ข้อดีของการฉายรังสีในระยะใกล้
- บริเวณรอยโรคจะได้รับรังสีในปริมาณที่สูง เพราะว่าส่วนของรอยโรคอยู่ใกล้กับไอโซโทปของรังสี
2. เนื้อเยื่อที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงจะได้รับรังสีในปริมาณที่ต่ำ เพราะว่าเนื้อเยื่อนั้นอยู่ห่างจากไอโซโทปของรังสี
การรักษามะเร็งศีรษะและลำคอสามารถทำการรักษาด้วยการฉายรังสีระยะใกล้ได้ทั้งแบบที่เป็นการฝังเข้าไปในรอยโรคและแบบที่วางในช่องโพรง
ผลกระทบจากการฉายรังสีมะเร็งศีรษะ และมะเร็งลำคอ
1. ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อต่อมน้ำลายจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ
มะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ แน่นอนว่า น้ำลาย อยู่ในลำคอ มีหน้าที่ในการช่วยหล่อลื่นอาหารให้สามารถเคลื่อนย้ายเข้าสู่ลำไส้ได้ง่าย ช่วยรักษาสมดุลของแร่ธาตุในฟัน ช่วยทำความสะอาดช่องปาก รักษาความเป็นกรด-ด่างภายในช่องปาก และยังเป็นตัวที่ช่วยย่อยอาการปากชนิดภายในช่องปากอีกด้วย น้ำลายจะสร้างจากต่อมน้ำลาย โดยที่ต่อมน้ำลายแต่ละต่อมจะมีหน้าที่ในการสร้างและหลั่งน้ำลายที่แตกต่างกันออกมา คือ
- ต่อม Parotid ซึ่งประกอบด้วย Serousacini ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำลายเป็น Proteinaceous ที่มีลักษณะคล้ายกับน้ำ
2. ต่อม Submandibular ซึ่งประกอบด้วย Mucous และ Serousacini ที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำลายที่มีลักษณะค่อนข้างเหนียวไม่มาก
3. ต่อม Sublingual ซึ่งประกอบด้วย Mucousacini ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำลายที่มีลักษณะเหนียวมากที่สุด ทั้ง 2 ต่อมนี้ต่อมหลักที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำลายในช่องปาก โดยจะทำการผลิตน้ำลายประมาณ 70-80 % ส่วนที่เหลืออีก 20-30% จะผลิตด้วยต่อมน้ำลายขนาดเล็กอื่น ๆ ในสภาวะปกติละสภาวะที่ได้รับการกระตุ้น เช่น เวลาหิว หรือการเห็นอาหารที่อยากรับประทาน เป็นต้น ต่อม Parotid จะทำหน้าที่ในการผลิตน้ำลายประมาณ 65-75 % และต่อม Submandibular กับต่อม Sublingual จะทำการผลิตน้ำลายออกมาเพียงแค่ 2-5 % เท่านั้น
เมื่อต่อมน้ำลายได้รับการฉายรังสีเข้าไปรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในต่อมน้ำลายจะถูกทำลายไป ส่งผลให้ต่อมน้ำลายไม่สามารถหลั่งน้ำลายตามปกติได้ โดยหลังจากที่เนื้อเยื่อในต่อมน้ำลายโดนทำลายไปแล้วส่วนนี้จะถูกแทนที่ด้วย Fibrous Connective Tissue ที่มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ และมี Plasma Cell กับ Lymphocytes แทรกซึมอยู่ด้วย ทำให้ต่อมน้ำลายเกิดเป็น Atrophy ผลกระทบจากมะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอจนกลายเป็นพังผืดในที่สุด ถึงแม้ว่าต่อมน้ำลายจะเป็นอวัยวะส่วนที่มีการแบ่งตัวที่ช้ามากเมื่อเทียบกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ แต่ว่าเซลล์ที่อยู่ในต่อมน้ำลายกลับมีความว่องไวต่อการฉายรังสีสูงมาก โดย Serous Acinar Cells ที่อยู่ในต่อม Submandibular จะมีความว่องไวมากว่าที่อยู่ในต่อม Parotid และMucous Acinar Cells ที่อยู่ในต่อม Sublingual จะเป็นส่วนที่มีความว่องไวต่อรังสีน้อยที่สุด
ผลกระทบจากการฉายแสงรักษา มะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ ที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายเมื่อได้รับการฉายรังสีคือ ต่อมน้ำลายจะทำการผลิตน้ำลายออกมาน้อยลง ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปากแห้ง ซึ่งผลกระทบจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีไปแล้วประมาณ 7 วัน และปริมาณของรังสีที่ส่งผลกระทบจะเริ่มตั้งแต่ปริมาณ 2.25 Gy เท่านั้น เรียกว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายนี้จะเกิดขึ้นเมื่อทำการเริ่มฉายรังสีเลยทีเดียว
เมื่อน้ำลายมีความเข้มข้นน้อยลงกลับพบว่าความเข้มข้นของแร่ธาตุที่อยู่ในน้ำลายบางชนิดมีความเปลี่ยนแปลงไป โดยโซเดียม คลอรีน แมกนีเซียมโปรตีนและแคลเซียมจะมีความเข้มข้นที่สูงขึ้น แต่ไบคาร์บอเนตที่อยู่ในน้ำลายกลับมีความเข้มข้นที่ลดลง ส่งผลให้น้ำลายมีค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้นด้วย
2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการได้รับรังสีต่อเยื่อบุ Mucous Membrane จากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ
Mucous Membrane เป็นเนื้อเยื่อที่มีความว่องไวต่อรังสีสูงและมีการผลัดเซลล์อย่างรวดเร็ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดกับ Mucous Membrane จะเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น Fractionation ของรังสีที่ใช้ในการรักษา ตำแหน่งที่รังสีทำการฉาย และสุขลักษณะภายในช่องปากของผู้ป่วย โดยเมื่อมีการฉายรังสีที่มีประมาณเกิน 2 Gy/Fraction จะส่งผลให้เกิดภาวะ Cell Killing มากว่าการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นของเซลล์ต้นกำเนิด ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะ Confluent Mucositis ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีประมาณ 21 วัน แต่ถ้าได้รับการฉายรังสีในปริมาณปกติ จะมีอาการบวมแดงเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการรักษาไปแล้วประมาณ 7 วัน และอัตราการเกิด Cells Killing จะเท่ากับการเพิ่มขึ้นของเซลล์ต้นกำเนิดซึ่งถือว่าเป็นผลกระทบที่เล็กน้อย ซึ่งอาการบวมแดงที่เกิดขึ้นเนื่องจาก Epithelium มีปริมาณลดลงและเส้นเลือดมีการขยายตัวรวมถึงมีการอักเสบของชั้น Submucosa เกิดขึ้นร่วมด้วย ถ้าต้องทำการ ให้รังสีต่อไป Mucosa จะหลุดจนเกิดเป็นแผลขึ้น และมี Fibrinous Exudate เข้ามาปกคลุมไว้แทน ส่งผลให้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนเกิดขึ้น ซึ่งอาการจะมีความรุนแรงมากขึ้นถ้าผู้ป่วยได้รับอาหารหยาบ อาหารแข็งหรืออาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน ในบางครั้งอาการดังกล่าวจะส่งผลต่อการกลืนอาหารและการพูดคุยของผู้ป่วยด้วย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะคงอยู่หลังจากที่ทำการรักษาประมาณ 14-21 วันจากนั้นจะค่อย ๆ หายไปเอง
3. มะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากาการฉายรังสีต่อต่อมรับรส
ต่อมรับรสจะมีอยู่ทั่วลิ้น ซึ่งจะมีอยู่มากที่บริเวณ Cirumvallate Papillae ของลิ้น ต่อมรับรสที่ตำแหน่งต่างกันจะทำหน้าที่รับรสที่ต่างกัน ดังนี้
- ต่อมรับรสที่ปลายลิ้นจะทำหน้าที่ในการรับรสหวาน
- ต่อมรับรสที่ด้านข้างของลิ้นจะทำหน้าที่ในการรับรสเปรี้ยว
- ต่อมรับรสที่ Cirumvallate จะทำหน้าที่รับรสขม
- ต่อมรับรสที่อยู่ทั่วทั้งลิ้นจะสามารถรับรสเค็มได้
ต่อมรับรสจะทำงานได้ดีเมื่อทำงานร่วมกับน้ำลายที่หลั่งออกมาโดยแร่ธาตุที่อยู่ในน้ำลาย เช่น โซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียมและไบคาร์บอเนตจะช่วยให้ต่อมรับรสทำงานได้เป็นอย่างดี เมื่อได้รับการฉายรังสีที่ปริมาณมากกว่า 30 Gy นอกจากจะส่งผลให้การทำงานของต่อมน้ำลายเกิดความเสียหายแล้วยังส่งผลต่อเนื่องมาสู่การทำงานของต่อมรับรสด้วย โดยที่ต่อมรับรสจะเกิดการทำงานที่ผิดปกติคือรับรู้รสชาติได้น้อยลง จนในที่สุดก็จะไม่สามารถรับรู้รสชาติได้ และรังสียังเข้าไปทำลาย Microvilli ที่อยู่ในต่อมรับรสทำให้การรับรู้รสชาติยิ่งแย่กว่าเดิม ซึ่งการรับทำงานของต่อมรับรสจะกลับมาเข้าสู่สภาวะปกติภายหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีผ่านไปประมาณ 2-4 เดือน แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับด้วย
4. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีที่มีต่อฟันจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับฟันที่ได้รับรังสีในการรักษาโรคพบว่า การฉายรังสีจะส่งผลให้เส้นเลือดที่นำเลือดไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อโพรงของเส้นประสาทฟัน ( Dental Pulp ) มีปริมาณลดลงและมีพังผืดเกิดขึ้นมาก นอกจากนั้นยังมีอาการฝ่อตัว ( Arthropy ) เกิดขึ้นตามมาด้วย ผู้ป่วยที่มีผลกระทบ Dental Pulp จะไม่แสดงอาการปวดเลยแม้ว่าฟันจะมีอาการผุหรือเกิดแผลที่เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันเกิดขึ้นก็ตาม
5. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีที่มีต่อกระดูกจากการฉายแสงรักษามะเร็งศีรษะและมะเร็งลำคอ
กระดูกเป็นส่วนที่มีความหนาแน่นสูงกว่าเนื้อเยื่อทั่วไป ดังนั้นปริมาณรังสีที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายกับกระดูกก็จะมีค่าที่สูงมากตามไปด้วย โดยเมื่อกระดูกได้รับรังสีในปริมาณสูงจะทำให้เส้นเลือดที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงกระดูกเกิดการตีบตันทำให้เลือดไปเลี้ยงกระดูกได้น้อยหรือไม่มีเลือดไปเลี้ยงกระดูกเลย ส่งผลให้กระดูกเปราะแตกหักและตายในที่สุด
การฉายแสง หรือ การฉายรักสีรักษามะเร็งนั้นทำได้โดยการวางไอโซโทปในบริเวณที่ชิดหรือบริเวณที่ติดกับรอยโรคโดยตรง หรือทำการผ่านอุปกรณ์ ( Applicator )
ลักษณะของผู้ป่วยที่สามารถฉายแสงระยะใกล้ได้
1. ขนาดของรอยโรค ผู้ป่วยที่จะทำการรักษาด้วยการฉายรังสีในระยะใกล้ต้องมีรอยโรคขนาดเล็กกว่า 4 เซนติเมตรเท่านั้น ถ้ามีขนาดของรอยโรคใหญ่กว่า 4 เซนติเมตรไม่ควรทำการรักษาด้วยวิธีนี้ เพราะถ้ารอยโรคมีขนาดใหญ่กว่า 4 เซนติเมตรแล้ว การรักษาด้วยการฉายรังสีระยะใกล้จะไม่สามารถคลอบคลุมรอยโรคทั้งหมดได้
2. ตำแหน่งของรอยโรค ตำแหน่งของรอยโรคที่ต้องการรักษาไม่ควรอยู่ใกล้กับกระดูก ระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างรอยโรคกับกระดูก คือ 1 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย เพราะว่าถ้ารอยโรคอยู่ใกล้กับกระดูกน้อยกว่า 1 เซนติเมตร เมื่อทำการรักษาด้วยการฉายรังสีเข้าไปแล้ว ผู้ปป่วยมีโอกาสที่จะเกิดภาวะเนื้อเยื่อกระดูกเน่าตายได้จากการโดนรังสีในปริมาณที่สูงมาก
3. สุขภาพผู้ป่วย สุขภาพและสภาวะของผู้ป่วยต้องอยู่ในสภาวะที่สามารถทำการวางยาสลบได้ เพราะว่าผู้ป่วยบางรายที่เข้ารับการรักษาจำเป็นจะต้องทำการวางยาสลบเพื่อที่จะทำการวางอุปกรณ์ ซึ่งสภาวะของผู้ป่วยเราสามารถทำการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนที่จะทำการรักษาทำได้ ดังนี้
3.1 วาง Shielding Prosthesis ในกรณีที่ต้องทำการฉายรังสีในช่องปากที่ใกล้กับส่วนของ Oral Cavity แล้ว ผู้ป่วยควรทำการวาง Shielding Prosthesisท ที่ทำจากวัสดุที่เป็นตะกั่ว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้รังสีเข้าสู่ส่วนของกระดูกกราม ซึ่งตะกั่วที่ใช้ความมีความหนาอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร
3.2 เตรียมฟัน ก่อนที่จะทำการรักษาด้วยการฉายรังสีระยะใกล้ผู้ป่วยต้องทำการตรวจสุขภาพของฟันก่อน ถ้าพบว่าฟันมีการผุที่อยู่ในชั้นรุนแรงต้องทำการรักษาให้หายหรือทำการถอนออกก่อนที่จะทำการฉายรังสี และควรรอให้แผลที่เกิดจากการถอนฟันหายสนิทก่อนจึงเริ่มทำการฉายรังสี
เมื่อทำการเตรียมตัวก่อนที่จะทำการฉายรังสีแล้ว แต่ก็ยังมีผลกระทบเกิดขึ้นมาอีก ก็สามารถลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้
1. ถ้าผู้ป่วยมีการฉายรังสีในส่วนที่ครอบคลุมต่อมน้ำลาย แพทย์จะต้องให้ผู้ป่วยใช้ Fluoride ชนิดแบบเจลวันละ5-10 นาทีต่อวัน ซึ่งการใช้ Fluoride ชนิดแบบเจลผู้ป่วยจะต้องใช้ไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันการผุของฟันให้ลดน้อยลง
2. ผู้ป่วยที่ทำการฉายรังสีใกล้กับบริเวณ Interstital Brachytherapy และมีการใส่อุปกรณ์ป้องกันแสงไว้ในช่องปาก แพทย์ต้องบอกถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเมื่อนำอุปกรณ์ออกแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการอักเสบเกิดขึ้นทันทีและอาการจะมีความรุนแรงขึ้นประมาณ 21 วัน ถึง 1 เดือน และเมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 6 อาการอักเสบดังกล่าวจะหายไป ซึ่งช่วงที่เกิดการอักเสบผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดมาก สามารถให้ยาเพื่อลดความเจ็บปวด ลดการติดเชื้อและลดการอักเสบแก่ผู้ป่วยได้
ผลข้างเคียงจากการฉายแสงรักษามะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ
ในการฉายรังสีระยะใกล้มีผลข้างเคียงจากการฉายแสงกับเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยได้เช่นเดียวกับการรักษาแบบอื่น ๆ ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉายแสงที่พบจากการฉายรังสีระยะใกล้ให้กับผู้ป่วยที่ทำการรักษามะเร็งที่ส่วนของศีรษะและลำคอ สามารถแบ่งได้จากลักษณะการวางอุปกรณ์การฉายรังสี ดังนี้
1. ภาวะเลือดออกจากผลข้างเคียงจากการฉายแสง
2. ภาวะการสำลักจากผลข้างเคียงจากการฉายแสง อาการข้างเคียงนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการวางอุปกรณ์ในการฉายรังสีระยะใกล้ไว้ในตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับตำแหน่งของการกลืน เช่น ตำแหน่งที่โคนลิ้น ( Base of Tongue ) ในการรักษามะเร็งที่ส่วนของโคนลิ้น เป็นต้น
ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉายแสงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยสามารถป้องกันได้ด้วยการประเมินก่อนที่ทำจะการวางอุปกรณ์และการใช้อุปกรณ์ช่วยก่อนที่จะทำการวางอุปกรณ์ในตำแหน่งดังกล่าว เช่น การใส่ NG Tube หรือการเจาะคอ ( Tracheostomy ) เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดขึ้นของภาวะ Aspiration ในการรักษาผู้ป่วยที่ป่วยเป็นมะเร็งที่บริเวณโคนลิ้น เป็นต้น ซึ่งการจัดวางอุปกรณ์ต้องคำนึกถึงความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยได้ และต้องนึกถึง Aseptic Technique ด้วย เพราะการทำอย่างนี้จะสามารถช่วยลดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยให้น้อยลงได้
นอกจากผลข้างเคียงจากการฉายแสงที่เกิดขึ้นกับการฉายรังสีระยะใกล้เพียงอย่างเดียวแล้ว เมื่อทำการฉายรังสีระยะใกล้ร่วมกับการฉายรังสีจากฉายนอกจะส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้มากขึ้น ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉายแสงหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยการฉายรังสีทั้งสองวิธีจะมีความรุนแรงสูงมาก อาการข้างเคียงที่พบได้คือ
อาการข้างเคียงที่พบ
1. ภาวะเนื้อเยื่อตาย ( Soft Tissue Necrosis ) ซึ่งผลข้างเคียงจากภาวะเนื้อตายสามารถพบได้ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยที่ทำการรักษา
2. ภาวะกระดูกตาย ( Bone Necrosis ) ซึ่งผลข้างเคียงจากภาวะกระดูกตายสามารถพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยที่ทำการรักษา
ผลกระทบหลังการฉายรังสีส่วนศีรษะและคอ
ภายหลังจากที่ทำการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณศีรษะและคอแล้ว รังสีจะส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง เช่น ต่อมน้ำลาย ต่อมรับรส ฟัน กระดูกใบหน้า เยื่อบุเยื่อเมือก แล้ว ยังมีผลกระทบข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้อีก ดังนี้
1. การเกิดเปลี่ยนแปลงของ Oral Micro Flora
น้ำลายจะมีระบบที่สามารถช่วยต่อต้านจุลินทรีย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยมี สารโพลีเปปไทด์ชนิดที่มี Proline และ Mucin อิเล็กโทรไลท์ที่ช่วยในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในช่องปาก และยังมี Secretory Lg A ที่สามารถเข้าไปจับตัวกับเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่เข้ามาในปากให้รวมตัวกัน และนำก้อนเชื้อที่รวมตัวกันไปจับตัวกับเม็ดเลือดขาวเพื่อให้เม็ดเลือดขาวทำการกำจัดทิ้งต่อไป นอกจากนั้นพอลิเปปไทด์ที่อยู่ในน้ำลายนี้จะมีประจุเป็นลบที่สามารถเข้าไปจับตัวกับผนังเซลล์ของแบคทีเรียและเชื้อราส่งผลให้ผนังเซลล์ของเชื้อโรคเกิดการฉีกขาด ซึ่งกลไกนี้เป็นกลไกหลังที่ป้องกันการเกิด Oral Candidiasis
จะพบว่าถ้าต่อมน้ำลายโดนทำลายหรือมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงจะส่งผลให้การจัดการกับเชื้อโรคที่เข้ามาในช่องปากมีประสิทธิภาพที่ลดลง ช่องปากติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ฟันผุมากขึ้น ในผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยรังสีพบว่ามีโอกาสที่จะติดเชื้อมากกว่าคนปกติถึง 100 เท่าเลยทีเดียว
ในระยะแรกอาการ Candidiasis จะมีเยื่อบุสีแดงเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างในลักษณะที่สมมาตรกันซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเป็น Radiation Mucositis แต่ว่าเยื่อบุที่พบจะพบทั้งบริเวณที่ทำการฉายรังสีและบริเวณรอบนอกด้วย และในระยะยาวอาการเรื้อรังของ Candidiasis จะพบตามที่มุมปากหรือบริเวณที่อยู่ใต้ฟันปลอม
เมื่อผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีแล้วจุลินทรีย์ที่อยู่ในปากจะเป็นจุลินทรีย์ชนิดที่ทำให้ฟันผุมากกว่าชนิดที่ไม่ทำให้เกิดฟันผุ เช่น Stretococus Mutans กับ Lactobacillus เป็นต้น และฟันที่ผุเนื่องจากการได้รับรังสีจะเริ่มผุที่บริเวณส่วนที่เป็นผิวเรียบก่อนและเกิดการลุกลามอย่างรวดเร็ว อาการฟันผุจะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีไปแล้วหลายสัปดาห์
2. การเกิดอ้าปากไม่ได้หรืออ้าปากได้ยาก ( Trismus )
เมื่อทำการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณ ศีรษะและลำคอ แล้ว อาจจะเกิดผลกระทบในบริเวณ Temporomandibular Joint ( TMJ ) และส่วนของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งจะมีอาการ Trismus เกิดขึ้นได้ และยังไม่สามารถคาดคะเนว่าอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นบ่อยหรือมีความรุนแรงมากแค่ไหน ทางแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้น
3. การเกิดภาวะทุพโภชนการ
น้ำลายมีลักษณะที่เป็นน้ำทั้งแบบที่เหนียวข้นและใส ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยให้อาหารจับตัวกันเป็นก้อน ทำความสะอาดภายในช่องปากและช่วยในการเพิ่มการรับรู้รสของอาหารในปากแล้ว ในน้ำลายยังมีเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร เช่น เอนไซม์อไมเลส ( Amylase ) เอนไซม์ไลเปส ( Lypase ) เป็นต้น ดังนั้นถ้าเกิดภาวะที่ต่อมน้ำลายทำ การผลิตน้ำลายออกมาน้อยหรือมีปริมาณลดลงจะส่งผลให้การรับรู้รสชาติของคนเราเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้รับรู้รสชาติได้น้อยลงความอยากอาหารก็น้อยลงตามไปด้วย จนบางครั้งผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดในช่องปากและบริเวณคอหอยจากการเกิด Rediation Mucositis เข้าร่วมด้วย เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยเกิดสภาวะขาดอาหารและในบางรายอาการอาจจะรุนแรงจนส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอได้
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง