Home Blog Page 104

กระเจี๊ยบเขียว ผักพื้นบ้านแหล่งแคลเซียมจากธรรมชาติ

0
กระเจี๊ยบเขียว ผักพื้นบ้านแหล่งแคลเซียมจากธรรมชาติ
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชฝักสีเขียวอุดมด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ มีรสชาติหวาน กรอบอร่อย นิยมใช้ปรุงเป็นอาหาร
กระเจี๊ยบเขียว ผักพื้นบ้านแหล่งแคลเซียมจากธรรมชาติ
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชฝักสีเขียวอุดมด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ มีรสชาติหวาน กรอบอร่อย นิยมใช้ปรุงเป็นอาหาร

กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว ( Okra ) คือ พืชล้มลุกขนาดกลางพันธุ์ฝักสีเขียวที่กินได้นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร ฝักอ่อนมีรสชาติหวาน กรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นของกระเจี๊ยบ มะเขือมอญ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทะวาย มะเขือลื่น มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือละโว้ ถั่วเละ จัดอยู่ในวงศ์ชบา MALVACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus (L.) Moench กระเจี๊ยบมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถบแอฟริกาตะวันตกและนำเข้าไปยังยุโรปตะวันตก ปัจจุบันกระเจี๊ยบเขียวเป็นที่นิยมในแอฟริกาตะวันออกกลาง กรีซ ตุรกี อินเดีย แคริบเบียน อเมริกาใต้ และตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา 

ผักกระเจี๊ยบเขียวอุดมด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระหลัก โดยเฉพาะฟลาโวนอยด์ ไอโซเคอร์ซิติ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค เป็นสารประกอบในอาหารที่ป้องกันความเสียหายจากโมเลกุลที่เป็นอันตรายเรียกว่า อนุมูลอิสระ กระเจี๊ยบจึงมีประโยชน์มากมาย นิยมใช้ปรุงเป็นอาหาร หรือช่วยเพิ่มความหวานในอาหาร เช่น น้ำซุป ใบและผลอ่อนใช้เป็นยาพอกแก้ปวดเมื่อย ในบางประเทศนำเมล็ดแก่กระเจี๊ยบมาใช้แทนเมล็ดกาแฟ ฝักอ่อนกระเจี๊ยบเขียวนำมารับประทานสด ผักต้มจิ้มน้ำพริก หรือปรุงเป็นอาหาร ส่วนเมล็ดใช้สกัดน้ำมันได้ ใยกระเจี๊ยบเขียวสามารถใช้ในการผลิตกระดาษได้ รวมถึงในฝักกระเจี๊ยบนั้นยังเป็นแหล่งแคลเซียมธรรมชาติที่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงปลอดภัยสำหรับการบริโภค ในทางการแพทย์ยังใช้เมือกจากฝักสดกระเจี๊ยบเขียวมาใช้รักษาอาการอาหารไม่ย่อยอีกด้วย

ลักษณะของกระเจี๊ยบเขียว

  • ต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชผักที่ได้รับความนิยมในภูมิภาคเขตร้อนเนื่องจากปลูกง่ายให้ผลผลิตเร็ว ทนต่อสภาพอากาศและมีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช
    มีลำต้นตั้งตรงขนาดเล็กสูงประมาณ 2 เมตร และกิ่งก้านที่แตกออกจากลำต้นสลับกันสีเขียวอ่อน มีขนอ่อนสีขาวรอบลำต้นสัมผัสได้
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะใบกว้างมีความยาว 10–20 เซนติเมตร ใบมี 5-7 แฉก คล้ายรูปหัวใจ ขอบใบหยัก ปลายใบมนแหลม มีขนอ่อน
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว ดอกสีเหลืองอ่อนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-8 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบปลายกลีบโค้งมน ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีก้านชูอับเรณูรวมกันลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรหุ้มเกสรตัวเมียไว้
  • ผลกระเจี๊ยบเขียว หรือ ฝักกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนไปถึงเข้ม รูปทรงเป็นเหลี่ยมยาว 5 – 9 เหลี่ยม ปลายฝักเรียวแหลม มีขนอ่อนสีขาว เมื่อเวลาผ่านไป ฝักเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วจะแตกออก
  • เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเมล็ดอ่อนจะมีสีขาวเรียงเป็นแถวยาวตามความยาวของแต่ละฝักมีเมล็ดประมาณ 50-80 เมล็ด เมื่อเวลาผ่านไปเมล็ดเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมดำ
  • การขยายพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ดโดยนำไปแช่น้ำ 1 คืนก่อนปลูกจะช่วยให้เมล็ดพันธุ์พืชงอกได้เร็วขึ้น ซึ่งกระเจี๊ยบเป็นพืชผักพื้นบ้านที่ชอบความร้อนเติบโตได้ดีที่สุดในสภาพอากาศประเทศไทยและชอบดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดีถึงปานกลาง ดินควรมีอินทรียวัตถุสูงโดยมี pH ระหว่าง 5.8 ถึง 6.8 ควรปลูกในบริเวณที่มีแสงแดดจัด เพราะกระเจี๊ยบเขียวเติบโตได้ดีที่สุดในอุณหภูมิที่ร้อน 35 – 65 องศาเซลเซียส   
  • การเก็บเกี่ยวฝักกระเจี๊ยบอ่อน จะเริ่มเก็บผลผลิตประมาณ 2 เดือนหลังปลูก โดยทั่วไปฝักกระเจี๊ยบเขียวจะพร้อมเก็บเกี่ยว 4-6 วันหลังดอกบาน
    และควรเก็บเกี่ยวฝักกระเจี๊ยบเขียวทุกๆ 2-3 วัน เมื่อมีความยาวถึง 7.6–15.2 เซนติเมตร สามารถนำฝักออกจากต้นได้โดยการตัดด้วยมีดคมหรือหักออกจากต้นก็ได้เช่นกัน

ทางการแพทย์ยังใช้เมือกจากฝักสดกระเจี๊ยบเขียวมาใช้รักษาอาการอาหารไม่ย่อย

กระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณและประโยชน์

กระเจี๊ยบเขียวอ่อนประกอบด้วยเส้นใยอาหารเป็นหลักอีกทั้งมีแคลอรี่ต่ำแทบไม่มีไขมันเลย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งแคลเซียม วิตามินเค วิตามินเอ สังกะสี และวิตามินซี ที่สำคัญใยอาหารประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ เส้นใยที่ไม่ละลายน้ำซึ่งเป็นส่วนประกอบของผักเกือบทุกชนิด และเส้นใยที่ละลายน้ำได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมือกที่กระเจี๊ยบมี เส้นใยที่ละลายน้ำได้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการลดระดับคอเลสเตอรอลรวมทั้งดักจับไขมันส่วนเกินภายในร่างกายการรับประทานกระเจี๊ยบเขียวให้ประโยชน์ด้านสุขภาพ ดังนี้

1. ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
2. กระเจี๊ยบเขียวเป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายและเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับชาวมังสวิรัติ
3. เส้นใยอาหารของกระเจี๊ยบเขียวช่วยให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น
4. กินกระเจี๊ยบเขียวช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ช่วยในการลดน้ำได้ได้ลดไม่มันไม่ดี (LDL)
5. ช่วยเพิ่มการทำงานของหัวใจ
6. กระเจี๊ยบเขียวสามารถช่วยให้ทุกคนห่างไกลจากโรคมะเร็งได้
7. ปริมาณโฟเลตที่สูงในกระเจี๊ยบมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งเป็นอาหารชั้นเยี่ยมสำหรับผู้หญิงก่อนตั้งครรภ์
หรือในระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยส่งเสริมให้แม่และทารกมีสุขภาพดี
8. ช่วยชะลออัตราการดูดซึมน้ำตาลในทางเดินอาหาร
9. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
10. ช่วยป้องกันโรคไต
11. ช่วยบำรุงสมอง
12. ช่วยลดอาการหอบหืด บรรเทาอาการทางเดินหายใจ
13. ช่วยต้านการอักเสบ เช่น การรักษาปอดอักเสบ เจ็บคอ และอาการลำไส้แปรปรวน
14. ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม
15. ช่วยในการเจริญเติบโต ฟื้นฟูเซลล์ผิว และเพิ่มปริมาณคอลลาเจน ทำให้ผิวดูเรียบเนียนอ่อนเยาว์และมีสุขภาพดี
16. เมือกของกระเจี๊ยบเขียวช่วยเคลือบทางเดินอาหาร และช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารให้รู้สึกดีขึ้น
17.ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องของโรคกระเพาะ
18. ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดี   
19. ช่วยป้องกันความผิดปกติของท่อประสาท
20. ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
21. ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
22. ช่วยสร้างโปรตีนที่มีประโยชน์ในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย
23. ช่วยเร่งการสลายกลูโคสและไขมันไม่ดี
24. ช่วยเพิ่มอัลบูมินซึ่งเป็นโปรตีนในเลือดที่มีประโยชน์ในตับ
25. ป้องกันผิวจากแสงแดด
26. ช่วยลดโปรตีนในปัสสาวะ
27. ช่วยลดอาการปวดกราม ลดการอักเสบและความเจ็บปวด
28. แก้พยาธิตัวจี๊ด

ตารางข้อมูลทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียวดิบ 100 กรัม

กระเจี๊ยบเขียวดิบ 100 กรัม ให้พลังงาน 43 แคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
แคลเซียม 85 มิลลิกรัม
ไขมัน 2.32 กรัม
โซเดียม 231 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 5.08 กรัม
เส้นใยอาหาร 2.6 กรัม
น้ำตาล 2.57 กรัม
โปรตีน 1.92 กรัม
เหล็ก 0.48 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 37 มิลลิกรัม
วิตามินซี 13.7 มิลลิกรัม
แคโรทีน             ไทอามีน                ไรโบฟลาวิน                ไนอาซิน

นอกจากนี้ กระเจี๊ยบเขียวมีสารประกอบที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ได้แก่ คาเทชิน ฟลาโวนอล กรดไฮดรอกซีซินนามิก แทนนิน สเตอรอล Quercetin, Triterpenes, Pectic rhamnogalacturonan I, Epigallocatechin   

กระเจี๊ยบเขียว ประโยชน์

ใบและผลอ่อนกระเจี๊ยบเขียว : ใช้เป็นยาพอกแก้ปวดเมื่อย
ฝักอ่อนกระเจี๊ยบเขียว : กินสดได้ หรือนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายเมนู
เมล็ดกระเจี๊ยบเขียวแห้ง : ใช้สกัดเป็นน้ำมัน บางประเทศคั่วและบดเพื่อทำกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน
ดอกกระเจี๊ยบเขียว : นำมาตำใช้พอกแผลจากฝีและช่วยรักษาฝีได้
เมือก หรือยางจากผลสดกระเจี๊ยบเขียว : มีสรรพคุณทางยา
รากกระเจี๊ยบเขียว : ใช้เป็นยาสมุนไพรล้างแผลและแผลพุพอง
เส้นใยจากกระเจี๊ยบเขียว : ใช้ในการผลิตกระดาษ
ผงกระเจี๊ยบเขียว : ใช้รักษาโรคกระเพาะ
น้ำกระเจี๊ยบเขียว : ช่วยลดน้ำหนัก ลดความดัน

ผลข้างเคียงจากกระเจี๊ยบเขียว

จากการศึกษาพบว่าการรับประทานกระเจี๊ยบเขียวมีความปลอดภัยสูงในปริมาณอาหารทั่วไป แต่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิต เนื่องจากผิวหนังสัมผัสกันขนกระเจี๊ยบเขียวโดยตรงอาจทำให้ผิวหนังเป็นผื่นคัน หรือเกิดการอักเสบได้

ข้อควรระวัง

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่กินยา Metformin ( เมทฟอร์มิน ) คือ ยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน มีคุณสมบัติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากผู้ป่วยกินยาชนิดนี้อยู่ไม่ควรกินกระเจี๊ยบเขียวในเวลาใกล้เคียงกัน ควรเว้นระยะห่าง 1-2 ชั่วโมง เพราะกระเจี๊ยบเขียวมีฤทธ์ลดการดูดซึมอาจส่งผลต่อการดูดซึมยาชนิดนี้ได้

ในผลอ่อนกระเจี๊ยบเขียวที่มีแคลเซียมในปริมาณมากเป็นสิ่งจำเป็นไม่เพียงแต่กระดูกและฟันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำงานของร่างกายอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อ และการส่งสัณญาณตอบสนองของระบบประสาทที่ดีที่สุด กระเจี๊ยบจึงเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมสูงที่ได้จากธรรมชาตินอกเหนือจากนม นอกจากนี้แคลเซียมยังมีความสำคัญต่อเด็กอายุระหว่าง 4 – 18 ปี ต้องการแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ปริมาณที่แนะนำต่อวันคือแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน และผู้สูงอายุควรรับประทานแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากร่างกายของเราไม่สามารถผลิตแคลเซียมได้ดังนั้นจึงต้องบริโภคอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมเช่นกระเจี๊ยบเขียวนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ฉีดฟิลเลอร์ คืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร อันตรายหรือไม่บทความนี้มีคำตอบ !

0
Filler เออเร่อไม่ว่าแต่อย่าเหลือ
ฟิลเลอร์ คือ สารเติมเต็มที่ประกอบด้วยสาร Hyaluronic Acid หรือที่เรียกว่า HA จัดเป็นสารโพลีแซคคาไรด์
Filler เออเร่อไม่ว่าแต่อย่าเหลือ
ฟิลเลอร์ คือ สารเติมเต็มที่ประกอบด้วยสาร Hyaluronic Acid หรือที่เรียกว่า HA จัดเป็นสารโพลีแซคคาไรด์

ฟิลเลอร์ ( Filler )

ฟิลเลอร์ คืออะไร ? เมื่อกล่าวถึงฟิลเลอร์เชื่อว่าทุกคนต้องเคยได้ยินมาบ้าง เพราะฟิวเลอร์เป็นสารที่นำยมใช้ในการลดเรือนริ้วรอยเหี่ยวย่นที่เกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะบนใบหน้า หลายคนมีความเข้าใจว่าฟิวเลอร์ก็คือโบท็อก ( Botox ) แต่ที่จริงแล้วฟิวเลอร์มีความแตกต่างจากโบท็อก ( Botox )

ฟิลเลอร์ ( Filler ) คืออะไร

ฟิลเลอร์ ( Filler ) คือ สารเติมเต็มที่ประกอบด้วยสาร Hyaluronic Acid หรือที่เรียกว่า HA จัดเป็นสารโพลีแซคคาไรด์ ( Polysaccharide ) เป็นองค์ประกอบที่มีอยู่ในผิวหนังและกระดูกอ่อนของคนเรา เมื่อนำสารประกอบ HA มาผสมเข้ากับน้ำสารดังกล่าวจะสามารถขยายตัวขึ้นและเปลี่ยนมาอยู่ในรูปของเหลวหรือเจล ที่มีลักษณะเป็นสารประกอบหนึ่งของคอลลาเจนที่อยู่ใต้ผิวนั่นเอง

ชนิดของ ฟิลเลอร์ ( Filler )

เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมามีการใช้ Dermal filler ในการเขข้ามาช่วยเติมเต็มให้กับผิวหนัง ต่อมาได้มีการพัฒนาฟิลเลอร์ (Filler) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการฟิลเลอร์ที่อยู่ได้นาน ซึ่งสามารถแบ่งชนิดของฟิลเลอร์ได้ตามคุณสมบัติดังนี้

1.ฟิลเลอร์ชนิดแบบไม่ถาวร ( Temporary Dermal Filler )
คือ ฟิลเลอร์ ( Filler ) ที่มีความคงตัวนานในร่างกายประมาณ 8-12 เดือน ฟิลเลอร์ชนิดนี้ทำการสกัดคอลลาเจนจาก Bovine ( วัว ) ดังนั้นผู้ที่ต้องการใช้ฟิลเลอร์ชนิดนี้จะต้องทำการทดสอบก่อนว่าแพ้สารที่มีอยู่ในวัวหรือไม่ เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการแพ้สารจากวัว ฟิลเลอร์ชนิดนี้ ได้แก่ Zyderm, Zyplast ซึ่งจัดว่าเป็นฟิลเลอร์ที่มีคุณสมบัติเป็นคอลลาเจนที่มาจากธรรมชาติ ปัจจุบันฟิลเลอร์ชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากเมื่อเกิดอาการแพ้แล้วอาการจะมีความรุนแรงเป็นอันตรายสูง

2.ฟิลเลอร์ชนิดกึ่งถาวร ( Semi-Permanent Dermal Filler )
คือ ฟิลเลอร์ ชนิดกึ่งถาวรที่ทำการเติมเต็มด้วยการฉีด อยู่ในกลุ่มของ Hyaluronic Acid ( HA ) เช่น Restylane, Hydrafill, Juvederm, Hylaform เป็นต้น ทำการสังเคราะห์จากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส ( Streptococcus ) ซึ่งสารที่สกัดได้นี้จะมีคุณสมบัติที่สามารถช่วยรักษาน้ำที่มีอยู่ในผิว ส่งผลให้ผิวมีความชุ่มชื้นและเต่งตึงกระชับมากขึ้น เมื่อฉีดแล้วมีกระจายตัวไปวยังบริเวณข้างเคียง สามารถอยู่ในร่างกายได้ประมาณ 2 ปี เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วฟิลเลอร์จะมีความปลอดภัยมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้น้อย

 3.ฟิลเลอร์ชนิดถาวร ( Permanent Dermal Filler )
คือ ฟิลเลอร์ ( Filler ) ชนิดถาวรที่เมื่อทำการฉีดเข้าสู่ร่างกายเพียงครั้งเดียวจะสามารถคงอยู่ได้ตลอดชีวิต ฟิลเลอร์ในกลุ่มนี้สามารถแบ่งได้ดังนี้
3.1 ฟิลเลอร์ชนิด Artecoll หรือ Artifill จัดเป็นสารในกลุ่ม Polymethyl methacrylate ( PMMA ) มีลักษณะคล้ายกับอะคริลิคหรือแผ่นเรียบที่ทำจากพลาสติกนั่นเอง
3.2 ฟิลเลอร์ชนิด Aquamid เป็น Plyacrylamide หรือที่รู้จักกันในชื่อพอลิเมอร์นั่นเอง
3.3 ฟิลเลอร์ชนิด Radiesse เป็น Calcium Hydro-xylaptide ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ในประเทศไทยฟิลเลอร์ชนิดนี้ยังไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาใช้ในการศัลยกรรมได้ เนื่องจากยังไม่ผ่านมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาภายในประเทศ แม้ในต่างประเทศจะมีการรับรองแล้วก็ตาม

การเลือกใช้ ฟิลเลอร์ ( Filler ) ว่าจะใช้ชนิดใดในการฉีดเข้าสู่ร่างกายก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์และความต้องการหรือจุดประสงค์ของผู้ป่วยด้วยว่าต้องการความคงอยู่ของฟิลเลอร์ยาวนานแค่ไหน การฉีดสารเติมเต็มเพื่อลดความลึกของร่องผิว เพิ่มความหนาให้กับผิวหนังได้มีการนำมาใช้ตั่งแต่ปี ค.ศ.1960 โดยมีการเริ่มจากแถบอเมริกา ยุโรปและข้ามมายังญี่ปุ่น ซึ่งในช่วงแรกสารที่ใช้ในการฉีดคือ ซิลิโคนเหลว ( Liquid Silicone ) หลังนั้นประมาณ 20 ปีพบว่าการฉีดซิลิโคนเหลวจะไม่สามารถกำหนดตำแหน่งที่แน่นอนของซิลิโคนที่ฉีดเข้าไปได้ ก่อให้เกิดอาการบวมแดง อักเสบ มีลักษณะเป็นก้อนหรือไตเกิดขึ้นได้ และที่อันตรายก็คือซิลิโคนเหลวจัดเป็นสารที่สามารถก่อมะเร็งได้ สารซิลิโคนเหลวยังมีการลักลอบนำไปใช้ในหมู่ของหมอเถื่อนที่อยู่ในประเทศไทย เพราะว่ามีราคาที่ไม่สูงมาก สามารถฉีดเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย

ต่อมาได้มีการพัฒนานำสารฟิลเลอร์ชนิด Hyaluronic Acid (HA) เข้ามาใช้ในการฉีดเข้าสู่ภายในร่างกาย แต่ว่า ฟิลเลอร์ ( Filler ) ที่ได้รับการรับรองจาก อย.เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ซึ่งก่อนที่จะทำการเลือกฟิลเลอร์เข้ามาฉีดต้องทำการศึกษาเสียก่อนว่าฟิลเลอร์ที่เลือกนั้นได้รับการรับรองที่ถูกต้องตามกฎหมายของไทยหรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ผ่านทางเว็ปไซต์ของคณะกรรมการอาหารและยา   

จุดประสงค์ของการพัฒนา ฟิลเลอร์ ( Filler ) เพื่อนำมาเติมเต็มร่องและริ้วรอยที่เกิดขึ้นบนใบหน้า เช่น ร่องที่บริเวณแก้ม ร่องที่บริเวณหน้าผาก หรือร่องน้ำหมาก (Marionette line) รวมถึงริ้วรอยที่เกิดขึ้นในร่องแก้ม ( Nasolabiafold ) รวมถึงการเพิ่มความหนาของริมฝีปากให้มีความหนามากขึ้น (Lip Augmentation) หรือการเพิ่มขนาดของแก้มให้มีอูมมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการฉีด Botox ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ แต่ไม่ได้ทำการพัฒนามาเพื่อใช้ในการเสริมจมูกให้มีความโด่งมากขึ้นหรือการเสริมคางให้มีความยาวมากขึ้นเหมือนที่แพทย์ชาวไทยใช้กัน ซึ่งใช้กันมายาวนานกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งส่วนมากฟิลเลอร์ที่ใช้มักจะเป็นฟิลเลอร์ชนิดกึ่งถาวรที่สามารถสลายได้หลังจากฉีดไปแล้วประมาณ 2-3 ปี เนื่องจากฟิลเลอร์ชนิดถาวรนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงและต้องได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ต้องการฉีดอีกด้วย ซึ่งราคาของฟิลเลอร์ชนิดนี้จะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 18,000 บาท

ฟิลเลอร์ คือ สารเติมเต็มที่ประกอบด้วยสาร Hyaluronic Acid หรือที่เรียกว่า HA แบ่งออกเป็น3แบบคือ ฟิลเลอร์แบบถาวร ฟิลเลอร์กึ่งถาวร และฟิลเลอร์ไม่ถาวร

การทำงานของฟิลเลอร์ในการเป็นสารเติมเต็ม จะมีลักษณะคล้ายกับฟองน้ำที่สามารถพองตัวให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้ด้วยการดูดซึมน้ำเข้าสู่ภายในและสามารถยุบตัวลงได้เมื่อมีการสูญเสียน้ำออกมาสู่ภายนอก ซึ่งสามารถสังเกตได้ว่าในช่วงที่ร่างกายได้รับน้ำในปริมาณที่มากบริเวณที่มีฟิลเลอร์จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นแต่ในทางกลับกันในช่วงที่ร่างกายสูญเสียน้ำ เช่น ขณะที่ออกกำลังกาย อยู่ในที่มีอากาศร้อน บริเวณที่มีฟิลเลอร์อยู่จะยุบตัวลงเล็กน้อย ดังนั้นคนที่มีการฉีดฟิลเลอร์เข้าไปไม่ควรทำการอบซาวน์น่าหรือทำงานอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนๆ

สำหรับคนที่ต้องการฉีด ฟิลเลอร์ ( Filler ) เข้าสู่ร่างกายทั้งเพื่อเสริมจมูกหรือเติมเต็มร่องลึกที่เกิดขึ้นบนใบหน้า สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การฉีดฟิลเลอร์ได้ผลดีที่สุดนอกจากชนิดของฟิลเลอร์ที่นำมาทำการฉีดแล้ว อีกสิ่งหนึ่งก็คือแพทย์ผู้ทำการฉีดฟิลเลอร์ควรมีความเชี่ยวชาญและชำนาญจะสามารถทำการฉีดฟิลเลอร์เข้าสู่ร่างกายได้อย่าตรงตามตำแหน่งว่าจะต้องทำการฉีดฟิลเลอร์ให้อยู่ในชั้นหนังกำพร้า ( Middermis ) หรือชั้นไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนัง ( Subcutaneous ) หรือว่าจะต้องแดฟิลเลอร์เข้าไปถึงชั้นใต้เยื่อหุ้มกระดูก ( Subperiosteal ) หรือว่าต้องทำการฉีดในตำแหน่งมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง และฉีดในปริมาณที่พอดีให้ผิวหนังมีระดับที่สมดุลกับระดับผิวหนังเดิม และการฉีดฟิลเลอร์ที่ดีจะต้องเลือกตำแหน่งในการ ซึ่งการฉีดจะต้องใช้ประสบการณ์ที่สูงมากจึงจะสามารถทำให้ผลที่เกิดขึ้นจากากรฉีดฟิลเลอร์ออกมาได้อย่างที่ใจต้องการ  

อย่างที่ทราบกันแล้วว่า ฟิลเลอร์ ( Filler ) ที่นิยมใช้กันจะเป็นฟิลเลอร์ชนิดกึ่งถาวร ดังนั้นฟิลเลอร์จึงมีการสลายได้เองตามธรรมชาติจริงแต่ระยะเวลาในการสลายจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ซึ่งระยะมีอยู่หลายช่วงเวลา เช่น 6 เดือน 8 เดือน 1ปีหรือ 2 ปี เพราะว่าเมื่อฟิลเลอร์เข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีการสร้างเนื้อเยื่อหรือพังผืดขึ้นมาปกคลุมฟิลเลอร์ไว้ ทำให้ฟิลเลอร์สามารถคงตัวได้นานขึ้น แต่สำหรับคนที่ต้องการนำฟิลเลอร์ออกก่อนที่ฟิลเลอร์จะสลายตัวนั้น สามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดนำเอาผิวหนังกำพร้ากับชั้นไขมันที่อยู่ในบริเวณทีอยู่ใต้ผิวหนังออกมาด้วยซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย บางครั้งการปล่อยให้ฟิลเลอร์คงอยู่ภายในร่างกายยังมีอันตรายน้อยกว่าการผ่าตัดเพื่อนำฟิลเลอร์ออกมาเสียด้วยซ้ำ

ข้อเสียหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากาการฉีดฟิลเลอร์

การฉีด ฟิลเลอร์ ( Filler ) ไปแล้วคนไข้สามารถที่จะทำการฉีดฟิลเลอร์เพื่อเสริมขนาดของฟิลเลอร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ที่ทำการรักษาด้วย แต่การเสริมจมูกด้วยฟิลเลอร์นอกจากจะมีข้อดีหลายประการแต่ก็มีข้อเสียหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากาการฉีดฟิลเลอร์ได้ดังนี้

1.ตาบอด
การฉีดฟิลเลอร์ถ้ามีความผิดพลาดฉีดเข้าสู่เส้นเลือดแล้ว อาจจะส่งผลให้ตาบอดได้ เนื่องจากฟิลเลอร์เข้าไปอุดตันเส้นเลือดทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงดวงตาส่งผลให้ตาบอดได้

2.ผิวหนังตาย
การฉีดฟิลเลอร์เข้าสู่เส้นเลือดไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดดำหรือเส้นเลือดแดง นอกจากที่ทำให้มีความเสี่ยงในการตาบอดแล้วยังมีความเสี่ยงที่กล้ามเนื้อตายเนื่องจากการขาดสารอาหารและออกซิเจนเช่นเดียวกับอาการตาบอด

อุปกรณ์ช่วยและการฉีดที่สามารถช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน

การสังเกตว่าร่างกายมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ ให้สังเกตได้จากการลักษณะของสีผิวที่เกิดขึ้น คือ ถ้า ฟิลเลอร์ ( Filler ) ไปอุดตันเส้นเลือดแดง ผิวหนังจะมีสีซีดขาว แต่ถ้าฟิลเลอร์เข้าไปอุดตันเส้นเลือดดำผิวหนังจะมีลักษณะบวม แดงหรือม่วง ดังนั้นการตรวจสอบว่าอาการที่เกิดขึ้นมีอันตรายมากหรือน้อยต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยในทันที ถึงแม้ว่าความเสี่ยงในการฉีดฟิลเลอร์จะมีอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ว่าอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนั้นสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการฉีดฟิลเลอร์ ( Filler Supporter ) เข้ามาช่วยในการฉีด ซึ่งอุปกรณ์ช่วยและการฉีดที่สามารถช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน คือ 

การฉีดฟิลเลอร์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจทำการฉีดฟิลเลอร์ต้องทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดฟิลเลอร์ให้ดีเสียก่อน

1.เข็มที่มีขนาดเล็กมาก
โดยปกติ ฟิลเลอร์ ( Filler ) จะมีการบรรจุเข็มมากับกล่องที่ใส่ฟิลเลอร์ หลายคนคิดว่าเข็มดังกล่าวเหมาะสมกับการฉีดแล้ว แต่ที่จริงเข็มที่บรรจุมานั้นมีขนาดที่ใหญ่ไม่เหมาะสมกับการนำมาฉีดฟิลเลอร์ แต่ควรใช้ Blunt Flexible Microcannulas เข็มแบบนี้จะมีปลายเข็มที่ไม่คมหรือปลายเข็มทู่ จึงช่วยลดความเสี่ยงที่ปลายเข็มจะไปแทงเข้าสู่ผนังเส้นเลือดได้

2.เครื่องสแกนเส้นเลือด
ก่อนที่จะทำการฉีดฟิลเลอร์สามารถทำการสแกนเพื่อระบุตำแหน่งของเส้นเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้มีการฉีดฟิลเลอร์เข้าสู่เส้นเลือดได้

3.ปริมาณในการฉีด
การฉีดฟิลเลอร์ควรฉีดในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป เพราะการฉีดน้อยจมูกก็จะไม่ได้รูปร่างตามที่ต้องการ แต่การฉีดมากเกินไปก็จะทำให้ผิวหนังในบริเวณดังกล่าวมีความตึงแน่นมากเกินไป ทำให้มีการรัดตัวและฟิลเลอร์อาจไหลไปอยู่ที่ส่วนอื่นได้

4.ชนิดของฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์ ( Filler ) ที่นำมาใช้เป็นสิ่งที่ต้องนำมาฉีดเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นการเลือกชนิดของฟิลเลอร์จึงมีความสำคัญมาก เพราะถ้าฟิลเลอร์ที่ใช้เป็นอันตรายต่อร่างกาย ร่างกายอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ ดังนั้นควรเลือกฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพไม่เป็นพิษหรือมีสารที่แพ้ผสมอยู่

5.ประวัติการฉีดหรือการผ่าตัด
การฉีด ฟิลเลอร์ ( Filler ) ครั้งแรกเป็นสิ่งที่สามารถทำได้อย่างไม่เป็นอันตราย แต่ถ้ามีการฉีดฟิลเลอร์ในครั้งที่ 2 หรือเคยได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมหรือเกิดอุบัติเหตุที่ต้องทำการผ่าตัด เพราะว่าอาการดังกล่าวมีผลต่อลักษณะทางกายวิภาคของร่างกาย รวมถึงเส้นเลือดที่มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทำให้การฉีดฟิลเลอร์จะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนมากขึ้น ดังนั้นเมื่อทราบประวัติแล้วก็ไม่ควรที่จะทำการฉีดฟิลเลอร์นั่นเอง 

6.การฉีดน้ำสารสลายฟิลเลอร์ ( Hyluronidase )
เมื่อ ฟิลเลอร์ ( Filler ) สร้างอาการแทรกซ้อนที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เมื่อเกิดอาการแทรกซ้อนแล้วจึงจำเป็นต้องทำการสลายฟิลเลอร์ออกด้วยการน้ำเพื่อสลายฟิลเลอร์ ซึ่งร้านที่ทำการเสริมจมูกจะมีสารที่มีคุณสมบัติในการสลายฟิลเลอร์ที่ใช้อยู่ด้วยเสมอ เช่น Hyaluronidase ที่เป็น Pro –enzyme ที่มีคุณสมบัติสามารถสลาย Hyaluronic Acid filler แต่ก่อนที่จะทำการฉีดต้องทำการตรวจสอบเสียก่อนว่าสามารถใช้สารสลายดังกล่าวกับผู้ป่วยได้หรือไม่

7.ใช้พลาสเตอร์
พลาสเตอร์ Nitroglycerine Paste ที่มีคุณสมบัติช่วยในการขยายหลอดเลือดที่บริเวณหัวใจ ในผู้ป่วยที่ปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเมื่อนำแผ่นพลาสเตอร์ Nitroglycerine Paste มาแปะพร้อมทั้งทำการนวดประมาณ 3-4 นาที จะสามารถช่วยลดอาการบวม อักเสบได้

8.การฉีด High Dose Steroid ( Dexa )
การฉีด High Dose Steroid ( Dexa ) สามารถช่วยลดอาการอักเสบ บวมที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งปริมาณในการฉีดจะอยู่ที่ปริมาณ 4-5 มิลลิกรัม

การศัลยกรรมเสริมจมูกด้วยการฉีด ฟิลเลอร์ ( Filler ) เป็นสิ่งที่นิยมทำกันมาในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเพียงแค่ฉีดเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น การฉีดฟิลเลอร์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจทำการฉีดฟิลเลอร์ต้องทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดฟิลเลอร์ให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะได้สวยด้วยฟิลเลอร์อย่างไม่มีอันตราย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

สมาคมแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย. สวยให้สุด หยุดที่ศัลยแพทย์ตกแต่ง : กรุงเทพฯ: ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้น จำกัด,2561. www.vsquareclinic.com https://www.prachachat.net/public-relations/news-537725https://www.matichon.co.th/publicize/news_2397475https://praew.com/beauty/342389.htmlhttps://shopspotter.in.th/content/under-eye-fillerhttp://www.meedmortips.com/undereyes-filler-faq/http://www.plasticsurgeryissue.com/undereye-filler-questions/

Bray, Dominic; Hopkins, Claire; Roberts, David N. (2010). “A review of dermal fillers in facial plastic surgery”. Current Opinion in Otolaryngology & Head and Neck Surgery. 18 (4): 295–302. doi:10.1097/MOO.0b013e32833b5162. ISSN 1531-6998. PMID 20543696.

ฟิลเลอร์คืออะไร สวยแต่เสี่ยงหรือไม่ ฉีดบริเวณไหนได้บ้าง ใต้ตา ปาก จมูก คาง

0
ฟิลเลอร์คืออะไร สวยแต่เสี่ยงหรือไม่ ต้องอ่าน!
ฟิลเลอร์ (Filler) หรือสารเติมเต็มคือสาร Hyaluronic Acidหรือ HA เป็นโพลีแซคคาไรด์ที่มีอยู่ในร่างกายอย่างผิวหนังและกระดูกอ่อน
ฟิลเลอร์คืออะไร สวยแต่เสี่ยงหรือไม่ ต้องอ่าน!
ฟิลเลอร์ (Filler) หรือสารเติมเต็มคือสาร Hyaluronic Acidหรือ HA เป็นโพลีแซคคาไรด์ที่มีอยู่ในร่างกายอย่างผิวหนังและกระดูกอ่อน

ฟิลเลอร์ 

บทความก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงเรื่องการร้อยไหมกันไปแล้ว มาคราวนี้เราจะพูดถึงการศัลยกรรมอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก นั่นก็คือ การฉีดฟิลเลอร์นั่นเอง การฉีดฟิลเลอร์ ( Filler ) ดียังไง ทำไมสาวๆ ถึงมักจะไปฉีดฟิลเลอร์กันนะ แต่ก่อนอื่น เรามาทำ  ความรู้จักกับเจ้าฟิลเลอร์นี้กันก่อนดีกว่าค่ะ

>> ฉีดฟิลเลอร์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร อันตรายหรือไม่บทความนี้มีคำตอบ !

>> ฉีดโบท็อกซ์ อันตรายไหม ก่อนจะทำต้องรู้อะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

ฟิลเลอร์ คืออะไร

ถ้าจะพูดง่ายๆ ” การฉีดฟิลเลอร์  คือ การฉีดสารเติมเต็มความสวยในแบบที่คุณต้องการนั่นเอง ซึ่งสารที่ว่านี้ก็คือสารไฮยารูโรนิก แอซิต ( Hyaluronic acid หรือ HA ) ซึ่งเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ จึงมีความปลอดภัยสูง ช่วยเติมริ้วรอยร่องลึกตามจุดต่างๆ บนใบหน้า เป็นสารที่เลียนแบบสารที่มีตามธรรมชาติ ช่วยทำให้ใบหน้าเต่งตึงมีน้ำมีนวล ริ้วรอยร่องลึกดูตื้นและนูนขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเติมใยคอลลาเจนที่หายไปให้กลับมาดูอิ่มเอิบ แลดูอ่อนเยาว์กว่าวัย

สารไฮยารูโรนิก แอซิต นี้มีหน้าที่ช่วยเพิ่มและปรับโครงสร้างใต้ชั้นผิวหนังให้อ่อนนุ่ม ชุ่มชื้น ช่วยลดเรือนริ้วรอย และเติมเต็มจุดบกพร่องบนใบหน้า ดวงตา และอวัยวะอื่นๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติเลยล่ะค่ะ

ชนิดของสารฟิลเลอร์

ชนิดของฟิลเลอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ

1. ฟิลเลอร์ระดับชั่วคราว เช่น สารไฮยารูโรนิกแอซิดที่ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ เมื่อฉีดเข้าบริเวณที่ต้องการแก้ไขแล้วจะคงอยู่ได้ประมาณ 4 – 6 เดือน จัดว่ามีความปลอดภัยสูงและสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ

2. ฟิลเลอร์อีกชนิดคือระดับถาวร เช่น เม็ดพลาสติก ซิลิโคน หรือน้ำมันพาราฟิน ซึ่งจะให้ผลลัพธ์แบบถาวรที่ไม่สามารถสลายออกเองได้ และระบุผลข้างเคียงในระยะยาวไม่ได้ อีกทั้งไม่แนะนำให้ฉีดชนิดนี้ด้วยเช่นกัน

การฉีดฟิลเลอร์จะใช้เวลาประมาณ 15 – 30 นาที เมื่ออยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแก้ไขแล้วจะเห็นผลทันที และจะยิ่งเห็นผลชัดที่สุดในวันที่ 5 ของการอีด โดยสามารถอยู่ได้นานถึง 6 เดือน หรือขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน

ฉีดฟิลเลอร์ ฉีดจุดไหนได้บ้าง

การฉีดฟิลเลอร์สามารถฉีดได้หลายตำแหน่งครับ แต่จะนิยมฉีด 7 จุดนี้ครับ เพราะจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนที่สุด ทำให้หน้าดูเด็กลงอย่างเป็นธรรมชาติ

1. ฟิลเลอร์ใต้ตา เมื่ออายุมากขึ้นกระดูกใต้ตาของเราก็จะยุบตัวลงครับ ทำให้บริเวณนั้นมีเนื้อน้อยลงทำให้ผิวหนังย่อนคล้อย ซึ่งสามารถเติมฟิลเลอร์ใต้ตา เพื่อทำให้หน้าดูเด็กลงได้ครับ

2. ฟิลเลอร์คาง ปรับรูปหน้าให้ดูเรียวขึ้น ในกรณีที่ฉีดด้วยเทคนิคที่ดีและถูกต้อง จะได้ผลดีไม่แพ้กับการศัลย์กรรมมผ่าตัดเสริมคางอย่างแน่นอนครับ

3. ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ปัญหาร่องแก้มลึกมักจะทำให้คนไข้หน้าดูแกกว่าวัย ซึ่งสามารถเติมฟิลเลอร์ร่องแก้ม เพื่อแก้ไขปัญหาได้ทันที ซึ่งปัจจุบันก็มีหลากหลายเทคนิค คุณหมอส่วนใหญ่จะประเมินว่าคนไข้แต่ละคนเหมาะกับเทคนิคอะไร

4. ฟิลเลอร์ปาก สำหรับคนที่อยากเปลี่ยนทรงปาก แต่ไม่อยากศัลย์กรรม การฉีดฟิลเลอร์ปากก็ถือว่า เป็นอีกหนึ่งวิธีที่กำลังได้รับความนิยม เพราะเมื่อทำเสร็จสามารถเห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน

5. ฟิลเลอร์ขมับ การฉีดฟิลเลอร์ขมับเหมาะสำหรับคนไข้ที่ต้องการปรับรูปหน้าให้ได้สัดส่วน และปัจจุบันนี้ยังเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ต้องการเสริมโหงวเฮ้ง ไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย หรือว่า ในเรื่องของคนช่วยอุปถัมภ์

6. ฟิลเลอร์หน้าผาก การเติมฟิลเลอร์หน้าผากจะช่วยปรับหน้าให้ได้สัดส่วน สวยงาม ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ต้องการเสริมโหงวเฮ้ง แต่ไม่อยากผ่าตัด ซึ่งจะทำให้เห็นผลอย่างเป็นธรรมชาตินั่นเองครับ

7. ฟิลเลอร์จมูก เหมาะสำหรับคนที่กลัวการผ่าตัดแบบมาก ๆ หรือ เป็นคนไข้ที่ไม่มีเวลาพักฟื้นนั่นเองครับ วิธีการฉีดฟิลเลอร์ เพียงแค่ฉีดเล็กน้อยก็สามารถทำให้จมูกคมขึ้นทันที และออกมาเป็นธรรมชาติมาก ๆ

การฉีดฟิลเลอร์เหมาะกับใคร

  1. ผู้ที่อยากปรับโครงหน้าให้สวยได้รูป
  2. อยากเติมเต็มริมฝีปากให้อวบอิ่มดูเย้ายวน
  3. อยากมีผิวอ่อนเยาว์ สุขภาพดี ไม่หย่อนคล้อย
  4. อยากเสริมโหงวเฮ้งให้เฮงๆ รับทรัพย์
  5. อยากปรับปรุงรูปร่างให้ดูสมส่วน 

ข้อดีของการฉีดฟิลเลอร์ 

  1. ช่วยยกกระชับและปรับรูปหน้าเราให้ดีขึ้น
  2. ผิวพรรณอ่อนเยาว์ หน้าเด็กลง แลดูสุขภาพผิวดี
  3. ช่วยเติมเต็มจุดบกพร่องต่างๆ เช่น ปัญหาร่องใต้ตา หรือแก้มตอบ
  4. ใช้เวลาไม่นาน
  5. เห็นผลหลังจากทำทันที

ข้อจำกัดของฟิลเลอร์

1. ไม่สามารถฉีดได้กับทุกคน

2. หากท่านใดมีอาการแพ้ยาชา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า

3. สตรีมีครรภ์ ผู้ที่ให้นมบุตร หรือผู้ที่มีเลือดออกและหยุดยาก ควรหลีกเลี่ยงการใช้วิธีนี้

4. ในท้องตลาดมี ฟิลเลอร์ ( Filler ) ออกมาวางจำหน่ายมากมาย ไม่ควรพิจารณาเพียงแค่ราคาถูก หรือหาซื้อได้ง่าย เพราะหากซื้อของที่ไม่มีมาตรฐาน อาจทำให้เกิดอันตรายต่อใบหน้า และทำให้ใบหน้าผิดรูป ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า

รีวิวฉีดฟิลเลอร์ (Filler)

ฉีดฟิลเลอร์ได้ที่บริเวณไหนบ้าง

ฉีดได้ที่บริเวณหน้าผาก คิ้ว ร่องใต้ตา ร่องแก้ม ริมฝีปาก หน้าอก และสะโพก

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

  1. หากฉีด ฟิลเลอร์ไม่ถูกตำแหน่งก็ไม่เห็นผล
  2. ผู้ที่ฉีดสารเติมเต็มหลายๆครั้ง ทำให้พังผืดมากขึ้น จมูกโตก็ขึ้นเรื่อยๆ
  3. หากใช้ฟิลเลอร์ปลอมอาจทำให้ผิวหน้า หรือบริเวณนั้นๆ เกิดอาการอักเสบ เป็นหนอง นอกจากใบหน้าจะเสียแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้น   

ฟิลเลอร์ ที่ได้มาตรฐานจะอยู่ได้นานแค่ไหน?

ฟิลเลอร์ที่ผ่านมาตรฐาน อย. ในปัจจุบัน จะสามารถอยู่ได้ 1 ปี , 1 ปีครึ่ง และไม่เกิน 2 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละบริเวณ อันนี้ขอบอกก่อนเลยว่า ก็อยู่กับ การดูแลตัวเองหลังจากการฉีดฟิลเลอร์ Filler ด้วย แต่สิ่งที่มั่นใจได้แบบแน่นอนเลยคือ ไม่มีสารตกค้าง 100 % เมื่อหมดระยะเวลาของฟิลเลอร์มันจะหายไปเอง

การดูแลตัวเองหลังฉีดฟิลเลอร์

  1. ควรดื่มน้ำให้มากๆ เพราะจะช่วยให้ฟิลเลอร์คงสภาพได้นานขึ้น
  2. ไม่ควรใช้เครื่องสำอางเป็นเวลา 12 ชั่วโมงหลังการฉีด
  3. ไม่ควรออกกำลังกายในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังการฉีด
  4. ไม่ควรถูหรือขัดหน้าแรงๆ บริเวณที่ฉีด
  5. ไม่ควรให้ใบหน้าสัมผัสกับความร้อนจัด เช่น การซาวน่า หรือตากแดด

ฟิลเลอร์ เป็นสารที่เลียนแบบสารที่มีตามธรรมชาติ ช่วยลดริ้วรอยร่องลึกดูตื้นและนูนขึ้น และเป็นการเติมใยคอลลาเจนให้ดูอิ่มเอิบ อ่อนเยาว์กว่าวัย

จากข้อมูลที่กล่าวมาแล้วก็จะเห็นแล้วนะคะ ว่าการฉีดฟิลเลอร์นั้นเป็นความสวยที่สั่งได้แทบจะ

ทั้งร่างกายเราเลยทีเดียว แต่ตัวอย่างของผู้ที่ใช้  ฟิลเลอร์แล้วเกิดผลเสียก็มีไม่น้อย ดังนั้น ผู้ที่คิดจะทำศัลยกรรมด้วยวิธีนี้ จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจ และควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาจะดีที่สุดค่ะ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Health, Center for Devices and Radiological. “Dermal Fillers (Soft Tissue Fillers)”. www.fda.gov. Retrieved 2018-03-14. https://en.wikipedia.org/wiki/Filler https://beautycafeonline.com/ 

Bray, Dominic; Hopkins, Claire; Roberts, David N. (2010). “A review of dermal fillers in facial plastic surgery”. Current Opinion in Otolaryngology & Head and Neck Surgery. 18 (4): 295–302. doi:10.1097/MOO.0b013e32833b5162. ISSN 1531-6998. PMID 20543696.

https://vsquare-under-eye.com/

หลอดลมฝอยอักเสบ คืออะไร ? 

0
หลอดลมฝอยอักเสบ คืออะไร
หลอดลมฝอยอักเสบเป็น การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างทำให้เกิดหลอดลมบวมและอักเสบ เมือกจะสะสมในทางเดินหายใจทำให้หลอดลมอุดต้น
หลอดลมฝอยอักเสบ คืออะไร
หลอดลมฝอยอักเสบเป็น การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างทำให้เกิดหลอดลมบวมและอักเสบ เมือกจะสะสมในทางเดินหายใจทำให้หลอดลมอุดต้น

หลอดลมฝอยอักเสบ

หลอดลมฝอยอักเสบ ( Bronchiolitis ) เป็น การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างทำให้เกิดหลอดลมบวมและอักเสบ เมือกจะสะสมในทางเดินหายใจทำให้หลอดลมอุดต้น และเลือดคั่งในหลอดลมขนาดเล็กของปอด ซึ่งทำให้อากาศไหลเข้าและออกจากปอดได้ยากหลอดลมฝอยอักเสบที่พบบ่อยในทารกอายุ 3-6 เดือน และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี หลอดลมฝอยอักเสบมักเกิดจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี Respiratory syncytial virus ( RSV ) ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปที่หลอดลมฝอย ทำให้เยื่อบุผิวอักเสบ บวม และหลั่งเสมหะออกมากทำให้เสมหะไปอุดกั้นการหายใจเชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้ง่ายผ่านละอองในอากาศเมื่อมีผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือพูดคุยระยะฟักตัวของเชื้ออาร์เอสวี ประมาณ 2-5 วัน โดยปกติช่วงเวลาที่หลอดลมฝอยอักเสบคือช่วงฤดูหนาว และแต่ละคนสามารถติดเชื้อไวรัส RSV ซ้ำได้เนื่องจากการติดเชื้อก่อนหน้านี้ไม่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน

อาการหลอดลมฝอยอักเสบ

เมื่ออาการของหลอดลมฝอยอักเสบเกิดขึ้นครั้งแรกมักจะคล้ายกับโรคไข้หวัด แต่ในบางครั้งอาการของหลอดลมฝอยอักเสบอาจเป็นอยู่ได้หลายวันหรือเป็นสัปดาห์
มีอาการดังนี้

  • น้ำมูกไหล
  • คัดจมูก
  • อุณหภูมิร่างกายสูง ( มีไข้ ) 38-39 องศาเซลเซียส หรือบางคนก็ไม่มีไข้
  • เบื่ออาหาร หรือทารกกลืนอาหารลำบาก
  • มีอาการไอแห้งเป็นประจำ เป็นสัญญาณแรกของการติดเชื้อ
  • หายใจถี่หรือมีเสียงดัง ( หายใจไม่ออก )
  • ผิวเป็นสีน้ำเงินจากการขาดออกซิเจน
  • เสียงแตกหรือรัวที่ได้ยินในปอด
  • ความเหนื่อยล้า
  • ซี่โครงที่จมลงระหว่างพยายามหายใจเข้า ( ในเด็ก )
  • จมูกวูบวาบ ( ในเด็กทารก )
  • มีสารคัดหลั่งออกมามาก ( น้ำมูก )
  • หลอดลมหดเกร็งรุนแรง
  • ทารกกินนม หรือน้ำน้อยลง
  • ทารกร้องไห้ แต่ไม่มีน้ำตา
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • ปากแห้ง
  • อาเจียน

ปัจจัยเสี่ยงของหลอดลมฝอยอักเสบ

ปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของหลอดลมฝอยอักเสบในทารกและในกรณีที่รุนแรงมากขึ้น ได้แก่

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • เป็นโรคหัวใจหรือโรคปอด
  • การสัมผัสกับควันบุหรี่
  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ทารกที่ไม่เคยกินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด (ทารกที่กินนมแม่จะได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่)
  • เด็กที่ติดเชื้อไวรัสจากเด็กคนอื่นๆ ในโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก
  • ทารก หรือเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัด
  • ทารก หรือเด็กเล็กมีพี่น้อยที่เข้าโรงเรียนหรืออยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก นำเชื้อกลับมาติดทารกหรือเด็กในบ้าน

การวินิจฉันโรคหลอดลมฝอยอักเสบ

  • แพทย์มักจะเริ่มด้วยการซักประวัติพ่อแม่เกี่ยวกับอาการของทารก หรือเด็ก
  • แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเบื้อต้น เพื่อประเมินว่าทารกหรือเด็กเป็นโรคหลอดลมฝอยอักเสบหรือไม่
  • แพทย์จะทำการเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อหาสัญญาณของโรคปอดบวม
  • แพทย์อาจจำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อตรวจนับเม็ดเลือดขาวเพื่อหาสัญญาณของการติดเชื้อ
  • แพทย์ใช้ไม้ปั่นเอาสารคัดหลั่งทางจมูก (น้ำมูก) เพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการหาไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

การรักษาโรคหลอดลมฝอยอักเสบ

ลอดลมฝอยอักเสบส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงหากไม่มีอาการแทรกซ้อน จึงไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลแต่ให้รักษามุ่งเน้นไปในการบรรเทาอาการ ดังนั้น ทารกหรือเด็กเล็กที่เป็นโรคหลอดลมฝอยอักเสบต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว และรักษาอาการน้ำมูก เสมหะ อาการไอ คัดจมูกตามอาการที่เป็นอยู่โดยแพทย์ระบุว่าการใช้ยาปฏิชีวนะไม่สามารถช่วยได้เนื่องจากไวรัสทำให้หลอดลมฝอยอักเสบ ยาปฏิชีวนะใช้ได้ผลกับการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น

  • ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือบ่อย ๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • มื่อทารก หรือเด็กตัวร้อนหรือมีไข้ ควรใช้ยาพาราเซตามอลชนิดดรอป 80 มก./0.8 ซีซี
    หรือ 60 มก./0.6 ซีซี เนื่องจากใช้ปริมาณยาไม่มากเหมาะสำหรับทารกและเด็กเล็ก
  • การเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น จะทำให้อุณหภูมิที่ร่างกายต่ำลง

ภาวะแทรกซ้อนของหลอดลมฝอยอักเสบ

  • ริมฝีปากเป็นสีม่วง หรือตัวเขียว เกิดจากการขาดออกซีเจน
  • หยุดหายใจชั่วคราว ซึ่งมักเกิดในทารกที่คลอดก่อนกำหนดภายใน 2 เดือนแรก
  • ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
  • ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
  • ภาวะหายใจล้มเหลว

การป้องกันหลอดลมฝอยอักเสบ

แม้การป้องกันโรคนี้จะเป็นไปได้ยาก แต่มีวิธีที่สามารถลดการแพร่กระจายในการติดเชื้อของไวรัส

  • พ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูทารกหรือเด็กเล็ก ควรล้างมือให้สะอาด
  • ควรทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ เสื้อผ้า ของใช้ทารกให้สะอาด
  • หลี่กเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรืออยู่ในสถานที่ที่มีการสูบบุหรี่

หากพ่อแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติของทารก หรือเด็กเล็กเริ่มมีอาการคล้ายโรคหวัด เป็นไข้สูง ไม่กินนม หายใจเร็ว แนะนำให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีเนื่องจากทารก เด็กเล็กมีโอกาสเป็นโรคหลอดลมฝอยอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) อาจเป็นซ้ำมากกว่า 2 ครั้ง ยิ่งปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ไวรัส RSV อาการ การป้องกัน และการรักษา

0
ไวรัส RSV อาการ การป้องกัน และการรักษา
ไวรัส RSV เป็นการติดเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจคนทุกวัยสามารถติดเชื้อได้
ไวรัส RSV อาการ การป้องกัน และการรักษา
ไวรัส RSV เป็นการติดเชื้อไวรัสทางระบบทางเดินหายใจ มักเกิดในทารกที่คลอดก่อนกำหนด

ไวรัส RSV

ไวรัส RSV ( Respiratory Syncytial Virus ) คือ การติดเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจ คนทุกวัยสามารถติดเชื้อ RSV ได้ แต่การติดเชื้อมีความรุนแรงน้อยกว่าผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรง ได้แก่ ในทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เด็กเล็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือโรคปอดเรื้อรัง เด็กเล็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ใหญ่ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคปอด อาการคล้ายหวัดมักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงในทารก เด็กเล็ก อันตรายอย่างไรหากปล่อยทิ้งไว้

ไวรัสอาร์เอสวีสามารถแพร่กระจายได้นาน 3 ถึง 8 วัน แต่บางครั้งการติดเชื้อโดยเฉพาะในทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และในผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับปอด หัวใจ หรือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอสามารถแพร่เชื้อไวรัสต่อไปได้นานถึง 4 สัปดาห์ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดอย่างรุนแรงสามารถติดต่อจากคนสู่คนอื่น ๆ อาการที่รุนแรงมากขึ้นนำไปสู่การเกิดโรคปอดบวม หรือหลอดลมฝอยอักเสบได้ เนื่องจากไวรัสอาร์เอสวีเป็นโรคติดต่อได้ง่าย แพร่กระจายผ่านละอองจากคนไอหรือจามรดกัน นอกจากนี้ยังสามารถอาศัยอยู่บนสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เคาน์เตอร์ ลูกบิดประตู เสื้อผ้า มือถือ ราวบันได การจูบปาก รวมถึงบริการขนส่งสาธารณะ ได้แก่ รถไฟราง รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เครื่องบิน รถทัวร์ รถเมล์ แท็กซี โรงเรียน และศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ดังนั้น เด็กหรือคนส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อไวรัสจากการสัมผัสสิ่งที่ปนเปื้อนเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว โดยปกติแล้วทารก เด็กเล็ก และผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ RSV ส่วนใหญ่จะหายไปเองภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่บางกรณีในคนที่ติดเชื้อ RSV โดยเฉพาะทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน และผู้สูงอายุที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนแอ อาจมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น หากพบปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจติดขัด หายใจไม่ออก กระหายน้ำ จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกรณีเหล่านี้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่วันก็กลับบ้านได้แล้ว

สถิติข้อมูลไวรัส RSV ในประเทศไทย

สถิติข้อมูลไวรัส RSV ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2561
กลุ่มตัวอย่างระบบทางเดินหายใจมาจากเด็กที่มีอายุเฉลี่ย 2.45 ปี และอัตราส่วนชาย 1 ต่อหญิง 0.8 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการตรวจหาเชื้อไวรัส RSV ในเชิงบวกจากเด็กทั้งหมด 46 คน ตั้งแต่ปี 2559-2561 เด็กส่วนใหญ่ที่ตรวจพบไวรัสอาร์เอสวีในเชิงบวกมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและอายุเฉลี่ยของเด็กที่ติดเชื้อ RSV ไม่เปลี่ยนแปลงในแต่ละปี ซึ่งจะปรากฏระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายนซึ่งตรงกับฤดูฝนในท้องถิ่นของประเทศไทย

ระยะฟักตัวของไวรัส RSV

ระยะเวลาระหว่างการติดเชื้อ และการพัฒนาไปสู่อาการเริ่มต้นของไวรัสอาร์เอสวี โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 5 วัน โดยอยู่ในช่วง 2 ถึง 8 วัน

ระยะเวลาการติดเชื้อไวรัส RSV

เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสแล้วสามารถแพร่เชื้อ RSVสู่ผู้อื่นได้ ระยะเวลาการติดเชื้อประมาณ 4 ถึง 6 วัน ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไวรัสต่อไปได้นานถึง 2 ถึง 4 สัปดาห์ แต่คนส่วนใหญ่หายจากการติดเชื้อภายในเวลาประมาณ 10 วัน

อาการการติดเชื้อของไวรัส RSV

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV ) จะเริ่มแสดงอาการให้เห็นประมาณ 4 ถึง 6 วัน หลังการติดเชื้อ อาการเหล่านี้จะปรากฏเป็นระยะ ๆ รวมถึงมีอาการ ดังนี้

  • อาการคัดจมูก หรือน้ำมูกไหล
  • ปวดศีรษะเล็กน้อย
  • เจ็บคอ
  • เบื่ออาหาร
  • ไอ
  • มีเสมหะ
  • จาม
  • มีไข้
  • รู้สึกไม่สบายตัว หงุดหงิด
  • เหนื่อยล้า
  • หายใจไม่ออก
  • ปัสาวะน้อยกว่าปกติ
  • ทารกไม่กินนม หรือกินนมยาก

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

หากสงสัยการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV ) ควรสังเหตุอาการข้างต้น หากมีอาการดังนี้ มีไข้ เบื่ออาหาร ไอ น้ำมูกไหล ปัสาวะน้อยกว่าปกติ หายใจไม่ออก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยคัดกรองอาการเบื้องต้นก่อนทำการรักษา

ใครบ้างอยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV )

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับไวรัส RSV เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดอาการคล้ายหวัดในเด็กและผู้ใหญ่มักเกิดในช่วงฤดูหนาว ซึ่งทารถเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงร้อยละ 5 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ในโรงพยาบาลที่ทำการคลอดเด็กทารก และอีก 25 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคปอดอักเสบ (Pneumonitis) หรือที่เรียกกันว่า ปอดบวม หลอดลมฝอยอักเสบ ( Bronchiolitis ) พบบ่อยใน

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • ทารก และเด็กเล็กที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เนื่องจากอาการป่วย หรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  • เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคปอดเรื้อรัง
  • เด็กอายุประมาณ 4-5 ขวบ (เด็กวัยเข้าโรงเรียน เช่น เตรียมอนุบาล อนุบาล เป็นต้น )
  • ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคปอด
  • ผู้สูงอายุที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจล้มเหลว หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยเคมีบำบัด หรือผู้ป่วย HIV / AIDS
  • การสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง เช่น ถ้าพ่อแม่สูบบุหรี่ หรือได้รับจากสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่

การวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV ) ทางเดินหายใจ

  • การซักประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัวและอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อไวรัส RSV และตรวจสอบให้แน่ใจว่าทารก และเด็กไม่มีภาวะขาดน้ำ
  • การตรวจสารคัดหลั่ง (น้ำมูก) หรือสิ่งส่งตรวจทางเดินหายใจอื่น ๆ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส RSV โดยปกติจะทำกับผู้ที่ติดเชื้อรุนแรง
  • การเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อหาสัญญาณของโรคปอดบวมและภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่ติดเชื้อรุนแรง

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( RSV )

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน RSV อย่างไรก็ตามนักวิจัยกำลังดำเนินการพัฒนาวัคซีนและการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อช่วยปกป้องทารกและเด็กเล็ก ตลอดจนสตรีมีครรภ์จากการติดเชื้อ RSV ที่รุนแรง หากบุตรหลานของท่านติดเชื้อไว้รัสอาร์เอสวีเป็นครั้งที่สองในเวลาใกล้เคียงกันอาการของป่วย
น่าจะไม่รุนแรงกว่าตอนแรก เนื่องจากร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถหายเองได้เพียงแค่พักผ่อนและดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น แต่สามารถลดความเสี่ยง
ในการติดหรือลดการแพร่เชื้อของไวรัส RSV ได้ดังนี้

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วย 7 ขั้นตอนล้างมือให้สะอาด ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 20 วินาที
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า จมูก หรือปาก ด้วยมือที่ยังไม่ได้ล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์ สบู่ หรือน้ำ
  • การหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การจูบ การจับมือ ถ้วยจาน แก้วน้ำ และสิ่งของเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารรวมกับผู้อื่นหากรู้ตัวว่าตนเองป่วยหรือไม่สบาย
  • ควรล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังสัมผัสกับสิ่งของ หรือใช้บริการขนส่งสาธารณะ ได้แก่ รถไฟราง รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เครื่องบิน รถทัวร์ รถเมล์ แท็กซี อยู่ในโรงเรียน และศูนย์รับเลี้ยงเด็ก
  • ควรอาบน้ำทุกครั้งหลังออกนอกที่พักอาศัย
  • ควรแยกเสื้อผ้าที่ใส่แล้วโดยการซักทำความสะอาดด้วยน้ำยาซักผ้าที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 99.9%
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่
  • ไม่ควรใช้จาน ชาม ช้อน ส้อม ภาชนะใส่อาหารร่วมกับผู้อื่น (กินร้อน ช้อนส่วนตัว)
  • ควรใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกนอกที่พักอาศัย
  • ควรปิดปาก ปิดจมูกขณะไอ หรือจาม
  • หากรู้สึกว่าป่วยควรไปพบแพทย์ ไม่คลุกคลีกับคนอื่นในบ้าน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงทารก และเด็กเล็กจากควันบุหรี่มือสอง สถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณเขตสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงทารก และเด็กเล็กในสถานที่แออัด
  • แนะนำให้พ่อแม่มือใหม่ หรือผู้เลี้ยงเด็กทารก เด็กเล็ก งดการหอมแก้มเด็กและใกล้ชิดเด็ก แม้แต่การสัมผัสตัวโดยไม่ล้างมือ โดยเฉพาะหากมีอาการทางระบบหายใจ มีไข้ ไอ จาม งดเข้าใกล้ทารกเด็ดขาด เว้นระยะห่างจากผู้อื่นในระยะ 2 เมตร อย่างเคร่งครัด อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไว้รัสอาร์เอสวี ( RSV ) ได้ง่าย
  • ใช้กระดาษทิชชูปิดปากและจมูกเมื่อไอ หรือจาม ทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงในถังขยะทันทีจากนั้นล้างมือให้สะอาด

การรักษาไว้รัสอาร์เอสวี ( RSV )

แม้ว่าในตอนนี้จะยังไม่มียาหรือวัคซีนในการรักษาไวรัส RSV ดังนั้น การดูแลทารก เด็กเล็กที่ติดเชื้ออาร์เอสวีมีวิธีรักษาเบื้องต้น ดังนี้

  • ใช้น้ำเกลือสำหรับล้างจมูก พ่นสเปรย์น้ำเกลือทำความสะอาดโพรงจมูกทารก ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก คันจมูก ทำให้น้ำมูกนิ่มลง
  • ใช้ยาลดไข้สำหรับทารกควรเป็นชนิดหยด
  • พ่นยา หรือการใช้ออกซิเจนพ่นน้ำยาให้แตกตัวเป็นละอองเล็กๆ ให้เด็กสูดดมเข้าไปแล้วอาการตีบของหลอดลมจะดีขึ้น
  • ใช้ยาต้านเชื้อไวรัส ยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะ ช่วยลดการอักเสบ

ไวรัว RSV เป็นการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่างแพร่ระบาดได้ง่ายในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาวของประเทศไทย เนื่องจากในปัจจุบันอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้ทั้งทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ( Respiratory Syncytial Virus ) เพิ่มขึ้นทุกปีแม้จะเป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

โรคไม่ติดต่อจากคนสู่คน NCDs

0
NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อจากคนสู่คน
โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่แพร่กระจายจากคนสู่คนได้
NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อจากคนสู่คน
โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่แพร่กระจายจากคนสู่คนได้

โรคไม่ติดต่อ

โรคไม่ติดต่อหมายถึง ( Non-communicable disease, NCDs ) คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีชื่อย่อว่า “เอ็นซีดี” หรือแพร่กระจายจากคนสู่คน แต่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตและความพิการที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน โรคเอ็นซีดีทำให้มีผู้เสียชีวิต 41 ล้านคนในแต่ละปีคิดเป็น 71 เปอร์เซ็นต์ ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก โดยเฉลี่ยมีอายุระหว่าง 30 ถึง 69 ปี มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โรคไม่ติดต่อเรื้อรังNCDs เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้น้อยไปจนถึงรายได้ปานกลาง โรคเอ็นซีดีเกิดจากพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม สังคมร่วมกันในระยะเวลายาวมักเริ่มต้นในช่วงวัยเด็ก วัยรุ่น และนำไปสู่โรคNCDs กลุ่มไม่ติดต่อพบมากวัยทำงานไปจนถึงวัยสูงอายุ

7 โรคไม่ติดต่อ NCDs พบบ่อยที่สุดในประชากรของไทย

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์โรค NCDs พบบ่อยที่สุดในประชากรของไทย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

1. โรคมะเร็ง ( Cancer ) คือ การเสียชีวิตที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม
2. โรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke )
3. โรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus )
4. โรคมะเร็งปอด/ถุงลมโป่งพอง ( Emphysema )
5. เมตาโบลิกซินโดรม หรือ โรคอ้วนลงพุง ( Metabolic Syndrome )
6. โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension )
7. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease) หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( HEART ATTACK ) คือ การเสียชีวิตที่พบบ่อยในโรคหลอดเลือดหัวใจที่ไม่ติดต่อก่อนวัยอันควร ได้แก่ หัวใจวาย หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจ และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงทั้ง 2 ด้าน

ด้านพฤติกรรม 
1. สูบบุหรี่
2. การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
3. การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
4. ขาดการออกกำลังกาย
5. มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ด้านการเผาผลาญ
ปัจจัยเสี่ยงด้านการเผาผลาญทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญที่สำคัญสี่ประการที่เพิ่มความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ได้แก่
1. โรคความดันสูง หรือ โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension/High Blood Pressure )
2. ภาวะน้ำหนักเกิน ( Overweight )
3. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ( Hyperglycemia )
4. โรคไขมันในเลือดสูง ( Dyslipidemia )

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs

ทุกคนที่มีอายุระหว่าง 30 ถึง 69 ปี เสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อ NCDs มีผู้เสียชีวิต “ก่อนวัยอันควรมากกว่า 85% มักเกิดกับประเทศที่มีรายได้น้อยไปถึงรายได้ปานกลาง พบมากในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุล้วนมีความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค NCDs ไม่ว่าจะเป็นจากการรับประทานอาหาร
ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การไม่ออกกำลังกาย การสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง หรือการดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก

การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

โรคเอ็นซีดีเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารหวาน อาหารเค็มจัด
  • หลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง
  • หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 30 นาที / ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม
  • งดการเล่นมือถือก่อนเข้านอนสัก 30 นาที
  • หมั่นทำกิจกรรมเพื่อลดความเครียดเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ส่งผลทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไรบ้าง

ความยากจนมีความเชื่อมโยงกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงก่อให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาประเทศ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำสังคม รวมถึงส่งผลกระทบในระยะยาวด้ายเศรษฐกิจไม่มีมั่นคงทางสังคม ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ คนที่เจ็บป่วยอ่อนแอ และด้อยโอกาสทางสังคมจะป่วยและเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่มีอาชีพที่มั่นคง ผู้มีรายได้ประจำและผู้ที่ทำงานประจำสูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับสารเคมีอันตรายจากการทำงาน เช่น การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่มือสองหรือการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และอยู่ห่างไกลจากบริการทางด้านสาธารณสุข เช่น อนามัย โรงพยาบาล สถานพยาบาลประจำตำบล

อย่างไรก็ตามแม้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักเกิดขึ้นในช่วงวัยผู้สูงอายุ หลายคนมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมที่ทำมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นไม่ว่าจะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรคติดต่อก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้เหมือนกัน ดังนั้น การดูแลตัวเอง เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการเตรียมตัวรับมือกับโรคภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแม้จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงก็ตามเราสามารถป้องกันได้ด้วยตัวเราเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ผักเคล ราชินีแห่งผักใบเขียว

0
ผักเคล ราชินีแห่งผักใบเขียว
ผักเคลเป็นพืชตระกูลเดียวกับผักจำพวก คะน้า บร็อคโคลี และดอกกะหล่ำ หรือที่คนไทยเริ่มรู้จักกันในชื่อ คะน้าใบหยิก
ผักเคล ราชินีแห่งผักใบเขียว
ผักเคลเป็นพืชตระกูลเดียวกับผักจำพวก คะน้า บร็อคโคลี และดอกกะหล่ำ หรือที่คนไทยเริ่มรู้จักกันในชื่อ คะน้าใบหยิก

ผักเคล

ผักเคล ( Kale ) หรือ ผักคะน้าใบหยิก มักถูกเรียกว่า “ราชินีแห่งผักใบเขียว” คะน้าใบหยิกกำลังได้รับความนิยมมากที่สุดชนิดหนึ่งในทวีปยุโรป เนื่องจากมีธาตุเหล็กมากกว่าเนื้อวัว จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับบร็อคโคลี คะน้า ดอกกระหล่ำ โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea และชื่อสามัญผักคะน้าเคล Curl leal Kale เป็นผักคะน้าที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารสูงมาก โดยเฉพาะวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินเค วิตามินบี6 เบต้าแครอทีน และไฟเบอร์ใยอาหารสูง ผักเคลถูกนำมาทำเมนูเพื่อสุขภาพทั้งเมนูต้ม เมนูผัด เมนูนึ่ง เมนูน้ำปั่น เมนูอบ โดยเฉพาะสายคลีนลดน้ำหนัก เช่น น้ำผักเคลปั่น ผักเคลอบชีส สลัดผักเคล ยำอกไก่ผักเคล ผักเคลปลูกง่ายโตเร็วมีอายุเพียง 50 วัน ก็สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารหรือรับประทานสดก็ได้

คุณค่าทางโภชนาการผักเคลปริมาณ 100 กรัม

พลังงาน 49 กิโลแคลอรี่ ใยอาหาร 2 กรัม โปรตีน 4.3 กรัม ไขมันทั้งหมด 0.9 กรัม ไขมันอิ่มตัว 0.1 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.3 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0.1 กรัม น้ำตาล 0.99 กรัม น้ำ 89.63 กรัม โคเลสเตอรอล 0 มิลลิกรัม โซเดียม 38 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 491 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 10 กรัม สังกะสี โซเดียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค วิตามินดี วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 

ประโยชน์ของผักเคลต่อสุขภาพ

1. ผักเคล มีแคลอรี่ต่ำไฟเบอร์สูงและมีไขมันเป็นศูนย์ คะน้าเคล 1 ถ้วยมีแคลอรีเพียง 36 แคลอรี ไฟเบอร์ 5 กรัม และไขมัน 0 กรัม เหมาะสำหรับช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยในการควบคุมน้ำหนักและลดน้ำหนัก เพราะไฟเบอร์ช่วยให้อิ่มนานขึ้นลดความอยากอาหารได้

2. คะน้าเคล มีธาตุเหล็กสูงมากกว่าเนื้อวัวจึงสำคัญต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้หญิงเนื่องจากช่วยในการสร้างฮีโมโกลบินและเอนไซม์ลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ การทำงานของตับดียิ่งขึ้น

3. การกินผักเคล หรือผักคะน้าใบหยักอุดมไปด้วยวิตามินเคสูงสามารถช่วยป้องกันมะเร็งต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้วิตามินเคยังจำเป็นต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายรวมถึงช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูกใ ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด ช่วยในกระบวนการทำงานของตับ ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด ช่วยในกระบวนการฟอสโฟริเลชั่น โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ควรกินผักเคลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ช่วยเสริมการทำงานของสมอง

4. คะน้าเคลเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ เช่น แคโรทีนอยด์และฟลาโวนอยด์ ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง ช่วยความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม

5. โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 กลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชนิดหนึ่งจำเป็นต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย ดังนั้น การกินผักเคลเป็นสุดยอดผักใบเขียวมีสรรพคุณต้านการอักเสบ ช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบ โรคหอบหืด โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง ลดอาการภูมิแพ้ เหมาะสำหรับคุณแม่ให้นมบุตรจะส่งผลต่อพัฒนาการของทารก ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวทารก

6. คะน้าใบหยิกมีสารอาหารต่างๆ เช่น โพแทสเซียม สามารถลดความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว ช่วยควบคุมฮอร์โมนความเครียด ทำให้ระบบเผาผลาญดีขึ้น ในคนปกติที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไปควรได้รับโพแทสเซียมในปริมาณ 4.7 กรัมต่อวัน   

7. สารลูทีนและซีแซนทีนพบมากในผักเคล ผักและผลไม้หลายชนิดเป็นสารธรรมชาติในกลุ่มสารแคโรทีนอยด์ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลายชนิดที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงเซลล์จอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก โรคจุดรับภาพเสื่อม และโรคจอตาเสื่อม

8. ผักเคลและผักสีเขียวอื่น ๆ ที่มีคลอโรฟิลล์สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายดูดซึมสารเฮเทอโรไซคลิกเอมีน ( Heterocyclic amine ) คลอโรฟิลล์ในผักคะน้าใบหยิกมีฤทธิ์ในการระงับกลิ่นปาก ช่วยเพิ่มออกซิเจน ล้างสารพิษออกจากร่างกาย ดีท็อกซ์ลำไส้ สมานแผล ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง และบำรุงผิวผนังให้เปล่งปลั่ง

9.การกินผักเคลอุดมไปด้วยกรดอัลฟาไลโนเลนิก ( ALA ) ทำหน้าที่ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ช่วยขยายหลอดเลือด ลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ จึงสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ช่วยควบคุมความดันโลหิตและลดคลอเลสเตอรอลได้

10. ผักเคลมีแคลเซียม และฟอสฟอรัสในปริมาณสูงกว่านมมีความสำคัญในการสร้างกระดูก ช่วยลดความเสี่ยงของกระดูกหักได้ ช่วยรักษากระดูกอ่อน เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ ช่วยให้กลไกการแข็งตัวของเลือดในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยกระตุ้นการทำงานของโปรตีนที่เรียกว่า Osteocalcin ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตจากเซลล์ของกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน

11. คะน้าเคลใบหยัก มีวิตามินเอสูงดีต่อการมองเห็นรักษาโรคตา ช่วยสร้างเม็ดสีที่มีคุณสมบัติไวต่อแสง
บำรุงผิวพรรณ ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ช่วยป้องกันมะเร็งปอด มะเร็งในช่องปาก และวิตามินเอในผักเคลสามารถลดระยะเวลาจากการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้

12. การศึกษาพบวิตามินซีในผักเคลหรือผักคะน้าหยิก ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน การเผาผลาญ ช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้ผิวเนียนใส เต่งตึง นุ่มลื่นอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยชะลอความแก่และลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปริมาณการรับประทานวิตามินซีที่เหมาะสมไม่ควรทานเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน     

13. ผักเคลคะน้าใบหยิกมีกลูโคราฟานิน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของกำมะถันมากกว่าบร็อคโคลี โดยมีประโยชน์ในการล้างพิษและจำเป็นต่อการผลิตกลูตาไธโอน เนื่องจากเป็นหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดในร่างกาย ซึ่งผักคะน้าหยิกพบกำมะถันมีความสำคัญต่อการเผาผลาญกลูโคสซ ช่วยลดน้ำหนัก ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

สายพันธุ์ผักคะน้าเคลต่างๆ

1. เคลไดโนเสาร์ ชื่ออื่นๆ เช่น เคลลาชินาโต ( Lacinato Kake ) เคลเนโรดิทอสคาน่า ( Nero di Toscana Kale ) คะน้าทัสคา ( Tuscan Kake ) ลักษณะ สีเขียวอมน้ำเงิน ขอบใบมน กว่า 2-3 นิ้ว มีรอยย่นบนเนื้อใบ รสชาติฝาดนิด ๆ นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในซุปถั่ว และซุปธัญพืช
2. คะน้าฮ่องกง ชื่ออื่นๆ เช่น คะน้ายอด หรือคะน้าเห็ดหอม ( Chinese Kale ) ลักษณะ เป็นลูกผสมระหว่างผักขมและบร็อคโคลี นิยมนำมาผัดหรือลวกมากกว่ากินสด ซึ่งคนไทยรู้จักในชื่อว่า คะน้า
3. คะน้าเคลสีแดง ( Red Russiam Kale ) หรือเคลแดซลิ่งบลู ( Dazzling Blue Kale ) ลักษณะ มีความหยักไม่มาก ลำต้นมีสีม่วงแดงและใบสีเขียว รสชาติเผ็ดหน่อย ๆ หวานนิด ๆ นิยมนำใบอ่อนมากินกับสลัด และนำไปปั่นเป็นสมูทตี้
4. ผักเคล ชื่ออื่นๆ คะน้าเคลสีเขียว คะน้าพวง ( Kale ) คะน้าใบหยิก ( Dwarf Blue Curled Scotch Curly Kale ) คะน้าเคลไซบีเรียน ( Siberian Kale ) ลักษณะ เคลใบหยักนี้จะมีทั้งสีเขียวและสีม่วง ขอบใบหยิกฝอย ขมระดับปานกลาง นิยมนำมากินกับสลัด และทำสมูทตี้
5. คะน้าฝรั่งมอริส เฮดดิ้ง ( Morris Heading Collards ) ชื่ออื่นๆ ปูเล่ฝรั่ง ปูเล่ฝรั่ง-จอร์เจีย ( Georgia Southern Collards ) ลักษณะ คล้ายคะน้าแต่ต้นมีขนาดใหญ่กว่า เมื่อใบห่อคล้ายกระหล่ำจะคล้ายดอกไม้ รสชาติดี ไม่มีกลิ่น ไม่เหนียว สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง
6. เคลประดับ ( Ornamental kale ) ลักษณะ หน้าตาเหมือนดอกไม้ ใบหนาและเหนียว ไม่นิยมนำมาทำอาหาร แต่มักนำไปเป็นไม้ประดับตกแต่งสวนและตกแต่งจาน

เมนูผักเคล สำหรับสายคลีนและควบคุมน้ำหนัก

  • น้ำผักเคลปั่นใส่ผลไม้
  • สลัดผักเคล   
  • ซุปผักเคล
  • ผัดผักเคลเห็ดหอม
  • ยำหมูยอผักเคลใบหยิก
  • พาสต้าผักเคล
  • อกไก่อบพริกไทยดำใส่ผักผักคะน้าเคล
  • แกงจืดผักคะน้าใบหยิก
  • ข้าวต้มปลาอินทรีย์ใส่ผักเคล

ข้อควรระวังในการรับประทานผักเคล

แม้ผักเคลจะมีประโยชน์ต่อร่างกายก็จริง แต่ไม่ควรกินมากเกินไปเพราะคะน้าใบหยิกหากกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดก๊าซทำให้ท้องอืด และท้องผูกได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ไก่ โปรตีนที่สำคัญต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

0
ไก่ โปรตีนที่สำคัญต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
ไก่ แหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย
ไก่ (Chicken) เป็น สัตว์ปีกที่อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน คอเลสเตอรอลต่ำ มีกรดอะมิโนจำเป็นมากถึง 9 ชนิด และวิตามินบีรวม

ไก่

ไก่ (Chicken) เป็นสัตว์ปีกที่อุดมด้วยโปรตีนคุณภาพสูง ไขมันต่ำ และมีคอเลสเตอรอลในปริมาณน้อย นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด พร้อมวิตามินบีรวม (Vitamin B Complex) โดยเฉพาะไนอาซิน (วิตามินบี 3) ซึ่งช่วยเผาผลาญไขมันและน้ำตาล พร้อมทั้งบำรุงเซลล์ให้แข็งแรง เนื้อไก่เป็นหนึ่งในอาหารที่นักโภชนาการแนะนำ รองจากเนื้อหมู เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายและหลากหลาย การบริโภคไก่สามารถเลือกได้หลายส่วน เช่น อกไก่ น่องไก่ ปีกไก่ ตีน ขา เครื่องใน (เช่น ตับ หัวใจ กึ๋น) หนังไก่ เอ็น คอ เลือด และข้อไก่ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของไก่

ในอกไก่ (ไม่มีหนัง) ปริมาณ 100 กรัมให้พลังงาน 165 แคลอรี โปรตีน 31 กรัม ไขมันรวม 3.6 กรัม คอเลสเตอรอล 85 มิลลิกรัม โซเดียม 74 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 256 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.4 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 1.2 เปอร์เซ็นต์ ธาตุเหล็ก 5.8 เปอร์เซ็นต์

การกินไก่มีประโยชน์อย่างไร ?

การกินไก่มีประโยชน์อย่างไร - ไก่ โปรตีนที่สำคัญต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อไก่ เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่มีแคลอรีไขมันต่ำ ซึ่งให้สารอาหารที่สำคัญตลอดชีวิตของเราตั้งแต่การตั้งครรภ์จนถึงวัยสูงอายุ
1. น่องไก่ / ขาไก่ (chicken leg) จากการศึกษาพบว่าน่องไก่มีคอลลาเจนหรือเจลาตินสูงมาก น่องไก่ประกอบด้วยหนังเอ็นและกระดูก อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม กระดูกอ่อน และคอลลาเจน ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้ง่าย แม้ว่าระดับคอลลาเจนตามธรรมชาติในน่องไก่จะคล้ายกับคอลลาเจนที่พบในผักสีเขียวและผลไม้ที่มีวิตามินซีจำนวนมาก ขาไข่ที่ปรุงสุกมักจะมีเจลาตินหรือคอลลาเจนที่มีประโยชน์มากมาย ได้แก่

  • ช่วยรักษาสุขภาพของผิวและทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นเนื่องจากสนับสนุนการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วด้วยการสร้างเซลล์ผิวใหม่ที่เร็วขึ้น
  • คอลลาเจนช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและโปรตีนทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
  • ช่วยให้ร่างกายลดน้ำหนักได้เนื่องจากสามารถเพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย
  • คอลลาเจนสามารถทำให้โครงสร้างกระดูกแข็งแรงและป้องกันโรคไขกระดูก
  • คอลลาเจนในไก่สามารถเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ เนื่องจากนั้นยังช่วยให้บำรุงหลอดเลือดอีกด้วย
  • ขาไก่ ช่วยสร้างเส้นประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
  • ขาไก่มีกรดอะมิโนและสารสร้างเจลาตินบางชนิดช่วยให้สุขภาพช่องปาก เหงือก ฟันแข็งแรงยิ่งขึ้น
  • ช่วยในการสร้างโปรไบโอติกตามธรรมชาติ จะทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติรวมทั้งมีลำไส้ที่แข็งแรง
  • ช่วยบำรุงเล็บ

2. ปีกไก่ ( Chicken wings ) มีทั้งคุณสมบัติและประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าง ปีกไก่ที่ปรุงอย่างถูกต้องมีผลในการรักษาความผิดปกติของระบบเผาผลาญ เช่น โรคเกาต์ โรคไขข้อ และโรคเบาหวาน คำแนะนำ ผู้สูงอายุควรกินปีกไก่ให้มากขึ้นโดยการนำไปปรุงเป็นอาหาร เพื่อการรักษาโรคหลอดเลือดความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ เพียงทานปีกไก่สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งเพื่อเติมเต็มสารอาหารและวิตามินให้กับร่างกาย ในปีกไก่มีเนื้อเพียงพอสำหรับปรุงน้ำซุปหรืออาหารแบบฟูลคอร์ส มีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย ดังนี้

  • ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บ กระดูกหัก และหลังการผ่าตัด
  • ช่วยรักษาภาวะซึมเศร้า โรคประสาทอักเสบ และความผิดปกติของระบบประสาท
  • เพิ่มฮีโมโกลบินในเลือด
  • มีส่วนร่วมในการก่อตัวของเซลล์ใหม่
  • เพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน
  • ปรับปรุงสภาพผิวผมและเล็บ
  • บล็อกการก่อตัวของอนุมูลอิสระ
  • ป้องกันการพัฒนากระบวนการมะเร็ง
  • ช่วยพัฒนาการทำงานของระบบสืบพันธุ์
  • ช่วยทำให้การทำงานของสมองเป็นปกติ
  • ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อ
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

3. ตีนไก่ ( Chicken feet ) อุดมไปด้วยคอลลาเจนและแร่ธาตุมากมาย เช่น ทองแดง แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และแคลเซียม

  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งผลัดเซลล์ผิว เพิ่มความยืดหยุ่นของผิวหนังทำให้ดูเด็กลงลดริ้วรอยเหี่ยวย่น
  • ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของข้อต่อ และป้องกันกระดูกเปราะ

4. อกไก่ ( chicken breast ) เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีที่เต็มไปด้วยวิตามินบี วิตามินดี แคลเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินเอ วิตามินซีที่สำคัญไก่มีคาร์โบไฮเดรตเป็น 0 ไม่มีไขมันทรานส์และมีโซเดียมต่ำ มีส่วนช่วยพัฒนาการของสมองในเด็กช่วยให้ระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มการรับรู้ในผู้สูงอายุ

5. กึ๋นไก่ ( Chicken Gizzard ) เป็นกล้ามเนื้อที่พบในระบบทางเดินอาหารของไก่หรือกระเพาะอาหารไก่ กึ๋นยังมีไขมันต่ำและมีวิตามินหลายชนิดรวมทั้งวิตามินบี 12 ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของสมองและสร้างเม็ดเลือดขาว การกินกึ๋นจะทำให้ระดับของธาตุเหล็กฟอสฟอรัสและสังกะสีเพิ่มขึ้น

  • ธาตุเหล็กช่วยให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง
  • สังกะสีช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ไนอาซินซึ่งดีต่อการไหลเวียนและสร้างฮอร์โมน
  • ไรโบฟลาวินช่วยให้ผิวหนังและเส้นผมของคุณแข็งแรง
  • ฟอสฟอรัส มีประโยชน์ต่อการทำงานของหัวใจและกล้ามเนื้อ

6. หนังไก่ ( chicken skin ) ประโยชน์ของกรดโอเลอิกในหนังไก่สามารถช่วยให้การทำงานของร่างกายในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้โดยการลดภาวะดื้ออินซูลินจากการศึกษาพบว่าการบริโภคกรดโอเลอิกมากขึ้นดีสำหรับร่างกาย เพราะในหนังไก่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูงซึ่งมีประโยชน์ต่อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ ลดการอักเสบและโรคภูมิต้านตนเองแม้กระทั่งมะเร็ง

7. ตับไก่ ( Chicken liver ) ตับเป็นแหล่งสารอาหารสำคัญมากมาย อาทิเช่น ธาตุเหล็ก เป็นอีกหนึ่งสารอาหารสำคัญที่ช่วยนำพาออกซิเจนไปทั่วร่างกาย ง่ายต่อการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายของคนเรา

  • วิตามินบี 12 ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยเพิ่มการทำงานของสมอง
  • วิตามินเอ มีความสำคัญต่อการมองเห็นให้เป็นปกติ ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ ไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • วิตามินบี 9 หรือโฟเลต เป็นสารอาหารที่จำเป็นซึ่งมีบทบาทในการเจริญเติบโตของเซลล์และการสร้างดีเอ็นเอ ( DNA )
  • วิตามินบี 2 หรือไรโบฟลาวิน มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการทำงานของเซลล์ นอกจากนี้ยังช่วยเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน
  • ทองแดง ทำหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นเอนไซม์หลายชนิดซึ่งจะช่วยควบคุมการผลิพลังงาน การเผาผลาญธาตุเหล็กและการทำงานของสมอง

เมนูลดน้ำหนักจากอกไก่ ( อาหารคลีน )

เมนูลดน้ำหนักจากอกไก่ ( อาหารคลีน )1. สูตรบะหมี่ผักอกไก่ ส่วนผสม เส้นบะหมี่ผัก 200 กรัม (ครึ่งก้อน) อกไก่ 1 อก 60 กรัม ผัก 130 กรัม น้ำจิ้มสุกี้ 1 ถ้วย
2. สูตรโจ๊กไข่ขาวอกไก่ฉีก ส่วนผสม อกไก่ฉีก 200 กรัม น้ำซุป 1 ถ้วย ไข่ขาว 4 ฟอง เครื่องเคียง (ขิงซอย แครอท เห็ดหอม ต้นหอมซอม พริกไทยป่น)
3. สูตรสลัดผักอกไก่ไข่ลวก ส่วนผสม ไข่ไก่ 4 ฟอง อกไก่ฉีก 250 กรัม กระเทียมสับ 2 ช้อนโต๊ะ เกลือ 2 ช้อนชา ซอสปรุงรส 4 ช้อนโต๊ะ ไข่ต้ม 1 ฟอง ผักกาดแก้ว ผักกาดหอมรวมกัน 1 ถ้วย 150 กรัม พริกไทยป่น มะเขือเทศหั่นแว่น 2 ลูก น้ำสลัดแบบใส 1 ถ้วย หอมแดงซอย 4 ช้อนโต๊ะ หอมใหญ่หั่นแว่น 2 หัว
4. สูตรอกไก่อบซอสพริก ส่วนผสม สะโพกไก่ 500 กรัม กระเทียมสับ 10 กรัม รากผักชี 5 กรัม พริกไทยป่น 1 ช้อนชา ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ เครื่องปรุงไก่อบซอสพริก ขิงฝาน 20 กรัม หอมใหญ่สับ 60 กรัม น้ำซุป 400 มิลลิลิตร น้ำตาลทรายแดง 100 กรัม เหล้าจีน 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 2 ช้อนชา ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ ซอสพริก 200 กรัม
5. สูตรอกไก่หมักสมุนไพร ส่วนผสม เนื้ออกไก่ลอกหนัง 4 ชิ้น พริกไทยดำป่น เกลือป่น 2 ช้อนชา โรสแมรีแห้ง 1/4 ช้อนชา ผงออริกาโน่ 1/2 ช้อนชา กระเทียมสับ 2 กลีบ ใบไทม์แห้ง 1/2 ช้อนชา วูสเตอร์ซอส 1 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มสายชูบัลซามิก 1/4 ถ้วย น้ำตาลทรายแดง 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ ดิจองมัสตาร์ด 2 ช้อนโต๊ะ น้ำเลมอน หรือน้ำมะนาว 1 ลูก

เมนูเพิ่มน้ำหนักจากอกไก่

1. สูตรไก่ปั่น ส่วนผสม ไก่ต้มสุก 150 กรัม ข้าวโอ๊ต 100 กรัม ผงโกโก้ 3 ช้อนโต๊ะ นมแช่เย็น 250 มิลลิลิกรัม เนยถั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
2. สูตรสุกี้น้ำอกไก่ ส่วนผสม วุ้นเส้น 50 กรัม อกไก่ 100 กรัม ผัก 250 กรัม ไข่ 1 ฟอง น้ำซุป 400 มิลลิลิตร
3. สูตรนมถั่วเหลือปั่นอกไก่ ส่วนผสม นมถั่วเหลือง 350 กรัม อกไก่นึ่งสุก 100 กรัม 4.สูตรแซนวิชอกไก่ ส่วนผสม อกไก่ต้มหรือนึ่งสุก 150 กรัม ขนมปัง 2 – 4 แผ่น ผักกาดหอม 1 – 2 ใบ ซอสมะเขือเทศ 2 ช้อนโต๊ะ มายองเนส 3 ช้อนโต๊ะ 5.สเต็กอกไก่พริกไทยดำ ส่วนผสม อกไก่ 250 กรัม พริกไทยดำป่น 1 ช้อนชา กระเทียม 5 กลีบ ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันมะพร้าว 3 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา ผักสลัด 70 กรัม แครอท 30 กรัม มะเขือเทศ

ไก่ เป็นโปรตีนที่ดีที่สุดโดยเฉพาะอกไก่ไม่ติดมันมีโปรตีนมากที่สุด จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ลดความอ้วนและฟื้นฟูรักษามวลกล้ามเนื้อ ปีกไก่และขาไก่มีแคลอรีมากกว่าซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อหรือเพิ่มน้ำหนักนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

พริกไทย เครื่องเทศมหัศจรรย์ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่

0
พริกไทย มีผลดีต่อเอนไซม์ตับอ่อน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการย่อยอาหาร เป็นเครื่องเทศมีประโยชน์มากมายตั้งแต่โบราณ ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพสามารถป้องกันโรคต่างๆ
พริกไทย เครื่องเทศมหัศจรรย์ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่
พริกไทย มีผลดีต่อเอนไซม์ตับอ่อน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการย่อยอาหาร มีประโยชน์ต่อสุขภาพสามารถป้องกันโรคต่างๆ

พริกไทย

พริกไทย ( PEPPER ) พริกไทย (PEPPER) หรือพริกไทยสด (Green Peppercorn) คือ สมุนไพรและเครื่องเทศที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลก ทั้งพริกไทยดำ ( Black pepper ) และพริกไทยขาว (white pepper) พืชที่เติบโตในพื้นที่เขตร้อนชื้นและมีฝนตกชุกพริกไทยมีถิ่นกำเนิดในชายฝั่งอินเดียมีประวัติมาอย่างยาวนาน เป็นเครื่องเทศที่ปลูกกันแพร่หลายอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นราชาของเครื่องเทศมีกลิ่นหอมฉุน ให้รสเผ็ดร้อน สามารถทานได้ทั้งสดและแห้งนิยมนำมาปรุงรสในอาหารแยกได้หลายประเภทดังนี้ พริกไทยดำ พริกไทยขาว พริกไทยป่น พริกไทยอ่อน พริกไทยสด พริกไทยแห้ง เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณทางตำรับยาทั้งทางการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ และการแพทย์แผนปัจจุบัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกไทย

พริกไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ Piper nigrum L. ชื่อวงศ์ตระกูล Piperaceae พริกไทยเป็นต้นไม้เลื้อยมีลำต้นเถาเนื้อแข็งสีเขียวสูงประมาณ 10 เมตร โดยระบบรากอยู่ในดินลึกไม่เกิน 2 เมตรและอาศัยรากอากาศใช้ยึดติดกับต้นไม้ ใบกว้างสีเขียวมันวาวเรียงสลับกันขอบขนานปลายใบแหลมโคนใบมนกลมกว้าง 3.5 – 6 เซ็นติเมตร ยาวประมาณ 3 – 6 เซ็นติเมตร มีเส้นตามแนวยาว 5 เส้น ดอกสีขาวขนาดเล็กมีหนามแหลมเรียวยาวดอกละประมาณ 50 ดอก มี 2 เพศในดอกเดียวกัน ผลทรงกลมขนาด 4 – 5 เซ็นติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม เมื่อผลพริกไทยเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแดงแห้งแล้วเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีดำแต่ถ้าแกะเปลือกออกมีสีขาวนวล มีเมล็ดด้านใน 2 เมล็ด

สารออกฤทธิ์ในพริกไทย

ในเปลือกของพริกไทยอุดมไปด้วยปริมาณฟีนอล ฟลาโวนอยด์ และไพเพอรีนทั้งหมด 1421.95 ± 22.35 มก. GAE/100 ก., 983.82 ± 8.19 มก. CE/100 ก. และ 2352.19 ± 68.88 มก./100 กรัมตามลำดับ พริกไทยดำ คือผลแห้งที่ยังไม่สุกเต็มที่ของต้นพริกไทยถูกใช้เป็นเครื่องเทศ และเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร ในขณะที่พริกไทยขาวคือผลสุกที่ไม่มีเปลือกนอก พริกไทยดำและขาวสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ คือ สารไพเพอรีนซึ่งมีหน้าที่ทำให้พริกไทยมีกลิ่นฉุน ซึ่งพบได้ในตระกูลพริกไทย (Piperaceae) รวมถึงพริกยาว ( Piper longum ) ช่วยให้อาหารมีรสชาติเผ็ดร้อน เปลือกพริกไทยดำช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ ลดอาการปวดหัว ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยระบบย่อยอาหารไม่ดี และยังมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ดส่วนใหญ่ใช้กิ่งปักชำใช้เสาหรือต้นไม้ที่เป็นที่ยึดเป็นต้น

ตารางโภชนาการของพริกไทย

ข้อมูลโภชนาการ พริกไทย ในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 255 แคลอรี่

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
ไขมัน 3.3 กรัม
น้ำ 10.5 กรัม
โซเดียม 44 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 1,259 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 64.8 กรัม
ไฟเบอร์ 26.5 กรัม
โปรตีน 11 กรัม
วิตามินเอ 15 ไมโครกรัม
วิตามินบี 60.3 มิลลิกรัม
วิตามินซี 21 มิลลิกรัม
วิตามินอี 0.7 มิลลิกรัม
วิตามินเค 163.7 ไมโครกรัม
แคลเซียม 437 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 28.9 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 194 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 173 มิลลิกรัม
สังกะสี 1.4 มิลลิกรัม
ทองแดง 1.1 มิลลิกรัม
ฟลูออไรด์ 34.2 ไมโครกรัม
แมงกานีส 5.6 มิลลิกรัม
ซีลีเนียม 3.1 ไมโครกรัม
ไลโคปีน 6 ไมโครกรัม
ไทอามีน 0.1 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.2 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 1.1 มิลลิกรัม
โฟเลต 10 ไมโครกรัม
โคลีน 11.3 มิลลิกรัม
เบทาอีน 8.9 มิลลิกรัม

(*ค่าเปอร์เซ็นต์รายวันขึ้นอยู่กับอาหาร 2,000 แคลอรี่ดังนั้นค่าของคุณอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความต้องการแคลอรี่)

ประโยชน์ต่อสุขภาพของพริกไทยดำ

การวิจัยพบว่าพริกไทยดำ ( Black pepper ) มีผลดีต่อเอนไซม์ตับอ่อน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการย่อยอาหาร เป็นเครื่องเทศมีประโยชน์มากมายตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันถูกยกให้เป็นราชาแห่งเครื่องเทศ ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพสามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้ดังนี้

  • พริกไทยดำประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ และแคโรทีนอยด์ที่ช่วยในการรักษามะเร็งและโรคร้ายแรงอื่น ๆ
  • ในพริกไทยดำมีกรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก ( Hydrochloric acid ) ช่วยย่อยโปรตีนในอาหาร ช่วยในการทำความสะอาดลำไส้ และช่วยกระตุ้นการย่อยอาหารได้เร็วขึ้น
  • ช่วยยับยั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ช่วยปกป้องการสร้างเม็ดสีผิวและรักษาสีผิวเดิม
  • ช่วยลดเลือนริ้วรอยก่อนวัย ทำให้ผิวอ่อนเยาว์ยิ่งขึ้น และลดจุดด่างดำบนใบหน้า
  • เมล็ดพริกไทยช่วยล้างสารพิษออกจากผิว
  • พริกไทยดำช่วยแก้ปัญหาผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย ช่วยให้ผมดกดำขึ้น
  • พริกไทยเครื่องเทศที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์ ซึ่งช่วยในการสลายไขมันส่วนเกิน ลดน้ำหนัก ช่วยเริ่งการเผาผลาญของร่างกาย หากรับประทานเป็นประจำ
  • การกินพริกไทยสดช่วยป้องกันโรคซึมเศร้า ยับยั้งอาการทางจิต
  • ช่วยในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไอ จาม ไอมีเสมหะ
  • ช่วยป้องกันอาการคัดหน้าอกได้
  • ช่วยลดอาการปวดข้อ และอาการปวดกระดูกสันหลัง
  • ช่วยในการป้องกันโรคเกาต์
  • ช่วยขับเหงื่อและขับปัสสาวะ
  • มีคุณสมบัติในการขับลมและช่วยบรรเทาแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดและอาการปวดจุกเสียด
  • ช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหารต่างๆ เช่น ซีลีเนียม เคอร์คูมิน เบต้าแคโรทีน และวิตามินบีในลำไส้
  • ช่วยลดความเครียดในทวารหนัก
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาต้านเนื้องอก ( Docetaxel ) ในกลุ่ม Taxane ซึ่งเป็นยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ในพริกไทยพบสารแอลคาลอยด์ ( Alkaloid ) หรือเรียกอีกชื่อว่า ไพเพอร์รีน มีประสิทธิภาพในการควบคุมความดันโลหิต ช่วยเพิ่มการดูดซึมของเคอร์คูมิน ( Curcumin ) ที่พบในขมิ้น
  • คุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียของพริกไทยดำ
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดฟันและการติดเชื้อในช่องปาก
  • พริกไทยดำมีผลดีต่อสุขภาพสมอง ช่วยให้นอนหลับง่าย

การบริโภคพริกไทยต่อวัน

พริกไทยที่นิยมบริโภคกันทั่วๆไปนั้น มีทั้ง พริกไทยเมล็ด พริกไทยป่น พริกไทยสด พริกไทยดำ การบริโภคที่ดีควรทานในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไป เนื่องจากพริกไทยเป็นเครื่องเทศไม่ใช่อาหาร ปริมาณที่เหมาะสมเพิ่มเติมพริกไทยป่นลงไปในอาหาร 1 ช้อนโต๊ะ ( 6 กรัม ) จะให้พลังงาน 15.9 แคลอรี่ เส้นใยอาหาร 2 กรัม ไขมัน 4.1 กรัม โซเดียมประมาณ 3 มิลลิกรัม และคาร์โบไฮเดรต 4 กรัม พ่อครัว แม่ครัว กุ๊ก เชฟใช้พริกไทยในการปรุงอาหารเพื่อให้มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน เมนูอาหารพริกไทย เช่น แกงเลียง คั่วกลิ้ง ผัดหอยลายโหระพาพริกไทยอ่อน เนื้อผัดพริกไทยดำ ทะเลผัดพริกไทยดำ ( ไก่ ปลา หมู กุ้ง ปลาหมึก หอย เนื้อ ) สเต็ก เป็นต้น

เมนูพริกไทยรสเด็ด

  • สเต๊กหมูพริกไทยดำ
  • ผัดหอยลายโหระพาพริกไทยอ่อน
  • มาม่าผัดขี้เมาทะเล
  • เนื้ออบซอสพริกไทยดำ
  • หมู ไก่ผัดพริกไทยดำ
  • แกงป่าเนื้อใส่พริกไทยดำ
  • หมูทอดกระเทียมพริกไทยดำ
  • ผัดฉ่าทะเล
  • ผัดกระเพราหมูสับใส่พริกไทยดำ
  • แกงจืดวุ้นเส้นทรงเครื่อง

พริกไทยจัดเป็นสมุนไพรมีสรรพคุณทางยามากมายและเป็นนิยมปลูกกันมากในประเทศไทยมีมากถึง 7 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ซีลอน พันธุ์คุชชิ่ง พันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พันธุ์ใบหนา พันธุ์ควายขวิด พันธุ์บ้านแก้ว และพันธุ์ปรางถี่หยิก อุดมไปด้วยสังกะสี และแมกนีเซียมซึ่งเป็นแร่ธาตุสองชนิดที่สำคัญต่อฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายเพิ่มปริมาณอสุจิผู้ชายทั้งหลายไม่ควรพลาด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เมล็ดฟักทอง ของว่างที่ดีต่อสุขภาพและไม่ควรมองข้าม

0
เมล็ดฟักทอง ของว่างที่ดีต่อสุขภาพและไม่ควรมองข้าม
ประโยชน์ของเมล็ดฟักทองที่ไม่ควรมองข้าม
เมล็ดฟักทอง มีสีเขียวเข้มบางชนิดห่อหุ้มด้วยเปลือกสีเขาว เนื้อในของเมล็ดฟักทองนุ่มหนึบและมีรสหวานเล็กน้อย สามารถกินได้ทั้งเปลือกหรือไม่มีเปลือก

เมล็ดฟักทอง

เมล็ดฟักทอง หรือที่เรียกว่า Pumpkin Seeds คือเมล็ดที่อยู่ในผลฟักทอง มีลักษณะแบน สีเขียวเข้ม บางชนิดห่อหุ้มด้วยเปลือกสีขาว เนื้อในของเมล็ดฟักทองนุ่มหนึบและรสหวานเล็กน้อย สามารถทานได้ทั้งพร้อมเปลือกหรือไม่มีก็ได้

ตารางคุณค่าทางโภชนาการจากเมล็ดฟักทอง

เมล็ดฟักทอง 100 กรัม ให้พลังงานทั้งหมด 574 กิโลแคลอรี่

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
ไขมัน 49 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 11 กรัม
โซเดียม 7 มิลลิกรัม
ใยอาหาร 6 กรัม
น้ำตาล 1.4 กรัม
โปรตีน 30 กรัม
แคลเซียม 46 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 8.82 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 809 มิลลิกรัม

เมล็ดฟักทองยังมีไฟเบอร์มากกว่าถั่วหลายชนิดในปริมาณ 5 กรัมต่อ ¼ ถ้วย ซึ่งเมล็ดฟักทองย่อยง่ายกว่าธัญพืชและถั่ว เมล็ดฟักทองสามอันดับแรกที่จัดอันดับตามปริมาณหรือระดับแคลอรี่ใน 100 กรัม ดังนี้
1. เมล็ดฟักทองคั่วโดยไม่ใส่เกลือให้พลังงาน 574 แคลอรี่
2. เมล็ดฟักทองอบด้วยเกลือให้พลังงาน 574 แคลอรี่
3. เมล็ดฟักทองแห้งให้พลังงาน 559 แคลอรี่

โดยปกติร่างกายคนเราต้องการสารอาหารในหนึ่งมื้อมีส่วนช่วยในการรับประทานอาหารประจำวันมากเพียงใด เท่ากับ 2,000 แคลอรี่ต่อวัน

ประโยชน์เมล็ดฟักทองทางโภชนาการ

ประโยชน์เมล็ดฟักทองทางโภชนาการเมล็ดฟักทองถือว่าเป็นแหล่งแร่ธาตุสังกะสีจากองค์การอนามัยโลกที่มีโภชนาการทางด้านสารอาหารครบถ้วน ปริมาณที่แนะนำในการบริโภคเมล็ดฟักทอง 30 กรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการใน 1 วัน จะให้โปรตีน ไขมัน ไฟเบอร์ สังกะสี แมกนีเซียม และสารอาหารอื่น ๆ ที่ดีต่อสุขภาพได้รับการพิสูจน์แล้ว

เมล็ดฟักทองมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

1. เมล็ดฟักทองมีน้ำมันลินซีด หรือเรียกน้ำมันลินสีด มีประโยชน์ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ช่วยปรับสมดุลของน้ำตาลในเลือดและลดระดับคอเลสเตอรอล
2. งานวิจัยพบว่าเมล็ดฟักทองเป็นแหล่งที่ดีของแมกนีเซียม แมงกานีส เหล็ก สังกะสี และทองแดง ช่วยให้อารมณ์และการนอนหลับดีขึ้นในขณะที่แมงกานีสมีบทบาทในการผลิตคอลลาเจนช่วยบำรุงผิวหนังและกระดูก ธาตุเหล็กและธาตุทองแดงช่วยในการผลิตพลังงาน เหล็กยังช่วยขนส่งออกซิเจนไปยังเซลล์ของเรา
3. เพียงกินเมล็ดฟักทองไม่เกิน 200 กรัม 10 – 15 นาที ก่อนเข้านอน เมื่อร่างกายได้รับแมกนีเซียม ( magnesium ) ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญในการควบคุมการนอนหลับช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
4. การรับประทานเมล็ดฟักทองเป็นแหล่งไขมันอิ่มตัวรวมทั้งกรดอัลฟาไลโนเลนิก ( ALA ) มีประโยชน์ต่อหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
5. กินเมล็ดฟักทองเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีสามารถป้องกันมะเร็งได้
6. การศึกษาพบว่าน้ำมันเมล็ดฟักทองมีศักยภาพในการป้องกันหรือรักษาความผิดปกติของปัสสาวะได้
7. เมล็ดฟักทองอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคต่อมลูกหมากโต ( BPH ) ซึ่งเป็นภาวะที่ต่อมลูกหมากโตทำให้มีปัญหาในการปัสสาวะ
8. เมล็ดฟักทองเป็นแหล่งเส้นใยอาหารที่ดี ยังสามารถลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และลดอ้วนได้อีกด้วย
9. เนื่องจากเมล็ดฟักทองเป็นแหล่งสังกะสีที่อุดมสมบูรณ์ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ช่วยปรับระดับฮอร์โมนป้องกันตัวอสุจิในเพศชายจากความเสียหายที่เกิดจากเคมีบำบัด และโรคภูมิต้านตนเองหรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง
10. เมล็ดฟักทองเต็มไปด้วยสังกะสีและเหล็ก ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ยังมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อราและต้านไวรัสบางชนิดอีกด้วย
11. เมล็ดฟักทองเป็นแหล่งโปรตีน เหมาะสำหรับสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ถั่วเหลืองหรือต้องการหลีกเลี่ยงไม่ชอบกินถั่วเหลือง
12. เมล็ดฟักทองอาจมีไขมันสูง แต่เป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพมีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นแหล่งไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่ช่วยปกป้องหัวใจ ป้องกันการอักเสบ และช่วยควบคุมน้ำหนัก
13. เมล็ดฟักทองได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถกำจัดจุลินทรีย์ ปรสิตที่เป็นอันตรายออกจากร่างกาย และยังป้องกันการติดเชื้อยีสต์ ( แคนดิดา ) สามารถป้องกันการเจริญเติบโตของยีสต์ และการอักเสบในผู้ที่ติดเชื้อยีสต์แคนดิดาที่ผิวหนังได้
14.ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้มีเกิดอาการร้อนวูบวาบปวดศีรษะและอาการวัยทองอื่น ๆ ควรกินเมล็ดฟักทองช่วยลดอาการวัยทองได้

เมนูบำรุงต่อมลูกหมาก

เมนูบำรุงต่อมลูกหมาก - เมล็ดฟักทอง ของว่างที่ดีต่อสุขภาพและไม่ควรมองข้ามตรีมมธุรสฟักทอง ( บำรุงธาตุ ป้องกันต่อมลูกหมากโต )

ส่วนผสม
เมล็ดฟักทอง 1 ถ้วย
งาขาว 1/4 ถ้วย
งาดำ 1/4 ถ้วย
น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันเนย 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. นำเมล็ดฟักทองกระเทาะเปลือก งาขาว งาดำ คั่วจนสุกหอม
2. นำกะทะทองเหลืองตั้งไฟ ใส่น้ำผึ้ง น้ำตาล และน้ำมันเนย คนให้ละลายเข้ากัน
3. นำเมล็ดฟักทอง งาขาว งาดำ ใส่ลงไปกวนให้เข้ากันจนแห้ง เหนียว
4. เมื่อแห้งดีแล้วนำใส่จานแผ่ให้เย็น และนำมาทานเป็นอาหารว่างได้

เมล็ดฟักทองมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ
การกินเมล็ดฟักทองสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดอาหารและอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพต่างๆ รวมถึงป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดัน ความเครียดเป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม