Home Blog Page 114

สับปะรด ผลไม้มหัศจรรย์ช่วยป้องกันโรคไต สร้างภูมิคุ้มกัน

0
สับปะรด ผลไม้มหัศจรรย์ช่วยป้องกันโรคไต สร้างภูมิคุ้มกัน
สับปะรด ( Pineapple) เป็น พืชล้มลุก มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ และ มีเอนไซม์ที่ช่วยจัดการกับโปรตีน
สับปะรด ผลไม้มหัศจรรย์ช่วยป้องกันโรคไต สร้างภูมิคุ้มกัน
สับปะรด ( Pineapple) เป็น พืชล้มลุก มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ และ มีเอนไซม์ที่ช่วยจัดการกับโปรตีน

สับปะรด คือ

สับปะรด ( Pineapple) เป็น พืชล้มลุกมีลำต้นเดี่ยวกลม ๆ อยู่ใต้ดิน ทรงพุ่มใหญ่ เปลือกแข็งและเหนียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ananas comosus ( L ) Merr. มีชื่อสามัญว่า Pineapple อยู่ในวงศ์ Bromeliaceae มีถิ่นกำเนิดมาจากแถวทวีปอเมริกาใต้ ชื่อเรียกตามภูมิภาคของไทย ได้แก่ ภาคกลาง เรียกว่าสับปะรด ภาคอีสาน เรียกว่าบักนัด ภาคเหนือ เรียกว่ามะนัด มะขะนัด บ่อนัด ภาคใต้ เรียกว่าย่านัด ย่านนัด ขนุนทอง

สายพันธุ์ของสับปะรด

สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยและนิยมนำมาปลูกสายพันธุ์พันธุ์ภูแล สายพันธุ์อินทรชิต หรืออินทรชิตแดง พันธุ์ขาว พันธุ์สวี และพันธุ์ปัตตาเวีย สับปะรดเป็นพืชชอบแสงแดดจัดขึ้นได้ในดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินปนลูกรัง ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท ปลูกง่ายโตเร็วใช้น้ำน้อยทนต่อสภาพอากาศร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ประมาณ 24 – 30 องศาเซลเซียส

สารอาหารและแร่ธาตุในสับปะรด

สับปะรด มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และธาตุสังกะสีเป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสับปะรด

ลำต้น ลักษณะลำต้นเป็นข้อป้องอยู่ใต้ดินความยาวประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร ส่วนลําต้นที่อยู่เหนือดินจะตั้งตรง
ใบ เป็นพืชใบเดี่ยวลักษณะเรียวยาวซ้อนสลับกันเป็นวงกลมรอบลำต้น ส่วนปลายใบโค้งแหลม มีหนามแหลมอยู่บริเวณขอบใบทั้ง 2 ข้าง ไม่มีก้านใบ
ดอก จะออกดอกตรงแกนกลางของช่อดอก มีดอกย่อยประมาณ 100 – 200 ดอก ดอกย่อยแต่ละดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศเกสรตัวเมียมีความยาวมากกว่าเกสรตัวผู้เล็กน้อยและมีขนาดสั้นกว่ากลีบดอกเล็กน้อย กลีบดอกมีสีขาวที่โคนและมีสีม่วงอมฟ้าที่ส่วนปลาย
ผล มีลักษณะทรงกระบอก มีเปลือกแข็ง มีตารอบผล มีสีเขียวปนสีเหลือง หรือสีเหลือง มีเนื้อข้างในสีเหลือง มีรสชาติหวาน กลิ่นหอม
เมล็ด จะมีหลายเมล็ดในผล เมล็ดมีลักษณะยาวรี เล็กๆ มีสีดำ
ราก ระบบรากของสับปะรดเป็นแบบระบบรากฝอยจำนวนมาก ซึ่งจะกระจายอยู่ใต้ผิวดินตื้นๆ รากสามารถหยั่งลึกลงไปในดินได้มากกว่า 75 เซนติเมตรขึ้นอยู่กับชนิดของดินที่ใช้ในการปลูก

ประโยชน์ และสรรพคุณของสับปะรด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ได้แก่ ใบ ผลดิบ หนาม และราก
ใบ : ยาถ่าย หนาม ใช้แก้ฝีต่างๆ ฆ่าพยาธิ
ผลดิบ : ใช้ห้ามเลือด ใช้ขับประจำเดือน
หนาม : ใช้แก้ฝีต่างๆ 
ราก : บำรุงไต ไตอักเสบ แก้กระษัย

  • ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆในระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดคอแห้ง แก้กระหายน้ำ
  • ช่วยควบคุมความดันโลหิตสูง
  • ช่วยลดเนื้อเยื่อแผลอักเสบ
  • ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ
  • ช่วยระบบขับปัสสาวะ
  • ช่วยป้องกันโรคเหงือก
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  • ช่วยรักษาแผลหนอง
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • ช่วยชะลอความแก่ชรา
  • ช่วยรักษาส้นเท้าแตก
  • ช่วยป้องกันเบาหวาน
  • ช่วยลดไขมันในเลือด
  • ช่วยลดอาการเจ็บคอ
  • ใช้รักษาแผลอักเสบ
  • ช่วยลดความอ้วนได้
  • ช่วยลดอาการปวด     
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ
  • ช่วยป้องกันหวัด
  • ช่วยแก้ร้อนใน
  • ช่วยแก้โรคนิ่ว
  • ช่วยย่อยอาหาร
  • ช่วยระบายท้อง
  • ช่วยแก้ท้องผูก
  • ช่วยล้างสารพิษ
  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • ช่วยแก้บวมน้ำ
  • ช่วยแก้นิ้วล็อค
  • ช่วยแก้โรคบิด

คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรดต่อ 100 กรัม

พลังงาน 50 กิโลแคลอรี
เส้นใยอาหาร 1.4 กรัม
ไขมัน 0.12 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 13.12 กรัม
น้ำตาล 9.85 กรัม
โปรตีน 0.54 กรัม
วิตามินบี 1 0.079 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.032 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.5 มิลลิกรัม
วิตามินบี 5 0.213 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 0.112 มิลลิกรัม
วิตามินบี 9 18 ไมโครกรัม
วิตามินซี 47.8 มิลลิกรัม
โคลีน 5.5 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม
ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 0.927 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม
ธาตุโพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม
ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม
ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม

สับปะรด มีเอนไซม์ที่ช่วยจัดการกับโปรตีนที่เรียกว่า บรอมีเลน ( bromelain ) ซึ่งพบได้ในแกนและเหง้าของสับปะรดนั่นเอง คุณสมบัติพิเศษของสารชนิดนี้ก็คือ ช่วยสลายลิ่มเลือดและสมานแผล ช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และที่สำคัญที่สุดช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย เหมาะสำหรับคนที่ควบคุมน้ำหนักเป็นอย่างดี

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ลักษณะทางพฤกษศาสตรของสับปะรด (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.phetchaburi.doae.go.th [ 31 กรกฎาคม 2552 ].
สับปะรด (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.thai-thaifood.com/th [ 31 กรกฎาคม 2552 ].
สับปะรด (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://pirun.ku.ac.th [ 31 กรกฎาคม 2552 ].

ว่านเทียนเกล็ดหอย ( Psyllium Husk ) สุดยอดธัญพืชดีท็อกซ์ ขจัดสารพิษ

0
เทียนเกล็ดหอย ( Psyllium Husk ) สุดยอดธัญพืชดีท็อกซ์ ขจัดสารพิษ
เทียนเกล็ดหอย หรือ ไซเลียม ฮัสค์ ( เทียนเกล็ดหอย  )  เป็น พืชล้มลุกหรือธัญพืชที่อุดมด้วยเส้นใยอาหาร เปลือกหุ้มเมล็ดของต้นไซเลี่ยมฮักส์เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายสามารถละลายในน้ำได้
เทียนเกล็ดหอย ( Psyllium Husk ) สุดยอดธัญพืชดีท็อกซ์ ขจัดสารพิษ
เทียนเกล็ดหอย หรือ ไซเลียม ฮัสค์ ( เทียนเกล็ดหอย  ) เปลือกหุ้มเมล็ดของต้นไซเลี่ยมฮัสค์ป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายสามารถละลายในน้ำได้

เทียนเกล็ดหอย คือ

เทียนเกล็ดหอย หรือ ไซเลียมฮักส์ ( Psyllium Husk )  เป็น พืชล้มลุกหรือธัญพืชที่อุดมด้วยเส้นใยอาหารจากธรรมชาติที่ได้จากเปลือกหุ้มเมล็ดของต้นไซเลี่ยมฮัสค์เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายสามารถละลายในน้ำได้ เพียงรับประทานในปริมาณ 10.2 กรัมต่อวัน รับประทานพร้อมมื้ออาหารจะช่วยดักจับไขมันและกรดน้ำดีลด ระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี เทียนเกล็ดหอย มีชื่อสามัญ Psyllium Seed, Blonde Psyllium Seed, Ispaghula Seed, Psyllium Husk, Psyllium Seed Husk มีถิ่นกำเนิดแถบริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและในทวีปอเมริกาเหนือ, และประเทศนิวซีแลนด์ ปัจจุบันแพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วโลก การขยายพันธุ์ของเทียนเกล็ดหอย โดยการเพาะเมล็ด และหน่อเล็กๆ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น มีลักษณะลำต้นกลมตั้งตรง ปล้องยาว มีขนสีขาวปลกคลุมทั่วทั้งลำต้น
ใบ มีลักษณะใบเดี่ยวออกตามปล้อง ใบแคบเรียวยาว ขอบใบหนา ปลายใบแหลมโค้งเล็กน้อย มีร่องตื้น ๆ ตรงกลาง ระหว่างซ้ายขวา ผิวใบหยาบมีขนสีขาวปลกคลุมทั่วทั้งใบ ใบสีเขียวเข้ม
ดอก ดอกอยู่บริเวณซอกด้านบนของใบ ทรงกระบอกมีกลีบเรียงเป็นฐานรองช่อดอกอีก 1 ชั้น ก้านดอกยาวเฉียงขึ้น 45 องศาเหนือตาใบที่หันออกด้านนอกลำต้น
เมล็ด มีลักษณะเป็นรูปไข่ทรงรี แบนคล้ายเรือ ลักษณะด้านนอกนูนด้านในเว้า ผิวมัน ลื่น เรียบไม่มีขน มีสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมชมพู ส่วนที่ใช้ประโยชน์ คือ ใบ และ เมล็ด

ประโยชน์และสรรพคุณเทียนเกล็ดหอย

  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยแก้คลื่นไส้
  • ใช้เป็นยาแก้บิดเรื้อรัง
  • ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยต้านการเกิดมะเร็ง
  • ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
  • ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
  • ช่วยชะลอความอยากอาหาร
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ใช้เป็นยาบำรุงกำลังและเส้นเอ็น
  • ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง
  • ใช้เป็นยาแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย
  • ช่วยแก้อาการปวดเส้นเอ็น (ใบ)
  • ช่วยดีท็อกซ์ลำไส้และขจัดสารพิษในร่างกาย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเลือด ลดการอุดตันของหลอดเลือด 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

  • ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร
    เทียนเกล็ดหอยเป็นยาระบายแบบเพิ่มกาก และต้านการอักเสบของลำไส้หนู
  • ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด
    เทียนเกล็ดหอยมีฤทธิ์ลดไขมันทั้งชนิดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเอไรด์ในเลือดสัตว์ทดลอง
  • ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
    เปลือกเทียนเกล็ดหอยมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดหนู
  • ฤทธิ์ต่อระบบเลือด
    เปลือกเทียนเกล็ดหอยมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนู

การศึกษาทางพิษวิทยาของเทียนเกล็ดหอย

การศึกษาทางพิษวิทยายังไม่มีข้อมูลแน่ชัด แต่มีเพียงการทดสอบความเป็นพิษอยู่เพียงชิ้นเดียว คือ จากการทดสอบความเป็นพิษของเมล็ดเทียนเกล็ดหอย พบว่าเมื่อใช้ผสมในอาหารวัว ขนาด 50% และไม่พบความเป็นพิษ

คำแนะนำในการใช้

ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น การบีบตัวผิดปกติ หรือมีการผ่าตัดทางเดินอาหารผู้ป่วยลำไส้อุดตัน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

คลิปความรู้ดีๆ จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

เทียนเกล็ดหอย (ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.thaicrudedrug.com [31 กรกฎาคม 2562].

เทียนเกล็ดหอย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.disthai.com [31 กรกฎาคม 2562].

โกจิเบอร์รี่ ( เก๋ากี้ ) ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา

0
โกจิเบอร์รี่ ( เก๋ากี้ ) ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา
ผลโกจิเบอร์รี่ ( Goji Berry ) หรือ เก๋ากี้ ( Wolfberry ) คือ ผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารมาก และยาสมุนไพรถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนจีนมานานกว่า 2000 ปี
โกจิเบอร์รี่ ( เก๋ากี้ ) ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา
ผลโกจิเบอร์รี่ ( Goji Berry ) หรือ เก๋ากี้ ( Wolfberry ) คือ ผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารมาก และยาสมุนไพรถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนจีน

โกจิเบอร์รี่ ( เก๋ากี้ )  คือ

ผลโกจิเบอร์รี่ ( Goji Berry ) หรือ เก๋ากี้ ( Wolfberry ) คือ ผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากที่สุดในโลก มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Chinese Wolfberry ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นพืชในตระกูล เดียวกันกับเบอร์รี่ เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน เป็นทั้งอาหารและยาสมุนไพรถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนจีนมานานกว่า 2000 ปีมีแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ สังกะสี เหล็ก ทองแดง แคลเซียม เจอมันเนียม เซเรเนียม และฟอสฟอรัส มีโปรตีนมากกว่าโฮลวีต มีวิตามินซี วิตามินเอ มีวิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 วิตามินอี และมีวิตามินซีสูงกว่าส้ม 500 เท่า

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-2 เมตร ตามซอกใบมีหนามแหลมคม
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก รูปไข่ หรือรูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลาม
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีม่วง
ผล ผลสด เนื้อนุ่ม รูปรีแกมรูปไข่ขนาดเล็ก ยาว 1-2 ซม. เปลือกบางเรียบ ผลสุกเปลือกและเนื้อมีสีแดงสดรสชาติหวานหรือหงานอมเปรี้ยวแล้วแต่สายพันธุ์

สรรพคุณทางตำรับยาสมุนไพร

  • ช่วยให้มีความจำดี
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพผิว
  • ช่วยชะลอความชรา
  • ช่วยต้านการอักเสบ
  • ช่วยปกป้องโรคตับ
  • ช่วยลดอาการปวดข้อ
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  • ช่วยป้องกันโรคซึมเศร้า
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • ช่วยรักษาโรคตาบอดกลางคืน
  • เป็นยาอายุวัฒนะ ( ผลและราก )
  • ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
  • ช่วยควบคุมน้ำตาลในเม็ดเลือดแดง
  • ช่วยเสริมสร้างการทำงานของหัวใจ
  • ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเจริญเติบโต
  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
  • ช่วยชะลอการเสื่อมของดวงตาให้ช้าลง   
  • ช่วยป้องกันแสงสีน้ำเงินที่ทำลายดวงตา
  • ช่วยปกป้องเซลล์ประสาทถูกทำลายด้วยสารพิษ
  • มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ( ผล )
  • อุดมด้วยแคโรทีนอยด์ และซีแซนทีน ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น
  • เป็นยาบำรุง ชงน้ำดื่มบำรุงสายตา บำรุงตับ และไต รักษาเบาหวาน วิงเวียนศีรษะ ปวดหลังปวดขา ( ผล )

คุณค่าทางอาหารของเก๋ากี้ หรือผลโกจิเบอร์รี่แห้ง 100 กรัม

พลังงาน 83 แคลอรี
โปรตีน                 11 กรัม
คาร์โบไฮเดรต        21 กรัม
ไขมัน                    1 กรัม
น้ำตาล                 13 กรัม
ใยอาหาร                8 กรัม
วิตามินเอ          9,000 IU
วิตามินซี       19.2 มิลลิกรัม
แคลเซียม      100 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก          9 มิลลิกรัม
โซเดียม          24 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม  840 มิลลิกรัม
ซิงค์             2.7 มิลลิกรัม
คอปเปอร์          2 มิลลิกรัม

ขั้นตอน และวิธีทำน้ำเก๋ากี้ดื่มเพื่อลดน้ำหนัก

1.เตรียมเก๋ากี้อบแห้ง 1-2 ช้อนชา
2.ผสมน้ำร้อนแช่ทิ้งไว้สักพัก แล้วนำมาดื่ม ( ควรดื่มก่อนมื้ออาหารเช้า 30 นาที ) ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย และเมื่อยล้าได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ขอบคุณคลิปความรู้เพิ่มเติมจาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

สรรพคุณประโยชน์ของโกจิเบอร์รี่ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://sukkaphap-d.com [31 กรกฎาคม 2562].

ชีวโมเลกุลและลักษณะทางคลินิกของ Wolfberry จีน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.ncbi.nlm.nih.gov [31 กรกฎาคม 2562].

8 คุณประโยชน์จาก เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.thaihealth.or.th [31 กรกฎาคม 2562].

หญ้าปักกิ่ง ( Angel Grass ) ต้านมะเร็งได้ ?

0
หญ้าปักกิ่ง ( Angel Grass ) ต้านมะเร็งได้ ?
หญ้าปักกิ่ง เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แต่ไม่ใช่พืชในวงศ์หญ้า เป็นไม้ล้มลุก รักษาอาการของโรคมะเร็งหลายชนิด ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หญ้าปักกิ่ง ( Angel Grass ) ต้านมะเร็งได้ ?
หญ้าปักกิ่ง รักษาอาการของโรคมะเร็งหลายชนิด ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หญ้าปักกิ่ง

หญ้าปักกิ่ง ( Angel Grass ) สมุนไพรหญ้าปักกิ่ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หญ้าเทวดา
ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Murdannia loriformis ( Hassk. ) Rolla Rao et Kammathy หญ้าปักกิ่ง เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แต่ไม่ใช่พืชในวงศ์หญ้าทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูง ประมาณ 7-10 ซ.ม. และอาจสูงได้ถึง 20 ซ.ม. ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ความยาวไม่เกิน 10 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อที่ ปลายยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกมีสีฟ้าปนม่วง ใบประดับกลม ยาวประมาณ 4 ม.ม. ร่วงง่าย เป็นพืชที่ ชอบดินร่วนหรือดินปนทราย งอกงามในที่มีแดดรำไร ไม่ต้องการน้ำมาก เพาะปลูกโดยการเพาะชำหรือเพาะเมล็ด ปลูกได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่มาก มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ แถบสิบสองปันนา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก จำพวกหญ้าที่มีอายุหลายปี เขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน ลาว และเวียดนาม โดยมักขึ้นตามดินทรายริมลำธาร ส่วนในประเทศไทยสามารถพบหญ้าปักกิ่งได้ทางภาคเหนือ และพื้นที่อื่น ๆ

สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง

1. รักษาอาการของโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งในลำคอ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia )
2. ช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
3. ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น บำรุงกำลัง และช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
5. ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ
6. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน
7. ช่วยป้องกันและบำบัดโรคความดันโลหิตสูงและต่ำ
8. ช่วยป้องกันและบำบัดโรคไทรอยด์
9. ช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้เด็กตัวร้อน เป็นไข้ แก้ร้อนในปอด
10. ใช้รักษาโรคโกโนเรีย ( หนองในแท้ )
11. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับและม้าม
12. ช่วยบำรุงหัวใจ รักษาโรคหัวใจ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ แก้ไมเกรน ภูมิแพ้
13. ใช้พอกรักษาแผลต่าง ๆ เช่น เริม งูสวัด แผลเบาหวาน

วิธีใช้หญ้าปักกิ่ง

สูตรดั้งเดิมที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งตามตำรายาพื้นบ้าน

1. คั้นน้ำจากหญ้าปักกิ่ง ใช้ใบหรือทั้งต้น ( เฉพาะส่วนที่อยู่เหนือดิน ) ประมาณ 100-120 กรัม นำไปแช่กับน้ำด่างทับทิมประมาณ 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หลังจากนั้นหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปคั้นเอาน้ำออกจากกาก แบ่งดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ( ครั้งละ 30 มิลลิลิตร และเป็นขนาดที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 60 กิโลกรัม แต่หากเป็นเด็กให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง ) ดื่มติดต่อกัน 7 วัน และหยุด 4 วัน ( เพื่อป้องกันการรับประทานเกินขนาด ) การเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น ถ้าอยากดับกลิ่นเหม็นเขียวสามารถผสมน้ำผึ้งลงไปโดยละลายกับน้ำอุ่นเล็กน้อย แล้วค่อย ๆ ผสมน้ำหญ้าปักกิ่งลงไปในแก้ว กะปริมาณความหวานให้พอเหมาะ จะช่วยให้รับประทานได้ง่ายขึ้น   

2. ตำคั้น ให้นำหญ้าปักกิ่งที่ล้างสะอาดแล้ว 3 ต้น นำมาตำให้ละเอียดในครกดินเผาหรือครกไม้ แล้วเติมน้ำต้มสุก 2 ช้อนโต๊ะ กรองผ่านด้วยผ้าขาวบาง ให้ผู้ใหญ่กินครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าครึ่งชั่วโมงและก่อนเข้านอน ส่วนเด็กให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งหรือกะตามความเหมาะสม

3. การปั่น ให้ใช้หญ้าปักกิ่งสดทั้งต้นและรากที่ล้างสะอาดแล้ว ประมาณ 6-7 ต้น ใส่ลงในโถปั่นและใส่น้ำลงไปครึ่งแก้ว แล้วปั่นด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้ เสร็จแล้วกรองเอากากออกด้วยตะแกรง นำมาแบ่งดื่มวันละ 2 ครั้ง

4. ยาลูกกลอน ให้ใช้หญ้าปักกิ่งสดทั้งต้นและรากที่ล้างสะอาดแล้ว นำมาตากแดดให้แห้งสนิท ( โดยหญ้าปักกิ่งสด 10 กิโลกรัม เมื่อนำมาตากแห้งจะเหลือน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ) แล้วนำหญ้าปักกิ่งแห้งไปบดให้เป็นผงผสมกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1 และปั้นเป็นเม็ดลูกกลอน ใช้กินครั้งละ 6 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและช่วงก่อนเข้านอน

5. การตุ๋น ให้ใช้หญ้าปักกิ่งสดทั้งต้นและรากที่ล้างสะอาดแล้ว 10 ต้น ใส่หม้อต้มเติมน้ำให้พอท่วมยา แล้วตุ๋นจนเปื่อยโดยใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง แล้วนำน้ำยาที่ได้มาดื่มต่างน้ำทุกวัน และควรตุ๋นวันต่อวัน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าปักกิ่ง

จากการวิจัยพบว่า ไกลโคสฟิงโกไลพิดส์ ( Glycosphingolipid ) ที่มีชื่อว่า G1b ซึ่งเป็นกลุ่มไขมันที่มีขั้วเป็นองค์ประกอบของเซลล์ผิว เป็นสารที่มีหน้าที่มีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุมกัน มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง ซึ่งถ้าใช้ร่วมกับการรักษาโรคมะเร็งก็จะลดผลข้างเคียงจากการรักษา โดยช่วยขับพิษจากเคมีบำบัดและช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายผู้ป่วยมะเร็งแข็งแรงและยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับ

สารสกัดจากหญ้าปักกิ่งมีผลลดความรุนแรงของการแพร่ของมะเร็งในหนูทดลอง จึงคาดว่าหญ้าปักกิ่งอาจใช้ป้องกันการเกิดมะเร็งได้ นอกจากนี้หญ้าปักกิ่งยังมีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของยีนที่เกิดจากสารก่อกลายพันธุ์ชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น AFB1 และสารสกัดหญ้าปักกิ่งยังมีฤทธิ์เหนี่ยวนำเอนไซม์ DT-diaphorase ซึ่งมีบทบาททำลายสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

ประโยชน์ของหญ้าปักกิ่ง

1. ใบของหญ้าปักกิ่งนำมารับประทานร่วมกับลาบเพื่อช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและต้านอนุมูลอิสระ
2. ทางการแพทย์ใช้เป็นยาร่วมในการรักษาและยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งและการกลับมาเป็นอีก รวมทั้งใช้ปรับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และสามารถช่วยลดผลข้างเคียงจากการรักษาแผนปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะช่วยลดความทุกข์ทรมาน ส่วนบางรายมีอายุยืนยาวมากขึ้น

ข้อควรระวัง

คุณไม่ควรบริโภคหัวไชเท้าหน่อไม้แตงกวาผักกาดหอมมะระขี้นกและต้นไอโป หากคุณกินอาหารใด ๆ ข้างต้นโดยไม่ตั้งใจไม่ต้องกังวลเพราะไม่มีผลเสียใด ๆ อาหารเหล่านี้ลดประสิทธิภาพของหญ้าปักกิ่ง ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง

เอกสารอ้างอิง

หญ้าปักกิ่ง สรรพคุณและประโยชน์ของหญ้าปักกิ่ง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://medthai.com [21 มิถุนายน 2562].

หญ้าปักกิ่ง ชื่อนี้มีดี สรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ พาห่างไกลโรคมะเร็ง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://health.kapook.com [21 มิถุนายน 2562].

หญ้าปักกิ่งกับการรักษาโรคมะเร็ง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://med.mahidol.ac.th [21 มิถุนายน 2562].

MEDICINAL BENEFITS OF ANGEL GRASS OR BEIJING GRASS IN CANCER TREATMENT (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.healthandwellbeingtips.net [21 มิถุนายน 2562].

หญ้าคา สมุนไพรพื้นบ้านใกล้ตัว

0
หญ้าคา สมุนไพรพื้นบ้านใกล้ตัว
หญ้าคาเป็นวัชพืชที่ทนต่อสภาพอากาศร้อน พบได้ทั่วไปในที่โล่ง และมีความชื้นสูง รากของหญ้าคามีสาร 5 ชนิด ช่วยบำรุงและป้องกันโรคต่างๆได้
หญ้าคา สมุนไพรพื้นบ้านใกล้ตัว
หญ้าคา คือ วัชพืชที่ทนต่อสภาพอากาศร้อน พบได้ทั่วไปในที่โล่ง และมีความชื้นสูง รากของหญ้าคามีสาร 5 ชนิด ช่วยบำรุงและป้องกันโรคต่างๆได้

หญ้าคา

หญ้าคา ( Imperata Cylindrica ) คือ วัชพืชชนิดหนึ่งที่มีใบแหลมคมเจริญเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้งและมีแสงแดดส่องถึง โดยทั่วไปชาวบ้านจะใช้ประโยชน์จากใบของหญ้าคา โดยสานหญ้าคาแล้วนำมาใช้ประโยชน์โดยการนำไปมุงหลังคาบ้านเรือนที่พักอาศัย หรือคอกสัตว์เลี้ยง แต่รู้หรือไหมรากหญ้าคามีองค์ประกอบทางเคมีหลายอย่างที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ได้แก่ กลูโคส (glucose), แมนนิทอล (mannitol), กรดซิตริก (citric acid), อะรันโดอิน (arundoin), เฟอร์เนอรอล (fernerol), อะไคน์ (achine),โพลีฟีนอ (polyphenols), แทนนิน (taninin), และอัลคาไล (alkali) องค์ประกอบเหล่านี้ใช้เป็นยาสมุนไพรลดไข้ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดความร้อนภายในร่างกาย บรรเทาอาการกระหายน้ำ และใช้เป็นยาห้ามเลือด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Imperata cylindica ( L. ) P. Beauv
ชื่อวงศ์ : POACEAE ( GRAMINEAE )
ชื่อเรียกอื่น : ลาลาง ลาแล เก้อฮี หญ้าแฝก หรือ หญ้าคา

ถิ่นกำเนิด

มาจากคาบสมุทรมาเลเซีย และชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน ถูกนำไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณในประเทศแถบเอเชีย ได้แก่ จีน อินเดีย ศรีลังกา ซาอุดิอาราเบีย เวียดนาม และไทย หญ้าคาเป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไปในที่โล่ง และมีความชื้นสูงทั่วประเทศ มีอายุยืนหลายปีขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนของเหง้า และเมล็ดแพร่กระจายบริเวณเขตร้อนทั่วโลก

ลักษณะทั่วไป

หญ้าคาเป็นวัชพืชที่ทนต่อสภาพอากาศร้อน โดยลักษณะของต้นหญ้าคาจะแตกกอแน่นมีลำต้นเมื่อโตเต็มที่สูงประมาณ 50 – 150 เซนติเมตร ใบแบนเรียวยาวประมาณ 20 – 50 เซนติเมตร. กว้าง 5 – 9 มิลลิเมตร จะมีปลอกหุ้มแหลมและแข็งที่ยอด ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร งอกแทงขึ้นมาจากดิน ดอกออกเป็นช่อทรงกระบอก ยาว 5 – 20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 – 3 เซนติเมตร มีดอกย่อยอยู่ติดกันแน่น เมื่อแก่จะเป็นขนฟูสีขาว อับเรณู 2 อัน สีเหลืองหรือสีส้ม ยอดเกสรเพศเมียสีชมพูหรือสีม่วง เมล็ดจะหลุดร่วงปลิวไปตามลม แพร่พันธุ์ไปได้ไกลๆ และในหนึ่งต้นสามารถผลิตเมล็ดได้มากถึง 3,000 เมล็ด

สรรพคุณ และประโยชน์

การใช้ประโยชน์ คือ ใช้มุงหลังคาบ้าน หลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อายุการใช้งาน 3 – 5 ปี พบได้ตามต่างจังหวัดของประเทศไทย และมีงานวิจัยพบว่า ที่รากของหญ้าคามีสารสำคัญอยู่ 5 ชนิด คือ ฟินอลิก ( phenolic compounds ) โครโมน ( chrmones ) ไตรเตอร์ปินอยด์ ( triterpenoid ) เซสควิทเตอร์ปินอยด์ ( sesquiterpenoids ) และ โพลีแซคคาไรด์ ซึ่งมีสรรพคุณทางตำรับยาสมุนไพรดังนี้

สรรพคุณของหญ้าคา

  • รากหญ้าคาช่วยป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายจากสารเคมีที่เป็นพิษ
  • รากหญ้าคาช่วยในการยับยั้งการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด
  • ช่วยแก้อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ใช้รากและเหง้าเป็นยาขับปัสสาวะ
  • ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • ช่วยขยายหลอดเลือด
  • ช่วยต้านการอักเสบ
  • ช่วยรักษาปัสสาวะเป็นหนอง
  • ช่วยแก้อาการตาเหลือง
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยขับระดูขาว
  • ช่วยแก้ออกหัด
  • แก้โรคดีซ่าน
  • ช่วยบำรุงไต
  • แก้ร้อนใน
  • แก้ไอ

ตำรับยา

1) แก้ไตอักเสบ ใช้รากแห้ง 30 กรัม ดอกเจ๊กกี่อึ้ง ( Solidago virga-aureus var. leiocarpa ( Benth ) A Gray ) 30 กรัม เปลือกลูกน้ำเต้า 15 กรัม เหล้าขาว 3 กรัม ต้มน้ำแบ่งกิน 2 ครั้ง วันละชุด ( ห้ามผสมเกลือกิน ) หรือใช้รากสด 60 – 120 กรัม ต้มน้ำแบ่งกิน 2-3 ครั้ง ให้หมดใน 1 วัน

2) แก้ปัสสาวะเป็นหนอง ใช้รากแห้ง 15 กรัม ใส่น้ำ 250 มิลลิลิตร ต้มให้เหลือ 50 มิลลิลิตร รินกินตอนอุ่นหรือเย็น

3) แก้ตรากตรำทำงานหนัก ช้ำใน ใช้รากสดและขิงสดขนาดเท่าๆ กัน ( 60 กรัม ) ใส่น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำ 2 ถ้วย ต้มให้เหลือ 1 ถ้วย กินวันละครั้ง

4) แก้อาเจียนเป็นเลือด ใช้รากแห้ง 30 กรัม ต้มน้ำกินหรือผสมรากบัว 15 กรัม ต้มน้ำกิน

5) แก้ออกหัด กระหายน้ำ ใช้รากแห้ง 30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มบ่อย ๆ

6) CDH ดีซ่าน ตัวเหลืองจากพิษสุรา ใช้รากสด 1 กำมือ หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มกับเนื้อหมู 500 กรัม

7) ปัสสาวะขุ่นเหมือนน้ำนม ใช้รากสด 250 กรัม ใส่น้ำ 2,000 มิลลิลิตร ต้มให้เหลือ 1,200 มิลลิลิตร ใส่น้ำตาลพอสมควรแบ่งกิน 3 ครั้ง ให้หมดใน 1 วัน หรือกินแทนชาติดต่อกัน 5 – 15 วัน เป็น 1 รอบของการรักษา

8) แก้หอบ ใช้รากสด 1 กำมือ เปลือกต้นหม่อน ( Morus alba L. ) อย่างละเท่าๆ กัน ใส่น้ำ 2 ชาม ต้มให้เหลือ 1 ชาม กินแต่น้ำ

9) แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ใช้ราก 1 กำมือ ใส่น้ำ 1 ถ้วยใหญ่ ต้มให้เหลือ 1 ถ้วยชา ( 15 มิลลิลิตร ) รินกินตอนอุ่นๆ หรือใช้รากแห้ง เมล็ดผักกาดน้ำ ( Plantago asia-tica L. ) อย่างละ 30 กรัม น้ำตาลทราย 15 กรัม ต้มน้ำกิน

10) แก้ปัสสาวะขัด ตัวบวมน้ำ ใช้รากสด 500 กรัม ลอกเปลือกที่อยู่ระหว่างข้ออก หั่นฝอยใส่น้ำ 4 ถ้วยใหญ่ ต้มให้เดือด 10 นาที เปิดดู ถ้ารากยังไม่จมน้ำ ก็ให้ต้มต่อไปจนรากจมน้ำหมด เอากากออกรินตอนอุ่นๆ ประมาณครั้งละครึ่งถ้วย กลางวัน 5-6 ครั้ง กลางคืนอีก 2-3 ครั้ง ต่อเนื่องกันจนครบ 12 ชั่วโมง ปัสสาวะจะถูกขับออกมากขึ้น

11) แก้พิษจากต้นลำโพง ใช้รากสด 30 กรัม ต้นอ้อย 500 กรัม ตำคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำมะพร้าว 1 ลูก ต้มกิน

12) แก้เลือดกำเดาออกง่าย หรือออกไม่ค่อยหยุด ใช้ช่อดอกแห้ง 15 กรัม จมูกหมู 1 อัน ต้มให้เดือดประมาณ 1 ชั่วโมง กินหลังอาหารหลายครั้ง อาจหายขาดได้ หรือใช้ขน ( ดอกแก่ ) 15 กรัม ต้มน้ำกินก็ได้หรือใช้น้ำคั้นจากรากสดกิน 1 ถ้วยชา ( 15 มิลลิกรัม ) หรือใช้รากแห้งบดเป็นผง 2.6 กรัม ผสมน้ำซาวข้าวกินหรือใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำกินขณะที่เลือดกำเดาออก ใช้ช่อดอกหรือขนตำอุดรูจมูก ช่วยห้ามเลือดกำเดาอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

หญ้าคาเพื่อสุขภาพ (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://herb-to-health.blogspot.com [14 กรกฎาคม 2562].

หญ้าคา (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.doctor.or.th [14 กรกฎาคม 2562].

หญ้าคา วัชพืชแห่งตำนาน มีความหวานเป็นยา.สืบค้นจาก : https://www.matichonweekly.com [14 กรกฎาคม 2562].

หญ้าคาสุดยอดวัชพืชสมุนไพร (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://www.acn.ac.th [14 กรกฎาคม 2562].

ผักแพว สุดยอดพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน

0
ผักแพว สุดยอดพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน
ผักแพว ผักพื้นบ้านและสมุนไพร มีกลิ่นหอม รสชาติเฉพาะตัว มีรสเผ็ดร้อน มีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคได้หลายประเภท วมทั้งโรคทางระบบประสาทที่เกิดจากความเสื่อม
ผักแพว สุดยอดพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน
ผักแพว ผักพื้นบ้านและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม รสชาติรสเผ็ดร้อน มีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคได้หลายประเภท วมทั้งโรคทางระบบประสาทที่เกิดจากความเสื่อม

ผักแพว คือ

ผักแพว ( Vietnamese Coriander ) เป็น พืชล้มลุกที่พบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ Polygonum odoratum Lour. อยู่ในวงศ์ตระกลู Polygonaceae เป็นทั้งผักพื้นบ้านและสมุนไพร ยอดอ่อน หรือใบอ่อนของผักแพว มีกลิ่นหอม รสชาติเฉพาะตัว มีรสเผ็ดร้อน ชาวบ้านทางภาคอีสานที่นิยมนำยอดอ่อน ใบอ่อนมารับประทาน เป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก ผักแกล้มอาหารรสจัด เช่น ลาบ ก้อย หรือใส่เป็นส่วนประกอบของอาหารอื่นๆ ใช้ดับกลิ่นคาวของอาหารได้เป็นอย่างดี เช่น ต้มปลา แกงป่า ( ใส่ผักแพว ) ผักแพวเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติพบได้ ทั่วไปบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือพื้นที่ชื้นแฉะ มีชื่อเรียกแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคกลาง ( ผักแพว พริกบ้า หอมจันทร์ ) ภาคเหนือ ( ผักไผ่ ) ภาคอีสาน ( ผักแพว จันทร์โฉม พริกม้า ) ภาคใต้ ( จันทร์แดง )

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

การขยายพันธุ์ สามารถทำได้ด้วยวิธีการหว่านเมล็ด ปักชำต้น และแยกเหง้า วิธีที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่ คือ วิธีปักชำ และแยกเหง้า เป็นพืชที่เจริญได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง
ราก เป็นระบบรากฝอยจำนวนมากที่แตกมาจากเหง้าใต้ดิน จากข้อเหนือดิน และข้อที่สัมผัสกับน้ำหรือดินได้
ลำต้น ลักษณะของลำต้นมีรูปทรงกลม ตั้งตรง เป็นข้อปล้อง มีขนาดเล็ก ความสูงของลำต้นมีประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร เปลือกลำต้นมีสีเขียวแกมม่วง เหง้าใต้ดินสามารถแตกออกเป็นหลายต้น แต่ไม่แตกกิ่งก้านสาขา
ใบ ลักษณะใบเรียวยาวคล้ายรูปไข่ โคนใบแคบ ปลายใบแหลม ส่วนกลางใบกว้าง มีความยาวประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร แตกเป็นใบเดี่ยวออกมาจากบริเวณข้อของลำต้น มีหูใบอยู่ทั้งสองข้างของก้านใบ ใบมีสีเขียวสดหรือเขียวเข้มเป็นมันเล็กน้อย ผิวใบและขอบใบเรียบ สามารถมองเห็นร่องเส้นกลางใบได้อย่างชัดเจน
ดอก ผักแพวมีดอกสีม่วงแดงขนาดเล็กเมื่อยังเป็นดอกตูมอยู่ แต่เมื่อบานก็จะมีสีขาวอมม่วงดูสวยงาม และกลายเป็นสีขาวเมื่อบานเต็มที่ ผักแพวจะออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง
เมล็ด ผักแพวมีเมล็ดขนาดเล็ก แก่เร็ว ร่วงง่าย และไม่ค่อยติดผล

ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ราก
สรรพคุณ : มีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคได้หลายประเภท เช่น มีฤทธิ์ในการป้องกันการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรียและไวรัสป้องกันอาการแพ้ปกป้องหลอดเลือด ป้องกันมะเร็ง ชะลอความชรา ป้องกันโรคที่มาพร้อมกับความเสื่อมต่างๆ รวมทั้งโรคทางระบบประสาทที่เกิดจากความเสื่อมต่างๆ

สรรพคุณทางยาโบราณ

ราก : ช่วยบำรุงประสาท ช่วยรักษาหอบหืด ช่วยแก้อาการไอ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก 
ใบ : ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ช่วยชะลอวัย ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยทำให้เลือดลมในร่างกายเดินสะดวก รักษาโรคหวัด ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ แก้ลม ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย อุจจาระพิการ แก้อาการเจ็บท้อง รักษาโรคตัวจี๊ด รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคตับแข็ง ลดอาการอักเสบ แก้ตุ่มคัน ผดผื่นคันจากเชื้อรา เป็นกลากเกลื้อน บำรุงเลือดลมของสตรี
ดอก : ช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปอด

คุณค่าทางโภชนาการผักแพว ( 100 กรัม )

พลังงาน 54 กิโลแคลอรี่
น้ำ 89.4 กรัม
เส้นใยอาหาร 1.9 กรัม
โปรตีน 1.6 กรัม
ไขมัน 0.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม
แคลเซียม 573 มิลลิกรัม
เหล็ก 2.9 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 8,112 หน่วยสากล
วิตามินบี1/ 0.05 มิลลิกรัม
วิตามินบี2/ 0.59 มิลลิกรัม
วิตามินบี3/ 1.7 มิลลิกรัม
วิตามินซี 77 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม

ข้อควรระวัง

เนื่องจากผักแพวมีรสเผ็ดร้อน หากรับประทานในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนภายในช่องปาก คอ และระคายเคืองกระเพาะอาหารได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ผักแพว สรรพคุณและประโยชน์ของผักแพว (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://region4.prd.go.th [18 กรกฎาคม 2562].

ผักแพว สรรพคุณ และการปลูกผักแพว (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://puechkaset.com [18 กรกฎาคม 2562].

ผักแพว สุดยอดผักพื้นบ้าน ช่วยชะลอวัย ต้านมะเร็ง จะแกล้มลาบ ก็แซบอีหลี! (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://goodlifeupdate.com [18 กรกฎาคม 2562].

ผักแพว / Vietnamese coriander (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://www.foodnetworksolution.com [18 กรกฎาคม 2562].

ต้นชะคราม วัชพืช สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณ

0
ต้นชะคราม วัชพืช สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณ
ชะคราม ( Seablite ) เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทุกประเทศทั่วโลก ขยายพันธ์นั้นใช้การปักชำมีลำต้นแตกกิ่งทรงพุ่มขนาดเล็ก พบได้บริเวณแถบจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับทะเล
ต้นชะคราม วัชพืช สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณ
ชะคราม ( Seablite ) มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง พบได้บริเวณแถบจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับทะเล

ต้นชะคราม คือ

ชะคราม ( Seablite ) เป็น พืชล้มลุกมีอายุหลายปี การขยายพันธ์นั้นใช้การปักชำมีลำต้นแตกกิ่งทรงพุ่มขนาดเล็ก จัดว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทุกประเทศทั่วโลก ทั้งเอเชีย ยุโรป อเมริกา และแอฟริกาส่วนประเทศไทยพบได้บริเวณแถบจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับทะเลทางภาคตะวันออกและต่อเนื่องมาจนถึงภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งจะพบการเจริญเติบโตตามพื้นที่โล่งดินเค็มถัดจากแนวป่าโกงกางหรืชายทะเลออกมาอาทิ ชายป่าโกงกาง และนาเกลือ เป็นต้น

ชะคราม Sueda maritima เป็นพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Suaeda maritime ( L. )
Dumort. จัดอยู่ในวงตระกูลวงศ์ Chenopodiaceae มีชื่อเรียกของต้นชะครามแต่ละท้องถิ่นภาคกลาง เรียกว่า ต้นชะคราม จังหวัดสมุทรสาคร เรียกว่า ชั้วคราม ส่าคราม ล้าคราม ล่าคราม เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชะคราม

ลำต้น มีลำต้นแตกกิ่งเป็นทรงพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ 0.3 – 1.5 เมตร ลำต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่จะมีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีแดงเรื่อ
ใบ มีลักษณะเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวเรียงสลับเบียดแน่นยาว มีความยาวประมาณ 2 – 5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 – 5 มิลลิเมตร ใบอวบน้ำจะมีสีเขียวสด แต่ถ้าในฤดูแล้งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงอ่อนๆ
ดอก มีขนาดเล็กเป็นดอกสมบูรณ์เพศออกดอกที่ปลายยอดเป็นช่อแขนงความยาวของช่อดอกประมาณ 5 – 15 เซนติเมตรแต่ละแขนงมีดอกย่อยเกาะกันเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก ซ้อนกันตามความยาวของก้านช่อดอกมีใบประดับย่อยที่ฐานวงกลีบรวม มี 2-3 ใบ รูปขอบขนานมน มีวงกลีบรวม จำนวน 5 กลีบ หรือไม่มีเลย เกสรเพศผู้ติดตรงข้ามกับกลีบรวม มีจำนวนเท่ากับกลีบรวมหรือน้อยกว่า ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกัน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ มีช่องเดียว
ผล และเมล็ด มีรูปทรงกลมรี ขนาดเล็ก ขนาดผลประมาณ 2 มิลลิเมตร ผิวเรียบเปลือกผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่มีสีน้ำตาล ด้านในผลประกอบด้วยเมล็ด 1 เมล็ดที่มีลักษณะกลมแบน ยาวประมาณ 0.5 – 0.8 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลและเป็นมันวาว เมื่อเมล็ดแก่จะแตกออกเป็น 2 ซี่ ภายในมีเมล็ดแก่มีเมล็ดย่อยจำนวนมากเมื่อผลแก่จะแตกหลุดและปลิวไปตามลม และเมื่อตกในพื้นดินที่มีความชุมชื้นจะงอกขึ้นมาเป็นต้นใหม่
ราก มีลักษณะเป็นรากแก้ว เป็นรากที่งอกจากเมล็ดและหยั่งลึกลงไปในดินทางแนวดิ่งทำให้ต้นชะครามยืนต้นอยู่ได้และมีรากแขนงเป็นรากที่แตกแขนงจากรากแก้วแผ่ออกไปตามแนว นอกจากนั้นยังมีรากที่เกิดตามบริเวณข้อระดับต่ำของบริเวณลำต้นแก่ที่มีผิวหยาบ

คุณค่าทางโภชนาของชะคราม

ใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญ

โปรตีน 1.81 %
ไขมัน 0.15 %
กากใยอาหาร 2.40 %
คาร์โบไฮเดรต 2.97 %
แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม
โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม
วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม

สรรพคุณ และประโยชน์

ชะครามมีสรรพคุณ และประโยชน์สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ
ส่วนที่ใช้ได้จากใบ ราก และลำต้น สรรพคุณของชะคราม มีดังนี้

  • ช่วยรักษาแผลฝี
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยบำรุงเส้นผม
  • ช่วยบำรุงสายตา
  • ช่วยบำรุงกระดูก
  • ช่วยแก้อาการตามัว
  • ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย
  • ช่วยแก้อาการผื่นคัน
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • ช่วยรักษาโรคคอพอก
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • ช่วยรักษาโรคหนองใน
  • ช่วยรักษาโรคโกโนเรีย
  • ช่วยรักษาแผลบวมหนอง
  • ช่วยกระตุ้นระบบประสาท
  • ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
  • ช่วยรักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย
  • สรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยรักษาอาการปวดตามเส้นเอ็น 

ประโยชน์ของชะครามทางด้านการแพทย์

มีการวิจัยพบสารสกัดสำคัญของชะคราม มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

ประโยชน์ของชะครามทางด้านเมนูอาหาร

นิยมนำยอดอ่อน และใบอ่อน มาประกอบอาหารได้หลายเมนูเพื่อเพิ่มรสเค็มให้แก่อาหาร
อาทิ ไข่เจียวใบชะคราม แกงส้ม ห่อหมกใบชะคราม พะแนงหมู – เนื้อ แกงเลียงใบชะคราม
มัสมั่น แกงหอยแครง แกงปู รวมถึงรับประทานเป็นผักสดคู่กับน้ำพริกหรืออาหารอื่นๆ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ชะคราม ผักกลิ่นฉุน สมุนไพร ประโยชน์และโทษของใบชะคราม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://fongza.com [17 กรกฎาคม 2562].

ชะคราม สมุนไพร พืชล้มลุก ประโยชน์และโทษของใบชะคราม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://beezab.com [17 กรกฎาคม 2562].

ชะคราม ประโยชน์ และสรรพคุณชะคราม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://puechkaset.com [17 กรกฎาคม 2562].

ผักกูด ( Paco Fern ) สมุนไพรพื้นบ้านพิชิตความดัน

0
ผักกูด ( Paco Fern ) สมุนไพรพื้นบ้านพิชิตความดัน
ผักกูด คือ ผักพื้นบ้านที่เป็นได้ทั้งอาหารและยาสมุนไพรของชาวบ้าน มีต้นตระกูลมาจากเฟิร์น เติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมเย็นและชื้น
ผักกูด ( Paco Fern ) สมุนไพรพื้นบ้านพิชิตความดัน
ผักพื้นบ้านที่เป็นได้ทั้งอาหารและยาสมุนไพรของชาวบ้าน มีต้นตระกูลมาจากเฟิร์น เติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมเย็นและชื้น

ผักกูด

ผักกูด ( Paco Fern ) คือ ผักพื้นบ้านที่เป็นได้ทั้งอาหารและยาสมุนไพรของชาวบ้าน มีต้นตระกูลมาจากเฟิร์น ซึ่งมีด้วยกันอยู่ 3 ชนิด ที่นิยมนำมารับประทานจะแตกต่างกันบริเวณสีของลำต้นและใบ ลักษณะทั่วไปลำต้นสูงกว่า 1 เมตรลำต้นแตก ออกจากเหง้าหัวที่อยู่ใต้ดิน โคนจะมีสีน้ำตาลเข้ม ขอบใบเกล็ดหยักคล้ายซี่ฟัน ก้านใบกูดน้ำยาวประมาณ 70 เซ็นติเมตร ขณะอายุอ่อนมีใบคล้ายขนนกเป็นชั้นเดียว แต่เมื่ออายุมากขึ้นใบจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นรูปขนนกสองชั้น โดยบริเวณปลายยอดอ่อนจะม้วนงอแบบก้นหอย เติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมเย็นและชื้น โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนและพบมากในป่าทึบ ชื่อตามท้องถิ่นอื่น ๆ ผักกูดขาว (ชลบุรี), หัสดำ (นครราชสีมา, สุราษฎร์ธานี), กูดน้ำ (แม่ฮ่องสอน), ไก้กวิลุ ปู่แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),แลโพโด้ แหละโพะโด้ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), แทรอแปล๊ะ (กะเหรี่ยงแดง), หย่ายจ๊วด (เมี่ยน), เหล้าชั้ว (ม้ง), บ่ะฉ้อน (ลั้วะ), ร่านซู้ล (ขมุ), กูดคึ (ภาคเหนือ), ผักกูด (ภาคกลาง), กูดกิน เป็นต้น ชื่อสามัญของผักกูด : Paco fern, Small vegetable fern, Vegetable fern ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diplazium esculentum (Retz.) Sw. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Athyrium esculentum (Retz.) Copel.) จัดอยู่ในวงศ์ ATHYRIACEAE

มีความพิเศษที่ถือเป็นอาหารสุขภาพ เพราะแม้ว่ามันจะเป็นพืชผักที่ขึ้นตามริมทาง ริมลำน้ำคลองบึง แต่ถ้าบริเวณนั้นมีสภาพพื้นที่ที่ไม่สมบูรณ์ มีสารเคมีเจือปน อากาศไม่บริสุทธิ์ ก็จะไม่ขึ้นหรือเจริญเติบโตไม่ได้เด็ดขาด ในทางตรงข้ามหากดินมีความสมบูรณ์ของสารอาหาร ไม่มีสารพิษและสารเคมี อากาศดี นั่นคือพื้นที่ที่มันขึ้นได้ดีมาก

ลักษณะของผักกูด

อุดมด้วยสารอาหารทางโภชนาการ เป็นแหล่งของธาตุเหล็ก แคลเซียม และเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเป็นอาหารของคนที่ชอบขาดสารอาหารเหล่านี้ได้อย่างดี นอกจากนี้มีสรรพคุณทางยาที่สามารถช่วยรักษาและป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกินง่ายเพราะใช้ปรุงเป็นอาหารได้ตั้งแต่ต้มเป็นผักกินเคียงกับบรรดาน้ำพริก ทำเมนูยำ ผัดผักน้ำมันหอย แกงกะทิ เป็นต้น แล้วถ้าได้ทราบถึงประโยชน์ที่มีสุขภาพด้วยแล้ว จะช่วยเพิ่มความอยากกินให้มากอีกยิ่งขึ้นเชียว

คุณค่าทางโภชนาการของผักกูด

ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานเพียง 34 กิโลแคลอรี่ คอเลสเตอรอล 0 มิลลิกรัม  โอเมก้า-3 โอเมก้า-6 วิตามินเอ 3617 IU คาร์โบไฮเดรต 5.54 กรัม โปรตีน 4.55 กรัม ไขมันทั้งหมด 0.40 กรัม ไนอาซิน 4.980 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.210 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.020 มิลลิกรัม วิตามินซี 26.6 มิลลิกรัม โซเดียม 1 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 370 มิลลิกรัม แคลเซียม 32 มิลลิกรัม ทองแดง 0.320 มิลลิกรัม เหล็ก 1.31 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 34 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.510 มิลลิกรัม ซีลีเนียม 0.7 ไมโครกรัม สังกะสี 0.83 มิลลิกรัม แคโรทีน-ß 2040 ไมโครกรัม แคโรทีน-อัลฟา 261 ไมโครกรัม นอกจากนี้ยังมีวิตามิน B-complex กลุ่มที่มีคุณค่าเช่นniacin, riboflavin และ thiamin ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง

10 สรรพคุณของผักกูด ประโยชน์ในการรักษาโรค

1. มีธาตุเหล็กซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ มีประโยชน์ต่อการช่วยดูดซึมสารอาหารและเอนไซม์บางชนิดจากโปรตีนเข้าสู่ร่างกายได้ดี ธาตุเหล็กยังมีหน้าที่สำคัญคือการเป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดแดง

2. อุดมด้วยเบต้าแคโรทีนสูงซึ่งจะช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ เมื่อถูกย่อยสลายที่ตับแล้วจะได้วิตามินเอ ป้องกันการเสื่อมของดวงตาและลดความเสี่ยงการเป็นต้อกระจกลงได้

3. นำส่วนของใบมาต้มหรือกินสดจะมีสรรพคุณช่วยแก้พิษไข้ ลดอาการไข้ตัวร้อน รักษาพิษอักเสบ ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง เลือดออกตามไรฟัน และช่วยขับปัสสาวะ

4. ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดลง ซึ่งจะเป็นผลดีในการลดโอกาสการเกิดโรคเรื้อรังได้หลายชนิด อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือภาวะหัวใจขาดเลือด

5. ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีความแข็งแรง มีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันและต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย

6. มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายไม่ให้อ่อนเพลียหรือซีดง่าย ทำให้ระบบการทำงานภายในต่างๆ เกิดความสมดุลและทำงานดีขึ้น เพราะอุดมด้วยสารอาหารอย่างวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นมากมาย

7. เป็นผักที่ใบมีรสเย็นจึงมีคุณสมบัติช่วยดับร้อนในร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถปรับระดับของอุณหภูมิภายในเข้ากับสภาพอากาศร้อนๆ ได้ดีมาก

8. มีประโยชน์เป็นแหล่งของเส้นใยอาหารและแคลเซียมสูงในปริมาณที่กินแทนนมตามหลักโภชนาการแนะนำได้เลยทีเดียว

9. มีฤทธิ์ในการเป็นอาหารและยาช่วยระบาย หากนำใบมาตำพอแหลกแล้วพอกบริเวณผิวหนังที่มีอาการคันจะช่วยบรรเทาและทำให้ผิวหนังรู้สึกสบายขึ้น

10. มีธาตุฟอสฟอรัสซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อร่างกายพอๆ กับแคลเซียม จะช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อเซลล์ ช่วยในการทำงานของเซลล์ การดูดซึมและระบบการขับถ่ายด้วย

หากคุณเองก็ยังไม่รู้จักหรืออาจจะรู้จักแต่ไม่เคยกินสักครั้ง เห็นที่คราวนี้คงต้องหันกลับมาสนใจทำความรู้จักกับผักพื้นบ้านชนิดนี้กันมากขึ้นแล้ว เพราะมีสรรพคุณและประโยชน์ทางสารอาหารมากมายซึ่งร่างกายต้องการ และเป็นยาสมุนไพรใกล้ตัวที่จะช่วยรักษาและป้องกันโรค ทำให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี โดยปลอดภัยจากสารเคมีโดยเฉพาะที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ

ข้อควรระวัง

มีสารออกซาเลตสูงมาก สารชนิดนี้จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นนิ่วและอาจมีปัญหาไตอักเสบ ซึ่งไม่ควรทานแบบดิบๆ ควรนำไปปรุงให้สุกก่อนทุกครั้ง เพราะสารออกซาเลตจะถูกสลายเมื่อถูกความร้อน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ประโยชน์ของผักกูด ไอเดียการกินการใช้ผักกูดเพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.honestdocs.co [26 มิถุนายน 2562].
ผักกูด..ผักพื้นบ้าน สรรพคุณเป็นยาชั้นดี (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://kaijeaw.com [26 มิถุนายน 2562].

ชงโค สมุนไพรไม้ประดับ สรรพคุณเป็นยาดับพิษไข้ แก้ไอ

0
ชงโค เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึก ใช้แก้พิษไข้ รักษาอาการไอ เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
ชงโค สมุนไพรไม้ประดับ สรรพคุณเป็นยาดับพิษไข้ แก้ไอ
ชงโค เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึก ใช้แก้พิษไข้ รักษาอาการไอ เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร

ชงโค คือ

ชงโค ชื่อสามัญ คือ Orchid tree, Purple orchid tree, Butterfly tree, Purple bauhinia, Hong kong orchid tree
ชงโค ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia purpurea L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)
สมุนไพรชงโค มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ดอกตีนวัว, เสี้ยวหวาน กะเฮอ สะเปซี ( แม่ฮ่องสอน ), เสี้ยวดอกแดง ( ภาคเหนือ ), ชงโค เสี้ยวเลื่อย ( ภาคใต้ ) เป็นต้น

ถิ่นกำเนิดของชงโค

โดยธรรมชาติแล้วชงโคนั้นเป็นไม้ที่ชอบแดด ควรปลูกไว้ในดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายสามารถระบายน้ำดี มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีนรวมถึงฮ่องกง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐฟลอริดา ทางตอนใต้ของรัฐเทกซัส ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศสหรัฐอเมริกานิยมปลูกกันที่รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐฮาวาย และประเทศไทย ปัจจุบันมีให้เลือกหลายสายพันธุ์ เช่น ชงโคฮอลแลนด์ ดอกสีชมพูเข้ม ออกดอกดก หรือชงโคออสเตรเลีย ดอกสีขาว นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อชมความสวยงามของดอก ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตลอดวัน และยังให้ร่มเงาเนื่องจากเป็นไม้ทรงพุ่มแผ่กว้าง

การขยายพันธุ์

โดยมากใช้วิธีเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ ช่วงเวลาออกดอกของชงโคจะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม ฝักจะเริ่มแก่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมกราคม ใช้เวลาในการปลูก 1-2 ปี สามารถโตได้ถึง 2-3 เมตร และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสง ปลูกเลี้ยงง่าย ทนโรคทนแมลง ไม่เลือกสภาพอากาศ เพราะชงโคเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุไม่นาน ปลูกไม่ถึง 20 ปี ต้นก็จะหยุดการเจริญเติบโตจึงต้องตัดทิ้งและปลูกใหม่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ชงโคเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทพลัดใบ มีลำต้นตั้งตรง ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งเปลือกลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกขรุขระ
ใบ ชงโค เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แทงออกเป็นเดี่ยวสลับข้างกันบนข้อกิ่ง ใบมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวสด ลักษณะค่อนข้างมน แผ่นใบ และขอบใบเรียบ โคนใบ และส่วนปลายจะหยักโค้งมนตรงกลาง ทำให้ใบแลดูคล้ายใบแฝดหรือคล้ายรูปไต ใบกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร ใบอ่อนกางแผ่น้อยทำให้แลดูคล้ายปีกผีเสื้อ ส่วนการพลัดใบจะเริ่มพลัดใบไปเรื่อยตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม และจะเริ่มแทงยอด และใบอ่อนเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนเดือนเมษายน-พฤษภาคม หลังจากนั้น จะเริ่มแทงช่อดอกออกมาทีหลัง และเริ่มติดฝัก
ดอก ชงโคเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกออกเป็นช่อบริเวณซอกใบที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 5-10 ดอก ดอกประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอมชมพู ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เมื่อดอกบาน ดอกจะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกสามารถออกได้ตลอดทั้งปี ชงโคจะเริ่มออกดอกหลังจากผลิใบชุดใหม่ออกมาแล้ว คือหลังเดือนเมษายนเป็นต้นไป
ผล หรือฝักชงโคมีลักษณะเป็นฝักคล้ายฝักถั่ว มีรูปร่างแบน ฝักมีขนปกคลุม ฝักมีขนาดกว้าง 1-2 ซม. ยาว 20-25 ซม. ฝักจะเริ่มทยอยติดตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม จนแก่ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม ฝักแก่จะมีสีน้ำตาล และเมื่อแก่จัดจะมีสีดำ

สรรพคุณทางสมุนไพรของชงโค

ใบ

  • ใบนำมาตากแดด ใช้ชงเป็นชาดื่มแก้อาการไอ
  • ใบนำมาขยี้ และผสมน้ำเล็กน้อยใช้ประคบรักษาแผล และช่วยในการห้ามเลือด
  • ใบชงโคล้างสะอาดตำให้แหลกแล้วนำมาพอกฝี รักษาแผลได้
  • ใบอ่อนใช้เคี้ยวเพื่อ ลดกลิ่นปาก

ดอก

  • ดอก นำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยลดอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ
  • ใช้ดอกแก้พิษร้อนจากเลือดและน้ำดี แก้ไข้

เปลือก

  • เปลือกลำต้นนำมาต้มน้ำดื่ม ใช้รักษาอาการท้องเสีย และอาหารเป็นพิษ
  • น้ำต้มจากเปลือกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ

ราก

  • ใช้รากชงโคล้างสะอาด ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก ถ่ายยาก และยังมีฤทธิ์ช่วยขับลมในร่างกาย
  • น้ำต้มจากรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ชงโค (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.thaikasetsart.com [10 กรกฎาคม 2562].

ชงโคเสน่ห์แห่งใบและดอกจากพงไพร (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.doctor.or.th [10 กรกฎาคม 2562].

ชงโค (Bauhinia purpurea) (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://www.pttreforestation.com [10 กรกฎาคม 2562].

ควินัว ( Quinoa ) ธัญพืชซุปเปอร์ฟู้ด ประโยชน์ป้องกันมะเร็ง

0
ควินัว ( Quinoa ) ธัญพืชซุปเปอร์ฟู้ด ป้องกันมะเร็งและเบาหวาน
ควินัว ( Quinoa ) คือ เมล็ดธัญพืชชนิดหนึ่ง หรือพืชตระกูลข้าว มีลักษณะเป็นเมล็ดกลมๆ อุดมด้วยสารอาหารต่างๆ สามารถนำมารับประทานแทนข้าวได้
ควินัว ( Quinoa ) ธัญพืชซุปเปอร์ฟู้ด ป้องกันมะเร็งและเบาหวาน
ควินัว ( Quinoa ) คือ เมล็ดธัญพืชชนิดหนึ่ง หรือพืชตระกูลข้าว มีลักษณะเป็นเมล็ดกลมๆ อุดมด้วยสารอาหารต่างๆ สามารถนำมารับประทานแทนข้าวได้

ควินัว คืออะไร?

ควินัว ( Quinoa ) คือ เมล็ดธัญพืชชนิดหนึ่ง หรือพืชตระกูลข้าว มีลักษณะเป็นเมล็ดกลมๆ อยู่ในจำพวกเดียวกับข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ผักปวยเล้ง และหัวบีท ปลูกเพื่อกินเมล็ดเป็นอาหารชั้นเลิศสามารถทดแทนข้าวและธัญพืชอื่น ๆ ได้เพราะมีโปรตีนสูง และควินัวอุดมด้วยสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างมาก และเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง อุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือกากใยอาหารที่สูงเช่นกัน จึงทำให้ย่อยง่าย กระเพาะไม่ต้องทำงานหนัก และขับถ่ายได้ดี ซึ่งเป็นธัญพืชที่พบมากอยู่ทางทวีปอเมริกาใต้มีประโยชน์มากมายจนได้ชื่อว่าเป็น “ซูเปอร์ฟู้ด” สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารเช้าแทนข้าวได้ โดยก่อนรับประทานต้องนำมาหุงให้สุก ซึ่งใช้เวลาในการหุงไม่นาน เมื่อสุกแล้วจะนิ่มและมีความกรุบกรอบ และยังสามารถนำไปประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลายเมนูอีกด้วย

ประโยชน์ของควินัว

  • มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
  • อุดมด้วยไฟเบอร์หรือกากใยอาหาร ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
  • ลดการเสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือโรคลำไส้ต่างๆ
  • ช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องนาน และปรับสมดุลของระดับน้ำตาลภายในเลือด
  • ช่วยลดระดับไขมันชนิดไม่ดีในเลือด
  • ช่วยขจัดคราบไขมันชนิดไม่ดีที่เกาะอยู่ตามผนังลำไส้
  • มีคอเลสเตอรอลต่ำ เหมาะกับทุกคนที่อยากลดปริมาณคอเลสเตอรอล หรือ ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยโรค
  • เบาหวาน โรคไขมันอุดตันเส้นเลือด
  • ช่วยผลิตแบคทีเรียที่ดีให้แก่ร่างกาย และขจัดแบคทีเรียที่ไม่ดีออกจากร่างกาย
  • อุดมไปด้วยวิตามินบี 2 ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ
  • ช่วยซ่อมแซมและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ
  • ช่วยปกป้องและบำรุงรากผมจากภายใน
  • ช่วยซ่อมแซมผมที่เสียหายและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม
  • โปรตีนในควินัวยังช่วยรักษาผมแตกปลาย
  • ไทโรซีนในควินัวช่วยรักษาสีเดิมของเส้นผม
  • ช่วยผ่อนคลายหลอดเลือด
  • ช่วยลดอาการไมเกรนได้อีกด้วย
  • ช่วยในการย่อยอาหาร
  • เส้นใยยังช่วยปกป้องหัวใจ
  • ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

ลักษณะควินัวทั่วไป

ควินัวมีลักษณะเป็นเมล็ดกลม ๆ อยู่ในจำพวกเดียวกับข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ผักปวยเล้ง และหัวบีท ซึ่งควินัวอุดมด้วยสารอาหารต่าง ๆ ให้พลังงานสูง
อุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือกากใยอาหารที่สูงจึงช่วยให้ย่อยง่ายขับถ่ายได้ดี และทำให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ซึ่งเมล็ดควินัวสามารถนำไปประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลายเมนูอีกด้วย

สายพันธุ์ควินัว และความแตกต่างแต่ละสี

1. ควินัวสีขาว ( White Quinoa ) เป็นพันธุ์ที่พบมากที่สุด และใช้เวลาในการหุงหรือปรุงให้สุกได้ง่าย ควินัวสีขาวมีเนื้อสัมผัสที่กรุบกรอบน้อยที่สุด และมีรสชาติหอมอ่อนที่สุด อร่อยกินง่าย
2. ควินัวสีแดง ( Red Quinoa ) เป็นพันธุ์ที่มีความเข้มข้นมากกว่าเล็กน้อย ทั้งในด้านรสชาติ ความกรุบกรอบในขณะที่ใช้เวลาหุงหรือปรุงอาหารนานกว่าเล็กน้อย จะอุดมไปด้วยวิตามิน E รวมทั้ง โฟเลต และมีไฟเบอร์มากกว่าสีขาว
3. ควินัวสีดำ ( Black Quinoa ) เป็นพันธุ์ที่มีมีรสชาติและกรุบกรอบดีที่สุดต้องแต่ก็ใช้เวลาในการหุงหรือปรุงให้สุกเป็นเวลานานกว่าควินัวสีขาวและสีแดง มีสารแอนโทไซยานินที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน

สารอาหารสำคัญในควินัว

ควินัวอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ที่สำคัญหลากชนิด ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการเมื่อเปรียบเทียบกับธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสี และมีโปรตีนสูงแต่มีไขมันต่ำ

ควินัวที่สุกแล้ว 1 ถ้วยหรือประมาณ 185 กรัม  ให้พลังงาน 222 แคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 39 กรัม
โปรตีน 8 กรัม
ไขมัน 6 กรัม
เส้นใยอาหาร 5 กรัม
น้ำตาล 1 กรัม
โปรตีน: 8 กรัม
ไฟเบอร์: 5 กรัม
แมงกานีส: 58% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อ 1 วัน (ของ RDA)
แมกนีเซียม: 30% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อ 1 วัน (ของ RDA)
ฟอสฟอรัส: 28% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อ 1 วัน (ของ RDA)
โฟเลต: 19% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อ 1 วัน (ของ RDA)
ทองแดง: 18% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อ 1 วัน (ของ RDA)
เหล็ก: 15% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อ 1 วัน (ของ RDA)
สังกะสี: 13% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อ 1 วัน (ของ RDA)
โพแทสเซียม: 9% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อ 1 วัน (ของ RDA)
วิตามิน B1, B2 และ B6 มากกว่า กว่า 10%

นอกจากนี้ ควินัวยังปราศจากโปรตีนกลูเตน การเลือกรับประทานควินัวจึงดีต่อสุขภาพและยังเหมาะกับผู้ที่แพ้กลูเตนอีกด้วย

วิธีหุงควินัว

1. หุงหม้อหุงข้าว
ล้างควินัวให้สะอาด ตักขึ้นสะเด็ดน้ำ จากนั้นใส่ควินัว 1 ถ้วย น้ำ 2 ถ้วย และเกลือป่นเล็กน้อย ลงในหม้อหุงข้าว (อัตราส่วน 1 : 2) จากนั้นกดปุ่มหุงข้าว ใช้เวลาประมาณ 20 นาที จนควินัวสุก ใช้ส้อมค่อย ๆ คนคีนัวให้ร่วน พักไว้พออุ่น
2. หุงในหม้อเตาแกส
ล้างควินัวให้สะอาด ตักขึ้นสะเด็ดน้ำ จากนั้นใส่ควินัว 1 ถ้วย น้ำ 2 ถ้วย และเกลือป่นเล็กน้อยลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟปานกลาง ต้มประมาณ 5 นาทีจนเดือด จากนั้นลดเป็นไฟอ่อน หุงต่ออีกประมาณ 15 นาทีจนน้ำแห้ง และควินัวสุก ยกลงจากเตา ใช้ส้อมค่อย ๆ คนควินัวให้ร่วน พักไว้พออุ่น

ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงในการกินควินัว

ควินัวเป็นเมล็ดพืชที่มีประโยชน์ไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง หากกินควินัวมากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางเดินอาหาร อาทิเช่น
1.กินควินัวมากเกินไป อาจทำให้เกิดแก๊สส่วนเกินในท้อง อาการท้องอืด และท้องร่วงได้
2.Quinoa มีกรดออกซาลิกในปริมาณมากถึงแม้ร่างกายสามารถขับกรดนี้ออกทางปัสสาวะได้ แต่ก็สามารถจับกับแคลเซียมและก่อให้เกิดนิ่วในไตได้
3.ผู้ที่มีอาการแพ้สารในควินัว ควรหลีกเลี่ยงการทานคิวนัว
4.สตรีตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ควินัว (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.เกร็ดความรู้.net [22 มิถุนายน 2562].

ควินัวออร์แกนิค (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.sunflowersprout.com [22 มิถุนายน 2562].

11 Proven Health Benefits of Quinoa (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.healthline.com [22 มิถุนายน 2562].

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.