การตรวจค่า ESR /mm / hr
สำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อทราบเกี่ยวกับอัตราการตกตะกอนของทางเม็ดเลือดแดง ESR ในการทราบผลนั้นจะใช้วิธีการนำเอาส่วนที่เป็นเลือดอันได้มาจากการนำเอาหลอดและเข็มดูดเลือดออกมาแบบทันทีจากนั้นก็ใส่เข้าไปภายในหลอดรับเลือดแล้วทิ้งนับเวลาเป็นระยะเวลาหนึ่งชั่วโมง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดให้สังเกตว่ามีส่วนที่เป็นเม็ดเลือดแดงเกิดการตกตะกอนสูงขึ้นมาโดยจะวัดเป็นปริมาณลักษณะมิลลิเมตร สำหรับอัตราของความสูงที่เกิดขึ้นนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ความแตกต่างเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการบ่งชี้ลักษณะความร้ายแรงของโรค ลักษณะอาการอักเสบ ลักษณะอาการขาดเลือดในส่วนของเนื้อเยื่อที่ในบางส่วนอาจเกิดการตายลง
ในการสรุปนั้นในส่วนของอัตราค่า ESR นั้นเป็นสิ่งที่แสดงค่าแบบหยาบ ๆ จะไม่มีการเจาะจงเข้าไปที่ส่วนของอวัยวะอันเป็นส่วนเกิดโรคหรือไม่สามารถที่จะนำไปใช้ในการเป็นเครื่องช่วยเพื่อที่จะบ่งชี้ในระดับชั้นขั้นต้นอย่างง่ายต่อขั้นของการเตรียมการในการทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายไม่ให้เกิดความยุ่งยากและทำให้เกิดการประหยัด ส่วนของเม็ดเลือดแดงนั้นตามปกติมักจะมีโปรตีนที่อยู่ภายในส่วนของฮีโมโกลบินอยู่จำนวนหนึ่ง โปรตีนนี้จะส่งผลทำให้เม็ดเลือดแดงนั้นมีระดับของน้ำหนักที่สูงกว่าในส่วนของพลาสมานั่นจึงทำให้เกิดการตกตะกอนเกิดขึ้น ทำให้เห็นว่าส่วนของการตกตะกอนนั้นค่อย ๆ จมลงไปที่ก้นของหลอดทดลอง ในบุคคลที่มีสุขภาพเป็นปกตินั้นจะมีอัตราความเร็วที่จะส่งผลทำให้เกิดการตกตะกอนได้ส่วนหนึ่งแต่ในบุคคลที่ป่วยเป็นโรคบางประเภทจะส่งผลทำให้โปรตีนนั้นเกิดการเพิ่มขึ้นได้ภายในกระแสเลือด การนี้จึงทำให้ค่า Erythrocyte Sedimentation Rate ESR นั้นย่อมมีค่าที่สูงมากกว่าตามปกติ ( เมื่อผ่านการเทียบกับส่วนของมาตรฐานผู้ที่สุขภาพเป็นไปตามปกติ )
ค่าปกติทั่วไป ( หน่วย : มม / ชั่วโมง )
ชาย : ค่า ESR ≤ 15 mm / hr
หญิง : ค่า ESR ≤ 20 mm / hr
เด็ก : ค่า ESR ≤ 10 mm / hr |
[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
การตรวจค่า RETICULOVYTE COUNT%
การตรวจค่า RETICULOVYTE COUNT% เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะทราบจำนวนของเม็ดเลือดแดง ที่ยังคงไม่เติบโตแบบเต็มที่แต่กลับมีการหลุดเข้าไปอยู่ภายในกระแสเลือด ตรวจออกมาในลักษณะของร้อยละ ( เปอร์เซ็นต์ )
ส่วนของ RETICULOVYTE เป็นส่วนของเม็ดเลือดแดงแบบที่เรียกว่าอยู่ในช่วงของวัยรุ่นเลยก็ว่าได้ เป็นส่วนที่มีร่องรอยของทางนิวเคลียสที่หลงเหลืออยู่เป็นลักษณะของจุดสีม่วงออกปนน้ำเงินติดอยู่ในนั้น ( หากคุณลองนำไปมองผ่านด้วยกล้องขายนั้นคุณจะพบว่ามีความคล้ายคลึงกันกับตาข่าย ) ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ยังไม่มีคุณสมบัติพร้อมต่อการเข้าไปทำหน้าที่สำคัญที่เป็นเสมือนกับเม็ดเลือดแดงแบบทั่วไปที่อยู่ภายในกระแสเลือด
ส่วนของการที่ RETICULOVYTE นั้นหากเข้าไปอยู่ภายในกระแสเลือดแบบที่สูงเกินไปมากกว่าเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดนั่นย่อมแสดงถึงอาจเป็นการสร้างการเกิดความผิดปกติของส่วนไขกระดูกซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่เป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญและเป็นแหล่งในการผลิตเม็ดเลือดแดงหรืออาจจะเป็นการที่ร่างกายนั้นเกิดการสูญเสียเลือดหรืออาจเกิดความต้องการเกี่ยวกับกับออกซิเจนที่สูงผิดปกตินั่นจึงทำให้เกิดการต้องเร่งส่ง RETICULOVYTE ไปยังกระแสเลือด นอกจากนี้ยังรวมถึงการเกิดโรคโลหิตจางได้เช่นกัน
สำหรับค่า RETICULOVYTE COUNT ประกอบด้วย
– ค่า RETICULOVYTE COUNT นั้นเป็นส่วนที่จะต้องยึดถือให้เป็นไปตามค่าที่ได้มีการระบุเอาไว้ภายในส่วนของรายงานที่ใช้ในการแสดงผลเลือด
– ค่าที่เป็นไปตามปกติ
RETICULOVYTE COUNT เท่ากับ 0.5 – 2.0 % ของ RBC
|
หากเป็นกรณีของค่าผิดปกติของทาง RETICULOVYTE COUNT นั้นมีด้วยกันดังนี้
1. ในกรณีของทางน้อย นั่นอาจจะเป็นการแสดงผลว่า
- เป็นผลที่อาจเกิดจากเรื่องของการมีพฤติกรรมบริโภคอาหารี่ขาดกรดสำคัญอย่าง “ กรดโฟลิก ” จนส่งผลทำให้เกิดโรคอันตรายอย่างโรคโลหิตจางประเภทร้ายแรง
- เป็นสิ่งที่สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคโลหิตจางที่เป็นผลมาจากการขาดธาตุเหล็ก
- เป็นสิ่งที่อาจเกิดกรได้รับการทำเคมีบำบัด การทำฉายรังสีบำบัด
- อาจเป็นกำลังเกิดการป่วยเป็นโรคมะเร็ง
- อาจเป็นการเกิดภาวะล้มเหลวภายในไขกระดูกเกิดขึ้นได้
2. ในกรณีของทางมาก นั่นอาจจะเป็นการแสดงผลว่า
- เม็ดเลือดแดงนั้นอาจเกิดการถูกทำลายลงด้วยสาเหตุต่าง ๆ อาทิเช่น เกิดจากการที่ระบบของภูมิคุ้มกัน, อาจเกิดจากการที่ป่วยเป็นโรคของฮีโมโกลบิน อาจเกิดจากโรคของม้าม
- อาจจะเกิดขึ้นจากการตกเลือด อาทิเช่น การป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวาร ในช่วงระยะเวลา 3 จนถึง 4 วันที่ผ่านมานั้นจึงส่งผลทำให้ในส่วนของไขกระดูกจำเป็นที่จะต้องรีบทำการผลิตเม็ดเลือดจนส่งผลทำให้เม็ดเลือดแดงที่ยังมีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ( ยังอยู่ในช่วงของวัยรุ่น ) จะถูกผลักให้ออกไปสู่ส่วนของกระแสเลือดในระยะเวลาก่อนเวลาและระยะเวลาก่อนวัยอันควร [adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
- อาจจะเกิดการตอบสนองต่อระบบการรักษาอาการที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ขาดวิตามินบี 12 หรือขาดธาตุโฟเลต ซึ่งจะเป็นสิ่งที่อาจส่งผลกระตุ้นให้เกิดการผลิตเม็ดเลือดแดงที่มากเกินไปในช่วงเวลาหนึ่งทำให้เม็ดเลือดที่เป็นเม็ดเลือดวัยรุ่นนั้นเกิดการหลุดเข้าไปภายในกระแสเลือดมากกว่าเดิมและอาจจะมีความเร็วมากกว่าที่ควรจะเป็น
การตรวจค่า Inclusion Body %
การตรวจค่า Inclusion Body % เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งวัตถุประสงค์คือ เพื่อต้องการทราบว่าในกระแสเลือดแดงที่ผิดปกติ ซึงเป็นจุดน้ำเงินเข้ม ติดอยู่ในเม็ดเลือดแดงบางเม็ดหรือไม่ ซึ่งถ้ามี มีอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ” Inclusion Body ” จะเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังมีส่วนขอนิวเคลียสติดหลงเหลืออยู่ โดยปกติเมื่อเม็ดเลือดเแดงโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส และไม่แบ่งตัว แต่ถ้าปรากฏจุดในเม็ดเลือดแดงนั่นแสดงถึงการเกิดความผิดปกติ อาจเกิดจากร่างกายได้รับโลหะเป็นพิษ หรือขาดสารอาหารบางอย่าง รวมทั้งอาจเกิดความพกพร่องของไขกระดูกที่ผลิตเม็ดเลือด หรือความพกพร่องของม้าม ดังนั้นเมื่อค่าที่ตรวจพบมีเปอร์เซ็นต์มากกว่า 0 ย่อมแสดงถึงความร้ายแรงของโรคมากขึ้นเท่านั้น
การตรวจค่า HEINZ BODIES %
การตรวจค่า HEINZ BODIES % เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อต้องการทราบเกี่ยวกับส่วนของเม็ดเลือดแดงที่อยู่ภายในประแสเลือด ซึ่งจะมีจุดคล้ายกันกับสิ่งสำคัญอย่าง “ INCLUSION BODY ” แต่จะเป็นไปในลักษณะที่ใหญ่กว่าและจะมีสีที่ดูออกม่วงและดูใส สังเกตว่ามีอยู่ภายในนั้นหรือไม่ หากมีพบอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง HEINZ BODIES นั้นอาจเกิดขึ้นจากผลของการขาดเอนไซม์ประเภท G-6 PD เกิดจากการที่ค่าของฮีโมลโกลบินที่อยู่ภายในเม็ดเลือดมีค่าไม่กันในแต่ละเม็ด อาจเกิดจากการป่วยด้วยโรคโลหิตจางประเภทธาลัสซีเมีย อาจจะเป็นสิ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ในการเกิดโรคโลหิตจางประเภทต้านทางการทำลายตัวเอง หากเป็นกรณีของบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงดีไม่ควรที่จะต้องมี HEINZ BODIES อยู่ภายในกระแสเลือด และนั่นจึงทำให้ไม่มีการกำหนดเกี่ยวกับค่าปกติที่ควรเป็นของ HEINZ BODIES ไว้เลยนั่นเอง
การตรวจค่า G-6 PD IU/100 ml.RBC
การตรวจค่า G-6 PD IU/100 ml.RBC เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะได้ทราบว่าค่าเอนไซม์แบบ GLUCOSE-6-PHOSPHATE DEHYDROGENASE (G-6 PD) ตรวจดูว่ามีจำนวนที่เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มากน้อยเท่าใด หากพบว่าเข้าเกณฑ์ต่ำกว่าแบบนี้จะเรียกว่า “ G-6 DEFICIENCY ”
คำว่า “ G-6 PD ” นั้นเป็นส่วนของเอนไซม์ประเภทหนึ่งที่สามารถช่วยในเรื่องของการเผาผลาญกลูโคสได้และยังเป็นตัวที่ช่วยเรื่องของการปกป้องเม็ดเลือดแดงได้ในช่วงที่มีการใช้ยาเพื่อต่อสู้ในระหว่างการรักษาอีกด้วย ในกรณีของการเกิดอาการอย่างการขาดเอนไซม์ประเภท G-6 PD นั้นเรียดอีกชื่อหนึ่งว่า “ G-6 PD DEFICIENCY ” ซึ่งจะส่งผลที่ร้ายแรงในลักษณะแบบใดแบบหนึ่งหรือไม่ก็ส่งผลแบบพร้อมกันทีเดียวไปเลยได้เช่นกัน
กลุ่มยาที่อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและตกตะกอน ในกลุ่มผู้อยู่ในภาวะ G-6 PD deficiency
Actanilid Methylene blue Quinidine
Antimalarials Nalidxic acid Sulfa
Antipyretics Nitrofurantion Sulfonamides
Ascorbic acid Phenacetic Thiazide diuretics
Aspirin Phenazopyridine TOBUTamide
Dapsone Primaquine Vitamin K |
สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัวเป็นโรค G-6 PD deficiency ก็มักจะมีอาการที่แสดงออกให้เห็นอย่างเด่นชัดคือ ผิวซีดผิดปกติ เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว หายใจแบบสั้นๆ มีอาการของโรคดีซ่าน ม้ามโต และปัสสาวะออกเป็นสีชา
ค่าเอนโซม์ G-6 PD อาจแสดงได้ 2 วิธี คือ เป็นจำนวน I.U. ( International unit ) ต่อน้ำหนัก 1 กรัม ของฮีโมโกลบิน หรือเป็นจำนวน I.U. ต่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยตัวเลขค่าเอนไซม์ปกติของ G-6 PD ที่นิยมใช้กันอยู่มีดังนี้
1. 4.3 – 11.8 I.U. ต่อกรัมของฮีโมโกลบิน |
2. 146 – 376 I.U. per 10 ยกกำลัง ( 12 ) / RBC ยกกำลัง ( 10-1 ) |
ค่าปกติของเอนไซม์ ประกอบด้วย
1.สิ่งที่ยึดถือไว้ตามที่ค่าที่ได้มีการระบุเอาไว้ในส่วนของใบแสดงรายละเอียด
2.ค่าที่เป็นค่าตามปกติ สำหรับค่าที่เป็นค่าผิดปกติของตัวเอนไซม์ประเภท G-6 PD นั้นสำหรับทางน้อยนั้นอาจจะเป็นผลมาจากการที่เป็น G-6 PD DEFICIENCY ( ซึ่งจะเป็นไปได้จริงหากพบว่ามีอาการที่เป็นไปตามข้อที่ 4 ร่วม ) อาจเป็นสิ่งที่เกิดจากโรคโลหิตจางประเภทเม็ดเลือดแดงเกิดการแตกได้ง่าย แต่หากเป็นในกรณีของทางมากนั่นก็อาจจะแสดงผลมาจากการที่ร่างกายนั้นเกิดโรคโลหิตจางประเภทที่ร้ายแรงมากเนื่องจากการขาดวิตามิน B12 อาจเกิดจากโรคโลหิตจางประเภทเม็ดเลือดแดงเกิดภาวะโต อาจเกิดขึ้นจากการขาดเลือดในส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจ อาจเกิดจากปัญหาของต่อมไทรอยด์เกิดการทำงานมากเกินไป
[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
การตรวจค่า Malaria
การตรวจค่า Malaria เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบว่ามีเชื้อของไข้มาลาเรียที่เกิดการเข้าสู่ร่างกายและเข้าไปอยู่ภายในกระแสเลือดบ้างหรือไม่ มีการติดเชื้อมากน้อยเพียงใด เชื้อมาลาเรียเป็นเชื้อที่อยู่ในกลุ่มของ PLAMODIUM เป็นเชื้อที่สามารถเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้แต่จะต้องนำมาโดยพาหะสำคัญ นั่นคือ ยุงก้นปล่อง ( ตัวเมีย ) ที่จะทำการเจาะ ดูดกินเลือดของมนุษย์จากนั้นก็จะปล่อยเชื้อมาลาเรียเข้าไปภายในเลือดของมนุษย์เราผ่านทางน้ำลายของยุงนั่นเอง เชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ภายในเม็ดเลือดแดงและนั่นก็ไม่ใช่การดีกับเม็ดเลือดแดงเลย จะเป็นตัวที่ส่งผลเข้าไปทำลายโดยตรง เชื้อประเภทนี้ไม่สามารถที่จะติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ เมื่อใดที่เม็ดเลือดแดงเกิดการแตกสลายลงเนื่องจากเชื้อมาลาเรียนั่นจะเป็นการส่งผลกระทบในเรื่องของการลดประสิทธิภาพเกี่ยวกับกระบวนการขนส่งออกซิเจนรวมถึงสารอาหารประเภทต่าง ๆ ที่จะส่งไปเลี้ยงเซลล์ภายในร่างกาย และเซลล์เหล่านั้นก็จะไม่คงเหลือพลังงานที่เพียงพอในการจะได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างที่ควรจะเป็นอีกทั้งร่างกายยังไม่สามารถที่จะรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกายได้จนทำให้เกิดอาการหนาวสั่นหรือที่เราเรียกกันว่าอาการไข้จับสั่น สำหรับวิธีการตรวจก็สามารถทำได้ด้วยการเจาะเลือดแล้วนำไปฉาบลงบนกระจก จากนั้นก็นำไปส่องด้วยสิ่งที่รู้จักกันดีอย่าง “กล้องจุลทรรศน์” ส่วนนี้มักจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่เฉพาะทาง เจ้าหน้าที่ทางด้านเทคนิคการแพทย์
การตรวจค่า Bleeding Time min.
การตรวจค่า Bleeding Time min เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อที่จะทราบว่าภายในผิวหนังของคนเราเมื่อเกิดบาดแผลขึ้นจนทำให้มีเลือดไหลจะต้อใช้เวลาเท่าใดเลือดถึงจะสามารถทำการสร้างสิ่งสำคัญอย่างลิ่มเลือดขึ้นมาได้และทำให้เลือดหยุดไหลได้เอง
การ BLEEDING TIME เป็นเรื่องของการทดสอบแบบง่ายซึ่งทางผู้ที่ทำการทดสอบจะต้องเป็นบุคคลที่ทำงานทางด้านการแพทย์หรือทางด้านการพยาบาลโดยเฉพาะเท่านั้น สำหรับวิธีการตรวจสอบคือผู้ที่เข้ารับการทดสอบนั้นจะต้องถูกกพันแขนด้วยแผ่นยางแบบอัดลม ( ที่ใช้ในการวัดความดันโลหิตนั่นเอง ) ที่ส่วนของงแขนท่อนบน จุดเดียวกับที่ทำการวัดความดันโลหิต ในการอัดลมเข้าไปจะให้ความดันอยู่ที่ 40 มิลลิเมตรปรอท
ค่าปกติของ Bleeding time
สำหรับค่าปกติให้ยึดถือตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด ( ถ้ามี ) หรือค่าปกติทั่วไปคือ
Bleeding time : 3 – 6 min
|
ค่าผิดปกติของ Bleeding time
1.ในทางน้อย อาจแสดงว่า ร่างกายมีเกล็ดเลือดมากเกินไป
2.ในทางมาก อาจแสดงว่า ร่างกายมีเกล็ดเลือดต่ำเกินไป ( thrombocytopenia ) อาจเกิดจากการขาดวิตามิน ซี ไขกระดูกอาจทำงานบกพร่อง ทำให้ผลิตเกล็ดเลือดออกมาในปริมาณที่ต่ำเกินไป กำลังเกิดโรคมะเร็งในไขกระดูก เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) เกิดสภาวะม้ามทำงานเกิน ( hypersplenism ) หรือม้ามโต จึงทำลายเกล็ดเลือดมากกว่าปกติ และอาจเกิดโรคตับร้ายแรง
[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
การตรวจค่า Clotting Time min
การตรวจค่า Clotting Time min เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับเวลา ( นาที ) ในช่วงที่เลือดไหลออกมาจากร่างกายและเกิดสภาวะการแข็งตัวเกิดขึ้น ซึ่งใช้เวลานานเท่าใด
สำหรับวิธีในการทดสอบนั้นก็จะมีลักษณะที่เป็นไปคล้ายกันกับวิธีการตรวจเลือดแบบทั่วไป คือ จะใช้วิธีการเจาะเลือดโดยจะดูดเลือดออกมาจากทางหลอดเลือดดำและนำเอาเลือดที่เจาะได้ใส่ลงไปภายในหลอดเลือดที่ได้มีการหล่อน้ำเอาไว้ด้วยอุณหภูมิที่มีระดับเท่ากันกับอุณหภูมิของร่างกายคนเรา นั่นคือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ ( เท่ากับอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ) ก่อนที่ทางเจ้าหน้าที่จะนำเอาเลือดที่ได้ไปส่งให้กับทางห้องปฏิบัติการเพื่อเข้ารับการตรวจในขั้นต่อไป เมื่อทางเจ้าหน้าที่ของห้องปฏิบัติการได้รับเลือดเรียบร้อยทางเจ้าหน้าที่จะทำการเอียงคว่ำหลอดเลือดลงโดยจะทำการกลับหลอดเลือดไปมาเป็นประจำทุกระยะเวลา 30 วินาทีจนกว่าที่เลือดนั้นจะหยุดสภาพของการเป็นของเหลวลงซึ่งทั้งนี้จะเริ่มทำการเริ่มจับเวลาจนกระทั่งถึงเวลาที่เลือดเกิดการแข็งตัวและจะทำการตับเวลาใหม่อีกครั้งเริ่มตั้งแต่ช่วงที่เลือดเกิดการแข็งตัวยาวไปจนกระทั่งถึงเวลาที่เกิดการยุบตัวลงไปประมาณร้อยละ 50 ( สามารถสังเกตได้จากทางด้านข้างของตัวหลอดแก้ว )
CLOTTING TIME นั้นมักที่จะใช้ในการทดสอบร่วมกันกับส่วนของการยุบตัวของเลือดโดยเริ่มตั้งแต่ช่วงที่เริ่มมีการแข็งตัวเกิดขึ้น ( CLOT RETRACTIONหรือ การยุบตัวของก้อนเลือดจะ ) ซึ่งมีค่าปกติคือ
- ค่าปกติของ CLOTTING TIME ตามปกติจะอยู่ที่ 5 – 8 นาที
- ค่าปกติของการยุบตัวของก้อนเลือดจะปกติอยู่ที่ 50% ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง
สำหรับค่าของ CLOTTING TIME นั้นหากเป็นค่าที่ตั้งแต่ 8 นาทีขึ้นไปนั่นอาจจะเป็นการแสดงผลเกี่ยวกับ
1.ร่างกายนั้นอาจจะเกิดการขาดในส่วนขององค์ประกอบที่เป็นตัวช่วยในการทำให้เลือดนั้นเกิดการจับตัวเป็นก้อนแบบรุนแรง อาทิเช่น ค่าโปรตีนรวมที่อยู่ภายในเลือดอาจจะมีปริมาณที่ต่ำมากเกินไป , อาจจะมีค่าของแคลเซียมที่อยู่ภายในเลือดน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทั้งนี้หากกรณีนี้มีวิตามินเคที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าด้วยนั่นจะยิ่งเป็นการทำให้เกิดการจับตัวของเลือดมากยิ่งขึ้น
2.อาจจะมีส่วนของยาประเภทยาลิ่มเลือดที่อาจตกค้างอยู่ภายในกระแสเลือด ตัวอย่างเช่น ยาแก้ปวดประเภทยา NSAID หรือยาแอสไพลิน เป็นต้น
เลือดมนุษย์ได้ถูกเปรียบเทียบไว้ว่าเป็นเสมือนโบกี้ตู้รถไฟที่มีการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ซึ่งความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดก็จะคล้ายกับล้อ เพลา ความจุของที่นั่ง ถ้าไม่มีความเสียหายก็จะนำสินค้าและผู้โดยสารไปถึงจุดหมายอย่างไร้ปัญหา
การตรวจค่า Hb Typing
การตรวจค่า Hb Typing เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) มีวัตถุประสงค์สำคัญก็เพื่อทราบชนิดของ Hb ( ฮีโมโกลบิน ) ว่าประเภทใดมีความโดดเด่น และจะเป็นสิ่งที่แสดงถึงจำนวนของประเภทอื่น ๆ ในลักษณะของเปอร์เซ็นต์ที่ครบถ้วนก็เป็นได้
มีเครื่องมือประเภทหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์แบบสมัยใหม่ที่สามารถทำการตรวจวัดขนาดอนุภาคของสิ่งที่เป็นสารแขวนลอยที่อยู่ภายในของเหลวได้ มีชื่อเรียกว่า “ HEMOGLOBIN ELECTROPHORESIS ” สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีความสามารถในการดำเนินการตรวจแยกความแตกต่างของฮีโมลโกลบินแต่ละประเภทในเลือดที่มีความผิดปกติที่เป็นสิ่งสืบเนื่องจากเรื่องของพันธุกรรม
สำหรับประเภทของฮีโมโกลบินที่มีความสำคัญและอาจจะสามารถทำการตรวจสอบได้มากถึง 6 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ
1.Hb A1 เป็นฮีโมโกลบินประเภทส่วนใหญ่ที่สามารถพบได้ซึ่งแสดงในเรื่องของคุณสมบัติที่บ่งบอกให้เห็นถึงลักษณะความเป็นปกติของ RBC ( เม็ดเลือดแดง )
2. Hb A2 เป็นฮีโมโกลบินประเภทส่วนน้อย สามารถพบได้ประมาณร้อยละ 2 ถึง 3 สำหรับกรณีที่พบว่ามีอยู่น้อยจริงนั่นอาจจะเป็นเรื่องของความผิดปกติของส่วนฮีโมโกลบินทั้งหมดที่อยู่ภายในเลือด
[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
3. Hb S เป็นฮีโมโกลบินประเภทที่ไม่เป็นไปตามปกติซึ่งจะแสดงถึงลักษณะภาวะที่เป็นภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคโลหิตจางอันมีผลมาจากการที่เม็ดเลือดแดง Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) มีลักษณะแบบรูปเคียวซึ่งรูปแบบนี้เป็นลักษณะที่ผิดปกติในส่วนของเม็ดเลือดแดง ( รูปแบบที่ควรจะเป็นจะต้องเป็นไปในลักษณะจานกลมแบน )
4. Hb C เป็นฮีโมโกลบินประเภทที่มีความผอดปกติเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีลักษณะบรรพบุรุษเป็นแบบข้ามสายพันธุ์ ทำให้เม็ดเลือดแดงที่มีส่วนของ Hb C มีอายุที่สั้นลงแถมยังมีโอกาสที่จะแตกได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย
5. Hb F เป็นฮีโมโกบินของทารกที่อยู่ในครรภ์ และยังคงมีเหลืออยู่ในผู้ใหญ่ไม่มากนัก ซึ่งถ้ามีมากกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ในร่างกายตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไป จะถือว่า เฮโมโกบินในเลือดมีความผิดปกติ
6. Hb H เป็นฮีโมโกบินที่ผิดปกติค่อนข้างร้ายแรง เพราะมียีนแอลฟา 1 ตัว และเบตา 3 ตัว แทนที่จะมีอย่างละ 2 ตัวเท่ากันตามที่ควรจะเป็น ดังนั้นผู้ที่มี Hb H โดเด่นจะเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางชนิด H disease หรือ โลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดแอลฟาธาลัสซีเมีย
ค่าปกติของฮีโมโกลบินแต่ละชนิดโดยประมาณ ( ที่ควรตรวจพบ )
ผู้ใหญ่/ ผู้สูงอายุ |
ค่าโดยประมาณ |
Hb A1 |
95 – 98 % |
Hb A2 |
2 -3 % |
Hb F |
0.8 – 2 % |
Hb S |
0 % |
Hb C |
0 % |
เด็ก ( พิจารณาเฉพาะ Hb F ) |
ค่าโดยประมาณ |
แรกเกิด Hb F |
50 – 80 % |
< 6 เดือน Hb F |
< 8 % |
> 6 เดือน Hb F |
1 – 2 % |
ค่าความผิดปกติของส่วนฮีโมโกลบินแต่ละประเภท
สำหรับเรื่องของค่าความผิดปกติของส่วนฮีโมโกลบินแต่ละประเภทนั้นอาจจะเป็นการแสดงถึงผลการเกิดโรคที่เกี่ยวกับเลือดในประเภทต่าง ๆ ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ค่าของ Hb ในผลตรวจเลือดนั่นเอง
1. โรค SICKLE CELL DISEASE นั้นจะมีลักษณะการแสดงค่า 4 ประเภทด้วยกัน นั่นคือ
ค่า Hb |
ผลเลือด |
S |
80 – 100% |
A1 |
0% |
A2 |
2 -3 % |
F |
2 % |
ในส่วนของเม็ดเลือดแดงนั้นจะมีลักษณะที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกับเคียวที่ใช้ในการเกี่ยวข้าวซึ่งทำให้การพาส่วนของออกซิเจนเป็นไปแบบที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็นนั่นจึงกลายเป็นการเกิดโรคโลหิตจางประเภทที่เรียกว่า “ SICKLE CELL ANEMIA ” นั่นเอง สำหรับเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะแบบคล้ายเคียวเกี่ยวข้าวนี้จะต้องผ่านในส่วนของหลอดเลือดที่มีขนาดค่อนข้างเล็กนี้แบบที่เรียกว่าขลุกขลักมากและนั่นก็อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดการอุดตันเกิดขึ้นจนส่งผลทำให้เนื้อเยื่อบางส่วนเกิดการขาดเลือดที่จะไปหล่อเลี้ยง หากยิ่งเป็นการเกิดที่ส่วนของหลอดเลือดหัวใจ เกิดขึ้นในสมองนั่นจะยิ่งเป็นการนำอันตรายอย่างร้ายแรงมาสู่ชีวิต ทั้งนี้อาจจะเป็นการส่งผลทำให้เกิดการเจ็บปวดเกิดขึ้นได้ อาจทำให้แผลเกิดการเน่าเปื่อยอันเป็นผลมาจากกการที่มีเลือดไปเลี้ยงส่วนเหล่านั้นไม่ถึง
[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
SICKLE CELL DISEASE เป็นสิ่งที่สามารถจะติดต่อทางด้านพันธุกรรมได้ หากในครอบครัวบุคคลที่เป็นบิดาหรือเป็นมารดาคนใดคนหนึ่งก็ตามป่วยเป็น SICKLE CELL DISEASE แต่อีกฝ่ายนั้นเป็นปกติซึ่งนั่นสามารถที่จะส่งผลกระทบต่อบุตรทุกคนของตนเองได้ ทำให้บุตรทุกคนนั้นสามารถที่เป็นพาหะขอโรคเม็ดเลือดแดงรูปคล้ายเคียวได้
2. โรค SICKLE CELL TRAIT ในผลเลือดอาจแสดงค่า Hb ดังนี้
ค่า Hb |
ผลเลือด |
S |
20 – 40 % |
A1 |
60 – 80 % |
A2 |
2 -3 % |
F |
2 % |
ตนเองไม่เกิดอาการเจ็บป่วยใดๆ คงมีสุขภาพปกติเช่นคนทั่วไป แต่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมให้แก่บุตรในลำดับถัดไป
3. โรค HEMOGLOBIN C DISEASE ในผลเลือดอาจแสดงค่า Hb ดังนี้
ค่า Hb |
ผลเลือด |
C |
90 – 100 % |
A1 |
0 % |
A2 |
2 -3 % |
F |
2 % |
Hb C Disease มีต้นกำเนิดมาจากชนเชื้อสายแอฟริกันตะวันตก ในปัจจุบันมักจะพบได้มากในกลุ่มคนผิวดำ อาการทั่วไปมักไม่ร้ายแรง ซึ่งจะแสดงให้เห็นโรคโลหิตจางอ่อนๆ ( mild anemia ) โดยมีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าค่าปกติ มีม้ามขนาดใหญ่ และอาจมีนิ่วในถุงน้ำดี ( gallstone ) ร่วมด้วย ซึ่งอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกับ Hb S Disease
4. HEMOGLOBIN H DISEASE ผลเลือดจะแสดงค่าของ Hb อยู่ในเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ค่า Hb |
ผลเลือด |
A1 |
65 – 90 % |
A2 |
2 -3 % |
H |
5 – 30 % |
โรคนี้อาจจะเกิดขึ้นจากยีนของทาง Hb ซึ่งอาจจะมีความผิดปกติได้มากถึง 3 ตัวจากจำนวน 4 ตัว ซึ่งนั่นทำให้มีโอกาสที่จะเกิดโรคโลหิตจางระดับกลางจนถึงระดับที่ร้ายแรง อาจจะมีอาการรู้สึกเหนื่อยล้ากว่าปกติ หากส่วนของแอลฟายีนนั้นมีเหลืออยู่เพียงแค่ 1 ตัวเท่านั้นซึ่งจะมีลักษณะโครงสร้างทางด้านเคมีที่ทำการเกาะติดกันจนกลายเป็นทางยาว แบบนี้เรียกว่า “ HEMOGLOBIN H CONSTANT SPRING DISEASE ” จะทำให้อาการแสดงของโรค โลหิตจางนั้นค่อย ๆ ร้ายแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะมาพร้อมกับอาการดีซ่านซึ่งอาการนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าผู้ป่วยจะมีลักษณะผิวออกเหลือง ตาก็จะเหลือง พบว่าม้ามมีลักษณะโต อาจจะพบว่าเกิดนิ่วที่ภายในถุงน้ำดีได้ สำหรับสิ่งที่เป็นพวกของแสลง เป็นของที่เป็นพิษสำหรับโรคนี้ นั่นก็คือ ลูกเหม็น ถั่วฟาว่า เป็นต้น อาจกินกรดโฟลิกเพื่อเยียวยา
5. THALASSEMIA MAJOR จะมีค่าผลเลือดของ Hb ดังนี้
ค่า Hb |
ผลเลือด |
A1 |
5 – 20 % |
A2 |
2 -3 % |
F |
65 – 100 % |
สำหรับโรคนี้นั้นย่อมเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับส่วนของฮีโมโกลบินที่อยู่ภายในเม็ดเลือดแดงซึ่งนั่นจะปรากฎยีนประเภทแอลฟาจำนวน2ตัว ยีนประเภทเบตาจำนวน 2 ตัวโดยจะอยู่กันอย่างสมดุล ซึ่งบุคคลใดก็ตามที่ยีนใดมีความผิดปกติเกิดขึ้นถึงสองตัวหรืออาจจะมากกว่านั้นนั่นจะเป็นการทำให้สามารถที่จะเกิดโรค THALASSEMIA MAJOR ยิ่งหากพบว่ายีนที่มีความปิดปกตินั้นมีด้วยกันสองตัวแถมยังเป็นยีนประเภทเบตาทั้งคู่นั่นก็จะเรียกว่า “ COOLEY’S ANEMIA ” โรคนี้ได้รับการสืบทอดทางพันธุกรรม เป็นโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรงอาการจะเกิดขึ้นหลังคลอดประมาณ 2 ปี สามารถรักษาได้ด้วยการถ่ายเลือด แต่อาจมีธาตุเหล็กตกค้างสะสมในร่างการซึ่งจำเป็นต้องได้รับยาขับธาตุเหล็กด้วย
6. THALASSEMIA MINOR ผลเลือดจะมีการแสดงค่าของ Hb ดังนี้
ค่า Hb |
ผลเลือด |
A1 |
50 – 85 % |
A2 |
4 – 6 % |
F |
1 – 3 % |
โรคนี้นั้นเป็นผลมาจากการที่ยีนจากจำนวน 4 ตัวในฮีโมโกลบิน คือ แอลฟาจำนวน 2 ตัวและตัวเบตาจำนวน 2 ตัว เกิดความผิดปกติเกิดขึ้นที่ในยีนตัวใดตัวหนึ่ง หากส่วนที่เป็นยีนที่มีความผิดปกติเป็นประเภทแอลฟาจำนวน 1 ตัวนั่นก็จะไม่เป็นการปรากฏถึงความผิดปกติทางด้านสุขภาพแต่อย่างใด ไม่สามารถพบเห็นได้แต่บุคคลนี้จะกลายเป็นบุคคลที่อาจจะทำหน้าที่ในการเป็นพาหะถ่ายทอดเชื้อแบบเงียบ ๆ ทางด้านของพันธุกรรมไปสู่บุคคลที่เป็นบุตรหลานในอนาคตต่อไป แต่หากพบว่ายีนที่มีความผิดปกติกลับเป็นประเภทเบตา ก็จะสามารถปรากฏอาการโรคที่เป็นไปแบบอ่อน ๆ ให้เห็นและยังสามารถที่จะถ่ายทอดส่งต่อทางด้านพันธุกรรมได้เช่นกัน
การตรวจค่า COAGULOGRAM
การตรวจค่า COAGULOGRAM เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) วัตถุประสงค์เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะของวิธีในการสร้างตารางเพื่อที่จะนำเอาเลือดออกมาตรวจสอบ ทำการวัดผลการรักษาในส่วนของอาการเกิดเลือดไหลแบบไม่หยุด หรือเป็นส่วนที่เลือดเกิดการขาดคุณสมบัติของการสร้างลิ่มเลือดที่จะเป็นการส่งผลให้เกิดอันตรายเกิดขึ้นได้ เรียกแบบง่าย ๆ ว่าเป็นการสร้างตารางในการสร้างลิ่มเลือดหรือเป็นการสร้างแบบฟอร์มลักษณะว่าง ๆ เพื่อที่จะใช้ไว้ให้ทางแพทย์นั้นสามารถที่จะกรอกรายละเอียดเพื่อตรวจเจาะเลือดนั่นเอง
COAGULOGRAM เป็นตารางที่ใช้เพื่อการเอาไว้ช่วยจำเกี่ยวกับผลการรักษาหรือเพื่อการแก้ไขส่วนของสภาวะเลือดที่มีลักษณะใสมากเกินไป
ตาราง COAGULOGRAM เป็นตารางที่มีความหมายโดยนัยว่าเป็นตัวในการบ่งชี้ปัจจัยของการมีเลือดไหลออกซึ่งนั่นย่อมเป็นการแสดงผลในลักษณะของการไหลของเลือด แสดงให้เห็นถึงการไหลที่รวดเร็ว การไหลที่ล่าช้า การหยุดไหลซึ่งมีปัจจัยที่แสดงให้เห็น
[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
HEMATOCRIT เป็นเรื่องของความหนาแน่นของส่วนเม็ดเลือดแดง หากพบว่ามีความหนาแน่นที่มากนั่นก็สามารถที่จะช่วยทำให้เลือดเกิดการหยุดไหลได้ง่ายดายแต่หากมีความหนาแน่นที่น้อยเลือดนั้นก็จะเกิดการหยุดไหลได้ช้าลง
BLOOD CLOTTING ส่วนนี้ก็เป็นค่าของเวลาที่เป็นไปตามมาตรฐานซึ่งจะใช้ในการอ้างอิงเพื่อพิจารณาว่าเลือดนั้นควรที่แข็งตัวในช่วงเวลาเท่าใด
RETRACTION OF BLOOD CLOT ส่วนนี้จะเป็นค่าของการยุบตัวของตัวก้อนเลือด
ทางการแพทย์นั้นยังคงมีตัวบ่งชีประเภทอื่น ๆ อีกมากมายที่ทางแพทย์ผู้ที่ทำหน้าที่ในการเป็นผู้ตรวจจะเห็นสมควรที่จะเลือกนำมาใช้ในเคสผู้ป่วยแต่ละราย ทำให้ COAGULOGRAM ของแต่ละบุคคลอาจที่จะมีตัวบ่งชี้ที่มีความแตกต่างกันออกไป
- คำว่า NORM นั่นหมายถึงคำว่า NORMAL ที่หมายถึงลักษณะค่าตามปกติของตัวปัจจัยบ่งชี้ในแต่ละประเภท
2. คำว่า PRIOR TO THERAPY นั้นเป็นสิ่งที่หมายถึงค่าในการตรวจพบช่วงก่อนที่จะเข้ารับการบำบัดรักษา สำหรับผลของการรักษาจากตัวยาที่มีการนำมาใช้เพื่อการรักษาและได้ถูกระบุโดยจำนวนวันที่ตรวจจากทางแพทย์ที่เป็นผู้ให้การรักษา
3. คำว่า “แช่นำแข็งขณะนำส่ง” นั้นมีความหมายว่า เป็นสิ่งที่เป็นคำแนะนำของทางเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นบุคคลที่ทำการ
เจาะดูดเลือดมีการปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.ทางเจ้าหน้าที่จะทำการเจาะเลือดออกมาในปริมาณ 2.7 มิลลิลิตร
2.จากนั้นได้ทำการใส่น้ำยาประเภท SODIUM CITRATE ลงไปเพื่อที่จะเป็นการป้องกันการแข็งตัวของเลือด
3.ปิดหลอดที่ใช้ในการบรรจุเลือดทันทีซึ่งจุกนั้นมีลักษณะครอบเป็นสีฟ้า
4. MIX เป็นขั้นตอนของการมิกซ์ คือเขย่าเลือดกับน้ำยาให้กันแบบสมบูรณ์
5.นำไปแช่ลงในน้ำแข็งและส่งไปยังห้องปฏิบัติการต่อไป
การตรวจค่า APTT ( ratio ) / sec
การตรวจค่า APTT ( ratio ) / sec เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งคำว่า APTT นั้นเป็นคำที่ย่อมาจาก ACTIVATED PARTIAL THROMBOPLASTIN TIME โดย THROMBOPLASTIN นั้นเป็นเหล่าโปรตีนทั้งหลายที่ได้ฝังอยู่ภายในส่วนของผนังหลอดเลือดซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญอันเกิดจากระบบภายในร่างกายของคนเรานั่นเอง และ Ratio คืออัตราส่วนของเวลาภายหลังการกินยาที่ทำให้เลือดใส ต่อ เวลาเดิม วัตถุประสงค์คือ เพื่อตรวจสอบส่วนของการสร้างลิ่มเลือดในบุคคลที่มีปริมาณของเลือดข้น ลักษณะนี้จะเป็นสิ่งที่อันตรายอันเนื่องมาจากสภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยในการ ทดสอบจะใช้ส่วนของน้ำยาประเภทพิเศษเข้าช่วยเพื่อตรวจว่าเลือดนั้นจะเกิดการแข็งตัวเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาเท่าใด ทั้งนี้หากเมื่อใดที่มีการทานยาประเภทที่สามารถช่วยในการละลายลิ่มเลือดได้จำเป้นจะต้องงรอเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง แล้วค่อยทำการทดสอบแบบ APTT อีกรอบ สำหรับวิธีการในการคิดอัตราส่วนนั้นจะคิดโดยการนำเอาเวลาในช่วงหลังทานยาหารกับเวลาในช่วงก่อนที่จะทานยา
ค่าปกติของ APTT และ Ratio
ค่าวิกฤติของ APTT
[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
ค่าผิดปกติของ APTT
1.หากพบค่าความผิดปกติไปในทางน้อย แสดงได้ว่า เลือดอาจจะข้นเกินไป จึงเกิดเป็นลิ้มเลือดกระจายไปทั่วหลอดเลือด ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ และอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นต้น
2.หากพบค่าความผิดปกติในทางมากอาจแสดงได้ว่า มีเลือดใสเกินไปเพราะขาดโปรตีนบางตัว กำลังป่วยด้วยโรคตับแข็ง ขาดวิตามินเค มียาเฮพารินตกค้างอยู่ในกระแสเลือด หรืออาจเกิดบาดแผลที่ทำให้เลือดหยุดไหลยากได้
ข้อสรุป กรณีของคนมีน้ำเลือดใสหรือข้นกว่าปกตินั้น อาจเป็นคุณสมบัติปกติ เฉพาะบุคคลหนึ่งบุคคลก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาเพียงค่าเวลาปกติ APTT คือ 30 – 40 วินาที จึงอาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ โดยเหตุนี้ จึงควรพิจารณาจากอัตราส่วนที่ได้จากการคำนวณง่ายๆ ดังนี้
อัตราส่วน = เวลา ( วินาที ) หลังจากกินยาให้เลือดใส ÷ เวลา ( วินาที ) ก่อนกินยา |
การตรวจค่า PT ( INR ) /SEC
การตรวจค่า PT ( INR ) /SEC เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับระยะเวลาโดยคิดเป็นวินาทีที่ส่วนของเลือดนั้นได้ถูกดูดออกมาใส่ลงไปในตัวหลอดแก้วเกิดการแข็งตัวโดยอาศัยตัวช่วยที่สำคัญจากระบบปัจจัยภายนอกเข้ามาช่วยเพิ่มเติม และที่สำคัญจะต้องมีการเติมน้ำยาประเภทน้ำยาแคลเซียมมาตรฐานและจะเรียกส่วนของปฏิกิริยานี้ในชื่อ “ RECALCIFICATION ” ให้เกิดขึ้นในเลือดแล้วจึงค่อยทำการจับระยะเวลาของการแข็งตัวต่อ สำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไปนั้นมักจะมีความคล้ายคลึงกันกับวิธีการหาค่า APTT ที่จะมีความแตกต่างออกไปตรงที่มีการใช้ปัจจัยภายนอกซึ่งนั่นก็จะเป็นสิ่งที่มาช่วยในการทำให้กระบวนการแข็งตัวของเลือดเกิดขึ้นได้ วิธีการตรวจเลือดในส่วนนี้จะเป็นสิ่งที่ส่งผลเป็นประโยชน์อย่างมากต่อบุคคลที่มีพยาธิของโรคหัวใจโดยเฉพาะ
คำว่า PT นั้นเป็นสิ่งที่ย่อมาจาก “ PROTHROMBIN TIME ” PROTHROMBIN นั้นเป็นสารประกอบประเภทหนึ่งที่เป็นสารประกอบผสมของน้ำตาลกับโปรตีนซึ่งจะลอยอยู่ภายในส่วนของพลาสมา PROTHROMBIN นั้นเป็นสิ่งที่กลายเป็นสารตั้งต้นของ THROMBIN ซึ่งนั่นก็นับว่าเป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญมากในการเกิดปฏิกิริยาของการเปลี่ยนโปรตีน FIBRINOGEN ให้กลายเป็น FIBRIN นั่นก็คือ ลิ่มเลือดที่มีลักษณะปิดหรือมีลักษณะของการอุดรอยเปิดของส่วนบาดแผลจนทำให้คุณนั้นสามารถที่จะเห็นได้ว่าเกิดเป็นส่วนที่บริเวณโยรอบของแผลมีลักษณะนูนขึ้นเมื่อแผลนั้นหายดีแล้ว
PT นั้นเป็นสิ่งที่อยู่ในช่วงระยะเวลาอันสั้น ซึ่งจะได้จากวิธีการทดสอบเลือดที่ทำการเจาะออกมาหลังจากที่ผ่านการเติมน้ำยาประเภทแคลเซียมลงไปแล้วจนทำให้เลือดนั้นเกิดการแข็งตัวเกิดขึ้น สำหรับบุคคลที่มีสุขภาพดีค่ามาตรฐานของค่านี้จะอยู่ที่ประมาณ 12 นาที
น้ำเลือดนั้นสำหรับของคนบางคนอาจสามารถแข็งตัวได้อย่างรวดเร็วเฉพาะเมื่อได้ทานยาละลายลิ่มเลือดเท่านั้น แบบนี้จะเป็นการส่งผลทำให้การจับเวลานั้นมีระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้นตามไปด้วย เวลาคิดค่าเวลานั้นจะคิดออกมาในเชิงของอัตราส่วน วิธีคิดคือ ให้นำเอาเวลาของการที่เลือดแข็งตัวหลังจากทานยาไปหารกับเวลาของการที่เลือดแข็งตัวก่อนทานยา อัตราส่วนที่คุณคิดได้นี้อาจจะใช้ในการนำไปเป็นดัชนีที่ใช้บ่งชี้น้ำเลือดว่าน้ำเลือดนั้นมีระดับความเข้มข้นที่มากไปใช่หรือไม่ ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจาก ระดับความเข้มข้นของเลือดสามารถที่จะกลายเป็นสิ่งอันตรายต่อการเปิดหรือการปิดลิ้นที่อยู่ระหว่างห้องหัวใจและยังสามารถทำให้หัวใจนั้นเต้นในจังหวะที่แรงมากขึ้นในกระบวนการส่งเลือดดำเข้าไปภายในปอดหรือส่งเลือดแดงไปตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย [adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
ทางด้านขององค์การอนามัยโลก (WHO) นั้นได้ออกมาประกาศเกี่ยวกับค่าที่เป็นอัตราส่วนตามมาตรฐานโดยได้ออกมากำหนดไว้เมื่อปี 1983 นั่นก็เพื่อที่จะเป็นสิ่งที่เป็นความปลอดภัยต่อบุคคลที่ใช้ยาประเภทยาละลายลิ่มเลือดหรือเพื่อเป็นการทำให้ความข้นของเลือดลดลง ค่าที่กล่าวถึงนี้มีชื่อเต็ม ๆ ว่า อัตราส่วนที่เป็นไปตามปกติตามเกณฑ์มาตรฐานในระดับนานาชาติหรือ INR และ WHO ได้ยืนยันว่าค่า INR นั้นสามารถที่จะใช้ได้กับกรณีของผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจเต้นสั่นรัว ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดดำเกิดการอักเสบจนส่งผลทำให้เกิดลิ่มเลือด ผู้ป่วยใช้ลิ้นหัวใจเทียม
WHO ได้กำหนดค่า INR อยู่ที่ 2.0 -3.5 |
การตรวจค่า TT (RATIO)/SEC
การตรวจค่า TT (RATIO)/SEC เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) มีวัตถุประสงค์หลัดเพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับ FIBRINOGEN ซึ่งเป็นประเภทของโปรตีนที่อยู่ภายในเลือดคอยทำหน้าที่ในการสร้างลิ่มเลือดให้เกิดขึ้น ส่วนของ THROMBIN นั้นก็เป็นเอนไซม์ประเภทหนึ่งที่สามารถช่วยในการเปลี่ยน FIBRINOGEN ให้กลายเป็น FIBRIN นั้นเอง ในการที่จะดำเนินการตรวจสอบเลือดในข้อนี้จะเป็นการตรวจสอบเกี่ยวกับคุณสมบัติของเอนไซม์ชื่อ TROMBIN ซึ่งนั่นก็จะแตกต่างไปจากการตรวจปัจจัยที่เป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ล้วนแต่สามารถมีบทบาทในการเข้าไปช่วยทำให้เลือดมีการแข็งตัวได้ ( TT หมายถึง THROMBIN )
ส่วนในการเจาะเลือดมาตรวจสอบนั้นการดำเนินการจะคล้ายคลึงกันกับการตรวจเพื่อหาค่า APTT และค่า PT ซึ่งเมื่อได้เลือดออกมาแล้ว ได้นำไปใส่ไว้ภายในหลอดเลือดแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการทดสอบด้วยน้ำยาทรอมบินที่เป็นไปตามมาตรฐานอันสร้างขึ้นมาจากมนุษย์เราหรือสร้างขึ้นมาจากวัวที่มีผลทำให้เลือดเกิดการแข็งตัวเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลา 2-3 วินาที (รูปแบบนี้ในกรณีที่เป็นบุคคลที่มีลักษณะสุขภาพที่เป็นไปตามปกติ) และหากเป็นกรณีอยากจะทราบเกี่ยวกับ THROMBBIN RATIO ให้ส่วนของผู้ที่ทำหน้าที่ในการถูกตรวจสอบทานยาประเภทยาละลายลิ่มเลือดเข้าไป จากนั้นก็พักรอเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมงแล้วค่อยดำเนินการตรวจเลือดใหม่อีกครั้งด้วยการใช้วิธีเติมน้ำยาในลักษณะเดิมเข้าไปซึ่งนั่นจะเป็นการช่วยเพิ่มระยะเวลาให้มีความยาวนานมากขึ้น
ในเรื่องของค่าที่เป็นค่าปกติของ TT กับค่า TT RATIO นั้นค่า TT จะอยู่ที่ 2-3 วินาที ส่วน TT RATIO นั้นให้ยังคงยึดหลักตามค่ามาตรฐานที่เป็นไปตามปกติอันอยู่ภายในรายงานผลการตรวจเลือดซึ่งค่าปกติของทาง TT นั้นจะเป็นสิ่งที่สามารถแสดงผลได้อย่างคล้ายคลึงกับผลของทาง APTT และ PT
น้ำเลือดในร่างกายมนุษย์มีความพิเศษ สามารถนำออกมาตรวจวิเคราะห์ได้ เช่น ค่าความเร็วของการตกตะกอน ความเร็วของการแข็งตัว ความเร็วในการห้ามเลือดได้เองเมื่อได้รับบาดเจ็บ และสามารถนำมาบ่งชี้ความเป็นโรคได้อีกด้วย
การตรวจค่า IgG
การตรวจค่า IgG เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) เป็นการตรวจสอบเกี่ยวกับลักษณะภูมิต้านทานประเภทหนึ่งที่อยู่ภายในร่างกายซึ่งนั่นก็จะเริ่มต้นจากการที่สร้างโดยโปรตีน ภูมิต้านทานประเภทแรกที่บอกเลยว่าสำคัญมากตัวนี้มีชื่อแบบเต็ม ๆ ก็คือ “ IMMMUNOGLOBULLIN G ” หรือที่เรียกกันแบบย่อย ๆ ว่า “ IgG ” นั่นเอง
1.คำว่า IMMUNO นั้นเป็นคำที่มาจากทางภาษาลาตินซึ่งมีความหมายว่า การไม่มีโรคหรือการต้านทานโรค
2.คำว่า GLOBULIN คำนี้ก็เป็นคำที่มาจากคำว่า GLOBULUS ซึ่งก็เป็นภาษาลาตินเช่นกัน แปลว่า ทรงกลม
3.คำว่า GLPBULIN นั้นเป็นสิ่งที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะสร้างขึ้นมาโดยระบบของผนังเซลล์ส่วนเนื้อเยื่อเป็นหลักรองลงมาก็จะเป็นการผลิตที่บริเวณของตับนั้นจึงทำให้ Ig นั้นจึงกลายเป็นหมายความว่าเป็นโปรตีนที่มีลักษณะทรงกลมและยังมีคุณสมบัติในเรื่องของการช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคได้นั่นเอง
สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นแน่นอนว่าย่อมรวมถึงมนุษย์เราด้วยเช่นกัน เป็นกลุ่มที่สามารถปรากฏสิ่งสำคัญอย่างสารภูมิต้านทานได้โดยในปัจจุบันทางด้านของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นพบได้จำนวน 5 ประเภทด้วยกัน นั่นคือ IgA IgM IgE IgE IgD [adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
องค์ประกอบของทางด้าน IMMUNOGLOBULIN นั้นจะประกอบไปด้วยสารประเภทโปรตีนที่ยังคงลอยอยู่ภายในพลาสมาจากนั้นก็จะเข้าไปจับตัวกับทางด้านของเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซต์เพื่อที่จะส่งผลทำให้เกิดคุณสมบัติพิเศษในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันต่อไปแต่สำหรับส่วนของภูมิคุ้มกัน Ig แต่ละประเภทนั้นจะค่อนข้างมีความแตกต่างทางด้านของการป้องกันโรคในระดับจึงทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องทำการแยกประเภทด้วยการเพิ่มตัวอักษรภาษาอังกฤษลงไปเพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจน โดยเฉพาะ IgG เป็นตัวที่สำคัญมาก เพราะเป็นส่วนที่สามารถพบได้สูงมากถึงร้อยละ 75 ของสารที่เป็นสารภูมิคุ้มกันที่อยู่ภายในร่างกายของคนเราโดยเฉพาะแต่สารตัวนี้จะเป็นตัวที่ถูกจัดเอาไว้ให้เป็นสารประเภทพื้นฐานที่มีความพร้อมต่อการดำเนินการจับตัวกันเองเพื่อที่จะสร้าง Ig ประเภทอื่น ๆ ขึ้นมา ทางด้านของรูปร่างอันเป็นโครงสร้างเชิงเคมีของ IgG นั้นจะมีรูปลักษณะที่เป็นตัวอักษรวาย (Y) โดยจะทำการนับเป็นแบบ 1 หรือจะเรียกว่า Monomer นอกจากนี้ IgG นั้นยังเป็นสิ่งที่มีบทบาททางด้านระบบของภูมิคุ้มกันโรคอีกมากมาย อาทิเช่น เป็นสิ่งที่ช่วยในเรื่องของการทำล้างจุลชีพก่อโรคที่อยู่ภายในร่างกายให้หมดไปซึ่งตามปกติมักจะเกิดขึ้นจากแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อราได้
สำหรับหญิงสาวที่กำลังอยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์ก็สามารถที่จะส่งผ่าน IgG นั้นจากทางมารดาส่งต่อไปที่ทารกภายในครรภ์ของคุณแม่ได้ซึ่งนั่นก็เปรียบเสมือนเป็นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคให้เกิดขึ้นกับตัวทารกไปโดยปริยาย ทำให้เด็กทารกที่เมื่อถึงเวลาคลอดออกมาแล้วภายในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนlสามารถที่จะรอดพ้นจากบรรดาพวกจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคอันตรายต่าง ๆ
กรณีที่พบว่าค่าของ IgG นั้นมีความผิดปกติอาจเกิดขึ้นจากการที่เกิดมีภาวะเลือดออกได้ง่ายกว่าที่ควรจะเป็นหรือที่เราเรียกกันว่าโรค WISKOTT โรคนี้จะพบว่าผู้ป่วยอาจเกิดอาการผื่นแดงเกิดขึ้น มีระดับของเกล็ดเลือดที่ค่อนข้างต่ำ ระดับของภูมิคุ้มกันเองก็ลดต่ำลงและเวลาที่ถ่ายก็อาจจะพบว่ามีเลือดปนออกมาได้เช่นกัน
การตรวจค่า IgM
การตรวจค่า IgM เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ ESR วัตถุประสงค์การตรวจ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสภาวะของตัวภูมิต้านทานแบบเฉพาะตัวโดยจะมีชื่อว่า ” IgM ” ซึ่ง IgM นั้นมีบทบาทในเชิงเบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างสิ่งที่เป็นสารแบบพิเศษเพื่อการแบ่งหมู่เลือดซึ่งจะเป็นตัวที่เคลือบเม็ดเลือดแดง เป็นตัวที่จะบ่งบอกว่าหมู่เลือดนั้นเป็นหมู่เลือดประเภทใด IgM นั้นเป็นสิ่งที่สามารถสร้างสารแอนติบอดีให้กับตัวผิวหนังของเซลล์ที่อยู่ทางด้านนอกของ B-CELL จะทำให้ B-CELL นั้นเกิดการกระตือรือร้นหรือเกิดลักษณะกระหายอยากจะเข้าไปโจมตี อยากจะเข้าไปพิสูจน์เพื่อทราบในส่วนของจุลชีพที่สามารถก่อโรคอันเป็นสิ่งที่ล่วงล้ำเข้าไปภายในร่างกาย IgM นั้นก็เป็นสิ่งที่กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของส่วน B-CELL เพื่อที่จะช่วยเข้าไปทำลายจุลชีพที่เป็นตัวก่อนโรคในช่วงแรกให้หมดไปได้
1. ค่าปกติในส่วนของ IgM นั้นตามปกติจะอยู่ที่ 55 – 375 mg/dL แต่ในทางผิดปกติค่าของ Ig นั้น
2. อยู่ในระดับต่ำ อาจเกิดจากการได้รับยาบางประเภทที่เข้าไปกดตัวภูมิต้านทาน อาจจะป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
3. แต่หากเป็นกรณีที่มีมากนั่นก็อาจจะเป็นการเกิดการอักเสบแบบเรื้อรังอันเป็นผลมาจากโรคบางประเภท อาทิเช่น โรคตับอักเสบ เป็นต้น อาจเกิดจากโรคประเภทโรคภูมิต้านทานเกิดการทำลายตนเองง อาจเกิดจากสภาวะการอักเสบแบบเฉียบพลัน เพราะตัวของ IgM นั้นเป็นหน่วยรบแบบพิเศษที่ต้องเข้าไปปะทะในจุดแรกที่เจอจุลชีพอันเข้ามาภายในร่างกายพร้อมทั้งจะทำการระบบพลแบบเต็มที่จนนั่นทำให้ค่าของ IgM สูงมากขึ้นนั่นเอง
การตรวจค่า IgA
การตรวจค่า IgA เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ ESR วัตถุประสงค์การตรวจ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสภาวะของตัวภูมิต้านทานแบบเฉพาะตัวโดยจะมีชื่อว่า ” IgA ” ซึ่งในร่างกายมีจำนวนเพียงร้อยละ 15 ของ Ig ส่วนใหญ่มักจะปรากฏออกมาในรูปแบบของเหลวเป็นหลัก จะมาในลักษณะของสารคัดหลั่งที่เป็นมูกออกมาเช่น น้ำตา น้ำลาย น้ำนมเหลือง ในน้ำย่อยในลำไส้เล็ก ในน้ำเมือกในช่องคลอด ในสารคัดหลั่งที่ต่อมลูกหมาก อยู่ในเมือกที่ผนังคอยทำหน้าที่ในการปกป้องทางเดินหายใจยาวไปนับตั้งแต่โพรงจมูกจนกระทั่งปอด
IgA เป็นสิ่งที่สามารถกำจัดเชื้อประเภทเล็ก ๆ ที่หลุดเข้าไปอยู่ภายในร่างกาย สามารถจะเข้าไปปะทะและโดยจับโดยส่วนของมูกหรือเมือก ตลอดในช่วงของช่องทางซึ่งจะไม่ลุกลามขยายตัวสร้างความเสียหายต่อร่างกาย ซึ่งถ้าเกิดค่าผิดปกติจะไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้อย่างเคย เช่น การทรงตัวขณะเดิน ความผิดปกติในการเคลื่อนไหวแขน ลูกตา ลิ้น เป็นต้น หรืออาจเกิดภาวะเส้นเลือดฝอยพอง ขาดโปรตีน หรือถึงขั้นเกิดโรคตับเรื้อรัง ภาวะติดเชื้อ การอักเสบจากโรคบางโรคในลำไส้
การตรวจค่า IEP
การตรวจค่า IEP เป็นการแสดงผลส่วนหนึ่งในระบบการตรวจ ESR วัตถุประสงค์การตรวจ เพื่อที่จะได้ทราบเกี่ยวกับระบบของสนามแม่เหล็กที่ใช้ในการตรวจแยกส่วนของโปรตีน ซึ่งจะมีคุณสมบัติในการเป็นตัวป้องกันคุ้มกันโรคทั้งในส่วนของงเซรุ่มที่อยู่ในเลือด และส่วนของน้ำปัสสาวะ เฉพาะการใช้แบบ IEP เพื่อตรวจเลือดนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ทราบได้ว่า ภูมิคุ้มกันนั้นหรือสิ่งที่เรียกว่า IMMUNOGLOBULIN นั้นแต่ละประเภทจะมีปริมาณมากน้อยเท่าใด สำหรับกรณีของโรคร้ายและการได้รับกระบวนการรักษานั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้ทราบว่าตัวภูมิคุ้มกันนั้นมีค่าที่สูงมากน้อยเพียงใด นั่นก็เพื่อที่จะได้ทราบเกี่ยวกับผลของการตอบสนองต่อการรักษา และค่า IEP นั้นยังสามารถที่จะใช้ในการนำไปตรวจโรคบางประเภทได้ อาทิเช่น โรคมะเร็งในส่วนของไขกระดูก เป็นต้น
1. คำว่า ELETROPHORESIS นั้นเป็นสิ่งที่แปลได้ว่า “ การแยกส่วนของอนุภาคที่เป็นอนุภาคแขวนลอนอันอยู่ภายในของเหลวด้วยตัวระบบสำคัญอย่างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ” นั่นจึงสามารถที่จะสรุปได้ว่า IEP ก็เป็นการแยกเอาประเภทของโปรตีนซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะเป็นสารแขวนลอยที่อยู่ภายในเลือดผ่านระบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้สามารถที่จะทราบได้ว่าแต่ละประเภทนั้นมีระดับปริมาณมากน้อยเท่าใด- ค่าปกติในส่วนของ IgM นั้นตามปกติจะอยู่ที่ 55 – 375 mg / dL แต่ในทางผิดปกติค่าของ Ig นั้น
[adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]
2. คำว่า IEP นั้นเป็นสิ่งที่ย่อมาจาก IMMUNOGLOBULIN คำว่า IMMUNO นั้นหากจะแปลตรงตัวแปลได้ว่า “ ภูมิคุ้มกัน ”
3. คำว่า ELETROPHORESIS นั้นเป็นสิ่งที่แปลได้ว่า “ การแยกส่วนของอนุภาคที่เป็นอนุภาคแขวนลอนอันอยู่ภายในของเหลวด้วยตัวระบบสำคัญอย่างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
และสามารถที่จะสรุปได้ว่า IEP ก็เป็นการแยกเอาประเภทของโปรตีนซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะเป็นสารแขวนลอยที่อยู่ภายในเลือดผ่านระบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้สามารถที่จะทราบได้ว่าแต่ละประเภทนั้นมีระดับปริมาณมากน้อยเท่าใด
ตารางแยกชนิดโปรตีนที่มีภูมิคุ้มกันจากเลือดของผู้ที่มีสุขภาพเลือดปกติ
ชนิดของ immunoglobulin |
ค่าปกติ ( ผู้ใหญ่ ) ( mg/dL ) |
IgG |
565 – 1,765 |
IgA |
85 – 385 |
IgM |
55 – 375 |
IgE |
เล็กน้อย |
IgD |
เล็กน้อย |
บทบาทสำคัญของ IMMUNOGLOBULIN แต่ละประเภท
1. IgG นั้นเป็นสิ่งที่เป็นภูมิคุ้มกันอันมีปริมาณสูงสุดถึงร้อยละ 75 ของภูมิคุ้มกันของเลือด IgG นั้นจะถูกผลิตขึ้นมาในปริมาณเพิ่มมากขึ้นในทุกครั้งที่ร่างกายต้องเจอกับสารที่เป็นสารแปลกปลอมที่เกิดขึ้นจากตัวจุลชีพที่เข้ามาอยู่ภายในร่างกายของคนเรา อาทิเช่น สำหรับกรณีของการฉีดวัคซีนซ้ำทางด้านของ IgG จะทำการสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นมาให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนภายในระยะเวลา 5 วันจนถึง 7 วัน ส่วนของ IgG นั้นจะคอยอยู่เฝ้าระวังพวกเชื้อโรคต่าง ๆ ภายในกระแสเลือด ภายในเนื้อเยื่อ ยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์ IgG ของตัวผู้เป็นแม่จะสามารถถ่ายทอดส่งต่อไปยังทารกได้นั่นจึงทำให้ในเด็กทารกเกิดภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นภายในร่างกาย ทำให้เมื่อเด็กคลอดออกมาจะยังคงสามารถทนต่อเชื้อโรคได้ไปในตัว
2. IgA นั้นก็เป็นอีกหนึ่งภูมิคุ้มกันที่เป็นลำดับรองลงมา นั่นคือ สามารถพบได้อยู่เพียงร้อยละ 15 เท่านั้น ในบางส่วนจะอยู่ภายในกระแสเลือด ในบางส่วนจะอยู่ในสารคัดหลั่งของทางด้านระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร อาทิเช่น น้ำลาย นำนมเหลือง ฯลฯ ในช่วงที่เป็นช่วงเดือนแรกของการคลอดสิ่งนี้สามารถพบได้ในส่วนของโพรงจมูกหรือน้ำตาของทารกได้
[adinserter name=”oralimpact”]
3. IgM นั้นก็เป็นอีกหนึ่งภูมิคุ้มกันประเภทแรกที่จะเข้าไปต่อกรกับพวกเชื้อโรคที่เข้ามาภายในร่างกายของคนเรา ดังนั้น IgM จึงเป็นสิ่งที่สามารถทำหน้าที่โดยตรงต่อภารกิจในการดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกันโรคหรือที่คุ้นหูกันดีว่า ANTIBODY จากทางด้านการฉีดวัคซีน อาทิเช่น โรคโปลิโอ เป็นต้น ซึ่งนั่นจำเป็นที่จะต้องใช้ช่วงระยะเวลายาวนานประมาณ 10 วันจนถึง 14 วัน เพื่อที่ส่วนของภูมิคุ้มกันนั้นจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ นั่นก็คือ จะต้องทำงานร่วมกันกับ B-CELL ตัว IgM นั้นส่วนใหญ่มักจะอยู่ภายในกระแสเลือด รองลงมาก็จะอยู่ตามส่วนของเนื้อเยื่อหรือตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ IgM นั้นเป็นสิ่งที่จำคอบทำหน้าที่ในการกำหนดหมู่ของเลือดพร้อมทั้งกำหนด Rh ร่วมด้วย IgM นั้นมักที่จะแสดงถึงปฏิกิริยาที่มีความเด่นชัดอย่างมากยามเมื่อเกิดการอักเสบเกิดขึ้น แต่ไม่สามารถผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ได้ ซึ่งถ้าทารกมีค่า IgM สูงผิดปกติ จำเป็นต้องวินิจฉัยวิอาจได้รับเชื้อผ่านทางท่อปัสสาวะมารดา เช่น โรคหัดเยอรมัน หรือโรคติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ของมารดา
4. IgE เป็นภูมิคุ้มกันที่ใช้เฝ้าระวัง สารสร้างภูมิแพ้จากจุลชีพก่อโรคใดๆ เช่น จากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา
5. นับเป็นจำนวนที่น้อยที่สุด และปัจจุบันยังไม่ทราบบทบาทที่แน่ชัด
IEP ในลักษณะภาพรวม มีส่วนของ Ig นั้นจะมีเฉพาะเพียง 3 ตัว นั่นคือ IgG IgM และท้ายสุดคือ IgA ซึ่งล้วนแต่มีบทบาทสำคัญต่อลักษณะการแดงผลที่มีต่อสภาวะในเรื่องของภูมิต้านทานโรคที่แต่ละประเภทก็ต่างมีความแตกต่างกันออกไปและหากเป็นกรณีใดที่พบว่ามีการแสดงค่าในลักษณะที่สูงกว่าเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์สามารถที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่านั่นกำลังเข้าสู่การเกิดลักษณะสภาวะตามผิดปกติต่อระบบในร่างกาย หากจะทำการพิจารณาค่าของทั้งสามอาจจะสามารถทำให้คุณได้ทราบถึงข้อบ่งชี้เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสภาวะของโรค
ตารางแสดงภาพรวม IEP
IgG |
IgA |
IgM |
แสดงสภาวะ/โรค |
ปกติ |
ต่ำ |
ปกติ |
Acute lymphocytic leukemia
( มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์เฉียบพลัน ) |
ต่ำ |
ต่ำ |
ต่ำ |
Chronic lymphocytic leukemia
( มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์เรื้อรัง ) |
ปกติ |
ต่ำ |
ปกติ |
Acute myelocytic leukemia
( มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไขกระดูกเฉียบพลัน ) |
ปกติ |
ปกติ |
ปกติ |
Chronic myelocytic leukemia
( มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไขกระดูกเรื้อรัง ) |
ปกติ |
ต่ำ |
ปกติ |
Hodgkin’s disease
( โรคฮอดกินส์ ) |
สูง |
ปกติ |
สูง |
Hepatitis
( โรคตับอักเสบ ) |
ปกติ |
สูง |
สูง |
Biliary cirrhosis
( โรคตับแข็งเหตุน้ำดี ) |
สูง |
ปกติ |
สูง |
Rheumatoid arthritis
( โรคข้ออักเสบจากรูมาตอยด์ ) |
สูง |
สูง |
สูง |
Systemic lupus erythematosus
( โรคผิวหนังผื่นแดงชนิดลูปุส ) |
สูง |
สูง |
ปกติ |
Nephrotic syndrome
( สภาวะของโรคไต ) |
ข้อควรพิจารณา
การแปลผล Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ควรทำด้วยความระมัดระวังเนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการตกของเม็ดเลือดแดง เช่น อายุ เพศ ภาวะซีด ภาวะเลือดข้น เม็ดเลือดแดงมีขนาดหรือรูปร่างผิดปกติ การเกาะกลุ่มกันของเม็ดเลือดแดง (autoagglutination) การตั้งครรภ์ ระยะของรอบประจำเดือน การใช้ยาบางชนิด ฯลฯ
1. Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) เป็น Indirect measurement ต้องแปลผลร่วมกับ Clinical และวัด Acute phase reactant ร่วมกับตัวอื่นด้วย เช่น CRP
2. Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ที่สูงมาก[>100] มี DDX ที่มักเกี่ยวกับโรค Autoimmune และ Chronic systemic inflamation , Ig disease ect
3. Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) ในผู้หญิงค่าปกติสูงกว่าผู้ชายและสูงขึ้นตามอายุ ในคนท้อง Erythrocyte Sedimentation Rate ( ESR ) สูง อาจเกิดจาก RBCs mass เพิ่มมากขึ้น