Home Blog Page 113

โรคฟีนิลคีโตนูเรีย อาการ สาเหตุ และการดูแลรักษา

โรคฟีนิลคีโตนูเรีย อาการ สาเหตุ และการดูแลรักษา
โรคฟีนิลคีโตนูเรีย ( Phenylketonuria ) เป็น โรคทางพันธุกรรมมีการถ่ายทอดยีนด้อยเกิดจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญ

โรคฟีนิลคีโตนูเรีย

โรคฟีนิลคีโตนูเรีย ( Phenylketonuria ) เป็น โรคทางพันธุกรรมมีการถ่ายทอดยีนด้อยเกิดจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญ ซึ่งในประเทศไทยพบได้น้อยมากประมาณ 1 ต่อ 2 แสน ผู้ที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรียจะไม่สามารถสลายกรดอะมิโนที่เรียกว่าฟีนิลอะลานีนที่มีในอาหารทั่วไป ซึ่งทำหน้าที่สร้างโปรตีนให้แก่ร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมอง โดยปกติกรดอะโนฟีนิลอะลานีนจะเปลี่ยนเป็นไทโรซีนมีหน้าที่ช่วยส่งผ่านสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทและสมอง เมื่อร่างกายได้รับฟีนิลอะลานีนจากอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไก่ นม ถั่งลิสง อะโวคาโด และกล้วย เป็นต้น

อาการของโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

  • ชัก
  • ตัวสั่น
  • สมาธิสั้น
  • ทารกจะมีพัฒนาการช้า
  • ปัญญาอ่อนขั้นรุนแรง
  • ผิวหนังซีด และผมเปลี่ยนสี
  • ลมหายใจ ผิวหนัง มีกลิ่นสาบ
  • ร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หรือแคระแกรน

สาเหตุของโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

เกิดจากความบกพร่องในยีนที่ช่วยสร้างฟีนิลอะลานีนไฮดรอกซีเลส เมื่อเอนไซม์หายไปร่างกายจะไม่สามารถทำลายฟีนิลอะลานีนได้ทำให้เกิดการสะสมของฟีนิลอะลานีนในร่างกายมากเกินไป อาจเป็นอันตรายนำไปสู่ความเสียหายของประสาทและสมอง เช่น ด้านพฤติกรรม ด้านจิตเวช ด้านพัฒนาการ เป็นต้น

การตรวจโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ และเลือดด้วยการเจาะส้นเท้าของทารกหลังคลอด 2 วัน และส่งตรวจทางห้องแลปจะทราบผลประมาณ 1 เดือน หากผลตรวจออกมาพบว่า ค่าฟีนิลอะลานีนในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แสดงว่าเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

การรักษาโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

แพทย์จะทำการรักษามุ่งเน้นเพื่อลดระดับของฟีนิลอะลานีนลงให้ได้มากที่สุด และป้องกันไม่ให้เกิดเป็นภาวะปัญญาอ่อน และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ในทารกที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ข้อควรปฏิบัติดังนี้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ชีส ถั่วเหลือง ไก่ ปลา
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารให้ความหวาน เช่น น้ำตาลเทียม น้ำอัดลม โซดา
  •  ควรเสริมกรดอะมิโนที่มีสารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย
  • ทารกที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ต้องดื่มนมพิเศษที่สกัดสารฟีนิลอะลานีนออกไปแล้ว
  • ยา วิตามิน หรืออาหารบางชนิดอาจมีสารให้ความหวาน มีกรดอะมิโน หรือนมผง
    พร่องมันเนย ควรสอบถามอย่างละเอียดก่อนซื้อทุกครั้ง

การป้องกันโรคฟีนิลคีโตนูเรีย

แพทย์จะแนะนำให้พ่อแม่ที่เคยมีบุตรคนแรกเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรียมาแล้ว หากต้องการมีบุตรคนต่อไป ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคฟีนิลคีโตนูเรียก่อน

แม้โรคฟีนิลคีโตนูเรียจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนในเด็กที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ยังช่วยให้เด็กมีพัฒนาการและสติปัญญาเหมือนเด็กปกติได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

วิธีลดกลิ่นตัว ทำยังไงให้กลิ่นตัวอันไม่พึงประสงค์หายไป

วิธีลดกลิ่นตัว ทำยังไงให้กลิ่นตัวอันไม่พึงประสงค์หายไป
กลิ่นตัว เกิดจากต่อมกลิ่นบริเวณข้อพับต่างๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น

กลิ่นตัว

กลิ่นตัว ( Body Odor ) เกิดจากต่อมกลิ่นบริเวณข้อพับต่างๆ ซึ่งต่อมเหงื่อมี 2 ประเภทได้แก่ ต่อมเอกไครน์ ( eccrine glands ) ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และ ต่อมอะโพไครน์ ( apocrine glands ) ทำหน้าที่ขับของเสียออกมา ซึ่งมีการตอบสนองต่อความเครียด รู้สึกกังวล และอาหารที่รับประทานเข้าไป พบมากบริเวณรักแร้ ฝ่าเท้า ขาหนีบ กลิ่นตัวไม่พึ่งประสงค์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น

สาเหตุของการเกิดกลิ่นตัว

  • ภาวะเครียด
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีกลิ่นฉุน เช่น กระเทียม หัวหอม สะตอ ชะอม พริกไทย ขมิ้น เนื้อแดง แอลกอฮอล์ เป็นต้น

การกำจัดกลิ่นตัว

  • ควรรักษาความสะอาดร่างกาย โดยการอาบน้ำ ล้างรักแร้บ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ร้อนชื้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารกลิ่นฉุน เช่น กระเทียม หัวหอม สะตอ ชะอม พริกไทย ขมิ้น เนื้อแดง แอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • หมั่นทำความสะอาดเสื้อผ้าเพื่อลดแบคทีเรียและกลิ่นอับชื้น
  • หมั่นโกนขนรักแร้เพื่อป้องกันการสะสมของแบคทีเรีย
  • ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับรักแร้ที่มีคุณสมบัติระงับกลิ่นกายตลอดวัน ลดเหงื่อ
  • ควรล้างพิษในร่างกายโดยการดีท็อกซ์อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

เนื่องจากปัญหากลิ่นตัวแรงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุอวัยวะที่มีต่อมเหงื่อมากที่สุดคือรักแร้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นตัวแรงดังนั้นวิธีลดกลิ่นตัวควรดูแลความสะอาดบริเวณรักแร้เป็นพิเศษ เพื่อลดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นตัวแรงได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เท้าเหม็น ดับกลิ่นเท้าอันไม่พึงประสงค์ได้ด้วยตัวเองที่บ้าน

เท้าเหม็น ดับกลิ่นเท้าอันไม่พึงประสงค์ได้ด้วยตัวเองที่บ้าน
เท้าเหม็น ( Smelly Feet ) เกิดจากต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้ามีการขับเหงื่อออกมาเยอะ เกิดการหมักหมมของเหงื่อ ทำให้แบคทีเรียและเชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

เท้าเหม็น

เท้าเหม็น ( Smelly Feet ) เกิดจากต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้ามีการขับเหงื่อออกมาเยอะ อาจเนื่องจากอากาศร้อน ใส่รองเท้าเล็กเกินไป จึงเกิดการหมักหมมของเหงื่ออยู่ในรองเท้าเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้แบคทีเรียและเชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี เมื่อรองเท้าไม่ได้รับการทำความสะอาดหรือตากให้แห้งทำให้เกิดกลิ่นเท้าเหม็นได้ ส่วนใหญ่มักพบในนักกีฬา พนักงานออฟฟิศที่ใส่รองเท้าเป็นเวลานานๆ

วิธีดับกลิ่นเท้า และป้องกันเท้าเหม็น

  • ล้างเท้าด้วยสบู่แอนตี้แบคทีเรียวัน 1 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่คับ อับชื้น หรือเปียก
  • ควรมีรองเท้า 2 คู่ ใส่สลับกันตากให้แห้งอย่างน้อย 1 วัน
  • ควรเลือกถุงเท้าเป็นผ้าฝ้าย ช่วยระบายอากาศได้ดี
  • ควรเช็ดเท้าให้แห้งก่อนสวมใส่ถุงเท้า รองเท้าทุกครั้ง
  • ตัดเล็บเท้าให้สั้น และทำความสะอาดเป็นประจำ
  • ขัดเซลล์ผิวที่ตายหรือแข็งออกจากเท้า
  • รักษาความสะอาดของเท้าเป็นประจำ
  • ใช้แป้งฝุ่นทาบาง ๆ บริเวณเท้าก่อนใส่ถุงเท้า
  • ใช้แปรงขนนุ่มชุบเบกกิ้งโซดาที่ผสมกับน้ำอุ่น ขัดเบา ๆ ตามซอกนิ้ว เล็บ เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย
  • ใช้สเปรย์ระงับกลิ่นเท้า

เท้าเหม็นเป็นปัญหาที่พบบ่อยเป็นสิ่งน่าอาย กังวลจนกระทั่งขาดความมั่นใจในตัวเอง ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้คนรอบข้าง เท้าเหม็นเกิดจากแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในรองเท้าเป็นเวลานานทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ขึ้นได้ หากมีอาการรุนแรงควรพบแพทย์เพื่อตรวจโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ห้อเลือด เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร

ห้อเลือด เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
ห้อเลือดเป็นลักษณะเลือดออกใต้เล็บมือหรือเล็บเท้า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าของคุณถูกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ หล่นทับกระแทกอย่างแรง

ห้อเลือด

ห้อเลือด ( Subungual Hematoma ) เป็น ลักษณะเลือดออกใต้เล็บมือหรือเล็บเท้า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าของคุณถูกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ หล่นทับกระแทกอย่างแรง แต่ก็พบอาการห้อเลือดบวมจำนวนไม่น้อยจากคนที่เดินหรือวิ่งบ่อย ๆ ซึ่งเล็บเท้าถูกเสียดสีกับรองเท้าที่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น นักวิ่งมาราธอน นักเดินทางไกลมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับบาดเจ็บแบบเฉียบพลันได้

>> เท้าเหม็นเป็นปัญหาที่พบบ่อย ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันเท้าเหม็นมาฝากกันค่ะ

>> อาการที่เกิดขึ้นและพบได้บ่อยที่เล็บเกิดขึ้นจากอะไร มาดูกันค่ะ

อาการและสาเหตุของห้อเลือด

ห้อเลือด มีลักษณะเป็นสีม่วงเข้มหรือสีดำทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ห้อเลือดเกิดจากอุบัติเหตุบริเวณห้อเลือดที่นิ้วมือ นิ้วเท้าถูกสิ่งของหล่นทับหรือกระแทกอย่างแรง เช่น ประตูหนีบ ของแข็งหล่นกระแทก ถูกค้อนตีนิ้วมือ ใส่รองเท้าคับเกินไป รวมถึงอุบัติเหตุจากการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง

การวินิจฉัยอาการห้อเลือด

  • แพทย์จะตรวจดูบริเวณนิ้วมือหรือนิ้วเท้าที่ได้รับบาดเจ็บเกิดรอยห้อเลือดโดยรอบอย่างละเอียด เพื่อประมาณอาการเบื้องต้น
  • หากพบห้อเลือดบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้าขนาดใหญ่ อาจต้องเอกซเรย์เพื่อดูการแตกหักของกระดูกว่ามีหรือไม่

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

สังเกตเห็นห้อเลือดคั่งใต้ผิวหนังที่มีขนาดใหญ่ และก่อให้เกิดอาการปวด บวมแดง มีหนอง มีกลิ่นเหม็น บริเวณปลายเล็บมีเลือดออกหรือเล็บหลุดออก ควรไปพบแพทย์จำเป็นต้องได้รับการรักษา

การรักษาอาการห้อเลือด

หากมีรอยช้ำห้อเลือดที่นิ้วซึ่งมีขนาดเล็กและไม่มีอาการเจ็บปวดก็ไม่ต้องรักษา หรือรักษาห้อเลือดด้วยตนเองง่าย ๆ เพียงใช้ผ้าขนหนูบาง ๆ ห่อน้ำแข็งประคบเย็นบริเวณที่รอยช้ำห้อเลือดประมาณ 1-2 วันแรก หรือจนกว่าอาการปวด บวมจะหายไป แต่หากห้อเลือดมีขนาดใหญ่เกิดการอักเสบรู้สึกเจ็บปวด บวมแดง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการเอ็กซ์เรย์ดูว่ามีการแตกหักของกระดูกหรือไม่ หรือเจาะระบายเลือดออก ใส่เฝือก หากอาการรุนแรงมากต้องถอดเล็บออก หากปล่อยทิ้งไว้เล็บของคุณอาจเป็นหนองและหลุดออกในที่สุด

ห้อเลือดเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งหากมีอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์จำเป็นต้องได้รับการรักษานะคะ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยมีผื่นบวมแดงและคัน มีตุ่มแดง ตุ่มน้ำ บางรายอาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา

ภูมิแพ้ผิวหนัง

ภูมิแพ้ผิวหนัง ( Skin-Allergies ) คือ จะมีผื่นบวมแดงและคัน มีตุ่มแดง ตุ่มน้ำ บางรายอาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา สามารถเกิดขึ้นกับผิวหนังได้ทุกเพศทุกวัย จากสถิติส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ผื่นแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้เหงื่อตัวเอง ภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ตัวเอง ภูมิแพ้อากาศ แพ้ฝุ่น การแพ้อาหาร

อาการของภูมิแพ้ผิวหนัง

  • มีตุ่มน้ำใสๆ
  • ผิวหนังแห้ง
  • คันบริเวณที่ผื่น
  • ผิวหนังเกิดผื่นแดง
  • ผิวหนังหนาและมีรอยคล้ำ
  • มีเหงื่อออกอาการคันจะเพิ่มมากขึ้น
  • อาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา

จุดสังเกตและตำแหน่งที่พบได้บ่อย

มักจะพบผื่นผิวหนังอักเสบบ่อยบริเวณใบหน้า ซอกคอ ข้อพับแขน ข้อพับขา ข้อศอก ข้อเข่าและด้านนอกของแขนขา
ภูมิแพ้ผิวหนังในแต่ละช่วงวัย
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ทารกระหว่างอายุ 2 เดือน
2. เด็กเล็กอายุระหว่าง 2-12 ปี
3. วัยรุ่นและผู้ใหญ่

การตรวจภูมิแพ้ผิวหนัง

  • แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยผื่นเริ่มเมื่อใด ระยะเวลาที่นานเท่าไหร่ ตำแหน่งของภูมิแพ้ผิวหนัง สิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดผื่น ซักประวัติครอบครัว ประวัติการแพ้อาหาร และตรวจร่างกายอย่าง
    ละเอียด เช่น อาการคันจมูก จาม น้ำมูกไหล หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงวี้ด เป็นต้น

การดูแลรักษาภูมิแพ้ผิวหนัง

โดยแพทย์จะเลือกใช้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และในรายที่
ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้วิธีต่อไปนี้

  • การใช้ยาทาลดการอักเสบของผิวหนัง ลดผื่นแดง
  • การให้ยารับประทาน
  • การฉีดยา

การป้องกันการเกิดภูมิแพ้ผิวหนัง

  • หลีกเลี่ยงการเกา หรือสัมผัสกับบริเวณที่มีผื่นคัน
  • หลีกเลี่ยงสารเคมีที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น ผงซักซอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำหอม
  • ควรดูแลความสะอาดร่างกายและมืออย่างสม่ำเสมอ
  • ควรระวังอาหารบางชนิดที่ก่อให้เกิดอาการแพ้
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อเยอะ

วิธีรักษาภูมิแพ้ผิวหนัง และการดูแล

โดยแพทย์จะเลือกใช้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้วิธีต่อไปนี้

  • การใช้ยาทาแก้แพ้ผิวหนัง ลดการอักเสบ
  • การให้รับประทานยาแก้ภูมิแพ้ผิวหนัง เพื่อลดภูมิแพ้ผิวหนังที่มีอาการคัน ปวด บวมแดง
  • การฉีดยา

เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น แพ้อากาศ ไอ จาม หอบหืด หรือมีผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ร่วมด้วย แต่ผู้ที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวก็อาจเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ผู้ป่วยที่คิดจะซื้อยาแก้ภูมิแพ้ หรืออาหารเสริมสำหรับโรคภูมิแพ้ผิวหนังมารับประทานเอง ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เล็บอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร

เล็บอักเสบ เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
การอักเสบของเล็บ คือการติดเชื้อของผิวหนังระหว่างโคนเล็บมือหรือเล็บเท้า โดยผิวหนังรอบเล็บจะบวมแดง  เป็นหนอง และมีกลิ่นเหม็น

เล็บอักเสบ

เล็บอักเสบ (Paronychia) เป็น การติดเชื้อของผิวหนังระหว่างโคนเล็บมือหรือเล็บเท้า สังเกตได้ชัดเมื่อเล็บมีการอักเสบเนื้อเยื่อบริเวณที่ติดเชื้อมักจะปรากฏอาการผิวหนังรอบเล็บบวมแดงขึ้นรู้สึกปวดตุบ ๆ บางครั้งเล็บเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงจะเริ่มเป็นหนองสีเหลืองขุ่น ติดเชื้อราชนิดแคนดิดาจะเป็นหนองสีขาวขุ่น มีกลิ่นเหม็น พบได้บ่อยในผู้ที่มีอาชีพต้องอยู่กับน้ำหรือพื้นที่เปียกชื้นเป็นเวลานาน เช่น แม่ครัว พ่อค้าแม่ค้าตามตลาดสด พนักงานล้างจาน เป็นต้น

อาการของเล็บที่อักเสบ

  • ผิวหนังรอบเล็บมีการอักเสบจะปวดตุบ ๆ บวมแดง กดเจ็บ
  • ถ้าพบการติดเชื้อแบคทีเรียจะเป็นหนองสีเหลือง หรือสีเขียว
  • เล็บที่อักเสบจากการติดเชื้อราแคนดิดาจะเป็นหนองสีขาวขุ่น มีกลิ่นเหม็น

สาเหตุของการเกิดเล็บที่อักเสบ

  • การเล็บพิการมาแต่กำเนิด
  • การขาดสารอาหาร เช่น วิตามิน โปรตีน
  • การติดเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
  • เล็บได้รับบาดเจ็บจากถูกกระแทก
  • มือหรือเท้ามักเปียกชื้นอยู่บ่อยครั้ง

วิธีการดูแลรักษาเล็บที่อักเสบ

การรักษาเล็บมีหลายวิธี เช่น
1. ควรดูแลรักษาความสะอาดเล็บมือเล็บเท้า
2. ควรใส่ถุงมือ รองเท้าบูทกันน้ำหากต้องสัมผัสกับน้ำบ่อย ๆ
3. หากมือแห้งควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
4. การใช้ยาปฏิชีวนะ ช่วยบรรเทาอาการอักเสบลดอาการปวดบวมได้
5. การใช้ยาทาภายนอกเพื่อรักษาเชื้อรา
6. หลีกเลี่ยงการกัดเล็บ
7. ควรตัดเล็บให้สั้น
8. หลีกเลี่ยงการแช่มือหรือเท้าในน้ำเป็นเวลานาน
9. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

อย่างไรก็ตามแม้การอักเสบที่เล็บเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง หากไม่ดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมออาจส่งผลให้เล็บที่อักเสบติดเชื้อแบบเรื้อรังมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้การรักษาก็จะใช้เวลานานออกไปอีก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ผึ้งต่อย บรรเทารักษาอาการจากการโดนผึ้งต่อยอย่างไร

ผึ้งต่อย บรรเทารักษาอาการจากการโดนผึ้งต่อยอย่างไร
ผึ้งต่อย ( Bee Sting ) คือ อาการที่ผู้ป่วยถูกผึ้งซึ่งเป็นแมลงที่มีเหล็กในต่อย หรืออาจฝังเหล็กในลงบนผิวหนัง คล้ายถูกเข็มแทง รู้สึกปวด ร้อน หรือคันบริเวณที่ถูกต่อยจนเป็นตุ่มบวมขึ้น โดยมีจุดสีแดงอยู่ตรงกลาง

ผึ้งต่อย

ผึ้งต่อย ( Bee Sting ) คือ อาการที่ผู้ป่วยถูกผึ้งซึ่งเป็นแมลงที่มีเหล็กในต่อย หรืออาจฝังเหล็กในลงบนผิวหนัง คล้ายถูกเข็มแทง รู้สึกปวด ร้อน หรือคันบริเวณที่ถูกต่อยหากมีอาการแพ้ผึ้งต่อยจะเป็นตุ่มบวมขึ้น โดยมีจุดสีแดงอยู่ตรงกลาง ซึ่งอาการผึ้งต่อยจะค่อย ๆ ดีขึ้น และค่อย ๆ หายไปภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการรุนแรงเนื่องจากแพ้พิษผึ้งเพราะเหล็กในเป็นโปรตีนที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ในบริเวณที่ถูกผึ้งต่อย ส่วนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่แพ้เหล็กในของผึ้ง พิษจากเหล็กในจะยิ่งส่งผลให้เกิดอาการที่รุนแรงจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ดังนั้นเมื่อถูกผึ้งต่อยเราควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยวิธีที่เหมาะสม พร้อมทั้งสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณสำคัญของอาการแพ้ เพื่อหาทางรักษาและไปพบแพทย์ได้ทันท่วงที

อาการผึ้งต่อยทั่วไป

  • รู้สึกคล้ายถูกเข็มแทง รู้สึกปวด ร้อน หรือคันบริเวณที่โดนต่อย
  • เกิดเป็นตุ่มบวมขึ้นมา ซึ่งมีจุดสีแดงอยู่ตรงกลางและมีผิวหนังสีขาวอยู่โดยรอบ
  • ตุ่มบวมแดงอย่างเห็นได้ชัด
  • บริเวณที่โดนผึ้งต่อยขยายบวมโตขึ้นในวันถัดมา

อาการแพ้ผึ้งต่อยจากพิษเหล็กในอย่างรุนแรง

  • อาการปวด บวม แดง คัน ไม่ยุบภายใน 6 ชั่วโมง
  • ผิวหนังมีผดผื่นคันสีแดง หรือผิวซีดขาว
  • อ่อนเพลีย หมดแรง มีไข้
  • แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจไม่ออก หรือหายใจมีเสียงหวีด
  • เสียงแหบ พูดจาติดขัด
  • ลิ้นบวม คอบวม
  • หัวใจเต้นแรง ชีพจรเต้นเร็ว
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องร่วง
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
  • กระวนกระวาย
  • มีอาการชัก

สาเหตุผึ้งต่อย

สาเหตุที่ผึ้งจะต่อยนั้นเกิดจากการที่ผึ้งป้องกันตัวจากการรบกวนของมนุษย์ และหลังจากปล่อยเหล็กในแล้ว ผึ้งบางชนิดก็จะตาย โดยในการต่อยแต่ละครั้ง ผึ้งอาจปล่อยเหล็กในฝังอยู่ในผิวหนังของมนุษย์ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่แพ้เหล็กในของผึ้ง พิษจากเหล็กในจะยิ่งส่งผลให้เกิดอาการที่รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก

ผู้ที่มีความเสี่ยงโดนผึ้งต่อย

  • ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณที่มีผึ้งทำรังอยู่ หรือไปอยู่ใกล้ ๆ รังผึ้ง
  • ผู้ที่อยู่นอกบ้าน หรือทำงานนอกสถานที่ ไม่ได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ปิดมิดชิด

ผู้มีความเสี่ยงเกิดอาการอย่างรุนแรงจากผึ้งต่อย

  • ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่แพ้เหล็กในของผึ้ง
  • ผู้ที่ถูกผึ้งต่อยหลาย ๆ จุดในร่างกาย

การวินิจฉัยอาการผึ้งต่อย

เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์หลังถูกผึ้งต่อย นอกจากการตรวจร่างกายเพื่อดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นตามบริเวณที่ถูกผึ้งต่อยแล้ว หากแพทย์มีข้อสงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีอาการแพ้พิษจากเหล็กใน

แพทย์อาจตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1. ทดสอบผิวหนัง แพทย์อาจใช้ชุดทดสอบภูมิแพ้ ด้วยการฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสารพิษจากผึ้งไปบนผิวหนังบริเวณแขนหรือแผ่นหลังด้านบนเพียงเล็กน้อย แล้วรอดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบนผิวหนังบริเวณนั้น วิธีการนี้จะไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ที่รุนแรง แต่ผู้ที่แพ้ต่อสารจริง จะปรากฏเป็นตุ่มนูนขึ้นมา
2. ตรวจเลือด แพทย์อาจนำตัวอย่างเลือดไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในเลือดที่เพิ่มขึ้นในการต้านพิษจากเหล็กในผึ้ง

ผึ้งต่อยทําไงให้หายบวม

การรักษาผึ้งต่อยในผู้ที่ไม่มีอาการแพ้รุนแรงมาก เบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้

1. หากเหล็กในอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัด ผู้ป่วยควรพยายามบีบผิวโดยรอบเพื่อดันเหล็กในออกมาให้เร็วที่สุด
2. ล้างทำความสะอาดผิวบริเวณที่ถูกผึ้งต่อยด้วยสบู่และน้ำสะอาด
3. ใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นวางประคบในบริเวณที่ถูกผึ้งต่อย
4. หากถูกผึ้งต่อยบริเวณแขนหรือขา ให้ยกแขนหรือขาขึ้น หรือวางแขนขาไว้บนระดับที่สูงกว่าปกติ
5. หากสวมใส่เครื่องประดับอยู่ ให้ถอดเครื่องประดับออก เพราะอาจเกิดอาการบวมจนยากต่อการถอดเครื่องประดับในภายหลัง
6. ไม่เกาบริเวณที่ถูกผึ้งต่อย เพราะจะยิ่งทำให้อาการแย่ลง และเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ
7. บรรเทาอาการปวดด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน แอสไพริน ( ห้ามใช้แอสไพรินในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปีเด็ดขาด )
8. ทายาไฮโดรคอร์ติโซน ( Hydrocortisone ) คาลาไมน์ ( Calamine ) ผสมเบกกิ้งโซดากับน้ำเปล่า หรือรับประทานยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) เช่น ไดเฟนไฮดรามีน ( Diphenhydramine ) หรือ คลอร์เฟนิรามีน ( Chlorpheniramine ) เพื่ออรักษาอาการที่เกิดบนผิวหนัง ลดอาการบวมแดงและอาการคัน
9. ผู้ที่มีอาการรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที

การรักษาอาการผึ้งต่อยสำหรับผู้ที่แพ้พิษเหล็กในรุนแรง

1. แพทย์จะให้ยาหรือฉีดยาต้านฮิสตามีน ( Antihistamine ) และคอร์ติโซน ( Cortisone ) เพื่อลดอาการแพ้ที่เกิดขึ้น และอาการอักเสบภายในทางเดินหายใจ ลดภาวะหลอดลมตีบ หรือมีเสมหะในทางเดินหายใจจากฮีสตามีน
2. ฉีดเอพิเนฟรีน โดยเฉพาะในรายที่มีปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง ( Anaphylaxis ) เพื่อรักษาและลดการเกิดอาการแพ้ที่เป็นอันตราย
3. พ่นยาขยายหลอดลม ( Beta agonist ) เช่น อัลบูเทอรอล เพื่อบรรเทาอาการหลอดลมตีบจากปัญหาการหายใจ
4. แพทย์อาจให้ออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจอย่างรุนแรงจากอาการแพ้
5. ทำซีพีอาร์ หรือปฏิบัติการช่วยชีวิต ( Cardiopulmonary Resuscitation: CPR ) ในผู้ป่วยที่หยุดหายใจ
6. แพทย์อาจฉีดสารภูมิคุ้มกันบำบัดให้ ซึ่งผู้ป่วยต้องมาฉีดเรื่อย ๆ ทุก 2-3 ปี เพื่อรักษาและลดปฏิกิริยาตอบสนองต่อพิษจากเหล็กในผึ้ง

การป้องกันการโดนผึ้งต่อย

1.กำจัดขยะและเศษอาหารบริเวณบ้านเพื่อไม่ให้มีแมลงพวกนี้มาตอม
2.กรณีที่ต้องเดินทางเข้าไปในที่ที่มีแมลงพวกนี้ชุกชุมหรือออกไปกลางแจ้ง ไม่ควรใส่เสื้อผ้าสีฉูดฉาด ลายดอกไม้ หรือใส่น้ำหอม ซึ่งล่อให้ผึ้งมาต่อยได้
3. อย่าแหย่หรือทำลายรังผึ้ง และเตือนเด็ก ๆ อย่าไปแหย่รังผึ้งด้วยความคะนอง
4. ถ้ามีรังผึ้งภายในบริเวณบ้าน ควรตามผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมากำจัดรังแทน
5. สำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกผึ้งต่อย (เช่น พนักงานป่าไม้ นักเดินป่า ลูกเสือเวลาออกค่าย เป็นต้น) ควรมีชุดปฐมพยาบาล (เช่น ยาฉีด adrenalin ยาแก้แพ้ ครีม steroid )ไว้ปฐมพยาบาลเมื่อถูกผึ้งต่อย
6.ถ้าถูกผึ้งต่อย ควรวิ่งหนีโดยเร็วที่สุด ให้ห่างจากรังเกิน 7 เมตรขึ้นไป และควรใช้ผ้าคลุมศีรษะป้องกันไม่ให้ตัวผึ้งไปติดอยู่ในผมซึ่งจะต่อยซ้ำ ๆ ได้

ทีนี้เพื่อน ๆ คงจะพอทราบวิธีรักษาบรรเทาอาการจากการโดนผึ้งต่อยว่าควรทำอย่างไร และควรอยู่ห่างจากผึ้ง เพราะผึ้งเป็นแมลงอันตรายที่ควรอยู่ให้ห่างไว้จะดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( Gestational hypertension ) เกิดจากสาเหตุอะไร

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( Gestationalhypertension ) เกิดจาสาเหตุอะไร
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจเสียชีวิตของมารดาและทารก

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( Gestational hypertension ) คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของมารดาและทารก ประมาณ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุระหว่าง 20 และ 44 ปี

ประเภทภาวะความดันโลหิตสูง

1. Chronic Hypertension คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ก่อนการตั้งครรภ์ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ( ก่อน 20 สัปดาห์ ) และยังพบหลังคลอด
2. Gestational Hypertension คือ ภาวะความดันโลหิตสูงหลังจากการตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ และหายไปหลังคลอด
3. Preeclampsia คือ ผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูงเรื้อรังขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นหลักจาก 20
สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
4. Chronic hypertension with superimposed preeclampsia คือ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และพบภาวะครรภ์เป็นพิษหลังจาก 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์

สาเหตุของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • คุณแม่เป็นความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคไตก่อนตั้งครรภ์
  • คุณแม่อายุระหว่าง 20 หรือมากกว่า 44 ปี
  • คุณแม่ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่

อาการของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ
  • ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
  • อาการบวมของใบหน้าหรือมือ
  • ปวดบริเวณท้องส่วนบน
  • น้ำหนักขึ้นอย่างเร็ว
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ปวดศีรษะไม่หาย
  • ปวดไหล่
  • ตามัว

การป้องกันของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยสำหรับความดันโลหิตสูงเช่นคุณแม่เป็นโรคอ้วน คุณสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับ
ประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งหมดนี้อาจทำให้
เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ได้

การดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • รักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • สังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์
  • สังเกตอาการต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • ควรไปตามกำหนดหมอนัดทุกครั้ง

คำแนะนำ

หากคุณแม่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ให้รีบแจ้งแพทยท์ผู้ทำการรักษาทันที เพื่อลดความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณ ช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์สุขภาพแข็งแรง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เล็บเป็นคลื่น (wavy-nails) เกิดจากอะไร บ่งบอกอะไรได้บ้าง

เล็บเป็นคลื่น เกิดจากอะไร บ่งบอกอะไรได้บ้าง
คลื่นที่เล็บ คือการเกิดจากการขยายจากหนังกำพร้า หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในเล็บ ซึ่งโดยปกติเล็บที่มีสุขภาพดี มีสีอมชมพู

เล็บเป็นคลื่น (wavy-nails)

เล็บเป็นคลื่น ( Wavy Nails ) คือ อาการที่เกิดจากการขยายจากหนังกำพร้าหรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในเล็บของคุณทำให้เล็บมือเป็นคลื่น ซึ่งโดยปกติเล็บที่มีสุขภาพดี คือ เล็บที่มีสีออกชมพูจาง ๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ มีพื้นผิวเรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรง แต่ยังสามารถบ่งบอกถึงโรคต่าง ๆ ได้ลักษณะที่พบ เช่น เล็บเกิดคลื่นตามแนวยาว เล็บเกิดคลื่นแนวขวาง เล็บเกิดคลื่นแห้ง

อาการและสาเหตุที่เล็บเกิดเป็นคลื่น

สาเหตุหลัก ๆ ของการเป็นคลื่น คือ ขาดความชุ่มชื้น ขาดสารอาหารประเภทโปรตีน แคลเซียม สังกะสี วิตามิน A หรืออาจเกิดจากภาวะด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดเป็นคลื่นได้พบบ่อยที่สุดคือ ปลายเล็บร่น เล็บที่มีความหนาหรือบางผิดปกติ เล็บเปลี่ยนสี ผิวหนังรอบเล็บบวมแดง บางคนมีอาการรุนแรงอาจพบเล็บเกิดคลื่นนูนสูง และเล็บเป็นร่องลึกตามแนวนอน แนวตั้งจากการสร้างเล็บผิดปกติ

เส้นคลื่นแนวตั้ง

เล็บเกิดคลื่นมีลักษณะเป็นเส้นที่ลากจากปลายเล็บมายังโคนเล็บ ซึ่งเกิดจากโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคผิวหนังอักเสบ ผื่นแพ้ มีพยาธิปากขอ หรือขาดแคลเซียมพบบ่อยในผู้สูงอายุ

เส้นคลื่นแนวนอน

เล็บเกิดคลื่นมีลักษณะเป็นเส้นแนวขวางลากจากซ้ายไปขวา มักจะเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงอาจจะทำให้เล็บของคุณหยุดการเจริญเติบโตได้ รวมถึงโรคเบาหวาน โรคตับ และโรคเรื้อรัง

เล็บที่มีสุขภาพดี จะมีสีออกชมพูจาง ๆ จากสีผิวของเนื้อข้างใต้เล็บ มีพื้นผิวเรียบ ผิวหนังรอบเล็บมีความแข็งแรง

การวินิจฉัย

หากมีเปลี่ยนแปลงบนเล็บหรือเล็บได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง เช่น เล็บฉีกขาด เล็บหลุด ใต้เล็บมีเลือดออกควรไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

การดูแลรักษา

1. ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บ และนวดเบา ๆ
2. ตัดและทำความสะอาดเล็บอย่างสม่ำเสมอ
3. ห้ามกัดเล็บ
4. ควรเช็ดมือให้แห้งทุกครั้งหลังล้างมือ
5. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
6. ควรตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี

เล็บเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม หากเล็บของเราสุขภาพดีนั่นรวมถึงร่างกายของเราก็จะดีไปด้วย หากเล็บได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการรุนแรงของโรคควรไปพบแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เชื้อราที่เล็บ เกิดจากอะไร ดูแลรักษาและป้องกันอย่างไร

เชื้อราที่เล็บ เกิดจากอะไร ดูแลรักษาและป้องกันอย่างไร
อาการเชื้อราที่เล็บ จะมีจุดสีขาวหรือสีเหลืองที่ปลายเล็บ เล็บหนาขึ้น เล็บเปลี่ยนสี เกิดขุยหนาใต้เล็บ เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ หรือเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ

เชื้อราที่เล็บคืออะไร

เชื้อราที่เล็บ ( Onychomycosis ) คือ โรคที่พบเห็นได้ทั่วไปและติดต่อได้ผ่านการสัมผัส เกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เล็บ เชื้อราที่พบจะมีทั้งเป็นสายรา หรือยีสต์ที่เล็บ โดยปกติเชื่อราจะมีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ ด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือการเพาะเชื้อรา

ลักษณะและอาการเชื้อราที่เล็บ

เชื้อราที่เล็บส่วนมากจะไม่มีอาการ บางรายมีผลแทรกซ้อนหลังการติดเชื้อรา เช่น เล็บขบ เล็บขบอักเสบติดเชื้อ หรือ เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน โดยมีอาการดังนี้
1. มีขุยใต้เล็บ
2. เล็บเปลี่ยนสี
3. มีอาการเจ็บที่เล็บ
4. เล็บเปราะหรือเล็บแยกตัวจากฐานเล็บ
5. เกิดโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ
6. คัน บวม หรือแดง

อาการเชื้อราที่เล็บขั้นแรก คือพบจุดสีขาวหรือสีเหลืองที่ปลายเล็บ เล็บหนาขึ้น เล็บเปลี่ยนสี เกิดขุยหนาใต้เล็บ เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ หรือเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ

สาเหตุของการเกิดเชื้อราที่เล็บ

เชื้อราที่เล็บมีโอกาสเกิดกับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย พบมากที่เล็บมือโดยเฉพาะนิ้วมือที่ต้องโดนน้ำบ่อย ๆ หรือผู้สูงอายุที่อาจมีโรคร่วมอื่น ๆ ซึ่งมีปัจจัยดังนี้
1. ล้างมือบ่อย หรือต้องทำงานที่ทำให้มือชื้นตลอดเวลา
2. เป็นโรคน้ำกัดเท้า แล้วเชื้อราลุกลามจากบริเวณนิ้วเท้ามาที่เล็บเท้า
3. เป็นโรคเฉพาะบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
4. ไม่รักษาความสะอาดของเท้า หรือเดินเท้าเปล่าในพื้นที่ชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง
5. สวมใส่รองเท้าที่คับหรืออับชื้น

ดูแลรักษาเชื้อราที่เล็บอย่างไร

เชื้อราที่เล็บสามารถรักษาด้วยตนเองได้ ซึ่งถ้ามีอาการอื่นร่วมควรรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการลุกลาม โดยวิธีการรักษาเชื้อราที่เล็บหลายวิธี เช่น
1. รักษาความสะอาดของเล็บและหลีกเลี่ยงการทำให้เล็บอับชื้น
2. ใช้กรรไกรตัดเล็บตัดเล็บส่วนที่ติดเชื้อรา
3. การใช้ยารับประทาน
4. การใช้ยาทาเฉพาะที่
5. การใช้วิธีการอื่นๆ ในการรักษา เช่น การถอดเล็บ การใช้แสงเลเซอร์รักษาเชื้อราที่เล็บ

จากบทความนี้เพื่อนๆคงทราบกันแล้วว่าการเกิดเชื้อราที่เล็บสามารถรักษาเองได้แต่อาจใช้เวลานานหลายเดือน และบางครั้งก็ไม่สามารถช่วยให้เชื้อราหายไปทั้งหมดหรือทำให้เล็บที่ผิดปกติกลับมามีลักษณะดังเดิมได้ กรณีผู้ที่มีอาการอื่นแทรกร่วมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการลุกลามนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม