซี ( Vitamin C ) แนะนำวิธีการแปรงฟันอย่างถูกวิธีให้แก่ผู้ป่วย ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เลือกใช้แปรงสีฟัน ที่เหมาะสมขนแปรงไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป ใช้ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปากที่สามารถป้องกันและยับยั้งแบคทีเรียในช่องปากได้

เลือดออกตามไรฟันในผู้ใหญ่แม้คนที่เป็นโรคเลือดออกตามไรฟันส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้ แต่การรับประทานอาหารที่ไม่ดีหรือพฤติกรรมการกินอาจทำให้เกิดเลือดออกตามไรฟันได้อีกในเด็กและผู้ใหญ่

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

โรคเหงือก การรักษาและวิธีการป้องกัน

0
โรคเหงือก การรักษาและวิธีการป้องกัน
โรคเหงือก ( Gum Disease ) หรือ โรคปริทันต์ คือ การติดเชื้อบริเวณเงือกซึ่งอาจเกิด จากการสะสมของเศษอาหาร
โรคเหงือก การรักษาและวิธีการป้องกัน
โรคเหงือก ( Gum Disease ) หรือ โรคปริทันต์ คือ การติดเชื้อบริเวณเงือกซึ่งอาจเกิดจากการสะสมของเศษอาหาร

โรคเหงือก

โรคเหงือก ( Gum Disease ) หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคปริทันต์ คือ การติดเชื้อบริเวณเงือกซึ่งอาจเกิด
จากการสะสมของเศษอาหาร ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นในประชากรของไทยถึงร้อยละ 80 โรคเหงือก
สามารถแบ่งออกได้ตามความรุนแรงเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 คือ เหงือกอักเสบ ( Gingivitis )
เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะแรกของเงือกอักเสบที่พบได้บ่อยแต่ไม่รุนแรง ซึ่งทำให้เกิดอาการ
ปวดเหงือก เหงือกบวมแดง ระยะที่ 2 คือ โรคปริทันต์อักเสบ ( Periodontitis ) เป็นอาการติดเชื้อที่
รุนแรงกว่าเหงือกอักเสบถึงคิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรไทย เมื่อเหงือกอักเสบแต่ไม่ได้รับ
การรักษาอย่างถูกต้องจะกลายเป็น โรคปริทันต์อักเสบ หรือโรคเหงือกนั่นเอง

อาการของโรคเหงือกอักเสบ ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง

  • มีกลิ่นปากที่รุนแรง
  • เหงือกอักเสบบวดแดง
  • เหงือกเป็นสีแดง หรือสีม่วง
  • เหงือกมีเลือดออกง่าย
  • รู้สึกเจ็บขณะเคี้ยว
  • บางคนอาจทำให้ฟันหลุดได้
  • มีอาการเสียวฟัน
  • มีอาการเหงือกร่น
  • เลือกออกตามไรฟัน หลังการแปลงฟัน
  • มีหนองระหว่างฟันและเหงือก
  • ฟันโยก

สาเหตุของโรคเหงือก

โรคเหงือกส่วนใหญ่มักเกิดจากคราบแบคทีเรียที่ก่อตัวบนเหงือกและฟัน ซึ่งการแปรงฟันอาจไม่
สามารถขจัดคราบแบคทีเรียหรือเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ออกได้หมด และปัจจัยที่สามารถเพิ่มความ
เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกอักเสบ เช่น การดูแลช่องปากที่ไม่ดี อายุมากขึ้น ปากแห้ง ภูมิคุ้มกันต่ำ
พันธุกรรม การติดเชื้อราบางชนิด รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ต่อไปนี้

  • การสูบบุหรี่อย่างหนัก อาจส่งผลกระทบต่อเซลล์เนื้อเยื่อของเหงือกได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงวัยรุ่น วัยหมดประจำ
    เดือน ทำให้เหงือกอ่อนแอเกิดการอักเสบได้ง่ายขึ้น
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ ( Antibiotic ) หรือยาแก้อักเสบบางชนิด อาจมีผลข้างเคียงทำให้การผลิตน้ำลาย
    ลดน้อยลง
  • การขาดสารอาหารและขาดวิตามินซี เมื่อร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอส่งผลให้มีเลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวมแดง แผลหายช้าและทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง
  • ครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคเหงือก อาจเพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยในการติดเชื้อแบคทีเรีย

การวินิจฉัยโรคเหงือก

  • แพทย์ทำการซักประวัติผู้ป่วยเบื้องต้น เช่น การสูบบุหรี่ เป็นเบาหวานหรือไม่ อาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดโรคเหงือกได้
  • การตรวจดูเหงือกและสังเกตสัญญาณของการอักเสบ
  • ใช้ไม้กดบริเวณเหงือกอักเสบดูว่ามีเลือกหรือหนองออกมาหรือไม่

การรักษาโรคเหงือก

  • การขูดหินปูน เป็นวิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบเบื้องต้น
  • การอุดฟันผุ หรือรักษารากฟันให้กลับมาใช้งานได้ปกติ
  • การถอนฟันผุออกเพื่อลดอาการอักเสบของเหงือกได้
  • การผ่าตัดฟันคุด เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเหงือก

จากงานวิจัยพบว่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบสามารถเข้าสู่กระแสเลือด โดยผ่านทาง
เนื้อเยื่อของเหงือกส่งผลต่อปอด หัวใจและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายผู้ป่วย แม้เหงือกอักเสบจะไม่
อันตราย แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีอาจนำไปสู่การสูญเสียฟันได้ หรือพัฒนากลาย
เป็นเหงือกอักเสบเรื้อรังยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจ โรคเบาหวาน โรคหลอด
เลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไขข้ออักเสบ

การป้องกันโรคเหงือก

การดูแลสุขอนามัยในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ใช้เวลาประมาณ 1- 2 นาที ควรแปรงฟันอย่าง
น้อยวันละ 2 ครั้ง รวมกับการใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อลดคราบแบคทีเรีย ลดกลิ่นปาก

  • เข้ารับการตรวจฟันเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์ดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น
    ฟันคุด ผ่าฟันคุด รักษารากฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน ครอบฟัน ถอนฟัน ฟอกสีฟัน เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงลูกอม ขนมขบเคี้ยว อาหาร เครื่องดื่มหรือน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมากๆ
  • ควรดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อป้องกันปากแห้ง
  • เลือกแปรงสีฟัน และยาสีฟันที่มีคุณสมบัติยับยั้งแบคทีเรียในช่องปาก
  • ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำ
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 1 – 2 ครั้ง

อย่างไรก็ตามการป้องกันโรคเหงือกสามารถเริ่มต้นได้ด้วยตนเอง เพียงหมั่นดูแลความสะอาดในช่องปากอยู่เสมอแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เลือกใช้แปรงสีฟันให้เหมาะกับฟันของคุณเพื่อลดการอักเสบของเหงือกและฟันได้ เพียงเท่านี้คุณและคนในครอบครัวก็สามารถมีเหงือกและฟันที่สวย
งามแถมยังมีสุขภาพในช่องปากที่ดีอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

สาเหตุ และ อาการ ของโรคปากนกกระจอก พร้อมทางรักษา

0
สาเหตุ และ อาการ ของโรคปากนกกระจอก พร้อมทางรักษา
โรคปากนกกระจอก ควรรักษาอย่างไรบ้าง
ปากเกิดแผล เป็น ภาวะที่ผิวหนังริมฝีปากขาดความชุ่มชื้นทำให้เกิดการอักเสบบริเวณมุมปากข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง

ปากนกกระจอก

ปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) เป็นภาวะที่ผิวหนังบริเวณมุมปากขาดความชุ่มชื้น จนทำให้เกิดการอักเสบที่มุมปาก อาจเกิดขึ้นได้ทั้งข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง อาการที่พบได้บ่อยคือ รอยแดง ปากแห้ง เจ็บแสบ ปากเปื่อย เนื้อเยื่อภายในปากเปลี่ยนเป็นสีขาว และรู้สึกเจ็บบริเวณมุมปากเมื่ออ้าปากหรือรับประทานอาหาร อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวมักจะดีขึ้นและหายไปเองภายใน 7-10 วัน

อาการของโรค

  • รู้สึกเจ็บปวดแสบร้อนที่มุมปาก
  • มีลักษณะผิวหนังที่มุมปากลอก ปากเป็นขุยและคัน
  • เกิดผื่นแดง รอยแยกที่มุมปาก
  • มีเลือดออก
  • ริมฝีปากแห้งแตก (ขาดความชุ่มชื้น)
  • รู้สึกตึงบริเวณมุมปากขณะอ้าปาก
  • แผลพุพองมุมปาก

สาเหตุและปัจจัยการเกิดโรค

สาเหตุและปัจจัยการเกิดโรค - สาเหตุ และ อาการ ของโรคปากนกกระจอก พร้อมทางรักษาสาเหตุของโรคเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในเด็กและผู้สูงอายุที่สูญเสียฟัน อาจทำให้ริมฝีปากบนยื่นออกมาเหนือริมฝีปากล่างและทำให้มุมปากลึกขึ้นซึ่งส่งผลให้มีน้ำลายอยู่ตลอดเวลาและส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง อาจมีเชื้อราในช่องปากยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดได้ง่ายขึ้นมีสาเหตุหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

  • มีน้ำลายออกมามากเกินไปที่มุมปาก
  • การสะสมของคราบน้ำลายที่มุมปาก
  • การเลียริมฝีปากบ่อย ๆ
  • ริมฝีปากขาดความชุ่มชื้นเป็นเวลานาน
  • การติดเชื้อรา
  • การขาดวิตามินบี
  • การขาดธาตุเหล็กและสังกะสี
  • ผู้ที่แพ้ลิปสติก จนริมฝีปากแห้งมีรอยแดง
  • โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น ดาวน์ซินโดรม ( Down Syndrome )
  • ฟันปลอมหลวม
  • สภาพผิวแห้งแพ้ง่าย
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและสุขภาพไม่ดี เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น
  • แพ้ยาสีฟันทำให้มุมปากลอก
  • การสูบบุหรี่เป็นระยะเวลาหลายปี
  • มือสัมผัสกับสารเคมีแล้วจับโดนปาก

วิธีการรักษา

  • วิธีการรักษา - สาเหตุ และ อาการ ของโรคปากนกกระจอก พร้อมทางรักษาใช้ยาต้านเชื้อรา เช่น ไมโคนาโซล ไนสแตนดิน โคลไตรมาโซล คีโตโคนาโซล
  • ใช้ยาต้านแบคทีเรีย เช่น มิวพิโรซิน กรดฟูซิดิก
  • ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ช่วยบรรเทา เช่น ยาสเตียรอยด์ชนิดทา น้ำยาฆ่าเชื้อ ผลิตภัณฑ์บำรุงความชุ่มชื้นให้ปาก
  • อาหารเสริม เช่น ขาดธาตุเหล็ก หรือขาดวิตามินบี 2

วิธีการป้องกันอย่างไร

  • วิธีการป้องกันอย่างไรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบีในปริมาณที่มากกว่าปกติ เช่น ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ เป็นต้น
  • ทายาฆ่าเชื้อที่ปาก
  • ทาลิปเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ปาก
  • ควรดื่มน้ำให้มากๆ สามารถป้องกันปากแห้งได้
  • ห้ามเลียริมฝีปาก
  • งดสูบบุหรี่
  • ไม่ควรใส่ฟันปลอมที่หลวม หรือคับเกินไป
  • ควรสังเหตุอาการแพ้สารเคมีบางอย่าง เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก
  • หากมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด และทำการรักษาต่อไป

อย่างไรก็ตามการป้องกันปากนกกระจอกสามารถทำได้ด้วยตนเอง แค่กินอาหารประเภทธาตุเหล็ก วิตามินบี สามารถลดสาเหตุการเกิดโรคได้โดยไม่ต้องรักษาทางการแพทย์ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ริมฝีปากด้วยการดื่มน้ำและทาลิปสติกเพื่อบำรุงผิวปากเพียงเท่านี้คุณก็มีริมฝีปากที่สวยงาม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

นมอัดเม็ด ไม่มีน้ำตาลช่วยป้องกันฟันผุ

0
นมอัดเม็ด ไม่มีน้ำตาลช่วยป้องกันฟันผุ
แคลเซียม ( Milk Tablets ) เป็นวิธีที่ทำให้นมอยู่ได้นานขึ้น และง่ายต่อการรับประทาน อุดมไปด้วยแคลเซียม โปรตีน โปรไบโอติก คอลลาเจน วิตามินและแร่ธาตุจากธรรมชาติ
นมอัดเม็ด ไม่มีน้ำตาลช่วยป้องกันฟันผุ
แคลเซียม ( Milk Tablets ) เป็นวิธีที่ทำให้นมอยู่ได้นานขึ้น และง่ายต่อการรับประทาน อุดมไปด้วยแคลเซียม โปรตีน โปรไบโอติก คอลลาเจน วิตามินและแร่ธาตุจากธรรมชาติ

นมอัดเม็ด

นมอัดเม็ด ( Milk Tablets ) เป็นวิธีที่ทำให้นมอยู่ได้นานขึ้น และง่ายต่อการรับประทาน ซึ่งมีวิวัฒนาการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมอัดเม็ดไม่มีน้ำตาล ( Milk Tablets Sugar Free ) โดยเป็นแหล่งพลังงานอีกทางเลือกหนึ่งเปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการอุดมไปด้วยแคลเซียม โปรตีน โปรไบโอติก คอลลาเจน วิตามินและแร่ธาตุจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นนวัตกรรมการแปรรูปนมผงเข้มข้นอัดเม็ดจากงานวิจัยสู่สินค้าเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับคนรักสุขภาพ เหมาะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อคนทุกเพศทุกวัยปราศจากน้ำตาลทำให้ร่างกายแข็งแรง และยังช่วยป้องกันฟันผุด้วยอีกด้วย ในปัจจุบันจึงมีการบรรจุในซองซิปล็อคออกแบบให้ดูสวยงาม ทันสมัย พกพาสะดวก ไม่หกเลอะเทอะ เม็ดนมไม่แตกง่าย อมอร่อย เคี้ยวเพลิน เหมาะสำหรับคนไม่ชอบดื่มนมจึงได้พัฒนานมผงอัดเม็ดขึ้นมาเพื่อให้ทานง่ายขึ้นหรือจะกินเป็นขนมกินเล่น กินก่อนหรือหลังออกกำลังกายก็ยิ่งดี รสชาติอร่อยกลมกล่อม เข้มข้น มีกลิ่นหอมไม่มีน้ำตาล

ทำไมต้องใช้การแปรรูปโดยการอัดเม็ด

นวัตกรรมแปรรูปสินค้าทางการเกษตรกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันโดยนำผัก สมุนไพร นมมาอัดเม็ด หรือที่เรารู้จักกันคือ นมปรุงแต่งอัดเม็ด ผลไม้อัดเม็ด โยเกิร์ตอัดเม็ด ผักอัดเม็ด เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาในการบริโภคผักสด น้ำนม หรือไม่มีเวลาในการดูแลตัวเอง แต่ต้องการได้รับโภชนาการคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วน จึงมีการทำนมปรุงแต่งชนิดเม็ดให้น่ากิน มีให้เลือกหลากหลายรสชาติ เช่น นมอัดเม็ดรสออริจินอล รสโยเกิร์ตนม รสช็อกโกแลตนม นมอัดเม็ดรสสตรอว์เบอร์รี นมอัดเม็ดรสกล้วย นมอัดเม็ดรสชาเขียว นมอัดเม็ดรสชาไทย นมอัดเม็ดรสมะพร้าว และรสนมคอลลาเจน ที่มีวางขายตามท้องตลาดนั่นเอง

ตารางคุณค่าทางโภชนาการของนมอัดเม็ด

นมอัดเม็ดในปริมาณ 12.5 กรัม (เท่ากับนมอัดเม็ด 10 เม็ด) ให้พลังงานทั้งหมด 60 กิโลแคลอรี่ 

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
ไขมัน 2 กรัม
โคเลสเตอรอล 5 มิลลิกรัม
โปรตีน 2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 8 กรัม
โซเดียม 20 มิลลิกรัม
วิตามิน A 2 เปอร์เซ็นต์
วิตามิน บี2 10 เปอร์เซ็นต์
วิตามินบี1 2 เปอร์เซ็นต์
แคลเซียม 8 เปอร์เซ็นต์

ประโยชน์ของนมอัดเม็ด

  • ช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ
  • ช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง
  • ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต
  • ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
  • ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง
  • ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
  • ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
  • คอลลาเจนมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้อ่อนเยาว์อยู่เสมอ
  • โปรไบโอติกมีส่วนช่วยให้ย่อยง่าย
  • นมอัดเม็ดมีรสชาติไม่แตกต่างจากนมสด
  • ได้รับคุณค่าทางสารอาหารเทียบเท่ากับการดื่มนม
  • นมอัดเม็ดมีรูปแบบคล้ายขนมกินเล่นเป็นที่นิยมในเด็กและคนทำงาน เพราะสามารถกินได้ทุกเวลา

มาตรฐานน้ำโคนมดิบ

กระทรวงเกษตรและสหกรณได้ประกาศกําหนดใช้มาตรฐานสินคาเกษตร เรื่อง น้ำนมโคดิบ (raw cow milk) หมายถึง น้ำนมที่ไดจากแมโคหลังคลอดลูกแล้วไม้น้อยกว่า 3 วัน ต้องไม่มีน้ำนมเหลือง (colostrum) ปนไม่ผ่านการแยกองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งของน้ำนมออกหรือเติมสารอื่นใด และไม่ผ่านกรรมวิธีใดๆ ยกเว้นการทําใหเย็น ซึ่งในมาตรฐานนี้จะใช้คําว่า ” น้ำนมดิบ ”

คุณภาพของน้ำนมดิบ

1 ) มีสีขาวหรือสีขาวนวล กลิ่น รส ตามธรรมชาติ
2 ) ต้องสะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอม
3 ) ไม่มีการตกตะกอนของโปรตีน เมื่อทดสอบขั้นตอนด้วยการทําปฏิกิริยาของน้ำนมดิบกับเอทิลแอลกอฮอลที่เข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่ผ่านให้ตรวจยืนยันด้วยวิธีทําให้ร้อนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เพื่อดูการจับกันเป็นก้อน
4 ) มีค่าความเป็นกรด (Titratable Acid) ไม่เกิน 0.16 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าความเปนกรด – เบส (pH) อยู่ในช่วง 6.6 ถึง 6.8 องศาเซลเซียส
5 ) มีจุดเยือกแข็งไม่สูงกว่า – 0.520 องศาเซลเซียส
6 ) มีความถ่วงจําเพาะไม่ต่ำกว่า 1.028 ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
7 ) ใช้เวลาการเปลี่ยนสีของเมทิลีนบลู (Methylene Blue) มากกว่า 4 ชั่วโมง หรือมีการเปลี่ยนสีของรีซาซูลีน (Resazurin) ที่ 1 ชั่วโมงไม่น้อยกว่า เกรด 4.5
8 ) มีจํานวนเซลล์โซมาติกหรือเซลล์ร่างกาย (Somatic Cell) ไม่เกิน 500,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร (cells/ml)
9 ) ปริมาณโปรตีน ไม่ต่ำกว่า 3.00 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
10 ) ปริมาณไขมัน ไม่ต่ำกว่า 3.35 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
11 ) ปริมาณเนื้อนมไม่รวมมันเนยหรือของแข็งไม่รวมไขมันนม (milk solids not fat) ไม่ต่ำกว่า 8.25 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

อย่างไรก็ตามการทานอาหาร 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่หรือแร่ธาตุ วิตามิน ไขมัน และนมอัดเม็ด สามารถทำควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้คุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงยิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เชื้อราในปาก ที่เกิดในทารกและผู้สูงอายุอันตรายหรือไม่

0
โรคเชื้อราในปาก ( Oral Thrush ) เกิดจากการติดเชื้อรายีสต์ มีลักษณะเป็นฝ้าสีขาวข้นพบได้บ่อยในทารกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก คอของทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน และส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุในบางครั้ง
เชื้อราในปาก ที่เกิดในทารกและผู้สูงอายุอันตรายหรือไม่
โรคเชื้อราในปาก ( Oral Thrush ) มีลักษณะเป็นฝ้าสีขาวข้นพบได้บ่อยในทารกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก และผู้สูงอายุในบางครั้ง

โรคเชื้อราในปาก

โรคเชื้อราในปาก ( Oral Thrush ) เกิดจากการติดเชื้อรายีสต์ที่เรียกว่า แคนดิดา ( Candida albicans ) โดยปกติเชื้อราแคนดิดาจะอาศัยอยู่บริเวณผิวหนังภายในร่างกายของมนุษย์ เช่น ปาก คอ ลิ้น เยื่อบุกระพุ้งแก้ม ริมฝีปากด้านใน เหงือก ต่อมทอนซิล เพดานปาก ลำไส้ และช่องคลอด ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อาจเจริญเติบโตจนไม่สามารถควบคุมได้หรือมีการแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่ลึก เช่น กระแสเลือด ไต หัวใจ หรือสมอง เชื้อราแคนดิดาบาชนิดมีความทนทานต่อยาต้านเชื้อราที่ใช้ในการรักษา จะสังเกตเห็นเป็นฝ้าสีขาวข้นพบได้บ่อยในทารกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก คอของทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน และส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุในบางครั้ง

อาการเชื้อราในช่องปาก

  • รู้สึกเจ็บปากและแสบร้อนในปาก
  • พบคราบฟ้าสีขาวที่บริเวณลิ้น เยื่อบุกระพุ้งแก้ม ริมฝีปากด้านใน เหงือก ต่อมทอนซิล และเพดานปาก
  • รู้สึกกลืนลำบาก
  • รู้สึกปากแห้ง
  • สูญเสียการรับรสชาติ
  • รอยแตกที่มุมปาก
  • มีเลือดออกเล็กน้อย
  • ปากและลำคอแดง
  • มีแผลพุพองในปาก

โรคเชื้อราในปาก ( Oral Thrush ) มีลักษณะเป็นฝ้าสีขาวข้นพบได้บ่อยในทารกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก และผู้สูงอายุในบางครั้ง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปาก

  • ทารกและผู้สูงอายุ
  • การมีสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี
  • การติดเชื้อราแคนดิดาในทารกแรกเกิดเป็นการติดเชื้อจากช่องคลอดของมารดา
  • การติดเชื้อแคนดิดาในที่อื่น ๆ เช่น ในทารกผิวหนังอักเสบติดเชื้อจากผ้าเช็ดปาก
  • ผู้ติดเชื้อเอดส์ ( HIV )
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่มีอาการปากแห้งบ่อยจากยาแก้แพ้ ยาขับปัสสาวะ
  • การทำความสะอาดฟันปลอมไม่ดี
  • การสูบบุหรี่อย่างหนัก
  • การได้รับบาดเจ็บที่ปาก
  • การขาดสารอาหาร เช่น ขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี
  • การรับประทานยาฆ่าเชื้อ ( ยาปฏิชีวินะ ) เป็นเวลานานในปริมาณมาก สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเชื้อราในช่องปากได้
  • ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำหรือบกพร่อง
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้น สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์
  • การได้รับเคมีบำบัด หรือการฉายแสงเพื่อรักษามะเร็ง

การวินิจฉัยโรคเชื้อราในปาก

1. แพทย์จะทำการซักถามประวัติการใช้ยาปฏิชีวนะหรือการใช้ยาครั้งล่าสุดของผู้ป่วย ซึ่งอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยอ่อนแอลงได้เช่นกัน
2. แพทย์จะพิจารณาจากประวัติอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคเอชไอวี หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ร่วมด้วย
3. หากเป็นการติดเชื้อราในปากแพทย์จะดูลักษณะของฝ้า รอยแดง ที่เกิดขึ้นอาจมีการขูดเอาฝ้าขาวในปากไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร

การรักษาโรคเชื้อราในปาก

โดยปกติโรคเชื้อราในปากหากมีอาการที่ไม่รุนแรงสามารถหายเองได้ภายใน 7-14 วัน สำหรับการติดเชื้อที่รุนแรงการรักษาโดยทั่วไป คือ การกินยาต้านเชื้อรา หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นหลังจากกินยาแพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของเชื้อราในช่องปาก

ในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมักไม่ค่อยเกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ในผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำอาการอาจรุนแรงและแพร่กระจายไปยังหลอดอาหาร เข้าสู่กระแสเลือด และการแพร่กระจายไปยังหัวใจ สมอง ตา หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามจนเสียชีวิตได้

การป้องกันเชื้อราในช่องปาก สำหรับทารกและผู้สูงอายุ

  • เชื้อราในช่องปากเป็นการติดเชื้อที่พบบ่อยในทารก แต่สามารถป้องกันได้ โดยการทำความสะอาดขวดนมและจุกนมให้สะอาดด้วยน้ำร้อนป้องกันเชื้อราได้
  • บ้วนปากหลังรับประทานอาหารเสร็จทุกครั้ง
  • แปรงฟัน แปรงลิ้น แปรงเหงือก อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ในทารกให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดบริเวณลิ้นที่เกิดฝ้าสีขาวหลังกินนม
  • ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
  • งดสูบบุหรี่
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว
  • การถอดฟันปลอมเพื่อทำความสะอาดทุกวัน
  • ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพในช่องปาก

เชื้อราในปากสามารถป้องกันได้ด้วยตนเองเพียงดูแลความสะอาดฟัน ลิ้น เหงือก และอุปกรณ์ที่ใช้ในช่องปาก เช่น แปรงสีฟัน ฟันปลอม ขวดนม จุกนมของคุณให้สะอาดอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในปากของคุณและลูกน้อยได้แล้ว

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ร้อนในเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

0
ร้อนในเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง
โรคแผลในปาก ( Mouth ulcers ) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ร้อนใน ( Aphthous ulcers ) คือ เกิดจากการกัดหรือได้รับบาดเจ็บในช่องปากทำให้เกิดเป็นแผลขนาดเล็กลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรีไม่ลึก
ร้อนในเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง
ร้อนใน ( Aphthous ulcers ) หรือ โรคแผลในปาก ( Mouth ulcers ) เกิดจากการกัดหรือได้รับบาดเจ็บในช่องปากทำให้เกิดเป็นแผลขนาดเล็กลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรีไม่ลึก

ร้อนใน

ร้อนใน ( Aphthous ulcers ) หรือ โรคแผลในปาก ( Mouth ulcers ) คือ เกิดจากการกัดหรือได้รับบาดเจ็บในช่องปากทำให้เกิดเป็นแผลขนาดเล็กลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรีไม่ลึก ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้ม เหงือก โคนลิ้น ใต้ลิ้น ด้านในริมฝากปาก สังเกตได้จะมีแผลรู้สึกเจ็บปวดจากการอักเสบทำให้แผลร้อนในเกิดการบวมแดงและมีสีเหลืองบริเวณปากแผลร้อนใน แต่ร้อนในไม่ใช่โรคติดต่อมักจะหายไปเองภายใน 1 ถึง 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจมีอาการของแผลร้อนในที่รุนแรง ดังนี้
1. เกิดความผิดปกติหรือความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
2. เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน
3. การขาดวิตามินหรือแร่ธาตุ
4. การติดเชื้อไวรัส

สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในปากหรือร้อนใน

ร้อนในบริเวณปากมักไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ตามแผลในปากส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น

  • การกัดกระพุ้งแก้ม กัดปาก กัดลิ้นตัวเอง
  • เหล็กดัดฟันเกี่ยวปาก หรือเหล็กดัดฟันเกี่ยวกระพุ้งแก้มทั้ง 2 ข้าง
  • ฟันปลอมหลวม อาจเกิดการเสียดสีทำให้เกิดแผลในปากและเหงือกได้
  • เกิดบาดแผลขณะรับประทานอาหาร เช่น อาหารแข็ง อาหารเผ็ด อาหารร้อน เป็นต้น
  • การแพ้อาหารหรือโรคภูมิแพ้
  • การแปรงสีฟันหรือยาสีฟันที่ทำให้ระคายเคืองในช่องปาก
  • เครียด (เครียดสะสม)
  • รู้สึกเหนื่อย
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือพักผ่อนน้อย
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ในระหว่างตั้งครรภ์
  • โรคลำไส้อักเสบ (IBD)
  • ขาดวิตามินบี12 (vitamin b12)
  • ขาดธาตุเหล็ก (iron)
  • การหยุดสูบบุหรี่
  • คนอาจเกิดแผลในปากเมื่อเลิกสูบบุหรี่เป็นครั้งแรก
  • ดื่มน้ำน้อย

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

  • แผลเปื่อยในปากขนาดใหญ่ผิดปกติ
  • แผลที่เกิดซ้ำโดยที่แผลใหม่จะเกิดขึ้นก่อนที่แผลเก่าจะหายหรือมีการระบาดบ่อย
  • แผลร้อนในที่เป็นนานเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป
  • แผลในปากที่ขยายเข้าไปในริมฝีปาก (ขอบสีแดง)
  • รู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นกว่าปกติ
  • กินหรือดื่มน้ำลำบากมาก
  • มีไข้สูง
  • ท้องเสียทุกครั้งที่เป็นร้อนใน

ภาวะแทรกซ้อนของอาการร้อนใน

  • เกิดความเจ็บและลำบากในการพูด แปรงฟัน หรือรับประทานอาหาร
  • เกิดความอ่อนเพลีย
  • เป็นไข้
  • เกิดการอักเสบของผิวหนังบริเวณข้างเคียง

วิธีการรักษาและป้องกันร้อนในแผลในปาก

แผลในปากส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา การรักษามีหลายวิธีสามารถลดความเจ็บปวดและช่วยให้แผลในปากหายเร็วขึ้น ดังนี้

  • ป่วนปากด้วยน้ำเกลืออย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน
  • ยาทาแก้ร้อนใน ไตรโนโลนชนิดป้ายปาก (TRINOLONE ORAL PASTE)
  • กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารประเภท กรดโฟลิก วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และสังกะสี
  • หลีกเลี่ยงอาหาร ผลไม้ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อแผลในช่องปาก เช่น สับปะรด ส้ม อาหารรสเผ็ด
  • เปลี่ยนแปลงสีฟันใหม่ที่ขนนุ่มขึ้น
  • หลีกเลี่ยงน้ำยาบ่วนปากในขณะที่มีแผลในปาก
  • ควรรักษาสุขอนามัยในช่องปากให้ดี โดยการแปรงฟันหลังอาหารและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ อย่างน้อย 5 – 8 แก้วต่อวัน

เคล็ดลับการป้องกันและรักษาแผลร้อนในทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง เพียงแค่หลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้เกิดความระคายเคืองในปาก เช่น ถั่วทอด มันฝรั่งทอด อาหารรสจัด อาหารเค็มจัดและผลไม้ที่มีกรดมาก ควรดูแลสุขภาพและอนามัยของช่องปากให้ดี เช่น แปรงฟันหลังมื้ออาหารเป็นประจำ ใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง จะช่วยให้ช่องปากสะอาดไม่มีเศษอาหารตกค้างอยู่ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลร้อนในได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

มันเทศหรือมันม่วง ทําเมนูอะไรได้บ้าง

0
มันเทศหรือมันม่วง ทําเมนูอะไรได้บ้าง
มันเทศ ( Sweet Potato ) เป็น พืชล้มลุกประเภทไม้เถาเลื้อยจะมีรากฝอยแขนงเล็ก ๆ ซึ่งรากมันเทศนั้นมีหน้าที่สำคัญในการเก็บสะสมอาหาร มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย
มันเทศหรือมันม่วง ทําเมนูอะไรได้บ้าง
มันเทศ ( Sweet Potato ) เป็น พืชล้มลุกประเภทไม้เถาเลื้อยจะมีรากฝอยแขนงเล็ก ๆ ซึ่งรากมันเทศนั้นมีหน้าที่สำคัญในการเก็บสะสมอาหาร มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย

ประโยชน์ และสรรพคุณของมันเทศสีม่วง

มันเทศสีม่วง ( Sweet Potato ) มันเทศญี่ปุ่น หรือมันหวานญี่ปุ่น คือ มันเทศที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เรียกมันเทศตามสีเปลือกและสีเนื้อซึ่งมีความต่างกันออกไปตามสายพันธุ์มันเทศ ได้แก่ เทศม่วง มันเทศขาว มันเทศเหลือง และมันเทศส้ม โดยมันเทศญี่ปุ่นมีลักษณะทรงกรวย ทรงกลมรี ทรงกระบอก ยาวรี หัวเรียวท้ายเรียว กลางป่องออก มีเปลือกบางเรียบหรือขรุขระ เนื้อแน่น เนื้อละเอียดเหนียวนุ่ม และรสชาติหวานอร่อย

มันเทศ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea batatas (L.) Lam.ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพช่วยให้อิ่มนาน เหมาะสำหรับการคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก และผู้ที่เป็นเบาหวาน เพราะสามารถลดระดับน้ำตาลและไขมันไม่ดี LDL จุดเด่นของมันม่วง คือ เนื้อด้านในเป็นสีม่วงน่ากินสุด ๆ กลิ่นหอม มีรสชาติหวานมัน ซึ่งมันม่วงอุดมไปด้วยวิตามินเอ เบตาแคโรทีน ช่วยการมองเห็น มีแคโรทีนอยด์ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง

ลักษณะมันเทศ

เนื่องด้วยการปลูกมันเทศ มันเทศญี่ปุ่นเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่เกษตรไทยให้ความสนใจอยู่ไม่น้อยจะมีเทคนิคการปลูกมันเทศอย่างไร แล้วมันเทศใช้เวลากี่เดือนเก็บผลผลิตได้

  • ลำต้น เป็นพืชล้มลุกประเภทไม้เถาเลื้อย มีลำต้นเดี่ยว ลำต้นมีลักษณะกลม เป็นเถาแข็งและเหนียว มียางสีขาว เถาจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนอ่อนปกคลุมลำต้นสีม่วง สีเขียว หรือม่วงแกมเขียว
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะรูปหัวใจ โคนกว้าง ปลายแหลม หรือมีรอยเว้าลึกสามแฉก มีก้านใบรองรับสั้นหรือยาว ตามสายพันธุ์ ใบมีขนอ่อนๆ มีเส้นใบสีม่วง ใบมีสีเขียว
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อ มีลักษณะทรงแตร กลีบดอกด้านนอกมีสีฟ้าอ่อน ส่วนตรงกลางมีสีชมพูอมม่วง มีก้านยาวรองรับ กลีบเลี้ยงมีสีเขียว มีดอกออกตามซอกใบ
  • หัวมันเทศหรือมันเทศญี่ปุ่น มีลักษณะทรงกรวย มีเปลือกแข็ง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล ผลแก่จัดจะแตกได้ มีเมล็ดเล็กๆอยู่ข้างใน มันเทศญี่ปุ่นอายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 90-100 วัน
  • ราก มีระบบรากฝอย จะมีรากแขนงเล็กๆ ออกตามข้อได้ มีสีน้ำตาล มีรากที่สะสมอาหาร แล้วขยายตัวออกเป็นหัว อยู่ใต้ดิน มีลักษณะทรงกรวย ทรงกลมรี ทรงกระบอก ยาวรี หัวเรียวท้ายเรียว กลางป่องออก มีเปลือกบางเรียบหรือขรุขระ มีสีน้ำตาล หรือสีม่วง อาจมีรากเล็กๆอยู่ด้วย มีเนื้อข้างในสีเหลือง สีส้ม สีขาวนวล สีม่วง สีแดงม่วง ตามสายพันธุ์ มีรสชาติหวานมัน หนึ่งต้นจะมีอยู่หลายหัว

ปลูกมันเทศอย่างไรให้หัวใหญ่ เนื้อหวานอร่อยมาดูกันเลย

1.ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยคอกลงไปในแปลงดินที่จะปลูกอัตราส่วน 1 ไร่ต่อ 2 ตัว เน้นเป็นปุ๋ยคอกจากมูลวัว มูลไก่ เป็นต้น
2.ไถก่อน 1 รอบ แล้วตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน
3.ไถตีดินให้ดินละเอียด หลังจากนั้นทำการยกล่องให้เป็นรูปสามเหลี่ยมให้มีขนาด กว้าง 50-80 เซนติเมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร
4.นำต้นพันธุ์มันเทศสีม่วงที่คัดลำต้นที่แข็งแรงฝังลึกลงดิน 2-3 ข้อ ปลูกในแปลงที่เตรียมไว้เว้นระยะปลูกระหว่างต้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตร
5.ติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ โดยให้น้ำ 3 วันต่อครั้ง หากดินมีความชื้นอาจเว้นประมาณ 5-7 วัน
5.พอมันเทศมีอายุครบ 60 วัน เริ่มให้ปุ๋ยโดยฉีดพ่นทางใบมันควรคู่ไปกับการใช้ปุ๋ยสูตร เช่น 0-52-34 ทุกๆ 15 วัน เพื่อเป็นการเร่งให้มันเทศลงหัว
6.มันเทศมีอายุประมาณ 100-140 วัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สายพันธุ์มันเทศที่เลือกใช้ สภาพอากาศ เป็นต้น

ตาราง คุณค่าทางโภชนาการของมันเทศสีม่วง 100 กรัม

สารอาหารจากหัวมันม่วงดิบ 100 กรัม ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญ พลังงาน 86 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมารสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 20.1 กรัม
แป้ง 12.7 กรัม
น้ำตาล 4.2 กรัม
ใยอาหาร 3 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
โปรตีน 1.6 กรัม
เบตาแคโรทีน 8,509 ไมโครกรัม
วิตามินเอ 709 (I.U.)
วิตามินบี 1 0.078 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.061 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.557 มิลลิกรัม
วิตามินบี 5 0.8 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 0.209 มิลลิกรัม
วิตามินบี 9 11 ไมโครกรัม
วิตามินซี 2.4 มิลลิกรัม
วิตามินอี 0.26 มิลลิกรัม
แคลเซียม 30 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.61 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม
แมงกานีส 0.258 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 47 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 337 มิลลิกรัม
โซเดียม 55 มิลลิกรัม
สังกะสี (ซิงค์) 0.3 มิลลิกรัม
ไธอามีน 0.1 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.04 มิลลิกรัม
ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก 30 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมันเทศสีม่วง

มันเทศมีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย โดยเฉพาะสายพันธุ์สีม่วงและสีส้ม

  • มันเทศสีม่วงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องร่างกายของคุณจากสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถทำลาย DNA และทำให้เกิดการอักเสบได้
  • มันเทศ มีเส้นใย 2 ชนิดคือละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ยังเป็นแหล่งไฟเบอร์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของลำไส้ และระบบทางเดินอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
  • ช่วยป้องกันมะเร็งบางประเภทได้ เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม จากการวิจัยพบว่าในเนื้อมันเทศสีม่วงมีสารแอนโทไซยานินที่สามารถยับยั้งป้องกันมะเร็งลำไส้ระยะเริ่มต้นได้
  • มันเทศอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายและใช้ในการสร้างตัวรับแสง และตรวจจับแสงภายในดวงตา ช่วยในเรื่องการมองเห็น ช่วยป้องกันและชะลอเซลล์ตาเสื่อมได้
  • มันม่วงสามารถป้องกันและลดการอักเสบของสมองจากภาวะสมองเสื่อมลงได้ ช่วยบำรุงสมองเพิ่มความจำ
  • มันเทศสีส้ม อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินเอจากธรรมชาติช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง
  • ช่วยลดอาการติดเชื้อ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
  • การกินมันม่วงช่วยลดเอนไซม์ตับซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะตับอักเสบได้
  • ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และเส้นเลือดอุดตัน
  • ช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์

15 ขนมไทย สูตรเมนูจากมันม่วง

ปัจจุบันตามท้องตลาดมีความต้องการมันเทศสีม่วง มันเทศญี่ปุ่นมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อการใช้ในผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ เช่น มันเทศเชื่อม มันเทศทอด มันเทศอบกรอบ มันเทศเส้น มันเทศอบแห้ง มันม่วงกวน และผงมันเทศสีม่วงรวมถึงนำมาทำเป็นเมนูจากมันม่วง ได้แก่

1) ไข่มุกมันม่วง
ส่วนผสม : เนื้อมันม่วง หรือผงมันม่วง 5 กรัม นมข้นจืด 1 ออนซ์ น้ำเชื่อม 120 กรับ น้ำแข็ง 1 แก้ว

2) ขนมไข่นกกระทามันม่วง
ส่วนผสม : มันเทศสีม่วง (นึ่งสุก) แป้งมัน 200 กรัม แป้งอเนกประสงค์ 30 กรัม ผงฟู 1 ช้อนชา เกลือ 1/2 ช้อนชา น้ำตาลทราย 120 กรัม

3) ขนมมันม่วง
ส่วนผสม : มันม่วงนึ่ง 250 กรัมแป้งมัน 15 กรัม กะทิ 250 กรัม แป้งข้าวจ้าว 100 กรัม น้ำตาลทราย 120 กรัม มะพร้าวขูด 10 กรัม

4) บัวลอยมันม่วง มะพร้าวอ่อน
ส่วนผสม : มันม่วง (นึ่งสุกบดละเอียด) 1/2 ถ้วยตวง แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วยตวง น้ำอุ่น 6 ช้อนโต๊ะ แป้งข้าวเหนียว (สำหรับทำแป้งนวล) กะทิอร่อยดี 500 มิลลิกรัม น้ำตาลทราย 120 กรัม เกลือ 1/2 ช้อนชา เนื้อมะพร้าวอ่อน (ตามชอบ)

5) ตะโก้มันม่วง ตัวตะโก้
ส่วนผสม : มันม่วงนึ่งบดละเอียด 1 ถ้วยตวง มันม่วงนึ่งหั่นเต๋า 1 ถ้วยตวง แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง แป้งมัน 1/4 ถ้วยตวง แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง
หน้าตะโก้ ส่วนผสม : หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง แป้งข้าวเจ้า 1/4 ถ้วยตวง แป้งถั่วเขียว 1 ช้อนชา เกลือ 2 ช้อนชา

6) ครองแครงมันม่วงกะทิสดมะพร้าวอ่อน
ส่วนผสม : มันม่วงนึ่งบดละเอียด 1/2 ถ้วยตวง แป้งมัน 100 กรัม กะทิ 200 กรัม ใบเตย 3 ใบ น้ำตาลทราย 50 กรัม เกลือป่น 1 ช้อนชา งาขาวคั่ว 2 ช้อนชา

7) โตเกียวไส้มันม่วง ตัวแป้ง
ส่วนผสม : แป้งสาลี 200 กรัม น้ำตาลทราย 150 กรัม นมข้นจืด 150 มิลลิลิตร ผงฟู 1 ช้อนชา ไส้มันม่วง ส่วนผสม : มันม่วงนึ่งบด 200 กรัม วิปปิ้งครีม 100 กรัม น้ำตาล 50 กรัม เนยจืด 30 กรัม เกลือ 1 ช้อนชา

8) เค้กมันม่วง (สูตรนึ่ง)
ส่วนผสม : มันม่วงนึ่งบด 100 กรัม แป้งเอนกประสงค์ 1 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง น้ำเปล่า 1/3 ถ้วยตวง กะทิ 1/2 ถ้วยตวง ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ ยีสต์ผงสำเร็จรูป 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ

9) แกงบวชมันม่วง
ส่วนผสม : มันเทศสีม่วง 250 กรัม หัวกะทิ 2 ถ้วย หางกะทิ 1 ถ้วย น้ำตาลโตนด 120 กรัม เกลือ 1 ช้อนชา

10) สาคูมันม่วงมะพร้าวอ่อน
ส่วนผสม : สาคูเม็ดเล็ก 500 กรัม มันม่วงหั่นเป็นลูกเต๋า นึ่งหรือต้มสุกแล้ว 300 กรัม น้ำตาลทรายขาว 800 กรัม น้ำมะนาว 3 หยด แป้งมัน 3 ช้อนโต๊ะ มะพร้าวอ่อนขูดเส้นยาว 2 ผล มะพร้าวขูดขาว 1000 กรัม (เอาไว้คั้นกะทิ) น้ำเปล่า 1 ลิตร ใบเตย 3 ใบ เกลือ 1 ช้อนชา

11) ไอศกรีมมันม่วง
ส่วนผสม : มันม่วงนึ่งสุกบดละเอียด 300 กรัม วิปปิ้งครีม 1 ถ้วยตวง นมสด 1 ถ้วยตวง ไข่แดง 4 ฟอง น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง

12) เฟรนช์ฟรายส์มันม่วง
ส่วนผสม : มันม่วงดิบหั่นตามยาว 500 กรัม เกลือป่น 3 ช้อนชา น้ำมันพืชตามต้องการ

13) บราวนี่มันม่วง
ส่วนผสม : มันม่วงนึ่งสุก 150 กรัม น้ำเปล่า 1/2 ถ้วย ถั่วอัลมอนด์ 30 กรัม งาขาว งาดำคั่ว อย่างละ 2 ช้อนชา เนยถั่ว 2 ช้อนโต๊ะ ดาร์คช็อคโกแลต 50 กรัม ผงโกโก้ 2 ช้อนชา กะทิ 1/4 ถ้วยตวง น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ (งาขาว อัลมอนด์ สำหรับโรยหน้า)

14) แพนเค้กมันม่วง ตัวแป้ง
ส่วนผสม : มันม่วงนึ่งบดละเอียด 55 กรัม แป้งเค้ก 30 กรัม แป้งอเนกประสงค์ 30 กรัม ผงฟู 3 กรัม นมสด 100 มิลลิลิตร ไข่แดง 3 ฟอง เนยสดละลาย 30 กรัม เกลือ 1/4 ช้อนชา น้ำตาล 15 กรัม เนยสด 1 ช้อนโต๊ะ ซอสมันม่วง ส่วนผสม : มันม่วงนึ่งบด 100 กรัม นมสด 130 มิลลิลิตร วิปปิ้งครีม 70 มิลลิลิตร น้ำตาล 1/2 ช้อนโต๊ะ

15) ทาร์ตมันม่วง
ส่วนผสม : แป้งสาลีอเนกประสงค์ 200 กรัม แป้งข้าวโพด 1/2 ช้อนโต๊ะ เนยจืด 30 กรัม ผงฟู 1 ช้อนชา น้ำตาลทราย 50 กรัม เกลือ 1/4 ช้อนชา กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา

มันเทศอุดมด้วยสารอาหารมีให้เลือกหลากสีที่ได้รับความนิยมมากๆ ก็จะเป็นมันม่วงและมันส้ม นิยมนำมาทำเป็นขนมไทย เมนูจากมันม่วงอีกมากมาย และที่สำคัญยังเหมาะสำหรับหนุ่มๆ สาวๆ ที่ต้องการตัวช่วยในเรื่องลดน้ำหนัก ช่วยให้อิ่มนานรสชาติอร่อยและดีต่อสุขภาพอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

วิธีการประเมินความเสี่ยงความเครียด ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตนเอง

0
การประเมินความเครียด ( Stress Appraisal ) คือ การวิเคราะห์ การประเมิน และการป้องกันความเสี่ยงจากความเครียดเป็นกระบวนการทางสุขภาพจิต
วิธีการประเมินความเสี่ยงความเครียด ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตนเอง
การประเมินความเครียด ( Stress Appraisal ) คือ การวิเคราะห์ การประเมิน และการป้องกันความเสี่ยงจากความเครียดเป็นกระบวนการทางสุขภาพจิต

การประเมินความเครียด คืออะไร

การประเมินความเครียด ( Stress Appraisal ) คือ การวิเคราะห์ การประเมิน และการป้องกันความเสี่ยงจากความเครียดเป็นกระบวนการทางสุขภาพจิต เพราะความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคนสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความเครียดมีหลายอย่าง เช่น รายได้ที่ไม่พอเพียง หนี้สิน ภัยพิบัติต่างๆ ที่ทำให้เกิดความสูญเสีย ความเจ็บป่วย ความคาดหวัง ปัญหาในครอบครัว การแข่งขันที่สูงขึ้น ความเครียดจากการทำงาน และความเครียดจากการเรียน เป็นต้น

วิธีการประเมินความเสี่ยงจากความเครียด แบบ ( ST-5 )

แบบประเมินความเครียด 5 ข้อ (ST-5) เพื่อประเมินอาการหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในระยะ 2 – 4 สัปดาห์ ขอให้ท่านลองประเมินตนเองโดยให้คะแนน 0 – 3 ที่ตรงกับความรู้สึกของท่าน แบ่งการประเมินเป็น 4 ระดับ ดังนี้

1) คะแนน 0 หมายถึง แทบไม่มี
2) คะแนน 1 หมายถึง เป็นบางครั้ง
3) คะแนน 2 หมายถึง บ่อยครั้ง
4) คะแนน 3 หมายถึง เป็นประจำ

ตารางแบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง

ข้อที่  อาการหรือความรู้สึกที่เกิด
ในระยะ 2 – 4 สัปดาห์ 
แทบไม่มี (0) บางครั้ง (1) บ่อยครั้ง (2) เป็นประจำ (3)
1 มีปัญหาการนอน เช่น นอนไม่หลับหรือนอนมาก
2 มีสมาธิน้อยลง
3 รู้สึกหงุดหงิด / กระวนกระวาย / สับสน / กังวลใจ
4 รู้สึกเบื่อ / เซ็ง
5 ไม่อยากพบปะผู้คน

การแปรผลการประเมินความเครียด

การแปรผลจะคิดเป็นคะแนนรวมระหว่าง 0 – 15 คะแนน มีจุดตัดคะแนนที่ น้อยกว่า 4 เพื่อจำแนกภาวะเครียดเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. 0 – 4 คะแนน หมายถึง กลุ่มที่ไม่มีความเครียด หรือเครียดน้อย
2. 5 – 7 คะแนน หมายถึง สงสัยว่ามีปัญหาความเครียด หรือเครียดปานกลาง
3. 8 คะแนนขึ้นไป หมายถึง มีความเครียดสูง

เมื่อใดก็ตามที่มีผลของระดับความเครียดสูง คือ ตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไป อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดบ่าหรือไหล่ ไม่มีสมาธิ ไม่อยากพบปะผู้คน และนอนไม่หลับ สำหรับบางคนควรใช้เวลาในการปรับตัวหรือแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อน เช่น การพูดคุยกับคนที่คุณสบายใจ ใช้เวลาทำกิจกรรมที่คุณชอบ หรืออยู่ในสถานที่ที่ทำให้สมองผ่อนคลายจากความเครียด แต่ถ้ารู้สึกว่ามีอาการเครียดรุนแรงมากขึ้น ควรไปพบแพทย์ขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการลดความเครียด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

14 สุดยอดอาหารที่คุณควรกิน เพื่อลดความเครียด

0
14 สุดยอดอาหารที่คุณควรกิน เพื่อลดความเครียด
การรับประทานอาหารบางชนิดสามารถช่วยลดความเครียดได้ แม้ว่าความเครียดในบางครั้งยากที่จะหลีกเลี่ยงได้โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน เศรษฐกิจ
14 สุดยอดอาหารที่คุณควรกิน เพื่อลดความเครียด
การรับประทานอาหารบางชนิดสามารถช่วยลดความเครียดได้ แม้ว่าความเครียดในบางครั้งยากที่จะหลีกเลี่ยงได้โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน เศรษฐกิจ

อาหารลดความเครียด

จากงานวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารบางชนิดสามารถช่วยลดความเครียดได้ แม้ว่าความเครียดในบางครั้งยากที่จะหลีกเลี่ยงได้โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน เศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันสูง และโรคซึมเศร้า

การบำบัดความเครียด ด้วยอาหารที่มีประโยชน์มีอะไรบ้าง

1. ชาเขียว ( Green Tea ) เป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพเพราะอุดมไปด้วย แอล-ธีอะนีน ( L- theanine ) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ไม่ใช่โปรตีนที่มีคุณสมบัติในการคลายความเครียด

2. ช็อกโกแลต ( Chocolate ) ช่วยลดความเครียดจากการศึกษาพบว่าการรับประทานดาร์กช็อกโกแลต 40 กรัม ทุกวันกินในตอนเช้าและกลางวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จะช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ( Cortisol ) คือ ฮอร์โมนความเครียดที่หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไต

3. ผักสวิสชาร์ด ( Swiss Chard ) เป็นผักใบเขียวที่เต็มไปด้วยสารอาหารที่ช่วยต่อสู้กับความเครียดในปริมาณ 175 กรัม ซึ่งมีปริมาณแมกนีเซียม 36 เปอร์เซ็นต์ สามารถตอบสนองต่อความเครียดของร่างกายได้

4. มันเทศ ( Sweet Potato ) มีคาร์โบไฮเดรตและแมกนีเซียมในปริมาณสูง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยปรับสมดุลของอารมณ์ทำให้ผ่อนคลายและอารมณ์ดี และยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียมช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจเมื่อรู้สึกวิตกกังวลหรือเครียด

5. กิมจิ ( Kimchi ) เป็นอาหารประเภทผักหมักที่มักทำด้วยกะหล่ำปลี เต็มไปด้วยแบคทีเรียที่มีประโยชน์เรียกว่าโปรไบโอติกและมีวิตามินแร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูง จากการวิจัยพบว่าอาหารหมักดองบางชนิดมีความเชื่อมโยงกับแบคทีเรียในลำไส้ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออารมณ์ ลดความเครียด และลดความวิตกกังวล

6. อาร์ติโชค ( Artichoke ) การกินอาร์ติโชคเป็นที่ทราบกันดีว่ามีพรีไบโอติกสูง ซึ่งเป็นเส้นใยอาหารที่ทำหน้าที่เป็นอาหารของแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ สามารถช่วยในการฟื้นตัวจากความเครียด รู้สึกผ่อนคลาย และทำให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น

7. เครื่องในสัตว์ ( Organ meats หรือ Offal ) อุดมไปด้วยวิตามินบี 2 ( Riboflavin ) วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 ( Folate ) และวิตามินบี 12 ช่วยป้องกันความเครียดได้เป็นอย่างดี

8. ไข่ ( Eggs ) มีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการผลิตอะซิติลโคลีนที่ส่งผลต่อส่วนต่าง ๆของสมอง ทำหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมอารมณ์และลดความเครียด

9. หอย ( Shellfish ) เช่น หอยแมลงภู่ และหอยนางรมมีกรดอะมิโนสูง พบว่ามีคุณสมบัติในการกระตุ้นฮอร์โมนแห่งความสุขให้เพิ่มมากขึ้น

10. ข้าวกล้อง ( Brown rice ) มีวิตามินบีหลายชนิดซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตโดปามีน ( Dopamine ) หรือ สารแห่งความสุข และเซโรโทนิน ( Serotonin ) ทำหน้าที่หลายอย่างในร่างกาย เช่น ควบคุมความหิว อารมณ์ ความโกรธ เป็นต้น

11. ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ( Salmon ) ปลาแมคเคอเรล ( Mackerel ) และ ปลาซาร์ดีน ( Sardine ) อุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3 และวิตามินดี ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ฮอร์โมนความเครียดพุ่งสูงขึ้น ปรับสมดุลของอารมณ์ และภาวะซึมเศร้า

12. เมล็ดทานตะวัน ( Sunflower Seed ) งานวิจัยพบว่ามีกรดแอนิโมที่กระตุ้นการปล่อยเซโรโทนินในสมองที่ส่งผลต่อความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย และทำให้หลับสนิท

13. หน่อไม้ฝรั่ง ( Asparagus ) มีโฟเลตสูงเป็นวิตามินบีคอมเพล็กซ์ที่ช่วยลดความรู้สึกเครียดและวิตกกังวลและผลิตโดปามีนสำหรับสมอง

14. โยเกิร์ต ( Yogurt ) เป็นอาหารที่มีโปรไบโอติก สามารถเปลี่ยนแปลงการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด ความกดดัน

ความเครียดสามารถรักษาได้โดยการทานอาหารที่มีประโยชน์จะส่งผลดีต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ช่วยให้คุณรับมือกับความเครียดที่อาการไม่รุนแรง ลดความวิตกกังวล และลดความสับสน หากอาการเครียดยังคงอยู่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาแบบอื่นที่นอกเหนือจากการกินอาหารที่แนะนำข้างต้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

โรคเครียด ( Acute Stress Disorder ) สามารถจัดการได้ด้วยตนเอง

0
โรคเครียด สามารถจัดการได้ด้วยตนเอง
โรคเครียด เกิดจากหลายสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการเครียดกำเริบรุนแรงมากขึ้น เกิดได้ทั้งในเด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุ
โรคเครียด สามารถจัดการได้ด้วยตนเอง
โรคเครียด เกิดจากหลายสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการเครียดกำเริบรุนแรงมากขึ้น เกิดได้ทั้งในเด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุ

โรคเครียด

โรคเครียด ( Acute Stress Disorder ) คือ โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา การเผชิญหน้ากับความเครียดเฉียบพลันสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากมีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ในด้านลบหรือที่เรียกว่า ความทุกข์ ( Suffering ) ซึ่งเป็นผลทำให้ต่อมไร้ท่อที่หลั่งฮอร์โมนความเครียดทำงานผิดปกติรวมทั้งเกิดจากสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดโรคเครียดและแสดงอาการที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายอย่างรุนแรง

สาเหตุของความเครียด

สิ่งที่ทำให้เกิดโรคเครียดสำหรับคนทั่วไป อาจเกิดจากหลายสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการเครียดกำเริบรุนแรงมากขึ้น สามารถแบ่งกลุ่มประชากรที่มีความเครียดได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 1) เด็กหรือเยาว์ ( Young-Age Population ) 2) วัยทำงาน ( Working-Age Population ) 3) สูงอายุ ( Old-Age Population ) หรือเรียกว่า ผู้สูงอายุ ( Elderly ) สำหรับคนอายุน้อยอัตราความเครียดสูงขึ้นทุกปีมีผลมาจากเรื่องการเรียน ทำการบ้านไม่ได้ ความขัดแย้งกันในครอบครัว การย้ายบ้าน การย้ายโรงเรียน รวมถึงถูกกดดันจากครอบครัวหรือคนรอบข้างประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วัยทำงานมีความเครียดจากการทำงานประมาณ 41 เปอร์เซ็นต์ และผู้สูงอายุมีความเครียดด้านความสัมพันธุ์ในครอบครัว ด้านการเงิน ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและชุมชน ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์

อาการของความเครียด

ความเครียดสามารถแบ่งออกได้ตามพฤติกรรม ดังนี้

1. อาการทางสติปัญญา ( Cognitive Symptoms ) ได้แก่ อาการหลงลืมบ่อย ๆ ไม่มีสมาธิ การติดสินใจบกพร่อง มองโลกในแง่ลบ รู้สึกวิตกกังวล เป็นต้น
2. อาการทางอารมณ์ ( Emotional Symptoms ) ได้แก่ อาการซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย รู้สึกเป็นทุกข์ รู้สึกหนักใจ สับสน รู้สึกโดดเดี่ยว
3. อาการทางกายภาพ ( Physical Symptoms ) ได้แก่ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดท้อง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เวียนหัว ท้องร่วง ท้องผูก เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นแรงและถี่ ความต้องการทางเพศลดลง เป็นหวัดบ่อยและไข้หวัดใหญ่
4. อาการทางพฤติกรรม ( Behavioral Symptoms ) ได้แก่ การทานอาหารมากหรือน้อยเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอหรือนอนมากเกินไป โรคกลัวสังคม ละเลยหน้าที่ความรับผิดชอบ การกัดเล็บ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด

ชนิดของความเครียด

1. Acute Stress คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกันโดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด เช่น เสียง อากาศเย็นหรือร้อน ชุมชนที่คนมากๆ ความกลัว ตกใจ หิวข้าว เป็นต้น
2. Chronic Stress หรือ ความเครียดเรื้อรัง เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง เช่น ความเครียดที่ทำงาน ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความเครียดของแม่บ้าน และความเหงา

ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างไร

1) ระบบประสาทส่วนกลางและต่อมไร้ท่อ ซึ่งมีหน้าที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนความเครียด กระตุ้นการเต้นของหัวใจ
2) ระบบทางเดินหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งฮอร์โมนความเครียดส่งผลต่ออาจทำให้หายใจลำบาก
การสูบฉีดของเลือด การหายใจเร็วขึ้น ความเครียดทำให้หลอดเลือดและกล้ามเนื้อหดตัวรวมทั้งทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน
3) ระบบทางเดินอาหาร ซึ่งฮอร์โมนความเครียดส่งผลต่อร่างกายทำให้ระบบย่อยอาหารแย่ลง นอกจากนี้ยังพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เสียดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก หรือกรดไหลย้อย หรือเรียกว่าอีกอย่าง คือ เครียดลงกระเพาะ เกิดความเครียดสะสมทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
4) ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เมื่อร่างกายเครียดกล้ามเนื้อจะตึงขึ้น อาจกระตุ้นปฏิกิริยาอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น น้ำหนักลดอย่างต่อเนื่อง อาการปวดศีรษะแบบตึงเครียดและปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความตึงเครียดของกล้ามเนื้อเรื้อรังในบริเวณไหล่คอและศีรษะ อีกทั้งอาการปวดกล้ามเนื้อ กระดูกบริเวณหลังส่วนล่าง และส่วนบนมีความสัมพันธ์กับความเครียดโดยเฉพาะความเครียดจากการทำงานหนัก
5) ระบบสืบพันธุ์ ความเครียดเรื้อรังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศชายเกิดสมรรถภาพทางเพศลดลง
6) ระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งความเครียดส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
รวมถึงระบบสืบพันธุ์ของเพศชายทั้งหมด เช่น อัณฑะ ต่อมลูกหมาก และท่อปัสสาวะ

10 วิธีการจัดการความเครียดด้วยตัวเอง

ขั้นตอนที่ 1 การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ส่งผลดีต่อสุขภาพและสามารถลดความเสี่ยงของโรคเครียด (Acute Stress Disorder) มีงานวิจัยพบว่าการบริโภคดาร์กช็อกโกแลตทุกวันสามารถช่วยลดฮอร์โมนความเครียด เพราะช็อกโกแลตมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า สารฟีนิลเอทิลามีน ( Phenylethylamine ) อยู่มากถึง 660 มิลลิกรัม ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งสารโดพามีน ( Dopamine ) และอะดรีนาลีน ( Adrenaline ) ให้หลั่งออกมาแล้วทำให้เกิดความสุขร่างกายกระฉับกระเฉง และเพิ่มน้ำตาลกลูโคสหลั่งเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ช่วยเร่งกายใช้พลังงานในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 2 การออกกำลังกายเบา ๆ จะช่วยลดความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 3 การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สามารถฟื้นตัวจากเหตุการณ์ที่ตึงเครียด
ขั้นตอนที่ 4 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ ๆ เช่น ใช้เวลา 2 – 3 นาที เพื่อชื่นชมตัวเองในแต่ละวัน จัดห้องนอนใหม่ จัดโต๊ะทำงานด้วยไม้ประดับเล็ก ๆ สามารถบำบัดความเครียดได้อย่างหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 5 การมองโลกในแง่ดี หาเวลาสำหรับงานอดิเรก สามารถทำให้คุณตื่นตัวมากขึ้นและช่วยให้คุณทำงานได้ดีขึ้น
ขั้นตอนที่ 6 เรียนรู้และพยายามฝึกทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอ
ขั้นตอนที่ 7 หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ คาเฟอีน ยาเสพติด หรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบีบบังคับเพื่อลดความเครียด
ขั้นตอนที่ 8 ใช้เวลากับคนที่คุณชอบให้มากขึ้น
ขั้นตอนที่ 9 การใช้ธรรมชาติมาช่วยลดความเครียดสะสม
ขั้นตอนที่ 10 ปรึกษานักจิตวิทยา เพื่อจัดการและรักษาความเครียดในระยะยาว

โรคเครียด นับว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะความเครียดก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายมากที่สุด โรคเครียดยังพบว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในประชาชนของไทยอย่างต่อเนื่อง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม