Home Blog Page 151

ประโยชน์ของน้ำมันคาโนลา ( Canola Oil )

0
ประโยชน์ของน้ำมันคาโนลา (Canola Oil)
น้ำมันคาโนลามีลักษณะสีใส เนื้อบางเบา ไม่มีกลิ่นหืน ผลิตจากเมล็ดของต้นคาโนลาซึ่งพบมากในจีน อินเดีย ประเทศแทบยุโรปและประเทศแคนาดา
legal roids
น้ำมันคาโนลามีลักษณะสีใส เนื้อบางเบา ไม่มีกลิ่นหืน ผลิตจากเมล็ดของต้นคาโนลาซึ่งพบมากในจีน อินเดีย ประเทศแทบยุโรปและประเทศแคนาดา

น้ำมันคาโนล่า ดีต่อสุขภาพหรือไม่?

น้ำมันคาโนล่า คือ น้ำมันพืชมีไขมันไม่อิ่มตัว รสชาติที่เป็นกลางดีต่อสุขภาพสูงมาก ซึ่งกลุ่มคนรักสุขภาพมักใช้น้ำมันคาโนล่าปรุงอาหารมีประโยชน์ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงได้ ช่วยลดน้ำหนัก และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ วันนี้เรามีน้ำมันคุณภาพสูงมาแนะนำเพื่อใช้ปรุงอาหารรับประทาน น้ำมันที่ว่าก็ คือ น้ำมันคาโนลา ( Canola Oil ) มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อัลฟา-ไลโนเลนิก (ALA) สูงกว่าน้ำมันอื่นๆ หากนำน้ำมันพืชมาปรุงอาหารแล้วนำไปเปรียบเทียบกับน้ำมันมะกอกพบว่าน้ำมันคาโนลามีปริมาณแคลอรี่ 124 กรัมและไขมัน 14 กรัมเท่าน้ำมันมะกอก แต่มีไขมันอิ่มตัวแค่ครึ่งเดียวของน้ำมันมะกอกเท่านั้น

น้ำมันคาโนลามีลักษณะสีใส เนื้อบางเบา ไม่มีกลิ่นหืน ผลิตจากเมล็ดของต้นคาโนลาซึ่งพบมากในจีน อินเดีย ประเทศแทบยุโรปและประเทศแคนาดา

ประโยชน์ของน้ำมันคาโนล่า

– สร้างเยื่อหุ้มเซลล์
– ช่วยเพิ่มพลังงานให้สมอง
– มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
– ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
– ช่วยลดการอักเสบและความฝืดของข้อ
– ช่วยลดน้ำหนัก และลดไขมันหน้าท้อง
– ช่วยลดปัญหาผิวและสัญญาณแห่งวัย เช่น สิว ริ้วรอย รอยตีนกา และจุดด่างดำ
– ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นมให้แก้ผิว บำรุงผิว บำรุงเส้นผม และช่วยป้องกันรังแค

จะเห็นว่าน้ำมันโคโนลาเป็นน้ำมันที่ทรงคุณค่าทางโภชนการไม่แพ้น้ำมันมะกอกเลยทีเดียว และสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผัดหรือทอดที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงมากแค่ไหนก็สามารถใช้ได้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ทว่าในประเทศไทยนั้นยังไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใด เนื่องจากน้ำมันคาโนลานั้นมีราคาสูงและหา ซื้อได้ยาก แต่ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่รักสุขภาพแล้ว น้ำมันโคโนลาจัดเป็นน้ำมันพืชทางเลือกที่ดีมากอีกชนิดหนึ่งสำหรับคนที่รักสุขภาพอย่างคุณ แต่อย่าลืมนะว่าการบริโภคน้ำมันไม่ว่าจะดีมากแค่ไหนถ้าบริโภคมากเกินไปก็เป็นอันตรายต่อร่างกายได้นะ ดังนั้นจึงควรบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุนันท์ วิทิตสิริ. รู้จักกับ น้ำมันและไขมันปรุงอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2559. 80 หน้า. 1.รู้จักกับน้ำมันและไขมัน. 2.ปรุงอาหาร. I.ชื่อเรื่อง. 665 ISBN 978-616-538-290-8.

Javitt NB (December 1994). “Bile acid synthesis from cholesterol: regulatory and auxiliary pathways”. FASEB J. 8 (15): 1308–11.

สาเหตุและอาการของโรคซึมเศร้า

0
สาเหตุและอาการของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือรู้สึกว่าตนด้อยค่า เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่โดยมากมักเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 20-30 ปี
สาเหตุและอาการของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือรู้สึกว่าตนด้อยค่า เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า (Depression) คือ คนที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทภายในสมอง ทำให้การกระทำและความคิดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  ซึ่งโรคซึมเศร้าอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการของโรคซึมเศร้าที่พบได้บ่อย คือ ไม่สนใจทำกิจกรรมต่างๆ เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารผิดปกติ กระวนกระวายใจ จิตใจเลื่อนลอย ทำอะไรก็รู้สึกว่าไม่มีความสุข รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า อ่อนเพลียง่าย ไม่มีสมาธิ ไม่กล้าตัดสินใจ โรคซึมเศร้าจัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่เกิดจาการมีปัญหาทางด้านอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง โรคซึมเศร้าจะส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เช่นนั้นอาการของโรคอาจจะกำเริบจนเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายได้ โดยโรคซึมเศร้าสามารถแบ่งออกได้ 6 ชนิด ดังนี้

ประเภทของโรคซึมเศร้า

1. โรคซึมเศร้าแบบรุนแรง ( Major Depression ) ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าอย่างหนักและเห็นชัดเจนประมาณ 2 สัปดาห์ต่อเนื่อง ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการที่รุนแรงถึงขนาดฆ่าตัวตายได้

2. โรคซึมเศร้าแบบเรื้อรัง ( Dysthymia Depression ) ผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นเป็นระยะๆ คือ แสดงอาการบ้างไม่แสดงอาการบ้าง เวลาที่แสดงอาการก็จะรู้สึกหมดอาลัยในชีวิตไม่อยากทำกิจกรรม แต่บางเวลาก็กลับมาเป็นปกติเหมือนคนที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบนี้มักจะมีอาการตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยทำงานโดยที่ไม่รู้ตัว สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้อย่างปกติ แต่ตัวเองจะรู้สึกว่าไม่มีค่าพอที่จะมีความสุข ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียวไม่ชอบเข้าสังคมกับคนอื่นเท่าที่ควร ขาดสมาธิ ใจลอย มองโลกในแง่ร้าย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจจะเกิดสภาวะซึมเศร้าแบบรุนแรงได้ ถ้าได้รับความกดดัน ความเครียด ผิดหวังจากความรักหรือการสูญเสียสิ่งที่รักอย่างกระทันหัน

3. โรคอารมณ์สองขั้ว ( Bipolar Disorder ) คือ ประเดี๋ยวดีประเดี๋ยวร้ายสลับกันไปมา ช่วงที่มีอารมณ์ดีก็ดีมาก ช่างพูดช่างคุยแต่ถ้าได้รับการขัดใจจะหงุดหงิดง่ายพร้อมที่จะอาละวาดทันทีสลับกับช่วงอารมณ์ซึมเศร้า เบื่อหน่ายกับชีวิต รู้สึกว่าชีวิตไม่มีความสุข ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบนี้มักที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล และถ้ามีอาการซึมเศร้าแบบรุนแรงแทรกขึ้นมาก็อาจจะฆ่าตัวตายได้เช่นกัน

4. โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล โรคซึมเศร้าแบบนี้จะพบได้ในฤดูกาลหนาวที่แสงแดดน้อย มีสภาพอากาศที่มืดมัวทำให้รู้สึกหดหู่ ไม่มีชีวิตชีวา รู้สึกว่าตัวเองเฉื่อยชาไม่มีพลังงาน บางรายอาจจะซึมเศร้าจนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้เลย

5. โรคซึมเศร้าหลังคลอด โรคซึมเศร้าชนิดนี้จะเกิดกับผู้หญิงหลังคลอดประมาณ 1% เท่านั้น อาการที่พบคือ เหม่อลอย ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล ไม่สนใจลูกตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความรักจากคนรอบข้าง ซึ่งโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะหายไปเองหลังคลอดประมาณ 1 ปีหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน

6. โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น มีลักษณะคล้ายกับโรคสมาธิสั้นจึงทำให้พ่อแม่เข้าใจผิดกันมาก อาการของโรค คือ เด็กหรือวัยรุ่นจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว โวยวาย เจ้าอารมณ์เมื่อไม่ได้ดั่งใจ คิดว่าพ่อแม่ไม่รัก ไม่มีสมาธิในการเรียน ชอบเก็บอยู่คนเดียว ไม่เล่นหรือไม่ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทที่อยู่ในสมอง 3 ชนิดด้วยกัน คือ สารซีโรโตนิน สารนอร์เอฟิเนฟรินและสารโดปามีน สารสื่อประสาทมีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทผ่านเซลล์ ช่องว่างระหว่างเซลล์ เพื่อให้ส่วนต่างๆ ของสมอง เช่น ไขสันหลัง เส้นประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น ให้ได้รับสัญญาณอย่างทั่วถึงและครบถ้วน แต่ถ้าสารสื่อประสาทเกิดความผิดปกติหรือขาดความสมดุลแล้ว การสื่อสารภายในสมองก็จะเกิดความผิดพลาดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า โดยที่สารสื่อประสาทแต่ละตัวจะมีหน้าที่ดังนี้

1. สารซีโรโตนิน ( Serotonin ) เป็นสารสื่อประสาทที่มีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ความโกรธ ความหิว อุณหภูมิภายของร่างกาย การับรู้และความเจ็บปวด ว่าสารตัวนี้ทำหน้าที่ควบคุมวงจรชีวิตว่าเวลานี้เราต้องทำอะไร เช่น เมื่อถึงเวลาที่ต้องกินก็จะรู้สึกหิว เมื่อถึงเวลานอนก็จะรู้สึกง่วงนอนเป็นต้น

2. สารนอร์เอฟิเนฟริน ( Norepinephrine ) เป็นสารสื่อประสาทที่มีหน้าที่ในการควบคุมการตื่นตัว กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและควบคุมการแสดงออกเวลาที่รู้สึกกลัว

3. สารโดปามีน ( Dopamine ) เป็นสารที่มีหน้าที่ในการควบคุมสมาธิ ควบคุมอารมณ์และกระตุ้นประสาทสัมผัส่ต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว เวลาที่ร่างกายมีสารโดปามีนมาคือเวลาที่เรามีความสุข ความยินดี และความรัก จนบางครั้งเราเรียกสารนี้ว่า “ สารเคมีแห่งรัก ” ( Chemical of love )

จะพบว่าสารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นสารสื่อประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกคล้ายกัน และร่างกายของเราจะหลั่งสารออกมาในอัตราส่วนที่เท่าๆ กันหรือสมดุลกัน แต่ถ้าร่างกายมีการหลั่งสารชนิดใดชนิดหนึ่งมากกว่ากันจะทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้นั่นเอง

สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทที่อยู่ในสมอง 3 ชนิดด้วยกัน คือ สารซีโรโตนิน สารนอร์เอฟิเนฟรินและสารโดปามีน

โดยปกติแล้วสารแต่ละตัวจะหลั่งออกมาในปริมาณที่สมดุลกัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แต่ก็มีสาเหตุที่ทำให้ร่างกายหลังสารแต่ละชนิดออกมาไม่เท่ากัน ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า คือ

1. พันธุกรรม ผู้ที่มีครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนปกติมากถึง 2-3 เท่า ส่วนมากจะเป็นโรคซึมเศร้าแบบเรื้อรัง คือ จะมีอาการป่วยเป็นระยะเวลานาน อาการซึมเศร้าก็จะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา เวลาที่โรคกำเริบก็จะมีอาการซึมเศร้าอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่ออาการหายไปก็จะกลับมาเหมือนคนปกติทุกประการ สาเหตุของโรคซึมเศร้าจากพันธุกรรมนี้เกิดจากความผิดปกติของสารซีโรโทนิน ( Serotonin ) และสารนอร์เอฟิเนฟิน ( Norepinephrine ) ที่ลดน้อยลง

2. ความผิดปกติทางร่างกาย อาการป่วยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง เช่น โรคหลอดเลือดแข็งตัวชนิด Arteriosclerosis โรคเส้นเลือดอุดตันหรือแตกในสมอง โรคเนื้องอกในสมอง หรือการได้รับอุบัติเหตุทางสมอง รวมถึงโรคที่ส่งผลต่อสมองอย่าง โรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน โรคตับอักเสบ โรคเหล่านี้ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เนื่องจากโรคส่งผลกระทบกับการสร้างสื่อประสาทในสมองทำให้สมองสร้างสารสื่อประสาทเกิดความผิดปกติเป็นที่มาของโรคซึมเศร้า

3. จิตใจ ( Psychological Case ) สาเหตุทางด้านจิตใจนี้มีผลทำให้มีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรงและเฉียบพลัน ถ้าคนปกติได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจครั้งแรกก็จะยังไม่เป็นโรคซึมเศร้า แต่ถ้าได้รับความกระทบกระเทือนหลายๆ ครั้งอาจจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรงหรือเรื้อรังได้ สาเหตุด้านจิตใจที่พบได้ คือ การสูญเสียคนรัก การล้มเหลวในชีวิต ความผิดพลาดในการทำงาน ความรู้สึกกดดันที่ไม่สามารถระบายออกมาได้ หรือคนที่รู้สึกสิ้นหวัง ภายนอกจะเหมือนคนปกติทั่วไป แต่ว่าภายในจิตใจนั้นจะรู้สึกสับสน ขาดความมั่นใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าไม่รู้จะอยู่ต่อไปเพื่ออะไรเพราะชีวิตนี้สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไปหมดสิ้นแล้ว

4. สังคม ( Social Case ) ความกดดันทางด้านสังคมทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันที่มีการแก่งแย่งแข่งขันกันสูงมาก ตั้งแต่อายุยังน้อยก็มีการแข่งขันเรื่องการเรียน พอทำงานก็มีการแข่งขันกันในที่ทำงานเพื่อให้ได้ตำแหน่งหน้าที่หรือได้ทำงานในสถานที่ดีๆ คนที่ทำธุรกิจก็ต้องแข่งขันเพื่อให้ได้ลูกค้า สินค้าขายได้มากขึ้น มีกำไรเป็นกอบเป็นกำ แต่เมื่อไม่ได้ดังหวังหรือประสบสภาวะขาดทุนเนื่องจากเศรษฐกิจก็ทำให้เกิดความเครียด ซึ่งความเครียดนี้ไม่ว่ามากหรือน้อยก็ทำให้สารสื่อประสาทเสียสมดุลทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้

อาการของโรคซึมเศร้า

ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักมีอาการดังต่อไปนี้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์

  • เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม
  • รู้สึกเศร้า ท้อแท้ และสิ้นหวัง
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า
  • รู้สึกผิดและโทษตนเองตลอดเวลา
  • ขาดความสนใจหรือความเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • เคลื่อนไหวช้างลงหรือกระสับกระส่าย
  • เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา
  • ขาดสมาธิ ความสามารถในการคิดและการตัดสินใจน้อยลง
  • เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
  • นอนมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย
  • มีปัญหาในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม

การรักษาอาการโรคซึมเศร้า

สาเหตุที่ทำให้คนส่วนมากป่วยเป็นโรคซึมเศร้ากันมาก เกิดจากสภาพทางจิตใจและความเครียดที่คนในสังคมปัจจุบันได้รับความกดดันกันเป็นอย่างมาก ช่วงแรกๆ อาการอาจจะเป็นไม่มากแต่เมื่อได้รับความกดดัน ความเครียดหรือเกิดการสูญเสียผิดหวังครั้งแล้วครั้งเล่า อาการของโรคซึมเศร้าก็จะรุ่นแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ จะเห็นว่าโรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง การรักษาโรคซึมเศร้านั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

1. การรักษาด้วยการกินยา การรักษาแบบนี้ผู้ป่วยจะได้รับยาตามคำวินิจฉัยของแพทย์ โดยยาแก้โรคซึมเศร้า ( Antidepressants Drugs ) นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มใหญ่ตามโครงสร้างของตัวยา คือ

  • กลุ่มที่มีโครงสร้างแบบ Tricyclic หรือ Tricyclic Antidepressants ( TCAs )
  • กลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitors
  • กลุ่ม SSRI ( Serotonin-Specific Reptake Inhibitor )

ยาแก้โรคซึมเศร้าจะช่วยรักษาลดความกังวลทำให้กับผู้ป่วยหายจากโรคซึมเศร้า เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่อง 2- 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่ต้องกินยาจนหายสนิทถึงจะหยุดทานยาได้ เพราะถ้าหยุดยาโดยที่อาการยังไม่หาย โรคก็อาจจะกลับมากำเริบได้อีก การหยุดยาจึงต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้นห้ามหยุดโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่งอย่างเด็ดขาด

2. การรักษาโดยการเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ ทั้งสิ้น เอาแต่นั่งหรือนอนในสมองก็คิดเลื่อยเปื่อยไร้สาระ คิดโทษตัวเองว่าไม่ดี ไม่เก่ง ไม่น่าจะเกิดมาเลยหรือคิดถึงแต่สิ่งที่ไม่ดีในชีวิต การรักษาด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยต้องตั้งใจทำด้วยตัวเอง โดยหากิจกรรมที่ทำแล้วตัวเองรู้สึกมีค่า ทำแล้วสามารถทำให้สำเร็จได้โดยง่าย ถึงกิจกรรมนั้นอาจจะไม่ได้สร้างมูลค่าทางการเงินแต่ก็สร้างคุณค่าทางด้านจิตใจให้ผ็ป่วยรู้สึกว่าทำได้ทำประสบความสำเร็จด้วย และยังช่วยลดความฟุ้งซ่านของผู้ป่วยไม่ให้คิดมากอีกด้วย เช่น การจัดตู้เสื้อผ้า การกวาดบ้านถูบ้าน การล้างรถ รถน้ำต้นไม้ เป็นต้น

3. การรักษาด้วยไฟฟ้า ( Electroconvulsive Therapy หรือ ECT ) เป็นการรักษาในผู้ป่วยที่คิดฆ่าตัวตายหรือมีอาการขั้นรุนแรงมากๆ เท่านั้น โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่สมองของผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นสมองและปรับสารสื่อประสาทภายในสมอง ในขณะที่ทำการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการชัก ( Convulsion ) เกิดขึ้น ทำให้หลายคนมีความเข้าใจผิดจนไม่ยอมรับการรักษาด้วยวิธีนี้ แต่จริงๆ แล้ววิธีการรักษาด้วยไฟฟ้านี้ได้รับผลที่ดีมาก ผู้ป่วยสามารถหายจากโรคซึมเศร้าได้ในการรักษาเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น

อาหารที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยซึมเศร้า

  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ ชานมไข่มุก และน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
  • น้ำผลไม้ ตะกูลส้ม เสาวรส องุ่น เป็นต้น
  • อาหารเสริม อาหารเสริมบางอย่างขัดขวางากรออกฤทธิ์ของยาที่รักษา ทำให้มีความวิตกกังวล
  • ถั่วปากอ่า มีสารไทรามีนสูง
  • ไส้กรอก มีสารไทรามีนสูง
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์กดระบบประสาทและสมอง

แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า

โปรดใส่คะแนนให้ตรงกับคำตอบของท่าน
( เกณฑ์ให้คะแนน: ไม่เลย = 0, มีบางวันหรือไม่บ่อย = 1, มีค่อนข้างบ่อย = 2, มีเกือบทุกวัน = 3 )

ในช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา ท่านมีอาการดังต่อไปนี้บ่อยแค่ไหน ? ระดับคะแนน
เบื่อ ทำอะไร ๆ ก็ไม่เพลิดเพลิน
ไม่สบายใจ ซึมเศร้า หรือท้อแท้
หลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับมากไป
เหนื่อยง่าย หรือไม่ค่อยมีแรง
เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป
รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองล้มเหลว หรือเป็นคนทำให้ตัวเอง หรือครอบครัวผิดหวัง
สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ
พูดหรือทำอะไรช้าจนคนอื่นมองเห็น หรือกระสับกระส่ายจนท่านอยู่ไม่นิ่งเหมือนเคย
คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตาย ๆ ไปคงจะดี
ผลคะแนนรวม

ค่าการแปรผลและคำแนะนำ
คะแนนรวม 5-8      มีความผิดปกติ แต่ยังไม่มีภาวะซึมเศร้า ( ควรพักผ่อน ออกกำลังกาย หรือหาคนปรึกษา )
คะแนนรวม 9-14    มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ( หากมีผลกระทบต่อการทำงาน การดูแลสิ่งต่างๆในบ้าน หรือการเข้ากับผู้อื่น ควรพบแพทย์และให้การช่วยเหลือ )
คะแนนรวม 15-19  มีภาวะซึมเศร้าปานกลาง ( พบแพทย์เพื่อประเมินอาการและให้การช่วยเหลือ )
คะแนนรวม >20     มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง ( พบแพทย์เพื่อประเมินอาการและให้การช่วย

แบบทดสอบการประเมินนี้เป็นการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้น ผลการประเมินและคำแนะนำที่ได้รับจึงไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ได้ การตรวจรักษาเพิ่มเติมหรือการให้ยารักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และการปรึกษากันระหว่างแพทย์และตัวท่าน

โรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนยุคปัจจุบันนี้ เนื่องจากชีวิตที่เคร่งเครียดและความกดดันจากคนรอบข้าง เราจึงควรใส่ใจดูแลตัวเองและคนรอบข้าง หมั่นสังเกตว่ามีอาการของโรคซึมเศร้าเกิดหรือไม่ ถ้ามีจะได้ทำการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อลดความอันตรายของโรคซึมเศร้าที่อาจพรากคนที่เรารักไปจากเราโดยไม่รู้ตัว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-5), Fifth Edition (5 ed.). American Psychiatric Association. 2013. ISBN 978-0-89042-555-8. 2016-07-22.

Richards, C. Steven; O’Hara, Michael W. (2014). The Oxford Handbook of Depression and Comorbidity (ใน English). Oxford University Press. p. 254. ISBN 9780199797042.

พลังงานที่พอดีมาจากปริมาณอาหารเท่าใด ?

0
พลังงานที่พอดีมาจากปริมาณอาหารเท่าใด?
พลังงานที่ได้จากอาหาร เป็นคำนวณจากวัตถุดิบที่มีในอาหาร(กรัม)และคิดออกมาเป็นพลังงาน รวมกันทุกมื้อในวันนั้นๆ
พลังงานที่พอดีมาจากปริมาณอาหารเท่าใด?
พลังงานที่ได้จากอาหาร เป็นคำนวณจากวัตถุดิบที่มีในอาหาร(กรัม)และคิดออกมาเป็นพลังงาน รวมกันทุกมื้อในวันนั้นๆ

พลังงานที่ได้จากอาหาร

พลังงานที่ได้จากอาหาร ต้องคำนวณโดยการนำวัตถุดิบที่มีในอาหารมาคิดเป็นกรัมและคิดออกมาเป็นพลังงาน เมื่อนำมารวมกันทุกมื้อก็จะได้เป็นพลังงานที่ร่างกายได้รับในวันนั้นๆ นั่นเอง

โดยยกตัวอย่างการคำนวณพลังงานที่ได้จากอาหาร กรณีที่ร่างกายมีความต้องการโปรตีนวันละ 40 กรัม ดังนี้

ตัวอย่าง

เนื้อหมู 100 กรัม ( สเต็กชิ้นโตหนึ่งชิ้น ) ได้โปรตีน 20% คือ 20 กรัม หรือไข่ใบโต 1 ฟอง ( 70 กรัม ) ได้โปรตีน 10% คือ 7 กรัม นม 1 แก้ว ( 250 ซีซี. ) ได้โปรตีน 3.3% คือ 8.2 กรัม
ดังนั้น หากต้องการให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่วันละ 40 กรัม ก็จะต้องกินสเต็กชิ้นโต 1 ชิ้น ไข่ 1 ฟอง และนม 2 แก้ว นั่นเอง

หลายคนมักจะวัดการได้รับพลังงานของร่างกายว่าเพียงพอหรือไม่จากความอิ่มในแต่ละมื้อ ซึ่งนั่นไม่ถูกต้องเลย เพราะความอิ่มเกิดจากการที่กระเพาะอาหารมีอาหารอยู่เต็ม โดยสมองจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที เพื่อรับรู้ว่ากระเพาะมีอาหารเต็มแล้ว ซึ่งหากพบว่าอาหารที่กินเข้าไปมีไขมันสูงด้วย ก็จะทำให้คุณได้รับพลังงานที่ได้จากอาหารมากเกินความจำเป็นในที่สุด ดังนั้นจึงต้องทราบพลังงานที่ได้จากอาหารในแต่ละมื้อแต่ละจานด้วย เพื่อจะได้ควบคุมไม่ให้ร่างกายได้รับพลังงานสูงเกินไปนั่นเอง

รายการอาหาร พลังงานที่ได้จากอาหาร ( กิโลแคลอรี )
กระทงทอง 3 ชิ้น 215
กระเพาะปลา 1 ชาม 150
กุนเชียงทอด 1 คู่เล็ก 240
กุ้งทอดกระเทียม 3 ตัวกลาง 259
กุ้งนางนึ่งนมสด 1 ถ้วย 185
กุ้งผัดพริกอ่อน 1 จาน 235
กุ้งอบวุ้นเส้น 1 จาน 300
ก๋วยจั๊บ 1 ชาม 240
ก๋วยจั๊บญวน 1 ถ้วย 235
ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ 1 จาน 435
ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกุ้ง 1 ถ้วย 320
ผัดไทกุ้งสด 1 จาน 545
ราดหน้าปลากะพง 1 จาน 435
ก๋วยเตี๋ยวหลอด 1 จาน 225
ก๋วยเตี๋ยวเรือน้ำตก 1 ถ้วย 180
เส้นใหญ่ผัดซีอิ๊วใส่ไข่ 1 จาน 520
เส้นใหญ่ราดหน้าหมู 1 จาน 405
ก๋วยเตี๋ยวแขก 1 ถ้วย 380
กระท้อนทรงเครื่อง 1 ผล 205
กระยาสารท 1×3 นิ้ว 210
กล้วยฉาบ 9 ชิ้น 200
กล้วยตาก1/2ผล 60
กล้วยน้ำว้า 1 ผล 60
กล้วยบวชชี 1 ถ้วย 230
กล้วยปิ้งชุบกะทิ 1 ผล 145
กล้วยแขก 3 ชิ้น 255
กล้วยไข่เชื่อม 1 จาน (2ผล) 177
กาละแม 3 ห่อเล็ก 195
กะหรี่พัฟ 2 ชิ้น 380
กาแฟร้อน 1 แก้ว 55
กาแฟเย็น 1 แก้ว 115
กุยช่าย (นึ่ง) 1 อัน 140
ขนมกรวย 3 กรวย 190
ขนมกล้วย 2 ห่อ 240
ขนมครก 2 คู่  210
ขนมจีน ( 50 กรัม) 1 ตับ 50
ขนมจีนน้ำพริก 1 จาน 450
ขนมจีนน้ำยา 1 จาน 375
ข้าวสตูว์ไก่ 1 จาน 465
ข้าวกุ้งทอดกระเทียม 1 จาน 495
ข้าวขาหมู 1 จาน 690
ข้าวคลุกกะปิ 1 จาน 410
ข้าวซอยไก่, หมู 1 ถ้วย 395
ข้าวต้ม 1 ถ้วย 120
ข้าวต้มมัด 1 มัด 285
ส้มตำขนมจีน 1 จาน 180
ข้าวผัดกระเพรากุ้ง 1 จาน 540
ข้าวผัดกระเพราไก่ไข่ดาว 1 จาน 630
ข้าวผัดกุนเชียง 1 จาน 590
ข้าวผัดคะน้าหมูกรอบ 1 จาน 670
ข้าวผัดต้มยำทะเล 1 จาน 400
ข้าวผัดปลาหมึกน้ำพริกเผา 1 จาน 535
ข้าวผัดหนำเลียบ-หมู-ไข่ 1 จาน 370
ข้าวผัดอเมริกัน 1 จาน 790
ข้าวผัดแกงเขียวหวานไก่ 1 จาน 630
ข้าวผัดแหนม 1 จาน 610
ข้าวมันไก่ 1 จาน 585
ข้าวยำปักษ์ใต้ 1 จาน 180
ข้าวราดหน้าไก่ 1 จาน 400
ข้าวสวย 3 ทัพพี ( 1 ถ้วยตวง) 240
ข้าวเหนียวนึ่ง 1-2 ทัพพี 80
ข้าวหน้าเป็ด 1 จาน 495
ซุปหน่อไม้ 1 จาน 40
ตับไก่ปิ้ง 1 ไม้ 60
ต้มกะทิสายบัว ปลาทูนึ่ง 1 ถ้วย 225
ต้มข่าไก่ 1 ถ้วย 210
ต้มจับฉ่าย 1 ถ้วย 180
ต้มยํากุ้ง 1 ถ้วย 65
ต้มโคล้งปลากรอบ 1 ถ้วย 60
ทอดมันกุ้ง 1 จาน 225
ทอดมันปลากราย 1 ชิ้น 230
น้ำพริกกะปิผักสด 2 ช้อนโต๊ะ 55
น้ำพริกปลาป่น 1 ถ้วย 35
น้ำพริกมะขามสด 1 ถ้วย 210
น้ำพริกหนุ่ม 2 ช้อนโต๊ะ 35
น้ําพริกอ่อง 2 ช้อนโต๊ะ 160
บะหมี่กรอบราดหน้า 1 จาน 515
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปผัดขี้เมา 1 จาน 530
บะหมี่น่องไก่ 1ชาม 375
บะหมี่น้ำต้มยำหมู 1 ถ้วย 300
บะหมี่เกี๊ยวหมูแดงน้ำ 1 ชาม 305
ปลากระพงนึ่งมะนาว 1 ชิ้นกลาง 155
ปลาช่อนอบเกลือ 1 ตัว 220
ปลาซาบะย่าง 1 ตัว 220
ปลาทอดสามรส 1 ตัวกลาง 470
ปลาทูทอด 1 ตัวกลาง 280
ปลาราดพริก 1 จาน 300
ปลาร้าทรงเครื่อง 1 ถ้วย 155
ปลาร้าสับ 1 ถ้วย 35
ปลาสลิดทอด 1 ตัว 190
ปลาหมึกนึ่งมะนาว 1 ตัว 75
ปลาหมึกผัดฉ่า 1 ถ้วย 260
ปลาอินทรีย์เค็มทอด 1 จาน 115
ปลาแซลมอนย่าง 1 จาน 260
ขนมจีบสามโลก 120
ขนมชั้น 2 ชิ้น 184
ขนมตาล 2 กระทง 115
ขนมถั่วแปบ 3 ชิ้น 43
ขนมถ้วย 2 ถ้วย 265
ขนมบ้าบิ่น 1 ชิ้น 130
ขนมปลากริมไข่เต่า 1 ถ้วย 250
ขนมปังกระเทียม 2 ชิ้น 170
ขนมปังปอนด์ 1 แผ่น 80
ขนมปังมะพร้าว 1 ชิ้น 235
ขนมฝักบัว 2 ชิ้น 140
ขนมสอดไส้ 3 ห่อเล็ก 380
ขนมหม้อแกง 1 ชิ้น 179
ขนมหัวผักกาดผัด 1 จาน 560
ขนมเข่ง 1 กระทง 120
ขนมเทียน 2 อัน 205
ขนมเบื้องญวน 1 แผ่น 280
ขนมเปี๊ยะไส้ถั่ว 2 ชิ้น 300
ขนมเล็บมือนาง 1 จานเล็ก 27
ขนุน 2 ยวง 60
ข้าวหลาม 1 กระบอก 230
ข้าวเกรียบกุ้ง 3 แผ่น 110
ข้าวเหนียวกะทิทุเรียน 1 ถ้วย 225
ข้าวเหนียวดำเปียก 1 ถ้วย 205
ข้าวแช่ 1 ชุด 350
ข้าวโพดคลุก 1 จานเล็ก 156
จาวตาลเชื่อม 1 ลูก 190
ชมพู่ 2-3 ผล 60
ชาดำเย็น 1 แก้ว 110
ชาร้อน 1 แก้ว 55
ชิฟฟอนกาแฟ 1 ชิ้น 275
ชิฟฟอนคัสตาร์ดเค้ก 1 ชิ้น 340
ซาลาเปาไส้หมู 1 ลูก 120
ซาหริ่ม 1 ถ้วย 275
ตะโก้แห้ว 3 กระทงเล็ก 235
ถั่วลิสงต้ม 1 ช้อนโต๊ะ 45
ถั่วลิสงแผ่นทอด 1 แผ่น 150
ถั่วเขียวต้มน้ำตาล 1 ถ้วย 160
ถั่วและต้ม 1 ช้อนโต๊ะ 25
ทองหยิบ 2 ดอก 210
ทับทิมกรอบ 1 ถ้วย 250
ทุเรียนกระดุม 100 กรัม 129
ทุเรียนกวน 1 ช้อนโต๊ะ 115
ทุเรียนทอดกรอบ 7-8 ชิ้น 50
ทอฟฟี่นม 1 เม็ด 20
นมจืด 250 ซีซี. 160
นมจืด (ไม่มีไขมัน) 1 กล่อง 80
นมจืด (ไขมันต่ำ) 1 กล่อง 125
นมถั่วเหลืองหวานน้อย 1 กล่อง 140
นมปรุงแต่งรสหวาน 1 กล่อง 200
นมเย็น 1 กล่อง 150
น้อยหน่า 1/2ผล 60
น้ำกระเจี๊ยบ 1 แก้ว 120
น้ำจับเลี้ยง 1 แก้ว 100
น้ำชาเขียว (250 ml) 1 กล่อง 70
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา 20
น้ำนมข้าวโพด 1 แก้ว 80
น้ํามะตูม 1 แก้ว 120
ปีกไก่สอดไส้ทอด 3 ชุด 310
ป๊อปคอร์น 1 ถ้วย 65
ผัดคะน้าปลาเค็ม 1 จาน 200
ผัดถั่วงอกกับเต้าหู้ 1 จาน 155
ผัดบวบใส่ไข่ 1 จาน 210
ผัดผักกระเฉดน้ำมันหอย 1 จาน 185
ผัดผักกาดขาวหมู วุ้นเส้น 1 จาน 230
ผัดเผ็ดปลาทอดกรอบ 1 ถ้วย 290
ผัดพริกแกงหมูกับหน่อไม้ 1 ถ้วย 200
ผัดฟักทองใส่ไข่ 1 จาน 255
ผัดมะเขือยาวหมูสับ 1 จาน 210
ผัดวุ้นเส้นใส่ไข่ 1 จาน 265
ผัดสะตอกับหมู กุ้ง 1 จาน 200
ผัดหน่อไม้ฝรั่งกับกุ้ง 1 จาน 230
ผัดไชโป๊วใส่ไข่ 125
ผัดไทไข่ 1 จาน 656
ผัดไทไร้เส้น 1 จาน 350
พะแนงไก่ 1 ถ้วย 230
พิซซ่าขอบไส้กรอกชีส 1 ชิ้น 340
พิซซ่า 1 ชิ้น 335
ยากิโซบะ 1 จาน 400
ยํากุนเชียง 1 จาน 220
ยำขนมจีน 1 จาน 220
ยําถั่วพลู 1 จาน 185
ยำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 จาน 215
ยำปลาดุกฟู 1 จาน 275
ยำผักกระเฉด 1 จาน 115
ยําผักกาดดอง 35
ยำผักบุ้งทอดกรอบ 1 จาน 310
ยำมะเขือยาว 1 จาน 115
ยํารวมมิตรทะเล 1 จาน 150
ยำวุ้นเส้น 1 จาน 120
ยําหนังหมู 1 จาน 220
น้ำมันมะพร้าว 100 กรัม 881
น้ำมะพร้าวผสมเนื้อ 1 กล่อง 150
น้ำลำใย 1 แก้ว 100
น้ำส้มคั้น 1 แก้ว 90
น้ำอัดลม (หวาน) 1 แก้ว 75
น้ำอ้อย1/2 แก้ว 120
น้ำเต้าหู้ (จืด) 1 แก้ว 75
บราวนี่ 1 ชิ้น 340
บ๊ะจ่าง 1 ลูก 300
บัวลอยน้ำขิง 1 ถ้วย 160
บัวลอยเผือก 1 ถ้วย 300
ปาท่องโก๋ 1 คู่กลาง 270
เปาะเปี๊ยะทอด 2 ชิ้น 315
เปาะเปี๊ยะสด 1 ชิ้น 175
พายกรอบ (โรยน้ำตาล) 2 ชิ้น 235
ฝรั่ง 1/2 ผล 60
ฝอยทอง 1 แพ 146
พายชีสบลูเบอรี่ 1 ชิ้น 350
พายทูน่า 1 ชิ้น 280
พายเผือก 1 ชิ้น 425
พายไส้กรอก 1 ชิ้น 400
น้ำลำใย 1 แก้ว 100
น้ำส้มคั้น 1 แก้ว 90
น้ำอัดลม (หวาน) 1 แก้ว 75
พายไส้กรอก 1 ชิ้น 400
พุทรา 4 ผล 60
ฟรุตสลัด 1 ถ้วย 180
ฟรุตเค้ก 1 ชิ้น 400
ฟรุตบาร์ 1 ชิ้น 305
ฟักตุ๋นไก่มะนาวดอง 1 ถ้วย 125
ฟักทองเชื่อม 1 จากเล็ก 167
มะกอกแช่อิ่ม 5 ผล 135
มะกอกฝรั่ง 3 ผล 60
มะขามคลุก 6 เม็ด 10
มะขามหวาน 2 ฝัก 60
มะปรางสุก 3 ผล 60
มะม่วงน้ำดอกไม้สุก 4 ชิ้น 60
ไข่นกกระทา 11 ฟอง 191
ไข่ลวก 1 ฟอง 75
ไข่ลูกเขย 1 ฟอง 205
ไข่เจียว 1 ฟอง 200
แหนมสด 1 จาน 175
แหนมสด ข้าวทอด 1 จาน 290
โจ๊กหมู 1 ถ้วย 160
โจ๊กหมู ตับ ไข่ลวก 1 ถ้วย 230
ไส้กรอกทอด 1 ชิ้น 280
ไส้กรอกอีสาน 1 อัน 90
ไส้อั่ว 4 ชิ้นพอคำ 240
โยเกิร์ตรธรรมชาติ 1 ขวด 95
โยเกิร์ตรผลไม้ 1 ขวด 175
โรตีใส่ไข่ 590
โรตีสายไหม 1 อัน 145
โรตีแกงเนื้อ, หมู 1 ชุด 675
โอวันติน 1 แก้ว 210
โอเลี้ยง 1 แก้ว 165
ไอศกรีมกะทิ 2 ก้อน 215
ไอศกรีมกาแฟ 1 ก้อน 142
ไอศกรีมวานิลา 140
ไอศกรีมเรซิน 1 ก้อน 264

พลังงานที่ได้จากอาหารที่ถูกสัดส่วนของแต่ละเพศแต่ละวัย
1. เด็กต้องการพลังงานที่ได้จากอาหารมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะต้องใช้ในการเจริญเติบโต
2. เด็กวัยรุ่นชายต้องการพลังงานที่ได้จากอาหารสูงสุด เมื่อเทียบน้ำหนักตัวเท่ากัน
3.ชายมีความต้องการพลังงานที่ได้จากอาหารมากกว่าหญิง เพราะมีโครงสร้างที่แข็งแรง
4.วัยเด็กต้องการโปรตีน มากกว่า 1 g ต่อน้ำหนักตัว 1 kg
5.ชายต้องการมากว่าหญิง และเด็กต้องการมากกว่าผู้ใหญ่ ยกเว้นแร่ธาตุเหล็ก หญิงวัยตั้งแต่ 13-49 ปี ต้องการมากกว่าเพศชาย เพราะมีประจำเดือนและหญิงให้นมบุตรและสตรีมีครรภ์ร่างกายต้องการพลังงานที่ได้จากอาหารและสารอาหาร เช่น โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
6.แคลเซียมฟอสเฟต ประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ออกซิเจน หญิงมีครรภ์ต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสมากกว่าคนปกติ เพื่อใช้สร้างกระดูกและฟัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ : บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

พืชผักสมุนไพร ที่ใช้ลดน้ำตาล

0
พืชผักสมุนไพร ที่ใช้ลดน้ำตาล
ขมิ้น มีสารเคอร์มินที่จะช่วยดึงเอาน้ำตาลและอินซูลินเข้าสู่เซลล์ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้น้ำตาลลดลงได้และช่วยย่อยอาหาร
พืชผักสมุนไพร ที่ใช้ลดน้ำตาล
เมล็ดกาแฟ มีสารกาเฟอีนที่จะช่วยทำให้ฮอร์โมนอินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ยับยั้ง hIAPP และโพลีเปปไทด์ จนระดับน้ำตาลลดต่ำลง

สมุนไพรลดน้ำตาล

พืชสมุนไพรบางชนิดสามารถนำมาใช้ลดน้ำตาลในร่างกายของคนเราได้ ซึ่งอาจเป็นพืชสมุนไพรที่มีการนำมาทดสอบกับผู้ป่วยแล้วจริงหรือจะเป็นสมุนไพรที่ได้รับการทดลองในห้องปฏิบัติการแล้วว่า สมุนไพรลดน้ำตาล ได้ ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้เหมือนกัน โดยมีพืชผักสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติในการใช้ลดน้ำตาลได้ดังนี้

พืชผักสมุนไพรที่ช่วยลดน้ำตาล

1.กระเทียม
กระเทียม มีสารอัลลิซิน ซึ่งจะไปกระตุ้นร่างกายให้มีการหลั่งเอาอินซูลินออกมามากขึ้น และยังทำให้อินซูลินสามารถจับน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย จึงเป็นผลให้ ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง นั่นเอง โดยทั้งนี้แนะนำให้ทานกระเทียมสดวันละ 3-5 กลีบ เป็นประจำทุกวัน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดน้ำตาลได้แล้วก็ยังช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ ขับลมในลำไส้และช่วยย่อยอาหารได้อีกด้วย หรือจะทานในรูปแบบของน้ำมันกระเทียมก็ได้เหมือนกัน และนอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว น้ำมันกระเทียมก็มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อรา ไวรัสและแบคทีเรียได้เช่นกัน

2.กะเพรา
กะเพรา พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีส่วนช่วยในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดี โดยในกะเพรามีสารสำคัญได้แก่ เมทิล ลินาลอลและซาวิคอล ซึ่งเป็นสารที่จะทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นและลดระดับน้ำตาลลง ทั้งนี้จากการทดลองก็พบว่าสารสกัดใบกะเพราที่สกัดได้ด้วยแอลกอฮอล์ 50% สามารถลดระดับน้ำตาลในสัตว์ทดลองได้มากกว่าร้อยละ 30 เลยทีเดียว

3.กาแฟ
ถึงแม้ว่ากาแฟจะมีข้อเสียอยู่บ้าง และพบว่าเมื่อทานในปริมาณมากก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพไม่น้อย แต่ในขณะเดียวกันในเมล็ดกาแฟ ก็มีสารชนิดหนึ่งที่จะช่วยทำให้ฮอร์โมนอินซูลินทำงานได้ดีขึ้น จน ระดับน้ำตาลลดต่ำ ลงได้อย่างน่าพอใจ แต่ทั้งนี้ควรดื่มกาแฟแค่ไม่เกินวันละ 2 แก้วเท่านั้น

4.ขมิ้น
ในขมิ้น อุดมไปด้วยสารเคอร์คูมิน ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยดึงเอาน้ำตาลและอินซูลินเข้าสู่เซลล์ได้ดี ในผู้ป่วยเบาหวานที่กินขมิ้นเป็นประจำจึงมักจะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้ น้ำตาลลดลง ได้มากกว่าคนที่ไม่กินเลย และนอกจากนี้ขมิ้นก็ยังมีฤทธิ์ในการช่วยย่อยอาหารและลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน

5.ข้าวกล้อง
ข้าวกล้อง นอกจากจะมากไปด้วยคุณประโยชน์มากมายและอุดมไปด้วยสารอาหารแล้ว ก็มีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวที่ผ่านการขัดสีแล้วอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่อยู่ในภาวะระดับน้ำตาลเกือบสูงเป็นที่สุด

6.เจียวกู้หลาน
พืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและ ลดน้ำตาลให้ต่ำลง ได้เหมือนกัน นั่นก็เพราะพืชสมุนไพรชนิดนี้มีจิบโนไซด์ และฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์โดยตรงต่อระดับน้ำตาลอยู่นั่นเอง โดยสารตัวนี้ก็จะทำงานด้วยการไปยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหาร

7.ชะพลู
ชะพลู เป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ระดับหนึ่ง แต่จะออกฤทธิ์ช้ากว่าพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ พอสมควร และที่สำคัญจะต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 6-16 สัปดาห์ จึงจะเห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ นอกจากนี้การทานชาพลูบ่อยๆ ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดนิ่วในไตหรือในทางเดินปัสสาวะได้สูงเช่นกัน

8.เตยหอม
เตยหอม เมื่อนำมาต้มเป็นน้ำชาและดื่มเป็นประจำ จะช่วย ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดี นั่นก็เพราะในเตยหอมมีสารที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ ลินาลูล ลินาลิล อะซิเดด และคูมาริน นั่นเอง ทั้งนี้ก็มีสูตรลับตามตำรับยาแผนโบราณมาแนะนำกันด้วย นั่นก็คือ การนำใบเตยหอมกับใบสักทองอย่างละเท่า กันมาคั่วให้เหลือง นำรากเตยหอมมาทุบให้แตก เสร็จแล้วใส่ลงในหม้อต้มกับน้ำจนเดือด ใช้ดื่มต่างน้ำเป็นประจำประมาณ 1 เดือน รับรองว่าระดับน้ำตาลจะลดน้อยลงแน่นอน

9.ตำลึง
ตำลึง เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบและราก โดยมีส่วนช่วยในการ ลดน้ำตาลในเลือด เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนิยมนำตำลึงมาเป็นส่วนประกอบของอาหารหรือนำมาต้มดื่มต่างน้ำนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามในบางคนก็อาจจะไม่ถูกกับใบตำลึงได้เหมือนกัน โดยอาจะเกิดอาการท้องเสียเมื่อทานตำลึงนั่นเอง

10.ถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง มีคุณสมบัติในการเพิ่มระดับอินซูลินในเลือดให้สูงขึ้น จึงสามารถ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้ลดลงมาอยู่ในระดับที่ปกติได้ ดังนั้นถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง จึงเป็นอาหารที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานทานมากที่สุด

11.บอระเพ็ด
บอระเพ็ด เป็นพืชสมุนไพรที่มากไปด้วยประโยชน์และสามารถใช้ในการ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้อย่างดีเยี่ยม โดยให้นำเถาสดของบอระเพ็ดประมาณ 30 กรัม มาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเป็นน้ำดื่ม หรือจะต้มกับน้ำประมาณ 3 ส่วนก็ได้ จากนั้นดื่มเป็นประจำเช้าเย็นก่อนอาหาร ก็จะพบว่าน้ำตาลในเลือดลดลงไปในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

12.บิลเบอร์รี่
เมื่อนำใบของ บิลเบอร์รี่ แห้งมาชงกับน้ำเดือด และดื่มเป็นประจำ จะสามารถ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ดีอีกด้วย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงไม่ควรละเลยการทานบิลเบอร์รี่เด็ดขาด

13.ผักชี
ในผักชีมีสารชนิดหนึ่งที่จะช่วย ลดระดับของน้ำตาลในเลือด ได้ ซึ่งก็คือ สารโคเรียนดรอลนั่นเอง ผักชีจึงเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาทานเพื่อลดน้ำตาลได้

14.ผักเชียงดา
เป็นผักที่ได้รับความนิยมของชาวเหนือ และมีการนำมารับประทานอย่างแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณ โดยผักชนิดนี้มีรสชาติหอมหวาน แต่ก็สามารถ ควบคุมระดับน้ำตาล ได้ดีและใช้เพื่อรักษาเบาหวานได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย นั่นก็เพราะในผักเชียงดามีสาระสำคัญชนิดหนึ่ง ได้แก่ ไกลซีมิค แอซิด ซึ่งจะทำหน้าที่ในการจับเซลล์ตัวรับในลำไส้ป้องกันการดูดซึมน้ำตาลนั่นเอง

15.ฟักทอง
ฟักทอง มีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น จึงสามารถ ลดระดับน้ำตาล ในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี

16.มะเขือพวง
ใน มะเขือพวง มีสาระสำคัญหลากหลายชนิดที่จะช่วย ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดี เพียงแค่นำมะเขือพวงมาทำเอาน้ำสดๆ แล้วนำมาดื่มเป็นประจำทุกวันเท่านั้น แต่ก็จะมีรสชาติที่ขมพอสมควร

17.มะแว้ง
มะแว้ง เป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้เช่นกัน แต่จะลดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยทั้งนี้ในมะแว้งก็มีสาระสำคัญได้แก่ โซลานีน อัลลีลอยด์และไดออจีนีนนั่นเอง นอกจากนี้การทานผลมะแว้งแบบสดๆ ก็จะช่วยแก้อาการไอได้ดีอีกด้วย

18.มะระจีน
มะระจีน เป็นพืชสมุนไพรที่หลายคนต่างก็ทราบกันดีว่ามีประโยชน์ โดยสาสามารถดับร้อน ถอนพิษไข้และช่วยดับกระหายได้ดีอีกด้วย และนอกจากสรรพคุณดังกล่าวแล้ว มะระจีนก็สามารถ ลดน้ำตาลในเลือด ได้เช่นกัน

19.มะระขี้นก
มะระขี้นก ก็สามารถนำมาทานเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดีเช่นกัน นั่นก็เพราะมีสารคารานดิน เซโรโดนินและไฮดรอกซี ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการลดน้ำตาลในเลือดโดยตรง โดยการนำมะระขี้นกมาทานเพื่อลดน้ำตาลในเลือดนั้น ทำได้ด้วยการนำมะระขี้นกมาต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำมาฝานตากแห้งและชงเป็นชนดื่มนั่นเอง แต่ทั้งนี้มะระขี้นกอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดท้องและอันตรายถึงขั้นช็อกได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการกิน โดยผู้ที่มีอาการแพ้ไม่ควรทานเด็ดขาด

20.มะรุม
ในมะรุม มีสารมอรินจินและสารมอรินจินีน ซึ่งมีคุณสมบัติในการ รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ได้ แถมยังสามารถช่วยชะลอความแก่ได้อีกด้วย โดยทั้งนี้หากใครที่ไม่ชอบทานมะรุมแบบสดๆ ก็สามารถทานในรูปแบบของเม็ดยา แคปซูลและผงสมุนไพรได้เหมือนกัน

21.หม่อน
หม่อน ไม่ว่าจะเป็นใบอ่อน ใบแก่หรือเปลือกรากใบหม่อน ก็สามารถนำมาทานเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดฝอยได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย ดังนั้นใบหม่อนจึงเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานควรทานมากที่สุด โดยสำหรับการนำเปลือกรากใบหม่อนมาใช้เป็นยาสมุนไพร ก็คือนำเปลือกรากใบหม่อนมาทุบให้แหลกประมาณ 90-120 กรัม มาต้มน้ำและดื่มเป็นประจำเช้าเย็น เท่านี้ก็สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้แล้ว

22.ยอ
รากของใบยอสามารถนำมาทานเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด ได้และยังมีส่วนช่วยในการแก้อาการท้องผูกได้อีกด้วย ดังนั้นใครที่มีปัญหาน้ำตาลในเลือดสูงจึงไม่ควรพลาดที่จะทานยอเด็ดขาด

23.เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ มีสาระสำคัญหลากชนิดที่จะช่วยในการ ลดน้ำตาล ได้ไม่แพ้สมุนไพรชนิดอื่นๆ เลยทีเดียว ซึ่งก็คือ นิวคลิโอไทด์ บิทเทอร์ไดรปีนอยด์และโพลีแซคคาไรด์นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันเห็ดหลินจือก็มีทั้งแบบแคปซูล ดอกเม็ดและแบบดอกแห้ง ให้เลือกทานได้หลากหลายแบบ ตามความถนัดของแต่ละคนกันเลย

24.สะตอ
สะตอ พืชสมุนไพรเมืองใต้ที่สามารถนำมาทานแบบสดๆ หรือจะนำมาปรุงอาหารก็ได้เหมือนกัน โดยสะตอก็สามารถช่วย ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดี ทั้งยังมีวิตามินเอสูง ที่จะช่วยบำรุงสายตาได้อีกด้วย แต่เนื่องจากสะตอให้พลังงานสูง จึงไม่ควรกินมากเกินไปเพราะจะทำให้อ้วนได้นั่นเอง

25.โสม
โสม พืชสมุนไพรที่นอกจากจะช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ต้านการเกิดมะเร็งและยับยั้งการสร้างคอเลสเตอรอลในร่างกายได้แล้ว ก็สามารถช่วย ลดน้ำตาลในเลือด ได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้โสมก็มีราคาแพงพอสมควรเลยทีเดียว

26.หอมใหญ่
หอมใหญ่ อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ที่มีคุณสมบัติในการ ลดน้ำตาลในเลือด โดยตรง นั่นก็เพราะ ฟลาโวนอยด์จะไปกระตุ้นให้ตับเปลี่ยนกลูโคสให้กลายเป็นไกลโคเจน และกระตุ้นให้อินซูลินถูกหลั่งออกมามากขึ้น เมื่อทานบ่อยๆ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้นั่นเอง แต่ทั้งนี้ควรนำหอมใหญ่ไปปรุงอาหารในรูปแบบของยำหรือผักสลัดมากกว่า เพราะหากทำไปผัดหรือไปต้มผ่านความร้อน จะทำให้สูญเสียคุณค่าทางสารอาหารได้นั่นเอง

27.อบเชย
อบเชย มีสารสำคัญที่จะทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนอินซูลินได้แก่ ซาลโคนโพลิเมอร์ และเมธิลไฮดรอกซี่ ซึ่งสารเหล่านี้จะทำให้อินซูลินสามารถเกาะจับกลูโคสได้ดีขึ้น ทั้งยังกระตุ้นให้เซลล์ต่างๆ มีการนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอีกด้วย เพียงแค่ทานอบเชยอย่างน้อย 1 กรัมเป็นประจำทุกวันอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

28.อินทนิลน้ำ
อินทนิลน้ำ มีคุณสมบัติในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้อย่างดีเยี่ยม โดยให้นำใบอินทนิลน้ำประมาณ 2-3 กำมือ มาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำมาต้มน้ำให้สุกและดื่มแต่น้ำเป็นประจำทุกวัน เท่านี้ก็จะให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจแล้ว

29.อัลฟัลฟา
อัลฟัลฟ่า มีฤทธิ์ในการ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาอาการวัยทองและขับพิษในร่างกายพร้อมกับปรับสมดุลให้กับร่างกายได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวานหรือคนที่เข้าสู่วัยทองจึงควรทานอัลฟัลฟาบ่อยๆ นั่นเอง

30.ฮว่านง็อก หรือพญาวานร
เป็นพืชสมุนไพรของเวียดนาม แต่ก็ขึ้นชื่อในเรื่องของการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดีพอสมควร โดยให้นำฮว่านง็อกมาเคี้ยวกินแบบสดๆ แล้วดื่มน้ำตาม หรือจะเอามาปั่นแล้วเอาแต่น้ำมาดื่มก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่แนะนำให้นำไปต้ม เพราะจะทำให้สูญเสียคุณประโยชน์ได้

TIP น่ารู้

  • กรณีที่นำพืชผักสมุนไพรเหล่านี้มาใช้เพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด ควรนำมาใช้ให้ถูกต้องตามขนาดและวิธีที่เหมาะสม รวมถึงต้องมีการทำความสะอาดให้ดีก่อนด้วย และที่สำคัญหากนำมาต้มเป็นน้ำดื่มต่างน้ำ ก็ควรเก็บให้ดีเพื่อระวังไม่ให้บูดหรือต้มดื่มแบบวันต่อวันจะดีที่สุด
  • แม้จะมีการใช้สมุนไพรเพื่อ ลดระดับน้ำตาล แต่ก็ยังคงต้องควบคุมการทานอาหารเหมือนเดิมพร้อมกับออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอร่วมด้วย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และที่สำคัญควรลองวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ เช่นกัน
  • เมื่อลองวัดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วพบว่า น้ำตาลในเลือดต่ำลง มาในระดับหนึ่ง ก็ให้ลองใช้สมุนไพรชนิดเดิมต่อไปเรื่อยๆ อีกสักระยะ ซึ่งหากพบว่าให้ผลดีอย่างต่อเนื่อง ก็ให้แจ้งกับแพทย์เพื่อจะได้ปรับลดยาอินซูลินหรือยาเม็ดลดน้ำตาลลงมานั่นเอง
  • การใช้พืชสมุนไพรในการ ลดระดับของน้ำตาลในเลือด และควบคุมเบาหวานนั้น นอกจากจะช่วยให้ระดับน้ำตาลลดลงอย่างน่าพอใจแล้ว ก็ยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นด้วยเช่นกัน

พืชผักสมุนไพรอื่นๆ ที่สามารถลดน้ำตาลได้

นอกจากพืชผักสมุนไพรที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ก็มีพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เหมือนกัน แต่บางชนิดก็ยังไม่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ โดยพืชสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับว่าจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ก็มีดังนี้

1.กะเพรา นิยมนำมาทำเป็นชาชงดื่ม โดยนำมาตากแห้งจากนั้นชงดื่มแทนน้ำเป็นประจำ หรือจะนำมาใช้ปรุงอาหารก็สามารถช่วย ลดน้ำตาลในเลือด ได้เช่นกัน

2.กระเจี๊ยบแดง มีส่วนช่วยในการลดไขมันในเลือด ขับปัสสาวะ และ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้ โดยให้นำกลีบเลี้ยงและใบประดับของกระเจี๊ยบแดงมาตากแห้งไว้ แล้วนำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 5 ดอก ดื่มเป็นประจำวันละ 3 ครั้งก็จะเห็นผลลัพธ์ได้ดี นอกจากนี้ผลอ่อนของกระเจี๊ยบก็สามารถนำมาต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้อีกด้วย

3.กะเม็ง นิยมนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นชาเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด โดยให้นำกะเม็งมาตากแดดให้แห้ง จากนั้นคั่วให้หอมแล้วนำมาชงนั่นเอง

4.กานพลู นิยมนำมาปรุงอาหารเป็นเครื่องเทศ ซึ่งจะให้รสชาติเผ็ดร้อน หอมอร่อย และที่สำคัญสามารถ ลดน้ำตาลได้ด้วย

5.ขิง ก็มีส่วนช่วยในการ ลดน้ำตาล ได้เหมือนกัน เพียงแค่นำขิงแก่สดๆ มาคั้นน้ำให้ได้ครึ่งถ้วยแล้วต้มกับน้ำประมาณ 2 ถ้วย ดื่มเป็นประจำวันละ 3 ครั้ง โดยอาจจะปรุงเพิ่มรสชาติด้วยมะนาวและเกลือด้วยก็ได้ แต่ห้ามใส่น้ำตาลลงไปเด็ดขาด

6.คูน เป็นพืชสมุนไพรที่จะใช้รากของมันในการนำมาทานเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด โดยจะนำรากสดประมาณ 90-120 กรัมมาทุบให้แหลกจากนั้นต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวต่อเนื่องประมาณ 30 นาที ดื่มประจำเช้า-เย็น ก่อนอาหารก็จะช่วยลดน้ำตาลได้ดี

7.ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรขึ้นชื่อในการ ควบคุมน้ำตาล และบรรเทาโรคเบาหวาน โดยจะนำใบสดหรือแห้งประมาณ 1 กรัมมาต้มกับน้ำ 3 แก้วจนเดือด และเคี่ยวต่อประมาณ 30 นาที ดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหารเช่นกัน

8.ลูกเดือย นิยมนำมาทานกับน้ำเต้าหู้เพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด หรือใครจะทานแบบต้มสุกโดยไม่ใส่ในน้ำเต้าหู้ก็ได้เหมือนกัน

9.ฟักทอง เมื่อนำมาต้มสุกแล้วแช่เย็นก่อนนำมากินจะช่วยแก้ความอยากของหวานได้ดี ซึ่งเมื่อมีการทานของหวานน้อยลงก็จะ ลดน้ำตาลในเลือด ลงไปได้ด้วยนั่นเอง

10.ถั่วแดง มีส่วนช่วยในการบำรุงไต ซึ่งจะทำให้ร่างกายดูดซึมของเหลวได้ดีขึ้น โดยให้นำถั่วแดงมาหุงผสมกับข้าวกล้อง และทานตามปกติ

11.น้ำผักผลไม้ มีส่วนช่วยในการรักษาโรคเบาหวานได้อย่างดีเยี่ยม โดยที่นิยมก็ได้แก่ น้ำผักกาดหอม น้ำหอมหัวใหญ่ กระเทียม ผลไม้รสเปรี้ยว ถั่วฝักยาว ขึ้นฉ่ายและผักชี เป็นต้น

12.ตะไคร้ นิยมนำใบและรากของตะไคร้มาใช้ในการ ลดน้ำตาลในเลือด นั่นก็เพราะที่ใบและรากมีสารที่คล้ายกับอินซูลิน จึงสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ดีนั่นเอง นอกจากนี้ก็สามารถนำต้นสดหรือเหง้าประมาณ 1 กำมือมาต้มกับน้ำ 3-4 ถ้วย และดื่มก่อนอาหารทั้ง 3 มื้อ เพื่อลดน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

13.ไหมข้าวโพด โดยส่วนใหญ่จะนิยมนำมาต้มกับน้ำและดื่มบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้และยังใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตอักเสบและแกโรคไอกรนได้อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว

14.บัว นิยมนำมาต้มน้ำดื่มเพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด และรักษาโรคเบาหวาน

15.บวบเหลี่ยม เมื่อนำมาปรุงอาหารทานตามปกติ ก็สามารถ ลดน้ำตาลในเลือด ได้เหมือนกัน ซึ่งบวบก็สามารถทำอาหารได้อย่างหลากหลาย ทั้งต้มจิ้มกับน้ำพริก ทำเมนูผัด ต้มจืด เป็นต้น

16.บอระเพ็ด เมื่อนำเถาสดของบอระเพ็ดมาต้มกับน้ำดื่มประมาณ 30-40 กรัม แล้วดื่มเป็นประจำทุกวัน แต่ต้องระมัดระวังนิดนึง เพราะบอระเพ็ดหากทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้ตับไตเกิดความผิดปกติได้นั่นเอง

17.ใบย่านาง อีกหนึ่งสมุนไพรที่นิยมนำมาให้ผู้ป่วยเบาหวานทานมากที่สุด เพราะสามารถ ลดน้ำตาลในเลือด ได้ดีและช่วยลดความดันโลหิตอีกด้วย ซึ่งจะนำใบย่านางมาต้มน้ำดื่มนั่นเอง

18.มะเขือยาว แค่นำมาปรุงอาหารและทานตามปกติ ก็สามารถ ลดน้ำตาลในเลือด ได้

19.มะนาว มีส่วนช่วยในการ ลดน้ำตาลในเลือด ได้อย่างดีเยี่ยม แต่ไม่ควรทานเป็นจำนวนมากในทีเดียว เพราะจะทำให้ท้องเสียได้ โดยให้นำมะนาวมาคั้นเอาแต่น้ำและผสมกับน้ำเย็นหรือโซดาดื่ม

20.มะแว้งด้น นิยมนำมาปรุงอาหารหรือทานกับน้ำพริกก็จะช่วย ลดน้ำตาล ได้ดี

21.มะแว้งเครือ ส่วนใหญ่จะนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแห้ง คั่วจนเหลืองแล้วนำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ดื่มประจำทุกวันจะช่วย ลดน้ำตาล ได้ดี ซึ่งก็จะเห็นผลลัพธ์ตั้งแต่ 30 วันแรกที่ทานเลยทีเดียว

22.ลูกหว้า สามารถนำมาใช้เพื่อ ลดน้ำตาลในเลือด และแก้เบาหวานได้ เพียงแค่นำเอาเมล็ดไปต้มน้ำดื่มเท่านั้น

23.ลูกใต้ใบ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ใบและต้นมาต้มกับน้ำดื่มต่อเนื่องเช้า-เย็น

24.ว่านหางจระเข้ ก็มีฤทธิ์ในการ ลดน้ำตาล เช่นกัน โดยให้นำวุ้นสดประมาณ 2 x 2 นิ้ว มาล้างจนยางเหลืองออกหมด แล้วรับประทานระหว่างมื้ออาหารวันละ 3 ครั้ง เท่านี้ก็เห็นผล

25.ผักบุ้งไทย เมื่อนำมาทานเป็นประจำก็สามารถ ลดน้ำตาล ได้เช่นกัน จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างมาก

27.พริกไทย พริกขี้หนูและพริกชี้ฟ้า มีรสชาติเผ็ดร้อนช่วยเร่งการเผาผลาญและสามารถใช้ ลดน้ำตาลในเลือด ได้อีกด้วย โดยอาจทานสดๆ หรือนำมาปรุงอาหารก็ได้

28.ฟักข้าว นิยมใช้ยอดอ่อน ผลอ่อนและใบอ่อนมาปรุงอาหาร ซึ่งจะช่วย ลดน้ำตาล ได้อย่างดีเยี่ยม

29.สะเดา แค่นำมาปรุงอาหารและทานติดต่อกันเป็นประจำก็จะช่วยลดน้ำตาลได้

30.สะระแหน่ สามารถนำมาต้มน้ำดื่ม หรือนำมาปั่นเอาแต่น้ำดื่มสดๆ ก็จะช่วย ลดน้ำตาล ได้ดีเหมือนกัน

31.โหระพา เป็นพืชสมุนไรในครั้วเรือนที่หาได้ง่าย และสามารถ ลดน้ำตาล ได้อย่างดีเยี่ยม เพียงแค่นำใบและต้นประมาณ 1 กำมือ มาต้มน้ำดื่มก่อนอาหารเป็นประจำเช้า-เย็นเท่านั้น

32.หัวปลี ก็สามารถนำมาใช้ ลดน้ำตาลในเลือด ได้เหมือนกัน พร้อมกับบำรุงเลือด แก้ปัญหาโรคโลหิตจางได้อีกด้วย เพียงแค่นำหัวปลีมาปรุงอาหารทานตามปกติเท่านั้น

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯ: บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2557.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (12), 311 หน้า. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 113) 1.เบาหวาน 2.โภชนบำบัด 3.การปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วย 4.การดูแลสุขภาพตนเอง. 616.462 ศ7บ6 2559. ISBN 978-616-18-7741-9.

ตรวจสุขภาพ ( Health checkup ) มีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร?

0
ตรวจสุขภาพ มีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร?
การตรวจสุขภาพเป็นการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงในการเกิดโรคเพื่อหาวิธีป้องกัน และตรวจเพื่อหาโรคที่เกิดขึ้นแล้วเพื่อหาแนวทางในการรักษาได้ทัน
ตรวจสุขภาพ ( Health checkup ) มีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร?
การตรวจสุขภาพเป็นการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงในการเกิดโรคเพื่อหาวิธีป้องกัน และตรวจเพื่อหาโรคที่เกิดขึ้นแล้วเพื่อหาแนวทางในการรักษาได้ทัน

ตรวจสุขภาพ ( Health checkup )

คุณคิดว่าการ ตรวจสุขภาพ ( Health checkup ) นั้นจำเป็นหรือไม่? บางคนคิดว่าการตรวจสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ร่างกายก็ยังแข็งแรงดีไม่ได้เจ็บป่วยเสียหน่อยจะให้ไปตรวจสุขภาพทำไมกัน ไม่เห็นจำเป็นต้องตรวจสุขภาพให้ยุ่งยากเลย คุณรู้หรือไม่ว่าความคิดแบบนี้ถือเป็นความคิดที่ผิดมหันต์เลยทีเดียว เนื่องจากโรคร้ายแรงหลายชนิดจะแสดงอาการหรือสร้างผล กระทบให้กับร่างกายอย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อโรคอยู่ในระยะแพร่กระจายหรือเกิดการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว ซึ่งโรคที่อยู่ในระยะแพร่กระจายนั้นจัดเป็นระยะที่อันตรายร้ายแรงยากต่อการรักษา บางครั้งค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรักษาก็สูงมากตามระยะของโรคอีกด้วย ในบางครั้งต่อให้มีเงินมากมายแค่ไหนก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ส่งผลให้ต้องเสียชีวิตในที่สุด แต่ถ้าเราตรวจสุขภาพเป็นประจำเราอาจจะไม่ต้องเป็นโรคร้ายแรงหรือเราอาจจะตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้นทำให้เราสามารถรักษาให้หายได้โดยที่เสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เรามีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น ดังนั้นการตรวจสุขภาพนั้นจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อชีวิตของเรา

จุดประสงค์ของการ ตรวจสุขภาพ ( Health checkup )

1. ตรวจหาความเสี่ยงในการเกิดโรค

ตรวจหาความเสี่ยงในการเกิดโรค คือ การตรวจร่างกายเพื่อดูว่าร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรงปกติดีหรือไม่ และตรวจหาว่าเรามีความเสี่ยงในการเกิดโรคใดในอนาคตหรือไม่ด้วย ซึ่งการตรวจนี้จะทำการสำรวจและตรวจสอบถึงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราว่ามีพฤติกรรมใดบ้างสร้างความเสี่ยงในการเกิดโรคได้โดยที่เราไม่รู้ตัว โดยคุณหมอจะทำการสอบถามประวัติครอบครัว ข้อมูลการทำงานและพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างละเอียด เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าเรามีอันตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรได้บ้าง และจะทำการตรวจตามความเสี่ยงที่ประเมินได้จากข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งการตรวจแบบนี้เป็นการตรวจเชิงรุกเป็นการตรวจเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคในอนาคต ถ้าคุณหมอตรวจพบว่าเรามีความเสี่ยงต่อโรคแล้ว คุณหมอจะกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นแนวทางมาให้เราปฏิบัติตามเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

2. ตรวจเพื่อหาโรคที่เกิดขึ้นแล้ว

การตรวจแบบนี้เป็นการตรวจหาโรคที่เกิดขึ้นแล้วในร่างกาย เพื่อตรวจสอบดูว่าในขณะร่างกายของเราได้เกิดโรคใดขึ้นบ้างแล้วและโรคที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในระยะใด เพื่อที่คุณหมอจะได้กำหนดขั้นตอนและแนวทางในการรักษาต่อไป การตรวจแบบนี้ถ้าเราตรวจเป็นประจำจะทำให้เราค้นเจอโรคที่เป็นอยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งถือว่าเป็นระยะที่มีความอันตรายน้อยที่สุดและมีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้ง่ายและใช้เวลาในการรักษาน้อยมาก

ตรวจสุขภาพ ( Health checkup ) เพื่อเข้าใจพื้นฐานสุขภาพ ป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายแรง รู้ก่อนรับมือได้เร็ว ตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ถ้ามีเราจะได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงทีแต่ถ้าไม่มีโรคเกิดขึ้นก็ไม่เป็นไรและในการตรวจครั้งต่อไปเราก็ทำการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงเพียงอย่างเดียวก็ได้ เราจะได้มีแนวทางในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยนั่นเอง

ควรไปตรวจสุขภาพเมื่อไหร่ ?

หลายคนคิดว่าเดี๋ยวแก่ก่อนค่อยไปตรวจสุขภาพก็ได้ ตอนนี้ยังแข็งแรงอยู่ไม่ต้องไปตรวจหรอก ตรวจไปก็ไม่เจอโรคที่เป็นอันตรายหรอก เรียกว่าตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญและเป็นการใช้จ่ายอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นจึงไม่ยอมไปตรวจสุขภาพ อย่างที่รู้กันว่าการตรวจสุขภาพไม่ใช่การตรวจหาโรคในระยะเริ่มต้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการตรวจหาความเสี่ยงการเกิดโรคเพื่อที่จะได้หาทางป้องกันไม่ให้เกิดโรคอีกด้วย

ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะวัยผู้สูงอายุเท่านั้นที่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพ คนอายุน้อยๆ ก็ควรไปตรวจสุขภาพเหมือนกันเพื่อที่เราจะได้รู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงในการเป็นโรคชนิดใดหรือไม่ เราจะได้รู้ตัวและกำหนดแนวทางในการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคให้มีน้อยที่สุด บางครั้งการป้องกันที่ดีอาจจะทำให้เราไม่เป็นโรคนั้นเลยก็ได้ เช่น คนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกจากการตรวจวหาเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก ถ้าเราตรวจพบเชื้อนี้เราสามารถฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งปากมดลูกได้ พร้อมทั้งเลิกพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก อย่างเช่น การเปลี่ยนคู่นอนเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกอีกทางหนึ่ง เป็นต้น

ดังนั้น ตรวจสุขภาพจึงสามารถตรวจได้ทุกเพศทุกวัย หรือจะเริ่มตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปก็ได้ และควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจดูความเสี่ยงในการเป็นโรคว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร สำหรับคนที่ตรวจเจอภาวะเสี่ยงของโรค แพทย์อาจจะทำการนัดตรวจอย่างละเอียดมากกว่า 1 ครั้งต่อปีก็ได้ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

เราควรเลือกตรวจอะไรบ้าง ?

ปัจจุบันนี้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลทั้งของรัฐบาลและเอกชนต่างก็มีการจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพออกมาเพื่อสนองตอบความต้องการ บางโปรแกรมมีรายการตรวจเกือบร้อยรายการ บางโปรแกรมมีการตรวจเพียงแค่สิบรายการเท่านั้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรใช้โปรแกรมไหนดีในการตรวจสุขภาพหรือโปรแกรมการตรวจสุขภาพแบบไหนที่เหมาะกับเรา

โปรแกรมตรวจสุขภาพที่ดีที่สุดสำหรับเรา คือ โปรแกรมการตรวจสุขภาพที่แพทย์เป็นคนกำหนดให้เฉพาะตัวบุคคลถึงจะเป็นโปรแกรมที่ดีที่สุด ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าร่างกายของคนเราแต่ละคนนั้นมีแตกต่างกัน ทั้งเพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว กลุ่มเลือด สถานที่ทำงาน ประวัติการเจ็บป่วยและประวัติครอบครัว ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน โปรแกรมการตรวจที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลจึงต่างกันไปด้วย ดังนั้นโปรแกรมการตรวจที่เหมาะสมจึงควรมาจากการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันนี้เทคโนโลยี ตรวจสุขภาพนั้นได้ก้าวล้ำไปมาก บางครั้งการตรวจเพียงอย่างเดียวก็สามารถบอกทุกอย่างทั้งความเสี่ยงและสถานะสุขภาพของเราได้อย่างละเอียดและแม่นยำมากขึ้น เช่น การตรวจ Genetic Test การตรวจเลือด เป็นต้น ทำให้เรารู้ถึงสุขภาพในปัจจุบัน แนวทางในการดูแลสุขภาพและความเสี่ยงในการเกิดโรคได้อย่างละเอียด ทั้งโรคทางพันธุกรรมและโรคที่เกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอีกด้วย

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า ตรวจสุขภาพนั้นมีความจำเป็นและสำคัญมาก เนื่องจากปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรามีแต่สารพิษที่เป็นอันตราย สารพิษเหล่านั้นล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นมลพิษในอากาศ สารพิษตกค้างในอาหาร เราไม่มีทางรู้เลยว่าเราจะมีโรคร้ายแรงเกิดขึ้นในร่างกายของเราวันไหน ทางที่ดีเราควรตรวจสุขภาพเพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเราป่วยแล้วหรือยัง และรู้ว่าเราจะป้องกันไม่ให้ตัวเองป่วยเป็นโรคร้ายได้อย่างไร นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดตามคำกล่าวที่ว่า “ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ” นั่นเอง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร?

0
สาเหตุของโรคที่แท้จริงหัวใจและหลอดเลือดคืออะไร?
สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากการอักเสบที่ผนังเส้นเลือดคอเลสเตอรอลที่ไหลมาตามกระแสเลือดจะทำการจับตัวกันในบริเวณที่เกิดการอักเสบ สะสมจนเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน
สาเหตุของโรคที่แท้จริงหัวใจและหลอดเลือดคืออะไร?
สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากการอักเสบที่ผนังเส้นเลือดคอเลสเตอรอลที่ไหลมาตามกระแสเลือดจะทำการจับตัวกันในบริเวณที่เกิดการอักเสบ สะสมจนเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน

โรคหัวใจขาดเลือด

สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือด ( Ischemic heart disease ) สาเหตุของโรคที่แท้จริงหัวใจขาดเลือดนั้นเกิดจากไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอล แต่ตอนนี้เราได้รับรู้ความจริงที่ได้สร้างความตกตะลึงให้กับ ทุกคนว่า

“ สาเหตุที่แท้จริงของโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ต่างหากที่เป็นสาหตุของโรคที่แท้จริง ”

นั่นหมายความว่าความเชื่อที่วงการแพทย์เชื่อกันมานับ 60 ปี เกี่ยวกับสาเหตุโรคหัวใจ สาเหตุการเกิดของโรคหัวใจขาดเลือดที่ว่ามีต้นเหตุมาจากคอเลสเตอรอลและไขมันไม่อิ่มตัว ทำให้แนวทางในการรักษา คือ การทานยาลดคอเรสเตอรอลและการให้ผู้ป่วยลดบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ได้พิสูจน์แล้วว่าความเชื่อดังกล่าวนั้นไม่จริง ไม่ควรให้ความเชื่อถือและยังค้นพบอีกว่าสาเหตุที่แท้จริงของการโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและโรคร้ายแรงอีกหลายชนิด คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอลอย่างที่เคยเชื่อกัน

สาเหตุที่แท้จริงของโรคหัวใจขาดเลือดไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ต่างหากที่เป็นสาเหตุโรคหัวใจที่แท้จริง

สาเหตุที่อาจเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

1. จากความเชื่อว่าสาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดมาจากไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอล เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตัน ทำให้คนหันมาบริโภคอาหารที่ Low Far, Fat Free อาหารที่ไม่มีไขมันอิ่มตัว และรับประทานยากลดไขมันกลุ่ม Statin ที่มีราคาสูงมากเพื่อป้องกันการเกิดโรค แต่ทว่าในรอบ 60 ปีที่ผ่านมาเราพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาพบว่าปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยโรคหัวใจกว่า 75 ล้านคน ผู้ป่วย โรคเบาหวาน 20 ล้านคน และผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ( Pre-Diabetes ) อีกมากกว่า 57 ล้านคนและแนวโน้มผู้ป่วยนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี จากจำนวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่นั้นเราพบว่ามีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งที่มีการป้องกันทุกวิถีทางแล้วแต่ทำไมจำนวนผู้ป่วยถึงยังเพิ่มขึ้น   

นั่นเป็นเพราะความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้หลักโภชนาการและแนวทางของอุตสาหกรรมอาหารเกิดความผิดพลาด ทำให้ประชากรของโลกอยู่ในสภาวะโรคอ้วน เบาหวาน และโรคเซลล์เซื่อมเร็วขึ้น สร้างความสูญเสียทั้งทางทรัพยากรบุคคลและทางเศรษฐกิจอย่างไม่น่าให้อภัย

2. สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดที่แท้จริงที่ทำให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด คือ การอักเสบที่ผนังเส้นเลือด โดยปกติคอเลสเตอรอลที่เข้าสู่ร่างกายจะไหลไปตามหลอดเลือดได้อย่างอิสระไม่จับเป็นตะกรันบนผนังหลอดเลือด แต่เมื่อใดก็ตามถ้าผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบเป็นแผลแล้ว เมื่อนั้นคอเลสเตอรอลที่ไหลมาตามกระแสเลือดจะทำการจับตัวกันในบริเวณที่เกิดการอักเสบ เกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นตะกรันยึดติดอยู่บนผนังหลอดเลือดที่อักเสบนั้น การที่ผนังหลอดเลือดอักเสบเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อโรค ไวรัสและสารพิษเข้าไป แต่ว่าถ้าร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อโรคที่เข้าไปได้จนหมด เชื้อโรคที่เหลือเหล่านั้นจะเข้ามาทำลายเซลล์ตามผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังเซลล์เกิดการอักเสบ ในครั้งแรกๆ ร่างกายจะสามารถรักษาแผลอักเสบให้หายได้ ทำให้การอักเสบจะยังไม่มีผลต่อร่างกายเท่าใดนัก แต่ถ้ามีการอักเสบซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกลายเป็นแผลเรื้อรังเมื่อนั้นจะทำให้เกิดตะกรันที่เป็นอันตรายร้ายแรง นอกจากเชื้อโรคและไวรัสที่เป็นตัวที่ทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบแล้ว สารพิษจากอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นก็สามารถก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้เป็นอย่างดี สารพิษในอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่สำคัญ ก็คือ ไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อน ( Polyunsaturated Fats ) ที่เราพบได้มากจากน้ำตาลในแป้งขัดขาวและอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตสูง ๆ รวมถึงน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีทางอุตสหกรรม เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น รวมถึงในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่นิยมนำน้ำมันพืชและน้ำตาลเหล่านี้ไปเป็นส่วนผสมและสิ่งเจือปนกันด้วยเพราะมีความเชื่อว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคนั่นเอง แต่สิ่งที่ทำนั้นกลับให้ผลในทางตรงกันข้ามเพราะแทนที่จะช่วยเพื่อความแข็งแรงให้กับหลอดเลือดและลดการการอักเสบของหลอดเลือดแล้ว กลับทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบเรื้อรังจนเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ อีกมากมายในเวลาต่อมา

การที่ไขมันไม่อิ่มตัวทำให้หลอดเลือดอักเสบก็ได้ นายแพทย์ Dr.Dwight Lundell, M.D. ได้พูดให้เราเห็นภาพง่ายๆ ว่าเหมือนกับการที่เราเอาแปรงสีฟันแข็งๆ มาถูบริเวณเนื้ออ่อนใต้ท้องแขน เมื่อเราถูไปมาสักพักเราจะพบว่าผิวหนังบริเวณนั้นจะค่อยๆ แดง และมีเลือดซึมออกมาทีละน้อย ภาพที่เราเห็นก็เหมือนกับสภาพของผนังหลอดเลือดที่เกิดการอักเสบนั่นเอง คือจะมีลักษณะ ช้ำและมีเลือดซึมออกมา ถ้าแผลนี้ยังมีการอักเสบเกิดขึ้นเรื่อยไม่หายก็จะเกิดเป็นแผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อร่างกายได้รับอาหารที่น้ำตาลในปริมาณที่สูงเกินไปและร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้หมด จนมีน้ำตาลหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือด น้ำตาลที่เหลืออยู่ในกระแสเลือดนี้จะเข้าไปจับตัวกับโปรตีนกลาย เป็นตัวร้ายที่เข้ามาทำลายผนังหลอดเลือดให้เกิดการอักเสบ ดังนั้นการทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเกินความต้องการของร่างกาย ก็เปรียบเสมือนการนำแปรงสีฟันแข็งๆ มาถูผนังหลอดเลือดให้เป็นแผลครั้งแล้วครั้งเล่า ต่างกันก็ตรงที่เวลาที่เราถูแปรงสีฟันนั้นใช้เวลาไม่นานก็เป็นแผล แต่น้ำตาลที่จับตัวกับโปรตีนในเลือดจะใช้เวลาหลายปีกว่าผนังหลอดเลือดจะเป็นแผลอักเสบเรื้อรังได้

https://www.youtube.com/watch?v=zHias4-PcT0&t=1s

สาเหตุโรคหัวใจขาดเลือดที่แท้จริงนอกจากน้ำตาลที่ทำให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือดแล้ว น้ำมันพืชก็มีส่วนทำให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพดหรือแม้แต่น้ำมันดอกทานตะวันก็ตาม ด้วยความเชื่อที่ว่าน้ำมันพืชเป็นไขมันไม่อิ่มตัวและมีโอเมก้า-6 ที่ไม่ทำให้เป็นสาเหตุโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้คนหันมาบริโภคน้ำมันดังกล่าวเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นและอุตสาหกรรมอาหารก็ต้องตามกระแสความเชื่อดังกล่าว หันมาใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง แต่คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่าน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีที่คุณซื้อมาใช้นั้น เมื่อคุณเปิดฝาเพื่อใช้งานนานเป็นเดือนเป็นปีน้ำมันพืชก็ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนเลยแม้แต่น้อย ทำไมกันล่ะ? ทั้งๆ โอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 นั้นเมื่อโดนออกซิเจนในอากาศจะเกิดปกฏิกิริยาออกซิเดชั่นกลายทำให้เหม็นหืนแล้วแท้ๆ ข้อนี้ก็น่าคิดเหมือนกันว่าน้ำมันพืชที่เราบริโภคอยู่นี้ได้ผ่านกรรมวิธีอะไรมาบ้างถึงได้ไม่มีกลิ่นหืนนานขนาดนี้

จากความเชื่อที่ผิดๆ นั้นทำให้ผู้คนหันมาบริโภคน้ำมันพืชที่เป็นโอเมก้า-6 กันมากขึ้น เป็นผลให้โภชนการของคนเราเกิดความผิดเพื้ยนจนร่างกายขาดความสมดุลของสารอาหารภายในร่างกายไป ปกติร่างกายของคนเราต้องมีอัตราส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 ต่อ ไขมันโอเมก้า-3 ไม่เกิน 3 : 1 แต่ด้วยความเชื่อทำให้คนหันมาบริโภคน้ำมันพืชเพิ่มขึ้นทำให้อัตราส่วนระหว่างไขมันโอเมก้า-6 ต่อไขมันโอเมก้า-3 ในร่างกายกลายเป็น 15 : 1 และในบางคนมีอัตราส่วนเป็น 30 : 1 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราส่วนที่อันตรายอยู่ในขั้นวิกฤติเลยทีเดียว รู้หรือไม่ว่า!!! น้ำมันข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า- 6 มากถึง 7,280 mg น้ำมันถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะมีไขมันโอเมก้า-6 มากถึง 6,940 mg แต่ว่าน้ำมันจากไขมันสัตว์พบว่ามีไขมันโอเมก้า-6 ไม่เกิน 20% เท่านั้น การที่ไขมันโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 มีอัตราส่วนที่ผิดปกติ ผนังเป็นผลให้ผนังหุ้มเซลล์จะเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เพราะว่าไขมันโอเมก้านี้ เป็นส่วนประกอบของผนังหุ้มเซลล์ ถ้ามีไขมันตัวใดมากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะทำให้ผนังเซลล์เสียหายเปราะบาง เซลล์จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า Cytokines ออกมาทำให้ผนังเซลล์เกิดการอักเสบเรื้อรังและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และปัญหาจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ถ้าเราอยู่ในภาวะอ้วนจากการกินอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันในปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกายเข้าไปทุกวัน เพราะว่ายิ่งเราอ้วนเซลล์ก็จะยิ่งขับสาร Cytokines และสารที่ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดเกิดการอักเสบเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้มีการเกิดตะกรันเกาะที่บริเวณผนังหลอดเลือดได้มากขึ้นั่นเอง ซึ่งเมื่อมีตะกรันเกิดขึ้นเราจึงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันสูง หลอดเลือดตีบตัน โรคอัลไซเมอร์ เส้นเลือดเลี้ยงสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ เป็นต้น 

คุณหมอยังได้กล่าวสรุปไว้ตอนท้ายไว้ด้วยว่า “ ทางรอดสำหรับประชากรโลก คือ การกลับไปสู่การปรุงอาหารแบบสดใหม่ บริโภคอาหารที่ไม่ผ่านกรรมวิธีการแปรรูปใดๆ หรือผ่านกรรมวิธีให้น้อยที่สุด เลิกกินน้ำตาลและลดการกินหวาน รวมถึงการงดบริโภคน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารที่ทำให้เก็บไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืนออกจากชีวิตเราเสียให้หมด ” นี่คือทางรอดที่จะทำให้เราหลุดรอดจากการเป็นโรคต่างๆ ได้ดีที่สุด

ถ้าคุณอยากให้ตัวเองและคนที่คุณรักมีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคร้ายและสาเหตุโรคหัวใจที่เข้ามาคุกคามชีวิตของคุณแล้ว ขอให้แชร์บทความนี้ต่อไปเพื่อที่ทุกคนจะได้รับรู้ความจริงเกี่ยวกับสาเหตุของโรคหัวใจโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ขอบคุณคลิปความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

“Essential Fatty Acids”. Micronutrient Information Center, Oregon State University, Corvallis, OR. May 2014. Retrieved 24 May 2017.

“Omega-3 fatty acids, fish oil, alpha-linolenic acid”. Mayo Clinic. 2017. Retrieved 24 May 2017.

Nussey S, Whitehead S (2001). Endocrinology: an integrated approach. Oxford: Bios Scientific Publ. ISBN 978-1-85996-252-7.

ตรวจหาความผิดปกติของ ตับอ่อน P-Amylase / Lipase

0
การตรวจเลือด เพื่อทราบผลต่อสุขภาพจากสารอาหารบางประเภท
ตรวจเพื่อให้ทราบว่าอาหารที่ทานเข้าไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เกิดโรคขึ้นมา โดยนำเลือดมาตรวจหาค่าP-Amylase Lipase
การตรวจเลือด เพื่อทราบผลต่อสุขภาพจากสารอาหารบางประเภท
ตรวจเพื่อให้ทราบว่าอาหารที่ทานเข้าไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เกิดโรคขึ้นมา โดยนำเลือดมาตรวจหาค่าP-Amylase และLipase

ตรวจหาความผิดปกติของ ตับอ่อน

การตรวจการทำงานของตับนั้นใช้ในการวินิจฉัยและติดตามโรคตับได้ โดยเป็นการวัดค่าเอนไซม์และโปรตีนในเลือด โดยหากมีระดับเอนไซม์เหล่านี้สูงหรือต่ำกว่าค่าปกตินั้นสามารถบอกปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายในตับได้ 

การตรวจเลือด หาค่า P-Amylase คือ

การตรวจเลือด หาค่า P-Amylase คือ การตรวจเพื่อหาค่าของเอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โดยมีชื่อว่า พี-อะมิเลซ ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้ก็ได้มาจากการผลิตของตับอ่อนนั่นเอง ดังนั้นค่าความผิดปกติใดที่วัดได้จาก P-Amylase จึงอาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ตรวจมีความเสี่ยงเป็นโรคตับอ่อนหรือมีความผิดปกติภายในท่อตับอ่อนที่ออกไปสู่ลำไส้เล็ก และเพื่อให้ได้ผลการตรวจเลือด ที่แน่นอน แม่นยำมากขึ้น แพทย์ก็มักจะตรวจหาค่า Lipase ร่วมด้วยเสมอ

คำอธิบายอย่างสรุปค่า P-Amylase

1. Amylase เป็นเอนไซม์ที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ 2 แหล่ง ได้แก่

  • ต่อมน้ำลาย ( Salivary Amylase ) โดยจะทำหน้าที่ในการย่อยอาหารในช่องปาก ดังนั้นเมื่อทานอาหารทุกครั้ง จึงควรเคี้ยวให้นานและละเอียดขึ้น เพื่อที่ในช่องทางเดินอาหารจะได้ไม่ต้องทำงานหนักกับการย่อยมากเกินไปนั่นเอง
  • เอนไซม์ตับอ่อน ( Pancreatic Amylase / P-Amylase ) เป็นเอนไซม์ที่จะทำหน้าที่ย่อยในลำไส้เล็ก โดยเอนไซม์ชนิดนี้เมื่อถูกผลิตขึ้นโดยตับอ่อน จะถูกส่งผ่านทางท่อทางเดินของตับอ่อนและท่อน้ำดี ผ่านออกไปสู่ลำไส้เล็กตอนต้น และเริ่มทำการย่อยอาหารที่ผ่านมาในทันที ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว คนเรามีความเข้าใจผิดมาตลอดว่าการย่อยอาหารแบบจริงจังนั้นเกิดขึ้นที่กระเพาะอาหาร แต่ในความเป็นจริงอาหารถูกย่อยตั้งแต่อยู่ในปาก และจะถูกย่อยจริงจังอีกครั้งที่ลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งกระเพาะอาหาร มีหน้าที่เพียงให้อาหารที่ผ่านลงไปได้คลุกเคล้าปนกับสารคัดหลั่งที่อยู่ภายในกระเพาะอาหารเท่านั้น

2. ตับอ่อน มีหน้าที่ในการผลิตและส่งเอนไซม์หลายตัว เพื่อใช้ในการย่อยอาหาร โดยเฉพาะเอนไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้ก็จะต้องผ่านออกทางท่อตับอ่อน และท่อน้ำดี ก่อนจะไปถึงลำไส้เล็กและเริ่มทำการย่อยอาหารนั่นเอง ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีสุขภาพตับอ่อนดี ก็ย่อมทำให้กระบวนการย่อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย และน้ำย่อยบางส่วนก็จะต้องปนติดไปกับกากอาหารที่ถูกขับทิ้งออกนอกร่างกายในรูปของอุจจาระด้วย ส่วนที่จะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือดนั้นจะมีปริมาณที่น้อยมาก และสุดท้ายก็ต้องถูกไตกรองออกมาเพื่อขับทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะเช่นกัน ดังนั้นค่าของ P-Amylase ที่ตรวจพบในเลือดจึงควรมีปริมาณที่น้อยมาก 

3. โดยธรรมดาค่าของ P-Amylase ที่ตรวจพบในเลือดควรจะอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติเสมอ แต่หากพบความผิดปกติ นั่นอาจสันนิษฐานได้ว่ามีสาเหตุมาจากการเป็นโรคตับอ่อน ท่อตับอ่อนเกิดความเสียหายหรือตัวท่อน้ำดีตัน หรือไตมีปัญหา เป็นต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าการตรวจหาค่า P-Amylase ในเลือด สามารถบ่งชี้ถึงโรคต่างๆ เหล่านี้ได้ดีนั่นเอง

4. หากเกิดความผิดปกติที่ตับอ่อน ก็มักจะมีอาการปวดช่องท้องน้อยอย่างรุนแรงร่วมด้วย โดยแพทย์จะทำการเจาะเลือดตรวจทันที ซึ่งก็จะพบค่า P-Amylase ที่สูงมากผิดปกติภายใน12 ชั่วโมงนับตั้งแต่เกิดความผิดปกติที่ตับอ่อน จากนั้นไตก็จะทำหน้าที่ในการกรองออกมาสู่ปัสสาวะ จึงทำให้ค่าของ P-Amylase ลดลงมาอยู่ในระดับที่ปกติภายใน 2 ชั่วโมงเช่นกัน

5. การเจาะเลือดตรวจหาค่า P-Amylase อาจยืนยันได้ด้วยการตรวจผ่านทางปัสสาวะอีกด้วย

ค่าผิดปกติของ P-Amylase

1. หากค่าผิดปกติที่ตรวจพบได้ไปในทางน้อย อาจแสดงได้ว่า

  • ตับอ่อนมีความผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดการอักเสบเรื้อรัง ( Chronic pancreatitis ) เป็นผลให้ P-Amylase ถูกผลิตออกมาน้อยเกินไป และการตรวจเลือดอาจพบค่าที่ต่ำได้
  • เป็นโรคมะเร็งที่ตับอ่อน ทำให้ตับมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง และไม่สามารถผลิตเอนไซม์ใดๆ ออกมาได้ตามปกติ
  • เป็นโรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) จึงเกิดการปิดกั้นช่องทางน้ำดี เป็นผลให้เอนไซม์ไม่สามารถที่จะผ่านออกไปสู่ลำไส้เล็กตอนต้นได้
  • เกิดสภาวะตับอักเสบ ( Hepatitis ) จึงก่อให้เกิดการปิดกั้นช่องทางน้ำดีด้วยเช่นกัน
  • กำลังเกิดภาวะเป็นพิษจากการตั้งครรภ์ ( Toxemia of Pregnancy )

2. หากค่าผิดปกติที่ตรวจได้ไปในทางมาก อาจแสดงได้ว่า 

  • ตับอ่อนกำลังเกิดการอักเสบแบบเฉียบพลัน ( Acute Pancreatitis ) ทำให้ไม่สามารถควบคุมการหลั่งเอนไซม์ P-Amylase ออกมาได้ ผลที่ตามมาจึงทำให้เอนไซม์ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • เป็นโรคมะเร็งที่ตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนผลิตเอนไซม์ P-Amylase ออกมาอย่างควบคุมไม่ได้ และการตรวจเลือดอาจพบมีค่าสูงในที่สุด
  • เกิดสภาวะถุงน้ำดีอักเสบ ( Cholecystitis ) จึงทำให้เอนไซม์ P-Amylase ถูกปล่อยผ่านท่อน้ำดีออกมาเป็นจำนวนมาก โดยไม่ได้รับการควบคุมแต่อย่างใด
  • เกิดปัญหากับลำไส้เล็ก เช่น ลำไส้เล็กตีบตัน เป็นผลให้เอนไซม์ชนิดนี้ตกอยู่ในลำไส้เล็กตอนต้นนานกว่าปกติ และปนไปกับกากอาหารน้อยมาก ส่วนใหญ่จึงถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือด เป็นผลให้ตรวจเลือดพบค่า P-Amylase ในเลือดที่สูงขึ้นมากนั่นเอง
  • เกิดสภาวะไตวาย ( Renal Failure ) เป็นผลให้ไตเสื่อมสภาพลง และไม่สามารถกรอง P-Amylase เพื่อขับทิ้งออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ ดังนั้น P-Amylase ที่ตกค้างอยู่ในเลือดจึงมีค่าสูงมาก

การตรวจเลือด หาค่าของ Lipase

การตรวจเลือด หาค่าของ Lipase คือ การตรวจเลือดเพื่อดูความสูงต่ำของเอนไซม์ที่ชื่อ Lipase ว่าอยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ ซึ่งก็จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเกิดปัญหาของตับอ่อนได้อีกด้วย นั่นก็เพราะ Lipase เป็นเอนไซม์ที่ผลิตขึ้นโดยตับอ่อนเพื่อใช้สำหรับย่อยอาหารประเภทไขมันโดยจะทำให้ไขมันแตกตัวออกเป็นกรดไขมันที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด แล้วจึงดูดซึมกลับเข้าไปใช้ประโยชน์ในร่างกายต่อไป อย่างไรก็ตามเพื่อผลการตรวจที่ชัดเจนมากขึ้น แพทย์มักจะตรวจหาค่า Lipase ควบคู่ไปกับการตรวจหาค่า P-Amylase เสมอ

คำอธิบายอย่างสรุปของค่า Lipase

1. การตรวจเลือดเพื่อหาค่าของ Lipase บางครั้งอาจไม่ได้อยู่ในรายการตรวจเลือดปกติเสมอไป แต่จะนับเป็นการตรวจแบบพิเศษแทน   

2. ตรวจเลือดหาค่า Lipase มักจะตรวจเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดภายในช่องท้องอย่างรุนแรงแบบเฉียบพลัน เพราะเป็นอาการที่ยากจะวินิจฉัยจึงต้องใช้การตรวจหา Lipase เพื่อพิจารณาร่วมด้วย ซึ่งอาการปวดท้องดังกล่าวอาจเนื่องมาจาก

  • ภาวะไส้ติ่งอักเสบแบบเฉียบพลัน ( Acute Appendicitis )
  • ภาวะตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน ( Acute Pancreatitis )

โดยจากกรณีทั้ง2 ข้างต้นนี้ หากทำการตรวจเลือดทั้งสองค่าพร้อมกัน แล้วพบว่า

  • ค่า P-Amylase อยู่ในระดับที่ปกติ และค่า Lipase อยู่ในระดับที่ปกติด้วย ก็จะได้ผลการตรวจที่ค่อนข้างแน่ชัดว่า ผู้ป่วยน่าจะเป็นไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งทั้งนี้แพทย์ก็จะต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อความแน่ชัดยิ่งขึ้น

3. เมื่อมีอาการปวดในช่องท้องอย่างหนัก และตรวจผลเลือดพบว่า ค่า P-Amylase สูงเป็น 2 เท่าจากค่าปกติสูงสุด และค่า Lipase สูงมากกว่า 5 เท่าจากค่าปกติสูงสุด สามารถบ่งบอกได้แน่ชัดว่า ผู้ตรวจมีสภาวะตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน ซึ่งจะต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน

4. โดยปกติแล้ว หากค่า Lipase ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะความผิดปกติใดก็ตาม ไตจะทำหน้าที่ในการกรองเอา Lipase ออกทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ปกติเสมอ เว้นแต่ไตจะมีปัญหาซะเอง ทำให้ไม่สามารถกรองได้ตามปกติ

ค่าปกติของ Lipase

Lipase : 0 – 160 units/L

ค่าผิดปกติของ Lipase

  1. ค่าผิดปกติของ Lipase หากตรวจพบค่าไปในทางน้อย แสดงได้ว่า ไม่มีนัยสำคัญหรือไม่มีความผิดปกติใดๆ

2. ค่าผิดปกติของ Lipase หากตรวจพบค่าไปในทางมาก แสดงได้ว่ากำลังเกิดโรคร้ายแรงที่ตับอ่อน จึงทำให้ตับอ่อนไม่สามารถควบคุมการปล่อย Lipase ออกมาได้ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น

2.1 ตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน ( Acute Pancreatitis )

2.2 ตับทรุกหนักจากการอักเสบแบบเรื้อรัง ( Chronic Relapsing Pancreatitis )

2.3 ตับอ่อนเป็นมะเร็ง ( Pancreatic Cancer ) 

2.4 ตับอ่อนเกิดสภาวะมีถุงน้ำไม่แท้ ( Pancreatic Pseudocyst )

  • อาจสภาวะไตวายเรื้อรัง จึงทำให้ไตไม่สามารถกรองและขับ Lipase ออกทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะได้
  • เกิดโรคหรือสภาวะร้ายแรงบางอย่างที่ลำไส้เล็ก เช่น การปิดกั้นการเคลื่อนตัวของอาหาร
  • การกินยารักษาโรคบางชนิด อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็อาจมีผลให้ค่า Lipase ที่ตรวจพบมีความสูงขึ้นได้เช่นกัน

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

Nussey S, Whitehead S (2001). Endocrinology: an integrated approach. Oxford: Bios Scientific Publ. ISBN 978-1-85996-252-7.

https://emedicine.medscape.com/article/128567.

วิธีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

0
วิธีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
รองเท้าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเดินของผู้สูงอายุ
วิธีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
ค่ารักษาพยาบาลผู้สูงอายุที่หกล้มนั้นมีมูลค่าสูงถึงหนึ่งแสนบาทต่อครั้ง

ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นบุคคลที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ด้วยวัยที่มากขึ้นทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นตาที่เริ่มพร่ามัว หูที่ได้ยินเสียงไม่ชัด รวมถึงความว่องไวและการทรงตัวที่น้อยลงด้วย เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุนั้นเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย ซึ่งเมื่อผู้สูงอายุหกล้มแล้วจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตัวผู้สูงอายุเองและคนรอบข้างเป็นอย่าง  มาก ทั้งค่ารักษาพยาบาลที่สูง ปัจจุบันนี้ค่ารักษาพยาบาลผู้สูงอายุที่หกล้มนั้นมีมูลค่าสูงถึงหนึ่งแสนบาทต่อครั้ง เมื่อผู้สูงอายุหกล้มแล้วท่านต้องพักฟื้นเป็นเวลานานในบางรายก็อาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือเสียชีวิตได้ ในการพักฟื้นผู้สูงอายุจำเป็นต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องทำการจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะพักฟื้นหรือนอนเป็นผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก บางครั้งสูงถึงปีละล้านกว่าบาทเลยทีเดียว ต้องเป็นภาระของลูกหลาน สำหรับครอบครัวที่มีรายได้ไม่มากนัก ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนี้สร้างความลำบากให้ลูกหลานที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ตั้งตัว ครอบครัวที่ไม่มีรายได้พอที่จะจ้างผู้ดูแล ลูกหลานก็ต้องยอมลาออกจากงานเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุที่บ้านด้วยตนเอง ทำให้รายได้ของครอบครัวลดลงเป็นผลให้คุณภาพชีวิตต้องลดลงตามรายได้ที่ขาดหายไป

คุณเชื่อมั้ยว่าผู้สูงอายุที่หกล้มนั้น 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก บางร้ายต้องนั่งรถเข็นหรือนอนติดเตียงไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ สร้างความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ เช่น ความเจ็บปวดจากการรักษา การทำกายภาพบำบัดและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ขึ้นได้

ทั้งการเกิดแผลกดทับ เป็นต้น และความทุกข์ทางใจที่รู้สึกว่าตัวเองต้องเป็นภาระของลูกหลาน เพราะเมื่อท่านเดินไม่ได้แล้วการไปไหนมาไหนก็ลำบาก แม้แต่การเข้าห้องน้ำยังต้องอาศัยคนอื่นคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ท่านย่อมไม่มีความสุขอย่างแน่นอน การหกล้มในผู้สูงอายุจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้มย่อมเป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับตัวผู้สูงอายุและลูกหลานทุกคน แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้มได้ ดังนี้

การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ

1. เลือกรองเท้าที่เหมาะสมให้ผู้สูงอายุ

รองเท้าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเดินของผู้สูงอายุ ถ้าผู้สูงอายุใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับเท้าแล้ว อาจจะทำให้ท่านมีโอกาสหกล้มมากขึ้น ดังนั้นผู้สูงอายุควรเลือกรองเท้าให้เหมาะสม ตามนี้

1.1 ขนาดรองเท้าที่เหมาะสม ผู้สูงอายุควรใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดีกับเท้าไม่คับหรือหลวมจนเกินไป และควรมีเชือกผูกหรือแทบยึดที่สามารถปรับขนาดได้ ไว้สำหรับปรับขนาดรองเท้าให้กระชับพอดีเท้าและเพิ่มความรู้สึกมั่นคงให้กับผู้สวมใส่ด้วย   

1.2 วัสดุของรองเท้า รองเท้าสำหรับผู้สูงอายุควรทำจากวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้นและมีความหยืดหยุ่นสูง เช่น หนัง ผ้า เป็นต้น

1.3 ส้นรองเท้า ผู้สูงอายุควรสวมรองเท้าไม่มีส้นหรือส้นเตี้ยจะทำให้เดินได้อย่างมั่นคง ไม่ควรสวมรองเท้าสั้นสูงเพราะเวลาเดินจะทรงตัวได้ยากและอาจทำให้เท้าพลิกเป็นเหตุให้หกล้มได้

2. อุปกรณ์ช่วยเวลาเดินสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุบางท่านการทรงตัวไม่ค่อยดีนักเวลาเดินจึงมีโอกาสหกล้มได้ง่าย ดังนั้นเวลาเดินควรมีอุปกรณ์ช่วยเดินเป็นที่หลักยึดเพื่อป้องกันไม่ให้หกล้ม อุปกรณ์ช่วยเดินที่ช่วยป้องกันการหกล้ม คือ โครงเหล็กช่วยเดิน ไม้ค้ำยัน ไม้เท้า ควรเลือกใช้ตามความถนัดของผู้สูงอายุ และความสูงของอุปกรณ์ช่วยเดินควรมีขนาดสูงพอเหมาะอย่าสูงหรือต่ำเกินไปเพราะแทนที่จะช่วยป้องกันการหกล้มอาจจะทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสหกล้มมากขึ้นได้

3. การออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุ

การออกกำลังเป็นการสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในร่างกายและช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวได้เป็นอย่างดี แต่ว่าการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุนั้นต้องเลือกให้เหมาะสมกับอายุด้วย สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะออกกำลังกาย ว่าการออกกำลังกายรูปแบบใดที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่ออกกำลัง ท่าออกกำลังกายสำหรับป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ มีดังนี้

1. ท่าบริหารลำตัว

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง มองไปข้างหน้า มือเท้าเอว
  • มือเท้าสะเอว บิดเอวไปทางขวาจนสุด โดยการบิดเอวเพียงอย่างเดียวไม่ต้องบิดสะโพกไปด้วย
  • บิดเอวกลับมาอยู่ในท่าเตรียม
  • บิดเอวไปทางซ้ายจนสุด โดยการบิดเอวนั้นให้บิดเอวเพียงอย่างเดียวไม่ต้องบิดสะโพกไปด้วย
  • ทำการบิดเอวไปทางขวา 10 ครั้งและบิดเอวไปทางซ้าย 10 ครั้ง 

2. ท่าบริหารข้อเท้า

  • ท่าเตรียม นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิง นั่งตัวตรง มือวางข้างลำตัว
  • ยกขาขวาขึ้น ยืดขาให้ตรงเท่าที่จะทำได้ ไม่ต้องฝืนยืดขาจนตรง
  • ทำการกระดกปลายเท้าขึ้นเข้าหาลำตัวจนสุดและกระดกปลายเท้าลงออกจากลำตัวจนสุด กระดกปลายเท้าขึ้น -ลงอย่างละ 10 ครั้ง
  • สลับทำขาข้างซ้ายเหมือนกับข้างขวา

3. ท่ายืนด้วยปลายเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง แยกเท้าให้กว้างเท่ากับช่วงไหล่ แขนแนบลำตัว
  • ยกสั้นเท้าขึ้นจากพื้นช้าๆ จนยืนบนปลายเท้า หยุดนิ่ง 1-2 วินาที
  • ลดส้นเท้าลงช้าๆ ทำซ้ำ 20 ครั้ง

4. ท่ายืนด้วยส้นเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง แยกขาให้มีความกว้างเท่ากับช่วงไหล่ แขนแนบลำตัว
  • ยกปลายเท้าขึ้นช้าๆ สูงพอประมาณที่เราทรงตัวยืนได้ ระวังอย่ายกปลายเท้าสูงมากเกินไปเพราะอาจทำให้ผู้สูงอายุล้มได้
  • ลดปลายเท้าลงช้าๆ ทำซ้ำ 20 ครั้ง

5. ท่าย่อเข้าแบบไม่ใช้ราว

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง แยกขากว้างเท่ากับช่วงไหล่ มือท้าวเอว
  • ทำการย่อเข่าไปข้างหน้าช้าๆ ย่อจนกระทั่งส้นเท้าเริ่มยกขึ้นจากพื้นให้หยุดย่อ
  • ทำการยกตัวขึ้นช้าๆ จนตัวตรงกลับมาอยู่ในท่าเตรียม ทำซ้ำ 20 ครั้ง 

6. ท่าบริหารสะโพกด้านข้างด้วยตุ้มถ่วงน้ำหนัก

  • ท่าเตรียม ใส่ตุ้มน้ำหนักที่ข้อเท้าขวา ยืนตรงหันข้างให้กับเก้าอี้หรือราวจับ ใช้มือซ้ายจับที่เก้าอี้หรือราวจับให้มั่น
  • ยกขาขวาไปด้านข้างขึ้น-ลงช้าๆ จนครบ 10 ครั้ง
  • สลับมาทำขาข้างซ้าย โดยใส่ตุ้มน้ำหนักที่ข้อเท้าซ้าย ยืนตรงหันข้างให้กับเก้าอี้หรือราวจับ ใช้มือขวาจับที่เก้าอี้หรือราวจับให้มั่น
  • ยกขาซ้ายไปด้านข้างขึ้น-ลงช้าๆ 10 ครั้ง

7. ยืนขาเดียวแบบไม่ใช้ราวจับ

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง หน้ามองตรง มือท้าวเอว
  • งอเข่าพร้อมกับยกเท้าขวาขึ้นและยืนด้วยขาซ้ายเพียงข้างเดียวนาน 10 วินาที แล้วค่อยๆ ลดขาขวาลง ยืนอยู่ในท่าเตรียม
  • สลับงอเข่าพร้อมกับยกเท้าซ้ายขึ้นและยืนด้วยขาขวาเพียงข้างเดียวนาน 10 วินาที แล้วค่อยๆ ลดขาซ้ายลง ยืนอยู่ในท่าเตรียม
  • ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง

8. เดินด้วยส้นเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง ตามองไปข้างหน้า แขนแนบลำตัว
  • ยกปลายเท้าขึ้นทั้งสองข้างและยืนด้วยส้นเท้า
  • เดินด้วยส้นเท้าไปข้างหน้า 10 ก้าว หยุดลดปลายเท้าลงอยู่ในท่าเตรียม
  • ทำซ้ำ 10 -20 ครั้ง

9. เดินด้วยปลายเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง มองไปข้างหน้า แขนแนบลำตัว
  • ยกส้นเท้าขึ้นทั้งสองข้างและยืนด้วยปลายเท้า
  • เดินด้วยปลายเท้าไปข้างหน้า 10 ก้าว หยุดลดส้นเท้าลงอยู่ในท่าเตรียม
  • ทำซ้ำ 10 -20 ครั้ง   

10. เดินเลขแปด

  • ท่าเตรียม ยืนตัวตรง มองไปข้างหน้า
  • ทำการเดินเป็นเลขแปดด้วยท่าเดินปกติ พอครบ 1 รอบให้หยุดพักสักครู่แล้วค่อยเดินต่อรอบต่อไป
  • ทำซ้ำ 10 รอบ

11. ท่าเดินสไลด์ด้านข้าง

  • ยืนตัวตรง มองไปข้างหน้า มือท้าวเอว ก้าวขวาไปด้านข้าง 10 ก้าว หยุดยืน
  • ก้าวเท้าซ้ายไปด้านข้าง 10 ก้าว จะกลับมายืนยังจุดเริ่มต้น
  • ทำซ้ำ 10 รอบ

12. ท่าลุกจากเก้าอี้โดยไม่ใช้มือพยุง

  • นั่งตัวตรง วางเข่าให้อยู่ล้ำกับปลายเท้าไปเล็กน้อย เก้าอี้ไม่ควรสูงหรือต่ำจนเกินไป มีความแข็งแรงและควรมีพนักพิงด้วย มือวางบนตัก
  • โน้มตัวไปข้างหน้าและยกตัวขึ้นยืนตรง โดยไม่ใช้มือดันเก้าอี้หรือช่วยพยุงตัวเวลาลุกขึ้นยืน
  • ปล่อยตัวนั่งลงบนเก้าอี้ช้าๆ
  • ทำซ้ำ 10 ครั้ง

นี่เป็นท่าออกกำลังกายที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้มเป็นอันตรายได้ การออกกำลังกายนี้นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้มแล้วยังทำให้ท่านมีร่างกายที่แข็งแรงขึ้นด้วย

ผู้สูงอายุในครอบครัวล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลอันเป็นที่รัก เราควรใส่ใจดูแลท่านให้มาก การดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้สมบูรณ์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่ท่านจะได้อยู่กับเราด้วยไปนานๆ ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระของครอบครัว การดูแลสุขภาพจิตก็มั่นพูดคุยกับท่านให้มากอย่าปล่อยให้ท่านเหงา ส่วนการดูแลสุขภาพกายด้วยการให้ท่านรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ท่านมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและอย่าลืมดูแลไม่ให้ท่านหกล้มด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5.

แสงแดดรักษาดวงตาให้คงทน

0
แสงแดดรักษาดวงตาให้คงทน
ยาหยอดตา เป็นวิธีหนึ่งที่เป็นการช่วยบำรุงรักษาสุขภาพดวงตาให้ดีขึ้นเป็นวิธีที่สะดวก
แสงแดดรักษาดวงตาให้คงทน
ดวงตาจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของร่างกาย ค่อนข้างบอบบาง จึงควรหาวิธีในการดูแลและบำรุงดวงตาให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงอยู่เสมอ

ดวงตา คือ

ดวงตา ช่วยทำให้เราได้มองเห็น และช่วยทำให้เราได้รับรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ดวงตาเป็นจุดเริ่มต้นของการทำกิจกรรมต่างๆเกือบทุกอย่าง เช่น การกินก็ต้องอาศัยดวงตาในการตักอาหารเข้าปาก การเดินก็ต้องอาศัยตาในการนำทาง การทำงานก็ต้องอาศัยดวงตามองเห็นเพื่อให้ทำงานต่างๆที่ได้รับมอบหมายได้ และอื่นๆอีกมากมายที่ต้องใช้ดวง  ตาเป็นองค์ประกอบ เพราะฉะนั้นดวงตาจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของร่างกาย แต่ดวงตาก็เป็นอวัยวะที่ค่อนข้างบอบบางและได้รับการกระทบกระเทือนค่อนข้างง่าย ดังนั้นเพื่อไม่ให้ดวงตาต้องเสื่อมก่อนเวลาอันควร หรือมีปัญหาเกิดขึ้น จึงควรหาวิธีในการดูแลและบำรุงดวงตาให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงเสมอ โดยวิธีการบำรุงรักษาดวงตามีมากมายหลายวิธี ทั้งใช้ยาหยอดตา การบริหารดวงตา การทานอาหารบำรุงสายตา และยังรวมถึงการใช้แสงแดดบำรุงสายตาอีกด้วย

โครงสร้างและองค์ประกอบของดวงตา

นอกจากดวงตากลมๆ สีดำขาว 2 ข้าง ที่เราสามารถมองเห็นทางกายภาพจากภายนอกแล้ว ภายในดวงตายังมีโครงสร้างและองค์ประกอบอื่นๆที่สำคัญอยู่หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • เปลือกตา ทำหน้าที่เปิดปิดตา เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา ภายในเปลือกตาจะมีต่อมคอยสร้างส่วนประกอบของน้ำตา และกระจายน้ำตาไปยังกระจกตา ช่วยปกป้องเยื่อบุตาและกระจกตาดำไม่ให้แห้ง และช่วยลดอาการระคายเคือง
  • ขนตา ทำหน้าที่คอยกั้นไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอม เช่นฝุ่นละออง สารพิษต่างๆ ตกเข้ามาใส่ดวงตา
  • เยื่อตาขาว ทำหน้าที่เป็น เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้มลูกตาเอาไว้เกือบทั้งหมด ยกเว้นช่วงตรงกลางซึ่งเป็นที่ตั้งของกระจกตา มีสีขาวทึบหนา ยืดหยุ่นได้เล็กน้อย ทางด้านหน้าจะมีเยื่อบุตาบาง ๆ สีขาวใสคลุมทับอีกชั้นหนึ่ง โดยในเยื่อตาขาว ยังมีเซลล์ทำหน้าที่สร้างส่วนประกอบของน้ำตาชั้นเมือก พบได้มากทางด้านล่างและหัวตา
  • น้ำตา มีลักษณะเป็นของเหลวหรือน้ำ ทำหน้าที่ คอยให้ออกซิเจนและอาหารกับกระจกตา ชะล้างสิ่งแปลกปลอมจากเยื่อบุตาและกระจกตา และช่วยทำให้ผิวกระจกตาเรียบเพื่อเป็นทางเดินของแสงในการมองเห็นภาพมี 3 ชั้นด้วยกันคือ

ชั้นที่ 1 เป็นชั้นไขมันที่อยู่นอกสุด ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำตา

ชั้นที่ 2 เป็นชั้นกลาง ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นกับดวงตา โดยการลำเรียง น้ำ สารอาหาร และออกซิเจน ส่งให้ดวงตา และคอยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับดวงตาด้วย

ชั้นที่ 3 อยู่ชั้นในสุด เป็นชั้นของน้ำเมือก ช่วยทำให้น้ำตากระจายตัวสม่ำเสมอทั่วกระจกตา

– กระจกตา มีลักษณะโปร่งใสอยู่ด้านหน้าของตา มีความไวต่อความรู้สึก ประกอบไปด้วยน้ำ 80% คอลลาเจน 15% และโปรตีน 5% มีหน้าที่ หักเหแสงให้ตกลงบนเรตินา โดยแสงจะส่องผ่านรูม่านตา ( Pupil ) ซึ่งจะรับแสงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการบีบรัดตัวของม่านตา ( Iris ) ในชั้นกระจกตา มี 5 ชั้น ประกอบด้วยสารคอลลาเจนทั้งที่เรียงตัวไม่เป็นระเบียบ แต่ส่วนใหญ่ 90% เรียงตัวเป็นระเบียบ มีเซลล์ที่คอยสร้างคอลลาเจนและโปรตีนต่างๆ เป็นชั้นที่ทนต่อการติดเชื้อ ทนต่อการเสียหายต่างๆ เพราะเป็นชั้นที่มองเห็นภาพโดยตรงในชั้นเยื่อบุโพรงกระจกตา เป็นชั้นล่างสุดของกระจกตาทำหน้าที่สูบน้ำออกจากกระจกตา ทำให้กระจกตาใสและแห้ง 

  • แก้วตา ( Lens ) มีลักษณะเป็นสีใสๆอยู่หลังม่านตา ทำหน้าที่โฟกัสหักเหแสงเพิ่มขึ้นต่อจากกระจกตา เพื่อให้แสงตกกระทบบนจุดรับภาพของจอประสาทตา
  • วุ้นตา ( Vitreous Humor ) มีลักษณะคล้ายวุ้นใส แต่มีความหนืดกว่าน้ำ 2 เท่า อยู่ในช่องด้านหลังของลูกตา เป็นแหล่งอาหารของแก้วตา เนื้อเยื่อและจอตา ( Retina ) ประกอบด้วยน้ำ 98% ที่เหลือเป็นสารหลายชนิดเช่น คอลลาเจน ไฮยาลูโรแนน ( Hyaluronan ) และโปรตีน ทำหน้าที่ช่วยให้ลูกตามีรูปร่างคงที่
  • จอตา ( Retina ) มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่ออยู่ด้านในสุดของลูกตา ประกอบด้วยเซลล์ที่รับแสงและเซลล์ประสาท มีความไวต่อแสงมาก ทำหน้าที่รับภาพเหมือนฟิล์มถ่ายรูป ( ภาพกลับหัว ) ตรงกลางเรียกว่ามาคูลา ( Macular ) มีเส้นเลือดดำและแดงมาหล่อเลี้ยง
  • เส้นประสาทตา ( Optic ) เป็นส่วนเชื่อมต่อกันระหว่างลูกตา และเรตินา ทำหน้าที่นำข่าวสาร ( กระแสประสาท ) จากจอตาไปสู่สมอง

วิธีดูบำรุงรักษาดวงตา

ในแต่ละวันเราใช้งานดวงตาตลอดตั้งแต่ ตื่นนอน จนถึงนอนหลับไป ดังนั้น จึงต้องมีวิธีในการดูแลดวงตา เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1. การใช้ยาหยอดตาจากธรรมชาติ การใช้ยาหยอดตา เป็นวิธีหนึ่งที่เป็นการช่วยบำรุงรักษาสุขภาพดวงตาให้ดีขึ้น เป็นวิธีที่สะดวก ง่าย ไม่ลำบากต่อผู้ใช้ โดยสามารถใช้ผลิตภัณฑ์หลายอย่างจากธรรมชาติ มาใช้บำรุงดวงตา ดังนี้

  • น้ำนมจากมารดา นอกจากจะมากไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และใช้เป็นอาหารสำหรับลูกน้อยที่เกิดมากแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นยาหยอดเพื่อบำรุงสุขภาพดวงตาได้อีกด้วย โดยเมื่อนำไปใช้ในการหยอดตาจะมีอาการพร่ามัวในช่วงแรก แล้วจะค่อยๆใสขึ้นเองในระยะเวลาต่อมา โดยส่วนมากจะใช้กับเด็กที่มีอาการตาแฉะ หรือตาแดง แต่หากมีอาการละคายเคียงให้หยุดและไปพบแพทย์จะดีกว่า   
  • น้ำผึ้ง เป็นอาหารจากธรรมชาติ ที่ประกอบไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามิน ที่มีประโยชน์มากมายหลายชนิด และยังประกอบไปด้วยเอนไซม์หลายชนิด เช่น เอนไซม์พอลเลน ( pollen )และไลโซไซม์ ( lysozyme ) ทำให้น้ำผึ้งมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงรักษาดวงตาได้ดี โดยน้ำผึ้งที่ควรนำมาใช้ให้เลือกเป็นน้ำผึ้งมิ้ม ซึ่งเป็นผึ้งขนาดเล็กจะดีที่สุด
  • น้ำมะพร้าว น้ำมะพร้าวสามารถนำมาใช้เป็นยาหยอดเพื่อบำรุงรักษาดวงตาได้เช่นกัน เนื่องจากในน้ำมะพร้าว ล้วนมากไปด้วยสิ่งที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น วิตามินต่างๆ เกลือแร่ แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง เหล็ก แคลเซียม เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีโกรธฮอร์โมน เอสโตรเจนฮอร์โมน กรดอะมิโน
  • น้ำเปล่า เป็นยาธรรมชาติที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยทำให้ดวงตามีความสะอาด และช่วยล้างฝุ่นละอองออกจากดวงตา

2. การบริหารดวงตา เป็นการบริหารดวงตา เพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับดวงตาที่อาจเกิดจากการทำงานที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานานๆติดต่อกัน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี โดยเน้นการเคลื่อนไหวของลูกตาไปมา

3. อาหารบำรุงดวงตา อาหารบางชนิดมีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตา ช่วยบำรุงสุขภาพตาให้แข็งได้และดียิ่งขึ้น เช่น ผักใบเขียวทุกชนิด เพราในผักใบเขียวจะมีคลอโรฟิลล์ ที่ช่วยบำรุงสายตาเป็นส่วนประกอบ และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตาเสื่อมด้วย

ตัวอย่างอาหารบำรุงสายตา เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ตำลึง ปลาทะเล มะม่วงสุก มะละกอ เป็นต้น

4. การมองเพื่อพักสายตา ในบางกิจกรรมที่ต้องใช้การเพ่งสายตามากๆเป็นเวลา ควรจะใช้วิธีการมองไปไกลๆ เช่น มองดูสีเขียวต้นไม้ มองท้องฟ้า เพื่อให้สายตาได้พักและผ่อนคลายบ้าง

5. ใช้แสงแดดบำรุงสายตา นอกจากวิธีที่กล่าวมาแล้ว แสงแดดยังสามารถช่วยบำรุงสายตาได้ด้วยเช่นกัน

แสงแดดรักษาตาได้อย่างไร?

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อแสงสูงมาก สามารถรับแสงได้ทุกชนิดตั้งแต่แสงที่มีระดับต่ำ จนถึงแสงที่มีระดับสูง ดวงตาจึงเป็นจุดรับแสงที่สำคัญขอร่างกาย ซึ่งนอกจากเป็นตัวช่วยผลิตวิตามินดีให้ร่างกายแล้ว หากได้รับแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสม แสงแดดยังมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงสายตาได้อีกด้วย ดังต่อไปนี้ 

1. แสงแดดเป็นพลังงานที่มีประจุไฟฟ้าอิเล็กตรอน ช่วยขจัดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ตาเสื่อม

2. แสงแดดช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดลิมโฟไซต์และฟาโกไซโทซิส ซึ่งเป็นระบบภูมิคุ้มกันสำหรับร่างกาย จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันดวงตา จากสิ่งแปลกปลอมและสารพิษที่จะเข้ามา ส่งผลให้สุขภาพของดวงตามีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

3. แสงแดดช่วยทำให้กล้ามเนื้อภายในตามีความแข็งแรงมากขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดวงตาให้ดีขึ้น ทำให้การทำงานของทุกอวัยวะย่อยภายในดวงตามีความสมดุลกัน

4. แสงแดดช่วยเพิ่มอัตราการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังทำสารเฮโมโกลบินสามารถจับตัวรวมกับออกซิเจนได้ดีขึ้นด้วย ส่งผลให้กระจกตาได้รับปริมาณออกซิเจนที่มากขึ้น จึงทำให้ดวงตาแข็งแรงและมีประสิทธิภาพ

5. วิตามินดี ที่ได้จากแสงแดด เป็นวิตามินที่สำคัญสำหรับชั้นของน้ำตา เพื่อนำไปสร้างคลอลาเจนที่เป็นตัวช่วยทำให้ตามีสุขภาพดีและสมบรูณ์ ดังนั้นหากตาขาดคลอลาเจน จะส่งผลกระทบทำให้ดวงตาเสื่อมสภาพในการมองเห็น

6. แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา หรือแบคทีเรียต่างๆ ที่อาจสร้างผลเสียกับดวงตาได้ เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่อยู่ภายนอกร่างกาย ต้องสัมผัสสิ่งแวดล้อมภายนอกอยู่ตลอดเวลา แสงแดดจึงช่วยลดการติดเชื้อ หรือการอักเสบ และโรคเกี่ยวกับดวงตาได้มากเลยทีเดียว

วิธีการรับแสงแดดเพื่อสุขภาพตาที่ดี

ในการให้ดวงตาได้รับแสงแดด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับแสงแดดคือ ช่วงเช้าก่อน 07.00 น. และ ช่วงบ่ายหลังเวลา 17.00 น.ไปแล้ว เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม แสงแดดจะไม่ร้อนเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพตา โดยการรับแสงแดดให้กับดวงตามีวิธีดังต่อไปนี้

1. ใช้นิ้วมือประสานเข้าด้วยกัน ให้นิ้วชี้ของมือข้างหนึ่งจรดกับนิ้วหัวแม่มือของมืออีกข้างหนึ่ง เป็นการรับพลังแสงอาทิตย์เข้าหาตัว

2. ทำสมาธิสัก 2-5 นาที ด้วยการหลับตาและลืมตาก็ได้ ให้จิตนิ่งๆเอาจิตไปรับรู้ความรู้สึกของดวงตา 

3. เพ่งมองไปที่ดวงอาทิตย์ตรงๆแบบตาไม่กระพริบ ถ้าเคืองตาจนทนไม่ไหวก็กระพริบ พอให้ผ่อนคลาย โดยและสมาธิจิตยังอยู่ที่ดวงตา

4. ในการทำครั้งแรกนั้น ใช้เวลาเพียง 2-5 นาทีต่อวัน ให้ติดต่อกันประมาณ 10 วัน หลังจากนั้นค่อยๆเวลาให้นานขึ้น ตามความเหมาะสมของร่างกายและสภาพของแสงแดด

โรคที่เกี่ยวกับดวงตา

หากดวงตามีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงแล้ว ก็อาจนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆกับตาได้ ซึ่งโรคที่เกี่ยวกับดวงตา ที่สามารถพบได้บ่อยๆ เช่น

  • ความผิดปกติจากการอักเสบในชั้นลึกที่หนังตา และตุ่มอักเสบต่างๆที่หนังตา เช่น โรคตากุ้งยิง หรือตาเป็นต้อ
  • ความผิดปกติที่ส่วนหนังตา เช่น หนังตาหย่อน หนังตาตก หนังตาดึงรั้ง หรือสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อตา
  • ความผิดปกติส่วนหน้าของตา เช่น ต้อเนื้อ เยื่อตาเสื่อม เลือดออกที่ส่วนหน้าของตา
  • ความผิดปกติ หรือการอักเสบที่เกิดในดวงตา เช่น กระจกตาอักเสบ เยื่อตาอักเสบ กระจกตาเสื่อม กระจกตาบวม ตาขาวอักเสบ จอตาอักเสบ โรคตาแดง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าความสำคัญของดวงตา ไม่ได้ยิ่งหย่อยไปกว่าอวัยวะอื่นๆในร่างกายเลย หากดวงตาเสื่อมหรือเสียไปก็คงทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบากมากขึ้น ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพของดวงตาให้ดีอยู่เสมอ โดยมีวิธีการดูแลและบำรุงสุขภาพของดวงตาให้ดีได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตา การบริหารดวงตา การกินการบำรุงสายตา และยังมีวิธีที่สามารถทำได้ง่ายๆ แต่มากไปด้วยประโยชน์ต่อดวงตามากมายอย่างการใช้แสงแดดบำรุงสายตาอีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5.

แสงแดดช่วยรักษากระดูก

0
แสงแดดช่วยรักษากระดูก
วิตามินดีในแสงแดดสามารช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกได้
แสงแดดช่วยรักษากระดูก
วิตามินดีในแสงแดดสามารช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกได้

รักษากระดูกด้วยแสงแดด

แสงแดด ที่หลากๆ คนอาจยังไม่ทราบว่า โรคที่เกี่ยวกับสุขภาพของกระดูก สามารถรักษาโดยใช้แสงแดดช่วยรักษากระดูกเป็นตัวช่วยได้ โดยแสงแดดจะไปช่วยสร้างวิตามินดีให้กับร่างกาย ซึ่งวิตามินดี ที่ได้จากแสงแดดถือว่าเป็นวิตามินธรรมชาติ ที่มีคุณภาพสูงก  ว่า การได้รับวิตามินสังเคราะห์จากพวกอาหารเสริม โดยวิตามินดีจะไปช่วยในการควบคุมการดูดแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปสร้าง หรือซ่อมแซมกระดูกโดยตรง

กระดูกคืออะไร ?

กระดูก หรือ Bone เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ( Connective Tissue ) ที่เป็นโครงร่างที่มีความแข็งแรง มีหน้าที่เกี่ยวกับการค้ำจุนและรักษาโครงสร้างร่างกายของมนุษย์ ในวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว มนุษย์จะมีกระดูกทั้งหมดประมาณ 206 ชิ้น เชื่อมต่อกันเป็นโครงร่าง โดยมี ข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ เป็นตัวยึดเหนี่ยวกระดูกในแต่ละชิ้นให้เชื่อมติดกัน ยกเว้น กระดูกอ่อนโคนลิ้น ที่เป็นกระดูกที่อยู่ในคอ จะเป็นกระดูกเพียงชิ้นเดียวในร่างกายมนุษย์ที่ไม่เกิดข้อต่อเชื่อมกับกระดูกอื่นๆเลย

ประเภทของโครงสร้างกระดูก

โครงสร้างของกระดูกแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ โครงสร้างกระดูกแกน กับโครงสร้างกระดูกรยางค์ ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. โครงสร้างกระดูกแกน ( Axial Skeleton )

โครงสร้างกระดูกแกน ( Axial Skeleton ) คือ ชุดของกระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัวและศีรษะของร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยปกป้องอวัยวะสำคัญในร่างกาย ประกอบไปด้วยกระดูกจำนวน 80 ชิ้น เช่น

  • กระดูกกะโหลกศีรษะ ( Skull ) ภายในกะโหลกศีรษะจะมีลักษณะเป็นโพรงสำหรับ บรรจุสมอง โดยมีกระดูกกะโหลกศีรษะและกระดูกย่อยหลายๆ ชิ้นเชื่อมต่อติดกัน กระดูกกะโหลกศีรษะมีหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันสมอง จากการกระทบกระเทือนต่างๆ
  • กระดูกสันหลัง ( Vertebrae ) เป็นแกนกระดูกชิ้นหลัก ที่ช่วยค้ำจุน และช่วยรองรับน้ำหนักภายในร่างกาย เป็นแนวกระดูกที่ทอดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ เป็นข้อๆ ติดกันด้วยกล้ามเนื้อและเอ็น โดยระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ จะมีแผ่นกระดูกที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก ( Intervertebral Disc ) เป็นกระดูกอ่อน ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เพื่อป้องกันการเสียดสีกันของกระดูกแต่ละชิ้น หากหมอนรองกระดูกเสื่อมจะทำให้รู้สึกปวดหลัง และขยับตัวได้ลำบากมากขึ้น 
  • กระดูกซี่โครง ( Ribs ) เป็นกระดูก ที่มีลักษณะเป็นซี่ๆ จำนวน 12 คู่ ทำหน้าที่ป้องกันบริเวณส่วนอก กระดูกซี่ โครงจะเชื่อมกับกระดูกอก ( Sternum ) ด้วยกระดูกอ่อน ระหว่างกระดูกซี่โครง จะมีกล้ามเนื้อที่คอยยึดซี่โครงทั้งแถบนอกและแถบใน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ โดยซี่โครงขยับเปิดช่องให้ปอดขยายตัวรับอากาศเมื่อหายใจเข้า และหดตัวเมื่อปอดหายใจออกเพื่อบีบอากาศเสียออกไป

2. โครงสร้างกระดูกรยางค์ ( Appendicular Skeleton )

โครงสร้างกระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton)เป็นโครงกระดูกที่อยู่รอบนอกของกระดูกแกน ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวและปกป้องอวัยวะในระบบ การย่อยอาหาร การขับถ่าย และการสืบพันธุ์ มีทั้งหมด 126 ชิ้น ตัวอย่าง เช่น กระดูกไหล่ ( Shoulder Girdle ) กระดูกต้นแขน ( Humerus ) กระดูกข้อมือ ( Carpal Bone ) กระดูกเชิงกราน ( Hip Bone ) และ กระดูกต้นขา ( Femur ) เป็นต้น

หน้าที่สำคัญของกระดูก

นอกจากเป็นโครงสร้างให้กับร่างกายแล้ว กระดูกยังมีหน้าที่อื่นๆ ที่สำคัญ เช่น

1. ป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะต่างๆ กระดูกจะช่วยป้องกันอวัยวะภายในร่างกายที่มีความบอบบาง ไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน หรืออันตรายจากสิ่งภายนอก

2. รักษารูปร่างให้คงที่และทรงตัวได้ กระดูกคอยทำหน้าที่ เป็นโครงร่างให้ร่างกายมนุษย์สามารถรักษารูปทรงอยู่ได้ และช่วยให้มนุษย์สามารถทรงตัวได้ด้วย

3. ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว กระดูกทำงานร่วมกับกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งของร่างกาย หากไม่มีกระดูกมนุษย์ก็คงไม่สามารถขยับ หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ 

4. ช่วยให้เกิดการได้ยิน กระดูกช่วยในการนำคลื่นเสียง และช่วยในการได้ยิน เช่น กระดูกค้อน ทั่ง และ โกลน ซึ่งอยู่ในหูตอนกลาง ทำหน้าที่นำคลื่นเสียงผ่านไปยังหูตอนใน ทำให้เกิดการได้ยินขึ้น

5. เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดที่สำคัญต่างๆ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด โดยถูกสร้างขึ้นมาจากไขกระดูก

6. เป็นแหล่งเก็บสะสมแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเก็บแคลเซียมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย

7. เก็บสะสมสารส่งเสริมการเจริญเติบโตบางชนิด เช่น โบน มอร์โฟเจนเนติก โปรตีน ( Bone Morphogenesis Protein หรือ BMPs ) เป็นโปรตีนช่วยในระบบการสร้างกระดูกและกระดูกอ่อน

8. เก็บสะสมไขมันในรูพรุนของกระดูก คือ ไขกระดูกเหลือง

9. รักษาความสมดุลในเลือด ช่วยควบคุมค่าความเป็นกรด ด่างในร่างกายให้คงที่ เมื่อเลือดเป็นด่างมาก กระดูกก็จะดูดซึมสารจำพวกเกลืออัลคาไลน์ ( Alkaline Salts ) เข้ามาเก็บไว้ในกระดูก เมื่อเลือดเป็นกรดมาก กระดูกก็จะปลดปล่อยสารจำพวกเกลืออัลคาไลน์ และแคลเซียมออกสู่กระแสเลือดเพื่อลดความเป็นกรดในเลือด

10. ช่วยสลายพิษในร่างกายพร้อมเนื้อเยื่อ กระดูกสามารถดูดซึม เก็บสะสมโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกายออกมาจากกระแสเลือด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับร่างกาย เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะปกติ กระดูกจะค่อยๆปลดปล่อยโลหะหนักเหล่านี้ออกไปยังม้ามและตับ ให้ขจัดออกทางระบบขับถ่ายต่อไป

11. ควบคุมกระบวนการเผาผลาญฟอสฟอรัส ( Phosphate Metabolism ) ซึ่ง ฟอสฟอรัสเป็นสารอิเล็กโทรไลต์ หรือสารน้ำเกลือ ที่มีบทบาทต่อทั้งการซ่อมสร้างกระดูก

แนวปฏิบัติเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพกระดูกที่แข็งแรง

1.ดื่มน้ำมะพร้าวก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง โดยอาจจะดื่มในช่วงเวลาอาหารเช้า อาการกลางวัน หรือช่วงที่ท้องว่างก็ได้ เนื่องจากในน้ำมะพร้าว จะมีกรดฮอร์โมนที่ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกระดูก นอกจากนี้ในน้ำมะพร้าวยังมากไปด้วยสารอาหารที่ส่งผลดีต่อกระดูกอย่าง โปรตีน แคลเซียม และฟอสฟอรัส โดยการดื่มให้จำกัดปริมาณเพียงครั้งละ 1 ลูกเท่านั้น 

2. เน้นทานอาหารประเภทผักและผลไม้ในมื้อเช้า โดยเลือกผักใบเขียวที่มีแคลเซียมสูง ส่วนผลไม้ให้เลือกตามฤดูกาลเท่านั้น เนื่องจาก จะได้ผลไม้ที่สดใหม่ ไม่ผ่านการอาบรังสี จึงทำให้มีเอนไซม์มาก ซึ่งเอนไซน์เหล่านี้ที่ได้จากผักและผลไม้ จะช่วยในการซ่อมแซมและการสร้างกระดูกได้อย่างดีเลยทีเดียว

3. กินอาหารมังสวิรัติ เช่น ฟองเต้าหู้ ถั่วลันเตา เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ เป็นต้น เพราะเป็นโปรตีนที่ได้จากพืชที่มีแคลเซียมสูง และต้องเป็นอาหารที่ไม่มีรสชาติจัดจ้าน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดในร่างกาย เพราะหากเกิดภาวะเลือดเป็นกรดแล้ว ปริมาณแคลเซียมในร่างกายจะลดลงตามไปด้วย

4. ควบคุมอาหารมื้อเย็น ในการทานอาหารมื้อเย็น ควรเลือกทานอาหารประเภทผักหรือผลไม้สดให้มาก และไม่ควรทานอาหารให้เยอะจนเกินไป

5.ดื่มน้ำเปล่าให้มาก การดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดในปริมาณมากๆ จะช่วยให้การดูดซึมใบอาหารเข้าสู่ร่างกายทำได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดียิ่งขึ้น

6. เลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน มัน และเค็ม เนื่องจากอาหารประเภทนี้หากได้รับในปริมาณมาก อาจจะส่งผลเสียกับเลือด ทำให้เลือดเกิดความเป็นกรดได้ หากเลือดเกิดความเป็นกรดแล้ว กลไกทางร่างกายจะไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูก เพื่อนำแคลเซียมเหล่านั้นไปปรับความสมดุลในเลือดให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งหากเกิดขึ้นบ่อยๆปริมาณแคลเซียมในกระดูกจะลดลงและทำให้กระดูกเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ

7. รู้จักบริหารสภาวะอารมณ์ตนเองให้ดีอยู่เสมอ เพราะเนื่องจากการมีสภาวะอารมณ์ที่ไม่ดี หรือมีความเครียดบ่อยๆ จะส่งผลให้เลือดเป็นกรดและข้น ซึ่งเป็นภาวะอ่อนไหวต่อการสร้างกระดูกอย่างมาก

8. ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ ในแต่ละวันควรให้ร่างกายได้รับปริมาณของแสงแดดที่เพียงพอ โดยอาจใช้วิธีการรับแสงแดด เช่น คว่ำหน้าตากแดด 30-40 นาที และ นอนหงายตากแดดอีก 20-30 นาที และควรเลือกใส่เสื้อผ้าสีอ่อนในการรับแสงแดด เพื่อให้แสงแดดเข้าสู่ผิวหนังได้มากที่สุด โดยเฉพาะสีขาว

9.ระมัดระวังการทานยาแต่ละชนิดโดยเฉพาะยาแก้ปวดหัว เนื่องจากยารักษาโรคแต่ละชนิด หากได้รับในปริมาณที่สูงมากจนเกินไป จะมีผลต่อ กระเพาะอาหาร ตับ และไต และยังส่งผลทำให้สภาวะเลือดเป็นกรดได้ด้วย หากมีอาการปวดหัวอาจใช้วิธีการอื่นในการรักษาเช่น ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กบางชุบน้ำบิดให้หมาดวางบนบริเวณที่ปวดสัก 1 ชั่วโมง เพื่อให้อาการทุเลาลง 

ปัญหาของโรคกระดูกที่หลายคนมักพบเจอ คือการเสื่อมของกระดูกก่อนเวลาอันสมควร ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้กระดูกเสื่อมไปก่อนเวลานี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากการใช้ชีวิตและพฤติกรรมที่ผิดๆ ที่บั่นทอนให้สุขภาพกระดูกค่อยๆแย่ลงจนเกิดเป็นภาวะโรคกระดูกเสื่อมขึ้น ดังนั้นหากไม่อยากให้เกิดภาวะโรคกระดูกเสื่อมกับตนเอง ควรรู้จักดูสุขภาพกระดูกให้ดีให้แข็งแรงอยู่เสมอ และต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลเสียทำลายกระดูกด้วย โดยวิธีการดูแลกระดูกที่ง่ายที่สุด คือ การได้รับปริมาณแสงแดดที่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายนำไปสร้างวิตามินดีที่ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงนั้นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5

MacAdam, David L. (1985). Color Measurement: Theme and Variations (Second Revised ed.). Springer. pp. 33–35. ISBN 0-387-15573-2.