มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากกรดไหลย้อนเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว

0
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer)
เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุภายในโพรงกระเพาะอาหาร เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะอาการและกระจายสู่อวัยวะอื่น
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer)
มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะอาหาร อาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคไวรัสลงกระเพาะได้

มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหาร ( Gastric Cancer ) มักเกิดขึ้นในเซลล์สร้างเมือกที่อยู่ในกระเพาะอาหาร จากสถิติพบว่ามะเร็งกระเพาะมักไม่แสดงอาการในระยะแรกจนกว่าจะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงจึงทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากมากและยังติด 1 ใน 10 อันดับ ของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทย แต่ในผู้หญิงจะไม่ค่อยพบมากนักมะเร็งชนิดนี้พบมากในผู้ที่มีอายุประมาณ 60 ปี พบได้จากหลายสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนี้

สาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

โดยทั่วไปจะตรวจพบเนื้องอกเมื่อเกิดการกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอ ( DNA ) ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตและแบ่งตัวออกไปยังอวัยวะใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงกับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนในทางเดินอาหารและโรคอ้วน ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ และอาชีพบางอย่าง

  • ชอบกินอาหารที่มีรสเค็ม
  • ชอบกินอาหารประเภทปิ่งย่างเป็นประจำ
  • ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • การติดเชื้อเชื้อเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori)
  • กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบเรื้อรัง
  • มีติ่งเนื้อในกระเพาะอาหารก่อนหน้า
  • เนื้องอกในส่วนอื่น ๆ ของระบบย่อยอาหาร
  • เป็นโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง
  • สูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะหลายปี
  • เคยผ่าตัดกระเพาะอาหารก่อนหน้านี้
  • โรคโลหิตจาง
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาชีพคนงานในอุตสาหกรรมถ่านหินโลหะหนัก

อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารอาการของโรคนี้ไม่มีอาการที่ชี้ชัดหรืออาการเฉพาะ โดยอาการส่วนใหญ่จะคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะอาหารทั่วไปนั่นเอง สังเกตได้จากอาการต่อไปนี้

  • ปวดท้อง และท้องอืด
  • รู้สึกไม่สบายท้องและอาหารไม่ย่อย
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหารและกลืนลำบาก
  • ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีดำ
  • อุจจาระเป็นเลือด
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีภาวะดีซ่าน (ตาและผิวเหลือง)
  • มีน้ำในช่องท้องผิดปกติ
  • ร่างกายอ่อนเพลียผิดปกติ

มะเร็งกระเพาะอาหารในระยะที่มีการลุกลาม จะคลำพบก้อนเนื้อผิดปกติบริเวณลิ้นปี่ หรือบริเวณกระเพาะอาหาร

ระยะของมะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารมีทั้งหมด 4 ระยะ โดยแต่ละระยะก็จะมีอาการค่อยๆ รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปยังกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารและลุกลามเข้าต้อมน้ำเหลือแต่ยังไม่เกิน 2 ต่อม ซึ่งยังไม่อันตรายมาก
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าไปยังเนื้อเยื่อคุ้มกระเพาะอาหาร และลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงมากกว่า 2ต่อมขึ้นไป
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามโดยทะลุออกไปนอกเยื่อหุ้มกระเพาะอาหารและอวัยวะข้างเคียง รวมถึงลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงเป็นจำนวนมากเช่นกัน
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไปแล้ว โดยส่วนใหญ่ก็จะเริ่มจากตับและปอดนั่นเอง

การแพร่กระจายของมะเร็ง

สามารถแพร่กระจายผ่านทางเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองและเลือด

  • เนื้อเยื่อ : มะเร็งสามารถแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเป็นการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้
  • ระบบน้ำเหลือง : มะเร็งสามารถแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านทางท่อน้ำเหลืองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • เลือด : มะเร็งแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไหลผ่านหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การรักษา มะเร็งกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง

การรักษา มะเร็งกระเพาะอาหารจะใช้วิธีการผ่าตัด และประเมินระยะของโรคเพื่อพิจารณาการรักษาเพิ่มเติม โดยส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีการรักษาด้วยรังสีรักษาและการทำเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการผ่าตัดด้วย แต่ทั้งนี้จะเลือกวิธีไหนดีนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของผู้ป่วยเช่นกัน แบ่งออกเป็น 3 วิธีหลักๆ คือ
1. การผ่าตัด โดยการส่องกล้องหากพบรอยโรคผิดปกติสามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจได้ หรือพบติ่งเนื้อก็สามารถตัดออกผ่านทางการส่องกล้องได้ทันที
2. การใช้รังสีรักษาหรือการฉายแสง เพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งและหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็งกระเพาะอาหาร
3. การทำคีโม หรือเคมีบำบัด เป็นการรักษามะเร็งเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร

การป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารเบื้องต้นด้วยตนเอง

  • กินอาหารที่มีประโยชน์อุดมไปด้วยไฟเบอร์ เช่น ผัก ผลไม้หลากสีและธัญพืชไม่ขัดสี
  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม
  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
  • กำหนดการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานของน้ำตาล
  • หลีกเลี่ยงหรือจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่มีความรุนแรงแบ่งได้ตามระยะของโรค การรักษาให้หายขาดจึงอาจเป็นเรื่องยากสักนิด ซึ่งพบว่ามีโอกาสในการรักษาให้หายขาดน้อยมาก โดยจะขึ้นอยู่กับการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกไปหมด ร่างกายของผู้เข้ารับการรักษาพร้อมสำหรับการรักษาในครั้งต่อไปหรือไม่หากแพทย์พบว่าผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำก็ไม่สามารถทำการรักษามะเร็งกระเพาะอาหารต่อได้ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งควรเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์ที่มีโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นต่อการรักษา ออรัล อิมแพค

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.4. ISBN 9283204298.

Chang, A. H.; Parsonnet, J. (2010). “Role of Bacteria in Oncogenesis”. Clinical Microbiology Reviews. 23 (4): 837–857. doi:10.1128/CMR.00012-10. ISSN 0893-8512. PMC 2952975 Freely accessible. PMID 20930075.

González CA, Sala N, Rokkas T; Sala; Rokkas (2013). “Gastric cancer: epidemiologic aspects”. Helicobacter. 18 (Supplement 1): 34–38. doi:10.1111/hel.12082. PMID 24011243.

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma )

0
เกิดก้อนเนื้อที่โตขึ้นที่ลำคอ
เกิดก้อนเนื้อที่โตขึ้นที่ลำคอ
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นที่ลำคอ
ต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดในร่างกายสามารถเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ ซึ่งส่วนมากพนที่ลำคอ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ต่อมน้ำเหลืองโดยปกติแล้วจะมีหน้าที่ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ร่างกายมีความแข็งแรงและห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆ มากขึ้น ซึ่งต่อมน้ำเหลืองก็จะมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อกระจายอยู่ทั่วร่างกายของคนเรา โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ ขาหนีบ ช่องอก อุ้งเชิงกรานช่องท้องและต่อมทอนซิล เป็นต้น โดยทั้งนี้ต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดสามารถเกิดเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) ได้ทั้งสิ้น แต่ที่พบได้มากและบ่อยที่สุดก็คือบริเวณลำคอ ขาหนีบและรักแร้นั่นเอง นอกจากนี้ก็ยังพบได้ที่ลำไส้เล็ก สมองและกระเพาะอาหารได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีอยู่เสมอ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)และชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินมะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบบ่อยมากแค่ไหน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองส่วนมากจะพบได้มากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบในผู้ใหญ่มากใน 10 อันดับแรกของโรคร้าย รวมถึงพบได้มากในเด็ก ซึ่งติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในเด็กไทยเลยทีเดียว โดยทั้งนี้โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองก็จะมีหลายชนิดด้วยกัน และมีความรุนแรงของโรคที่ต่างกันไปตามแต่ละชนิดอีกด้วย โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มน็อนฮอดจ์กิน และกลุ่มฮอดจ์กิน ซึ่งชนิดน็อนฮอดจ์กินจะมีความรุนแรงมากกว่า

สาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สาเหตุของการป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยังไม่พบแน่ชัด แต่เชื่อว่าโรคนี้เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยเสี่ยงด้วยกัน ซึ่งได้แก่

  • ความผิดปกติของพันธุกรรมบางชนิดก่อให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งก็มีทั้งพันธุกรรมชนิดที่ถ่ายทอดได้และถ่ายทอดไม่ได้ โดยจะมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกตินั่นเอง
  • ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสบางชนิด ที่ไปกระตุ้นให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น เชื้อไวรัสเอชไอวี
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจเกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร
  • ภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดความบกพร่อง ส่วนใหญ่จะเกิดได้ในคนที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือในคนที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
  • ร่างกายได้รับสารเคมีบางชนิดสะสมนานเกินไป จนก่อให้เกิดมะเร็ง

ต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดในร่างกายสามารถเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ทั้งสิ้น แต่ที่พบได้มากและบ่อยที่สุดก็คือบริเวณลำคอ ขาหนีบและรักแร้

อาการของ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่พบอาการที่ชี้เฉพาะ โดยจะมีอาการคล้ายกับการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองทั่วไป แต่อาการที่พบได้บ่อยก็คือ 

  • อาการต่อมน้ำเหลืองโต แต่ไม่มีอาการเจ็บ โดยสามารถคลำเจอได้
  • ในกรณีที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่อวัยวะต่างๆ ก็จะมีอาการแบบเดียวกันกับโรคมะเร็งที่อวัยวะนั้นๆ นั่นเอง
  • มีอาการไข้สูงติดต่อกันหลายวัน มักจะเป็นแบบเป็นๆ หายๆ น้ำหนักลดผิดปกติ มีอาการเหงื่อออกเยอะในตอนกลางคืน ซึ่งอาการเหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะหาสาเหตุได้พบ อย่างไรก็ตามในบางคนก็อาจไม่มีอาการเหล่านี้ได้เหมือนกัน โดยนั่นแสดงว่าความรุนแรงของโรคต่ำกว่าผู้ที่มีอาการนั่นเอง

อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบได้บ่อย

  • พบก้อนที่บริเวณต่าง ๆของร่างกาย เช่น ที่คอ รักแร้ หรือ ขาหนีบ โดยก้อนที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้น มักไม่เจ็บต่างจากการติดเชื้อที่มักมีอาการเจ็บที่ก้อน
  • ปวดศีรษะ
  • ไข้ หนาวสั่น
  • มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
  • เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
  • อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ไอเรื้อรัง และหายใจไม่สะดวก
  • ต่อมทอนซิลโต
  • อาการคันทั่วร่างกาย

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระยะลุกลาม

  • ในผู้ป่วยบางราย จะพบอาการปวดที่ต่อมน้ำเหลือง หลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ในรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองภายในช่องท้อง จะพบอาการแน่นท้อง หรืออาหารไม่ย่อยได้
    ต่อมน้ำเหลืองที่โตจะมีผลกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือด หรือเส้นประสาท อาจทำให้เกิดอาการชา หรือ ปวด ตามแขนขาได้

รู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือไม่นั้น สามารถตรวจได้จากการวินิจฉัยโดยแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการสอบถามประวัติอาการป่วย ตรวจร่างกายและตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองออกไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อหาผลการตรวจที่แน่ชัดที่สุด นอกจากนี้ก็จะทราบด้วยว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะที่เท่าไหร่ของโรคแล้ว

ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ระยะโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 1 เป็นระยะที่โรคมะเร็งเกิดขึ้นกับต่อมน้ำเหลืองเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น และยังอยู่ในภาคเดียวกันกับกระบังลม

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้เกิดขึ้นกับต่อมน้ำเหลืองหลายกลุ่มด้วยกัน แต่ก็ยังอยู่ในฝั่งเดียวกันกับกระบังลมอยู่ดี นอกจากนี้ก็ยังอาจจะลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงแล้วอีกด้วย

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้เกิดกับต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม เกิดขึ้นทั้งสองฟากของกระยังลม และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองหลายบริเวณด้วยกัน

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก ส่วนใหญ่จะพบการแพร่ไปยังไขสันหลัง สมองและไขกระดูกได้เป็นอันดับแรกๆ

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะใช้วิธีการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดและการใช้รังสีรักษา ซึ่งจะใช้เพียงวิธีเดียว หรือทั้งสองวิธีควบคู่ไปนั้นก็จะต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ด้วยนั่นเอง นอกจากนี้ในกรณีที่โรคมีการลุกลามในระดับรุนแรง ก็จะมีการรักษาด้วยยาที่ใช้รักษาตรงเป้ารวมถึงการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่สูงมาก ผู้ป่วยจึงไม่สามารถเข้าถึงวิธีนี้ได้ทุกคน ส่วนจะรักษาให้หายขาดได้หรือไม่นั้น ก็จะต้องขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและระยะของโรคด้วย โดยหากพบว่าเป็นมะเร็งในระยะที่ 3 และ ระยะที่ 4 จะมีโอกาสรักษาให้หายได้ยากมากทีเดียวสามารถตรวจคัดกรอง มะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ไหมการจะตรวจคัดกรองให้พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกนั้น ยังไม่มีวิธีการตรวจที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงต้องคอยสังเกตความผิดปกติของตนเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะหากพบว่าต่อมน้ำเหลืองมีขนาดโตผิดปกติจนสามารถคลำได้ ให้รีบไปพบแพทน์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยในทันที

การดูแลตนเองในระหว่างเข้ารับการรักษามะเร็ง

  • ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดูแลสุขอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ
  • สามารถรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดจะส่งผลดีต่อการรักษาในครั้งต่อไป
  • หมั่นสังเกตอาการที่ผิดปกติไปจากเดิม และรีบไปพบแพทย์ทันที

มีวิธีป้องกัน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองไหม

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่พบสามารถที่แท้จริงและไม่สามารถตรวจคัดกรองได้ จึงยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ดีเช่นกัน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการหลีกเลี่ยงทุกปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุของโรคนั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.4. ISBN 9283204298.

“General Information About Adult Non-Hodgkin Lymphoma”. National Cancer Institute. 2014-04-25. Archived from the original on 5 July 2014. Retrieved 20 June 2014.

Becker, N; Nieters, A; Brennan, P; Boffetta, P; Cocco, P; Hjalgrim, H (September 2013). “Cigarette smoking and risk of Hodgkin lymphoma and its subtypes: a pooled analysis from the International Lymphoma Epidemiology Consortium (InterLymph)”. Annals of Oncology. 24 (9): 2245–55. doi:10.1093/annonc/mdt218. PMC 3755332 Freely accessible. PMID 23788758.

“Hodgkin Lymphoma—SEER Stat Fact Sheets”. Seer.cancer.gov. Archived from the original on 2012-10-17. Retrieved 2012-08-26.

ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ คีโม

0
ผลกระทบจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด
ยาเคมีบำบัดนอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติที่แบ่งตัวเร็วในร่างกายด้วย
ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ คีโม
ยาเคมีบำบัดนอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติที่แบ่งตัวเร็วในร่างกายด้วย

เคมีบำบัด คือ

เคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือ คีโม ปัจจุบันนี้โรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตของคนไปเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการพัฒนาวิธีการรักษามะเร็งอย่างได้ผลออกมาตลอดเวลา ซึ่งทุกวิธีที่ใช้รักษามะเร็งต่างก็มุ่งหวังที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในร่างกายให้ออกไปจนหมดอย่างถาวรและไม่กลับเข้ามาในร่างกายของผู้ป่วยอีกครั้ง สำหรับมะเร็งที่มีการเจริญเติบโตจำกัดอยู่เฉพาะที่การรักษาด้วยการผ่าตัดและการฉายรังสีน่าจะเป็นการรักษาที่เหมาะสมกับมะเร็งชนิดนี้แล้ว แต่ทว่าบางครั้งการรักษามะเร็งดังกล่าวก็ไม่สามารถที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกายได้ เนื่องจากมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในระดับที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือการตรวจหาเชื้อมะเร็งบางชนิด ทำให้ผู้ที่ทำการรักษามะเร็งแบบเฉพาะที่นั้นมีอัตราเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นมะเร็งได้อีก ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพยายามทีจะค้นหาวิธีที่จะรักษาทั้งระบบเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ไม่กลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้ง

ในปี ค.ศ.1946 Gilmam และ Philips ได้ทำการรักษาแบบทั้งระบบครั้งแรกกับคนไข้ และในปี ค.ศ. 1947 Farber และคณะได้ทำการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดซึ่งเป็นวิธีการรักษาทั้งระบบที่นับเป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาได้ค้นพบว่าฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็งของสารที่สามารถกระตุ้นการตอบสนองของร่างกายต่อการอักเสบติดเชื้อและโรคปกติ ( Biological Response Modifiers ) และ Immunotherapeutic Agent ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มที่ดี เพราะเป็นการเพิ่มของสารที่ใช้ในการต่อต้านมะเร็งให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการรักษาทั้งระบบจะมีข้อดีแต่ก็ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อปกติที่เกิดจากยาเหล่านี้ด้วย ซึ่งมีหลักการตัดสินใจเลือกวีธีการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดนั้นต้องคำนึกถึงความเป็นพิษที่อาจะเกิดขึ้นในการตัดสินใจด้วย

เคมีบำบัดกับการรักษามะเร็ง

หลักการที่ใช้ในการทำเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็งส่วนมากจะมาจากการสังเกตและประสบการณ์จากผลที่เกิดขึ้นจริงในการรักษาผู้ป่วย ไม่ได้มีเอกสารหรือเหตุผลเชิงวิชาการเข้ามาประกอบในการออกแบบการใช้เคมีบำบัด เช่น การรักษามะเร็งที่ใช้ยาหลายชนิดรวมกัน ( Multiagents Therapy ) ซึ่งจากการสังเกตุพบว่าการใช้ยาชนิดเดียวในการรักษาไม่สามารถรักษามะเร็งให้หายขาดได้ การรักษาด้วยการใช้ยาหลายชนิดกลับทำให้มะเร็งหายขาดได้ แต่ว่าการที่นำยาหลายชนิดมาใช้ร่วมกันในการรักษาเพียงครั้งเดียวก็มีข้อจำกัดตามหลักทางเคมีและเภสัชศาสตร์ คือ

1. ชนิดของยาคีโม ยาที่นำมาใช้ร่วมกันในการรักษาแบบเคมีบำบัดมีอยู่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่สามารถนำมาเลือกใช้ในการรักษาได้

2. ความเป็นพิษของเคมีบำบัด ยาแต่ละชนิดจะมีความเป็นพิษเฉพาะตัวอยู่ด้วย ดังนั้นการที่จะนำยามาใช้ร่วมกันต้องศึกษาถึงความเป็นพิษของยาแต่ละชนิดและศึกษาความพิษเมื่อนำยามาใช้ร่วมกันได้ ซึ่งความพิษที่รับได้นั้น ได้มีการควบคุมอย่างชัดเจน

ในต้นทศวรรษที่ 60 ได้เกิดความสำเร็จครั้งแรกในการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Hodgin’s Disease )

ที่รักษาด้วยการใช้ยา MOPP ร่วมกับ Acute Lymphoblastic Leukemia ( All ) จากการรักษาดังกล่าวเป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญในการใช้เคมีบำบัดหลายชนิดที่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันจะสามารถช่วยรักษามะเร็งอย่างได้ผลมากขึ้น

Goldie และ Coldman ได้มีการเสนอทฤษฏีที่ว่า “ การออกแบบสูตรยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ต้องคำนึกถึงว่ายาแต่ละชนิดที่นำมาใช้ร่วมกันต้องไม่มีกลไกในการดื้อยาร่วมกัน ”

แนวทางในการออกแบบสูตรยาที่ใช้ในการรักษา

1.ยาที่นำมาใช้แต่ละชนิดต้องสามารถรักษามะเร็งด้วยตัวเองอย่างชัดเจนหรือไม่เป็นยาที่เข้าไปเสริมฤทธิ์ยาของยาตัวอื่นที่อยู่ในสูตรยาให้ออกฤทธิ์ได้มากขึ้น โดยที่ยาแต่ละชนิดที่นำมาใช้ต้องมีกลไกการทำงานหรือกลไกการออกฤทธิ์ที่ชัดเจน แตกต่างกันจึงจะร่วมอยู่ในสูตรยาเดียวกันได้ และมีกลไกการดื้อยาร่วมกัน ยาที่นำมารวมกันต้องมีฤทธิ์ที่เสริมซึ่งกันและกัน ห้ามใช้ยาที่ไม่ทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์ที่ไม่ชัดเจนในการทำลายมะเร็ง เพราะจะถือว่ายาชนิดดังกล่าวเมื่อเข้าไปอยู่ในสูตรยาแล้ว ยาชนิดนี้จะเข้าไปต้านฤทธิ์ยาตัวอื่นทำให้ผลจากยาที่ทำการรักษาไม่ได้ผลเต็มที่

2.การออกแบบตารางยา ควรออกแบบให้ยาส่งผลในการรักษาเร็วที่สุดและทำลายเซลล์มะเร็งในได้มากที่สุดไปพร้อม ๆ กัน เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ดื้อยา ส่งผลให้การรักษาในครั้งต่อไปได้ผลไม่ดีต้องเพิ่มปริมาณยาในการรักษา ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อผู้ป่วย

3.ควรเลือกยาที่มีความพิษทับซ้อนกันน้อยที่สุดในการออกแบบสูตรยา เพื่อหลีกเลี่ยงการลดขนาดความสามารถในการออกฤทธิ์ของยาตัวอื่นในสูตรยา เพราะความเป็นพิษของยาบางชนิดจะสามารถเข้าไปลดการออกฤทธิ์ของยาอีกชนิดหนึ่งได้

ความเป็นพิษของการรักษาด้วยเคมีบำบัด

การรักษาด้วยเคมีบำบัดย่อมมีความเป็นพิษเกิดขึ้นตามมาด้วยเสมอ ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทนความพิษเมื่อได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด คือ ชนิดของยาที่ใช้ ขนาดของยาที่ใช้ การออกแบบสูตรของยาที่ใช้ ตารางการให้ยาในขั้นตอนการรักษา และการทำการรักษารูปแบบอื่นที่มารักษาร่วมกับการใช้เคมีบำบัด ซึ่งแต่ละปัจจัยล้วนแต่เป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อความเป็นพิษของเนื้อเยื่อ

” การรักษาด้วยเคมีบำบัดย่อมมีความเป็นพิษเกิดขึ้นตามมาด้วยเสมอ “

ดังนั้นในการรักษานอกจากเราจะต้องคิดถึงค่าการออกฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งของยาที่ใช้ในการรักษาแล้ว เราต้องคำนึงถึงค่า Therapeutic Index หรือค่าสัดส่วนขนาดของยาที่ทำให้เกิดพิษจนเกิดอันตรายร้ายแรง กับ ปริมาณยาที่ส่งผลต่อการต่อต้านมะเร็ง นั่นคือ ยาที่จะนำมารักษาผู้ป่วยได้ต้องมีค่า Therapeutic Index สูงพอที่จะสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้และค่าความเป็นพิษที่เกิดขึ้นก็อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงด้วย แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นกันสำหรับการเลือกใช้ยาเพราะว่ายาบางชนิดที่อยู่ในสูตรยาจะมีค่า Therapeutic Index ที่เปลี่ยนไปเมื่อใช้คู่กับยาตัวอื่น ๆ หรือว่าค่า Therapeutic Index อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากสภาวะของผู้ป่วยที่ส่งผลให้ค่า  Therapeutic Index ของยาเปลี่ยนไป เช่น ค่า Therapeutic Index ของยาเมโธเทรกเซค ( Methotrexate ) อาจจะมีค่าเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ Third Space Fluid อย่างการท้องบวม ( Ascites ) หรือภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอดสูง ( Pleural Effusion ) ส่งผลให้การขับถ่ายของร่างกายช้าลง และการกระจายตัวกับการดูดซึมของยาเมโธเทรกเซคก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย และเมื่อมีการสะสมของยาใน Third Space Fluid ก็จะทำให้ครึ่งชีวิต ( Terminal haft Life ) ของยามีความยาวนานขึ้น ส่งผลให้ยามีการสะสมได้ยาวนานขึ้น และมีความเสี่ยงในการเกิดกดไขกระดูก ( Myelosuppression ) และการอักเสบเยื่อบุชองปาก ( Mucositis ) ซึ่งการเกิดกรณีเช่นนี้เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการระบาย Third Space Fluid ออกไปให้หลงเหลือในปริมาณที่น้อยลงก่อนหรือปรับปริมาณยา สูตรยาที่ใช้ในการรักษาให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย เพื่อลดความเป็นพิษที่อาจเกิดจากการใช้เคมีบำบัดได้

หลายคนคิดว่าอายุของผู้ป่วยมีความสำคัญในการนำมาคำนวนปริมาณและการออกแบบสูตรยา แต่แท้ที่จริงแล้วอายุของผู้ที่รับการรักษาไม่มีผลต่อการออกแบบสูตรยาเลยแม้แต่น้อย เพราะว่าจากการสังเกตุพบว่าผู้ป่วยบางคนที่มีอายุเท่ากันบางคนเกิดพิษมาก บางคนเกิดพิษน้อยหรือไม่เกิดพิษเลย จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าอายุมีผลต่อการเกิดพิษจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด ในทางตรงกันข้ามกลับพบว่าผู้ป่วยที่มีอายุมากบางคนมีความทนทานต่อการผลข้างเคียงหรือการเกิดพิษของการใช้เคมีบำบัดได้ดีกว่าคนที่มีอายุน้อยเสียด้วย และการที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือรอดชีวิตนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้เคมีบำบัด แต่กลับพบว่าขึ้นอยู่กับปริมาณของยาที่ใช้ว่าเพียงพอที่จะออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งได้หรือไม่มากกว่าความเป็นพิษที่ได้รับจากการใช้เคมีบำบัด

นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหนึ่งอย่างที่ส่งผลต่อความเป็นพิษของการใช้เคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง นั่นคือ ความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่ทว่าความเป็นพิษที่เกิดจากสาเหตุนี้มีผลค่อนข้างน้อยและจะพบได้กับการใช้ยาบางชนิดเท่านั้น เช่น การเกิดความเป็นพิษจาก Vinca Alkaloid ต่อระบบประสาทที่มีลักษณะเพิ่มขึ้นในโรค Charcot-Marie-Tooth เป็นต้น

ถึงอย่างไรก็ตามการศึกษาด้าน Therapeutic Index ที่เกิดขึ้น ต้องทำการศึกษาอย่างละเอียดถึงอิทธิพลและปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความเป็นพิษกับปริมาณของยาที่ใช้ ในขณะที่ใช้เพียงยาชนิดเดียวและการใช้ยาหลายชนิดรวมกัน เพื่อที่ผลการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดจะสามารถทำลายมะเร็งได้อย่างเด็ดขาด และผู้ป่วยก็ได้รับผลกระทบหรือความเป็นพิษจากเคมีบำบัดน้อยที่สุด

ความเข้มข้นของยาที่ใช้ในการรักษาแบบเคมีบำบัด ( คีโม )

คีโมกับความเข้มข้นของยา ( Dose Rate ) คือปริมาณยาที่ใช้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ( Dose Rate / Dose Density ) อย่างที่เราทราบกันดีว่าระยะเวลาและตารางการให้ยานั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความเป็นพิษของยาในการรักษาเป็นอย่างมาก จึงได้มีการศึกษาเกี่ยวความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของยาที่ใช้กับการทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการเจริญเติบโตสูงในสัตว์ทดลองโดยมีการศึกษาแบบ Linear-Log พบว่าการเพิ่มปริมาณยาขึ้น 2 เท่าปรากฏว่ายาสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้นถึง 10 เท่าเลย แต่ในทางกลับกันถ้าเราลดปริมาณยาลงเพียงแค่ 20 % เท่านั้นประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งกลับลดลงถึง 50 % เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าจำนวนเซลล์มะเร็งที่ถูกทำลายในแต่ละครั้งของการใช้เคมีนั้นมีค่าน้อย ดังนั้นการเพิ่มปริมาณยาจึงช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็งที่ถูกทำลายไปได้นั่นเอง

Hryniuk ได้ทำการวิเคราะห์และค้นพบแนวคิดที่น่าสนใจ คือ “ ความเข้มข้นของยาส่งผลในการตอบสนองต่อการรักษาโดยยาในการรักษามะเร็งเต้านมด้วยคีโมและมะเร็งรังไข่ด้วย คีโม กับช่วงระยะเวลาที่รอดชีวิตโดยที่ไม่มีรอยโรค ” และจาการวิเคราะห์ผลด้วยวิธี Intermediated Grade Lymphoma ก็แสดงออกมาในรูปแบบเชิงบวกเช่นเดียวกันด้วย นั่นคือเมื่อเพิ่มปริมาณยาความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็งก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย แต่ทว่าการที่จะออกแบบสูตรยาสำหรับการรักษาด้วยเคมีบำบัดนั้น ต้องคำนึกด้วยว่าปริมาณยาที่เพิ่มขึ้นหรือมากเกินไปอาจจะส่งผลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็ง แต่ก็สามารถสร้างความเสียหายที่รุนแรงให้เนื้อเยื่อปกติที่อยู่บริเวณดังกล่าวด้วย ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อที่บริเวณดังกล่าวไม่สามารถฟื้นตัวได้ทันกับการให้ยาในครั้งต่อไป ส่งผลให้ความเป็นพิษที่ได้รับในครั้งต่อไปจะสูงขึ้น

ดังนั้นแล้วการที่จะเพิ่มปริมาณยาที่ใช้การรักษาผู้ป่วยจะต้องเลือกความเข้มข้นของยา อัตราการใช้ยาในออกแบบสูตรยาต้องปรับขนาดความเข้มข้นของยาให้ระดับความเป็นพิษเหมาะสมกับร่างกายด้วย การรักษาจึงจะส่งผลดีต่อตัวผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

การป้องกันเนื้อเยื่อปกติจากความเป็นพิษของการทำเคมีบำบัด

จุดประสงค์หลักของการใช้เคมีบำบัด คือ การให้เคมีทำลายเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ตามมากับการให้เคมีบำบัดคือความเป็นพิษที่เกิดขึ้นทั้งกับเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งและเนื้อเยื่อปกติ ซึ่งความเป็นพิษที่เกิดกับเนื้อเยื่อปกติเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ความเป็นพาที่เกิดขึ้นนี้สามารถเปลี่ยนแปลงหรือลดลงได้ด้วยวิธีการหลายวิธีดังนี้

1. ควบคุมปริมาณของยา ปริมาณของยานั้นส่งผลโดยตรงกับความเป็นพิษที่เกิดขึ้น ดังนั้นการควบคุมปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาโรคก็จะช่วยลดความเป็นพิษที่เกิดขึ้นกับเซลล์เนื้อเยื่อปกติได้

2. การใช้ยาช่วย ในการลดความเป็นพิษที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อปกติสามารถทำได้โดยการให้ยาบางชนิดเข้าไปเพื่อช่วยความพิษที่มาจากการให้เคมีบำบัด เช่น การใช้ยา Cisplatin สำหรับทำเคมีบำบัดกับผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง ซึ่งเราสามารถให้ยากลุ่ม 5HT-3 Antagonists เพื่อให้ความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นลดลง ส่งผลให้สามารถใช้ยา Cisplatin ได้ในปริมาณเพิ่มขึ้นอีก จึงมีโอกาสที่จะทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้นตามไปด้วย

3. ใช้ยาช่วยการฟื้นตัวของการสร้างเม็ดเลือด การฟื้นตัวของไขกระดูกเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยกำหนดและลดความเป็นพิษที่เกิดขึ้น นั่นคือ หลังจากที่ให้เคมีบำบัดกับผู้ป่วยไปแล้ว การเว้นระยะการให้เคมีบำบัดในครั้งต่อไปจะมีผลต่อการทำลายเซลล์มะเร็ง เพราะว่าถ้าเราทำการให้เคมีบำบัดครั้งต่อไปช้าหรือเว้นระยะจากครั้งแรกยาวนานมาก เซลล์มะเร็งที่ยังไม่ถูกตายเพียงแต่ถูกทำลายไปบางส่วนเท่านั้นก็จะสามารรถฟื้นตัวขึ้นมาแข็งแรงได้มาก เพราะฉะนั้นระยะเวลาในการให้เคมีบำบัดไม่ควรช้าเกินไป แต่ว่าก็ต้องขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ป่วยว่ามีการฟื้นตัวหรือมีการซ่อมแซมตัวเองได้ดีแค่ไหน การที่จะให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วสามารถทำได้โดยการให้ยาที่มีประสิทธิภาพช่วยในการฟื้นตัวของเม็ดเลือดแก่ผู้ป่วย เช่น Recombinant colony-stimulating factor Gm-CSF และ G-CSF ที่ช่วยในการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์ต้นกำเนิดให้ดีขึ้น ซึ่งการให้ยานี้กับผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วระยะเวลาระหว่างการให้เคมีบำบัดแต่ละครั้งก็จะน้อยลง การรักษาด้วยเคมีบำบัดจึงสามารทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้น

4. การปลูกถ่ายไขกระดูก การปลูกถ่ายไขกระดูกแบบ Autologous หรือแบบ Allogeneic จะช่วยให้ร่างกายมีการฟื้นฟูได้เร็วขึ้น ซึ่งเทคนิคการปลูกถ่ายไขกระดูกก็คล้ายกับการให้ยากระตุ้น แต่ว่าการปลูกถ่ายไขกระดูกจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วกว่า เพราะไขกระดูกที่ทำการปลูกถ่ายเข้าไปนั้นไม่ได้รับผลจากากรให้เคมีบำบัดมาก่อนจึงสามารถสร้างเม็ดเลือดหรือเซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ ให้กับร่างกายได้ทันที ส่งผลให้สามารถเพิ่มปริมาณยาที่ใช้ได้มากขึ้นและทำการให้เคมีบำบัดในครั้งต่อไปก็ทำได้ในระยะเวลาที่น้อยลงด้วย วิธีนี้นิยมใช้ในการรักษาโรคมะเร็งที่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำสูง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ),  Lymphoma เป็นต้น

ถึงแม้ว่าจะมีวิธีที่ช่วยลดความเป็นพิษต่อร่างกายมากมายแต่ความเป็นพิษที่เกิดจากการให้เคมีบำบัดก็ยังเป็นสิ่งที่กังวลอยู่ดี ดังนั้นการควบคุมปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาก็ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ที่ทำการรักษาเท่านั้น

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาคีโม 2 ชนิด

การใช้ยาในการรักษามะเร็งร่วมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปย่อมมีผลเกิดขึ้นทั้งแบบที่ต้องการให้เกิดขึ้นและแบบที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งผลที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาแต่ละชนิด การที่ใช้ยาร่วมกันหรือใช้ต่อเนื่องกันก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของยาในการทำลายเซลล์มะเร็งให้ได้ผลมากที่สุด ตัวย่างเช่น การใช้ยา Cisplatin ในการรักษามะเร็ง ยา Cisplatin จะส่งผลให้ไตทำการขับของเสียออกจากร่างกายได้ช้าลง ดังนั้นเมื่อใช้ยาที่ต้องขับ ออกไตร่วมด้วย เช่น Methotrexate หรือ Bleomycin ถูกขับออกมาได้ช้า จนเกิดการสะสมของสารดังกล่าวอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดความเป็นพิษได้ การแก้ไขก็ต้องคอยวัดการทำงานของไตว่าอยู่ในสภาวะปกติอยู่หรือไม่ในขณะที่ทำการให้ยา Cisplatin และทำการปรับขนาดของยาให้เหมาะสมกับระดับการเปลี่ยนแปลงของ Creatinine Clearance เป็นต้น

นอกจากการเกิดปฏิกิริยาที่ไม่ต้องการของแล้ว บางครั้งการใช้ยาร่วมกันก็เกิดปฏิกิริยาที่ต้องการเกิดขึ้นได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นการใช้ยา 5-Fluorouracil ร่วมกับยา Leucovorin ในการรักษาพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณ Leucovorin ในการรักษาแล้วจะส่งผลให้ 5-Fluorouracil ส่งความเป็นพิษของ Antimetabolite ต่อจำนวนของเซลล์ผิวชั้นนอก ( Gastrointestinal mucosa ) ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องลดปริมาณของยา 5-Fluorouracil ลงจากเดิมประมาณ 25% แต่ผลการรักษากลับสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้นเมื่อทำการเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยา 5-Fluorouracil เพียงอย่างเดียวโดยเฉพาะการรักษามะเร็งลำไส้

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาคีโมกับการฉายแสง

การรักษามะเร็งนอกจากจะใช้ยาร่วมกันมากกว่าสองชนิดในการรักษาแล้ว บางครั้งได้มีการฉายแสงควบคู่ไปกับการใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษาด้วย โดยการใช้ยาร่วมกับการฉายรังสีพบว่าสามารถรักษามะเร็งได้ผลดีขึ้น แต่ว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีพร้อมกับการใช้ยาเนื้อเยื่อปกติก็จะมีความไวต่อความเป็นพิษเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยความเป็นพิษที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการฉายรังสีจะเข้าไปทำให้ไขกระดูกสูญเสียประสิทธิภาพในการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวน แม้ว่าจะเว้นระยะเวลามาแล้วก็ตาม เมื่อต้องการใช้เคมีบำบัดในการรักษารักษามะเร็งในภายหลังก็ส่งผลให้เกิดการกดการผลิตเม็ดเลือดที่มีความรุนแรงและนานขึ้นกว่าเดิมกับตัวผู้ป่วยได้มากกว่าในผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการฉายแสงมาก่อนที่จะทำเคมีบำบัด ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่เคยรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายรังสี ด้วยการให้ยา Cisplatin ร่วมกับการใช้ยา Irinotecan ในการรักษาครั้งต่อมาพบว่าผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงเกี่ยวกับระบบเลือดที่มีความรุนแรงในระดับ 3- 4 ซึ่งถือว่ามีความรุนแรงที่ค่อนข้างสูงประมาณ 76-77 % และยังพบสภาวะซีดเกรด 3-4 ประมาณ 47 % และยังมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำอีกด้วย

นอกจากการเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้นแล้ว ยังพบอีกว่าปฏิกิริยาระหว่างยากับการฉายรังสีทำให้เกิดปฏิกิริยา Radiation Recall โดยเฉพาะยา Methotrexate และยา Doxorubicin ส่งผลให้มีอาการอักเสบเกิดขึ้นที่บริเวณที่เคยถูกฉายรังสีมาก่อนอีกด้วย

แนวการปฏิบัติการใช้เคมีบำบัด ( คีโม )

ปัจจุบันการรักษามะเร็งจะใช้การรักษาที่เรียกว่า Taregeted Therapy ซึ่งยาที่ใช้จะมียาหลายชนิดรวมอยู่ด้วย แต่ก็ยังไม่มียาชนิดใดที่ทำลายหรือมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะเท่านั้นและไม่มีความเป็นต่อเซลล์ปกติอื่น ๆ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าการกำหนดเป้าหมายยังไม่มีความชัดเจนมากนัก ได้แต่อาศัยความแตกต่างระหว่างลักษณะของเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็งมาเป็นตัวกำหนดเป้าหมายการทำลายของยา เช่น แหล่งอาหารของเซลล์มะเร็งจะแตกต่างจากแหล่งอาหารของเซลล์ปกติ สัดส่วนการเจริญเติบโต ซึ่งบางครั้งเซลล์มะเร็งก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับเซลล์ปกติเป็นอย่างมาก จึงทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าเซลล์นั้นเป็นเซลล์มะเร็งหรือเซลล์ปกติ จนกระทั่งเซลล์มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นเซลล์มะเร็งอย่างเต็มตัวจึงระบุได้ ซึ่งการทำลายเซลล์มะเร็งในระดับนี้ก็ทำได้ยาก

แนวทางการรักษามะเร็ง

1. ความเป็นพิษของยาที่ใช้ในการรักษาจะเกิดขึ้นเมื่อใดหลังจากที่ใช้ยาไปแล้ว และความเป็นพิษจะยังอยู่นานแค่ไหน ซึ่งการที่ต้องรู้ก็เพื่อที่จะได้จัดตารางการให้ยาในแต่ละครั้งได้ถูกต้อง

2. ยาที่นำมาใช้แต่ละชนิดส่งผลต่อวัยวะใดบ้าง ส่งผลมากหรือน้อยอย่างไร อวัยวะที่ไวที่สุดนั้นสามารถใช้ยาได้ในปริมาณเท่าไหร่หรืออวัยวะสามารถต้านทานยาได้ในปริมาณมากที่สุดเท่าไหร่ เพื่อใช้ในการกำหนดขนาดปริมาณของยาที่สามารถใช้ได้ในแต่ละครั้ง

3. สามารถป้องกันความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจากการให้ยาได้หรือไม่ ทั้งการให้ยาเพื่อช่วยลดความเป็นพิษที่อาจจะเกิดขึ้นหรือการลดความเป็นพิษด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วการลดความเป็นพิษที่ใช้ส่งผลต่อการออกฤทอธืของยาที่ใช้รักษาหรือไม่ เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดขนาดปริมาณของยาที่ใช้ในการรักษา

4. วิธีการให้ยา การให้ยาด้วยวิธีใดส่งผลให้ยาสามารถออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดและสร้างความเป็นพิษได้น้อยที่สุด เพื่อเลือกวิธีการให้ยากับผู้ป่วย

5. ปฏิกิริยาระหว่างยากับยาและยากับรังสีมีกลไกอย่างไร มีผลต่อการออกฤทธิ์และความเป็นพิษของยาอย่างไรบ้าง

6. ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาด้วยยาเพียงพอหรือไม่ ผู้ป่วยต้องทราบอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ความเป็นพิษที่อาจจะเกิดขึ้นได้ก่อนที่จะได้รับการรักษา เพราะสภาพจิตใจของผู้ป่วยมีผลต่อการรักษาด้วยเช่นกัน

7. อาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นมีอะไรบ้าง และเกิดขึ้นแค่ไหนถือว่าอันตรายหรือแค่ไหนถือว่าปกติไม่เป็นอันตราย เพื่อที่หลังจากให้ยาไปแล้วจะได้ทำการติดตามผลได้ตรงจุด

8. ลักษณะของผู้ป่วย ผู้ป่วยมีประวัติการรักษาด้วยการฉายรังสีหรือการใช้ยาในการรักษามะเร็งหรือโรคร้ายแรงอื่นๆ มาก่อนหรือไม่ ถ้ามีการรักษาดังกล่าวส่งผลต่อการรักษาในครั้งปัจจุบันหรือไม่ และผู้ป่วยมีความผิดปกติทางพันธุ์กรรมใดที่ส่งผลต่อความเป็นพิษที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาหรือไม่

ทั้ง 8 ข้อเป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ที่ทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนที่จะทำการรักษาผู้ป่วยด้วยการใช้เคมีบำบัด เพื่อที่การรักษาด้วยเคมีบำบัดจะได้รักษามะเร็งได้อย่างหายขาดและมีผลข้างเคียงกับความเป็นพิษเกิดขึ้นน้อยที่สุด ทำให้มีอัตรารอดสูงขึ้นและโอกาสการกลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้งน้อยลงนั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

ฉายแสงรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงอย่างไร

0
ผลกระทบจากการฉายรังสี
ฉายแสงรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงอย่างไร
ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีรักษามะเร็ง

ฉายแสง หรือ ฉายรังสี คือ

ฉายแสง หรือ ฉายรังสี ( Radiotherapy ) คือ การรักษาประเภทหนึ่งของรังสีรักษา ที่ใช้สำหรับบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น ทั้งนี้การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสีจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็ง ชนิดของโรคมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วยเอง

ปี ค.ศ.1895 Wilhelm Roentgen ได้สร้างความตกตะลึงครั้งยิ่งใหญ่กับการค้นพบเกี่ยวกับฉายแสงมะเร็งผลทางชีวภาพของการฉายรังสีเอ็กซ์ การใช้รังสีเอ็กซ์เพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านมในครั้งแรกพบว่ามีผลทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบและมีขนหลุดร่วงหลังจากที่มีการฉายรังสีนี้ ทำให้มีการทดลองเพื่อดูผลกระทบทางด้านชีวภาพเกิดขึ้นมา เพื่อเป็นการดูว่าการ ฉายรังสีนั้นมีผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ซึ่งการทดลองนี้ได้มีการศึกษาทั้งการฉายรังสีเอ็กซ์และรังสีแกมมาที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1896 ซึ่งทำให้ค้นพบธาตุโรเดียม ( Radium ) ในเวลาต่อมาอีกด้วย

การศึกษาฉายแสงมะเร็งโดยการการให้รังสีชนิด Low Liner Energy Transfer ( LET ) คือ มีการถ่ายโอนพลังงานเชิงเส้นต่ำ เช่น รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา อนุภาคเบตา โปรตอน ซึ่งนิยมใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กันอย่างแพร่หลาย แต่ในขณะเดียวกันการรักษาด้วยรังสีเอ็กซ์กลับทำให้เกิดการค้นพบสารก่อการกลายพันธุ์ตัวแรกคือ Muller เกิดขึ้นด้วย รังสีเอ็กซ์ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีนและมีการเปลี่ยนแปลงลำดับของยีนที่อยู่ภายในเซลล์เกิดขึ้น ส่งผลให้การเรียกลำดับของยีนภายในเซลล์นั้นเปลี่ยนไปจากเดิม จากการค้นพบดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าการฉายรังสีอาจจะก่อให้เกิดมะเร็งหรือการกลายพันธุ์ของเซลล์ได้ หรือการฉายแสงมะเร็งอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์ การฉายรังสีสามารถก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกับเซลล์ทุกเซลล์ที่อยู่ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่การที่จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับปริมาณในระดับที่จะสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์

ฉายแสงมะเร็งสาเหตุที่ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์หรือไม่

การกลายพันธุ์ของเซลล์ต่างๆในร่างกายนั้น มีสาเหตุ ดังนี้

1. ขนาดและปริมาณของรังสี การฉายแสงมะเร็งที่รังสีจะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้มีหลายปัจจัยด้วยกัน คือ

  • ปริมาณรังสีที่ใช้ในการฉายรังสีต่อหนึ่งหน่วยเวลา คือ ถ้าได้รับปริมาณรังสีต่อครั้งมากก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากกว่าการที่ได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า
  • จำนวนครั้งที่ได้รับการฉายรังสี คือ ถ้าได้รับปริมาณรังสีต่อครั้งมากก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากกว่าการที่ได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า และถ้ามีการฉายรังสีในปริมาณที่เท่ากัน การที่ได้รับการฉายรังสีจำนวนครั้งมากกว่าจะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าด้วย

2. ชนิดของเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อต่างชนิด ต่างตำแหน่งจะมีโอกาสการเกิดมะเร็งที่แตกต่างกัน ดังนั้นเซลล์แต่ละที่เมื่อมีการฉายแสงเท่ากันโอกาสที่จะเกิดมะเร็งย่อมแตกต่างกันไปด้วย

3. ปัจจัยอื่น ปัจจัยทางพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดมะเร็งจากการฉายรังสี เช่น สภาพภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความแข็งแรงของยีนซ่อมแซม DNA อายุ เพศ ในขณะที่ได้รับการฉายรังสีว่ามีความสามารถในการป้องกันรังสีมากน้อยแค่ไหน ถ้าในขณะที่ได้รับการฉายรังสีมีสภาพภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนแอ หรือมีอายุมากแล้ว ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งมากกว่าคนที่มีอายุน้อยและมีภูมิต้านทานแข็งแรง

ก่อนที่เกิดเซลล์มะเร็งขึ้น เซลล์ต้องมีการแบ่งตัวเกิดเป็นเนื้องอกซึ่งเนื้องอกที่เกิดจากการฉายรังสีจะมีลักษณะพิเศษ คือ เนื้องอกที่เกิดขึ้นจะแปรผันกับปริมาณของรังสีที่ได้รับและอายุของผู้ที่ได้รับรังสีด้วย

โดยจากการศึกษาจากผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาฉายแสงมะเร็งโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึด ( Ankylosing Spondylitis ) ที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีบางส่วนของร่างกาย ( Partial Body Radiotherapy ) จำนวน 14.111 คน ซึ่งหลังจากที่ทำการฉายรังสีเพียงแค่ 1 ครั้งพบว่าผู้ป่วยที่ทำการฉายรังสีมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า นอกจากนั้นบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนที่ถูกฉายรังสีก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งถึง 1.6 เท่า ซึ่งความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวนี้จะมีค่าสูงสุดในช่วง 3-5 ปีหลังจากที่ได้รับการฉายรังสี และความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจะหมดไปเมื่อผ่านการฉายรังสีไปประมาณ 18 ปี แต่ทว่าส่วนบริเวณใกล้เคียงการฉายรังสีค่าความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งในช่วง 9 ปีแรกจะมีค่าคงที่ซึ่งมีค่าไม่สูงมากนัก แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่ 10 ค่าความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกลับเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงมากจนถึงปีที่ 18 เลยทีเดียว

ผลข้างเคียงของการฉายรังสีขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้

1. อายุผู้ป่วยกับการฉายแสงรักษามะเร็ง

อายุของผู้ที่เข้ารับการฉายรังสีมีผลต่ออัตราการเกิดโรคมะเร็ง ฉายแสงมะเร็งจากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีอายุมากเมื่อได้รับการฉายรังสีจะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปีจะมีโอกาสเสียชีวิตมากว่าผู้ที่อายุ 25 ปีเมื่อเข้ารับการฉายรังสีถึง 15 เท่า เป็นต้น ซึ่งการเกิดมะเร็งจากการฉายรังสีก็มีแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับอัตราการเสียชีวิตเช่นเดียวกัน คือ ผู้ที่มีอายุมากเมื่อได้รับการฉายรังสีมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งนั้นสูงกว่าคนที่มีอายุน้อยที่ได้รับการฉายรังสี เนื่องจากผู้ที่มีอายุมากกว่าจะมีการสะสมของสารตกค้างหรือสารเคมีอยู่ในร่างกายมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย ดังนั้นเมื่อได้รับรังสี รังสีจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีลารตกค้างที่อยู่ภายในร่างกาย ส่วนในผู้ที่มีอายุน้อยจะมีสารตกค้างหรือสารเคมีอยู่ในร่างกายน้อยกว่าจึงทำให้โอกาสที่รังสีจะทำปฏิกิริยาจนเกิดเป็นมะเร็งน้อยตามไปด้วย

2. ความเข้มของรังสีในการรักษามะเร็ง

การฉายรังสีในการรักษาจะมีปริมาณรังสีที่ต่างกัน โดยปริมาณรังสีสูงจะก่อให้เกิดมะเร็งได้น้อยกว่าการได้รับปริมาณรังสีน้อย เนื่องจากการได้รับปริมาณรังสีสูงเมื่อโดนเซลล์เป้าหมายเซลล์ดังกล่าวจะถูกทำลาย แต่การได้รับปริมาณรังสีต่ำจะไม่สามารถทำลายเซลล์เป้าหมายได้แต่จะทำให้เซลล์เป้าหมายเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง

ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลฉายแสงมะเร็งเกี่ยวกับมะเร็งที่เกิดจากการฉายรังสีพบว่า สตรีที่ได้รับการรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายรังสีมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลัน ( Myeloid Leukemia ) หรือโรคแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ( Acute ) อื่น ๆ เพียงเล็กน้อยจากคนทั่วไป ส่วนบริเวณใกล้เคียงจะได้รับปริมาณรังสีในระดับปานกลางหรือต่ำ บริเวณนี้มีความเสี่ยงในการเกิดก้อนมะเร็ง ( Solid Tumors ) ตามอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับปากมดลูก เช่น ทวารหนัก กระเพาะปัสสาวะ กระดูกเชิงกราน มดลูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลำไส้ ไต เป็นต้น นอกจากจะเป็นก้อนมะเร็งเกิดขึ้นแล้วยังมีการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดพลาสมา ( Multiple Myeloma ) ที่เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของพลาสมาเซลล์ในไขกระดูก

ทฤษฏีของ Ishihara

พบว่าการฉายรังสีสามารถออกฤทธิ์ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง โดยจากการศึกษาของ Ishihara ในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของเซลล์ทั้งในแมลง พืช แบคทีเรียและเชื้อรา พบว่าการฉายรังสีให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อสันหลังกระดูกอักเสบ ( Ankylosing Spondylitis ) ด้วยการฉายรังสีเข้าสู่ร่างกายเป็นส่วน ( Partial Body X-Ray ) ไม่ได้ฉายรังสีแบบองค์รวมจำนวนทั้งหมด 10 ครั้ง พบว่าการฉายรังสี  Partial Body X-Ray 1 ครั้งจะทำให้โครโมโซมเกิดความเสียหายขึ้น และความเสียหายนี้จะเกิดการสะสมทุกครั้งที่มีการฉายรังสี ดังนั้นเมื่อมีการฉายรังสีครบ 10 ครั้งหรือได้รับปริมาณรังสีครบ 1500 cGy ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นมีทั้ง การแตกหักแบบ dicentric หรือ Acentric Fragment คือโครโมโซมไม่มีเซนโทรเมียร์จะมีจำนวนมากกว่าจำนวนเซลล์ที่เกิดความผิดปกติของโครโมโซมแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับคู่เบสใน DNA ที่เป็นเบสชนิดเดียวกัน ( Transversion ) และ ความผิดปกติของโครโมโซมแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับคู่เบสใน DNA ที่เป็นเบสต่างชนิดกัน ( Translocation ) มากถึง 4 เท่าเลยทีเดียว นั่นคือโครโมโซมจะเกิดการแตกหักมากกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของคู่เบส และอัตราการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมจะมีค่าลดลงเมื่อผ่านการฉายรังสีไปเล้วประมาณ 4 ปี

การฉายรังสียังสามารถทำให้เกิดความเสียหายกับ DNA ได้โดยการที่รังสีทำปฏิกิริยาระหว่าง DNA กับพลังงานรังสีหรือปฏิกิริยาระหว่างรังสีกับอนุมูลอิสระ เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ( Hydrogen Peroxide ) ไฮโดรเจนอะตอม (Hydrogen Atom ) ไฮโดรเจนอิเล็กตรอน ( Hydrogen Electron ) อนุมูลอิสระของไฮโดรเจน ( Hydrogen Free Radical ) ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างรังสีกับองค์ประกอบภายในเซลล์ ที่มีผลจากการชักนำของยาวซึ่งมีมาก 10 ถึง 20 รูปแบบเท่านั้น แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงจากการฉายรังสีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง DNA ได้มากกว่า 100 รูปแบบเลยที่เดียว โดยการที่รังสีทำให้เบสของ DNA เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้เป็น Hydroxylate Purine กับ Imidazole-ring Opened Purine ที่สามารถชักนำให้ DNA เกิดเป็น Single และ Double Strand Break จึงสรุปได้ว่า การเกิดความผิดปกติของเบสใน DNA จนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์หรือความผิดปกติของโครโมโซม สามารถเกิดขึ้นได้มากถ้ามีการใช้เคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสี

อย่างที่ทราบกันดีในวงการแพทย์ว่าการฉายรังสีนั้นมีผลกระทบต่อร่างกายอยู่หลายประการ แต่แพทย์ในสมัยก่อนก็ได้พยายามที่จะนำผลกระทบที่เกิดจากากรฉายรังสีมาใช้ประโยชน์ในการรักษาหรือแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและข้อที่เกิดขึ้น เช่น ในกรณีที่กระดูกสันหลังคดและโรคความผิดปกติของผิวหนังตั้งแต่ระดับ Hypertrichosis จนถึงขั้นของมะเร็งผิวหนัง และได้มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้รังสีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อที่แพทย์จะได้ใช้ประโยชน์จากการฉายรังสีหรือ Ionizing Radiation และลดความเสี่ยงในการรักษาด้วยวิธีนี้ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ผลกระทบจะเกิดขึ้นให้เห็นแม้ว่าจะผ่านไปหลายปีแล้วก็ตาม

จากการศึกษาและทดลองที่ได้ออกมาเป็นบทความทางวิชาการมากมาย ทำให้เราทราบถึง Tolerance Dose ที่เหมาะสมกับเนื้อเยื่อและโครงสร้างแต่ละชนิดที่อยู่ในร่างกาย และยังได้ศึกษาถึงการใช้ยาร่วมกับการฉายรังสีเพื่อที่จะได้รับผลที่เฉพาะกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของร่างกาย ส่งผลให้การรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการกินยาส่งผลดีต่อผู้ป่วย แต่ทว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจาการรักษาด้วยรังสีพร้อมกับการกินยาก็ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างละเอียดยังต้องทำการศึกษากันต่อไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันนี้การรักษาโรคมะเร็งอย่างได้ผลต้องทำการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดควบคู่กับการฉายรังสีเป็นทางเลือกที่ช่วยให้มีโอกาสหายมากที่สุด

กลไกการทำงานของรังสีต่อมะเร็ง

1. กฏของ Bergonie และ Tribondeau

ได้ตั้งสมมุติฐานและทำการทดลองจนพบกฏที่ว่า “ เซลล์ที่มีการแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วกว่าและเซลล์ที่มีอายุน้อยกว่าจะมีความว่องไวต่อการฉายรังสีมากกว่าเซลล์ที่มีการแบ่งตัวและมีอายุมากกว่า ” และ “ รังสีที่ฉายเข้าไปนั้นไม่ได้เข้าไปทำลายเซลล์โดยตรงแต่ว่า การฉายรังสีจะส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์หรือทำให้การสืบพันธุ์ของเซลล์ผิดปกติ คือไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้ ” นั่นคือการฉายรังสีไม่ได้เข้าไปทำลายเซลล์ที่มีอยู่แต่จะเข้าไปส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของเซลล์ทำให้เซลล์ไม่สามารถขยายพันธ์หรือเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นได้ เมื่อไม่สามารถพิ่มจำนวนขึ้นได้เมื่อเซลล์หมดอายุตายไป เซลล์ส่วนนี้ก็จะค่อย ๆ หายไป ตัวอย่างการทดลองในเชื้อแบคทีเรีย เมื่อฉายรังสีให้กับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในอาหารเพราะเลี้ยงเชื้อพบว่าการฉายรังสีนี้ไม่มีผลต่อเชื้อแบคมีเรียเลยแม้แต่น้อย แต่ทว่าพอเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต เชื้อแบคมีเรียกลับไม่สามารถแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนได้ แสดงว่าการฉายรังสีเข้าไปยับยั้งการแพร่ขยายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียในสิ่งมีชีวิตได้

2. ทฤษฏีของ Ellis

Ellis ได้เสนอทฤษฏีและการคำนวนผลกระทบที่เกิดจากการฉายรังสี โดยให้ข้อเสนอที่ว่า “ ผลกระทบของรังสีที่มีต่อโครงสร้างแบบปกติในร่างกาย จะมีผลมาจากความเสียหายของ Stroma ที่ทำหน้าที่สำคัญให้กับโครงสร้าง ” Stroma จะไม่มีลักษณะจำเพาะของอวัยวะเรียกว่า Stroma ที่อวัยวะใดก็เหมือนกันทั้งหมดทั่วร่างกาย ดังนั้นเมื่อเราทราบว่าความเสียหายของ Stroma หลังจากการฉายรังสี เราก็จะทราบว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเป็นเช่นไรในการฉายรังสีที่ทุกอวัยวะ แต่มีข้อยกเว้นที่สมองกับกระดูกเท่านั้น

ซึ่งสามารถนำมาคิดเป็นสูตรตามตัวแปรดังนี้ Total Dose กับ Fraction Size และ Overall Treatment Time

แต่ทว่าสูตรการคำนวนนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ได้มีการนำมาปรับปรุงแก้ไขสูตรเพื่อความเหมาะสมกับการนำไปใช้งานสำหรับเนื้อเยื่อแต่ละชนิดต่อไป

อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการฉายแสง

อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีสำหรับแต่ะลบุคคลจะมีความแตกต่างกันไป แต่สรุปแล้วอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ตามหลายระยะเวลาที่ได้รับรังสีนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

1. อาการแทรกซ้อนระยะสั้น คือ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทันทีหรือหลังจากได้รับการฉายรังสีเพียงไม่กี่วัน อาการแทรกซ้อนระยะสั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น อาการเวียนศีรษะ หน้ามืด อาเจียน เยื่อบุช่องปาดอัเสบ ( Severe Mucositis ) อาการแทรกซ้อนนี้สามารถรักษาให้หายได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่บางอาการก็สามารถรักษาหายทันทีแต่บางอาการก็ต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษากว่าที่จะหายดี

2. อาการแทรกซ้อนระยะกลาง คือ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับการฉายรังสีประมาณ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาการนี้จะไม่แสดงทันทีที่ได้รับการฉายรังสีแต่จะเว้นระยะเวลาไว้สักพักหนึ่งก่อนถึงจะมีอาการแสดงออกมา เช่น อาการผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ ( Somnolence Syndrome ) ที่มักเกิดขึ้นหลังจากการฉายรังสีประมาณ 4-6 สัปดาห์ และอาการปอดบวมน้ำ ( Pulmonary Edema ) เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายได้หลังจากที่ผลกระทบจากรังสีลดลง แต่ว่าอาการดังกล่าวถ้ามีเกิดขึ้นควรต้องไปปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาเพราบางครั้งดูเหมือนว่าหายแล้วแต่อาจจะมีอาการหลงเหลืออยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในภายหลังได้

3. อาการแทรกซ้อนระยะยาว คือ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีเป็นเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป ซึ่งอาการแทรกซ้อนระยะยาวมีเกิดขึ้นได้หลายแบบด้วยกันดังนี้

3.1 มะเร็งที่เกิดจากการฉายรังสี การฉายรังสีอาจจะส่งผลกระทบให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็งได้ ตัวอย่างเช่น การฉายรังสีที่สมอง บริเวณผิวหนังหรือกะโหลกศีรษะมีโอกาสที่จะเกิดการเจริญเติบโตเป็นก้อนในสมองและมะเร็งชนิดอื่น ๆ ในสมองได้เช่นกัน

3.2 อวัยวะทำงานได้ไม่เต็มที่ ผลในระยะยาวอีกอย่างหนึ่งที่พบจากการฉายรังสี คือ หลังจากที่ฉายรังสีไปแล้วตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อวัยวะที่โดนรังสีนี้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น คนที่ได้รับการฉายรังสีที่สมอง เมื่อผ่านได้ประมาณ 2 ปีจะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำและการเรียนรู้ที่น้อยลง คือมีความจำสั้นลง คิดวิเคราะห์หรือตัดสินใจช้าลง ซึ่งผลกระทบนี้ได้มีการทดลองโดย O’Malley และคณะผู้ร่วมงาน ได้ทำการเฝ้าสังเกตการเด็กหญิงที่ทำการรักษามะเร็งนิวโบลาสโตมาระดับที่ 4 ( Neuroblastoma Stage IV ) ที่ได้รับการฉายรังสีเมื่ออายุ 3 เดือน พบว่าหลังจากที่ได้รับเคมีบำบัดและการฉายรังสีที่สมองเกิดอาการแทรกซ้อนตับโตทำให้ต้องดได้รับการฉายรังสีอีกครั้ง ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและหัวใจล้มเหลวจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งได้มีการผ่าพิสูจน์ศพของเด็กหญิงพบว่าอวัยวะภายในเกิดการเสื่อมรวมถึงไตนั้นเกิดการเสื่อม ที่เป็นผลจากการฉายรังสี

อีกกรณีหนึ่งของผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีพบว่าบริเวณผิวหนังที่โดนรังสีเมื่อผ่านไป 18 ปีมีมะเร็งผิวหนังเกิดขึ้น ซึ่งแสดงว่าการฉายรังสีสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ในระยะยาว

และในตัวอย่างผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณช่องท้องนั้น พบว่าช่องท้องมีการตีบตัน Coarctation เกิดขึ้นในส่วนของหลอดเลือดแดง ( Abdominalaorta ) ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

จะเห็นว่าอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในทุกระยะเวลา มีผลกระทบที่ระดับโมเลกุลและเนื้อเยื่อแทบทั้งสิ้น แสดงว่าการฉายรังสีจะส่งผลกระทบทางชีวภาพกับสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในภายหลังอย่างแน่นอน และการรักษาด้วยรังสีและเคมีบำบัดร่วมกันนั้นย่อมเป็นการเร่งให้เกิดปฏิกิริยาในการรักษาให้เห็นผลเร็วขึ้น แต่ผลกระทบที่ได้รับก็มากขึ้นตามได้ด้วย

อาการแทรกซ้อนในระยะยาวยังสามารถแบ่งออกเป็นหลายแบบโดย สมาคมการรักษามะเร็งแห่งยุโรป ( European Organization For Research and Treatment of Cancer : EORTC ) และสถาบันมะเร็งของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งผลกระทบระยะยาวของการฉายรังสี ที่เรียกว่า “ SOMA ( Subjective Objective Management criteria with Analytic Laboratory ) การแบ่งรูปนี้จะแบ่งตามความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนของผุ้ป่วยและการรักษาในห้องทดลอง และการตรวจเอ็กซเรย์เข้ามาช่วยในการจัดแบ่งระดับความรุนแรงของผลกระทบด้วย เรียกว่า “ NCI CTC AE ( The Nation Cancer Institute Common Terminology criteria for Adverse  Events ) ” แต่การแบ่งแบบนี้ค่อนข้างที่กว้างมาก ครอบคลุมการรักษาด้วยรังสีควบคู่กับการฉายรังสี ( Combined modality ) ด้วย ไม่ได้เน้นแต่เฉพาะอาการแทรกซ้อนหรือผลกระทบจากการรักษาด้วยรังสีเพียงอย่างเดียว

ปี 2010 ได้มีการทำงานร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ที่ใช้รังสีในการรักษาทำการรวบรวมข้อมูลจากอดีตและปัจจุบันสร้างเป็นใช้รังสีให้กับแพทย์ที่ใช้รังสีรักษาโดยเครื่องมือสมัยใหม่ที่นำมาฉายรังสี ทั้งรังสีสามมิติและรังสีสามมิติชนิดแปรความเข้มข้น ชนิด The Quantitative Analysis of Normal Tissue Effect in the Clinic : QUANTEC ซึ่งจะคำนวนจากข้อมูลปริมาณรังสี ( Dose ) ขนาดของอวัยวะ ( Volume ) และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ( Outcome ) ของอวัยวะที่ต้องการทำการฉายรังสี เพื่อช่วยให้แพทย์ที่ทำการรักษามีข้อมูลมากพอที่จะใช้กำหนดและวางแผนในการรักษาด้วยรังสีที่อวัยวะต่าง ๆ จะสามารถทนต่อรังสีได้ ( Dose/Volume Constraint )

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีร่วมกับการใช้เคมีบำบัดเป็นการรักษาที่ได้ผลมากที่สุดในปัจจุบัน แต่ทว่าผลกระทบที่เกิดจากการรักษาดังกล่าวก็มีมากเช่นกัน แต่เชื่อว่าในอนาคตการรักษาด้วยวิธีนี้จะเป็นวิธีการรักษาที่มีผลกระทบน้อยที่สุดกับผู้ป่วยอย่างแน่นอน เพราะนักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามคิดค้นวิธีที่จะทำให้การฉายรังสีส่งผลกระทบน้อยที่สุดกับผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary Bladder Cancer )

0
โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Urinary Bladder Cancer)
เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ จนกลายเป็นก้อนเนื้องอกขึ้นมา เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย
โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Urinary Bladder Cancer)
เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ จนกลายเป็นก้อนเนื้องอกขึ้นมา เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ คือ การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่ผิดปกไม่สามารถควบคุมได้และมีการแพร่กระจายอย่างรวมเร็วในกระเพาะปัสสาวะและรุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกระเพาะปัสสาวะมีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะที่ระบายออกจากไตผ่านไปยังท่อไตจากไตทั้ง 2 ข้างสามารถเก็บของปัสสาวะได้ประมาณ 400 – 600 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะของคนเราจะประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิด ซึ่งได้แก่ เซลล์ต่อมน้ำเหลือง กล้ามเนื้อ เยื่อเมือกบุ เส้นเลือดและกล้ามเนื้อ โดยเซลล์เหล่านี้ล้วนสามารถเกิดเป็นมะเร็งได้ทั้งสิ้น แต่ที่พบได้บ่อยมากที่สุดก็คือโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง และมักจะเกิดจากเซลล์ของเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่

อาการของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีอะไรบ้าง

  • ปวดหลัง
  • น้ำหนักลด
  • เท้าบวม
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปวดขณะปัสสาวะ
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ปวดกระดูกเชิงกราน

สาเหตุของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่พบสาเหตุที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงรวมกัน ซึ่งได้แก่

  • ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • การกลายพันธุ์ของยีนบางชนิด
  • การสัมผัสกับสารเคมีในสถานที่ทำงานมากเกินไป
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง
  • เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • การสูบบุหรี่จัด หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

แพทย์จะวินิจฉัยอาการเบื้องต้นโดยรวม ซักประวัติผู้ป่วยและซักประวัติของคนในครอบครัวรวมทั้ง

  • การตรวจภายใน โดยนิ้วสอดเข้าไปทางทวารหนักหรือช่องคลอดเพื่อคลำหาสิ่งผิดปกติ
  • การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อวิเคราะห์ปัสสาวะหากมีเลือดปนในปัสสาวะ อาจต้องส่งตัวอย่างปัสสาวะไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาเชื้อมะเร็ง
  • การสแกนอัลตร้าซาวด์ เพื่อหาว่ามีก้อนมะเร็งหรือไม่ และถ้ามีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่เพียงใด
  • การส่องกล้อง เพื่อตรวจดูเยื่อบุ ซีส ก้อนเนื้องอก หรือเซลล์มะเร็งด้านในของกระเพาะปัสสาวะ
  • การเอกซเรย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อถ่ายภาพภายในร่างกายที่มีความผิดปกติ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะมีกี่ระยะ

โรคมะเร็งชนิดนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยได้แก่
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไม่มาก โดยจะลุกลามไปเฉพาะที่ชั้นเยื่อบุภายในของกระเพาะปัสสาวะเท่านั้น
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มีความรุนแรงในระดับหนึ่ง ซึ่งระยะนี้มะเร็งได้ลุกลามออกไปนอกกระเพาะปัสสาวะเข้าเนื้อ เยื่อรอบ ๆ กระเพาะปัสสาวะแล้วนั่นเอง
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด โดยมะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย และแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและเส้นเลือด ซึ่งก็อยู่ในระยะที่รักษาให้หายได้ยาก   

การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการรักษาจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด ใช้รังสีรังษาและทำเคมีบำบัด ซึ่งยังไม่มียารักษาที่ตรงเป้า โดยในปัจจุบันก็กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยยาอยู่นั่นเอง

การป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การป้องกันโรคมะเร็งชนิดนี้ ก็ยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ชัดเจนเช่นกัน ดังนั้นต้องอาศัยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งแทน หากหลีกเลี่ยงได้ ก็จะลดโอกาสการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะไปได้เยอะ

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งมักไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นได้ชัดเจนในช่วงเริ่มต้น แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะแล้วเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ หากสังเกตเห็นความผิดปกติของสีปัสสาวะ ปวดขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะมีเลือดปนออกมา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมกับวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำตรงจุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนก่อนและหลังการรักษาได้นั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว. “มะเร็งตับกระเพาะปัสสาวะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.moderncancerthai.com. [04 พ.ค. 2017].

ประโยชน์ของ บร็อคโคลี ( Broccoli )

0
ประโยชน์ของบร็อคโคลี (Broccoli)
บร็อคโคลี เป็นผักตระกูลกะหล่ำ นิยมรับประทานดอกอ่อนและก้าน และมีสารต้านมะเร็ง
ประโยชน์ของบร็อคโคลี (Broccoli)
บร็อคโคลี เป็นผักตระกูลกะหล่ำ นิยมรับประทานดอกอ่อนและก้าน และมีสารต้านมะเร็ง

บร็อคโคลี

บร็อคโคลี (ฺ Broccoli ) หรือ กะหล่ำดอกอิตาลี เป็นผักตระกูลกะหล่ำ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleracea var. italica อยู่ในตระกูล Cruciferae บร็อคโคลีเป็นผักที่รับประทานดอกอ่อนและก้าน เป็นพืชผักเมืองหนาวมีถิ่นเดิมอยู่ทางตอนใต้ของยุโรปมากมายในประเทศอิตาลี นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยทางภาคเหนือที่มีอากาศเย็น ปัจจุบันแหล่งที่ปลูกบร็อคโคลีกันมาก ได้แก่ กาญจนบุรี เพชรบูรณ์ กรุงเทพฯ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมีให้รับประทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย ซึ่งก็ทานได้ทั้งแบบสดและแบบแช่แข็งในซูเปอร์มาร์เก็ตเลยทีเดียว โดยทั้งนี้บร็อคโคลีก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพืชผักตระกูลครูซิฟเฟอแร ( Cruciferae ) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับกะหล่ำปลีเป็นอย่างมาก แถมยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะสารอาหารที่สำคัญต่อหัวใจ โดยพบว่าบร็อคโคลีสุดจำนวน 1 ถ้วย สามารถให้วิตามินซีได้มากถึง 200 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว และยังให้เบต้าแคโรทีนอีก 90 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงเส้นใยอาหารและโปแตสเซียมในปริมาณสูงมากอีกด้วย ดังนั้นการกินบร็อคโคลี จึงเหมือนกับได้กินยาอายุวัฒนะเลยทีเดียว

สรรพคุณของ บร็อคโคลี

1. มีวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน ที่เป็นสารแอนตี้อ็อกซิเด้นท์ จึงช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกายได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย

2. มีวิตามินอี วิตามินอีที่จะลดการถูกทำร้ายของหลอดเลือดจาก Low-Density Lipoprotein ( LDL ) หรือไขมันชนิดเลว ซึ่งก็เป็นอีกตัวการหนึ่งที่ทำให้โรคหัวใจกำเริบเช่นกัน จึงไม่แปลกเลยว่าทำไม คนที่ทานบร็อคโคลีเป็นประจำ จึงมักจะไม่เป็นโรคหัวใจได้ง่าย

3. อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลวได้เป็นอย่างดี โดยสารตัวนี้จะพบได้มากในชา ผักผลไม้ทั่วไป อีกทั้งยังมีบทบาทที่คล้ายกับวิตามินซีและวิตามินอีอีกด้วย นอกจากนี้ฟลาโวนอยด์ก็จะช่วยลดการจับตัวเป็นก้อนของเลือดได้ดีอีกด้วย

4. บร็อคโคลีเต็มไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งไฟเบอร์เป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีคุณค่าช่วยให้การเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นปกติ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเลือด ช่วยให้อิ่มนานขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน เหมาะสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก หรือการลดน้ำหนัก

5. บร็อคโคลีสามารถช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีวิตามินซีส่งผลดีต่อการฟื้นตัวจากการออกกำลังกาย ยังพบว่าช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น และลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย วิตามินซีในบร็อคโคลีมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ช่วยสมานแผล บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกระดูกอ่อน เส้นเอ็น หลอดเลือด และผิวหนัง

6. พบสารซัลโฟราเฟน และเคมเฟอรอล ซึ่งเป็นไฟโตนิวเทรียนท์และฟลาโวนอยด์ในบร็อคโคลี มีฤทธิ์ป้องการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อมะเร็ง โรคหัวใจ ป้องกันระบบประสาท ต้านโรคเบาหวาน ต้านโรคกระดูกพรุน

การรับประทานบร็อคโคลีทุกวัน เหมือนกับได้รับยาอายุวัฒนะ ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของ บร็อคโคลี 100 กรัม
สารอาหารในดอกและใบบร็อคโคลีสด

หน่วย

1 หน่วยต่อ 100 กรัม

น้ำ กรัม 90.69
พลังงาน กิโลแคลอรี 28
โปรตีน กรัม 2.98
ไขมันรวม กรัม 0.35
คาร์โบไฮเดรต กรัม 5.06
ไฟเบอร์ กรัม 2.3
น้ำตาล กรัม 1.48
วิตามินและแร่ธาตุในดอกบร็อคโคลีและใบบร็อคโคลีสด
แคลเซียม มิลลิกรัม 48
ธาตุเหล็ก มิลลิกรัม 0.88
แมกนีเซียม มิลลิกรัม 25
ฟอสฟอรัส มิลลิกรัม 66
โปแตสเซียม มิลลิกรัม 325
โซเดียม มิลลิกรัม 27
สังกะสี มิลลิกรัม 0.4
วิตามินในดอกบร็อคโคลีและใบบร็อคโคลีสด
วิตามินซี มิลลิกรัม 93.2
ไทอามิน มิลลิกรัม 0.065
ไรโบฟลาวิน มิลลิกรัม 0.119
ไนอาซิน มิลลิกรัม 0.638
วิตามินบี 6 มิลลิกรัม 0.159
โฟเลท มิลลิกรัม 71
วิตามินบีเอ มิลลิกรัม 16000
วิตามินเค มิลลิกรัม 101.6
วิตามินอี มิลลิกรัม 0.71
ลิปิดในดอกบร็อคโคลี่และใบบร็อคโคลีสด
กรดไขมันชนิดสมบูรณ์ กรัม 0.054
กรดไขมันเชิงเดี่ยว กรัม 0.024
กรดไขมันเชิงซ้อน กรัม 0.167

ที่มา : USDA Nutrient Database

ประโยชน์ของ บร็อคโคลี

  • บร็อคโคลีมีสารต้านมะเร็ง สามารถรับประทานได้ทุกวัน
  • บร็อคโคลีช่วยป้องกันเลือดออกไม่หยุด และแผลเลือดออกของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • บร็อคโคลีมีสารซีลีเนียม ช่วยชะลอความเสื่อมของผิวพรรณ
  • บร็อคโคลีมีเบต้าแคโรทีน และลูทีน ช่วยป้องกันโรคระบบประสาทตา ป้องกันตาเป็นต้อกระจก ช่วยบำรุงและปรับสภาพสายตาให้อยู่ยาวนาน
  • บร็อคโคลีช่วยเรื่องลำไส้ แก้ท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย เพราะมีไฟเบอร์สูง
  • บร็อคโคลีมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอวัย เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  • บร็อคโคลีมาสารอาหารช่วยเรื่องโรคสมองและความจำ เช่น โรคอัลไซเมอร์
  • บร็อคโคลีช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • บร็อคโคลีมีโปแตสเซียมที่ช่วยให้ออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมองอย่างเพียงพอ ทำให้สมองปลอดโปร่ง
  • บร็อคโคลีมีสารช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
  • บร็อคโคลีประกอบไปด้วย ลูทีน แคโรทีนอยด์ วิตามิน B6 และโฟเลต ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และหลอดเลือดในสมองตีบ
  • บร็อคโคลี มีสารที่ช่วยลดผลกระทบของรังสี UV ที่อาจจะมากระทบกับผิวหนัง
  • บร็อคโคลี มีสารอาหารที่สามารถช่วยในการลดโอกาส และกระบวนการที่จะทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้

การเลือกซื้อ บร็อคโคลี

การซื้อบร็อคโคลี หากเป็นบร็อคโคลีสดจะต้องเลือกที่มีดอกแน่น เพราะจะเก็บไว้ได้นานถึง 5-7 วัน แต่จะต้องห่อให้ถูกวิธีก่อนแช่ตู้เย็นเก็บไว้ด้วย และเมื่อนำมาปรุงอาหาร แนะนำให้นำบร็อคโคลีมาล้างด้วยน้ำเย็นก่อน จากนั้นหั่นเป็นชิ้นขนาดใหญ่เกินคำ ไม่ควรหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพราะในระหว่างปรุงจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางสารอาหารไปได้ ส่วนกรณีที่จะนำมาอบในไมโครเวฟ ควรอบประมาณ 3-5 นาทีเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้ได้บร็อคโคลีที่มีความนุ่มและยังคงความเขียวสด น่ารับประทานอยู่เสมอ นอกจากนี้ก็สามารถนำบร็อคโคลีสดไปปรุงอาหารอบและทำซุปได้อีกด้วย หรือจะนำไปทำเมนูผัดก็อร่อยไม่แพ้กันเลยทีเดียว

เมนู บร็อคโคลี

สลัดบร็อคโคลีใส่งา      

สำหรับคนที่ชอบทานสลัด ก็มีวิธีการทำสลัดบร็อคโคลีใส่งาแบบง่ายๆ มาแนะนำกันดังนี้ 

วัตถุดิบที่ต้องเตรียม    

1.บร็อคโคลีหั่นชิ้นยาว 1.5 นิ้ว ปริมาณครึ่งถ้วยตวง

2.น้ำมันคาโนลา 1 ช้อนโต๊ะ

3.น้ำมันงา 1 ช้อนชา

4.เมล็ดงา 2 ช้อนชา

5.ผักสลัดสีเขียวรวม 2 ถ้วยตวง (ได้แก่ อารูกาลา ผักกาดหอม ผักสลัดใบสีแดง)

6.แตงกวาหั่นซอยบางๆ ครึ่งถ้วยตวง

7.หอมแดงซอยบางๆ ¼ ถ้วยตวง

8.น้ำส้มราสพ์เบอร์รี 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำ

นำหม้อเคลือบใส่น้ำมันเล็กน้อย ตั้งไฟพอร้อยจัด จากนั้นใส่บร็อคโคลีลงไปผัดประมาณ 2 นาที หรี่ไฟลงหน่อยแล้วปิดฝาทิ้งไว้อีก 2-3 นาที เมื่อบร็อคโคลีสุกเป็นสีเขียวสดดูน่าทานให้ใส่เมล็ดงาลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้จนเย็นจึงนำมาจัดใส่จานสลัด พร้อมเติมด้วยผักสลัดตามชอบ เพิ่มรสชาติด้วยการใส่น้ำส้มราสพ์เบอร์รี่ลงไปคลุกเคล้าอีกนิด ก็ได้สลัดบร็อคโคลีสุดอร่อยและดีต่อสุขภาพแล้ว

ข้อมูลทางโภชนาการ
สลัดบร็อคโคลีใส่งา ขนาดเสิร์ฟ 1 ที่  ¼ ของปริมาณที่ปรุง     ปริมาณแคลอรี   72    แคลอรี
ไขมัน                                                                                      50    แคลอรี
เปอร์เซ็นต์คุณค่าอาหารต่อวัน
ไขมันรวม                                                              6 กรัม                        9%
โคเลสเตอรอล                                                        0 มิลลิกรัม                   0%
โซเดียม                                                              13 มิลลิกรัม                   1%
คาร์โบไฮเดรตรวม                                                  5 กรัม                         2%
เส้นใยอาหาร                                                         2 กรัม                         8%
โปรตีน                                                                2 กรัม
วิตามินเอ 14%           วิตามินซี 66%            แคลเซียม 3%             ธาตุเหล็ก 5%

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

รัชนี คงคาฉุยฉาย และ ริญ เจริญศิริ. โภชนาการกับผลไม้. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554. 1.ผลไม้–แง่โภชนาการ–ไทย. I.ชื่อเรื่อง. 641. ISBN 978-974-484-346-3.

Stephens, James. “Broccoli—Brassica oleracea L. (Italica group)”. University of Florida. p. 1. Retrieved 14 May 2009.

“Broccoli”. Merriam-Webster’s Collegiate Dictionary (11th ed.). p. 156. ISBN 978-0-87779-809-5. Retrieved 9 April 2014.

“Broccoli Leaves Are Edible”. Garden Betty. Retrieved 8 May 2013.

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) คืออะไร

0
เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์
การตรวจเซลล์ต่างๆในร่างกาย
การตรวจเซลล์ต่างๆในร่างกาย

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell )

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ชนิดที่เป็นเซลล์รากเหง้าหรือต้นกำเนิดของเซลล์ทุกชนิด เซลล์ชนิดนี้จะมีความพิเศษที่สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่มีจุดสิ้นสุด พบได้ในร่างกายทุกช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโต เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์สามารถเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ได้เกือบทุกชนิดใน ทุกอวัยวะของร่างกาย ตัวอย่างของเซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ต้นกำเนิดในหัวใจที่เจริญเติบโตกลายเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ต้นกำเนิดสมองกลายเป็นสมองชั้นนอก สมองชั้นใน เป็นต้น เซลล์ต้นกำเนิดสามารถซ่อมแซมและเสริมสร้างอวัยวะได้อย่างไม่จำกัด 

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด มี 2 ประเภท คือ

1.สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแยกได้จากตัวอ่อน ( Embryonic Stem Cell ) มีคุณสมบัติสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ได้เกือบทุกชนิดที่มีอยู่ภายในร่างกาย ยกเว้นเซลล์จากรกของมารดาในครรภ์

2.สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแยกได้จากสิ่งมีชีวิตที่โตเต็มวัยแล้ว ( Adult Stem Cell ) คือ เซลล์ต้นกำเนิดชนิดนี้จะสามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์เฉพาะในเนื้อเยื่อ ทำหน้าที่ซ่อมแซมอวัยวะของร่างกาย

จากแนวคิดที่ว่าเซลล์ต้นกำเนิดสามารถเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นเซลล์ได้เกือบทุกชนิดภายในร่างกายและช่วยซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในอวัยวะของร่างกายได้ จึงได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ในการรักษาโรค ดังนี้

อดีตได้มีการค้นหาว่าเซลล์ต้นกำเนิดของสมองนั้นอยู่ที่ส่วนใดกันแน่ ได้มีการศึกษาและทดลองจนได้ข้อสัญนิษฐานว่าเซลล์ต้นกำเนิดของสมองอยู่บริเวณรอบ ๆ โพรงสมองกับบริเวณขมับของฮิปโปแคมปัสและอยู่ที่ส่วนของเซลล์ประสาทรับกลิ่นของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 จากการศึกษาและทดลองพบว่า สมองมีแหล่งของเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถเจริญเติบโตขึ้นเป็นเซลล์สมองอยู่จริง

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ชนิดที่เป็นเซลล์รากเหง้าหรือต้นกำเนิดของเซลล์ทุกชนิด เซลล์ชนิดนี้จะมีความพิเศษที่สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่มีจุดสิ้นสุด พบได้ในร่างกายทุกช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโต

สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบสมองเสื่อมพบว่าเนื้อสมองของผู้ป่วยที่มีภาวะของสมองเสื่อมจะมีการฝ่อหรือเหี่ยวลง และเนื้อสมองมีการอักเสบเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้เซลล์สมองที่สามารถใช้งานได้มีจำนวนน้อยลง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงตามจำนวนเซลล์สมองที่มี ในการรักษาเมื่อให้ยากลุ่มต้านการอักเสบ ยาต้านเอนไซม์ ยากลุ่มต้านอาการซึมเศร้าและยาในกลุ่ม Cholinesterase ที่ช่วยเข้าไปเพิ่มปริมาณของสาร Acetylcholine ที่อยู่ในสมองให้มีเพิ่มขึ้น ซึ่งสาร Acetylcholine ช่วยในการหลั่งฮอร์โมนและหลั่งสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ภายในสมอง ทำให้กระบวนการซ่อมแซมเซลล์เกิดขึ้นจนเซลล์สมองมีความแข็งแรงเหมือนเดิมและยังช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์สมองให้ทำงานเพิ่มจำนวนเซลล์สมองให้มากขึ้นด้วย ตำแหน่งที่พบว่ามีการแบ่งเซลล์หลังจากที่ให้ยากกลุ่มนี้ไปแล้ว ตำแหน่งนั้น คือ ตำแหน่งของสเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิดนั่นเอง เมื่อทราบถึงตำแหน่งของสเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) นักวิทยาศาสตร์ก็หวังว่าจะเอาเซลล์จากแหล่งเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์นี้มาทำการปลูกถ่ายเซลล์สมองให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับใช้สารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์กระตุ้นให้เซลล์มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันการเกิด โรคสมองเสื่อม

นอกจากการหาแหล่งของเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ในสมองแล้ว ยังมีการศึกษาเพื่อที่จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน ( Embryonic Stem Cell ) ที่สามารถเจริญเติบโตเป็นเซลล์ได้หลายชนิด ( Induced Pluripotent Stem Cell ) เช่น จากเซลล์ที่บริเวณผิวหนังหรือเซลล์จากเลือด แทนที่จะนำมาจากเอ็มบริโอหรือนำมาจากตัวอ่อนระยะแรกเริ่มที่อยู่ในครรภ์มารดาหรือพบได้ในเลือดภายในสายสะดือและจากกระดูกสันหลัง แล้วทำการชักนำให้สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือเซลล์ต้นกำเนิดนี้ ให้กลายเป็นเซลล์ที่หลั่งสารแอลฟา – ไซนิวคลีอิน ( Alpha – Synuclein ) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อมอย่างโรคพาร์กินสัน เพื่อที่นักวิทยาศาสตร์จะได้ศึกษาทำความรู้ความเข้าใจและกลไกในการเกิดโรคได้มากขึ้น การศึกษาทดลองก็เพื่อที่จะได้หาต้นตอและกลไกการเกิดโรคที่แท้จริงว่ามีสาเหตุมาจากความผิดปกติในขั้นตอนใดของเซลล์ จะได้วางแนวทางในการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดโรคอย่างได้ผล การที่ใช้เนื้อเยื่อจากส่วนอ่อนแทนเนื้อเยื่อจากตัวอ่อนในครรภ์มารดาก็เพราะว่าการใช้เนื้อเยื่อหรือเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน ในครรภ์มารดาถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดหลักศีลธรรมและจริยธรรมในยุคปัจจุบันนี้ จึงไม่สามารถนำเซลล์ต้นกำเนิดชนิด Induced Pluripotent Stem Cell มาใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการเหนี่ยวนำให้เกิดโรคได้ แต่ก็ได้มีการทดลองในตัวอ่อนของสัตว์ทดลองบางชนิด ซึ่งผลการทดลองดังกล่าวยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์กล้าออกมายืนยันว่าทำให้ผลจริง เนื่องจากยังไม่มีการทดลองในคนจริงๆ จึงได้แต่เป็นแนวทางสำหรับการศึกษาและนำมาออกแบบจำลองการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการสร้างชีวิตที่ยืนยาวต่อไป 

นอกจากเซลล์ต้นกำเนิดที่ทำการสกัดมาจากผิวหนังและเลือดแล้ว ยังพบว่าในเนื้อเยื่อของฟันน้ำนมที่เกิดขึ้นของเด็กบางซี่นั้น มีองค์ประกอบของเซลล์ต้นกำเนิดชนิดที่เรียกว่ามี เซนไคม์ ( Mesenchymal Stem Cell : MSCs ) คือ สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถทำหน้าที่ทดแทนเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายที่เกิดการเสื่อมสภาพหรือหมดอายุ ซึ่งสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่พบจากฟันน้ำนมนี้ช่วยในการรักษาโรคที่มีความผิดปกติได้หลายชนิด เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบสมอง โรคหัวใจเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะอัมพาตที่เกิดจาการบาดเจ็บของไขสันหลัง โดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดที่ค้นพบนี้เข้ามาช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมหรือตายไปในอวัยวะของร่างกาย โดยใช้วิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปกระตุ้นการสร้างและการซ่อมแซ่มเซลล์ในบริเวณดังกล่าวเพื่อที่เซลล์จะได้กลับสู่สภาวะปกติ

การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดนั้นยังมีข้อถกเถียงระหว่างด้านศีลธรรมและด้านวิทยาศาสตร์ ทำให้การวิจัยและทดลองเพื่อศึกษาการนำเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์มาใช้ยังไม่มีข้อชัดเจน แต่ทว่าการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ก็ยังเป็นความหวังของวงการแพทย์ที่จะช่วยรักษาโรคความเสื่อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เราทุกคน ช่วยยืดอายุและความแข็งแรงของร่างกาย ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะมีอายุยืนนับร้อยปี โดยไม่เจ็บป่วยจากการใช้สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดก็เป็นได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Becker AJ, McCulloch EA, Till JE (1963). “Cytological demonstration of the clonal nature of spleen colonies derived from transplanted mouse marrow cells”. Nature. 197 (4866): 452–54. Bibcode:1963Natur.197..452B. doi:10.1038/197452a0. PMID 13970094.

Siminovitch L, Mcculloch EA, Till JE (1963). “The distribution of colony-forming cells among spleen colonies”. Journal of Cellular and Comparative Physiology. 62 (3): 327–36. doi:10.1002/jcp.1030620313. PMID 14086156.

การจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิต การดูแลที่ไม่ควรมองข้าม

0
การจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิต การดูแลที่ไม่ควรมองข้าม
ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
ผู้ป่วยแต่ละคนล้วนมีความซับซ้อน ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลและจัดการแบบรายบุคคลจึงจะเหมาะสมที่สุด

ผู้ป่วย เบาหวาน ความดันโลหิต

ผู้ป่วยหรือผู้เข้ารับการรักษาคือบุคคลที่ได้รับบริการด้านสุขภาพจากแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติ ทันตแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยจากโรคหรือการบาดเจ็บ และต้องการการรักษา หรือการปรึกษาเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพของตนเอง

กรณีที่ 1 การดูแลผู้ป่วยและการรักษามีความสมเหตุสมผลหรือไม่

การจัดการเบาหวาน กรณีที่ 1ยกตัวอย่าง เช่น บุตรสาวของผู้ป่วยได้นำผู้ป่วยนั่งรถเข็นมายังคลินิก โดยอาการของผู้ป่วยในขณะนั้นไม่สนใจสิ่งแวดล้อมใดๆ ซึมจนเห็นได้ชัด ส่วนบุตรสาวก็ดูเหมือนกำลังอมทุกข์และเบื่อหน่ายเป็นอย่างมาก ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเพราะ เบื่อหน่ายที่จะต้องดูแลมารดานั่นเอง โดยทั้งนี้บุตรสาวก็ได้เล่าให้กับพยาบาลฟังว่า “แม่ของเธอมีอาการซึม ขาชา ขาชา ไม่ยอมกินข้าว มักจะคลื่นไส้ตลอด จากนั้นบุตรสาวก็เดินออกไปรอข้างนอก เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง จึงเดินกลับเข้าไปหาแม่ใหม่ และถามว่าแม่เป็นอย่างไรบ้าง พยาบาลก็ได้ตอบว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง จากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงก็ได้พาผู้ป่วยไปเอ็กซเรย์สมอง ได้ผลว่าไม่พบความผิดปกติ จึงให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องเพื่อสังเกตอาการก่อน และค่อยเจาะเลือดพรุ่งนี้เช้า จึงจะไปพบแพทย์ที่อายุรกรรมให้ตรวจอีกที

ในเช้าวันต่อมาบุตรสาวก็ได้พาแม่ไปเจาะเลือด ผลที่ได้คือแม่มีน้ำตาลต่ำ แพทย์จึงให้พาผู้ป่วยไปทานอาหารและหยุดทานยาเบาหวานแล้วค่อยมาพบพยาบาลที่คลินิกเบาหวานใหม่ บุตรสวจึงได้พาแม่ไปดื่มชาดำเย็น 1 ถุงและทานข้าว จากนั้นจึงไปเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาลอีกครั้งได้ผล DTX 60 mg/dl จึงให้แม่ทานน้ำหวานและกล้วยอีก 2 ใบ พร้อมกับส่งไปที่ห้องฉุกเฉินเพื่อตรวจซ้ำอีกครั้ง แต่ทั้งนี้บัตรสาวและผู้ป่วยก็ได้ต่อรองว่าจะไม่ไปที่ห้องฉุกเฉินอีก พยาบาลจึงต้องอธิบายว่า ยาลดน้ำตาลที่ผู้ป่วยทานไปก่อนหน้านี้ กว่าไตจะขับออกหมดก็ประมาณ 2 วัน หากตรวจอีกคืนนี้ก็จะพบว่าน้ำตาลต่ำอีก ทั้งคู่จึงได้กลับไปห้องฉุกเฉิน DTX=100mg/dl แพทย์ก็ให้กลับบ้านได้ โดยไม่ได้รักษาใดๆ เพิ่มเติม

กรณีที่ 2 กะกะเอา

ผู้หญิงมีอายุ 70 ปี ถูกส่งปรึกษามาจากหอผู้ป่วย มีรูปร่างผอมขาว โดยเมื่อมาถึงโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการซึม คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็วเหนื่อยง่าย โดยแรกรับพบว่า Blood sugar 890 mg/dl, ketone 8 mmol/l จึงคาดว่าผู้ป่วยน่าจะขาดยาอินซูลินมา จากนั้นจึงได้ทำการซักประวัติถึงการฉีดยาอินซูลินของผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยฉีดทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าจะฉีด 24 ยูนิต ส่วนตอนเย็นฉีดอีก 12 ยูนิต จึงสรุปได้ว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉีดยาอินซูลินอย่างสม่ำเสมอจริง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อผู้ป่วยฉีดอินซูลินอย่างต่อเนื่องแล้วทำไม น้ำตาลในเลือดจึงยังสูงขนาดนี้ ทั้งที่สาเหตุน่าจะมาจากการขาดอินซูลิน จากนั้นพยาบาลจึงถามต่อว่าตอนนี้ยาฉุดอินซูลินที่ได้รับเหลือกี่หลอด ผู้ป่วยตอบว่าเหลือ 5 หลอด ซึ่งเมื่อลองคำนวณดูแล้ว น่าจะเหลือไม่เกิน 1 หลอด จึงได้ทำการประเมินความคลาดเคลื่อนของการฉีดยาของผู้ป่วยต่อ โดยให้ผู้ป่วยสาธิตการฉีดให้ดู เริ่มตั้งแต่ดูดอินซูลิน โดยผู้ป่วยก็ได้เตรียมยาอินซูลินด้วยการเขย่าขวดกลับไปมา จากนั้นใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดจุกยาง พร้อมเสียบเข็มได้อย่างถูกต้อง แต่สังเกตพบว่าปริมาณยาที่ผู้ป่วยดูดออกมาจากขวด มีเพียง 5 ยูนิตเท่านั้น ซึ่ง
ผู้ป่วยก็ได้บอกแก่พยาบาลว่า “ มองไม่เห็นหน่วยตัวเลขที่กระบอกฉีดยา ทุกครั้งที่ฉีดก็เลยแค่กะกะเอา ”

กรณีที่ 3 ดูแลแบบองค์รวมหรือไม่

กรณีของเคสที่เป็นเคสซับซ้อนในหัวข้อ “ การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมนั้นมีหรือไม่? ”  นี่เป็นเคสผู้ป่วยที่เป็นชายร่างอ้วน ผิวคล้ำ เป็นเคสที่เดินทางเข้ามาด้วยการนั่งรถเข็นเพียงคนเดียว เป็นเคสผู้ป่วยเก่าของทางโรงพยาบาลแห่งนี้โดยตรง ถูกส่งเข้ามารักษาตัวด้วยอาการเกิดบาดแผลที่เท้า ในขณะที่กำลังนั่งรอทำแผลนั้นผู้ป่วยก็จะมีการแสดงการเคาะโต้ะ คอยนั่งโยกไปมาเรื่อย ๆ จากประวัติการรักษาตัวล่าสุดก่อนหน้านี้ที่โรงพยาบาลแห่งนี้นั่นคือเมื่อห้าวันที่แล้วพบว่าผู้ป่วยมีประวัติป่วยเป็น NIDDM เป็น HYPERTENSION , Schizophreania และ Hyperlipidnia เคยมีประวัติรักษาตัวด้วยอาการที่หอบ เหนื่อยและได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็น Congestive Heart Failure ซึ่งทั้งนี้ทางด้านของพยาบาลก็ได้ทำการซักถามเกี่ยวกับเรื่องของยาที่รับประทานพบว่าทางผู้ป่วยไม่มีการทานยาใด ๆ ไม่ได้รับยาประเภทใดกลับบ้านแต่เมื่อได้ทำการสอบถามกลับไปว่าเพราะเหตุใดถึงไม่ได้มีการรับยาทางผู้ป่วยกลับไม่มีการตอบคำถามใด ๆ กลับมาทั้งสิ้น เมื่อลองเข้าไปค้นประวัติที่เวชระเบียนกลับพบว่าผู้ป่วยมีประวัติได้รับยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคเบาหวานไปเป็นที่เรียบร้อยรวมถึงยารักษาโรคความดันโลหิตสูงและยารักษาไขมันในเลือดสูงแต่ยังไม่ได้รับยารักษาโรค Schizophreania แต่อย่างใด เมื่อลองย้อนกลับไปสอบถามที่ส่วนของหอผู้ป่วยก็ได้รับคำตอบในเชิงประมาณว่าผู้ป่วยท่านนี้ไม่ได้มีความสมัครใจที่จะเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล มีความประสงค์ที่จะขอกลับบ้านเท่านั้นและไม่ว่าจะมีการอธิบายเหตุผลใดก็ตามก็จะขอกลับบ้านอย่างเดียว ทางทีมงานที่ทำการดูแลผู้ป่วยจึงต้องให้ทางผู้ป่วยทำการเซ็นลงนามว่าไม่สมัครใจที่จะเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและนั่นจึงทำให้ทางผู้ป่วยได้กลับบ้านและไม่ได้รับการรักษาใด ๆ ต่อไป

กรณีที่ 4 หาเลข 8 ไม่เจอ

ในกรณีของเคสที่เป็นเคสในหัวข้อ “ เป็นการหาเลข 8 ไม่เจอ ” สำหรับในกรณีนี้เป็นเคสผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 45 ปีเดินทางมาที่คลอนอกเบาหวานด้วยตนเองมาด้วยอาการที่ดูอ่อนเพลียและได้แจ้งกับทางพยาบาลว่าเมื่อช่วงสองวันก่อนมีความรู้สึกราวกับจะตายลงแล้วให้ได้ ฉีดยาครั้งใดราวกับจะขาดใจ รู้สึกหน้ามืดและไม่ค่อยจะมีแรง ทางพยาบาลนั้นอาการที่เป็นนั้นคืออาการ Hypoglycemia จึงได้ลองทำการซักทางผู้ป่วยอีกครั้งว่าก่อนที่จะทำการฉีดอินซูลินนั้นฉีดก่อนที่จะรับประทานอาหารเป็นระยะเวลานานเท่าใด ทางด้านผู้ป่วยก็ได้แจ้งกลับมาว่า ทางตนเองได้รับคำแนะนำมาว่าควรจะต้องมีการฉีดอินซูลินให้ได้ครั้งละปริมาณ 8 ยูนิต ฉีดก่อนที่จะรับประทานอาหารเป็นระยะเวลา 30 นาทีทุกเช้าเย็นแต่ในการปฏิบัติจริงเมื่อมีการฉีดอินซูลินเข้าไปครั้งใดไม่ทันที่จะถอนตัวเข็มออกจากร่างกายก็มีอาการแย่เกิดขึ้นทันทีจนแทบจะทนไม่ไหวเป็นประจำ เมื่อลองตรวจสอบก็พบว่ามีการดูดอินซูลินในปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดจึงได้สอบถามว่าทำไมถึงดูดเกินกำหนด ผู้ป่วยจึงตอบมาว่าก็ไม่เห็นว่าที่ส่วนของตัวหลอดจะมีแจ้งเลข 8 เลยที่เห็นก็มีเพียงแค่ 80 เท่านั้นไม่ถูกหรืออย่างไร?

กรณีที่ 5 การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องหรือไม่

การจัดการเบาหวาน กรณีที่ 5สำหรับเคสผู้ป่วยกรณี “ เป็นการดูแลผู้ป่วยที่ต่อเนื่องใช่หรือไม่? ” รายนี้เป็นเคสผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 76 ปีเข้ารับการรักษาตัวและนอนพักอยู่ภายในโรงพยาบาลมาด้วยอาการแขนขาซีกขวานั้นเกิดการอ่อนแรง ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Acute Stoke ผู้ป่วยได้ถูกส่งตัวไปปรึกษาที่คลินิกเบาหวาน ทางด้านของสามีของเคสได้แจ้งว่าทางผู้ป่วยนั้นอยากที่จะขอรักษาตัวที่โรงพยาบาลอย่างนี้จนกว่าที่จะสามารถเดินได้แต่ตอนนี้ทางแพทย์ได้ทำการแจ้งให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านต่อนั่นจึงสร้างความกลุ้มใจให้เกิดขึ้นกับพวกเขาในตอนนี้ แล้วอย่างนี้จะต้องทำการดูแลผู้ป่วย ทำการวางแผนการปฏิบัติตัวอย่างไร ทางทีมพยาบาลก็ได้ทำการสอบถามทางด้านสามีของผู้ป่วยว่าอยากจะให้ทางด้านโรงพยาบาลนั้นช่วยเหลือสิ่งใดบ้าง ด้านสามีจึงได้แจ้งกลับมาว่าเขานั้นจะพาทางผู้ป่วยกลับไปบ้านได้เช่นไร ที่บ้านนั้นรถก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ จะต้องเดินไปและข้ามสะพานไปอีก 500 เมตร แล้วถ้าเกิดรักษาที่บ้านผู้ป่วยต้องปัสสาวะ อุจาระเขาจะทำเช่นไรจะทำคนเดียวได้อย่างไร แล้วอย่างนี้หากมีการนัดต้องมาตรวจจะทำเช่นไร?

กรณีที่ 6 มีทางเลือกที่ดีกว่าหรือไม่

สำหรับเคสผู้ป่วยกรณีต่อมาเป็นคนสูงอายุ ( 55 ปี ) และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น DM ประเภทที่ 2 เป็น Hypertension เป็น DM Foot ulcer และยังเป็น Ischemic heart disease with Peripheal Arterial Disease ทางผู้ป่วยนั้นได้ทำการร้องขอให้ทางแพทย์ทำเรื่องส่งตัวไปทำส่วนของขาเทียม ทั้งนี้เรื่องนี้ทางแพทย์นั้นได้ทำการแจ้งกับทางผู้ป่วยว่าไม่แนะนำให้ผู้ป่วยทำ เพราะ ผู้ป่วยป่วยด้วยโรคหัวใจอยู่แล้วและหากทำขาเทียม ขาเทียมจะเข้าไปกดที่บริเวณของเนื้อเยื่อจนอาจทำให้เกิดการขาดเลือดได้ และได้เลือกที่จะแนะนำให้เลือกใช้การนั่งรถเข็นแทนจะดีกว่าแต่ทางผู้ป่วยนั้นก็เลือกที่จะต่อรองว่าการที่ได้ใส่ขาเทียมจะเป็นการทำให้เขานั้นสามารถทำกิจกรรมใด ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ตอนนี้เขาก็ใช้รถเข็นอยู่แล้ว ทำอะไรก็แสนจะลำบาก การได้มีขาเทียมจะทำให้อะไร ๆ ดีขึ้นได้ ลองส่งเรื่องไปก่อนจะได้หรือไม่แต่หากทางด้านทีมแพทย์ได้ลองทำการปรึกษากันแล้วพบว่าไม่ควรทำก็ไม่เป็นไร!!!

กรณีที่ 7 ซักประวัติครอบครัวแล้วหรือไม่

สำหรับเคสผู้ป่วยกรณีซับซ้อนอีกเคส คือ หญิงสูงอายุ ( 63 ปี ) ได้เข้ามารักษาตัวด้วยการวินิจฉัยเป็น Pneumonia underlying Hypertension ตอนนั้นมาด้วยอาการไข้ ไอ เป็นระยะเวลา 5 วัน ในวันแรกพบว่ามีระดับความดันโลหิตอยู่ที่ 118/64 mmHg ชีพจรอยู่ที่ 96 ครั้งต่อนาที มักจะเกิดอาการกระสับกระส่ายอยู่เป็นระยะ ๆ ไม่ยอมที่จะตอบคำถามใด ๆ จะต้องคอยใช้มือนั้นบีบที่บริเวณขาขวาตลอดเวลา เมื่อลองตรวจที่ขาขวานั้นก็พบว่ามีสีคล้ำมากและ ค่อยข้างที่จะเย็นกว่าอีกข้าง ลองคลำที่ชีพจรบริเวณด้านหลังของเท้านั้นสามารถจับได้แต่ก็เบามาก ดังนั้นจึงได้ลองซักประวัติของผู้ป่วยจากทางน้องสาวเพิ่มเติม พบว่า ผู้ป่วยนั้นมีการบ่นเกิดอาการเมื่อยขาหลังจากที่ไปใช้เครื่องนวดเท้า เครื่องประเภทนี้เป็นเครื่องที่จะต้องวางเท้าลงไปบนเครื่อง เท้าก็จะต้องเกิดการสั่นค่อนข้างแรงและใช้เวลานานเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว และในวันถัดมาทางผู้ป่วยตัดสินใจมาโรงพยาบาลตอนที่มาในครั้งนั้นไม่ได้มีการเล่าอาการปวดเหล่านี้ให้ทางแพทย์ทราบเพราะแพทย์ไม่ได้สอบถาม ที่มาครั้งนี้เพราะเริ่มมีอาการไม่รับประทานอาหาร คลื่นไส้จึงมาอีกรอบนั่นเอง

กรณีที่ 8 เพราะกลัวเข็มนี่เอง

กรณีนี้เป็นหญิงที่มีอายุ 86 ปี มีรูปร่างท้วม ผู้ดูแลเป็นผู้พามาตรวจ ซึ่งจากการสอบถามพบว่าผู้ดูแลเป็นผู้ทำหน้าที่ในการฉีดอินซูลินให้กับผู้ป่วย และจากการซักถามก็พบว่าทำได้ถูกต้องตามขั้นตอน จากนั้นเมื่อผู้ดูแลออกไปจากห้องตรวจแล้ว ทางผู้ป่วยก็เล่าให้กับพยาบาลฟังว่า บางมื้อก็ฉีด บางมือก็ไม่ได้ฉีด บางครั้งเขาฉีดอินซูลินให้ตอนมื้อเช้า แต่มื้อเย็นไม่ได้ฉีด พยายามจึงทำการซักถามจากผู้ดูแลอีกครั้ง ก็ได้ความจากผู้ดูแลว่า ฉีดให้วันละครั้งเท่านั้นแหละ เท่านี้ก็ทำใจอยู่ตั้งนาน กลัวเข็มฉีดยามาก

กรณีที่ 9 เรื่องอื่นไม่เกี่ยว

สำหรับกรณีเคสซับซ้อน ” เป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องจริงหรือ? ” เคสนี้เป็นผู้ป่วยผู้หญิงอายุ 56 ปี เป็นหญิงรูปร่างสูงมาด้วยโรค Underlying Type 2 DM ซึ่งส่งมาจากทาง OPD MED เพื่อที่จะคุมในเรื่องของเบาหวาน เมื่อผุ้ป่วยนั้นเดินทางมาถึงที่คลินิกเบาหวานผู้ป่วยเริ่มเข้าข่ายซึมเศร้า ( ประเมินจาก 2Q แล้วพบว่าได้ค่าเป็น POSITIVE ) ทั้งนี้ทางผู้ป่วยยังได้เล่าอีกว่าตนเองนั้นไม่อยากที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป มีความรู้สึกกลุ้มใจเป็นอย่างมาก แจ้งกับทางทีม รักษาเสมอว่าตนเองนั้นมักจะมีปัญหาเรื่องของระบบขับถ่ายเป็น 10 ครั้งภายในระยะเวลา 1 ปี แต่ทางผู้รักษาก็ยังคงเฉย ๆกับสิ่งที่บอกไป ให้มาเพียงแค่ยารักษาโรคเบาหวานเท่านั้น มีบางคนที่อาจมองว่าโรคเบาหวานนั้นเป็นเรื่องเดียวที่ควรสนใจในวันนี้เรื่องอื่นไม่ต้องสนใจแต่สำหรับตนเองนั้นมักจะรู้สึกกลุ้มใจในเรื่องระบบขับถ่ายของตนเองเป็นอย่างมาก ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ส่งผลทำให้เขานั้นต้องลาออกจากงานเลยทีเดียว ที่ต้องลาออกเนื่องจาก ตนเองนั้นเกิดความเกรงใจต่อเพื่อนร่วมงาน ตนเองเกิดความรู้สึกไม่ดีกับตนเองราวกับตนเองนั้นไปเอาเปรียบเพื่อนร่วมงานทำให้ทางเจ้านายถึงขั้นแจ้งว่าให้ตนเองนั้นไปรักษาตนเองให้หายแล้วค่อยกลับมาเริ่มงานใหม่อีกรอบจะดีกว่า จากที่ได้ทำการตรวจสอบทางเวชระเบียนก็พบว่าทางผู้ป่วยเคยได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรค IBS มาแล้วเมื่อ 1 ปีก่อนหลังจากที่เคยได้เข้ารับการรักษาในครั้งนั้นเป็นครั้งแรก และก็ไม่เคยที่จะเข้ารับการรักษาส่วนนี้อีกเลย ทางด้านของผู้ป่วยนั้นก็มาตามนัดตรวจทุกครั้งเสมอและทุกครั้งที่มาก็จะได้รับยารักษาโรคเบาหวานเพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่เคยมีครั้งใดขาด ทางด้านพยาบาลจึงได้ทำการส่งตัวผู้ป่วยรายนี้ให้ไปพบกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้เฉพาะทางเพื่อที่จะเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ผู้ป่วยแต่ละคนล้วนมีความซับซ้อน ซึ่งก็จะต้องได้รับการดูแลผู้ป่วยและจัดการแบบรายบุคคลจึงจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้แก้ปัญหาของแต่ละคนให้ตรงจุดมากที่สุดนั่นเอง

กรณีที่ 10 พร้อมรับ-ส่งต่อหรือไม่

การจัดการเบาหวาน กรณีที่ 10สำหรับกรณีเคสผู้ป่วยซับซ้อนที่ “ มีการพร้อมรอรับและรอส่งหรือไม่? ” เคสนี้เป็นผู้ป่วยชายที่มีอายุ 72 ปี ถูกส่งมาจากทางด้านคลินิกเวชกรรมมาด้วยลักษณะอาการแขนและขาด้านซ้ายเกิดการอ่อนแรง อาการนี้เป็นมาเป็นระยะเวลานาน 2 วันก่อนมาถึงโรงพยาบาล แรกเริ่มเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยจากนั้นก็ถูกส่งต่อมาที่คลีนิกเบาหวาน ทางผู้ป่วยได้เล่าว่าเดิมนั้นตนเคยที่จะรักษาตัวที่โรงพยาบาลในช่วงเวลาหนึ่งแต่ต่อมาทางโรงพยาบาลกลับแจ้งว่าขณะนั้นมีปริมาณคนไข้ที่ค่อนข้างแออัดมากจึงได้ทำการส่งตัวตนเองมาที่คลินิกและหากเกิดมีอาการที่ดูแล้วผิดปกติก็จะให้กลับมาที่โรงพยาบาลใหม่อีกรอบ หลังจากที่ทางผู้ป่วยนั้นรักษาที่ตัวคลินิดแล้วก็ทำการลดนาประเภทยาละลายลิ่มเลือด หยุดทานยามานานถึง 1 ปี แล้วที่เป็นเช่นนี้นั่นเป็นเพราะการหย่ายาไม่ครบใช่หรือไม่?

กรณีที่ 11 ปากกาลืมไส้

ผู้ป่วยอายุ 86 ปี โดยเมื่อ 9 วันก่อนได้มาที่คลินิกเบาหวาน ด้วยภาวะ Hyperglycemia ผล Plasma Glucose 780 mg/dl ได้รับการรักษาด้วย Regular insulin แพทย์สั่งยากลับบ้าน Humulin 70/30 Cartridges 20-0-10 units แต่วันนี้มาในอาการที่ผู้ป่วยอ่อนเพลียมาก ไม่ค่อยมีแรง และได้บอกกับพยาบาลว่าไม่ได้ฉีดอินซูลินเลยเพราะไม่มียาในกล่อง โดยตอนรับยาก็คิดว่ามียาอยู่ในกล่องที่ใส่ปากกาไว้แล้วก็เลยไม่ได้ถาม ซึ่งเมื่อกลับไปถึงบ้านแล้วกลับพบว่าไม่มีหลอดยาอยู่ในปากกา แต่คิดว่าคงไม่เป็นไร เพราะอย่างไรก็รับประทานยาอยู่แล้ว 

กรณีที่ 12 แค่ทัพพีเดียว

สำหรับกรณีเคสผู้ป่วย “ ก็แค่ทัพพีเดียว!!! ” เคสนี้เป็นเคสชายไทยที่อายุ 64 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานมานานถึง 2 ปี มีผล Fasting Plasma Glucose 81 mg/dl HbA, C มีผล Chelesterol 144 mg/dl, มีผล Triglyceride 299 mg/dl ฯลฯ เมื่อได้ทำการสอบถามเกี่ยวกับประวัติของการทานอาหารนั้นผู้ป่วยนั้นได้ทำการยืนยันว่าตนเองก็ยังคงรับประทานอาหารตามปกติ ทาน 3 มื้อต่อวัน ในแต่ละมื้อก็ทานปริมาณของข้าวทัพพีเดียว ไม่ได้ทานพวกขนมจุกจิกเลย เลือกทานแต่ผลไม้ตามฤดูกาล และยังมีการพยายามที่จะควบคุมอาหารให้เป็นไปตามที่แพทย์และทางพยาบาลได้ให้คำแนะนำอยู่ตลอดเวลา ทางผู้ป่วยบอกว่าทางแพทย์นั้นได้ทำการแนะนำให้ตนเองนั้นทานข้าวในปริมาณที่น้อย ๆ ไว้ รับประทานเพียงแค่ 1 ทัพพีก็เพียงพอแล้ว รับประทานอาหารที่รสชาติไม่จัดเกินไปถ้าจะให้ดีไม่ควรเติมอเครื่องปรุงใด ๆ ลงไปเลย เวลาทานผลไม้ก็ควรทานเพียงแค่ 1-2 ลูก ผู้ป่วยเป็นคนที่อาศัยอยู่วัด ทานเพียง 1 ทัพพีจริงๆ แต่ขนาดทัพพีนี่ใหญ่มาก จากนั้นก็ได้ให้ดูภาพของขนาดทัพพีที่ผู้ป่วยควรทานซึ่งนั่นก็ดูเล็กกว่ามากพอสมควร ทำให้ต่างริ้องอ๋อกันใหญ่และทราบว่าทำไมผู้ป่วยนั้นถึงยังคงมีปริมาณน้ำตาลสะสมที่สูงมากอยู่ดี

กรณีที่ 13 เคร่งไปหรือเปล่า?

สำหรับกรณีเคสผู้ป่วยซับซ้อนต่อมาเป็นหญิงชาวจีนอายุ 75 ปีที่มีอาการป่วยเป็นโรคเบาหวานมานานถึง 20 ปีเลยทีเดียว และที่สำคัญยังมีระดับความดันโลหิตสูงนาน 10 ปี พบว่ามีโรคไตเรื้อรังอันเนื่องมาจากโรคเบาหวานร่วมด้วย เมื่อนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าได้ผล Microbuminuria ปริมาณ 357 mg/g , มี Triglyceride ปริมาณ 211 mg/dl, มี eGFR ปริมาณ 55 ml/min เข้ามารับการปรึกษาเพื่อที่จะทำการชะลอภาวะเสื่อมของไต เดินทางเข้ามาขอคำปรึกษาเพียงคนเดียวแถมยังไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้อีก พอจะฟังภาษาไทยได้บ้าง จำได้บ้าง หลังจากที่ทางทีมผู้ดูแลได้ให้คำอธิบายในเรื่องของโรคประจำตัว วิธีการรักษา ตัวของผู้ป่วยนั้นเกิดความวิตกค่อนข้างมากกว่าตอนแรกมา ทางด้านพยาบาลก็พยายามที่จะให้เสริมพลังแก่ผู้ป่วยเพื่อการดูแลตนเองให้เกิดความรู้สึกที่ดีขึ้น จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์ผู้ป่วยก็ได้กลับมาแจ้งกับทางพยาบาลว่า ได้ลองไปถามแพทย์ที่เป็นแพทย์ตรวจประจำว่าเขานั้นสามารถที่จะรับประทานอาหารแบบเดิมได้ตามปกติได้เลย เดิมที่เคยทานอาการเจในช่วงยามเช้าซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารประเภทหมัก ประเภทดองและเต้าหู้ประจำ ทางด้านพยาบาลจึงได้อธิบายผลการตรวจไตให้ทางผู้ป่วยทราบซึ่งผลนั้นอาจดูเหมือนจะปกติแต่หากลองคิดที่หน้าที่ที่ไตต้องทำจะพบว่าตอนนี้ไตนั้นก็เริ่ม ที่จะเสื่อม ดังนั้นควรที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทานอาหารใหม่จะดีสุด ควรทานตามแบบที่ได้แนะนำไป การทานแบบเดิมจะยิ่งเป็นการเร่งทำให้ไตนั้นเสื่อมเร็วกว่าเดิมยิ่งขึ้นและทั้งนี้ก็ได้ทำการทบทวนเกี่ยวกับเรื่องของคำแนะนำที่ให้ไปใหม่อีกครั้งหนึ่งทีนี้ดูมีทีท่าว่าผู้ป่วยดูเหมือนจะเริ่มมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นจากที่เคยเป็น

จากนั้นเมื่อผ่านไปอีก 1 เดือนผู้ป่วยกลับมาด้วยสภาพที่ดูแล้วอ่อนเพลียกว่าเก่าเมื่อสอบถามไปกลับพบว่าไม่ได้มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นแต่น้ำหนักกลับลดลงไปถึง 5 กิโลกรัม ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีความรู้สึกเครียดและกลัวที่จะต้องมาทำการล้างไตและยังได้พยายามที่จะลดอาหารที่อาจทานไปแล้วเกิดผลต่อไต เชื่อว่าหากทานน้อยไตก็จะทำงานน้อยลงด้วย ทานทุกอย่างที่คิดว่าจะบำรุงไตได้ นั่นจึงทำให้ทางพยาบาลจึงต้องทำการนัดเคสผู้ป่วยรายอื่นที่มีอายุและภาวะเสื่อมของไตในระดับใกล้เคียงกันมาพูดคุยกับผู้ป่วยรายนี้เพื่อที่จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนั่นเอง

กรณีที่ 14 หูตึงกับโรคไต

กรณีผู้ป่วยซับซ้อน แบบอาการหูตึงกับการป่วยเป็นโรคไต เคสนี้เป็นผู้ป่วยชาวไทย อายุ 74 ปีป่วยเป็นโรคเบาหวานมานานถึง 15 ปี ถูกส่งตัวมาเพื่อเข้ารับคำปรึกษาเรื่องของการชะลอภาวะเสื่อมที่บริเวณของไต พบว่า ตัวของผู้ป่วยนั้นมีบริมาณระดับโปรตีนที่รั่วมาทางการปัสสาวะค่อนข้างมาก ผู้ป่วยนั้นเลือกที่จะเดินทางมาคนเดียวแถมยังมีอาการหูตึงอีกด้วย เวลาจะคุยด้วยจะต้องตะโกน จะต้องพูดคุยแบบช้า ๆ นั่นก็เพื่อให้ตัวผู้ป่วยนั้นสามารถที่จะอ่านคำพูดของตัวพยาบาลได้ พยาบาลก็จะคอยให้คำแนะนำแก่ทางผู้ป่วยว่าควรที่จะต้องพาคนที่ดูแลมาด้วยจะดีกว่าด้วยเพราะเกรงว่าทางผู้ป่วยนั้นอาจจะเกิดการจำหรือทราบรายละเอียดของยาหรืออาการ การรักษาที่ไม่ครบถ้วน แต่ทางผู้ป่วยนั้นแจ้งว่าทางสามีนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนลูกก็มีอาการหูตึงหมด ทางด้านของลูกชายคนโตนั้นก็เป็นคนที่มีอาการหูตึงน้อยที่สุด ได้แต่งงานไปเรียบร้อยแล้วและแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหาก ส่วนลูกสาวอีกสองคนนั้นก็ขายของอยู่กับตนที่บ้าน เวลาจะทำการให้ลูกค้าสั่งอาหารก็จะเลือกให้ลูกค้าจดรายละเอียดแล้วก็ทำตามนั้น ทางด้านพยาบาลจึงได้ทำการติดต่อไปยังทางทีมอายุรแพทย์ที่ดูแลเรื่องโรคไตเพื่อที่จะขอเกี่ยวกับคำปรึกษาในประเด็นนี้ แต่กลับพบว่าทางผู้ป่วยนั้นยังไม่เคยมีประวัติรับยาประเภท Antioten Converting Enzyme Inhibitor และยาประเภท Angiotensin2 Receptor Blocker มาก่อน แถมยังมีการแจ้งกับทางอายุรแพทย์เพิ่มเติมด้วย เพราะ ด้วยปัจจัยที่ทางผู้ป่วยและบุตรนั้นเกิดอาการหูตึงกันทั้งหมดแบบที่ไม่สามารถทราบได้เลยว่าเป็นเพราะสาเหตุใดนั่นอาจจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับโรค ไตด้วยก็ได้ ทางด้านแพทย์จึงได้ขอนัดให้ลูกทั้งสามคนลองมาเข้ารับการตรวจปัสสาวะดูก่อน เนื่องจากหากผลการตรวจพบว่าเจอโปรตีนมีการรั่วไหลมาทางปัสสาวะนั่นย่อมหมายความว่าอาจเป็นเพราะการเกิดความผิดปกติในส่วนของพันธุกรรมจากการเกิดโกลเมอรูรัสนั่นเอง แต่เมื่อถึงวันตรวจจริงลูกทั้งสามคนไม่พบความผิดปกติใด ๆ

กรณีที่ 15 ปกติดีไม่เห็นเป็นไร

สำหรับกรณีซับซ้อนต่อไป คือ กรณีที่ก็มองเห็นได้ดีไม่ได้เป็นอะไร กรณีนี้เป็นกรณีของหญิงสาวที่อายุ 52 ปี ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมานานเพียง 3 ปีเท่านั้น เดิมเคยขรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล สามารถที่จะทำการควบคุมระดับความดันโลหิตได้เป็นอย่างดีและยังเคยมีประวัติเข้ารับการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อที่จะชะลอการเสื่อมที่บริเวณไตอีกด้วยซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้มีการกำหนดนโยบายกระจายเคสผุ้ป่วยไปยังคลินิกซึ่งเป็นคลินิกด้านในชุมชนนั่นจึงทำให้ผู้ป่วยรายนี้ถูกส่งตัวไปยังที่คลินิกชุมชนในเวลาต่อมานั่นเอง ผู้ป่วยรายนี้มีโรงพยาบาลด้วยอาการเหนื่อยหอบ ไม่สามารถนอนราบได้ มีปริมาณของโปแตสเซียมที่อยู่ภายในเลือดค่อนข้างสูงมาก

มีระดับภาวะของเสียที่อยู่ภายในเลือด ทำให้จำเป็นต้องเข้ารับการล้างไตแบบฉุกเฉินในทันที เมื่อลองทำการสอบถามทางผู้ป่วยก็พบว่าผู้ป่วยนั้นได้กลับไปรักษากับที่คลินิกด้วยการได้รับยาประเภทเดิมและทำการลดยาในบางส่วนที่เคยมีการได้ไปจากทางโรงพยาบาล ผู้ป่วยนั้นเกิดความรู้สึกในทันทีว่ายาที่ได้จากทางคลินิกนั้นไม่เหมือนกับทางโรงพยาบาลจึงได้นำตัวอย่างยาที่เคยได้จากทางโรงพยาบาลไปหาซื้อเองโดยไม่กลับไปยังคลินิกอีกเลย หลังจากนั้นก็ไม่เห็นเป็นอะไร ทุกอย่างดูปกติดี ทานอาหารได้เหมือนเดิมแต่สิ่งที่ไม่เคยทำเลยคือเรื่องของการวัดความดันโลหิตสูง จนต่อมาเริ่มมีอาการบวม ปัสสาวะได้น้อย ทำอะไรเล็กน้อยก็เหนื่อยง่ายจึงมาหาแพทย์ที่โรงพยาบาลอีกรอบจนท้ายที่สุดก็พบว่าเข้าสู่ภาวะไตวายระยะท้ายสุดเสียแล้วจึงจำเป็นต้องเข้ารับการฟอกไตทันที

จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยแต่ละคน ล้วนมีความซับซ้อน ซึ่งก็จะต้องได้รับการดูแลผู้ป่วยและจัดการแบบรายบุคคลจึงจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้แก้ปัญหาของแต่ละคนให้ตรงจุดมากที่สุดนั่นเอง และเนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีกรณีความซับซ้อนที่แตกต่างกันไป จึงต้องทำความเข้าใจและซักถามเพื่อประเมินการแก้ปัญหาพอสมควรเลยทีเดียว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง 

เอกสารอ้างอิง

ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559.

โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี ( Dementia with Lewy Body )

0
โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี (Dementia with Lewy Body)
โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน
โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี (Dementia with Lewy Body)
โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน

สมองเสื่อม ( Dementia )

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาหากพูดถึง โรคสมองเสื่อม ( Dementia ) เป็นคำที่เราคุ้นหูได้ยินกันบ่อย แต่หากพูดถึงโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ ( Dementia with Lewy Body ) หลายท่านคงอุทานว่า “ อะไรนะ ” “ โรคใหม่หรือไม่เคยได้ยิน ” คำตอบคือโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ไม่ได้เป็นโรคใหม่เลยถูกค้นพบมานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 หรือ พ.ศ. 2455

โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ ( Dementia with Lewy Body /DLB ) คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin ) เป็นก้อนโปรตีนสะสม ( Inclusion Body ) ในสมองส่วนเบซัล เรียกว่า มวลเลวี่ ( Lewy Body ) เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ค้นพบ คุณ ฟรีดริชไฮน์ริชเลวี่ มวลเลวี่ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อการทำงานของสมอง ทั้งด้าน ความคิด ความจำ การวางแผน การประมวลผลข้อมูล การเคลื่อนไหวร่างกาย รวมไปถึงความผิดปกติด้านพฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจ

โรคสมองเสื่อม เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในวัยสูงอายุทั้งเพศหญิงและเพศชาย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s Disease ) โรคพาร์กินสัน ( Parkinson’s Disease ) หลอดเลือดในสมองผิดปกติ ( VascularNeurocognitive Disorder ) มวลเลวี่ ( Lewy Body ) โรคสมองขาดเลือด ภาวะขาดวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี 3  วิตามินบี 12 เป็นต้น
งานการศึกษาวิจัยของประเทศสหราชอาณาจักรพบว่า จำนวนป่วยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีสูงเป็นอันดับสองรองจากป่วยโรคสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ โดยพบในผู้ป่วยเพศชายมากกว่าผู้ป่วยเพศหญิง สำหรับการศึกษาในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีน้อยกว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ( Dementia ) จากหลอดเลือดในสมองผิดปกติ

โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ ( Dementia with Lewy Body /DLB ) คือโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากการสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin ) เป็นก้อนโปรตีนสะสม ( Inclusion Body ) ในสมองส่วนเบซัล เรียกว่า มวลเลวี่ ( Lewy Body )

สาเหตุของโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่

1.โปรตีนเบต้าแอลมีลอยด์ ( Beta-Amyloid )

เกิดการสะสมที่ผิดปกติของโปรตีนเบต้าแอลมีลอยด์ ( Beta-Amyloid ) ระหว่างเซลล์สมองเช่นเดียวกับที่พบระหว่างเซลล์สมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

2.โปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin )

การสะสมตัวที่ผิดปกติของโปรตีนแอลฟ่าไซนิวคลีน ( Alpha Synuclin ) เป็นก้อนโปรตีนสะสม ( Inclusion Body ) เรียกว่า มวลเลวี่ ( Lewy Body ) พบที่สมองส่วนเบซัล

การวิเคราะห์แยกโรคสมองเสื่อมเบื้องต้น

เนื่องจากโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีและโรคสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน มีอาการหลายอย่างคล้ายกัน ในบางครั้งจึงเป็นการยากที่จะวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของอาการสมองเสื่อม อย่างไรก็ตามยังมีพอข้อสังเกตเพื่อการวินิจฉัยแยกโรคดังนี้

1.โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ ( Dementia with Lewy Body /DLB )

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี่ จะมีอาการพาร์กินสันและอาการสมองเสื่อมเกิดขึ้นร่วมกันในระยะเวลา 1 ปี โดยอาการสมองเสื่อมจะเกิดก่อนหรือหลังอาการพาร์กินสันก็ได้

2.โรคสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสัน ( Parkinson’s Disease Dementia )

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากโรคพาร์กินสันจะเริ่มมีอาการพาร์กินสันนำมาก่อนมากกว่า 1 ปี จึงเกิดภาวะสมองเสื่อม

อาการของโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี

ผู่ป่วยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีจะมีอาการที่ผิดปกติทั้งทางสมอง พฤติกรรม จิตใจ และอารมณ์ หลากหลายอาการและมีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายดังนี้

  • พฤติกรรม การประมวลความคิด การตัดสินใจ ที่แปรปรวน ( Fluctuation in Cognition ) ได้แก่ ความคิด การตัดสินใจ ผิดปกติ คิดหรือตัดสินเรื่องต่างๆไม่สมเหตุผลกับความเป็นจริง สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นครั้งคราวหรือบ่อยๆ บางทีก็มีสติดี เหมือนคนปกติ พูดจารู้เรื่อง บางทีสติไม่อยู่กับตัว พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่อยู่ในโลกความจริงไม่มีสมาธิ เดี่ยวดีเดี๋ยวร้าย บางทีสะลึมสะลือ มีอาการเหม่อลอย หลับบ่อยช่วงเวลากลางวัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะผันผวน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา อาการต่างๆอาจเกิดเพียงแค่ช่วงสั้นๆหรือยาวนานเป็นชั่วโมงจนถึงเป็นวันแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย
  • อาการประสาทหลอนหูแว่ว ( Hallucination ) เห็นภาพหลอน หูแว่วแต่มักไม่มีอาการหวาดกลัว เช่น เห็นนกบินไปมาในบ้าน เห็นคนห้อยหัวลงมาจากหลังคา แม้ผู้ป่วยจะรู้ว่าภาพที่เห็นไม่ใช่ของจริงแต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ผู้ป่วยจะบอกตัวเองว่าอย่าไปยุ่งกับมันเลย อย่ามอง แต่สุดท้ายก็ยังมองเห็นภาพหลอนอยู่อย่างนั้น

ผู้ป่วยบางรายอาจจะเห็นภาพเหมือนกับเด็กวิ่งไปวิ่งมา เห็นมดไต่อยู่ตามกำแพง เห็นดอกไม้กลายเป็นคน เห็นเป็นภาพแปลกๆ เป็นต้น หากผู้ป่วยเห็นภาพเดิมๆซ้ำๆอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง เดือนละ 4-5 ครั้ง เป็นเวลา 3-4 เดือนติดต่อกันถึงจะบอกได้ว่าเห็นภาพหลอนที่สงสัยเกิดจากมวลเลวี

  • พฤติกรรมอาร์บีดี ( RBD : Rapid Eye Movement Sleep Behavior Disorder ) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ( Dementia ) มักมีพฤติกรรมแปลกๆเกี่ยวกับการนอน มีอาการขากระตุกตอนกลางคืน เอะอะอาละวาด เดินละเมอ ตกเตียงกลางคืนบ่อยๆ ฝันร้ายบ่อยๆหลังจากเพิ่งหลับไม่นานหรือช่วงรุ่งสาง ไม่สามารถแยกแยะความจริงกับความฝัน คิดว่าฝันนั้นเป็นเรื่องจริง เช่น ฝันว่าน้ำท่วม เมื่อตื่นขึ้นมาก็โวยวายว่าน้ำท่วม ฝันว่าไปเที่ยวต่างประเทศ เมื่อตื่นขึ้นมาก็นึกว่ายังอยู่ในประเทศที่ฝันอยู่ ฝันว่าจะไปเที่ยวต่างจังหวัดก็ลุกขึ้นมาจัดกระเป๋าเดินทาง
  • กลุ่มอาการพาร์กินสัน ( Parkinsonism or Parkinson’s Disease Symptom ) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ( Dementia ) มักจะมีอาการของโรคพาร์กินสันร่วมด้วย การเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติเช่น ก้าวขา ยกขา เดิน ลำบาก ล้มง่ายล้มบ่อย ตัวสั่น ตัวแข็งเกร็ง รวมทั้งอาจมีอาการเป็นลม หมดสติบ่อยครั้ง
  • ความไวต่อยากลุ่มโรคจิตเภท Sensitivity to Nuroleptic ( Antipsychotic ) Drugs หากผู้ป่วย โรคสมองเสื่อม ( Dementia ) ได้รับยากลุ่มรักษาโรคจิตเภท ( Antipsychotic Agent ) ร่วมด้วย มักทำให้อาการพาร์กินสันแย่ลง จากผลข้างเคียง ( Side Effect ) ของยาทำให้ผู้ป่วยมีอาการตัวแข็ง เกร็ง เพิ่มขึ้นบ่อยขึ้น ตัวร้อน ไข้ขึ้นสูง ร่วมถึงอาการประสาทหลอนเพิ่มขึ้น หากผู้ป่วยมีปัญหาตามัวจากต้อกระจกหรือสาเหตุอื่นอยู่แล้ว อาการเห็นภาพหลอนแบบแปลกๆ จะเพิ่มมากขึ้น เช่น เห็นคนตัวเล็กคลานเข้าไปผ่านรูกุญแจตู้แล้วขโมยสร้อยไขมุกออกมา
  • กลุ่มอาการทางจิตเวชอื่นๆ ( Other Psychiatric Disturbances ) ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิตประสาทอื่นๆร่วมด้วย นอกจากอาการประสาทหลอน เช่น ซึมเศร้า ก้าวร้าว

การวินิจฉัยโรคโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี

พบว่าการสืบค้นด้วยภาพถ่าย CT Scan และ MRl Scan จะไม่ช่วยในการวินิจฉัยมากนัก แต่ถ้าใช้การสืบค้นชั้นสูงด้วยภาพถ่ายการทำงานของสมอง ( Functional Imaging ) จะพบสมองกลีบท้ายทอย ( Occipital Lobe ) ที่เกี่ยวกับการเห็นทำงานลดลง ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยอีกทั้งยังพบการทำงานของปมประสาทเบซัล ( Basal Ganglia ) ทำงานผิดปกติอีกด้วย

การตรวจการทำงานของการดมกลิ่นของระบบประสาทอัตโนมัติ ( ที่ควบคุมความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น ) ก็จะพบความผิดปกติได้ แม้ว่าผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ท้องผูกบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่บางครั้ง หรือไม่ได้กลิ่นหอมของอาหาร มีรายงานว่า ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องผูกนำมาก่อนอาการอื่นหลายๆปีได้

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี

ลักษณะทางคลินิก

  • มีอาการสมองเสื่อมที่มีผลให้การประกอบกิจวัตรประจำวันบกพร่อง

ลักษณะที่สำคัญ

  • การรู้คิดการตัดสินใจ การใช้เหตุผล สติสัมปชัญญะผิดปกติ ( Fluctuation in Cognition )
  • อาการเห็นภาพหลอนที่เกิดซ้ำบ่อยๆ ( Hallucination )
  • มีอาการแสดงของพาร์กินสัน ( Parkinsonism or Parkinson’s Disease Symptom )

ลักษณะชี้นำอย่างยิ่ง

  • มีอาการโรคพฤติกรรมการหลับในช่วงอาร์อีเอ็ม ( Rapid Eye Movement Sleep Behavior Disorder )
  • เกิดผลข้างเคียง ( Side Effect ) จากยารักษาโรคจิตเภท อาการพาร์กินสันแย่ลง โดยจะมีไข้ ตัวแข็งเกร็ง หรือชักได้
  • ผลตรวจภาพถ่ายการทำงานของสมอง ( Functional Imaging ) พบปมประสาทเบซัลทำงานลดลง

ลักษณะที่สนับสนุนการวินิจฉัย

  • หกล้มบ่อย เป็นลมบ่อย หมดสติชั่วคราว
  • ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เช่นกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ความดันโลหิตตกเมื่อลุกยืน
  • มีอาการคิดผิดหลงผิดอย่างเป็นระบบ
  • ภาพถ่ายการทำงานของสมองพบกลีบสมองท้ายทอยทำงานลดลง
  • มีอาการซึมเศร้า
  • เนื้อสมองกลีบขมับด้านในจะไม่ฝ่อในระยะแรกของการดำเนินโรค

ลักษณะที่คัดค้านการวินิจฉัย

  • มีโรคหลอดเลือดสมองที่อธิบายอาการได้
  • มีอาการแสดงพาร์กินสันในสมองเสื่อมระยะรุนแรง

การรักษาโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี

ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การรักษาอาการทางสมองและการรักษาอาการทางจิตประสาท

1.การรักษาอาการทางสมอง

  • การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้คล้ายๆกับการรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือรักษาด้วยยาที่เพิ่ม “ สารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน ” ( Acetylcholine ) ในสมอง ( Cholinesterase Inhibitor )
  • การรักษากลุ่มอาการของพาร์กินสัน เพื่อให้คนไข้มีอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง สั่น ลดลง สามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามแพทย์ต้องใช้ยาอย่างระมัดระวัง เพราะถ้าให้ยารักษาพาร์กินสันมากไป ผู้ป่วยก็จะยิ่งเห็นภาพหลอนเพิ่มมากขึ้นได้ เพราะผู้ป่วยจะไวต่อยามาก ทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยา เช่น ง่วงซึม ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุของอาการหลับบ่อยในช่วงกลางวัน ( Excessive Daytime Sleepiness : EDS )

2.การรักษาอาการทางจิตประสาท

  • การรักษาอาการประสาทหลอนด้วยยากลุ่มรักษาโรคจิตเภท ( Antipsychotics ) บางครั้งถ้าผู้ป่วยเห็นภาพหลอนจนเกิดอาการหวาดกลัว หรือคิดว่าสิ่งที่เห็นเป็นจริงก็ต้องรักษาให้อาการคิดผิดหลงผิดหายไป หรือถ้ามีการเอะอะโวยวาย นอนตกเตียงตอนกลางคืน หรือเดินละเมอ ก็อาจต้องให้ยารักษาพฤติกรรมตอนกลางคืนด้วยแต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่มนี้ พบว่ามากกว่า 50% ของผู้ป่วยอาจทำให้อาการทางพาร์กินสันแย่ลงเช่นกัน
  • การรักษาอาการซึมเศร้าด้วยยารักษาอาการซึมเศร้า ( Antidepressant ) ด้วยโดยมีข้อพึงระวังคือหากให้ยารักษาซึมเศร้ามากไปก็จะต้านฤทธิ์ของยาพาร์กินสันทำให้อาการแข็งเกร็งมีมากขึ้น ดังนั้นการให้ยาจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ปัจจุบันมียาต้านเศร้ากลุ่มใหม่ออกมา ซึ่งสัมพันธ์กับสารเมลาโทนินที่ช่วยให้หลับได้ดี ยาต้านเศร้ากลุ่มนี้จะช่วยให้พฤติกรรมช่วยกลางคืนหมดไป หลับได้ดีตอนกลางคืนและตื่นรู้ตัวมีสติตอนกลางวัน

คำแนะนำสำหรับญาติและผู้ดูแลผู้ป่วย

1.ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วย ควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม จากแพทย์ผู้ทำการรักษา หรือแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น หนังสือ แผ่นพับ ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเรื่องการดูแลผู้ป่วย เพื่อหาวิธีรับมือกับปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น

2.รับรู้และความเข้าใจ ถึงพฤติกรรมและอาการทางจิตประสาทต่างๆ ผู้ป่วยที่ผิดปกตินั้นเกิดจากการเสื่อมของสมอง ผู้ป่วยไม่มีความตั้งใจที่จะให้เกิดพฤติกรรมหรืออารมณ์ต่างๆ

3.ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยพยายามทำจิตใจให้แจ่มใส มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วย พูดคุย ดูแลผู้ป่วย ด้วยอารมณ์ที่แจ่มใส ยิ้มแย้ม จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอารมณ์และสุขภาพจิตที่ดีข้นเพื่อต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่

4.การจัดสถานที่ของผู้ป่วยให้โล่ง โปร่ง สบาย อากาศถ่ายเทสะดวก สะอาดตา เป็นระเบียบ มีแสงสว่างเพียงพอ ถ้าผู้ป่วยเห็นภาพหลอน ญาติต้องปรับสิ่งแวดล้อมในบ้านให้สว่างขึ้น ถ้าเป็นแสงสลัวๆ ผู้ป่วยอาจแปลภาพที่เห็นผิดไป ต้องจัดบ้านให้มีแสงสว่างมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยแปลความหมายของภาพได้ถูกต้อง นอกจากนี้การดูแลเรื่องความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า ของผู้ป่วยก็มีความสำคัญเช่นกันเนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่สามารถดูแลตนเองได้

5.อาหารการกินถูกหลักโภชนาการ ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและส่งเสริมให้เกิดความแข็งแรงของร่างกาย รวมถึงการให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเพื่อป้องกันไม่ให้แขนขาอ่อนแรง สามารถเคลื่อนไหวหรือเดินได้ดีขึ้น

โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวี ผู้ป่วยมีอาการความผิดปกติของสมองทั้งด้านความคิด ความจำ การใช้เหตุผล การเคลื่อนไหวร่างกาย และอาการทางจิตประสาท เช่น ประสาทหลอน หูแว่ว โดยอาการชี้นำสำคัญในการวินิจฉัยโรค ได้แก่ มีอาการโรคพฤติกรรมการหลับในช่วงอาร์อีเอ็ม ( Rapid Eye Movement Sleep Behavior Disorder ) ภาพถ่ายการทำงานของสมอง ( Functional Imaging ) พบปมประสาทเบซัลทำงานลดลง

แม้ว่าโรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่ก็สามารถควบคุมอาการต่างๆได้ ให้ผู้ป่วยกลับมามีชีวิตใหม่ คุณภาพชีวิตทีดีขึ้นอีกครั้งด้วยความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการรักษาทั้งจากผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และทีมงานแพทย์

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

“NINDS Dementia With Lewy Bodies Information Page”. NINDS. 2 November 2015. Archived from the original on 9 August 2016. Retrieved 3 October 2016.

“Common Symptoms”. NIA. 29 July 2016. Archived from the original on 3 October 2016. Retrieved 3 October 2016.

Simard M, van Reekum R, Cohen T (2000). “A review of the cognitive and behavioral symptoms in dementia with Lewy bodies”. J Neuropsychiatry Clin Neurosci. 12 (4): 425–50. doi:10.1176/jnp.12.4.425. PMID 11083160.

“The Basics of Lewy Body Dementia”. NIA. 29 July 2016. Archived from the original on 6 October 2016. Retrieved 3 October 2016.

Dickson, Dennis; Weller, Roy O. (2011). Neurodegeneration: The Molecular Pathology of Dementia and Movement Disorders (2nd ed.). John Wiley & Sons. p. 224. ISBN 9781444341232. Archived from the original on 2016-10-03.

วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคข้อและกระดูก

0
วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคข้อและกระดูก
ร่างกายของคนเรามีการสร้างกระดูกและการทำลายกระดูกไปพร้อมๆ กัน ในร่างกายของคนปกติจะมีกระบวนการสร้างและการทำลายกระดูกเกิดขึ้นตลอดเวลา
วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคข้อและกระดูก
กระดูกคอ เป็นกระดูกส่วนที่สามารถเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทุกทาง ส่งผลให้กระดูกคอมีความเสื่อมและรู้สึกปวดได้มากกว่ากระดูกส่วนอื่น

กระดูก

คุณรู้หรือไม่ว่า ร่างกายของคนเรามีการสร้าง กระดูก และการทำลายกระดูกไปพร้อมๆ กัน ในร่างกายของคนปกติจะมีกระบวนการสร้างและการทำลายกระดูกเกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งการเกิดกระบวนการทั้งสองจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในวัย หนุ่มสาวการสร้างและการทำลายเพื่อสร้างสมดุลของประมาณกระดูกในร่างกายทำให้กระดูกมีความแข็งแรงอยู่เสมอ แต่เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุกระบวนการสร้างจะมีการสร้างเนื้อกระดูกลดลง และทว่ากระบวนการทำลายเนื้อกระดูกกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลให้ผู้สูงอายุมีโอกาสที่กระดูกจะเกิดความเสื่อมทรุดโทรมหรือเปราะแตกหักได้ง่ายขึ้น อวัยวะที่เกิดการเสื่อมที่พบได้บ่อยมากๆ คือ ข้อมือ สะโพกและส่วนของกระดูกสันหลัง เรามาทำความรู้จักกับอวัยวะที่เกิดความเสื่อมแต่ละส่วนกัน ดังนี้

อวัยวะที่เกิดความเสื่อมในร่างกาย

1. กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง คือ กระดูกที่เป็นแกนหลังของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมนุษย์เราก็จัดเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกัน กระดูกสันหลังคือส่วนของกระดูกตั้งแต่ต้นคอลงมาถึงก้น มีลักษณะแอ่นที่บริเวณคอกับเอว โค้งที่บริเวณทรวงอกกับก้อนกบ ซึ่งแต่ละอวัยวะจะสามารถเคลื่อนไหวได้ในทิศทางที่แตกต่างกัน

  • กระดูกคอ เป็นกระดูกส่วนที่สามารถเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทุกทาง คือ ก้ม เงย หมุนขวาหรือหมุนซ้าย ตะแคงขวาหรือซ้าย ด้วยการที่กระดูกคอสามารถเคลื่อนไหวได้มากทุกทิศ ส่งผลให้กระดูกคอมีความเสื่อมและรู้สึกปวดได้มากกว่ากระดูกส่วนอื่น ซึ่งสาเหตุมักมาจากการที่เรานั่ง นอนหรือทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นส่วนมาก
  • กระดูกทรวงอก เป็นกระดูกที่เคลื่อนไหวได้น้อยมาก คือ ทำได้แค่หมุนหรือบิดไปทางขวาหรือทางซ้ายเท่านั้น จึงเกิดการสึกหรอได้น้อย
  • กระดูกเอว เป็นกระดูกที่มีการเคลื่อนไหวได้มากพอๆ กับกระดูกคอ คือ หมุนขวาซ้าย ก้มหรือเงย จึงเกิดการสึกหรอได้มากเช่นกัน

2. หมอนรองกระดูก

หมอนรองกระดูก เป็นเนื้อเยื่อที่มีความยืดหยุ่นทำหน้าที่รองรับหรือลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกสันหลังสองชิ้นที่อยู่ติดกัน จะมีลักษณะประกบกันอยู่โดยมีตัวยึดอยู่เพียง 4 จุดเท่านั้น บริเวณตรงกลางของหมอนรองกระดูกจะเป็นส่วน ของศูนย์รวมเส้นประสาท หมอนรองกระดูกจะเสื่อมอยู่ตลอดเวลาหลังจากที่มีการพัฒนาจนเต็มที่แล้ว นั่นคือเมื่ออายุประมาณ 25 ปีขึ้นไป หมอนรองกระดูกจะเริ่มเสื่อมแล้ว และยิ่งน้ำมีน้ำหนักตัวสูง นั่ง นอน ทำงานที่ต้องยกของหนักนานๆ ก็จะยิ่งทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้นด้วย ถ้าอยู่ในสภาวะปกติหมอนรองกระดูกจะเสื่อมลงประมาณ 4 เซนติเมตร ทำให้เมื่อแก่ตัวลงความสูงจะลดลงประมาณ 4 เซนติเมตรนั่นเอง แต่ถ้ามีภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมเกิดขึ้นผิดปกติ หมอนรองกระดูกก็สามารถเสื่อมมากกว่า 4 เซนติเมตรส่งผลให้คนเตี้ยลงและลงพุงได้

3. เส้นประสาทคอ

เส้นประสาทคอ เส้นประสาทคอประกอบด้วยเส้นประสาท 8 คู่ ดังนั้นถ้าเกิดภาวะกระดูกคอเสื่อมเกิดขึ้นจะทำให้เกิดภาวะปวดตามจุดต่างๆ ดังนี้

คู่ที่ 1 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่บริเวณศีรษะ
คู่ที่ 2 จะเกิดอาการปวดที่บริเวณหลังหู กระบอกตาและขมับ
คู่ที่ 3 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่ต้นคอ
คู่ที่ 4 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่สะบัก
คู่ที่ 5 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่บ่าและบริเวณไหล่
คู่ที่ 6 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่ต้นแขนทั้งสองข้าง
คู่ที่ 7 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่ปลายแขนทั้งสองข้าง
คู่ที่ 8 จะส่งผลให้เกิดอาการปวดที่มือทั้งสองข้าง

4. เส้นประสาทเอว

เส้นประสาทเอว ประกอบด้วยเส้นประสาททั้งหมด 5 คู่ ถ้ากระดูกเอวเกิดการเสื่อมจะส่งผลให้เกิดอาการปวดตามจุด ดังนี้

เส้นประสาทคู่ที่ 1 จะมีอาการปวดที่บริเวณเอว
เส้นประสาทคู่ที่ 2 จะมีอาการปวดที่บริเวณโคนขาหรือต้นขา
เส้นประสาทคู่ที่ 3 จะมีอาการปวดที่บริเวณหัวเข่าทั้งสองข้าง
เส้นประสาทคู่ที่ 4 จะมีอาการปวดที่บริเวณน่อง
เส้นประสาทคู่ที่ 5 จะมีอาการปวดที่บริเวณเท้าทั้งสองข้าง

การที่อวัยวะมีการใช้งานที่มากหรือมีการใช้งานอวัยวะอย่างผิดท่วงท่า ทั้งการเดิน การยืน การนั่งและการนอน ซึ่งทุกท่วงท่าที่เราทำในกิจวัตรประจำวันต่างส่งผลให้กระดูกมีความเสื่อมมากขึ้นทุกครั้ง ดังนั้นการป้องกันไม่ให้กระดูกสึกหรอเราควรที่จะนั่ง ยืน นอนและทำงานด้วยท่าทางที่ถูกต้อง

วิธีการป้องกันไม่ให้กระดูกสึกหรอ

1. การนอน

การนอน การนอนเป็นกิจกรรมที่มนุษย์เราทำมากที่สุด โดยเราจะนอนประมาณวันละ 5 – 8 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าเรานอนด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องย่อมส่งผลให้กระดูกเกิดความเสื่อมมากกว่าปกติ และที่นอนก็ควรเป็นที่นอนที่นอนแล้วจมลงประมาณ 1-2 เซนติเมตรเท่านั้น และที่นอนควรทำมาจากใยมะพร้าว เพราะใยมะพร้าวสามารถระบายอากาศได้ดี ลักษณะของท่านอนที่เหมาะสม คือ

  • นอนหงาย การนอนหงายถ้าเรานอนบนราบบนที่นอนโดยไม่มีหมอนรองคอและเข้า จะพบว่าที่บริเวณหลังจะแอ่นทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมมากขึ้น ดังนั้นการนอนหงายที่เหมาะสมต้องมีหมอนรองคอไม่สูงมากให้เท่ากับช่วงช่องว่างระหว่างที่นอนถึงต้นคอ และนำหมอนมาลองบริเวณเข้าหรือใต้โคนขาให้ยกสูงขึ้นจากพื้น ซึ่งการนอนแบบนี้จะทำให้ส่วนของหลังราบไปกับพื้นที่นอนไม่แอ่นช่วยลดความเสื่อมของกระดูกสันหลังได้
  • นอนตะแคง จากการศึกษาพบว่าการนอนตะแคงเป็นท่านอนที่ดีที่สุด เพราะว่าการนอนตะแคงหลังจะตรง ถ้าจะให้ดีที่สุดให้นอนตะแคงพร้อมกับกอดหมอนข้างใบใหญ่ๆ ขาที่อยู่ด้านล่างให้เหยียดตรงขนานกับหมอนข้าง ขาที่อยู่ด้านบนให้ยกก่ายบนหมอนข้าง จึงจะเป็นท่าการนอนตะแคงที่เหมาะสมที่สุด
  • นอนคว่ำ เป็นท่านอนที่ไม่ดีต่อร่างกาย เพราะการนอนคว่ำกระดูกสันหลังจะแอ่นมากส่งผลให้มีอาการปวดหลังเกิดขึ้นโดยเฉพาะบริเวณเอว ทำให้กระดูกสันหลังมีความเสื่อมเกิดขึ้นมากและการนอนคว่ำยังทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพออีกด้วย

นอกจากท่าการนอนที่ต้องระวังให้เหมาะสมแล้ว ขั้นตอนการลุกขึ้นจากที่ท่านอนก็สำคัญเช่นกัน การลุกขึ้นจากที่นอนไม่ควรสปริงตัวลุกขึ้นตรงๆ อย่างรวดเร็วเพราะการลุกแบบนั้นจะส่งผลให้กระดูกสันหลังสึกหรอเพิ่มขึ้น การลุกขึ้นจากที่นอนถ้านอนหงายให้เปลี่ยนเป็นท่านอนตะแคง งอเข่าทั้งสองข้า แล้วค่อยใช้ศอกและมือที่อยู่ด้านล่างดันตัวลุกขึ้นจากที่นอน และค่อยๆ ลดขาลงจากที่นอนวางกับพื้นจนอยู่ท่านั่งตัวตรงบนที่นอน แล้วค่อยๆ ดันตัวลุกขึ้นโดยควรให้หลังตั้งตรงในขณะที่ดันตัวลุกขึ้น ส่วนการนอนก็ควรทำเหมือนการลุกขึ้นเพียงแต่ทำย้อนกลับ คือ นั่งบนที่นอน ลงนอนตะแคงแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นท่านอนที่ต้องการต่อไป

ร่างกายของคนเรามีการสร้างกระดูกและการทำลายกระดูกไปพร้อมๆ กัน ในร่างกายของคนปกติจะมีกระบวนการสร้างและการทำลายกระดูกเกิดขึ้นตลอดเวลา

2. การดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือ

การดูโทรทัศน์หรือการอ่านหนังสือควรจะนั่งอ่านจะดีกว่าการนอนอ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ เพราะว่าการนอนจะทำให้เราเกร็งคอและกระดูกสันหลังเกิดการโค้งหรือแอ่นส่งผลให้หมอนรองกระดูกเสื่อมมากขึ้น

3. การนั่ง

  • อ่านหนังสือหรือทำงาน ท่านั่งที่เหมาะสมควรนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิง ท่านั่งที่เหมาะสม คือ นั่งให้เต็มก้น หลังตั้งตรงพิงกับพนักพิง เท้าวางบนพื้นแบบเต็มๆ นอกจากท่านั่งที่ดีเหมาะสมแล้วเก้าอี้ที่นำมานั่งควรมีความสูงพอดีให้สามารถวางเต็มฝ่าเท้าบนพื้นได้ ที่นั่งสามารถรองรับก้นได้ทั้งหมดและถ้ามีขนาดกว้างรองมาถึงใต้เข่าก็จะมีมาก พนักพิงทำมุมเอียง 110 องศากับพื้นที่นั่งของเก้าอี้

นอกจากเก้าอี้ที่ใช้นั่งแล้วโต๊ะทำงานก็ควรเหมาะสมกับการใช้งานด้วย คือ โต๊ะทำงานควรมีความลาดเอียงเข้าหาคนนั่งจะดีเพราะเวลานั่งทำงานหรืออ่านหนังสือจะได้ไม่ต้องก้มคอมากนขณะที่ทำงานหรืออ่านหนังสือ

  • การนั่งหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ดีด ปัจจุบันนี้คนต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ดีดกันวันละหลายชั่วโมง บางคนนั่งด้วยท่าที่ผิด กระดูกจึงเกิดสึกหรอมากเพราะนั่งเป็นเวลานาน การนั่งที่เหมาะสมสำหรับการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์คือ หน้าจอต้องอยู่ระดับสายตาของผู้ทำงาน ระยะห่างประมาณ 2-3 ฟุต ควรมีแผ่นกรองแสงเพื่อช่วยกรองแสงที่เป็นอันตรายต่อดวงตาก็จะดีเป็นการช่วยถนอมสายตา คีย์บอดหรือแป้นพิมพ์ควรอยู่ระดับเอวหรือเหนือหน้าตักเล็กน้ย ไม่ควรวางแป้นพิมพ์บนโต๊ะทำงานที่มีความสูงกว่าระดับเอวเพราะเวลาที่พิมพ์จะต้องยกไหล่ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดไหล่
  • การนั่งของผู้บริหาร ส่วนมากเก้าอี้สำหรับผู้บริหารมักเป็นเก้าที่สามารถเอนไปข้างหลังได้มากและนุ่มสบาย การที่เก้าอี้สามารถเอนไปข้างหลังได้นั้นทำให้เวลาที่ต้องทำงานหรือดูเอกสารบนโต๊ะจะต้องก้มหน้ามากกว่าการนั่งเก้าอี้ปกติคล้ายกับเวลาที่เราหนุนหมอนสูงๆ นั่นเอง ดังนั้นเก้าอี้สำหรับผู้บริหารควรสูงกว่าศีรษะเพื่อที่จะได้รองรับศีรษะได้ทั้งหมดเวลาที่พิงเก้าอี้และที่บริเวณคอควรนูนขึ้นมาเพื่อรองรับกระดูกบริเวณช่วงต้นคอ เวลาที่ต้องการลูกขึ้นจากที่นั่งไม่ควรลุกขึ้นทันทีจากเก้าอี้ ให้เลื่อนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อที่ขาจะได้วางบนพื้นได้อย่างมั่นคง แล้วค่อยๆ เท้าแขนกับที่วางแขนยันตัวลุกขึ้นจากเก้าอี้
  • การนั่งขับรถยนต์ รถยรต์เป็นพาหนะที่ใช้กันมาก บางคนต้องนั่งขับรถนานหลายชั่วโมงเพราะสภาพการจราจรที่ติดขัด ท่านั่งขับรถยนต์จึงสามารถช่วยลดการสึกหรอของกระดูกได้เช่นกัน ท่านั่งขับรถยนต์ที่เหมาะสมให้เลื่อนเก้าอี้เข้ามาใกล้พวงมาลัยให้พอดีกับช่วงที่เท้าสามารถเหยียบคลัชน์และคัดเร่งได้เต็มเท้า คือเลื่อนที่นั่งคนขับเข้าใกล้พวงมาลัยจนเข่าสูงกว่าหน้าตักเล็กน้อย เวลาขับรถจะได้ไม่ต้องใช้เพียงปลายเท้าเหยียบคลัชน์หรือคันเร่งเท่านั้นพนักพิงไม่ควรเอนเกิน 110 องศาเพราะจะทำให้ต้องเกร็งช่วงหลังมากกว่าปกติ เบาะที่นั่งไม่ควรนิ่มจนเวลานั่งเกิดการยุบตัวลงไปมากๆ ให้ยุบตัวได้เล็กน้อย เวลาที่ต้องการเข้าไปนั่งขับรถยนต์ให้หันหลังให้กับเบาะและทำการนั่งลงไปแล้วค่อยหมุนหน้าเข้าหาพวงมาลัยในภายหลัง ส่วนการออกนอกรถให้หมุนตัวเอาขาออกจากนอกรถก่อนแล้วค่อยดันตัวลุกขึ้นจากเบาะรถ

4. การเลื่อนสิ่งกีดขวาง

บางครั้งเมื่อเราจอดรถไว้ในที่จอดรถแล้วมีรถมาจอดขวางหน้ารถ เราก็ต้องทำการเลื่อนรถออกไปหรือการลากสิ่งกีดขวางต่างๆ เราสามารถทำได้สองแบบ คือ 

  • การดัน การดันให้ใช้อวัยวะส่วนก้นดัน โดยให้หันหลังให้กับสิ่งของนั้น แล้วใช้ส่วนก้นสัมผัสกับสิ่งของหรือรถแล้วค่อยๆ ออกแรงที่ละน้อยจนกระทั่งรถเกิดการเคลื่อนที่ไป อย่างใช้แขน เอวหรือหลังในการดันสิ่งของหรือรถ
  • การดึง การฉุดหรือลากวัตถุให้เราหันหลังให้วัตถุที่ต้องการลาก แล้วใช้มือเอื่อมไปข้างหลังแล้วค่อยๆ ออกแรงดึง

5. การไอหรือจาม

เวลาที่เราไอหรือจามจะมีแรงกระแทกต่อทรวงอก ซึ่งแรกกระแทกนี้จะทำให้กระดูกเกิดการสึกหรอ ดังนั้นเวลาไปหรือจามให้อยู่ในท่าหลังตรง ใช้มือดันหลังไว้หนึ่งมือเพื่อช่วยลดแรงกระแทกขณะที่ไอหรือจาม และอีกมือให้นำมาปิดปากกับจมูกไว้ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

6. กิจกรรมในห้องน้ำ

การอาบน้ำแปรงฟันเป็นกิจกรรมที่ต้องทำในทุกวัน การอาบน้ำควรนั่งบนเก้าอี้หรือยืนอาบน้ำได้ทั้งสองอย่างและเวลาที่ต้องการถูสบู่หรือทำความสะอาดร่างกาย ให้ใช้วิธีการยกขาขึ้นมาทำความสะอาด ห้ามก้มหลังเพื่อไปทำความสะอาดร่างกายส่วนล่าง เพื่อลดความเสื่อมของกระดูกที่เกิดขึ้น และเวลาแปรงฟัน ให้ยืนหรือนั่งหลังตรงอย่าก้มหน้าแปรงฟันก็จะช่วยลดการสึกหรอของกระดูกได้เช่นกัน การนั่งส้วมควรนั่งบนโถชักโครงทั้งหมด อย่านั่งเพียงครึ่งเดียวหรือนั่งไม่เต็มก้น นั่งหลังตรงและไม่ควรอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ขณะนั่งส้วม

7. การยืน

ท่ายืนที่เหมาะสมคือหลังตรง หน้าตรงจะดีที่สุด สำหรับคนที่ต้องยืนเป็นเวลานาน อย่างคนที่เป็นยามควรจะมีตั่งที่สูงประมาณครึ่งน่องไว้สำหรับผ่อนคลายกล้ามเนื้อและกระดูกขา โดยให้ทำการยกเท้าขวาขึ้นวางไว้สักพักและสลับเอาเท้าซ้ายยกขึ้นแทนเท้าขวา เพราะว่าเวลาที่เรางอสะโพกหรือหัวเข่า กระดูกสันหลังขอเราจะตั้งตรงไม่งอหรือแอ่น ลดอาการปวดหลังเนื่องจากการยืนเป็นเวลานาน

ท่าออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงลดการสึกหรอของกระดูก

นอกจากการใช้ท่าทางในการทำกิจกรรมให้ถูกต้องเหมาะสมแล้ว การออกกำลังหรือการทำกายบริหารก็สามารถช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกเสื่อมได้ด้วย โดยเชื่อว่าถ้าเราทำให้กล้ามเนื้อทุกส่วนมีความแข็งแรงเท่า ๆ กัน เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงจะช่วยรองรับและลดการเสียดสีของกระดูกให้น้อยลง ความเสื่อมของกระดูกจึงลดลง แล้วการออกกำลังที่ช่วยลดความเสื่อมของกระดูก ซึ่งวันนี้เราได้นำท่าออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงเพื่อช่วยลดการสึกหรอของกระดูกจำนวน 6 ท่า คือ 

1. บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง

  • ท่าเริ่มต้น นอนหงาย งอเข่าทั้งสองข้างขึ้น สอดมือไว้ใต้คอ เริ่มออกกำลังด้วยการยกศีรษะขึ้นเล็กน้อยพร้อมกับทำการเหยียดขาให้ตรงเท่าที่จะทำได้ นับ 1-5 กลับสู่ทางเริ่มต้น ทำซ้ำ 6 ครั้ง
  • ท่าเริ่มต้น นอนหงาย งอเข่าทั้งสองข้างขึ้น นำขาขวาไขว่ทับขาซ้าย เริ่มออกกำลังด้วยการยกข้อศอกและลำตัวขวาเอียงเข้าหาขาซ้าย นับ 1-5 ทำทั้งซ้ายและขวาจนครบข้างละ 6 ครั้ง
  • ท่าเริ่มต้น นอนหงาย สอดมือไว้ใต้คอ เริ่มออกกำลังด้วยการยกขาซ้ายขึ้น เหยียดตรง บิดสะโพกไปทางขวา นับ 1-5 ทำซ้ำ 6 ครั้ง และสลับยกขาขวาและบิดสะโพกไปทางขวา นับ 1-5 ทำซ้ำ 6 ครั้ง
  • ท่าเริ่มต้น นอนหงาย มือกอดอก ยกก้นให้สูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อย เกร็งกล้ามเนื้อก้น บริเวณหลังต้องแนบอยู่กับพื้นห้ามยกหลังตามก้นขึ้นมา นับ 1-5 ทำซ้ำ 6 ครั้ง

2. การบริหารกล้ามเนื้อหลัง

ท่าช่วยให้กล้ามเนื้อหลังมีความแข็งแรง โดยนอนหงาย ยกเข่างอขึ้นทั้งสองข้าง เอามือสอดใต้เข่าแล้วค่อย ๆ ดึงเข่ามาชิดบริเวณหน้าอก

3. การบริหารกล้ามเนื้องอของสะโพก

ท่าช่วยบริหารกล้ามเนื้อสะโพกให้มีความแข็งแรง ลดอาการปวดเอวได้เป็นอย่างดี โดยนอนหงาย ยกเข่าข้างขวาขึ้น เอามือสอดใต้เข่าที่ยกขึ้นมาพร้อมทั้งดึงเข้าหาบริเวณหน้าอก นับ 1-5 ทำซ้ำ 6 ครั้งและสลับยกขาข้างซ้ายขึ้น เอามือสอดใต้เข่าที่ยกขึ้นมาพร้อมทั้งดึงเข้าหาบริเวณหน้าอก นับ 1-5 ทำซ้ำ 6 ครั้ง

4. ท่าบริหารกล้ามเนื้อเหยียดของสะโพก

เริ่มต้นด้วยการนอนหงาย งอเข่าข้างขวาขึ้น ใช้ส้นเท้าซ้ายมาดันบริเวณหัวเข่าด้านขวา ออกแรงที่ส้นเท้าซ้ายงดให้เข่าขวาเอนลงมาชิดกับพื้น นับ 1-5 และสลับงอเข่าซ้ายขึ้น ใช้ส้นเท้าขวาดันบริเวณหัวเข่าด้านซ้าย ออกแรงที่ส้นเท้าขวาดันเข่าซ้ายจนหัวเข่าซ้ายชิดกับพื้น นับ 1-5 ทำสลับซ้ายขวาจนครบข้างละ 6 ครั้ง

5. การบริหารกล้ามเนื้อโคนขา

นั่งบนพื้นเรียบ งอเข่าขวา ขาซ้ายเหยียดตรง ยื่นมือไปแตะที่ปลายเท้าซ้าย นับ 1- 5 ค่อยปล่อยมือออก สลับงอเข่าซ้าย ขาขวาเหยียดตรง ยื่นมือไปแตะที่ปลายเท้าขวา นับ 1-5 ค่อย ๆ ปล่อยมือออก ทำสลับซ้าย ขวา จนครบข้างละ 6 ครั้ง   

6. ท่าบริหารกล้ามเนื้อน่อง

ยืนหันหน้าเข้าหาโต๊ะหรือราวยึด เอามือยันกับโต๊ะหรือราวยึด งอเข่าขวาไปข้างหน้าและเหยียดขาซ้ายไปด้านหลัง พร้อมทั้งแอ่นตัวไปข้างหน้าด้วย นับ 1-5 สลับเอางอเข่าซ้ายไปข้างหน้า เหยียดขาขวาไปด้านหลัง พร้อมทั้งแอ่นตัวไปข้างหน้าด้วย นับ 1-5 ทำสลับกันจนครบข้างละ 6 ครั้ง ห้ามยืนแล้วก้มตัวเอามือแตะเท้าเพราะการออกกำลังกายด้วยท่านั้น จะส่งผลให้กระดูกเกิดการกระทบกันมากจนเป็นสาเหตุให้กระดูกสึกหรอเพิ่มขึ้น

การออกกำลังกายที่ดีเพื่อลดความเสื่อมหรือการสึกหรอของกระดูก ควรจะดูถึงความเหมาะสมกับตัวเองด้วย โดยต้องคำนึกถึงอายุ เพศของผู้ที่ออกกำลังกายด้วย เช่น คนหนุ่มสาวสามารถออกกำลังกายด้วยการวิ่งได้ แต่ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายด้วยการเดิน ยืนแขว่งแขน การลำไทเก็ก เป็นต้น เพื่อที่กล้ามเนื้อจะได้แข็งแรงสมบูรณ์

การออกกำลังกายในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายรูปแบบให้เราเลือกทำกัน ตามกำลังฐานะและเวลาที่สามารถใช้ในการออกกำลังกายได้ เรามาดูกันว่าการออกกำลังกายแบบใดบ้างที่เหมาะสมกับช่วงอายุหรือควรออกอย่างไรบ้างจึงจะเหมาะสม ช่วยลดการสึกหรอของกระดูกได้

การออกกำลังกายเหมาะสมกับช่วงอายุ

1. การเล่นกอล์ฟ

การเล่นกอล์ฟเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันมากในหมู่ของนักธุรกิจ ผู้บริหารเพราะการเล่นกอล์ฟนอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้วยังบช่วยฝึกสมาธิให้กับผู้เล่นได้ การเล่นกอล์ฟมากกว่า 99% จะบาดเจ็บจากการไดร์ฟกอล์ฟ และมีแค่ 1% เท่านั้นที่เกิดจากสนามกอล์ฟ การไดร์ฟกอล์ฟแบบปกติที่ใช้เวลาไม่นานจะไม่สร้างการบาดเจ็บให้กับกล้ามเนื้อแต่ถ้ามีการเล่นที่ยาวนานเกินไปหรือไดร์ฟติดต่อกันมาก ๆ เช่น การตีจากเครื่องอัตโนมัติ หรือการตีไม่โดนลูกกอล์ฟแต่ตีไปโดนก้อนหิน ก้อนอิฐก็จะทำให้ไหปลาร้าหักได้เลยทีเดียว คนที่เคยผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือกระดูกทับเส้นสามารถเล่นกอล์ฟได้แต่ต้องใส่เสื้อที่ออกมาพิเศษด้วย

2. โยคะ

การเล่นโยคะช่วยฝึกสมาธิและลมหายใจที่มีผลดีต่อการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด แต่ไม่ถือว่าเป็นการออกกำลังกาย และบางท่าในการเล่นโยคะนั้น อาจสร้างความเสียหายให้กับกล้ามเนื้อได้เพราะการเล่นโยคะมีการทำท่าทางที่ผิดธรรมชาติ เช่น การแอ่นหลัง การทรงตัวด้วยศีรษะ ซึ่งท่าทางเหล่านี้จะทำให้กระดูกหลังเสื่อมได้

3. ไทเก๊ก

ไทเก๊กเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ เพราะเป็นการออกกำลังกายที่เคลื่อนไหวช้า ๆ และกล้ามเนื้อไม่ได้รับแรงกระแทกใด ๆ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงหรือจะเป็นการออกกำลังแบบชี่กง ที่ให้จินตนาการว่ากำลังทำสิ่งนั้น เช่น การจินตาการว่ายกของหนัก การว่ายน้ำ เป็นต้น ซึ่งไม่ต้องทำจริงแต่สามารถทำให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงเช่นเดียวกับการออกกำลังกายอื่น ๆ   

4. การดึงคอ

การดึงเป็นการยืดเอ็นที่อยู่ให้ห่างออกมา คนที่มีข้อต่อกระดูกหลังเกิดการยุบสามารถรักษาได้โดยการดึกคอได้ แต่ทว่าการดึงคอนั้นมีข้อห้าม คือคนกระดูกหัก กระดูกเชื่อมต่อกันหมดหรือคนที่เป็นโรครูมาตอยด์ห้ามทำการรักษาด้วยวิธีนี้อย่างเด็ดขาด หรือถ้าต้องการรักษาด้วยวิธีนี้จริงก็ต้องมีแพทย์เฉพาะทางเป็นคนดำเนินการรักษาเท่านั้น

5. การวิ่งหรือเต้นแอโรบิค

การออกกำลังกายแบบนี้ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าการวิ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เพราะถือเป็นการออกกำลังกายแบบหนักทำให้กระดูกมีความสึกหรอมากขึ้น โดยเฉพาะส่วนของข้อที่ต้องรับการกระแทกในขณะที่วิ่งหรือเต้นแอโรบิค ในขณะที่วิ่งหรือเต้นแอโรบิคขาและข้อต้องรับน้ำหนักถึง 3 ของน้ำหนักตัว ดังนั้นถ้าต้องการออกกำลังกายด้วยการวิ่งหรือเต้นแอโรบิคให้ออกกำลังด้วยการเดินแทน เพราะการเดินขาจะรับน้ำหนักแค่น้ำหนักตัวไม่มีรองรับแรกกระแทกเพิ่มขึ้น จึงช่วยป้องกันการสึกหรอของกระดูกได้

สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ควรดูแลเอาใจใส่ร่างกายเป็นพิเศษเพราะในวัยนี้อัตราการสร้างกระดูกจะลดน้อยลงมากจนแทบจะไม่เกิดการสร้างเนื้อกระดูกเลย แต่อัตราการทำลานเนื้อกระดูกกลับอยู่ในสภาวะเท่าเดิมทำให้กระดูกมีความเสื่อมเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรออกกำลังกาย เลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพ ไม่ควรนั่ง นอนหรือยืน นาน ๆ ให้หมั่นเปลี่ยนอิริยาบทบ่อย ๆ เป็นการช่วยลดความเสื่อมของกระดูกได้เป็นอย่างดี รู้อย่างนี้แล้วต้องรีบทำตามที่ศาสตราจารย์กิตติคุณและนายแพทย์เสก อักษรานุเคราะห์ ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทยได้แนะนำการดูแลสุขภาพสำหรับผู้บุคคลทั่วไปและผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปจะได้ห่างไกลจากโรคข้อ ปวดคอ ปวดหลังและการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. 

สรุปการบรรยายของ ศาสตราจารย์กิตติคูณ และนายแพทย์เสก อักษรานุเคราะห์