Home Blog Page 145

ภูมิคุ้มกันในร่างกายคืออะไร

0
ภูมิคุ้มกันคืออะไร?
ภูมิคุ้มกันเป็นระบบที่คอยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่อาจเข้ามาทำอันตรายร่างกายเรา
ภูมิคุ้มกันคืออะไร?
ภูมิคุ้มกัน เป็นระบบที่คอยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่อาจเข้ามาทำอันตรายร่างกายเรา

ภูมิคุ้มกัน คืออะไร ?

โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมี ภูมิคุ้มกัน อยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือภูมิคุ้มกันธรรมชาติ และภูมิคุ้มกันจำเพาะ โดยระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติ จะมีการทำงานอย่างเป็นปกติอยู่แล้ว เมื่อใดที่ทำไม่ไหวหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ ไม่เพียงพอ ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ก็จะเข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน เพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากเปรียบเทียบ ระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติก็เป็นเหมือนกองทหารในแนวหน้า และภูมิคุ้มกันจำเพาะก็จะเป็นเหมือนกองหนุนที่จะคอยช่วยเหลือในยามฉุกเฉินนั่นเอง

ส่วนสารต่างๆ จะเป็นสารที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งได้แก่ ไลโซไซม์ ( Lysozyme ) คอมพลีเมนต์ ( Complement ) อินเตอร์เฟียรอน ( Interferon ) โดยเป็นเสมือนอาวุธของระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติ และยังมีพวกเซลล์ต่างๆ อีกด้วย ซึ่งเซลล์ที่มีบทบาทมากที่สุด ก็คือเซลล์เอ็นเค ( NK Cell ) นั่นเอง โดยเซลล์เอ็นเคจะลาดตระเวนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อค้นหาเซลล์ที่มีความผิดปกติอย่างมะเร็ง และเข้าทำการจู่โจ้มเพื่อทำลายทันที ดังนั้นหากร่างกายมีเซลล์เอ็นเคน้อยลง หรือด้อยประสิทธิภาพลงไป ก็จะทำให้ไม่สามารถต้านมะเร็งได้ และป่วยด้วยโรคมะเร็งในที่สุด

ภูมิคุ้มกันอยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือภูมิคุ้มกันธรรมชาติ และภูมิคุ้มกันจำเพาะ

โดยทั้งนี้มีการค้นพบว่าเซลล์เอ็นเคที่อยู่ในร่างกายของคนเราจะมีอยู่ไม่น้อยกว่า 5 พันล้านเซลล์เลยทีเดียว แต่เซลล์ชนิดนี้จะมีความอ่อนไหวในเรื่องของความเครียดและอาหารเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากจิตใจเกิดความเครียดหรือได้รับอาหารที่มีประโยชน์น้อย ก็จะทำให้เซลล์เอ็นเคเกิดความอ่อนแอ ไม่สามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้นั่นเอง

ส่วนภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราก็จะทำหน้าที่ในการต่อสู้กับเชื้อโรคและเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะ จึงได้มีการนำหลักการดังกล่าวนี้มาใช้ผลิตวัคซีนขึ้นมา ซึ่งก็ได้ผลดีและน่าพอใจมากทีเดียว เพราะเมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแล้ว ร่างกายจะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาและจดจำโรคนั้นๆ เอาไว้ ทีนี้เมื่อมีเชื้อโรคที่จะก่อให้เกิดโรคดังกล่าวเมื่อไหร่ แอนติบอดีก็จะกำจัดออกไปในทันทีเช่นกัน นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะก็ถูกแบ่งออกได้เป็น 2 แบบย่อยๆ คือ แบบเซลล์ ( Cellular Immunity ) และแบบฮิวมอรัล ( Humoral Immunity )

ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะมี 2 แบบ

ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะ หรือระบบภูมิคุ้มกันที่มีการสร้างขึ้นมาเองในภายหลังจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือแบบฮิวมอรัลและแบบเซลล์ โดยหน้าที่ของภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ ก็คือจะจู่โจมไวรัสและทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไป โดยมีเซลล์ทีชนิด Th-1 เป็นตัวทำหน้าที่นี้นั่นเอง ทั้งนี้เมื่อลิมโฟไซต์มีการสร้างขึ้นมาที่ไขกระดูก ก็จะถูกเคลื่อนย้ายต่อไปยังต่อมไทมัสและค่อยๆ เติบโตจนกลายเป็นเซลล์ทีที่โตเต็มวัย ซึ่งทั้งนี้ก็จะมีการพัฒนาเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีแอนติเจน CD4   และชนิดที่มีแอนติเจน CD8 โดย CD4 ก็ยังสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ Th- 1 และ Th- 2 ได้อีกด้วย โดย Th- 1 จะช่วยเร่งการทำงานของเซลล์ทีเพชฌฆาตและแมคโครฟาจ ส่วนเซลล์ที CD4 ก็จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ 
โดยเหตุผลที่เซลล์ Th- 1 สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ดีนั้นก็เพราะที่เซลล์จะมีเรดาร์ตรวจจับสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ทำให้ทราบทันทีว่าสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามานั้นเป็นมิตรหรือศัตรู หากพบว่าเป็นศัตรูก็จะเข้าจัดการทันที พร้อมกับเร่งแมคโครฟาจให้ปลดปล่อยตัวทำลายไวรัสออกมาอย่างรวดเร็วกว่าเดิม จึงทำให้ร่างกายปลอดภัยจากอันตรายของเชื้อไวรัส

สำหรับเซลล์มะเร็ง รู้หรือไม่ว่าร่างกายของคนเรานั้นจะมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นทุกวัน แต่เนื่องจากถูกจับได้และกำจัดทิ้งไปซะก่อน จึงทำให้เราปลอดภัยจากมะเร็งได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อร่างกายตรวจพบเซลล์มะเร็ง เซลล์เอ็นเคก็จะเข้าเล่นงานเซลล์มะเร็งในทันที พร้อมกับเซลล์ทีเพชฌฆาตจู่โจมเซลล์มะเร็งโดยตรง ประกอบกับเร่งให้แมคโครฟาตปล่อยอินเตอร์เฟียรอน และรวมกับทูเมอร์เนโครซิสแฟกเตอร์เพื่อจัดการมะเร็ง เท่านี้เซลล์มะเร็งก็ถูกกำจัดไปแล้ว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Gherardi E. The Concept of Immunity. History and Applications. Archived 2007-01-02 at the Wayback Machine. Immunology Course Medical School, University of Pavia.

Lindquester, Gary J. (2006) Introduction to the History of disease. Archived 2006-07-21 at the Wayback Machine. Disease and Immunity, Rhodes College.

Silverstein, Arthur M. (1989) History of Immunology (Hardcover) Academic Press. Note: The first six pages of this text are available online at: (Amazon.com easy reader).

วิตามินและสารอาหารในผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้

0
คุณค่าสารอาหารจากผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้
ผักมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายและเป็นแหล่งใยอาหารที่ช่วยดูดซึมของคอเลสเตอรอลและไขมัน
คุณค่าสารอาหารจากผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้
ผักมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายและเป็นแหล่งใยอาหารที่ช่วยดูดซึมของคอเลสเตอรอลและไขมัน

 

วิตามินและสารอาหารในผัก

[adinserter name=”คุณค่าสารอาหารในผักและผลไม้”]

ผักที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดและแผงผักตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป และมีขายทุกฤดูไม่ชาดตลาด แต่รู้หรือไม่ว่า ผักที่มีสีสันต่าง ๆ ที่เรารับประทานเข้าไปนั้น มีแร่ธาตุ สารอาหาร วิตามินในผัก หรือ ประโยชน์อย่างอื่นที่นอกเหนือจากทำให้อิ่มหรือไม่? เรามาดูกันว่า การบริโภคผักประจำวันที่เหมาะกับคนไทย มีอะไรบ้าง ?

ตารางคุณค่าวิตามินในผักและสารอาหารในผัก 100 กรัมส่วนที่กินได้

ปริมาณน้ำ ใยอาหาร และวิตามินในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้

ชื่อผัก น้ำ (G/100 g) ใยอาหาร (G/100 g) วิตามินซี (ML/100 g) เบต้าแคโรทีน (Mg/100g) ลูทีน (Mg/100g)
กะหล่ำปลีม่วง 89.4 2.64 22.0 ND ND
ข้าวโพดอ่อน 91.6 2.18 3.8 ND ND
ถั่วงอก 90.9 1.72 6.4 ND ND
ถั่วฟักยาว 90.0 3.79 13.5 39.4 179.1
กะหล่ำดอก 91.9 1.47 40.6 ND ND
กะหล่ำปลี 90.9 2.30 20.0 4.0 29.1
แครอต 91.5 2.75 1.4 4,471.5 107.4
แตงกวา 95.4 0.97 9.7 1.8 42.2
ใบมันปู (เนียงน้ำ) 78.8 11.81 19.2 1,405.5 3,425.4
ใบส้มแป้น 82.6 0.55 17.6 26.1 318.6
ผักกาดแก้ว 96.2 0.50 0.9 2.8 44.7
ผักกาดขาว 97.4 0.53 17.0 5.8 143.0
ผักชีล้อม 88.3 4.95 3.3 1,687.1 7,439.1
ผักตำลึง 94.3 2.08 19.1 990.6 4,989.1
ผักบุ้งจีน 93.1 3.05 7.6 37.0 96.2
ผักพูม 84.5 5.13 31.1 818.0 5,947.7
มะเขือเปราะ 92.7 2.55 5.5 14.3 52.6
มะเขือยาว 91.9 2.87 4.9 6.0 63.2
พริกหวานเหลือง 91.7 1.34 145.7 76.9 573.4
ฟักเขียว 95.2 1.71 30.7 6.4 9.8
มะระขี้นก 90.4 4.19 115.8 18.6 483.1
ยอดมะม่วงหิมพานต์ 82.5 9.83 19.9 942.8 3,019.8
ยอดมะระหวาน (ฟักแม้ว) 93.1 2.36 6.5 582.6 1,794.9
ฟักทอง 87.8 1.80 14.9 143.6 212.1
มะเขือเทศ 95.7 0.60 12.1 96.6 70.7
ลูกเหรียง 77.5 5.80 10.5 109.5 256.6
ถั่วลันเตา 86.6 5.12 32.0 44.2 157.7
บร็อกโคลี 88.9 1.76 26.8 84.8 405.6
บวบเหลี่ยม 94.9 0.71 5.0 9.6 222.9
ผักกะเฉด 89.5 4.22 19.1 887.7 13,403.3
ผักกวางตุ้ง 92.4 2.57 34.8 52.1 129.0
ผักกาดหอม 96.7 1.01 11.7 458.5 727.9
ผักกูด 91.0 3.73 3.5 798.8 3,198.8
ผักหนาม 89.5 3.08 3.1 40.2 823.0
ผักเหลียง 85.7 5.06 109.4 404.5 6,731.7
ผักหวานบ้าน 90.2 3.36 78.0 85.0 545.3
พริกหวานสีเขียว 94.6 1.63 58.8 ND 241.3
ผักคะน้า 92.1 2.58 52.1 55.4 127.3
ผักชีล้อม 88.3 4.95 3.3 1,687.1 7,439.1
ผักตำลึง 94.3 2.08 19.1 990.6 4,989.1
หน่อไม้ฝรั่ง 91.6 2.42 17.6 13.2 125.6
สะเดา 75.9 16.10 33.3 612.1 1,160.9
เสม็ดชุน 86.7 7.13 3.4 407.7 1,390.1

หมายเหตุ : ND = Not Detected

ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้

ชื่อผัก

 FRAP
(ไมโครโมล
ทีอี / 100 กรัม)
 ORAC
(ไมโครโมล ทีอี /100กรัม)
 โพลีฟีนอล
(มิลลิกรัม/
100 กรัม)
ไซยานิดิน
(มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
 พีโอนิดิน
(มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
ข้าวโพดอ่อน  61  933  47.1  ND ND
แครอต  26  174  10.1  ND ND
แตงกวา  9  207  12.9 ND  ND
ถั่วงอก 33  1,135 58.7  0.29  ND
กะหล่ำดอก  60 688 44.9 ND ND
กะหล่ำปลี 131 866 43.0  ND ND
กะหล่ำปลีม่วง 853 2,637 138.0  19.44  0.12
ใบมันปู (เนียงน้ำ) 53,972 42,498 4,612.5  15.81 ND
ใบส้มแป้น 3,283 30,651  682.8 ND  ND
ผักกะเฉด 698 4,665 333.1 1.79 ND
ถั่วฟักยาว 460 1,862 101.4 5.59 0.12
ถั่วลันเตา 424 1,890 123.8 3.42 0.11
บร็อกโคลี 96 1,608 96.8 ND ND
บวบเหลี่ยม 8 178 10.0 ND ND
ผักกวางตุ้ง 270 1,430    59.3 ND ND
ผักกาดแก้ว 15 197 11.5 ND ND
ผักกาดขาว 36 215 10.8 ND ND
ผักกาดหอม 50 231 20.0 ND ND
ผักกูด 342 1,170 78.3 0.09 ND
ผักบุ้งจีน 152 748 23.7 ND ND
ผักพูม 912 7,421 311.7 ND ND
ผักหนาม 1,440 7,971 210.0 20.22 0.34
พริกหวานสีเหลือง 278 826 59.3 ND ND
ฟักเขียว 29 128 12.0 ND ND
ฟักทอง 38 511 14.0 ND ND
มะเขือเทศ 109 193 21.9 ND ND
ผักคะน้า 171 1,042 54.5 ND ND
ผักชีล้อม 1,545 8,258 242.7 ND ND
ผักตำลึง 166 1,306 45.9 ND ND
ผักเหลียง 646 8,849 229.1 0.15 ND
ผักหวานบ้าน 409 2,215 105.2 ND ND
พริกหวานสีเขียว 53 422 20.2 ND ND
ลูกเหรียง 419 6,424 76.7 0.22 ND
มะระขี้นกND 72 289 40.0 ND ND
ยอดมะม่วงหิมพานต์ 34,559 34,656 4,102.8 37.32 0.76
ยอดมะระหวาน    (ฟักแม้ว) 413 1,505 44.1 ND ND
มะเขือเปราะ 196 879 64.6 ND ND
มะเขือยาว 64 843 55.3 ND ND
สะเดา 8,656 12,704 691.7 18.81 ND
เสม็ดชุน 10,974 12,752 1,119.2 3.02 0.06
หน่อไม้ฝรั่ง 120 871 57.5 ND ND

(ไมโครโมล ทีอี /100 กรัม) : Micromole of Trolox equivalent per 100 g
ND = Not detected

ผักอุดมไปด้วย วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารพฤกเคมี ช่วยเสริมสร้าง ควบคุมการทำงาน และช่วยควบคุมการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย

ปริมาณแร่ธาตุวิตามินในผักที่ร่างกายต้องการในปริมาณมากในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้

ชื่อผัก โซเดียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) โพแทสเซียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) แคลเซียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) แมกนีเซียม (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
ข้าวโพดอ่อน 2.8 132.8 13.7 25.4 54.3
แครอต 124.8 183.6 42.1 7.1 32.5
แตงกวา 12.3 167.7 24.1 18.2 25.6
ถั่วลันเตา 3.6 168.8 49.2 28.4 87.9
บร็อกโคลี 22.1 301.2 59.1 24.5 93.1
กะหล่ำดอก 30.0 182.1 14.5 15.3 40.6
กะหล่ำปลี 10.0 197.2 30.2  17.6 36.5
กะหล่ำปลีม่วง 22.1 264.0 46.0  16.1 33.0
ถั่วงอก 12.6 88.0 11.8  20.1 55.4
ถั่วฟักยาว 6.6 177.9 32.9 37.2 64.1
ผักกะเฉด 14.8 307.2 46.8 33.2 76.5
ผักกวางตุ้ง 54.0 383.4 103.4 29.1 31.3
ผักกาดแก้ว 17.6 113.1 20.3 8.9 27.6
บวบเหลี่ยม 4.9 119.6 15.6 11.6 38.7
ใบมันปู (เนียงน้ำ) 8.5 356.7 84.9 56.4 64.5
ใบส้มแป้น 15.5 394.8 250.6 59.8 61.8
ผักกาดขาว 26.5 118.8 45.8 8.9 31.8
ผักกาดหอม 21.3 212.7 38.0 10.4 24.0
ผักกูด 10.0 389.0 15.1 46.2 93.8
ผักพูม 9.6 448.0 117.3 91.0 74.4
ผักหนาม 3.3 321.7 158.1 53.9 73.2
ผักเหลียง 6.3 297.3  35.2 27.4 72.7
ผักหวานบ้าน 8.5 165.5 69.0 48.9 68.8
ฟักเขียว 4.0 114.2 12.1 7.1 19.2
ฟักทอง 5.9  287.9 11.6 15.4 56.4
มะเขือเทศ 9.0 156.1 5.9 7.3 24.8
มะเขือเปราะ 5.1 233.9 19.6 17.9 31.6
ผักคะน้า 26.3 327.5 108.0 28.4 50.6
ผักชีล้อม 6.0 414.5 133.1 30.0 60.6
ผักตำลึง 11.0  181.7 73.2 28.3 43.9
ผักบุ้งจีน 176.6 144.0 72.5 24.3 26.3
พริกหวานสีเขียว 6.2  132.8 10.6 8.9 27.4
พริกหวานสีเหลือง 6.3  173.0 8.0 12.1 29.3
ยอดมะระหวาน     (ฟักแม้ว) 16.0 277.5 37.5 24.9 108.7
ลูกเหรียง 8.8 435.2 131.8 64.1 79.7
มะเขือยาว 7.7 167.2 9.0 13.6 20.0
มะระขี้นก 10.6 334.2 28.2 37.9 47.4
ยอดมะม่วงหิมพานต์ 17.2 282.3 15.5 44.7 66.1
เสม็ดชุน 13.4 224.4 15.2 22.1 44.8
หน่อไม้ฝรั่ง 5.1 272.7 17.1 18.7 73.9
สะเดา 7.6 467.4 74.2 60.6 94.5

ปริมาณแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการวิตามินในผักในปริมาณน้อยในผักสด 100 กรัมส่วนที่กินได้

ชื่อผัก เหล็ก (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) ทองแดง (มิลลิกรัม/ 100 กรัม) สังกะสี (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
ข้าวโพดอ่อน 0.11 0.12 0.41
แครอต 0.07 0.15 0.04
แตงกวา 0.12 0.04 0.09
บร็อกโคลี 0.93 0.07 0.25
บวบเหลี่ยม 0.12 0.08 0.18
ใบมันปู (เนียงน้ำ ) 0.58 0.29 0.51
กะหล่ำดอก 0.24 0.07 0.13
กะหล่ำปลี 0.25 0.04 0.06
กะหล่ำปลีม่วง 0.13 0.08 0.07
ถั่วงอก 0.29 0.12 0.25
ถั่วฟักยาว 0.34 0.20 0.36
ถั่วลันเตา 0.45 0.18 0.62
ผักกาดแก้ว 0.16 0.08 0.08
ผักกาดขาว 0.16 0.04 0.11
ผักกาดหอม 0.31 0.07 ND
ผักกูด 0.76 0.27 0.68
ใบส้มแป้น 0.72 0.18 0.23
ผักกะเฉด 1.13 0.07 0.30
ผักกวางตุ้ง 1.53 0.15 0.76
ผักบุ้งจีน 1.13 0.12 0.06
ผักพูม 0.59 0.33 0.57
ผักคะน้า 0.17 0.09 0.13
ผักชีล้อม 1.35 0.13 0.26
ผักตำลึง 0.49 0.11 0.21
พริกหวานสีเขียว 0.12 0.07 0.04
พริกหวานสีแดง 0.05 0.10 ND
ผักหนาม 0.92 0.13 1.05
ผักเหลียง 0.40 0.18 0.30
ผักหวานบ้าน 0.76 0.20 0.44
มะเขือเทศ 0.10 0.07 ND
มะเขือเปราะ 0.12 0.16 ND
มะเขือยาว 0.20 0.08 0.13
ยอดมะระหวาน (ฟักแม้ว) 0.81 0.17 0.30
ลูกเหรียง 0.98 0.37 0.42
พริกหวานสีเหลือง 0.04 0.09 ND
ฟักเขียว 0.09 0.02 ND
ฟักทอง 0.15 0.14 0.09
มะระขี้นก 0.20 0.18  0.16
ยอดมะม่วงหิมพานต์ 0.53 0.32  0.40
สะเดา 3.22 0.37  0.57
เสม็ดชุน 0.27 0.20 0.10
หน่อไม้ฝรั่ง 0.40 0.25 0.59

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผัก. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 128 หน้า 1.ผัก-แง่โภชนาการ-ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641.303 ISBN 978-974-484-346-3.

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

Fernquest, Jon (2016-05-04). “Pesticides in fruits & vegetables: Govt quality mark fails test”. Bangkok Post. Retrieved 7 October 2016.

ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งในเด็ก

0
ผลกระทบระยะยาวจากการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก
การรักษาโรคมะเร็งในผู้ป่วยเด็กคือการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี หรือการใช้ยาเคมีบำบัดหลาย ๆ ชนิดร่วมกันในการรักษามะเร็งที่ตรวจพบ
ผลกระทบระยะยาวจากการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก
การฉายรังสีเข้าสู่บริเวณดวงตาและกระจกตาด้วยรังสีประมาณ 6-7.5 Gy จะเกิดต้อที่บริเวณกระจกตา

มะเร็งในเด็ก

อดีตการรักษามะเร็งในเด็ก ให้หายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ในช่วงศตวรรษที่ 70 เป็นต้นมาได้มีการรักษาผู้ป่วยเด็กด้วยวิธีการรักษาที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งมีโอกาสรอดชีวิตสูง ซึ่งวิธีการที่นิยมนำ มารักษาโรคมะเร็งในเด็กคือการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี หรือการใช้ยาเคมีบำบัดหลาย ๆ ชนิดร่วมกันในการรักษามะเร็งที่ตรวจพบ หลังจากที่ทำการรักษาแล้วนอกจากผลกระทบที่เกิดแบบเฉียบพลันแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังก็ได้รับการศึกษาหลังจากที่ผู้ป่วยเด็กได้ทำการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจาการรักษาทั้งที่มาจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการรักษาด้วยการฉายรังสี และยังรวมถึงผลกระทบที่เกิดจากชนิดของโรคด้วย ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยแบ่งตามชนิดของมะเร็งที่ทำการรักษาเป็นหลัก ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว Solid Tumors ชนิดต่างๆ และมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับส่วนของระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึง Secondary Neoplasms ด้วย

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ชนิดของมะเร็งในเด็ก

1. มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )

พบว่าในผู้ป่วยเด็กประมาณ 30% จะป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ซึ่ง 60-70 % ของผู้ป่วยสามารถรักษาให้หาย และจาการศึกษาผลกระทบระยะยาวที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่รักษาหายและรอดชีวิตจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวพบว่าผู้ป่วย 31 คนจากผู้ป่วยทั้งหมด 77 คนมีความผิดปกติเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปนานแล้ว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะยาวที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นกับอวัยวะบางส่วนของร่างกายเท่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย จากการศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบ Lymphoblastic ( Acute Lymphoblastic Leukemia ) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ALL แต่จากการผลการศึกษาที่ได้รับมาก็สามารถนำมาอธิบายหรือปรับใช้กับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Non- Lymphocytic หรือ ANLL ได้ด้วย ซึ่งความผิดปกติในระยะยาวที่เกิดขึ้น คือ

1.1 ความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต

จากการศึกษาและเฝ้าสังเกตการณ์พบว่ากลุ่มผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ที่กการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดทั้งแบบที่ใช้ยาเคมีบำบัดเพียงชนิดเดียวหรือการใช้เคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน ไม่ส่งผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตของร่างกายเด็ก ดังนั้นจึงสามารถสรุกได้ว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กนั้นเกิดขึ้นจากการรักษา ด้วยการฉายรังสี และผลกระทบจะเกิดขึ้นกับบริเวณที่โดนรังสีโดยเฉพาะกระดูกที่อยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโตเท่านั้นไม่ใช่เกิดขึ้นกับอวัยวะทุกส่วน รวมถึงการฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะต่อ Hypothalamic Pituiary Axis ที่จะส่งผลให้ร่างกายของเด็กเกิดสภาวะขาดแคลนฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต หรือ Growth Hormone หรือไม่ก็ส่งผลต่อการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์ได้ แต่บางครั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการรักษาด้วยยาที่มี Steroid นานเกินไปหรือการเกิดอาการป่วยชนิดเรื้อรังบางชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของการทำงานของต่อมเพศและต่อมไทรอยด์อีกด้วยและพบว่าการฉายรังสีแบบ Craniospinal Irradition มีการรายงานผลกระทบว่าสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเด็กที่รอดชีวิตจากการรักษาได้ แต่ว่าความสูงโดยเฉลี่ยที่ลดลงนั้นมีความน้อยมาก และยังพบว่าโรคมะเร็งในเด็กที่มีอายุน้อย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมากกว่าเด็กที่มีอายุมาก และผู้ป่วยเด็กเพศหญิงจะได้รับผลกระทบด้านการเจริญเติบโตมากกว่าผู้ป่วยเพศชายอีกด้วย
แพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายคณะ เช่น Kirk, Costin, Blatt, Moell พร้อมทั้งคณะของพวกเขา ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อทำการฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะ พบว่าผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL นั้นส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติของ Growth Hormone เกิดขึ้น ทั้งด้านการสร้างฮอร์โมนที่มีปริมาณน้อย ส่งผลให้ร่างกายเกิดสภาวะขาดแคลนฮอร์โมนดังกล่าวขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อศีรษะได้รับรังสีประมาณ 18-24 Gy และผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นกับเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชายทำให้มีการเจริญเติบโตของร่างกายที่ช้ากว่าเด็กปกติ
การฉายรังสีแบบ Craniospinal ยังสามารถสร้างผลกระทบต่อความสูงของท่านั่งของผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาอีกด้วย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าผลกระทบจากการฉายรังสีส่งผลต่อกระดูกสันหลัง แต่ว่าผลกระทบแบบนี้จะเกิดขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตในส่วนที่มีการฉายรังสีโดยตรง

นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ Growth Hormone แล้ว ผลกระทบที่ส่งผลให้เกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำก็สามารถส่งผลกระทบต่อรูปร่างของเด็กที่เตี้ยลงของเด็กได้

โดย Robinson กับคณะพบว่าผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดมีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งผู้ป่วยประมาณร้อยละ 7 จะเกิดภาวะไทรอยด์ต่ำแบบ Compensated ส่วนอีกร้อยละ3 จะเกิดภาวะไทรอยด์ต่ำแบบ Primary

ผลกระทบที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติของผู้ป่วยเด็กจะพบได้ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วย Corticosteriod ที่ต้องใช้ระยะเวลานาน หรือในการรักษาผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นโรคไตและโรคหอบหืดที่ทำการรักษาด้วย Prednisolone ในปริมาณที่น้อยกว่า 3 mg/m²ต่อวัน ถ้ามีการรักษาในระยะเวลาที่น้อยกว่า 6 เดือนผลกระทบด้านการเจริญเติบโตของผู้ป่วยนั้นมีค่าน้อยมาก แต่ถ้าทำการรักษาในระยะเวลาที่นานกว่า 6 เดือนจะพบว่าการเจริญเติบโตของผู้ป่วยมีค่าน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าปริมาณ Corticosteroid ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ด เลือดขาวชนิด ALL จะมีปริมาณมาก แต่การที่จะใช้ Steroid มารักษาผู้ป่วยติดต่อกันนานเกิน 6 อาทิตย์ก็เป็นไปได้ยาก จึงแสดงว่าผลกระทบด้านการเจริญเติบโตที่เกิดจากการใช้ Corticosteroid ที่นำมารักษานั้นควรจะมีค่าที่น้อยมาก
และผลกระทบอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ที่มีการรักษาด้วยการฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะคือ โรคอ้วน แต่ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนนั้นยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่แน่ชัด แต่จากสถิติพบว่าผู้ป่วยเด็กจำนวน 21 คนจากทั้งหมด 77 คนที่ทำการศึกษานั้น เป็นโรคอ้วน จึงมีการสันนิฐานว่าการฉายรังสีไปยังศรีษะ รังสีอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลายภายในสมอง ในส่วนของ Hypothalamus ที่ส่งผลให้ร่างกายเป็นโรคอ้วนและมีการเรียนรู้ได้ช้า  [adinserter name=”มะเร็ง”]

1.2 ความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง

ผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางที่เกิดจากการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดและการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะนั้นมีความเสียหายเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL พบว่าทำให้เกิด Necrotizing Leukoencephalopathy ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาประมาณ 4-12 เดือน อาการนี้จะก่อให้เกิดการถดถอยด้านพัฒนาการ ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง สติสัมปชัญญะเกิดการเปลี่ยนแปลง มีภาวะเดินเช ชัก หรือบางครั้งเกิดอาการอัมพาตของร่างกายบริเวณส่วนล่าง เกิดสภาวะ Pseudobulbar Paresis หรือการเกิดสภาวะข้างเคียงที่มีความรุนแรงอื่น ๆ ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือบางครั้งก็อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเด็กที่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจะเป็นเด็กที่มีการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะมาก่อนทั้งสิ้น ซึ่งปริมาณที่ได้รับการฉายรังสีจะอยู่ที่มากกว่า 20 Gy และมีการใช้ยาเคมีบำบัดชนิด Metrothexate เข้าทางเส้นลือดดำและทางกระดูกไขสันหลัง ได้มีการทำการวิจัยแล้วพบว่าผู้ป่วย 55% ที่เคยได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดชนิด Metrothexate เข้าทางเส้นเลือดดำและไขสันหลังร่วมกับการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณศีรษะด้วยรังสี 24 Gy และมีการให้ยาสัปดาห์ละ 40-80 mg/m² ที่จะทำให้เกิดสภาวะ Leukoencephalopathy ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเกิดโรค Leukoencephalopathy ภายหลังจากที่ได้รับการรักษา แต่ถ้ามีการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพียงอย่างเดียการเกิดโรค Leukoencephalopathy จะมีโอกาสน้อยแค่ 0.5-2.0 % เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ยังไม่พบวิธีการรักษาโรคนี้ที่สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากภาวะข้างต้นที่พบแล้วยังพบ สภาวะ Neuropsychological Sequelae ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีไปยังศีรษะเพื่อป้องกันการรุกลามและแพร่กระจายของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเข้าสู่ระบประสาทส่วนกลาง สภาวะ Neuropsychological Sequelae ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างน้อยไม่รุนแรงเหมือนกับอาการที่กล่าวมาในตอนแรก

จากความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีจะพบว่าปริมาณรังสีที่จะทำให้เกิดผลกระทบนั้นจะต้องมีปริมาณตั้งแต่ 24 Gyขึ้นไป ดังนั้นถ้าสามารถลดปริมาณรังสีให้น้อยกว่า 24 Gy ค่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจจะมีค่าลดลงตามไปด้วย ซึ่งค่าประมาณรังสีที่จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติน้อยสุดและสามารถรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวให้หายได้จะอยู่ที่ประมาณ 18 Gy และเมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียวเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดในการป้องกันไม่ให้มะเร็งเกิดการแพร่กระจาย พบว่าผู้ที่ได้รับการฉายรังสีจะมีคะแนนเกี่ยวกับความจำที่ไม่ดีเท่ากับกลุ่มที่ได้รับยาเคมีบำบัดด้วย

1.3 ผลกระทบต่อการทำงานของต่อมเพศ

ผู้ป่วยเด็กชายที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL จะมีการเจริญเติบโตอย่างปกติ และยังสามารถมีลูกได้อย่างปกติเหมือนกับคนทั่วไป จากผลการสังเกตดังกล่าวทำให้มีความเชื่อว่าการรักษาโรคมะเร็งด้วยการให้เคมีบำบัดในกลุ่ม Alkylating Agent นั้นไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติกับอัณฑะ ต่อมา Blatt กับคณะได้ทำการศึกษาผู้ป่วยชายที่ทำการรักษาโรคมะเร็งชนิด ALL จำนวน 14 คนด้วยกัน โดยผู้ป่วย 9 คนเป็นเด็กชายที่ยังไม่เข้าสู่วัยหนุ่ม ผู้ป่วย 4 คนเป็นผู้ชายที่อยู่ในวัยหนุ่ม และผู้ป่วย 1 คนอยู่ในวัยที่มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเต็มตัวแล้ว ทำการรักษาผู้ป่วยด้วยให้เคมีบำบัดหลาชนิดเข้าด้วยกัน ( Prednisolone Vincristine Methotrexate กับ 6-Mercaptopurine ) ทำการรักษาและเฝ้าติดตามอยู่ประมาณ 5 ปีครึ่ง พบว่าผู้ป่วยทุกคนมีลูกอัณฑะที่สามารถทำงานได้อย่างปกติเหมือนกับคนทั่วไป ซึ่งพิจารณาจาก tanner staging ร่วมกับระดับของ Gonadotropin กับประมาณระดับของ Testosterone Range จึงสรุปได้ว่าการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วยไม่ส่งผลต่อการทำงานและการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับต่อมเพศ

แต่ทว่าการฉายรังสีกลับให้ผลในทางตรงกันข้าม โดยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีที่ความเข้มข้น 18-24 Gy ที่บริเวณลูกอัณฑะในการรักษา Testticular Leukemia จากการรักษาจะส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นหมันชนิดถาวร ทั้งที่ระดับ Testtosterone ยังอยู่ในระดับปกติ ซึ่งระดับของ Luteinizing Hormone ( LH ) กับ Follicle Stimulating Hormone ( FSH ) อาจจะมีค่าคงที่หรือสูงขึ้นได้ และจากการศึกษาของ Brauner, Shalet พร้อมทั้งคณะของพวกเขาพบว่า เมื่อทำการฉายรังสีที่มีความเข้มข้น 24 Gy เข้าสู่บริเวณลูกอัณฑะทั้งสองข้างของผู้ป่วยเด็กชาย 12 คน ผู้ป่วยเด็กชาย 10 คนจะส่งผลให้ Leyding Cell ทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งดูได้จากอาการตอบสนองที่มีเต็มที่ของ Plasma testosterone ที่ส่งผลต่อ Human Chorionic Gonadotrophin หรือการที่ส่งผลต่อ Basal LH ที่มีค่าเพิ่มขึ้น และยังพบอีกว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีอยู่หลายอย่างมาก และการหลั่งของ Gonadotropin จะมีเกิด พร้อมกับความเสียหายของลูกอัณฑะของเด็กผู้ชายที่เข้ารับการรักษาถึง 9 คนจากผู้ป่วยทั้งหมด 11 คนที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่ส่วนของลูกอัณฑะ ซึ่งสามารถทำการรักษาได้ด้วยการให้ Androgen เข้าไปทดแทนส่วนที่ขาดหายไป [adinserter name=”มะเร็ง”]

สำหรับเด็กผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL พบว่าไม่มีความผิดปกติต่อการเจริญทางเพศของเด็กพวกนั้นแม้แต่น้อย ผู้ป่วยทุกคนเมื่อโตสามารถมีบุตรที่มีลักษณะปกติดีทุกประการ ซึ่งจากการสังเกตยังบอกได้อีกว่าเด็กผู้หญิงที่ป่วยและทำการรักษาก่อนที่จะเข้าสู่วัยสาวเต็มตัวจะมีความเปลี่ยนแปลงด้านการเจริญเติบโตที่น้อยมากจนถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติเกิดขึ้น แต่ว่าถ้าเด็กผู้หญิงทำการรักษาโรคมะเร็งเมื่อเข้าสู่วัยสามเต็มตัวหรือมีการรักษาหลังจากที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกไปแล้ว พบว่าเด็กผู้หญิงจะมีความผิดปกติของการทำงานใน Hypothalamus และยังสามารถพบการทำงานที่มีความผิดปกติแบบ Primary เกิดขึ้นที่รังไข่ได้อีกด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้มีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้ไม่ถึงครึ่งของผู้ป่วยที่ตรวจพบความผิดปกติ และยังพบว่าการรักษาด้วยเคมีบำบัดชนิด Cyclophosphamind ในการรักษาจะส่งผลให้การทำงานของรังไข่มีความผิดปกติเกิดขึ้นสูงมาก
นอกจากผลจากการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดและการฉายรังที่ในการรักษาโดนตรงแล้ว การฉายรังสีไปยังบริเวณศีรษะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางก็ส่งผลต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบเพศด้วยเช่นกัน โดยพบว่าเด็กผู้หญิงที่ได้รับการฉายรังสีเข้าสู่ศีรษะจะมีประจำเดือนช้ากว่าคนปกติและการงานของต่อมเพศของผู้หญิงก็อาจจะเกิดความล้มเหลวได้ด้วย หรือบางครั้งก็ส่งผลในทางตรงกันข้ามคือเข้าไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ ซึ่งสันนิฐานว่าที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ารังสีเข้าไปกระตุ้นการทำงานของต่อม Hypothalamus ที่ผิดปกติจนส่งผลให้เกิดสภาวะ Hypothalamic Pituitary Gonadal Axis นั่นเอง

1.4 ความผิดปกติที่มีผลกระทบต่อระบบส่วนอื่น ๆ

ระบบส่วนอื่น ๆที่กล่าวถึงในที่นี้ คือ เลนส์ตา ฟัน กระดูกและตับ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้

1.4.1 ดวงตา
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับดวงตาที่พบได้บ่อย คือ การเกิดต้อกระจก ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากการใช้ Steroid จะทำให้เกิดต้อกระจกแบบ Subcapsular อัตราการเกิดต้อกระจกแบบนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณ Steriod และระยะเวลาที่ได้รับด้วย หรือการเกิดต้อกระจกเนื่องจากการฉายรังสีเข้าไปกระทบเลนส์ที่ในดวงตาซึ่งจะเมื่อเลนส์ได้รับรังสี cranial Irradiation มีความเข้มข้นระหว่าง 4-20 Gy ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีเพื่อการป้องกันการแพร่กระจายจึงไม่ค่อยมีผลข้างเคียงที่เกิดเป็นต้อกระจกเท่าใดนัก

1.4.2 ฟัน
ผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีที่มีความเข้มข้น 18-24 Gy ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL พบว่าผู้ป่วยประมาณ 40% และการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดไม่ว่าจะเป็นการรักษาทั้งสองวิธีพร้อมกันหรือรักษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ส่งผลให้รากฟันและครอบฟันกรามมีลักษณะที่สั้นลงและบางลง ซึ่งการที่รากฟันและครอบฟันสั้นลงจะทำให้ฟันมีอายุที่น้อยลงตามไปด้วย

1.4.3 กระดูก
ผู้ป่วยที่ทำการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ที่ทำการรักษาด้วยการใช้ Corticosteroid หรือใช้ยา Methotrexate จะส่งผลให้เกิดสภาวะ Skeletal Undermineralization ที่ทำให้กระดูกมีความเปราะบางจึงแตกหักได้ง่ายกว่าปกติ

1.4.4 ตับ
ผลข้างเคียงต่อตับที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดเสียเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะการรักษาด้วยยา Methotrexate หรือยา 6-Mercaptopurine ถึงแม้ว่าอาการที่แสดงในตอนแรกที่ทำการรักษาจะไม่เด่นชัดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นแต่ทว่าหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้ว ประมาณ 10-40% ของผู้ป่วย พบว่าฤทธิ์ของยาจะเข้าไปทำลายเซลล์ที่อยู่ภายในตับจนเกิดความเสียหายจนกลายเป็นพังผืดหรือโรคตับแข็ง และถ้ามีการให้ยาเคมีบำบัดเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลให้ท่อน้ำดีเกิดการอุดตันเป็นเหตุให้เซลล์ที่อยู่ภายในตับตายได้ ส่งผลให้ค่า Serum Bilirubin Transaminases มีค่าเพิ่มขึ้นด้วย ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตับไม่ใช่ผลกระทบชนิดเรื้อรังเพราะว่าอาการบางอย่างสามารถรักษาให้หายได้เป็นปกติหลังจากที่ทำการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเสร็จแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางรายก็พบว่ายังมีอาการโรคตับเรื้อรังเกิดขึ้นซึ่งมีค่าน้อยมากประมาณ 1% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเท่านั้น

2. โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ Hodgkin’s Diseaseและ Non-Hodgkin’s Lymphoma ซึ่งเด็กที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้พบได้เพียงแค่ 15% ของผู้ป่วยเด็กทั้งหมดที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ผลกระทบที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังที่มาจากการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบได้มากและมีความสำคัญ คือ  [adinserter name=”มะเร็ง”]

2.1 สภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง ( Overwhelming Bacterial Infection )

การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะมีการตัดม้ามออก ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดสภาวะ Spontaneous Sepsis ซึ่งสภาวะเป็นภาวะเสี่ยงที่มีความรุนแรงสูงมากสำหรับตัวผุ้ป่วย จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 50 จะเสียชีวิตเนื่องจากมีการติดเชื้อที่รุนแรงจากการตัดม้าม ซึ่งการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เกิดการติดเชื้อจะเกิดขึ้นมากในช่วง 1-2 ปีแรกหลังจากที่ทำการรักษาด้วยการตัดม้ามออก แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่มีอายุยืนยาวกว่า 12 ปีจึงเกิดภาวะติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด ส่วนการรักษาด้วยการฉายรังสีที่มีความเข้มข้น 40 Gy เข้าสู่พบว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเหมือนกับผลที่เกิดขึ้นเมื่อตัดม้ามออกคือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดรุนแรงได้เช่นกัน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้มีการแก้ไขด้วยการลดปริมาณรังสีที่ใช้ในการรักษาให้น้อยลงกว่า 20 Gy และมีการให้ยาก Penicilin เพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยก็สามารถช่วยลดการติดเชื้อชนิดรุนแรงเนื่องจากการถูกตัดม้ามหรือม้ามสูญเสียการทำงานได้บางส่วน

2.2 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานของต่อมเพศ

จากการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของต่อมเพศในผู้ป่วยที่เข้ารับการโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 2 กลุ่ม พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มแรกที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีและให้ยาเคมีบำบัดในกลุ่ม MOPP (Mechlorethamine/Vincristine/Procabazine/Prednisine) พร้อมกับ MOPP Analoguse มีความผิดปกติของการทำงานของกลุ่มเพศเกิดขึ้น โดยในเด็กชายจะสามารถกลับมามีบุตรภายหลังที่ทำการรักษาไปแล้วอย่างน้อย 8 ปี ซึ่งต่างจากการรักษาด้วยการฉายรังสีและการให้ยาในกลุ่ม ABVD (Doxorubicin/Blemycin/Vinblastine/Dacarbazine) ที่ไม่สร้างผลกระทบต่อมการทำงานของต่อมเพศ
ในการฉายรังสีเข้าสู่ลูกอัณฑะพบว่าการฉายรังสีแบบ Inverted Y-field ส่งผลให้มีการเกิด Oligospermia หรือเกิด Azoospermia ซึ่งลักษณะที่เกิดขึ้นมีทั้งแบบที่เกิดขึ้นชั่วคราวหรือแบบถาวรก็ได้ แต่ว่าแบบถาวรนั้นมีโอกาสที่พบได้น้อยมาก ซึ่งจำนวนสเปิร์มที่ลดลงจะสามารถกลับเข้าสู่ปกติหลังจากที่ทำการรักษาเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 26 เดือน ซึ่งประมาณ 40% จะมีปริมาณสเปิร์มน้อยต่อไปจนกระทั้งโตเป็นหนุ่ม

สำหรับในวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตทางเพศเต็มที่แล้ว พบว่าถ้ามีการรักษาด้วยการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณอุ้มเชิงกรานแล้ว โอกาสที่ Spermatogenic และ Fertility ที่จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมจะมีโอกาสที่น้อยมากหรือบางในผู้ป่วยบางคนจะไม่กลับมาเป็นปกติเลย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าอัณฑะของเด็กผู้ชายที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธจะมีความว่องไวต่อ Cytotoxic Effects ของ Alkylating Agent น้อยกว่าในผู้ป่วยที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วนั่นเอง และเมื่อทำการตรวจคุณภาพของน้ำอสุจิของผู้ป่วยที่เข้าสู่วัยหนุ่มหรือเลยวัยหนุ่มมาแล้วหลังจากที่ทำการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดเป็นเวลาตั้งแต่ 4 ปีจนถึง 11 ปี พบว่าน้ำอสุจิมีภาวะ Azoospermia อย่างสูงสุด
สำหรับผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองHodgkin’s Disease ด้วยการให้เคมบำบัดและการฉายรังสี พบว่ารังไข่ของเด็กผู้หญิงจะมีการทำงานที่ลดลง และผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปรังไข่จะมีความว่องไวต่อรังสีสูงกว่ารังไข่ของผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี และผู้หญิงที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีและให้เคมีบำบัดที่บริเวณอุ้มเชิงกรานจะส่งผลให้รังไขทำงานผิดปกติมากกว่าผู้หญิงที่รักษาด้วยการฉายรังสีหรือการให้เคมีบำบัดเพียงชนิดเดียว
ส่วนในเด็กผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปีที่เข้ารับการรักษา Hodgkin’s Disease ที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีไปยังบริเวณหน้าท้องส่วนล่างหรือบริเวณอุ้มเชิงกรานโดยมีการ Midline Overian Blacking กลับพบว่าความสามารถในการทำงานของรังไข่นั้นเป็นปกติเหมือนคนที่ไม่เคยผ่านการรักษามาก่อน และยังพบอีกว่าผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดชนิด MOPP ส่งผลให้ผู้ป่วยประมาณ 25-65 %ไม่มีประจำเดือนติดต่อกันอย่างยาวนาน โดยผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี จะมีโอกาสที่จะเกิดผลกระทบเช่นนี้มากกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี และเมื่อทำการศึกษาในผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการให้เคมีบำบัดก็ได้ผลเช่นเดียวกับการให้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว นั่นคือ ผู้หญิงที่มีอายุมากจะมีโอกาสที่จะไม่มีประจำเดือนมากกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยที่เข้ารับการรักษาแบบเดียวกัน แสดงว่าอายุของผู้ที่เข้ายิ่งมีอายุน้อยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษาจะมีค่าน้อยกว่าผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานของรังไข่ก็จะยิ่งน้อยลงหรือแทบจะไม่เกิดผลกระทบกับตัวผู้ป่วยเลยแม้แต่น้อย

2.3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหัวใจ

การรักษา Hodgkin’s Disease ด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัด พบว่าการฉายรังสีจะมีรังสีเข้าสู่หัวใจในบางส่วน และยาเคมีบำบัดที่ใช้จะมีส่วนผสมของยา Anthracycline ยาชนิดนี้เป็นยาที่มีความเป็นพิษต่อหัวใจเป็นอย่างมาก ซึ่งผลกระทบที่เกิดเป็นอาการแทรกซ้อนเมื่อทำการฉายรังสีทีเกิดขึ้นกับหัวใจ มีดังนี้

2.3.1 โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
โดยเฉพาะโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อย ซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 30 ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่มีปริมาณ 35 Gy เข้าสู่ส่วน Mediastinum พบว่าจะมีอาการเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นได้มีการพยายามหาทางแก้ไขด้วยการลดปริมาณของรังสีที่ใช้ในการฉายเพื่อรักษาและทำการ Subcarinal Blocking แล้วพบว่า การเกิดอาการแทรกซ้อนมีค่าลดลงเพียงแค่ 2-3 % เท่านั้น
และอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาเสร็จแล้วหลายปี ซึ่งบางครั้งอาการอาจจะไม่แสดงออกมาให้เห็นเด่นชัดนัก โดยอาการจะเริ่มตั้งแต่การมีน้ำในช่องเยื้อหุ้มหัวใจส่งผลให้กัวจเกิดการบีบตัวที่รุนแรง ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามจนถึงชีวิตได้

2.3.2 หลอดเลือดแดงบาดเจ็บ
การที่หลอดเลือดแดงเกิดอาการบาดเจ็บหลังจากที่มีการรักษาด้วยการฉายรังสี สามารถพบได้แต่ก็ไม่บ่อยนัก ซึ่งเมื่อเกิดอการดังกล่าวแล้วอาจจะพัฒนาไปเป็นโรคหลอดเลือกหัวใจในอนาคตได้ อาการแทรกซ้อนที่ทำให้หลอดเลือกหัวใจบาดเจ็บจะส่งผลในระยะยาวกับผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดและโรคกล้ามเนื้อหัวใจที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในผู้ป่วยเด็กที่ทำการรักษาจะพบว่าเมื่อทำการรักษาจนมีอายุ 18-25 ปีจะมีอัตราเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากสาเหตุนี้ จะเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหัวใจมีความอันตรายค่อนข้างสูง จึงพยายามที่จะหาทางลดอาการแทรกซ้อนด้วยการฉายรังสีให้มีปริมาณต่ำประมาณ 20 Gy เข้าสู่บริเวณ Mediastium และทำการเปลี่ยนยาเคมีบำบัดมาเป็นแบบ MOPP / ABVD แทนยา Anthracycline ซึ่งค่า Median Cumulative Dose ของ Doxorubicin ควรอยู่ที่ 176 mg/m² ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้  [adinserter name=”มะเร็ง”]

2.4 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานต่อมไทรอยด์

การรักษาด้วยการฉายรังสีไปที่ลำคอพบว่าสามารถส่งผลให้ต่อมไทรอยด์เกิดการทำงานที่ผิดปกติ โยมีต่อมไทรอยด์จะทำงานน้อยลงหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีที่บริเวณลำคอแล้ว ปัจจัยที่ส่งผลให้ต่อไทรอยด์ทำงานน้อยลง คือ ปริมาณรังสีที่ได้รับมีค่าสูงนั่นเอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุน้อยจะได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับต่อมไทรอยด์สูงกว่า ซึ่งถ้าได้รับปริมาณรังสีต่ำกว่า 26 Gy ผู้ป่วยเด็ก 17 % ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติ แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีมากกว่า 26 GY จะมีโอกาสที่ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติมากถึง 78 % เลยทีเดียว ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้วประมาณ 3 เดือน -6 ปี ซึ่งการรักษาสามารถทำได้ด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน

2.5 ผลกระทบที่เกิดต่อการทำงานของปอด

การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง Hodgkin’s Disease ด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัด จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอด ก็ต่อเมื่อมีการฉายรังสีไปยังบริเวณ Mediastinum หรือบริเวณเนื้อเยื่อปอดทุกส่วน ซึ่งการรักษาอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก้ปอดทำให้ปอดอักเสบ หายใจติดขัด มีอาการไอ หรือมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งเมื่อทำการ เอกซเรย์ทรวงองจะแสดงให้เห็นว่า Mediastinum มีความกว้างมากขึ้นแบะยังแสดง Shaggy Border ในส่วนที่อยู่รอบ ๆ Mediastinum อีกด้วย โดยอาการปอดอักเสบจะมีเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับรังสีที่ปริมาณ 35-45 Gy ที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ส่วนบนของร่างกาย นอกจากอาการปอดอักเสบอาการแทรกซ้อนที่พบได้ก็คือ ภาวะมีน้ำเกิดขึ้นในช่องปอดชนิดเรื้อรัง หรือการเกิดพังผืดที่ส่วนของ Aqical ชนิดที่ไม่มีอาการแสดงออกมาและเกิด พังผืดแบบ Paramediastinal ได้อีกด้วย ส่วนการให้เคมีบำบัดจะเกิดอาการแทรกซ้อนแบบนี้ก็ต่อเมื่อมีการให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน โดยเฉพาะยา Bleomycin ที่จะส่งผลให้ปอดมีความยืดหยุ่นน้อยลง แต่ถ้าลดปริมาณยาให้เหลือน้อยกว่า 200 unit/m2 ก็จะสามารถลดอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ และอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอย่างมากสำหรับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการให้เคมีบำบัดคือ การติดเชื้อชนิดรุนแรงที่ปอด ซึ่งถ้ามีอาการแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้นผู้ป่วยจะมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้

3. โรคมะเร็งชนิดอื่น ( Other Solid Tumors ) 

Solid Tumors สามารถพบได้ในเด็กประมาณ 1 ใน 3 เท่านั้น ซึ่ง Solid Tumors ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ Rhabomysarcoma Osteogenic Sarcoma Ewing’s Sarcoma Wilm’sTumors และ Neuroblastoma ซึ่ง Solid Tumors เป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัด ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่สามารถทำการสรุปได้ว่าเกิดขึ้นจากการผ่าตัด จากการฉายรงสีหรือการให้เคมีบำบัด และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรักษา Solid Tumors มีดังนี้

3.1 ผลกระทบต่อการเกิดขึ้นกับปอด

การรักษา Wilms’tumors ด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดพบว่า ผู้ป่วยมีสภาวะล้มเหลวในการทำงานของกกระบวนการ Alveolar Multiplication ส่งผลให้ปอดมีปริมาตรลดลง ผนังทรวงอกมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ส่งผลให้เกิดภาวะตีบตันของทางเดินหายใจได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้น้อยเพียง 2 จาก 15 คนของผู้ป่วยทั้งหมด

3.2 ผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ

การรักษา Solid Tumors จะมีอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมชนิดเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หลอดเลือดหัวใจตีบตัน โดยพบว่าผู้ที่ได้รับยาที่มีปริมาณน้อยกว่า 550 mg/m2 จะมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาในปริมาณมากกว่า 600 mg/m2 และจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่ม Anthracyline ในการรักษาร่วมด้วย วิธีการให้ยาก็มีผลต่ออาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นด้วยพบว่าถ้าให้ยาในแบบ Continuous Infusion จะช่วยลดความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้
การประเมินอาการแทรกซ้อนสามารถทำได้หลายวิธีเช่น Radionuclide Angiography การประเมินการบีบตัวของหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงที่สะท้อนของหัวใจหรือการตัดชิ้นเนื้อเพื่อไปตรวจว่ามีอาการอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่
และถ้าทำการตรวจว่าผู้ป่วยมีอัตราเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว ต้องรีบหยุดการให้ยาเคมีบำบัดกับผู้ป่วยในทันที

3.3 ผลกระทบต่อการทำงานของไต

การรักษา Solid Tumors ที่ไตมักจะทำการรักษาด้วยการตัดเอาไส้ที่ไตออกไป พบว่าหลังจากที่ทำการรักษาผ่านไป 3 ปี ตาส่วนที่เหลืออีกข้างจะมีขนาดใหญ่ขึ้น จากการศึกษาที่ดูจาก Serum Creatinine และ Creatinine Clearance ด้วยการติดตามผลถึง 23 ปี พบว่ามีการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ และมีสภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเพศชาย และการฉายรังสีปริมาณมากกว่า 23 Gy ไปยังบริเวณอุ้มเชิงกรานกับบริเวณท้องของผู้ป่วยจะเกิดอาการแทรกซ้อนส่งผลให้ไตอักเสบได้ และการใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษาในผู้ป่วยเด็กจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน และจะมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นอาการแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง ซึ่งอาการแทรกซ้อนดังกล่าวสามารถลดความรุนแรงด้วยการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ ทั้งก่อน ในขณะที่ให้ยาเคมีบำบัดและหลังการให้ยาเคมีบำบัด

3.4 ผลกระทบต่อบริเวณศีรษะและคอ

ผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็กที่เข้ารับการรักษา sarcoma ของส่วนเนื้อเยื่ออ่อนของสมองและคอ ด้วยการให้เคมีบำบัดและการฉายรังสีจะสร้างผลกระทบต่อร่างกายดังนี้  [adinserter name=”มะเร็ง”]

3.4.1 ตา
เมื่อมีการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณดวงตาและกระจกตาได้รับรังสีประมาณ 6-7.5 Gy จะเกิดต้อที่บริเวณกระจกตา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 6 เดือนจนกระทั้งถึง 35 ปีหลับจากที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี และถ้ามีการฉายรังสีเข้าสู่เบ้าตาในประมาณที่น้อยกว่า 40 Gy จะส่งผลให้เยื่อบุตาเกิดการอักเสบชนิดรุนแรงและถ้าได้รับรังสีมากกว่า 57 Gy จะส่งผลให้ตามองไม่เห็นภายใน 1 ปีหลังจากที่ได้รับการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับรังสีที่มีปริมาณ 28 Gy จะทำให้เกิดสภาวะตาแห้ง

3.4.2 การได้ยิน
อาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับการได้ยินเป็นปัญหาที่พบได้น้อยมากเมื่อเทียบกับอาการแทรกซ้อนชนิดอื่น ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับการได้ยิน จะเกิดจากการฉายรังสีปริมาณ 40-60 Gy เข้าสู่บริเวณหูชั้นกลางจะส่งผลให้เกิดน้ำในหูชั้นกลางชนิดเฉียบพลันขึ้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้จะหายได้เองในภายหลังและจะไม่ส่งผลให้การได้ยินสูญเสียไป แต่ก็จะมีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่จะสูญเสียอาการได้ยินหลังจากที่ได้รับการฉายรังสี
แต่สำหรับการให้เคมีบำบัดพบวายา Cisplatin ที่จะมีความเป็นพิษต่อหูมากซึ่งการให้ยานี้ในปริมาณที่สูงกว่า600 mg/m2 พบว่าผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินที่ความถี่สูงทุกคน

3.4.3 ความเสียหายต่อฟัน
เมื่อมีการฉายรังสีที่ปริมาณ 4 Gy เข้าสู่ฟันที่อยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต ส่งผลให้ฟันมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ มีรากฟันที่สั้นลงและครอบฟันที่บางลง และอายุของฟันก็มีอายุสั้นลงด้วยทำให้ผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีจะต้องทำการดูแลฟันเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันการสูญเสียฟันก่อนเวลา นั่นแสดงว่าความเสียหายต่อฟันจะเกิดขึ้นเมื่อทำการรักษาผู้ป่วยที่มีอายุน้อยหรือผู้ป่วยที่ฟันมีการพัฒนายังไม่เต็มที่นั่นเอง

3.4.4 ความเสียหายต่อต่อมน้ำลาย
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีปริมาณ 45 Gy จะพบว่าผู้ป่วยจะมีน้ำลายที่มีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น น้ำลายเหนี่ยวขึ้น หรือน้ำลายมีลักษณะที่ใสขึ้น เป็นต้น

3.4.5 ความเสียหายต่อ Growth hormone
ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีปริมาณ 44 Gy ด้วยการฉายรังสีแบบ Incidental เข้าสู่บริเวณ Hypothalamic Pituitary Gland พบว่าผู้ป่วยเด็กร้อยละ 61 มีความสูงลดลงเนื่องจากการทำงานของต่อมไทโอทาลามัสมีความผิดปกติ ส่งผลให้มีการสร้าง Growth Hormone ลดลงทำให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตที่ลดลงตามไปด้วย ซึ่งอาการแทรกซ้อนนี้จะส่งผลให้กับผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับการรักษาประมาณ 6 ปี

3.4.6 ความเสียหายต่อกระดูกใบหน้า
เมื่อมีการฉายรังสีปริมาณ 40 Gy เข้าสู่บริเวณเบ้าตาเพื่อรักษา Rhabdomyosarcoma พบว่าอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษาส่งผลให้เนื้อเยื่ออ่อนบริเวณเบ้าตามีความพิการผิดรูปเกิดขึ้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยที่การเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้ายังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ อาการแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการรักษาไปแล้วประมาณ 9 ปี และอาการแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงก็ต่อเมื่อได้รับปริมาณรังสีเกิน 50 Gy
ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการฉายรังสีควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดว่ามีผลข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อนใดที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นบ้าง เพื่อลดความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

3.5 ผกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจากการรักษามะเร็งในเด็ก

ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยหรือยังอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโต เมื่อได้รับการฉายรังสีเข้าสู่ช่องท้องเพื่อทำการรักษามะเร็ง พบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกสันหลังคดงอหรือมีอาการหลังค่อมเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับรังสีปริมาณ 32 Gy และทำการฉายแสงด้วยเครื่อง Orthovoltage ซึ่งอาการแทรกซ้อนนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการรักษาแล้วประมาณ 12-13 ปี นอกจากนั้นความผิดปกติของกระดูกอาจจะเกิดขึ้นจากการฉายรังสีที่มีปริมาณ 30 Gy ด้วยการฉายรังสีแบบ Orthovoltage และการฉายรังสีแบบที่ไม่สมมาตรก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งด้วย
ความถี่ในการเกิดเลื่อนของ Epiphysis ของส่วน Femoral Head จะมีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยเด็กได้รับการฉายรังสีเจ้าสู่บริเวณอุ้มเชิงกรานพร้อมกับการให้เคมีบำบัด พบว่าเซลล์ที่มีความว่องไวต่อการรักษาจะหลัดจรการเลี้ยงเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่มีความทนทานต่อความกดดันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นในการรักษาต้องทำการตรวจอุ้มเชิงกรานก่อนที่จะทำการรักษาว่าสามารถทนต่อการรักษาได้หรือไม่เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น

4. มะเร็งในเด็กที่เกิดขึ้นในระบบประสาทส่วนกลาง

ผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นมะเร็งในสมองจะพบได้ประมาณร้อยละ 20 และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะรอดชีวิต ซึ่งการรักษามะเร็งที่ส่วนของสมองจะรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดร่วมด้วย ซึ่งการรักษาย่อมมีผลกระทบต่อผู้ ป่วยเกิดขึ้นด้วย ซึ่งผลกระทบหรืออาการแทรกซ้อนระยะยาวที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กที่ทำการรักษามะเร็งสมอง คือ

4.1 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบต่อมไร้ท่อ

4.1.1 การทำงานต่อมไฮโปทาลามัส
การรักษามะเร็งที่สมองด้วยการฉายรังสีจะส่งผลต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อที่อยู่ในสมองส่งผลให้เกิดสภาวะขาดแคลน Growth Hormone ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ที่มีต้นเหตุมาจากาการทำงานที่ผิดปกติของต่อมไฮโปทาลามัสที่มีหน้าที่ในการสร้าง Growth Hormone นั่นเอง ซึ่งถ้าร่างกายได้รับรังสีในปริมาณ 36-60 Gy สู่ส่วนขอสมองทั้งหมดหรือ 46-54 Gy ที่ส่วนของ Posterior Fossa จะส่งผลให้ร่างกายทำการผลิต Growth Hormone มีความผิดปกติ ซึ่งสภาวะการขาดแคลน Growth Hormone นี้จะเริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยทำการรักษาไปแล้วประมาณ 3 เดือน ซึ่งสภาวะการขาดแคลน Growth Hormone จะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตมากกว่าผู้ใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว  [adinserter name=”มะเร็ง”]

4.1.2 การทำงานของต่อมเพศ
การทำงานของต่อมเพศพบว่าถ้ามีการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณสมองจะส่งผลน้อยมากต่อการทำงานของต่อมเพศ ต่างจากผลจากการใช้เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งที่สมอง เพราะว่าการใช้เคมีบำบัดส่งผลต่อการพัฒนาของต่อมเพศอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กที่การพัฒนาของต่อมเพศยังไม่สมบูรณ์เต็มที่จะแสดงผลอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของลูกอัณฑะที่มีขนาดเล็กลง จำนวนอสุจิและคุณภาพของอสุจิก็ลดลงตามได้ด้วย ส่วนในผู้หญิงจะพบว่ารังไข่มีการทำงานที่ผิดปกติส่งผลต่อการมีประจำเดือนที่ขาดหายไม่สม่ำเสมอ

4.2 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ Neurocognitive Function

ผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณสมอง พบว่าหลังจากที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการเรียนรู้ ความจำและการสั่งงานของสมองต่อการตอบสนองสิ่งเร้าที่อยู่รอบตัวเป็นอย่างมาก ทำให้มีปัญหาด้านการเรียนการศึกษา กระบวนการคิด การตัดสินใจ มีระดับ IQ ที่ลดลงกว่าเด็กปกติ นอกจากนี้ในผู้ป่วยเด็กบางคนก็มีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้น มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ก้าวร้าว หวาดระแหวง ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้มีผลมาจากการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณสมองมากกว่าการให้เคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง
ในผู้ป่วยบางคนที่เข้ารับการรักษาเมื่ออายุแค่ 2-5 ปีมีอัตราเสี่ยงที่จะมีอาการแทรกซ้อนกลายเป็นโรคปัญญาอ่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้เนื่องจากการที่มีน้ำคั่งอยู่ในสมองและมีแรงดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มมากขึ้น
การแก้ไขผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนี้ ทำได้ด้วยการรักษาผู้ป่วยเมื่อมีอายุมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือให้พ้นจากช่วงที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตของสมอง เพื่อลดอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีเข้าสู่สมอง

4.3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับปอด

การใช้ยาเคมีบำบัดชนิด Carmustine ( BCNU ) ในปริมาณ 1550 mg / m2 เพื่อทำการรักษาโรคมะเร็งที่สมอง พบว่าจะสร้างผลกระทบต่อปอดหลังจากที่ทำการรักษาเสร็จประมาณ 2-5 ปี โดยจะส่งผลให้เกิดอาการไอ หายใจหอบ เหนื่อยง่าย และกลายเป็นอาการปอดบวมในที่สุด ในผู้ป่วยบางหลายก็จะเกิดพังผืดที่ในปอดชนิดรุนแรง ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา ดังนั้นการลดอาการแทรกซ้อนที่มีต่อปอดคือการลดปริมาณยา Carmustine ( BCNU ) ที่ใช้ในการรักษาให้เหลือเพียง 1400 mg/m2 และในขณะที่ทำการรักษาต้องคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยว่ามีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่น เช่น อาการหอบหืด หายใจติดขัด เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีอาการเกิดขึ้นควรดูแลอย่างใกล้ชิดหรือหากจำเป็นให้หยุดการรักษาไว้ก่อน

การเกิดมะเร็ง ทุตติยภูมิ ( Second Malignancy Neoplasms : SMN )

1. ผลกระทบที่เกิดจากพันธุกรรม

ผู้ป่วยเด็กที่เคยได้รับการรักษามะเร็งจนหายไปแล้ว พบว่าสามารถกลับมาเป็นมะเร็งได้อีกครั้งหรือเรียกว่ามะเร็งทุตติยภูมิ ซึ่งลักษณะของมะเร็งทุตติยภูมิที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละคนนั้นก็จะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของผู้ป่วยเอง และวิธีการรักษามะเร็งที่เคยใช้ในการรักษาครั้งแรกอีกด้วย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งทุตติยภูมิคือ

พันธุกรรม พบว่าเด็กที่มีการโครโมโซม 13q14 จะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็ง Retinoblastoma ที่ตาทั้งสองข้าง ซึ่งมะเร็งชนิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่รักษามะเร็งหายแล้วประมาณ 20 ปี

กลุ่มโรคบางชนิดก็สามารถส่งผลให้เกิด SMN ได้เช่นกัน เช่น Neurofibromatosis หรือ Xeroderma เป็นต้น

2. ผลกระทบที่เกิดจากวิธีการรักษา

การฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดในการรักษาผู้ป่วย พบว่าสามารถส่งผลกระทบให้เกิดมะเร็ง SMN ได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวมักเกิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีในปริมาณต่ำ และSolid Tumors ที่จะเกิดกับผู้ป่วยที่ได้รับรังสีในปริมาณสูง ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากทำการรักษาประมาณ 10-15 ปี โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาจะได้รับผลกระทบที่ก่อให้เกิดมะเร็ง SMN สูงกว่าในผู้ใหญ่ สำหรับการให้เคมีบำบัดนั้นยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าสามารถส่งผลกระทบต่อการเกิดมะเร็ง SMN ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีและการให้เคมีบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่ทรงประสิทธิภาพสูง สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ แต่ทว่าการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวก็มีผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กที่ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งร่างกายและสมอง ดังนั้นถ้าเป็นไปได้การรักษาควรรักษาเมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เพื่อร่างกายจะได้รับผลกระทบทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังน้อยที่สุด และร่างกายก็จะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็ว อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระยะยาวก็จะน้อยลงตามไปด้วย แต่ถึงอย่างไรทุกอย่างก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นหลักด้วย

ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลันที่พบว่ามีผลจากการฉายรังสีในผู้ป่วยเด็ก

1.อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับระบบประสาท

อาการข้างเคียงจากภาวะแทรกซ้อนจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ หรือความเป็นพิษต่อระบบประสาทชนิดเฉียบพลันที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กจะพบได้ในผู้ป่วยเด็กที่มีการฉายรังสีหรือมีการให้เคมีบำบัดบริเวณศีรษะ ซึ่งอาการเฉียบพลันที่พบได้ คือ

1.1 อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะสภาวะง่วงซึมในเด็ก ( Somnolence Syndrome )
ภาวะแทรกซ้อนจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ สภาวะง่วงซึมหรือที่เรียกว่า Post-Irradiation Syndrome Apathy Syndrome, Late Transient Encephalopathy Syndrome อาการที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลันในผู้ป่วยเด็กมีตั้งแต่ ง่วงนอน เซื่องซึม คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ขึ้น และอาจจะมีอาการท้องร่วงเกิดขึ้นด้วย ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายใน 4-8 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับการฉายรังสีที่บริเวณของศรีษะไปแล้ว และ Druckman ได้ทำการอธิบายอาการดังกล่าวไว้ว่า 3 % ของผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณหนังศีรษะเพื่อรักษา Tinea Capitis จะมีอการเหล่านี้เกิดขึ้น ภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสีที่ศีรษะและอาการง่วงซึมยังสามารถพบได้ในผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็น Leukemia ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีบริเวณศีรษะเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็งไปสู่สมองอีกด้วย ( Prophylaxis Cranial Irradiation ) ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ทำการฉายรังสีเพื่อที่จะรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ในสมองลำคอและศีรษะอีกด้วย    [adinserter name=”มะเร็ง”]
ผลข้างเคียงจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ ที่เกิดขึ้นนี้จะไม่เกี่ยวกับข้องกับเพศ อายุ จำนวนเม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือดหรือ Hepato Sple Nomegaly เลยแม้แต่น้อย นั่นคือผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีแบบนี้ล้วนแต่จะมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเหมือนกันนั่นเอง

1.2 อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะ
ภาวะแทรกซ้อนจากการ ฉายรังสีที่ศีรษะ จากสภาวะง่วงซึมที่พบได้จากผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะและลำคอแล้ว ยังมี ผลกระทบ ข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก เช่น Tumor Necrosis เป็นต้น ซึ่งอาการนี้ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยเหมือนอาการง่วงซึมแต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ความเป็นพิษที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อฉายรังสีที่ความความเข้มข้นหรือปริมาณรังสีที่สูงกว่าปริมาณรังสีที่ฉายเพื่อเป็น Prophylaxsis Cranial Irradiation ตัวอย่างเช่น การฉายรังสีเพื่อรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ซึ่งความเข้มข้นของรังสีที่ระดับนี้ สามารถนำมาใช้ในการทำลายเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในสมองได้ แต่การความเป็นพาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบประสาทของผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นสิ่งที่คาดคะเนได้ยากมาก เพราะว่าผลกระทบที่มาจากการผ่าตัดก้อนมะเร็งและการที่มีก้อนมะเร็งอยู่ในสมอง ส่งผลให้การแปลผลเป็นสัญญาณและอาการของผลกระทบข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นการยากว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ระหว่างการฉายรังสีหรือเพราะก้อนเนื้องอกที่อยู่ในสมอง
ผข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะ เมื่อฉายรังสีที่ความความเข้มข้นหรือปริมาณรังสีที่สูงกว่าปริมาณรังสีที่ฉายเพื่อรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ความเข้มข้นของรังสีสามารถนำมาใช้ในการทำลายเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในสมองได้

2. อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะและปอด

การรักษาโรคด้วยการฉายรังสีที่บริเวณปอดมักจะมีอาการแทรกซ้อนที่เรียกว่า ปอดอักเสบ ( Pneumonitis ) ซึ่งอาการจะปรากฏให้เห็นหลังจากที่ทำการฉายรังสีไปแล้วประมาณ 2-3 เดือน แต่ถ้าผู้ป่วยเคยทำการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดหรือมีการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีหรือมีการให้เคมีบำบัดหลังจากที่มีการฉายรังสีในการรักษาไปแล้ว
ผลข้างเคียง ที่เกิดขึ้นมานี้ควรที่จะได้รับการประเมินสภาพความน่าจะเป็นของผลที่จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับการรักษาด้วยการประเมินการทำงานของปอดเป็นประจำ ซึ่งรวมถึงการ Carbon Monoxide Diffusion Studies ซึ่งการรักษาด้วย Prednisolone จะเป็นการรักษาที่ได้ผลดีกว่าและมีประโยชน์ที่สูงกว่าถ้ามีการ Interstital Pneumonitis เกิดขึ้นร่วมด้วยในขณะที่ทำการรักษาร่วม และการรักษาด้วย Prednisolone ควรที่จะเริ่มใช้ Prednisolone วันละประมาณ 40-60 mgต่อตารางเมตรของร่างกาย และทำการให้ยากับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แล้วจึงทำการลดปริมาณยาที่ให้ลงทีละน้อย และการให้ออกซิเจนที่ความเข้มข้นสูงอาจจะส่งผลให้ปอดได้รับความเป็นพิษเกิดขึ้นอย่างรุนแรงหลังจากได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีโดยเฉพาะการรักษาที่ให้ยากลุ่ม Bleomycin จะทำให้ความเป็นพิษที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงยิ่งกว่าเดิม ดังนั้นถ้าต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมด้วยแพทย์และทีมที่ทำการผ่าตัดต้องระวังเป็นอย่างมาก

2.1 อาการข้างเคียงจากการฉายรังสีที่ศีรษะและลำตัว
การรักษาที่บริเวณผิวหนังอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น Erythema Multiforma, Steven Johnson Sydrome, Toxic Epidermal Necrolysis เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับ ผู้ป่วยเด็ก ที่เข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับ การฉายรังสี หรือไม่ก็ตาม แต่อัตราการเกิดขึ้นของอาการแทรกซ้อนดังกล่าวพบได้น้อยมาก ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในขณะที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือก่อนที่จะได้รับรังสีหรือหลังจากที่ได้รับรังสีไปแล้ว ซึ่งในการเกิเดปฏิกิริยาที่ผิวหนังนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ให้เคมีบำบัดไปแล้วนานพอประมาณ
ยาเคมีบำบัด Doxorubicin หรือยา 5-fluorouracil และ Hydroxyurea เป็นยาที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา Radiation Recall ในส่วนพื้นที่ที่เคยได้รับ การฉายรังสี มาแล้วก่อนที่จะได้รับเคมีบำบัด ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับยาเคมีบำบัดไปแล้วประมาณ 7-8 วัน
ยาเคมีบำบัด Cytosine Arabinoside ยา Etoposide Melphalan และยา Thiotepa ยาเหล่านี้ไม่ว่าจะใช้เพียงชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกันในการรักษาโดยเคมีบำบัดพบว่าสามารถสร้างปฏิกิริยาที่รุนแรงให้เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะยา Cytosine Arabinoside ที่มีการใช้ในปริมาณที่สูงหรือมีการให้ยาแบบ Methotre แบบ High Dose ซึ่งยาทุกตัวสามารถเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงได้ทั้งส่วนที่เป็นผิวหนังและเนื้อเยื่อที่พบได้บ่อยครั้งผู้ป่วยที่ได้รับ Perparative Therapy ในการปลูกถ่ายไขกระดูกด้วย และในกลุ่มที่มีการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีร่วมกัน

ดังนั้นถ้าต้องทำการรักษาผู้ป่วยแล้วสามารถเกิดอาการแทรกซ้อนดังกล่าวเกิดขึ้นได้ แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญต้องทำการชี้แจงก่อนที่จะทำการรักษาด้วยว่าจะมีอาการผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงเกิดขึ้นในส่วนของบริเวณที่ได้รับการฉายรังสี ดังนั้นถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องออกไปอยู่กลางแจ้งหรือต้องโดนแสงแดดโดยตรงควรทาครีมกันแดดหรือหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจะเป็นการดีที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังไหม้ขึ้น เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับ ผลกระทบ จากการรักษาน้อยที่สุด

การรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดและ การฉายรังสี ในปัจจุบันนี้เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งให้หายและป้องกันการแพร่กระจายได้ดีที่สุด แต่ทว่าในการรักษายังมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเกิดขึ้นด้วย ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมีทั้งชนิดที่รุนแรงและชนิดที่ไม่รุนแรง ดังนั้นแพทย์ผู้ทำการรักษาควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบก่อนที่จะทำการรักษาเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้เตรียมตัวและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งก่อน ในขณะที่ทำการรักษาและหลังจากที่ได้รับการรักษาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

“Screening for Oral Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2004. Archived from the original on 24 October 2010.

“Screening for Prostate Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2008. Archived from the original on 31 December 2010.

พันธุกรรมกับอัลไซเมอร์ ( Genetics of Alzheimer Disease )

0
พันธุกรรมกับอัลไซเมอร์ (Genetics of Alzheimer Disease)
อัลไซเมอร์ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น คนที่อายุน้อยก็เป็นอัลไซเมอร์ได้ถ้าพันธุกรรมของพ่อแม่นั้นเป็นโรคอัลไซเมอร์
พันธุกรรมกับอัลไซเมอร์ (Genetics of Alzheimer Disease)
อัลไซเมอร์ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น คนที่อายุน้อยก็เป็นอัลไซเมอร์ได้ถ้าพันธุกรรมของพ่อแม่นั้นเป็นโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์

รหัสแห่งชีวิตที่เรียกว่า พันธุกรรม มีผลต่อลักษณะหรือเอกลักษณ์ของบุคคล ตลอดจนประเด็นของสุขภาพร่างกายด้วย หลายคนดูแลตัวเองดีมาก ถูกต้องตามหลักโภชนาการและหลักสุขภาพทุกอย่าง แต่ก็ยังเจ็บป่วยได้ง่ายเพราะปัญหาบางอย่างในรหัสพันธุกรรม ซึ่งถ่ายทอดโดยตรงจากรุ่นสู่รุ่น รุ่นพ่อแม่ที่ทำให้ความบกพร่องของรหัสพันธุกรรมกลายเป็นลักษณะเด่นก็ย่อมส่งผลต่อรุ่นลูกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ตาบอดสี ดาวน์ซินโดรม ฮีโมฟีเลีย เป็นต้น โรคสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ก็เช่นเดียวกัน หลายคนเข้าใจผิดว่าอัลไซเมอร์นั้นต้องเกิดกับคนที่อายุมากเท่านั้น แต่ความจริงแล้วในคนที่อายุยังน้อยก็เป็นอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกัน   

เพียงแต่ว่าสาเหตุในการเกิดจะแตกต่างออกไป ผู้สูงอายุจะเป็นอัลไซเมอร์ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพหรือมีส่วนเสียหายของสมอง แต่อัลไซเมอร์ในวัยรุ่น่หรือวัยกลางคนจะเกิดจากรหัสพันธุกรรมเป็นหลัก โดยคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้จะมีพ่อแม่ที่เป็น โรคอัลไซเมอร์ ชนิดเกิดก่อนวัย และค่าความเสี่ยงจะสูงถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องให้แน่ใจว่ารุ่นพ่อแม่ที่เป็นอัลไซเมอร์นั้นเป็นการเกิดแบบก่อนวัยจริงๆ ไม่ใช่การเป็นเมื่ออายุมากขึ้นแล้ว เพราะถ้าเป็นแบบนั้น รุ่นลูกก็จะมีค่าความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเทียบเท่ากับคนปกติทั่วไป

สารพันธุกรรมสำคัญ 3 ตัวที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคอัลไซเมอร์ เป็นสารพันธุกรรมที่อยู่ในโครโมโซมคู่ที่ 14 คู่ที่ 1 และคู่ที่ 21 เราเรียกว่า พรีซีนิลิน ได้แก่ PS-1, PS-2 และ APP ( Amyloid Precursor Protein ) เพียงแค่พ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสารพันธุกรรมที่ว่านี้ รุ่นลูกก็จะมีโอกาสได้รับการส่งต่ออยู่ที่ร้อยละ 50 อีกตัวหนึ่งเป็นสารพันธุกรรม ริสก์ยีน ( Risk Gene ) เช่น ApoE 4 อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 19 ซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมสูงถึง 4 เท่า แต่ความเสี่ยงนี้ก็ลดลงได้หากเรามีสารพันธุกรรม E2 อยู่ด้วย นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายละเอียดเกี่ยวกับอัลไซเมอร์เท่านั้นเอง

หลายคนเข้าใจผิดว่าอัลไซเมอร์นั้นต้องเกิดกับคนที่อายุมากเท่านั้น แต่ความจริงแล้วในคนที่อายุยังน้อยก็เป็นอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกัน

วิธีตรวจแบบอื่นๆ

การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ นอกจากการซักประวัติของผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อวัดค่าเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงแล้ว แพทย์ก็ยังสามารถใช้วิธีตรวจแบบอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ 

  • ทดสอบด้วยหลักการทางจิตวิทยา อาจเป็นแบบสอบถาม เป็นปัญหาเชาว์ หรือการขีดเขียนอย่างอิสระแล้วประเมินผลโดยแพทย์เฉพาะทาง
  • ใช้นวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมที่เป็นต้นเหตุของความเสี่ยง
  • เจาะไขสันหลังเพื่อนำของเหลวไปทดสอบ
  • เอกซเรย์ความสมบูรณ์ของสมองด้วยระบบคอมพิวเตอร์

ในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อมูลได้เลยว่ารุ่นพ่อแม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ก่อนวัยหรือไม่ ก็มักจะไม่มีการตรวจหาสารพันธุกรรม PS-1 และ PS-2 เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่เมื่อตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าเป็นอัลไซเมอร์ แพทย์ก็จะแนะนำวิธีการดูแลให้อย่างเหมาะสม เพราะถือว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนมาก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Lin MT, Beal MF. Alzheimer’s APP mangles mitochondria. Nat Med. 2006;12(11):1241–1243. 

Walter J, Kaether C, Steiner H, Haass C. The cell biology of Alzheimer’s disease: uncovering the secrets of secretases. Curr Opin Neurobiol. 2001;11(5):585–590.

Sastre M, Steiner H, Fuchs K, et al. Presenilin-dependent gamma-secretase processing of beta-amyloid precursor protein at a site corresponding to the S3 cleavage of Notch. EMBO Rep. 2001;2(9):835–841. 

Anandatheerthavarada HK, Biswas G, Robin MA, Avadhani NG. Mitochondrial targeting and a novel transmembrane arrest of Alzheimer’s amyloid precursor protein impairs mitochondrial function in neuronal cells. J Cell Biol. 2003;161(1):41–54. 

Scheuner D, Eckman C, Jensen M, et al. Secreted amyloid beta-protein similar to that in the senile plaques of Alzheimer’s disease is increased in vivo by the presenilin 1 and 2 and APP mutations linked to familial Alzheimer’s disease. Nat Med. 1996;2(8):864–870. 

ผู้ป่วยอาการสมองกลีบหน้าเสื่อมมีพฤติกรรมอย่างไร

0
ผู้ป่วยอาการสมองกลีบหน้าเสื่อมมีพฤติกรรมอย่างไร
ผู้ป่วยจะมีอาการเหม่อลอยเฉื่อยชา โมโหง่าย ไปจนถึงก้าวร้าวและหวาดกลัวจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
ผู้ป่วยอาการสมองกลีบหน้าเสื่อมมีพฤติกรรมอย่างไร
ผู้ป่วยจะมีอาการเหม่อลอยเฉื่อยชา โมโหง่าย ไปจนถึงก้าวร้าวและหวาดกลัวจนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้

โรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้นแสดงออกอย่างไรแม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะพัฒนาก้าวหน้าไปมาก แต่โรคเกี่ยวกับสมองก็ยังจัดเป็นโรคพิเศษที่มีความละเอียดอ่อน ผู้ป่วยทางสมองต้องได้รับการดูแลและต้องอาศัยองค์ความรู้ในเชิงลึกและดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากกว่าการพึ่งพาเพียงแค่เทคโนโลยีอยู่ดี โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้น ผู้ป่วยทางสมองยังตรวจอาการพบได้บางครั้งอาการที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือแพทย์อันทันสมัย แต่ผู้ป่วยทางสมองไม่ได้รับการวินิจฉัยซ้ำอย่างถี่ถ้วนครบทุกด้าน ก็ทำให้ผลการตรวจผิดเพี้ยนไปได้เช่นเดียวกัน อย่างที่เราได้เห็นเป็นกรณีศึกษากันอยู่บ่อยๆ

โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้นจากอาการสมองกลีบหน้าเสื่อมก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นของโรคเกี่ยวกับสมองที่น่าสนใจ เพราะมีผู้ป่วยทางสมองหลายรายหรือแม้แต่ตัวแพทย์เองก็ตามที เกิดความเข้าใจผิดว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นผลจากโรคสมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม เหตุผลก็คือก้อนสมองทั้งหมดเชื่อมโยงถึงกัน หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดเสียหายก็ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออก กล่าวให้ชัดลงไปอีกก็คือ ผู้ป่วยทางสทองไม่ว่าส่วนใดของสมองเสียหายก็มักจะส่งผลกระทบต่อสมองกลีบหน้าที่เป็นตัวหลักในการควบคุมพฤติกรรมของเราทั้งนั้น และนั่นไม่ใช่พฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม

หากมีผู้ป่วยทางสมองสักคนมีอาการเหม่อลอย โมโหง่าย ไปจนถึงก้าวร้าวและหวาดกลัว ถึงจะดูคล้ายว่าเป็นโรคสมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม แต่ก็ยังไม่อาจสรุปได้ จำเป็นต้องตรวจสอบถึงสารเสพติด เนื้องอก หรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในประเด็นอื่นๆ ก่อน สิ่งสำคัญต้องรู้ว่าพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมนั้น ผู้ป่วยทางสมองจะต้องมีร่องรอยของโรคกระจายทั่วก้อนสมอง ไม่ใช่แค่จุดใดจุดหนึ่ง และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมก็คือ กลุ่มคนที่เป็นอัลไซเมอร์ระยะกลาง กลุ่มคนที่เป็นสมองเสื่อมวัยกลางคน และกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังมีพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม อันที่จริงก็ต้องตรวจสอบโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเสมอ เพื่อให้รู้แน่ชัดแบบเฉพาะเจาะจงรายบุคคล และนั่นส่งผลต่อการดูแลรักษาในภายหลังด้วย อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง ก่อนที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาในลำดับถัดไปได้ อาการของพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมมีดังนี้

อาการของผู้ป่วยทางสมองที่สมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม

เฉยเมยและเฉื่อยชา : ผู้ป่วยทางสมองพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะแรกสุดก็คือความเฉื่อยชาและเฉยเมยกับสิ่งรอบตัว เริ่มท้อ เริ่มเบื่อและเหนื่อยหน่ายกับชีวิตที่เป็นอยู่ หลายครั้งรุนแรงถึงขั้นหมดกำลังใจและมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ไม่เห็นเหตุผลของการมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ซึ่งนี่เป็นอาการที่ค่อนข้างคล้ายกับโรคซึมเศร้ามาก และบางกรณีก็เกิดการเป็นแบบทับซ้อนร่วมกันไป การรักษายังคงเป็นการให้ยาตามอาการและติดตามผลอย่างใกล้ชิด

หุนหันพลันแล่นและก้าวร้าว : ผู้ป่วยทางสมองจากเดิมที่สามารถจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมได้ดี ก็กลายเป็นคนขี้หงุดหงิด กระสับกระส่าย อาจเกิดจากสภาวะทางอารมณ์และจิตใจเพียงอย่างเดียว เช่น จิตใจไม่สงบ ไม่สบายใจกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ ยึดติดและหมกมุ่นกับบางสิ่งบางอย่างจนเกิดความตึงเครียด เป็นต้น หรืออาจจะเกิดจากสภาวะทางร่างกายร่วมด้วย มีอาการเจ็บปวดหรือความไม่สบายกายอย่างต่อเนื่อง เช่น ปวดท้องบ่อยๆ หิวบ่อยๆ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวเป็นประจำ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็กระตุ้นให้มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและก้าวร้าวได้เช่นเดียวกัน

อาการจากความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ : ผู้ป่วยทางสมองจะว่าง่ายๆคือการควบคุม “ความอยาก” ทั้งจากความต้องการภายในจิตใจและจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น อยากกิน อยากใช้จ่าย อยากมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น เหล่านี้เป็นความอยากพื้นฐานที่เราจะควบคุมจังหวะและปริมาณที่เหมาะสมได้ แต่พอมีอาการป่วยที่ทำให้ส่วนของการควบคุมความอยากเสียหาย มันจึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตค่อนข้างมาก และประเด็นนี้ก็ต้องให้ความเข้าใจมากกว่าการห้ามแบบเด็ดขาดด้วย

ยับยั้งใจไม่ได้ : เมื่อมองผิวเพินอาการนี้อาการผู้ป่วยทางสมองแทบจะซ้อนทับกับอาการจากความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ แต่เมื่อมองให้ละเอียดลงไป การยับยั้งชั่งใจไม่ได้นั้นรุนแรงและลึกซึ้งกว่า เพราะผู้ป่วยมีโอกาสสูงมากที่จะทำสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากกรอบความดีงามของสังคม และบางอย่างมันเป็นมากกว่าแค่ “ ความอยาก ” ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งกับผู้อื่นและตัวผู้ป่วยเอง

เมื่อพิจารณาดูกันชัดๆแล้ว อาการสมองเสื่อมจากของพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมนั้น ผู้ป่วยอาการสมองจะว่าสังเกตง่ายก็ง่าย จะว่าสังเกตยากก็ยากเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน เพราะหลายอย่างดูคล้ายกับพฤติกรรมธรรมดาทั่วไป หากไม่รุนแรงมากก็แทบจะจับความผิดปกติไม่ได้เลย ยิ่งถ้าเจ้าตัวไม่ยอมรับหรือญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดไม่ใส่ใจสังเกตมากพอ ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการดูแลรักษาไม่น้อย และต่อให้มองเห็นความผิดปกติแล้ว ก็ยังต้องตรวจเช็คอีกหลายขั้นตอนก่อนสรุปผล จึงต้องมีส่วนร่วมในการรักษาไปด้วยกันทั้งผู้ป่วยและแพทย์ผู้ดูแล

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

“Brain Cells for Socializing”. Smithsonian. Retrieved 30 October 2015.

Cardarelli R, Kertesz A, Knebl JA (December 2010). “Frontotemporal dementia: a review for primary care physicians”. Am Fam Physician. 82 (11): 1372–7. PMID 21121521.

Snowden JS, Neary D, Mann DM (February 2002). “Frontotemporal dementia”. Br J Psychiatry. 180 (2): 140–3. doi:10.1192/bjp.180.2.140. PMID 11823324.

ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีที่มีต่อไขกระดูก

0
ผลกระทบจากการฉายรังสีต่อไขกระดูก
ไขกระดูกไม่ว่าที่ส่วนใดก็ตามถูกทำลายร่างกายก็จะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลาย โดยสร้างทดแทนมากจากส่วนอื่นของร่างกาย
ผลกระทบจากการฉายรังสีต่อไขกระดูก
ไขกระดูกไม่ว่าที่ส่วนใดก็ตามถูกทำลาย ร่างกายก็จะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลาย โดยสร้างทดแทนมากจากส่วนอื่นของร่างกาย

ไขกระดูก

ไขกระดูก ( Marrow ) กับผลกระทบที่เกิดจากการรักษาด้วยการฉายรังสีต่อ Haemopoieic Tissue จะมีผลโดยตรงกับ ไขกระดูก เลือดและระบบน้ำเหลือง ได้มีการศึกษาและพัฒนามาอย่างต่อเนื้อง และพบว่าการรักษาด้วยรังสีในสัตว์ทดลอง พบว่าการป้องกัน Haemopoieic Tissue หรือการฉีดไขกระดูกใหม่เข้าสู่ร่างกายจะส่งผลให้สัตว์ทดลองช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์ทดลองมีชีวิตรอดเพิ่มมากขึ้นที่เกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบไขกระดูก อย่างที่ทราบกันดีว่าเซลล์ต้นกำเนิดเป็นเซลล์ที่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นได้แทบทุกชนิดที่อยู่ในร่างกาย ( Pluripotent Heamatopoietic System Cells ) ที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อชั้น Stroma ที่เป็นหน่วยสำคัญมากในของ Cell Line ที่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ทั้งชนิด Myeloid และชนิด Lymphoid ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ต้นกำเนิดว่าเซลล์ดังกล่าวจะเจริญเติบโตไปเป็นเซลล์ชนิดใดต่อไป

[adinserter name=”มะเร็ง”]

สำหรับผู้ใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตของร่างกายเต็มที่แล้วเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดจะอยู่ในกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก กระดูกเชิงกราน กะโหลกศีรษะ กระดูกโคนขา กระดูกสะบัก และส่วนหัวของกระดูกแขนท่อนบน ส่วนในเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตกระบวนการผลิตเม็ดเลือดจะอยู่ในส่วนของกระดูกยาว เซลล์ต้นกำเนิดเป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อไขกระดูกไม่ว่าที่ส่วนใดก็ตามถูกทำลายร่างกายก็จะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปได้ง่ายๆ โดยสร้างทดแทนมากจากส่วนอื่นของร่างกายนั่นเอง ซึ่งปริมาณไขกระดูกที่ถูกทำลายไปจะขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ไขกระดูกได้รับและส่งผลเข้าไปยับยั้งกระบวนการผลิตเม็ดเลือดว่ามีมากน้อยเพียงใด

เซลล์ต้นกำเนิดที่มีอยู่ใน ไขกระดูก ไม่ว่าจะอยู่ตามส่วนใดของร่างกายก็จะมีความหนาแน่นเท่ากันทั้งหมด แต่ทว่าไขกระดูกที่มีเซลล์ต้นกำเนิดจะมีปริมาณลดลงตามอายุที่มีการเพิ่มขึ้นของคนเรา และบริเวณที่เคยเป็นไขกระดูกจะถูกแทนที่ด้วยไขมัน ในวัยผู้ใหญ่ที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว กระบวนการผลิตเม็ดเลือดจะเกิดขึ้นมากที่ กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก กระดูกเชิงกราน และในยามจำเป็นที่กระดูกส่วนที่ถูกแทนที่ด้วยไขมันร่างกายสามารถเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับให้ไขมันส่วนดังกล่าวกลายกลับมาเป็นไขกระดูกแดงได้เช่นกัน

ถึงแม้ว่าเซลล์ต้นกำเนิด สเต็มเซลล์ ที่อยู่ในไขกระดูกแดงทุกส่วนจะมีค่าเท่ากัน แต่ภายในกระดูกกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ภายในโครงกระดูกไม่สามารถที่จะกระจายตัวได้เท่ากันทุกส่วน โดยพบว่าบริเวณที่อยู่ใกล้กับผิวด้านในของโครงกระดูกจะพบเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการแบ่งตัวได้ แต่ในบริเวณตรงกลางของ Marrow Space กลับพบเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในระยะพักตัวหรือเซลล์ต้นกำเนิดที่หยุดการแบ่งตัวไปแล้วเท่านั้น ซึ่งเซลล์ต้นกำเนิดที่พบในส่วน Marrow Space เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองและฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เซลล์ต้นกำเนิดนี้จะพบได้น้อยในกระแสเลือดแต่ก็สามารถพบและนำมาสกัดแยกเซลล์ต้นกำเนิดได้ โดยการสกัดแยกจากเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งการสกัดต้องทำการสกัดหลายครั้งมากจึงจะได้เซลล์ต้นกำเนิดออกมา เซลล์ต้นกำเนิดที่สกัดออกมาได้นี้คือเซลล์ต้นกำเนิดปลูกถ่ายเข้าสู่ตัวเองอีกครั้งได้ ( Autologous Transplantation )
ไขกระดูก ไม่ได้มีหน้าที่ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ไขกระดูกยังมีหน้าที่ในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอีกด้วย โดยทำหน้าที่สร้าง Lymphocyte Macrophage และ Dendritic Cell ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายระดับปฐมภูมิอีกด้วย

อย่างที่ทราบกันดีว่าเซลล์ต้นกำเนิดนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์พื้นฐานชนิดต่าง ๆ ได้ ทั้งในชนิด Myeloid และชนิด Lymphoid และรูป่างของเซลล์เหล่านี้ก็เหมือนกับเซลล์ชนิด Lymphoid ที่อยู่ใน ไขกระดูก ส่งผลให้ไม่สามารถทำการแยกเซลล์เหล่านี้ที่อยู่ในไขกระดูกได้จากรูปร่างของเซลล์ เซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดเป็นเซลล์ที่มีความสามารถสูงในการซ่อมแซมความเสียหายและฟื้นฟูตัวเองได้ แต่ทว่าความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองของเซลล์ต้นกำเนิดก็ยังขึ้นอยู่กับระยะของเซลล์ต้นกำเนิดด้วย โดยพบว่าเซลล์ที่มีอัตราการฟื้นฟูตัวเองได้ดีที่สุดคือเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในระยะพักตัวหรือระยะที่มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นได้น้อยมาก และโอกาสที่จะพบว่าเซลล์ต้นกำเนิดจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมมีแค่ 1 ใน 50,000 เซลล์เท่านั้น และจากการศึกษาพบว่า Pluripotent Stem Cell เพียงแค่หนึ่งเดียวก็สามารถที่จะกู้ระบบเลือดของสัตว์ทดลองที่ถูกฉายรังสีให้กลับคืนมาได้ทั้งหมดอีกด้วย เซลล์ต้นกำเนิดที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องมีความสามารถในการแบ่งเพื่อเพิ่มจำนวนได้อย่างมากมายซึ่งความสามารถดังกล่าวนี้จะไม่มีการสูญเสียไปเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์ต้นกำเนิดสำรองมีอยู่อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการฟื้นฟูและสร้างเซลล์เม็ดเลือดอย่างน้อย 5 รุ่นต่อไป แต่ว่าในการปลูกถ่ายไขกระดูกเข้าไปใหม่นั้น เซลล์ต้นกำเนิดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะไม่มีเกิดขึ้นให้เห็น ส่งผลให้เซลล์ต้นกำเนิดไม่มีความสามารถในการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีได้ระบบสำรองของกระบวนการผลิตเม็ดเลือด ( Haemopoietic Reserve ) มีอยู่มากมาย เนื่องจากเซลล์มีความสมารถในการซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเอง และจากการ Pluripotent Stem Cell ที่มีอยู่ในปริมาณที่สูงมาก ถึงแม้ว่าเซลล์ชนิดนี้จะไม่มีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองแต่ก็สามารถแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนได้มากมายเพียงพอต่อการผลิตเม็ดเลือดใหม่ ๆ ให้มีจำนวนมากขึ้นด้วย

กระบวนการผลิตเม็ดเลือด

เมื่อเราทราบถึงความสำคัญของระบบการผลิตเม็ดเลือดกันแล้ว ที่นี่เรามาดูกระบวนการผลิตเม็ดเลือดว่ามีกระบวนการอย่างไรกันบ้าง

1. เซลล์เริ่มแรกในกระบวนการผลิตเม็ดเลือด ( Progenitor Cell )

กระบวนการสร้างเซลล์ ไขกระดูก เริ่มแรกจะเกิดเนื่องมาจาก pluripotent Stem Cell จะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์โดยอาศัย Growth Factor ที่มีอยู่ในร่างกายทั้งแบบเฉพาะในการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของร่างกายและแบบที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย โดยที่เซลล์เริ่มแรกที่เข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีรูปร่างที่ไม่เด่นชัดเท่าใดนัก และยังมีความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองที่น้อยมากด้วย Growth Factor จะทำหน้าที่ร่วมกับออกซิเจนในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์

[adinserter name=”มะเร็ง”]

2. เซลล์ส่วนที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตใกล้จะสมบูรณ์ ( Maturing Compartment )

เซลล์ ไขกระดูก ที่อยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโตใกล้จะสมบูรณ์แล้วจะมีรูปร่างที่อยู่ในกลุ่มของ Cell Line ที่อยู่ในสภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ( Differentiation ) ซึ่ง Cell Line จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ลำดับชั้น ( Division ) เริ่มตั้งแต่เซลล์เริ่มต้นไปเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนถึงขั้นที่เซลล์เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ส่วนกระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดกลุ่ม Granulocyte ( Granulopoiesis ) นี้มีถึง 12 ลำดับขั้นเลยทีเดียว

3. เซลล์ที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์แล้ว

เมื่อเซลล์มีการเจริญเตอบโตอย่างสมบูรณ์แล้ว เซลล์เม็ดเลือดในกลุ่มของ Myeloid ได้ผ่านกระบวนการเพิ่มจำนวนเซลล์ไปแล้ว ส่งผลให้ความว่องไวต่อรังสีที่ใช้ในการรักษาน้อยลง แต่ในทางตรงข้ามกลับพบว่าเซลล์ของเม็ดเลือดในกลุ่ม Lymphoid ยังมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและมีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเมื่อไปพบกับแอนติเจนแปลกปลอมจะมีความว่องไวต่อรังสีที่ฉายเข้ามามากว่ากลุ่ม Myeloid เสียอีก และเซลล์เหล่นี้ยังมีการ RE-Circulation เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้มีโอกาสที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการได้รับรังสี

ความว่องไวต่อรังสีไขกระดูกของส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบการสร้างเม็ดเลือด

ได้มีการทดลองและทำการศึกษาเกี่ยวกับความไวต่อรังสีของเซลล์เริ่มแรกในกระบวนการสร้างเม็ดเลือด พบว่าปริมาณรังสีที่สามารถลดการเจริญเติบโตของ CFU-S ในสัตว์ทดลองลงเหลือเพียงร้อย 37 ( Do ) และมีค่า Extrapolation Number อยู่ในช่วง 0.8-2.4 ซึ่งค่าบ่งบอกว่าการซ่อมแซมเกิดขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นและส่งผลให้เซลล์เป็นอันตรายถึงตายได้ ปริมาณรังสีที่ผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เริ่มแรกนั้น พบว่าค่า Dose Rate ที่ใช้มีผลต่อการรอดชีวิตของ CFU-S และเซลล์เริ่มแรกมีค่าที่น้อยมาก ค่า  Therpeutic Ratio ในการฉายรังสีทั้งตัวที่ใช้เพื่อเป็น Conditioning Treatment ก่อนที่จะทำการปลูกถ่าย ไขกระดูก นั้นสามารถหาค่าได้ด้วยการนำค่าความเป็นพิษต่อบริเวณที่ไม่ได้มีการผลิตเม็ดเลือดเทียบกับความเป็นพิษของบริเวณที่มีส่วนที่มีการผลิตเม็ดเลือดมาเปรียบเทียบกันนั่นเอง

ต่อมา Chaffey และคณะได้ให้ข้อสรุปที่ขัดแย้งกับการทดลองขั้นต้น โดยทำการทดลองแบ่งการฉายรังสีออกเป็นหลาย ๆ ครั้ง โดยทำการฉายรังสีครั้งละ 200 CGy จนครบ 1,400 CGy ซึ่งจากการทดลองพบว่ากลุ่มของเซลล์ต้นกำเนิดมีอยู่ส่วนหนึ่งที่ถูกทำลายโดยปริมาณรังสีที่ 200 CGy และเซลล์กลุ่มนั้นสามารถฟื้นตัวเองจากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาเพียง 1 วัน นั่นคือ ความเสียหายของเซลล์ต้นกำเนิดในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดไม่ได้มีผลกระทบที่เกิดจาก Dose Date แต่ทว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นเกิดจาก Fractionation ที่สามารถอธิบายได้ว่าศักยภาพของเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ในระยะเริ่มแรกมีความสามารถในการซ่อมแซม Lethal Death ที่ต่ำมากแต่มีความสามารถในการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนสูงมาก Microenvironment ส่วนที่มีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดก็เปรียบเสมือนพื้นดินที่ใช้ในการเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ ส่วนเซลล์ต้นกำเนิดก็เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการหว่าน

ซึ่งกระดูกที่นำมาปลูกถ่ายจะยังคงมีเนื้อเยื่อ Stroma ติดมากับกระดูกด้วย แต่ว่าส่วนของกระดูกที่นำมานี้จะไม่เซลล์ที่ใช้ในการผลิตเม็ดเลือดติดมา โดยที่ส่วนนี้จะมีถูกแทนที่โดยการบวนการผลิตเม็ดเลือดของผู้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไป กระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดเพื่อเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดจะเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ว่างภายใน ไขกระดูก ของกระดูกที่นำมาปลูกถ่าย โดยที่เซลล์สำหรับผลิตเม็ดเลือดอาจจะเกิดขึ้นน้อยลงถ้าบริเวณนั้นเคยผ่านการฉายรังสีในปริมาณ 9.5 Gy มาแล้ว

เมื่อไขกระดูกไม่ว่าที่ส่วนใดก็ตามถูกทำลายร่างกายก็จะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปได้ง่ายๆ โดยสร้างทดแทนมาจากส่วนอื่นของร่างกายนั่นเอง ซึ่งปริมาณไขกระดูกที่ถูกทำลายไปจะขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ไขกระดูกได้รับและส่งผลเข้าไปยับยั้งกระบวนการผลิตเม็ดเลือดว่ามีมากน้อยเพียงใด

โดยมากแล้ว Erythropiesis จะมีความว่องไวต่อรังสีมากกว่า Granulopoiesis โดยภายในระยะเวลาที่มีการฉายรังสีนั้นค่า Mitotic Index จะมีค่าลดน้อยลง และสามารถที่จะพบเห็นความผิดปกติของ Nucleus และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในกระบวนการ Mitotic ที่พบได้ในส่วนน้อยของ Erythroblast เป็นระยะเวลาที่ยาวนานหลายวันเลยทีเดียว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณรังสีที่ได้รับเข้าไปเลย แต่สำหรับปริมาณของเซลล์ชนิดอื่นๆ ของเลือดกลับมีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยปริมาณ Lymphocyte มีปริมาณลดลงในช่วงที่มีการฉายรังสีเกิดขึ้นและปริมาณที่ลดลงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณรังสีที่ได้รับ ในขณะที่ปริมาณ Granulocyte จะใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีการลดลงและภายหลังจากที่เริ่มมีการลดลงประมาณ 248 ชั่วโมงปริมาณของ Granulocyte ก็จะกลับมาเพิ่มขึ้น ส่วนของเกร็ดเลือดจะมีปริมาณที่ลดลงอย่างช้า ๆ ซึ่งจะเกิดการลดลงของเกร็ดเลือดหลังจากที่ทำการฉายรังสีไปแล้วอย่างน้อย 5 วัน ทั้งปริมาณของเกร็ดเลือดและเม็ดเลือดขาวที่มีการเปลี่ยนแปลงไปก็ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ นอกจากปริมาณรังสีด้วย เช่น การติดเชื้อในร่างกาย อาหารที่ได้รับก่อนและหลังการฉายรังสี เป็นต้น ดังนั้นค่าที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดก็น่าจะเป็นปริมาณ Reticulocyte ซึ่งจะมีค่าลดลงหลังจากการฉายรังสีภายใน 24 ชั่วโมงซึ่งทิศทางของการลดลงมีความสัมพันธ์กับปริมาณของรังสีที่ได้รับด้วย
Heinz Bodies คือโครงสร้างที่สร้างขึ้นจากการสูญเสียสภาพของโปรตีนฮีโมโกบินที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเม็ดเลือดแดงที่มี Heinz Bodies พบได้บ่อยในผู้ที่ได้รับรังสีเป็นประจำทั้งในการทำงานหรือการรักษาด้วยการฉายรังสี โดยที่สภาวะโลหิตจางที่เกิดจากเม็ดเลือดแตก ( Hemolysis ) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่มีความสำคัญและเป็นข้อจำกัดในการรักษาด้วยการฉายรังสีแบบ Extracorporeal สู่เลือด ผลข้างเคียงดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้เกิดการสะสมของปริมาณรังสีประมาณ 100,000 cGy ในเลือด ทั้งนี้ทั้งนั้นอายุของเกร็ดเลือดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าร่างกายจะมีการรับรังสีเกินกว่า 75,000 cGy และการฉายรังสีในรูปแบบ Extracorporeal สู่เลือดจะทำให้เกิดสภาวะ Lymphopenia อย่างเฉียบพลัน และจะกลับสู่สภาวะปกติเมื่อมีการหยุดฉายรังสี Lymphocyte เป็นเซลล์ที่มีความว่องไวต่อรังสีมากที่สุด โดยปกติแล้วเซลล์ทั่วไปจะมีชีวิตอยู่จนกว่าเซลล์จะเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า Mitosis แต่สำหรับ Lymphocyt จะตายลงทั้งที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระยะ Mitosis เลย เรียกว่า Interphase Death และ B-Lymphocyt จะมีความว่องไวต่อรังสีมากกว่า T-Lymphocyt

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การกดภูมิเนื่องจากการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรุนแรง ถ้ามีการฉายรังสีก่อนที่ระบบภูมิคุ้มกันจะได้ทำการสัมผัสกับแอนติเจน ในทางกลับกันถ้ามีการฉายรังสีหลังจากที่ระบบภูมิคุ้มกันสัมผัสกับแอนติเจนแล้วจะสามารถช่วยเพิ่มการผลิตแอนติบอดี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกดภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการได้รับรังสีชนิดทั้งร่างกายถูกนำมาใช้ในการปลูกถ่าย ไขกระดูก ซึ่งการปลูกถ่ายไขกระดูกจากญาติที่มีสายเลือดเดียวกันได้ประสบความสำเร็จเมื่อผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีเข้าไปในปริมาณ 13.5 Gy ซึ่งการฉายรังสีที่เหมาะสมควรเป็นการฉายรังสีครั้งละน้อย ๆ แต่ทำการฉายรังสีหลายครั้งเพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณรังสีจนครบ โดยการฉายรังสีแต่ละครั้งควรห่างกันประมาณ 24-72 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยฉีดไขกระดุกเข้าไปในกระดูกอีกครั้งจะช่วยเพิ่มกระบวนการ repopulation ของต่อมไทมัธที่บริเวณม้าม ส่งผลให้ไขกระดูกที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้นมีโอกาสที่จะรอดชีวิตสูงมากขึ้น

  1. การฉายรังสีทั้งตัว

1.1การฉายรังสีทั้งตัวโดยแบ่งการฉายรังสีออกเป็นหลายครั้งและทำการฉายปริมาณครั้งละน้อย

การฉายรังสีแบบทั้งตัวในช่วงที่มีปริมาณรังสีอยู่ในระดับ Sublethal ได้มีการนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML และ Low malignant lymphoma โดยมีการแบ่งการฉายรังสีออกเป็น 2-5 ครั้ง และปริมาณรังสีที่ใช้ในแต่ละครั้งอยู่ที่ 5-15 cGy นั่นคือเมื่อทำการฉายครบจะได้ปริมาณรังสีรวมอยู่ที่ 1.5-3 Gy เมื่อเปรียบเทียบกับการฉายรังสีเพียงครั้งเดียวด้วยปริมาณ 3.0 Gy พบว่าเกิดการกดการทำงานของ ไขกระดูก โดยผู้ป่วยประมาณร้อยละ 30 มีระดับเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและระดับของเกร็ดเลือดต่ำลงกว่าปกติ แต่กลับพบว่าปริมาณรังสีที่ต่างกันในการฉายแต่ละครั้งกลับไม่มีผลกระทบต่ออาการกดกระดูกที่เกิดขึ้นเลย ใช่ว่าการฉายรังสีทั้งตัวจะมีแต่ข้อเสียเพราะข้อดีของการฉายรังสีทั้งตัวคือ ในผู้ป่วยที่มีสภาวะ Gammaglobulin ต่ำกว่าปกติ เมื่อมีการฉายรังสีแบบทั้งตัวผลปรากฏว่าระดับของ Immunglobulin ที่ต่ำกว่าปกติกลับเพิ่มขึ้นมาอยู่ในสภาวะปกติ

การฉายรังสีทั้งตัวด้วยประมาณของรังสีและการ Regimen ที่มีการออกแบบมาใช้กันอย่างมากมายเพื่อช่วยในการทำลายไขกระดูกเก่าเพื่อรองรับไขกระดูกใหม่ที่จะนำมาปลูกถ่ายเข้าไป ( Preparative treatment ) เช่น การ Preparative Regimen ซึ่งเข้าไปกดการผลิตเม็ดเลือดของผู้ป่วยชนิดเฉียบพลัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับ Neutrophill และปริมาณเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติชนิดที่รุนแรงมาก อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นและคงอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์จนกว่าไขกระดูกที่ปลูกถ่ายเข้าไปใหม่จะเข้าไปควบคุมกระบวนการผลิตเม็ดเลือดของผู้รับการปลูกถ่ายได้อย่างสมบูรณ์ โดยที่เม็ดเลือดที่ผลิตขึ้นมาใหม่จะถูกผลิตมาจากไขกระดูกที่ปลูกถ่ายเข้าไปนั่นเอง บางครั้งก็มีข้อยกเว้นอยู่เช่นกัน ในกรณีที่ภายหลังจากที่ผู่ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกจากผู้ที่มี HLA ที่มีลักษณะเหมือนกัน เนื้อเยื่อ Stroma ที่ทำหน้าที่ในการค้ำจุนกระบวนการผลิตเม็ดเลือดของไขกระดูกจะยังหลงเหลือลักษณะของผู้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกอยู่ สำหรับกรณีที่ผู้ให้ไขกระดูกในการปลูกถ่ายกับผู้รับไขกระดูกในการปลูกถ่ายมีหมู่เลือดที่ไม่เข้ากัน แอนติบอดี้จะจับตัวกันและตกตะกอนเซลล์ของเม็ดเลือด ( Isoagglutinin ) และจะอยู่ในสภาพนั้นนานนับเดือนหลังจากที่สิ้นสุดการปลูกถ่าย ไขกระดูก แล้ว

นั่นแสดงให้เห็นว่า B-lymphocyte ของผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกทนจนมีชีวิตรอดจากการฉายรังสีในระดับ Lethal Dose ซึ่งอาการดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นหรือเกิดขึ้นเป็นเวลานานก็ได้ ส่วนในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกที่ผ่านการกำจัด T-Cell ออกไปจนหมดสิ้นแล้วจะพบว่ากระบวนการผลิตเม็ดเลือดที่ได้มาจากผู้รับการปลูกถ่ายและที่ได้มาจากการผลิตของไขกระดูกทั้งสองผสมกัน การที่ร่างกายของผู้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกเกิดการปฏิเสธเนื้อเยื่อที่นำมาทำการปลูกถ่ายให้นั้นก็เกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ่อยครั้งมาก ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากจะเกิดเฉพาะ Preparative regimen แล้วยังมีผลกระทบจาก Microenviroment ที่มีต่อกระบวนการผลิตเม็ดเลือดจากเนื้อเยื่อไขกระดูกที่นำมาปลูกถ่ายเป็นส่วนสำคัญด้วยและจากการเก็บตัวอย่างของไขกระดูกในช่วงเวลาต่าง ๆ หลังจากาการปลูกถ่าย เซลล์เริ่มแรกที่เกิดขึ้นมีจำนวนที่น้อยกว่าจำนวนที่น่าเกิดขึ้นทั้งที่เซลล์เม็ดเลือดที่พบในเลือดกลับยังอยู่ในสภาวะปกติ ดังนั้นการฟื้นกลับมาของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับการปลูกถ่าย ไขกระดูก นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับผู้ที่การรักษาด้วยการปลูกถ่ายแบบ Autologous หรือแบบ Allogeneic ซึ่งจะกลับมาสมบูรณ์แบบอีกครั้งภายใน 1-2 ปีหลังจากได้รับการปลูกถ่ายแต่ต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้นด้วย

2. การฉายรังสีแบบเฉพาะส่วน

จาการศึกษาของ Knospe เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจาการฉายรังสีต่อไขกระดูกพบว่าหลังจากทีทำการฉายรังสีที่มีปริมาณ 20-100 Gy เข้าสู่ไขกระดูก ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกหลังจากที่ได้รับรังสี เส้นเลือดที่มีขนาดเล็กที่อยู่ภายในไขกระดูกสันหลังจะมีความเสียหายเกิดขึ้น และไขกระดูกส่วนนั้นจะฝ่อลงภายใน 4 วันส่วนการซ่อมแซมความเสียหายของเส้นเลือดขนาดเล็กของไขกระดูกที่เกิดขึ้นจะมีให้เห็นในวันที่ 4 โดยที่ไขกระดูกจะเริ่มการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขึ้นมาใหม่อีกได้ภายใน 14 วัน และภายหลังจากที่ได้รับรังสี 1-3 เดือนจะพบว่าไขกระดูกจะเกิดการฝ่ออีกครั้งเป็นระยะที่ 2 พร้อมกับที่เส้นเลือดขนาดเล็กในไขกระดูกก็เกิดความเสียหายอีกครั้งด้วย ทั้งนี้เส้นเลือดที่มีขนาดเล็ดใน ไขกระดูก นี้จะสามารถผลิตขึ้นมาได้ใหม่อีกครั้ง และกรบวนการผลิตเม็ดเลือดจะกดขึ้นภาย 6-12 เดนอหลังจากที่ได้ทำการฉายรังสีในประมีที่ไม่เกิน 40 Gy แต่ถ้าหากได้รับการฉายรังสีในปริมารที่มากกว่า 60 Gy จะส่งผลให้เกิด สภาวะ Fibrosis ได้มากครั้งขึ้น จาการศึกษาพบว่าการะบวนการผลิตเม็ดเลือดที่อยู่ในส่วนที่ได้รับการฉายรังสีเพียงครั้งเดียวในปริมาณของรังสีที่มากกว่า 50 Gy จะมีมีความสามารถในการฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเองจากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้ามีการแบ่งการฉายรังสีออกเป็นหลายครั้งความสามารถในการฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเอจะมีมากว่า และปริมาณที่สามารถให้กับร่างกายจะมีปริมารที่สูงถึง 60 Gy เลยทีเดียว ซึ่งผลที่ว่านี้จะเกิดกับเซลล์เกือบทุกชนิดยกเว้นเซลล์ที่อยู่ในกลุ่ม Megakaryocyte

การเกิดขึ้นของสภาวะ ไขกระดูก ฝ่อชนิดถาวรได้มีการถูกเขียนรายงานไว้โดย Sykes และคณะ พบว่าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและ Slanina กับคณะ ที่ทำการศึกษาในผู้ป่วย Hodgkin’s Disease ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีในปริมาณความเข้มข้นที่มากว่า 30 Gy ซึ่งทั้งสองคณะได้ทำการศึกษาจากการดูดไขกระดูที่มาจากกระดูก Sternum และทำการศึกษาแบบย้อนกลับพบว่าผู้ป่วย Hodgkin’s Disease ที่ได้รังการฉายรังสีเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมด พบว่าไขกระดูกส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมีการเจริญกลับมาโดยที่จะเริ่มต้นตั้งแต่ 6 เดือนจนกระทั้งถึง 5 ปี
ปริมาตรของไขกระดูกที่ได้รับการฉายรังสีเข้าไปแล้วนั้นเป็นอึกปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอนาคตในการเจริญเติบโของไขกระดูกในส่วนที่ได้รับการฉายรังสี โดย Sacks และคณะได้ใช้ Bone Scan เพื่อทำการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นใหม่ของกระดูกที่ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฉายรังสีแบบเฉพาะที่กับผู้ป่วยที่รับการฉายรังสีแก่ต่อน้ำเหลืองที่บริเวณเหนือกระบังลม พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีแบบ Mantle Field ไขกระดูกมีการกลับมาเจริญเติบโตใหม่ได้เกิดขึ้นน้อยมาก แต่กลับพบว่าผู้ป่วยที่ไดรับการฉายรังสีแบบ Involved Field ไขกระดูกกลับมีการเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ได้มากกว่า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยน้อยและผู้ป่วยที่เป็นเพศชายจะช่วยให้มีการกลับมาเจริญเติบโตใหม่ได้มากกว่าผู้ที่มีอายุมากและผู้ป่วยที่มีเพศหญิง

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การกระตุ้นให้มีการผลิตเม็ดเลือดเพื่อชดเชยความเสียหายของ ไขกระดูก ที่เกิดจากรังสีจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ถ้าการฉายรังสีไม่ครอบคลุมพื้นที่มีความเสียหายน้อยกว่า 10-15% แต่จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการฉายรงสีครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 25-50 % การกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดจะไขกระดูกที่ไม่ได้รับการฉายรังสีจะยังคงอยู่นานเป็นเวลาหลายปี ไขกระดูกที่ได้รับการฉายรังสีจะมีมีความสามารถในการกลับมาเจริญเติบโตใหม่ได้อีกหากว่ามารได้รับปริมาณรังสีมากกว่า 30-40 Gy และการฉายรังสีแบบ Total Nodal Irrdiation ยาวนานประมาณ 50-75% ของประมาณไขกระดูกที่ได้รับรังสี ส่งผลให้ร่างการเกิดกลไกได้ 3 แบบด้วยกันในการชดเชยเซลล์ที่เกิดความเสียหายจากการได้รัวรังสีดังนี้

1.กระบวนการแบ่งตัวเพื่อสร้างเซลล์ในส่วนของไขกระดูกที่ไม่ได้รับรังสีจะมีอัตราส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น

2.กระบวนการสร้างเม็ดเลือดจะเกิดขึ้นในส่วนกลางของกระดูกต้นขาในช่วงปีแรกหลังจากที่ไดรับรังสีและกระบวนการนี้จะหยุดลงหลังจากผ่านไป 5 ปี

3.กระบวนการกลับมาเจริญเติบโตใหม่ในส่วนของพื้นที่ที่ได้รับรังสี โดยกระบวนการดังกล่าวจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากได้รับรังสีแล้ว 1ปี และจะมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆแบบค่อยเป็นค่อยไปภายใน 5 ปี

นอกจากนั้นกลไกอื่น ๆ สำหรับการลับมาเจริญเติบโตใหม่ของกระบวนการผลิตเม็ดเลือด คือ การเคลื่อนย้ายของเซลล์ต้นกำเนิดจากม้ามที่ได้รับการป้องกันไปทำการผลิตเซลล์เม็ดเลือดใหม่ในบริเวณที่ได้รับรังสี ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่มีการได้รับรังสี

อย่างไรก็ตามจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดที่อยู่ในเลือดก็ไม่ใช่ตัวที่ดีเสมอดไปในการบ่งบอกถึงความเสียหายต่อ ไขกระดูก โดยที่ Nothdurft และคณะได้พบว่าการฉายรังสีแก่ร่างกายเพียงบางส่วนในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานกลับไม่พบความผิดปกติของ Neutrophil ในเลือดต่ำ และยังพบว่าผู้ป่วย Malignant Lymphoma บางคนที่ได้รับรังสีมีระดับเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่น้อยกว่าปกติทั้งปริมาณ Granulocyte ปกติแต่มีความแปรผันโดยตรงกับความเข้มข้นของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเป็นอย่างมาก

ความเป็นพิษต่อเซลล์จากการใช้ยาเคมีบำบัดที่ร่างกายได้รับมาก่อนที่จะการฉายรังสี จะส่งผลให้กระบวนการผลิตเม็ดเลือดมีระดับความทนทานต่อรังสีมากขึ้น โดยยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาเมื่อได้รับในปริมาณที่มากจะส่งผกระทบอย่างชัดเจนต่อสเต็มเซลล์ ( Pluripotent Heamopoietic Stem Cell ) และลดความทนต่อรังสีของกระบวนการผลิตเม็ดเลือดเป็นเวลานาน และทราบกันเป็นอย่างดีว่าการรังสีแก่ม้ามให้กับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบ CML ที่เคยได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด Busulphan มาก่อนนั้น จะส่งผลให้เกิดการกดไขกระดูกที่รุนแรงมาก ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ายากลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ต่อเซลล์ที่อยู่ในระยะพักจึงเข้าไปทำลาย Pluripotent Stem Cell ที่เกิดขึ้นมาใหม่และยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ส่วนการกดการทำงานของไขกระดูกชนิดอื่นจะเกิดจากการเข้าไปยับยั้งการแบ่งเซลล์ของเซลล์ที่ใกล้จะสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นจึงส่งผลให้เกิดผลกระทบสั้นกว่า โดยเฉพาะยา 5-Fluorouracil จะเข้าไปช่วยเพิ่มความว่องไวต่อรังสีของเซลล์ต้นกำเนิดในกระบวนการผลิตเม็ดเลือด ดังนั้นในการนำยาเคมีบำบัดมาใช้ต้องคำนึกถึงทั้งเรื่องเวลาและปริมาณที่ให้มาประกอบในการเลือกและวางแผนการรักษาด้วย

สำหรับผลกระทบในระยะยาวที่เกิดจากการฉายรังสีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าการเข้าไปยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอาจจะส่งผลต่อการฉายรังสีด้วยให้ได้ประโยชน์น้อยลงได้ ซึ่งความเสื่อมของระบบภูมิคุ้มกันจะแย่ลงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่า ไขกระดูก ได้รับปริมาณรังสีมากน้อยเท่าใดนั่นเอง ซึ่งความสามารถในการทำงานของ Lymphocyte ที่ต่ำลงเกิดขึ้นจากการที่ Plostaglandins ชนิดต่าง ๆ ที่ Monocyte ทำการผลิตขึ้นมา โดยที่ T-lym-Phocyte จะมีค่าต่ำกว่าปกตินานถึง 10 ปีเลยทีเดียว จึงสรุปได้ว่า ปริมาณของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองและหรือปริมาณไขกระดูกที่ได้รับรังสีนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะมีการเข้าไปยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้มากน้อยแค่ไหน

ต่อมไทมัสในเด็กทารกเป็นอวัยวะที่มีความว่องไวต่อรังสีมากที่สุด ซึ่งวัดได้จากการสูญเสียของ Lymphocyte ที่มีอยู่ในต่อไทมัสนั่นเอง แต่เนื้อเยื่อ Stroma และ Epithelium ของต่อมไทมัสกลับมีความว่องไวที่น้อยกว่ามาก ในอดีตมีการรักษาเด็กทารกที่มีอาการต่อมไทมัสมีขนาดที่ใหญ่ผิดปกติโดยการฉายรังสีด้วย ซึ่งจากผลการรักษาดังกล่าวพบว่ามีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมไทมัสเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด AML ที่เป็นผลกระทบแบบเรื้อรังที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสี

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การป้องกันและรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับไขกระดูก

การเกิดสภาวะ Pancytopenia ชนิดรุนแรง เกิดขึ้นเพราะว่าภูมิคุ้มกันถูกกดการทำงานจากการได้รับการฉายรังสี อาจจะคงอยู่เป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์ และผู้ป่วยอาจจะอยู่ในสภาวะที่เป็นอันตรายจากการติดเชื้อและการมีเลือดออกอย่างรุนแรงได้ ดังนั้นในการรักษาด้วยรังสีจึงควรปรับปริมาณของรังสีให้เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะภูมิคุ้มกันถูกกดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุสูงและผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดชนิด Pluripotent  Stem Cell มาก่อนควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และควรทำการแยกห้องในการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยที่อาจจะเกิดจากการติดเชื้อจากผู้ป่วยรายอื่น ๆ ควรได้รับการที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและยาปฎิชีวินะเพื่อป้องกันการติดเชื้อไว้เบื้องต้นก่อน และควรให้เลือดที่มาจากผู้บริจาครายเดิมกับผู้ป่วยในการช่วยเพิ่มปริมาณเกร็ดเลือดเพื่อป้องกันความเสี่ยงในด้านภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ผ่านการเอาพลาสมาออกไปแล้วก็ควรกรองเพื่อกำจัดเอาเซลล์เม็ดเลือดขาวออกไป และการใช้ GM-CSF และ G-CSF ในรูปของRecombinant From ของผู้ที่มีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นจากรังสีต่อ ไขกระดูก จะช่วยเพิ่มปริมาณของ Granulocyte ที่มีอยู่ในเลือดให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและยังสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

www.cancer.ca/en/cancer-information/diagnosis-and-treatment/radiation-therapy/side-effects-of-radiation-therapy.

“Radiation therapy- what GPs need to know” on patient.co.uk http://patient.info/doctor/radiotherapy

Maverakis E, Cornelius LA, Bowen GM, Phan T, Patel FB, Fitzmaurice S, He Y, Burrall B, Duong C, Kloxin AM, Sultani H, Wilken R, Martinez SR, Patel F (2015). “Metastatic melanoma – a review of current and future treatment options”. Acta Derm Venereol. 95 (5): 516–524. doi:10.2340/00015555-2035. PMID 25520039.

Camphausen KA, Lawrence RC. “Principles of Radiation Therapy” in Pazdur R, Wagman LD, Camphausen KA, Hoskins WJ (Eds) Cancer Management: A Multidisciplinary Approach. 11 ed. 2008.

คุณค่าทางโภชนาการของผัก ที่คุณอาจจะไม่รู้

0
คุณค่าทางโภชนาการของผัก ที่คุณอาจจะไม่รู้
ผักกับคุณค่าทางโภชนาการ
ผักอุดมไปด้วยวิตามินที่สามารถควบคุมให้เซลล์เจริญเติมโตได้เต็มที่และเป็นปกติ เช่น พริกหวาน กะหล่ำปลี บร็อคโคลี

คุณค่าทางโภชนาการของผัก

คุณค่าทางโภชนาการของผัก จัดเป็นหนึ่งในอาหารหลักห้าหมู่ที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ โดยในผักมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 76-97% และให้พลังงานต่ำ นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญต่อสุขภาพ รวมถึงสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น ใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ

มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า สารอาหารที่ละลายน้ำได้ในผักสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือด และยังช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตในอาหาร ทำให้น้ำตาลถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกัน ใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ลดปัญหาท้องผูกและทำให้การขับถ่ายเป็นปกติ

การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำจนกลายเป็นนิสัย สามารถส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว โดยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้คุณค่าทางโภชนาการของผัก ผักยังเป็นสิ่งที่มีแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอยู่ภายใน อาทิเช่น โปแตสเซียม ทองแดง แมกนีเซียม เป็นต้น ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้ล้วนแต่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราทั้งสิ้น ภายในผักจะมีเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนสำคัญอันเป็นองค์ประกอบต่อการทำปฏิกิริยาประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย อาทิเช่น การช่วยรักษาสมดุลในเรื่องของกรดกับด่าง การรักษาสมดุลอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสารที่อยู่ภายในเลือดกับเนื้อเยื่อ คอยช่วยทำให้เซลล์ที่อยู่ตามกล้ามเนื้อรวมถึงระบบประสาทยังคงสามารถที่จะทำงานได้แบบเดิมและเป็นไปอย่างปกติมากที่สุด สามารถช่วยทำให้ระบบของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตตาบอลิซึม (กระบวนการเผาผลาญ) ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะผักเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เต็มไปด้วยวิตามินที่ดีต่อร่างกายมากมายจึงทำให้ช่วยยังคงสามารถควบคุมเกี่ยวกับปฏิกิริยาทางด้านเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี สามารถที่จะทำให้เซลล์นั้นยังคงเจริญเติบโตได้แบบเต็มที่และเป็นปกติ ซึ่งในปัจจุบันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับวิตามินบางประเภทที่มีผลในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่คอยทำหน้าที่จับหรือทำลายพวกอนุมูอิสระประเภทต่าง ๆ อันเกิดจากปฏิกิริยาชีวเคมีหรือกระบวนการสำคัญอย่างกระบวนการเผาผลาญพวกสารอาหารหรือแม้กระทั่งอนุมูลอิสระที่ส่งผลมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวก็ตาม อาทิเช่น ควันจากบุหรี่ ก๊าซที่เกิดจากท่อไอเสีย พฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์ การสัมผัสกับรังสียูวี การสัมผัสกับรังสีเอ็กซ์เรย์ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ของคนเราสามารถส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เกิดโรคหัวใจได้ เกิดโรคภาวะข้ออักเสบได้ เกิดต้อกระจกหรือแม้กระทั่งเกิดโดรคความจำเสื่อมได้ในอนาคตอีกด้วย

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการทานผัก

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการทานผักจากข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องของการรับประทานอาหารของคนไทยหรือคนทั่วไปที่รู้จักกันในนามของ “ธงโภชนาการ”แบบนี้เป็นการแนะนำเรื่องของการทานผักที่เหมาะสม คุณควรที่จะต้องทานผักให้ได้อย่างน้อยวันละ 4-6 ถ้วยตวง (ทัพพี) แบบนี้ถึงจะเรียกว่าดีมากเพราะนั่นจะสามารถช่วยให้คุณได้รับพลังงานรวมถึงสารอาหารที่ครบถ้วนและเป็นไปตามที่ร่างกายของคุณต้องการ ตามปกติสำหรับช่วงวัยเด็กจะเป็นช่วงที่มีความต้องการพลังงานอยู่ที่  1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน แบบนี้เด็กจะต้องทานผักประมาณ 4 ถ้วยต่อวัน หากเป็นหญิงสาวที่อยู่ในช่วงของวัยทำงานก็จะต้องการพลังงานอยู่ที่ 2,000 กิโลแคลอรี แบบนี้จะต้องทานผักให้ได้วันละ 5 ถ้วยตวงถึงจะเพียงพอ ส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องใช้พลังงานที่ค่อนข้างมากกว่า 2,400 กิโลแคลอรี อาทิเช่น เกษตรกร กลุ่มผู้ที่ต้องใช้แรงงาน กลุ่มนักกีฬา แบบนี้ควรต้องทานผักให้ได้ 6 ถ้วยตวงต่อวันถึงจะเพียงพอ

ผักอุดมไปด้วยวิตามินที่ดีต่อร่างกายมากมาย ที่สามารถควบคุมเกี่ยวกับปฏิกิริยาทางด้านเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี สามารถที่จะทำให้เซลล์นั้นเจริญเติบโตได้แบบเต็มที่และเป็นปกติ

คุณค่าทางโภชนาการของผักสำหรับส่วนของถ้วยตวงที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ก็จะเป็นถ้วยตวงที่เป็นลักษณะพลาสติกที่เมื่อนำไปบรรจุน้ำจะอยู่ที่ 220 กรัม (220 มิลลิลิตร) ซึ่งก็จะเท่ากับส่วนของถ้วยตวงที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในโปรแกรมสำหรับคิดคำนวณอาหารแบบ IMUCAL ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมของทางสถาบันโภชนาการในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลออกแบบออกมา สำหรับปริมาณของผักสด 1 ถ้วยตวงจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงมากเมื่อเปรียบเทียบกับ 1 ทัพพีนั่นจึงทำให้ในส่วนของการแนะนำการทานผักสำหรับคนไทยเรานั้นจึงได้ถูกกำหนดออกมาดังที่เห็นในธงโภชนาการทุกวันนี้ สำหรับปริมาณผักแต่ละประเภทนั้นก็จะถูกระบุลงไปในเรื่องของปริมาณน้ำหนักที่สามารถให้พลังงานไว้ด้วยนั่นคือในผักหนึ่งส่วนที่สามารถที่จะให้พลังงานได้มากถึง 25 กิโลแคลอรีนั้นจะมีความสามารถในการให้คาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ 5 กรัมและให้โปรตีนอยู่ที่ 2 กรัม

ในส่วนของตาราง FOOD EXCHANGE LIST นั้นจะมีประเภทของผักอยู่มากถึง 42 ชนิดเลยทีเดียว ผักทั้งหมดนี้เป็นผักที่ในประเทศไทยเรานั้นค่อนข้างที่จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เรียกว่ารู้จักกันเป็นอย่างดี คุณจะเห็นได้ว่าในตารางจะมีการแสดงส่วนของปริมาณน้ำ ปริมาณวิตามิน ปริมาณแร่ธาตุ ปริมาณใยอาหารแบบต่อน้ำหนักเอาไว้ (ต่อน้ำหนัก 100 กรัมที่คนเราสามารถทานได้) ซึ่งในผัก 1 ถ้วยที่ว่าจะยังคงรวมไปถึงเปอร์เซ็น THAI RDI ร่วมด้วย เปอร์เซ็นนี้จะเป็นเปอร์เซ็นที่คอยทำหน้าที่บอกปริมาณของสารอาหารที่คุณได้รับหากทานอาหารเหล่านั้นเข้าไปโดยจะเทียบกับปริมาณของสารอาหารที่ได้ทำการแนะนำให้ทานในแต่ละวัน

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย

สารอาหาร

หน่วย

Thai RDI

วิตามินซี มิลลิกรัม 60
โซเดียม มิลลิกรัม 2,400
โพแทสเซียม มิลลิกรัม 3,500
แคลเซียม มิลลิกรัม 800
แมกนีเซียม มิลลิกรัม 350
ฟอสฟอรัส มิลลิกรัม 800
เหล็ก มิลลิกรัม 15
ทองแดง มิลลิกรัม 2
สังกะสี มิลลิกรัม 15
ใยอาหาร กรัม 25

• ข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันและแนวทางการบริโภคสำหรับคนไทย พ.ศ. 2532

ข้อควรระวังเกี่ยวกับผักที่คุณจำเป็นต้องทราบ

ข้อควรระวังเกี่ยวกับผักที่คุณจำเป็นต้องทราบในกรณีของบุคคลที่อยากจะลดน้ำหนักแน่นอนว่าการเลือกทานผักย่อมเป็นอีกหนึ่งคำตอบที่ต้องอยู่ในใจ เพราะผักเป็นสิ่งที่มีใยอาหาร เป็นสิ่งที่ให้พลังงานค่อนข้างต่ำ ที่สำคัญยังมีเกลือแร่และวิตามินมากมายที่ดีต่อร่างกายอีกด้วย ส่วนในกรณีของบุคคลที่กำลังป่วยเป็นโรคเบาหวาน แบบนี้ก็ควรที่จะต้องทานผักให้มากขึ้น เพราะ จะเป็นการช่วยเพิ่มในเรื่องของใยอาหาร ช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลที่อยู่ภายในเลือดได้เป็นอย่างดี
สำหรับผักสดนั้นในจำนวน 1 ถ้วยตวงจะมีปริมาณของน้ำอยู่ที่ 7.4-124.4 กรัมโดยประมาณซึ่งพบว่าผักประเภทหนึ่งที่มีปริมาณของน้ำอยู่ภายในมากที่สุดนั่นคือ มะเขือเทศ ที่รองลงมาก็จะมีพวกแตงกวา ฟักทอง มะเขือเปราะ ฯลฯ ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการจำกัดเกี่ยวกับเรื่องของปริมาณน้ำที่จะทานเข้าไปในร่างกายโดยเฉพาะหากนั่นเป็นผู้ป่วยโรคไตยิ่งควรต้องระวังเป็นอย่างมากอีกหลายเท่าตัว จำเป็นที่จะต้องคำนึงในทุกรายละเอียดเพราะหากผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจนำอันตรายมาสู่ตัวผู้ป่วยได้ ในช่วงของภาวะที่ร่างกายคนเรานั้นเกิดความผิดปกติ เช่น การเกิดภาวะไตวายแบบเรื้อรังในช่วงระยะสุดท้ายแบบนี้ร่างกายจะไม่สามารถทำการขับเอาพวกโปแตสเซียมที่เกินออกมาผ่านทางปัสสาวะได้เลย ผู้ป่วยมีความจำเป็นมากที่จะต้องจำกัดอาหารประเภทที่มีส่วนของโพแทสเซียมอยู่ภายในเป็นพิเศษ ดังนั้นผักเองก็มีบางประเภทที่เข้าข่ายในส่วนนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด ผักที่ต้องบอกเลยว่าควรที่จะต้องระวังเป็นพิเศษนั้นได้แก่ มะระขี้นก ฟักทอง บล็อกโคลี ลูกเหรียง ผักเหล่านี้เรียกว่าเลี่ยงได้เลี่ยงเลยจะดีมากต่อผู้ป่วย

ทานผักอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เมื่อคิดจะทานผักแน่นอนว่านั่นย่อมเป็นความคิดที่ถูกต้องที่สุด ผักนั้นมีประโยชน์มากมายแล้วจะทานอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน สิ่งแรกที่คุณควรทำ คือ คุณควรที่ต้องทานผักสดไว้ก่อนจะดีที่สุดแต่หากจำเป็นที่จะต้องผ่านกระบวนการความร้อน เช่น ต้ม นึ่ง ก็ควรที่จะต้องใช้ระยะเวลาที่น้อยสุดและควรที่จะต้องใช้น้ำมันให้น้อยสุดเช่นกัน เนื่องจาก การที่คุณนำเอาผักนั้นไปผ่านความร้อน ความร้อนนั่นเองที่จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สารอาหารนั้นลดลงไปได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของวิตามินนั่นเอง ต่อมาคือ ควรที่จะทานผักให้มีความหลากหลายเพราะจะเป็นการช่วยทำให้สารอาหารนั้นมีความครบถ้วนมากยิ่งขึ้น การทานผักสดที่ดีควรจะต้องทำการล้างน้ำให้สะอาดก่อนหลายครั้งนั่นก็เพื่อเป็นการกำจัดสารเคมีที่ถูกพ่นมาก่อนหน้านั้น คุณไม่ควรที่จะทานผักแบบเดียวแบบเดิมอยู่เป็นประจำหรือแบบบ่อยเกินไป เนื่องจาก ร่างกายนั้นอาจจะเกิดได้รับสารพิษแบบเดิมที่มีการตกค้างอยู่ในผักประเภทนั้นและกลายเป็นว่าร่างกายเกิดการสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แอพเพิลเกต, ลิซ. 101 อาหารรักษาหัวใจ.–กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 342 หน้า. 1. อาหารเพื่อสุขภาพ. 2.โภชนบำบัด. I.จงจิต อรรถยุกติ, ผู้แปล. II.ชื่อเรื่อง. 641.56311 ISBN 974-00-8692-6.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

I am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count ( CBC )

0
การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง (Complete Blood Count-CBC)
เม็ดเลือดแดงเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำเลือด กรุ๊ปเลือดถูกแบ่งออกเป็น4หมู่ คือ เอ บี โอ เอบี
 การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง (Complete Blood Count-CBC)
เม็ดเลือดแดงสามารถบอกความสมบูรณ์ของร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำเลือดที่สำคัญต่อคนและสัตว์

ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือ การตรวจซีบีซี เป็นการตรวจเลือดวิธีหนึ่งที่ใช้วัดสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยในห้องปฏิบัติการหรือสถานพยาบาล การตรวจเลือดจะกำหนดชื่อการตรวจเลือดมาตรฐานเพื่อหา ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count ( CBC ) โดยการตรวจค่าสมบูรณ์ของเม็ดเลือดมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

  1. ตรวจสุขภาพโดยทั่วไปว่ามีเชื้อโรคเกี่ยวกับเลือดหรือการอักเสบของอวัยวะใดที่ซ่อนอยู่ภายในร่างกาย เช่นภาวะเลือดหยุดไหลยากเมื่อเกิดบาดแผล โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  2. เพื่อตรวจหาความโน้มเอียงที่อาจเกิดโรคโลหิตจาง
  3. ตรวจตัวบ่งชี้ภาวะการอักเสบทั่วร่างกาย
  4. ในกรณีก่อนการผ่าตัดใหญ่ เพื่อความแน่ใจในปริมาณความหนาแน่นของเม็ดเลือดแดงและในปริมาณของเกล็ดเลือด เพื่อความมั่นใจว่าเลือดจะหยุดไหล เมื่อเกิดบาดแผลจากการผ่าตัด รวมถึงระดับปริมาณของเม็ดเลือดขาวที่จะช่วยทำอะไรจุลชีพก่อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายในขณะที่ร่างกายอ่อนแอหลังผ่าตัด
  5. เฝ้าตรวจและติดตามผลการรักษาโรคโลหิตจางและโรคเลือดต่างๆ
  6. ตรวจวิเคราะห์ผู้ป่วยกรณีที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด โดยมีผลต่อร่างกาย ซึ่งอาจผลิตเม็ดเลือดชนิดต่างๆออกมาน้อยหรือมากผิดปกติหรือไม่

องค์ประกอบของเม็ดเลือด

เม็ดเลือด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำเลือดและยังมีบทบาทที่สำคัญต่อคนและสัตว์ทุกชนิด หากเปรียบเทียบ เม็ดเลือดแดงก็เปรียบเสมืองขบวนรถไฟที่ประกอบไปด้วยตู้โบกี้ หากรถไฟทั้งขบวนมีความสมบูรณ์แบบและได้มาตรฐาน ก็จะสามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นเม็ดเลือดที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย

การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือ การตรวจ Complete Blood Count ( CBC ) เป็นการตรวจเลือดวิธีหนึ่งที่ใช้วัดสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

1. พลาสมา ( plasma ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจเป็นของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นพร้อมกับเลือด เพื่ออำนวยความสะดวกให้เลือดในการไหลเวียน พลาสมาประกอบด้วย 90 %และอีก 10 %เป็นโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ สารชีวโมเลกุลในการสร้างลิ่มเลือด ฮอร์โมน สารชีวโมเลกุลที่เป็นภูมิต้านทาน และสารของเสียที่ร่างกายผลิตขึ้นมาและติดปะปนมากับอาหาร

2. เซลล์เม็ดเลือดขาว ( white blood cell , WBC ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจเป็นกลุ่มเซลล์เม็ดเลือดที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการฆ่าหรือทำลายจุลชีพก่อโรคที่เข้าสู่ร่างกายหรือเซลล์ในร่างกายที่กลายพันธุ์ไปเป็นเซลล์มะเร็งก็อาจถูกทำลายได้ เซลล์เม็ดเลือดขาวมีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำเลือดซึ่งมีองค์ประกอบแยกย่อยดังนี้

องค์ประกอบของเซลล์เม็ดเลือดขาว จำนวนค่าปกติ ( เซลล์ / ลูกบาศก์มิลลิลิตร )
Neutrophil 2,500-8,000
Lymphocyte 1,000 – 4,000
Monocyte 100 – 700
Eosinophil 50 – 500
Basophil 25 – 100

3. เซลล์เม็ดเลือดแดง ( red blood cell , RBC ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจ คือเม็ดเลือดที่มีสีแดง เนื้อเม็ดเลือดสร้างด้วยโปรตีนมีรูปร่างคล้ายจานกลมเว้าตรงกลางเข้าหากันทั้งสองด้าน เพื่อที่จะมีพื้นที่ผิวให้มากที่สุดในการจับออกซิเจนจากปอดส่งต่อให้ทุกเซลล์ในร่างกายอย่างเพียงพอ โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7.8 ไมครอน ความหนาขอบประมาณ 2.6 ไมครอนและตรงกลางประมาณ 0.8 ไมครอน ซึ่งมีองค์ประกอบแยกย่อยดังนี้

องค์ประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดง จำนวนค่าปกติ 
 Hemoglobin เด็ก อายุ 6-12 ปี = 11.5 – 15.5 g / dL
ผู้หญิง อายุ 12-18 ปี = 12.0 – 16.0 g / dL
อายุ 18 ปีขึ้นไป =: 12.1 – 15.1 g / dL
ผู้ชาย อายุ 12 – 18 ปี = 13.0 – 16.0 g / dL
อายุ 18 ปีขึ้นไป = 13.6 – 17.7 g / dL
Hematocrit ( Hct, HCT ) ทารก = 44-64%
เด็ก อายุ 6-12 ปี = 35 – 45 %
ผู้ชาย อายุ 12-18 ปี = 37 – 49 %
อายุมากกว่า 18 ปี = 41 – 50 %
ผู้หญิง อายุ 12-18 ปี = 36 – 46 %
อายุมากกว่า 18 ปี = 36 – 44 %
MCV ผู้ชายอายุ 12-18 ปี = 78 – 98 fL
ผู้หญิงอายุ 12-18 ปี = 78 – 102 fL
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี = 78 – 98 fL
MCH 27.5 – 33.5 pg / cell
MCHC 28 – 33 gm / dL
RDW 11.5 – 14.5 %

4. เกล็ดเลือด ( platelet ) คือค่าหนึ่งของผลการตรวจเป็นเซลล์เม็ดเลือดที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจากไขกระดูกมีหน้าที่สำคัญในการสร้างลิ่มเลือดเพื่อช่วยให้เลือดหยุดไหลเมื่อเกิดบาดแผลซึ่งมีองค์ประกอบแยกย่อยดังนี้

องค์ประกอบของเกล็ดเลือด จำนวนค่าปกติ 
Platelet Count ทารก = 200,000 – 475,000 เซลล์ / ลบ.มม.
เด็ก = 150,000 – 450,000 เซลล์ / ลบ.มม.
ผู้ใหญ่ = 150,000 – 400,000 เซลล์ / ลบ.มม.
MPV 6 – 10 fL

 

จะเห็นได้ว่าหากทำการตรวจวิเคราะห์ ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดนั้น ทำให้ทราบถึงอาการ สาเหตุ ที่อาจจะเกิดโรค ควรไปตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันโรคดีกว่ามาแก้ไขทีหลังนะคะ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0.

American Association of Blood Banks (24 April 2014), “Five Things Physicians and Patients Should Question”, Choosing Wisely: an initiative of the ABIM Foundation, American Association of Blood Banks, retrieved 25 July 2014.

Napolitano, LM.American College of Critical Care Medicine of the Society of Critical Care, Medicine; Eastern Association for the Surgery of Trauma Practice Management, Workgroup (Dec 2009).

“Clinical practice guideline: red blood cell transfusion in adult trauma and critical care”. Critical Care Medicine. 37 (12): 3124–57. doi:10.1097/CCM.0b013e3181b39f1b. PMID 19773646.

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี

0
การป้องกันผลกระทบจากยาเคมีบำบัดที่ใช้ร่วมกับการฉายรังสี
การรักษาโรคมะเร็ง คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายรังสี โดยเฉพาะการให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ได้ผลดีสูงสุด
ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี
เคมีบำบัด หรือ คีโมคือ การให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เพื่อรักษาให้หาย ควบคุมก้อนมะเร็ง และบรรเทาการแพร่กระจาย

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี

ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด ที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการรักษาโรคมะเร็งจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการทำลายเซลล์มะเร็ง ในปัจจุบันนี้วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคมะเร็ง คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายรังสี ( Concurrent Chemoradiotherapy ) โดยเฉพาะการให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ได้ผลสูงสุด ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ายาเคมีบำบัดจะเข้าไปช่วยลดจำนวนและทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการกระจายตัวอย่างจำเพาะ มีผลข้างเคียงยาเคมีบำบัดทั้งในส่วนที่มีการฉายรังสีและบริเวณที่ไม่มีการฉายรังสี ดังนั้นการเลือกเอายาเคมีบำบัดมาใช้ในการรักษาร่วมกับการฉายรังสีนั้น ต้องมีการเลือกขนาดของยากับปริมาณความเข้มข้นของรังสีที่เหมาะสมกันด้วย เพื่อการรักษาด้วย 2 วิธีนี้จะได้มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยอีกด้วย

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การให้ยาเคมีบำบัดมี

  1. การให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีในการรักษา ( Concurrent Therapy )

2. การให้ยาเคมีบำบัดก่อนการฉายรังสีในการรักษา ( Induction Chemotherapy )

3. การให้ยาเคมีบำบัดเสริมตามหลังจากการฉายรังสีในการรักษา ( Adjuvant Therapy )

ดังนั้นการเลือกยาเคมีบำบัดที่จะนำมาใช้ร่วมกับการฉายรังสีย่อมมีความสำคัญไม่น้อย ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักกับยาเคมีบำบัดที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งกัน

ยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งและผลข้างเคียง

1. Antimetabolites

ยากลุ่มนี้เป็นยากลุ่มที่มีการใช้รักษามายาวนานแล้ว โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เข้าไปขัดขวาง Folate Metabolism หรือและทำตัวคล้ายกับเป็น Nucleoside Analogs ของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งร่วมกับการฉายรังสี คือ

1.1 5-FU

เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Fluoropyrimidines เป็นยาที่มีการใช้งานมาอย่างยาวนานร่วมกับการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งและยังมีการใช้ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้ ตัวอย่างมะเร็งที่รักษาด้วยยาชนิดนี้พร้อมกับการฉายรังสี คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งศรีษะและคอ มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU ซึ่งยาชนิดนี้มีกลไกในการออกฤทธิ์เข้าไปขัดขวาง Folate Metabolism ด้วยการเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Thymidilate Synthetase ที่เป็นเอนไซม์ตัวสำคัญในการสร้างและสบาย DNA พร้อมทั้งเข้าไปจับกับสายของ RNA และ DNA ให้เกิดความเสียหายหรือความผิดปกติจนเซลล์ของมะเร็งไม่สามารถมีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นได้

การให้ยา 5-FU ในการรักษาต้องให้ด้วยวิธีการฉายเข้าเส้นเลือด เนื่องจากยา 5-FU สามารถถูกทำลายได้สูงด้วยเอนไซม์ Dihydro Pyrimidne Dehydrogenase ( DPD ) ซึ่งจะพบมาในบริเวณผนังของลำไส้ เมื่อให้ยา 5-FU เข้าสู่ร่างกายแล้วมีการหลงเหลืออยู่ในร่างกาย ยา 5-FU ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU ยาส่วนที่หลงเหลืออยู่นั้นจะถูกกำจัดโดยเอนไซม์ DPD ออกไปจนหมด สำหรับผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ชนิดนี้เมื่อได้รับยา 5-FU ก็จะมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU นี้แม้ว่าผู้ที่ขาดภาวะเอนไซม์นี้จะพบได้น้อยมากก็ตาม แต่ทว่าในผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยยาชนิดนี้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ DPD บางรายก็มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้นได้เช่นกัน

[adinserter name=”มะเร็ง”]

และจากการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยา 5-FU มี ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU โดยการให้ยาเพื่อเสริมประสิทธิภาพพบว่ายา Leucovorin เป็นตัวยาชนิดที่ช่วยเสริมฤทธิ์ของยา 5-FU ได้ดีที่สุด และพบว่าการให้ยา 5-FU แบบต่อเนื่อง (Continuous Venous Infusion) นั้นส่งผลให้ยานี้สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้มากกว่าการให้ยาแบบระยะสั้น ๆ (Short Bolus) ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU จะทำให้ผลความเสียหายที่เกิดจากวิธีการให้ยานี้ก็มีความต่างกันตามไปด้วย แต่เมื่อนำการรักษาด้วยยา 5-FU ร่วมกับการฉายแสงก็พบว่าการให้ยาแบบต่อเนื่องก็ยังส่งผลต่อการรักษาได้ดีกว่าการให้ยาแบบสั้น ๆ ด้วยเช่นกัน

ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU

ผลข้างเคียงที่พบได้จากการให้ยา 5-FU ในการรักษาโรคมะเร็ง ได้แก่ ท้องเสีย อ้วก Diarrhea และการกดไขกระดูกซึ่งเป็น ผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU นอกจากนั้นยังมีการพบอาการเกี่ยวกับระบบประสาทแบบเฉียบพลันอีกด้วย เช่น การนอนไม่หลับ เป็นต้น แต่ทว่าผลข้างเคียงยาเคมีบำบัด 5-FU กับการให้ยา 5-FU เข้าสู่ร่างกายเพื่อรักษามะเร็งมีวิธีการที่ยุ่งยากมากจึงไม่เป็นที่นำนิยมนำมาใช้ในประเทศ ถึงอย่างไรก็ตามด้วยข้อดีของยาชนิดนี้มีอยู่มากจึงได้มีการพัฒนาและค้นพบยา Capecitabine ที่ออกฤทธ์ใกล้เคียงกับยา 5-FU แต่ใช้งานได้สะดวกกว่าการให้ยา 5-FU มาก

วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคมะเร็ง คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายรังสี (Concurrent Chemoradiotherapy) โดยเฉพาะการให้ยาเคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ได้ผลสูงสุด

1.2 Capecitabine

เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Fluoropyrimidines Carbamate คือ ยาที่มีการพัฒนามาจาก 5-FU ให้อยู่ในรูปที่สามารถรับประทานเข้าไปแล้วไม่โดนทำลายโดย DPD การทำงานของยา Capecitabine คือ เมื่อกินยา Capecitabine เข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะทำการดูดซึมได้อย่างง่ายและรวดเร็วที่บริเวณผนังของลำไส้ซึ่งมี Oral Bioavailability สูงมากถึง 80 % เลยทีเดียว เมื่อตัวยาได้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว ตัวยาจะยังไม่ออกฤทธิ์ในทันที แต่ตัวยานี้จะถูกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโดยเอนไซม์ในร่างกายถึง 3 ขั้นตอนกว่าที่ยาจะสามารถออกฤทธิ์ได้ โดยขั้นตอนสุดท้ายก่อนการออกฤทธิ์จะเกิดขึ้นที่บริเวณภายในเซลล์ของมะเร็งที่ทำการเปลี่ยน 5-Deoxy-5-Fluorouridine จนกลายเป็น 5-FU ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้เกิดขึ้นโดยเอนไซม์ THymidine Phoshorylase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเซลล์ของมะเร็งมากกว่าเนื้อเยื่อปกติ ยา Capecitabine และ Metabolites ที่เกิดขึ้นในร่างกายจะถูกขจัดออกจากการทำงานของไต ซึ่งต่างจากยา 5-FU ที่สามารถขจัดออกโดยการย่อยสลายของเอนไซม์ DPD ดังนั้นการใช้ยา  Capecitabine ในการรักษาต้องคอยตรวจสอบการทำงานของไตให้อยู่ในสภาวะปกติด้วย เพื่อป้องกันการตกค้างของยาในร่างกาย

ส่วนผลข้างเคียงของยา Capecitabine ที่เกิดขึ้น และพบได้บ่อยในการรักษาเคมีบำบัดด้วยยาชนิดนี้ คือ Diarrhea Hand –Foot Syndrome ส่วนอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่พบจะมีลักษณะคล้ายกับการใช้ยา 5-FU แต่ว่าความรุนแรงน้อยกว่า

[adinserter name=”มะเร็ง”]

1.3 Gemcitabine

ยา Gemcitabine ( 2’,2’-difluorodexycytodine ) เป็นยาชนิด Difluorinated Deoxycytidine Analogue ที่สามารถออกฤทธิ์เข้าไปยับยั้งเซลล์มะเร็งในช่วง S Phase ที่วัฏจักรของเซลล์ และยังมีฤทธิ์เข้าไปช่วยเสริมการทำงานของรังสีอีกด้วย ยา Gemcitabine จัดเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการรักษาโรคมะเร็งที่เกิดขึ้น การใช้ยา Gemcitabine แม้ว่าจะใช้เพียงตัวเดียวหรือใช้ร่วมกับยารักษามะเร็งชนิดอื่นผลของการรักษาจากยาชนิดนี้ก็จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเช่นกัน

ยา Gemcitabine ในการใช้ยาเพื่อรักษามะเร็งจะใช้วิธีการหยดซึ่งการให้ยานี้ในแต่ละครั้งต้องให้ยาตั้งแต่เริ่มจนยาเข้าสู่ร่างกายหมดภายใน 30 นาทีห้ามเกินอย่างเด็ดขาด เพราะพบว่าถ้าใช้เวลาในการให้ยาเกิน 30 นาทีขึ้นไป ผลกระทบแบบโดยเฉพาะการกดไขกระดูกที่พบว่ามีโอกาสที่จะเกิดสูงกว่าการให้ยาภายใน 30 นาทีอยู่สูงมากทีเดียว เมื่อยาเข้าสู่ร่างกายแล้ว ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมตัวยาและใช้ได้ทันที ตัวยาต้องผ่านขั้นตอนในร่างกายอยู่หลายขั้นตอนเสียก่อน ซึ่งกลไกที่ว่านี้จะเกี่ยวข้องกับระบบลำเลียงของนิวคลีโอไทด์ ( Nucleotide Transporter System ) ที่จะนำตัวยาที่ยังไม่สามารถออกฤทธิ์ได้เข้าสู่กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ จนตัวยา Gemcitabine กลายเป็น Gemcitabine Triphosphate ที่สามารถออกฤทธิ์กลับได้ โดย Gemcitabine Triphosphate จะกลับเข้าไปรวมตัวกับ DNA ของเซลล์มะเร็ง ทำให้ DNA ของเซลล์มะเร็งเกิดความเสียหายไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้

ผลค้างเคียงของการใช้ยา Gemcitabine ในการรักษามะเร็งที่พบได้มาก คือ การกดไขกระดูกซึ่งส่งผลให้จำนวนเม็ดเลือดจำนวนลดต่ำลงมากกว่าการพบปริมาณเกร็ดเลือดต่ำ นอกจากนั้นแล้วอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาชนิดนี้ที่สามารถเกิดขึ้นได้ คือ การเป็นไข้ เวียนศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับเวลาในการให้ยาที่นานเกิน 30 นาทีนั่นเอง แต่ข้อมูลการใช้ยา Gemcitabine ที่เป็นกรณีศึกษายังมีข้อมูลที่ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับยากลุ่ม .Antimetabolites ในการรักษาร่วมการฉายรังสี

2. Platinum Analogs Cisplatin คือ อะไร?

Cisplatin คือ ต้นแบบของยาที่อยู่ในกลุ่ม Platinum Analogs ที่ใช้กันอยุ่ในปัจจุบันนี้คือ Cisplatin, Carboplatin และ Oxaliplatin ซึ่งยาต้นแบบของยาในกลุ่มนี้คือ ยา Cisplatin ( Cisdiamminedichorplatineum [II] ) ที่นิยมใช้รักษาพร้อมกับการฉายรังสี กลไกการออกฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งของยาชนิดนี้พบว่ายาจะเข้าไปยับยั้งการสร้าง DNA ของเซลล์มะเร็งเป็นหลักเมื่อใช้ยานี้ในการรักษาเพียงอย่างเดียว แต่ว่าเมื่อใช้รักษาร่วมกับการฉายรังสีแล้ว กลไกการออกฤทธิ์จะเกิดโดยยาจะเข้าไปในสาย DNA ของเซลล์มะเร็งและทำการให้เกิดการแตกตักของสาย DNA ที่เป็นสายเดี่ยว ( Single Strand Break ) พร้อมทั้งทำการเปลี่ยนเป็น Double Strand Break ของสาย DNA ซึ่งสาย DNA ที่เป็นแบบนี้จะไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ และ Cisplatin ยังทำหน้าที่คล้ายกับ Free Electron Scavenger ที่สามารถเข้าไปรบกวนการซ่อมแซมสาย DNA ของเซลล์มะเร็งที่เกิดความเสียหายจากผลของการฉายรังสีจึงช่วยให้เซลล์ถูกทำลายได้มากขึ้นและมีโอกาสที่จะฟื้นฟูตัวเองได้น้อยลง

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ยา Cisplatin เป็นยาที่สามารถออกฤทธิ์ในการกำจัดมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งที่บริเวณศีรษะ มะเร็งคอ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาแต่ละครั้งจะทำการคำนวนได้ด้วยคิดเป็น มิลลิกรัมต่อพื้นผิวของร่างกายที่มีหน่วยเป็นตารางเมตร และวิธีการให้ยา Cisplatin จะให้โดยการผสมในน้ำเกลือ 250 ml และหยดเข้าสู่ร่างกาย โดยการให้ยาแต่ละครั้งควรให้อย่างช้า ๆ ซึ่งการให้แต่ละครั้งควรใช้เวลาประมาณ 1-4 ชั่วโมง นอกจากนั้นก่อนและหลังการให้ยา Cisplatin ผู้ป่วยควรได้รับน้ำเพื่อช่วยในการขับปัสสาวะเป็นอย่างปกติหรือมากกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อป้องกันการสะสมของยา Cisplatin ในร่างกายสูงเกินไป

ผลข้างเคียงที่เกิดจากยา Cisplatin ที่พบได้มากที่สุด คือ การทำงานของไตเสื่อมพร้อมกับการสูญเสียเกลือแร่ที่มีอยู่ในร่างกายไปพร้อมกับการขับปัสสาวะออกมา คลื่นไส้ อาเจียน การได้ยินน้อยลง อาการประสาทส่วนปลายเสื่อม การกดไขกระดูกซึ่งการกดไขกระดูกที่พบจากการใช้ยานี้จะส่งผลให้ปริมาณเกร็ดเลือดต่ำ และยังพบอาการ Hypersensitivy Reaction ที่เกิดจากการได้รับยาด้วย ดังนั้นการให้น้ำกับผู้ป่วยก่อนและหลังการให้ยา Cisplatin ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญมากเมื่อมีการใช้ยา Cisplatin ในการรักษาร่วมไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวหรือรักษาร่วมกับการฉายรังสีก็ตาม เพื่อป้องกันความเสื่อมของไต

ยาที่สามารถนำมาใช้ในการรักษามะเร็ง นั่นคือ ยา Oxaliplatin แต่ยาชนิดนี้ไม่นิยมใช้ในการรักษาร่วมกับการฉายรังสี

ยา Carboplatin หรือยา Cis-Diammine ( Cyclobutane Dicarboxylato )-platinum ( II ) ยากลุ่มนี้เป็นยาที่มีฤทธิ์คล้ายกับยา Cisplatin แต่ทว่าผลข้างเคียงต่อไตและการทำให้เกิดการอาเจียนคลื่นไส้มีเกิดขึ้นน้อยกว่ามาก แต่ก็ใช่ว่ายา Carboplatin จะดีกว่าเสียทั้งหมด เพราะว่ายา Carboplatin ส่งผลให้เกิดการกดไขกระดูกมากกว่ายา Carboplatin ด้วย ปริมาณที่ใช้ในการรักษาสามารถคำนวนได้จาก Area Under Curve ( AUC ) ซึ่งจะช่วยในการทำนายการกดไขกระดูกที่จะเกิดขึ้นได้แม่นยำกว่าการคำนวนยาเป็นมิลลิกรัมในการใช้ต่อพื้นผิวของร่างกายในหน่วยที่เป็นเมตร

ขนาดยาตาม Calvert Formula

= AUC ที่กำหนดไว้ x (Creatinine Clearance +25)

3. Mitomycin C

ยา Mitomycin C เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มของยาปฏิชีวานะที่สมารถออกฤทธิ์ในการรักษาโรคมะเร็งได้คล้ายกับยาที่อยู่ในกลุ่ม Alkylating Agent กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้จะเข้าไปยับยั้งการสร้างสาย DNA ของเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้เกิด Cee Cycle ที่อยู่ในช่วง G2 / M-phase Transition และยังพบว่ายายา Mitomycin C ยังเป็น Hypoxic Cell Radiosensitizer ที่ดีอีกด้วย

ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้ยา ยา Mitomycin C ร่วมกับยา Fluorouracil ไปพร้อมกับการรักษาด้วยการฉายรังสีในการรักษามะเร็งทวารหนักอีกด้วย การใช้ยาสามารถให้ได้ 2 แบบ คือ

[adinserter name=”มะเร็ง”]

  • การฉีดเข้าสู่เส้นเลือด แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ตัวยาไหลออกนอกเส้นเลือดเพราะจะไปสร้างผลกระทบกับเซลล์ที่ไม่ต้องการได้
  • การผสมยาในน้ำเกลือและทำการหยดยาให้หมดภายในระยะเวลา 15-30 นาที

ผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดจากการใช้ยา ยา Mitomycin คือ การเป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน การกดไขกระดูก แต่ว่าอาการกดไขกระดูกจะไม่เกิดขึ้นในทันทีแต่จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับการรักษาไปแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา ยา Mitomycin ร่วมกับการฉายรังสีจะมีการฟื้นตัวได้ช้ายู่ที่ประมาณ 8 -10 สัปดาห์

4. Taxanse

ยา Taxanse เป็นกลุ่มที่นิยมใช้กันมากอีกกลุ่มหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็ง ยากลุ่ม Taxanse นี้คือ Paclitaxel กับยา Docetaxal ยาในกลุ่มของ Taxanse จะมีกลไกการออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งโดยที่จะออกฤทธิ์เข้าไปยับยั้ง Mitotic Spindle ที่อยู่ภายในเซลล์ Microtubule Assembly และยังเข้าไปยับยั้ง Disaggregation อีกด้วย ผลของยาจะเข้าไปส่งผลให้การแบ่งตัวของเซลล์เกิดการหยุดชะงักที่ G2 / M phase ของวัฏจักรของเซลล์ ซึ่งซ่วงนี้จะเป็นช่วงที่เซลล์มีความว่องไวต่อการทำลายของรังสีสูงมาก ดังนั้นการรักษาด้วยยา Taxanse ร่วมกับการฉายรังสีจึงช่วยรักษามะเร็งอย่างได้ผล ซึ่งยาในกลุ่ม Taxanse ที่นิยมนำมาใช้รักษาร่วมกับการฉายรังสี คือ ยา Paclitaxel

การใช้ยา Paclitaxel ในการรักษาจะใช้วิธีการฉีดเข้าสู่ร่างกาย และยาชนิดนี้จะสามารถขับออกมาจากร่างกายได้โดยการขับออกมาพร้อมกับอุจจาระโดยผ่านการไหลเวียนของตัวยาและ Metabolites มาทางกระแสเลือดและส่งไปยังตับที่จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญมากในการขับยาชนิดนี้ออกจากร่างกาย ซึ่งกลไกการทำลายตัวยานั้นจะต้องอาศัยกลไกที่สำคัญของ Cytochrome P-450 Mixed Function Oxidase ตามส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ CYP2C8 และที่ CYP3A4 ซึ่งกลไกดังกล่าวนี้สามารถเกิดการยับยั้งการทำงานได้โดยการขาดเอนไซม์บางชนิด ดังนั้นการใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาชนิดอื่นต้องดูด้วยว่ายาที่ใช้ร่วมกันนั้นมาขัดกว้างการสร้างเอนไซม์ที่จำเป็นในการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามาขัดขวางแล้วย่อมส่งผลให้ยาชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่หรือไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้หมด เกิดการสะสมและสร้างผลเสียต่อเซลล์ปกติได้

ผลข้างเคียงของยา Paclitaxel ที่พบได้มากที่สุด คือ การที่เม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิวมีค่าต่ำลง ซึ่งจะเกิดหลังจากที่ทำการให้ยาไปแล้วประมาณ 8-10 วัน แต่ผลที่เกิดขึ้นต้องเป็นการให้ยาแบบทุก ๆ 3 สัปดาห์ แต่อาการนี้จะกลับสู่สภาวะปกติได้หลังจากเกิดอาการไม่กี่วัน การให้ยายังมีอาการแบบเฉียบพลันเกิดขึ้นด้วยนั่นคือ อาการ Hypersensitivity Reaction ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 10 นาทีของการให้ยาครั้งแรกกับตัวผู้ป่วย แต่อาการนี้จะหายไปทันทีหลังจากที่หยุดยาแล้ว การที่เกิดผลข้างเคียงดังกล่าวเชื่อว่าเกิดจากการหลั่งสาร Histamine-Like Substances ที่สามารถเกิดปฏิกิริยากับ Polyoxyethylate Case Castor oil Vehicle ของยา อาการนี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการให้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดจากการให้ยาชนิดนี้ คือ Peripheral Neuropathy โดยผู้ป่วยจะมีอาการชาที่มือ เท้าทั้งสองข้าง บางครั้งมีการตรวจพบ Deep Tendon Reflex ที่มีค่าลดลง ซึ่งอาการที่เกิดความเป็นพิษต่อเส้นประสาทชนิดรุนแรงจะพบได้น้อยมาก เมื่อมีการให้ยาน้อยกว่า 200 mg / m² เมื่อมีการให้ทุก 3 สัปดาห์หรือมีการให้ยาน้อยกว่า 100 mg / m² ซึ่งผลข้างเคียงที่พบนี้ในขณะนี้ยังไม่ยาที่เข้ามาช่วยลดอาการดังกล่าวได้ การจะทำให้อาการลดลงหรือหายไปก็มีเพียงวิธีเดียวคือการหยุดยานั่นเอง นอกจากผลข้างเคียงที่พบได้มากแล้วการใช้ยานี้ยังมีผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คือ เล็บเกิดร่อง เล็บมีสีเข้มขึ้น เล็บหลุดลอกออก เป็นต้น

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีนับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบันนี้ ยาเคมีที่ใช้ร่วมกับการฉายรังสีมีอยู่หลายชนิดที่นำมาใช้กัน การเลือกใช้ทั้งชนิดและปริมาณของยาก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งทางแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ทำการเลือกตัวยาที่ดีที่สุดที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นและส่งผลเสียต่อร่างกายของผู้ป่วยให้น้อยที่สุด เพื่อเพิ่มอัตรารอดจากการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของผู้คนทั่วไป

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งและประเมินระยะของโรค

0
การตรวจวินิจฉัยประเมินรัยะโรคเพื่อให้การรักษานั้นตรงโรคที่สุด
การตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินสุขภาพของผู้ป่วย
การตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินสุขภาพของผู้ป่วยก่อนทำการรักษามะเร็ง

การตรวจวินิจฉัยและประเมินระยะ

มะเร็งเป็นโรคที่จะต้องมี การตรวจวินิจฉัยและประเมินระยะ ที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่าโรคทั่วไป เพราะไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดจากการตรวจในครั้งแรกว่า ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ซึ่งจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมและใช้เวลาในการตรวจนานพอสมควรเลยทีเดียว โดยทั้งนี้ในการตรวจและแปลผล จะต้องใช้เวลาเป็นอย่างน้อย 3 วันหรืออาจนานเป็นสัปดาห์ เลยก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากที่สุดว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งจริงและเป็นมะเร็งชนิดไหน รวมทั้งจะได้ลดความผิดพลาดในการตรวจให้เหลือน้อยที่สุดด้วย นอกจากนี้การรักษาก็จะมีความยุ่งยากซับซ้อนเช่นกัน และอาจเกิดผลข้างเคียงจากอาการแทรกซ้อนได้อีกด้วยก่อนเริ่มรักษาจึงต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง และที่สำคัญจะต้องใช้เวลาในการรักษานานมาก ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง รวมถึงส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง

สำหรับผู้ป่วยใหม่ที่มีอาการสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็ง เริ่มแรกจะต้องทำ การตรวจวินิจฉัย โรคดูก่อนว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ แล้วจึงตามด้วยการประเมินระยะของโรค ตรวจประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อจะได้หาแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด โดยเมื่อเข้าสู่ช่วงการรักษาจนครบการรักษาแล้ว ก็จะมีการตรวจติดตามผลแบบระยะยาวไปจนตลอดชีวิต เพื่อเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำได้อีกนั่นเอง การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งจะแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่แน่ชัด โดยแบ่งได้ดังนี้

1. ตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีประวัติเป็นมะเร็งมาก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อคัดกรองว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่และวางแผนการรักษาได้อย่างถูกวิธี

2. ตรวจประเมินระยะของโรคว่าอยู่ในระยะไหนแล้ว เพื่อจะได้เตรียมการรักษาอย่างเร่งด่วน และพิจารณาเลือกวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมที่สุด

3. ตรวจประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม

4. ตรวจประเมินผลในช่วงการรักษา เพื่อดูผลการรักษาที่เกิดขึ้นว่าผลที่ได้มีความน่าพอใจมากแค่ไหน หรือหากผลไม่ค่อยน่าพอใจมากนักก็จะได้เปลี่ยนแผนการรักษาใหม่นั่นเอง

5. ติดตามผลระยะยาวของการรักษาไปจนตลอดชีวิต เพื่อระวังการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งอีกครั้งและอาจมีความรุนแรงมากกว่าเดิม

6. ตรวจวินิจฉัยเมื่อพบโรคหลงเหลือหลังจากครบกำหนดในการรักษาแล้ว

7. ตรวจวินิจฉัยกรณีโรคอาจย้อนกลับเป็นซ้ำอีกหรือแพร่กระจายได้

การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งในผู้ป่วยใหม่

สำหรับการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยใหม่ว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ จะมีวิธีการตรวจดังนี้

  1. ไปพบแพทย์ด้วยอาการสำคัญหรือความกังวลว่าตนเองกำลังป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง

2. แพทย์จะทำการสอบถามผู้ป่วยเพิ่มเติมถึงอาการอื่นๆ ที่แพทย์ต้องการทราบเพื่อประกอบการวินิจฉัย

3. สอบถามประวัติการรักษาทางแพทย์ของผู้ป่วย รวมถึงประวัติอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น อาชีพที่ทำ การใช้ยา การเจ็บป่วยที่เคยเกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน จากนั้นก็จะทำการตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจเฉพาะที่ เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัดมากขึ้น

ผู้ป่วยจะต้องคอยสังเกตอาการความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้วินิจฉัยและรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

นอกจากนี้ก็อาจจะมีการตรวจเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งด้วย ซึ่งก็จะมีวิธีการตรวจหลากหลายวิธีด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์ต้องการตรวจแบบไหน อย่างไรก็ตาม การจะตรวจหามะเร็งได้อย่างแน่ชัดมากที่สุด ก็คือการตัดเอาชิ้นเนื้อจากแผลหรือก้อนเนื้อมะเร็งไปตรวจทางพยาธิวิทยา จะทำให้ทราบว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือเป็นโรคอื่นๆ กันแน่ และเมื่อทำการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้ว แพทย์ก็จะทำการประเมินระยะของโรคว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะไหน พร้อมกับประเมินสุขภาพของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องคอยสังเกตอาการความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้วินิจฉัยและรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งในปัจจุบันมีโรคมะเร็งเพียงแค่ 3 ชนิดเท่านั้นที่สามารถทำการตรวจคัดกรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง ส่วนโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ยังไม่สามารถตรวจคัดกรองอย่างมีประสิทธิภาพได้ จึงต้องอาศัยการสังเกตความผิดปกติของตัวเองแทน

วิธีการประเมินระยะของโรคมะเร็งอย่างไร

1. สำหรับการประเมินระยะของโรค การประเมินระยะ ของโรค ว่าโรคอยู่ในระยะไหน มีการลุกลามไปยังอวัยวะส่วนไหนแล้วบ้าง เพื่อประเมินวิธีการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม แพทย์จะมีขั้นตอนในการรักษาดังนี้

1.1 ประเมินระยะของโรคมะเร็งในผู้ป่วยใหม่ เพราะเมื่อทราบระยะของอาการป่วยก็จะทำให้วางแผนการรักษาและเลือกวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

1.2 ประเมินผลในช่วงการรักษา เพื่อดูผลว่าการรักษาได้ผลดีแค่ไหนหรืออาจต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาอย่างไรบ้างหรือเปล่า

1.3 ประเมินผลหลังครบการรักษา เพื่อดูว่าหลังการรักษาผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งหรือไม่ หรือมีอาการอย่างไรบ้าง ดีขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่า

1.4 ประเมินผลแบบระยะยาวไปจนตลอดชีวิต เพราะผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคมะเร็งก็มักจะมีโอกาสที่จะกลับมาป่วยอีกได้ จึงทำให้แพทย์ต้องคอยติดตามประเมินผลผู้ป่วยตลอดเวลา เพราะหากมีแนวโน้มว่าจะกลับมาเป็นอีก ก็จะได้ทำการรักษาได้ทันนั่นเอง

2. การประเมินการลุกลามเฉพาะที่

โดยมี การประเมิน ดังนี้

1. ประเมินดูขนาดของก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็ง ว่ามีขนาดแค่ไหน เพราะจะเป็นตัวบอกได้ว่า ผู้ป่วยได้มีอาการลุกลามของมะเร็งไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว

2. ประเมินการรุกล้ำเฉพาะที่ของโรคมะเร็ง ซึ่งก็คือการลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงนั่นเอง เพื่อจะได้ประเมินวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

3. ประเมินการลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงกับอวัยวะต้นกำเนิดมะเร็ง

4. ประเมินก้อนเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงตลอดช่วงรับการรักษาและหลังครบการรักษา

5. ประเมินโอกาสที่จะย้อนกลับมาเป็นโรคมะเร็งได้อีก ซึ่งจะมีการตรวจติดตามผลแบบระยะยาว

โดยทั้งนี้ใน การตรวจประเมิน การลุกลามของโรคมะเร็งนั้นมักจะตรวจไปพร้อมกับการประเมินการแพร่กระจายของมะเร็งด้วย ซึ่งขั้นตอนที่นิยมใช้บ่อยๆ ในการตรวจก็มีดังนี้

การประเมินการแพร่กระจายของมะเร็ง

  • ตรวจภาพเนื้อเยื่อด้วยการเอกซเรย์ธรรมดา การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การอัลตราซาวด์หรือเอ็มอาร์ไอ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรตรวจด้วยวิธีไหนอย่างไร
  • ตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินผลการรักษา     

3. การตรวจเพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง

โดยจะตรวจดูว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนไหนแล้วบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีการแพร่กระจายเข้าสู่ปอด สมอง ตับและกระดูกเป็นต้น โดยวิธีการตรวจหากเป็นการตรวจการแพร่กระจายเข้าสู่ปอด จะตรวจด้วยการเอกซเรย์ เพราะเป็นวิธีที่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ให้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำสามารถประเมินโรคต่างๆ ของปอดและหัวใจได้และมีค่าใช้จ่ายไม่สูงจนเกินไปอีกด้วย แต่การตรวจการแพร่กระจายที่เข้าสู่อวัยวะอื่นๆ นั้น จะตรวจโดยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้นแพทย์จึงมักจะเลือกตรวจเฉฑาะกับบางรายเท่านั้น โดย

  • ผู้ป่วยที่มีอาการ แพทย์จะรักษาในส่วนที่ทำให้เกิดอาการ เข่น ใช้รังสีรักษา เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยหากมะเร็งแพร่เข้าสู่กระดูก
  • หากโรคอยู่ในระยะที่แพร่กระจายไปอย่างมากแล้ว แพทย์จะไม่ใช้วิธีการรักษาที่อันตรายหรือมีผลข้างเคียงสูงเด็ดขาด
  • หากอยู่ในระยะที่มีการลุกลามไปมาก แต่ผู้ป่วยยังมีความแข็งแรงอยู่ แพทย์จะตั้งเป้ารักษาเพื่อให้หายขาด แต่หากผู้ป่วยมีอาการอ่อนแอลง แพทย์จะตั้งเป้ารักษาเป็นการประคับประคองผู้ป่วยแทน

นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีการตรวจการแพร่กระจายของโรคมะเร็งอีกหลายวิธีด้วยกัน เช่นการเอกซเรย์ปอด เพื่อดูว่าได้แพร่กระจายเข้าสู่ปอดหรือยัง มากน้อยแค่ไหน การตรวจภาพกระดูกทั้งตัว เพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรคเข้าสู่กระดูก โดยอาจตรวจซ้ำด้วยเอ็มอาร์ไออีกครั้งเพื่อความแม่นยำ การตรวจภาพตับและต่อมหมวกไตด้วยการอัลตราซาวด์ เพื่อทำการวินิจฉัยการแพร่กระจายของโรคที่ได้แพร่กระจายเข้าสู่ตับและต่อมหมวกไต การตรวจภาพช่องท้องด้วยการอัลตราซาวด์ เพื่อดูการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ภายในช่องท้อง รวมถึงต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องและต่อมหมวกไตด้วย การตรวจภาพสมองด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูการแพร่กระจายเข้าสู่สมอง ส่วนใหญ่จะตรวจในผู้ที่มีอาการทางสมองด้วย การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง ตรวจไขกระดูก และการตรวจเพ็ตสแกน เป็นต้น

การประเมินสุขภาพของผู้ป่วย

การประเมินสุขภาพของผู้ป่วยเป็นขั้นตอนหนึ่งในการตรวจรักษาที่มีความสำคัญไม่แพ้กันเลยทีเดียว โดยจะตรวจหลังจากได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ซึ่งแพทย์ก็มักจะตรวจควบคู่ไปกับการประเมินระยะของโรคด้วย เพราะวิธีและขั้นตอนการตรวจส่วนใหญ่จะเหมือนกัน จึงสามารถที่จะตรวจไปพร้อมกันได้ และไม่เป็นการเสียเวลากับการตรวจซ้ำซ้อนอีกด้วย โดยทั้งนี้หาก การตรวจประเมิน สุขภาพ พบว่าผู้ป่วยมีโรคอื่นร่วมด้วย ก็จะทำการดูแลรักษาโรคที่เป็นอยู่ก่อนที่จะเริ่มรักษามะเร็ง เพราะหากปล่อยไว้ จะทำให้โรคดังกล่าวกลายเป็นโรคเรื้อรัง และทำให้สุขภาพของผู้ป่วยอ่อนแอลง จนไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่องได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีกด้วย โดยสำหรับการตรวจประเมินสุขภาพของผู้ป่วยโดยทั่วไปก็จะมีขั้นตอนการตรวจดังนี้

  • สอบถามอาการสำคัญรวมถึงอาการอื่นๆที่ผู้ป่วยเป็น พร้อมกับตรวจร่างกายและตรวจเฉพาะที่ ตามด้วยการตรวจเลือด ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะตรวจหาค่าซีบีซี ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าการทำงานของตับและไต ค่าเกลือแร่การติดเชื้ออื่นๆ เป็นต้น
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาปัญหาสุขภาพที่อาจจะมีอยู่
  • ทำการเอกซเรย์ปอด เพื่อดูว่าปอดยังคงปกติดีหรือไม่ โดยเฉพาะในคนที่สูบบุหรี่จัด
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วย โดยจะตรวจเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • ตรวจภาพหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูงและอาจมีการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม

เป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็ง

สำหรับเป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็งจะมี 2 เป้าหมายหลักคือ

1.การรักษาเพื่อหวังผลให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้นหรือการรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรค

2. การรักษาแบบประคับประคองเพื่อพยุงอาการของผู้ป่วยไม่ให้ทรุดมากเกินไปและทำให้ผู้ป่วยมีอายุยาวนานขึ้นกว่าเดิม ซึ่งส่วนใหญ่เป้าหมายที่สองนี้จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายหรือมีการลุกลามอย่างรุนแรง โดยเมื่อประเมินดูแล้วไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้

1. การรักษาให้หายขาด

ถึงแม้จะตั้งเป้าไว้ที่การรักษาให้หายขาด แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะสำเร็จตามเป้าหมายเสมอไป ซึ่งก็มีโอกาสที่จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เหมือนกัน แต่อย่างน้อยก็จะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นกว่าเดิม โดยทั้งนี้การตั้งเป้าหมายการรักษาให้หายขาด แพทย์จะใช้กับผู้ป่วยที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้

  • โรคมะเร็งยังอยู่ในระยะที่ไม่มีการแพร่กระจายออกไปภายนอกหรือแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด
  • ผู้ป่วยยังคงมีสุขภาพที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคอื่นๆ ร่วมด้วย นั่นก็เพราะวิธีการรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรคมะเร็ง จะทำได้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงดีเท่านั้น
  • ผู้ป่วยจะต้องไม่มีการกินยาสมุนไพรหรือยาพื้นบ้านอื่นๆ

ทั้งผู้ป่วยและครอบครัวจะต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์และพยาบาลในการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างดี พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะคาใช้จ่ายในการรักษามะเร็งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก หากขาดความร่วมมือจนหมดโอกาสการรักษา ก็จะทำให้ที่จ่ายมาทั้งหมดเกิดความไม่คุ้มค่าได้นั่นเอง นอกจากนี้จะต้องให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเรียนรู้ที่จะดูแลตนเองให้ดีเพื่อลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนจากการรักษาด้วย

2. การรักษาแบบประคับประคองหรือพยุงอาการ

ในกรณีนี้จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้ผู้ป่วยมีอายุอยู่ได้นานที่สุด ซึ่งจะใช้เฉพาะกับผู้ป่วยที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดจากโรคมะเร็งได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะระยะของโรคมะเร็งหรือสุขภาพของผู้ป่วยเอง จึงทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้นั่นเอง โดยผู้ป่วยที่แพทย์จะพิจารณาใช้วิธีนี้ในการรักษา ก็จะต้องมีปัจจัยดังต่อไปนี้

  • เป็นโรคมะเร็งในระยะที่มีการแพร่กระจายหรือลุกลามไปมากแล้ว ทำให้การจะรักษาให้หายขาดนั้นเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร
  • ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอเกินไปจนไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ นั่นก็เพราะหากรักษาในขณะที่ร่างกายของผู้ป่วยไม่พร้อมจะยิ่งเป็นอันตรายได้นั่นเอง
  • ผู้ป่วยและครอบครัวไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการรักษาให้หายขาด จึงต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการประคับประคองแทน

ความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเป็นโรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงเป็นอย่างมาก ทำให้การรักษามีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นไปด้วย แถมค่ารักษาพยาบาลก็สูงมากพอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้น การตรวจวินิจฉัย โรคมะเร็งจะต้องมีความแม่นยำสูงมาก เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้น โดยเฉพาะหากต้องรักษาโดยมีเป้าหมายเพื่อให้หายขาด

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำมากที่สุดนั้น แพทย์จะใช้หลากหลายวิธีด้วยกัน เช่น การซักประวัติอาการของผู้ป่วย การตัดชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา และจะมีการพิจารณาหลายๆ ครั้งเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ชัดเจนที่สุดและมั่นใจแล้วว่าไม่ผิดพลาดอย่างแน่นอน ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคมะเร็งก็มีความแม่นยำต่างกันดังนี้

1. การวินิจฉัยโรคมะเร็งที่จะได้ความแม่นยำที่สูง 100%

จะประกอบไปด้วยหลายวิธีด้วยกัน เช่น การซักประวัติอาการสำคัญ ประวัติการรักษาทางแพทย์ของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจภาพเนื้อเยื่อ การอัลตราซาวด์ เอกซเรย์และการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา เป็นต้น โดยทั้งนี้จากการตรวจทุกวิธีจะต้องได้ผลที่มีความสอดคล้องกันว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง นอกจากนี้ก็ยังมีโรคมะเร็งบางชนิดที่สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำโดยไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อตรวจอีกด้วย เช่น โรคมะเร็งตับชนิดเอชซีซี

2. การวินิจฉัยโรคมะเร็งที่มีความแม่นยำ 95%

โดยจะมีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณร้อยละ 95 ขึ้นไป ซึ่ง การตรวจวินิจฉัย แบบนี้ก็จะตรวจแบบเดียวกับวิธีแรกเลย เพียงแต่ไม่มีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา ทำให้ผลการวินิจฉัยอาจมีความคลาดเคลื่อนได้บ้างเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่วิธีนี้จะใช้สำหรับผู้ป่วยในระยะลุกลามรุนแรงและผู้ป่วยที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงนั่นเอง

3. การวินิจฉัยโรคมะเร็งที่มีความแม่นยำรองลงมา

โดยจะมีการตรวจเหมือนกับแบบแรกเหมือนกัน แต่จะไม่มีการตรวจชิ้นเนื้อ ไม่มีการเจาะดูด การตรวจค่าสารมะเร็ง ทำให้ผลการตรวจที่ได้อาจมีความคลาดเคลื่อนมากกว่าวิธีที่ 2 ไปอีก ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้ก็มักจะใช้ในกรณีที่

  • ผู้ป่วยไปพบแพทย์ในภาวะฉุกเฉินแล้ว ซึ่งการรักษาแบบประคับประคองก็ไม่ได้ผล จึงไม่สามารถตรวจด้วยวิธีเหล่านี้ได้
  • ผู้ป่วยอยู่ในระยะของโรคที่ไม่สามารถทำการตัดชิ้นเนื้อหรือดูดเซลล์มาตรวจได้ นั่นก็เพราะอาจมีผลแทรกซ้อนสูง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้นั่นเอง
  • ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอมาก จนไม่สามารถที่จะตัดชิ้นเนื้อได้ 

สาเหตุของการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งผิดพลาด

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การตรวจวินิจฉัย โรคมะเร็งมีหลายวิธี และแต่ละวิธีก็มีระดับของความรุนแรงที่แตกต่างกันไปอีกด้วย ดังนั้นโอกาสที่จะตรวจผิดพลาดจึงมีได้เหมือนกัน เช่นอาจตรวจผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งว่าไม่เป็นมะเร็ง และอาจตรวจผู้ป่วยที่ไม่เป็นมะเร็งว่าเป็นมะเร็งได้นั่นเอง โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจได้ก็มีดังนี้

1. มีการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาหรือทางเซลล์วิทยาเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัญหาทางเทคนิคหรือเครื่องมือในการตรวจ เป็นผลให้ตรวจไม่พบมะเร็งทั้งที่ผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็ง

2. อาการสำคัญของผู้ป่วยแยกได้ไม่ชัดเจนว่านั่นเป็นอาการป่วยโรคมะเร็งหรือการอักเสบและติดเชื้อโดยทั่วไปกันแน่ ประกอบกับการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ เช่น อัลตราซาวด์ เอ็มอาร์ไอ ตรวจภาพเนื้อเยื่อ หรือเอกซเรย์แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ แพทย์จึงสรุปว่าผู้ป่วยไม่เป็นมะเร็ง ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นนั่นเอง

3. ก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็งมีขนาดที่เล็กมากจนไม่สามารถตรวจได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการสำคัญที่บอกได้ว่าผู้ป่วยกำลังเป็นมะเร็งก็ตาม ซึ่งทั้งนี้จะต้องรอให้ก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นมาซะก่อนจึงจะสามารถตรวจให้แน่ชัดอีกครั้งได้

4. ผู้ป่วยไปพบแพทย์ในภาวะที่มีอาการป่วยแบบฉุกเฉิน ประกอบกับอาการสำคัญ การตรวจภาพเนื้อเยื่อหรือการตรวจอื่นๆ ชี้นำว่าผู้ป่วยน่าจะเป็นมะเร็ง จึงทำให้แพทย์มีความเข้าใจไปว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่ และเนื่องจากในภาวะที่ไปพบแพทย์แบบฉุกเฉินนี้ ทำให้แพทย์ต้องรีบทำการรักษาอย่างเร่งด่วน ไม่สามารถรอผลการตรวจชิ้นเนื้อได้ จึงเกิดความผิดพลาดขึ้นนั่นเอง

5. ก้อนเนื้ออยู่ในตำแหน่งที่แพทย์ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อหรือดูดเซลล์มาตรวจได้ จึงจำเป็นต้องทำการรักษาในทันทีแม้ว่าจะไม่ได้ตัดชิ้นเนื้อมาตรวจก็ตาม ทำให้โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดมีสูงมาก ซึ่งตามจริงแล้วผู้ป่วยอาจไม่ได้เป็นมะเร็งอย่างที่แพทย์เข้าใจก็ได้เหมือนกัน

6. การตรวจชิ้นเนื้อไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ แต่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงที่จะต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน แพทย์จึงตัดสินใจรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งที่ความจริงแล้วผู้ป่วยไม่ได้เป็นมะเร็งอย่างที่แพทย์เข้าใจ ซึ่งนี่ก็เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้บ่อยเช่นกัน

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

“Screening for Oral Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2004. Archived from the original on 24 October 2010.

“Screening for Prostate Cancer”. U.S. Preventive Services Task Force. 2008. Archived from the original on 31 December 2010.

Manton Julia. Cancer Mortality and Morbidity Patterns in the U.S. Population: An Interdisciplinary Approach. Springer Science & Business Media. ISBN 978-0-387-78193-8.