Home Blog Page 112

ว่านหางจระเข้ ประโยชน์ และการใช้เพื่อดูแลสุขภาพและความงามว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ ประโยชน์ และการใช้เพื่อดูแลสุขภาพและความงามว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้ ( Aloe Vera ) คือ พืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วย Mannose และ Gibberellin มีกลไกการออกฤทธิ์ในการสมานแผลได้ดี

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ ( Aloe Vera ) คือ พืชสมุนไพรพบได้ทั่วไปตามธรรมชาติพบสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มโพลีฟีนอลที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เกิดจากการติดเชื้อในร่างกาย ว่านหางจระเข้าสดในน้ำยางมีสารแอนทราควิโนนซึ่งเป็นตัวช่วยสมอนแผล ลดการอักเสบ ว่านหางจระเข้มากกว่า 300 สายพันธุ์ ว่านห่างจระเข้สรรพคุณเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง แผลไฟไหม น้ำร้อนลวก ผิวไหม้จากแสงแดด ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าผิวกาย สบู่ว่านหางจระเข้ทาหน้ารักษาสิว หรือนำเนื้อวุ้นของว่านหางจระเข้มามาทำเครื่องดื่มเพิ่มความสดชื่นก็ได้

ประโยชน์ของว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้สด อุดมไปด้วย Mannose และ Gibberellin ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ คุณสมบัติการรักษาทางยาสมุนไพรมากมาย ได้แก่

  • ว่านหางจระเข้สรรพคุณ รักษาสิว ลดรอยดำรอยแดงจากสิวได้
  • ช่วยฆ่าเชื้อ
  • ช่วยเป็นยาระบาย
  • ช่วยลดการอักเสบ
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน
  • ช่วยรักษาตาปลาบริเวณเท้า
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณทั่วร่างกาย
  • ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
  • ช่วยลดรอยไหม้จากการฉายรังสี
  • ช่วยป้องกันผิวหนังจากรังสี UV
  • ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  • ช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ช่วยป้องกันความไวต่อแสงจากรังสียูวี
  • ช่วยกระตุ้นการเกิดใหม่ของเซลล์เนื้อเยื่อ
  • ช่วยรักษาแผลทั่วไป แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  • ช่วยยับยั้งการทำงานของเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส
  • ช่วยป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น ทำให้แผลเป็นแลดูจางลง
  • ช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ ( DNA ) ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
  • ช่วยกระตุ้นไฟโบรบลาสต์ที่ผลิตคอลลาเจนและอิลาสตินทำให้ผิวยืดหยุ่น

ไม้ด่างว่านหางจระเข้ ราคาไม้ด่าง ว่านหางจระเข้แคระหาซื้อได้ที่ไหน

พืชอวบน้ำและเป็นไม้ฟอกอากาศขนาดเล็ก ลำต้นประมาณ 20 เซ็นติเมตร กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักไม้ด่าง ราคาว่านห่างจระเข้ด่างค่อนข้างแพงหาซื้อได้ตามตลาดต้นไม้ทั่วไปปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้สะสม ปลูกเพื่อจำหน่วย ว่านหางจระเข้ชอบแสงแดด และต้องการน้ำเพียงสัปดาห์ละครั้งดูแลง่าย

ลักษณะของว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ เป็นไม้ล้มลุกลำต้นเป็นข้อปล่องสีน้ำตาลสูงประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร ใบทรงสามเหลี่ยมเรียวออกเป็นชั้นสลับกันยาวสูงประมาณ 25 – 40 เซนติเมตร ซึ่งมีตั้งแต่สายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตรไปจนถึงขนาดใหญ่ เปลือกนอกสีเขียวอ่อนไปเข้ม มีจุดสีขาวทรงรียาวบนเปลือกด้านนอก เนื้อในมีวุ้นใสเป็นเมือกเหนียว ขอบใบหยักมีหนามแหลมคม ดอกจะออกใต้ใบมีก้านรองรับดอกตั้งขึ้นส่วนด้านบนจะมีช่อดอกออกเรียงกันจากเล็กไปหาใหญ่บานช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น เหลืองสลับแดง เหลือง ขาว ส้ม และแดง เป็นต้น

สูตรทำมาส์กหน้าว่านหางจระเข้น้ำมันมะพร้าวใช้เอง

ส่วนผสมอัตราส่วน 1: 2 ช้อนโต๊ะ

  • น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นบริสุทธิ์ 1 ช้อนโต๊ะ
  • เจลว่านหางจระเข้สด 2 ช้อนโต๊ะ
  • ชามสำหรับผสม

วิธีทำมาส์กหน้าว่านหางจระเข้และน้ำมันมะพร้าว

  • นำเจลว่านหางจระเข้สดผสมเข้ากับน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นบริสุทธิ์
  • ใช้ช้อนคนส่วนผสมทั้งสองอย่างให้เข้ากันดี
  • ใช้แปรงทามาส์กให้ทั่วใบหน้าลำคอ ปล่อยทิ้งไว้ 5-10 นาที (อย่างทิ้งไว้นานเกินไปอาจระคายเคืองต่อผิวได้)
  • ล้างออกด้วยน้ำอุ่นแล้วใช้ผ้านุ่มๆเช็ดให้แห้ง
  • ทามอยส์เจอไรเซอร์ปิดท้ายเพื่อบำรุงผิว

เมนูเด็ดที่คุณต้องร้องว้าว ทำจากว่านหางจระเข้สด

  • ว่านหางจระเข้ลอยแก้ว
  • วุ้นว่านหางจระเข้น้ำกะทิ
  • ว่านหางจรเข้ต้มน้ำตาล
  • สมูทตี้น้ำว่านหางจระเข้
  • ว่านหางจระเข้อบกรอบ
  • ว่านหางจระเข้เชื่อม
  • พล่าวุ้นว่านหางจระเข้ทะเล
  • น้ำผลไม้ผสมเนื้อว่านหางจระเข้สด
  • ชาเขียวผสมเนื้อว่านหางจระเข้

คุณค่าทางโภชนาการของว่านหางจระเข้สด

ว่านหางจระเข้ 100 กรัมให้พลังงาน 49 แคลอรี่

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
เถ้า 0.2 กรัม
เส้นใย 0.2 กรัม
น้ำ 88.3 กรัม
ไขมัน 0.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม
แคลเซียม 31 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 3 มิลลิกรัม
โซเดียม 22 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 12 มิลลิกรัม
สังกะสี 0.1 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.06 มิลลิกรัม
วิตามินเอ   4.6 I.U
วิตามินซี 4.2 มิลลิกรัม
ไธอามีน 0.004 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวีน 0.002 มิลลิกรัม
ไนอาซีน 0.038 มิลลิกรัม

ว่านหางจระเข้ข้อควรระวัง

แม้ว่าว่านหางจระเข้สดจะมีสรรพคุณใช้งานที่หลากหลายคนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแพ้ บางคนแพ้ว่านหางจระเข้สดอาจเกิดการระคายเคืองหรืออาการแพ้ เช่น ทำให้เกิดผื่นแดง แสบร้อนบริเวณผิวหนัง หากคุณไม่แน่ใจว่าแพ้ว่านหางจระเข้หรือไหมควรทำการทดสอบทาบริเวณผิวอ่อน เช่น ข้อพับแขน ท้องแขน ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที แล้วเช็ดออกหากไม่พบอาการแสบร้อนก็แสดงว่าไม่แพ้ว่านหางจระเข้ Aloe vera

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ไฝเกิดจากอะไร เกิดตำแหน่งไหนได้บ้าง เอาไฝออกอย่างไร

ไฝเกิดจากอะไร เกิดตำแหน่งไหนได้บ้าง เอาไฝออกอย่างไร
ไฝ ( Mole ) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในผิวหนังที่สร้างเม็ดสีเป็นก้อนโต มีการกระจายของเซลล์เม็ดสีทั่วผิวหนังและผลิตเมลานินเป็นเม็ดสีธรรมชาติบนผิวหนัง

ไฝ

ไฝ ( Mole ) หรือขี้แมลงวันเกิดขึ้นจากเซลล์ในผิวหนังที่สร้างเม็ดสีเติบโตเป็นกลุ่มก้อน มีการกระจายของเซลล์เม็ดสีทั่วผิวหนังและผลิตเมลานินเป็นเม็ดสีธรรมชาติบนผิวหนังของเรา ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 6 มิลลิเมตร ลักษณะกลมนูนหรือเรียบมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำรวมถึงไฝแดง ส่วนใหญ่มักพบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ไฝที่หน้า ไฝที่คอ ไฝที่หลัง ไฝใต้ตา ไฝที่ปาก ไฝที่มือ ไฝที่คาง และไฝที่จมูก โดยไฝอาจมีมาตั้งแต่กำเนิดและจะสังเกตได้ชัดขึ้นในช่วงวัยเด็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน

ลักษณะของไฝ

ไฝไม่แสดงอาการเจ็บปวด แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง ได้แก่

  • ไฝจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามตัว เป็นวงรี หรือกลม
  • ไฝใหม่จะปรากฏขึ้นใกล้กับไฝที่มีลักษณะปกติ
  • ไฝมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เช่น ผิวขรุขระไม่สม่ำเสมอ
  • ไฝมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสี เช่น สีน้ำตาล สีดำ หรือสีชมพู
  • สีของไฝขยายออกไปเกินขอบ และเข้าสู่ผิวหนัง
  • ไฝที่มีขนาดใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร
  • ไฝที่มีลักษณะเป็นสีแดง หรืออักเสบบริเวณขอบ
  • รู้สึกคัน บวมแดง หรือรู้สึกเจ็บ
  • ไฝมีเลือดซึมออกมา

หากคุณมีอาการใด ๆ ข้างต้นให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละคนไฝเกิดตำแหน่งไหนได้บ้างพบได้บ่อยที่สุดบริเวณ เช่น ใบหน้า คิ้ว ต้นคอ หลังหู หน้าอก แผ่นหลัง รักแร้ ขาท่อนล่าง ใต้ฝ่าเท้า เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดไฝ

  • ไฝเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน
  • ร่างกายของคุณตอบสนองต่อยาที่ระงับระบบภูมิคุ้มกันของคุณหรือยาปฏิชีวนะฮอร์โมนหรือยากล่อมประสาท
  • มีตอบสนองต่อยาที่ต่อต้านระบบภูมิคุ้มกัน
  • การถูกแสงแดเผาขณะอาบแดด
  • ครอบครัวมีประวัติเป็นไฝผิดปกติ
  • การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม
  • คนผิวขาวโดยกำเนิด
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น

การรักษาหรือเอาไฝออก

  • การจี้ไฟฟ้า
  • การแต้มกรด TCA ( Trichloroacetic Acid )
  • การผ่าตัด

อาการแทรกซ้อนของไฝ

เซลล์ในผิวหนังที่สร้างเม็ดสี อาจทำให้บางคนมีความเสี่ยงสูงที่ไฝจะกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง ซึ่งมีปัจจัยดังนี้

  • มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่กำเนิด ซึ่งเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นมะเร็งผิวหนังได้ในอนาคต
  • ไฝที่ปรากฏกับคนในครอบครัวมีความผิดปกติ มีขนาดใหญ่กว่าปกติ มักเป็นกรรมพันธุ์มีความเสี่ยงสูงในการพัฒนาเป็นเนื้องอก และมะเร็งมากกว่าบุคคลอื่น

การป้องกันการเกิดไฝ

  • หลีกเลี่ยงการอาบแสงแดดที่แรงในระหว่าง 10:00 ถึง 16:00 นาฬิกา
  • ทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด
  • ควรสวมเสื้อผ้าที่มีแขน หรือสวมหมวกปีกกว้างขณะออกแดด
  • งดทำกิจกรรมกลางแจ้งขณะแดดแรง

ไฝที่มีมาแต่กำเนิดมีขนาดใหญ่ขึ้น เปลี่ยนสี เปลี่ยนรูปร่าง และรู้สึกเจ็บปวดอาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้ พบได้ในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ แม้ไฝจะไม่เป็นอันตรายหากมีการเปลี่ยนที่ผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการเบื้องต้นอาจต้องทำการทดสอบตามระดับเพื่อยื่นยันว่าไฝกลายเป็นมะเร็งผิวหนังในระยะแรกหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

อาหาร 5 หมู่ มีอะไรบ้าง และแหล่งอาหารของแต่ละหมู่

อาหารหลัก 5 หมู่ มีอะไรบ้าง และแหล่งอาหารของแต่ละหมู่
การบริโภคอาหารที่หลากหลายมุ่งเน้นการได้รับสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างเหมาะสม

อาหาร 5 หมู่

อาหาร 5 หมู่ ( Main Meal 5 Groups ) เป็นการบริโภคอาหารที่หลากหลายมุ่งเน้นการได้รับสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่หรือแร่ธาตุ วิตามิน และไขมัน

สารอาหารมีกี่ประเภท

สารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตด้วยการกิน ซึ่งช่วยสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างการ รวมทั้งระบบการย่อย โดยสารอาหารจะถูกแบ่งออกเป็นอาหารหลักดังนี้

  • อาหารหลักหมู่ที่ 1 ประกอบด้วยเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง
  • อาหารหลักหมู่ที่ 2 ประกอบด้วยมันเทศ ควินัว ข้าวกล้อง ข้าว แป้ง เผือกมัน น้ำตาล
  • อาหารหลักหมู่ที่ 3 ประกอบด้วยฟักทอง มันเทศสีเหลือง ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ตำลึง แครอท คะน้า
  • อาหารหลักหมู่ที่ 4 ประกอบด้วยผัก ผลไม้ ส้มโอ ลูกพีช องุ่น เสาวรส มะละกอ กล้วย แอปเปิ้ล
  • อาหารหลักหมู่ที่ 5 ประกอบด้วยครีม เนย ชีส น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันปาล์ม

โภชนาการอาหาร 5 หมู่ ที่เหมาะสมต่อวัน

  • โปรตีน สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำต่อวัน คือ ระหว่าง 46 – 63 กรัม และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตรต้องการโปรตีนมากถึง 65 กรัมต่อวัน
  • คาร์โบไฮเดรต สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำต่อวัน คือ ระหว่าง 45 – 65 กรัม
  • เกลือแร่หรือแร่ธาตุ สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำต่อวัน คือ ระหว่าง 920 – 2300 มิลลิกรัม
  • วิตามิน สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำต่อวัน คือ ระหว่าง 60 มิลลิกรัม และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตรต้องการวิตามินประมาณ 70 – 96 มิลลิกรัม
  • ไขมัน สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำต่อวันประมาณ 70 กรัม

แหล่งอาหาร 5 หมู่ ที่สำคัญได้แก่

หมู่ 1 โปรตีน ( เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว )

อาหารหลักหมู่ที่ 1 คือ อาหารประเภทโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแระ ถั่วดำ ถั่วลิสง ผลิตผลที่ได้จากถั่ว เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ซึ่งโปรตีนที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายช่วยการเจริญเติบโตของร่างกาย สร้างกล้ามเนื้อ ฟื้นฟูกล้ามเนื้อและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอ คำแนะนำการบริโภคโปรตีนที่เหมาะสม สำหรับคนทั่วไปควรได้รับโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และคนออกกำลังกาย ควรได้รับโปรตีน 2-3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

หมู่ 2 คาร์โบไฮเดรต ( ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน )

อาหารหลักหมู่ที่ 2 คือ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ได้จาก มันเทศ ควินัว ข้าวกล้อง เป็นแหล่งพลังงานหลักของระบบประสาทและสมอง เมื่อร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตจะแบ่งเป็นน้ำตาลขนาดเล็ก คือ กลูโคส และฟรุกโตสที่ลำไส้เล็กสามารถดูดซึมไปใช้ได้ ซึ่งจะเข้าสู่กระแสเลือดไปยังตับ ตับจะเปลี่ยนน้ำตาลทั้งหมดเป็นกลูโคส ซึ่งไหลผ่านกระแสเลือดพร้อมกับอินซูลิน และแปลงเป็นพลังงานสำหรับการทำงานของร่างกายช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำแนะนำการบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสม สำหรับคนทั่วไป ควรได้รับคาร์โบไฮเดรต 3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และคนออกกำลังกาย ควรได้รับโปรตีน 2-3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

หมู่ 3 เกลือแร่หรือแร่ธาตุ ( พืชผัก )

อาหารหลักหมู่ที่ 3 ที่ได้จากผักใบสีเขียว ผักสีเหลืองเป็นแหล่งรวมเกลือแร่และแร่ธาตุแก่ร่างกาย เช่น ฟักทอง มันเทศสีเหลือง ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ตำลึง แครอท คะน้า แตงกวา บวบ ฟักเขียว ผักกาดขาว ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหาย ป้องกันการบาดเจ็บของร่างกาย ช่วยปกป้องกระดูกแตกหัก และช่วยป้องกันฟันผุ

หมู่ 4 วิตามิน ( ผลไม้ )

อาหารหลักหมู่ที่ 4 ที่ได้จากผลไม้ชนิดต่าง ๆ อุดมไปด้วยวิตามินที่สำคัญช่วยป้องกันโรค ลดคอเลสเตอรอล ช่วยในระบบย่อยอาหาร ได้แก่ ส้มโอ ลูกพีช องุ่น เสาวรส มะละกอ กล้วย แอปเปิ้ล ส้ม ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ควรกินผลไม้และผลไม้อย่างน้อยให้ถึง 400 กรัมต่อคนต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ

หมู่ 5 ไขมัน ( ไขมันจากพืชและสัตว์ )

อาหารหลักหมู่ที่ 5 โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่ไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันไก่ น้ำมันจากวัว ครีม เนย ชีส และไขมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นแหล่งให้พลังงานและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย สามารถช่วยในการดูดซึมของวิตามินบางชนิด ช่วยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ ช่วยป้องกันเส้นประสาท

การรับประทานสารอาหารหลัก 5 หมู่ ที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่หรือแร่ธาตุ วิตามิน และไขมัน เท่านั้นอาจยังไม่เพียงพอสิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปด้วย คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำมาก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสุขภาพที่ดีลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังร้ายแรงในอนาคตได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ตาปลา เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร

ตาปลา เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
ตาปลา ( Corns ) เกิดจากชั้นผิวหนังบริเวณที่มีกระดูกโดยเฉพาะนิ้วเท้าหรือฝ่าเท้า มีการเสียดสีหรือกดทับมากเกินไป จนเป็นผิวหนังหนาและแข็ง

ตาปลา

ตาปลา ( Corns ) เกิดจากชั้นผิวหนังบริเวณที่มีกระดูกโดยเฉพาะนิ้วเท้าหรือฝ่าเท้า มีการเสียดสี หรือแรงกดทับซ้ำ ๆ มีลักษณะเป็นผิวหนังหนาค่อนข้างกลมตรงกลางมีจุดสีดำและแข็งทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อมีการเสียดสีกับรองเท้าเป็นระยะเวลานานมักพบได้ที่ข้อต่อนิ้วเท้า ฝ่าเท้า

อาการของตาปลา

  • ผิวหนังหนาเป็นก้อน มีสีเหลืองและเหนียว
  • รู้สึกเจ็บเมื่อสวมใส่รองเท้า
  • ผิวหนังแห้งกราน
  • รู้สึกเจ็บบริเวณเกิดตาปลา

สาเหตุของการเกิดตาปลา

ตาปลาเกิดจากแรงกดทับ หรือแรงเสียดทานที่มากเกินไป เช่น การสวมใส่รองเท้าที่เล็กเกินไป หลวมเกินไป หรือสูงเกินไป

การดูแลรักษาตาปลา

  • ควรล้างเท้าเป็นประจำทุกวัน
  • ใช้หินขัดถูเบา ๆ บริเวณผิวแห้งกร้าน
  • เลือกรองเท้าที่พอดีกับเท้าของคุณเพื่อลดการเกิดตาปลา
  • ควรสวมถุงเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสีของเท้า
  • หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงที่สูงเกินไป
  • เสริมด้วยอุปกรณ์ เช่น ซิลิโคนปลายเปิดกันรองเท้ากัดด้านข้าง และฝ่าเท้าส่วนหน้า แผ่นเจลกันรองเท้ากัด

หากมีตาปลาขึ้นควรสวมถุงเท้าหนา ๆ และเปลี่ยนรองเท้าที่เหมาะกับเท้ามีฟองน้ำรองรับการเสียดสี เพราะตาปลาอาจทำให้เป็นแผลกัดทับเส้นประสาทมีผลกระทบต่อการเดิน ยืน หรือวิ่งออกกำลังกายได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

หูด เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร

หูด เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
หูด ( Warts ) เป็น โรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัส Human Papilloma ( HPV ) มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อแข็งยื่นออกมาจากผิวหนังมีจุดสีดำ แพร่กระจายได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง

หูด

หูด ( Warts ) คือ การเจริญเติบโตของผิวหนังที่ผิดปกติ หูดเกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) หรือ ไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human papillomavirus) ทำให้ผิวหนังชั้นบนหนาขึ้นหูดสามารถแพร่กระจายได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง ทางเพศสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่เป็นหูดหรือใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว มีดโกนหนวด กัดเล็บ หูดมีหลายประเภท คือ หูดหงอนไก่ หรือหูดอวัยวะเพศ หูดข้าวสุก หูดที่นิ้ว หูดชนิดทั่วไป หูดที่ฝ่าเท้าและฝ่ามือ หูดชนิดแบนราบ หูดคนตัดเนื้อ หูดที่เป็นติ่ง มักพบในเด็กและวัยรุ่น หูดสามารถเจริญเติบโตในพื้นที่อับชื้นได้เป็นอย่างดี

ลักษณะของหูดแต่ละประเภท

หูดแต่ละประเภทมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • หูดชนิดทั่วไป (Common warts) คือ หูดที่พบบ่อยเป็นตุ่มเล็กๆ นูนขึ้นบนผิวหนังสัมผัสแล้วรู้สึกผิวหยาบไม่สม่ำเสมอ และมักเกิดขึ้นโดยทั่วไปหูดที่นิ้ว หูดที่เท้า หูดที่เข่า ใบหน้า มากที่สุด
  • หูดที่ฝ่าเท้าและฝ่ามือ (Plamar warts and Plantar warts)
  • หูดชนิดแบนราบ (Plane warts, Flat warts)
  • หูดหงอนไก่ หรือหูดอวัยวะเพศ (Condyloma accuminata)
  • หูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum)
  • หูดคนตัดเนื้อ (Butcher’s warts)
  • หูดที่เป็นติ่ง (Filiform warts)

อาการของหูด

ลักษณะของหูดขึ้นอยู่กับประเภทพบบ่อย คือ

  • มีติ่งนูนยื่นขึ้นมาบนผิวหนังขนาดหูดประมาณ 10 มิลลิเมตร
  • มีผิวหยาบ หรือผิวเรียบ
  • หูดเกิดขึ้นทั้งเป็นตุ่มเดี่ยว และเป็นกลุ่ม
  • มีอาการคัน

หูกเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

หูดเกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัสเอชพีวีนี้มีมากกว่า 100 ชนิดที่ทำให้เกิดหูดโดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อันตราย แต่เชื้อไวรัส HPV บางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

หูดเกิดที่ตำแหน่งไหนได้บ้าง

หูดเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยมักจะเติบโตตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ พบที่นิ้วมือ หูดสามารถเกิดได้หลายที่ เช่น หูดที่นิ้วมือ หูดที่เท้า หูดที่มือ หูดที่นิ้ว หูดที่ลิ้น หูดที่หน้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดในปาก หูดที่คอ

รักษาหูด

แพทย์จะแนะนำหนึ่งในวิธีการรักษาต่อไปนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดหูดของแต่ละบุคคล มีวิธีดังนี้

  • การทายาบริเวณผิวหนังที่เป็นหูด เหมาะสำหรับเด็กจะทำให้ไม่เจ็บปวด
  • การใช้กรดซาลิไซลิกทาบริเวณหูดอย่างสม่ำเสมอทุกวัน จะช่วยให้หูดหลุดออก
  • การฉีดยา ใช้สำหรับการรักษาหูดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น
  • การใช้ไนโตรเจนเหลว
  • การรักษาด้วยเลเซอร์
  • การผ่าตัด

การป้องกันหูด

เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดหูดมีวิธีการป้องกัน ดังนี้

  • ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ Human Papilloma
  • ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ โดยเฉพาะหากมีการสัมผัสกับคนที่เป็นหูด
  • หลีกเลี่ยงการถูกหูดที่ตำแหน่งใหม่
  • ควรเช็ดมือ และเท้าให้แห้ง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดกับผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่โดยตรง
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่น
  • หลีกเลี่ยงการตัด แกะ กัดเล็บ หรือโกนหนวดบริเวณที่มีหูดข้าวสุก
  • ควรใส่รองเท้าเวลาอาบน้ำเพื่อป้องกันหูดที่เท้า หูดตาปลา

หูดรักษาอย่างไร? ยังเป็นข้อสงสัยสำหรับหลายคนแม้เป็นโรคที่ไม่อันตรายแต่เชื้อไวรัสเอชพีวี Human Papilloma ( HPV ) บางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก หากคุณสงสัยว่าเป็นหูดหรือไม่ควรสังเกตลักษณะของหูดที่เกิดขึ้น สามารถรักษาได้ด้วยวิธีที่บทความนี้แนะนำข้างต้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

พริกชี้ฟ้า ประโยชน์ และเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

พริกชี้ฟ้า ประโยชน์ และเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
พริกชี้ฟ้า ( Cayenne Pepper ) มีสารแคปไซซินเป็นสารที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นฉุน สามารถลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนัก และอุดมไปด้วยวิตามินเอ

พริกชี้ฟ้า

พริกชี้ฟ้า ( Cayenne Pepper ) เป็น พืชผักมีชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum อยู่ในวงศ์ตระกูล Solanaceae พริกชี้ฟ้าพบได้ทั่วไปทุกภูมิภาคของประเทศไทย จัดเป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 50 – 100 เซนติเมตร อายุ 1-3 ปี มีรสชาติเผ็ดปานกลางขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เจริญเติมโตได้ดีในดินร่วนปนทรายชอบแสงแดด ควรปลูกห่างกัประมาณ 50 x 50 เซนติเมตร เก็บผลผลิตพริกชี้ฟ้าได้ประมาณ 2-3 เดือน พริกชี้ฟ้าจะมีราคาแพงมากในหน้าแล้งระหว่างเดือน เมษายน – พฤษภาคม ของทุกปี โดยเฉพาะพริกชี้ฟ้าแดงราคาพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ 150 – 400 บาท

ลักษณะของพริกชี้ฟ้า

พริกชี้ฟ้ามีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มลำต้นเดี่ยวแตกกิ่งกานออกรอบ ๆ ลำต้น กิ่งแก่มีสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียวยาวปลายใบแหลมฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยวชี้ขึ้นออกดอกตามตาใบส่วนยอดมี 5 กลีบ ออกดอกตลอดปี ผลทรงกลมยาว ปลายเรียวแหลม โค้งงอ ผิวเปลือกหนาลื่นเป็นมัน ผลดิบของพริกชี้ฟ้ามีสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีแดง ภายในผลกลวงมีแกนกลาง จะมีเมล็ดกลมแบนเล็ก ๆ สีเหลืองอ่อนเกาะแกนอยู่มากมาย ราก เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมๆ แทงลึกลงในดิน มีรากแขนงและรากย่อย รากออกตามรอบๆลำต้น มีสีน้ำตาล

ประโยชน์ของพริกชี้ฟ้า

พริกชี้ฟ้าอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุสูงโดยเฉพาะวิตามินซี เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยให้ผิวใส เนียน นุ่มลื่นอย่างเป็นธรรมชาติ และที่สำคัญมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมาย ได้แก่

  • ช่วยป้องกันโรคหวัด
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดกรดในกระเพาะ
  • ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
  • ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง
  • ช่วยปรับระดับ และควบคุมระดับคอเลสเตอรอล
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ ลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร และการย่อยอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการพริกชี้ฟ้า

พริกชีฟ้า 100 กรัม ให้พลังงาน 129 แคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
น้ำ 63.8 เปอร์เซ็นต์
ไขมัน 0.5 กรัม
โปรตีน 1.5 กรัม
เส้นใย 2.2 กรัม
วิตามินซี 204 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 1917 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.07 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.1 มิลลิกรัม
แคลเซียม 103 กรัม
ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.5 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 29.8 กรัม

เมนูอาหารจากพริกชี้ฟ้า

  • ส้มตำ
  • แกงป่าไก่
  • ไข่เจียวพริกชี้ฟ้า
  • น้ำพริกตาแดง
  • ผัดกระเพราหมูสับ ไก่ กุ้ง ปลาหมึก
  • ผัดคะน้าหมูกรอบ
  • ผัดพริกแกงถั่ว

พริกชีฟ้าอยู่คู่ครัวไทยมาอย่างยาวนาน นิยมนำมาประกอบอาหารคาวช่วยให้มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องปรุงในเมนูรสจัดมากมายใช้ได้ทั้งพริกชี้ฟ้าเขียว และพริกชี้ฟ้าแดง เพียงแค่ทานพริกชี้ฟ้าอย่างเป็นประจำดีต่อสุขภาพยังสามารถลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

แอปเปิ้ลไซเดอร์ หรือน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ล ประโยชน์ต่อสุขภาพ

แอปเปิ้ลไซเดอร์ หรือน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ล ประโยชน์ต่อสุขภาพ
แอปเปิ้ลไซเดอร์ เป็น น้ำส้มสายชูหมักที่ผลิตจากแอปเปิ้ลสดหมักรวมกับยีสต์ มีเอนไซม์และแร่ธาตุจากธรรมชาติที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากที่สุด

แอปเปิ้ลไซเดอร์

น้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ล ( Apple Cider Vinegar หรือ ACV ) หรือ แอปเปิ้ลไซเดอร์ คือ น้ำส้มสายชูหมักที่ผลิตจากการนำน้ำแอปเปิ้ลสดหรือน้ำแอปเปิ้ลมาหมักรวมกับยีสต์ จนกลายเป็นแอลกอฮอล์ โดยในกระบวนการนี้จะเกิดกรดอะซิติก ( Acetic Acid ) หรือกรดน้ำส้ม ซึ่งเป็นสารชีวภาพจากการบ่มหรือหมัก ทำให้แอปเปิ้ลไซเดอร์มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเฉพาะตัว และมีประโยชน์มากมาย ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ เช่น เพคติน ( Pectin ) ไบไอติน ( Biotin ) กรดโฟลิก วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 โซเดียม แคลเซียม โพแทสเซียม และธาตุเหล็ก

ประโยชน์ของแอปเปิ้ลไซเดอร์

  1. ช่วยลดความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
  2. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  3. ช่วยระบบย่อยอาหาร แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
  4. ช่วยลดน้ำหนักและ ช่วยลดความอยากอาหาร
  5. ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
  6. ช่วยความจำให้ดีขึ้น
  7. แก้โรคคัน กำจัดรังแค แก้ผมแตกปลาย
  8. ช่วยชะลอการเจริญของเซลล์มะเร็ง
  9. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย

รู้จักมาเธอร์คุณประโยชน์ที่คาดไม่ถึง

มาเธอร์ ( Mother  ) คือส่วนที่มีสารอาหารมากที่สุด และดีต่อระบบย่อยอาหารอย่างมาก สิ่งนี้ทำให้น้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ล แตกต่างจากน้ำส้มสายชูทั่วไปในท้องตลาด มีคุณสมบัติเป็นกรดสูง มีรสเปรี้ยวจัด มีสีเหลืองคล้ายน้ำชา มีเส้นใยบาง ๆ ลอยอยู่ ซึ่งไม่มีการผ่านความร้อนจึงยังคงเอนไซม์และแร่ธาตุจากธรรมชาติไว้อย่างครบถ้วน 

วิธีทำน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์

วัตถุดิบ และอุกรณ์

  1. แอปเปิ้ล 6 ผล เลือกที่ค่อนข้างมีรสเปรี้ยวอมหวาน และไม่หวานจนเกินไป
  2. หัวเชื้อหรือแม่เชื้อ ( mother หรือ มาเธอร์ ) 2 ช้อนโต๊ะ ( ผงยีสต์ละลายน้ำหรือน้ำหัวเชื้อไซเดอร์เข้มข้นที่มีเส้นใย ) หรือไม่มีจะไม่ใส่ก็ได้
  3. น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
  4. น้ำสะอาด
  5. โหลแก้ว
  6. ผ้าขาวบาง
  7. ยางสำหรับรัดปากโหล

ขั้นตอนการทำน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์

  1. ล้างแอปเปิ้ลให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง 
  2. ผ่าแอปเปิ้ลเป็นชิ้น ( ผลละ 8-12 ชิ้น ) ใส่ในโหล
  3. ใส่น้ำผึ้งและหัวเชื้อลงไปในโหล ( หัวเชื้อจะช่วยเร่งในกระบวนการหมักให้เร็วขึ้น )
  4. เติมน้ำเปล่าลงไปให้ท่วมแอปเปิ้ล
  5. ปิดโหลด้วยผ้าขาวบาง วางไว้ในที่ที่มีอาการสถ่ายเทสะดวก มีอุณภูมิอุ่นๆ และไม่ให้สัมผัสแสงแดด เป็นเวลา 2 สัปดาห์ 
  6. เมื่อกระบวนการหมักดำเนินอย่างถูกต้องจะเกิดฟองหรือฝ้า ให้เปิดฝาและหมั่นคนส่วนผสมทุกวัน หากมีราขาวๆขึ้นให้ช้อนออก (ราสีขาวไม่อันตราย ถ้าเป็นราสีดำหรือเทาให้เททิ้งทั้งหมดแล้วเริ่มทำใหม่)
  7. เมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์ สีของน้ำจะเข้มข้นขึ้นจนเป็นสีน้ำตาล จากนั้นให้กรองเอาแต่น้ำใส่ขวดโหลที่แห้งและสะอาด แล้วปิดปากขวดโหลด้วยผ้าขาวบางอีกครั้ง แล้ววางไว้ในที่ที่มีอาการสถ่ายเทสะดวก มีอุณภูมิอุ่นๆ และไม่ให้สัมผัสแสงแดด เป็นเวลาอีก 2 สัปดาห์ ( รวมเวลาลาการหมักทั้งสิ้น 1 เดือน )
  8. ลองชิมรสชาติ ว่ามีรสชาติของน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ หรือไม่
  9. เมื่อครบกระบวนการหมัก อาจมีวุ้นสีขาวขุ่น นิ่มๆ เกิดขึ้นด้านบน เราสามารถใช้เป็นหัวเชื้อในการหมักครั้งต่อไปได้
  10. หลังจากนั้นนำน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ที่เรียบร้อยแล้วเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อหยุดกระบวนการหมัก

น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ มีเอนไซม์ครบถ้วนจากธรรมชาติ และยังเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในทางวิทยาศาสตร์ว่า เป็นหนึ่งในอาหารธรรมชาติที่ดี ต่อสุขภาพ ยังมีส่วนช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายของมนุษย์สามารถรักษาและซ่อมแซมตัวเองได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

คีโต อาหารคีโตลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ หาคำตอบได้ที่บทความนี้

คีโต อาหารคีโตลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ หาคำตอบได้ที่บทความนี้
ไข้คีโต ( Keto Flu ) คือ เกิดจากร่างกายได้รับไขมันในปริมาณที่มากขึ้น ทำให้ร่างกายเปลี่ยนจากการเผาผลาญไขมันไปเป็นการเผาผลาญน้ำตาลแทน ทำให้เกิดอาการป่วย

คีโต

อาหาร คีโต keto หรือ ketogenic เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำที่ร่างกายผลิตคีโตนในตับเพื่อใช้เป็นพลังงานทำให้ร่างกายผลิตโมเลกุลเชื้อเพลิงขนาดเล็กที่เรียกว่า คีโตน เป็นแหล่งเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับร่างกายที่สามารถใช้เมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อกินคาร์โบไฮเดรตน้อยหรือแคลอรี่น้อยมากตับจะผลิตคีโตนจากไขมัน คีโตนเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นแหล่งเชื้อเพลิงทั่วร่างกาย โดยเฉพาะสมองเป็นอวัยวะที่ต้องการพลังงานมากในแต่ละวัน แต่ไม่สามารถทำงานรวมกับไขมันได้โดยตรงแต่จะสามารถทำงานกับกลูโคสหรือคีโตนได้เท่านั้น สำหรับผู้ที่เริ่มกินอาหารคีโตใหม่ๆ จะทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันบางคนอาจเป็นไข้ได้ หรือเรียกว่า ไข้คีโต ( Keto Flu ) คือ เกิดจากร่างกายได้รับไขมันในปริมาณที่มากขึ้น และต้องจำกัดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตอย่างเคร่งครัด อาจทำให้เกิดอาการป่วยหรือที่เรียกว่า ไข้คีโต เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายโดยเปลี่ยนจากการเผาผลาญไขมันไปเป็นการเผาผลาญน้ำตาลแทน ซึ่งเริ่มจากการทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เมื่อระดับอินซูลินต่ำร่างกายจะเริ่มเปลี่ยนไขมันเป็นคีโตน

สาเหตุการเกิดไข้คีโต

1. เมื่อร่างกายเริ่มใช้คีโตเป็นแหล่งพลังงานหลัก
2. เมื่อร่างกายสูญเสียเกลือแร่และน้ำรวดเร็วในช่วงแรก
3. อาการลงแดงจากการขาดน้ำตาล

อาการไข้คีโต

โดยทั่วไปอาการไข้คีโตจะเริ่มเป็นประมาณสองสามวันหรือเป็นสัปดาห์ ขึ้นอยู่กันการเผาผลาญของแต่ละบุคคล หากทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือแป้งในปริมาณน้อยจะมีอาการเพียงเล็กน้อย อาการที่พบได้บ่อย คือ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตาฝ้าฟาง นอนไม่หลับ หงุดหงิด และอยากน้ำตาล

วิธีรับประทานอาหารคีโตคาร์โบไฮเดรตต่ำที่กินต่อวัน

  • อาหารคีโตเจนิก (ketogenic) คาร์โบไฮเดรตน้อยกว่า 20 กรัมต่อวัน
    เช่น ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ทุกประเภท ยกเว้นเครื่องในสัตว์ หอย กุ้ง ทูน่า มีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 4 – 5 กรัมต่อ 100 กรัม
  • อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำปานกลางระหว่าง 20 – 50 กรัมต่อวัน
    เมนู : ผักใบเขียว ผักตระกูลกะหล่ำ บรอกโคลี มะเขือเทศ คะน้า หัวหอม ถั่วงอก แตงกวา พริกหยวก หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด อะโวคาโด สตรอเบอร์รี่ เกรปฟรุ้ต แอปริคอต มีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 11 – 22 กรัมต่อ 100 กรัม
  • อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำระหว่าง 50 – 100 กรัมต่อวัน
    เมนู : ชีส เมล็ดเชีย ข้าวโอ๊ต ถั่วแดง ขนมปังโฮลวีท มีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 66 – 100 กรัมต่อ 100 กรัม

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับคนกินอาหารคีโต

  • ขนมปังและขนมอบ : ขนมปังขาวขนมปังโฮลวีตแครกเกอร์คุกกี้โดนัทและม้วน
  • ของหวานและอาหารหวาน : ไอศครีม ขนมไทยกะทิน้ำเชื่อม
  • เครื่องดื่มหวาน : โซดา น้ำผลไม้ ชานมไข่มุก และเครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มบำรุงกำลัง
  • พาสต้า : สปาเก็ตตี้ ก๋วยเตี๋ยว
  • ธัญพืชและผลิตภัณฑ์จากธัญพืช : ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ซีเรียลอาหารเช้า
  • ผักที่มีแป้ง : มันฝรั่ง มันเทศ สควอช ข้าวโพด ถั่ว และฟักทอง
  • ถั่วและพืชตระกูลถั่ว : ถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วแดง
  • ผลไม้ : ส้ม องุ่น กล้วย และสับปะรด
  • ซอสคาร์โบไฮเดรตสูง : บาร์บีคิว น้ำสลัดหวาน และน้ำจิ้ม
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิด : เบียร์ และเครื่องดื่มผสมน้ำหวาน

วิธีแก้อาการไข้คีโต

หากคุณได้รับคาร์โบไฮเดรตจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ควรเสริมด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่

  • โปแตสเซียม กินปลา เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ฟักทอง ปริมาณ 1,000 – 3,500 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยป้องกันตะคริว ท้องผูก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • แมกนีเซียม กินผักโขม ไก่ เนื้อวัว ปลา ปริมาณ 300 – 500 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ วิงเวียน และอาการอ่อนเพลีย – โซเดียม กินปลาทะเล ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาดขาว ควรได้รับโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน ช่วงป้องกันการเป็นตะคริวได้

การป้องกันการเกิดไข้คีโต

โดยทั่วไปอาการไข้คีโตจะหายไปเองภายใน 2-3 วันหากนานก็อาจเป็นสัปดาห์ เนื่องจากร่างกายกำลังปรับตัว ควรดื่มน้ำและเกลือแร่ให้เพียงพอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ สม่ำเสมอ

เมื่อต้องเตรียมตัวกับการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตน้อย ซึ่งทำให้น้ำหนักของคุณลดลงและมีสุขภาพดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ควรกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่กำหนดต้องน้อยกว่า 20 – 50 กรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามหากรู้สึกอาการไม่ดีหลังจากทำตามคำแนะเบื้องต้น สามารถทานไข่ต้มหากรู้สึกหิวในระหว่างมื้ออาหาร เพราะอาหารคีโตที่ดีควรมีไขมันที่เพียงพอต้องแน่ใจว่าจะไม่หิวหลังมื้ออาหารโดยไม่กินอาหารเลย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

พริกหยวก ประโยชน์ และเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

พริกหยวก ประโยชน์ และเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
พริกหยวก ( green pepper ) เป็นพืชที่กินผลอายุสั้น มีสารแคปไซซินอยู่ที่รกตามบริเวณที่มีเมล็ดเกาะ มีรสเผ็ดไม่มาก ให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

พริกหยวก

พริกหยวก ( Green Pepper ) เป็น พืชที่กินผลอายุสั้น มีรสเผ็ดไม่มาก ซึ่งรสเผ็ดได้จากสารแคปไซซิน ( Capsaisin ) อยู่ที่รกตามบริเวณที่มีเมล็ดเกาะ มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอเมริกามีปลูกทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อนรวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด พริกหยวกให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

ลักษณะของพริกหยวก

พริกหยวก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นกลม สีเขียว ใบมีลักษณะทรงเรียวรี ปลายใบแหลม ใบเรียบมันสีเขียวอมเหลือง ออกดอกเป็นกระจุกตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 3 – 5 ดอก ดอกตูมทรงรูปแตรและดอกบานลักษณะดอกสีขาว 5 – 6 กลีบ มีเกสรเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางด้านใน ผลเป็นผลเดี่ยวทรงกรวยยาวปลายผลเรียวขนาดใหญ่ เมื่อผ่าออกจะเห็นแกนของไส้ที่ลอมด้วยเมล็ดพริกหยวกประมาณ 50 – 70 เมล็ด มีรสเผ็ดร้อน ผิวเปลือกหนาลื่นผิวมันวาว ผลดิบมีสีเขียวอ่อนพริกหยวกจะให้ผลผลิตได้ประมาณ 2 เดือน และสามารถเก็บผลผลิตต่อได้อีกประมาณ 3 เดือน 

ประโยชน์ของพริกหยวก

พริกหยวก นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลากหลาย ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์มากมายและมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ได้แก่

  • ช่วยขับลม
  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • ช่วยให้อารมณ์ดี
  • ช่วยให้เจริญอาหาร
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  • ช่วยบรรเทาอาการหวัด
  • ช่วยให้ไหลเวียนเลือดดี
  • ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  • ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำย่อย
  • ช่วยป้องกันเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • พริกหยวกมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการอุดตันของเส้นเลือด
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

คุณค่าทางโภชนาการของพริกหยวก

พริกหยวก 100 กรัม ให้พลังงาน 27 กิโลแคลอรี่

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
โปรตีน 1.7 กรัม
ใยอาหาร 3.4 กรัม
ไขมัน 0.5 กรัม
น้ำตาล 1.9 กรัม
วิตามินเอ 340 IU 
วิตามินซี 82.7 มิลลิกรัม
วิตามินบี1 0.1 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.1 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 1.2 มิลลิกรัม
วิตามินบี5 0.3 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 32 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 256 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 5.3 กรัม
สังกะสี 0.3 มิลลิกรัม

เมนูอาหารจากพริกหยวก

  • หมูผัดพริกหยวก
  • ตับไก่ผัดพริกหยวก
  • ผัดพริกหยวกกุ้ง
  • แจ่วพริกหยวก
  • พริกหยวกยัดไส้ปลา
  • ผัดพริกหยวกใส่ไข่
  • หมูกระเทียมพริกหยวก
  • ผักพริกหยวกหน่อไม้สด
  • ปลาดุกผักพริกหยวก
  • ไข่ปลาสลิดผักพริกหยวก

พริกหยวก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนไม่ทานเผ็ดและต้องการควบคุมน้ำหนัก เพราะพริกหยวกก็เป็นพริกที่ไม่เผ็ดมากให้พลังงานน้อยสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู มีสารอาหารและแร่ธาตุที่ดีต่อร่างกายหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ปลายประสาทอักเสบ สาเหตุ อาการ และการดูแลรักษา

ปลายประสาทอักเสบ สาเหตุ อาการ และการดูแลรักษา
ปลายประสาทอักเสบ อาจทำให้การทำงานของเส้นประสาทผิดปกติไม่สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าได้ปกติเกิดอาการต่าง ๆ

ปลายประสาทอักเสบ

ปลายประสาทอักเสบ ( Peripheral Neuropathy ) คือ เป็นภาวะหนึ่งของระบบปลายประสาท ซึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณจากสมองส่งไปยังไขสันหลังและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อปลายประสาทอักเสบทำให้การทำงานของเส้นประสาทผิดปกติไม่สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าได้ปกติเกิดอาการต่าง ๆ เช่น รู้สึกเจ็บแปลบๆ เจ็บคล้ายโดยไฟลน ตะคริว ชาตามมือเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุกไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นไป

อาการปลายประสาทอักเสบ

อาการทั่วไปที่พบในผู้ป่วยจะแสดงอาการตามความรุนแรงของโรคปลายประสาทอักเสบ ดังนี้

  • เวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องผูก
  • ท้องเสีย
  • น้ำหนักลด
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เป็นตะคริว ปวดเกร็ง
  • รู้สึกชาบริเวณมือ เท้า แขน และขา
  • ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • หากอาการรุนแรง อาจทำให้ไม่สามารถขยับอวัยวะบางส่วนได้ เช่น มือ เท้า

สาเหตุปลายประสาทอักเสบ
จากการศึกษาพบว่าโรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยปลายประสาทอักเสบและสาเหตุรองลงมา ได้แก่

  • การกดทับของเส้นประสาทบริเวณมือ
  • โรคภูมิคุ้มกัน
  • การได้รับสารพิษต่าง ๆ
  • โรคความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อ HIV
  • การขาดวิตามิน เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 และวิตามิน บี 12
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • การบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์
  • การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นเวลาหลายปี

เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์

หากคุณมีอาการชาบริเวณมือ หรือเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง รู้สึกเจ็บปวดมากกว่าปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

การตรวจปลายประสาทอักเสบ

แพทย์ทำการซักประวัติผู้ป่วยประวัติครอบครัว อาการ ตำแหน่งการเกิดของโรคปลายประสาทอักเสบ ร่วมกับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อ และการเอกซเรย์เพื่อดูความเสียหายของเส้นประสาท หากพบความรุนแรงของอาการปลายประสาทอักเสบต้องทำการรักษาทันที

การรักษาปลายประสาทอักเสบ

แพทย์จะประเมินวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และตำแหน่งของปลายประสาทอักเสบ ซึ่งมุ่งเน้นการฟื้นฟูเส้นประสาทให้กับมาทำงานได้ปกติ

การรักษาทั่วไป

  • อาบน้ำอุ่น ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดอาการชา และความเจ็บปวดได้
  • ควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ช่วยป้องกันการขาดวิตามิน
  • ลดการสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การบำบัด
  • การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า
  • กายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อ
  • การผ่าตัด การใช้ยา
  • ให้ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ
  • ทายาและนวดเบา ๆ
  • ฉีดยา

ภาวะแทรกซ้อนของปลายประสาทอักเสบ

ความเสียหายของเส้นประสาทที่ส่งผลให้เกิดปลายประสาทอักเสบ อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น แผลที่เท้า การติดเชื้อจนทำให้เกิดเนื้อตาย และยังส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของหัวใจ รวมทั้ง

การไหลเวียนขอระบบโลหิต

การป้องกันปลายประสาทอักเสบ คุณสามารถลดความเสี่ยงของอาการปลายประสาทอักเสบเหล่านี้ได้โดย หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อป้องกันการขาดวิตามิน ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารพิษ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หากคุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบ ควรรับการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที สามารถลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเส้นประสาททำให้มีโอกาสหายเป็นปกติได้มากขึ้นอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม