Home Blog Page 111

ขิง ( Ginger ) สุดยอดสมุนไพรป้องกันเซลล์มะเร็งในระยะยาวได้

0
ขิง ( Ginger ) สุดยอดสมุนไพรป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
พืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับขมิ้นมีรสเผ็ดร้อน อุดมไปด้วยวิตามิน ธาตุเหล็ก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีน และเส้นใย
ขิง ( Ginger ) สุดยอดสมุนไพรป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
พืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับขมิ้นมีรสเผ็ดร้อน อุดมไปด้วยวิตามิน ธาตุเหล็ก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีน และเส้นใย

ขิง

ขิง ( Ginger ) คือ พืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับขมิ้นมีรสเผ็ดร้อน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันคนใช้ขิงสดทั้งแบบขิงอ่อน ขิงแก่ และใช้ขิงแห้งในการประกอบอาหาร เครื่องเทศ และใช้ทั้งเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ยาแผนโบราณ และยาแผนปัจจุบัน จากงานวิจัยพบว่า ขิง มีสารสำคัญในเหง้าขิงสดประกอบด้วย ซิงจิเบอรีน ( zingiberene ) ฟีนอลิก ( phenolic ) ที่ทำให้ขิงมีกลิ่นหอมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนเพื่อช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยป้องกันและรักษาโรคข้ออักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ รักษาอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ในส่วนของขิงสดอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีน และเส้นใย เป็นต้น ขิง เป็นพืชเขตร้อนที่เติบโตในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe ลักษณะของลำต้นสีเขียวเข้มแตกหน่อขึ้นเป็นกอสูงประมาณ 50 -70 เซนติเมตร เปลือกซ้อนกันเป็นกาบยาว ใบเดี่ยวเรียวยาวออกสลับกัน ดอกสีขาว มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน

ตารางคุณค่าทางโภชนาการของขิง

ขิงปริมาณ 100 กรัมให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี

โปรตีน       0.4     กรัม
ไขมัน        0.6     กรัม
ธาตุเหล็ก   1.2     มิลลิกรัม
แคลเซียม    18    มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส   22    มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน 10 ไมโครกรัม
วิตามินซี      1      มิลลิกรัม
ไทอามีน   0.02    มิลลิกรัม
ไนอะซิน  1         มิลลิกรัม
ไรโบเฟลวิล         0.02     มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต       4.4       กรัม
เส้นใยอาหาร         0.8       กรัม

ประโยชน์ของขิง

ขิงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนทั้งแบบสด และแบบแห้ง อาทิเช่น ต้นขิง ดอกขิง ใบขิง เหง้าขิง หัวขิง ผลขิงรากขิง ขิงต้น แก่นขิง

สรรพคุณและประโยชน์ของขิง

สรรพคุณขิงนั้น มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เราสามารถนำมาใช้ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นราก เหง้า ต้น ใบ ดอก แก่น และผลก็ได้ทั้งนั้น

  • ขิงช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมในกระเพราะ
  • ช่วยระบบย่อยอาหาร
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ( ขิงแก่ )
  • ช่วยป้องกันแก๊สและอาการท้องอืดได้
  • ขิงช่วยต้านแบคทีเรียที่เกิดจากอาการท้องเสีย
  • น้ำขิงสดช่วยลดการระคายเคืองจากอาการไอ เจ็บคอ
  • การกินขิงสดช่วยลดแรงกดทับระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
  • ช่วยเร่งการหดตัวของกระเพาะอาหารที่ใช้ในการย่อยอาหาร
  • ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดไขข้อจากโรคข้อเข่าเสื่อม และโรคเกาต์
  • ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด
  • ขิงช่วยลดการอักเสบในเซลล์กล้ามเนื้อของทางเดินหายใจ
  • ช่วยป้องกันการถูกทำลายของข้อต่อ
  • น้ำขิงช่วยลดอาการแพ้ท้องคลื่นไส้ ในหญิงตั้งครรภ์
  • ช่วยป้องกันและรักษาอาการอักเสบ
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระดูก มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ และขิงยังช่วยไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่น ๆ
  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
  • ขิงช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
  • ช่วยบรรเทาอาการมีไข้
  • ช่วยบรรเทาอาการหวัด
  • ช่วยให้นอนหลับสนิทตลอดคืน
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • ช่วยบรรเทาอาการมึนงง และชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ขิงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  • ช่วยลดการทำงานของเอนไซม์ในตับ
  • ช่วยป้องกันเลือดอุดตัน
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • ช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น
  • ช่วยลดความอยากอาหาร เร่งการเผาผลาญพลังงาน ลดน้ำหนัก ( ขิงสด )
  • ขิงช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเพศชาย
  • ช่วยเพิ่มจำนวนอสุจิและการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิในเพศชาย
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในอัณฑะ

ข้อควรระวังและโทษของขิง

ผลข้างเคียงส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากการบริโภคขิงมากเกินไปที่กำหนดไว้ที่ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
การรับประทาน : เมื่อทานขิงในปริมาณที่เหมาะสมผลข้างเคียงไม่รุนแรง อาจรู้สึกไม่สบายท้องหรือท้องเสีย
การใช้ขิงกับผิว : ขิงมีความปลอดภัยสูงเมื่อใช้กับผิวอย่างเหมาะสมในระยะสั้น แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังในบางคนหรือสำหรับคนผิวแพ้ง่าย

  • ขิงสามารถมีผลข้างเคียงหากกินมากเกินไป เช่น ก่อให้เกิดก๊าซในลำไส้ และท้องอืด
  • เกิดผดผื่นบริเวณผิวหนัง
  • ภาวะหัวใจหยุดเต้น (หากใช้เกิดขนาด)
  • ภาวะซึมเศร้าระบบประสาทส่วนกลาง (หากใช้เกิดขนาด)
  • ระคายเคืองต่อปาก หรือลำคอ (ขิงมีรสเผ็ดร้อน)
  • ในระหว่างตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด
  • การรับประทานขิงมากเกินไป อาจทำให้เลือดออกมากเกินไป
  • ผู้ที่ทานยาลดความดันโลหิต ควรหลีกเลี่ยงการกินขิงในปริมาณมากเกินไปอาจนำไปสู่หัวใจเต้นผิดปกติ
  • การกินขิงขณะท้องว่าง อาจกระตุ้นให้มีอาการปวดท้องได้

เมนูจากขิงสด

  • ขิงสดปอกเปลือกและสับละเอียด 1.5 ถ้วย
  • น้ำเปล่า 2 ถ้วย
  • น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย
  • โซดา 1 ขวด ( แช่เย็น )
  • น้ำมะนาวสด 2-3 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำน้ำขิง

1. เทขิงสับละเอียดและน้ำเปล่าตั้งไฟอ่อนๆ ประมาณ 45 นาที
2. ปิดไฟและนำฝามาปิด ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 20 นาที
3. เทใส่ภาชนะ เช่น หม้อ แล้วกรองแยกน้ำและเนื้อออกจากกัน
4. นำน้ำขิงที่ได้เติมน้ำตาลลงไป ตั้งไปปานกลางคนให้น้ำตาลละลายคนให้เข้ากัน ปิดไฟรอให้เย็น
5. เทน้ำขิงใส่แก้ว พร้อมเติมโซดา และบีบน้ำมะนาวลงไปตามต้องการ

การบริโภคขิง 1 – 2 กรัมต่อวัน ซึ่งขิงมีคุณสมบัติสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดเซลล์มะเร็งบางชนิดในระยะยาวได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดความไวต่อการรักษาด้วยวิธีให้ยาเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีของผู้ป่วยมะเร็ง และยังสามารถช่วยควบคุมน้ำหนัก และลดน้ำหนักได้ นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าขิงสดสามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ขิงสามารถยับยั้งและปิดกั้นเชื้อไวรัสต่าง ๆ ไม่ให้ติดกับเยื่อบุทางเดินหายใจจากการสูดดมเข้าไป

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ขอขอบคุณคลิปสาระประโยชน์จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

11 Proven Health Benefits of Ginger (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.healthline.com [26 มีนาคม 2563].

The health benefits of ginger (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.bbcgoodfood.com [26 มีนาคม 2563].

13 Health Benefits of Ginger + Side Effects (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://selfhacked.com [26 มีนาคม 2563].

ปฏิบัติตามอย่างถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันไวรัสโควิด-19

0
ปฏิบัติตามอย่างถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันไวรัสโควิด 19
หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์เจล
ปฏิบัติตามอย่างถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันไวรัสโควิด 19
เส้นทางหลักที่ส่งผ่านการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด-19ไปยังบุคคลอื่น สถานที่สาธารณะ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ

ปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันไวรัสโควิด-19

ปฏิบัติตามอย่างถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันไวรัสโควิด-19 การรักษาความสะอาดมือของเรา และสวมใส่หน้ากากอนามันเป็นสองในขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่เราสามารถทำได้ด้วยตนเอง สาเหตุของการติดเชื้อโควิด-19 จากสถิติล่าสุดทางการแพทย์พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ( Covid-19 ) เพิ่มขึ้นประมาณ 378,600 จากประเทศทั่วโลก สาเหตุหลักเกิดจากมือ ปาก จมูกของเรา ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่ส่งผ่านการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด-19ไปยังบุคคลอื่น คือ สถานที่สาธารณะ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ดังนั้นการล้างมือ และการสวมใส่หน้ากากอนามัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดในตอนนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่เป็นอันตราย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19ได้

วิธีการป้องกันไวรัสโควิด-19 อย่างถูกต้อง

1. สวมใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันเชื้อโรคที่มีโมเลกุลขนาดเล็กได้

2. สวมใส่แว่น เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ในละอองฝอยจากการไอ จาม เสมหะหรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ

3. หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์เจล ด้วย 7 ขั้นตอนต่อไปนี้

  • ฝ่ามือถูฝ้ามือ
  • ฝ่ามือถูบริเวณหลังมือสลับกันทั้ง 2 ข้าง
  • ประกบฝ่ามือถูซอกนิ้วสลับกันทั้ง 2 ข้าง
  • ฝ่ามือถูหลังมือสลับกันทั้ง 2 ข้าง
  • ถูนิ้วหัวแม่มือให้รอบทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง
  • ขัดฝ่ามือด้วยปลายนิ้วทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง
  • ถูกรอบข้อมือทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง

4. ควรทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ งดทานอาหารสุกๆ ดิบๆ และเนื้อสัตว์ป่า

5. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ช้อน แก้วน้ำ ภาชนะใส่อาหาร ผ้าเช็ดหน้า เสื้อผ้า เป็นต้น

6. ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม ผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัด

7. หลีกเลี่ยงไปในสถานที่แออัด งดเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงโรคระบาด

8. ไม่นำมือสัมผัสกับตา จมูก ปาก

เส้นทางหลักที่เป็นการการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด-19ไปยังบุคคลอื่น คือ สถานที่สาธารณะ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ

ผัก ผลไม้ และสมุนไพร 12 ชนิด ที่ป้องกันไวรัสโควิด-19

1. ฟ้าทะลายโจร มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการอักเสบภายในร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการเจ็บคอจากไข้หวัด

2. มะขามป้อม มีสรรพคุณบรรเทาอาการหวัด ไอ เจ็บคอ ช่วยละลายเสมหะ ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค ภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นต้น

3. ขิง มีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ รักษาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศรีษะ

4. ผลมะแว้ง มีสรรพคุณป้องกันระบบหายใจ ช่วยบรรเทาอาการไอ ลดการอักเสบ ละลายและขับเสมหะ

5. มะนาว มีสรรพคุณลดไข้ บรรเทาอาการไอและเจ็บคอ ช่วยละลายเสมหะ ลดการอักเสบ ช่วยลดไข้แก้กระหายน้ำ

6. มะขามแก่ สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไอ บรรเทาอาการไข้ ทำให้ชุ่มคอ ชื่นใจ ละลายเสมหะ

7. น้ำผึ้ง สรรพคุณเพิ่มความชุ่มคอ ช่วยบรรเทาอาการไอ และแก้อาการเจ็บคอ บรรเทาอาการแพ้อากาศ

8. ผลดีปลี สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดอาการคันคอ ลดอาการไอ ช่วยลดไข้หวัด ลดอาการปวดเมื่อย ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด

9. ผลพริกไทย สรรพคุณแก้ไอ ช่วยให้จมูกโล่งหายใจสะดวก ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรค

10. กระเทียม มีรสเผ็ดร้อนสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยขยายทางเดินหายใจทำให้หายใจสะดวกขึ้น

11. มะรุม สรรพคุณใช้ลดไข้ แก้ไอและบรรเทาอาการไอเรื้อรัง ลดอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรค ช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคโพรงจมูกอักเสบ

12. กระเจี๊ยบแดง มีสรรพคุณช่วยให้ชุ่มคอ ช่วยบรรเทาอาหารไอลดอาการระคายเคือง ช่วยป้องกันการอักเสบอย่างไรก็ตามหากพบว่าตนเองมีอาการปวดหัว มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หายใจลำบาก ไอ จาม มีน้ำมูก หรือมีอาการเหนื่อยหอบ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 ( Covid-19 )

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

มะรุม สรรพคุณทางยาประโยชน์และผลข้างเคียงจากงานวิจัยม.มหิดล (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://siamherbs.blogspot.com [24 มีนาคม 2563]

13 สมุนไพรแก้ไอ ตำรับยาแผนไทยขับเสมหะ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.repaircheewit.com [25 มีนาคม 2563]

“มะรุม” พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านสารพัดประโยชน์และมากสรรพคุณทางยา นานๆ ทานครั้งดี! ทานบ่อยระวัง “ตับ” พัง?! (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://mgronline.com [25 มีนาคม 2563]

วัยทองในผู้ชาย ( Male Menopause ) มีอาการอย่างไร

0
วัยทองในผู้ชาย ( Male Menopause ) มีอาการอย่างไร
วัยทองในผู้ชาย คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ชายช่วงอายุ 45 - 50 ปีลดต่ำลงทำให้เกิดการขาดฮอร์โมน มีความสำคัญต่อระบบกระดูก มวลกล้ามเนื้อ ความจำ และระบบไหลเวียนโลหิต
วัยทองในผู้ชาย ( Male Menopause ) มีอาการอย่างไร
วัยทองในผู้ชาย คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ชายลดต่ำลงทำให้เกิดการขาดฮอร์โมน มีความสำคัญต่อระบบกระดูก มวลกล้ามเนื้อ ความจำ และระบบไหลเวียนโลหิต

วัยทองในผู้ชาย

ชายวัยทอง ( Male Menopause ) คือ วัยทองในผู้ชายจะเริ่มต้นในช่วงอายุ 45 – 50 ปี โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเพศชายที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทางการแพทย์เรียกว่า ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ( Testosterone ) เป็นฮอร์โมนผู้ชายที่มีความสำคัญต่อระบบกระดูก มวลกล้ามเนื้อ ความจำ และระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายผู้ชาย เมื่อชายวัยทองและผู้สูงอายุมีอายุมากขึ้นหลายคนมีอาการของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ ซึ่งเกิดจากการผลิตฮอร์โมนน้อยลงส่งผลทำให้ขาดฮอร์โมนในผู้ชายวัยทองนั่นเอง ในร่างกายผู้ชายปกติและจะมีฮอร์โมนเพศชายอยู่ประมาณ 300 – 1,100 ( ng / dl ) นาโนกรัมต่อเดซิลิตร

การเปลี่ยนแปลงในฮอร์โมนเพศในผู้ชายวัยทองก่อนจะเข้าสู่วัยทองของผู้ชายระดับเทสโทสเทอโรนในเลือดเพศชายลดลงประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ทุก ๆ ปีหลังจากอายุ 30 ปี เมื่อผู้ชายอายุ 70 ปีระดับฮอร์โมนเพศชายอาจลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นผลกระทบที่ตามมา คือ การตอบสนองต่อการหลั่งของลูกอัณฑะต่ออวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชายวัยทองจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ตารางวัดระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในผู้ชายแต่ละช่วงอายุ ดังนี้

อายุ ฮอร์โมนเพศชายทั้งหมด ฮอร์โมนเพศชายอิสระ ฮอร์โมนเพศชายทางชีวภาพ
40 – 49 ปี 252 – 916 5.3 – 26.3 101 – 499
50 – 59 ปี 215 – 878 4.2 – 22.2 80 – 420
60 – 69 ปี 196 – 859 3.7 – 18.9 69 – 356
70 – 79 ปี 156 – 819 2.2 – 14.7 41 – 279

สัญญาณเตือนและอาการทั่วไปของวัยทองในเพศชาย

การเปลี่ยนแปลงในการทำงานทางเพศ

  • ความต้องการทางเพศที่ลดลง
  • การแข็งตัวของอวัยวะเพศช้าลง
  • ภาวะมีบุตรยาก
  • อัณฑะมีขนาดเล็กลง
  • จำนวนอสุจิและสเปิร์มลดลง

การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการนอนหลับ

  • อาการนอนไม่หลับ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • อาการซึมเศร้า

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนง่าย
  • การสูญเสียเส้นผม ผมบาง ศีระษะล้าน
  • การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
  • กระดูกเปาะบาง กระดูกพรุน
  • อาการร้อนวูบวาบ
  • เบื่ออาหาร

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ขี้โมโห
  • หลงลืม ไม่มีสมาธิ
    อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานชนิดที่ 2 แพทย์อาจต้องตรวจเพื่อแยกสาเหตุของอาการเหล่านี้

วัยทองในผู้ชาย คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ชายลดต่ำลง ทำให้เกิดการขาดฮอร์โมน

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของวัยทองในผู้ชายที่พบบ่อย

  • การลดลงของฮอร์โมนผู้ชาย
  • ระดับคอเลสเตอรอลสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • น้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
  • การออกกำลังกายทำได้น้อยลง
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน
  • รับประทานอาหารประเภทน้ำตาลและไขมันมากเกินไป
  • ภาวะความเครียด

แบบทดสอบประเมินตนเองมีความเสี่ยงวัยทองในผู้ชาย

อย่างไรก็ตามหากไม่แน่ใจว่าตนเองเข้าสู่ภาวะ ” วัยทองในผู้ชาย ” แล้วหรือไม่ ท่านลองทำแบบทดสอบ 10 ข้อนี้ประเมินตนเอง มีความเสี่ยง 7 ใน 10 ข้อนี้หรือไม่ ก่อนไปพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยัน
1. คำถาม คุณมีความรู้สึกว่าส่วนสูงลดลงหรือไม่
2. คำถาม คุณมีความต้องการทางเพศลดลงหรือไม่
3. คำถาม คุณมีความรู้สึกว่าอ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรงหรือไม่
4. คำถาม คุณมีความรู้สึกว่าพละกำลังและความอดทนลดลงหรือไม่
5. คำถาม คุณมีความรู้สึกว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่
6. คำถาม คุณมีความรู้สึกว่าความสามารถในการเล่นกีฬาลดลงหรือไม่
7. คำถาม คุณมีความรู้สึกว่าการแข็งตัวของอวัยวะเพศลดน้อยลงหรือไม่
8. คำถาม คุณมีความรู้สึกเศร้า เหงา เครียดและไม่พึงพอใจต่อชีวิตหรือไม่
9. คำถาม คุณมีความรู้สึกว่ามักง่วง และหลับง่ายหลังทานอาหารเย็นหรือไม่
10. คำถาม คุณมีความรู้สึกว่าความสนุกสนาน ความร่าเริงในชีวิตลดน้อยลงหรือไม่

การวินิจฉัยวัยทองในผู้ชาย

ในการวินิจฉัยผู้ชายวัยทองแพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับอาการที่แสดงออกมาของฮอร์โมนเพศชายต่ำ ร่วมกับการประเมินจากแบบสอบถาม การตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการเจาะเลือดหาระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนเพื่อยืนยันการเข้าสู่วัย
ทองในผู้ชายต่อไป

การรักษาและรับมือกับผู้ชายวัยทอง

ก่อนอื่นแพทย์จะประเมินจากหลักฐานการขาดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเพศชายที่สามารถบ่งชี้ว่าเข้าสู่ “ วัยทองในผู้ชาย ” พบว่าถ้าระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ แพทย์จะรักษาตามอาการ เช่น
1. บำบัดด้วยทดแทนฮอร์โมนเพศชาย อาจมีผลข้างเคียง เช่น ผิวมัน ขนาดอัณฑะหดตัว ปริมาณอสุจิลดลง
2. ให้ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับ
3. บำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น การออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่ให้ความตื่นเต้น และมีความสุข เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลง เชียร์กีฬา

อาหารสำหรับผู้ชายวัยทอง

1. รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของกระดูก ฟัน กล้ามเนื้อ และหัวใจ เช่น ไข่ นม งา คะน้า ข้าวโอ๊ด ปลาซาร์ดิน ปลาเล็ก ( ที่มีกระดูก ) บร็อคโคลี่ และพืชตระกูลถั่ว ร่างกายควรได้รับในปริมาณ 800 – 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน

2. รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กควรรับประทานอย่างน้อย 3 มื้อต่อวัน พบธาตุเหล็กในเนื้อแดงสด เครื่องในสัตว์หรือตับ ไก่ ปลา ไข่แดง หอยกาบ หอยนางรม หอยแมลงภู่ ผักใบเขียว อัลมอนด์ ซีเรียล ข้าวโอ๊ต ถั่วแดง ถั่วดำ แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ และจมูกข้าวสาลี

3. รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี ช่วยสร้างฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ป้องกันโรคหัวใจ พบมากในปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาซาร์ดีน ไข่ และนม

4. รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยใยอาหารช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ดีขึ้นในผู้ชายวัยทอง เช่น แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย ส้ม ควรได้รับใยอาหารในประมาณ 21 กรัมต่อวัน

5. รับประทานไขมันชนิดดี หรือไขมันไม่อิ่มตัวที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 , 6, 9 เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว น้ำมันดอกทานตะวัน

6. รับประทานช็อกโกแลต อุดมไปด้วยสารฟินิลเอทิลามีนที่มีผลต่อปฏิกิริยาทางอารมณ์ ความรู้สึก ทำให้กระฉับกระเฉง เพิ่มพลังงาน ช็อกโกแลตมีสารเอ็นโดรฟิน ช่วยกระตุ้นประสาทการรับกลิ่นทำให้รู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาอาการเมื่อยล้า ช่วยให้สมองหลั่งฮอร์โมนความสุข รู้สึกตื่นเต้น ช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ถึงการรักษาอาการผู้ชายเข้าสู่วัยทอง หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารเสริมต่าง ๆ ในการรักษาวัยทอง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายโดยเฉพาะคนเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว แพทย์สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากตัวเลือกการรักษาที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

นพ. ศุวพงษ์ ตันทสุทธานนท์. ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายในชายสูงอายุ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.srth.moph.go.th [19 มีนาาคม 2563]

The ‘male menopause’ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.nhs.uk [19 มีนาาคม 2563]

Male Menopause (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.medicinenet.com

What is Testosterone? สืบค้นจาก : https://www.livescience.com

แอลคาร์นิทีน ( L- Carnitine ) มีประโยชน์อย่างไร

0
แอลคาร์นิทีน ( L- Carnitine ) มีประโยชน์อย่างไร
แอลคาร์นิทีน ( L- Carnitine ) มีหน้าที่ลำเลียงกรดไขมันไปยังลำไส้ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานในร่างกาย ช่วยเร่งการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อจากการอักเสบและลดน้ำหนัก
แอลคาร์นิทีน ( L- Carnitine ) มีประโยชน์อย่างไร
แอลคาร์นิทีน ( L- Carnitine ) มีหน้าที่ลำเลียงกรดไขมันไปยังลำไส้ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานในร่างกาย ช่วยเร่งการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อจากการอักเสบและลดน้ำหนัก

แอลคาร์นิทีน

แอลคาร์นิทีน ( L- Carnitine ) คือสารธรรมชาติที่พบในอาหาร และร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากกรดอะมิโนไลซีนและเมไทโอนีน มีหน้าที่ลำเลียงกรดไขมันไปยังลำไส้ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานในร่างกายจะพบว่าแอลคาร์นิทีนความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงที่มีการออกกำลังกายอย่างหนัก เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานช่วยเร่งการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อจากการอักเสบ ช่วยเพิ่มความทนทานต่อการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในแอลคาร์นิทีนในร่างกายจะลดลงเลื่อยๆอย่างรวดเร็วในระหว่างการออกกำลังกายเบาๆ หรือออกกำลังกายอย่างหนักการทำงานของหัวใจ สมอง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และกระบวนการอื่นๆ ของร่างกาย

รูปแบบของแอลคาร์นิทีน

  • D – carnitine คือ รูปแบบที่ไม่ได้ใช้งานนี้อาจทำให้เกิดการขาดแอลคาร์นิทีนในร่างกายของคุณ โดยการยับยั้งการดูดซึมของรูปแบบอื่น ๆ ที่มีประโยชน์มากขึ้น
  • Acetyl – L- carnitine คือ ช่วยเปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังงาน ช่วยป้องกันระบบประสาทเพิ่มการทำงานของสมองด้านความจำ
  • Propionyl – L- carnitine คือ เป็นสารเคมีที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายสามารถเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานของหัวใจ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและกระบวนการอื่นๆ ของร่างกาย รวมทั้งใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว อาการเจ็บหน้าอก และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • L- carnitine fumarate คือ เป็นกรดอะมิโนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งช่วยลำเลียงกรดไขมันเข้าไปในเซลล์ของไมโทคอนเดรีย ซึ่งไขมันส่วนเกินสามารถสลายตัวและเปลี่ยนเป็นพลังงาน กรดอะมิโนที่สำคัญนี้ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการเช่นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดภาวะโรคหัวใจและเพิ่มการทำงานของสมอง
  • L- carnitine L-tartrate คือ เป็นสารสำคัญที่มีบทบาทในการเผาผลาญอาหารที่โดดเด่นที่สุดในการขนส่งกรดไขมันสายโซ่ยาวเข้าสู่เมทริกซ์ยลสำหรับการเกิดออกซิเดชันแอลคาร์นิทีน ซึ่งได้มาจากแหล่งอาหารหรือจากการเผาผลาญไลซีนและเมทไธโอนีน
  • D – Carnitine คือ เป็นแอนะล็อกของ L- carnitine ที่อยู่ในช่วง 0.25-1 mM ยับยั้งการดูดซึมของ L- carnitine จากเซลล์

แอลคาร์นิทีน ( L- Carnitine ) มีหน้าที่ลำเลียงกรดไขมันไปยังลำไส้ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานในร่างกาย ช่วยเร่งการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อจากการอักเสบ

แหล่งอาหารจากธรรมชาติที่มีแอลคาร์นิทีนสูง

แอลคาร์นิทีนพบมากในเนื้อแดงนอกจากนี้ยังพบได้จากแหล่งธรรมชาติในอาหารหลาย ๆ ชนิด เช่น เนื้อแดง ปลา ไก่ นม เมล็ดพืชตระกูลถั่ว ธัญพืชและผัก เช่น งาดำ อาร์ติโชค บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม กระเจี๊ยบ แอปริคอต ข้าวโพด ข้าวโอ๊ด ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสาลี ลูกเดือย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแขก ถั่วลิสง ปริมาณแอลคาร์นิทีนที่ร่างกายจะได้รับจากการรับประทานอาหาร ดังนี้

  • สเต็กเนื้อสุก 4 ออนซ์ เท่ากับ 56 – 162 มิลลิกรัม
  • เนื้อดินสุก 4 ออนซ์ เท่ากับ 87 – 99 มิลลิกรัม
  • นมสด 8 ออนซ์ เท่ากับ 227 มิลลิกรัม
  • ปลาคอดสุก 4 ออนซ์ เท่ากับ 4 – 7 มิลลิกรัม
  • อกไก่สุก 4 ออนซ์ เท่ากับ 3 – 5 กรัม
  • ไอศกรีม 1/2 ถ้วย เท่ากับ 3 มิลลิกรัม
  • เชดดาร์ชีส 2 ออนซ์ เท่ากับ 2 มิลลิกรัม
  • ขนมปังโฮลวีต 2 ชิ้น เท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม
  • หน่อไม้ฝรั่งสุก 1/2 ถ้วย เท่ากับ 0.1 มิลลิกรัม

จากการศึกษาพบว่าการดูดซึมและการเผาผลาญในผู้ใหญ่ที่รับประทานอาหารผสมที่มีเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ๆ จะได้รับแอลคาร์นิทีนประมาณ 60 – 180 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในคนทานมังสวิรัติได้รับน้อยกว่ามากประมาณ 10 – 12 มิลลิกรัม เนื่องจากชาวมังสวิรัติหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกชนิด ดังนั้น L- carnitine 54 – 86% จะดูดซึมไปยังลำไส้เล็กและเข้าสู่กระแสเลือดมากกว่าการ เมื่อเทียบกับการทานแบบอาหารเสริมใช้ได้เพียง 14-18% เท่านั้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากแอลคาร์นิทีน

1. ช่วยเพิ่มความทนทานต่อการออกกำลังกายและเพิ่มพลังงานให้แก่นักกีฬา เช่น นักวิ่งทางไกล นักว่ายน้ำ หรือนักปั่นจักรยาน
2. ช่วยลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว ควรต้องทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สูงสุด
3. ช่วยฟื้นฟูกระตุ้นการสร้างมวลกล้ามเนื้อ และป้องกันความเสียหายของกล้ามเนื้อในการออกกำลังกาย เล่นกีฬา และนักกีฬาได้เช่นกัน
4. ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ลดการสะสมของไขมัน
5. ช่วยเพิ่มการทำงานของสมอง และป้องกันความเสียหายของเซลล์สมองในผู้สูงอายุ
6. ช่วยควบคุมอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2
7. ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
8. ช่วยลดภาวะหัวใจล้มเหลว
9. ช่วยลดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
10. ช่วยลดอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
11. ช่วยลดระดับความดันโลหิตสูง
12. ช่วยลดความเครียด
13. ช่วยลดความเหนื่อยล้าของร่างกายหลังการออกกำลังกาย
14. ช่วยขยายหลอดเลือด
15. ช่วยลดการสะสมของกรดแลคติคในกล้ามเนื้อ
16. ช่วยเพิ่มการจัดเก็บออกซิเจน
17. ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

ปริมาณในการรับประทานแอลคาร์นิทีนที่เหมาะสมต่อร่างกาย

การรับประทานแอลคาร์นิทีนเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม คือ 2 กรัมต่อวัน จะช่วยเพิ่งพละกำลังในนักกีฬา และยังช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อึด ทนทานต่อการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง

ผลข้างเคียงในการรับประทานแอลคาร์นิทีน

โดยทั่วไปแล้วเมื่อรับประทานแอลคาร์นิทีนตามคำแนะนำในปริมาณ 2 กรัมต่อวันถือว่าปลอดภัย มีผลข้างเคียงในเชิงลบเล็กน้อย อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียนและท้องเสีย เมื่อทานในปริมาณมากเกินไป ผลข้างเคียงที่พบได้ยาก เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินปัสสาวะและอาการชักในผู้ที่มีประวัติเคยชักมาก่อน

การขาดแอลคาร์นิทีนจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย

ภาวะขาดแอลคาร์นิทีนมีอยู่ 2 ประเภท การขาดแอลคาร์นิทีนในระดับปฐมภูมิเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งมักจะปรากฏเมื่ออายุ 5 ปี ด้วยอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การขาดแอลคาร์นิทีนอาจเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติบางอย่าง เช่น ไตวายเรื้อรัง หรือเงื่อนไขอื่นร่วมด้วยอาจเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะบางอย่างที่ลดการดูดซึมแอลคาร์นิทีน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

L-CARNITINE – IS IT GOOD OR BAD FOR YOUR HEART? (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.hammernutrition.com [18 มีนาคม 2563].

Carnitine (ออนไลน์).สืบค้นจาก :https://ods.od.nih.gov [18 มีนาคม 2563].

Your Expert Guide To L-Carnitine (ออนไลน์).สืบค้นจาก :https://www.bodybuilding.com [18 มีนาคม 2563].

คำถาม ยอดนิยมเกี่ยวกับผู้หญิงวัยทอง

0
คำถาม ยอดนิยมเกี่ยวกับผู้หญิงวัยทอง
อาการวัยทองหรือหมดประจำเดือนเป็นเรื่องที่ผู้หญิงหลายคนอย่างรู้และมีคำถามเพื่อตรวจสอบตนเองและวิธีการดูแลเมื่ออยู่ในช่วงวัยทอง
คำถาม ยอดนิยมเกี่ยวกับผู้หญิงวัยทอง
อาการวัยทองหรือหมดประจำเดือนเป็นเรื่องที่ผู้หญิงหลายคนอย่างรู้และมีคำถามเพื่อตรวจสอบตนเองและวิธีการดูแลเมื่ออยู่ในช่วงวัยทอง

คำถาม-คำตอบ ผู้หญิงวัยทอง

1. คำถาม วัยทอง คืออะไร

ตอบ ช่วงเวลาที่ไม่มีประจำเดือนหยุดอย่างถาวรและผู้หญิงวัยทองจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกต่อไป เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยทองหลังจากผ่านไปหนึ่งปีเต็ม ( 12 เดือน ) นับตั้งแต่วันที่เป็นประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณ

2. คำถาม จะรู้ได้อย่างไรว่าอยู่ในช่วงวัยทอง ?

ตอบ เมื่อร่างกายของผู้หญิงเข้าสู่วัยทองมีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงนั้นรังไข่จะหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ( Estrogen ) และฮอร์โปรเจสเตอโรน ( Progesterone ) ทำงานผิดจากปกติทำให้ไม่ตกไข่ทุกเดือน ผู้หญิงบางคนไม่เป็นประจำเดือน 2 – 3 เดือนหรือมีรอบเดือนที่สั้นหรือยาวผิดปกติ ช่วงเวลานั้นผู้หญิงหลายคนอาจมีอาการร้อนวูบวาบ และนอนไม่หลับอยู่บ่อยครั้ง

3. คำถาม วัยทองเริ่มอายุเท่าไหร่ ?

ตอบ ผู้หญิงวัยทองพบบ่อยโดยเฉลี่ยในช่วงอายุ 49 – 55 ปี แต่วัยทองสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงอายุน้อยประมาณ 30 – 45 ปี หรือที่เรียกว่า “ วัยทองก่อนวัย ”

4. คำถาม อาการวัยทองในผู้หญิงที่สังเกตได้มีอะไรบ้าง ?

ตอบ ผู้หญิงจะมีสัญญาณเตือนก่อนโดยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี ก่อนเข้าสู่วัยทองอย่างถาวรและไม่มีประจำเดือนอีกเลย อาการพบบ่อย คือ ไม่มีประจำเดือน ร้อนวูบวาบ ไม่สบายตัว นอนไม่หลับ มีเหงื่อออกตอนกลางคืน เครียด ซึมเศร้า เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย ช่องคลอดแห้ง ผิวแห้ง มีอาการคัน อ้วนง่าย ไม่มีสมาธิ หลงลืมง่าย อารมณ์ขึ้นลง ผมร่วงและบาง มีความต้องการทางเพศน้อยลง เป็นต้น

5. คำถาม ผู้หญิงวัยทอง ควรไปพบแพทย์เมื่อใด ?

ตอบ เมื่อคุณเริ่มมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติของประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือมีอาการวูบวาบ นอนไม่หลับติดต่อกันนานๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ชัด

6. คำถาม วิธีการรักษาผู้หญิงวัยทองมีอะไรบ้าง ?

ตอบ แพทย์จะแนะนำยาเพื่อช่วยให้อาการของผู้หญิงวัยทองดีขึ้นใช้ยาที่เหมาะกับแต่ละบุคคล เช่น
– การคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนขนาดต่ำ เพื่อลดอาการวูบวาบ ลดอาการช่องคลอดแห้ง และปรับให้อารมณ์แปรปรวนดีขึ้น
– การบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศหญิงฮอร์โมนเอสโตรเจน จะได้ผลดีมากในปริมาณที่เหมาะสม เป็นระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ช่วยรักษาอาการต่างๆ หลังหมดประจำเดือน
– การรับประทานยานอนหลับ เพื่อลดความเครียด ทำให้การนอนหลับดีขึ้น ลดอาการอ่อนแรง
– บำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น ปรับพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ดื่มน้ำมากๆ

7. คำถาม ทำไมมีอาการเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ ?

ตอบ เพราะระดับเอสโตรเจนในร่างกายลดน้อยลง เป็นสาเหตุทำให้เยื่อบุผิวช่องคลอดแห้ง มีอาการคันติดเชื้อง่าย สารคัดหลั่งน้ำหล่อลื่นลดลงทำให้รู้สึกเจ็บแสบได้

8. คำถาม อาหารที่เหมาะสำหรับวัยทอง ?

ตอบ อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นวัยทองจะเป็นอาหารจำพวก
1. เสริมด้วยโภชนาการทางอาหารธัญพืช ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต เห็ดหูหนูขาว ข้าวไม่ขัดสี ถั่วเขียว ถั่วแดง ลูกเดือย งาดำ ฟักทอง แครอท ข้าวโพด ถั่วเหลือง ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ โยเกิร์ตไขมันต่ำ น้ำเต้าหู้ ซึ่งให้พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และมีสารไพโตรเอสโตรเจน ซึ่งช่วยลดความแปรปรวนของอารมณ์
2. เสริมด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อกระดูก นมสด ปลาเล็กปลาน้อย ปลาซาร์ดีน กุ้งแห้ง ซึ่งมีแคลเซียม วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร มีสารไพโตรเอสโตรเจน และฟอสฟอรัส อีกทั้งต้องกินผลไม้ที่มีวิตามินซีและวิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึม และลดการสลายตัวของแคลเซียมในกระดูกป้องกันกระดูกพรุน

9. คำถาม อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับวัยทอง ?

ตอบ อาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนย ครีมเทียม ชีส ไขมันพืช เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ ชา พืชและสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน เป็นต้น

10. คำถาม ฮอร์โมนทดแทน คืออะไร ?

ตอบ ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดสกัดจากธรรมชาติ ( Bio-identical Hormone ) ที่มีโครงสร้างเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย ช่วยลดอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ ใจสั่น ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ทำให้ผิวพรรณสดใสขึ้น

11. คำถาม ผู้หญิงวัยทองสามารถตั้งครรภ์ได้หรือไม่ ?

ตอบ ผู้หญิงบางคนสามารถตั้งครรภ์ได้ในช่วงวัยทอง เพราะในระยะ 2 – 3 เดือนของการปรับเปลี่ยนฮอร์โมนในรังไข่ อาจมีการตกไข่ได้ในบางเดือนซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเมื่อใดที่คุณจะตกไข่ หากคุณไม่ต้องการตั้งครรภ์ควรใช้วิธีกินยาคุมกำเนิดต่อไปจนกระทั่งหนึ่งปีเต็มหลังจากการเป็นประจำเดือนครั้งสุดท้านของคุณ หรือปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการคุมกำเนิดแบบถาวร

12. คำถาม ผลข้างเคียงหลังการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน ?

ตอบ ส่วนใหญ่พบได้ในช่วง 3 – 6 เดือนแรกที่เริ่มใช้ฮอร์โมนทดแทน คือ เลือดออกทางช่องคลอด มีอาการเจ็บเต้านม ปวดศีรษะแบบไมเกรน น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

13. คำถาม ผู้หญิงวัยทองควรกินยาคุมกำเนิดต่อไปหรือไม่ ?

ตอบ ควรกินยาคุมกำเนิดต่อเนื่องไปอีก 1 ปี ถึงแม้ว่าจะไม่มีประจำเดือนเลยก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ในช่วงวัยทองในผู้หญิง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Menopause (ออนไลน์) สืบค้นจาก : https://www.thaihealth.or.th [ 5 มีนาคม 2563].

60 คำถามเกี่ยวกับสตรีวัยทอง (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://budhosp.tripod.com [ 5 มีนาคม 2563].

รักษาอาการ วัยทอง แบบวิธีธรรมชาติ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://goodlifeupdate.com [ 5 มีนาคม 2563].

10 สัญญาณเตือนผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง ( Menopause )

0
10 สัญญาณเตือนผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง ( Menopause )
วัยทอง เป็นระยะเริ่มของการหมดประจำเดือนทำให้สตรีมีประจำเดือนมาผิดปกติ ร่วมกับมีอาการต่าง ๆ ทางร่างกาย
10 สัญญาณเตือนผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง ( Menopause )
วัยทอง เป็นระยะเริ่มของการหมดประจำเดือนทำให้สตรีมีประจำเดือนมาผิดปกติ ร่วมกับมีอาการต่าง ๆ ทางร่างกาย

วัยทอง วัยหมดประจำเดือน

วัยทอง ( Menopause ) หรือวัยหมดประจำเดือน คือ ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของคุณผู้หญิงทางร่างกายและจิตใจ เกิดจากรังไข่หยุดผลิตไข่ทำให้ขาดฮอร์โมนเพศหญิง ส่งผลทำให้ไม่มีประจำเดือนนานกว่า 12 เดือน ซึ่งวัยทองมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 49 – 55 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายแบ่งออกได้ 3 ระยะ คือ วัยใกล้หมดประจำเดือน ( perimenopause ) วัยหมดประจำเดือน ( menopause ) และวัยหลังหมดประจำเดือน ( postmenopause )

สาเหตุของวัยทอง

วัยทองจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น สาเหตุของวัยทองเกิดจากรังไข่หยุดการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นตัวควบคุมการตกไข่ทำให้มีประจำเดือนปกติทุกเดือน ซึ่งวัยหมดประจำเดือนเกิดขึ้นจากรังไข่หยุดทำงานไม่ผลิตไข่ และหยุดการมีประจำเดือนอย่างถาวรส่งผลทำให้อวัยวะภายในร่างกายเสื่อมสภาพลงและมีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากขึ้นตามมาอีกด้วย อาการวัยทองที่พบบ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ดังนี้

อาการวัยทองในผู้หญิง

  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือขาดหา
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดตาข้อต่อ กระดูกพรุน
  • มีภาวะช่องคลอดแห้ง ขาดความชุ่มชื้น มดลูกหย่อยยาน
  • มีอาการวูบวาบ หนาวๆ ร้อนๆ ตามร่างกาย
  • อารมณ์ทางเพศลดน้อยลง
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย
  • มีภาวะซึมเศร้า
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ไม่มีสมาธิ หลงลืมง่าย
  • ผิวหนังแห้ง คัน หรือแพ้ง่าย
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • มีอาการนอนไม่หลับ
  • ผมร่วงและบางลง

การวินิจฉัยของวัยทอง

แพทย์จะทำการซักประวัติช่วงมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายและการไม่มีประจำเดือนเป็นระยะเวลา 1 ปี ตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาเพื่อความถูกต้องแม่นยำและยืนยันการเข้าสู่ภาวะวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนนั่นเอง

การรักษา

วัยทองเป็นการบวนการทางธรรมชาติที่แสดงออกได้หลายอย่างแต่ละคนจะมีความรุนแรงของอาการแตกต่างกันไป แพทย์จะรักษาตามอาการของแต่ละคนโดยมีวิธีดังต่อไปนี้

  • ใช้ฮอร์โมนทดแทน ( Hormone Replacement Therapy – HRT ) หรือที่เรียกว่ารักษาด้วยฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน เพื่อเป็นการทดแทนฮอร์โมนที่ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นมาได้อีก ช่วยรักษาและลดอาการร้อนวูบวาบตามร่างกาย ลดการตกขาว ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม และโรคหัวใจ ใช้ในปริมาณที่เหมาะสมต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์
  • ใช้ยากลุ่มยาต้านเศร้า ( Antidepressant ) เพื่อรักษาภาวะซึมเศร้า ลดความตึงเครียด ลดอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และใช้เจลเพื่อลดอาการช่องคลอดแห้งเพิ่มความชุ่มชื้น

ภาวะแทรกซ้อนในวัยทอง หลังหมดประจำเดือน

เมื่อเข้าสู่วัยทองหลังหมดประจำเดือนสูญเสียฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้หญิงอย่างมากเมื่ออายุมากขึ้น หลังวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงมีความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนพบเห็นบ่อย คือ

  • โรคกระดูกพรุน
  • โรคหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคมะเร็งเต้านม
  • โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
  • โรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม
  • ผิวแห้งกร้าน แก่เร็ว เกิดริ้วรอยมากขึ้น
  • การเสื่อมสภาพของจอประสาทตา
    นอกจากนี้ คุณผู้หญิงเมื่อย่างเข้าสู่วัยทองควรใส่ใจดูแลสุขภาพในด้านต่างๆ ทั้งการออกกำลังกาย ด้านสุขภาพจิต การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่เสริมสร้างแคลเซียม ปรับสมดุลให้แก่ร่างกายเน้นอาหารประเภท ผักใบเขียวทุกชนิด ฝักทอง เก๋ากี้ เห็ดหูหนูขาว ถั่วเหลือง ข้าวกล้อง งาขาว งาดำ นม กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น

วัยทอง เป็นระยะเริ่มของการหมดประจำเดือนทำให้สตรีมีประจำเดือนมาผิดปกติ ร่วมกับมีอาการต่าง ๆ ทางร่างกาย

10 สัญญาณของการหมดประจำเดือน

วัยหมดประจำเดือนปกติร่างกายผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนถูกสร้างขึ้นจากรังไข่ทำให้มีประจำเดือน แต่เมื่อใดที่รังไข่หยุดผลิตฮอร์โมนส่งผลทำให้ไข่ไม่ตก และไม่ผลิตประจำเดือนเป็นเวลาติดต่อกัน 12 เดือน ผู้หญิงวัยทองพบบ่อยในช่วงอายุ 49 – 55 ปี วัยทองสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงอายุน้อยประมาณ 30 – 40 ปี หรือที่เรียกว่า “ วัยทองก่อนวัย  Premature ovarian insufficiency ( POI ) คือ ภาวะที่รังไข่ของผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ” นั้นเอง ผู้หญิงสามารถสังเกตสัญญาณเตือนจากร่างกายของตัวเองได้ว่ากำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือไม่

1. ประจำเดือนมาไม่แน่นอนเนื่องจากรังไข่ผลิตฮอร์โมนโมนเอสโตรเจนเริ่มลดลงส่งผลทำให้การตกไข่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่เลย
2. อาการร้อนวูบวาบเนื่องจากร่างกายของผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนลดลง ทำให้สมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกายบริเวณผิวหนังร้อนขึ้นกว่าปกติ
3. มีอาการนอนไม่หลับหรือหลับยาก เกิดจากการขาดฮอร์โมนทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นและมีเหงื่อไหลออกในตอนกลางคืน ปวดเมื่อยตามร่างกาย
4. มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ใจสั่น มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เกิดจากการมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป และมีระดับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนน้อยเกินไปทำให้ร่างกายเสียสมดุล
5. ปัญหาของช่องคลอดแห้ง และมีความรู้สึกทางเพศลดลง เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตน้ำหล่อลื่นลดลง ส่งผลทำให้มีอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์หรืออาจมีเลือดออกตามมาได้เช่นกัน
6. ปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ ( อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ) ส่วนใหญ่เกิดจากการหย่อนยานของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน พบบ่อยเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
7. ความเต่งตึงและชุ่มชื้นของผิวหนังลดลง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ผิวพรรณแห้งกร้าน เหี่ยวย่น ขาดความชุ่มชื้น และเต่งตึง
8. น้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนง่าย เนื่องจากกระบวนการเผาผลาญในร่างกายทำงานได้น้อยลง เกิดกระสะสมของไขมันส่วนเกินทำให้อ้วนง่าย
9. อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวหมดแรง เนื่องจากร่างกายขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย และสมอง ทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ไม่มีแรง อาจมีผลจากการนอนไม่หลับได้ด้วยเช่นกัน
10. ความจำเสื่อม หลงลืมมักเกิดในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป ความจำจะค่อยๆลดลงเป็นผลมาจากเซลล์สมองส่วนความจำ เสื่อมตัวลงเรื่อย ๆ

วิธีดูแลตัวเองในช่วงของวัยทอง

ผู้หญิงก่อนเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ซึ่งระยะของวันทองนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ

1. วัยใกล้หมดประจำเดือน ( perimenopause ) คือ มักเกิดขึ้นประมาณ 3 – 4 ปี ก่อนที่ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยทองอย่างถาวรนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวรังไข่เริ่มลดการผลิตฮอร์โมนลงเลื่อย ๆ แต่ผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนสามารถตั้งครรภ์ได้
2. วัยหมดประจำเดือน ( menopause ) คือ ช่วงเวลาที่ผู้หญิงสิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวรหรือที่เราเรียกกันว่า วัยทอง และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามธรรมชาติอีกต่อไป มักจะเกิดขึ้นระหว่างอายุ 49 – 55 ปี เนื่องจากรังไข่หยุดทำงานหยุดผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งโดยอายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนคืออายุ 51 ปี แต่ผู้หญิงประมาณ 1 ใน 100 คนจะมีภาวะหมดประจำเดือนก่อนช่วงอายุ 40 ปี เพราะรังไข่หยุดผลิตฮอร์โมนก่อนกำหนด
3. วัยหลังหมดประจำเดือน ( postmenopause ) คือ การเปลี่ยนหลังหมดประจำเดือนโดยคิดคำนวณย้อนหลังไปนับจากปีที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ดังนั้นผู้หญิงวัยทองควรดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

วัยทอง ควรดูแลตัวเองอย่างไร
เมื่อเข้าสู่วัยทองผู้หญิงเสี่ยงในด้านสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาหารมีส่วนสำคัญในการบำบัดสำหรับคนวัยทอง โดยเน้นอาหารที่สามารถเพิ่มฮอร์โมนเพศได้ดี

อาหารมีช่วยบำบัดฮอร์โมนเพศสำหรับคนวัยทอง

  • ผลไม้สด เป็นอาหารที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย ลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน ช่วยต่อรต้านอนุมูลอิสระ และสามารถควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ด้วย
  • ถั่วเหลือง มีไอโซฟลาโวนสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือนในวัยทองได้
  • เห็ดหูหนูขาว อุมดไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิดมีสารคอลลาเจน กรดอะมิโน และมีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตกระตุ้นสารเซโรโทนินของคาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินได้มากขึ้น เพื่อทำให้อารมณ์ดี ไม่หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แปรปรวน และสามารถช่วยลดความเครียดได้
  • เม็ดบัว มีวิตามินซีสูง ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต สรรพคุณเด่นช่วยในเรื่องของการบำรุงร่างกาย บำรุงเลือดสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยเพิ่มพลังลมปราณ ทำให้เลือดไหลเวียนดี
  • นม มีโปรตีนสูงช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกแข็งแรง
  • ดาร์กช็อกโกแลต มีสารฟลาโวนอยด์ รวมทั้งธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี และทองแดง ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดเครียด ช่วยเพิ่มฮอร์โมนความสุขออกมาทำให้อารมณ์ดี ผิวพรรณเปล่งปลั่งไร้ริ้วรอย
  • เก๋ากี้ ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันทำให้ไม่อ้วนง่าย ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยบำรุงเลือด ปรับระบบประจำเดือน ช่วยลดอาการช่องคลอดแห้ง ช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับในผู้หญิงวัยทอง ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงวัยทอง

  • อาหารแปรรูป ที่มีส่วนผสมของโซเดียม น้ำตาลสูง เช่น มันฝรั่งทอด คุกกี้ ขนมขบเคี้ยวต่างๆ ส่งผลทำให้เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
  • อาหารรสเผ็ด จะยิ่งไปกระตุ้นทำให้อาการวูบวาบรุนแรงมากขึ้น และทำให้เหงื่อออกมากขึ้น เช่น ในกระเพระ ใบโหระพา ใบยี่หร่า ขมิ้น และขิง เป็นต้น
  • อาหารจานด่วน เนื่องจากอาหารทีมีไขมันสูงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอ้วน และเป็นสาเหตุในการเกิดโรคหัวใจ
  • แอลกอฮอล์ เพิ่มความเสี่ยง 1.5 เท่าในการเป็นมะเร็งเต้านม และดื่มหนักสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดในผู้หญิงวัยทอง นอกจากนี้ผู้หญิงบางคนพบว่าเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ทำให้มีอาการวูบวาบมากขึ้นอีกด้วย
  • บุหรี่ สารพิษในควันบุหรี่ถูกดูดซึมผ่านปอดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ออกซิเจนในร่างกายคุณลดลง ส่งผลให้แก่เร็ว เล็บไม่แข็งแรง ลอก ฉีกง่าย ยังทำให้เกิดการอักเสบ และอุดตันของเส้นเลือดฝอยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด

คำแนะนำ

ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สำหรับวัยทอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ภาวะหมดประจำเดือนคืออะไร (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.thaihealth.or.th [ 2 มีนาคม 2563].

9 อาการ ก่อนหมดประจำเดือน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://goodlifeupdate.com [ 2 มีนาคม 2563].

( Everything You Should Know About Menopause ) ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับวัยหมดประจำเดือน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.healthline.com [ 2 มีนาคม 2563].

สตรี 45 อัพ! รับมือ “วัยทอง” (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://siamrath.co.th [ 5 มีนาคม 2563].

คุณค่าทางโภชนาการจาก ดักแด้ไหม (Silkpupa)

0
คุณค่าทางโภชนาการจาก ดักแด้ไหม (Silkpupa)
หนอนไหม ( Silkworm ) อุดมไปด้วยโปรตีน
ดักแด้ไหม ( Silkpupa ) เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง

ดักแด้ไหม

ดักแด้ไหม (Silkpupa) คือ ตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการวางไข่ของผีเสื้อในระยะเวลา 10–12 วัน โดยหนอนไหมจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ (silkworm egg) หนอนไหม (silkworm) ดักแด้ (silkpupa) และผีเสื้อ (silk moth) โดยหนอนไหมจะลอกคราบ 4 ครั้ง เมื่อมีอายุ 9 วันจะหยุดลอกคราบและเข้าสู่ระยะไหมสุก หลังจากนั้นจะเริ่มพ่นของเหลวที่แข็งตัวเป็นเส้นไหมสร้างรังไหมและกลายเป็นดักแด้ ก่อนจะพัฒนาเป็นผีเสื้อในที่สุด

สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย

  • สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกายเลซิติน ( Lecithin ) คือไขมันที่จำเป็นต่อเซลล์ของร่างกาย พบในอาหารหลายประเภท เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ไข่ นม ถั่วลิสง กะหล่ำปลี ช็อคโกแลต เลซิตินถูกเปลี่ยนเป็นสารที่สร้างขึ้นในสมองเรียกว่า อะซิทิลคอลีน ( Acetylcholine ) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ส่งผ่านกระแสประสาท ที่ควบคุมการทำงานของร่างกายส่วนต่างๆ อัตราการเต้นของหัวใจ การนอนหลับ การหายใจ การย่อยอาหาร การขับถ่าย การสืบพันธุ์ และความจำ
  • สารซิลเดนาฟิล หรือไวอากร้า รักษาโรคความดันโลหิตสูง อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และมีฤทธิ์ในการรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชาย

ผลการวิจัย

จากงานวิจัยพบว่า ดักแด้ไหมมีโปรตีนและเกลือแร่หลายชนิด มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีฤทธิ์เทียบเท่าสารซิลเดนาฟิล ( sildenafil ) หรือไวอากร้า ซึ่งมีฤทธิ์สูงถึง 102% ของสารซิลเดนาฟิล โดยกระบวนการสกัดจากดักแด้ไหม จำนวน 22 ตัว เทียบเท่าไวอากร้า 100 มิลลิกรัม สามารถช่วยในการกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดตีบตัน

สารสกัดที่ได้จากดักแด้ หนอนไหม

  1. สารสกัดที่ได้จากดักแด้ หนอนไหมมีโปรตีน “ เลซิติน ” สูงถึง 48.98%
  2. มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายชนิดถึง 68%
  3. สารซิลเดนาฟิล หรือไวอากร้า
  4. สารซิลเดนาฟิลมีฤทธิ์ช่วยขยายหลอดเลือดโดยเฉพาะในเพศชาย
  5. อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2มีเกลือแร่
  6. มีกรดไลโนเลอิคและกรดไลโนเลนิค ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย
  7. ช่วยลดไขมันในเลือด
  8. ลดการเกิดโรคหัวใจ
  9. มีกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโอเมก้า 6
  10. มีกรดไลโนเลนิก ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโอเมก้า 3

ประโยชน์ของหนอนไหม

  1. ช่วยบำรุงและพัฒนาสมอง
  2. ลดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  3. การกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด
  4. ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
  5. การทำงานของสมองในด้านการมองเห็น การปรับตัว การเรียนรู้ อารมณ์
  6. ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด
  7. สลายแอลกอฮอล์ในร่างกาย
  8. ช่วยลดการตายของเซลล์ประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำ
  9. ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
  10. ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ

ดักแด้ หนอนไหม มีโปรตีนและสารซิลเดนาฟิล หรือไวอากร้าสูงถึง 102% ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ และกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด

ชนิดของหนอนไหมในไทย

ชนิดของหนอนไหมในไทยพันธุ์ไหมในประเทศไทยได้ 3 ชนิด

1. หนอนไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน เป็นพันธุ์ดั้งเดิม ชนิดฟักออกได้ตลอดปี ( Polyvoltine ) ที่มีการอนุรักษ์สืบทอดกันมา โดยมีการพัฒนาพันธุ์ใน ไทยดั้งเดิมเป็นเชื้อพันธุกรรมเท่านั้น คุณลักษณะรังไหมสีเหลืองรูปร่างคล้ายกระสวย เส้นใยยาวประมาณ 250 – 300 เมตร / รัง เช่น นางน้อยศรีสะเกษ นางเหลือง นางลาย สำโรง
2. หนอนไหมพันธุ์ไทยลูกผสม เป็นไหมชนิด polyvoltine into bivoltine ที่พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ระหว่างไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านและพันธุ์ลูกผสมไข่ไหมสามารถฟักออกตามธรรมชาติได้ตลอดทั้งปี ถ้าใช้แม่ผีเสื้อพันธุ์ไทย ส่วนไข่ไหมที่ใช้แม่ผีเสื้อพันธุ์ลูกผสม จะต้องผ่านเทคนิคการฟักเทียมโดยการใช้สารเคมีกระตุ้น เส้นใยยาวประมาณ 600 – 800 เมตร / รัง เช่นพันธุ์ไทยลูกผสมสกลนคร พันธุ์ไทยลูกผสมอุบลราชธานี 60 – 35
3. หนอนไหมพันธุ์ลูกผสม เป็นไหมชนิด bivoltine ฟักออกปีละ 2 ครั้ง ทีมีการสร้างสายพันธุ์โดยใช้สายพันธุ์ต่างประเทศเป็นคู่ผสมกัน กับการสร้างสายพันธุ์ที่มีการปรับปรุงคู่ผสมพันธุ์ไทยและพันธุ์ต่างประเทศรังรังไหมส่วนมากจะเป็นสีขาวลักษณะรังจะเป็นรูปไข่ เส้นใยยาวมากกว่า 1,000 เมตร / รัง เช่น พันธุ์นครราชสีมาลูกผสม 1

พันธุ์หนอนไหมต่างๆ

หนอนไหมที่เลี้ยงกันอยู่นี้มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน แต่ละพันธุ์มีลักษณะดังนี้ เช่น

1. พันธุ์หนอนไหมจีน ไข่ไหมพันธุ์นี้ฟักตัวปีละครั้ง และฟักได้หลายครั้งตลอดปี รังมีลักษณะกลม มีหลายสี เช่น สีเหลือง ขาว เส้นใยเล็กและเรียบ
2. พันธุ์หนอนไหมยุโรป ส่วนใหญ่เป็นพวกที่ไข่ฟักได้ปีละครั้งพันธุ์นี้ทั้งไข่ หนอนและรังไหมมีขนาดใหญ่ วงชีวิตยาว สีรังเป็นสีขาว รังมีลักษณะรีคล้ายรูปไข่
3. พันธุ์หนอนไหมญี่ปุ่น ไข่ฟักออกเป็นตัวปีละครั้งหรือสองครั้งรังค่อนข้างใหญ่ ลักษณะคล้ายผักถั่วลิสง รังอาจมีสีขาว เหลือง
4. พันธุ์หนอนไหมไทย ไข่ฟักตลอดปี รังเล็กบาง มีขี้ไหมมาก ลักษณะรังคล้ายรูปกระสวย สีเหลือง

พันธุ์หนอนไหมที่เลี้ยงในเมืองไทย

หนอนไหมพันธุ์พื้นเมืองของไทย มีอยู่หลายพันธุ์ เช่น พันธุ์นางขาว พันธุ์นางน้ำ พันธุ์นางลาย ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์แท้ ผลลิตเส้นใยต่ำ แต่ทนทานต่อโรคต่าง ๆ ได้ดี ในระยะ 10 ปีเศษมานี้ ได้มีการเริ่มนำพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์จีนและญี่ปุ่นมาเลี้ยง ซึ่งปรากฏว่าเลี้ยงได้ผลดี สำหรับกสิกรที่มีอุปกรณ์และโรงเลี้ยง ที่ทันสมัย ซึ่งได้รับคำแนะนำจากกองการไหม กรมวิชาการเกษตร แต่กสิกรที่เลี้ยงตามแบบพื้นบ้านยังเลี้ยงไม่ได้ผล เพราะเลี้ยงยากกว่าพันธุ์พื้นเมือง มักจะเป็นโรคตายมากก่อนที่หนอนไหมจะทำรัง ยกเว้นแต่กสิกรที่ได้รับการอบรมวิชาการเลี้ยงไหมแผนใหม่ แล้วนำไปเลี้ยงตามกลุ่มผู้เลี้ยงไหมในนิคมสร้างตนเอง ก็นับว่า เลี้ยงได้ผล แต่ก็ต้องฝึกฝนความชำนาญให้มากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

หนอนไหม (Bombyx mori) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://www.dnp.go.th [30 มกราคม 2563].

“ดักแด้” โปรตีนสูงจากหนอนไหม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://mgronline.com [30 มกราคม 2563].

ประโยชน์และที่มาของหนอนไหม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://nonmaicom.blogspot.com [30 มกราคม 2563].

ผักเชียงดา ( จินดา ) ต้านเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด

0
ผักเชียงดา ( จินดา ) ต้านเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
ผักเชียงดา ( Gymnema ) คือ พืชไม้เถาเลื้อย พื้นบ้านที่พบมากในภาคเหนือที่มีอากาศหนาว ซึ่งมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย
ผักเชียงดา ( จินดา ) ต้านเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
ผักเชียงดา ( Gymnema ) คือ พืชไม้เถาเลื้อย พื้นบ้านที่พบมากในภาคเหนือที่มีอากาศหนาว สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย

ผักเชียงดา คือ

ผักเชียงดา ( Gymnema ) คือ พืชไม้เถาเลื้อย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gymnema inodorum ( Lour. ) Decne. เป็นผักพื้นบ้านที่พบมากในภาคเหนือที่มีอากาศหนาว ซึ่งมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ พันธุ์ที่พบมากคือ ผักเชียงดาสายพันธุ์ Gymnema inodorum ผักเชียงดานำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย จึงทำให้ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่มาก ส่วนรากและใบของผักเชียงดามี Gymnemic acid ช่วยสกัดกั้นสารน้ำตาลตัวจริงที่เข้ามาสู่ร่างกายได้ และยังสามารถช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

ลักษณะของผักเชียงดา

ผักเชียงดาเป็นไม้เถาเลื้อย มีสีเขียวเข้ม ลำต้นที่อยู่เหนือดินมียางสีขาว ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-5 เซนติเมตร ใบเดี่ยว ใบรูปหอกกว้าง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบโค้งมนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบยาว 3.5-6 เซนติเมตร ใบกว้าง 9-11 เซนติเมตร ใบยาว 15-19 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อกระจุกจากซอกใบ ดอกย่อย กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีขาวเหลืองอ่อน หรือเหลืองอมส้ม เกสรตัวผู้เป็นกระจุกแน่น ผลเมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลคล้ำ มีเมล็ด 2-3 เมล็ด

ผักเชียงดาช่วยรักษาเบาหวาน ช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type 1 และ  type 2 ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล

สรรพคุณของผักเชียงดา

1. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง
2. ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ลดความร้อนในร่างกาย
3. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
4. ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย
5. ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type 1และ type 2 ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล
6. ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับ ช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวาน
7. ช่วยควบคุมและปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
8. ช่วยลดคอเลสเตอรอลและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายให้สมดุล
9. ช่วยลดน้ำหนัก   
10. ช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฝ้าฟาง เคืองตา
11. ต้นช่วยแก้หูชั้นกลางอักเสบ
12. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด
13. ต้นช่วยแก้โรคบิด
14. ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงาน รักษาอาการท้องผูก
15. ต้นช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
16. ช่วยขับระดูของสตรี
17. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเกาต์

คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดา

คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดาปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี

น้ำ 82.9 กรัม
โปรตีน 5.4 กรัม
ไขมัน 1.5 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 8.6 กรัม
กากใยอาหาร 2.5 กรัม
เถ้า 1.6 กรัม
แคลเซียม 78 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 2.3 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 984 ไมโครกรัม
วิตามินซี 153 มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน 5,905 ไมโครกรัม
ไทอะมีน 0.12 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเชียงดา

  • สารสำคัญที่ได้ ได้แก่ สาร Vioflavonoid สารในกลุ่ม Carotenoid
  • มี Flavonoid
  • คาเทชิน
  • โปรแอนโทไซนานิดิน ( Proanthocyanidin )
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ คือ Curcumin Furmeric
  • ไกลเบนคลาไมด์ ( glibenclamide )
  • เบต้าแคโรทีน
  • มีวิตามินซี
  • สารกลูต้าไธโอน
  • วิตามินอี
  • มี Gymnemic acid

ข้อควรระวัง

ผู้ที่มีกรดในกระเพาะอาหารมาก ไม่ควรกินผักเชียงดาในขณะท้องว่าง และในผู้ป่วยเบาหวานขั้นรุนแรง และผู้ป่วยเบาหวานที่กินยาลดน้ำตาลในเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานผักเชียงดาและผลิตภัณฑ์จากผักเชียงดาทุกชนิด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ผักเชียงดา สรรพคุณไม่ธรรมดา เป็นสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://health.kapook.com [20 มกราคม 2563].

10สรรพคุณขั้นเทพ!!!ของ”ผักเชียงดา”(BENEFIT OF GYMNEMA INODORUM) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://herb4health.com [20 มกราคม 2563].

งาขี้ม่อน หรือ งาขี้ม้อน มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

0
งาขี้ม่อน หรือ งาขี้ม้อน มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร
งาขี้ม่อน หรืองาขี้ม้อน ( Perilla seed ) เป็น ธัญพืชที่สามารถรับประทานได้ทั้งเมล็ดและใบ นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบอาหารกินเล่น มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
งาขี้ม่อน หรือ งาขี้ม้อน มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร
งาขี้ม่อน หรืองาขี้ม้อน ( Perilla seed ) เป็น ธัญพืชที่สามารถรับประทานได้ทั้งเมล็ดและใบ นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบอาหารกินเล่น มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

งาขี้ม่อน หรือ งาขี้ม้อน คือ

งาขี้ม่อน หรืองาขี้ม้อน ( Perilla seed ) เป็น ธัญพืชที่สามารถรับประทานได้ทั้งเมล็ดและใบ พบได้มากในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นพืชตระกูลเดียวกับกะเพรา โหระพา ลักษณะของเมล็ดจะคล้ายงา คือเล็กประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ทรงกลม มีสีน้ำตาลหรือสีเทา นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบอาหารกินเล่น เช่น คุกกี้ หรือข้าวหนุกงา ส่วนใบของงาขี้ม่อน เป็นที่รู้จักกันในภาษาญี่ปุ่นว่า ใบชิโสะ งาขี้ม่อนสามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

ชนิดของงาขี้ม่อน

พันธุ์งาขี้ม่อน มีพันธุ์ใบสีเขียวและพันธุ์ใบสีม่วง ใบสีเขียวเป็นพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทย จากการสำรวจการปลูกงาขี้ม่อนในภาคเหนือตอนบนพบว่า มีการปลูกกระจายทั่วไปบนพื้นที่ดอนตามไหล่เขาเชิงเขา งาขี้ม่อนทั้งหมด 130 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 3 พันธุ์ ได้แก่
1. งาดอ เป็นงาขี้ม่อนอายุสั้น ( เก็บเกี่ยวช่วงเดือนตุลาคม )
2. งากลาง อายุอยู่ระหว่างงาดอกับงาปี
3. งาปี มีอายุมากกว่า ( เก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนธันวาคม )

คุณค่าทางอาหารของงาขี้ม่อน

งาขี้ม่อน 104 กรัม ( 8 ช้อนโต๊ะ ) ให้พลังงาน 568 แคลอรี

คาร์โบไฮเดรต 25.6 กรัม
โปรตีน 16.8 กรัม
ไขมัน 48 กรัม
ใยอาหาร 14.4 กรัม
แคลเซียม 760 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 10.44 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 472 มิลลิกรัม
โซเดียม 11.2 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของเมล็ดงาขี้ม่อน

1. มีโอเมก้า 3 ช่วยรักษาอาการร้อนใน
2. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศ
3. ช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
4. ช่วยปกป้องตับจากการถูกทำลาย และยับยั้งการเจริญของมะเร็งตับ
5. ช่วยบำรุงผิว และยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน
6. ช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
7. ทำให้เกิดความผ่อนคลาย และลดความวิตกกังวลที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า
8. บรรเทาอาการหอบหืด
9. มีสารเซซามอล ( Sesamol ) ที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง และชะลอความแก่

https://www.youtube.com/watch?v=a3UiPeMCC-g

น้ำมันงาขี้ม่อน

น้ำมันสกัดจากเมล็ดงาขี้ม่อน มีน้ำมันสูง ประมาณ 31-51% เป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ( PUFA ) น้ำมันจากเมล็ดงาขี้ม่อนมีประโยชน์หลายอย่าง งาขี้ม่อนเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่ดีเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง น้ำมันสกัดจากเมล็ดงาขี้ม่อนนำมาใช้เป็นอาหารและใช้ทำยาได้ ช่วยป้องกันโรคได้หลายโรค เมล็ดงาขี้ม่อนมีโปรตีน 18-25 เปอร์เซ็นต์ วิตามินบีและแคลเซียมสูงกว่าพืชผัก 40 เท่า โดยมีปริมาณแคลเซียมประมาณ 410-485 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม และฟอสฟอรัสมากกว่าพืชผักทั่วไป 20 เท่า งาขี้ม่อนเป็นพืชชนิดเดียวที่มีโอเมก้า 3, 6 และ 9 ซึ่งมีมากกว่าน้ำมันปลา 2 เท่า เนยเทียมที่ผลิตจากน้ำมันงาขี้ม่อนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารใหม่สุดที่มีความปลอดภัยสูง เพราะปราศจากไขมันทรานส์

ข้อควรระวัง

1. ควรใช้น้ำมันเมล็ดงาขี้ม่อนชนิดเจือจาง เนื่องจากการใช้ในรูปแบบที่เข้มข้น อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังหรือทำให้ผิวหนังอักเสบ
2. สตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงรับประทานงาขี้ม่อนชั่วคราว เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยถึงความปลอดภัยในสตรีขณะตั้งครรภ์ และสตรีขณะให้นมทารกและเด็ก
3. ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่มีอาการแพ้งาขี้ม่อน หากบริโภคแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น ผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ควรรีบไปพบแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

งาขี้ม้อน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://library.cmu.ac.th [25 มกราคม 2563].

งาขี้ม้อน’อุดมด้วยโอเมก้ายิ่งกว่าปลาทะเล! มีสารป้องกันโรคมะเร็งและชะลอวัย (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.matichonweekly.com [25 มกราคม 2563].

งาขี้ม่อน (Perilla seed) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.honestdocs.co [25 มกราคม 2563].

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

โควิด 2019 ( COVID19 )

0
อู่ฮั่น ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019
ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ( coronavirus2019 - nCoV ) คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ ( pneumonia ) ชนิดหนึ่งสามารถแพร่กระจายติดเชื้อได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์
อู่ฮั่น ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019
ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ( coronavirus2019 – nCoV ) คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ ( pneumonia ) ชนิดหนึ่งสามารถแพร่กระจายติดเชื้อได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์

โควิด 2019

โควิด 2019 ( เดิมชื่อ ไวรัสอู่ฮั่น ) คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ ( pneumonia ) ชนิดหนึ่งสามารถแพร่กระจายติดเชื้อได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ โดยประเทศจีนได้พบผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกจากคนงานและลูกค้าที่ซื้ออาหารทะเลจากตลาดฮั่วหนาน ซึ่งตลาดสดแห่งนี้ชำแหละสัตว์ป่าขายเพื่อนำมาประกอบอาหารทั้งมีชีวิตและตายแล้ว เช่น ค้างคาว งูเห่า นกยูง จระเข้ หมีโคอาล่า ซาลาแมนเดอร์ แบดเจอร์ สุนัขจิ้งจอก เฮดจ์ฮอก และอูฐ เป็นสาเหตุที่เกิดไวรัสจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสโคโรน่าของงูเห่ากับไวรัสโคโรน่าของค้างคาว จึงทำให้ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้แพร่เชื้อข้ามสปีชีส์จากงูเห่ามายังคนได้ซึ่งกำลังระบาดในประเทศจีนและทั่วโลก โดยติดเชื้อจากการไอ จาม และสัมผัสโดยตรงกับคนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ไวรัสโคโรน่าเกิดขึ้นเมื่อใด

โรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรน่า เริ่มระบาดในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2019 ในเมืองอู่ฮั่น เริ่มมีผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวนหลายราย โดยมีอาการไข้สูง ไอแห้ง ๆ อ่อนเพลีย ขณะนี้ตลาดดังกล่าวได้มีการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และถูกปิดแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563

ระยะฟักตัวของไวรัสโคโรน่า

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสCOVID-19 สามารถติดต่อได้แม้จะอยู่ในระยะฟักตัว ซึ่งกินเวลา 14 วัน และความสามารถในการแพร่กระจายของไวรัสตัวนี้กำลังรุนแรงขึ้น

อู่ฮั่น ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019
อาการทั่วไปของไวรัสโคโรน่า ส่วนใหญ่จะคล้ายกับการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน

อาการของโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรน่า

อาการทั่วไปของไวรัสโควิด ส่วนใหญ่จะคล้ายกับการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลันส่วนบนอาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย ร่วมด้วย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าบางรายมีภาวะไตวายรุนแรงเฉียบพลัน ซึ่งในจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมดจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา อาจมีระบบหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาการของไวรัสCOVID-19 ที่พบในผู้ติดเชื้อ คือ

  • มีไข้
  • ไอ
  • เจ็บคอ
  • น้ำมูกไหล
  • หายใจถี่ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก
  • มีอาการผิดปกติที่จมูก หรือโพรงจมูกและช่องคอส่วนบน
  • มีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง

โควิด-19 (COVID 19)  คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบสามารถแพร่กระจายติดเชื้อได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์

วิธีการกระจายของโควิด-19

การติดต่อของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้สามารถติดต่อจากคนสู่คนโดยผ่านทางฝอยละออง ได้แก่ น้ำมูก น้ำลายจากผู้ป่วยที่มีเชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยการไอ หรือจาม และการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยเป็นหลัก ส่วนการแพร่กระจายทางอากาศ มีโอกาสติดเชื้อผ่านทางดวงตาได้

ใครที่เสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สุด

  • ไวรัสโควิด-19 เป็นอันตรายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ คนที่เป็นโรคปอดอักเสบ คนเป็นโรคหัวใจ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยตรง
  • สัตว์เลี้ยงก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคโคโรน่า อาจทำให้ติดเชื้อและตายได้
  • ผู้ขาย และ ผู้ซื้อในตลาดที่สัมผัสกับอาหารทะเล สัตว์ป่า และเนื้อสัตว์สดๆ

การป้องกันและการดูแลตนเองจากเชื้อโควิด-19

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในประเทศจีนและต่างประเทศอยู่ในตอนนี้แพทย์แนะนำวิธีการดูแลตนเองดังนี้

  • สวมหน้ากากอนามัย ป้องกันไวรัสโคโรน่าขณะออกนอกบ้าน หรือมีอาการไอ จาม
  • หลีกเลี่ยงการการใกล้ชิด การสัมผัสตา จมูก และปาก ของผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด ไอ จาม หรือมีน้ำมูกไหล
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ซื้อจากตลาดโดยตรงทั้งเป็นและตาย รวมถึงเนื้อดิบ ( ควรใส่ถุงมือหากจำเป็นต้องจับ เพื่อป้องกัน )
  • ล้างมือด้วยสบู่ เจลทำความสะอาด แอลกอฮอล์ หากไม่มีสบู่ให้ล้างมือด้วยน้ำเปล่าอย่างน้อย 20 วินาที ก่อนนำอาหารเข้าปากทุกครั้ง
  • งดเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ในขณะที่ป่วย
  • ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อของใช้ส่วนตัวที่สัมผัสบ่อย ภาวะชนะที่ใช้เป็นประจำ เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ เสื้อผ้า
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ โดยเฉพาะอาหารประเภทไข่ เนื้อสัตว์ โดยการนำไปทำให้สุกด้วยความร้อน
  • หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด เช่น วัด สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชาวต่างชาติอยู่เป็นจำนวนมาก สถานบันเทิง เป็นต้น
    เพียงเท่านี้สามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 และไวรัสหลายชนิดที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้

การรักษาเชื้อโควิด-19

ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลกยังไม่มีการรักษาทำได้เพียงรักษาตามอาการเบื้องต้นเพื่อช่วยบรรเทาอาการเท่านั้น โรคปอดอักเสบชนิดที่รุนแรง หรือไวรัสโคโรน่าเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ 2019 ส่งผงให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศจีนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและผู้ป่วยในประเทศแถบเอเชีย เช่น ฮ่องกง มาเก๊า ไตหวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เวียดนาม รวมทั้งในประเทศไทย

อย่างไรก็ตามทุกคนควรดูแลและป้องกันตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่2019 ถึงแม้ในประเทศไทยจะพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสนี้ไม่มากก็ตาม หากคุณหรือคนใกล้ชิดรู้สึกป่วยด้วยอาการเป็นไข้ ไอหรือหายใจลำบากให้รีบไปพบแพทย์ทันที

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

เชื้อไวรัสโคโรนาคืออะไร คนไทยควรรับมือและป้องกันอย่างไร (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://thestandard.co [24 มกราคม 2563].

ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://thestandard.co [27 มกราคม 2563].

มารู้จักโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://www.healthymax.co.th [27 มกราคม 2563].

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.