ความดันโลหิตสูง ( Hypertension )

0
วิธีการตรวจหาเบาหวานแต่เนิ่นๆ
การคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะเนิ่นๆเพื่อจะได้คัดแยกผู้ป่วยรักษาตามอาการและรีบให้การรักษาอย่างทันท่วงที
วิธีการตรวจหาเบาหวานแต่เนิ่นๆ
การคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะเนิ่นๆเพื่อจะได้คัดแยกผู้ป่วยรักษาตามอาการและรีบให้การรักษาอย่างทันท่วงที

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง ( Hypertension ) คือ การที่ความดันช่วงบน มีค่าตั้งแต่ 130 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป การคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะต้นทาง ( Early Phase ) จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้คัดแยกผู้ป่วยรักษาตามอาการและรีบให้การรักษาอย่างทันท่วงที ส่วนมากจะเริ่มจากกลุ่มผู้ป่วยที่ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่มีความเสี่ยง การเป็นโรคความดันโลหิตสูง ( Risk Factor ) โดยมีเป้าหมายในการแนะแนวทางการศึกษา คือ การค้นหาและทำการคัดกรองปัจจัยเสี่ยง ( Risk Factor ) ของโรคความดันโลหิตสูง และยืนยันการเป็นโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ ( Primary Hypertension ) ได้นั่นเอง ซึ่งค่าที่วัดได้ 2 ค่า คือ

  • ความดันช่วงบน หรือ ความดันซิสโตลี ( Systolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ และความดันช่วงบนของคนคนเดียวกัน อาจมีค่าที่ต่างกันออกไป ตามท่าเคลื่อนไหวของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลังกาย
  • ความดันช่วงล่าง หรือ ความดันไดแอสโตลี ( Diastolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว ในปัจจุบันได้มีการกำหนดค่าความดันโลหิตปกติ และระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง

สาเหตุที่เกิดโรคความดันสูง

  • พันธุกรรม โอกาสจะสูงมากขึ้นเมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • โรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักเสบตีบแคบของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดของไต
  • โรคไตเรื้อรัง เพราะส่งผลถึงการสร้างเอนไซม์ และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตดังที่กล่าวไป
    น้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน เพราะเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดต่างๆ ตีบจากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือด
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ( Sleep apnea )
  • การขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนและเบาหวาน
  • การรับประทานอาหารเค็มอย่างต่อเนื่อง
  • การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ส่งผลให้เกิดการอักเสบตีบตันของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดไต
  • การดื่มแอกอฮอล์ เพราะส่งผลให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ และมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงประมาณ 50% ของผู้ที่ติดสุราทั้งหมด

บทบาทผู้จัดการรายกรณีการค้นหาคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

1.1 สถานที่ค้นหาคัดกรองผู้ป่วย

– บุคคลที่มีอายุ 35 ขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงของวัยทำงานนั่นเอง โดยทั้งนี้อาจอาศัยอยู่ในชุมชน หรืออยู่ในสถานประกอบการอาชีพก็ได้

1.2 ความจำเป็น-ความต้องการจัดการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย

ความต้องการทราบข้อมูลของผู้ป่วย ( Theoretical Need )
– คัดกรองเพื่อค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและการเกิด CV Risk ซึ่งสิ่งที่ต้องสอบประวัติผู้ป่วยเพื่อคัดกรอง ก็ประกอบด้วย
: ระดับความดันโลหิต
: อายุ
: มีภาวะไขมันในเลือดสูง ( Dyslipidemia ) หรือไม่
: สูบบุหรี่ ( Smoking ) หรือไม่
: อ้วนลงพุงหรือไม่
: มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติหรือไม่
: คนในครอบครัวเคยมีประวัติการเสียชีวิตด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ( CV Disease ) ก่อนวัยอันควรหรือไม่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ( Exist Need )
1.ความแม่นยำของค่าตรวจวัดความดัน ( AC Curacy BP )
2.มีระดับความดันโลหิตปกติ ( <140 / 90 mmHg )
3.ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงคำนวณค่าวัดดัชนีมวลร่างกาย Body Mass Index ( BMI ) อยู่เสมอ

1.3 ระยะเวลาติดตามที่เหมาะสม

1.ติดตามประเมินสุขภาพรายบุคคล 4 ด้านทุก 1 ปี/เมื่อจำเป็น
2. ติดตามประเมินความเสี่ยงและตามผลที่คาดว่าจะได้รับ
– ทุก 1 ปี
– ทุก 6 เดือน
: หากพบว่ามีความผิดปกติของความเสี่ยง 1 อย่างขึ้นไป เช่น ตรวจพบ IFG; DTX > 126 mg %
: พบค่า 3 ใน 5 อย่าง ของ อ้วนลงพุง หรือค่าน้ำตาลในเลือด BP ≥ 130 / 85

1.4 การใช้ทรัพยากรต่างๆ

1. การจัดการทรัพยากรบุคคล ( Human Resource )
– การทำการจัดการเรื่องของผู้ป่วย
: การประเมินน้ำหนัก
: การออกกำลังกาย
: การสูบบุหรี่
: การรับประทานอาหาร
– NP ประสานงานกับอสม. ( Community Health Worker)


2. ทรัพยากรที่ไม่ใช่บุคคล ( Non Human Resource )

  • เครื่องวัดความดันโลหิต
  • เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ( DTX ) <ควรจะจัดให้ผู้ป่วยได้มีไว้ใช้ส่วนตัว คือมีสำหรับใช้ที่บ้านด้วยนั่นเอง>
  • อุปกรณ์ / Tube เจาะเลือด
  • เครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
  • สมุดบันทึกสุขภาพประจําตัว
  • เครื่องมือสื่อสาร / ทำช่องทางการส่งต่อข้อมูล

1.5 ความแปรผัน

1. ขาดฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
2. ไม่ได้ทำการติดต่อกับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
3. ไม่ได้มีการแบ่งพื้นที่ให้ทีมสุขภาพได้ทำการคัดกรองและการรวบรวมข้อมูล
4. ผู้ป่วยไม่ได้มารับการตรวจอย่างต่อเนื่อง หรือจะมาโรงพยาบาลเมื่อมีอาการผิดปกติเท่านั้น
5. ไม่มีผู้ที่จะทำหน้าที่คอยติดตามและดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง

1.6 เป้าหมายที่ต้องการทราบผล

1. ต้องไม่พบค่า ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ ( Impaired Fasting Glucose : IFG ) ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารที่สูงกว่าปกติเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจมีความผิดปกติของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั่นเอง
2. ต้องพบค่าความเสี่ยงต่างๆลดลง ( Risk Reduction )
– เช่น ค่าดัชนีมวลร่างกายหรือ BMI ลดลง เป็นต้น
3. มีการใช้ทรัพยากรต่างๆได้อย่างเหมาะสม ( Proper Resource )
4. การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ( Life Style Modification )

2.1 สถานที่ค้นหาคัดกรอง

  • คลินิกผู้ป่วยนอก ( OPD )
  • ปฐมภูมิ
  • ทุติยภูมิ
  • ตติยภูมิ

2.2 ความจำเป็น – ความต้องการจัดการดูแลรักษาพยาบาล

ความต้องการทราบข้อมูลของผู้ป่วย ( Theoretical Need )
– มีการระบุความเสี่ยง ( Risk Factor ) ของความดันโลหิตและการเกิดภาวะหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ ( Cardiovascular Risk -CV Risk ) ดูจากการสอบถามประวัติและพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อหาข้อสรุปว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงมากแค่ไหน
– ได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะหัวใจและหลอดเลือด
– ดำเนินการให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการวินิจฉัยเมื่อพบโรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension-HT ) จริง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ( Exist Need )
1.ความแม่นยำของค่าตรวจวัดความดัน ( AC Curacy BP )
2.ได้รับการประเมินพฤติกรรมด้านสุขภาพรายบุคคล ( Individual Behavioral Health )
3.ประเมินการเกิดภาวะหัวใจและหลอดเลือด ( CV Risk ) ได้ครบถ้วน
4.ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย ( BMI )
5.ระดับความดันโลหิตปกติ ( <140/90 mmHg )
6.ได้รับความรู้และการทำวิธีการปรับการใช้ชีวิตประจำวันป้องกันการเกิดโรค                                          7. มีการทบทวน ( Review ) ในเรื่องของการใช้ยาโรคความดันโลหิตสูงอย่างเหมาะสม
8.ต้องได้รับการติดตามเพื่อประเมินระดับความดันโลหิต
9.ได้รับการลงข้อมูลสุขภาพในประวัติสุขภาพประจำตัว
10.ควบคุมการวัดค่าต่างๆของโรคปลอกปลายประสาทอักเสบ หรือ โรค MS ได้
11.ได้รับการค้นหาร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย ( Subclinical Organ Damage หรือ TOD )
12.ได้รับการติดตามประเมินระดับความดันโลหิต

2.3 ระยะเวลาติดตามที่เหมาะสม

– ผู้ป่วยทุกรายที่ได้มาทำการตรวจสุขภาพตามนัดทุก 3 ถึง 6 เดือน
– มาตรวจรับบริการทุก 3 เดือน ( กรณีสงสัยก่อนการเป็นโรคความดันโลหิตสูง Pre-HT, โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension-HT ) ระยะเริ่มต้นหรือไม่ ) ค่าความดันโลหิตปกติระดับหนึ่งมีอาการปลอกปลายประสาทอักเสบร่วมด้วย
– คอยติดตามผู้ป่วยทุกรายที่ได้มาตรวจตามนัดที่ OPD อายุรกรรม
– ติดตามดูแลผู้ป่วยเพื่อดูผลการรักษา พร้อมทั้งประเมินการควบคุมอาการของโรคปลอกปลายประสาทอักเสบรวมกับโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วย ตามความเหมาะสม ( อยู่ในช่วง 2-3 เดือน )
– นัดผู้ป่วยให้มารับบริการคัดกรองตรงตามเวลานัดเสมอความเสี่ยง ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตทุก 3 เดือน ( กรณีสงสัยก่อนการเป็นโรคความดันโลหิตสูง Pre-HT )

2.4 การใช้ทรัพยากรต่างๆ

1. ทรัพยากรบุคคล ( Human Resource )
– เพื่อให้มีการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
– อายุรกรรมทั่วไปประสานกับแพทย์เฉพาะทางที่พบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย ( TOD )
– ทำการประสานงานกับแพทย์เฉพาะทาง
2. ทรัพยากรที่ไม่ใช่บุคคล ( Non Human Resource )
– แฟ้มประวัติผู้ป่วย
– เครื่องวัดความดันโลหิต
– เครื่องเจาะ DTX- เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
– อุปกรณ์/Tube เจาะเลือด

2.5 ค่าความแปรผันต่างๆ

1. ไม่ได้ทำการประสานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
2. ไม่ได้ประสานกับแพทย์อายุรกรรมทั่วไปกับแพทย์เฉพาะทาง ถึงการตรวจและติดตามดูแลผู้ป่วย จึงอาจทำให้เกิดการดูแลแยกส่วน ซ้ำซ้อน ใช้ยาไม่สมเหตุผล
3. ระบบการติดตามผู้ป่วยไม่มีความต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาขึ้น
4. พบภาวะของโรคแทรกซ้อนอย่างรุนแรงในผู้ป่วย เช่น โรคหัวใจ ไต ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจกับแพทย์เฉพาะทาง
5. การติดตามต่อเนื่องกรณีผู้ป่วยใน                                                                                    6. การตรวจหาผลเลือด  เพื่อหาสาเหตุและอาการต่างๆ ที่เกิดซ้ำซ้อนหรือมีระยะเวลาในการตรวจไม่เหมาะสมตามที่จำเป็น ( ใช้ระยะเวลาถี่หรือห่างเกินไป )

2.6 เป้าหมายที่ต้องการทราบผล

1. ต้องไม่พบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย ( TOD )
2. หมั่นติดตามประเมินผล
3. มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
4. เข้าใจการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
5. มีแหล่งข้อมูลถูกต้องแม่นยำ
– มีการตรวจในห้องแล็บ
– มีการใช้ยาในการรักษา
– มีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วย
– มีการสอบถามอาการผู้ป่วย
6. ได้รับการค้นหาร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย                                                         7. ไม่เกิดอาการที่ต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน
8. ไม่เกิดความเสี่ยงภาวะหัวใจและหลอดเลือด
9. ลดจำนวนผู้ป่วย OPD

3.1 สถานที่ค้นหาคัดกรอง

– หอผู้ป่วยใน ( IPD ) จะพบผู้ป่วยที่อ้างอิงว่ามีโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น หัวใจวาย ไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง ( ทุติยภูมิ/ตติยภูมิ )

3.2 ความจำเป็น – ความต้องการจัดการดูแลรักษาพยาบาล

ความต้องการทราบข้อมูลของผู้ป่วย ( Theoretical Need )
– จัดให้มีการเข้าถึงทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย เช่น การพยาบาลหัวใจ การช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะหัวใจล้มเหลว การช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะเส้นเลือดในสมองแตก เป็นต้น
– ทำการระบุความเสี่ยง ( Risk Factor ) ของความดันโลหิตสูงและการเกิดความเสี่ยงภาวะหัวใจและหลอดเลือด เพื่อจะได้วางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมมากขึ้น
– ให้ผู้ป่วยเข้าถึงการวินิจฉัยเมื่อพบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ( Exist Need )
1.ได้รับการทบทวนเพื่อให้เกิดการใช้ยาโรคความดันโลหิตสูงและควบคุมตามจำเป็น
2.คอยติดตามในเรื่องของการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระยะเดิมได้ ทำให้ไม่เกิดความดันโลหิตสูงที่อยู่ใน ระดับเพิ่มขึ้น ( เช่น จากระดับ 1 ไประดับ 2 เป็นต้น )
3.มีการดูแลและประสานงานเพื่อติดตามการรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทางและพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยเฉพาะ
4.ทำการประสานงานกับทีมแพทย์พยาบาลเภสัชกรเพื่อให้เกิดการติดตามการใช้ยาและทบทวนประสิทธิภาพของตัวยาอยู่เสมอ
5.มีการทบทวนในเรื่องของการใช้ทรัพยากรในการรักษาตามจำเป็น และทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการประเมินผลการรักษาด้วย

3.3 ระยะเวลาติดตามที่เหมาะสม

  • ทำการประสานกับทีมพยาบาลให้ดำเนินการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุดที่สุด เพื่อจะได้ไม่ต้องให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลมากเกินไปอย่างสูญเปล่า
  • ติดตามตรวจนัดผู้ป่วย OPD ต่อเนื่องภายในระยะเวลา 1 ถึง 3 เดือนหรือตามจำเป็น ( เพื่อควบคุมระยะของโรคความดันโลหิตสูง ควบคุมโรคเอ็มเอส ( MS ) หรือโรคปลอกปลายประสาทอักเสบ ภาวะร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย และ การตรวจพบอาการก่อนเป็นโรค )
  • ทำการติดตามผู้ป่วย ด้วยการไปตรวจเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกับทีมพยาบาลและทีมดูแลสุขภาพ
  • จำหน่ายด้วยการทบทวนการใช้ทรัพยากร ไม่ให้เกิดความสูญเปล่า เช่นหากจำเป็นต้องวินิจฉัยเพิ่มเติมประสานช่องทางด่วนให้ผู้ป่วย ได้ตรวจโดยไม่ติดวันหยุด ใบเพิ่มเติมค่ารักษาที่ไม่จำเป็น

3.4 การใช้ทรัพยากรต่างๆ

1. การจัดการทรัพยากรบุคคล ( Human Resource )

  • ประสานงานกับแพทย์เฉพาะทางและแพทย์เจ้าของไข้เพื่อทำการส่งต่อข้อมูลสุขภาพร่วมกัน จะได้ทำการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อประสานการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
  • แพทย์เฉพาะทางแพทย์เจ้าของไข้

2. การจัดการทรัพยากรที่ไม่ใช่บุคคล ( Non Human Resource )

  • ยา
  • เครื่องเจาะ DTX
  • แฟ้มประวัติการรักษา
  • เครื่องวัดความดันโลหิต
  • อุปกรณ์/Tube เจาะเลือด
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
  • การใช้วันนอน การใช้เตียงในโรงพยาบาล

3.5 ความแปรผัน

1. ไม่ได้ทำการติดตามเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลผู้ป่วยใน หรือมาตรวจที่ OPD
2. ไม่ได้ทำการประสานในเรื่องของการติดตามดูแลผู้ป่วยร่วมกัน ทำให้เกิดการดูแลรักษาแบบซ้ำซ้อนและแยกส่วนกันอย่างสิ้นเชิง
3. การตรวจแล็บ การสอบถามอาการต่างๆ มีความซ้ำซ้อน และระยะเวลาในการตรวจไม่เหมาะสม ( ระยะเวลาถี่หรือห่างเกินไป )

3.6 เป้าหมาย

1.มีแหล่งข้อมูลถูกต้องแม่นยำ

  • มีการตรวจในห้องแล็บ
  • มีการใช้ยาในการรักษา
  • มีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วย
  • มีการสอบถามอาการผู้ป่วย

2.ลดภาวะการเป็นโรคของร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย
3.ลดจำนวนผู้ป่วย OPD
4.การติดตามต่อเนื่องกรณีผู้ป่วยใน                                                                                          5.เข้าใจหลักการเป็นและต้องไม่พบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย
6.สามารถควบคุมระดับการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้
7.ลดจำนวนผู้ป่วยใน

การจัดการให้ผู้ป่วยมีความสามารถดูแลตนเอง คัดกรองตนเองสามารถทำได้โดย
เน้นการให้ความรู้ความเข้าใจกับโรคและลักษณะผู้ป่วย และการรับรู้การเตือนของร่างกาย

ตัวอย่างแบบบันทึกการค้นหา คัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง

1. ชื่อ………………..นามสกุล…………….อายุ……ปี
2. วัน เดือน ปี ที่คัดกรอง………คัดกรองครั้งที่………
☐  คัดกรองด้วยตนเอง ☐  ผู้ดูแลเป็นผู้คัดกรอง
3. ประวัติทางพันธุกรรมเป็นโรคความดันโลหิตสูง ☐  มี  ☐ ไม่มี
4. ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาสูบบุหรี่หรือไม่ ☐ สูบ ☐ ไม่สูบ
5. BMI = ………………….
6. ระดับความดันโลหิต………………mmHg
7. ระดับไขมันในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
☐ ปกติ ☐ สูงเกิน 220 mg/dl ☐ สูงเกิน 300 md/dl
8. ชนิดอาหารที่รับประทานในหนึ่งวัน……………………………………
9. การใช้บุหรี่ สุรา กาแฟ คาเฟอีน ☐ ใช้ ☐ ไม่ใช้
10. มีความเครียดในแต่ละวัน ☐ มี ☐ ไม่มี
11. มีอาการดังต่อไปนี้ หรือไม่
☐ ปวด มึนศีรษะบ่อยๆ
☐ ตาพร่ามัว
☐ มีอาการวูบง่าย
☐ เหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ
☐ รู้สึกบวมตามร่างกาย
☐ อาการแสดงของโรคเบาหวาน

ยาลดความดันโลหิต

ยาลดความดันที่เป็นหลักสำคัญ ( Major Class of Antihypertensive Agent ) มีอยู่ 5 กลุ่มได้แก่

1. ACE-Inhibitor

2. Angiotensin Receptor Blockers

3. Beta-Blocker

4. Calcium Antagonists

5. Thaiazide Diuretic / Loop Diuretic

แม้ว่ายาลดความดันทั้ง 5 กลุ่มนี้จะสามารถใช้ได้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แต่การจะพิจารณาว่าผู้ป่วยควรใช้ยารักษากลุ่มใดดีจะต้องพิจารณาจากการประเมินและตัดสินใจของแพทย์เท่านั้น โดยแพทย์จะดูในเรื่องของระดับ BP และความเสี่ยงต่อการเกิด CV risk ในผู้ป่วยนั่นเอง นอกจากนี้จะต้องคอยติดตามและประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเฉพาะรายอย่างละเอียด เพื่อประเมินหาความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผล้ขางเคียงจากการใข้ยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.

ทำอย่างไรไม่ให้หิวบ่อย

0
ทำอย่างไรไม่ให้หิวบ่อย
ความหิวเป็นกลไกการควบคุมปริมาณน้ำตาลและไขมันในร่างกาย ถูกควบคุมด้วยต่อมใต้สมอง
ทำอย่างไรไม่ให้หิวบ่อย
ความหิวเป็นกลไกการควบคุมปริมาณน้ำตาลและไขมันในร่างกาย ถูกควบคุมด้วยต่อมใต้สมอง

ความหิว

ความหิว เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ความหิวถูกควบคุมด้วยต่อมใต้สมองที่เรียกว่า ไฮโปทาลามัส ( Hypothalamus ) ความหิวเป็นกลไกการควบคุมปริมาณน้ำตาลและไขมันในร่างกาย เมื่อเราหิวร่างกายจะส่งสัญญาณออกมาให้รับรู้ เช่น มือสั่น ท้องร้อง อ่อนแรง เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นต้น ความหิวเกิดขึ้นเมื่อร่างกายต้อง  การอาหารจริงๆ นอกจากความหิวแล้วยังมีอีกหนึ่งอาการที่ทำให้คนเราต้องนำอาหารเข้าปาก นั่นคือความอยากอาหารเป็นกลไกที่เกิดขึ้นจากฮอร์โมนซึ่งมักเกิดขึ้นจากอารมณ์ ความรู้สึกเป็นส่วนใหญ่ไม่ใช่สภาวะที่ร่างกายต้องการอาหารหรือขาดอาหารจนเกิดความหิว ซึ่งความอยากนี้มักเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรคอ้วนหรือการมีไขมันส่วนเกินตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

สาเหตุที่ทำให้เกิดความหิวและความอยาก

1. เกิดความหิวเพราะร่างกายขาดน้ำตาล เมื่อร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดแดงเท่ากับหรือใกล้เคียงกับปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดดำ ร่างกายจะส่งสัญญาณไปที่ระบบประสาทส่วนกลางบริเวณต่อมไฮโปทามัส ต่อมไฮโปทาลามัสจะส่งสัญญาณไปยังกระเพาะอาหาร เซลล์กระเพาะอาหารจะหลั่งฮอร์โมนเกรลิน ( Ghrelin ) ออกมา ทำให้เกิดอาการหิวและอยากรับประทานอาหาร เมื่อร่างกายได้รับอาหารมีการดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าสู่กระแสเลือดจนความเข้มข้นของน้ำตาลในเม็ดเลือดแดงสูงขึ้นตามความต้องการของร่างกาย ปริมาณน้ำตาลที่เข้าสู่กระแสเลือดจะส่งสัญญาณกลับไปยังต่อไฮโปทามัส ต่อมไฮโปทามัสจะหลังฮอร์โมนเลปติน ( Leptin ) ที่เป็นฮอร์โมนแห่งความอิ่ม ส่งผลให้ความหิวหายไป ซึ่งกลไกการเกิดความหิวและการอิ่มจะหมุนเวียนเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

2. ท้องว่างทำให้เกิดความหิว เมื่อกระเพาะอาหารมีอาหารอยู่เต็มร่างกายจะรู้สึกอิ่ม แต่ว่าถ้าท้องว่างไม่มีอาหารอยู่ หรือไม่มีอาหารส่งไปยังลำไส้เล็ก ลำไส้เล็กจะหลั่งฮอร์โมนโมลิติน ( Molitin ) ทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวเพื่อส่งอาหารมายังลำไส้เล็กต่อไป เมื่อกระเพาะอาหารไม่มีอาหารก็ต้องเรียกร้องอาหารมาเพิ่ม ซึ่งอาหารหิวที่เกิดจากฮอร์โมนโมลิตินคืออาการท้องร้องนั่นเอง

3.ฮอร์โมนแห่งความหิว ฮอร์โมนแห่งความหิวหลักจะประกอบด้วย ฮอร์โมน เกรลิน โอรีซิน พีวายวายและเลปติน

3.1 ฮอร์โมนเกรลิน ( Ghrelin ) เป็นฮอร์โมนที่เกินขึ้นเมื่อปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดแดงต่ำ นอกจากนั้นถ้าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนเกรลินหลั่งออกมาได้เช่นกัน

3.2 ฮอร์โมนเลปติน ( Leptin ) หรือฮอร์โมนแห่งความอิ่ม แต่เมื่อร่างกายมีการภาวะดื้อเลปติน คือ ภาวะที่ร่างกายมีการต่อต้านฮอร์โมนเลปติน ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกหิวอยู่เรื่อยๆ หรือหิวตลอดเวลา เพราะสมองไม่ได้รับสัญญาณจากฮอร์โมนเลปติน จึงทำให้ร่างกายรู้สึกหิวต้องกินอยู่ตลอดเวลา

3.3 ฮอร์โมนพีพีวาย คือ ฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวหรือฮอร์โมนกดความหิวอีกชนิดหนึ่ง แต่ฮอร์โมนพีพีวายจะหลั่งออกมาก็ต่อเมื่อร่างกายรู้สึกอิ่มจากอาหารประเภทโปรตีน เมื่อร่างกายได้รับอาหารที่มีปริมาณโปรตีนน้อยก็จะหลั่งฮอร์โมนพีพีวายออกมาน้อย ส่งผลให้ไม่มีฮอร์โมนพีพีวายไม่สามารถกดความหิวไว้ได้ ร่างกายจึงรู้สึกหิวอยู่ตลอด เวลา   

4. เกิดความหิวเพราะนอนน้อย สำหรับคนที่ต้องทำงานไม่เป็นเวลา ทำงานเข้ากะทำให้นอนไม่เป็นเวลา ทำงานดึกทำให้ต้องนอนดึก ตื่นเช้า หรือการนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืน การที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนน้อยร่างกายจะมีการหลั่งสารเกรลินออกมากกว่าคนที่นอนมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อคืน จากผลการวิจัยพบว่าคนที่พักผ่อนน้อยจะมีปริมาณฮอร์โมนเกรลินสูงกว่าคนที่พักผ่อนปกติมากถึง 15% และยังพบว่าปริมาณฮอร์โมนเลปตินก็น้อยลงถึง 15% ด้วย ส่งผลให้คนที่พักผ่อนน้อยจะมีความรู้สึกหิวมากกว่าคนที่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

5. เกิดความหิวเพราะความเครียด เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะกระตุ้นความรู้สึกอยากอาหารหรือต้องการหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความรู้สึกตึงเครียด ซึ่งการกินเป็นการผ่อนคลายที่หลายคนเลือกใช้กัน ดังนั้นเมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะจดจำว่าเครียดแล้วต้องกินจึงจะหายเครียด ส่งผลให้ทุกครั้งที่มีความเครียดเกิดขึ้นจึงรู้สึกหิวขึ้นมาก

เมื่อร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดแดงเท่ากับหรือใกล้เคียงกับปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดดำ ร่างกายจะส่งสัญญาณไปที่ระบบประสาทส่วนกลางบริเวณต่อมไฮโปทามัสและจะส่งสัญญาณไปยังกระเพาะอาหาร เซลล์กระเพาะอาหารจะหลั่งฮอร์โมนเกรลินออกมา ทำให้เกิดอาการหิวและอยากรับประทานอาหาร

ความหิวที่ไม่ได้เกิดจากความต้องการอาหารเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน จะทำให้ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการสะสมของน้ำตาลและไขมันที่ได้รับจากการกินอาหารเข้าไปสะสมเป็นไขมันส่วนเกิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายและอาจจะก่อโทษให้กับร่างกายด้วย ถ้ามีการสะสมไขมันมากจนกลายเป็นโรคอ้วนที่เป็นต้นเหตุของโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคความดันโลหิต โรคมะเร็ง เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรรู้จักป้องกันและควบคุมความหิวที่เกิดขึ้น

วิธีการการควบคุมความหิวหรือความอยากอาหาร

1. กินตรงเวลา เราควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อที่สมองจะทำการจดจำตารางเวลาของร่างกายว่าเวลานี้เป็นเวลาที่ร่างกายต้องได้รับอาหาร จะทำให้ร่างกายแสดงอาการหิวเป็นเวลาที่แน่นอน

2. กินอาหารที่มีน้ำตาลน้อย น้ำตาลในอาหารเมื่อร่างกายได้รับไปจะเข้าไปสะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกาย แต่ถ้ากินอาหารที่มีไขมันต่ำมีโปรตีนสูง ร่างกายจะทำการย่อยใช้เป็นพลังงานได้ ไม่สะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกาย และยังทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เพราะเส้นใยและโปรตีนต้องใช้เวลาในการย่อยเป็นโมเลกุลเล็กๆ ก่อนจึงจะสามารถดูดซึมได้ ต่างจากน้ำตาลที่สามารถย่อยและดูดซึมได้เร็วกว่ามาก ดังนั้นเมื่อกินอาหารที่ดัชนีมวลสูง จำพวกของหวาน น้ำหวาน จึงรู้สึกว่าหิวเร็ว

3. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดเป็นการช่วยย่อยเส้นใยในระดับหนึ่งและยังช่วยกระตุ้นสมองให้รับรู้ว่าร่างกายได้รับอาหารแล้ว โดยหลังจากรับประทานอาหารไปประมาณ 15 นาทีสมองถึงจะหลังฮอร์โมนเลปตินที่บอกว่าร่างกายรู้สึกอิ่มแล้วไม่ต้องการอาหารเพิ่มเติมแล้ว ดังนั้นการรับประทานอาหารช้าๆ จะทำให้เรารับประทานอาหารน้อยลงแต่รู้สึกอิ่มเหมือนเดิม

4. ดื่มน้ำ เวลาที่รู้สึกหิวให้ดื่มน้ำเพื่อเช็คดูว่าความหิวที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากท้องว่างหรือว่าน้ำตาลในกระแสเลือดน้อย ถ้าหิวเพราะท้องว่างเราดื่มน้ำก็จะรู้สึกหายหิวแล้ว แต่ถ้าหิวเพราะน้ำตาลในกระแสเลือดน้อยต่อให้ดื่มน้ำมากแค่ไหนก็จะรู้สึกหิวอยู่ดี

5. กินอาหารทีมีเส้นใยสูง อาหารที่มีเส้นใยสูงจะอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กได้นานมากกว่าอาหารที่เป็นแป้งและน้ำตาล จึงทำให้ลำไส้เล็กไม่หลั่งฮอร์โมนโมลิติน ( Molitin ) ออกมาร่างกายจึงไม่รู้สึกหิว

6. พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนให้เพียงพอคือนอนประมาณ 8 ชั่วโมงต่อคืน สมองจะรู้สึกสดชื่น และการทำงานจะเป็นปกติ ส่งผลให้การหลั่งฮอร์โมนเกรลินของเซลล์กระเพาะอาหารจากการสั่งงานของสมองทำงานได้อย่างปกติ เราจึงไม่รู้สึกหิวตลอดเวลาเหมือนเวลาที่ร่างกายพักผ่อนน้อย

7. หากิจกรรมทำ เวลาที่เรารู้สึกเครียดหรือมีความกดดันเกิดขึ้น ให้หากิจกรรมที่ไม่ใช่การหยิบอาหารขึ้นมากิน เช่น การเดินเล่น การออกกำลังกาย การดูหนัง การอ่านหนังสือที่ชอบ เป็นต้น เพราะเมื่อเราทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่การกินจนสมองลดความตึงเครียดลง สมองจะจดจำว่าเวลาที่รู้สึกเครียดต้องทำกิจกรรมแบบนี้จึงจะลดความเครียดได้ ซึ่งการทำกิจกรรมนอกจากจะช่วยคลายเครียดแล้ว ยังป้องกันการกินจนอ้วนจากความเครียดได้ 

ความหิวและความอยากจัดการได้ไม่ยาก เพียงแต่เราต้องเอาใจใส่ดูแลร่ากายให้มากขึ้น เลือกอาหารที่เหมาะสมอย่าง ผัก ผลไม้ โปรตีน มารับประทานและลดอาหารจำพวกน้ำตาล นม เนย พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด เพียงเท่านี้คุณก็จักการกับความหิวได้แล้ว นอกจากนั้นเมื่อยังไม่ถึงเวลารับประทานอาหารมื้อหลักแต่รู้สึกหิวขึ้นมาก็ให้หาน้ำสะอาดหรือผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำมารับประทานเล่นไปก่อนเพื่อรองท้องลดความหิวที่เกิดขึ้น อย่ากินอาหารมื้อหนักทุกครั้งที่รู้สึกหิว เพราะแทนที่อาหารจะเข้าไปเป็นพลังงานให้กับร่างกาย แต่อาหารจะเข้าไปสะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกายเสียมากกว่า ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกายในอนาคต เรื่องเล็กแค่ความหิวถ้าเราไม่มีการจัดการที่ดีก็อาจจะสร้างผลเสียต่อร่างกายนอนาคตได้อย่างน่าตกใจ วันนี้คุณรู้หรือยังว่าคุณหิวหรือคุณอยากเพราะอะไร

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว

0
ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าว คือ น้ำมันที่ได้จากเนื้อของผลมะพร้าว มีกรดไขมันอิ่มตัวที่มีขนาดปานกลางเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าว คือ น้ำมันที่ได้จากเนื้อของผลมะพร้าว มีกรดไขมันอิ่มตัวที่มีขนาดปานกลางเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

น้ำมันมะพร้าว คืออะไร?

น้ำมันมะพร้าว ( Coconut Oil ) คือ น้ำมันที่ได้จากเนื้อของผลมะพร้าว ( Cocos Nucifera L. ) มีองค์ประกอบเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีขนาดโมเลกุล 8 -12 ซึ่งจัดเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีขนาดปานกลาง ( Medium Chain Fatty Acid ) จัดเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายโดยเฉพาะกรดลอลิก ( Lauric Acid ) ที่มีปริมาณมากถึงร้อยละ 53 เลยทีเดียว กรดไขมันอิ่มตัวชนิดนี้ถูกเผาพลาญได้ดีจึงเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้อย่างรวดเร็ว น้ำมันมะพร้าวเมื่อนำมาแช่เย็นจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว นอกจากจะมีประโยชน์ต่อการประกอบอาหารแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังมีประโยชน์ในด้านความงามและผิวพรรณอีกด้วย

ประเภทการสกัดน้ำมันมะพร้าว

1. น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Pure Coconut Oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่สกัดจากเนื้อมะพร้าวที่อบแห้ง หรือตากแห้ง ซึ่งนำมาคั้นด้วยเครื่องมือ ไม่มีการการกลั่น ไม่มีเติมสารใดๆ จึงได้เป็นน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
2. น้ำมันมะพร้าวผ่านกรรมวิธี (Refined Coconut Oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ผ่านกระบวนการกลั่น มีการเติมสารเคมี ฟอกสี และการแต่งกลิ่น
3. น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (Virgin Coconut Oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการวิธีการสกัดเย็น โดยใช้สารเคมีในการสกัดแยกจากเนื้อมะพร้าวไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อน ยังคงคุณประโยชน์จากมะพร้าวไว้อย่างครบถ้วน
4. น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์ (Organic Coconut Oil) เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการปลูกแบบอินทรีย์หรือออร์แกนิก โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ตั้งแต่การปลูกจนถึงการสกัด
5. น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์สกัดเย็น (Organic Virgin Coconut Oil) เป็นการสกัดน้ำมันมะพร้าวจากมะพร้าวที่ได้จากการปลูกแบบอินทรีย์และไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนและไม่เติมสารเคมีใดๆ 

วิธีการสกัดน้ำมันมะพร้าว

1.มันมะพร้าวสกัดร้อน คือ การนำน้ำกะทิหรือเนื้อมะพร้าวขูดมาเคี่ยวด้วยความร้อน แล้วทำการเคี่ยวไปเรื่อยๆ น้ำมันที่อยู่ในกะทิหรือเนื้อมะพร้าวขูดไหลออกมา น้ำมันที่ออกมาจะลอยอยู่ด้านบน ส่วนนี้คือน้ำมันมะพร้าว จะเป็นสีเหลืองใส ไม่มีกลิ่นมะพร้างหลงเหลืออยู่ น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการสกัดร้อนจะสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการบางอย่างไป เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินอี เป็นต้น

2.การสกัดน้ำมันมะพร้าวผ่านกรรมวิธี ( Refined Coconut Oil ) คือ การนำเนื้อมะพร้าวที่ตากหรืออบจนแห้งแล้ว มาทำให้มีขนาดเล็กมากๆ แล้วนำเนื้อมะพร้าวไปบีบอัด ( Expression ) หรือใช้ตัวทำละลาย ( Solvent extraction ) ในการนำน้ำมันออกจากเนื้อมะพร้าวได้เป็นน้ำมันมะพร้าวออกมา ซึ่งเราจะเรียกว่าเป็นน้ำมันดิบ ( Crude Oil ) และนำน้ำมันดิบที่ได้ไปผ่านกรรมวิธีทำให้บริสุทธิ์ เช่น การฟอกสี การกำจัดกลิ่น เป็นต้น เพื่อให้กลายเป็นน้ำมันมะพร้าวผ่านกรรมวิธีที่ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและรส เหมาะกับการนำมาประกอบอาหาร เพราะน้ำมันมะพร้าวชนิดนี้มีจุดเกิดควัน ( Smoke Point ) สูง

น้ำมันมะพร้าว ( Coconut Oil ) คือ น้ำมันที่ได้จากเนื้อของผลมะพร้าว ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

3.น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น คือ น้ำมันมะพร้าวที่สกัดด้วยวิธีธรรมชาติที่ไม่ใช้ความร้อนและความสารเคมีในการสกัด น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการสกัดเย็นเป็นน้ำมันมะพร้าวที่มีความบริสุทธิ์ ( Extra Virgin Coconut oil ) ลักษณะของน้ำมันมะพร้าวที่ได้จะใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นหืน กลิ่นเปรี้ยว ไม่มีตะกอน ไม่หนืด บางครั้งอาจจะมีกลิ่นมะพร้าวอ่อนๆ ซึ่งวิธีสกัดเย็นมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ

3.1 การสกัดเย็นแบบหมัก คือ การน้ำเนื้อมะพร้าวมาทำการคั้นเอาน้ำกะทิออกมา แล้วนำน้ำกะทิมาหมักทิ้งไว้ 6-8 ชั่วโมง ทำการกรองเอาส่วนที่เป็นน้ำมันออกมาก นำไปผ่านความร้อนเพื่อระเหยเอาส่วนที่เป็นน้ำออกจากน้ำมัน ก็จะได้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์พร้อมใช้และสามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 ปี

3.2 การสกัดเย็นแบบง่าย คือ การนำแบบที่ง่ายและรวดเร็ว เริ่มจากการนำน้ำกะทิใส่ถุงมัดนำไปแช่เย็นทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง น้ำกะทิจะเกิดการแยกออกเป็น 2 ชั้น ให้นำน้ำส่วนบนแยกออกมาใส่ถุงและนำไปแช่ช่องแช่แข็งนาน 36 ชั่วโมง เมื่อครบ 36 ชั่วโมงให้นำออกมาไว้ที่อุณหภูมิห้องจนน้ำแข็งละลาย น้ำแข็งที่ละลายออกมาจะแยกออกเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะมีลักษณะเป็นเนื้อครีม ชั้นกลางคือชั้นของน้ำมันมะพร้าว ส่วนชั้นล่างคือน้ำเปรี้ยว ให้ทำการตักชั้นครีมออกก่อนและตักชั้นน้ำมันมะพร้าวแยกออกมา เราก็จะได้น้ำมันมะพร้าวพร้อมใช้แล้ว น้ำมันมะพร้าวที่สกัดด้วยวิธีนี้จะเก็บได้ประมาณ 1 ปีครึ่ง   

3.3 การสกัดเย็นภายใต้สภาวะสูญญากาศ คือ การสกัดน้ำมันมะพร้าวโดยการกลั่นน้ำมันออกจากน้ำในสภาวะสูญญากาศ วิธีการสกัดเย็นแบบนี้นิยมใช้ในการผลิตน้ำมันมะพร้าวในอุตสาหกรรม เนื่องจากสกัดได้ในปริมาณที่มาก และน้ำมันมะพร้าวที่ได้มีคุณภาพดี มีสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการเหมือนกับน้ำมะพร้าวจากลูกมะพร้าวที่ไม่ผ่านความร้อน แต่สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่ง

3.4 การสกัดเย็นแบบเหวี่ยง คือ การน้ำกะทิมาใส่ในเครื่องเหวี่ยงเพื่อทำการเหวี่ยง ด้วยความหนาแน่นของน้ำ ตะกอนและน้ำมันที่อยู่กะทิจะทำให้เมื่อเหวี่ยงด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอแล้ว จะทำให้น้ำมันแยกตัวออกมาจากน้ำกะทิ และทำการแยกน้ำมันออกมาก็จะได้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์แล้ว น้ำมันมะพร้าวแบบเหวี่ยงจะเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 ปี

การนำมะพร้าวมาผลิตน้ำมันมะพร้าวควรใช้ผลมะพร้าวที่แก่จัดในการนำมาสกัด เพราะมะพร้าวที่แก่จัดจะมีปริมาณน้ำมันมากและน้ำมันที่ได้ก็จะมีคุณภาพที่ดีกว่าการนำมะพร้าวที่ไม่แก่จัดมาทำการผลิต
เมื่อทราบถึงวิธีการสกัดน้ำมันมะพร้าวแล้ว น้ำมันมะพร้าวมีคุณค่าทางโภชนาการสูงจึงเหมาะกับการรับประทานเพื่อสุขภาพหรือนำมาใช้ปรุงอาหารรับประทาน

ประโยชน์ที่ของน้ำมันมะพร้าว

1.ลดความอยากอาหาร สรรพคุณน้ำมันมะพร้าวต่อความอ้วน ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวขนาดปานกลาง ซึ่งกรดไขมันนี้ร่างกายสามารถทำการย่อยได้ง่าย ร่างกายจึงทำการดูดซึมเข้าสู่ตับเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้โดยตรงและรวดเร็ว ดังนั้นหลังจากที่เรารับประทานน้ำมันมะพร้าวเข้าไปจะทำให้เราอิ่มเร็วขึ้น และพลังงานที่ได้รับจากน้ำมันมะพร้าวก็สูงมากจึงทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มนานขึ้นด้วย ทำให้เรามีความอยากอาหารน้อยลง เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก

2.ช่วยเผาผลาญไขมัน น้ำมันมะพร้าวจะเข้าไปกระตุ้นกระบวนการเมตาบอลิซึม ( Metabolism ) ในการเปลี่ยนกรดไขมันอิ่มตัวให้กลายเป็นพลังงาน เมื่ออัตราเมตาบอลิซึมสูงส่งผลให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย ทำให้ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) ผลิตฮอร์โมนด์ไทยรอยด์ออกมาเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายเผาพลาญไขมันได้มากขึ้น กระบวนการต่างๆ ของร่างกายก็ทำงานได้อย่างปกติ และยัง่วยลดการสะสมของไขมันตามร่างกายเพราะร่างกายมีการเผาพลาญไขมันไปใช้เป็นพลังงานจนหมด

3.กระตุ้นการทำงานของสมอง น้ำมันมะพร้าวเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ตับจะทำการย่อยสลายกลายเป็นกลูโคสและคีโตนที่จัดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของสมอง กลูโคสที่ได้จะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของเซลล์สมองทำให้สมองมีความแข็งแรง สมองจึงทำงานได้ดีมีการเรียนรู้ รับรู้และจดจำที่มากขึ้น นอกเหนือจากกลูโคสแล้วคีโตนที่ได้จากการย่อยน้ำมันมะพร้าวจากตับก็ถือเป็นแหล่งพลังงานอีกอย่างหนึ่งของเซลล์สมองในยามที่ร่างกายขาดกลูโคส สมองจะดึงคีโตนที่ได้จากน้ำมันมะพร้าวส่งไปเป็นแหล่งพลังงานให้กับสมองทดแทนกลูโคส คีโตนจะช่วยลดความเสียหายของเซลล์สมองได้เป็นอย่างดีและยังช่วยลดการอักเสบของเซลล์สมอง ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ 

4.บำรุงกระดูกและฟัน น้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบของแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งแคลเซียมและแมกนีเซียมจะช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน เมื่อเรากินน้ำมันมะพร้าวซึ่งมีแมกนีเซียมที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้เป็นอย่างดี จึงช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ข้อเสื่อมได้เป็นอย่างดี

5.ฆ่าเชื้อโรค น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริกในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งกรดลอริกนี้มีสารโมโนลอริน ( Monolaurin ) ที่มีคุณสมบัติที่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัสได้ โดยน้ำมันมะพร้าวจะทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อโรคและปล่อยสารโมโนลอรินเข้าไปในเซลล์ของเชื้อโรค สารโมโนลอรินจะส่งผลให้เซลล์ของเชื้อโรคที่เข้ามานั้นตายไป และสารโมโนลอรินยังไม่ส่งผลกับจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีอยู่ในร่างกายอีกด้วย จึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงของภูมิต้านทานโรคได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังสามารถนำมาอมในปากหรือใช้กลั้วคอก็จะช่วยฆ่าเชื้อโรคในปากและลำคอ เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในปากและลำคอ ลดการเกิดกลิ่นปาก ลดการสะสมของเชื้อโรคในปาก ป้องกันเหงือกอักเสบ

6.เพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด น้ำมันมะพร้าวมีสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มของสารประกอบฟีนอล ซึ่งสารประกอบกลุ่มนี้จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีที่ช่วยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้ามาทำร้ายเซลล์ผนังหลอดเลือดได้ หลอดเลือดจึงมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและเส้นเลือดตีบตัน

7.ป้องกันโรคเบาหวาน โดยน้ำมันมะพร้าวจะไปกระตุ้นและเพิ่มการทำงานของตับในการผลิตสารอินซูลินให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เมื่อระดับอินซูลินคงที่ทำให้ร่างกายมีการเผาพลาญไขมันและคาร์โบไฮเดรตในกระแสเลือด จึงช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน

8.ไม่ก่อมะเร็ง น้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบของไขมันอิ่มตัวมากถึง 92% จึงไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน ( Hydrogenation ) จนเกิดเป็นไขมันทรานส์ ( Trans Fat ) โดยไขมันทรานส์นี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับเซลล์ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ

9.บำรุงผิวพรรณ น้ำมันมะพร้าวมีวิตามินอีสูง วิตามินอีจะเข้าไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น มีความชุ่มชื่นใต้ผิวและลดการสูญเสียน้ำของเซลล์ จึงช่วยป้งอกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัย นอกจากการรับประทานน้ำมันมะพร้าวแล้ว การนำน้ำมันมะพร้าวมาทาผิวก็ช่วยเพิ่มความชุมชื่นให้กับผิวได้เช่นกัน เพราะน้ำมันมะพร้าวมีโมเลกุลขนาดเล็กจึงซึมเข้าสู่ผิวได้อย่างรวดเร็ว และวิตามินอียังช่วยป้องกันแสงแดดเข้ามาทำลายเซลล์ผิวชั้นนอกได้เป็นอย่างดี

10.บำรุงเส้นผม น้ำมันมะพร้าวน้ำสามารถที่จะนำมาใช้ในการหมักเพื่อดูแลเส้นผม ทำให้ผมสวยและเงางามแบบธรรมชาติ รวมไปถึงทำให้เส้นผมดูมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น แต่ควรที่จะเริ่มทำก่อนสระผมประมาณ 30 นาทีโดยเป็นการหมักน้ำมันมะพร้าวทิ้งเอาไว้ แล้วค่อยไปสระผมออกตามปกติ   

11.ป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด น้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันชนิดที่ดีที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานอย่างเต็มที่ จากการศึกษาและทดลองพบว่าคนทีรับประทานน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำประมาณ 12 สับดาห์ เมื่อทำการตรวจวัดค่าไขมันพบว่าปริมาณไขมันชนิดดี ( HDL ) มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 7-8% แต่ปริมาณไขมันชนิดไม่ดี ( LDL ) มีค่าไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นการปริโภคน้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดปริมาณไขมันเลวที่เป็นต้นเหตุของการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคหลอดเลือดแข็งตัวได้

น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก แต่ทว่าการเลือกรับประทานน้ำมันมะพร้าวมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเราเลือกรับประทานน้ำมันมะพร้าวที่ไม่ดีแทนที่จะส่งผลดีต่อร่างกายอาจจะสร้างผลเสียต่อร่างกายได้

ลักษณะที่ดีของน้ำมันมะพร้าว

1.ใส น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ต้องใส ไม่มีสี ไม่มีตะกอนปะปนอยู่ในน้ำมัน

2.กลิ่นคล้ายมะพร้าวหรือไม่มีกลิ่น น้ำมันมะพร้าวที่ดีต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหืนหรือเหม็นเปรี้ยว และต้องมีกลิ่นหอมอ่อนคล้ายมะพร้าว

3.ไม่หนืด ลักษณะเฉพาะของน้ำมันมะพร้าวคือไม่หนืดหรือมีความหนืดน้อยมาก เมื่อรับประทานเข้าปากจะไม่มีความรู้สึกเลี่ยนเหมือนการกินน้ำมันอื่นๆ ถึงจะเป็นน้ำมันมะพร้าวคุณภาพดีที่ควรนำมารับประทาน

4.ซึมเร็ว เมื่อนำมาทาบนผิวน้ำมันต้องซึมเข้าสู่ผิวอย่างรวดเร็วและไม่ทิ้งความมันไว้บนผิวหนังหรือคราบน้ำมันไว้บนผิวเลย

เมื่อได้น้ำมันมะพร้าวคุณภาพดีมาใช้แล้ว การเก็บรักษาก็มีส่วนช่วยคงคุณค่าของน้ำมันมะพร้าวไว้ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าเราซื้อมาแล้วใช้ครั้งเดียวไม่หมด ถ้าเราเก็บรักษาไม่ดีน้ำมันมะพร้าวที่ดีอาจจะกลายเป็นน้ำมันมะพร้าวคุณภาพต่ำไปเลยก็ได้ ดังนั้นควรเก็บน้ำมันมะพร้าวในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่ควรวางไว้ที่ที่โดนแสงแดดเพราะจะทำให้น้ำมันมะพร้าวเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น การเก็บอาจจะนำไปแช่เย็นหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อเก็บไว้ในตู้เย็นน้ำมันมะพร้าวจะแข็งตัวเวลาที่ใช้ต้องรอให้น้ำมันมะพร้าวคลายตัวเป็นของเหลวโดยการวางไว้ที่อุณหภูมิปกติสักครู่หนึ่งก่อน

การกินน้ำมันมะพร้าวนั้นกินได้ง่ายมาก เพราะเป็นน้ำมันที่สามารถกินได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องนำไปปรุงเป็นอาหารก่อน หรือว่าจะนำไปปรุงอาหารเพื่อใช้ในการรับประทานก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้บริโภค การรับประทานน้ำมันมะพร้าวก็เหมือนการรับประทานน้ำมันชนิดอื่นๆ ที่ต้องบริโภคในอัตราส่วนที่เหมาะสม ถ้ามากไปก็จะเข้าไปสะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกาย ถ้าน้อยไปร่างกายก็ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ 

วิธีการกินน้ำมันมะพร้าวเพื่อลดน้ำหนัก

ควรกินน้ำมันมะพร้าวตามด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำอุ่น 1 แก้ว ควรกินก่อนมื้ออาหารประมาณ 30-60 นาที เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติช่วยลดความอยากอาหารได้ดี กระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน และเพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย กระตุ้นการขับถ่าย ซึ่งหลังทานน้ำมันมะพร้าวประมาณ 1-2 ชั่วโมงจะรู้สึกอยากถ่าย

ขนาดรับประทานน้ำมันมะพร้าวที่เหมาะสมต่อน้ำหนักตัว

น้ำหนักตัว ( กิโลกรัม ) ขนาดรับประทาน
30 – 40 กิโลกรัม สามารถรับประทานน้ำมันมะพร้าวได้ไม่เกินครึ่งช้อนโต๊ะต่อวัน
41 – 60 กิโลกรัม สามารถรับประทานน้ำมันมะพร้าวได้ไม่เกิน 1 ช้อนโต๊ะต่อวัน
น้ำหนักตัว 61- 80 กิโลกรัมหรือผู้สูงอายุที่มีเกิน 60 ปีขึ้นไป สามารถรับประทานน้ำมันมะพร้าวได้ไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน
น้ำหนักตัว 80 กิโลกรัมขึ้นไป สามารถรับประทานน้ำมันมะพร้าวได้ไม่เกิน 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน

น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันเพื่อสุขภาพที่สามารถรับประทานได้ทุกวัน นับว่าเป็นน้ำมันทางเลือกที่เหมาะกับคนไทยเราเพราะสามารถทำรับประทานได้ด้วยตัวเองที่บ้านหรือจะหาซื้อก็มีราคาถูก จัดเป็นน้ำมันที่ต่อร่างกายและดีต่อใจจริงๆ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

“Coconut oil”. Transport Information Service, German Insurance Association, Berlin. 2015.

Grimwood, BE; Ashman F; Dendy DAV; Jarman CG; Little ECS; Timmins WH (1975). Coconut Palm Products – Their processing in developing countries. Rome: FAO. pp. 49–56. ISBN 978-92-5-100853-9.

พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม

0
พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม
โรคพาร์กินสันเกิดจากอายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสม และการใช้สารเสพติด
พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม
โรคพาร์กินสันเกิดจากอายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสม และการใช้สารเสพติด

พาร์กินสันจากโรคสมองเสื่อม

โรคพาร์กินสัน พบมากในผู้สูงอายุ เชื่อไหมว่า 1 ใน 100 คนของคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ฟังดูเหมือนน้อย แต่ถ้าลองคิดให้เห็นภาพง่ายๆว่า ในโรงเรียน 1 แห่ง ถ้ามีนักเรียน 1,000 คน เมื่อนักเรียนเหล่านี้อายุ 60 ปี จะมีคนที่เป็นโรคพาร์กินสันถึง 10 คน ถือว่าเยอะมากซึ่งความผิดปกติของผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหว เช่น ทำอะไรช้า ทรงตัวผิดปกติ สั่น เกร็ง แข็ง

โรคพาร์กินสัน ( Parkinson’s Disease )

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันร้อยละ 25-30 มีโอกาสเกิดภาวะทุพพลภาพ และมีอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น 2 เท่า ทำให้มีปัญหาในการดำรงชีวิต ต้องมีคนคอยดูแลประจำ ทำให้เป็นภาระของครอบครัว ยิ่งถ้าครอบครัวไหนฐานะยากจน ยิ่งทำให้ลำบากมากขึ้น ในอดีตจะเรียกโรคพาร์กินสันว่า โรคอัมพาตแบบสั่น ( Shaking Palsy ) เพราะว่ามีอาการสั่น เกร็ง จากการเคลื่อนไหว แต่ในปัจจุบันพบว่า นอกเหนือจากอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันยังมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น ภาวะซึมเศร้า หลงผิด เห็นภาพหลอน ภาวะสมองเสื่อม อาการจากระบบประสาทอัตโนมัติ ( Autonomic Nervous System ) ทำงานผิดปกติ เช่น น้ำลายไหลมาก ท้องผูกเรื้อรัง

โรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน คือ อายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสม และการใช้สารเสพติด เช่น แอมเฟตามีน หรือที่เรารู้จักในชื่อ ยาบ้า และผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากศรีษะอย่างรุนแรง และยังพบว่า 20% ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเกิดจากกรรมพันธุ์ หากใครที่พ่อแม่ หรือญาติพี่น้องเป็นโรคพาร์กินสัน ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคพาร์กินสันได้

ความเสี่ยงของโรคพาร์กินสัน คือ อายุที่มากขึ้น บวกกับขณะอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าร่างกายเป็นเวลานานจนเกิดการสะสมและการใช้สารเสพติด

การลดความเสี่ยงจากโรคพาร์กินสัน

ถึงแม้ว่าโรคพาร์กินสัน จะเป็นโรคที่มีความรุนแรง แต่ก็สามารถป้องกันได้ ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยพบว่า การออกกำลังกายตั้งแต่อายุ 35 ปี ขึ้นไป อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคพาร์กินสัน ได้ เนื่องจาก การออกกำลังกาย จะทำมีสาร Brain-Deried Neurotrophic Factor ( BDNF ) ตรงสมองส่วนฮิปโปแคมปัสปริมาณสูง ซึ่งสารนี้มีผลทำให้รักษาเซลล์สมองและช่วยให้เส้นประสาทใหม่เติบโต คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จึงทำให้สามารถเรียนรู้ได้ดี และมีความจำที่ดี

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน

นอกจากปัจจัยเสี่ยงเรื่องอายุและกรรมพันธุ์แล้ว โรคพาร์กินสัน ยังมีสาเหตุมาจากความเสื่อมและตายของสมองส่วนหน้า ( Forebrain ) และถ้าหากมีการเสื่อมและตายของก้านสมองซับสแตนเชียไนกรา ( Substantia Nigra ) ยิ่งทำให้การสร้างสารสื่อประสาทโดพามีนลดน้อยลง ซึ่งสารตัวนี้มีหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมไปยังสมองส่วนคอร์ปัสสไตรเอตัม ( Corpus Striatum ) ในสมองส่วนหน้า ทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังและประสานกันได้ดี แต่ถ้าเซลล์สมองส่วนซับสแตนเชียในกราตาย ภายใน 4-10 ปี ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันจะเริ่มมีอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีก้อนเลวี ( Lewy Body ) ในสมองที่ฝ่อลง ซึ่งในก้อนเลวีจะมีสารแอลฟาไซนิวคลิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผิดปกติ ที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคพาร์กินสัน คนที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลานานเข้าจะเป็นเรื้อรัง มีความรุนแรงของโรคมากขึ้น ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวลำบาก เดินลำบาก พูดลำบาก ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง เพราะส่วนต่างๆทำงานเสื่อมลง

  1. สมองส่วนหน้า ( Forebrain ) ทำหน้าที่ในการควบคุมการเดิน

2. ก้านสมอง ( Brain Stem )

3. คอเดต ( Caudate )

4. พิวตาเมน ( Putamen )

5. อมิกดาลา ( Amygdala )

6. ซับสแตนเชียในกรา ( Substantia Nigra )

อาการโรคพาร์กินสัน ( เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว )

อาการของโรคพาร์กินสัน ซึ่งเราจะเห็นจากภายนอก คือ มีอาการเกร็ง สั่น ในช่วงเริ่มแรก มือจะมีอาการสั่นที่ละข้าง แล้วค่อยเริ่มสั่นทั้งสองข้าง แม้ว่าอยู่เฉยๆก็สั่น แต่เวลาจับสิ่งของมือจะไม่สั่น อาการของโรคพาร์กินสัน นอกจะมีอาการสั่นแล้ว ยังมีอาการกล้ามเนื้อเกร็ง น้ำลายสอมุมปาก เคลื่อนไหวช้า ยืนตัวงอ ถ้าอาการหนักขึ้น จะทำให้เสียการทรงตัว เวลาเดินหกล้มได้ง่าย และเดินผิดปกติ เช่น เดินลากขา หรือไม่แกว่งแขน

อาการของโรคพาร์กินสัน ( ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว )

อาการของโรคพาร์กินสันที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว คือ อาการทางจิตประสาท ซึมเศร้า วิตกกังวล สมองเสื่อม มีความผิดปกติในการควบคุมแรงกระตุ้นภายใน ( Impulse Control Disorder : ICD ) จะมีอาการ เช่น ใช้เงินเยอะ กินเยอะ หมกมุ่นเรื่องเพศ โมโหร้าย เป็นต้น

ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีอาการที่สังเกตเห็นเลยก็คือ เหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนเพลียไม่มีแรง การได้กลิ่นลดลง และมีอาการประสาทหลอน เพราะระบบประสาทอัตโนมัติที่ถูกควบคุมภายใน มีการทำงานผิดปกติ จึงทำให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มักมีอาการท้องผูก เวียนศีรษะ ปากแห้ง ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า ง่วงนอนในตอนกลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน

ซึ่งมีความผิดปกติของอาร์บีดี ( REM Behavior Disorder ) ในช่วงการนอนจะมีอาการขากระตุกในเวลากลางคืน บางคนกระตุกจนตกเตียง หรือฝันแล้วคิดว่าความฝันเป็นจริง เกิดอาการเอะอะโวยวาย เพราะแยกแยะความฝันออกจากความจริงไม่ได้

โรคพาร์กินสันกับข้อมูลที่ชี้ชัดเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

ซึ่งข้อมูลจากสหรัฐอเมริกา ได้นำสมองของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มาตรวจ เพื่อค้นหาสาเหตุ พบว่า มี 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหง่อมบอบบาง คือ

  1. มีสารแอมีลอย ( Amyloid ) คือ มีโรคอัลไซเมอร์
  2. มีสารแอลฟาไซนิวคลิน คือ มีโรคพาร์กินสัน
  3. มีพยาธิสภาพของโรคหลอดเลือดสมอง

ดังนั้น ถ้ารู้จักป้องกันไม่ให้เกิดโรคทั้ง 3 โรคนี้ ก็ช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมได้ ซึ่งนอกจากนี้ ยังพบว่า คนที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะมีระดับสารเหล็กในสมองสวนปมประสารทเบซัล ( Basal Ganglia ) สูงกว่าคนปกติ
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตรวจการทำงานของสมอง โดยใช้ F-Dopa PET Scan ที่สามารถตรวจวัดความผิดปกติของสารโดพามีนในสมอง ของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันได้ แต่การตรวจวัดประเภทนี้ ราคาค่อนข้างสูงมาก และการตรวจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจริงๆ คือต้องรู้จักโรคพาร์กินสันเป็นอย่างดี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญนี้สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องถึง 80-90% อยู่แล้ว จึงไม่ต้องเสียค่าตรวจวัดประเภทนี้ แต่แพทย์จะพิจารณาในการส่งตรวจ F-Dopa PET เฉพาะผู้ที่ป่วยที่มีอาการไม่ชัดเจน แพทย์ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุอะไรเท่านั้น
ดังนั้น ในการรักษาโรคพาร์กินสัน ต้องแยกแยะให้ชัดเจน และตรวจดูอาการของโรคอื่นร่วมด้วย เพราะบางโรคก็มีอาการคล้ายกับโรคพาร์กินสัน

คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ที่มักจะทวนคำถามบ่อยๆ เพราะจำไม่ได้ แต่คนที่เป็นโรคพาร์กินสันจะไม่ถามบ่อย แต่จะอธิบายต่อไม่ได้

โรคพาร์กินสันทำให้สมองเสื่อม

จากที่มีการวินิจฉัยว่าผู้ป่วย ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันชัดเจนแล้ว ภายใน 5-6 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการสมองเสื่อมร้อยละ 25-35 และมีอาการสมองถดถอย ร้อยละ 35 ผู้ป่วยกลุ่มเอ็มซีไอ ร้อยละ 45-50 ภายใน 5 ปี จะกลายเป็นคนสมองเสื่อม และยังพบอีกว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน จากพันธุกรรม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อมสูงมาก ซึ่งการมีพันธุกรรม MAPT ชนิด MAPT H1/H1 มีความเสี่ยงในการเกิดควมจำบกพร่องได้ แต่ถ้ามีสารพันธุกรรม COMT ชนิด COMT Met/Met ก็จะช่วยให้สมองด้านสมาธิทำงานดีขึ้น และมีผลจากการศึกษาผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน ที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมอาร์บีดี ( RBD ) ที่มักเกิดในช่วงการนอน ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะสมองถดถอย ( MCI ) คือไม่สามารถตอบคำถามได้ ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งต่างจากคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ที่มักจะทวนคำถามบ่อยๆ เพราะจำไม่ได้ แต่คนที่เป็นโรคพาร์กินสันจะไม่ถามบ่อย แต่จะอธิบายต่อไม่ได้ และคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน จะตัดสินใจค่อนข้างช้า เพราะมีความผิดปกติในการทำงานด้านการคิดหาเหตุผลของสมอง ซึ่งเราจะมักสังเกตเห็นว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันจะมีพฤติกรรมที่เฉยเมย

ปัญหาที่พบในการวินิจฉัยสมองเสื่อมของคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน

ปัญหาที่พบเกิดจากที่ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันซึ่งมีความผิดปกติในเรื่องของการเคลื่อนไหว ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในส่วนของสมองด้านความคิด และความจำ ทำงานเสื่อมลง จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษาจำเป็นต้องใช้แพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านสมองร่วมด้วย เพื่อจะได้บอกปัญหา อาการ และรักษาได้อย่างแม่นยำ
ในส่วนของพยาธิวิทยาของสมองเสื่อมจากการเป็น โรคพาร์กินสัน จะพบว่ามีก้อนเลวีตรงปมประสารทเบซัลที่สมองส่วนลิมบิค ซึ่งเกี่ยวกับอารมณ์ และตรงเนื้อสมองชั่นนอกมีเนื้อสมองฝ่อลง และเนื้อสมองส่วนหน้าบางลง

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม ของคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน เมื่อปี พ.ศ. 2550 จากสมาคมโรคพาร์กินสัน และการเคลื่อนไหวผิดปกติสากล ( The Internationnal Parkinson and Movement Disorder Socirty ) ประเทศสหรัฐอเมริกา
1.ผู้ป่วยมีความผิดปกติของความรู้คิดของสมอง ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน
2.การเกิดโรคพาร์กินสัน จะเกิดก่อนโรคสมองเสื่อม โดยที่ภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นช้าๆ ซึ่งมีภาวะบกพร่อง ของการทำงานในสมองมากกว่าเดิม 1 ด้าน
3.อาการทางคลินิกที่ควรมี ได้แก่ ด้านการรู้คิด เช่น การใส่ใจบกพร่อง สมาธิ การระลึกจำเหตุการณ์ใหม่ๆ หรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆบกพร่อง แต่การพูดยังดีอยู่ ส่วนด้านพฤติกรรมประสาทจิตเวช จะมีอาการเฉยเมย ซึมเศร้า หลงผิด ง่วงตอนกลางวัน ประสาทหลอน

แนวทางการรักษาอาการสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน

เมื่อผู้ป่วยมีอาการคล้ายหรือสงสัยว่าจะเป็นโรคพาร์กินสัน แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา โดยตรง เพราะสามารถวินิจฉันได้แม่นยำถึง 80-90% ส่วนการรักษามี 3 วิธี ดังนี้

วีธีการรักษาโรคพาร์กินสัน

1.รักษาทางยา

รักษาทางยา คือ ใช้ยาในการบรรเทาอาการ ได้แก่

ยาเลโวโดพา ( Levodopa ) ยาชนิดนี้จะเปลี่ยนเป็นสารโดพามีน เข้าสู่สมองโดยตรงเพื่อทดแทนสารโดพามีนที่พร่องไป ซึ่งมักจะพบในยากลุมอื่นเพื่อลดผลข้างเคียง

ยาเลโวโดพา มีชือ่ทางการค่า ไซเนเมต มาโดพาร์ ซึ่งมีผลข้างเคียง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะลำบาก ท้องผูก หัวใจเต้นผิดปกติ จนส่งผลทำให้นอนไม่หลับ หลับยาก เห็นภาพหลอน เกิดต้อหิน ผู้ป่วยที่ใช้ยานี้นานๆ และปริมาณสูง จะทำให้แขนขามีการเคลื่อนไหวผิดปกติ

ยาเบนซ์โทรพีน ( Benztropine ) ยาชนิดนี้ มักจะใช้กับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ที่มีอาการไม่มาก ส่วนมากจะใช้เพื่อการควบคุมการสั่น ซึ่งยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงเหมือนกัน คือ จะมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก และความจำบกพร่อง ผู้ป่วยทีมีอายุเกิน 70 ไม่ควรใช้ยานี้ และไม่ควรใช้ผู้ป่วยในรายที่มีภาวะสมองเสื่อม

กลุ่มยากระตุ้นโดพามีน ( Dopamine Agonist ) เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันที่อาการยังน้อยอยู่ ซึ่งยากลุ่มนี้จะมีหน้าที่ทำให้โดพามีนทีมีอยู่ในระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น โดยจะใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยาเลโวโดพา ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงนอน ในผู้ป่วยบางราย มีอาการแขนขาบวม ซึ่งเกิดจากผู้ป่วยมีปัญหาระบบการไหลเวียดเลือดไม่ดี แต่บางราย เห็นเป็นภาพหลอน และมีอาการอาเจียน คลื่นไส้ สับสน ร่วมด้วย

กลุ่มยาต้านโคมท์ ( Catechol-O-Methyltransferase : COMT ) ยากลุ่มนี้มีหน้าที่ช่วยในการยับยั้งเอนไซม์โคมท์ เพื่อไม่ให้มีการเผาผลาญเลโวโดพา จึงทำให้เมื่อมีเลโวโดพาอยู่ในร่างกายสูงขึ้น ก็จะเปลี่ยนเป็นโดพามีนมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อยาได้นานขค้น จึงจำเป็นต้องกินยาทั้งสองอย่างพร้อมกัน

2.กายภาพบำบัด

การกายภาพบำบัด จะช่วยให้ร่างกาย มีการทรงตัวได้ดี และเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องและยังช่วยเรื่องหลังโก่ง ไหล่ตก อาการปวดคอ ปวดหลัง ได้ด้วย

การทำงานของนักิจกรรมบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน นักกิจกรรมบำบัดจะเน้นเรื่องความปลอดภัยในการเคลื่อนไหว ฝึกให้ผู้ป่วยใช้ประสาทตากับมือประสานกัน ประเมินอาการต่างๆ ทั้งเรื่องการกิน ความลำบากในการกลืนอาหาร ช่วยให้ฝึกใช้อุปกรณ์เสริม และต้องปรับสภาพแวดล้อม ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น แต่จำเป็นต้องมีญาติคอยดูแลเรื่องการใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆด้วย เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเอง

3.การรักษาด้วยการผ่าตัด

ปัจจุบันการรักษาโรคพาร์กินสินได้มีการพัฒนาไปมาก แต่ก่อนใช้ไฟฟ้าจี้ให้เกิดความร้อนเพื่อไปทำลายเซลล์สมอง สำหรับในยุคปัจจุบัน ได้มีการใช้การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ( Dep Brain Stimulation ) มากกว่า ซึ่งคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน ต้องการผ่าตัด ไม่สามารถผ่าตัดได้ทุกราย เพราะต้องดูข้อบ่งชี้ที่สำคัญ ดังนี้  [adinserter name=”สมองเสื่อม”]

1) ต้องได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า เป็นโรคพาร์กินสันจริงๆ ไม่ใช่แค่มีอาการคล้ายคนที่เป็นโรคพาร์กินสันเท่านั้น

2) ผู้ป่วยที่มีอาการดื้อยา และไม่ตอบสนองต่อยา หรือเมื่อทานยาไปแล้ว ยามีการออกฤทธิ์ที่ไม่แน่นอน

3) มีการตอบสนองต่อยากลุ่มโดพามีน จากการผ่าตัด ซึ่งให้ผลเหมือนกินยาแต่ลดอาการดื้อยา

4) ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น อาการหยุกหยิก ขยับไปมาตลอดเวลา เพราะมีการกินยามากเกินไป ซึ่งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไม่สามารถเพิ่มยาได้อีก

5) ต้องเป็นผู้ที่ไม่เป็นโรคประสาท สมองเสื่อม สมองฝ่อ เพราะมีโอกาสเลือดออกมากจากการฝ่าตัด

วีธีกินยาสำหรับคนที่เป็นโรคพากินสัน

วิธีการรักษาด้วยยา คือ ต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ หากกินยาไม่สม่ำเสมอ กินบ้างไม่กินบ้าง จะเกิดผลข้างเคียงระยะยาว ไม่สามารถคาดเดาการตอบสนองต่อยาที่ทดแทน หรือคาดเดาได้ลำบาก เพราะว่า สมองจะรู้สึกวา การทานยาบ้างไม่ทานบ้าง สมองจะตอบสนองไม่ถูกว่าจะได้รับสารทดแทนหรือไม่ แต่ถ้าผู้ป่วยทานยาสม่ำเสมอ ร่างกายก็จะตอบสนองได้ดี ทำให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และผลเสียอีกอย่างที่ผู้ป่วยกินยาบ้าง ไม่กินยาบ้าง จะทำให้สมองดื้อยาได้

สมองกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ จะแยกแยะไม่ออกว่า อันไหนฝัน อันไหนเรื่องจริง ถ้ามีอาการถึงขั้นนี้ นั้นแสดงว่า อาการทางสมองของผู้ป่วยได้มีการถดถอยลง โดยผู้ป่วยจะนอนหลับในช่วงกลางวัน การรักษาด้วยยาเวโวโดพาต้องไม่ให้ทานมาก ส่วนยาที่อาร์บีดีที่รักษาความผิดปกติของพฤติกรรม ที่เกิดในช่วงนอนหลับ ต้องระวังสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม และผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเดิน นอนกรน เมลาโทนิน ( Melatonon )จะช่วยป้อกันโรคพาร์กินได้ ถ้าใช้ขนาดต่ำ และยังช่วยลดพฤติกรรมอาร์บีดี ส่วนยากลุ่มโดเนเพซิล ไรวาสติกมีน กาแลนทามีน และมีแมนทีน จะลดอาการอาร์บีดีได้

การรักษาสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน

โดยการใช้ยากลุ่มต้านแอซิติลโคลีน เอสเตอเรส  ( Acetylcholinesterase Inhibitor : AChEl ) ไรวาสติกมีน สามารถช่วยผู้ป่วยในเรื่องอาการหลงๆลืมที่ยังเป็นไม่มาก ตั้งแต่ระยะน้อยถึงปานกลาง ทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น มีความรู้คิดมากขึ้น และทำการรักษาอาการซึมเศร้าด้วยยาต้านเศร้า และรักษาอาการประสาทหลอนด้วยยาต้านโรคจิต แต่ต้องระวังผลข้างเคียงให้มาก เพราะจะทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อได้

ซึ่งในปัจจุบัน การรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และ สมองเสื่อม เป็นไปค่อนข้างดีมาก เพราะว่า มียาที่ช่วยในการรักษาได้ดี ยิ่งแพทย์ทำการวินิจฉัยอย่างชัดเจนว่า เป็นโรคพาร์กินสัน ยิ่งเร็วเท่าไหร่ บวกกับผู้ป่วยกินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้อาการดีขึ้น และสามารถอยู่กับเราได้นานที่สุด

การรักษาโรคพาร์กินสัน ด้วยการออกกำลังกาย เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ก็ช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ดีขึ้น เพราะว่า สาเหตุของโรคพาร์กินสัน และ โรคอัลไซเมอร์ มาจากโคหลอดเลือดในสมอง จึงทำให้สมองแย่ลงนั่นเอง
แต่ถ้าเรารู้จักดูแลตัวเองให้ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ร่างกายก็จะหลังสารที่ดีในสมอง ออกมาช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ ทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคพาร์กินสันได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1. 

“Dementia”. MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine. 14 May 2015. Archived from the original on 12 May 2015. Retrieved 27 May 2015. Dementia Also called: Senility

“Dementia Fact sheet N°362”. who.int. April 2012. Archived from the original on 18 March 2015. Retrieved 28 November 2014.

Burns, A; Iliffe, S (5 February 2009). “Dementia”. BMJ (Clinical research ed.). 338: b75. doi:10.1136/bmj.b75. PMID 19196746.

“Dementia diagnosis and assessment” (PDF). pathways.nice.org.uk. Archived (PDF) from the original on 5 December 2014. Retrieved 30 November 2014.

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนแบบรายบุคคล

0
การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนแบบรายบุคคล
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานรายบุคคลในชุมชน
กราฟแสดงผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนเป็นเวลา1ปี

ผู้ป่วยเบาหวาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยเน้นด้านการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรค รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพ หน้าที่หลักประกอบด้วยสองประการสำคัญ ได้แก่

  1. การดำเนินการเชิงรุก เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถจัดการปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การให้บริการต่อเนื่อง โดยเน้นการให้คำปรึกษา การรักษาผู้ป่วยทันที และการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการดูแลฉุกเฉินและการพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งต่อ

นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือและการเชื่อมโยงในระบบสุขภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานให้ครอบคลุมทุกมิติและตอบสนองความต้องการได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก จึงมีนโยบายที่จะจัดการกับอาการของโรคเรื้อรัง มุ่งเน้นให้มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงมากถึงร้อยละ 80-90 พร้อมทั้งจัดให้มีการให้คำปรึกษาและแนะนำสำหรับผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นอีกด้วย โดยทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วพบว่าการดูแลผู้ป่วยยังไม่ค่อยครอบคลุมมากนัก ทำให้ผู้ป่วยแต่ละบุคคลขาดการปรับพฤติกรรมของตัวเองอย่างต่อเนื่อง และได้รับการเข้าถึงการบริการของสถานพยาบาลเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษา ก็ยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว

ล่าสุด แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 และกรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติปี พ.ศ.2554- พ.ศ.2558 ก็ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ให้มีความสอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากที่สุด โดยเน้นให้มีการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของตนเองและคนในครอบครัว ตลอดจนชุมชน สังคมมากขึ้น ทั้งยังมีการพัฒนาระบบและเครื่องมือให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด รวมถึงให้ความใส่ใจในเรื่องของการจัดการ ข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสารและงบประมาณบุคลากรเช่นกัน

สำหรับกรอบแนวทางในการจัดบริการดูแลและรักษาโรคเรื้อรังใน รพ.สต. ก็ไม่ใช่แค่การตรวจเลือดและการจ่ายยาเท่านั้น แต่ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถประเมินอาการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย นั่นก็เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถที่จะจัดการกับปัญหาสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมและมีความยั่งยืนที่สุด โดยองค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพ ที่สำคัญก็มีทั้งหมด 6 ส่วนดังนี้

องค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพ 6 ส่วน

องค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพ 6 ส่วน1. การออกแบบระบบการให้บริการ พร้อมปรับโครงสร้างการบริหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีการสร้างทีมงานที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังได้อย่างชัดเจนที่สุด

2. สนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ เพราะโรคเรื้อรังนั้น ผู้ที่จะทำหน้าที่ในการดูแลได้ดีที่สุด ก็คือตัวของผู้ป่วยเองนั่นเอง ดังนั้นจึงต้องมีการให้คำแนะนำและความรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปใช้และปฏิบัติได้ ซึ่งก็จะเน้นในการให้ผู้ป่วยจัดการกับสุขภาพของตนเองในด้านของการออกกำลังกาย การชั่งน้ำหนัก การควบคุมอาหาร การใช้ยา การตรวจติดตามตนเองและการตรวจวัดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น

3. มีการจัดโครงสร้างการทำงานของ รพ.สต. ใหม่ เพื่อให้มีโครงสร้างในการบริหารจัดการที่ชัดเจนมากขึ้น พร้อมกับสร้างความเชื่อมโยง สัมพันธ์กันระหว่าง รพ.สต. กับผู้ป่วย ผู้ประกันสุขภาพและหน่วยบริการสุขภาพอื่นๆ อีกมากมายเช่นกัน

4. เน้นในด้านการสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความชัดเจนที่สุด รวมถึงมีการผสมการดูแลโรคเรื้อรังและกระบวนการดูแลผู้ป่วยประจำวันในรูปของการย้ำเตือนหรือการกระตุ้นเข้าไปด้วย

5. ทำการเชื่อมโยงเพื่อเสริมพลังชุมชน ( Community Empowerment ) ให้เกิดการพัฒนาและดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรังมากขึ้น

6. การจัดการข้อมูลทางคลินิก ( Clinical Information System ) เพื่อให้มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงสุขภาพของผู้ป่วยอยู่เสมอ รวมถึงบันทึกเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณาวางแผนดูแลผู้ป่วยเช่นกัน

สถานการณ์การจัดการผู้ป่วยเบาหวานรายกรณีและความดันโลหิตสูงในชุมชน

จากรายงานการสัมภาษณ์และจากการสนทนากับกลุ่มเจ้าหน้าที่พยาบาลในรายละเอียดที่ลงลึกกว่าปกติ เกี่ยวกับปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เกี่ยวกับการจัดบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่าในรพ.สต. หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในนาม “ อนามัย ” โดยรัฐบาลได้ระบุผู้ที่จะต้องให้การบริการ ด้านสุขภาพแก่ประชาชนใน รพ.สต. คือ หัวหน้าสถานีอนามัย นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น แต่ละ รพ.สต. กลับมีบุคลากรแค่เพียง 3-4 คนเท่านั้น และที่ขาดแคลนเป็นอย่างมากก็คือ พยาบาลวิชาชีพ หาก รพ.สต.ไหนมีพยาบาลประจำอยู่ ก็จะเป็นแค่พยาบาลเทคนิคที่มาฝึกงาน ทั้งที่ตามบทบาทและหน้าที่ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จะต้องปฏิบัติหน้าที่ 3 ลักษณะ คือ งานฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและการบริการสุขภาพ และในทางปฏิบัติพยาบาลจะต้องทำหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขในการให้บริการการตรวจรักษาทั้งผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยปัญหาสุขภาพทั่วไป

การให้บริการที่ชุมชน

การให้บริการที่ชุมชนการให้บริการที่ชุมชน : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

1. ปัญหาปัจจุบัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( รพ.สต. ) จำนวนร้อยละ 50 ของทั้งหมด มีพยาบาลประจำในการปฏฺบัติงานเพียงคนเดียวเท่านั้น และจะต้องทำหน้าที่ดูแลมากกว่า 3 หมู่บ้านคิดเป็นประชากรมากกว่า 2,000-5,000 คน จึงทำให้การดูแลเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง รวมทั้งเรื่องของระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยเรื้อรังที่มารับยาเป็นครั้ง ๆ แล้วไม่ได้ทำการจดบันทึกไว้ จึงทำให้การรักษาไม่แน่นอน ไม่มีข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยเรื้อรังที่ชัดเจน ถึงแม้ว่า รพ.สต.บางแห่งจะมีการจดทับทึกและทำแฟ้มข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงหลายราย แต่ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อะไร รวมทั้งไม่สามารถติดตามผลการรักษาได้เนื่องจากบุคลากรไม่เพียงพอต่อการทำหน้าที่นี้

2. ผู้ป่วยอยู่ที่ไหนบ้าง

1) ปกติแล้ว ผู้ป่วยมักจะเลือกไปทำการรักษาโรคที่ตัวเองเป็นอยู่ตามความพึงพอใจส่วนบุคคล เช่น ที่โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลเอกชน คลินิกแพทย์ ซึ่งก็เป็นไปตามกรได้รับข้อมูลจากคนใกล้ชิดในลักษณะปากต่อปากถึงความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เรื่องของความสะดวกรวดเร็ว รวมไปถึงการได้รับบริการที่ดี เจ้าหน้าที่เป็นมิตรและพูดจาสุภาพ โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไปพบแพทย์เองเมื่อถึงเวลาที่ยาทานหมด หรือเมื่อเกิดความผิดปกติใด ๆ กับร่างกายขึ้น ไม่ได้อิงตามใบนัดของแพทย์แต่อย่างใด

2) ส่วนผู้ป่วยที่มารับยาที่ รพ.สต. ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะเป็นกลุ่มที่ได้รับการส่งต่อมาจากโรงพยาบาลใหญ่เพื่อให้มารับยารักษาต่อเนื่องโดยเน้นในเรื่องของความสะดวกในการเดินทางมากที่สุด ผู้ป่วยจะต้องนำใบส่งตัว หรือที่เรียกกันว่าใบ refer กลับบ้านพร้อมกับสมุดนัดหมายการไปรับ ซึ่งจะมีข้อมูลสั้นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ วันนัดหมาย ยาที่แพทย์สั่ง ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด น้ำหนักของผู้ป่วย เพราะรพ.สต.จะต้องใช้ข้อมูลส่วนนี้เพิ่มเติมในการจ่ายยา แต่ถึงกระนั้น ปัญหาที่พบมากก็คือ ข้อมูลการรักษายังไม่ครบถ้วนเพียงพอ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนที่มีแพทย์จบใหม่มาประจำ ก็เป็นไปได้ที่แพทย์เหล่านี้จะยังขาดประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น ข้อมูลการตรวจจากห้องแล็บ การตรวจร่างกายที่อาจจะยังมีข้อผิดพลาดอยู่ เป็นต้น

3) ยังมีผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอีกกลุ่มหนึ่ง โดยที่กลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นทั้งโรคเบาหวานเรื้อรังและโรคความดันโลหิตสูง แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่รู้มาก่อนเลยว่าตัวเองป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง แต่จะมารู้ตัวก็เมื่อมีอาการผิดปกติ หรือมีอาการรุนแรงแล้ว กับอีกกรณีหนึ่งที่จะพบก็คือเมื่อมีการรณรงค์ให้ตรวจคัดกรองความเสี่ยง เมื่อเจอ แพทย์ก็มักจะแนะนำให้ทำการรักษาด้วยตัวเอง เช่น งดกินของหวาน ของมัน พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น

3. การให้บริการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่รพ.สต.

ในอดีต รพ.สต. ส่วนใหญ่มักจะไม่มีพยาบาลวิชาชีพประจำอยู่ ด้วยเหตุผลเรื่องของความก้าวหน้าในการทำงาน รวมไปถึงสวัสดิการที่น้อยกว่าการปฏิบัติหน้าที่ในโรงพบาลของรัฐและเอกชน เพราะฉะนั้นการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังและความดันโลหิตสูงจึงเป็นลักษณะของการบริการทางการแพทย์โดยทั่วไปที่ไม่ได้เป็นการรักษาเฉพาะทางของโรค และกระทำโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น เว้นแต่ผู้ป่วยไปรับบริการกับโรงพยาบาลในชุมชน แล้วได้รับการ Refer มายัง รพ.สต.ก็อาจจะได้รับยารักษาเฉพาะโรคอยู่บ้าง แต่ถึงอย่างไรก็ถือว่ายังน่าเป็นห่วง เนื่องจาก รพ.สต.เหล่านี้ไม่ได้มีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเลย ผู้ป่วยจึงไม่รู้ว่าตัวเองอาการดีขึ้นหรือแย่ลง ส่วนการวัดความดันโลหิต ถือว่าเป็นเรื่องปกติของผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคน ใครที่ความดันสูง แพทย์ก็จะให้ยารักษาเผื่อไว้ 3 เดือน หมดเมื่อไรก็มาขอยาใหม่เอาเอง ไม่มีการนัดหมาย ไม่มีการติดตาม ผู้ป่วยบางคนรับยาไปทาน พอดีขึ้นก็หยุดยา เมื่อแย่ลงก็ทานยาใหม่ กว่าจะมาพบแพทย์อีกครั้งก็เป็นปี หรือเมื่อมีอาการรุนแรงแล้ว   

4. โครงการการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน

โครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่รพ.สต.จัดขึ้นนั้นมี 2 ลักษณะ ดังนี้

4.1 ในกรณีที่ไม่มีพยาบาลประจำอยู่ที่รพ.สต.

ส่วนมากแล้ว กิจกรรมที่เกี่ยวข้องก็คือการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำสถานีเป็นผู้จัดตั้งเอง ไม่ได้บังคับว่าจะต้องให้ผู้ป่วยมาร่วมกิจกรรม ใครสนใจก็เข้าร่วมได้ทุกคน แต่ผลสุดท้ายก็มักจะค่อย ๆ หายไปเองในที่สุด ปกติการจัดกิจกรรมออกกำลังกายมักจะได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเรื่องของอุปกรณ์ สถานที่อยู่แล้ว และในบางครั้งก็อาจจะมีการประสานพยาบาลหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เกี่ยวกับออกกำลังกายเพื่อให้ห่างไกลจากโรคอยู่บ้าง

4.2 มีพยาบาลปฏิบัติงานอยู่

ส่วนในรพ.สต.ที่มีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานอยู่ ก็จะมีการจัดโครงการให้ความรู้เรื่องโรคอยู่บ้าง เช่นการออกกำลังกาย เรื่องของอาหารการกิน เอาผู้ป่วยมาจัดเป็น Support Group เพื่อนำเสนออาการของโรค แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร รวมถึงไม่มีการประเมินผลและติดตามผล

การคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

การคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ระบุไว้ว่า การคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นหน้าที่ที่รพ.สต.ต้องทำ โดยอาศัยแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยจากคู่มือของสปสช.เป็นหลัก ซึ่งก็คือ

1.การประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องของงบประมาณที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้

2.การติดตามเข้าไปในชุมชนบางแห่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางมาที่ รพ.สต.ได้โดยมีเจ้าหน้าที่ อสม.เป็นผู้ช่วยในการคัดกรอง โดยอาจจะใช้วิธีการนัดหมายกลุ่มเสี่ยง เพื่อทำการการเจาะเลือดปลายนิ้ว วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ก่อนที่จะส่งตัวผู้ป่วยออกมาทำการรักษาต่อไป จะต้องมีการอบรมเจ้าหน้าที่ อสม.เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.การคัดกรองมีด้วยกันหลายรูปแบบ วิธีที่สะดวกที่สุดคือประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปีมารับบริการที่ รพ.สต.

การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

เพราะไม่มีความชัดเจน และไม่มีข้อมูลใด ๆ ของรพ.สต.เกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น ที่ผ่านมาจึงเป็นลักษณะการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ

1.อสม. เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน

รพ.สต. หลายแห่งได้ทำการอบรมให้ อสม. เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน โดยจะได้รับค่าตอบแทนมาน้อยแตกต่างกันไป แต่ทั้งนี้ อสม.จะจะต้องผ่านการอบรมในการวัดความดันโลหิตสูง การเจาะเลือดปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงเสียก่อน และเมื่อผ่านการอบรมแล้ว อสม.จะต้องรายงานการเยี่ยมบ้าน ซึ่งก็คือการประเมินอาการของผู้ป่วยในสายตาของอสม. เอง ว่าผู้ป่วยสามารถดำรงชีพได้ตัวเองหรือไม่ มีอาการรุนแรงมากน้อยเพียงใด ไม่ได้หมายถึงให้ไปวัดความดัน เจาะปลายนิ้วทุกครั้งอย่างที่เข้าใจ

2.เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเป็นผู้ดูแล

แต่ถ้าหากมีพยาบาลวิชาชีพประจำอยู่ที่ รพ.สต. ลักษณะของการเยี่ยมบ้านจะเลือกเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เพราะฉะนั้นจึงเน้นในเรื่องของการบริการทางการแพทย์เสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น การรักษาแผลเบาหวาน การเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ การเปลี่ยนสายอาหาร เป็นต้น แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก ก็จะมีการส่งตัวมารับการรักษาที่ รพ.สต.ทันที

4.บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิต

โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะของการจัดการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เกือบทุกแห่งมักจะเน้นไปที่เรื่องของการจัดสวัสดิการมากกว่าการดูแลผู้ป่วยโดยตรง เช่น การจัดให้มีกลุ่ม อสม.เป็นผู้ไปดูแลหรือเยี่ยมเยือนผู้ป่วยโดยมีค่าตอบแทนเป็นเงินให้ และสำหรับผู้ป่วยที่มีรายได้น้อย ดูแลตัวเองไม่ได้เลย ก็จะได้รับสวัสดิการพิเศษ ที่จะมาในรูปของเงินกองทุน การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้น รวมไปถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่ในปัจจุบันพบว่าอปท.หลายแห่งได้มีการริเริ่มคัดกรองผู้ป่วยเรื้อรังบ้างแล้ว โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยกำหนดให้สถานีอนามัยหรือ รพ.สต.เป็นผู้ดูแลโดยตรง ส่วนเรื่องงบประมาณ ก็จะใช้เงินอุดหนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในขณะเดียวกัน ก็มีอปท.หลายแห่ง ที่ได้จัดซื้อชุดบริการสุขภาพจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน เพื่อมาใช้คัดกรองผู้ป่วยภายในชุมชนแล้ว 

สถานบริการสุขภาพระดับพื้นฐาน ที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน

ภายหลังที่สถานบริการสุขภาพระบบปฐมภูมิ ได้แก่ รพ.สต. และ PCU มีการระบุให้มีพยาบาลวิชาชีพประจำอย่างน้อย 1 คนเพื่อทำการปฏิบัติงานต่าง ๆ สถานการณ์ของการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก็เริ่มเป็นไปในทิศ ทางที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยพยาบาลวิชาชีพเหล่านี้ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) มาก่อน เพื่อที่จะได้บริการผู้ป่วยเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม ซึ่งตัวอย่างของสถานบริการระดับปฐมภูมิที่มีการจัดการบริการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ดีนั้น มีรายละเอียด คือ

ตัวอย่างการวิเคราะห์สถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในภาคเหนือ

  • ขอบเขตการให้บริการ

ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านห้วยตอง ให้บริการประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน จำนวน 5,493 คน มีจำนวนประชากรที่ อายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 4,194 คน และเป็นประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 2,278 คน

  • การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

ประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 4,194 คน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยง 2,182 คน (52.03%) โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงยังไม่ปรากฎอาการขึ้นในช่วงการเจ็บป่วยระยะแรก ๆ เพราะฉะนั้นเรื่องของการคัดกรองจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จะมีการดำเนินงานปีละครั้ง โดยใช้แนวทางในการคัดกรอง คือ

  • การประเมินภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยใหม่ทุกรายที่ผ่านการคัดกรองระยะแรก จะต้องเข้ารับการประเมิน Lipid profile และ renal function ส่วนผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับการยืนยันด้วยการตรวจ HbA1C ก่อนว่ามีอาการของโรคจริง ๆ หรือไม่ โดยจะมีพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด จากนั้นจึงมีการประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคร่วมไปกับผู้เก่าเลยเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา โดยรายละเอยดการตรวจก็คือ การตรวจตา ( การอ่าน film เพื่อประเมินจอประสาทตา และประเมิน VA ) การประเมินเท้า และการตรวจประสาทความรู้สึกด้วยโมโนฟิลาเมนท์ ซึ่งการประเมินตาและเท้านั้น พยาบาลจะได้รับการอบรมจากแพทย์เฉพาะทาง เพราะหากเกิดความผิดพลาดขึ้นมาก็อาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วยได้

  •  การเยี่ยมบ้าน

ปัจจุบันนี้ การเยี่ยมบ้านถือเป็นภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าทุกคนที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีการแบ่งเจ้าหน้าที่ออกเป็น 1 คนต่อ 1 หมู่บ้าน โดยทั่วไปแล้วประกอบด้วย พยาบาล 2 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2 คน และ อสม.ที่รับผิดชอบในพื้นที่ของแต่ละหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะมีแผนการเยี่ยมบ้านทุกวัน เวลาที่นิยมไปเยี่ยมก็คือช่วงบ่าย อย่างน้อยภายใน 1 เดือนจะต้องเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดกัน 3 สัปดาห์

  •  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

สำหรับผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เจ้าหน้าที่พยาบาลร่วมกับ อสมก็มักจะจัดโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีการจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นเวลา 1 วัน โดยอาจจะเน้นเรื่องของการดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น และยังมีในเรื่องของการดูแลตัวเองเมื่ออยู่ที่บ้าน โดยจะเป็นการแจกคู่มือประจำตัวผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้บันทึกพฤติกรรมและความผิดปกติของตนเองในสมุดบันทึก เพื่อให้สะดวกต่อเจ้าหน้าที่ที่จะต้องการข้อมูลไปใช้เพื่อกทำการรักษาให้อย่างหายขาดได้ต่อไป จัดกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละ10-15 คนเพื่อให้ผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง เพื่อที่จะได้เป็นแรงบันดาลใจในการต้อสู้กับโรคร้ายต่อไป

ยังมีเรื่องของการอบรมและพัฒนาความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและทีม อสม.โดยจัดให้มีการเข้าร่วมประชุมดูแลผู้ป่วยเบาหวานจากโรงพยาบาล รวมไปถึงการจัดกิจกรรมแบบกกลุ่มเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาอสมช.( อาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญ ) ให้มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะใช้เพียง 2 ปี และในการประชุมเชิงประฏิบัติการการฝึกทักษะการตรวจเท้า การตรวจฟัน การตรวจคัดกรองอัมพฤกษ์แก่ผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง และจัดทำแนวทางคัดกรองสุขภาพให้แก่ อสม. แล้วก็จะได้รับประกาศนียบัตรอบรม

  •  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เรื่องของเงินทุนสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วย ควรจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษสำหรับทานเอง หรือปลูกขาย การออกกำลังกายวันละ 30 นาทีเมื่อมีเวลา ซึ่งในส่วนนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ก็จะเป็นผู้จัดการเรื่องของสถานที่และอุปกรณ์ในการออกกำลังกายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนมากที่สุด อีกส่วนหนึ่งก็เอาไว้สำหรับให้อสม.ออกเยี่ยมผู้ป่วยเรือรั้งไม่สามารถช่วยตัวเองได้

  •  การตรวจรักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ปัจจุบันนี้ รพ.สต. ได้เริ่มให้บริการตรวจและรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดเรื้อรังและและความดันโลหิตสูง เดือนละ 2 ครั้ง ก็คือทุกวันอังคารที่ 2 และวันอังคารที่ 4 ของทุกเดือน

การดูแลระดับพื้นฐาน

บทบาทและหน้าที่ในการจัดการของเจ้าหน้าที่พยาบาลในชุมชน เป็นบทบาทที่แตกต่างกับบทบาทและหน้าที่ในการจัดการของเจ้าหน้าที่พยาบาลในโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าทั้งสองบทบาทจะมีเป้าหมายที่ไม่แตกต่างกันมากนักคือ การรักษาหรือทำให้เกิดการชะลอตัวในการดำเนินของโรคมากยิ่งขึ้น และนี่คือแผนงานบางส่วนของเจ้าหน้าที่พยาบาลในชุมชน

การคัดกรองกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ก่อนที่จะจัดการโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ต้องเริ่มจากการค้นหากลุ่มเสี่ยงให้พบเสียก่อน จากเดิมที่ให้ทำการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ก็เปลี่ยนมาคัดกรองตั้งแต่อายุ 15 ปี ( ไม่จำเป็นต้องคัดทุกคน เลือกคัดเฉพาะคนที่มีปัจจัยเสี่ยงเท่านั้น เช่น เป็นโรคอ้วน วูบบ่อย มีประวัติทางพันธุกรรม เป็นต้น ) เพราะว่าไม่มีใครรู้ว่าในชุมชนแห่งหนึ่งนั้นจะมีผู้ป่วยและผู้ที่อยู้ในกลุ่มเสี่ยงมากน้อยเพียงไร สิ่งเดียวที่ทำได้ก็คือการคัดกรองผู้ป่วยให้ได้มากที่สุดในระยะเวลาที่ไม่นานจนเกินไป

ก่อนที่จะจัดการโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ต้องเริ่มจากการค้นหากลุ่มเสี่ยงให้พบเสียก่อน

ยกตัวอย่าง เช่น เป้าหมายคัดกรองในประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ในปี 2555 มี 1,034 คน ทำให้วางแผนในการใช้เครือข่ายในชุมชน ได้แก่ อสม. มีสัดส่วนในการดูแลผู้ป่วยไม่มากจนเกินไป คือ อสม. 1 คน รับผิดชอบแค่ 10-11 ครัวเรือนเท่านั้น โดยเริ่มจาก

1) ให้ อสม.เป็นผู้คัดกรองผู้ป่วยตามที่ได้รับการอบรมมา แม้จะไม่สามารถหวังผลได้ 100% เต็ม แต่ในระยะเวลาไม่นานก็พอจะมองเห็นจำนวนผู้ป่วยเกือบทั้งหมดที่ได้จากการคัดกรอง

2) ควรมีการจัดการฐานข้อมูลรวมถึงการแบ่งกลุ่มให้ชัดเจน เพราะอสม.บางคนอาจจะไม่ได้คัดกรองกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด โดยการเรียก อสม.มาประชุมร่วมกัน แล้วกำหนดเขตที่ต้องการ เช่น เขต 1 คือประชาชนที่มีชื่ออยู่ในเขตและอาศัยอยู่ในเขต หรือ 2 ประชาชนมีชื่ออยู่ในเขต แต่อาศัยอยู่นอกเขต เป็นต้น

3) อสม.ทุกคน จะต้องผ่านการอบรมการเจาะเลือด และการวัดความดันโลหิต เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความเชื่อถือและเต็มใจในการรับบริการ

4) ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนอกเหนือไปจากเรื่องของบุคลากรไม่พอแล้ว ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายไม่เพียงพออีกด้วย ถ้าหากเป็นเช่นนี้ ก็ควรมีการขอรับบริจาคโดยกระตุ้นให้บระชาชนในหมู่บ้านตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ เพื่อที่จะจัดซื้อเครื่องมือ 1 ชุด ที่ภายในประกอบด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอล 1 เครื่อง เครื่องเจาะน้ำตาล 1 เครื่อง แถบน้ำตาล 1 กล่อง สายวัด 1 เส้น อสม.สามารถหิ้วไปพร้อมกับเครื่องชั่งน้ำหนักอีก 1 เครื่อง บรรจุมาในกล่องหูหิ้วที่ใครเห็นก็สะดุดตา

5) เมื่อได้ข้อมูลของผู้ป่วย ทั้งจาก อสม.และการตรวจเองที่ รพ.สต. พยาบาลควรมีการนัดหมายผู้ป่วยให้มาติดตามอาการเป็นประจำในวันจันทร์ของสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ในแต่ละเดือน หากพบความผิดปกติ หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น ก็จะได้ส่งตัวไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลอื่นได้ แต่ถ้าหากไม่รุนแรง ก็ควรให้คำแนะนำและคำปรึกษาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลตัวเองของผู้ป่วยอยู่เสมอ

6) เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ได้มากพอสมควรแล้ว ก็ควรทีการเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้การเรียบเรียงข้อมูลง่ายขึ้น เช่น การใช้รหัส (Code) ที่เรียกว่า My SQL โดยให้เขียนโค้ดตามพื้นที่ของประชากรที่ต้องการ ก็จะง่ายต่อการติดตามของพยาบาลและแพทย์เป็นอย่างยิ่ง

ผลการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

จากผลการดำเนินการของการคัดกรองนี้ ทำให้มีความครอบคลุมเป้าหมายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 91.51 มากกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งคัดกรองได้เพียงร้อยละ 49.5 เท่านั้น ซึ่งก็เป็นผลมาจากการจัดสรรในภาพของหน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิสถานบริการคู่สัญญา ( CUP ) ที่ได้ให้การสนับสนุนแถมตรวจระดับน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงการตัดสินใจคัดกรองผู้ป่วยตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่พยาบาลไม่ได้รับการประสานเงินสนับสนุนจากงบประมาณจากกองทุนตำบลร่วมด้วย เพราะโรงพยาบาลทั่วไปนั้นไม่ได้ให้การสนับสนุนในส่วนนี้ และนี่คือแนวทางที่สำคัญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พยาบาลในปัจจุบันนี้   

  • การออกกำลังกายระดับปานกลาง หรือการเต้นแอโรบิค มีผลทำให้สุขภาพดีขึ้นได้จริง จึงมีการสนับสนุนให้มีการคัดเลือกแกนนำสำหรับนำออกกำลังกาย รวมไปถึงการจัดหาสถานที่สำหรับการเต้นแอโรบิค โดยใช้จุดนี้เป็นหลักประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านมาออกกำลังกายเพิ่มขึน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของกลุ่มเสี่ยง โดยเน้นไปที่เรื่องของการสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ขึ้นมาแทน แล้วให้มีการแจ้งผลตอบรับกลับคืนมา แต่อ่างไรก็ตาม เรื่องของการวัดผลที่ถูกต้อง ยังเป็นสิ่งที่ต้องขบคิดกันต่อไปจนกว่าจะหามาตรฐานที่ตรงกันได้
  • สามารถคัดกรองกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าร้อยละ 95 จากการดำเนินการของ อสม.
  • กลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยใหม่ ได้รับการรักษาหรือคำแนะนำทันทีที่ไปพบแพทย์ ซึ่งก็เป็นไปตามทิศทางที่ได้กำหนดเอาไว้

บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลชุมชน หรือการทำงานในสถานบริการระดับปฐมเป้าหมายหลักก็คือการดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดโรคมากกว่าการมารักษาโรค การทำให้คนในชุมชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตัวเอง

การจัดการกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ในแต่ละชุมชน มีผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นพยาบาลจึงวรมีการจัดการให้ผู้ป่วยได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องต่าง ๆ กัน บางคนที่ไม่สะดวกจะเดินทางไปโรงพยาบาลในเมือง ก็ต้องประสานงานในเครือข่ายเพื่อให้เข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.สต. ได้ และต้องเน้นในเรื่องของวิชาชีพและมาตรฐานในการรักษา รวมไปถึงการขึ้นทะเบียนของผู้ป่วยที่เป็นไปตามความเหมาะสม

การดูแลผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษาที่คลินิคนั้น ไม่ได้เน้นที่เรื่องของแพทย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของการใช้ความรู้ทางคลินิค และยาที่มีประสิทธิภาพสูงพอที่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บป่วยได้ และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการได้รับบริการทางการแพทย์ทุกครั้งเมื่อจำเป็น ก็ควรจัดให้มีช่องทางที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอคลินิคเปิดทำการ อย่างเช้น “ บริการ Call Center ปรึกษาสุขภาพ ตลอด 24 ชั่วโมง ” เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทำการปรึกษาหรือทราบอาการของตัวเองเบื้องต้นก่อน โดยเน้นไปที่การซักประวัติ การคัดกรองและการตรวจร่างกายที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด เพื่อที่จะได้ประเมินถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยต่อไป
การคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็คือต้องวางเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเป้าหมายของเราไม่ใช่แค่ผู้ป่วยเรื้อรังที่มารับยาในคลินิค รพ.สต.เท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ป่วยทั้งหมดในชุมชน เพราะฉะนั้นในขั้นตอนนี้จึงต้องเน้นย้ำและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ อสม.อยู่เสมอว่า ต้องแจ้งทันทีที่มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนใหม่จากทุกโรงพยาบาลหรือคลินิก และควรเปิดช่องทางให้ผู้ป่วยสามารถแจ้งอาการได้โดยตรง แต่กว่าจะมาถึงขั้นนี้ได้ รพ.สต.ก็จะต้องสร้างความไว้วางใจให้กับประชาชนในพื้นที่ระดับหนึ่งว่า การให้ข้อมูลจะถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงและไว้วางใจได้ รพ.สต. โดยข้อมูลที่จะต้องได้รับนั้น ก็คือ ผู้ป่วยเคยไปรักษาที่ไหนแล้วบ้าง เคยตรวจคัดกรองอะไรไปแล้วบ้าง และอะไรคืออุปสรรคที่ทำให้ไม่ได้รับการดูแลบ้าง

จึงถือว่าเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่มีความท้าทายเป็นอย่างยิ่งในการเก็บข้อมูลที่สำคัญให้ครบ เพราะยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ทำการรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ควรมีการวางแผนในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยส่วนบุคคล และแผนระยะยาวสำหรับเรื่องนี้ มีกรณีหนึ่งที่น่าสนใจ คือในส่วนของการตรวจเลือดประจำปีในครั้งอดีตนั้น เมื่อพยาบาลประจำคลินิกได้เสนอแนะให้ผู้ป่วยเดินทางไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาล ก็มีผู้ป่วยที่ทำตามเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น เพราะผู้ป่วยรู้สึกถึงความลำบากในการเดินทาง บางก็ตัดใจไม่ทำเพราะไม่สะดวกและไม่เห็นความสำคัญ แต่เมื่อมีการเจาะเลือดที่ รพ.สต.แล้วนำส่งไปตรวจที่โรงพยาบาล ก็พบว่ามีผู้ที่เต็มใขจปฏฺบัติสูงถึงร้อยละ 90 ในส่วนของการตรวจเท้า ที่แต่เดิมตรวจได้น้อย เพราะผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าตรวจแล้วจะมีผลกระทบอะไรบ้าง แต่เมื่อมีการเข้ามาของพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรม พร้อมกับการขอความร่วมมือ ก็พบว่าผู้ป่วยได้เข้าถึงการตรวจเท้าเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพึงพอใจ

สำหรับเรื่องของการตรวจจอประสาทตา เป็นการตรวจที่จัดขึ้นเพียง 1 ครั้งต่อปี เมื่อผู้ป่วยรู้ว่าต้องเดินทางไปตรวจถึงโณงพยาบาล ก็ทำให้เกิดการปฏิเสธเช่นเดียวกับปัญหาของการเจาะเลือดที่เกิดขึ้น พยาบาลและเจ้าหน้าที่จึงต้องทำการประสานกับ อบต.เพื่อขอให้มีรถรับส่งผู้ป่วยไปทำการตรวจจอประสาทตาฟรี ไม่คิดค่าบริการ จึงทำให้มีผลที่น่าพึงพอใจมากขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลไม่มีงบสนับสนุนในส่วนนี้ และยังมีเรื่องของการกำหนดเกณฑ์การจัดลำดับการตรวจ คือ กลุ่มเสี่ยงสูงจะได้ตรวจก่อนกลุ่มเสี่ยงต่ำ เช่น กลุ่มที่มีภาวะ Metaboilc Syndrome CVD risk และมีภาวะ Isolate HT เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งที่พอจะทำได้ก็คือ การให้แพทย์หมุนเวียนไปทุก รพ.สต. เพื่อให้ผู้ป่วยได้พบแพทย์ ปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย และนอกจากนี้ก็ควรมีการประสานงานกับทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจช่องปาก ประสานงานกับแพทย์ทางด้านระบบประสาทเพื่อประเมินความเครียดของผู้ป่วยที่มีต่อการใช้ชีวิต ก็จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ   

ส่วนเรื่องของการเยี่ยมบ้าน มีการใช้กลยุทธ์เพื่อดึงศักยภาพของคนในชุมชนออกมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยยึดตามแนวทางของ Chronic Model ฉบับปรับปรุงใหม่ ที่จะเน้นการประเมินในเรื่องของต้นทุนการเจ็บป่วยของคนในชุมชน การควบคุมโรคของคนในชุมชนและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหา เช่น การจัดทำชุดข้อมูลผู้ป่วย หรือการขึ้นทะเบียนต่าง ๆ จะเป็นการจัดทำใน Microsoft Excel และในส่วนของการบันทึกในฐานข้อมูลของสถานบริการ ( JHCIS ) ที่จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างฐานข้อมูล JHCIS และฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( GIS JHCIS ) ก็จะเป็นการใช้โค้ดผ่านโปรแกรม MySQL Query Browser ระบบภายในและภายนอกสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ผ่าน Lan และ Wireless ซึ่งจะมีประโยชน์ในเรื่องของการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการรักษา ร่วมกับผู้ป่วยในบางกรณี เช่น การตรวจดูประวัติการรักษา การตรวจดูปัญหาการคัดกรอง ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนในการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ นอกจากนี้ยังสามารถแยกแยะผู้ป่วยตามความเสี่ยง เพื่อที่จะได้วางแผนป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น หรือชะลอการเกิดให้ช้าลง และยังช่วยเตือนผู้ป่วยได้ว่าถึงเวลาที่จะต้องทำอะไรแล้วบ้าง เช่น การแจ้งเตือนว่าถึงเวลาเจาะดูน้ำตาลและเลือดแล้ว เป็นต้น

โรคเบาหวานและโรคความดันหลอดเลือดสูงนั้น ถือว่ามีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีโอกาสที่จะนำไปสู่การเป็นโรคแทรกซ้อนได้อีกหลาย ๆ โรค ซึ่งก็มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ และปัญหาอื่น ๆ รวมไปถึงการส่งผลกระทบต่อรัฐอีกด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งที่พยาบาลและแพทย์พึงทำก็คือการป้องกันไม่ให้โรคนี้เกิดขึ้น หรือชะลอการเกิดให้ช้าลงที่สุดนั่นเอง

บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลชุมชน หรือการทำงานในสถานบริการระดับปฐมเป้าหมายหลักก็คือการดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดโรคมากกว่าการมารักษาโรค การทำให้คนในชุมชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตัวเอง เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าเป็นงานที่หลากหลายและต้องบูรณาการหลายด้านพอสมควร และด้วยความที่พยาบาลแต่ละคน มีประชาชนให้ดูแลในจำนวนไม่เท่ากัน จึงไม่มีมาตรฐานใด ๆ มากำหนดได้ทั้งสิ้น ต้องออกแบบแผนให้เหมาะสมกับบริบทและพื้นที่ที่ดูแล และปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อไป

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

อาหารและยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต

0
อาหารและยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต
ความดันโลหิตเป็นภาวะที่แรงดันของเลือดที่มีต่อผนังเลือด สามารถรักษาได้ด้วยการปรับลักษณะการดำรงชีวิต
อาหารและยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต
ความดันโลหิต คือ ความดันในหลอดเลือดที่หัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดเข้าสู่หลอดเลือด

อาหารและยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต

อาหารและยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในเรื่องของการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทั้งแบบที่ต้องใช้ยาในการรักษา หรือผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงเล็กน้อยนั้น ก็คือ การปรับเปลี่ยนลักษณะหรือไลฟ์สไตล์ในการดำรงชีวิต ( Life Style Modification ) เพื่อที่การรักษาจะได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะช่วยช่วยลดระดับความดันโลหิตให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี รวมไปถึงการลด ปริมาณยาควบคุมความดันให้น้อยลงไปจากเดิม ซึ่งก็จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทรมานกับโรคมากนัก และไม่ต้องเสียเงินในการรักษามากในระยะยาว

การดำรงชีวิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับแนวทางในการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการดำรงชีวิตที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีดังต่อไปนี้

1.งดสูบบุหรี่ และงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
2.ควรออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการพักผ่อนให้เพียงพอ
3.ลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่อ้วนและน้ำหนักเกิน ( BMI ≥ 25กก./ม. )
4.การลดทานเค็ม และลดปริมาณเกลือที่ปรุงในอาหาร และลดไขมันอิ่มตัว พร้อมกันนี้ก็ควรเพิ่มการทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นกว่าเดิม

จริง ๆ แล้วการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของผู้ป่วยยังมีอีกมาก แต่จะขอพูดถึงในเรื่องของการปรับเปลี่ยนอาหารและการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นเท่านั้น เพราะว่าเรื่องของอาหารเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยลดระดับความดันของเลือด ช่วยควบคุม Metabolic Syndrome และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เกี่ยวระบบหัวใจและหลอดเลือดได้

หลักการรับประทานอาหาร ( Dietary Change ) เพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง

สำหรับหลักในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น จะต้องเน้นในเรื่องของการลดความดันโลหิตเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นการประกอบอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะต้องหลีกเลี่ยงการใส่เกลือและโซเดียมลงไปให้มากที่สุด หรือเรียกว่างดอาหารเค็มไปเลย จากการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณของโซเดียมในร่างกายที่จะมีผลต่อความดันโลหิตของเลือดนั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูง โดยระดับต่ำสุดจะอยู่ที่ 1,500 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งเป็นระดับที่มีผลต่อการลดความดันโลหิตที่เห็นชัดเจนที่สุด นอกเหนือไปจากเรื่องของการบริโภคเค็มแล้ว ก็ยังมีเรื่องของการบริโภคอาหารในลักษณะที่ชื่อ “ DASH ” ( Dietary Approach to Stop Hypertension ) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

การประกอบอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะต้องหลีกเลี่ยงการใส่เกลือและโซเดียมลงไปให้มากที่สุด

โปรแกรมอาหาร DASH จะมีการเพิ่มผักและผลไม้เข้ามามากถึง 8-10 หน่วยบริโภค ( Serving ) ต่อวัน และด้วยความที่เพิ่มมามากขนาดนี้ ก็จะต้องไปลดการบริโภคไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น หมูและเนื้อติดมัน เบคอน หมูสามชั้น ให้ลดลงไป 2-3 หน่วยบริโภคแทน เน้นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ เช่น กลุ่มธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว อกไก่ เนื้อปลา ไข่ขาว รวมทั้งลดการบริโภคน้ำตาลที่ได้จากเครื่องดื่มและของหวานอีกด้วย จากผลการวิจัยที่ให้ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งได้ทานอาหารโปรแกรม DASH ต่อเนื่องเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถลดความดันโลหิต Systolic BP ได้มากถึง 5.5 มม.ปรอท และลด Diastolic BP ได้มากถึง 3.0 มม.ปรอท โดยจะเห็นผลได้อย่างชัดเจนภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
นอกจากโปรแกรมอาหาร DASH จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดและ Lipoprotein ได้อย่างเห็นผลแล้ว ยังช่วยลดปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เป็นต้น

อาหารที่มีผลต่อกลไกทางพยาธิวิทยาของหัวใจหลอดเลือด

จากการวิเคราะห์พบว่า มีกลุ่มอาหารที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งก็เป็นเพราะกลไกของระบบพยาธิสรีรวิทยาของโครงสร้างหัวใจและหลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. อาหารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหลอดเลือด

เมื่อระบบหลอดเลือดมีแรงดันที่สูงขึ้นมากกว่าเดิม ก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมา สาเหตุสำคัญที่ทำให้การควบคุมระดับความดันโลหิตให้คงที่หรือลดลงเป็นไปได้ยาก ก็คือเรื่องปริมาณของไขมันที่สะสมอยู่ตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณช่องท้อง เพราะไขมันชนิดนี้ถือว่าเป็นไขมันชั้นเลวสุดที่เรียกกันว่า Visceral Fat กำจัดออกได้ยาก เมื่อมีไขมันชนิดนี้มากๆ ก็จะเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ( Free Fatty Acid ) ทำให้ตับมีการสร้างน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายอีกทางหนึ่ง นอกจากจะเกิดภาวะดื้ออินซูลินแล้ว ไขมันชนิดนี้ยังไปลดการสร้างสาร Adiponection ทำให้การเอากลูโคสไปใช้ที่กล้ามเนื้อลดลงไปจากเดิม ซึ่งก็ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญไขมันและน้ำตาลได้อย่างเต็มที่ ปริมาณไขมันก็จะยิ่งสะสมเพิ่มมากขึ้น ภาวะดื้ออินซูลินก็จะแย่และอันตรายยิ่งกว่าเดิม รวมถึงยังมีโอกาสที่ไขมันชนิดนี้จะหลั่งสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด คือ PAI-1, Interleukin-6, Tumor Necrotic Factor-Alpha เมื่อหลอดเลือดอักเสบ เกล็ดเลือดก็จะถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารบางอย่างเพื่อให้เกล็ดเลือดจับกลุ่มกัน และหลังจากนั้นก็จะปล่อยสาร Thrombin ออกมา ทำให้เลือดจับกลุ่มกลายเป็นลิ่ม
เลือด และนำไปสู่การแข็งตัวของหลอดเลือดแดงในที่สุด 

เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจึงจำเป็นที่จะต้องบริโภคอาหารประเภท Micronutrient ได้แก่คาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพ เพิ่มปริมาณผักผลไม้ ลดการทานไขมันอิ่มตัวและน้ำตาลจากเครื่องดื่มและของหวาน ทั้งหมดนี้นอกจากจะช่วยลดระดับความดันโลหิตแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมปริมาณไขมันในร่างกาย และยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

1.1 คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )

ควรมีการควบคุมการทานคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี ( Carbohydrate Quality ) โดยหลักในการเลือกคุณภาพของคาร์โบไฮเดรตนั้น สามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่อไปนี้

  • ใยอาหาร ( Dietary Fiber ) : การบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหาร หรือไฟเบอร์จำนวนมาก เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี (Whole Grains) ที่ประกอบไปด้วย ข้าวสาลี ข้าวเจ้า อาหารจากพืชตระกูลถั่วเปลือกแข็ง รวมถึงโปรตีนจากถั่วเหลือง น้ำนมถั่วเหลือง ผักและผลไม้ เป็นประจำ จำทำให้การดูดซึมแป้งและน้ำตาลลดลง เป็นผลทำให้ปริมาณสะสมของไขมันในร่างกายลดลง การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเบาหวานก็จะต่ำลงตามไปด้วย
  • Glycemic Index ( GI ) และ Glycemic load ( GL ) : GI คือ ผลของปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายได้รับจากอาหารที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด หรืออธิบายแบบง่าย ๆ ว่า ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ( Blood Glucose ) ที่วัดได้ภายหลังจากที่คาร์โบไฮเดรตถูกย่อยไปแล้ว เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป

ส่วน GL คือผลจากการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของคาร์โบไฮเดรตจำนวนมาก หากคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับมีคุณภาพต่ำ ก็จะทำให้เกิดการย่อยไวกว่าปกติ เมื่ออาหารถูกย่อยก็จะมีการปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ค่า GI ก็จะสูงตามไปด้วย แต่ในทางกลับกัน หากคุคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับมีคุณภาพดี ก็จะย่อยช้า การปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดอยู่ในระดับคงที่ ไม่พุ่งสูงจนเกินไปแม้จะใช้เวลาในการย่อยไม่นาน มีผลให้มีค่า GI ต่ำ เมื่อค่า GI ต่ำร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินลดลง จึงทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน หรือปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกายลดต่ำลง

การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป หรือการทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตคุณภาพต่ำ จะทำให้ค่า GI และค่า GL เพิ่มมากขึ้น การควบคุมระดับความดันในโลหิตก็จะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น โอกาสที่จะเกิดโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจก็จะมากขึ้นกว่าเดิม จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ในกลุ่มอาหารจำพวกข้าว แป้ง ข้าวบาร์เลย์มีค่า GI ต่ำที่สุด ส่วนขนมปังขัดขาว ( White Wheat Bread ) มีค่า GI สูงที่สุด

1.2 ไขมัน ( Fat )

  • ไขมันอิ่มตัว ( Saturated Fatty Acid: SFA ) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำมันสังเคราะห์ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของนม ได้แก่ ครีมเทียม กะทิ
  • ไขมันไม่อิ่มตัว ( Mono-Unsaturated Fatty Acid: MUFA ) เป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับน้ำมันที่ทำจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า น้ำมันอัลมอนด์
  • Poly-Unsaturated Fatty Acid ( PUFA ) แบ่งตามตำแหน่งของพันธะคู่แรกใน Fatty Acid แบ่งออกเป็น Omega-3 Poly-Unsaturated Fatty Acid ( n-3 PUFA ) และ Omega-6 Poly-Unsaturated Fatty Acid ( n-6 PUFA ) ดังนี้

1.3 Omega-3 ได้แก่ Alpha-Linoleic Acid ( ALA ) พบได้มากในแหล่งอาหารที่สำคัญจากพืช เช่น น้ำมันคาโนลา ถั่ววอลนัท ถั่วเหลือง ส่วน Eicosapentaenoic Acid ( EPA )  +  Docosahexaenoic Acid ( DHA ) พบในแหล่งอาหารที่สำคัญจากปลา จึงเรียกว่า Fish Oil หรือน้ำมันปลา ที่แพทย์มักจะให้ใช้ทานเป็นอาหารเสริมเพื่อลดระดับไขมันในเลือด

ตารางชนิดอาหารที่มี omega-3, EPA+DHA,α-Linolenic Acid ( ALA ) 

ประเภทของอาหาร   EPA DHA ALA
ปลา Catfish
Cod
Mackerel
Salmon ( เลี้ยงในฟาร์ม )
Salmon ( เลี้ยงตามธรรมชาติ )
Salmon ( กระป๋อง )
Salmon, Chinook
ปลาดาบ
ปลาทูน่า Blufin
ปลาทูน่า light (ในน้ำมัน)
ปลาทูน่า light (ในน้ำเกลือ)
Trace
Trace
0.9
0.6
0.3
0.9
1.0
0.1
0.3
Trace
Trace
0.2
0.1
1.4
1.3
1.1
0.8
0.9
0.5
0.9
0.1
0.2
0.2
Trace
0.2
Trace
0.3
Trace
Trace
0.2

Trace
Trace
สัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกอื่นๆ
Lobster
หอย
กุ้ง

0.2
0.3

0.3
0.2

Trace
Trace
ถั่วและเมล็ดพืช
Butternuts
Flaxseed
Walnuts




8.7
18.1
9.1
น้ำมันพืช
Canola
Flaxseed


9.3
53.5

1.4. ไขมันอิ่มตัวที่ถูกดัดแปลง หรือไขมันทรานส์ พบมากในอาหารดังต่อไปนี้

  • อาหารที่ผ่านการทอดหลายครั้ง หรือผ่านการใช้น้ำมันเก่าเอามาทอด เช่น เฟรนฟรายด์ ไก่ทอด ขนมปังประเภทครัวซองต์ ปาท่องโก๋ ทอดมัน มาร์การีนที่ทำจากน้ำมันพืช ที่แล้วเติมไฮโดรเจนเข้าไปให้แข็งตัว เพื่อให้มีการจับตัวเป็นก้อน แล้วนำมาทาบนขนมปัง หรือเอาไปประกอบอาหารอื่น ๆ
  • เนื้อสัตว์ประเภทสัตว์เคี้ยวเอื้อง ( Ruminant ) เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อแพะ

การบริโภคอาหารที่มี TFAs สูง ซึ่งก็คืออาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ตามที่กล่าวมา แม้จะบริโภคเพียงแค่ 2% จากพลังงานทั้งหมด ก็อาจทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ในระดับที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
สำหรับข้อแนะนำในเรื่องของการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงแบบโดยรวมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น สามารถทานได้ไม่เกิน 25%-30% ของพลังงานรวมทั้งหมด เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการช่วยควบคุมภาวะ Metabolic Syndrome และควบคุมการเกิดเบาหวานไม่ให้สูงมากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับไขมันในร่างกายให้น้อยลง สุขภาพก็จะดีขึ้นตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักลดลงไปจากเดิมร้อยละ 5-10 จะช่วยลดความ ดันโลหิต ลดระดับไขมันในเลือดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจากการศึกษางานวิจัยทางคลินิกที่ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 48,835 ราย โดยกำหนดให้ลดการบริโภคอาหารเป็นเภทไขมันสูงลง 37.8% ของพลังงานรวมทั้งหมดให้เหลือเพียง 24.3% เป็นระยะเวลา 1 ปี และยังทำต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะเวลา 6 ปี ผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือไม่พบความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดเลย

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยในการควบคุมอาหาร

1. การบริโภคอาหารไขมันต่ำ ( Low Fat Diet: LFD ) ใช้หลักการในการ “ ลด ” คือ ลด Cholesterol ในมื้ออาหารให้น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน, ลด TFAs (อาหารที่มีไขมันทรานส์) ในมื้ออาหาร และลด SFA ในมื้ออาหารให้น้อยกว่าร้อยละ 7 ของพลังงานรวมทั้งหมด

2. การบริโภคอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ( Mediterranean Diet ) อาหารเมดิเตอเรเนียนได้รับการยืนยันจากแพทย์และโภชนาการว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในโลก เห็นได้จากความแข็งแรงของชาวเมดิเตอเรเนียนที่ไม่ค่อยเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและโรคความดันโลหิต โดยวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารนั้น มักจะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดีและมีแคลอรี่ต่ำ เช่น ธัญพืชที่ไม่ขัดสี ที่มีสารอาหารประเภท Bran and Germ มากเป็นพิเศษ สารอาหารประเภท Bran จะอุดมไปด้วย ไฟเบอร์ วิตามินบี และฟลาโวนอยด์ ส่วน Germ จะมี สารต้านอนุมูลอิสระ และ ไฟโตเคมิคัล การจัดโปรแกรมอาหารประเภทเมดิเตอเรเนียนนั้น จะต้องประกอบด้วย

  • อาหารที่ประกอบจากพืช เช่น ผัก ผลไม้ มันเทศ ถั่ว และธัญพืชต่าง ๆ ประโยชน์ที่ได้รับ ก็คือการเพิ่มใยอาหารให้กับร่างกาย ที่จะช่วยเข้าไปดูดซึมไขมันและค่าของไตรกลีเซอไรด์ไม่ให้สูงเกินไปภายหลังจากการบริโภคอาหาร
  • ดื่มไวน์ในระดับต่ำถึงปานกลาง เพื่อเป็นการบำรุงหัวใจและหลอดเลือด
  • เป็นอาหารที่มี Phytosterols สูง ซึ่งจะพบมากในน้ำมันที่สกัดจากผัก ผลไม้สด เกาลัด Grains Legumes สำหรับอาหารที่มี Phytosterols สูง จะช่วยให้การดูดซึมคอเลสเตอรอลของร่างกายมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
  • การประกอบอาหารใช้พืชผัก และผลไม้ที่ปลูกตามฤดูกาลและท้องถิ่น ถ้าหากต้องใช้น้ำมัน ก็จะใช้น้ำมันมะกอกเป็นหลัก การรับประทานของหวานของชาวเมดิเตอเรเนียน็คือ ผลไม้สด และถ้าหากต้องการความหวานมากขึ้นจะใช้น้ำผึ้งทดแทน
  • ไม่ค่อยทานอาหารที่ประกอบจากเนื้อแดง แต่จะทานไก่และปลาในปริมาณที่พอเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการบริโภคไข่ประมาณ 4 ฟองต่อสัปดาห์

3. บริโภคอาหารไทยโบราณ โดยปกติแล้ว อาหารไทยจะไม่ได้มีการแบ่งออกเป็นส่วนเหมือนกับอาหารฝรั่ง ถึงแม้ว่าเมนูอาหารไทยง่าย ๆ แบบข้าวราดแกงจะมีไขมันที่ได้จากเนื้อสัตว์และส่วนผสมบางชนิด แต่รสเผ็ดจากพริกและเครื่องเทศต่าง ๆ ก็จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันทดแทนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แกงบางอย่างก็จะมีรสมันโดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากะทิเลย เช่น แกงส้ม แกงป่า แกงเลียง เพราะเมื่อตักแกงเหล่านี้ราดลงไปในข้าวสวยร้อน ๆ กระบวนการบางอย่างก็จะเปลี่ยนให้มีความมันและอร่อยเพิ่มขึ้นได้เอง จึงทำให้อาหารมื้อนั้น ๆ เต็มไปด้วยความเผ็ดร้อนที่มีแคลอรี่ต่ำ และยังได้ใยอาหารจากพืช ผัก จำนวนมากที่ใส่ลงไป ซึ่งจะเข้าไปช่วยเพิ่มการดูดซึมไขมันและน้ำตาลในร่างกายของผู้ป่วย นอกจากนี้สมุนไพรไทยบางอย่างที่ได้ใส่ลงไปในอาหาร ก็ยังมีสรรพคุณที่ช่วยลดระดับไขมันและระดับความดันโลหิตได้ย่างน่าทึ่งอีกด้วย เช่น กระเทียม ที่ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอล มะระ ช่วยลดความดันโลหิต แตงกวา ฟักเขียว ที่เป็นสมุนไพรออกฤทธิ์เย็น ก็ช่วยลดความดันโลหิตได้ไม่แพ้กัน การดื่มเครื่องดื่มประเภทชาบางชนิด ( ชาใบหม่อน ชาอู่หลง ) รวมไปถึงเก๊กฮวยที่ไม่หวานจัด ก็ช่วยลดไขมันในร่างกายได้เป็นอย่างดี

4. บริโภคอาหาร Omega-3 Fatty Acid ที่มีปริมาณ ALA, EPA และ DHA ในมื้ออาหารมีคำแนะนำการบริโภคที่มี omega-3 Fatty Acid ดัดแปลงจาก Kris-Etherton.,et al 2002 ดังนี้

ตาราง คำแนะนำการบริโภคอาหารที่มี Omega-3 Fatty Acid

กลุ่มผู้ป่วย
( Population )
ข้อแนะนำ ( Recommendation )
1. ผู้ป่วยไม่มีร่องรอยของโรคหลอดเลือดหัวใจ – ควรทานปลาและไขมันจากปลาให้มีความหลากหลายที่สุด อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมถึงเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันชนิด ALA เช่น Canola และน้ำมันจากถั่วเหลือง (Soy Bean Oil) Flax Seed และ Walnuts
2. ผู้ป่วยมีร่องรอยของโรคหลอดเลือดหัวใจ – หากต้องการทานอาหารเสริม EPA+DHA จะต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ก่อน
– ควรทานอาหารที่มี EPA+DHA ประมาณ 1 กรัมต่อวันโดยเฉพาะปลาและไขมันจากปลา
3. ผู้ป่วยที่มีไตรกลีเซอไรด์สูง – กรณีที่ทำแล้วไม่ได้ผล ให้ใช้น้ำมันปลาเม็ดที่มีปริมาณ EPA+DHA 2-4 กรัมต่อวัน ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
– เน้นทานอาหารที่มี EPA+DHA โดยเฉพาะปลาทะเลประมาณ 3-4 ตัวต่อสัปดาห์

2. อาหารที่มีผลต่อการควบคุมระดับสมดุลน้ำในหลอดเลือด

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในระดับเริ่มต้น ส่วนมากแล้วมักจะมีสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคไม่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าสาเหตุต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีความเชื่อมโยงกันแบบไม่น่าเชื่อ บางคนมีระดับความดันโลหิตในร่างกายสูงจากการได้รับปริมาณโซเดียมในร่างกายมากจนเกินไป สาเหตุนี้สามารถพบได้บ่อยในคนไทยและคนจีนที่ชอบรับประทานเกลือเยอะๆ ( บางคนทานผลไม้สดจิ้มเกลือกันแบบจริงจัง ) เมื่อร่างกายมีปริมาณโซเดียมสะสมในจำนวนมาก การควบคุมระดับน้ำในหลอดเลือดให้เกิดความสมดุลก็จะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ปริมาณน้ำนอกเซลล์ ( Increase Extracellular Volume ) ก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ร่างกายมีการหลั่งสาร Catecholamine ออกมาในปริมาณมาก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การบีบตัวของหัวใจเพื่อที่จะสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายก็จะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย จนเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะเกิดกระบวนการที่ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัว นำไปสู่กล้ามเนื้อหลอดเลือดมีความหนามากยิ่งขึ้น แรงต้านทานของหลอดเลือดเพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุให้แรงดันของหลอดเลือดแดง และแรงดันของหลอดเลือดส่วนปลาย เกิดเป็นแรงดันเลือดสูงยิ่งถ้าหากว่าผู้ป่วยยังไม่ดูแลตัวเอง หรือไม่สามารถควบคุมระดับแรงดันของเลือดให้คงที่หรือลดต่ำลงได้ การทำงานของหัวใจก็จะต้องมีการบิดตัวให้แรงขึ้นตามไปด้วยเพื่อให้ร่างกายมีการสูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ นานไปเรื่อย ๆ หัวใจก็จะเริ่มล้า และทำงานผิดปกติมากยิ่งขึ้น บางคนจึงมีอาการเจ็บหัวใจ วูบ และหน้ามืดตามมา ซึ่งก็เป็นเพราะการทำงานของหัวใจที่หนักจนเกินไป ในที่สุดจะทำให้เกิดการกระตุ้นของระบบ ร่างกายให้มีการหลั่ง Anti-Diuretic Hormones ( ADH ) ในปริมาณมาก โดยสาร ADH จะทำให้เกิดการดูดกลับของน้ำและเกลือเข้าสู่ร่างกาย เป็นเหตุให้มีโซเดียมมากขึ้นกว่าเดิม สุดท้ายแล้วก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงในระยะที่มีความรุนแรงและอันตรายมาก ถ้าหากยังไม่ดูแลตัวเอง หรือยังไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะภาวะหัวใจวายที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ในการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้ป่วย ในเรื่องของการปรับอาหารคือ การลดการบริโภคอาหารที่เค็มจัด หรืออาหารที่มีส่วนผสมของเกลือในปริมาณมาก เพื่อให้ความดันโลหิตสามารถลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาผู้ป่วยที่บริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือหรือมีรสเต็มจัด ( ทานเกลือแกงในปริมาณ 10.5 กรัมต่อวัน ) พบว่า หากมีการลดปริมาณเกลือลงเหลือแค่ 4.5 ถึง 5.8 กรัม / วัน ( ลดลงเกือบ 50% ) ความดันโลหิตจะลดลงประมาณ 4-6 มม.ปรอท ในขณะเดียวกันก็มีการศึกษาการลดปริมาณการทานโซเดียมในปริมาณปานกลาง หรือประมาณ 1,800 มิลลิกรัม / วัน ก็จะช่วยลด SBP ได้ประมาณ 5 มม. ปรอท และลด DBP ลงเท่ากับ 2.7 มม.ปรอท และถ้าหากว่าผู้ป่วยได้มีการจัดโปรแกรมอาหาร เช่นเลือกทานแต่คาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี ทานผักและผลไม้ ลดการทานอาหารที่มีไขมันสูงและลดน้ำตาล การควบคุมระดับความดันเลือดก็จะดีตามไปด้วย

อาหารที่ประกอบไปด้วยโซเดียม 

  • เครื่องปรุงแต่งรสชาติอาหาร เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอส
  • อาหารแปรรูป และอาหารสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบแบบซอง

สำหรับอาหารที่มีโซเดียม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1. อาหารที่มีรสเค็มนำ
2. อาหารที่ไม่มีรสเค็มนำ แต่มีปริมาณเกลือที่มาจากกระบวนการผลิตจำนวนมาก

ตารางแหล่งอาหารโซเดียมอาหารที่มีรสเค็มนำ และไม่มีรสเค็มนำ

โซเดียมในรูปต่างๆ 

แหล่งอาหารที่พบ

โซเดียม คลอไรด์
( Sodium Chloride )
– ร่างกายของคนเรามีความต้องการโซเดียมสูงสุด ในปริมาณที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายคือ 2,400 มิลลิกรัม ( มก. ) ต่อวัน ( คิดเป็นเกลือโซเดียมคลอไรด์ประมาณ 6 กรัมต่อวัน ) ซึ่งในอาหารปกติทั่วไปก็มักจะมีโซเดียมประมาณ 3-6 กรัม ( และมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ 40% ) นั่นคือ เกลือ 1 ช้อนชา ( 5 กรัม ) มีโซเดียม 2 กรัมหรือ 2,000 มก.
โซเดียม อัลจิเนต
( Sodium Alginate )
– Alginate เป็นโซเดียมที่มักจะนำไปเติมลงในผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารกระป๋องบางชนิด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความข้นหนืดและเพิ่มความคงตัวให้กับอาหาร รวมถึงทำให้เกิดเจลด้วย ดังนั้นผลิตภัณฑ์อาหาร/ขนมที่มีโซเดียม อัลจิเนต จึงอยู่ในอาหารสำเร็จรูปหลายประเภท เช่น น้ำซอสต่างๆ น้ำสลัด ไอศกรีม น้ําตาลไอซิ่ง และขนมที่มีลักษณะเป็นเจล รวมถึงพวกอาหารแช่แข็งทั้งหลาย
โซเดียม แอสคอเบต
( Sodium Ascorbate )
– วิตามินซี ( Vitamin C ) การที่ทำ Vitamin C เป็นรูปแบบเกลือ โดยใช้ Sodium Ascorbate Calcium Ascorbate หรือเกลืออื่นๆ เช่น Zinc Potassium Magnesium เพื่อลดความเป็นกรดของ Ascorbic Acid โดยทำให้อยู่ในรูปที่เป็นกลางมากขึ้น และช่วยลดอาการข้างเคียงบางอย่างของ Vitamin C เช่นปวดท้อง ท้องเสีย ที่เกิดจาก Ascorbic Acid ได้บ้าง
โซเดียม ไบคาร์บอเนต
( Sodium Bicarbonate )
– ผงฟู หรือเรียกว่า Baking Soda นิยมนำมาใช้ในการทำขนมต่างๆ เช่นขนมปังเค้ก
โซเดียม เบนโซเอต
( Sodium Benzoate )
– ใช้เพื่อเป็นสารกันบูด มักจะมีอยู่ในอาหารสำเร็จรูปและอาหารกระป๋องต่างๆ เช่นอาหารกระป๋องต่างๆ พุดดิ้ง โยเกิร์ตปรุงแต่ง เบเกอรี่ ผักดอง เนยเทียม แยม เยลลี่
โซเดียม แซคคาร์ริน
( Sodium Saccharin )
– นำมาใช้ผสมในเครื่องดื่มแบบพร้อมดื่ม เช่น น้ำผลไม้กล่อง น้ำอัดลมกระป๋อง ผลไม้ดอง
โมโนโซเดียม กลูตาเมต
( Monosodium Glutamate )
– ผงชูรส นำมาใช้ผสมเป็นสารชูรส เช่น ซุปก้อนปรุงรสต่างๆ และยังนำมาใช้ในการปรุงรสของอาหารโดยตรงอีกด้วย
โซเดียม เคซีน เนท
( Sodium Caseinate )
– สารสกัดมาจากนมและผสมโซเดียมเพื่อเป็นตัวทำลาย นิยมใช้เพื่อทำผลิตภัณฑ์ประเภท ไอศกรีม เนยแข็ง ( Processed Cheese ) เวย์โปรตีนผง

ตัวอย่างข้อมูลปริมาณสารอาหารผลสลาก แบบย่อ

ข้อมูลโภชนาการ
หนึ่งหน่วยบริโภค : ………… (………….)
จำนวนหน่วยบริโภคต่อ …….. : ………..คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
พลังงานทั้งหมด…………กิโลแคลอรี่
________________________________________________ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน*
ไขมันทั้งหมด …… ก. ……..%
โปรตีน …… ก.
________________________________________________คาร์โบไฮเดรต …… ก. ……..%
น้ำตาล ……. ก.
โซเดียม …… มก. ……..%* ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ( Thai RDI ) โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี

ในปัจจุบันนี้ เครื่องปรุงรสต่าง ๆ มักจะมีการระบุปริมาณของโซเดียมต่อมิลลิกรัม เช่น ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา ( ประมาณ 5 กรัม ) มีโซเดียม 300 กรัม การปรุงรสอาหารที่ใช้ซีอิ๊วมากกว่า 1 ช้อนชาขึ้นไป ก็จะมีปริมาณโซเดียมที่สูงตามไปด้วย เช่นเดียวกับการบริโภคขนมกรุบกรอบตามร้านสะดวกซื้อที่ระบุว่า มีปริมาณโซเดียม 450 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค 2 อธิบายได้ว่า ขนมถุงนี้ควรแบ่งการกินออกเป็น 2 ครั้ง ถ้าหากว่ากินทั้งถุงในคราวเดียวกันก็จะได้รับโซเดียมสูงถึง 900 มิลลิกรัม ซึ่งก็เกือบจะครั้งหนึ่งของปริมาณโซเดียมทั้งหมดที่ควรได้รับแล้ว

เกร็ดความรู้ของหน่วยตวงอาหาร

1 ช้อนชา = 5 ซีซี
1 ช้อนโต๊ะ = 15 ซีซี
1 แก้วน้ำ ( ประมาณเป๊บซี่ 1 กระป๋อง หรือ เบียร์ 1 กระป๋อง ) = 240 ซีซี ( มิลลิลิตร )
1 แก้วน้ำ = 16 ช้อนโต๊ะ
1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา
1 ออนซ์ = 30 ซีซี ( มิลลิลิตร )

3. อาหารที่มีผลกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่เป็นผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น

ระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก ( Sympathetic Nerves System ) จะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นอย่างว่องไวมาก ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความตื่นเต้น ความตกใจ รวมไปถึงการดื่มเครื่องที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนในปริมาณมาก จึงทำให้มีภาวะความดันโลหิตสูงแบบฉับพลัน แต่ถ้าหากว่าภาวะนี้เกิดขึ้นเป็นเวลานานเป็นปีโดยที่ไม่มีการควบคุมให้อยู่ในระดับคงที่หรือลดลง กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย  ( Left Ventricle ) ก็จะต้องทำงานหนักมากกว่าเดิม เนื่องจากต้องออกแรงบีบตัวเพื่อต้านแรงดันนี้ เปรียบได้กับการปิดหน้าต่างในช่วงที่เกิดพายุเข้าอย่างรุนแรงนั่นเอง ตามกฎของ Frank-Staring เมื่อหัวใจบีบตัวถึงขีดสุดในปริมาณ 12 ถึง 18 มิลลิเมตรปรอทไปแล้ว หัวใจจะไม่สามารถบิดตัวลงมาได้ดังเดิม และจะเป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ( อาจมีผลทำให้เกิดการหมดสติถึงขั้นเสียชีวิตได้ ) ระบบ Sympathetic ในร่างกายจึงถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงมักจะพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น มักจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วมากกว่าปกติอีกด้วย ซึ่งก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายมีการขยายตัวและมีความหนาเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้

เมื่อหัวใจบีบตัวถึงขีดสุดในปริมาณ 12 ถึง 18 มิลลิเมตรปรอทไปแล้ว หัวใจจะไม่สามารถปิดตัวลงมาได้ดังเดิม และจะเป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ( อาจมีผลทำให้เกิดการหมดสติถึงขั้นเสียชีวิตได้  )

เมื่อร่างกายเกิดภาวะ Tachycardia ( กล้ามเนื้อหัวใจบิดตัว ) เป็นเวลานาน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีความล้าจากการทำงาน จนส่งผลให้เกิดความผิดปกติของหัวใจได้ ยิ่งถ้าหากว่าเป็นร่วมกับภาวะ LVH ก็จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลลงไปหล่อเลี้ยงที่ไตได้อย่างเพียงพอ ก็จะทำให้ไตก็จะกระตุ้นการหลั่ง Rennin ที่ทำให้เกิดการดูดกลับของน้ำและเกลือ จึงทำให้มีเลือดเสียไหลย้อนขึ้นไปบนหัวใจห้องขวาบนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่ม Preload และเพิ่ม After Load ของหัวใจห้องล่างซ้ายตามมา จึงทำให้ผู้ป่วยอาจมีภาวะหัวใจล้มเหลวจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต 

สำหรับเครื่องดื่มที่มีผลต่อการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติก ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หัวใจมีการบีบตัวมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นภาวะที่มีความอันตรายเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่หัวใจต้องทำงานหนักในการเพิ่มแรงต้านทานในการควบคุมแรงดันของหลอดเลือดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องมีการควบคุม เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก เพื่อไม่ให้หัวใจต้องทำงานหนักเกินไป และถ้าหากว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ขอแนะนำการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ให้มีประโยชน์กับผู้ป่วยมากที่สุดดังต่อไปนี้

1. แอลกอฮอล์ ( เหล้า เบียร์ ไวน์ )

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณ 1-2 แก้ว / วัน จะทำให้อัตราการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดต่ำลง รวมถึงอัตราการตายก็จะต่ำลงด้วย ซึ่งก็เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจระหว่างแอลกอฮอล์และระบบหัวใจกับหลอดเลือด การผลการวิจัยที่ได้ทดลองให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม พบว่าค่าความดันโลหิตทั้ง SBP และ DBP ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวเลขหรือปริมาณเครื่องดื่มที่เหมาะสมที่จะนำมาให้ผู้ป่วยดื่มนั้น คิดจากปริมาณของเอทานอล สำหรับผู้ป่วยชายไม่ควรดื่มเกินวันละ 20-30 กรัม ( ไม่เกิน 2 หน่วยบริโภคต่อวัน ) และสำหรับผู้ป่วยหญิงไม่ควรเกินวันละ 10-20 กรัม (ไม่เกิน 1 หน่วยบริโภคต่อวัน )

ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ที่พอเหมาะพอดีซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่แนะนำ คือ 
1. สุราที่มีแอลกอฮอล์ 40% = 45 มิลลิลิตร
2. ไวน์ที่มีแอลกอฮอล์ 12% = 150 มิลลิลิตร
3. เบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 5% = 360 มิลลิลิตร

ส่วนผู้ที่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เลย เพราะจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ง่าย คือ
1. ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
2. ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปี
3. ผู้ที่อยู่ในระหว่างการพักรักษาตัว หรือต้องใช้ยารักษาอาการป่วย
4. ผู้ที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอ มีโรคประจำตัว และมีภูมิคุ้มกันต่ำ
5. ผู้ที่ต้องทำงานด้วยการใช้ทักษะและสมาธิ รวมทั้งต้องขับขี่ยานพาหนะ
6. ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมตนเองและไม่สามารถควบคุมปริมาณในการดื่มได้
7. ผู้ที่เคยผ่านการบำบัดการเสพติดสุราและสารเสพติด

2. ชา กาแฟ

เครื่องดื่มที่ส่วนผสมของคาเฟอีนอย่างชาและกาแฟ เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้หัวใจมีการทำงานหนักมากยิ่งขึ้น ควรดื่มไม่เกินวันละ 1 แก้ว หรือให้เลี่ยงไปดื่มชาเขียวแทน เพราะถึงแม้ว่าชาเขียวจะมีคาเฟอีนที่ไม่ต่างกับชาชนิดอื่น ๆ

3. เครื่องดื่มอื่นๆ ( Sugar-Sweetened Beverages )

ตาราง เครื่องดื่มอื่นๆ ( Sugar-Sweetened Beverages )

ขอแนะนำ

( Recommendation )

เป้าหมายการบริโภค

( Goal )

ขนาดการบริโภค

( Serving Size )

Sugar-Sweetened Beverages Sweets and Bakery Foods จำกัดการบริโภค ( Limit Intake ) สูงสุดไม่เกิน 5 Servings/wk – Cookie, Doughnut, หรือ Muffin หนึ่งชิ้นเล็ก
– Cake หรือ ขนม Pie ที่ Slice หนึ่งชิ้น
– เครื่องดื่ม 8 oz

4. Micronutrient มีเครื่องดื่มมากมากที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และอยู่ในกลุ่ม Flavonoids เช่น โกโก้ ( Cocoa ) ที่สามารถนำมาชงเป็นเครื่องดื่ม หรือผลไม้ประเภท แอปเปิ้ล และองุ่น ที่สามารถนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มได้ แต่ต้องไม่ใส่สารใด ๆ เพิ่มเติมรวมทั้งน้ำตาลและน้ำเชื่อม นอกจากนี้สารฟลาโวนอยด์ยังพบได้ในไวน์แดง และถั่วเหลือง เพราะฉะนั้นเครื่องดื่มที่ทำจากถั่วเหลืองโดยไม่ผสมสารใด ๆ ก็นับว่าเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นอย่างยิ่ง

จากการทดลองพบว่า สารฟลาโวนอยด์ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี

จากการทดลองให้ผู้ป่วยได้รับประทานโกโก้ หรือ ดาร์คช็อคโกแลต ในปริมาณเพียง 6.3 g ก็สามารถลดค่า SBP ลงได้ 5.9 มม.ปรอท และลดค่า DBP ลงได้ 3.3 มม.ปรอท

การรักษาและการป้องกันและชะลอการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ต้องมีการปฏิบัติแบบบูรณาการร่วมกันทั้งเรื่องของการใช้ยา และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งก็จะมีเรื่องของ การออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักตัว การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คือการบริโภคผักและผลไม้สดเพิ่มมากขึ้น หลีกเลี่ยงหรือลดการทานอาหารที่มีไขมันสูงและมีน้ำตาลมาก รวมถึงการลดปริมาณเกลือและโซเดียมในอาหารให้น้อยลง ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลของปริมาณน้ำในร่างกาย ไม่ให้ค่าไตรกลีเซอไรด์สูงจนเกินไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ คาเฟอีน เครื่องดื่มบำรุงร่างกายต่างๆ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเธติก หรือระประสาทอัตโนมัติ ควบคู่ไปกับการติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเรื่องของการประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของร่างกาย ซึ่งจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด และจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยรายต่อ ๆ ไปอีกด้วย

การใช้ยาลดความดันโลหิต

การรักษาหรือควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยด้วยยานั้น จะต้องเน้นใช้ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งระบบ Neurohormornal Response ของร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น จะมีระบบ Neurohormornal Response ด้วยกันถึง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบประสาทอัตโนมัติ ซิมพาเธติก ( Sympathetic Nervous System: SNS ) ระบบเรนนิน แองจิโอเทนซิน ( Rennin-Angiotensin System : RAS ) และปริมาณโซเดียมในร่างกาย เพราะฉะนั้น การพิจารณาเลือกใช้ยาของแพทย์ จึงต้องขึ้นอยู่กับการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละรายที่มักจะมีอาการแตกต่างกันไป เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหา SNS ทำงานมากผิดปกติ ก็อาจจะเหมาะกับการใช้ยาในกลุ่ม Beta-Blockers ส่วนผู้ป่วยที่มีปัญหา RAS ทำงานมากเกิน น่ก็จะต้องเลือกใช้ยากลุ่ม RAS Blocker และผู้ป่วยที่มีปริมาณโซเดียมในร่างกายสูง ก็อาจจะต้องใช้ยาประเภท Diuretics แต่ทั้งนี้ แพทย์อาจมีการพิจารณาให้ใช้ยามากกว่า 1 หรือ 2 ตัวในกลุ่ม หรือจะเป็นการข้ามกลุ่มกันเลยก็ได้ เพื่อให้ประสิทธิภาพในการรักษาเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น 

สำหรับการใช้ยาเพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั่วไปในระยะแรก จะเริ่มจากการใช้ยาในกลุ่ม Beta-Blocker และยากลุ่ม Diuretic ที่เป็นยาขับปัสสาวะ แต่ถ้าการประเมินพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะ Metabolic Syndrome เพิ่มขึ้นด้วย ก็อาจจะต้องงดใช้ยา Beta-Blocker เพราะอาจจะทำให้ภาวะดื้ออินซูลินมีอาการที่แย่ลงกว่าเดิม และถ้าพบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน และต้องการที่จะป้องกันให้ได้มากที่สุด ก็อาจจะมีการพิจารณาให้ใช้ยา Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor ( ACEI ) เว้นแต่ว่า ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต หรือมีปัญหาท่อไตติดทั้งสองข้าง หรือมีผลข้างเคียงจากการรับประทานยากลุ่ม ACEI ก็จะต้องใช้ยากลุ่ม Angiotensin Receptor Block ( ARB ) แทน และถ้าหากว่าผู้ป่วยยังมีข้อห้ามในการใช้ยาทั้ง ACEI และ ARB ก็อาจจะต้องมีการพิจารณาให้ยากลุ่มที่สองได้แก่ กลุ่ม Calcium Channel Blocker ( CCB ) ในการรักษาโรคแทน
จากที่กล่าวมานั้นจะพบว่า การใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิต ไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้และผลข้างเคียงของการใช้ยา เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป จากการศึกษาในการรักษาผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปด้วยยา พบว่า ยาที่แพทย์ส่วนใหญ่พิจารณาให้ผู้ป่วยคือยากลุ่ม Beta-Blocker ถึง 57.1% และมีการใช้ยากลุ่ม Calcium Channel Blocker ( CCB )ในรายที่ไม่มีข้อห้ามและไม่มีโรคร่วม อีก 35.7% และปิดท้ายด้วยการให้ยากลุ่ม ACEI อีก 7.1% โดยเป็นการให้ยา ACEI ร่วมกับ Diuretic ที่มีผลในการรักษาต่างกัน แต่มีทิศทางเดียวกัน โดยเน้นในเรื่องของผลลัพธ์เป็นหลัก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 ของประเทศไทยที่จัดทำโดยสมาคมความดันโลหิตแห่งประเทศไทย ได้แนะนำหลักการใช้ยาลดความดันโลหิตใน 4 กลุ่ม ที่นิยมใช้กันทั่วโลก และมีผลในการรักษาค่อนข้างดี คือ

1. Thiazide – Type Diuretics
2. Calcium Channel Blockers ( CCBs )
3. Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors ( ACEI )
4. Angiotensin II Receptor Blockers ( ARBs )

ตารางการบูรณาการใช้ยาลดความดันโลหิตกับอาหารที่เหมาะสม

ยาที่ใช้ในการรักษา อาหารที่เหมาะสม
1. Calcium Channel Blocker ( CCBs )
เป็นยาที่มีฤทธิ์ในขยายหลอดเลือดแดง ซึ่งจะช่วยลดการทำงานของหัวใจไม่ให้หนักจนเกินไป ยาบางชนิดในกลุ่มนี้ อาจทำให้การเต้นของหัวใจ และปริมาณการใช้ออกซิเจนของหัวใจลดลง ไม่เหมาะกับการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต ( Cr>1.5 ) เพราะเมื่อทานยาเข้าไปแล้ว จะทำให้เกิดการไวต่อเหลือและน้ำ ที่เป็นสาเหตุของการบวมน้ำได้
ควรเลือกรับประทานอาหารตามโปรแกรม DASH diet อย่างเคร่งครัด ร่วมกับการลดการทานเค็ม ลดปริมาณเกลือและโซเดียมในการปรุงอาหาร เพื่อไม่ให้ไตต้องทำงานหนัก และมีค่า BUN/Cr สูงจนเกินไป
2. ACEI หรือ ARB
เป็นยาที่มีฤทธิ์ โดยการใช้เอนไซม์ไปยับยั้งการกระตุ้นของระบบ RAS ซึ่งจะทำให้เกิดผลคือ การลดการหลั่ง rennin ที่ไต และยับยั้งการหลั่งของ angiotensin I ไม่ให้เปลี่ยนเป็น angiotensin II ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง จึงช่วยลดแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายทั่วร่างกาย จึงสามารถลดระดับความดันโลหิตได้ทั้งค่า SBP และค่า DBP โดยที่หัวใจไม่เต้นเร็วมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า ACEI/ARB ช่วยลด LVH และลดการหลั่ง ADH ที่จะช่วยป้องกันการดูดซึมเกลือและน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ แต่อาจจะต้องระวังในเรื่องของการโพแทสเซียมที่จะสะสมในร่างกายแทน ไม่ควรใช้ร่วมกับ beta-blocker เพราะอาจจะทำให้ไตเสื่อมได้ไวกว่าเดิม ซึ่งอาจจะทำเกิดปัญหากับสุขภาพมากยิ่งขึ้น
ควรบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของ Vitamin K สูง สามารถพบได้ในผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม กล้วยหอม องุ่น อะโวคาโด รวมไปถึงผักต่าง ๆ เช่น บล็อคโคลี่ กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี มะเขือเทศ รวมไปถึงน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันมะกอก
ปริมาณ vitamin K ในผักใบเขียวแสดงดังตาราง
3. Thiazide – Type Diuretics
ยาชนิดนี้ควรมีการพิจารณาในการนำไปใช้ร่วมกับยากลุ่มอื่น ๆ ที่สามารถออกฤทธิ์ส่งเสริมกันได้ เช่น ACEI/ARB หรือ CCB เพื่อลดการเกิดปัญหาเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย และเพื่อให้การควบคุมระดับความดันโลหิตเป็นไปในทิศทาที่ดีขึ้นด้วย แต่ข้อควรระวังคือห้ามใช้คู่กับ beta-blocker เพราะอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเดิม ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นมาได้
ยาที่มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ จึงอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีกรดยูริกในตัวเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย เช่น หน่อไม้ ยอดกระถิน ยอดชะอม ควรบริโภคผักและผลไม้ที่มี Vitamin K ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้โพแทสเซียมในร่างกายต่ำจนเกินไป และควรบริโภคอาหารตามโปรแกรม DASH diet เพื่อไม่ให้ไตเกิดภาวะเสื่อมเร็วก่อนกำหนด
4. Beta-Blocker
ยานี้จะออกฤทธิ์เพื่อยับยั้งการกระตุ้นของประสาทอัตโนมัติ จึงอาจจะทำให้หัวใจเต้าช้าลงกว่าปกติ ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องดีที่หัวใจจะได้รับการพักผ่อนมากยิ่งขึ้น การรับเลือดแดงจากหัวใจห้องบนซ้ายเข้ามาสู่หัวใจห้องล่างซ้ายก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็จะเป็นไปในทิศทางที่ดีโดยที่หัวใจไม่ต้องทำงานหนักเหมือนที่เคยเป็นมา แรงดันของโลหิตก็จะค่อย ๆ ลดลงตามไปด้วยเพราะฉะนั้นจึงช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจได้ไปในตัว ถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่การเลือกใช้ยา Beta-Blocker ก็มีข้อควรระวังมาก เพราะจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากการใช้ยาไปนาน ๆ อาจมีผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลินได้ผู้ป่วยจึงอาจจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเดิม เป็นเหตุให้เกิดการช็อก และหมดสติ นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังในการใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม Metabolic Syndrome เป็นอย่างยิ่ง- ยาในกลุ่ม Beta-Blocker ส่วนใหญ่ มักจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ผู้ป่วยจึงต้องเลือกทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี หรือมีใยอาหารสูง ซึ่งก็คืออาหารประเภทธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ถั่วเปลือกแข็ง รวมถึงโปรตีนจากถั่วเหลือง น้ำนมถั่วเหลือง ผักและผลไม้ เพราะอาหารเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มการดูดซึมแป้งและน้ำตาล จึงช่วยลดระดับน้ำตาล และช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานขึ้นได้
ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะกระตุ้นให้หัวใจมีการเต้นเร็วผิดปกติ ซึ่งจะสวนทางกับฤทธิ์ของยาที่ทำให้หัวใจเต้นช้าลง เป็นผลให้ยาออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ และ ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารไม่ให้มากจนเกินไป และต้องพิจารณาคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพดี ย่อยช้า และมีค่า GI ต่ำ

การรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จ เพื่อเน้นในเรื่องของการป้องกัน การควบคุมและการลดความดันโลหิตให้ได้ตามเป้าหมายนั้น ต้องเน้นที่เรื่องของการปรับอาหารเป็นหลัก ร่วมกับเรื่องของการงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ นอกจากนี้ก็ต้องปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก ส่วนการรักษาทางการแพทย์นั้น ก็คือการเลือกยารักษาให้เหมาะสมและถูกต้องกับอาการของคนไข้ โดยจะต้องคำนึงถึงผลของการใช้ยาในกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อคนไข้ได้ โดยยาที่นำมาใช้นั้น อาจจะมาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรืออาจจะข้ามกลุ่มกันก็ได้ แต่จะน้องเน้นในเรื่องของผลลัพธ์ในการรักษาเป็นหลัก และต้องระวังเรื่องผลของยาที่อาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะส่วนอื่นของคนไข้ การบูรณาร่วมกันระหว่างการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตร่วมกับยาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากผู้ป่วยสามารถควบคุมเรื่องของอาหารได้ แพทย์ก็อาจจะพิจารณาในการสั่งยาน้อยลง ซึ่งก็จะเป็นผลดีกับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้นในแง่ของความคุ้มค่า

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.

Ogedegbe, Gbenga; Pickering, Thomas (2010-11-01). “Principles and techniques of blood pressure measurement”. Cardiology Clinics. 28 (4): 571–586.

ผลตรวจเลือดบอกอะไรได้บ้าง? ค่าต่างๆ ที่ควรรู้และวิธีแปลผล

0
การอ่านค่าผลตรวจเลือด
ผลตรวจเลือด คือ หนึ่งในขั้นตอนการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจสอบค่าผลเลือดต่าง ๆ ในเลือดของผู้ที่เข้ารับการตรวจ โดยการตรวจเลือดจะตรวจเพื่อทำการประเมินสุขภาพโดยรวม

ผลตรวจเลือดบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพของเรา?

ผลตรวจเลือดเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินสุขภาพโดยรวม สามารถบ่งชี้ถึงการทำงานของอวัยวะสำคัญ ระบบภูมิคุ้มกัน และความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ บทความนี้จะอธิบายถึงค่าตรวจเลือดที่สำคัญ วิธีแปลผล และข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจเลือด

ค่าตรวจเลือดที่สำคัญมีอะไรบ้าง?

ค่าตรวจเลือดที่สำคัญประกอบด้วยหลายส่วน แต่ละส่วนให้ข้อมูลที่แตกต่างกันเกี่ยวกับสุขภาพของเรา

ค่าเม็ดเลือด (Complete Blood Count – CBC) คืออะไร?

CBC เป็นการตรวจวัดองค์ประกอบของเลือด ประกอบด้วย:

  • ค่าเม็ดเลือดแดง (RBC): บ่งบอกถึงความสามารถในการลำเลียงออกซิเจน
  • ค่าเม็ดเลือดขาว (WBC): แสดงถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ค่าเกล็ดเลือด (Platelet – PLT): เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด
  • ค่า Hemoglobin (Hb) และ Hematocrit (Hct): ใช้ประเมินภาวะโลหิตจาง

ค่าการทำงานของตับ (Liver Function Test – LFT) บอกอะไรได้บ้าง?

LFT ประกอบด้วยค่าต่างๆ ที่บ่งบอกถึงสุขภาพของตับ:

  • ค่า AST (SGOT) และ ALT (SGPT): บ่งชี้การทำลายของเซลล์ตับ
  • ค่า Alkaline Phosphatase (ALP): เกี่ยวข้องกับการอุดตันของท่อน้ำดี
  • ค่า Gamma GT (GGT): บ่งชี้การทำลายของเซลล์ตับและการดื่มแอลกอฮอล์
  • ค่า Bilirubin: เกี่ยวข้องกับการทำงานของตับและท่อน้ำดี
  • ค่า Albumin และ Globulin: แสดงถึงความสามารถในการสร้างโปรตีนของตับ

ค่าการทำงานของไต (Kidney Function Test) สำคัญอย่างไร?

การตรวจการทำงานของไตประกอบด้วย:

  • ค่า Creatinine และ Blood Urea Nitrogen (BUN): บ่งชี้ประสิทธิภาพการกรองของไต
  • ค่าอัตราการกรองของไต (GFR): แสดงถึงความสามารถในการทำงานของไต

ค่าระดับน้ำตาลในเลือด (Glucose Test) บ่งบอกถึงอะไร?

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดมีความสำคัญในการวินิจฉัยและติดตามโรคเบาหวาน:

  • ค่า Fasting Blood Sugar (FBS): ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร
  • ค่า HbA1c: แสดงถึงระดับน้ำตาลเฉลี่ยในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา

ค่าระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile) บอกถึงความเสี่ยงอะไรได้บ้าง?

Lipid Profile ใช้ประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด:

  • ค่า Cholesterol: ไขมันรวมในเลือด
  • ค่า Triglycerides: ไขมันที่ได้จากอาหาร
  • ค่า HDL และ LDL: ไขมันดีและไขมันไม่ดีตามลำดับ

ค่าการอักเสบและภูมิคุ้มกัน (Inflammatory Markers) บอกถึงอะไร?

ค่าเหล่านี้บ่งชี้ถึงการอักเสบในร่างกาย:

  • ค่า ESR (Erythrocyte Sedimentation Rate): บ่งชี้การอักเสบทั่วไป
  • ค่า C-Reactive Protein (CRP): แสดงถึงการอักเสบเฉียบพลัน

ค่าฮอร์โมน (Hormone Test) มีผลต่อร่างกายอย่างไร?

การตรวจฮอร์โมนสามารถบ่งชี้ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ:

  • ค่า Thyroid (TSH, T3, T4): เกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมไทรอยด์
  • ค่า Testosterone และ Estrogen: ฮอร์โมนเพศ
  • ค่า Cortisol: ฮอร์โมนความเครียด

ค่าสารบ่งชี้โรคมะเร็ง (Tumor Markers) คืออะไร?

Tumor Markers เป็นสารที่อาจบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของเซลล์มะเร็ง:

  • ค่า CEA (Carcinoembryonic Antigen): ใช้ติดตามมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ค่า AFP (Alpha-fetoprotein): เกี่ยวข้องกับมะเร็งตับ
  • ค่า PSA (Prostate-Specific Antigen): ใช้คัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

วิธีแปลผลค่าตรวจเลือดให้เข้าใจง่าย

การแปลผลค่าตรวจเลือดควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ความเข้าใจพื้นฐานสามารถช่วยให้เราดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น

ค่าเลือดปกติควรอยู่ในช่วงใด?

ค่าปกติของการตรวจเลือดแต่ละชนิดมีช่วงที่แตกต่างกัน และอาจแตกต่างตามเพศและอายุ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบค่าปกติที่เหมาะสมกับตัวเอง

ผลตรวจเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติหมายถึงอะไร?

ค่าที่สูงหรือต่ำกว่าปกติอาจบ่งชี้ถึงความผิดปกติในร่างกาย แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นโรคเสมอไป ควรพิจารณาร่วมกับอาการและการตรวจอื่นๆ

ปัจจัยที่อาจทำให้ค่าตรวจเลือดคลาดเคลื่อนมีอะไรบ้าง?

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อค่าตรวจเลือด ได้แก่ อาหาร ยา การออกกำลังกาย ความเครียด และการอดอาหาร

ผลตรวจเลือดสามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง?

ผลตรวจเลือดเป็นเครื่องมือสำคัญในการวินิจฉัยและติดตามโรคหลายชนิด

ผลตรวจเลือดสามารถช่วยบ่งชี้โรคเบาหวานได้อย่างไร?

ค่า FBS และ HbA1c ที่สูงกว่าปกติอาจบ่งชี้ถึงโรคเบาหวานหรือภาวะก่อนเบาหวาน

ค่าตรวจเลือดสามารถช่วยตรวจหาโรคไตและโรคตับได้อย่างไร?

ค่า Creatinine, BUN และ GFR ที่ผิดปกติอาจบ่งชี้ถึงโรคไต ส่วนค่า LFT ที่ผิดปกติอาจบ่งชี้ถึงโรคตับ

ผลตรวจเลือดมีบทบาทอย่างไรในการวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือด?

Lipid Profile ที่ผิดปกติอาจบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

ค่าตรวจเลือดสามารถใช้ติดตามโรคมะเร็งได้หรือไม่?

Tumor Markers สามารถใช้ในการคัดกรองและติดตามโรคมะเร็งบางชนิด แต่ไม่สามารถใช้วินิจฉัยโรคมะเร็งได้โดยลำพัง

วิธีเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจเลือด

การเตรียมตัวที่ถูกต้องช่วยให้ผลตรวจเลือดแม่นยำยิ่งขึ้น

จำเป็นต้องงดอาหารก่อนตรวจเลือดหรือไม่?

การตรวจบางชนิด เช่น FBS และ Lipid Profile ต้องงดอาหารอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง

ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาและอาหารเสริมก่อนตรวจเลือดหรือไม่?

ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาและอาหารเสริมทั้งหมดที่ใช้ เนื่องจากอาจส่งผลต่อค่าตรวจเลือด

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อค่าผลเลือดมีอะไรบ้าง?

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อค่าผลเลือด ได้แก่ การออกกำลังกายหนัก ความเครียด การนอนหลับ และการดื่มแอลกอฮอล์

เมื่อไรควรพบแพทย์เกี่ยวกับผลตรวจเลือด?

ควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลตรวจเลือดหรือมีอาการผิดปกติ

อาการที่ควรเฝ้าระวังเมื่อค่าตรวจเลือดผิดปกติ

อาการที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ อ่อนเพลียผิดปกติ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีไข้เรื้อรัง หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ที่ไม่หายไป

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีค่าผลตรวจเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ

สำหรับผู้ที่มีค่าผลตรวจเลือดผิดปกติ ควรปฏิบัติดังนี้:

  • ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษา
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายตามคำแนะนำ
  • ตรวจติดตามค่าเลือดและการทำงานของร่างกายอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด
  • สังเกตอาการผิดปกติและรีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการที่น่ากังวล
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรืออาหารเสริมโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  • พักผ่อนให้เพียงพอและจัดการความเครียด
  • งดสูบบุหรี่และจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์

การตรวจเลือดเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินสุขภาพโดยรวมและช่วยในการวินิจฉัยโรคหลายชนิด การเข้าใจถึงความสำคัญของค่าต่างๆ ในผลตรวจเลือด การแปลผลเบื้องต้น และการดูแลสุขภาพตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยให้เราสามารถป้องกันและจัดการกับปัญหาสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ควรตระหนักว่าผลตรวจเลือดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประเมินสุขภาพ และไม่ควรใช้เป็นเกณฑ์เดียวในการวินิจฉัยโรค การพบแพทย์เพื่อรับการตรวจประเมินอย่างครอบคลุม รวมถึงการตรวจร่างกายและการซักประวัติ จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและแม่นยำมากขึ้นในการวินิจฉัยและรักษาโรค

หากมีข้อสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับผลการตรวจเลือดหรือสุขภาพโดยรวม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน การรักษาสมดุลของร่างกาย และการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้เราสามารถควบคุมค่าตรวจเลือดและรักษาสุขภาพที่ดีได้ในระยะยาว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

[contact-form-7 id=”19480″ title=”แสดงความคิดเห็น”]

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานตามอาการที่แตกต่างกัน

0
แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานตามอาการที่แตกต่างกัน
การดูแลและพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานตามลักษณะอาการรายบุคคล
โรคเบาหวานเกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมมีความผิดปกติ คือจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลั่งอินซูลินมีความบกพร่อง

เบาหวาน

โรคเบาหวานถือเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก โดยมีอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 42 ในประเทศพัฒนาแล้ว จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ คาดว่าในปี 2573 ผู้ป่วยเบาหวานอายุระหว่าง 20-79 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 438 ล้านคน จาก 285 ล้านคนในปี 2553 โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 58.7 ล้านคนในปี 2553 เป็น 101 ล้านคนในปี 2573

สำหรับประเทศไทย ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 9.6 โดยในปี 2549 พบผู้ป่วยจำนวน 643,522 คนใน 48 จังหวัด และเพิ่มขึ้นเป็น 757,031 คนในปี 2550 ซึ่งส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานเกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมมีความผิดปกติ คือจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลั่งอินซูลินมีความบกพร่อง หรืออาจจะเกิดจากการออกฤทธิ์ของอินซูลิน หรืออาจจะเป็นเพราะทั้งสองอย่างร่วมกันเลยก็ได้ ซึ่งหากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะที่สำคัญของร่างกายเสื่อมสภาพลงหรือทำงานล้มเหลว ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดแดงใหญ่ ( Macroangiopathy ) ซึ่งทำให้เกิดการตีบเล็กลงของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ หลอดเลือดแดงโคโรนารี หลอดเลือดสมองและหลอดเลือดส่วนปลายที่ขา และภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ( Microangiopathy ) จากพยาธิสภาพที่มีการหนาตัวของ Basement Membrane จนส่งผลให้เกิดจอประสาทตาเสื่อม ไตวาย เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ซึ่งก็จะส่งผลรุนแรงต่อสุขภาพมากขึ้น

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาเพื่อที่จะควบคุมภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น จนอาจทำให้ผู้ป่วยต้องถูกตัดขา หรือถึงขั้นตาบอด เป็นอัมพาต หรือต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลบ่อยครั้งด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว ไตวาย เป็นต้น ซึ่งถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่เสียชีวิตจากภาวะดังกล่าวในทันทีแต่ก็ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตแย่ลง ทำให้ได้รับผลกระทบในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพราะผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหยุดงานหรือเปลี่ยนงานใหม่ เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีความสามารถที่จะทำงานเดิมได้ อีกทั้งเมื่อผู้ป่วยมีความพิการ ก็ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งในเรื่องค่ารักษาพยาบาลและการดูแลสภาพเพิ่มขึ้นไปอีก

เนื่องจากพยาธิสภาพและกลไกลการเกิดเบาหวานจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัดในระยะแรก การจัดการดูแลรักษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงจำเป็นต้องมีการคัดกรองเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น มีการจัดระบบบริการเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ารับบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเองเพื่อควบคุม ป้องกันโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ที่มีการตรวจพบว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรค และหากพบว่าเป็นโรคเบาหวานก็จะต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อควบคุมเบาหวานให้อยู่ในระดับที่มีความปลอดภัย มีการป้องกันและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่ร้ายแรงเพิ่มเติม การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงต้องครอบคลุมการดำเนินงานทั้งในส่วนของตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวของผู้ป่วย มีการจัดการดูแลอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง ตั้งแต่ระบบปฐมภูมิ ( Primary Care ) ทุติยภูมิ ( Secondary Care ) และตติยภูมิ ( Tertiary Care ) รวมทั้งมีกำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อเตรียมสำหรับการรองรับการดูแลอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เข้าถึง มีความเสมอภาคและพยายามลดช่องว่างในช่วงการเชื่อมต่อในทุกระดับของระบบบริการสุขภาพให้น้อยที่สุด

โรคเบาหวานเกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมมีความผิดปกติ คือจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลั่งอินซูลินมีความบกพร่อง หรืออาจจะเกิดจากการออกฤทธิ์ของอินซูลิน หากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะที่สำคัญของร่างกายเสื่อมสภาพลงหรือทำงานล้มเหลว

ผู้จัดการรายกรณีในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีบทบาทเป็นแกนนำในการพัฒนาการดูแลดังที่กล่าวมาแล้ว เพื่อให้การบริการเชิงรุกมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ครอบคลุมทั้งเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วย ดำเนินการป้องกันการเกิดโรค การจัดการควบคุมโรค ลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลง รวมทั้งมีการวางแผนการจัดการดูแล จัดกิจกรรมการดูแลทั้งในระดับปฐมภูมิทุติยภูมิและตติยภูมิอย่างเหมาะสม ลดความรุนแรงของโรคและการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนค้นหาสภาพปัญหา และจัดสรรระบบรองรับการดูแลผู้ป่วยในระบบบริการสุขภาพทุกระดับที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน

ประเด็นสำคัญในการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ประเด็นสำคัญในการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวาน1. การค้นหา คัดกรองผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงเพื่อร่วมกันจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการยืนยันการวินิจฉัยการเกิดโรคเบาหวานในระยะต่างๆ
2. การประเมินความจำเป็นของผู้ป่วยในการเข้ารับบริการสุขภาพที่มีเหมาะสม และจัดการให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

3. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยง กลุ่มโรคเบาหวานที่มีปัญหาในการควบคุมเบาหวาน และกลุ่มโรคเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยเน้นการป้องกันและควบคุมการดำเนินของโรค การกำเริบของโรค ลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการเป็นโรคเบาหวาน ให้ความสำคัญกับการดูแลต่อเนื่อง ความคุ้มค่า คุ้มทุน การทบทวนความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยี
4. การจัดการรายกรณีโดยใช้บริการมาตรฐานสุขภาพตามกระบวนการของโรคที่เกิดขึ้น ได้แก่ การที่ผู้ป่วยเข้าถึงบริการการตรวจวินิจฉัย การจัดบริการดูแลรักษาการพยาบาลผู้ป่วยตามความจำเป็นและความเหมาะสม
5. การจัดการให้ผู้ป่วย และครอบครัวของผู้ป่วยมีส่วนร่วมและสามารถที่จะดูแลตนเองได้ การจัดการให้ผู้ป่วยคัดกรองโอกาสเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง
6. การจัดการรายกรณีเพื่อประสานงานในการดูแลผู้ป่วยเพื่อส่งตัวผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาต่อรักษาทั้งภายใน ภายนอกเครือข่ายบริการสุขภาพ เพื่อการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดความสูญเปล่า ตามระดับความจำเป็นของปัญหาสุขภาพและความต้องการของผู้ป่วย

การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

1. การคัดกรองค้นหาผู้เป็นโรคเบาหวานให้เข้าถึงการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก       

อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในระยะเริ่มแรกจะยังไม่แสดงความผิดปกติใด ๆ ให้ได้รับรู้ ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัย จึงมักพบอยู่บ่อย ๆ ว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่ มีภาวะหรือโรคแทรกซ้อนเรื้อรังจากการเป็นโรคเบาหวานเกิดขึ้นแล้ว การค้นหาผู้ที่เข้าข่ายอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานและการคัดกรองโรคเบาหวานในประชาชนที่มีโอกาสเสี่ยง จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับรักษาโรคเบาหวานได้อย่างรวดเร็ว เป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้นที่จะทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสุขภาพและจัดบริการดูแลรักษาการพยาบาลได้ตามความจำเป็น ( Necessity ) และมีความเหมาะสม ทำให้สามารถที่จะควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ชะลอและลดความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญลง

การคัดกรอง ค้นหาผู้เป็นโรคเบาหวานจะทำการคัดกรองปีละ 1 ครั้ง โดยใช้วิธีเจาะเลือดจากปลายนิ้ว ( Capillary blood glucose ) / DTX โดยมีข้อแนะนำว่าผู้ใหญ่ซึ่งไม่รวมหญิงที่กำลังอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ให้ตรวจในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงที่ยังไม่แสดงอาการโรคเบาหวานคือ ประชาชนอายุอย่างน้อย 35 ปี ร่วมกับการที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ปัจจัยคือ

1. ผู้ที่มี BMI ≥ 25 กก./ม.2 และ/หรือ รอบเอว ≥ 90 ซม.ในผู้ชาย หรือ ≥ 80 ซม.ในผู้หญิง และมีบุคคลในครอบครัว พ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง เป็นโรคเบาหวาน
2. เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือกำลังอยู่ในระหว่างการรับประทานยาเพื่อรักษาอาการความดันโลหิตสูง
3. มีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด ( ระดับไตรกลีเซอไรด์ ≥ 250 มก. / ดล. และ / หรือ เอช ดี แอล คอเลสเตอรอล <35 มก . / ดล. )
4. มีประวัติว่าเป็นโรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรน้ำหนักตัวมากกว่า 4 กิโลกรัมขึ้นไป
5. เคยได้รับการตรวจพบว่าเป็น Impaired Glucose Tolerance หรือ Impaired Fasting Glucose
6. เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เสี่ยงมากขึ้น ( Cardiovascular Disease )

การจัดการทรัพยากรเพื่อการคัดกรองโรคเบาหวาน

การจัดการทรัพยากรเพื่อการคัดกรองโรคเบาหวานพยาบาลสามารถที่จะดำเนินการจัดการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวาน และดำเนินการจัดการทรัพยากรเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ตลอดจนจัดการส่งต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อที่จะให้เข้าถึงการวินิจฉัยและดูแลจากแพทย์ที่โรงพยาบาลได้ตั้งแต่ในระยะแรก

ตารางการจัดการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและกิจกรรมการดูแล

ระดับบริการ   กิจกรรมการดูแล การจัดสรรทรัพยากร
หน่วยบริการปฐมภูมิ รณรงค์คัดกรองเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและผู้เป็นเบาหวานในชุมชนที่รับผิดชอบโดย
1.เจาะเลือดจากปลายนิ้ว (Capillary blood glucose)/DTX โดยจะเจาะให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงประมาณ 1 ครั้ง/ปี
2.เมื่อเจาะเลือดตรวจพบผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ต่อไป
2.1 จัดกลุ่มให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน
2.2 ให้ความรู้รายบุคคล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมได้
2.3 ติดตามเพื่อกระตุ้นผู้ป่วยให้ปฏิบัติอยู่เสมอ โดยอาจใช้วิธีการไปเยี่ยมที่บ้านหรือโทรศัพท์เยี่ยมก็ได้
2.4 ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์สร้าง
2.5 ประสานให้อาสาสมัครหรือแกนนำสุขภาพใน
ชุมชน คอยช่วยดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือมองหากลุ่มเสี่ยง
2.6 ติดตามประเมินผล: การปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพระดับน้ำตาลในเลือดน้ำหนัก
ตัวรอบเอว ฯลฯ
3.เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคเบาหวาน
3.1จัดการส่งผู้ป่วยที่มี Fasting Capillary blood
glucose ≥ 126 mg.dl หรือ Random
Plasma Glucose ≥ 200 mg/dl ไปพบแพทย์
ที่โรงพยาบาลชุมชน เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว
3.2 ติดตามการรับการวินิจฉัยภายใน 7 วันในราย
ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง Fasting Capillary
blood glucose ≥ 300 mg.dl ร่วมกับแสดง
อาการ Hyperglycemia ส่งพบแพทย์ที่รพ.
ชุมชนภายใน 1-2 วัน
บุคลากรสุขภาพในหน่วยงานที่จัดการคัดกรองและขอความร่วมมือจากหน่วยงานในเครือข่ายเดียวกัน ได้แก่ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม.
อุปกรณ์

  • เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
  • เครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
  • สายวัด
  • เครื่องวัดความดันโลหิต
  • เครื่องคิดเลข
  • สื่อการสอน
  • แบบบันทึก
  • เครื่องเขียบ
  • เครื่องขยายเสียง
หน่วยบริการระดับทุติยภูมิขึ้นไป 1.จัดการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่มาใช้บริการในโรงพยาบาล ของแผนกเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
2.เจาะเลือดตรวจหาระดับ Fasting Plasma Glucose ให้กับผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยง
3.ให้ความรู้เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามเหมาะสมได้
4.ประสานหน่วยบริการปฐมภูมิในการติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อกระตุ้นการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ และให้ไปรับบริการอย่างต่อเนื่อง
บุคลากร

  • พยาบาล
  • นักสุขศึกษาหรือวิทยากรเบาหวาน
  • แพทย์อายุรกรรม

 

ตารางเกณฑ์วินิจฉัยผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การแปลผล Fasting Plasma Glucose ( mg/dl ) 2 h-Plasma Glucose ( mg/dl ) Random Plasma Glucose ( mg/dl )
ปกติ ( Normal ) < 100 mg / dl <140 mg / dl
Impaired fasting glucose ( IFG ) 100-125 mg / dl
Impaired glucose tolerance ( IGT ) 140-199 mg/dl
เป็นโรคเบาหวาน ≥ 126 mg/dl อย่างน้อย 2 ครั้ง ≥ 200 mg/dl อย่างน้อย 2 ครั้ง ≥ 200 mg/dl ร่วมกับมีอาการเบาหวาน

2. การจัดการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานรายใหม่

เมื่อมีผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน พยาบาลมีการจัดการดูแลผู้ป่วยดังนี้

1. ซักประวัติผู้ป่วย โดยจะทำการซักประวัติเกี่ยวกับ ประวัติโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ พร้อมทำการประเมินเพื่อดูว่าอาการของโรคอยู่ในระดับไหนรวมถึงประเมินหาความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนด้วย นอกจากนี้ก็จะสอบถามเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยเคยได้รับ โรคอื่นๆ ที่เป็นอยู่ และวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน ซึ่งก็ได้แก่การรับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การประกอบอาชีพและอื่นๆ เป็นต้น

2. ประเมินความรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ประเมินดูว่าผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ผู้ป่วยมองเห็นถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และทำการประเมินระยะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย

3. จัดการให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และตรวจร่างกาย เพื่อค้นหาความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคแทรกซ้อนได้

4. ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับลักษณะตามธรรมชาติของโรคเบาหวาน แนวทางในการรักษาและการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมอาการเบาหวานให้อยู่ในระดับปลอดภัย

5. จัดหาสมุดพกประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และการดูแลตนเองของผู้ป่วย พร้อมกับลงบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วย ได้แก่ น้ำหนัก เส้นรอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด ค่าความดันโลหิต ยาที่ได้รับ เป็นต้น รวมทั้งมีการอธิบายให้ผู้ป่วยได้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการมีสมุดพกประจำตัว

6. ลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน และลงบันทึกข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย พร้อมกับนำพาผู้ป่วยส่งแพทย์ เพื่อทำการรักษาต่อไป

ตาราง การจัดการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจร่างกายเพื่อคัดกรองภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน

ระดับบริการ

กิจกรรมการดูแล

การจัดสรรทรัพยากร

หน่วยบริการปฐมภูมิ และทุติยภูมิ 1. ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้

  • FPG ทุกครั้ง
  • HbA1c, BUN, Creatinine ทุก 1 ปี
  • Total cholesterol,triglyceride, HDL และ LDL cholesterol ทุก 6 เดือน

2. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว ความดัน
โลหิต ทุกครั้งที่มาใช้บริการ
3. ตรวจเท้าอย่างละเอียด อย่างน้อยปีละ 1
ครั้ง
4.จัดการส่งผู้ป่วยพบทันตภิบาลเพื่อตรวจ
สุขภาพในช่องปาก ทุก 6 เดือน
5.ส่งตรวจจอประสาทตาด้วยการถ่ายจอ
ประสาทด้วย digital camera และส่งอ่าน
ภาพจอประสาทตาโดยผู้ชำนาญการ
ปีละ1ครั้ง
6.ส่งตรวจการทำงานของไต ปีละ 1 ครั้ง
7.กรณีมีอาการบ่งชี้ของโรคหลอดเลือดหัวใจ
หรือผู้สูงอายุควรส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
(ECG)

บุคลากร

  • พยาบาลเวชปฏิบัติ 1 คน
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน
  • ทันตภิบาล 1 คนอุปกรณ์-เวชภัณฑ์
  • เครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง เพื่อหาค่า BMI
  • สายวัดรอบเอว
  • เครื่องวัดความดันโลหิต
  • Monfilment
  • Dipstick สำหรับตรวจ urine protein
  • เครื่องตรวจจอประสาท ตาชนิด digital camera
  • เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
หน่วยบริการระดับตติยภูมิ และสูงขึ้นไป 1.ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้

  • FPG ทุกครั้ง
  • HbA1c ทุก 6 เดือน
  • Total cholesterol, triglyceride, HDL และ LDLcholesterol ทุก 6 เดือน
  • BUN, Creatinine ปีละ 1 ครั้ง

2.ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว ความดัน
โลหิต ทุกครั้ง
3.คลำชีพจรส่วนปลาย และตรวจเสียงดังที่
หลอดเลือดคาโรติด (carotid bruit)
4.ตรวจเท้าอย่างละเอียด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง5.ตรวจ ankle-brachial index ( ABI ) ในผู้
ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงของขา
หรือเท้าขาดเลือด และ/หรือ มีความเสี่ยง
สูงต่อการเกิดแผลที่เท้าหรือถูกตัดขาหรือ
เท้า
6.ประเมินความเหมาะสมของรองเท้า
7.ส่งผู้ป่วยพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ
ในช่องปากทุก 6 เดือน
8.สอบถามอาการทางตาและสายตา พร้อมกับทำการตรวจตามประเภทของโรคเบาหวานดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจจอประสาทตาหลังเป็นเบาหวาน 5 ปีหรือเมื่ออายุ 12 ปีและตรวจตาตามแพทย์นัทหรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควรรับการตรวจจอประสาททันทีที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานและตรวจตามแพทย์นัดหรืออย่างน้อยปีละครั้ง

9. ตรวจการทำงานของไตปีละ 1 ครั้ง

บุคลากร

  • พยาบาล
  • จักษุแพทย์
  • นักเทคนิคการแพทย์อุปกรณ์-เวชภัณฑ์
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อหาค่า BMI
  • สายวัดรอบเอว
  • เครื่องวัดความดันโลหิต
  • Monofilament
  • เครื่องตรวจ anklebrachial index ( ABI )
  • Doppler ultrasound

เป้าหมายการรักษา การติดตาม และการประเมินผลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวานเป็นโรคชนิดเรื้อรังซึ่งส่งผลให้เกิดการเสื่อมของผนังหลอดเลือด และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับผู้ที่มีปัญหาในการควบคุมเบาหวาน จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานไทยใน Diabetes Registry Project ปี ค.ศ.2003 จำนวน 9,419 ราย พบว่ามีผู้ป่วยรายหลายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นเบาหวานเกิดขึ้น แบ่งเป็น ไตเสื่อม 43.9% ต้อกระจก 42.8% จอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน 30.7% โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 8.1% แผลที่เท้า 59% หลอดเลือดสมองตีบ 4.4% หลอดเลือดส่วนปลายตีบ 1.6% และตาบอด 1.5% ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วย และครอบครัวต้องมีภาระเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการจัดการดูแลตนเองเมื่อต้องมีสภาวะสุขภาพที่เสื่อมลง และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในการเข้ารับการรักษา รวมทั้งอาจทำให้ไม่สามารถที่จะทำงานได้ตามปกติจึงต้องสูญเสียรายได้จากการทำงานไปอีกด้วย

การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีเป้าหมายคือ การป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น โดยมีการควบคุมน้ำตาลของผู้ป่วยให้อยู่ในระดับที่เป็นปกติที่สุด

ทั้งนี้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดควรคำนึงถึงผู้ป่วยแต่ละรายด้วยว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มาพิจารณาร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น อายุ โรคร่วม และการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากการเป็นโรคเบาหวานรวมทั้งการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย

นอกจากนี้แล้ว ควรมีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังจากการเป็นเบาหวานให้ลดลงได้ตามเป้าหมายหรือใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ น้ำหนักตัวและรอบเอว ควบคุมระดับไขมันในเลือด ความดันโลหิตสูง ให้ความสำคัญกับการงดสูบบุหรี่ และให้มีการออกกำลังกายเป็นประจำและพอเพียงตามความจำเป็นของร่างกาย

ตาราง เป้าหมายการควบคุมเบาหวานในแต่ละระดับสำหรับผู้ใหญ่

ระดับการควบคุมเบาหวาน
เคร่งครัดมาก  เคร่งครัด ไม่เคร่งครัด
– ผู้ใหญ่อายุน้อยที่เป็นโรคเบาหวานไม่นาน

– ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร่วมอื่นๆ

– ผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยๆหรือรุนแรง

– ผู้ป่วยสูงอายุที่สุขภาพดี หรือไม่มีโรคร่วม

– ผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้

– ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก โรคตับ ระโรคไตระยะท้าย

เป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
FPG 70-110 มก./ดล FPG 90-130 มก./ดล FPG ใกล้เคียง130 มก./ดล
PPG (2 ชม.) < 140 มก./ดล PPG (2 ชม.) < 180 มก./ดล PPG (2 ชม.) < 180 มก./ดล
HbA1c < 6.5% HbA1c < 7.0% HbA1c 7.0-80%

 

ตารางเป้าหมายการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือด

การควบคุม/การปฏิบัติตัว  การตรวจ เป้าหมาย
ระดับไขมันในเลือด ระดับโคเลสเตอรอลรวม
ระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล
ระดับไตรกลีเซอไรด์
ระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล : ผู้ชาย และผู้หญิง
<170 มก./ดล.
<100 มก./ดล.
<150 มก./ดล.
≥40 มก/ดล. และ ≥50 มก./ดล.
ความดันโลหิต ความดันโลหิตซีสโตลิค (systolic BP)
ความดันดลหิตไดแอสโตลิค (diastolic BP)
น้ำหนักตัว ดัชนีมวล
รอบเอว : ผู้ชาย และ ผู้หญิง
18.5-22.9 กก./ม.2
<90 ซม.และ <80 ซม.

* ถ้ามีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจหลายอย่างร่วมด้วยควรควบคุมให้ LDL < 70 มก. / ดล
** ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดความดันโลหิตซิสโตลิคควรน้อยกว่า 140 มม.ปรอท แต่ไม่ควรต่ำกว่า 110 มม.ปรอท สำหรับความดันโลหิตไดแอสโตลิคไม่ควรต่ำกว่า 70 มม.ปรอท
การตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
เนื่องจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวาน ทั้งที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดขนาดเล็กและหลอดเลือดขนาดใหญ่ จะเกิดขึ้นตั้งแต่การที่ผนังหลอดเลือดจะค่อย ๆ ถูกทำลายลง โดยไม่แสดงอาการผิดปกใด ๆ ให้ผู้ป่วยรับรู้ได้ แต่ในปัจจุบันการวินิจฉัยทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น ทำให้สามารถที่จะค้นหาภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวานได้ตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น การตรวจจอประสาทตา การตรวจ Microalbuminurea เป็นต้น

ตาราง การประเมินผู้ป่วยเพื่อหาความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการส่งต่อ

รายการ ความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง ความเสี่ยงสูง มีโรคแทรกซ้อนเรื้อรังระยะท้าย
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด – HbA1c < 7% – HbA1c7.0 – 7.9% – HbA1c ≥ 8%
– มี hupoglycemia ≥ 3 ครั้งต่อสัปดาห์
โรคแทรกซ้อนที่ไต – ไม่มี proteinuria
– albumin/creatinineratio<30ไมโครกรัม/มก.
– มี micro albuminuria – มี macro proteinuria
– serum creatinine = 1.5 มก./ดล. หรือ eGFR 30-59 และมีการลดลงไม่มากกว่า 7 ml/min/1.73m2
– serum creatinine ≥ 2มก./ดล. หรือ eGFR 30-59 และลดลง>7ml/min/1.73m2 หรือ eGFR<30ml/min/1.73m2
โรคแทรกซ้อนที่ตา  – ไม่มี retinopathy  – mild NPDR  – moderate NPDR
– VA ผิดปกติ
 – severe NPDR
– PDR
– macular edeme
– VA ผิดปกติ
โรคหัวใจและหลอดเลือด  – ไม่มี hypertension
– ไม่มี dyslipidemia
– ไม่มีอาการของระบบหัวใจและหลอดเลือด
 – มี hypertensionc และ/หรือ dyslipidemia กำลังรับการรักษา และ ควบคุมได้ตามเป้าหมาย  ควบคุม hypertensionc และ/หรือ dyslipidemia ไม่ได้ตามเป้าหมาย  – มี angina pectoris/CAD/myocardial infarction/CABG
– มี CVA
– มี heart failure
โรคแทรกซ้อนที่เท้า  – Protection sensation ปกติ
– peripheral pulse ปกติ
 – มี peripheral neuropathy
– peripheral pulse ลดลง
 – มีประวัติแผลที่เท้า
– previous amputation
– มี intermittent claudication
 – มี rest pain
– พบ gangrene

 

แนวทางการจัดการใช้ทรัพยากรตามระดับความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

ผู้จัดการรายกรณีควรทำการประเมินระดับความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเบาหวาน เพื่อจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับ

ตาราง การจัดการใช้ทรัพยากรตามระดับความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ความเสี่ยงต่ำ

ความเสี่ยงปานกลางและสูง

พบโรคแทรกซ้อน เรื้อรังรุนแรง

1. ดำเนินการจัดการให้ผู้ป่วยได้มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพด้านการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย
2. ดำเนินการจัดการให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมทั้งส่งตรวจจอประสาทตา และตรวจเท้า เป็นประจำปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย
3. มีการติดตามให้ผู้ป่วยได้มาเข้ารับการตรวจตามกำหนดที่ได้นัดหมายและมีการประเมินแผนการในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทุกครั้ง
1. ดำเนินการส่งผู้ป่วยเข้าพบพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคเบาหวานและนัก
2. ดำเนินการจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งส่งตัวผู้ป่วยให้ได้รับการตรวจจอประสาทตาและตรวจเท้า เป็นประจำปีละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
3. มีการติดตามให้ผู้ป่วยมาตรวจตามกำหนดที่ได้นัดหมายและมีการประเมินแผนการในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทุกครั้ง
4. มีการประสานงานให้ผู้ป่วยได้รับการโทรศัพท์เยี่ยมที่บ้าน เพื่อทำการประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมเบาหวาน
5. มีการประสานงานส่งตัวผู้ป่วยให้เข้าพบอายุรแพทย์ หรือแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคเบาหวาน
1. มีการประสานงานส่งตัวผู้ป่วยให้ได้เข้าพบแพทย์เฉพาะทาง
2. ดำเนินการส่งผู้ป่วยและครอบครัวพบพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคเบาหวานเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
3. ดำเนินการจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการมาตรวจตามกำหนดที่ได้นัดหมาย
4. ดำเนินการส่งผู้ป่วยเข้าพบนักโภชนากรเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำในการรับประทานอาหารเฉพาะโรคตามภาวะแทรกซ้อนที่พบในผู้ป่วย
5. มีการประสานงานให้ผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมบ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

 

การให้ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย

การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจ วิธีคิดรวมค่านิยม ความเชื่อ และทัศนคติ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดการพัฒนาทักษะที่จะส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมา

ความรู้ในเรื่องโภชนบำบัด ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานระดับเบื้องต้น การดูแลสุขภาพโดยทั่วไป โรคแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดขึ้นจากการเป็นโรคเบาหวาน การดูแลรักษาเท้า การออกกำลังกาย การใช้ยารักษาโรคเบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับต่ำและวิธีที่ใช้ในการป้องกันแก้ไข การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะด้วยตนเอง และการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพิเศษ เช่น ในระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อต้องขึ้นเครื่องบิน เดินทางไกล ไปงานเลี้ยงสังสรรค์ เล่นกีฬา

การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งเป็นความเจ็บป่วยชนิดเรื้อรังนั้น จำเป็นต้องใช้หลายวิธีรวมกัน โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตในแต่ละวันของตนเอง ให้มีความสอดคล้องกับแนวทางการรักษาและภาวะความเจ็บป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่เสื่อมถอยลงเมื่ออาการของโรคดำเนินไป

การสนับสนุนการจัดการดูแลตนเอง ( Self Management Support )

การสนับสนุนการจัดการดูแลตนเอง คือ การดำเนินการจัดการให้ผู้ป่วยได้มีความตระหนัก และมีความสามารถในการดูแลตนเอง โดยให้ผู้ป่วยเองเป็นผู้ที่ตั้งเป้าหมายในการรักษา มีความเข้าใจว่าตนเองมีอุปสรรคและข้อจำกัดอย่างไร รวมทั้งสามารถที่จะทำการประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองได้ว่า สามารถที่จะจัดการกับสุขภาพของตนเองได้หรือมีความจำเป็นที่จะต้องไปพบแพทย์

การที่ผู้ป่วยจะเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยดังต่อไปนี้คือ

1.ผู้ป่วยเกิดแรงจูงใจที่จะดูแลตนเอง ( Motivation )

2.ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในโรคที่ตนเองเป็น ( Knowledge )

3.ผู้ป่วยมีทักษะในการใช้ชีวิตอยู่กับโรคเรื้อรัง ( Problem Solving Skill )

4.ผู้ป่วยมีความมั่นใจที่จะดูแลตนเอง ( Self Efficacy )

5. ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนในส่วนที่เป็นอุปสรรคหรือความขาดแคลนทรัพยากร ( ldentified Barrier )

Self Management Program ( 5A ) มีแนวทาง

1.มีการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วย รวมทั้งการใช้ชีวิต เพื่อค้นหาว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ช่วยสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรค หรือข้อจำกัดในการเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลตนเอง

2.มีการวางแผนการดูแลเพื่อส่งเสริมการจัดการดูแลตนเอง

  • มีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ระหว่างผู้ป่วยครอบครัวและทีมสุขภาพ โดยให้เป็นเป้าหมายที่มีความชัดเจน สามารถตรวจวัดได้ มีความเป็นไปได้ และมีความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
  • สรรหาวิธีที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยในการส่งเสริมศักยภาพการจัดการดูแลตนเอง โดยนำข้อมูลจากระยะของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ( Stage of Change ) มาทำการประเมิน เช่น

1) การให้ผู้ป่วยได้มีความรู้และได้รับการฝึกทักษะในการปฏิบัติการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ตรงกับปัญหาและความต้องการของตนเอง

2) การจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ( Peer Support )

3) ค้นหาแหล่งสนับสนุนเพื่อให้ผู้ป่วยจัดการดูแลตนเองได้ เช่น ความช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

4) ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้มีทักษะการแก้ปัญหา เช่น การปรับปริมาณและชนิดของอาหารที่รับประทานตามผลของระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจด้วยตนเองที่บ้าน

5) มีการกระตุ้น ชี้แนะ ให้กำลังใจ และสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยสามารถจัดการดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

  • ใช้วิธีการสื่อสารที่มีความเหมาะสมระหว่างบุคลากรผู้ให้คำแนะนำกับผู้ป่วย ในการพัฒนาศักยภาพการจัดการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้โทรศัพท์อินเตอร์เน็ต พร้อมกับกำหนดวิธีในการติดตามผลลัพธ์ เพื่อทำการประเมินแผนการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

3.กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ และแผนการติดตามประเมินผล ( Regular Monitoring Review )

  • Response to Treatment : การมาเข้ารับการตรวจตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอของผู้ป่วย
  • Effectiveness of Strategies : พฤติกรรมการจัดการดูแลตนเองของผู้ป่วยในด้านต่างๆ เช่น พฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกาย และการฉีดอินซูลิน เป็นต้น
  • Change in Health : Glycemic Control, Quality of Life
  • Psychological / Emotional State

ตาราง การจัดการทรัพยากรในการให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน

ระดับบริการ

กิจกรรมการดูแล

การจัดสรรทรัพยากร

โรงพยาบาลที่มีทีมบุคลากรในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานครบ 1. ประเมินการได้รับความรู้เกี่ยวกับเบาหวาน เพื่อจะได้วางแผนให้ความรู้กับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมีความรู้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
2. ให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่ม ตั้งแต่แรกรับการวินิจฉัยและทุกครั้งที่มารับการรักษา โดยหัวข้อที่ควรให้ความรู้กับผู้ป่วยก็ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวานและโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (แพทย์/พยาบาล) โภชนบำบัด (นักโภชนากร) ยารักษาเบาหวาน (เภสัชกร) การออกกำลังกาย (นักกายภาพบำบัด) การดูแลสุขภาพโดยทั่วไป (พยาบาล)ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดและป้องกันแก้ไข (พยาบาล)การตรวจวัดน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะและแปลผลด้วยตนเอง (พยาบาล) และการดูแลรักษาเท้า (พยาบาล)
3.จัดการส่งผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนในการควบคุมเบาหวาน ให้พบพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถจัดการดูแลตนเองได้อย่างปลอดภัย
4. จัดการส่งผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวานให้พบนักโภชนากร เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถวางแผนควบคุมการทานอาหารได้อย่างเหมาะสม
1. จัดหาห้องเรียนสำหรับให้ความรู้ผู้ป่วยในคลินิก
2. จัดหาอุปกรณ์และสื่อการสอนที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
3. จัดทีมบุคลากรให้ความรู้ผู้ป่วยตามหัวข้อที่กำหนด
4. จัดให้มีพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวาน 1 คน คอยให้คำปรึกษากับผู้ป่วย
5. จัดทำสมุดพกประจำตัวผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อบันทึกเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง
6. จัดทำแผ่นพับและวีดิทัศน์ในการให้ความรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยนำกลับไปทบทวนที่บ้าน
โรงพยาบาลที่มีทีมบุคลากลอนในการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานไม่ครบ 1. ประเมินการได้รับความรู้เกี่ยวกับเบาหวานให้กับผู้ป่วยทุกรายตั้งแต่แรกวินิจฉัย และทุกครั้งที่มารับการรักษา
2. ให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่ม ตั้งแต่แรกรับการวินิจฉัยและทุกครั้งที่มารับการรักษา ครบทุกหัวข้อตามที่กำหนดความรู้เบาหวาน หรือโรงพยาบาลต่างๆที่มีการจัดทำสื่อการสอน
3. จัดการส่งผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนในการควบคุมเบาหวาน ให้พบพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถจัดการดูแลตนเองได้อย่างปลอดภัย
1. จัดหาสถานที่สำหรับให้ความรู้ผู้ป่วย
2. ประสานงานของสื่อการสอนจากสมาคมผู้ให้ความรู้เบาหวานหรือโรงพยาบาลใกล้เคียง
3. จัดเตรียมนักสุขศึกษา 1 คนและพยาบาล 1 คนให้ความรู้ผู้ป่วย
4. จะทำสมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวานเพื่อบันทึกการได้รับความรู้ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. 

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

0
การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 130 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่ความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 130 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

การประเมินผู้ป่วย เพื่อเข้าสู่การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง

ในการประเมินเคสผู้ป่วยเพื่อที่จะนำเข้าสู่ผลการวินิจฉัยโรคสำคัญอย่างโรคความดันโลหิตนั้น การค้นหาการคัดกรองหาปัจจัยที่ส่งผลเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้จะเป็นการช่วยในเรื่องของการประเมินว่าทางผู้ป่วยนั้นป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงตามนั้นจริงหรือไม่ สามารถที่จะทำการประเมินได้เลยว่าผู้ป่วยเข้าข่ายป่วยแน่นอนหากพบว่าใช่ก็จะได้ทำการแยกระดับความดันโลหิตให้เป็นไปตามเกณฑ์ได้ตั้งแต่ระยะแรกหรือจะเพื่อเป็นการค้นหาเกี่ยวกับสาเหตุที่ส่งผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตที่ยังคงสามารถทำการแก้ไขได้ทันเวลา นั่นก็เป็นสิ่งที่เสมือนกับหน้าด่านแรกที่นำไปสู่ผลของการวินิจฉัยที่ถูกต้องตามเกณฑ์และยังเป็นการนำไปสู่ระดับการเข้าถึงรูปแบบบริการดูแลและการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องที่เหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์ของการประเมิน DIAGNOSTIC   EVALUATION ได้แก่ เพื่อเป็นการค้นหาสิ่งที่จะเป็นการยืนยันตัวยืนยันว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงแบบจริง ๆ และทำการระบุว่าเป็นโรคความดันประเภท SECONDARY HYPERTENSION การค้นหาส่วนของโรคร่วมหรือทำการค้นหาตัวโรคที่จะมาพร้อมกับโรคความดันโลหิตสูงที่พบเจอ ทำการค้นหาและทำการประเมินสิ่งที่จะเป็นร่องรอยของอวัยวะที่ถูกทำลายมาจากการได้รับผลกระทบของโรคความดันโลหิตสูง การค้นหาและทำการประเมินระดับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนในส่วนของหัวใจและหลอดเลือด เพื่อทำการวัดหาค่าความดันโลหิตที่ถูกต้องของตัวบุคคลนั้น ๆ

วิธีการปฎิบัติเพื่อเป็นการค้นหาและการประเมินผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับวิธีการปฏิบัติเพื่อเป็นการค้นหาและการประเมินผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงนั้นหากจะให้แม่นยำควรที่จะต้องมีทักษะ มีเรื่องของความรู้ในประเด็นเหล่านี้ไว้ด้วย ได้แก่ เรื่องของการตรวจสภาพร่างกาย การวัดระดับความดันโลหิตที่ถูกต้อง การประเมินในห้องปฏิบัติการ, การประเมินเกี่ยวกับประวัติทางด้านครอบครัวและประวัติทางด้านสุขภาพของตัวบุคคลรวมถึงเรื่องของพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพของทางบุคคลนั้นๆ  การประเมินเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่เป็นทั้งส่วนภายในและส่วนภายนอกเท่าที่ทราบและเพื่อเป็นการระบุถึงระดับของความรุนแรงปัจจัยเสี่ยงแต่ละประเภทเพื่อให้เป็นตัวที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมทางด้านสุขภาพได้อย่างยั่งยืน

การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง สิ่งที่ควรปฏิบัติ

สำหรับการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องตามขั้นตอน จะต้องปฏิบัติตาม 3 ข้อดังนี้

1. เลือกเครื่องวัดความดันที่เหมาะสม

ควรเลือกใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่มีความเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันจะนิยมใช้เครื่องวัดความดันอัตโนมัติมากที่สุด แต่จะต้อง Calibrated เครื่องอยู่เสมอ

2. เลือกขนาดของ Cuff

สำหรับขนาดของ Cuff จะต้องสามารถวางอยู่รอบวงแขนของผู้ป่วยที่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของความกว้างวงแขนท่อนบนเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ได้ค่าการตรวจวัดที่มีความถูกต้องที่สุด

3. เตรียมผู้ป่วย

การเตรียมผู้ป่วย จะต้องมีการตรวจอย่างน้อย 2 ครั้งห่างกัน 2-3 นาทีโดยที่ตำแหน่งแขนที่พ้น Cuff ต้องวัดความดันโลหิตให้วางอยู่ในระดับเดียวกับตำแหน่งของหัวใจ รวมถึงต้องจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสมและมีสภาวะสงบ ผ่อนคลายมากที่สุด นอกจากนี้จะต้องมีการซักถามประวัติผู้ป่วยด้วยว่าในช่วง 1 ชั่วโมงที่ผ่านมาได้ทานอาหารหรือกาแฟมาบ้างหรือไม่ และในช่วง 15 นาทีที่ผ่านมาได้ทำการสูบบุหรี่มาก่อนหรือเปล่า

4. สิ่งที่ควรต้องพิจารณาให้เป็นพิเศษ

4.1 การประเมิน “ Orthostatic / Postural Hypertension ” เพื่อหาผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตลดต่ำลงขณะอยู่ในท่ายืนมักพบเสมอในผู้ป่วยสูงอายุ Systolic Hypertension ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานร่วม ผู้ป่วยที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด ยากลุ่ม Psychotropic บางชนิด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการของ Light-Headedness, Dizziness, Weakness, Unsteadiness, Visual Blurring และ Near-Syncope

การตรวจวัดความดันโลหิตเพื่อทำการประเมิน “ Orthostatic / Postural Hypertension ” 

1) วัดความดันโลหิตซ้ำอีกที่ 3 นาที เมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่ายืน หากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะยืนได้เป็นเวลานาน ๆ ให้เปลี่ยนเป็นท่านั่งแทนได้ โดยค่าความดันโลหิตที่เป็นตัวบ่งชี้ของภาวะ “ Orthostatic / postural hypertension ” จะมีค่าความดันโลหิตตัวบนลดลง 20 mmHg หรือมากกว่า ค่าความดันโลหิตตัวล่างลดลง 10 mmHg หรือมากกว่า ร้อยละอัตราการเต้นของชีพจรจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่า

2) วัดความดันโลหิตครั้งที่ 1และจับชีพจรของผู้ป่วยหลังจากให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายราบ จากนั้นให้ผู้ป่วยยืนขึ้นและวัดความดันโลหิตของผู้ป่วยซ้ำทันที

4.2 หากพบว่าผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตต่ำลงหรือสูงขึ้นอย่างผิดปกติแต่ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ จะต้องวัดค่าความดันโลหิตของแขนด้านตรงข้ามของผู้ป่วยเพื่อยืนยันอาการแสดงบ่งชี้เสมอ

4.3 “ White Coat Effect ” ไม่ควรลืมทำเด็ดขาด

ตาราง คำจำกัดความและการแบ่งระดับความดันโลหิตสูง ( Definitions and Classification of Blood Pressure )

การจำแนกระดับความดันโลหิต   ( BP ) Systolic Blood Pressure ( SBP ) Diastolic Blood Pressure ( DBP )
เหมาะสมที่สุด ( Optimal ) <120 mmHg <80 mmHg
ปกติ ( Normal ) 120-129 80-84
สูงกว่าปกติ ( High Normal ) 130-139 85-89
ระดับ 1 Hypertension ( Mild ) 140-159 90-99
ระดับ 2 Hypertension ( Moderate ) 160-179 100-109
ระดับ 3 Hypertension ( Severe ) ≥180 ≥110
ความดันตัวบนสูงอย่างเดียว ( Isolated Systolic Hyperten ) ≥140 <90

 

การประเมินประวัติครอบครัวประวัติสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย 4 ด้าน ( Family, Clinical History,Individual Behavioral ,Health )

ข้อมูล รายละเอียด
1. ด้าน Basic bio-behavioral mechanism 1.1 อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
1.2 พันธุกรรมมีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่
1.3 ร่างกายมีความไวต่อการสะสมเกลือและโซเดียม ( salt sensivity ) มีบวมตามร่างกายได้ง่าย
1.4 มีอาการหรืออาการแสดงผิดปกติที่สงสัยมีโรคความดันโลหิตสูงครั้งแรกหรือไม่
ถ้ามีเป็นอย่างไร เป็นบ่อยแค่ไหนและมีระยะเวลานานเท่าไร เช่นอาการปวดศีรษะ มึน เวียนศีรษะ วูบ
2. ด้านพฤติกรรมส่วนบุคคล 2.1 ลักษณะนิสัยการรับประทานอาหารและน้ำหนักตัวเป็นอย่างไร บริโภคอาหารรสเค็มหรือมีเกลือโซเดียมมากหรือไม่
2.2 กิจกรรมยามว่างหรือทำงานอดิเรกอะไรบ้าง ปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงหรือออกกำลังกายหรือไม่ ขาดการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อย
2.3 มีความเครียดสูงและเรื้อรัง ( หรือถูกกดดันบ่อยๆด้วยเวลาอันจำกัด รีบเร่ง ) จริงจังไม่ปล่อยวาง
2.4 ดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟมากเกินไป
2.5 มีประวัติสูบบุหรี่ดื่มเหล้าหรือไม่
2.6 ลักษณะนิสัยการรับประทานอาหารเป็นอย่างไร
2.7 น้ำหนักตัวเป็นอย่างไร
3. ด้านการใช้ชีวิตในสังคมครอบครัวและชุมชน ( Social family & Community ) 3.1 มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบตลอดเวลา
3.2 รับภาระทางสังคมและครอบครัวมาก
4. ประเมินความเป็นอยู่อาชีพ (Living & working condition) 4.1 ประกอบอาชีพที่มีการแข่งขันสูงหรือก่อให้เกิด
4.2 ความเครียดสูง เช่น นักธุรกิจ นักการเมือง
4.3 อาชีพที่มีการพักผ่อนไม่เป็นเวลา
4.4 อาชีพที่ต้องนั่งโต๊ะทำงานทั้งวัน

 

เพศชาย เพศหญิง
– BP≥ 130/85 mmHg – BP≥ 130/85 mmHg
– น้ำหนักเกินเกณฑ์ BMI >25 kg/m2 – น้ำหนักเกินเกณฑ์ BMI >25 kg/m2
– อ้วนลงพุง เพศชายรอบเอว ≥ 94 เซนติเมตร ( ≥36 นิ้ว) – อ้วนลงพุง เพศหญิงรอบเอว ≥ 94 เซนติเมตร ( ≥36 นิ้ว )
– Triglyceride ≥150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร/ได้รับการ รักษาโดยการใช้ยาลดไขมัน – Triglyceride ≥150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร/ได้รับการรักษาโดยการใช้ยาลดไขมัน
– HDL-C<40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร – HDL<50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
– น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ( FBS ) ≥ 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร/เคยได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาก่อน – น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ( FBS ) ≥ 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร/เคยได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาก่อน

Home and 24 hour ambulary BP measurement

1. Home BP
สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแล้ว ในการประเมินว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลภาวะสุขภาพหรือไม่ เรื่องสำคัญที่เป็น Exist need ที่ Recommend จะต้องทำการ Encouraged ให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ปฎิบัติก็คือ การทำ Self-management ในการวัดความดันโลหิต เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลค่า BP ของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุดโดยมีจุดประสงค์เพื่อ

  • เพื่อให้ได้ข้อมูลค่า BP ของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการประเมินผลการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตว่ายาที่ใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยแต่ละรายหรือไม่ ผู้ป่วยมีการตอบสนองอย่างไร ค่า BP ลดระดับลงได้อย่างเหมาะสมหรือไม่
  • เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีความยั่งยืนต่อเนื่อง
  • เพื่อที่ผู้ป่วยและทีมสุขภาพจะได้มีความเข้าใจร่วมกันว่า เมื่อทำการวัดค่า BP ที่บ้านจะได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งเร้าล้วนมีผลต่อค่า BP
    แต่ถึงแม้ว่าการ Encouraged ให้ผู้ป่วยปฏิบัติในการทำ Self-management เพื่อที่จะทำการประเมินระดับความดันโลหิตที่บ้านได้ด้วยตนเองและนำข้อมูลที่ได้ทำการจดบันทึกมาแสดงให้ดูทุกครั้งที่ได้มาโรงพยาบาล จะเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ได้ผลดี แต่จำเป็นต้องหยุดปฏิบัติในทันที หากผู้ป่วยทำ Home BP แล้วมีผล ดังต่อไปนี้
  • ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น
  • เป็นเหตุให้ผู้ป่วยตัดสินใจปรับเปลี่ยนวิธีรักษาด้วยตนเอง เช่น ผู้ป่วยอาจจะหยุดยาที่รับประทานเอง หรือตัดสินใจเพิ่มขนาดยาที่รับประทานเอง ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายตามมาหรือ อาจทำให้การรักษาหยุดชะงักลง
  • ค่าปกติสำหรับ Home BP จะต่ำกว่าค่า Office BP ค่าปกติสำหรับ Home BP คือ
    ค่า Systolic BP < 130-135 mmHg ค่า Diastolic BP < 85 mmHg

2. Ambulatory BP ( 24 hour ambulary BP monitoring )

การใช้เครื่องวัด BP ในการตรวจวัดความดันโลหิตของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมงนั้น จะเป็นการตรวจที่ทำได้ลงลึกและมีความละเอียดในการตรวจวัดเพิ่มมากขึ้น หากทำการวิเคราะห์ระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยตลอดวันโดยให้ผู้ป่วยได้ดำเนินชีวิตไปตามปกติ ทั้งนี้เพื่อการประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด CV risk ทั้งในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ผ่านการรักษามาแล้วหรือกำลังอยูในระหว่างการพิจารณาว่าควรใช้ยารักษาดีหรือไม่ เพื่อที่การใช้ยาลดความดันโลหิตจะได้ไม่เป็นทางเลือกที่ไม่จำเป็น ควรพิจารณาให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจ 24 hour ambulary BP ในกรณีดังนี้  

  • พบผู้ป่วยที่มี Office BP แต่ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิด CV Risk หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิด CV Risk อยู่ในระดับต่ำ
  • สงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการดื้อยาลดความดันโลหิต ( Resistance to Drug Treatment )
  • สงสัยว่าผู้ป่วยมี Sleep Apnoea
  • สงสัยว่าผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตลดต่ำลง ( Hypotensive Episodes ) โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุและมีโรคเบาหวานร่วมด้วย
  • ผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ที่พบมีออฟฟิศ BP สูงและสงสัยว่ามีภาวะ Pre-Eclampsia
  • พบว่าการวัดค่า BP ของผู้ป่วยที่วัดที่ Office กับวัดที่บ้าน มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก
  • พบว่าค่า Office BP ของผู้ป่วยกว้างมากอย่างผิดปกติ ( Variability of Office BP )

3.Particular Conditions

3.1 Isolated Office Hypertension ( White Coat Hypertension )

จะต้องมีการคิดถึงภาวะ “White Coat Effect” เสมอ เมื่อดูแลผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง
พบค่า Office BP สูงเกิน 140/90 mmHg แต่ หากให้ผู้ป่วยทำ Home BP พบว่าค่า Home BP ปกติ

 

“ White coat effect ”
<Office BP>140/90 mmHg>

 

“ Home BP ” หรือ Daytime ambulatory BP
<130-135-85 mmHg>

โดยการประเมินภาวะดังกล่าวนี้ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากผู้ป่วยมีภาวะดังกล่าวนี้ ก็จะได้ไม่ต้องทำการรักษาด้วยการทานยาลดความดันนั่นเอง แต่ก็จะต้องมีการประเมินผู้ป่วยแต่ละรายว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิด CV Risk มากแค่ไหน โดยประเมินได้จากการทำ 24 hour Ambulary BP Monitoring

3.2 Isolated Ambulatory Hypertension ( Masked Hypertension )

โดยกรณี “ Masked Hypertension ” จะพบค่า Office BP ที่ปกติคือ <140/90 mmHg แต่ค่า Home BP ( ≥130-135/85 ) หรือค่า Ambulatory BP สูงขึ้น ( ≥125-130/80 mmHg ) ซึ่งกรณีนี้ก็จะต้องประเมินเพื่อหาความเสี่ยงต่อการเกิด CV risk เสมอเช่นกัน และหากพบผู้ป่วยกลุ่ม “Masked hypertension” มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด CV risk ต้องมีการติดตามผู้ป่วยประเมิน BP ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทั้งออฟฟิศ BP และ Home BP ควบคู่กัน 

การตัดสินใจให้การรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตด้วยการใช้ยาลดความดัน

สำหรับแนวทางในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การพิจารณาว่าจะเริ่มต้นทำการรักษาผู้ป่วยด้วยการให้ผู้ป่วยปรับการพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในเรื่องสุขภาพ ( Life Style modification ) ก่อนดีหรืออาจจะเริ่มทำการรักษาโดยใช้ยาลดความดันโลหิต ( Initiation of BP lowering therapy ) ได้เลยทันทีนั้น จำเป็นที่จะต้องทำการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยแต่ละรายเป็นกรณีไป ผู้ที่ให้การรักษาจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้ปรับสมดุลชีวิต รู้ว่าปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นตัวกระตุ้นที่มีผลต่อความดันของผู้ป่วยแต่ละรายที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากกลไกของการเกิดความดันโลหิตสูงมีปัจจัยมากมายที่อาจเป็นสาเหตุ

อย่างไรก็ดี การร่วมมือกับผู้ป่วยในการให้การดูแลรักษาพยาบาลโรคความดันโลหิตสูงนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างข้อตกลงร่วมกันกับผู้ป่วยในเบื้องต้นเสียก่อนว่าค่าความดันโลหิตหรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ Blood Pressure ( BP ) นั้น เป็นเพียงค่าตัวเลขที่สูงแต่เพียงเท่านั้น และการรักษาก็ไม่ใช่ว่าจะทำเพียงแค่ให้ค่าตัวเลขที่สูงลดลงได้เท่านั้น แต่ทำการรักษาเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด Subclinical Organ Damage ต่าง ๆ ตามมา

โดยเฉพาะตั้งแต่ที่ได้ทำการตรวจพบ และสามารถที่จะระบุตัวผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกได้ ผู้ป่วยที่มี CV Risk สูงขึ้นเช่นผู้ป่วยที่มี Diabetes, Renal Dysfunction, Stroke, Ml, Proteinuria เป็นต้น จำเป็นที่จะต้องได้รับการควบคุม Metabolic Syndrome และค่า BP ให้มีค่าอยู่ในระดับปกติ คือน้อยกว่า 140/90 mmHg ให้ได้หรือให้น้อยกว่า 130 / 80 mmHg ในทันทีที่ตรวจพบ จึงจะทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ตาราง ความดันโลหิตสูงกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต ( 10 ปี ข้างหน้า )

ระดับ Blood Pressure ( mmHg )
มีปัจจัยเสี่ยง ( Risk factor ) มี Orgen damage ( OD ) หรือมี disease ปกติ
( Normal )
( 120-129/80-84 )
BP สูงกว่าปกติ
( High normal )
( 130-139/85-89)
BPสูงระดับ 1
( Grade 1 HT )
( 140-159 / 90-99 )
BPสูงระดับ 2
( Grade 2 HT )
( 160-179 / 100-109)
BPสูงระดับ 3
( Grade 3 HT )
( ≥180 /≥110 )
ไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ เสี่ยงทั่วๆไป
( Average )
เสี่ยงทั่วๆไป
( Average )
เสี่ยงต่ำ
( Added risk )
เสี่ยงปานกลาง
( Added risk )
เสียงสูง
( Added risk )
มี 1-2 ปัจจัยเสี่ยง เสี่ยงต่ำ
( Added risk )
เสี่ยงต่ำ
( Added risk )
เสี่ยงปานกลาง
( Added risk )
เสี่ยงปานกลาง
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )
มี 3 ปัจจัยเสี่ยงหรือมากกว่า/ MS/มี OD หรือมีเบาหวาน เสี่ยงปานกลาง
( Added risk )
เสียงสูง
( Added risk )
เสียงสูง
( Added risk )
เสียงสูง
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )
เป็นโรคเลือดและหัวใจหรือโรคไตเรื้อรัง ( Established CV or ) Renal disease เสียงสูงมาก
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )
เสียงสูงมาก
( Added risk )

การพิจารณา เพื่อเริ่มใช้ยาลดความดันโลหิต
การพิจารณาเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาลดความดันโลหิต สามารถพิจารณาและคำนึงถึงได้ 2 ข้อหลักๆดังนี้
1.พิจารณาความดันของผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับใด สูงมากแค่ไหน
2.พิจารณาว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะ CV risk อยู่ในระดับใด

การรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ

1. หากระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยมีค่าสูงกว่าระดับปกติมาก ( Grade 2 ขึ้นไป ) การพิจารณาในการใช้ยารักษาจะขึ้นอยู่กับระดับของความเสี่ยง ( Risk Factor ) และ CV Risk

2. หากผู้ป่วยมีเบาหวาน มีประวัติร่องรอยของ Subclinicl Orgen Damage เช่น Cerebrovascular, Coronary หรือ PAD ร่วมด้วย การใช้ยาลดความดันโลหิตจะต้องพิจารณาตามหลักฐานต่างๆที่ได้ผลดี

3. ในการพิจารณาความเหมาะสมในการเริ่มใช้ยาลดความดันโลหิตนั้น จะเริ่มก็ต่อเมื่อพบว่าระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยอยู่ในระดับ Grade3 แต่หากพบว่าระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยอยู่ในระดับ Grade1 และมี CV Risk โดยรวมอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงสูง ก็พิจารณาให้ใช้ยาได้

4. หากพบผู้ป่วยมีระดับความดันโลหิต Grade1 Grade2 และมี CV Risk โดยรวมอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงปานกลาง หรือหากพบผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิต Grade 1 แต่ไม่มี CV Risk ไม่จำเป็นต้องใช้ยาลดความดันกับผู้ป่วยในทันที แต่จะต้องมีการประเมินผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้ปรับการดำเนินชีวิตเสียก่อน และทำการติดตามประเมินผู้ป่วยต่อไป ซึ่งอาจต้องให้เวลาผู้ป่วยสักระยะหนึ่งนานพอที่ผู้ป่วยจะปรับได้ โดยมักจะใช้เวลาตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน ถึง 1 ปี และอาจต้องมีการทำ encourage ผู้ป่วยในเรื่อง Home BP ด้วย

5. หากผู้ป่วยมีระดับ BP สูงมากมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด CV Risk สูงมาก ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีอาการของโรคหลอดเลือดและหัวใจ หรือโรคไตเรื้อรัง ( Established CV or Renal Disease ) เกิดขึ้น ควรจะต้องมีการติดตามผู้ป่วย มีการจัดการดูแลผู้ป่วยอย่างบูรณาการเพิ่มขึ้น มีแนวทางการดูแลที่เชื่อมโยงกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพเพื่อที่จะสร้างความสมดุลในการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ไม่มีภาวะสุขภาพที่ย่ำแย่ลง

6.หากพบว่ามีผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตที่บ้านได้ดี การพิจารณาว่าจะทำการรักษาผู้ป่วยโดยการตรวจเพิ่มเติมหรือโดยวิธีการใช้ยา จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยร่วมด้วย โดยมีเรื่องของความคุ้มค่าและประโยชน์ต่อสุขภาพที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นสิ่งสำคัญที่จะคำนึงถึง แต่ถ้าหากผู้ป่วยได้ใช้เวลาในการปรับการดำเนินชีวิตอยู่นานพอแล้ว ก็ยังไม่สามารถที่ควบคุม BP ได้ดีก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาในการรักษา ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาแนวทางในการรักษาด้วยเช่นกัน

ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงที่จะนำไปสู่การเกิด CV Risk ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงที่จะนำไปสู่การเกิด CV Risk ระยะต้นทาง ( Early Phase ) เป้าหมาย ( Goal )
1. ระยะมีความเสี่ยง ( Risk Factor ) – ควบคุม Metabolic Syndrome ( MS ) ได้ ( ในแต่ละ Parameter ของ MS )
– ไม่ให้เกิด Impair Fasting Glucose ( IFG )
– ควบคุมระดับ BP ได้ตามเกณฑ์ ( <140/90 mmHg )
2. ระยะเริ่มมี Impair Fasting Glucose ( IFG ) – ควบคุม Metabolic Syndrome ได้
– ควบคุม Impair Fasting Glucose ( IFG ) ได้ (ตามเกณฑ์) ไม่ให้กูเป็นโรคเบาหวาน
– ควบคุมระดับ BP ได้ตามเกณฑ์ ( <140/90 mmHg )
3. เป็นเบาหวาน – ควบคุม Metabolic Syndrome ได้
– ควบคุมเบาหวานได้
– ควบคุมระดับ BP ได้ตามเกณฑ์ ( <130/80 mmHg )
มีร่องรอยการเกิด Subclinical Organ Damage ระยะกลางทาง

( Intermediate phase )

เป้าหมาย ( Goal )
– พิจารณาระดับความดันโลหิต – ควบคุมระดับ BP ได้ในระดับเดิมที่ผู้ป่วยเป็นหรือลดลง BP ลงไปสู่ระดับปกติหรือต่ำกว่าระดับเดิมที่ผู้ป่วยเป็นได้ ( อาจจะภายใต้การใช้ยาเพียง 1 ชนิดเป็นต้น )
– ไม่ให้เกิด Cardiovascu Lar Risk ขึ้น
– ค้นหาร่องรอย Cardiovascu Lar Risk ได้ตั้งแต่แรกเริ่ม
– ควบคุมร่องรอยของการเกิด Subclinical Organ Damage ต่างๆไม่ให้กำเนิด/รุนแรงเพิ่มเติม
เป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจหรือโรคไตเรื้อรัง ( Established CV or Renal Disease ) ระยะปลายทาง

( Intermediate phase )

เป้าหมาย ( Goal )
โรคความดันโลหิตสูงกลายกลับเป็นโรคร่วม โรคหลักผู้ป่วยคือโรคหัวใจ หลอดเลือด สมอง ไต – การประสานส่งต่อให้ผู้ป่วยเข้าถึง ทีมspecialist แต่ในละ Target Organ Damage

ยาลดความดันโลหิต

ยาลดความดันที่เป็นหลักสำคัญ ( Major Class of Antihypertensive Agent ) มีอยู่ 5 กลุ่มได้แก่

  1. ACE-Inhibitor
  2. Angiotensin Receptor Blockers
  3. Beta-Blocker
  4. Calcium Antagonists
  5. Thaiazide Diuretic / Loop Diuretic

แม้ว่ายาลดความดันทั้ง 5 กลุ่มนี้จะสามารถใช้ได้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แต่การจะพิจารณาว่าผู้ป่วยควรใช้ยารักษากลุ่มใดดีจะต้องพิจารณาจากการประเมินและตัดสินใจของแพทย์เท่านั้น โดยแพทย์จะดูในเรื่องของระดับ BP และความเสี่ยงต่อการเกิด CV risk ในผู้ป่วยนั่นเอง นอกจากนี้จะต้องคอยติดตามและประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเฉพาะรายอย่างละเอียด เพื่อประเมินหาความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผล้ขางเคียงจากการใข้ยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.

ลำไส้และจิตใจกำหนดพลังภูมิคุ้มกันที่ใหญ่สุดในร่างกาย

0
ลำไส้และจิตใจกำหนดพลังภูมิคุ้มกันที่ใหญ่สุดในร่างกาย
หากต้องการเพิ่มพลังภูมิคุ้มกัน ก็ต้องเพิ่มชนิดและจำนวนของแบคทีเรียในลำไส้ ด้วยการกินอาหาร เช่น ถั่ว ผัก ผลไม้ ธัญพืช
ลำไส้และจิตใจกำหนดพลังภูมิคุ้มกันที่ใหญ่สุดในร่างกาย
หากต้องการเพิ่มพลังภูมิคุ้มกัน ก็ต้องเพิ่มชนิดและจำนวนของแบคทีเรียในลำไส้ ด้วยการกินอาหาร เช่น ถั่ว ผัก ผลไม้ ธัญพืช

ลำไส้

รู้ไหมว่า พลังภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ของคนเรามีหลายรูปแบบมาก และมีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า 70% มาจาก ลำไส้ และอีก 30% มาจากจิตใจ การยกระดับพลังภูมิคุ้มกันในร่างกายล้วนเกี่ยวข้องกับเซลล์ ซึ่ง 7 ใน 10 ของเซลล์ที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน จะอยู่ที่เยื่อบุลำไส้ ( Mucous Membrane ) โดยเฉพาะตรงเยื่อบุลำไส้ใหญ่ ซึ่งหากต้องการจะยกระดับพลังภูมิคุ้มกันในร่างกายต้องอาศัยเซลล์เหล่านี้ และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ แบคทีเรียในลำไส้ ที่จะเป็นตัวช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เพราะฉะนั้น หากต้องการเพิ่มพลังภูมิคุ้มกัน ก็ต้องเพิ่มชนิดและจำนวนของแบคทีเรียในลำไส้ ด้วยการกินอาหาร เช่น ถั่ว ผัก ผลไม้ ธัญพืช แต่ในปัจจุบัน คนนิยมรับประทานอาหารปรุงแต่งหรืออาหารสำเร็จรูปมากขึ้น ซึ่งอาหารเหล่านี้มีวัตถุกันเสียและสารปรุงแต่ง ( Additives ) ที่ทำให้แบคทีเรียในลำไส้อ่อนแอ ดังนั้น หากต้องการสร้างพลังคุ้มกันในร่างกายต้องหลีกเลี่ยงอาหารปรุงแต่ง อาหารสำเร็จรูป รวมถึงอาหารจานด่วน ควรหันมาทำอาหารทานเอง ลดการซื้ออาหารจากร้านสะดวกซื้อ ( Convenient Store ) เน้นทานอาหารที่มีเยื่อใย ( Fiber ) เพราะเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียแข็งแรงทำงานได้ปกติ

วิธีการเพิ่มแบคทีเรียในลำไส้ นอกจากควรทำอาหารทานเอง และหลีกเลี่ยงอาหารปรุงแต่งแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเพิ่มแบคทีเรียในลำไส้ คือวิธีการโพรไบโอติก ( Probiotic ) ได้แก่ การรับประทานอาหารประเภทหมักดองที่มีแบคทีเรีย เช่น นัตโตะ ( Natto ) กิมจิ ( Kimchi ) โยเกิร์ต เพื่อเมื่ออาหารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย จำนวนแบคทีเรียก็จะเพิ่มขึ้น

ลำไส้ภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของมนุษย์

ทำไมถึงบอกว่าลำไส้คือภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ เพราะว่า ลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในลำไส้ มากถึง 70% ตรงบริเวรณเซลล์บีในร่างกาย ซึ่งจะสร้างแอนติบดี้ถึงวันละ 3.5 กรัม ในชั้นลามินาโพรเพรีย ( Lamina Propria ) ของเยื่อบุ โดยส่วนใหญ่จะเป็น IgA จับกับโปรตีน เพื่อหลั่ง Epithelium Cell ออกสู่ภายนอกเซลล์ กระจายไปทั่วเยื่อบุระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ นอกจากจะสร้างระบบ IgA เพื่อปกป้องเยื่อบุแล้ว ยังสร้างระบบ IgG เพื่อให้เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อช่วยในการปกป้องทั้งร่างกาย ถือได้ว่า เป็นระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพสูง  เพราะสามารถปกป้องร่างกายได้ถึง 2 ชั้น ระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ ยังมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องในการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นโครงการของระบบน้ำเหลือง หรือเรียกว่า แผงเพเยอร์ (Peyer’s Patch) ซึ่งเมื่อส่องกล้องจุลทรรศน์ จะสังเกตเห็น ท่อทางเดินอาหาร ซึ่งแผงจะเป็นรูปโดม แทรกอยู่ระหว่าง วิลลัส (Villus) ของลำไส้เล็ก ซึ่งแผงเพเยอร์จะพบมากที่ส่วนไอเลียม Ileum ของลำไส้เล็ก ถือว่าเป็นอวัยวะภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะเฉพาะของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีต่อมน้ำเหลืองมารวมตัวกัน   

ถ้าจะศึกษาลงไปให้ลึก เซลล์บุผิวของระบบทางเดินอาหาร จะพบลิมโฟไซต์ และถัดลงไป ก็จะเป็นชั้นลามินาโพรเพรีย ซึ่งเป็นตัวช่วยเก็บสะสมเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันไว้จำนวนมากในส่วนของเซลล์บี จะทำการผลิตแอนติบอดี ซึ่งเป็นพลังของระบบภูมิคุ้มกันแบบ ฮิวมอรัล ส่วนเซลล์ทีในลำไส้จะทำการแสดงพลังที่เข้มแข็งของระบบภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ออกมาก ส่วนเซลล์ทีที่สร้างในไขกระดูก และเคลื่อนย้ายไปสู่แผงเพเยอร์ นอกจากจะคอยกำจัดสิ่งแปลกปลอมแล้ว ยังมีข้อบ่งชี้ว่า มีพลังที่เข้มแข็งในการจัดการเซลล์มะเร็งที่มีการก่อตัวขึ้นอีกด้วย

เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นวันละ 5,000 เซลล์ ซึ่งเซลล์เหล่านี้ เดิมก็เป็นเซลล์ปกติในร่างกาย แต่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ไม่มีพลังมากพอที่จะแยกแยะ และจัดการเซลล์มะเร็งได้ แต่เมื่อเซลล์ได้รับการบ่มที่แผงเพเยอร์ ก็จะทำให้เซลล์มีการตื่นตัวถูกกระตุ้นขึ้นมา ทำให้มีพลังเข้มเข็ง สามารถจัดการเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย คือ แบคทีเรียในลำไส้นั่นเอง

ปัจจัยสำคัญที่สร้างภูมิคุ้มกันในลำไส้ให้มีประสิทธิภาพ

1.ทานอาหารที่ผ่านการหมักดอก เช่น นัตโต โยเกิร์ต กิมจิ

2.ทานอาหารที่มีเยื่อใย เช่น โอลิโกแซ็กคาไรด์ น้ำตาล

3.ทานอาหารจำพวกธัญพืช เช่น ถั่ว ผลไม้ พืชผักต่างๆ

4.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารปรุงแต่ง เช่น สารกันบูด

และนอกเหนือจากพลังภูมิคุ้มกันจากลำไส้แล้ว อีกส่วนหนึ่งคือ พลังภูมิคุ้มกันจากจิตใจ และปัจจัยที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันจากจิตใจ

พลังภูมิคุ้มกันจากจิตใจ

1.รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ เพราะรอยยิ้มและเสียงหัวเราะมันบ่งบอกถึงสุขภาพจิตที่ดี

2.การได้อยู่กับธรรมชาติ สีเขียวของต้นไม้ อากาศที่บริสุทธิ์ บรรยากาศที่เงียบสงบจะทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย ลดความเครียดได้ 

3.ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ ให้เหมาะสมกับวัย และสุขภาพ เพราะการออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมา จึงทำให้คนที่ออกกำลังกายมีใบหน้าผิวพรรณที่สดใส

4.การคิดบวก คิดสร้างสรรค์ คิดในแง่มุมที่ดี ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาเข้ามา ก็จะสามารถมองเห็นช่องทางบวก ช่องทางที่จะผ่านปัญหานั้นไปได้ ไม่จมปลักกับปัญหา ทำให้คนที่คิดบวก คิดสร้างสรรค์ในสิ่งดี เป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี ไม่หวั่นไหวกับอะไรง่าย

5.ใช้ชีวิตให้มีความสุข อยู่กับปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ไม่พร่ำเพ้อถึงแต่เรื่องอดีตที่เจ็บปวด ไม่เพ้อฝันถึงอนาคตที่เกินความจริง ก็จะทำให้สภาพจิตใจดี มีความสุขในทุกๆวัน

6.หลีกเลี่ยงความเครียด โดยการ ปล่อยวาง เพราะความเครียดจะนำพาให้จิตใจอ่อนแอ เมื่อจิตใจอ่อนแอ ร่างกายก็จะอ่อนแอไปด้วย หาความสุขให้กับตัวเองบ้าง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับจิตใจ

ถึงแม้ว่าพลังภูมิคุ้มกันทางจิตใจ มีแค่ 30% แต่ก็ถือว่าส่งผลต่อร่างกายได้เช่นกัน เพราะสภาพจิตใจที่ดีย่อมส่งผลต่อระบบการทำงานต่างๆของร่างกายให้เป็นปกติ ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญพอกันกับการสร้างภูมิคุ้มกันในลำไส้ ใช้ชีวิตให้มีความสุข อยู่กับธรรมชาติ ออกกำลังกาย คิดบวก และมีความสุขกับการใช้ชีวิตในทุกๆวัน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้มีระบบภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง ซึ่งไม่ต้องแสวงหาจากทื่อื่นให้เสียเงินทอง เพราะระบบภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดอยู่ที่ตัวเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

Javitt NB (December 1994). “Bile acid synthesis from cholesterol: regulatory and auxiliary pathways”. FASEB J. 8 (15): 1308–11.