Home Blog Page 125

สาเหตุของอาการปัสสาวะออกน้อย (Oliguria) และอาการไม่มีปัสสาวะ

0
สาเหตุของอาการปัสสาวะออกน้อย (Oliguria) และอาการไม่มีปัสสาวะ
อาการปัสสาวะออกน้อย ( Oliguria and Anuria )
ปัสสาวะน้อย เป็นภาวะที่ผู้ป่วยปัสสาวะได้ปริมาณน้อยกว่าผิดปกติ ชั่วโมงละ 20 มิลลิลิตร หรือวันละ 400 มิลลิลิตร

อาการปัสสาวะออกน้อย ( Oliguria and Anuria )

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะนั้นมีรายละเอียดที่ซับซ้อนและสามารถสร้างความรำคาญ รวมถึงเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตของหลายๆ คนได้ไม่ต่างจากปัญหาปัสสาวะมากเกินไป อาการปัสสาวะออกน้อย (Oliguria) และไม่มีปัสสาวะ (Anuria) ก็เป็นปัญหาที่ควรกังวลเช่นกัน เพราะการที่ร่างกายไม่ทำหน้าที่ตามธรรมชาติย่อมไม่ใช่เรื่องดีทั้งนั้น

รู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะปัสสาวะน้อย

อาการปัสสาวะออกน้อย เราจะให้ความสำคัญกับปริมาณ มีเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 400 มิลลิลิตรต่อ 24 ชั่วโมงในวัยผู้ใหญ่ และ100 มิลลิลิตรต่อ 24 ชั่วโมงในวัยเด็ก หากปัสสาวะมีปริมาณน้อยกว่านี้ก็จะถือว่าเข้าสู่ภาวะปัสสาวะน้อยแล้ว โดยไม่เกี่ยวกับจำนวนครั้งหรือความถี่ที่ปวดปัสสาวะเลย อันตรายจากภาวะปัสสาวะออกน้อยนี้ จะทำให้เกิดน้ำคั่งภายในร่างกายมากเกินไป ค่าโซเดียมและแร่ธาตุอื่นๆ ที่ควรขับออกก็ไม่ได้ถูกขับออก ร่างกายจึงบวมน้ำ ความดันโลหิตสูง กลายเป็นว่าคอยสะสมของเสียต่างๆ อยู่ตลอดเวลา และเมื่อมีของเสียมาก สมดุลร่างกายก็เสียไป ยิ่งปล่อยไว้นานเท่าไร ก็ยิ่งแพร่กระจายความเสียหายของระบบสมดุลมากขึ้นเท่านั้น

สาเหตุของภาวะปัสสาวะออกน้อย

สาเหตุของภาวะปัสสาวะออกน้อยอันที่จริงต้องตรวจดูในเบื้องต้นก่อนว่า แต่ละวันทานน้ำในปริมาณที่น้อยเกินกว่าความต้องการของร่างกายหรือไม่ บางคนทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเพลิดเพลิน จนลืมทานน้ำไปหลายชั่วโมงก็มี บางคนหลีกเลี่ยงการทานน้ำเพียงเพราะไม่อยากเข้าห้องน้ำก็มีเหมือนกัน ถ้าเริ่มต้นที่ร่างกายรับน้ำเข้าน้อยเกินไปอยู่แล้ว อาการปัสสาวะออกน้อยย่อมเป็นเรื่องปกติ ทางแก้ไขก็คือทานน้ำให้มากขึ้นกว่าเดิมเท่านั้นเอง

AKI คืออะไร

ก่อนจะไปถึงตัวอย่างของสาเหตุที่พบได้บ่อย จำเป็นต้องรู้จักกับ AKI เสียก่อน เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น AKI หรือ Acute kidney injury เป็นภาวะไตวายเฉียบพลัน อวัยวะส่วนไตเกิดการเสียสมดุลไปจนถึงเสียประสิทธิภาพในการทำงานไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้การภาวะไตวายเฉียบพลัน ก็มีได้หลากหลาย แต่สุดท้ายมักจะให้ผลลัพธ์แบบเดียวกันทั้งสิ้น

ในส่วนของอาการปัสสาวะออกน้อย หากไม่ได้เข้าข่ายของการดื่มน้ำน้อยเกินไปที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็จะเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยๆ เหล่านี้แทน 

1. Pre-renal AKI : เป็นภาวะที่ effective arterial blood volume ลดลงอย่างรวดเร็ว มักเกิดกับผู้ป่วยที่มีการเสียเลือด หรือเสียน้ำอย่างมาก เมื่อร่างกายขาดสมดุลของน้ำและเลือดไป สิ่งที่จะส่งต่อเพื่อไปหล่อเลี้ยงการทำงานของไตก็ลดลง จึงเกิด AKI ขึ้น แต่ประเด็นก็ยังไม่น่ากลัวนักหากรักษาได้ทันท่วงที การชดเชยน้ำและเลือดในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติได้

2. Intrinsic AKI : นี่คือการเกิดพยาธิสภาพบริเวณ renal parenchymal โดยจะเกิดขึ้นที่ส่วนไหนก็ให้ผลลัพธ์เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น tubule , tubulointerstitial , glomerular , vascular เป็นต้น

3. Post-renal AKI : มักเป็นอาการอุดตันบริเวณ bladder outlet และการอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะข้างเดียวหรือสองข้าง สามารถตรวจวินิจฉัยได้ง่าย โดยการใช้อัลตร้าซาวด์ หากเป็นการขยายตัวของท่อไตก็คาดคะเนไว้ก่อนได้ว่ามีการอุดตันเกิดขึ้น แม้ว่าจะฟังดูร้ายแรง แต่ส่วนนี้สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน และหลังการแก้ไข หน่วยไตก็จะกลับมาทำงานตามปกติได้

4. Sepsis-associated AKI : นี่คือการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งมีผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อ AKI มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อมีการติดเชื้อในระบบเลือด ก็จะเกิด arterial vasodilation และ renal vasoconstr iction ตามมา นอกจากนี้ยังมีการบาดเจ็บที่ส่วนต่างๆ ของเซลล์อีกด้วย

5. Postoperative AKI : ส่วนใหญ่แล้ว Postoperative AKI เป็นภาวะที่เกิดมาจากการผ่าตัด หากเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องเสียเลือดจำนวนมาก ร่างกายก็ขาดสมดุล ความดันโลหิตต่ำกว่ามาตรฐาน ก็จะส่งผลให้เข้าสู่ภาวะ AKI ได้ง่าย นี่ยังไม่รวมการได้รับพิษจากยาต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในระหว่างการผ่าตัดอีกด้วย หากเกิด AKI พร้อมกับมีภาวะเป็นพิษควบคู่กันไป ก็จะทำให้การรักษายุ่งยากขึ้นอีกระดับ

6. Burn and acute pancreatitis : กรณีนี้จะเป็นการสูญเสียน้ำปริมาณมากอย่างฉับพลัน ทำให้ตับอ่อนเกิดการอักเสบ ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ป่วยที่มีอาการผิวไหม้ หรือ ภาวะ BURN มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมดในร่างกาย นอกจากการเสียน้ำแล้ว แผลเหล่านี้ก็ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อซึ่งเพิ่มอัตราการเกิด AKI ได้มากขึ้นอีก

7. Nephrotoxic drug associated AKI : เนื่องจากไตเป็นหน่วยกรองทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกาย หากเรารับสารพิษเข้าไปมาก ภาระก็ไปตกที่หน่วยไตนี่เอง และไตของเราก็ไม่ใช่เครื่องจักรที่ไม่มีวันบุบสลาย เมื่อไรที่ทำงานหนักมากไป ก็ย่อมเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ กรณีนี้เป็นผลกระทบของการใช้ยาต่างๆ เช่น aminoglycoside, amphoterincin B เป็นต้น ทางแก้อย่างแรกที่ต้องทำทันทีก็คือ หยุดยาที่ใช้ให้เร็วที่สุด นั่นหมายความ หากหาสาเหตุนี้เจอได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งแก้ไขได้เร็วเท่านั้น

8. Endogenous toxin : อาจเรียกได้ว่าเป็นอาการติดพิษจากสารที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเอง เช่น myoglobin , hemoglobin , uric acid และ myeloma light chain ทุกตัวสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะ AKI ได้ทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดอาการติดพิษเสมอไป อาการ Endogenous toxin นี้ จะทำให้ท่อไตบาดเจ็บและปัสสาวะมีความเป็นด่างสูงกว่าที่ควรจะเป็น

9. Tumor lysis syndrome : ส่วนใหญ่เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากการบำบัดด้วยเคมี อย่างที่เรารู้กันดีว่าการบำบัดด้วยเคมีในผู้ป่วยนั้น มักมีผลลัพธ์อันไม่พึงประสงค์อยู่เสมอ จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ความเข้มข้นและสภาพร่างกายของผู้ป่วย ทีนี้หากการบำบัดนั้นกระตุ้นให้มีการหลั่ง uric acid ออกมาในปริมาณมาก ก็จะทำให้เสียสมดุลของ uric acid ในท่อไตและปัสสาวะที่ออกมาก็กลายเป็นสภาพด่างที่ผิดปกติ

ปัสสาวะน้อย เป็นภาวะที่ผู้ป่วยปัสสาวะได้ปริมาณน้อยกว่าผิดปกติ ชั่วโมงละ 20 มิลลิลิตร หรือวันละ 400 มิลลิลิตร

ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนจากภาวะปัสสาวะน้อย

ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนจากภาวะปัสสาวะน้อยมีอาการบวมของร่างกาย เพราะไม่สามารถขับของเสียออกไปได้ตามปกติ โซเดียมและแร่ธาตุต่างๆ เพิ่มขึ้นสูงเกินกว่าระดับที่ร่างกายต้องการ เนื้อเยื่อต่างๆ จึงเกิดอาการบวมขึ้น

ระดับฮอร์โมนอดรีนัลเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติ ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของกลุ่มท่อต่างๆ ภายในหน่วยไต เมื่อมีฮอร์โมนอดรีนัลมากไป การดูดกลับของโซเดียมก็มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

มีการหลั่งสารเรนินจากเซลล์ผนังหลอดเลือดในส่วนของไตมากขึ้น ส่งผลให้ตับจำเป็นต้องสร้างแอนจิโอเทนซินวันขึ้นมา แล้วผ่านกระบวนการเปลี่ยนโครงสร้างเล็กน้อย กลายเป็นสารที่กระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด ความดันเลือดจึงสูง และส่งผลวนไปจนถึงส่วนไต ทำให้ไตดูดกลับโซเดียมมากขึ้น

เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะตามมา และถ้ารุนแรงเรื้อรังไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้กลายเป็นอาการปัสสาวะออกน้อยซึ่งต้องทำการรักษากันขนานใหญ่

การตรวจร่างกายและวินิจฉัยโรคปัสสาวะน้อย

การซักประวัติเป็นเรื่องปกติที่ทีมแพทย์จะต้องเริ่มจากการซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด ยิ่งเก็บข้อมูลได้มากก็ยิ่งเป็นผลดีต่อการสรุปผลต่อไป ประเด็นที่ต้องทำการสอบถามให้ครบถ้วนเป็นขั้นต่ำมีดังต่อไปนี้

1. ประวัติการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายในช่วงระยะที่ผิดปกติเป็นอย่างไร ให้รวมทุกช่องทางที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เลือดออกผิดปกติ เป็นต้น

2. ประวัติการใช้ยา ทั้งยาที่ใช้เฉพาะกิจและยาที่ต้องทานประจำ ต้องซักให้แน่ใจว่าเป็นยาชนิดใด ทานต่อเนื่องด้วยขนาดเท่าไร มีการทานยาที่ผิดวิธีหรือผิดขนาดด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ให้รวมไปถึงยาสมุนไพรและอาหารเสริมต่างๆ ด้วย

3. ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและติดเชื้อ ต้องสอบถามว่าก่อนหน้านี้มีไข้หรืออาการเจ็บป่วยใดมาก่อนล่วงหน้าในเวลาไล่เลี่ยกันหรือไม่ มีพฤติกรรมใดที่สุ่มเสี่ยงการติดเชื้อหรือไม่ เช่น เข้าไปอยู่ในจุดที่คนพลุกพล่าน ใกล้ชิดกับคนป่วยโดยไม่ได้ป้องกัน เป็นต้น

4. ประวัติเกี่ยวกับไตโดยเฉพาะ หากผู้ป่วยเคยมีโรคหรืออาการเจ็บป่วยอื่นใดเกี่ยวกับไตมาก่อน ก็ต้องบันทึกเอาไว้เป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่สำคัญด้วย ถึงแม้ว่าจะหายขาดไปแล้วก็อย่าได้ละเลย

5. ลักษณะของปัสสาวะ ตามปกติปัสสาวะของคนสุขภาพดีจะเป็นสีใส ไม่มีฟอง ดังนั้นหากปัสสาวะมีความผิดปกติไป เช่น มีเลือดปนออกมา มีของแข็งลักษณะคล้ายกับกรวดเม็ดเล็ก หรือเป็นฟองจนสังเกตได้ชัน ก็เป็นข้อมูลที่ช่วยระบุได้ว่าการทำงานของไตบกพร่องหรือเสื่อมสมรรถภาพในจุดไหน

6. ประวัติโรคมะเร็ง ต้องไม่ลืมที่จะเก็บประวัติของมะเร็งในส่วนของอวัยวะที่ใกล้เคียงกัน เช่น มะเร็งสำไส้ มะเร็งมดลูก เป็นต้น

7. อาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น อาการปวดปัสสาวะที่ผิดปกติ อาการหน่วงบริเวณช่องท้อง เป็นต้น

การรักษา อาการปัสสาวะออกน้อย ( Oliguria and Anuria )

การรักษา อาการปัสสาวะออกน้อย ( Oliguria and Anuria )ในส่วนของการรักษาก็จะแปรผันตามสาเหตุที่สืบค้นมาได้ด้วยกระบวนการต่างๆ ข้างต้น นั่นหมายความว่ารายละเอียดเชิงลึกในการรักษาจะต้องแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามก็พอมีแนวทางกว้างๆ ดังนี้ 

ขั้นต้นให้เริ่มจากการทานน้ำให้มากขึ้น โดยค่อยๆ เพิ่มทีละนิดๆ เพื่อช่วยปรับสมดุลร่างกายให้กลับมาเป็นปกติ แม้ว่าในบางรายจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน แต่การทานน้ำอย่างพอเหมาะก็จะช่วยให้ระบบร่างกายทำงานได้ดีขึ้น

ป้องกันและลดอัตราการสูญเสียน้ำของร่างกายในทุกกรณี

ดูแลเรื่องสารอาหารให้สมดุล และลดในส่วนที่จะเพิ่มโซเดียมให้ร่างกาย เน้นผักผลไม้ให้มากขึ้นกว่าปกติ เพื่อการดีท็อกซ์หรือล้างพิษตามวิถีธรรมชาติ

ฝึกวินัยในการปัสสาวะ ไม่อั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ก็จะเป็นการใช้ยาและการบำบัดเชิงเทคนิคในทางการแพทย์ที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง อย่างเช่น การขับของเสียออกจากร่างกายด้วยเครื่องมือแพทย์ การใช้ยาเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนที่ผิดปกติไปจากเดิม เป็นต้น

การป้องกัน อาการปัสสาวะออกน้อย

หากไม่นับอุบัติเหตุที่ควบคุมไม่ได้ อย่างเช่น การเสียสมดุลน้ำจากบาดแผลรุนแรงในอุบัติเหตุ นี่ก็ไม่ใช่โรคที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เพราะส่วนใหญ่มักจะมีเรื่องของพฤติกรรมมาเกี่ยวข้อง เกินกว่าครึ่ง ผู้ป่วยมักมีนิสัยชอบกลั้นปัสสาวะหรือทานน้ำน้อยเกินไป แรกๆ ก็ไม่ค่อยมีผลกระทบอะไรมากนัก แต่เมื่อนานวันเข้าร่างกายก็ฟื้นฟูจากการโดนทำร้ายในทุกๆ วันไม่ได้ จึงสะสมเป็นอาการเจ็บป่วยในที่สุด ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ ปรับแก้ที่ต้นเหตุคือการทานน้ำให้มากเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่รู้สึกปวดปัสสาวะ ไม่อั้นเอาไว้ หลังจากเข้าห้องน้ำหรือสูญเสียน้ำในทางอื่น เช่น เหงื่อ น้ำตา น้ำเลือด เป็นต้น ก็ให้ดื่มน้ำชดเชยทันที เพื่อไม่ให้ร่างกายเสียสมดุลของน้ำไป

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ตรวจหาค่าความผิดปกติของ ตับ Gamma GT ( GGTP )

0
ตรวจหาค่าความผิดปกติของ ตับ Gamma GT ( GGTP )
Gamma GT ( GGTP ) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งโดยมีต้นกำเนิดมาจากกรดอะมิโน ทำหน้าที่ในการผลิต Gamma GT ออกมาอย่างหนาแน่น และออกมาภายนอกเซลล์เมื่อได้รับเหตุกระทบ
ตรวจหาค่าความผิดปกติของ ตับ Gamma GT ( GGTP )
Gamma GT ( GGTP ) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งโดยมีต้นกำเนิดมาจากกรดอะมิโน ทำหน้าที่ในการผลิต Gamma GT ออกมาอย่างหนาแน่น

ตรวจหาค่าความผิดปกติของ ตับ Gamma GT ( GGTP )

Gamma GT ( GGTP ) เป็น การตรวจเพื่อเช็คการทำงานของเซลล์ตับว่ามีความปกติดีหรือไม่ โดยตรวจหาจากค่าของเอนไซม์ ที่มีชื่อว่า Gamma GT นั่นเอง แต่ทั้งนี้ก็จะต้องทราบด้วยว่า เซลล์ของตับได้รับความเสียหายจากอะไร พิษของยาหรือพิษของแอลกอฮอล์ เพื่อประเมินค่าการเกิดพิษว่ามากน้อยเพียงใด และเมื่อทำการตรวจร่วมกับค่า ALP ก็จะช่วยยืนยันการเกิดสภาวะโรคกระดูกได้อย่างแน่นอนมากขึ้นอีกด้วย

ค่า Gamma GT คือ

1. Gamma GT  เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งโดยมีต้นกำเนิดมาจากกรดอะมิโน ซึ่งจะหลุดผ่านผนังเซลล์ออกมาภายนอกเซลล์ก็ต่อเมื่อได้รับเหตุกระทบบางอย่างเท่านั้น โดยแหล่งที่ทำหน้าที่ในการผลิต Gamma GT ออกมาอย่างหนาแน่นที่สุด ก็คือตับนั่นเอง

2. สำหรับแหล่งที่ผลิต Gamma GT  หนาแน่นรองลงมาจากตับ ได้แก่ สมอง ม้าม หัวใจ ไต ลำไส้เล็กและต่อมลูกหมาก เป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ในผู้หญิงมักจะมีค่า Gamma GT ที่ต่ำกว่าผู้ชาย นั่นก็เพราะผู้หญิงไม่มีต่อมลูกหมาก

3. ค่าของ Gamma GT ที่ตรวจพบสามารถบ่งบอกได้ถึงความผิดปกติของเซลล์ตับได้ เพราะค่าดังกล่าวมีความไวต่อการสะท้อนถึงสภาวะความผิดปกติใดๆ ของตับ และจะมีค่าสูงขึ้นหากมีเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติกับท่อน้ำดีของตับ ดังนี้

  • ท่อน้ำดีตีบหรือตัน ทำให้ค่า Gamma GT สูงขึ้น
  • ท่อน้ำดีเกิดการอักเสบ แต่ยังไม่ถึงขั้นตีบหรือตัน เป็นผลให้ตับต้องหลั่งเอา Gamma GT  ออกมามากกว่าปกติ
  • ถุงน้ำดีอักเสบทำให้ตับมีการปล่อย Gamma GT  ออกมาสูงกว่าปกติ อย่างไม่สามารถควบคุมได้

4. การกระทบกระเทือนที่เกิดขึ้นต่ออวัยวะต่างๆ ไม่เพียงแต่ทำให้ค่า Gamma GT  สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ค่า ALP สูงขึ้นตามไปอีกด้วย เว้นแต่การเกิดโรคที่กระดูก จะพบว่าเฉพาะค่า ALP เท่านั้นที่สูงขึ้น ส่วนค่าของ Gamma GT  ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ

สรุปดังตารางดังต่อไปนี้

สภาวะผิดปกติ Gamma GT ที่อวัยวะใดๆ ALP จะสูงขึ้น
สภาวะผิดปกติ Gamma GT จากโรคกระดูก ALP จะสูงขึ้น

5. สำหรับผู้ที่มีการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นประจำทุกวัน มักจะตรวจพบค่า Gamma GT ที่สูงกว่าระดับปกติมากถึงร้อยละ 75 นั่นก็เพราะเซลล์ตับจะถือว่าแอลกอฮอล์เป็นสารพิษเหมือนกับยานั่นเอง

6. ในผู้ที่มีอาการป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ก็มักจะตรวจพบค่าของ Gamma GT ที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติเช่นกัน โดยจะสูงขึ้นต่อเนื่องจากเวลาที่เกิดภาวะดังกล่าวไปอีกประมาณ 5-10 วันนั่นเอง นั่นก็เพราะว่าขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน จะเกิดการสะดุดการทำงานลง เป็นผลให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ ทำให้ตับปล่อยเอนไซม์ Gamma GT ออกมามากขึ้น และต้องใช้เวลาเป็น 10 วันเลยทีเดียวกว่าจะสามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม

ค่าปกติของ Gamma GT

1.ค่าความปกติของ Gamma GT ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือด ( ถ้ามี )

2.ค่าปกติโดยทั่วไปมักจะอยู่ที่

ชาย อายุ 16 ปีขึ้นไป Gamma GT : 6 – 38 IU/L
หญิง อายุ 16-44 ปี Gamma GT : 4 – 27 IU/L
หญิง อายุ 45 ปีขึ้นไป Gamma GT : 6 – 37 IU/L
เด็ก Gamma GT : 3 – 30 IU/L

หมายเหตุ :  ผู้สูงอายุ อาจมีค่าเกินเกณฑ์ปกติเล็กน้อย

Gamma GT ( GGTP ) เป็นการตรวจเพื่อเช็คการทำงานของเซลล์ตับว่ามีความปกติดีหรือไม่ โดยตรวจหาจากค่าของเอนไซม์

ค่าผิดปกติของ Gamma GT

1. หากค่าที่มีการตรวจพบไปในทางน้อย อาจแสดงได้ว่า

  • เป็นเหตุที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะโดยปกติแล้วเซลล์ตับจะต้องทำงานทุกวันและต้องการมีกระทบกระทั่งตลอดเวลา ดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะตรวจไม่พบค่า Gamma GT ซึ่งส่วนใหญ่ควรจะตรวจพบค่าการตรวจเลือดดังกล่าวนี้อยู่ในระดับหนึ่งเสมอ
  • อาจเกิดจากการกินยาบางประเภท ที่ทำให้เกิดการยับยั้งการทำงานของเซลล์ตับ แต่ส่วนมากจะเกิดน้อยรายและไม่ค่อบพบเห็นมากนัก สำหรับยาที่อาจไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ตับได้ก็มีกลุ่มยาดังนี้ กลุ่มยา Statin และ Clofibrate ที่ใช้สำหรับการลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ และกลุ่มยา Contraceptives ที่ใช้สำหรับการคุมกำเนิดนั่นเอง โดยกลุ่มยาเหล่านี้อาจทำให้ค่า Gamma GT ที่ตรวจพบในเลือด มีค่าที่ลดลงเบี่ยงเบาไปจากความเป็นจริง และยังมีผลข้างเคียงอีกหลายประการอีกด้วย

2. หากค่าที่มีการตรวจพบไปในทางมาก อาจแสดงได้ว่า

  • กำลังเกิดโรคร้ายแรงบางอย่างขึ้นที่ตับ ทำให้ตับไม่สามารถควบคุมการปล่อย Gamma GT  ออกมาได้ ค่าที่ตรวจพบจึงสูงมาก โดยสภาวะร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นที่ตับ ได้แก่ โรคมะเร็งตับ โรคตับแข็ง โรคตับอักเสบ สภาวะเนื้อตายเป็นบางส่วน หรือการที่ตับได้รับพิษจากยาหรือสารพิษบางอย่าง เป็นต้น
  • เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( Myocardial Infarction ) เป็นผลให้ไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ
  • เกิดพิษจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และดื่มมาเป็นเวลายาวนาน ส่งผลให้ตับถูกกระทบกระเทือนอย่างหนัก
  • เป็นโรคที่ตับอ่อน ซึ่งอาจเป็นได้หลายโรค เช่น โรคมะเร็งที่ตับอ่อนและโรคตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Nussey S, Whitehead S (2001). Endocrinology: an integrated approach. Oxford: Bios Scientific Publ. ISBN 978-1-85996-252-7.

https://emedicine.medscape.com/article/128567.

อาการไข้เฉียบพลัน ( Acute Febrile illness )

0
อาการไข้สูงเฉียบพลัน ( Acute Febrile illness )
อาการไข้เฉียบพลัน คือ อาการไข้ที่ร่างกายมีอุณหภูมิมากกว่า 37.2 องศาเซลเซียนในช่วงเช้าและอุณหภูมิ 37.7 ในช่วงเย็น
อาการไข้สูงเฉียบพลัน ( Acute Febrile illness )
อาการไข้เฉียบพลัน คือ อาการไข้ที่ร่างกายมีอุณหภูมิมากกว่า 37.2 องศาเซลเซียนในช่วงเช้าและอุณหภูมิ 37.7 ในช่วงเย็น

อาการไข้เฉียบพลัน ( Acute Febrile illness )

อาการไข้เฉียบพลัน ( Acute Febrile illness : AFI ) คือ อาการไข้ที่ร่างกายมีอุณหภูมิมากกว่า 37.2 องศาเซลเซียนในช่วงเช้าและอุณหภูมิ 37.7 ในช่วงเย็น ซึ่งอาการไข้ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งอาการไข้จะแสดงอาการให้เห็นและสามารถทำการวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการไข้ อาการไข้ชนิดนี้จะเกิดร่วมกับอาการของระบบอื่นเสมอ เช่น อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้หรืออาเจียน เป็นต้น มักไม่เกิดอาการไข้เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าอาการไข้ที่เกิดขึ้นนานเกิน 2 สัปดาห์จะเรียกว่า “ ไข้กึ่งเฉียบพลัน ( Subacute fever ) ”  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ซึ่ง อาการไข้เฉียบพลันที่แสดงออกมามักไม่สามารถทำการวินิจฉัยอย่างชัดเจน ( Definite diagnosis ) จึงต้องทำการซักประวัติ ทำการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น เช่น การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ( Complete Blood Count : CBC ) , การตรวจปัสสาวะ ( Urinalysis หรือ UA ) , การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก ( chest x-ray , CXR ) ที่เรียกว่า อาการไข้เฉียบพลันที่ไม่ทราบสำเหตุ ( Acute fever / pyrexia of unknown origin , AFUO ) หรือภาวะไข้เแบบเฉียบพลันที่เมื่อทำการตรวจแล้วไม่พบการติดเช้ือที่อวัยวะหรือระบบใด ( acute undifferentiated fever )

อาการไข้เฉียบพลัน จัดเป็นอาการป่วยที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด และมีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ามารับการรัษาทางการแพทย์มากที่สุดอีกอาการหนึ่ง สาเหตุของอาการไข้เฉียบพลันมักเกิดเนื่องจากโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งสาเหตุสามารถบ่งบอกหรือวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย ที่นำมาซึ่งแนวทางการรักษาอย่างได้ผล แต่บางครั้งอาการไข้เฉียบพลันที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุได้ในระยะแรก เนื่องจากไม่ร่างกายยังไม่แสดงอาการส่งผลให้ตรวจไม่พบอาการหรือลักษณะที่ผิดปกติ ดังนั้นพื่อหาสาเหตุจึงจำเป็นต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการและทำการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด แพทย์จึงจะสามารถทำการวินิจฉัยสาเหตุและแนวทางในการรักษาได้

การระบาดวิทยาของ AUF ที่มีอยู่ในประเทศไทย

กระทรวงสาธารณสุขมีการรายงานว่ามีการพบภาวะไข้เฉียบพลันชนิดที่ไม่ทราบสำเหตุ ( Acute fever of unknown origin, AFUO ) เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าในปี พ.ศ.2557 พบว่าในผู้ป่วยหนึ่งแสนรายจะเป็นภาวะชนิดนี้ประมาณ 575.47 ราย ซึ่งร้อยละ 39-81 เท่านั้นที่สามารถหาสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ โดยพบว่าสาเหตุหลักของการเกิดไข้แบบเฉียบพลัน คือ การติดเชื้อ เช่น มาลาเรีย ( Malaria ) , โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส ( Leptospirosis ) , ไข้เลือดออก ( Dengue hemorrhagic fever ) , ริกเกตเชีย ( Rickettsia ) เป็นต้น ซึ่งอุบัติการณ์ของอาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ที่ทำการศึกษาการเกิดโรค

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

โรคที่เป็นสาเหตุของไข้เฉียบพลัน

1.โรคติดเชื้อไวรัส ( Virus ) เช่น ไข้เดงกี ( dengue fever : DF )หรือไข้เดงกีชนิดรุนแรง ( dengue hemorrhagic fever : DHF ) , อาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ ( cute retroviral syndrome หรือ ARS ) , โรคติดเชื้ออีบีวี ( Epstein-Barr virus infection ) เป็นต้น ซึ่งอาการไข้เฉียบพลันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด

2.โรคติดเชื้อในกลุ่มริกเก็ตเซีย ( Rickettsia ) ได้แก่ โรคมูรีนไทฟัส ( murine typhus ) ที่มีลักษณะของอาการป่วยที่คล้ายกับไข้รากสาดใหญ่ แต่อาการที่เกิดขึ้นของโรคจะมีความรุนแรงน้อยกว่า หรือโรคไข้รากสาดใหญ่หรือโรคสครับไทฟัส ( Scrub typhus ) ที่มักมีไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค ซึ่งอาการของโรคไข้รากสาดใหญ่จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับลักษณะอาการไข้เฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส

3.โรคติดเชื้อแบคทีเรีย ( Bacteria ) เช่น ภาวะโลหิตเป็นพิษ ( Septicemia / Bacteremia ) ที่เกิด่จากการได้รับเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล ( Escherichia coli / E. Coli) , โรคสเตรปโทคอกโคสิส ( Streptococcosis ) , โรคเมลิออยด์หรือโรคเมลิออยโดซิสที่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ Burkholderia pseudomallei , โรคติดเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา ( Salmonella spp. )

การตรวจวินิจฉัยโรคโดยการตรวจแอนติบอดีในน้ำเลือด ( Serology ) สามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อเหล่านี้พร้อมกันมากกว่า 1 ชนิดหรือไม่ แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการไข้เฉียบพลันที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ เช่น กลุ่มโรคแพ้ภูมิตัวเอง ( autoimmune disease ) ที่มีโอกาสพบได้น้อยมาก ดังนั้นการหาสาเหตุที่แน่ชัดจึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติมอย่างเต็มที่หรือผู้ป่วยได้รับการรักษาเบื้องต้นมาแล้ว ถึงจะมั่นใจว่าอาการไข้ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มาจากการติดเชื้อ ( exclude infectious cause ) เท่านั้น

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

แนวทางของการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุของ ไข้เฉียบพลัน

อาการไข้ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยส่วนมากจะสามารถหายได้เองและโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนมีน้อยมาก แต่สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดที่พบได้น้อยมากนั้น เมื่อเกิดขึ้นผู้ป่วยอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของภาวะอาการไข้เฉียบพลันต้องอาศัยความรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้ถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด เช่น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคตับชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้สูงอายุ เป็นต้น ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยด้วยภาวะไข้เฉียบพลันเบื้องต้น แพทย์หรือพยาบาลต้องประเมินว่าผู้ป่วยมีภาวะอาการที่เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อ ( Systemic inflammatory response syndrome หรือ SIRS ) ซึ่งอาจทำให้มีภาวะติดเชื้อ ( Sepsis ) ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้หลังจากร่างกายมีการติดเชื้อที่รุนแรงบางชนิด เพื่อต่อต้านกับการเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย หรือเกิดภาวะภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ ( Septic Shock ) ที่เป็นภาวะของอาการที่มักเกิดหลังจากมีการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่ทำให้ระดับความดันโลหิตของร่างกายลดลงผิดปกติ ส่งผลให้สาร

อาการและออกซิเจนในเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆได้ ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะผิดปกติหรือลดลง บางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาควรทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นก่อน เช่น การเพาะเชื้อจากเลือด การส่งตรวจแอนติบอดีในน้ำเลือดหรือวิทยาน้ำเหลือง ( Serology ) ตามลักษณะที่บ่งบอกของผู้ป่วย พร้อมทั้งให้ยาต้านจุลชีพแบบ empirical treatment และถ้าผู้ป่วยมีอาการคงที่ไม่รุนแรงมาก ควรทำการซักประวัติพร้อมทั้งตรวจร่างกายอย่างละเอียด จึงจะสามารถช่วยให้ผลการวินิจฉัยเพื่อหาแนวทางในการรักษาทำได้เร็วขึ้น

การซักประวัติและการตรวจร่างกาย

1.การซักประวัติ

1.1 ระยะเวลาในการเกิดไข้ของผู้ป่วย

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ภาวการณ์เกิดไข้มักจะมีรูปแบบและลักษณะที่ไม่จำเพาะเจาะจงกับโรคใดโรคหนึ่ง ยกเว้นแต่ว่าโรคนั้นมีลักษณะเด่นชัดเป็นเอกลักษณ์ เช่น โรคไข้เลือดออกที่จะทำให้มีไข้สูงตลอดทั้งวันนาน 3-7 วัน โดยที่ไม่ตอบสนองต่อยาลดไข้หรือที่เรียกว่าไข้ลอย โรคไข้มาลาเรียหรือการติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีไข้สูงหนาวสั่น โรคติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่มี อาการไข้เฉียบพลันแต่ถ้าร่างกายมีอาการแย่ลงเร็วมากแสดงว่ามีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียสูง หรือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในเขตร้อน เช่น โรคไข้รากสาดใหญ่ หรือโรคสครับไทฟัส ( Scrub Typhus ) , โรคมูรีนไทฟัส ( murine typhus ) , โรคไข้ฉี่หนู ( Leptospira ) , โรคไข้เอนเทอริค ( Enteric fever ) , ไข้ทัยฟอยด์ ( Typhoid fever ) เป็นต้น ซึ่งอาการไข้ที่เกิดขึ้นจะคงอยู่ไม่นานเกิน 2 สัปดาห์ เมื่อทราบลักษณะของอาการไข้แล้ว ต้องสังเกตอาการร่วมที่เกิดให้ครบถ้วนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบที่มักมีการติดเชื้อจนเป็นสาเหตุของไข้ เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบข้อ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท การเกิดผื่นหรือแผลที่บริเวณผิวหนัง เป็นต้น

1.2 ประวัติการสัมผัสโรค

1.2.1 อาชีพ ภูมิลำเนาเกิด ลักษณะของที่อยู่อาศัย เนื่องจากบางอาชีพมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับโรคบางชนิด เช่น ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ หรือผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับพื้นดิน ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอย่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเมลิออยด์ หรือ โรคเมลิออยโดซิส ( Melioidosis ) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ Burkholderia pseudomallei หรือผู้ที่ทำเกี่ยวกับปศุสัตว์หรือต้องอยู่ในพื้นที่น้ำขัง ย่อมีความเสี่ยงต่อโรคเลปโตสไปโรสิส ( Leptospirosis ) หรือโรคฉี่หนู หรือในพื้นที่มีความชุกของเชื้อไวรัสบางชนิดย่อมมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสได้ เช่น โรคชิคุนกุนยา ( chikungunya ) หรือบริเวณพื้นที่ภาคใต้หรือที่ลุ่มน้ำขังที่มีการระบาดของโรค เช่น โรคมาลาเรียเมื่อเดินทางเข้าป่า เป็นต้น

1.2.2 การสัมผัสสัตว์ที่มีความเสี่ยงหรืออยู่ในเขตพื้นที่มีสัตว์พาหะอาศัยอยู่ เช่น หนูที่เป็นพาหะหรือในฟาร์มปศุสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร ที่นำโรคมูรีนไทฟัส ( murine typhus ) หรือโรคฉี่หนู ( Leptospirosis ) การทำงานในฟาร์มสุกรหรือสถานที่ต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหมูดิบ จะมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อไข้หูดับหรือโรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis ) , การโดนสัตว์ที่มีเชื้อโรคกัด เช่น โรคพิษสุนัขบ้าจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, โรคเฮโมรายิกเซพติกซีเมีย ( Hemorrhagic Septicemia ) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียพาสทูเรลลา มัลโตซิดา ( Pasteurella multocida ) และการติดเชื้อแบคทีเรีย Capnocytophaga carnimorsus จากการเลียของสุนัขและแมว, โรคไข้หนูกัด ( Rat bite fever )ที่เกิดจาการติดเชื้อ Spirillum minus และ Streptobacillus moniliformis ที่อยู่ภายในช่องปากของหนู  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

1.2.3 การสัมผัสกับผู้ป่วยที่อยู่ในครอบครัว ในชุมชนหรือเพื่อนร่วมงานที่มีอาการเหมือนในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยกัน เช่น อาการไข้เลือดออก เป็นต้น

1.2.4 การรับประทานอาหาร อาหารบางชนิดอาจมีพาหะที่นำโรคสู่คนได้ ถ้าอาหารที่รับประทานไม่ได้ผ่านความร้อนที่เพียงพอ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ จะนำมาซึ่งเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis / S.suis ) ที่มีอยู่ในเนื้อหมูดิบ ที่นำมาซึ่งไข้หูดับ , เชื้อแบคทีเรีย brucellosis จากการดื่มนมแพะที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ที่นำมาซึ่งโรคแท้งติดต่อ

1.2.5 พฤติกรรมทางเพศ การเปลี่ยนคู่นอนเป็นประจำและมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการไข้เฉียบพลัน

การตรวจสอบประวัติการสัมผัสโรคสามารถช่วยบ่งชี้เบื้องต้นได้ว่า ภาวะไข้ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันจะมีสาเหตุมาจากสิ่งใด และเป็นการติดเชื้อชนิดใดได้ ซึ่งในการพิจารณาต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่มีการสัมผัสกับเชื้อโรคกับระยะเวลาที่โรคแสดงออกมาด้วย ว่าเชื้อที่ได้รับมานั้นยังอยู่ในระยะฟักตัวของเชื้อจริงหรือไม่

1.3 ประวัติการฉีดวัคซีนและยา

การตรวจสอบประวัติในการฉีดวัคซีนก่อนที่จะเข้ามารักษาด้วยไข้เฉียบพลัน เช่น ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ ( Japanese encephalitis ) เป็นการช่วยทำให้สาเหตุของอาการไข้แคบลง เนื่องจากเมื่อทำการฉีดวัคซีนมาแล้วโอกาสที่จะเป็นโรคดังกล่าวจะลดลง หรือการได้รับยาคลินดามัยซิน ( Clindamycin ) ก่อนที่จะเกิดการท้องเสียร่วมกับการมีไข้ จะทำให้สมมุตฐานเบื้องต้นได้ว่าอาจเป็น Pseudomembranous colitis ( PMC ) นั่นคือมีการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ Clostridium difficile ที่บริเวณลำไส้ใหญ่ หรือการที่มีไข้หลังจากได้รับยาที่อยู่ในกลุ่ม เตตราไซคลีน ( Tetracycline ) หรือยาในกลุ่มดอกซีไซคลิน ( Doxycycline ) ทำให้ตั้งข้อสมมุติฐานได้ว่ามีโอกาสที่จะติดเชื้อ rickettsial infection ได้น้อยลง เพราะว่ายากลุ่มนี้ตอบสนองต่อยาทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้ดีมาก

1.4 ภาวะและโรคประจำตัวของผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ปกติ ย่อมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่มีความรุนแรงสูงกว่าผู้ที่มีภูมิคุ้มกันของร่างกายปกติ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีการคาสายสวนหลอดเลือดจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบในกระแสเลือด เช่น ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการทำฟอกไต ( hemodialysis ) ทางเส้นเลือดสำหรับการฟอก ( vascular access ) เป็นต้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับสายสวนหลอดเลือด ( catheter-related bloodstream infection ) เพิ่มขึ้น    [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ไข้เฉียบพลัน ( Acute Febrile illness ) คือ อาการไข้ที่ร่างกายมีอุณหภูมิมากกว่า 37.2 องศาเซลเซียนในช่วงเช้าและอุณหภูมิ 37.7 ในช่วงเย็น อาการป่วยที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด

2.การตรวจร่างกาย

การตรวจร่างกายต้องทำการตรวจทุกระบบอย่างละเอียด และตรวจเน้นในบางระบบที่น่าสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไข้เฉียบพลันขึ้น ซึ่งการตรวจครั้งแรกอาจไม่พบความผิดปกติ ดังนั้นบางครั้งจะต้องทำการประเมินและตรวจซ้ำอย่างต่อเนื่อง เพราะความผิดปกติบางชนิดอาจมีการแสดงอาการและภาวะให้เห็นชัดเจนขึ้นเมื่อผ่านไประยะหนึ่ง และการตรวจบางอย่างต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากจะช่วยให้การวินิจฉัยโรคทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ได้แก่

2.1 สัญญาณชีพ

นอกจากการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อ( Sepsis ) หรืภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ ( septic shock ) ที่ต้องทำการรักษาทันทีที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ซึ่งสัญญาณชีพที่บ่งบอกว่าต้องได้รับการรักษาในทันที ได้แก่ เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากไข้ ( relative bradycardia ) และมีจุดแดงที่สามารถพบได้ในไข้ไทฟอยด์ ( Typhoid ) หรือโรคติดเชื้อ Rickettsia เป็นต้น

2.2 ลักษณะภายในช่องปาก

ซึ่งต้องทำการสังเกตที่บริเวณดังนี้ คอหอย ( Pharynx ) , ต่อมทอนซิล ( Tonsil ) , การอักเสบของเหงือก ( Gingivitis ) , โรคฟันผุ ( Dental caries ) หรือรากฟันเป็นหนอง ( Root abscess ) ซึ่งต้องทำการตรวจหาเชื้อราช่องปาก ( Oral Candidiasis ) ที่สามารถช่วยบ่งชี้ถึงภาวะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยได้    [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

2.3 ไซนัสและหู

อาการไข้เฉียบพลันสามารถเกิดได้จากการที่ไซนัสหรือหูชั้นกลางมีการอักเสบขึ้น ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่

2.4 ระบบทางเดินหายใจส่วนกลาง

สามารถทำการตรวจได้ด้วยการฟังที่บริเวณชายปอดส่วนกลาง ด้วยการฟังเสียงหายใจ (Breath sound) และเสียง crackle หรือเสียงขยี้ผมหรือเสียงกรอบแกรบที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำการหายใจ

2.5 ระบบประสาท

ในผู้ป่วยที่มีภาวะไข้เฉียบพลันและมีอาการปวดศีรษะมาก ๆ จะต้องทำการตรวจการตรวจอาการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง ( meningeal sign ) ร่วมด้วย

2.6 ระบบข้อ กระดูกและกล้ามเนื้อ

ต้องทำการตรวจหาลักษณะของข้ออักเสบ ( Arthritis ) หรืออาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อต่างๆ ด้วย

2.7 ระบบผิวหนัง

ด้วยการตรวจหาผดผื่น รอยแผลและทำการตรวจหาแผลคล้ายบุหรี่จี้ ( eschar ) ที่บริเวณใต้ร่มผ้า เพราะลักษณะของแผลดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะของโรคสครับไทฟัส ( Scrub typhus )

2.8 ต่อมน้ำเหลือง

ต้องทำการตรวจต่อมน้ำเหลืองโตทุกส่วนของร่างกาย ( Generalized Lymphadenopathy ) เพื่อเป็นการยืนยันว่าร่างกายมีการติดเชื้อในระบบน้ำเหลืองหรือไม่  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3.การจรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นการตรวจเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยของแพทย์ที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการไข้เฉียบพลันว่ามาจากสาเหตุ ซึ่งการตรวจมักจะทำการตรวจตามข้อวินิจฉัยเบื้องต้นที่มาจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายก่อน ซึ่งการตรวจที่ใช้ คือ

3.1 การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์หรือตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ( Complete Blood Count : CBC )

คือการตรวจปริมาณเม็ดเลือดขาวว่ามีปริมาณต่ำหรือสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่เฉพาะต่อโรคใดเป็นพิเศษ และหากน้อยกว่า 5,000 cells / mm³ อาจจะจากไวรัสหรือติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง แต่มากกว่า 10,000 cells / mm³ หรือมากกว่า 20,000 cells / mm³ และมีนิวโทรฟิลเด่น ( PMN predominate หรือ left shift ) เกิดร่วมด้วยหรือการดู peripheral blood smear พบ toxic granule / vacuolization ใน cytoplasm ของนิวโทรฟิล สามารถบ่งบอกได้ว่ามีการติดเชื้อแบคมีเรีย หรือมีการาตรวจพบเอทิปปิเคิลลิ้มโฟไซต์ ( Atypical lymphocyte ) หรือพบว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte จะมีขนาดเซลล์ใหญ่ขึ้นและมีรูปลักษณะของเซลล์ผิดไปจากLymphocyteปกติทั่วไปโดยเฉพาะรูปลักษณะของ Nucleus แสดงว่ามีการติดเชื้อไวรัส

3.2 การตรวจปัสสาวะ ( Urinalysis หรือ UA )

เพื่อทำการวินิจฉัยการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินปัสสาวะ ( Utract infection ) นอกจากต้องสังเกตการแล้วยังต้องทำการตรวจพบอาการปัสสาวะเป็นหนอง ( Pyuria ) ซึ่งถ้าพบว่ามีเม็ดเลือดขาวเพียงเล็กน้อยในปัสสาวะจะไม่สามารถยืนยันได้ จะต้องทำการเพาะเชื้อก่อนที่จะใช้ยาต้านจุลชีพ เพราะผู้ป่วยที่ติดเชื้อผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อริกเก็ตเซียหรือ leptospirosis อาจตรวจพบเม็ดเลือดแดงหรือเม็ดเลือดขาวได้ในปัสสาวะ ( 10-50 cells/HPF ) ร่วมกับ mild proteinuria หรือ cast ได้เช่นเดียวกัน

3.3 Chest X-ray

ทำการเอ็กเรย์ปอดเพื่อดูรอยโรคในปอด เนื่องจากรอยโรคที่บริเวณปอดสามารถบ่งชี้สาเหตุเบื้องต้นของอาการไข้ได้ โดยถ้าปอดลักษณะของปอดอักเสบทั้งสองข้างหรือ multilobar infiltration แสดงว่ามีการติดเชื้อแบบ systemic infection หรือ hematogenous spreading แต่ถ้ามีรอยโรคเพียงแห่งเดียวแสดงว่ามีการติดเชื้อที่ปอดก่อน ซึ่งการดูภาพรังสีของปอดต้องใช้ร่วมกับการวินิจฉัยแบบอื่นเสมอ เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการวินิจฉัยโรค  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3.4 การเพาะเชื้อจากเลือด ( Hemoculture )

ในผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อแบคมีเรีย แพทย์ควรทำการส่งเลือดเพื่อทำการเพาะเชื้ออย่างน้อย 2 ขวด เพื่อความแม่นยำและลดการปนเปื้อน ซึ่งควรส่งเลือดตรวจก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับยาต้านจุลชีพ

3.5 การตรวจเพิ่มเติม

นอกจากการตรวจข้างต้นแล้วยังมีการตรวจที่ช่วยวินิจฉัยสาเหตุของไข้เฉียบพลันได้ เช่น การตรวจ dengue NS1 antigen/dengue lgM , leptospira titer , mellioidosis titer , lmmuno Fluorescent Antibody ( IFA ) for scrub/murine typhus , thick and thin film or rapid diagnostic test for malaria ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจชนิดใดเพิ่มเติมจะต้องอาศัยการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นแนวทางในการตรวจ

แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไข้เฉียบพลัน ( Acute Febrile illness )

สำหรับผู้ป่วยที่ทำการตรวจจนพบสาเหตุของอาการไข้เฉียบพลันให้ทำการรักษาตามสาเหตุได้ทันที แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยกลุ่มอาการไข้เฉียบพลันที่ไม่ใช่ไข้มาลาเรียแล้ว ควรพิจารณาตามอาการทางคลินิก โดยหากผู้ป่วยมาจากชุมชนที่มีภาวะติดเชื้อ( Sepsis ) หรืภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ ( septic shock ) หรือมีไข้สูง และมีความเสี่ยงที่จะมีอาการแย่ลงควรให้ empirical treatment ด้วย doxycycline หรือ azithromycin ร่วมกับ ceftriaxone หรือ cefotaxime ในทันที เพราะสามารถครอบคลุมการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของอาการไข้เฉียบพลันที่เกิดจากแบคทีเรียในกระแสเลือดได้ทั้งหมด แต่ถ้าผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ B.pseudomalleii เช่น ชาวนา ชาวไร่ มีภูมิลำเนาหรืออาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเป็นโรคเบาหวาน หรือไตวายชนิดเรื้อรังต้องทำการให้ ceftazidime แทน ceftriaxone แล้วจึงค่อยทำการประเมินอาการต่อไปเรื่อยๆ พร้อมทั้งทำการตรวจเพาะเชื้อเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

ในกลุ่มผู้ป่วยที่มี อาการไข้สูงเฉียบพลันที่มีอาการคงที่ และไม่มีข้อบ่งชี้ที่เป็นลักษณะเฉพาะให้ทำการนัดตรวจทุก 1-2 วัน เพื่อรอผลการตรวจวินิจฉัยสาเหตุและทำการรักษาต่อไป    [adinserter name=”sesame”]

อาการไข้เฉียบพลันเป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก แม้สาเหตุที่พบจะไม่ร้ายแรงและมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้น้อยมาก แต่ไข้เฉียบพลันที่หาสาเหตุว่าเกิดจากการติดเชื้อชนิดใดหรือเรียกว่า Acute undifferentiated fever ( AUF ) ที่มักเกิดจากโรคติดเชื้อเมืองร้อน เช่น มาลาเรีย ไข้เลือดออก เลผโตสไปโรสิส scrub typhus และ mellioidosis ซึ่งอาการในช่วงแรกจะทำการแยกสาเหตุว่ามีการติดเชื้อจากแบคทีเรียในกระแสเลือดหรือสาเหตุอื่น ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรง เมื่อเข้ารับการรักษาจะต้องทำการตรวจด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการไข้เฉียบพลัน เพื่อนำไปสู่แนวทางการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

อาการเป็นลมหมดสติ ( Syncope )

0
อาการเป็นลมหมดสติ ( Syncope )
อาการเป็นลม อาการหน้ามืด จนหมดสติ หรืออาการวูบ เป็นอาการป่วยทั่วไปที่เข้ามารับการรักษาจากแผนกฉุกเฉิน มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป
อาการเป็นลมหมดสติ ( Syncope )
อาการเป็นลม อาการหน้ามืด จนหมดสติ หรืออาการวูบ เป็นอาการป่วยทั่วไปที่เข้ามารับการรักษาจากแผนกฉุกเฉิน มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป

อาการเป็นลม ( Syncope )

อาการหน้ามืด หรือ อาการเป็นลม ( Syncope ) จนหมดสติหรืออาการวูบ ( Syncope หรือ Spontaneous transient lost of consciousness ) เป็นอาการป่วยทั่วไปที่เข้ามารับการรักษาจากแผนกฉุกเฉิน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้แรงงานประมาณร้อยละ 1 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทั้งหมด โดยในปัจจุบันนี้มีการให้คำนิยามของคำว่า “ Syncope ” คือ “ a transient loss of consciousness ( TLOC ) due to transient global cerebral hypoperfusion characterized by rapid onset , short duration , and spontaneous complete recovery ” หรือ “ การสูญเสียความรู้สึกหรือรู้สำนึกเพียงชั่วคราว ( TLOC ) เนื่องจากการลดลงของอาการสมองไม่สมดุลระหว่างสมองที่เกิดจากการเริ่มมีอาการอย่างรวดเร็วระยะเวลาสั้น ๆ และการฟื้นตัวที่สมบูรณ์แบบตามธรรมชาติ ” ภาวะเป็นลมมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป แต่ทว่าถ้าพบภาวะนี้ในวัยรุ่นมักจะมีสาเหตุที่ร้ายแรงมากกว่าที่พบในผู้สูงอายุ

ชนิดของ อาการเป็นลม

ชนิดของอาการเป็นลมที่พบในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา สามารถทำการแบ่งตามลักษณะทางพยาธิสรีรวิทยาออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.Reflex syncope หรือ neutrally mediated syncope

คือ อาการหน้ามืดหมดสติที่เกิดจากการทำงานระบบประสารทอัตโนมัติ ( Parasympathetic system ) ได้รับการกระตุ้นมากเกินไป ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นช้าลงหรือกระตุ้นทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัวมากขึ้น จนเป็นผลให้ความดันโลหิตต่ำจนเลือดไม่สามารถที่จะพาออกซิเจนขึ้นไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอหรือขึ้นไปได้ในปริมาณที่น้อยมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเป็นลมและหมดสติในเวลาต่อมา ซึ่งสาเหตุของอาการหน้ามืดแบบนี้คือ

1.1 การเป็นลมธรรมดา ( Vasovagal syncope ( VVS ) หรือ common faint )

เป็นอาการหน้ามืดที่สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุน้อยที่มีสุขภาพร่างกายหรือจิตใจอ่อนแอ เช่น คนป่วย อดนอน หิว หรืออยู่ในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมหรือตัวกระตุ้น ( Triggers ) อื่น ๆ เช่น อากาศร้อน แสงแดด ความเครียด ความวิตกกังวล ยืนท่าเดียวเป็นเวลานาน ( Postural stress ) เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติเกิดการหยุดทำงานแบบชั่วคราว ทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลงและเป็นลมหมดสติ หรือบางครั้งสิ่งเร้าอาจทำให้หัวใจมีจังหวะการเต้นที่ช้าลงหรือหัวใจหยุดเต้นเพียงเล็กน้อย หรือเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน กลางแจ้งโดย อาการเป็นลม หมดสติเนื่องจากความร้อน ( Heat syncope ) เกิดขึ้นได้ ซึ่งก่อนที่จะหมดสติผู้ป่วยมักมีอาการนำมาก่อน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หน้าซีด เหงื่อแตก จึงจะหมดสติ หรือเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดและเส้นประสาทเวกัส ( Vasovagal syncope หรือ neurocardiogenic syncope ) มีเลือดคั่งตามส่วนต่าง ๆ ทำให้เลือดพาออกซิเจนขึ้นไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอนั่นเอง

1.2 ภาวะเป็นลมเนื่องเกิดจากอากัปกิริยา ( Situational Syncope )

คือ อาการเป็นลมหมดสติเนื่องจากร่างกายมีการทำกิริยาใดกิริยาหนึ่งอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เช่น การไออย่างรุนแรงติด ๆ การจาม การหัวเรา การกลืน ปัสสาวะหรือการอุจจาระ บ่อย ๆ หรือซ้ำ ๆ หลายครั้งจนทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติ ( Autonomic nervous system ) เกิดการดึงอย่างฉับพลัน ส่งผลให้เกิดอาการเป็นลม เช่น การเป็นลมเพราะปัสสาวะปัสสาวะ ( Micturition syncope ) เนื่องจากการเบ่งปัสสาวะหรือหลังจากปัสสาวะที่ทำการอั้นมานาน เป็นต้น

1.3 Carotid sinus syncope (CSS)

คือ อาการเป็นลมหมดสติที่เกิดจากการกระตุ้นคาโรติด ไซนัส ( Carotid sinus ) ด้วยการกดหรือการนวด การทำ Carotid Massage สามารถทำให้เกิดอาการซ้ำได้ ซึ่งมักเกิดจากหัวใจมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia ) หรือการที่โครงสร้างของหัวใจมีความผิดปกติที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพาการบีบของหัวใจทำงานได้ไม่ดี

2. ภาวะเป็นลมที่เกิดจากความดันโลหิตตกในท่ายืน ( Orthostatic hypotension )

คือ การที่ความดันในของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดเข้าสู่หลอดเลือด หรือความดันโลหิตซีสโตลิค (Systolic blood pressure หรือ systolic BP) และความดันเลือดที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจเกิดการพักคลายตัว หรือความดันโลหิตไดแอสโตลิค (Diastolic blood pressure หรือ diastolic BP) มีค่าลดลงมากกว่า 20 mmHg หรือเท่ากับ 10 mmHg ภายในระยะเวลา 3 นาที หลังจากทำการเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เปลี่ยนจากท่านอนเป็นยืน ท่านั่งเป็นยืน เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 15 จะเป็นลมเนื่องจากสาเหตุนี้ ซึ่งจะพบว่าผู้สูงอายุจะเป็นลมเนื่องจากสาเหตุนี้มากกว่าวัยรุ่น และสามารถทำการแบ่งสาเหตุย่อยได้อีกดังนี้

2.1 ระบบประสาทอัตโนมัติล้มเหลว ( Autonomic failure ) ซึ่งอาจเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติเอง

( Primary Autonomic Failure )

คือ อาการเป็นลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานของระบบประสาทมีความผิดปกติหรือล้มเหลวจากโรค เช่น Multiple system atrophy (MSA) ที่ระบบของร่างกายเกิดความผิดปกติหรือมีความเสื่อมเกิดขึ้น โรคพาร์กินสันกับความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Parkinson’s disease with autonomic failure), โรคสมองเสื่อมจากมวลเลวีบอดี้ (Dementia with Lewy body) ที่มีความคิดสับสน บางวันปกติ บางวันไม่ชัด เห็นอาการของภาพหลอน (visual hallucination) มีอาการสั่นเทา ( tremor ) หรือข้อมีอาการแข็งเกร็ง ( rigidity )

2.2 อาการข้างเคียงจากโรคอื่น ๆ ( Secondary autonomic failure )

คือ อาการเป็นลมที่เกิดขึ้นจากโรคอื่น ๆ หรือโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ที่ร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลิน ( Insulin ) , โรคแอมีลอยโดซิส หรือ อะมีลอยโดซิส ( Amyloidosis ) คือโรคที่เกิดจากโปรตีนมีความผิดปกติ ที่มักเรียกว่า แอมีลอยด์ ( Amyloid ) มีการสะสมในเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกายมากเกินไป

2.3 Volume depletion

ภาวะขาดน้ำ สูญเสียเลือดหรือโรคแอดดิสัน ( Addison’s disease ) ที่ต่อมหมวกไตซึ่งอยู่เหนือไตทั้ง 2 ข้างผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล ( Cortisol ) และฮอร์โมนอัลดอสเตอโรน ( Aldosterone ) ได้ไม่เพียงพอ

2.4 ผลข้างเคียงของยา ( Drug induced )

อาการเป็นลม อาจเกิดเป็นอาการข้างเคียงของการได้รับยาบางชนิดได้ เช่น ยาขยายหลอดเลือด ( Vasodilators ) , ยาขับปัสสาวะ ( Diuretic ) ที่เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มของยาที่มีฤทธิ์ในการขับน้ำ ( Water Pills ) ออกจากร่างกายหรือยารักษาอาการซึมเศร้า ( Antidepressant ) เป็นต้น

อาการเป็นลม อาการหน้ามืด จนหมดสติ หรืออาการวูบ เป็นอาการป่วยทั่วไปที่เข้ามารับการรักษาจากแผนกฉุกเฉิน มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป

3.ภาวะเป็นลมจากโรคหัวใจ ( Cardiac syncope หรือ cardiovascular syncope )

คือ อาการเป็นลม ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ ทำให้การทำงานของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วย มีสาเหตุหลัก ๆ อยู่ 2 แบบด้วยกันคือ

3.1หัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia )

อาการเป็นลม สามารถเกิดจากการที่หัวใจเต้นผิดปกติทั้งแบบหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ( Bradycardia ) คือ ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจ ( Beat per minute ย่อว่า BPM ) ต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งน้อยกว่าการเต้นของหัวใจในอัตราปกติ หรือหรือแบบที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ( Tachycardia ) คือ ภาวะที่หัวใจมีอัตราการเต้น ( Beat per minute ย่อว่า BPM ) มากกว่า 100ครั้งต่อนาที

3.2รูปร่างหัวใจผิดปกติ ( Structural Heart Disease )

ซึ่งสามารถเกิดได้จาก obstructive heart diseases เช่น ลิ้นหัวใจตีบ ( aortic stenosis ) , กล้ามเนื้อหัวใจหนา โดยเฉพาะผนังหัวใจห้องซ้ายล่างที่กั้นระหว่างหัวใจห้องซ้ายล่างและขวาล่าง ( Interventricular septum ) จะมีความหนามากจนเข้าไปปิดกั้นการสูบฉีดเลือดที่มาจากหัวใจห้องซ้ายล่างไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า ( Hypertrophic Obstructive CardioMyopathy , HOCM ) , โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน Acute pulmonary embolism ( PE ) , prosthesis valve dysfunction หรือ non-obstructive heart disease เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ( Acute myocardial infarction ) โรคหัวใจขาดเลือด (  Ischemic Heart Disease ) เป็นต้น

4.ไม่ทราบสาเหตุ ( Undetermined )

ภาวะเป็นลมประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยบางครั้งอาจจะไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนของการเป็นลมได้

เมื่อผู้ป่วยมีภาวะเป็นลมเกิดขึ้นจำเป็นจะต้องทำการประเมินเบื้องต้นถึงสาเหตุที่ทำให้เป็นลมได้ ซึ่งหลักการประเมินเบื้องต้นที่ปฏิบัติ มีจุดประสงค์ก็เพื่อให้ทราบถึงคำตอบของคำถาม 3 ข้อ คือ

1.เกิดภาวะเป็นลมหมดสติ ( True syncope ) จริงหรือไม่

2.สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นลมได้หรือไม่

3.อาการเป็นลม ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมีอัตราความเสี่ยงสูงหรือไม่ เพื่อช่วยในการประเมินว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าพยาบาลหรือแพทย์ผู้ทำการรักษา ถ้าจำเป็นให้ทำการรับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยใน พร้อมทั้งทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อเติมอย่างรวดเร็ว เพื่อหาสาเหตุของภาวะเป็นลมที่เกิดขึ้น

การประเมินความเสี่ยง ( Risk Stratification )

ลักษณะของภาวะเป็นลมของผู้ป่วยที่จัดว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต ( Cardiovascular death ) ดังนี้

1.ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับโครงสร้าง ( Severe structural ) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease ) หรือโรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ( coronary artery ) เกิดการตีบหรือตัน

2.คุณสมบัติทางคลินิกหรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่มีการบ่งชี้ว่ามีลักษณะของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ( Arrhythmia ) จนทำให้เกิดภาวะเป็นลม

3.โรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น โลหิตจาง ( Anemia ) หรือภาวะซีดที่ทำให้ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงอยู่ในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง หรือความสมดุลของอิเล็กโตรไลท์ ( Electrolyte ) มีการถูกรบกวนทำให้เสียสมดุลไป ส่งผลให้ความดันผิดปกติ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่เป็นลมหมดสติ

เมื่อพบผู้ป่วยที่เป็นลมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้

1. จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายศีรษะต่ำกว่าลำตัว พร้อมทั้งทำการยกขาทั้งสองข้างขึ้นให้สูงกว่าหัวใจ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรู้สึกตัวได้ภายในเวลาสั้น

2. ทำการคลายเสื้อผ้าด้วยการปลดกระดุม สายรัดหรือเข็มขัดที่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อช่วยให้การหายใจและการไหลเวียนของเลือดไหลได้ดีขึ้น

3. ทำการตรวจนับอัตราการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจหรือจับชีพจรที่ข้อมือหรือบริเวณคอดูการเต้นของหัวใจ

4.รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

อาการเป็นลมบางครั้งอาจมองว่าเป็นภาวะที่ไม่อันตราย ผู้ป่วยบางรายไม่ให้ความสำคัญในการตรวจรักษา แต่รู้หรือไม่ว่า ภาวะเป็นลมบางครั้งอาจนำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นเมื่อมีภาวะเป็นลมเกิดขึ้นควรรีบเข้าไปรับการรักษาเพื่อหาสาเหตุในทันที เนื่องจากภาวะเป็นลมสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยการ ทำให้การหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะเป็นลมจึงมีความสำคัญสูงมาก เพราะสาเหตุบางชนิดที่ทำให้เกิดภาวะนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่รีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที เช่น โรคหัวใจตีบหรือตัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ซึ่งเมื่อผู้ป่วยเขารับการรักษาต้องทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียดตามหลักการเพื่อทำการแยกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงน้อย สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถประเมินเบื้องต้นถึงสาเหตุที่แท้จริงได้ ต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อเป็นองค์ประกอบในการวินิจฉัยสาเหตุและแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับตัวผู้ป่วยเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ. อาการทางอายุรศาสตร์ Medical Symptomatology ฉบับปรังปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell ( RBC )

0
เซลล์เม็ดเลือดแดง เกิดจากไขกระดูกมีอายุประมาณ 120 วัน ทำหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจนส่งให้ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกด้วยการหายใจออก
การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง RBC ( Red Blood Cell Count )
เซลล์เม็ดเลือดแดง เกิดจากไขกระดูกมีอายุประมาณ 120 วัน ทำหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจนส่งให้ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกด้วยการหายใจออก

เซลล์เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell ( RBC )

เซลล์เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell ( RBC ) เกิดจากไขกระดูกมีอายุประมาณ 120 วัน เซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่สำคัญในการขนส่งออกซิเจนจากปอดโดยการให้ออกซิเจนจับที่ผิวของเม็ดเลือดแดงแล้วนำไปตามหลอดเลือดเพื่อส่งให้ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับส่งมาให้ปอดและขับออกนอกร่างกายด้วยการหายใจออก 

ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงที่ทำให้สู่โรคโลหิตจาง ซึ่งอาจมีความเกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงดังนี้
1. ขนาด เล็กเกินไป ใหญ่เกินไป หรือมีขนาดไม่สม่ำเสมอ
2. รูปร่าง ไม่กลมแบน โดยอาจเป็นรูปทรงกลมหรือรูปเคียว
3. สี สีเลือดไม่แดงสดเพราะขาดธาตุเหล็ก จึงจับออกซิเจนส่งให้เซลล์ต่างๆไม่ได้
4. จำนวน เม็ดเลือดแดงในน้ำเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตรน้อยกว่าระดับมาตรฐาน

วัตถุประสงค์ในการตรวจเซลล์เม็ดเลือดแดง  

เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์และแสดงจำนวนนับเม็ดเลือดแดงในเลือดว่ามีอยู่ระดับปกติหรือไม่ ซึ่งถ้าอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติแสดงว่าอาจเป็นโรคโลหิตจาง หรือถ้าระดับสูงกว่าปกติแสดงถึงสภาวะของโรคมะเร็งหรือโรคไตหรือโรคเลือดร้ายแรงโรคใดโรคหนึ่ง

ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง 

จำนวนนับเซลล์เม็ดเลือดแดงมีความแตกต่างตามเกณฑ์อายุและเพศ
ชาย = 4.2 – 5.4 106/ µL
หญิง = 3.6 – 5.0 106/ µL
เด็ก = 4.6 – 4.8 106/ µL

ค่าผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง จากผลการตรวจเลือด

1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
ก. เกิดภาวะของโรคโลหิตจาง
ข. อาจมีอาการเสียเลือดทั้งที่เห็นด้วยตา และไม่อาจสังเกตเห็น เช่น ตกเลือดในลำไส้
ค. เกิดสภาวะของโรคไตวายเรื้อรัง
ง. อาจเกิดโรคที่ไขกระดูก
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
ก. อาจอยู่ในที่ที่มีออกซิเจนบางกว่าปกติ เช่น ท้องถิ่นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล
ข. เกิดภาวะของโรคเม็ดเลือดแดงคับคั่ง อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ค. อาจเกิดโรคมะเร็งที่เนื้อเซลล์ของไต
ง. ร่างกายอยู่ในภาวะความเครียดเป็นเวลานาน
จ. อาจเกิดโรคธาลัสซีเมียหรือโรคโลหิตจาง
ฉ. ร่างกายอาจขาดน้ำ

หมู่โลหิตและกลุ่มค่าอาร์เอช

หมู่โลหิต ( Blood Type หรือ Blood Group ) คือ การแยกแยะ เลือด เป็นหมวดหมู่ ปัจจุบันมีระบบหมู่โลหิต 32 ระบบ ระบบหมู่โลหิตที่สำคัญ ระบบเอบีโอ ( ABO System ) และ ระบบอาร์เอช ( Rh System ) โดยจำแนกตาม แอนติเจน ที่อยู่บนเม็ดเลือดแดง
หมู่โลหิตของมนุษย์จะมีระบบ ABO แล้ว ยังมีหมู่โลหิตอีกระบบหนึ่งที่มีความสำคัญ คือหมู่โลหิตระบบอาร์เอช ( Rh ) ซึ่งในการใช้ระบบเลือดแบบ Rh หรือ Rhesus ( รีซัส ) ซึ่งเป็นได้ 2 แบบคือ Rh+ และ Rh- จึงจำแนกออกได้เป็น 8 หมู่

วัตถุประสงค์ในการตรวจค่าอาร์เอช

เพื่อให้ทราบถึงหมู่เลือดของตนเองถ้ามีค่า Rh บวกหรือลบ

ประโยชน์ของการตรวจหมู่เลือดเอบีโอและหมู่เลือดอาร์เอชคือ
1.เป็นลักษณะจำเพาะที่พบบนเม็ดโลหิตทำให้แต่ละบุคคลทราบชนิดหมู่เลือดของตนเอง
2. เป็นหมู่เลือดหลักที่ใช้ในการพิจารณาหาเลือดที่เหมาะสมและเข้ากันได้กับผู้ป่วยที่ต้องได้รับเลือดเพื่อการรักษาภาวะผิดปกติของร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ ( ผลข้างเคียง ) จากการได้รับเลือด
3.การที่สามารถตรวจและทราบชนิดของหมู่เลือดเอบีโอและหมู่เลือดอาร์เอชจะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยและป้องกันภาวะที่หมู่เลือดแม่และลูกเข้ากันไม่ได้ที่อาจทำให้เม็ดเลือดแดงของลูกถูกทำลายโดยแอนติบอดีจากแม่ได้
4.หมู่เลือดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยการควบคุมของยีน/จีนจึงใช้เป็นหลักฐาน พิสูจน์ทางนิติเวชถึงความเป็นพ่อแม่ลูกกันได้และใช้ศึกษาการสืบเชื้อสายของเหล่าพันธุ์ได้

ตารางสรุปมาตรฐานการถ่ายเลือดระหว่างผู้ให้เลือด และผู้รับเลือด

หมู่เลือดผู้ให้ หมู่เลือดผู้รับ
ทุกหมู่เลือด AB+
O- A- B- AB- AB-
O- O+ A- A+ A+
O- A- A-
O- O+ B- B+ B+
O- O+ B-
O- O+ O+
O- O-

ตารางการถ่ายทอดหมู่เลือดระบบเอบีโอของพ่อแม่ให้ลูก

หมู่เลือดของพ่อแม่ หมู่เลือดของลูก
O + O O
O + A O , A
O + B O , B
O + AB A , B
A + A O , A
A + B O , A , B , AB
A + AB A , B , AB
B + B O , B
B + AB A , B , AB
AB + AB A , B , AB

ชนิดของเซลล์เม็ดเลือดแดง

เซลล์เม็ดเลือดแดงมีหลายชนิด เกิดมาจากไขกระดูกซึ่งสามารถแยกย่อยได้ดังนี้
1. ฮีโมโกลบิน ( Hemoglobin ) Hb, Hgb, HGB
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นโปรตีนสีแดงเข้มเป็นองค์ประกอบหลักของเม็ดเลือดแดง มีธาตุเหล็กผสมอยู่ ช่วยให้ฮีโมโกลบินสามารถจับออกซิเจนเต็มประสิทธิภาพจากปอดแล้วส่งให้แก่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกายได้สมบูรณ์

2. ฮีมาโทคริต ( Hematocrit ) Hct, HCT
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เป็นความเข้มข้นหรือความหนาแน่นของปริมาตรเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่ในน้ำเลือดขณะนั้น ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของการเกิดโรคโลหิตจาง

เซลล์เม็ดเลือดแดง เกิดจากไขกระดูกมีอายุประมาณ 120 วัน ทำหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจนส่งให้ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกด้วยการหายใจออก

3. เอ็มซีวี ( MCV )
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นค่าปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง คำนวณได้จากค่า Hematocrit หารด้วยจำนวน RBC

วัตถุประสงค์ในการตรวจเอ็มซีวี ( MCV )
จุดประสงค์ของการตรวจ MCV คือ เพื่อหาค่าปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงซึ่งมีหน่วยเป็น Femtoliter หรือ fL

ค่าปกติของ MCV
ผู้ชาย อายุ 12-18 ปี = 78 – 98 fL
ผู้หญิง อายุ 12-18 ปี = 78 – 102 fL
ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป = 78 – 98 fL

ค่าผิดปกติของ MCV
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่าเม็ดเลือดแดงอาจมีขนาดเล็กกว่าปกติ
1.1 อาจเกิดโรคโลหิตจาง หรือ ธาลาสซีเมีย
1.2 ร่างกายขาดธาตุเหล็ก
1.3 อาจเกิดโรคไตวายเรื้อรัง
1.4 ร่างกายได้รับพิษจากตะกั่ว
2. ในทางมาก อาจแสดงว่าเม็ดเลือดแดงอาจมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
2.1 ร่างกายอาจพร่องวิตามิน B12 หรือกรดโฟลิค
2.2 อาจเกิดโรคโลหิตจาง
2.3 ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
2.4 เกิดโรคตับ
2.5 เกิดสภาวะโรคไขกระดูกเสื่อม
2.6 อาจอยู่ในสภาวะเสพติดแอลกอฮอร์ 

4. เอ็มซีเอช ( MCH ) Mean Corpuscular Hemoglobin
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เป็นค่าน้ำหนักเฉลี่ยของเนื้อฮีโมโกลบิน ( Hemoglobin )

วัตถุประสงค์ในการตรวจเอ็มซีเอช ( MCH )
เพื่อหาค่าเฉลี่ยหรือน้ำหนักของเนื้อฮีโมโกลบิน และใช้เป็นข้อมูลที่ช่วยร่วมยืนยันว่าค่า MCV ว่ามีความถูกต้องมากน้อยเพียงใดด้วย

ค่าปกติของเอ็มซีเอช ( MCH )
ค่าปกติทั่วไป = 27.5 – 33.5 pg / cell

ค่าผิดปกติของเอ็มซีเอช ( MCH )
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
1.1 อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดง มีขนาดเล็กกว่าปกติ (Microcytic anemia) ซึ่งควรได้รับการยืนยันด้วยค่า Hemoglobin, Hematocrit, MCV และ RDW
1.2 กรณีที่ MCH เริ่มมีค่าต่ำกว่า 30 pg/cell อาจบ่งชี้ว่าร่างกายกำลังเริ่มมีการสังเคราะห์ Hemoglobin ที่ผิดปกติ
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
2.1 อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดง มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งควรได้รับการยืนยันด้วยเช่นกัน

5. เอ็มซีเอชซี ( MCHC ) Mean Corpuscular Hemoglobin Concentration
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เป็นค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของเนื้อฮีโมโกลบินภายในแต่ละเซลล์เม็ดเลือดแดง

วัตถุประสงค์ในการตรวจเอ็มซีเอชซี ( MCHC )
เพื่อตรวจค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของเนื้อฮีโมโกบินภายในเม็ดเลือดที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการจับออกซิเจน

ค่าปกติของเอ็มซีเอชซี ( MCHC )
ค่าปกติทั่วไป = 28 – 33 gm/dL

ค่าผิดปกติของเอ็มซีเอชซี ( MCHC )
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
1.1 เกิดโรคโลหิตจางชนิดยีนบกพร่องในฮีโมโกลบิน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมที่เรียกว่า ยีนซึ่งก่อให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย
1.2 อาจเกิดสภาวะเม็ดเลือดแดงสีซีด เนื่องจากร่างกายอาจมีความบกพร่องหรือขาดธาตุเหล็ก
2. ในทางมาก อาจแสดงว่า
2.1 ฮีโมโกลบินอาจมียินบกพร่องจากพันธุกรรม ทำให้เกิดการผันแปรไม่แน่นอนทางด้านรูปร่าง เช่น อาจค่อย ๆ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติจนกลายเป็นรูปทรงกลมคล้าย ๆ ลูกปิงปอง
2.2 อาจเกิดจากผู้ป่วยมีอาการหนัก เช่น แผลไฟลวก ทำให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงเร่งส่งออกซิเจนให้ทันความต้องการของเซลล์ซึ่งกำลังเกิดปัญหาในร่างกาย   

6. อาร์ดีดับเบิ้ลยู ( RDW ) Red Cell Distribution Width
เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของการตรวจคุณภาพเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่บอกความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง

วัตถุประสงค์ในการตรวจอาร์ดีดับเบิ้ลยู ( RDW )
เพื่อตรวจความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง ซึ่งขนาดที่แตกต่างจากปกตินั้นอาจแสดงตัวเลขเม็ดเลือดที่ผิดปกตินับได้เป็นจำนวน % ของเม็ดเลือดแดง ซึ่ง RDW ยิ่งมี % สูงขนาดเม็ดเลือดแดงจะผิดขนาด และจับออกซิเจนได้น้อยลงและสะท้อนให้เห็นถึงระดับความรุนแรงของโรคโลหิตจาง

ค่าปกติของอาร์ดีดับเบิ้ลยู ( RDW )
ค่าปกติทั่วไป = 11.5 – 14.5%

ค่าผิดปกติของอาร์ดีดับเบิ้ลยู ( RDW )
1. ในทางน้อย อาจแสดงว่า
เป็นข้อมูลที่ช่วยบ่งชี้สุขภาพเม็ดเลือดแดงดีเยี่ยม ซึ่งมีเม็ดเลือดที่ต่างขนาดกันไม่ถึง 11.5%
2. ในทางมาก 
กรณี MCV อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ อาจแสดงว่า
ก. อาจเกิดโรคโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก
ข. อาจเกิดจากสภาวะเม็ดเลือดแดงฉีกขาด
ค. อาจปรากฏยีนของฮีโมโกบิน ซึ่งเป็นความบกพร่องทางพันธุกรรมที่สืบทอดมาจากกรรมพันธุ์
กรณี MCV อยู่ในระดับปกติ อาจแสดงว่า
ก. ร่างกายอาจเริ่มเกิดโรคโลหิตจางการขาดธาตุเหล็ก
ข. อาจเกิดความบกพร่องวิตามิน B12
ค. อาจเกิดความบกพร่องเกลือฟอเลต หรือฟอลิก
กรณี MCV อยู่ในระดับสูงปกติ อาจแสดงว่า
ก. ร่างกายอาจขาดเกลือฟอเลต หรือ กรดฟอลิก
ข. ร่างกายอาจขาดวิตามิน B12
ค. ร่างกายอาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดภูมิคุ้มกันทำลายเม็ดเลือดแดงของตนเอง
ง. ร่างกายอาจเกิดโรคตับ

ความแตกต่างระหว่าง ฮีมาโทคริต และ เฮโมโกลบิน

ฮีมาโตคริต ( Hematocrit ) เฮโมโกลบิน ( Hemoglobin ) 
เปอร์เซ็นต์ของเซลล์สีแดงในเลือดของคุณ ช่วยให้เซลล์แดงสามารถขนส่งออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ไปทั่วร่างกาย
ผู้ชายมีตั้งแต่ 41 – 50 เปอร์เซ็นต์ ผู้ชายมีตั้งแต่ 13.8 – 17.2 g / dL
ผู้หญิงคือ 36 – 48 เปอร์เซ็นต์ ผู้หญิงมีตั้งแต่ 12.1 – 15.1 g / dL

ดังนั้น ตรวจเฮโมโกลบินก่อนการบริจาคโลหิตทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริจาคมีระดับเม็ดเลือดแดงเพียงพอที่จะบริจาคเลือดได้ ผู้บริจาคโลหิตต้องมีฮีโมโกลบินอย่างน้อย 12.5 g / dL แต่ไม่เกิน 20 g / dL   

ทำไมการบริจาคโลหิตจึงมีความสำคัญมาก

สถิติจากสภากาชาดไทยพบว่า โลหิต เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญสามารถการรักษาผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วยบาดเจ็บ ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยเรื้อรัง และการผ่าตัดอื่น ๆ

  • ร้อยละ 77 ใช้กับผู้ป่วยที่เกิดภาวะสูญเสียโลหิตเฉียบพลัน เช่น อุบัติเหตุ การผ่าตัด ตกเลือดหลังคลอดบุตร เลือดออกในทางเดินอาหาร เป็นต้น
  • ร้อยละ 23 ใช้กับผู้ป่วยโรคเลือดที่ต้องรักษาด้วยการรับโลหิตต่อเนื่องตลอดชีวิต เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางจากสาเหตุอื่น ๆ โรคเกล็ดเลือดต่ำ โรคขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด หรือ โรคฮีโมฟีเลีย เป็นต้น

ถึงแม้ว่าแต่ละปีจะมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคโลหิตเพิ่มมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันความต้องการโลหิตเพิ่มมากขึ้นปีละ 8 – 10 เปอร์เซ็นต์ และการบริจาคโลหิตเป็นการสละเลือดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยมีเกณฑ์กำหนดให้บริจาคโลหิตได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของปริมาณโลหิตในร่างกาย หรือปริมาณ 350 – 450 มิลลิลิตร (ซีซี) ซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อสุขภาพของผู้บริจาค

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

เรียบเรียงโดย Amprohealth และ

ประสาร เปรมะสกุล,พลเอก. คู่มือแปล ผลเลือด เล่มแรก: กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์, 2554. 372 หน้า: 1.เลือด-การตรวจ. I. ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-48-7.,

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0.

ม้ามโต ( Splenomegaly) อาการ สาเหตุ

0
อาการม้ามโตบ่งบอกอะไร ( Splenomegaly)
ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะทรงเรียวรีคล้ายเมล็ดถั่ว อยู่ด้านหลังซ้ายของช่องท้องใต้กะบังลม ทำหน้าที่ดึงธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงและนำของเสียออกจากเลือด
อาการม้ามโตบ่งบอกอะไร ( Splenomegaly)
ม้าม เป็นอวัยวะทรงเรียวรีคล้ายเมล็ดถั่วอยู่ด้านหลังซ้ายของช่องท้องใต้กะบังลม ทำหน้าที่ดึงธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงและนำของเสียออกจากเลือด

อาการม้ามโต

อาการม้ามโต ( Splenomegaly ) คืออาการผิดปกติของม้าม ปกติเราจะไม่สามารถคลำเจอม้ามได้ ยกเว้นในผู้ที่มีร่างกายผอมมากหรือม้ามมีขนาดที่โตผิดปกติจึงจะสามารถคลำม้ามเจอได้ ซึ่งม้ามที่มีการทำงานที่ผิดปกติจะมีน้ำหนักประมาณ 4-5 เท่าของม้ามปกติหรือมีนำหนักมากกว่า 500 กรัม

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะมีรูปทรงเรียวรี คล้ายเมล็ดถั่วขนาดประมาณ 11 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 150 กรัม อยู่ที่บริเวณทางด้านหลังซ้ายของช่องท้อง อยู่ใต้ต่อจากกะบังลม ซึ่งจะอยู่แถวกระดูกซี่โครงซี่ที่ 9 – 12 ม้ามเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลือง หน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและการสร้างเม็ดเลือดการควบคุมปริมาณของเลือดในร่างกายให้คงที่ โดยม้ามจะทำหน้าที่ดึงธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงเพื่อนำมาใช้ในร่างกาย และทำหน้าที่นำของเสียที่มีอยู่ในกระแสเลือดออกไปจากเลือดโดยขับออกมาในรูปของน้ำปัสสาวะ เช่นเดียวกับการทำงานของตับ นอกจากนั้นม้ามสร้างมีหน้าที่ในการสร้างแอนตีบอดี ( Antibody ) ที่ช่วยต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย รวมถึงช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงให้กับร่างกายอีกด้วย สำหรับทารกในครรภ์ ม้ามจะทำหน้าที่หลักในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และหลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว ม้ามจะหยุดสร้างเม็ดเลือดแดงเปลี่ยนและไขกระดูกจะทำการสร้างเม็ดเลือดแดงแทน แต่หากไขกระดูกไม่สามารถทำการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ ม้ามจึงจะกลับมาทำการสร้างเม็ดเลือดแดงอีกครั้ง

ลักษณะการทำงานที่ทำให้ม้ามทำงานผิดปกติ

1.ร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค ทำให้ม้ามต้องทำการกำจัดเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ( Clearance of microorganisme ) และปฏิกิริยา particulate antigens จากเลือด

2.เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ( Synthesis of immunoglobulin G ( lgG ) )

3.การกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีความผิดปกติ ( Removal of abnormal red blood cells )

4.ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง เช่น การสร้างเม็ดเลือดแดงจากม้ามในตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ ( Embryonic hematopoiesis ) หรือการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ม้าม ( extramedullary hematopoiesis ) ในผู้ป่วยโรคบางชนิด เป็นต้น

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ม้ามโตเกิดจากอะไร ?

1. โรคตับ เช่น โรคตับแข็ง เนื่องจากตับมีระบบไหลเวียนเลือดระบบเดียวกับม้าม เมื่อตับมีความผิดปกติจึงส่งผลเกิดความผิดปกติที่ม้ามด้วย
2. โรคเลือด เช่น โลหิตจาง ธาลัสซีเมีย ภาวะที่มีเม็ดเลือดแตก เนื่องจากตับและม้ามเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบิน เมื่อเม็ดเลือดถูกทำลายมาก จึงส่งผลให้ตับม้ามมีขนาดโตขึ้นด้วย
3. เกิดการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งม้ามก็มีบทบาทในการกำจัดเชื้อโรค
4. เป็นโรคออโตอิมมูน หรือโรคภูมิต้านทานตัวเอง ทำให้เซลล์ในร่างกายถูกกำจัดจำนวนมาก
5. เส้นเลือดดำในตับอุดตัน ทำให้การไหลเวียนเลือดของตับและม้ามผิดปกติ
6. เป็นโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สาเหตุที่ทำให้ม้ามมีการทำงานที่ผิดปกติจนมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น

1.ม้ามมีการทำงานที่มากเกินไป ( Hyperfunction )

ภูมิคุ้มของร่างกายมีการตอบสนองต่อการเจริญเติบโตมากเกินไป หรือม้ามมีการตอบสนองต่อการอักเสบหรือมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเยื่อบุโพรงหัวใจอักเสบจากแบคทีเรียแบบกึ่งเฉียบพลัน ( subacute bacterial endocarditis ) , โรคฝีที่ม้าม ( splenic abscesses ) หรือการติดเชื้อไวรัส เช่น การติดเชื้อไวรัส (EPV) ที่ชักนำให้เกิดโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส ( Epstein-Barr virus-induced mononucleosis ) , โรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคSLE ( Systemic lupus erythematosus ) หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ( Rheumatoid arthritis ) ที่มี อาการม้ามโตร่วมด้วย ( Felty’s syndrome ) เป็นต้น หรือการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายอย่างรุนแรง (destruction work hypertrophy) เช่น ภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม ( Hereditary Spherocytosis: HS ) หรือโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ( Thalassemia disease ) เป็นต้น

2.การคั่งของเลือดที่ม้าม ( Congestion )

ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ( Venous thrombosis ) หรือภาวะหลอดเลือดดำในม้ามอุดตัน ( splenic vein thrombosis ) หรือภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล ( portal hypertension ) สูงเกิน 12 มมปรอทหรือภาวะหัวใจวาย ( Congestive Heart failure : CHF ) โดยเมื่อผู้ป่วยได้รับยาออกซาลิพลาติน ( Oxaliplatin ) จะมี อาการม้ามโตเป็นอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ โดยจะทำให้โพรงเลือดดำในม้ามอุดตัน ( Sinusoidal Obstruction Syndrome ) หรือหลอดเลือดดำในม้ามอุดตัน ( Hepatic veno-occlusive disease ) แต่หากผู้ป่วยได้รับยาบีวาซิซูแมบ ( Bevacizumab ) ร่วมด้วย อาการม้ามโตจะเกิดขึ้นได้น้อยลง  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3.การแทรกซึม ( Infiltration )

โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคต่างๆที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์ชนิดต่างๆ ที่มีการผลิตมาจากส่วนของไขกระดูก หรือโรคมัยอีโลโพรลิฟเฟอเรทีฟ ( Myeloproliferative neoplasm ) เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวซีเอ็มแอล ( Chronic Myelogenous Leukemia ) , ภาวะเม็ดเลือดแดงข้น (Polycythemia vera ) , โรคเกล็ดเลือดสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ ( Essential Thrombocythemia ) หรือโรคพังผืดในไขกระดูกแบบเกิดเอง ( primary myelofibrosis , PMF ) เป็นต้น รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งทางโลหิตวิทยาบางชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ( chronic lymphocytic leukemia ) หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ) เป็นต้น นอกจากผู้ป่วยที่ไขกระดูกทำงานผิดปกติกับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งทางโลหิตแล้ว ยังมีผู้ป่วยโรคอื่น เช่น

  • ซาร์คอยโดซิส ( Sarcoidosis ) คือ โรคที่เกิดการอักเสบชนิดไม่ใช่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ
  • โรคเกาเชอร์ ( Gaucher’s disease ) คือ โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของการสะสมไขมัน
  • โรคอะมีลอยโดซิส ( Amyloidosis ) คือ ภาวะที่เกิดจากมีสารโปรตีนผิดปกติชนิดหนึ่ง
  • เนื้องอกในระยะลุกลาม ( Metastatic malignancy )

ซึ่งโรคเหล่านี้จะทำการแทรกซึมเข้าไปทำให้ม้ามมีการทำงานที่ผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้ม้ามมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นนั่นเอง

4.สาเหตุอื่น ๆ ของ อาการม้ามโต ( Splenomegaly )

นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้ว บางครั้งอาการม้ามโตอาจเกิดเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก ได้แก่ การเกิดอุบัติเหตุจนมีเลือดออก ( Trama ) , การเกิดซีสต์ ( Cyst ) , เนื้องอกชนิดฮีแมงจิโอมาหรือ ปานแดงที่ตับ ( Hemangioma ) , การได้รับยาบางชนิด เช่น Rho ( D ) immune globulin เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถส่งผลให้ม้ามโตขึ้นได้เช่นเดียวกัน

จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยม้ามโตทั้งหมด 449 ราย พบว่าสาเหตุที่ทำให้ม้ามโตสามารแบ่งได้ดังนี้  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

1.โรคตับจำนวน 148 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของผู้ป่วยทั้งหมด

2.โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา จำนวน 121 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของผู้ป่วยทั้งหมด

3.การติดเชื้อ จำนวน 103 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของผู้ป่วยทั้งหมด

4.Congestion หรือ inflammation จำนวน 35 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของผู้ป่วยทั้งหมด

5.โรคของม้ามเองหรืออื่นอีก ร้อยละ 9 ของผู้ป่วยทั้งหมด

นอกจากนั้นขนาดของม้ามผิดปกตินั้น ยังสามารถระบุถึงสาเหตุของความผิดปกติได้อีกด้วย โดยม้ามที่มีขนาดโตเล็กน้อยจนถึงปานกลางอาจมีหลายสาเหตุ แต่ว่าม้ามที่มีขนาดโตมาก ๆ ( massive หรือ huge splenomegaly ) มักมีสาเหตุมาจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ ( Chronic Myelogenous Leukemia; CML ) โรคไขกระดูกเป็นพังผืดปฐมภูมิ ( Primary myelofibrosis ;PMF ) ธาลัสซีเมียเมเจอร์ ( Thalassemia Major ) โรคลิชมานิเอซิส ( Leishmaniasis ) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากปรสิต โปรโตซัว หรือโรคเกาเชอร์ ( Gaucher’s disease ) ที่เกิดจากความผิดปกติของการสะสมไขมัน ( lysosomal storage disease ) เป็นต้น ซึ่งถ้าม้ามมีขนาดที่ใหญ่มาให้พึงระลึกถึงสาหตุเหล่านี้เป็นหลัก

ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะทรงเรียวรีคล้ายเมล็ดถั่ว ทำหน้าที่ดึงธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงและนำของเสียออกจากเลือด  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

แนวทางในการซักประวัติและการตรวจร่างกาย

ซึ่งแนวทางในการซักประวัติและทำการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา อาการม้ามโตต้องทำการวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการม้ามโต จะพิจาณาอายุของผู้ป่วยเป็นหลัก ร่วมกับขนาดและอาการที่เกิดขึ้นร่วมด้วย

1.หากผู้ป่วยเป็นโรคตับชนิดเรื้อรังจากการดื่มสุราหรือภาวะตับอักเสบ ย่อมมีความเสี่ยงที่ตับแข็งและม้ามโตจากภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล ( Portal hypertension ) สูงเกิน 12 มม.ได้

2.หากผู้ป่วยมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอร่วมกับอาการม้ามโต อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เช่น infectious mononucleosis หรือไวรัสอื่นๆ

3.ผู้ป่วยภาวะเม็ดเลือดแดงข้น Polycythemia vera ที่ไขกระดูกของผู้ป่วยทำการสร้างเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก ผิดปกติ อาจพบม้ามมีขนาดโตเกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการคันหลังจากอาบน้ำอุ่นร่วมด้วย

4.ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วหรือมีเหงื่ออกกลางคืนมาก จะพบว่าอาการม้ามเนื่องจากหลายโรครวมกัน เช่น เอดส์ ( AIDS ) systemic lupus erythematosus , rheumatoid arthritis , sarcoidosis มาลาเรีย วัณโรค การติดเชื้อไวรัส ( infectious mononucleosis , cytomegalovirus , hepatitis) โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา ( chronic myeloid leukemia , chronic lymphocytic leukemia , hairy cell leukemia ) ซึ่งถ้าผู้ป่วยหายจากโรคที่กล่าวมานั้น ม้ามก็จะกลับมามีขนาดปกติและมีประสิทธิภาพการทำงานเหมือนเดิม

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

5.ผู้ป่วยที่มีอาการม้ามโต แต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนได้นั้น ควรทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น เช่น anti-HIV เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจเลือด ได้แก่ CBC และ blood smear แต่บางครั้งการความผิดปกติที่ได้จากการตรวจ CBC ก็ไม่สามารถช่วยระบุสาเหตุของอาการม้ามโตได้ เพราะค่าที่ได้จากการตรวจมักเป็นผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่ม้ามโตแล้ว หรือค่าของเม็ดเลือดที่ต่ำมากหรือน้อยไม่ขึ้นก็ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดม้ามที่โต แต่หากพบว่ามีภาวะเม็ดเลือดขาวที่สูง Neutrophilia เช่น absolute neutrophil count >7,700/uL ทั้งที่มีการพบหรือไม่พบการเพิ่มปริมาณของ band form และ metamyelocyte (left shift) ให้ทำการสันนิฐานว่าผู้ป่วยม้ามโตเนื่องจากการติดเชื้อหรือพบ toxic granule หรือ vacuoles ในเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลล์หรือบางครั้งอาจพบเชื้อในเรื่อง เช่น มาเลเรียบาโทแนลโลสิส ( bartonellosis ) หรือบาบีสิโอสิส ( babesiosis ) แต่มีการพบลักษณะเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ เช่น พบ Schistocytes ( fragmented red cells ) ที่เป็นเศษของเม็ดเลือดแดงที่มีฮีโมโกลบินบางส่วนหรือทั้งหมดหลุดและสลายไป ทำให้เม็ดเลือดแดงมีหลายรูปร่างไปหรือเม็ดเลือดแดงมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กเกิดการผิดปกติ ซึ่งการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือการที่เม็ดเลือดแดงจับตัวกันเป็นกลุ่มเนื่องจาก cold agglutinins และอาจพบอะทิปปิเคิลลิ้มโฟไซต์ ( Atypical lymphocytes ) ใน infectious mononucleosis และอาจพบ atypical lymphocytes ร่วมด้วยเรียกว่า Felty’s syndrome

การตรวจเพิ่มเติมที่สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น

นอกจากการตรวจดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นหรือเพื่อเป็นการยืนยันข้อสงสัยว่าเป็นจริงหรือไม่อีกด้วย

1.การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง ในรายที่สงสัยมะเร็งในทรวงอกหรือในท้อง เช่น Lymphoma, hepatoma หรือกรณี advanced liver disease, portal hypertension

2.การตรวจชิ้นเนื้อในบางส่วนของร่างกาย เช่น การตรวจหาเซลมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ( Lymph node biopsy) การดูดและเจาะเอาเนื้อเยื่อไขกระดูกส่งตรวจ ( Bone marrow aspiration biopsy ) การเจาะชิ้นเนื้อตับ ( Liver biopsy ) ที่อาจช่วยยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาหรือไม่ แล้วจึงทำการส่งเพาะเชื้อและส่งย้อมสีชนิดพิเศษในผู้ป่วยที่ยังไม่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง เพื่อเป็นการยืนยันว่า อาการม้ามโตเกิดจากภาวะของโรคมะเร็งจริงหรือไม่

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถระบุถึงสาเหตุของอาการม้ามโต จากการตรวจข้างต้น จะต้องทำการตัดม้ามเพื่อนำมาวินิจฉัย ( Diagnostic splenectomy ) ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่ทำการตรวจชิ้นเนื้อจากม้ามจะมีสาเหตุม้ามโตจาก Lymphoma/leukemia ร้อยละ 57 Metastatic carcinoma / sarcoma ร้อยละ 11 และ cyst/pseudocyst ร้อยละ 96 แต่ว่าการตัดม้ามไม่นิยมหากไม่จำเป็นจริง ๆ เนื่องจากการตัดม้ามมีอาการข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ลักษณะเม็ดเลือดแดงผิดปกติ เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดสูงขึ้น รวมถึงต้องติดตามอาการและทำการให้ยาแอสไพรินเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันที่ปอด นอกจากนั้นแล้วอาการข้างเคียงที่สำคัญและสามารถพบบ่อยคือ การติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง โดยเฉพาะแบคทีเรียที่อยู่ในกลุ่มเชื้อที่มีแคปซูล เช่น Steptococcus pneumoniae, Haemophilus influenZae และเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้ทำการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น Pnenmococcal vaccine และ H. influenzae vaccine แต่ไม่แนะนำให้รับประทานยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เพราะมีความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะดื้อยาได้ง่าย

การวิจัยภาวะ hypersplenism เกิดขึ้นมีเกณฑ์

เมื่อทราบถึงสาเหตุของภาวะม้ามโตแล้ว การรักษาก็จะสามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยแพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุที่ให้ม้ามโต ซึ่งเมื่อรักษาแล้วม้ามก็จะมีขนาดที่เล็กลง ซึ่งบางครั้งการรักษาอาจต้องทำการตัดม้ามออกไปในกรณีที่ม้ามโตเนื่องจากโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ โรคเม็ดเลือดแดงแตกง่ายทางพันธุกรรม อาจไม่ต้องรักษาเพื่อลดขนาดน้ำหากไม่มี hypersplenism หรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากม้ามที่โตมาก ซึ่งภาวะ Hypersplenism หรือภาวะที่ม้ามโตและเข้าไปทำลายเม็ดเลือดมากกว่าปกติ ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดลดลง ซึ่งภาวะนี้ไม่ใช่โรค แต่เกิดจากโรคที่มีอาการม้ามโต เป็นระยะเวลานานและส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาก โดยจะพบมากได้ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคธาลัสซีเมีย

1.ม้ามมีขนาดโตมาก

2.ตรวจพบว่าปริมาณเลือดต่ำ ซึ่งรวมถึงภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ( pancytopenia ) หรือมีภาวะเลือดต่ำผิดปกติมาก 2 ชนิด ( bicytopenia ) คือเกล็ดเลือด 75,000 ( ปกติ 140,000- 400,000 ) เม็ดเลือดขาว 25,000 และเม็ดเลือดแดง 21%

3.เมื่อทำการตรวจไขกระดูกแล้วพบว่ามีการสร้างเม็ดเลือดในส่วนของกระดูกยังอยู่ในภาวะปกติหรือมีการสร้างเพิ่มขึ้น

[adinserter name=”oralimpact”]

การรักษาภาวะ hypersplenism ทำด้วยการตัดม้ามออกไป แต่ถ้าร่างกายมีเม็ดเลือดต่ำมากจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ต้องรับเลือดบ่อย ๆ หรือมีอาการเลือดออกจากเม็ดเลือดขาว หรือปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ

ม้ามเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภาวะม้ามโตที่พบมีสาเหตุทั้งจากการติดเชื้อ การอักเสบ โรคตับชนิดเรื้อรังหรือโรงมะเร็ง ซึ่งการวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ทำให้ม้ามโตนั้นต้องอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและยืนยันด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อที่จะได้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการม้ามโตเมื่อทราบสาเหตุแล้วการรักษาจะได้ผล ทำให้ม้ามที่มีขนาดผิดปกติกลับมาสู่สภาวะปกติได้ไม่ยาก ดังนั้นเมื่อทำการตรวจพบว่ามีอาการม้ามโตเกิดขึ้นจึงควรรีบเข้ารับการรักษาก่อนที่ภาวะม้ามโตจะทำการรักษาได้ด้วยการตัดเท่านั้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ดีซ่าน ( Jaundice ) อาการ สาเหตุ

0
โรคดีซ่าน ( Jaundice )
โรคดีซ่าน หมายถึง อาการที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าตามตัวมีสีเหลืองผิดปกติ นัยน์ตาเหลืองจนสังเกตเห็นได้
โรคดีซ่าน ( Jaundice )
โรคดีซ่าน หมายถึง อาการที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าตามตัวมีสีเหลืองผิดปกติ นัยน์ตาเหลืองจนสังเกตเห็นได้

ดีซ่าน ( Jaundice )

สัญญาณอย่างหนึ่งของ ดีซ่าน ก็คืออาการตัวเหลือง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการตาเหลืองและตัวเหลืองจะเป็นโรคดีซ่าน ก่อนหน้านี้ไม่กี่ปีโรคดีซ่านรู้จักกันดีในกลุ่มคนทั่วไป และทุกคนรู้ประเด็นสำคัญที่ว่าเมื่อมีอาการตัวเหลืองผิดปกติจากที่เคยเป็น

นั่นหมายความว่าไม่นับรวมคนที่มีผิวโทนเหลืองมากๆ มาแต่กำเนิด เมื่อนั้นก็ต้องระวัง ดีซ่านแต่พอเวลาผ่านไปโรคนี้กลับมีคนเข้าใจน้อยลง ในขณะที่จำนวนคนป่วยอาจไม่ได้น้อยลงตามไปด้วย น่าจะเป็นเพราะมีโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่ดึงความสนใจของผู้คนไปได้ อย่างไรก็ตามโรคดีซ่านก็ยังเป็นโรคที่มีสาเหตุการเป็นที่อันตราย จำเป็นต้องเรียนรู้ เฝ้าระวังและรักษาอย่างถูกต้องทันเวลา

ดีซ่าน คืออะไร

ดีซ่าน หมายถึงอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าตามตัวมีสีเหลืองผิดปกติ นัยน์ตาเหลืองจนสังเกตเห็นได้ ประเด็นของนัยน์ตาเหลืองจะต่างจากคนที่นอนไม่พออยู่มาก คือไม่ใช่แค่ดูหมอง ไม่สดใส แต่จะออกสีเหลืองแบบที่มองครั้งเดียวก็สรุปได้เลยว่ามีสีเหลือง โดยปกติโรคดีซ่านเกิดจากการสะสมของสารบิลิรูบินมากเกินไป หากมากกว่า 3 มก. / ดล. เมื่อไร ก็มีความเสี่ยงว่าจะเป็นดีซ่านเมื่อนั้น สารบิลิรูบินที่ว่านี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า ฮีมาตอยดิน เป็นผลผลิตจากการย่อยส่วนหนึ่งในฮีโมโกลบินที่เรียกว่า “ ฮีม ” ตามกระบวนการปกติสารนี้จะถูกขับออกจากร่างกายอยู่แล้ว แต่เมื่อมันมีมากเกินไปก็ไม่สามารถขับออกได้ทันนั่นเอง อาการที่มักพบร่วมกันกับอาการตัวเหลืองและตาเหลือง ได้แก่ อ่อนเพลียง่าย เบื่ออาหาร เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียน ตัวบวม ท้องบวม ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ไปจนถึงมีอาการหนาวสั่น เป็นไข้

สาเหตุของการเกิดดีซ่าน

ใจความหลักของดีซ่าน คือความไม่สมดุลของสารบิลิรูบินในร่างกาย ถ้ากล่าวในเชิงการแพทย์สักหน่อยก็คือ มีความผิดปกติเกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึมของบิลิรูบินเอง

ความผิดปกติของกระบวนการเมตาบอลิซึมของบิลิรูบิน

1. Unconjugated hyperbilirubinemia 

มีอัตราการสร้างบิลิรูบินเพิ่มขึ้น : เนื่องจากการสร้างบิลิรูบินเกิดจากการสลายตัวของฮีม ดังนั้นต้นตอของปัญหาจริงๆ จึงอยู่ที่เม็ดเลือดแดง เช่น เม็ดเลือดแดงแตก เม็ดเลือดแดงที่สร้างออกมามีความผิดปกติ เป็นต้น

มีอัตราการรับสารบิลิรูบินเข้าสู่เซลล์ตับน้อยลง : อันที่จริงแล้วมีต้นเหตุแห่งการเกิดที่หลากหลาย บ้างก็เป็นความผิดปกติของร่างกาย บ้างก็เป็นผลกระทบจากอาการเจ็บป่วยอื่นๆ แต่ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นการใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของตับโดยตรง

การ conjugation ของบิลิรูบินลดลง : บ่อยครั้งที่พบว่าความผิดปกติแบบนี้เกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรม บ้างเกิดจากความผิดปกติของระดับเอนไซม์ ซึ่งเวลาที่ทำการตรวจอาจจะพบว่าค่าบิลิรูบินไม่ได้สูงมากนัก แต่มันจะรุนแรงมากขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมีสิ่งเร้าอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วยขาดน้ำหรืออาหาร เป็นต้น

2. Conjugated or mixed hyperbilirubinemia ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม แต่จะเป็นประเภทที่ไม่ได้พบกันบ่อยนัก อย่างเช่น Rotor’s syndome หรือ Dubin-Johnson syndome

ความผิดปกติของเซลล์ตับ

เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่อยู่ในวงจรของสารบิลิรูบิน โดยทำหน้าที่เปลี่ยนบิลิบูรินที่ไม่ละลายน้ำให้กลายเป็นแบบที่ละลายน้ำได้ จากนั้นจึงสามารถขับสารนี้ออกจากร่างกายร่วมกับน้ำดีต่อไป ดังนั้นเมื่อตับทำงานผิดปกติไป กระบวนการเหล่านี้ก็ไม่สมบูรณ์ หรือมีประสิทธิภาพที่ด้อยลงไป และสารบิลิบูรินก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นต้นเหตุของดีซ่านนั่นเอง ความผิดปกติของเซลล์ตับนี้ เราจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. Acute hepatocellular dysfunction เป็นอาการอักเสบของตับแบบฉับพลัน เกิดขึ้นทันทีทันใด นั่นหมายความว่าอาการของ ดีซ่านที่เกิดขึ้นก็จะรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในผู้ป่วยหลายรายนี่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการตับวายในที่สุด กลุ่มโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่

ภาวะติดเชื้อไวรัส : อาจจะเป็นไวรัสตับอักเสบเอ หรือไวรัสตับอักเสบบีก็ได้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกอย่างชัดเจนล่วงหน้า คือ มีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย คล้ายกับคนที่เป็นไข้หวัด แล้วจากนั้นก็จะเริ่มสังเกตเห็นสีผิวที่เหลืองกว่าปกติ

ภาวะอักเสบจากยา : มีกรณีศึกษาจำนวนไม่น้อยเลยเกี่ยวกับการใช้ยาผิดวิธีหรือผิดขนาด ผลกระทบนั้นร้ายแรงเกินกว่าที่หลายคนเข้าใจ ไม่ใช่แค่อาการดื้อยาเท่านั้น แต่อาจเปลี่ยนระบบการทำงานในร่างกายได้เลย อย่างเช่นกรณีนี้ ยาจะส่งผลให้ตับเกิดการอักเสบจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

ภาวะอักเสบจากสิ่งเร้าอื่นๆ : บ้างก็เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นต้น บ้างก็เกิดจากผลข้างเคียงของโรคภัยอื่นๆ เช่น หลอดเลือดอุดตัน ไข้มาลาเรีย เป็นต้น

2. Chronic hepatocellular dysfunction เป็นอาการตับแข็งที่เราคุ้นหูกันดี แต่นี่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำเท่านั้น มันมีสาเหตุหลายหลายรูปแบบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสก็ได้ เกิดจากอาการตับอักเสบเรื้อรังก็ได้ จึงเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อแยกแยะให้ได้ก่อนว่า สาเหตุที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ 

ดีซ่าน ( Jaundice ) หมายถึง อาการที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าตามตัวมีสีเหลืองผิดปกติ นัยน์ตาเหลืองจนสังเกตเห็นได้

ความผิดปกติในส่วนของน้ำดี

อย่างที่ได้รู้กันไปแล้วว่าสารบิลิบูรินจะถูกขับออกร่างกายร่วมกับน้ำดี เมื่อไรที่กระบวนการขับน้ำดีมีปัญหา เมื่อนั้นสารบิลิบูรินจึงตกค้างและสะสมปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดที่ท่อน้ำดีภายในตับ หรือท่อน้ำดีภายนอกตับก็ได้ รายละเอียดของทั้ง 2 กลุ่มมีดังนี้

1. Intrahepatic cholestasis เป็นภาวะที่ทางเดินน้ำดีเกิดการขยายตัวผิดปกติ อาจเกิดจากการใช้ยาก็ได้ หรือเกิดจากการติดเชื้อวัณโรคในตับก็ด้ หรือแม้แต่ภาวะตั้งครรภ์ ภาวะหลังการผ่าตัดใหญ่ ก็ล้วนเป็นสาเหตุได้ทั้งนั้น

2. Extrahepatic cholestasis เป็นภาวะที่ทางเดินน้ำดีเกิดการอุดตัน ส่วนใหญ่มักมีการติดเชื้อร่วมด้วย จึงมีอาการแสดงออกมาให้เห็นภายนอกได้อย่างชัดเจน เช่น มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น เราอาจคุ้นกับคำว่า “นิ่วในทางเดินน้ำดี” มากกว่า แต่ก็ไม่ใช่การเกิดเช่นเดียวกันกับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะแต่อย่างใด

การวินิจฉัย อาการดีซ่าน

ซักประวัติ : แน่นอนว่าทุกอาการเจ็บป่วยต้องเริ่มที่การซักประวัติ จะรู้ผลได้ตรงและรวดเร็วมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลในตอนซักประวัตินี่เอง สำหรับ ดีซ่าน จะต้องสังเกตว่ามีอาการตาเหลืองร่วมกับตัวเหลืองด้วยหรือไม่ หรือมีเพียงแค่ตัวเหลืองเท่านั้น ระยะเวลาที่เป็นยาวนานเท่าไร มีอาการเจ็บป่วยแบบไหนก่อนหน้าหรือไม่ รวมไปถึงสอบถามประวัติคนในครอบครัว โรคประจำตัวและการใช้สารเสพติดทุกประเภทด้วย

ตรวจร่างกาย : ดูภาพรวมว่าร่างกายสมบูรณ์ดีหรือไม่ การดูแลเรื่องอาหารเป็นอย่างไร ตรวจวัดโรคเรื้อรังต่างๆ ที่อาจส่งผลให้มีอาการตัวเหลืองได้ วิเคราะห์ส่วนของช่องท้องอย่างละเอียด ตลอดจนตรวจความผิดปกติของทวารหนักและอุจจาระด้วย

ข้อมูลสำคัญที่ใช้สำหรับการวินิจฉัยเพื่อแยกแยะกลุ่มของดีซ่าน

แม้ว่าจะแน่ใจแล้วว่าป่วยเป็นดีซ่านจริง ก็ยังต้องค้นหาต่อไปว่าสาเหตุของการป่วยคืออะไร เพราะกลุ่มย่อยของโรคดีซ่านมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้การรักษาต้องแตกต่างกันไปด้วย และต่อไปนี้จะเป็นจุดสำคัญที่ใช้เพื่อการแบ่งประเภทโรคดีซ่าน ก่อนนำข้อมูลไปยืนยันความถูกต้องอีกครั้งด้วยการตรวจละเอียดแบบเฉพาะเจาะจง

ช่วงอายุ : จากสถิติที่เคยมีมา ผู้ป่วยอายุน้อยจะเป็น ดีซ่านที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือการใช้ยาผิดวิธี ในขณะที่ผู้สูงวัยเกินกว่าครึ่งจะเป็นโรคดีซ่านที่เป็นผลข้างเคียงมาจากโรคเนื้องอก

สัญญาณล่วงหน้า : หากมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน หรือปวดเมื่อยร่างกายนำหน้ามาก่อนที่จะสังเกตเห็นภาวะตัวเหลือง ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อไวรัสแบบฉับพลัน แต่ถ้าอาการที่เกิดก่อนหน้าเป็นอาการจุกแน่นแถวๆ ชายโครง ก็มักจะเป็นนิ่วในถุงน้ำดี หากมีอาการคันที่ผิดปกติ ก็มีโอกาสที่จะเกิดจากความผิดปกติของการขับน้ำดีออกจากร่างกาย

ช่วงท้องเห็นหลอดเลือดดำชัดเจนกว่าปกติ : แบบนี้เกิดจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของหลอดเลือดดำ เป็นข้อบ่งชี้ว่ามีภาวะความดันสูง ซึ่งเกิดจากโรคตับแข็ง

มีภาวะท้องมาน : ท้องมานก็คือลักษณะของท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยไม่ได้มีการตั้งครรภ์ มักเกิดจากมีของเหลวสะสมอยู่ระหว่างหน้าท้องและอวัยวะภายในช่องท้อง หากเป็นแบบนี้ก็คาดคะเนได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งบริเวณช่องท้อง

ประวัติการใช้ยา : ตัวที่โดดเด่นมากๆ ก็คือยาพาราเซตามอล เพราะเป็นยาสามัญประจำบ้าน ใครๆ ก็มี ใครๆ ก็ทานได้โดยง่าย หลายคนทานยาพาราเซตามอลแทบจะทุกวัน จึงเกิดขนาดการใช้ไปมาก แบบนี้ทำให้ตับอักเสบฉันพลันได้ เมื่อรู้ประวัติการใช้ยาที่ถูกต้องก็จะระบุ ภาวะดีซ่านได้แม่นยำมากขึ้น ทั้งนี้รวมไปถึงยาแผนโบราณ อาหารเสริม และสารเสพติดด้วย

พฤติกรรมเสี่ยง : หากมีกิจกรรมบางอย่างที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสโดยไม่รู้ตัว เช่น สัมผัสกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ การรับเลือดจากผู้อื่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนการรับวัคซีนบางประเภท

มีภาวะตับโต : ตับโตจะมี 2 แบบคือ เมื่อกดแล้วเจ็บเป็นบางจุด จะเป็นการเกิดฝีที่ตับ แต่ถ้าไม่ใช่ก็อาจจะเป็นภาวะตับโตทั้งหมด ซึ่งแต่ละอย่างจะก่อให้เกิดโรคดีซ่านที่ต่างกัน

มีภาวะม้ามโต : ส่วนของม้ามไม่ได้มีผลโดยตรงต่อวงจรของสารบิลิบูรินที่เป็นต้นเหตุของดีซ่าน แต่จะเป็นสัญญาณที่บอกว่ามีภาวะตับแข็งอยู่ เมื่อเจอแบบนี้ก็ต้องไปตรวจตับอย่างละเอียดต่อไป

การตรวจพิเศษที่เกี่ยวกับดีซ่าน

  • Endoscopic retrograde cholangiopancreaticography ( ERCP )

การตรวจโดยใช้การส่องกล้องผ่านทางเดินอาหาร เพื่อดูความผิดปกติของท่อน้ำดี ถือเป็นวิธีที่ให้คำตอบแม่นยำที่สุดในขณะนี้ และยังเป็นกระบวนการที่ช่วยรักษาภาวะอุดตันของท่อน้ำดีได้ด้วย

  • การตรวจชิ้นเนื้อ

เมื่อซักประวัติและตรวจร่างกายจนครบถ้วนแล้ว ไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงในการเกิด ดีซ่านได้ ก็จะต้องตัดชิ้นเนื้อของตับเพื่อไปตรวจอย่างละเอียดด้วยวิธีการอื่นๆ แทน แม้ว่าจะใช้เวลามากสักหน่อย แต่ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำเช่นเดียวกัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ. อาการทางอายุรศาสตร์ Medical Symptomatology ฉบับปรังปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Roger Jones (2004). Oxford Textbook of Primary Medical Care. Oxford University Press. p. 758. ISBN 9780198567820. Archived from the original on 2017-09-08.

Ferri, Fred F. (2014). Ferri’s Clinical Advisor 2015: 5 Books in 1. Elsevier Health Sciences. p. 672. ISBN 9780323084307. Archived from the original on 2017-09-08.

ผื่นบนผิวหนัง ( Maculopapular Eruption ) อาการ สาเหตุ

0
ผื่นผิวหนัง Maculopapular Eruption
อาการผื่นผิวหนัง คือ กลุ่มอาการที่มีการแสดงออกเป็นผื่นนูน ตุ่ม ผื่นแบนหรือรอยแดง ที่มีการกระจายบนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ทั่วบริเวณของร่างกายอย่างเฉียบพลัน
ผื่นผิวหนัง Maculopapular Eruption
อาการผื่นผิวหนัง คือ กลุ่มอาการที่มีการแสดงออกเป็นผื่นนูน ตุ่ม ผื่นแบนหรือรอยแดง ที่มีการกระจายบนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกายอย่างเฉียบพลัน

อาการผื่นผิวหนัง Maculopapular Eruption

อาการผื่นผิวหนัง ( Maculopapular eruption ) คือ กลุ่มอาการที่มีการแสดงออกเป็นผื่นนูน ตุ่ม ผื่นแบนหรือรอยแดง ที่มีการกระจายบนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ทั่วบริเวณของร่างกายอย่างเฉียบพลัน ( acute generalized eruption ) นอกจากคำนี้แล้ว อาการผื่นผิวหนังที่แสดงออกมา ยังสามารถใช้คำว่า exanthematous หรือ morbiliform eruption โดยมีความหมายเช่นเดียวกัน

สาเหตุของการเกิดผื่น

การสังเกตหรือประเมินอาการของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการผื่นบนผิวหนัง ( Maculopapular eruption ) นอกจากจะสามารถทำการสังเกตจากลักษณะของผื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ยังจำเป็นต้องสังเกตลักษณะในการกระจายตัวของผื่น ( distribution ) ร่วมด้วย ว่ามีลักษณะการกระจายตัวอยู่ที่บริเวณใดของร่างกาย ระยะเวลาที่มีการเกิดผื่นนานเท่าใดและมีอาการใดเกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น อาการไข้ อาการไอ อาการต่อน้ำเหลืองโต หรือมีแผลในปาก รวมถึงประวัติการรับประทานยาก่อนหน้าที่จะเกิดอาการผื่น ซึ่งลักษณะของผื่นผิวหนัง สามารถทำการแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ตามสาเหตุของการเกิดผื่น ได้ดังนี้

1.ไข้ออกผื่น ( Viral Exanthem ) การติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้ ส่งผลให้มีผื่นเป็นจุดสีชมพูไปจนถึงสีแดง ซึ่งไม่มีอาการคันร่วมด้วย เช่น Viral Exanthem, Common esanthems เป็นต้น

2.ผื่นแพ้ยา ( Maculopapular drug eruption ) คือ อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรับประทานยาบางชนิด ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติเป็นผื่นหรือตุ่มตามผิวหนัง

3.โรคติดเชื้อริกเกตเซีย ( Rickettsial infection ) คือ โรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อ Rickettsial ซึ่งมีลักษณะกึ่งพืชกึ่งสัตว์ โดยขนาดของเชื้อโรคจะขนาดเล็กกว่าเชื้อแบคทีเรียแต่ว่ามีขนาดใหญ่กว่าเชื้อไวรัส ดังนั้นจึงมีสภาพกึ่งแบคทีเรีย กึ่งไวรัส เช่น ไข้รากสาดใหญ่ เป็นต้น

4.โรคซิฟิลิสระยะที่สอง ( Secondary syphilis ) ที่ระยะนี้ ร่างกายจะเกิด ผื่นผิวหนังหรือตุ่มนูน ที่มีลักษณะคล้ายหูด เกิดขึ้นที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า อวัยวะเพศ และส่วนอื่นทั่วร่างกาย

5. ภาวะสะเต็มเซลล์ใหม่ต่อต้านร่างกายเฉียบพลัน ( Acute Graft versus host disease หรือ Acute GVHD ) คือ ภาวะที่ร่างกายเกิดผื่น ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือสะเต็มเซลล์จากเลือด

6.ระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อเอชไอวี ( Acute retroviral syndrome ) สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเฮชไอวี ( HIV ) ในระยะเริ่มต้นจนกระทั่งร่างกายเริ่มมีการสร้างแอนติบอดี ( antibody ) ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นร่วมกับอาการอื่น ๆ

ลักษณะของอาการผื่นผิวหนังที่เกิด

ซึ่งการแสดงออกของผื่นผิวหนัง จะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันออกไปตามสาเหตุของการเดผื่น ซึ่งลักษณะของอาการที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะดังนี้

1.ไข้ออกผื่น ( Viral Exanthems ) การเกิดผื่นเนื่องจากการได้รับเชื้อไวรัสจนร่างกายเกิดอาการไข้ สามารถแบ่งตามชนิดของโรคที่ทำให้เกิดไข้ คือ

1.1 โรคหัด ( Measles )

โรคหัดสามารถพบได้มากในเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 1 – 4 ปี แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาวัคฉีดเพื่อป้องกันโรคหัดในเด็ก ทำให้มีเด็กป่วยเป็นโรคหัดน้อยลงมาก ซึ่งอาการนำ ( Prodrome ) ในช่วงแรกคือมีไข้ ไอ มีขี้ตา และหลังจากแสดงอาการ 3-4 วัน จะเริ่มมีตุ่มขนาด 1 – 3 มิลลิเมตร โดยที่ตุ่มจะมีลักษณะเป็นจุดขาวเทา ซึ่งพบได้มากที่บริเวณกระพุ้งแก้มด้านหลังฟันกรามซึ่งที่สอง ที่เรียกว่า “ Koplik’s spot ” ตุ่มลักษณะนี้เป็นตุ่มลักษณะเฉพาะของโรคหัด ซึ่ง Koplik’S spot เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดไข้จนถึงวันที่ 2 ของอาการ หลังจากนั่นในวันที่ 4 เป็นต้นไป ผื่นจะแพร่กระจายไปทั่วตัว จากบริเวณหลังหู ไปที่ไรผมและลงไปที่ส่วนของลำตัว ( Cephalocaudal direction ) โดยเฉพาะที่บริเวณใบหน้าและลำคอจะมีปริมาณของผื่นมากที่สุด ต่อมาเมื่อผื่นเกิดขึ้นทั่วลำตัวจนถึงบริเวณเท้า อาการไข้ที่เกิดขึ้นก็จะหายไปได้เอง และผื่นที่เกิดขึ้นก็จะเริ่มจางลงตามไปด้วย ปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีวัคฉีดป้องกันโรคหัด แต่โรคหัดก็ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น โรคหัด atypical ( atypical measles ) ที่เกิดจากเชื้อไวรัสจากภายนอก ( wild type virus ) หรือความบกพร่องขอ
งระบบภูมิคุ้มกันบางส่วน ( partial immunity ) ซึ่งจะมีไข้สูง ไอและมีรอยโรคเกิดขึ้นในปอด แต่จะไม่พบอาการตาแดงหรือมีขี้ตาเกิดขึ้น ส่วนผื่นที่เกิดขึ้นอาจพบจุดเลือดออก ( petechiae ) ที่บริเวณปลายมือปลายเท้า และยังมีอาการเท้าบวมเกิดขึ้นด้วย

1.2 โรคหัดเยอรมัน ( Rubella, German measles )

เมื่อเกิดในเด็กหรือผู้ใหญ่จะมีอาการที่อันตราย แต่ถ้าเกิดจากการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกที่อยู่ในครรภ์จะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ซึ่งร้ายแรงถึงขนาดทารกเสียชีวิตได้ โดยอาการนำ ( Prodrome ) ที่เกิดขึ้นในช่วง 5 วันแรก จะมีไข้ ปวดศีรษะ ไอ มีน้ำมูก เมื่อไข้ลดลงที่บริเวณใบหน้าจะเริ่มมีผื่นสีชมพู ( Rose-pink ) และเริ่มกระจายตัว ( Cephalocaudal direction ) ลงไปที่บริเวณลำตัว ซึ่งจะพบผื่นที่เยื่อบุปากที่มีลักษณะเป็นจุดเลือดออกที่บริเวณเพดานอ่อน ( Forchheimer’s spot ) ซึ่ง ผื่นผิวหนังจะหายไปหลังจากมีอาการ 2-3 วัน นอกจากนั้นยังมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย ซึ่งต่อมน้ำเหลืองที่มักมีอาการโต คือ ต่อมน้ำเหลืองท้ายทอย ( occipital lymph nodes ), ต่อมน้ำเหลืองหลังใบหู ( Posterior auricular ), ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอส่วนบน ( cervical ) เกิดขึ้นร่วมด้วย นอกจากอาการดังกล่าวแล้วยังมีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่อันตรายและสามารถพบได้บ่อย เช่น ปวดข้อ ข้ออักเสบ หรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายที่พบได้น้อย เช่น อาการตับอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการเม็ดเลือดแดงเนื่องจากสมองอักเสบ ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจะพบได้มากในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าผู้ป่วยเพศชายอีกด้วย

1.3 โรคฟิฟธ์ ( Fifth Disease ) หรือ Erythema Infectiosum หรือ Parvovirus B19 infection

โรคฟิฟธ์เป็นโรคที่สมารถพบได้บ่อยในเด็ก เกิดเนื่องจากการติดเชื้อไวรัส Parvovirus B19 ในส่วนระบบทางเดินหายใจแล้วเกิดการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ( Viremia ) ส่งผลให้มีการผลิตเม็ดเลือดลดลง ( Reticuloctopenia ) ในเวลาต่อมาเมื่อเชื้อเข้าสูกระแสเลือดจะมีการสร้างแอนติบอดี ( Antibody,IgM ) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะธาลัสซีเมีย ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก ผู้ที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงต่ำ หรือผู้ที่ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยที่ได้รักการปลูกถ่ายไขกระดูก จะมีเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวถูกทำลาย ( Aplastic crisis ) ทำให้เกิดผื่นแดงเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้าที่เรียกว่า “ Slapped cheek ” โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดข้อและมีผื่นแดงที่บริเวณใบหน้าเป็นแถบใหญ่ ๆ คล้ายกับรอฝ่ามือและที่รอบปาก โดยเฉพาะที่ส่วนของแก้มทั้งสองข้าง แต่ไม่พบผื่นที่ส่วนของสันจมูก ( nasal bridge ) ซึ่งผื่นจะคงอยู่ประมาณ 4 วัน แล้วจึงค่อยเกิดขึ้นที่บริเวณแขนขาโดยมีลักษณะคล้ายร่างแห ( lacy, reticulated pattern ) ซึ่ง ผื่นผิวหนังจะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่ประมาณ 1-3 สัปดาห์

1.4 โรคส่าไข้ ( Roseolainfantum, Exanthemsubitum, Sixth disease )

เป็นโรคที่พบได้ในเด็กอายุ ตั้งแต่ 6 เดือน 3 ปี เกิดจากเชื้อ HHV-6 หรือเชื้อ HHV-7 ซึ่งส่วนมากที่พบจะเกิดจากเชื้อHHV-6 โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงประมาณ 3-5 วัน ซึ่งอาจมีอาการชักเกิดขึ้นร่วมด้วย และหลังจากที่ไข้เริ่มลดลง จะมีผื่นสีชมพู ( rose-pink ) ที่บริเวณลำตัว ลำคอและส่วนแขนขา บางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ ต่อมน้ำเหลื่องที่บริเวณคอโต เปลือกตาบวมหรือเยื่อแก้วหูแดง ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยมาก

1.5 การติดเชื้อ Epstien-Barr virus

เมื่อติดเชื้อไวรัส “เอ็บสไตบาร์” ( Epstein-Barr virus: EBV ) ในครั้งแรก จะทำให้ป่วยเป็นโรคโมโนนิวคลีโอซิสหรือที่เรียกสั้นว่า “โรคโมโน” ( Infectious mononucleosis หรือย่อว่าMono ) ซึ่งเกิดเนื่องจากภูมิคุ้มกันมีการติดเชื้อ ( EBV-induced antibody ) เกิดเป็นอิมมูนคอมเพล็กซ์ที่สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยากับระบบคอมพลีเมนท์จนเกิดเป็นผื่นขึ้น ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในวัยรุ่นขึ้นไป โดยจะมีไข้ ต่อน้ำเหลืองโต ( Lymphadenopathy ) คออักเสบ ( Pharyngitis ) และเมื่อทำการรักษาด้วยยาในกลุ่ม aminopenicillin เช่น ยาปฏิชีวนะ cephalexin, erythromycin, levofloxacin โดยผู้ป่วยร้อยละ 5-15 จะมีผื่นนูนแบนที่มีลักษณะเป็นรอยแบนสีแดงบริเวณผิวหนังและบางส่วนมีผื่นนูนขึ้น ( maculopapular eruption ) หรือมีผื่นแบบผื่น morbilliform ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับผื่นของโรคหัด ( measles ) หรือมีผื่นนูนแดงขนาดเล็กเริ่มจากบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือมีอาการคัน หนังตาบวมและมีผื่นที่พบบนเยื่อเมือก ( Mucous membrane ) ร่วมด้วยหรือมีผื่นแพร่กระจายไปยังส่วนของลำตัว ( Scarlatiniform ) หรือส่วนที่มีการกดทับ โดยเมื่อมีอาการไข้ประมาณ 7 วันผื่นที่เกิดขึ้นจะผื่นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าและในช่องปากซึ่งจะผื่นที่เกิดขึ้นจะสามารถหายไปได้เอง แต่จะมีอาการผิวจะลอก ( desquamation ) ออกมาด้วย บางครั้งอาจมีการเกิดแผลที่บริเวณอวัยวะเพศซึ่งเป็นอาการของการติดเชื้อ EBV โดยมีการสันนิษฐานว่าเกิดจากปฏิกิริยาอิมมูน (Immune) โดยลักษณะรอบของ ผื่นผิวหนังจะมีสีแดงม่วง สามารถพบได้ที่บริเวณแคมเล็ก ( Labia minora )

อาการผื่นผิวหนัง คือ กลุ่มอาการที่มีการแสดงออกเป็นผื่นนูน ตุ่ม ผื่นแบนหรือรอยแดง ที่มีการกระจายบนผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ทั่วบริเวณของร่างกายอย่างเฉียบพลัน

2. ผื่นแพ้ยา  ( maculopapular drug eruption, exanthematous drug eruption )

เป็นผื่นที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาอิมมูนชนิด Type IVb ( Cell mediated ) ผื่นแพ้ยาเป็นผื่นที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด โดยผื่นแพ้ยาจะเป็นผื่นแบบ maculopapular คือ ผื่นที่มีลักษณะทั้งแบบราบและแบบนูน แต่ว่าผื่นที่เกิดขึ้นจะไม่มีตุ่มน้ำหรือตุ่มหนอง มีอาการคัน มีไข้ร่วมด้วย ซึ่งไข้ที่เกิดขึ้นเป็นไข้ต่ำเท่านั้น โดยผื่นจะเริ่มขึ้นที่บริเวณลำตัว แขนขาและกระจายออกไปทั่วตัวตามลำดับ โดยเฉพาะที่บริเวณลำตัวจะมีผื่นหนาแน่นมากที่สุด แต่จะไม่พบผื่นแพ้ยาภายในปาก ผื่นแพ้ยาเป็นผื่นที่ไม่รุนแรงและสามารถหายไปหลังจากที่หยุดยาประมาณ 1-2 วัน เมื่อผื่นหายไป ผิวหนังที่เกิดผื่นจะมีสีดำและลอกออก ตัวอย่างยาที่ทำให้เกิดผื่นแพ้ยา คือ ยาฆ่าเชื้อกลุ่ม aminopenicillin, sulfonamides, cephalosporins และยากันชัก

แนวทางการรักษาผื่นแพ้ยา นอกจากการหยุดยาที่ทำให้เกิดผื่นแพ้ยาแล้ว เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาโรคให้เปลี่ยนเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มอื่นแทน ร่วมกับการใช้ยาที่ช่วยลดอาการคันและบรรเทาการเกิดผื่น เช่น ยาทาสเตียรอยด์ ยาต้านฮีสตามีน และควรดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการแพ้ยาอย่างรุนแรง โดยสังเกตอาการหน้าแดงบวม ผื่นผิวหนังเป็นปื้นแดงขนาดใหญ่และหนา เมื่อกดทีบริเวณผื่นรู้สึกเจ็บ ที่ผื่นมีสีคล้ำบริเวณตรงกลาง ( Atypical target ) หรือมีแผลที่บริเวณเยื่อบุ ตา ช่องปากหรืออวัยวะเพศ

3. การติดเชื้อริกเกตเซีย ( Rickettsial infection )

คือ การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ( Gram negative bacteria ) ซึ่งเป็นแบคทีเรีย ( bacteria ) ที่ทำการย้อมแกรม ( gram staining ) แล้วจะติดสีแดงของ safranin ที่อาศัยอยู่ในเซลล์ของ สัตว์ขาปล้อง ( arthropod ) เช่น เห็บ ( Tick ), หมัด ( Flea ), โลน ( Louse ), เล็น ( mite ) เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้จัดเป็นพาหะที่สามารถนำเชื้อแบคทีเรียแกรมลบเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านทางเยื่อบุหลอดเลือด ( endothelium ) ตัวอย่างโรคที่เกิดที่สามารถพบได้มากจากการติดเชื้อริกเก็ตเซีย ( Rickettsia ) คือ

1. Orientiatustsgamush: Scrub typhus

2. Rickettsia typhi: Murine ( endemic ) typhus

3. Coxiellaburnetii: Q fever

4. Rickettsia rickettsia: Rocky mountain spotted fever

โรคนี้จะมีอาการไข้ ปวดศีรษะและผื่น โดยเริ่มจากมีไข้ประมาณ 3 วันและในวันที่ 2 หรือ 4 หลังจากผู้ป่วยมีไข้ ผู้ป่วยจะเกิดผื่นแดงทั้งแบบราบและแบบนูน ซึ่งผื่นจะมีจุดเลือดออกหรือเกิดเป็นจ้ำ Purpura บนผิวหนังร่วมกับผื่นชนิดอื่น โดย ผื่นผิวหนังจะเริ่มขึ้นที่บริเวณข้อมือ ฝ่ามือ ข้อเท้าหรือฝ่าเท้า แล้วจึงกระจายตัวขึ้นสู่บริเวณลำตัวภายใน 6-18 แต่ผื่นที่จะไม่แพร่ไปยังบริเวณใบหน้า 

4. โรคซิฟิลิสระยะที่สอง ( Secondary syphilis )

โรคซิฟิลิส ( syphilis ) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า ทรีโพนีมา แพลลิดัม ( Treponema pallidum ) ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยขีดข่วนที่ทำให้เกิดบาดแผลบนผิวหนังหรือผ่านทางเยื่อบุต่าง ๆ ซึ่งโรคซิฟิลิสสามารถแบ่งออกเป็นระยะดังนี้

โรคซิฟิลิสระยะที่หนึ่ง (Primary Syphilis) ในบริเวณที่เชื้อผ่านเข้าสู่ร่างกายบริเวณขอบแผลจะแข็ง ( Chancre ) แต่ไม่มีอาการเจ็บ มักเกิดที่บริเวณส่วนปลายของอวัยวะเพศ

โรคซิฟิลิสระยะที่สอง ( Secondary Syphilis ) ผู้ป่วยซิฟิลิสระยะที่สองจะมี ผื่นผิวหนังขึ้นทั่วตัวรวมถึงบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วย บางครั้งอาจมีแผลคล้ายหูด ( Wart-like sores ) ขึ้นภายในปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วย และที่บริเวณทวารหนักสามารถพบผื่นนูนขนาดใหญ่ สีเทา หรือขาว บริเวณที่มีความชื้น ( condyloma lata ) ร่วมกับอาการต่อมน้ำเหลืองโตอีกด้วย

โรคซิฟิลิสระยะแฝง ( Latent Syphilis ) คือ ระยะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงออก แต่เชื้อยังคงอยู่ภายในร่างกาย สามารถทำการตรวจหาเชื้อได้ด้วยการตรวจเลือด

โรคซิฟิลิสระยะที่ 3 ( Tertiary Syphilis ) ที่ระยะนี้ผิวหนังจะพบ Gumma และมีการทำลายระบบประสาท ( neurosyphilis ) หรือระบบหัวใจหลอดเลือด ( vascular syphilis ) ร่วมด้วย

โดยซิฟิลิสระยะที่สองจะพบว่ามีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ฝ่ามือและฝ่าเท้า ร่วมกับอาการไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโตและอ่อนเพลียร่วมด้วย ซึ่งสามารถสรุปอาการผื่นที่พบในผู้ป่วยซิฟิลิสระยะที่สอง ได้ดังนี้

4.1 ผื่นสีชมพู ( Roseola-like ) เป็นผื่นที่เกิดขึ้นในระยะแรก โดยผื่นจะเกิดขึ้นทั่วทั้งตัว เริ่มตั้งแต่ที่ส่วนของไหล่หรือส่วนข้างลำตัว

4.2 ผื่นแบบ maculopapular หรือ papulosquamous ซึ่งจะเกิดขึ้นทั่วทั่งตัว โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า

4.3 รอยโรคซิฟิลิสเฉพาะที่ ( Localized syphilis ) เป็นรอยโรคที่สามารถทำการตรวจพบเชื้อได้โดยใช้กล้อง darkfield microscope ซึ่งลักษณะที่รอยโรคที่ตรวจพบ คือ ผื่นนูนและมีขุยเป็นสะเก็ดแบบ collarette ( Biette’s collarette ) ที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า มีการเกิด Condyloma lata ที่ส่วนของเยื่อเมือกที่บริเวณทวารหนัก ( Anogenital area ) และมีผื่นที่มีลักษณะคล้ายกับ sebrrheic dermatitis ที่บริเวณใบหน้าและไรผม (crown of Venus)

5. ภาวะสะเต็มเซลล์ใหม่ต่อต้านร่างกายเฉียบพลัน ( Acute graft-versus-host disease ( GVHD )

เมื่อมีภาวะนี้เกิดขึ้นจะมีผื่นชนิด maculopapular โดยจะเริ่มจากบริเวณส่วนปลายของอวัยวะ (acral part) เช่น ส่วนของหลังมือ ส่วนฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส่วนลำตัวด้านบน ซึ่งผื่นจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไขกระดูกไปแล้วประมาณ 4 -6 สัปดาห์ ผื่นผิวหนังที่เกิดขึ้นจะมีจุดเลือดออกร่วมด้วย

6. ระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อเอชไอวี ( Acute retroviral syndrome )

ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ในช่วงแรกก่อนที่ร่างกายจะมีการสร้างแอนติบอดี ( Anti body ) ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อ โรคโมโนนิวคลิโอสิส ( acute mononucleosis ) เช่น มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ร่วมกับการเกิดผื่นแบบ maculopapular eruption ทั่วทั้งตัว โดยเฉพาะที่บริเวณใบหน้าและลำตัว ซึ่งผื่นที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ หายไปหลังจากที่ร่างกายเริ่มสร้างแอนติบอดีหรือประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อนั่นเอง การเกิดผื่นจะมีลักษณะคล้ายกับการเกิดผื่นเนื่องจากการติดเชื้อไวรัส ดังนั้นเพื่อความแน่ใจควรทำการตรวจเลือด HIV RNA/DNA หรือ p24Ag เพื่อยืนยันว่าเป็นผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อ HIV หรือการติดเชื้อไวรัส

การเกิดผื่นผิวหนัง เป็นอาการที่สามารถพบได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยที่มาด้วยการเกิดผื่นอย่างรวดเร็วทั้งแบบตุ่มนูนหรือแบบรอยแดง ควรเริ่มด้วยการซักประวัติและทำการตรวจเลือด เพื่อที่จะสามารถทำการแยกสาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดผื่นได้ นอกจากนั้นการสังเกตลักษณะเฉพาะของผื่นแต่ละแบบ เช่น การเรียงตัวของผื่น การเปลี่ยนแปลงของผื่นที่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของโรค ( Evolution ) ร่วมในการวินิจฉัยด้วย

การเกิด ผื่นผิวหนังเป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป ผื่นบางชนิดเกิดขึ้นเนื่องจากโรคร้ายแรง แต่ผื่นบางชนิดเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายเกิดการแพ้ยาหรือร่างกายได้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นเมื่อเกิดผื่นขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้อง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

McGovern ME (2005). “Taking aim at HDL-C. Raising levels to reduce cardiovascular risk”. Postgrad Med. 117 (4)

Stanford University 1997, Accessed Oct. 2014 https://web.stanford.edu

ประจำเดือนไม่มาหรือขาดประจำเดือน ( Amenorrhea )

0
ภาวะขาดระดูหรือภาวะขาดประจำเดือน ( Amenorrhea )
ภาวะขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู สาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้หญิงส่วนมากเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมน estrogen ที่ผิดปกติ เกิดขึ้นได้ทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้เกิดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผิดปกติจนเกิดภาวะขาดประจำเดือน
ภาวะขาดระดูหรือภาวะขาดประจำเดือน ( Amenorrhea )
ภาวะขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู สาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้หญิงส่วนมากเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมน estrogen ที่ผิดปกติ

ประจำเดือนไม่มา หรือ ขาดประจำเดือน ( Amenorrhea )

อาการขาดประจำเดือน ( Amenorrhea ) หรือภาวะขาดระดู สาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้หญิง สาเหตุส่วนมากเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมน estrogen ที่ผิดปกติ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สาเหตุของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ( Estrogen ) ที่ผิดปกติจนทำให้เกิดภาวะขาดประจำเดือนมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย มีทั้งปัจจัยที่มีความรุนแรงสูงหรือมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย ซึ่งการตรวจหาสาเหตุสามารถทำได้ด้วยจากการสอบประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ถึงแม้ว่า อาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู จะเป็นภาวะที่ไม่ร้ายแรง แต่ถ้าเกิดขึ้นในวัยรุ่นก่อนวัยมีระดูจะส่งผลให้อัตราการมีบุตรน้อยลง และยังส่งผลต่ออัตราเมตาบอลิซึม ( Metabolism ) ของกลูโคส ( Gluycose ) ไขมัน ( Lipid ) และเกลือแร่ ( Mineral ) ที่ทำให้สัดส่วนของกระดูกที่อยู่ภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดสัดส่วน นอกนั้นยังส่งผลต่อการกระจายตัวของไขมันอีกด้วย ดังนั้นการสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดระดูเพื่อที่จะยับยั้งอาการที่เกิดขึ้นจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งภาวะขาดระดู ( amenorrhea ) สามารถทำการแบ่งตามระยะเวลาการเกิดภาวะขาดระดูว่าเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการมีการมีประจำเดือนครั้งแรก ( menarche )

การแบ่งตามระยะเวลาการเกิดภาวะขาดประจำเดือนที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังการมีการมีประจำเดือนครั้งแรก

1.การขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( Primary amenorrhea ) คือ ภาวะที่เด็กผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 15 ปี แต่ยังไม่มีประจำเดือน หรือมีอายุ 13 ปี แต่ลักษณะที่บ่งบอกถึงลักษณะทางเพศของเพศหญิง ( Secondary Sex Characteristic ) ยังไม่มีการแสดงออก เช่น การขยายของเต้านม สะโพกเริ่มผาย

2.การขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ( Secondary amenorrhea ) คือ ภาวะที่ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาแล้วเป็นประจำ แต่ในระยะเวลาต่อมาประจำเดือนเกิดการขาดหายต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนหรือ 3 รอบเดือน ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

2.1 ภาวะประจําเดือนไม่มาตามธรรมชาติ ( Physiologic secondary amenorrhea ) คือ ภาวะที่มีการ อาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น เด็กผู้หญิงที่ยังไม่เข้าสู่วัยรุ่นหรืออายุน้อยกว่า 13 ปี ผู้หญิงในระยะตั้งครรภ์หรือหลังการคลอดลูกและช่วงที่มารดาให้นมบุตร และในช่วงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน

2.2.ภาวะประจำเดือนไม่มาจากพยาธิสภาพ ( Pathologic secondary amenorrhea ) คือ ภาวะที่มี อาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดูต่อเนื่อง 3 เดือนหรือ 6 เดือนขึ้นไป สาเหตุเกิดจากมีโรคเกิดขึ้นภายในร่างกาย ที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนของร่างกาย ระบบการทำงานของรังไข่และมดลูก รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ( Polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS ) เนื่องจากระบบต่อมไร้ท่อมีการทำงานที่ผิดปกติ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ( Estrogen ) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ( Progesterone ) ฮอร์โมนแอนโดรเจน ( Androgen ) หรือฮอร์โมนเพศชาย ( Male sex hormone ) และอินซูลิน ( Insulin ) ที่อยู่ร่างกายมีระดับที่ไม่สมดุล จึงทำให้เกิดถุงน้ำเล็ก ๆ เป็นจำนวนมากในรังไข่ รังไข่จึงมีขนาดที่โตขึ้นส่งผลให้เกิดภาวะขาดประจำเดือน ซึ่งพบได้มากในผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ชัดเจน แต่สามารถสรุปชนิดและสาเหตุของภาวะขาดระดูได้ดังนี้  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

การที่ร่างกายของผู้หญิงมีระดูเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการทำงานของฮอร์โมนที่อยู่ในส่วนของแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล ( hypothalamic-pituitary-ovarian axis ) และยังรวมถึง outflow tract มีการทำงานหรือได้รับการรบกวนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น ทั้งในระดับเล็กน้อยและระดับรุนแรงก็สามารถส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับการมีระดูทั้งสิ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดprimary amenorrhea อาจมีสาเหตุเดียวกับเกิดการขาดระดูแบบ secondary amenorrhea แต่ยังมีบางสาเหตุที่ทำให้เกิด primary amenorrhea เช่น ความผิดปกติทางด้านพันธุกรรม ความผิดปกติทางด้านกายวิภาคของระบบสืบพันธ์ที่ส่งผลให้เกิดการขาดระดูแบบ primary amenorrhea แต่ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการขาดระดูแบบ secondary amenorrhea

โรคที่เกิดขึ้นของภาวะขาดระดูหรือภาวะขาดประจำเดือน

การตั้งครรภ์ จัดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดระดูทั้งแบบ primary amenorrhea และแบบ secondary amenorrhea แต่พบได้บ่อยในการขาดระดูแบบ secondary amenorrhea สำหรับในกรณีที่เป็นแบบ primary amenorrhea จะเกิดจากการที่ร่างกายไม่มีการภาวะไข่ไม่ตก ( Anovulation ) ดังนั้นสำหรับในผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์เมื่อเข้ามาพบแพทย์ด้วยอาการขาดระดู แพทย์จะทำการสอบถามและตรวจการตั้งครรภ์ก่อนเป็นอันดับแรกในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้

1. Primary amenorrhea

สามารถตวจได้ด้วยการสังเกตพัฒนาการของเต้านม อวัยวะเพศภายนอก และการตรวจภายในเพื่อดูลักษณะของมดลูก ซึ่งสาเหตุของ Primary amenorrhea ที่พบได้คือ

1.เต้านมมีการพัฒนาปกติแต่ว่าไม่มีมดลูก

จัดเป็นภาวะที่ผิดปกติมาแต่กำเนิดของระบบสืบพันธุ์ ( Mullertan agenesis ) ซึ่งทำให้มดลูกไม่สามารถเจริญโต และอาจมีความผิดปกติของระบบปัสสาวะร่วมด้วย ( Mayer-Rokitansky-Kuster-Huaser syndrome ) ที่จัดเป็นสาเหตุหลักในการเกิดภาวะ Primary amenorrhea ซึ่งสามารถทำการตรวจได้ด้วยการตรวจระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ( Testosterone ) และยังมีอีกสาเหตุหนึ่งคือ ผู้ป่วยบางรายมีอาการต่อต้านแอนโดรเจนโดยสมบูรณ์ ( compelte androgen insensitivity syndrome; CAIS ) ส่งผลให้การพัฒนาของเต้านมผิดปกติ แต่ว่าที่บริเวรหัวหน่าวและรักแร้กับมีขนขึ้นเล็กน้อย ซึ่งการตรวจพบแค่ blind vaginal pouch และ 5-alpha reductase deficiency ที่มีการแสดงออกของอวัยวะเพศภายนอก่ของเพศหญิงหรือมีลักษณะที่กำกวม ในสภาวะนี้ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ( testosterone ) อยู่เท่ากับที่มีอยู่ในเพศชายและมี และ karyotype เป็น 46, XY    [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ซึ่งการตรวจสอบว่าการพัฒนาของเต้านมมีความผิดปกติหรือไม่ อาจมีสาเหตุมากจาก

1.1 ความผิดปกติของต่อมไฮโปทาลามัส ( Hypothalamus )

ตัวอย่างเช่น ตัวเตี้ยในลักษณะเป็นม้าตีนปลาย ( Constitutional delayed growth and puberty =CDGP ) จัดเป็นสาเหตุของภาวะ normal variant ที่สามารถพบได้มากในการขาดระดูแบบ primary amenorrhea ซึ่งมักเกิดในบุคคลที่ครอบครัวมีประวัติเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้า หรือการเกิดภาวะ Functional Hypothalamic Amenorrhea ( FHA ) ที่หมายถึงภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง ( chronic anovulation ) ที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ แต่มักเกิดจากอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่ทำการควบคุมอย่างเป็นลำดับขั้นเป็นแกน ( hypothalamus-pituitary-ovarian axis ) และฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิ่ง ( Gonadotropin releasing hormone หรือ GnRH ) มีการถูกยับยั้งเนื่องจากภาวะเครียด น้ำหนักลดลง หรือการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง โดยไม่พบรอยโรค ซึ่งสามารถทำการตรวจได้ด้วยการตรวจระดับฮอร์โมน follicle-stimulating hormone ( FSH ) มีหน้าที่ในการกระตุ้นไข่สุก ตรวจฮอร์โมน Luteinizing hormone ( LH ) ที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นบริเวณอัณฑะในเพศชายและรังไข่ในเพศหญิง และฮอร์โมนเอสโทรน ( Estrone ) ว่ามีปริมาณสูงหรือต่ำ ซึ่งรอยโรคที่สมองส่วนโฮโปทาลามัสที่สามารถพบได้ เช่น การติดเชื้อ เนื้องอก เป็นต้น และที่ภาวะ isolated GnRH deficiency สามารถเป็นได้ทั้งแบบที่ไม่ทราบสาเหตุ ( idiopathic ) และแบบกลุ่มที่มีอาการขาดฮอร์โมน ( Kallmann Syndrome ) ที่มักเกิดขึ้นร่วมกับภาวะเสียการรู้กลิ่น ( Anosmia ) หรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคมะเร็ง หรือการดูดซึมสารอาหารที่ผิดปกติ จึงทำให้เกิดภาวะไข่ไม่ตกได้

1.2 ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ( Pituitary Gland )

ตัวอย่างเช่น การเกิดเนื้องอก ( functioning และ nonfunctioning pituitary adenoma ) เนื้องอกทีเกิดขึ้นจะเข้าไปกดหรือเบียดอวัยวะที่ข้างเคียง ส่งผลให้เกิดอาการตามัว เห็นภาพซ้อน ลานสายตาผิดปกติ หรือมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย แต่ถ้าเป็น functioning pituitary adenoma จะทำให้มีภาวะของฮอร์โมนในร่างกายมากเกิน ซึ่งนอกจากอาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีสาเหตุอื่น เช่น autoimmune, infiltrative disease ( sarcoidosis ) หรือ empty sella syndrome เป็นต้น ที่ทำให้ต่อมใต้สมองเกิดความผิดปกติ

1.3 ความผิดปกติของต่อมบ่งเพศ ( Gonad )

คือ ภาวะต่อมเพศขาดหายไปแต่กำเนิด ( gonadal agenesis ) ภาวะต่อมเพศไม่เจริญ ( gonadal dysgenesis ) ที่มีทั้งที่จำนวนและลักษณะของโครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ยูคาริโอตหรือคาริโอไทป์ ( karyotype ) แบบปกติ ( 46, XX และ 46, XY[Swyer syndrome] ) หรือมีคาริโอไทป์แบบที่ผิดปกติ เช่น ผู้ที่มีภาวะโมเซอิค ( Turner mosaicism ) ที่เมื่อทำการตรวจร่างกายแล้วจะพบลักษณะตัวเตี้ย ( short stature ) โดยผู้ป่วยจะมีส่วนสูงที่วัดได้มีค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติของเพศและอายุในช่วงนั้นม ภาวะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้ากว่าปกติ Delayed Puberty, low hairline, มีแผ่นที่คอ ( webbed neck ), wide-spaced nipples, มุมที่ข้อศอก ( carrying angle ) มากกว่าปกติ เป็นต้น บางครั้งอาจมีการพัฒนาสติและปัญญามีความล่าช้าร่วมด้วย ซึ่งการตรวจ karyotype พบ 45 X หรือภาวะโมเซอิก ( Mosaicism ) ภาวะที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ มีเซลล์ซึ่งมีจีโนไทป์แตกต่างกันสองแบบที่เจริญมาจากไข่ที่ผสมแล้วใบเดียว และถ้าทำการตรวจพบโคโมโซม Y ที่สามารถตรวจพบได้ประมาณ 5% แพทย์จะทำการแนะนำให้ทำการตัดต่อมเพศ ( gonadectomy ) เพราะแสดงว่ามีความเสี่ยงในการเกิด gonadoblastoma 5- 30%    [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

2. การพัฒนาของเต้านมปกติและตรวจพบมดลูก

ในกรณีนี้เมื่อทำการตรวจภายในจะมีลักษณะที่ปกติ ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้ คือ ภาวะหรือโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ ( Primary hypothyroidism ) ที่ส่งผลให้อัตราการเผาผลาญสารอาหารภายในร่างกายลดลง จะทำการกระตุ้นให้ต่อมไฮโพทาลามัสทำการหลั่งสารไทโรโทรปิน รีลิสซิงฮอร์โมน เรียกย่อว่าที อาร์ เอช ( TRH :thyrotropin releasing hormone ) และเกิด hyperprolactinemia ( prolactinoma, stalk effect  pituitary adenoma ) ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นจะทำให้ยับยั้งการหลั่ง outflow tract ( imperforate hymen, transverse vagingl septum ) หากว่าการตรวจพบว่าระบบภายในเกิดผิดปกติ แสดงว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น คือ การอุดตันของ outflow tract ( imperforate hymen, transverse vagingl septum ) ที่จะทำให้มีอาการ cyclic pelvic pain ซึ่งสามารถทำการวินิจฉัยอาการจากการตรวจหรือการทำอัตราซาว์ชนิด pelvic ultrasound

2.การขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ( Secondary amenorrhea )

การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุในการเกิดภาวะนี้ คือ การตรวจหาลักษณะของ hyperandrogenism เช่น ขนดก ( hirsutism ), มีสิวหรือผมร่วงแบบผู้ชาย ( androgenic alopecia ) ซึ่งสามารถทำการแยกสาเหตุได้ดังนี้

2.1 มีลักษณะของ hyperandrogenism สาเหตุที่เป็นไปได้

1. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือ Polycystic ovary syndrome ( PCOS ) ที่เมื่อทำการวินิจฉัยตาม Rotterdam 2003 criteria ที่มีลักษณะ 2 ใน 3 คือ

  • Hyperandrogenism ( ทางคลินิกหรือตรวจพบทางห้องปฏิบัติการ )
  • Polycystic ovaries ( ตรวจพบทาง ultrasound )
  • การตกไข่ผิดปกติ ( Oligo/Anovulation )

ซึ่งผู้ป่วยบางรายจะมีอาการดื้อต่ออินซูลินเกิดขึ้นร่วมด้วย และสามารถทำการตรวจพบ FSH กับ LH และ estrogen ในภาวะปกติหรือสูงกว่าปกติ

2. Late-onset congenital adrenal hyperplasia ( CAH )

CAH คือ โรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดทางยีนส์ด้อย เกิดจากความผิดปกติของการขาดเอ็นไซม์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ฮอร์โมนสเตียรอยด์ ( steroid ) ที่บริเวณต่อมหมวกไต โดยที่อาการของภาวะขาดฮอร์โมนสเตียรอยด์อาจเกิดร่วมกับภาวะแอนโดรเจนสูงเกิน ส่งผลให้เกิดการขาดเอ็นไซม์ 21-hydroxylase ที่เมื่อทำให้การตรวจจะพบว่าปริมาณ 17-hydroxyprogesterone เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น androgen-secreting tumor จากการที่มีเนื้องอกเกิดที่บริเวณต่อมหมวกไต ซึ่งอาจเกิดร่วมกับ Cushing’s syndrome ที่เนื้องอกในบริเวณต่อมใต้สมองส่งผลให้มีการสร้าง adrenocorticotropic hormone ( ACTH ) มากผิดปกติ ซึ่งอาการของ hyperandrogenism ที่เกิดจะมีความรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่า PCOS ด้วย

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

2.2 ไม่มีลักษณะของ hyperandrogenism แสดงให้เห็น ซึ่งสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไฮโปทาลามัส ( hypothalamus ), ต่อมใต้สมอง ( pituitary ), รังไข่และมดลูก ดังนี้

1 ความผิดปกติของต่อมไฮโปทาลามัส ( hypothalamus )

ตัวอย่างเช่น functional hypothalamic amenorrhea ที่สามารถพบรอยโรคที่ hypothalamus เช่น การติดเชื้อ การเกิดเนื้องอก การเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีการบาดเจ็บที่บริเวณสมอง

2 ความผิดปกติต่อมใต้สมอง ( pituitary )

ตัวอย่างเช่น เนื้องอก ( Functioning และ nonfunctioning pituitary adenoma ) ซึ่งเนื้องอกที่เกิดขึ้นจะเข้าไปกดหรือเบียดอวัยวะข้างเคียง แต่ถ้าเป็น functioning pituitary adenoma จะส่งผลให้ร่างกายมีภาวะฮอร์โมนเกิน เช่น มีการเกิด galactorrhea จากภาวะ hyperprolactinemia ซึ่งอาจเกิดจากโปรแลกติโนมา ( prolactinoma ) หรือ stalk effect หรือการที่ลักษณะของฮอร์โมน ยากลูโคคอร์ติคอยด์ ( Glucocorticoid ) มีค่าสูงเกินเนื่องจากโรค Cushing’s disease นอกจากยังสามารถเกิดจากโรค autoimmune, infiltrative disease, empty sella syndrome และ sheehan syndrome โดยผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการเสียเลือดมากในระหว่างการคลอดบุตรแล้ว อาจส่งผลให้ไม่มีน้ำนมสำหรับเลี้ยงบุตรได้อีกด้วย

3.ความผิดปกติของรังไข่

ความผิดปกติของรังไข่จะทำให้เกิด primary ovarian insufficiency ( premature ovarian failure ) ที่มักมีสาเหตุจาก จาก idiopathic, autoimmune ซึ่งบางครั้งอาจเกิดร่วมกับ Addison’s disease, type 1 DM, และ autoimmune thyroid disease เนื่องจากมีการฉายรังสีหรือการได้รับยาเคมีบำบัด ที่สามารถทำการตรวจ FSH อยู่ในระดับที่เท่ากับหญิงสาวที่อยู่ในวัยหมดระดูที่พบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี

2.3 ความผิดปกติของ outflow tract

ตัวอย่างเช่น Asherman syndrome คือ ภาวะที่มีผังผืดเกิดขึ้นในมดลูก เนื่องจากการทำหัตถการ เช่น การขูดมดลูก การติดเชื้อวัณโรคในมดลูก เป็นต้น

2.4 สาเหตุอื่นๆ เช่น hyperthyroidism, hypothyroidism, hyperprolactinemia

ภาวะขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู สาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้หญิงส่วนมากเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมน estrogen ที่ผิดปกติจนเกิดภาวะขาดประจำเดือน และเกิดขึ้นได้ทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

การประเมินเพื่อหาสาเหตุของอาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู

การประเมินต้องเริ่มต้นด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จึงจะสามารถระบุสาเหตุของภาวะขาดระดู ( amenorrhea ) ซึ่งมักจะเริ่มต้นประเมินว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหรือไม่ก่อน ถ้าไม่ใช่จึงหาสาเหตุว่าเป็น ของ primary amenorrhea และ secondary amenorrhea แม้ว่าสาเหตุของทั้งภาวะทั้งสองจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ทว่าภาวะ primary amenorrhea จะเริ่มทำการประเมินด้วยการตรวจมดลูกและการเจริญเติบโตของต่อมนม ส่วนภาวะ secondary amenorrhea ควรเริ่มต้นตรวจว่ามีลักษณะ hyperandrogenism หรือไม่ เพื่อทำเป็นตัวช่วยในการแยกภาวะ amenorrhea ซึ่งแต่ละขั้นตอนสามารถทำได้ดังนี้

การซักประวัติ ควรถามด้วยคำตามดังนี้

1.ประวัติการมีประจำเดือนในอดีตและระยะเวลาที่ประจำเดือนขาดไป ในผู้ป่วยที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน

2.ประวัติการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิดที่ใช้

3.ประวัติการลดน้ำหนัก การับประทานอาหาร การออกกำลังกาย อาการเจ็บป่วยเรื่อรังหรือความเครียด โรคประจำตัว การรับรู้กลิ่นของตนเองและคนในครอบครัว หรือประวัติการได้รับอาการบาดเจ็บทางสมอง

4.ประวัติการตกเลือด แท้งบุตร หรือมีเนื้องอกที่ทำให้เกิดการกดหรือเบียดของต่อมใต้สมอง ( pituitary )

5.อาการของ hypothyroidism เช่น อ่อนเพลีย น้ำหนักขึ้น ขี้หนาว ท้องผูก ผิวแห้ง เป็นต้น

6.ประวัติการเป็นโรคไทรอยด์ ( hypothyroidism และ hyperthyroidism )

7.ประวัติของอาการ hyperandrogenism เช่น สิว ผิวมัน ขนดก ผมร่วง แบบชาย เป็นต้น ซึ่งควรซักถามถึงระยะเวลาในการเกิดโรคด้วย

8.ประวัติการได้รับการฉายรังสีหรือการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง

9.ประวัติการทำหัตถการ เช่น การขูดมดลูก การติดเชื้อวัณโรคในมดลูก เป็นต้น

10.ประวัติการมีประจำเดือนครั้งแรก ( menarche ) ของตนเองและคนในครอบครัว

11.ประวัติการใช้ยาก่อนที่จะเกิด  อาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู    [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

การตรวจร่างกาย ควรเริ่มทำการตรวจร่างกาย ดังนี้

1.ทำการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนักและคำนวณดัชนีมวลกาย

2.ทำการตรวจ Tanner staging เพื่อดูการพัฒนาของเต้านมและลักษณะของอวัยวะเพศภายนอก

3.ทำตรวจบริเวณลานสายตา และทดสอบการได้กลิ่น

4.ทำการคลำบริเวณต่อมไทรอยด์

5.ทำการตรวจลักษณะของ Cushingoid appearanec ที่แสดงออก เช่น หน้ากลม ผิวบาง striae, buffalo hump เป็นต้น

6.ทำการตรวจลักษณะของ Turner syndrome เช่น short stature, delayed puberty, low hairline, webbed neck, wide-spaced nipples,carrying angle ของศอกเพิ่มเติม เป็นต้น

7.ทำการตรวจภายในเพื่อสังเกตดูว่าที่บริเวณหรือภายในมดลูกมีความผิดปกติหรือไม่ โดยดูว่ามีภาวะการอุดตันของ outfow tract หรือเยื่อบุช่องคลอดมีลักษณะอย่างไร ถ้ามีลักษณะที่บางแสดงว่าร่างกายมีภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจน ( estrogen ) ต่ำนั่นเอง

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำและช่วยยืนยันภาวะที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งการตรวจในห้องปฏิบัติการ คือ

1.การตรวจฉี่หรือตรวจเลือดเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์

2.การตรวจปริมาณฮอร์โมน TSH, prolactin, LH, FSH ที่มีอยู่ในร่างกาย แต่การตรวจฮอร์โมน estradiol ต้องระวังการแปลผลที่ทำการตรวจออกมาได้ เนื่องจากค่าที่ตรวจวัดได้จะมีความแปรปรวนในผู้หญิงที่มี primary ovarian insufficiency ในระยะแรก หรือมี functional hypothalamic amenorrhea ที่อยู่ในระยะฟื้นตัวรวม ซึ่งการตรวจดังกล่าวนี้ควรตรวจมากกว่าหนึ่งครั้ง เพราะการตรวจเพียงครั้งเดียวผลที่ได้อาจไม่ได้แสดงถึงระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ( estradiol ) ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ และต้องทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ร่วมด้วยเพื่อช่วยในการประเมินความหนาของเยื่อบุมดลูกนั่นเอง        [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3.ทำการตรวจปริมาณฮอร์โมน testosterone ซึ่งเป็นการตรวจที่ทำในที่ตรวจไม่พบมดลูกหรือมีการตรวจพบภาวะ hyperandrogenism ร่วมกับการตรวจปริมาณฮอร์โมน dehydroepiandrosterone sulfate ( DHEA-S ) ที่สามารถบ่งถึงฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนเอนโดรเจน ( androgen ) ที่มาจากส่วนของต่อมหมวกไต

4.ทำการตรวจปริมาณฮอร์โมน 17- hydroxyprogesterone ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยภาวะเกิดภาวะ Congenital Adrenal Hyperplasia ( CAH )

5.ทำการตรวจ karyotype โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะเตี้ย short stature หรือตรวจไม่พบมด

6.นอกจากนี้ยังมีการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น

  • Pelvic ultrasound เพื่อดูการลักษณะของมดลูกและรังไข่ ( PCOS ) หรือความผิดปกติของ outflow tract ที่เกิดขึ้นด้วย
  • การตรวจต่อมใต้สมอง ( pituitary ) ด้วยการทำ MRI ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นเนื้องอกต่อมใต้สมอง ( pituitary adenoma )
  • การทำ progesterone challenge test เพื่อช่วยในการประเมินภาวะ estrogen ที่อยู่ในร่างกาย โดยการให้รับประทาน norethisterone acetate ( Primolut-N ) วันละ 5- 10 มก. หรือ medroxyprogesterone acetate ( Provera ) วันละ 10 มก. ติดต่อกัน 7- 10 วัน แล้วสังเกตว่ามีเลือดออก ( withdrawal bleeding ) หรือไม่ ซึ่งแสดงภาวะ endogenous estrogen เพียงพอ ร่วมกับลักษณะทางกายวิภาคของ outflow ที่ปกติ แต่ถ้าไม่มีเลือดออก สามารถบ่งชี้ได้ว่าร่างกายมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ( estrogen ) ผิดปกติ หรือมีการอุดตันของ outflow tract เกิดขึ้น ดังนั้นต้องทำการให้ estrogen/progesterone challenge test ต่ออีก โดยให้ปริมาณ conjugated estro gen ( Premarin ) วันละ 1.25 มก. ติดต่อกัน 21 วัน เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับเยื่อบุมดลูกแล้วจึงตามด้วยการให้ progesterone แล้วถ้ามีประจำเดือนไหลออกมา แสดงว่ามีภาวะ hypothalamicpituitary-ovarian axis ที่ผิดปกติ แต่ถ้ายังไม่มีประจำเดือนไหลออกมา แสดงว่ามีการอุดตันของ outflow tract นั่นเอง

อาการขาดประจำเดือน หรือภาวะขาดระดู สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจากความผิดปกติภายนอก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ primary amenorrhea และ secondary amenorrhea ดังนั้นเมื่อมีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาด้วยภาวะขาดประจำเดือน จึงจำเป็นต้องอาศัยการซักประวัติ ร่วมกับการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาสู่การวินิจฉัยเพื่อหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง และที่สำคัญควรทำการตรวจเบื้องต้นก่อนว่าผู้ป่วยมีภาวะการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหรือไม่ แล้วไม่มีการตั้งครรภ์จึงทำการตรวจหาสาเหตุอื่นต่อไป ซึ่งสาเหตุของภาวะขาดประจำเดือนทั้งแบบ secondary amenorrhea มักมีสาเหตุเดียวกับภาวะ primary amenorrhea ได้ แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ primary amenorrhea อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่สาเหตุเดียวกับ secondary amenorrhea ก็เป็นได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

De Souza, M. J.; R. J. Toombs (2010). “Amenorrhea”. In Nanette F. Santoro and Genevieve Neal-Perry. Amenorrhea: A Case-Based, Clinical Guide. Humana Press. pp. 101–125. ISBN 978-1-60327-864-5.

Speroff, Leon; Glass, Robert H.; Kase, Nathan G. (1 June 1999). Clinical gynecologic endocrinology and infertility. Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 978-0-683-30379-7.

ปัสสาวะมากเกิดจากอะไร? (Polyuria) สาเหตุที่คุณควรรู้

0
ภาวะปัสสาวะมากเกิดจากสาเหตุอะไร
ภาวะปัสสาวะมาก จึงจำเป็นต้องตรวจวัดด้วยการเก็บปัสสาวะตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมง เพื่อดูว่าแท้จริงแล้วปริมาณปัสสาวะ

ปัสสาวะมาก ( Polyuria )

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า อะไรคือ “ปัสสาวะมากผิดปกติ” โดยทั่วไปในวัยผู้ใหญ่ ปริมาณปัสสาวะต่อวันไม่ควรเกิน 3 ลิตร และในวัยเด็กไม่ควรเกิน 2 ลิตร ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่ปัสสาวะ แต่เน้นวัดจาก “ปริมาณรวม” เป็นหลัก ทั้งนี้บางคนอาจปัสสาวะบ่อย แต่ปริมาณรวมยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งกรณีนี้อาจจัดเป็นภาวะปัสสาวะถี่ (Frequent urination) หรือภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ มากกว่าที่จะเป็นอาการปัสสาวะมาก (Polyuria) สำหรับการวินิจฉัยภาวะ Polyuria จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบปริมาณอย่างชัดเจน หากปริมาณปัสสาวะเกินค่าที่กำหนดไว้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

เป็นเรื่องที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า การดื่มน้ำมากๆ นั้นดีต่อสุขภาพ แต่เชื่อว่าหลายคนก็เลือกที่จะเลี่ยงการดื่มน้ำให้เพียงพอ เปลี่ยนเป็นดื่มเฉพาะเวลากระหายแทน เพราะรำคาญใจที่จะต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ซึ่งอันที่จริงแล้วไม่ค่อยดีเท่าไร โดยปกติร่างกายจะไม่ได้กระตุ้นให้เกิดปวดปัสสาวะบ่อยมากนัก ยังคงเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่ไม่ได้สร้างความยุ่งยากต่อการดำเนินชีวิตอย่างที่คิด แต่ถ้าสังเกตเห็นว่ามีอาการปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมากเกินไปจริงๆ ให้รู้ไว้ว่านั่นไม่ใช่เพราะการดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่เป็นอาการของโรคหรือความผิดปกติของร่างกายต่างหาก

ปัสสาวะมากเกิดจากอะไร

ปัสสาวะมากเกิดจากอะไร - ปัสสาวะมากเกิดจากอะไร? (Polyuria) สาเหตุที่คุณควรรู้ถ้าไม่นับ อาการปัสสาวะมากเนื่องจากดื่มน้ำมากเกินไป มากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย จึงต้องเกิดการขับออกตลอดเวลา ก็จะเป็นผลกระทบมาจากความผิดปกติต่างๆ ภายในร่างกาย และต่อไปนี้คือตัวอย่างที่พบได้บ่อยครั้ง

1. มีภาวะโรคเบาจืด : เป็นโรคเกี่ยวกับการเสียสมดุลของน้ำในร่างกาย ซึ่งมีอัตราการเกิดน้อยมาก นานๆ ครั้งจึงจะพบผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาจืดสักทีหนึ่ง ส่วนมากเป็นเพราะความผิดปกติของฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก ผู้ป่วยก็จะมีความกระหายน้ำอย่างรุนแรง ต้องดื่มน้ำเข้าไปมาก จึงปัสสาวะมากด้วยเช่นกัน ผลข้างเคียงอื่นๆ ก็คือ เมื่อดื่มน้ำมากแล้ว จะทำให้ทานอาหารได้น้อยลง ร่างกายจึงขาดสารอาหารที่จำเป็น เรียกว่าเสียสมดุลหลายระบบเลยทีเดียว

2. มีภาวะ Psychogenic polydipsia : เป็นความผิดปกติในด้านพฤติกรรม คือ ติดนิสัยการทานน้ำปริมาณมาก เป็นพฤติกรรมที่บางครั้งเชื่อมโยงกับระบบประสาท แต่บางครั้งก็ไม่ กลับกลายเป็นว่าถูกหล่อหลอมมาจากสภาพแวดล้อมแทน คนกลุ่มนี้จะนอนหลับได้ดีเป็นพิเศษ และ อาการปัสสาวะมากก็จะหยุดไปในช่วงที่หลับนี่เอง

3. มีโรคเบาหวาน : อันที่จริงตัวโรคเบาหวานเองไม่ได้มีอะไรที่เป็นอันตรายจนน่าวิตกกังวลนัก แต่สิ่งที่แทรกซ้อนเข้ามาต่างหากที่อันตราย อาการปัสสาวะมากก็เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนเหล่านั้น ผู้ป่วยเบาหวานจะรู้สึกกระหายน้ำบ่อยกว่าปกติ และทานอาหารมาก แต่น้ำหนักตัวกลับลดลง แน่นอนว่าต้องปัสสาวะมากตลอดทั้งวัน แม้ในยามหลับ หากเป็นขั้นรุนแรงก็อาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนได้

4. โรคเกี่ยวกับไต : ประเด็นนี้เน้นหนักไปที่โรคอะไรก็ตาม ที่ทำให้ไตไม่สามารถเก็บน้ำเอาไว้ได้ เมื่อเก็บไม่ได้ก็ต้องปล่อยออกเท่านั้นเอง ตัวอย่างของโรคก็คือ hypercalcemia ( ภาวะแคลเซียมสูงในเลือด ) chronic pyelonephritis ( ภาวะกรวยไตอักเสบ ) chronic hypokalemia ( ภาวะผิดปกติของค่าโพแทสเซียมในร่างกาย ) เป็นต้น

ประเภทของอาการปัสสาวะมาก

ประเภทของอาการปัสสาวะมาก - ปัสสาวะมากเกิดจากอะไร? (Polyuria) สาเหตุที่คุณควรรู้เราสามารถแยกอาการ อาการปัสสาวะมากจำพวก Polyuria ออกเป็นส่วนย่อยๆ ตามองค์ประกอบของปัสสาวะได้ 2 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่ม Solute diuresis : เป็นภาวะปัสสาวะมากที่มีต้นตอมาจาก เกิดปริมาณสารบางอย่างที่ดึงน้ำออกจากร่างกาย แล้วกลายเป็นปัสสาวะ โดยที่จะเป็นสาร electrolyte หรือ nonelectrolyte ก็ได้
  • กลุ่ม Water diuresis : เป็นภาวะที่ปัสสาวะถูกขับออกมาเร็วกว่าปกติ ลักษณะจะเป็นของเหลวที่เจือจางมาก หากพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ น้ำผ่านกระบวนการดูดซึมน้อยเกินไปนั่นเอง ซึ่งจะต้องวินิจฉัยด้วยค่า urine osmolality < 250 mosm/kg

ความสำคัญของค่า ADH

ADH หรือ Antidiuretic hormone เป็นฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ เราอาจเคยได้ยินชื่ออื่นๆ นอกจากนี้มาบ้าง เช่น เวโซเพรสซิน นี่เป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยสมองส่วนไฮโพทาลามัส แล้วส่งต่อไปยังคลังเก็บที่สมองส่วนหลัง เพื่อรอการดึงออกมาใช้งาน หน้าที่หลักของ ADH ก็คือควบคุมการทำงานของไต กลไกการดูดซึมและกรองสารพิษต่างๆ จึงดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ส่งผลกระทบในทางไม่ดีต่อร่างกาย รักษาสมดุลน้ำในร่างกายให้เป็นปกติ เนื่องจากสสารในร่างกายทั้งหมดเป็นน้ำมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ หากเสียสมดุลไป ระบบก็จะรวนและเสียหาย นอกจากนี้ ADH ก็ยังดูแลเรื่องความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายอีกด้วย ในผู้ป่วยที่มี อาการปัสสาวะมากส่วนใหญ่จึงมีปัญหาค่า ADH ลดน้อยลง อาจเป็นเพราะร่างกายไม่สามารถผลิตสาร ADH ได้ตามปกติ หรือมีพฤติกรรมบางอย่างที่ฝึกให้ร่างกายดึงเอา ADH มาใช้งานน้อยลง

การตรวจวินิจฉัยอาการปัสสาวะมาก

แม้ว่า อาการปัสสาวะมากนี้จะไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงในระยะสั้น แต่ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ เมื่อรู้สึกว่ามีปริมาณปัสสาวะมากกว่าปกติจนผิดสังเกต ก็ให้เก็บข้อมูลด้วยตัวเองเบื้องต้นก่อนเข้าพบแพทย์ดังนี้

  • บันทึกความถี่ในการปัสสาวะ และสิ่งที่ทำให้คิดว่าปริมาณปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
  • สังเกตสีและลักษณะอื่นๆ ของปัสสาวะ
  • สังเกตอาการปวดปัสสาวะช่วงเข้านอน ว่าต้องตื่นและลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึกหรือไม่ บ่อยแค่ไหน

จากนั้นจึงนำข้อมูลที่มีเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป แน่นอนว่าทีมแพทย์จะมีกระบวนการตรวจวัดอยู่แล้ว แต่การที่ผู้ป่วยสังเกตตัวเองและเก็บข้อมูลมาบ้าง จะช่วยให้การตรวจรักษาเป็นไปอย่างตรงจุดและรวดเร็วมากขึ้น

ภาวะปัสสาวะมาก จึงจำเป็นต้องตรวจวัดด้วยการเก็บปัสสาวะตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมง เพื่อดูว่าแท้จริงแล้วปริมาณปัสสาวะ

การซักประวัติผู้ป่วย

การซักประวัติเป็นขั้นตอนแรกของการรักษาทุกโรค มีรูปแบบและวิธีการที่ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะของแพทย์ผู้ดูแล อย่างไรก็ตามนี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ยิ่งเก็บข้อมูลได้มากและถูกต้องเท่าไร ก็ยิ่งดำเนินการแก้ไขได้อย่างตรงจุดมากเท่านั้น ต่อไปนี้เป็นรูปแบบการซักประวัติที่จำเป็นต่อผู้ป่วยที่มาด้วย อาการปัสสาวะมาก

  • เมื่อเทียบกับเวลาปกติ อาการที่เกิดขึ้นคือ ปัสสาวะมากขึ้น หรือปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • ในช่วงเวลากลางคืนที่นอนหลับไปแล้ว เคยตื่นเพื่อลุกมาเข้าห้องน้ำหรือไม่ บ่อยมากแค่ไหน
  • มีโรคประจำตัวอื่นๆ หรือไม่ เช่น โรคเบาจืด โรคเบาหวาน เป็นต้น
  • เคยมีความกระทบกระเทือนทางสมอง มีอุบัติเหตุหรือโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับสมองหรือไม่
  • มียาอะไรที่ใช้เป็นประจำหรือไม่
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงจนผิดสังเกตหรือไม่

เมื่อซักประวัติเรียบร้อย ก็พอจะได้ข้อมูลคร่าวๆ แล้วว่า ใช่ อาการปัสสาวะมากจริงหรือไม่ จากนั้นก็ต่อด้วยการตรวจวัด

ตรวจปัสสาวะ

ทีมแพทย์จะทำการตรวจวัดปริมาณปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ซึ่งตรงนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยด้วยเช่นกัน เพราะมักมีปัญหาว่าเก็บปัสสาวะไม่ครบ จนเป็นเหตุให้การวินิจฉัยผิดเพี้ยนไปมาก เมื่อเก็บตัวอย่างปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำการตรวจลงลึกในรายละเอียดต่อไป ดังนี้

  • Urine specific gravity : การตรวจเบื้องต้นที่ถือว่าง่ายที่สุด เป็นการวัดค่าความถ่วงจำเพาะ หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ค่าความหนาแน่นของปัสสาวะเมื่อเทียบกับน้ำนั่นเอง ในคนปกติจะมีค่า Urine specific gravity อยู่ที่ 1.010-1.025 แต่ถ้าใครมีค่า Urine specific gravity ต่ำกว่า 1.005 ก็มีแนวโน้มว่าจะมีอาการของ water diuresis
  • Urine osmolality : นี่เป็นการตรวจวัดค่าความเข้มข้นของสารละลายในปัสสาวะ ซึ่งโดยปกติก็จะทีค่าอยู่ในช่วง 50-1200 mosm/kg หากตรวจผู้ป่วยแล้วพบว่า มีค่าน้อยกว่า 250 mosm/kg ก็มีโอกาสที่จะเป็น water diuresis แต่ถ้าค่านั้นมากกว่า 300 mosm/kg ก็น่าจะเป็น solute diuresis มากกว่า จะเห็นได้ว่าค่าที่ใช้เป็นเกณฑ์ตรวจวัดไม่ได้ออกนอกช่วงค่าปกติที่พบเจอได้ เพราะหากหลุดจากช่วงนั้นไป ก็แสดงว่าเข้าสู่ภาวะอันตรายแล้ว
  • Urine glucose : เป็นการตรวจหาน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ ซึ่งเป็นการตรวจขั้นพื้นฐานในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ถ้าในปัสสาวะมีน้ำตาลมาก ก็แสดงว่าร่างกายไม่สามารถดูดซึมหรือจัดการน้ำตาลได้ตามปกติ ในผู้ป่วยที่มี อาการปัสสาวะมากก็เกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน

ตรวจเลือด

แม้ว่าจะดูเหมือนไม่ค่อยเกี่ยว แต่จริงๆ แล้วเลือดนั้นเป็นเสมือนกุญแจที่ไขความลับทุกอย่างในร่างกายของแต่ละคน เมื่อเลือดแข็งแรงสมบูรณ์ดี ร่างกายย่อมสมบูรณ์ดีเช่นกัน แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ ไม่ว่าที่อวัยวะส่วนไหนหรือระบบใด ต่างก็แสดงออกมาให้เห็นชัดในผลเลือดทั้งสิ้น สำหรับอาการปัสสาวะมากจะแบ่งการตรวจเลือดออกเป็น 4 แบบ ดังนี้

  • Serum sodium : เป็นการตรวจวัดค่าโซเดียมที่อยู่ในน้ำเลือด ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงสมดุลของน้ำในร่างกาย และค่า ADH ค่าที่วัดได้สามารถใช้เพื่อแยกแยะสาเหตุได้ 2 อย่าง คือ ถ้าค่าที่ได้ต่ำกว่าปกติ อาการปัสสาวะมากอาจมีสาเหตุมาจาก primary polyuria แต่ถ้าค่าที่ได้สูงกว่าปกติ ก็มักจะมีผลมาจาก DI
  • Blood suger : เป็นการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เน้นหนักในผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นพิเศษ
  • Serum potassium : เป็นการตรวจวัดค่าโปแตสเซียมว่าอยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่ เพราะมีผลโดยตรงต่อความเข้มข้นของปัสสาวะ
  • Serum calcium : เป็นการตรวจวัดค่าแคลเซียมในเลือด ซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานที่ผิดปกติของไตได้

กระบวนการ Water deprivation test

นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะตรวจสอบภาวะปัสสาวะมากที่มีสาเหตุมาจาก water diuresis โดยจะต้องให้ผู้ป่วยอดน้ำ พร้อมกับวัดปริมาณปัสสาวะ ทุก 1 ชั่วโมง ขณะเดียวกันนี้ก็วัดค่า urine osmolality ไปด้วย จากนั้นก็ตรวจ serum sodium และ plasma osmolality เพิ่มอีกทุก 2 ชั่วโมง

แนวทางการรักษาภาวะปัสสาวะมาก

แนวทางการรักษาภาวะปัสสาวะมากหากตรวจวินิจฉัยครบถ้วนทุกองค์ประกอบแล้ว พบว่าผู้ป่วยมี อาการปัสสาวะมากหรือ polyuria จริง ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาต่อไป

1. กรณีผู้ป่วยมีภาวะ Center DI หรือมีภาวะเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน ADH ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับการเสียสมดุลของน้ำในร่างกาย ใจความสำคัญในการรักษาก็จะเป็นการลดปริมาณปัสสาวะด้วย 3 แนวทาง ต่อไปนี้

  • Low solute diet : การใช้อาหารที่มีความเข้มข้นต่ำ เพื่อลดการขับปัสสาวะของร่างกาย
  • Desmopressin : เป็นการใช้สารสังเคราะห์ที่ทำหน้าที่เทียบเท่ากับฮอร์โมน ADH ในร่างกาย โดยจะเริ่มที่ 5 mcg ก่อน แล้วค่อยปรับค่าเพิ่มหรือลดตามความเหมาะสม
  • ใช้ยาอื่นๆ ที่สามารถลดปริมาณปัสสาวะได้ ตัวอย่างเช่น carbamazepine, NSAIDs, thiazid diuretic เป็นต้น

2. กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะ Nephrogenic DI หรือภาวะเบาจืดจากความผิดปกติของหน่วยไต

  • Low sodium, Low protein diet
  • ใช้ยาในกลุ่ม amiloride ซึ่งเป็นยาขับปัสสาวะชนิดหนึ่ง โดดเด่นในเรื่องของการลดปริมาณน้ำและเกลือแร่ในปัสสาวะ
  • Desmopressin : ใช้เมื่อรักษาด้วยแนวทางอื่นแล้ว ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจ

3. กรณีที่ผู้ป่วยเป็น Primary polydipsia ก็สามารถรักษาเบื้องต้นได้ง่ายๆ ด้วยการจำกัดน้ำ และอาจใช้การรักษาในทางจิตเวชร่วมด้วย หากผู้ป่วยมีสัญญาณเกี่ยวกับภาวะทางจิต

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Rippe, editors, Richard S. Irwin, James M. (2008). Irwin and Rippe’s intensive care medicine (6th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 909. ISBN 978-0-7817-9153-3. Retrieved 5 August 2015.

Rudolf, Mary (2006). Paediatrics and Child Health (2nd ed.). Wiley. p. 142. ISBN 9781444320664. Retrieved 5 August 2015.