Home Blog Page 180

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

0
การดูแลสุขภาพกายและใจของผู้ป่วยเบาหวาน
การดูแลสุขภาพกายและใจของผู้ป่วยเบาหวาน
การดูแลสุขภาพกายและใจของผู้ป่วยเบาหวาน
การดูแลสุขภาพกายและใจของผู้ป่วยเบาหวาน

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็น ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วไปใช้ได้อย่างเหมาะสม และเป็นอีกโรคหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในระยะแรกๆ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บปวดทรมาน อันเป็นสาเหตุให้บางครั้งผู้ป่วยไม่อยากมาพบแพทย์ตามนัดเพราะไม่มีอาการหรือความไม่สบายกายแต่อย่างใด ดังนั้นในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงต้องมีการอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงอาการของโรคและความเป็นมา ตลอดจนการรักษาและโรค แทรกซ้อนที่จะตามมาในภายหลังผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นมานานและไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติอย่างเสมอจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเมื่อโรคแทรกซ้อนทวีความรุนแรงมากขึ้นจะเกินอาการเจ็บปวดและทรมานได้

ผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อเริ่มรักษาต้องมีการปรับตัว คือ ต้องหมั่นมาพบแพทย์ มีความอดทนและปรับพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารไม่ตามใจตนเอง และที่สำคัญยอมรับว่าตนเป็นโรคเบาหวานและต้องให้ความร่วมมือในการรักษาและการปฏิบัติตนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดไปโดยผู้ป่วยต้องได้รับทราบว่าแพทย์มีเป้าหมายการรักษาอยู่ที่ การควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติ ซึ่งมีแผนการรักษาดังนี้

1.การควบคุมอาหาร
2.ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
3.พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามนัด เพื่อตรวจร่างกาย ติดตามผลการรักษาและประเมินสภาพของโรค รวมทั้งการรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินในปริมาณแพทย์สั่งโดยเคร่งรัด
4.อารมณ์และจิตใจของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ความรู้สึกของผู้ป่วยโรคเบาหวานในระยะแรก คือ กลัว ตกใจ สับสนไม่เชื่อว่าจะรักษาไม่หายจึงเปลี่ยนสถานที่รักษา มีความหวังว่าจะได้พบแพทย์เก่งๆ ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จนบางครั้งหยุดการรักษาด้วยแผนปัจจุบันหันไปรักษาแผนโบราณ ใช้ยาสมุนไพร หรือวิธีอื่นๆ เหมือนถูกบังคับ ทำให้ควบคุมอาหารได้ไม่นานก็กลับมารับประทานในลักษณะเดิมอีก เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพร่างกายหรือมีอาการแทรกซ้อนแสดงให้เห็นทันที

ความรุนแรงและระยะที่เกิดอารมณ์ในผู้ป่วยแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นกับพื้นฐานทางสุขภาพจิตของผู้ป่วย กำลังใจ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งจึงจะยอมรับความจริงได้ เช่น ได้พบเห็นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีโรคแทรกซ้อนที่ประสบความทุกข์ทรมานจึงเกิดความกลัวว่าจะเป็นเช่นนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อแพทย์ตรวจพบหรือมีอาการแสดงของโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยส่วนมากจะยอมรับและปฏิบัติตามที่แพทย์และพยาบาลแนะนำอย่างเคร่งครัด แต่ก็มักเป็นการสายเกินไป เนื่องจากโรคแทรกซ้อนเหล่านี้รักษาไม่หายขาดและจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ความรุนแรงและระยะที่เกิดอารมณ์ในผู้ป่วยแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นกับพื้นฐานทางสุขภาพจิตของผู้ป่วย กำลังใจ และแรงสนับสนุนที่ได้รับจากสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ อารมณ์และความรู้สึกของผู้ป่วยจะแสดงออกมาแตกต่างกันได้หลายรูปแบบดังนี้

รูปแบบที่ 1 ต่อต้าน ผู้ป่วยมักมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย รู้สึกรำคาญต่อภาวะและกิจกรรมบำบัดรักษาต่างๆ ที่ทำให้ชีวิตประจำวันของตนเปลี่ยนไปผู้ป่วยอาจไม่ให้ความร่วมมือต่อการรักษาของแพทย์ ไม่ไยดีต่อคำวิงวอนร้องขอหรือแม้กระทั่งการบังคับขู่เข็ญ ญาติพี่น้องและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องมีความอดทนต่อพฤติกรรมของผู้ป่วย ค่อยๆอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเมื่อระยะเวลาผ่านไปผู้ป่วยอาจจะเปลี่ยนใจให้ความร่วมมือขึ้นมาก็ได้

รูปแบบที่ 2 หลีกหนี ผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่านขั้นตอนของการยอมรับความจริงจะเกิดอาการปฏิเสธและหลีกหนีการเผชิญความจริง ไม่ยอมแม้กระทั่งจะไปพบแพทย์ หรือการเปลี่ยนสถานที่รักษาหลายแห่งโดยมีความเชื่อว่าจะต้องมีแพทย์ที่เก่งและรักษาโรคนี้ให้หายโดยไม่ยอมรับฟังคำอธิยายความเป็นจริงจากใครทั้งสิ้น ลักษณะเช่นนี้ผู้ที่ใกล้ชิดจะต้องพยายามเตือนสติให้ผู้ป่วยได้คิดถึงอนาคต คิดถึงบุคคลหรือสิ่งอื่นๆ ที่เขารักและให้ความสำคัญ อาจทำให้ผู้ป่วยหันมายอมรับความจริงได้มากขึ้น

รูปแบบที่ 3 ปกปิด ผู้ป่วยไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานโดยพยายามแสดงให้เห็นว่าไม่มีอาการแสดงของโรค เมื่อใกล้วันที่จะมาพบแพทย์หลอกตนเองโดยรับประทานน้อยลง หลีกเลี่ยงสิ่งต้องห้ามเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดในวันที่มาพบแพทย์ไม่สูงหรือเป็นปกติ และจะบอกตนเองว่าหายแล้วไม่ไปพบแพทย์และหยุดยาช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากยังสบายดีไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะกลับมามีพฤติกรรมเดิมคือ ไม่ควบคุมอาหาร จนกระทั่งเริ่มมีอาการของภาวะแทรกซ้อนจึงกลับไปพบแพทย์อีก ซึ่งอาจจะสายเกินแก้และผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกซึมเศร้า เส้นใจ ผู้ที่ใกล้ชิดและสมาชิกในครอบครัวต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพื่อสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้

รูปแบบที่ 4 ยอมรับ มักจะเป็นปฏิกิริยาของผู้ป่วยที่มีพื้นฐานทางสุขภาพจิตดี มีครอบครัวอบอุ่น ผู้ป่วยยอมรับความจริง ยินดีให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีครอบครัวอบอุ่น ผู้ป่วยยอมรับความจริง ยินดีให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จะพยายามทุกวิถีทางที่จะบำบัดโรคของตนเองและได้รับการเสริมกำลังใจที่ดีจากผู้ใกล้ชิด ผู้ป่วยสามารถยืนหยัดกับโรคเบาหวานได้เหมือนคนปกติโดยไม่รู้สึกกว่าถูกควบคุมหรืออึดอัดต่อกิจกรรมและพฤติกรรมที่ต้องเปลี่ยนแปลงในระยะต้น ต่อมาสามารถปรับให้เป็นพฤติกรรมที่ต้องกระทำในชีวิตประจำวันได้

อย่างไรก็ดี บุคคลสำคัญที่สุดที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตที่พร้อมจะเผชิญกับโรคเบาหวานได้ดีคือ ตัวผู้ป่วยเอง เพราะหากผู้ป่วยไม่ยอมช่วยเหลือตนเอง ผู้อื่นก็ยากที่จะแทรกเข้ามาช่วยได้ การรู้จักรักตนเองจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เพราะหากขาดสิ่งนี้ก็เท่ากับขาดปัจจัยสำคัญทางจิตใจ

การดูแลสุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การดูแลสุขภาพร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าปกติจึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย เช่น เกินการอักเสบของผิวหนัง ช่องปาก และเท้า เป็นต้น ถ้าควบคุมเบาหวานเหล่านี้เกิดขึ้นการควบคุมโรคจะยิ่งเลวลง

ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรปฏิบัติดังนี้

1.นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
2.หลีกเลี่ยงความเครียดทางอารมณ์ เพราะจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายสดชื่นและควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น โดยเลือกประเภทของการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของตนเอง ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ร่วมด้วยชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่าปล่อยให้อ้วนเพราะจะทำให้การควบคุมเบาหวานยากขึ้น
4.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเหล้า
5.ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอแม้จะรู้สึกสบายดี เพื่อรับการตรวจสุขภาพและคำแนะนำที่ถูกต้อง ทั้งนี้เนื่องจากโรคแทรกซ้อนส่วนใหญ่เกิดขึ้นก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวหรือมีอาการ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพตา

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรดูแลสุขภาพตาดังนี้

ควรพบจักษุแพทย์ตรวจสุขภาพตาโดยละเอียดอย่างน้อยปีละครั้งถ้ามีอาการผิดปกติทางตา เช่น ตามัว ควรปรึกษาจักษุแพทย์ทันที

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพฟัน

เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอักเสบ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรให้ความสนใจสุขภาพฟันดังนี้

1.หมั่นรักษาความสะอาดของฟันและช่องปาก แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเพื่อการทำความสะอาดซอกฟันให้ทั่วถึงแต่ควรระมัดระวังไม่ให้โดนเหงือก
2.ควรพบทันตแพทย์ตรวจสุขภาพของฟันและช่องปากทุก 6 เดือน 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพผิวหนัง

ผิวหนังจัดเป็นปราการชั้นนอกสุดในการป้องกันเชื้อโรค จึงควรมีการดูแลรักษาดังนี้

1.ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะตามซอกอันชื้น เช่น ใต้ราวนม รักแร้ และขาหนีบ หลังอาบน้ำต้องเช็ดบริเวณเหล่านี้ไม่ให้อับชื้น มิฉะนั้นจะเกิดเชื้อราได้ง่าย
2.ถ้าผิวหนังแห้ง ควรทาครีมเพื่อให้ผิวชุ่มชื้นอยู่เสมอ
3.ถ้าเหงื่อออกมากทาแป้งฝุ่นบางๆ เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น
4.สวมเสื้อผ้าที่สะอาดและสบาย
5.ถ้ามีอาการอักเสบของผิวหนัง ผื่นคัน ฝีพุพอง ควรปรึกษาแพทย์ทันที

ผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งมีปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมลงจะมีระดับของการสูญเสียความรู้สึกแตกต่างกันมาก บางคนอาจจะเหยียบตะปู เดินเตะถูกของแข็งโดยไม่รู้สึกเจ็บ จนถึงบางคนรองเท้าหลุดไปแล้วก็ยังไม่รู้ตัว

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับสุขภาพเท้า

สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลเท้าก็คือการป้องกันไม่ให้เกิดแผล การละเลยต่อสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อาจจะทำให้เกิดเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนของทั้งระบบประสาทและหลอดเลือด การตีบตันของหลอดเลือดนั้นถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในหารส่งผลให้แผลหายเร็วหรือช้าทั้งนี้ เนื่องจากหลอดเลือดเป็นเส้นทางซึ่งสารอาหารและยาถูกขนส่งไปยังบริเวณที่เป็นแผลรวมทั้งเป็นเส้นทางกำจัดของเสียจาแผลด้วย อาการที่บ่งบอกว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับหลอดเลือด คือ อาการปวดขาเวลาเดินเมื่อหยุดพักสักครู่ก็จะหาย เป็นแผลแล้วหายช้าผิวหนังบริเวณเท้าและขาแห้งและปราศจากขน เป็นต้น

  • ล้างเท้าทุกวันด้วยสบู่อ่อน และอย่าแช่เท้าไว้ในน้ำนานกว่า 5 นาที
  • เช็ดเท้าเบาๆ ให้แห้งด้วยผ้าที่นุ่ม โดยเฉพาะระหว่างซอกนิ้วเท้าอย่าให้อับชื้น
  • ตับเล็บด้วยความระมัดระวัง โดยตัดขวางเป็นเส้นตรงแล้วใช้ตะไบถูให้เรียบพอดีกับเนื้อ อย่าตัดให้สั้นเกินไป
  • รักษาความชุ่มชื้นของเท้าให้เหมาะสม ถ้าผิวหนังบริเวณเท้ามีลักษณะชื้นง่ายก็ควรใช้แป้งฝุ่นโรย อย่าให้ครีมหรือแป้งจับตัวกันเป็นก้อนเพราะจะทำให้เกิดการหมักหมม เป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคได้ง่าย
  • เปลี่ยนถุงเท้าทุกวันและเลือกสวมถุงเท้าที่ซึมซับเหงื่อได้ดี ถุงเท้าที่ทำจากผ้าฝ้ายเหมาะสมกว่าถุงเท้าที่ทำจากใยสังเคราะห์เนื่องจากมีการถ่ายเทอากาศที่ดีกว่าและทำให้เท้าแห้งอยู่เสมอ
  • เลือกรองเท้าที่มีขนาดกระชับเหมาะสมให้ความรู้สึกสบายขณะสวมใส่ รองเท้าควรทำด้วยหนังและไม่ควรเลือกขนาดที่คับเกินไปเพราะจะทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ถ้าเท้าชาควรสวมรองเท้าหุ้มส้น การสวมรองเท้าใหม่ควรค่อยๆ ใส่ให้ชิน โดยลองสวมใส่วันละ 1-2 ชั่วโมงก่อน
  • ปกป้องเท้าของท่านอยู่เสมอโดยหลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าไม่ว่าจะเป็นในหรือนอกบ้าน
    สำรวจดูเท้าทุกวันว่ามีบาดแผล ตุ่มพอง รอยแดง เชียวช้ำ และรอยแตกหรือไม่ ถ้าก้มลงมองไม่สะดวกควรใช้กระจกส่องดู
  • ก่อนสวมรองเท้าทุกครั้งควรตรวจสอบภายในก่อนว่ามีวัตถุหรือสิ่งแปลกปลอมใดๆ อยู่หรือไม่ เช่น กรวด ทราย ฯลฯ
  • ออกกำลังกายบริเวณขาและเท้าอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 15 นาที เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดตามขาและเท้าดีขึ้นปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีบาดแผล เล็บขบเชื้อราในซอกเท้า มีอาการปวดหรือบวมบริเวณกล้ามเนื้อน่องหรือเท้า

สิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรปฏิบัติ คือ

1.ไม่ควรเดินเท้าเปล่า ควรสวมรองเท้าเสมอแม้แต่อยู่ในบ้านเพราะอาจมีเศษวัสดุหรือของมีคมตกหล่นอยู่ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลได้โดยไม่รู้ตัว
2.ไม่ควรวางกระเป๋าน้ำร้อนบนขาหรือแช่เท้าในน้ำอุ่นโดยเด็ดขาด เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีปลายประสาทเสื่อม ผิวหนังรับรู้อุณหภูมิได้ไม่ดี อาจผสมน้ำร้อนจนลวกเท้าพองโดยผู้ป่วยไม่รู้สึกร้อนหรือเจ็บเกิดเป็นแผลเรื้อรังได้
3.ไม่ควรตัดหนังแข็งๆ ตาปลาออกเอง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษา
4.ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดอุดตันทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง 

ศาสตราจารย์ นพ. เทพ หิมะทองคำ และคณะบรรณาธิการ ศาสตราจารย์ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน และรองศาสตราจารย์ ภญ.ธิดา นิงสานนท์. ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2557.

บุษบา จินดาวิจักษณ์. ยารักษาโรคเบาหวานใช้อย่างไร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน

0
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานานและไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติอย่างสม่ำเสมอจะเกิดโรคแทรกซ้อน
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานานและไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติอย่างสม่ำเสมอจะเกิดโรคแทรกซ้อน

โรคเบาหวานกับการดูแลตนเอง

การดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะโรคเบาหวานนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย เนื่องจากการทำงานผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลินที่อยู่ในร่างกาย อินซูลินมีความจำเป็นต่อร่างกายของเรามีหน้าที่คือนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย เช่น สมอง กล้ามเนื้อ ดังนั้น การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน จะต้องแตกต่างจากคนปกติทั่วไปเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ที่สำคัญคือภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทนหรือภาวะหมดสติเนื่องจากระดับน้ำตาลสูงมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลเมื่อเกิดภาวะเจ็บป่วย

เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ร่างกายจะตอบสนองต่อภาวะดังกล่าวเหมือนภาวะที่มีความเครียดเกิดขึ้น จะมีการหลั่งฮอร์โมนหลายตัว รวมแล้วเรียกสเตรสฮอร์โมน stress hormones ซึ่งจะทำให้ตับสร้างน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น

คนปกติจะมีการตอบสนองโดยการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะทำให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงขึ้นไปใช้เป็นแหล่งพลังงานในเนื้อเยื่อได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้เพิ่มขึ้นได้ตามที่ร่างกายต้องการในขณะที่มีความเครียด และประกอบกับสเตรสฮอร์โมนเหล่านี้ยังมีผลทำให้ฮอร์โมนอินซูลินพาน้ำตาลกลูโคสเข้าเนื้อเยื่อได้ไม่ดีอีกด้วย ผลก็คือระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานจะสูงขึ้นกว่าปกติและอาจจะขึ้นสูงได้มากๆ จนเป็นอันตรายได้

เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อเพื่อใช้เป็นพลังงานได้ ร่างกายจึงสลายไขมันที่สะสมอยู่ออกมาใช้เป็นแหล่งพลังงานแทน ซึ่งกระบวนการสลายไขมันนี้จะได้สารคีโทนซึ่งเป็นสารพิษและมีฤทธิ์เป็นกรดเกิดขึ้นด้วย หากร่างกายไม่มีฮอร์โมนอินซูลินหรือมีเพียงเล็กน้อยเช่นในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 สารคีโทนในเลือดก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นมากทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทน

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ร่างกายยังพอจะสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้บ้างมักจะไม่เกิดภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโทน แต่จะเกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ จนเกิดภาวะขาดน้ำ เนื่องจากปัสสาวะบ่อยจนอาจเป็นลมหมดสติไปได้

ในบางครั้งหากภาวะเจ็บป่วยนั้นเป็นเพียงเล็กน้อยและสเตรสฮอร์โมนไม่ได้ถูกสร้างออกมามาก และผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ หรือถ่ายอุจจาระมากๆ จนอยู่ในภาวะขาดน้ำหรือสารอาหาร อาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ 

ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานไม่สบายจึงควรมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและ / หรือคีโทนในปัสสาวะบ่อยๆ โดยอาจทำด้วยตนเองหรือโดยคนในครอบครัว เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงขณะเจ็บป่วย

ข้อควรปฏิบัติในการดูแลตนเองขณะเป็นโรคเบาหวาน ดังนี้

เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลทุก 4-6 ชั่วโมง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 ซึ่งใช้ยาฉีดอินซูลิน ควรตรวจคีโทนในปัสสาวะร่วมด้วยทุก 4-6 ชั่วโมง เช่นกัน
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น
ไม่ควรหยุดฉีดอินซูลินหรือหยุดรับประทานยาเบาหวาน ให้ฉีดยาหรือรับประทานยาตามขนาดเดิม
ควรจะมีอินซูลินชนิดใสซึ่งออกฤทธิ์เร็วเผื่อใช้เพิ่มเติม ( ตามคำแนะนำของแพทย์ )
ควรระวังและสังเกตอาการจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมากเกินไป
รับประทานอาหารแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม ( ดูหมวดอาหารแลกเปลี่ยน )
ดื่มน้ำให้มากขึ้น พักผ่อนมากๆ และงดออกกำลังกาย
การฉีดยาอินซูลินขณะเจ็บป่วย

ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 หรือที่ต้องใช้ยาฉีดอินซูลินเป็นประจำก็ให้ฉีดในขนาดเท่าเดิม เวลาเดิมตามปกติ และสามารถฉีดอินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้นเพิ่มได้อีก หากตรวจพบว่า

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 240 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และ / หรือคีโทนในปัสสาวะมากกว่า 1
โดยมีวิธีฉีดดังนี้

ปริมาณ : ให้ฉีดเพิ่มประมาณ 20% ของปริมาณยาฉีด รวมทั้งหมดตามปกติ เช่น
ปกติฉีด รวมทั้งวัน    = 40 ยูนิต

20% ของ 40 ยูนิต   = 8 ยูนิต 

เวลา : ฉีดได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ตามระดับน้ำตาลในเลือด หรือคีโทนในปัสสาวะที่ตรวจพบพยายามควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงประมาณ 100-240 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และ / หรือตรวจไม่พบคีโทนในปัสสาวะ

ในกรณีต่อไปนี้ผู้ป่วยเบาหวานควรปรึกษาแพทย์หรือมาโรงพยาบาล

อาการเจ็บป่วยเป็นนานเกิน 2-3 วัน
คลื่นไส้ อาเจียนมาก เช่น ทุก 4-6 ชั่วโมง หรืออุจจาระร่วงไม่หยุดเลยนานกว่า 3 ชั่วโมง
รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย หรือรู้สึกไม่สบายและอ่อนเพลียมาก
ฉีดอินซูลินเพิ่มแล้วระดับน้ำตาลในเลือดหรือคีโทนในปัสสาวะก็ไม่ดีขึ้นใน 1-2 วัน

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจควรจะปรึกษากับทีมผู้รักษาโดยตรงทันที

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์ นพ. เทพ หิมะทองคำ และคณะบรรณาธิการ ศาสตราจารย์ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน และรองศาสตราจารย์ ภญ.ธิดา นิงสานนท์. ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2557.

สิรินาถ วงศ์ภมรมนตรี. เราจะไม่เป็นเบาหวานในชาตินี้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559.

ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับอาหารผู้ป่วยเบาหวาน

0
ปัญหาเกี่ยวกับอาหารผู้ป่วยเบาหวาน
อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงจะเป็นอาหารประเภทของหมักดอง อาหารหวาน
ถาม - ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับอาหารผู้ป่วยเบาหวาน
เบียร์เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งจะไปเสริมฤทธิ์ยาให้มีมากขึ้นในผู้ป่วยที่ใช้อินซูลีนจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากว่าปกติ

อาหารผู้ป่วยเบาหวาน

สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ ที่เพิ่งพบหรือตรวจเจอว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวาน  นอกจากจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์แล้วก็คงมีคำถามขึ้นมาในหัวมากมายว่า ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตอย่างไรบ้าง อะไรที่สามารถทำได้เหมือน เดิม หรืออะไรที่ไม่ควรทำและต้องหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะเรื่อง อาหารผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีความสำคัญกับอาการของโรคเบาหวานเป็นอย่างมาก ลองมาดูกันว่ามีคำถามอะไรที่บ้างที่ผู้ป่วยมักสงสัยและอยากถาม ดังต่อไปนี้

คำถามเกี่ยวกับอาหารผู้ป่วยเบาหวานทั่วไป

1.1 ผู้ป่วยเป็นเบาหวานสามารถรับประทานผลไม้ได้มากน้อยเพียงใดต่างจากคนปกติหรือไม่?

ตอบ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานสามารถทานผลไม้ได้เป็นปกติ แต่ทั้งนี้ต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากในผลไม้ทุกชนิดจะน้ำตาลที่อยู่ในรูปของฟรักโทส หากทานมากเกินไปจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้

1.2 ผู้ป่วยเบาหวานทานทุเรียนได้หรือไม่?

ตอบ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานทุเรียน เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลมากและให้พลังงานสูง ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานทุเรียนเข้าไปจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าการทานผลไม้อื่นๆ

1.3 ผู้ป่วยเบาหวานดื่นเบียร์ได้หรือไม่?

ตอบ  ไม่ควรดื่ม เนื่องจากเบียร์เป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งแอลกอฮอล์จะไปเสริมฤทธิ์ยาให้มีมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้อินซูลีนอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากว่าปกติและเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ให้พลังงานสูง หากทานในปริมาณมากจะยิ่งทำให้อ้วนได้

1.4 ผู้ป่วยเบาหวานจะรับประทานข้าวระหว่างมื้อได้หรือไม่?

ตอบ ทานได้แต่ต้องให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมโดยปริมาณคาร์โบไฮเดรตรวมทั้งวันต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนด

1.5 ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานขนมหวานๆ บ้างได้หรือไม่?

ตอบ ทานได้ แต่ควรทานในปริมาณน้อย เนื่องจากขนมหวานต่างๆ มักจะมีส่วนประกอบของน้ำตาลและไขมันที่สูงเมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่นๆ หากต้องทานขนมหวานควรลดปริมาณอาหารอย่างอื่นในมื้อนั้นๆ แต่ก็จะได้รับสารอาหารที่น้อยตามไปด้วย

1.6 ดื่มน้ำเต้าหู้ตอนเช้าแทนนมได้หรือไม่?

ตอบ  ทานแทนได้สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้นม แม้ว่าน้ำเต้าหู้จะมีแคลเซียมน้อยกว่านมมาก แต่ก็อุดมไปด้วยโปรตีนและ ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดี ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรทานแบบหวานน้อยหรือใช้ความหวานจากน้ำตาลเทียมแทน

1.7 ดื่มนมมากกว่าวันละ 2 กล่องได้หรือไม่?

ตอบ  สามารถดื่มได้แต่ควรเลือกนมชนิดพร่องมันเนยหรือนมขาดไขมัน และเลือกทานนมรสจืดจะดีที่สุด ในแต่ละวันผู้ใหญ่ ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 2 กล่อง เพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ ส่วนผู้ที่ต้องการแคลเซียมมากขึ้นเป็นพิเศษอย่างคนท้อง ผู้สูงอายุ หรือเด็กที่กำลังโต อาจจะดื่มเพิ่มเป็น 3 กล่องเพื่อให้ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ

1.8 รับประทานรังนกได้หรือไม่?

ตอบ ผู้ป่วยเบาหวานทานรังนกได้ แต่ต้องระวังเนื่องจากรังนกที่ขายตามท้องตลาดทั่วไปจะมีปริมาณน้ำตาลที่สูงผสมเข้าไปเพื่อให้มีรสอร่อย ทานง่าย ควรเลือกแบบไม่มีน้ำตาลหรือทำทานเองได้จะดีที่สุด แต่เนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างสูงแต่กับมีคุณค่าทางอาหารไม่สูงเหมือนราคา จึงอาจจะไม่จำเป็นต่อร่างกายมากนัก  ผู้ป่วยสามารถทานอย่างอื่นทดแทนได้ เช่น นม น้ำผลไม้ธรรมชาติ เป็นต้น

1.9 รับประทานซุปไก่สำเร็จรูปได้หรือไม่?

ตอบ ผู้ป่วยเบาหวาน ทานได้หากไม่มีปัญหาเรื่องเงิน เพราะซุปไก่สำเร็จรูปมีราคาสูง อาจจะใช้รับประทานเพื่อให้ได้โปรตีนในมื้ออาหาร เมื่อมีอาการเจ็บป่วยและรับประทานอาหารปกติไม่ลงซุปไก่สำเร็จรูปเป็นโปรตีนที่ย่อยแล้วอยู่ในรูปเพปไทด์แม้ว่าจากการวิเคราะห์คุณค่าอาหารจะพบว่าเทียบเท่ากับไข่ครึ่งฟองเพียงเท่านั้น แต่โปรตีนในซุปไก่สำเร็จรูปสามารถย่อยได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการย่อยโปรตีน

1.10 จะดื่มน้ำส้มร่วมกับอาหารมื้อเช้าได้หรือไม่?

ตอบ สามารถดื่มได้ โดยปกติน้ำส้มจะใช้เมื่อ ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงเพราะสามารถหาได้ง่ายและร่างกายดูดซึมได้อย่างรวดเร็วแต่ทั้งนี้การทานผลไม้สดๆจะให้ผลประโยชน์ที่ดีกว่าการนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้

1.11 น้ำแครอตมีประโยชน์อย่างไร ต้องจำกัดปริมาณการบริโภคหรือไม่?

ตอบ แครอตเป็นพืชที่มีสารเบตาแคโรทีนสูงช่วยในการมองเห็นในที่มืดช่วยให้สุขภาพผิวพรรณดีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายและที่สำคัญ คือป้องกันอนุมูลอิสระไม่ให้ทำปฏิกิริยาทำลายส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดแต่ในแครอทจะมีคาร์โบไฮเดรตรวมอยู่ด้วย จึงควรทานในปริมาณที่เหมาะสม หากทานมากเกินไป จะทำให้ได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น หากไม่ลดปริมาณอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่นก็จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

1.12 การดื่มนมโคทำให้เป็นโรคเบาหวานจริงหรือไม่?

ตอบ ข้อนี้แม้จะยังไม่มีผลวิจัยไหนที่รองรับ แต่ทางแพทย์ได้แนะนำสำหรับครอบครัวที่มีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ว่าควรเลี้ยงทารกด้วยนมแม่จะดีที่สุด เพราะจะช่วยป้องกันเบาหวานในเด็กได้นอกจากนี้ นมวัวมีโปรตีนที่ย่อยยากกว่านมแม่ แล้วยังขาดธาตุเหล็กอีกด้วยซึ่งอาจส่งผลให้เด็กเป็นโรคโลหิตจางได้ รวมทั้งยังอาจทำให้เด็กแพ้นมวัวได้อีกด้วย

เรื่องเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆในการทานอาหารเพื่อรักษาโรคเบาหวาน

2.1 เคยได้ยินโฆษณาว่าน้ำตาลฟรักโทสสามารถใช้ในผู้ป่วยเบาหวานได้จริงหรือไม่?

ตอบ ฟรักโทสหรือน้ำตาลผลไม้ เป็นรูปแบบน้ำตาลจากธรรมขาติ ให้ความหวานสูงโดยไม่ต้องอาศัยการทำงานของฮอร์โมสอินซูลิน จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงน้อยกว่าการรับประทานน้ำตาลทรายแต่ในที่สุดร่างกายก็จะเปลี่ยนฟรักโทสไปเป็นกลูโคสเช่นกัน ระดับกลูโคสในเลือดจึงสูงขึ้นช้ากว่าการรับประทานน้ำตาลทราย ฟรักโทสให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทราย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคได้ไม่ดีจึงไม่ควรรับประทานฟรักโทส แต่ในผู้ป่วยที่ควบคุมได้ดีอาจใช้ฟรักโทสได้เล็กน้อยเป็นครั้งคราวแต่สิ่งที่ดีที่สุดคือเลี่ยงอาหารรสหวานนั้นเอง

2.2 เคยมีข่าวว่าผู้ป่วยเบาหวานจะใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาลได้ แต่ทำไมข่าวคราวจึงเงียบไป?

ตอบ หญ้าหวานเป็นพืชที่หวานกว่าน้ำตาลถึง 300 เท่า และไม่ก่อให้เกิดพลังงาน จากการทดสอบและทดลองพบว่า สารให้รสหวานสตีวิโอไซด์ที่สกัดจากหญ้าหวาน  เมื่อฉีดเข้าไปในตัวหนูขาวแล้ว มีความเป็นพิษต่อไตของหนูขาวและยังมีฤทธิ์กลายพันธุ์ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ ซึ่งจากการทดลองก็นับว่ายังไม่ปลอดภัยที่จะนำหญ้าหวานมาใช้แทนน้ำตาล

2.3 น้ำมันปลา Fish Oil ช่วยลดระดับไขมันได้จริงหรือ ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานหรือไม่?

ตอบ น้ำมันปลาเป็นน้ำมันที่สกัดได้จากเนื้อปลาทะเลหลายชนิด บรรจุในรูปของแคปซูลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ทานน้ำปลาไปข้อดีคือ จะช่วยรักษาภาวะไขมันไทรกลีเซอไรด์สูงในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ แต่ก็มีข้อเสียเช่นกันคือ ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลเป็นปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานประเภทไม่พึ่งอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงไม่ควรรับประทานน้ำมันปลาเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เพราะอาจเกิดผลเสียต่อการควบคุมเบาหวานได้

2.4 สมุนไพรรักษาเบาหวานได้ไหม?

ตอบ ปัจจุบันยังไม่สามารถใช้สมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบันได้ในการรักษาเบาหวานได้ แต่หากทานไปก็ไม่มีโทษอะไร หลายสมุนไพร เช่น  มะระไทย หอมใหญ่  เป็นอาหารที่ทานกันประจำอยู่แล้ว  สมุนไพรบางชนิดอาจจะมีสรรพคุณที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ก็ยังไม่ได้การรับรองจากทางการแพทย์ ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานห้ามหยุดยาที่ได้จากแพทย์ควรทานต่อเนื่อง แม้ว่าจะทานสมุนไพรต่างๆเป็นประจำเสมออยู่แล้วก็ตาม

2.5 ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานน้ำตาลเทียมได้วันละกี่ซอง?

ตอบ  น้ำตาลเทียมที่นิยมใช้แทนการได้รับความหวานจากน้ำตาลปกติ ที่นิยมใช้กันคือ แอสพาร์เทม สามารถใช้ทานได้วันละ 50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม  ( น้ำตาลเทียม 1 ซองมีแอสพาร์เทม 38 มิลลิกรัม )  แต่โดยปกติปริมาณที่ผู้ป่วยจะใช้น้ำตาลเทียมได้ เฉลี่ยเพียงวันละ 3-5 ซองเท่านั้นจึงถือว่าปลอดภัย

เรื่องเกี่ยวกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เมื่อต้องไปงานเลี้ยงหรือต้องทานมากว่าปกติ

3.1 มีหลักเกณฑ์อย่างไรในการเลือกรับประทานอาหารเวลาไปงานเลี้ยง?

ตอบ ควรจำกัดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น อาหารทอดอาหารผัด อาหารที่มีไขมันสูงเนื้อสัตว์ติดมัน และให้เน้นทานอาหารประเภทผักหรือผลไม้ให้มาก เลือกทานเครื่องดื่มเป็นน้ำเปล่าแทน ชากาแฟ หรือน้ำอัดลม ที่สำคัญต้องงดแอลกอฮอล์

3.2 มีวิธีลดไขมันในอาหารได้อย่างไรถ้าต้องออกไปรับประมานอาหารตามภัตตาคาร?

ตอบ เวลาทานควรลดอาหารประเภทไขมันสูงโดยเฉพาะควรเนื้อสัตว์เพราะเนื้อสัตว์มักจะมีไขมันสูง เช่นไส้กรอก แฮม เลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ติดหนัง และทานในปริมาณที่เหมาะ หากเลือกได้ ควรทานอาหารประเภทเสื้อสัตว์อย่าง ปลาเผา ปลาอบ ปลานึ่ง จะลดไขมันลงได้ดีที่สุด

3.3 ช่วงเทศกาล เช่น ปีใหม่ ตรุษจีน สารทจีน ผู้ป่วยเบาหวานอยากจะอร่อยบ้าง ขณะเดียวกันก็ไม่อยากให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นควรจะทำอย่างไร?

ตอบ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่อยากจะอร่อยกับอาหารในช่วงเทศกาลต่างๆ แต่ไม่อยากให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นต้องมีการวางแผนในการกินดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1 ก่อนถึงเทศกาลต่าง 1 สัปดาห์ ต้องควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัดเพื่อเตรียมตัวทานอย่างเต็มที่ในช่วงเทศกาล
ข้อที่ 2 งดอาหารว่างระหว่างมื้อให้รับประทานเพียงอาหารมื้อหลัก 3 มื้อเท่านั้นพอ
ข้อที่ 3 เมื่อถึงเทศกาล ต้องทานอาหารอย่างมีสติหยุดทันทีเมื่อรู้สึกว่าอิ่ม ไม่เติมนิดเติมหน่อย
ข้อที่ 4 ออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเพื่อเผลผลาญอาหารที่ทานเข้าไปในปริมาณที่มากขึ้น

3.4 ถ้าหลังจากรับประทานอาหารมื้อใหญ่ในภัตตาคารแล้วระดับน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลาต่อมาควรทำอย่างไร?

ตอบ ควรรีบไปพบแพทย์หรือทานยาตามที่แพทย์ได้แนะนำไว้ ถ้าทางที่ดีในการไปทานอาหารมื้อใหญ่ตามภัตตาคาร ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป เนื่องจากอาหารต่างๆในภัตตาคารมักจะอุดสมบรูณ์ไปด้วย แป้ง น้ำตาล ไขมัน หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งสิ้น

คำถามเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

4.1 ทำอย่างไรจึงจะลดน้ำหนักได้ แม้จะรับประทานอาหารน้อยแต่น้ำหนักก็ยังไม่ยอมลด?

ตอบ การคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสมก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วยโดยผู้ป่วยเบาหวานที่อ้วนสามารถลดน้ำหนักตัวได้ด้วยเทคนิคดีๆต่อไปนี้

1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยให้ได้อย่างน้อยวันละประมาณ 30 นาที ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้ใช้พลังงานออกไปเมื่อน้ำหนักลงระดับน้ำตางในเลือกก็จะลดตามไปด้วย
2.จำกัดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ ไม่ตามใจปาก เช่นลดปริมาณข้าวที่ทานลง 1 ทัพพีในแต่ละมื้อ
3.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่นอาหารทอดต่างๆ เนื้อสัตว์ติดหนัง เพราะอาหารกลุ่มนี้จะให้พลังงานสูงเกินเป็น 2 เท่าของอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน
4.แต่สำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้การรักษาแบบฉีดอินซูลิน หรือต้องออกกำลังกายทุกวันบ่อยๆควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับปริมาณอินซูลินให้พอเหมาะกับอาหารที่รับประทาน

4.2 มีวิธีใดที่จะลดน้ำหนักโดยไม่ต้องตัดขาดจากอาหารที่ชอบ?

ตอบ ผู้ป่วยเบาหวานยังคงสามารถทานอาหารที่ตนเองชอบได้บ้าง แต่สิ่งที่สำคัญคือ จะต้องคำนึงถึงคือปริมาณของอาหารที่จะรับประทานในแต่ละมื้อให้มีความเหมาะสม แต่ทั้งนี้อาจจะต้องเลี่ยงอาหารไขมันสูง และควรหาเวลาออกกำลังเพื่อให้เผาผลาญพลังงานในร่างกายจากการกินส่วนเกินด้วย

4.3 ถ้าต้องฉีดอินซูลินตอนเย็นและต้องการรับประทานอาหารว่างก่อนนอนจะต้องรับประทานมากน้อยเท่าไร?

ตอบ ผู้ป่วยที่ต้องฉีดอินซูลินในตอนเย็นอินซูลินจะไปออกฤทธิ์สูงสุด ในเวลาตอนกลางดึกจึงทำให้ระดับน้ำตาลต่ำในเวลานั้น ผู้ป่วยควรอาหารว่างทานก่อนนอน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกินมาตรฐานปกติ โดยการเลือกอาหารว่างที่จะทานเข้าไปมีหลักการเลือกดังนี้

ถ้า ระดับน้ำตาลน้อยกว่า 100 ( มิลลิกรัม/เดซิลิตร ) ควรทานผลไม้หรืออาหารว่างปกติ
ถ้า ระดับน้ำตาล อยู่ในระดับ 101-180 ( มิลลิกรัม/เดซิลิตร )     ควรทานอาหารว่างปกติ
ถ้า ระดับน้ำตาล มากกว่า 181 ( มิลลิกรัม/เดซิลิตร )     ควรงดการทานอาหารว่าง

4.4 ภาวะดื้อต่ออินซูลิน Insulin Resistance คืออะไร?

ตอบ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือ ภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยกว่าปกติซึ่งมักจะพิจารณาได้จากผลของอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากอินซูลินมีผลต่อกระบวนการสลายไขมัน และโปรตีนด้วย ดังนั้นเมื่อมีภาวะดื้อต่ออินซูลินจึงเกิดความผิดปกติต่อกระบวนการสลายไขมันและโปรตีนด้วย

กลไกในการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือ การเกิดความผิดปกติต่างๆ ของตัวรับอินซูลินทั้งในด้านจำนวนหรือการทำงานของตัวรับอินซูลินที่ลดลงโดยสาเหตุอาจเกิดจากหลายๆ ปัจจัย เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ระดับอินซูลินในเลือดสูง หรือกรดไขมันอิสระในเลือดสูง  เป็นต้น

ส่วนการรักษาภาวะอาการนี้ ทำได้คือ การทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เช่น ใช้ทานยาตามแพทย์สั่ง หรือใช้การฉีดอินซูลิน ก็จะทำให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินลดลง หรืออาจจะใช้ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลินก็จะทำให้ระดับน้ำตาลลดลงได้เช่นกัน

จากคำตอบหลายๆข้อที่ช่วยตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับคำถามเรื่องอาหารของโรคเบาหวานนั้น คงจะพอสรุปได้ว่า การทานอาหารไม่ว่าจะชนิดใดก็แล้วแต่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ควรทานในปริมาณที่พอดีเหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป จนส่งผลกระทบต่ออาการเบาหวานที่เป็นอยู่  และต้องรู้ว่าตัวเองต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้าง ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและต้องหลีกเลี่ยงไม่ควรทาน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยเพื่อสุขภาพของผู้ป่วยเองทั้งสิ้น  คงจะไม่มียาตัวไหนที่สามารถรักษาโรคเบาหวานได้ดีเท่ากับที่ผู้ป่วยรู้จักดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

เบาหวาน [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล; (ม.ป.ท.) 

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯซ บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัดม 2557.

คำถามทั่วไปเกี่ยวกับเบาหวานที่พบบ่อย

0
คำถามทั่วไปเกี่ยวกับเบาหวานที่พบบ่อย
คำถามเรื่องเบาหวานมีมากมายที่ผู้ป่วยและญาติหรือผู้ใกล้ชิดอยากทราบไม่ว่าจะเป็นการกินการปฏิบัติตัว
คำถามทั่วไปเกี่ยวกับเบาหวานที่พบบ่อย
คำถามเรื่องเบาหวานมีมากมายที่ผู้ป่วยและญาติหรือผู้ใกล้ชิดอยากทราบไม่ว่าจะเป็นการกินการปฏิบัติตัว

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาล ( กลูโคส ) ในเลือดสูงเป็นเวลานาน เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับการเผาผลาญอาหาร มีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป  เราได้นำคำถามที่ถูกถามบ่อยๆ จากผู้ป่วยโรคเบาหวานพร้อมทั้งคำตอบเพื่อเป็นความรู้และแนวทางในการดูแลตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวานโดยแบ่งเป็นข้อๆดังนี้

คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ จากผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ถาม : จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน ?
ตอบ : อาการสำคัญที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ ปัสสาวะบ่อย   คอแห้ง กระหายน้ำ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย หิวบ่อย รับประทานจุ เป็นต้นแต่ก็ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ตรวจพบโรคเบาหวานโดยบังเอิญโดยพบจากการตรวจร่างกายประจำปี

เกณฑ์ค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน คือ ผู้ที่มีระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่ว่าจะเป็นเวลาใดเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับมีอาการของโรคเบาหวาน

ถาม : การตรวจระดับน้ำตาล ควรเจาะเลือดเวลาใดจึงจะดีที่สุด ?
ตอบ :การตรวจรับดับน้ำตาลในเลือดควรตรวจเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้า จะดีที่สุด ซึ่งค่าที่ได้อกมาต้องไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/เดซิเบล ส่วนผู้มีการตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว สามารถตรวจได้ทุกเวลาแต่หากรับประทานอาหารแล้วมักจะเจาะเลือดตรวจหลังรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง ซึ่งค่าปกติไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ถาม : ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเท่าไรจึงถือว่าเป็นอันตราย ?
ตอบ : ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติไม่ว่าจะเท่าใดก็ตามเป็นอันตราย ไม่ควรปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ถาม : โรคเบาหวานเป็นแล้วมีโอกาสหายหรือไม่ ?
ตอบ : โรคเบาหวานหากเป็นแล้วจะไม่หายขาด เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่จะเป็นไปจนตาย หากผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในค่าปกติ ก็สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป

ถาม : พ่อแม่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ทำไมบุตรจึงเป็นโรคเบาหวานได้ ?
ตอบ : โรคเบาหวานไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมเพียงอย่างเดียว สามารถเกิดจากได้สาเหตุ เช่น ตับอ่อนได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุกระทบกระเทือนบริเวณช่องท้องอย่างรุนแรงหรือได้รับการผ่าตัด การตั้งครรภ์ การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด การมีอายุที่มากขึ้น เป็นต้น ดังนั้นทุกคนสามารถเป็นได้ทั้งสิ้น

ถาม : ถ้าแม่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โอกาสที่บุตรในครรภ์จะเป็นเบาวานด้วยมีมากเท่าใด ?
ตอบ :  ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันการติดโรคเบาหวานจากแม่สู่ลูกในครรภ์ แต่หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานถ้าควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี โอกาสที่บุตรในครรภ์จะมีความผิดปกติก็สามารถเกิดขึ้นได้

ถาม : ลูกคนที่คลอดมาหลังจากแม่เป็นโรคเบาหวานแล้ว มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนที่คลอดก่อนแม่เป็นโรคเบาหวานหรือไม่?
ตอบ : ยังไม่มีรายงานชัดเจนเช่นกัน แต่ทุกคนที่มีบิดาและหรือมารดาเป็นโรคเบาหวานล้วนแต่มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าบุคคลอื่นทั้งสิ้น

ถาม : เมื่อฉีดอินซูลินแล้วมีโอกาสกลับมาใช้ยารับประทานได้หรือไม่ ?
ตอบ : สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 แบบพึ่งอินซูลิน ไม่สามารถใช้ยาทานได้ ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบที่ 2 ถ้าใช้อินซูลินเนื่องจากดื้อยารับประทานแล้วหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจนเกิดไตวายก็ไม่สามารถกลับมาใช้ยารับประทานได้อีก เนื่องจากยารับประทานถูกขับถ่ายออกทางไตจะทำให้ไตทำงานหนักยิ่งขึ้น

ถาม : ถ้าลืมฉีดอินซูลินตอนเช้าจนบ่าย ควรทำอย่างไร ?
ตอบ : ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับขนาดยาใหม่สำหรับวันนั้นไม่ควรฉีดเหมือนเดิมปกติในช่วงบ่าย เนื่องจากระดับอินซูลินที่ออกฤทธิ์สูงสุดจะไปตรงกับช่วงกลางคืน อาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่ายเนื่องจากเป็นช่วงที่ไม่ได้รับประทานอาหาร

ถาม : ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดที่ต้องรับประทานก่อนอาหารสามารถเปลี่ยนมารับประทานหลังอาหารแทนได้หรือไม่?
ตอบ : หากทานหลังอาหารประสิทธิภาพของยาจะลดลงมีผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดลดน้อยลง เนื่องจาก ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดจะดูดซึมได้ดีเมื่อรับประทานก่อนอาหารเท่านั้น

ถาม : คนที่ใช้ยาฉีดอินซูลินแสดงว่าถึงขั้นสุดท้ายแล้วใช่หรือไม่ ?
ตอบ : คนที่ฉีดอินซูลินไม่ได้แสดงว่าถึงขั้นสุดท้าย แต่เป็นทางเลือกชนิดหนึ่งที่แพทย์จะใช้กับผู้ป่วย เพื่อให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้

ถาม : หากเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังแล้วจะสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?
ตอบ : ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังเนื่องจากการควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งจะไม่สามารถรักษากลับให้ดีดังเดิมได้

ถาม : เวลามีน้ำตาลในเลือดสูง ถ้าออกกำลังกายเพิ่มขึ้นจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้หรือไม่ ?
ตอบ : การออกกำลังกายสามารถช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ เหมาะสำหรับผู้ที่คุมระดับของโรคเบาหวานได้ดีเท่านั้น แต่หากผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ไม่ควรออกกำลังกาย เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังขาดอินซูลิน การออกกำลังกายจะยิ่งไปช่วยใช้ทำให้ระดับอินซูลินลดต่ำลงไปอีก ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก

ถาม : ควรออกกำลังกายก่อนหรือหลังอาหาร ?
ตอบ : ควรออกกำลังกายหลังทานอาหารไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมงขึ้นไปเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่อาหารกำลังถูกย่อยสลาย ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้น การออกกำลังกายจะไปช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายตอนเช้าก่อนอาหารในคนที่คุมเบาหวานได้ดี ควรทานอะไรรองท้องไว้สักหน่อย เพราะการออกกำลังกายจะไปลดระดับน้ำตาลในเลือดลงจนอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

ถาม : การออกกำลังกายเป็นการเพิ่มหรือลดระดับน้ำตาลในเลือด ?
ตอบ : การออกกำลังกายอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มหรือลดลงก็ได้ เนื่องจากการออกกำลังกายจะใช้พลังงานจากน้ำตาลกลูโคสในเลือดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและจะลดมากถ้ามีระดับอินซูลินในเลือดสูง ในขณะเดียวกันตับจะผลิตกลูโคสเพิ่มขึ้นเพื่อปรับให้ระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น

ถาม : ในวันที่ออกกำลังกายและพบว่าเกิดอาการน้ำตาลต่ำจะแก้ไขได้อย่างไร ?
ตอบ : การออกกำลังกายทำให้ระดับน้ำตาลลดต่ำลง โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้วิธีการฉีดอินซูลิน ควรฉีดอินซูลินก่อนและหลังการออกกำลังกาย และควรรับประทานอาหารว่างก่อนออกกำลังกายเสมอ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ

ถาม : เวลาที่ออกกำลังกายจะต้องรับประทานอาหารมากน้อยเพียงใดเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ?
ตอบ : ก่อนออกกำลังกายควรทานอาหารว่างที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณ 15 กรัม เช่น ขนมปัง 1 แผ่น ข้าวโพด 1 ฝักหรือผลไม้สด 1 ส่วน แต่หากสังเกตว่าตัวเองมักจะมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำหลังจากการออกกำลังกายไปแล้วพักใหญ่ควรรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15-30 กรัม ภายใน 30 นาทีหลังจากออกกำลังกายเสร็จแล้ว เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับน้ำตาลจากอาหารช่วยป้องกันปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงกว่าปกติ

ถาม : ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานดื่มเหล้าได้หรือไม่ ?
ตอบ : หากเลือกได้ผู้ป่วยก็ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มทั้งหลายที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เนื่องจากในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นให้พลังงานสูงเท่ากับไขมันแต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจและภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด

ถาม : คนที่ชอบรับประทานของหวานทำให้มีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าคนปกติใช่หรือไม่ ?
ตอบ : ไม่ใช่เสมอไป ของหวานไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคเบาหวานโดยตรง แต่คนที่เป็นโรคเบาหวานมักจะเกิดจากสาเหตุการทานของหวานมากๆ แล้วไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้เกิดความอ้วนซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคเบาหวานนั่นเอง

ถาม : ตามัวเนื่องจากเลือดออกในจอตา เมื่อยิงแสงเลเซอร์แล้วตาจะมองเห็นเป็นปกติหรือไม่ ?
ตอบ: การยิงแสงเลเซอร์เป็นการหยุดจุดเลือดออกบริเวณจอรับภาพ อาจทำให้การมองเห็นดีขึ้นบ้างเล็กน้อยในบางราย แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงในการยิงแสงเลเซอร์นั้นเพื่อเป็นการป้องกันการตาบอด ไม่ใช่ทำให้การมองเห็นดีขึ้นแต่อย่างใด

ถาม : เคยได้ยินคนพูดว่าคนเป็นโรคเบาหวานเป็นแผลแล้วรักษาหายยากทำไมบางคนเวลามีแผลจึงหายง่าย?
ตอบ : การที่แผลหายยากเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาจเกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงแผลตีบแคบลงทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงแผลได้ไม่ดี ภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าคนทั่วไป และอยู่ในช่วงที่คุมเบาหวานไม่ได้ เกิดการติดเชื้อลุกลาม จึงทำให้แผลที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยโรคเบาหวานหายช้าหายเร็วต่างกันออกไป

ถาม : มีสาเหตุหรือโรคอะไรบ้างที่ทำให้ผลการตรวจเลือดอาจวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคเบาหวาน ?
ตอบ : เกิดจากยาบางตัวที่ทานไปอาจจะไปมีผลทำให้ การตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าเป็นสูงได้ เกิดจากการเจ็บป่วยที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติชั่วคราว เมื่อความเจ็บป่วยนั้นดีขึ้นหรือหายแล้วระดับน้ำตาลก็กลับมาเป็นปกติ   

ถาม : เพราะเหตุใดเวลาตื่นเช้าขึ้นมาระดับน้ำตาลจึงต่ำแต่ตกเย็นกลับสูงขึ้น ?
ตอบ : ระดับน้ำตาลที่ต่ำเกิดจากร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดรวมทั้งโกรทฮอร์โมน ( Growth Hormone ) ออกมา ส่วนในกรณีที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นก็มาจากการหลั่งฮอร์โมน คอร์ติซอล ( Cortisol ) หรืออาจะเกิดจากการทานอาหารเข้าไป ฮอร์โมนเหล่านี้ไม่ได้ออกฤทธิ์ทันทีแต่ใช้เวลาหลายชั่วโมง อาจถึง 24 ชั่วโมง

ถาม : มีเคล็ดลับในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สม่ำเสมอได้อย่างไร ?
ตอบ : สำหรับผู้ที่เจอปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าค่าปกติ หรือเกินกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในเวลาก่อนจะทานอาหาร กรณีนี้เกิดจากตับผลิตน้ำตาลกลูโคสมากเกินไป ซึ่งต้องใช้อินซูลินฉีดเข้าไปเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดลง แต่การฉีดอินซูลินเข้าไปต้องเว้นระยะเวลาประมาณ 60-90 นาที ก่อนทานอาหาร แต่ควรระวังอย่าให้นานกว่านั้นเพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลลดน้ำกว่าปกติได้ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวาน บางคนไม่แน่ใจว่าควรฉีดอินซูลินตามปกติหรือไม่เมื่อระดับน้ำตาลลดต่ำลงกว่าปกติ สิ่งที่ควรทำคือ ให้รับประทานอาหารเพื่อปรับน้ำตาลให้เข้าสู่ระดับปกติก่อน และหลังจากนั้น 10-15 นาที จึงค่อยฉีดอินซูลินเข้าไป โดยรอเวลาประมาณ 20 นาทีจึงค่อยทานอาหารเวลาในการรับประทานอาหารและฉีดอินซูลินขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในขณะนั้น โดยปกติถ้าระดับน้ำตาลสูงควรจะฉีดอินซูลิน 45 นาทีก่อนรับประทานอาหาร แต่ถ้าระดับน้ำตาลต่ำมากควรฉีดอินซูลินแล้วรับประทานอาหารเลย

โรคเบาหวานเป็นแล้วไม่อาจจะรักษาให้หายได้ แต่จะยิ่งมีอาการมากขึ้นตามจำนวนปีที่เป็น เพราะว่าตับอ่อนจะเสื่อมลง ด้วยเหตุนี้โรคเบาหวานจึงเป็นสาเหตุของการล้างไตอันดับหนึ่ง เป็นสาเหตุของตาบอดใกล้อันดับ 1 ในเมืองไทย รวมถึงยังทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน 2-4 เท่า ดังนั้น เมื่อเราเป็นโรคเบาหวานก็ควรดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ แล้วเราจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเหมือนคนปกติ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง 

ศาสตราจารย์ นพ. เทพ หิมะทองคำ และคณะบรรณาธิการ ศาสตราจารย์ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน และรองศาสตราจารย์ ภญ.ธิดา นิงสานนท์. ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2557.

ศูนย์เบาหวานศิริราช. ลดอาหารหวาน เลี่ยงอาหารมัน รู้ทันอาหารเค็ม. กรุงเทพฯ : หน่วยพิมพ์โรงพยาบาลศิริราช, 2557.

บุษบา จินดาวิจักษณ์. ยารักษาโรคเบาหวานใช้อย่างไร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

ชนิดของโรคเบาหวานและการป้องกันเบาหวาน

0
ชนิดของเบาหวานและการป้องกันเบาหวาน
โรคเบาหวาน คือ โรคภัยไข้เจ็บที่คนสมัยนี้ตรวจพบและเป็นกันมากขึ้น เนื่องจากสภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา จนลืมเอาใจใส่สุขภาพของตัวเอง
ชนิดของโรคเบาหวานและการป้องกันเบาหวาน
โรคเบาหวาน คือ โรคภัยไข้เจ็บที่คนสมัยนี้ตรวจพบและเป็นกันมากขึ้น เนื่องจากสภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา จนลืมเอาใจใส่สุขภาพของตัวเอง

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เกิดจากความบกพร่องของคุณภาพและปริมาณของฮอร์โมนอินซูลิน ( ฮอร์โมนอินซูลิน ผลิตขึ้นมาจากเซลล์ในตับอ่อนที่เรียกว่า ( B-Islet cells of Langerhans ) เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เกิดประโยชน์กับร่างกาย เช่น การเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงานและเป็นไกลโคเจนเมื่อมีการออกกำลัง รวมทั้งไขมันส่วนเกินได้ ) จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลที่บริโภคเข้าไปให้เป็นพลังงานแบบปกติได้ เป็นผลให้น้ำตาลเข้าไปอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ ( สูงกว่า 130 mg./dl. ) เมื่อถึงเวลาที่ไตต้องกรองความสะอาดของเลือด ไตจะไม่สามารถเก็บน้ำตาลในส่วนที่เกินออกมาได้ น้ำตาลในส่วนนั้นจึงล้นออกไปสู่ปัสสาวะ และทำให้เกิดโรคเบาหวานได้  

โรคเบาหวานระบาดอย่างรุนแรงไปทั่วโลก  โดยตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 2002  ในเอเชีย มีผู้เป็นโรคเบาหวานแล้วไม่ต่ำกว่า 200 ล้านคน โดย โรคเบาหวาน คือ โรคภัยไข้เจ็บที่คนสมัยนี้ตรวจพบและเป็นกันมากขึ้น เนื่องจากสภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา จนลืมเอาใจใส่สุขภาพของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็แทบจะไม่รู้เลยว่า ตัวเองเป็นโรคนี้นอกเสียจากว่าจะไปตรวจสุขภาพแล้วจึงจะพบ แต่กว่าจะพบว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงก็ส่งผลมากมายต่อสุขภาพไปแล้ว

รู้จักชนิดของโรคเบาหวาน

เมื่อฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลในอวัยวะต่าง ๆ จนทำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ง่าย เช่น โรคไต โรคหัวใจ ตาเป็นต้อกระจก เป็นต้น ซึ่งเราสามารถแบ่งชนิดของโรคเบาหวานออกได้เป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้

1.โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ประเภทพึ่งอินซูลิน ( Insulin Dependent Diabetes Mellitus, IDDM )

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ มักจะพบในคนอายุน้อย หรือเกิดอาการก่อนอายุ 30 ปีโดยเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ เซลล์ตับอ่อนถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันตัวเองผู้ป่วยมักจะมีอาการ น้ำหนักลดลง หิวน้ำบ่อยๆ ปัสสาวะบ่อยๆ มีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากร่ายกายเปลี่ยนจากไขมันและโปรตีนในร่างกายมาใช้เป็นพลังงาน หากไม่รักษาอาจหมดสติได้และเป็นอันตรายถึงชีวิต การรักษาแพทย์จะใช้วิธีการฉีดฮอร์โมนอินซูลินให้กับผู้ป่วย และให้ควบคุมอาหารและออกกำลังกายไปด้วย

โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติทางร่างกายที่เกิดจากการที่ตับอ่อนสร้าง ” ฮอร์โมนอินซูลิน ” ได้น้อยหรือไม่สามารถสร้างได้เลย ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินนี้ จะคอยทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน

2.โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประเภทไม่พึ่งอินซูลิน ( Non-Insulin Dependent Diabetes Mellitus, NIDDM)   

เบาหวานชนิดนี้ มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 30 ปี โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน สามารถพบได้บ่อยกว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุ เกิดจากการที่ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินขึ้นเองได้ แต่อินซูลินไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ไม่เพียงพอในร่างกายหรือเซลล์เอง ที่ไม่ค่อยตอบสนองกับอินซูลิน ทั้งที่ผลิตอินซูลินได้เป็นปกติ โดยผู้ป่วยจะมีระดับอินซูลินปกติหรือสูง สาเหตุที่เป็นเบาหวานเพราะมีภาวะต้านต่ออินซูลิน การรักษาผู้ป่วยประเภทนี้ แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยควบคุมอาหาร ให้ออกกำลังกาย จะช่วยในการควบคุมโรคเบาหวานได้

3.โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ( Gestational Diabetes Mellitus )

เป็นเบาหวานที่จะเกิดขณะตั้งครรภ์เท่านั้น สามารถตรวจพบได้ราวสัปดาห์ที่ 24ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนมากขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการของทารกที่กำลังเจริญเติบโตฮอร์โมนนี้ทำให้ความไวต่ออินซูลินลดลงจึงไปทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นจนเกิดเป็นโรคเบาหวานแต่เมื่อคลอดลูกแล้วระดับน้ำตาลจะลดลงเป็นปกติเอง

ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน

เบาหวานที่มักพบมากในคนเอเชียส่วนใหญ่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ( Type 2 Diabetes )

1.พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป
เนื่องจาก คนเอเชียได้มีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป โดยไปเน้นอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดเพิ่มมากขึ้น แต่กลับออกกำลังกายลดลง จึงทำให้คนเอเชียกลายเป็นโรคอ้วน การดื่มสุรา การสูบบุหรี่จนนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นด้วย

2.พันธุกรรมเฉพาะของชาวเอเชีย
คนเอเชียส่วยใหญ่จะมีพันธุกรรมที่เรียกว่า มียีนประหยัด ( Thrifty Gene ) ซึ่งทำหน้าที่เก็บอาหารไว้ในรูปแบบของไขมันที่หน้าท้อง เพื่อใช้ในกรณีที่ร่างกายขาดแคลนอาหาร แต่สำหรับคนที่ไม่มีภาวะขาดอาหาร ไขมันที่สะสมไว้จึงไม่ได้ถูกนำออกมาใช้ จึงทำให้อ้วน  เกิดปัญหาการดื้อต่ออินซูลินตามมา และเป็นโรคเบาหวานในที่สุดเบาหวานแฝง

เบาหวานแฝง  คือ

เบาหวานแฝง หมายถึง สัญญาณเตือนก่อนเป็นโรคเบาหวานเต็มขั้น โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงแต่มีระดับน้ำตาลหลังอาหารสูง สรุปคือมีอาการเบาหวานซ่อนอยู่ หากไม่ได้รับการรักษาหรือปรับพฤติกรรมการชีชีวิต วันข้างหน้าก็จะกลายเป็นโรคเบาหวานแบบเต็มขั้นนั้นเอง วิธีตรวจเบาหวานแฝงโดยตรวจน้ำตาลหลังจากอดอาหารไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงทำ OGTT ( Oral Glucose Tolerance Test ) ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบเบาหวานเมื่อตรวจเลือดแล้วค่าที่ได้ออกมาก้ำกึ่งกับการไม่เป็นเบาหวาน ซึ่งแพทย์ต้องทำการตรวจซ้ำโดยให้ดื่มกลูโคส 75 กรัม ละลายในน้ำ และหลังจากนั้นอีก 2 ชั่วโมงจึงกลับมาเจาะเลือดตรวจอีกครั้งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานแฝง ที่ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจ คือ ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือผู้ ที่มีความเสี่ยงต่อไปนี้  เช่นมีคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน มีระดับคอเลสเตอรอลสูง เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ บุตรมีน้ำหนักแรกคลอดเกิน 4 กิโลกรัม

ระดับน้ำตาลในเลือดในการตรวจหาเบาหวาน

หากผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร  มีค่า ≥126 มิลลิลิตร/เดซิลิตร คือ ผู้ที่เป็นเบาหวาน
หากผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร มีค่า = 100 – 125 มิลลิลิตร/เดซิลิตร คือ ผู้ที่เสี่ยงเป็นเบาหวาน
หากผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร มีค่า ≥200 มิลลิลิตร/เดซิลิตร คือ ผู้ที่เป็นเบาหวาน
หากผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร มีค่า = 140 – 199 มิลลิลิตร/เดซิลิตร คือ ผู้ที่ต้องไปตรวจเบาหวาน

 

โรคเบาหวานไม่ได้เป็นโรคที่น่ากลัว เพียงแค่ทำตามคำแนะนำของแพทย์ หมั่นออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้ง และน้ำตาลในปริมาณที่สูงเป็นส่วนประกอบ

เปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรค

สำหรับผู้ที่ไม่อยากป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ทั้งการทานอาหาร การออกกำลังกาย จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานในอนาคตได้ ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้วควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการชีชีวิตให้เป็นไปในทางที่ดีอีกด้วย

วิธีป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน

1.อย่าปล่อยตัวให้อ้วน

ร้อยละ 80 ของคนที่เป็นโรคอ้วนส่วนใหญ่มักมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานค่อนข้างสูง เนื่องจากไขมันส่วนเกินจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ประสิทธิภาพในการจัดการกับน้ำตาลและไขมันต่ำลง และเป็นผลให้เกิดโรคเบาหวานได้ในที่ สุด สิ่งที่น่ากลัวคือหากเป็นแล้วไม่ควบคุมโรคก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ ตาบอดจากเบาหวานขึ้นตา โรคไต และระบบปลายประสาทเสื่อม ซึ่งนำไปสู่การถูกตัดนิ้วเท้าและขาได้

2.กินอาหารป้องกันเบาหวาน

การเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันและชะลอภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้  อาหารที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในการวิจัย ได้แก่
เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี ธัญพืชไม่ขัดสีประกอบไปด้วยใยอาหาร วิตามินอี และแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือด นอกจากนี้ใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ในธัญพืชไม่ขัดสีบางชนิดซึ่งมีมากในข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์จะช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในเลือด สำหรับคนไทย หากกินข้าวซ้อมมือให้บ่อยขึ้นหรืออย่างน้อยวันละมื้อ ก็จะช่วยป้องกันหรือควบคุมเบาหวานได้ไม่แพ้ข้าวโอ๊ตและบาร์เลย์ผักและผลไม้ เป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันเบาหวาน เส้นใยอาหารยังช่วยในการชะลอการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดในเลือด ดังนั้นจึงควรกินผักผลไม้เป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะผักซึ่งเป็นอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตน้อย ให้พลังงานต่ำ ควรกินวันถั่วเปลือกแข็ง ทั้งนี้เพราะถั่วเปลือกแข็งมีไขมันที่ดี ( ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ) มาก ซึ่งช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดวิธีกินถั่วให้ได้ประโยชน์และได้ไขมันไม่มากเกินไปคือ ให้กินถั่วแทนเนื้อสัตว์บ้าง หรือกินถั่ว 1 กำมือ ( ขนาดมือผู้หญิง ) แทนขนมขบเคี้ยวที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น มันฝรั่งทอดอาหารประเภทปลา การกินปลาและการเสริมน้ำมันปลาอาจช่วยลดปัญหาโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ผู้ที่กินปลาเพิ่มขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้งมีโอกาสเกิดโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่แทบไม่กินปลาถึง 64 เปอร์เซ็นต์ และการกินปลาเดือนละ 2 – 3 ครั้งลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ 30 เปอร์เซ็นต์เลือกอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ ดัชนีน้ำตาลจะเป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต มีผลต่อระดับน้ำตาลมากน้อยเพียงใดหลังจากที่กินเข้าไป

3.เคลื่อนไหวตัวเองให้มากขึ้น

ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาที หรือออกกำลังกายชนิดปานกลาง วันละ 20 – 25 นาทีทุกวัน การลดน้ำหนักลงมา 5 – 7 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดความเสี่ยงการเกิดเบาหวานได้ผลดีกว่าใช้ยานี่เป็นเพียงข้อมูลที่ควรรู้ และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่หลายคน อาจจะมองข้ามไป ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ และอีกอย่างหนึ่งที่ทุกคนควรจำไว้คือ การเป็นโรคเบาหวานอาจจะทำให้ถึงตายได้ หากไม่ควบคุมดูแลตัวเองแต่เนิ่นๆ เพราะอาการของโรคเบาหวานสามารถที่จะพัฒนาตัวเองไปสู่โรคร้ายอื่นๆได้อย่างมากมาย 

แม้โรคเบาหวานจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าเรารู้จักดูแลตัวเองให้ดี ทำตามคำแนะนำของแพทย์ หมั่นออกกำลังกายและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้ง และน้ำตาลในปริมาณที่สูงเป็นส่วนประกอบ โรคเบาหวานก็จะไม่ได้เป็นโรคที่น่ากลัวอีกต่อไป  แต่หากใครที่ยังไม่เป็นโรคนี้ก็ควรสำรวจพฤติกรรมการชีวิตของตนเอง และควรปรับในสิ่งที่ไม่ดีอันที่จะก่อให้เกิดโรคเบาหวานในอนาคตได้

วิธีรักษาโรคเบาหวาน

1. ทางโภชนาบำบัด

วิธีนี้สามารถทำได้ด้วยการจัดอาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อช่วยให้คาร์โบไฮเดรตเมตาบอลิซึมของผู้ป่วยสามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งจะทำให้ระดับไขมันในเลือดกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติด้วย และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ ดังนั้น อาหารที่เหมาะสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงควรมีพลังงานที่พอเหมาะ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และมีการกระจายสารอาหารจากพลังงานอาหารทั้ง 3 ชนิด โดยเฉพาะในส่วนของเกลือแร่และแร่ธาตุให้เหมาะสมกับร่างกายดังต่อไปนี้

1.1 ปริมาณพลังงานที่ได้รับ

การรับพลังงานของผู้ป่วยในแต่ละวัน มีความสำคัญต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยมาก เพราะการที่ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มสูงหรือลดลงต่ำ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการรับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตอย่างเดียวเท่านั้น แต่ขึ้นกับปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายได้รับ รวมทั้ง โปรตีน และไขมันด้วย ถ้าหากร่างกายได้รับพลังงานจากสารอาหารสูงกว่าความต้องการในแต่ละวัน ก็มีโอกาสที่ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น

ดังนั้น เป้าหมายที่สำคัญในการรักษาโรคเบาหวานก็คือ ควบคุมพลังงานในอาหารให้เหมาะกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ และยังเป็นการควบคุมน้ำหนักของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมด้วย โดยมีการแบ่งการควบคุมพลังงานตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ดังนี้

  • เพื่อรักษาน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ( Maintain Ideal Weight ) ควรได้รับพลังงาน 25-30 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • เพื่อลดน้ำหนักของผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (Reduce Weight) ควรได้รับพลังงาน 15-20 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • เพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวของผู้ป่วยที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ( Increase Weight ) ควรได้รับพลังงาน 30-35 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม 

1.2 การกระจายพลังงานจากสารอาหารทั้ง 3 ชนิด

ผู้ป่วยโรคเบาหวานนอกจากจะมีระดับกลูโคสในเลือดสูงแล้ว มักมีปัญหาไขมันในเลือดสูงอีกด้วย ซึ่งสมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำการกระจายพลังงานจากสารอาหารทั้ง 3 ชนิด ดังต่อไปนี้ คือ

  • พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 50 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน

ให้เน้นรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่เป็นน้ำตาลหลายชั้น เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้และอาหารประเภทถั่ว รวมทั้งควรลดปริมาณการใช้น้ำตาลทรายในการปรุงอาหาร ซึ่งภายในวันหนึ่ง ร่างกายของคนเราไม่ควรรับน้ำตาลทุกชนิดเกินวันละ 30-50 กรัม/วัน หรือน้อยกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานที่บริโภคทั้งหมด วิธีที่ถูกต้องในการบริโภคน้ำตาล คือควรบริโภคน้ำตาลที่ประกอบอยู่ในอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับพลังงานจากน้ำตาลมากเกินไป และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่ง มีการระบุว่า เมื่อให้ผู้ป่วยบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลหลายชั้นเพิ่มขึ้น ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลดีขึ้นด้วย เพราะอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง ช่วยให้มีการกระตุ้นระดับน้ำย่อยในตับ ทำให้อินซูลินจับกับเซลล์ได้ดีขึ้น เป็นผลให้การเผาผลาญกลูโคสเป็นไปด้วยดี

  • พลังงานที่ได้รับจากโปรตีนควรอยู่ที่ร้อยละ 15-20 ของพลังงานที่ควรได้รับทั้งหมดต่อวัน

หรือประมาณ 1.0-1.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาหารโปรตีนจะช่วยลดอาการแทรกซ้อนจากโรคประสาทที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเนื่องจากอาหารโปรตีน มักมีวิตามินบีรวมมากด้วย โปรตีนที่ให้ควรเป็นโปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์

  • พลังงานที่ได้รับจากไขมันควรอยู่ที่ร้อยละ 30 ของพลังงานที่ควรได้รับ

ไขมันที่ได้รับควรเป็นไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่อิ่มตัว ทั้งชนิด กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (Monounsaturated Fatty Acid) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated Fatty Acid) อย่างละเท่าๆ กัน คือ ร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมด

2. รักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาไม่ค่อยนิยมนัก ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้เมื่อต้องการให้ปริมาณของน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็วเท่านั้น และต้องขึ้นอยู่กับแพทย์สั่งยาให้ อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยยาส่วนใหญ่จะใช้ได้ผลเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงเท่านั้น ส่วนในผู้ที่มีอาการร้ายแรงและในเด็กมักจะใช้ไม่ได้ผล 

ข้อแนะนำการกินอาหารและการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

1. กินข้าวและอาหารแป้งชนิดอื่นๆ ตามที่แพทย์กำหนดไว้เท่านั้น

2. กินผักและอาหารที่มีใยอาหารมาก

3. กินผักผลไม้โดยไม่ปอกเปลือก ยกเว้นถ้าจำเป็นต้องปอกจริงๆ

4. ใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิกมาก เช่น น้ำนมถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

5. หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่น้ำตาลทุกชนิด รวมถึงอาหารที่มีรสชาติหวานจัด

6. หลีกเลี่ยงไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู มันไก่ และน้ำมันจากพืชบางประเภท เช่น น้ำมันมะพร้าว กะทิ ครีมเทียม น้ำมันปาล์ม

7. เลี่ยงเครื่องในสัตว์ และกินไข่ได้ไม่เกินวันละ 3 ฟอง

8. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอให้เหมาะกับเพศและช่วงวัย

9. กินยาและปฏิบัติตนตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

10. ควบคุมอาหารโดยสม่ำเสมอ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์ม 2557.

สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

แก้ว กังสดาลอำไพ. ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับอาหาร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. หมอชาวบ้านว 2531.
งานวิจัยเกาหลี [เว็บไซต์]. เข้าถึงจาก www.diabassocthai.org.

ถาม – ตอบ ปัญหาโรคมะเร็ง

0
ถาม – ตอบ ปัญหามะเร็ง
ผู้ป่วยและญาติจะมีคำถามที่มีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพื่อจะได้รู้และปฏิบัติได้ถูกต้อง
ถาม – ตอบ ปัญหามะเร็ง
ผู้ป่วยและญาติต่างมีคำถามที่มีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพื่อจะได้รู้และปฏิบัติได้ถูกต้อง

ถาม – ตอบ ปัญหาเรื่องมะเร็ง

ถาม : ปัญหามะเร็งเกิดจากอะไร ?

ตอบ : ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดปัญหามะเร็ง แต่จากการศึกษาเชื่อว่า น่าจะมาจากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่

1. อายุ พบว่ายิ่งมีอายุมากขึ้น ยิ่งมีโอกาสเกิดปัญหาโรคมะเร็งสูงขึ้น เพราะมีโอกาสเกิดความผิดปกติจากการกลายพันธุ์ของเซลล์สูงขึ้น เนื่องจากการต้องซ่อม/สร้างซ้ำๆ/หลายๆ ครั้งของเซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บ/เสียหาย จากสาเหตุต่างๆ ปัญหาโรคมะเร็งตามอายุขัยของแต่ละคน

2. ปัญหาโรคมะเร็งจากความผิดปกติจากพันธุ์กรรม ซึ่งโรคมะเร็งบางชนิดอาจมีปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรมชนิดถ่ายทอดได้จากครอบครัว บางชนิดมีปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด โดยเกิดความผิดปกติขึ้นเองตามธรรมชาติของคนคนนั้นและมักเป็นพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัว หรือการตายของเซลล์ปกติ

[adinserter name=”มะเร็ง”]

3. เชื้อชาติ พบว่าบางเชื้อชาติมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งบางชนิดสูงกว่าเชื้อชาติอื่นๆ เช่น คนจีนตอนใต้ เป็นโรคมะเร็งโพรงหลังจมูกมากกว่าคนเชื้อชาติอื่น หรือคนผิวขาวเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิด เมลาโนมาสูงกว่าคนชาติอื่นเป็นต้น

4. ปัญหามะเร็งจากการได้รับสารก่อมะเร็งอย่างต่อเนื่อง เช่น จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ หรือจากการบริโภคอาหาร/น้ำดื่มที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง

5. ปัญหามะเร็งจากอาหาร เพราะพบว่าคนที่บริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารหมักดองหรือบริโภคเนื้อแดงสูง มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งบางชนิดสูงกว่าคนบริโภคอาหารมีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ในปริมาณเหมาะสม เช่น โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

6. ปัญหามะเร็งจากโรคอ้วน พบว่าคนที่เป็นโรคอ้วนมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งบางชนิดสูงกว่าคนปกติ เช่นโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

7. มีภูมิคุ้มกัน ต้านทานร่างกายบกพร่อง จากปัญหาโรคมะเร็งพบว่าคนที่มีภูมิคุ้มกัน/ต้านบกพร่องมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งสูงกว่าคนปกติ เช่น คนที่มีเชื้อไวรัสเอชไอวี HIV หรือในคนปลูกถ่ายอวัยวะที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันต้านทางโรค เช่นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

8. การติดเชื้อบางชนิด ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา เช่น ในโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งตับ และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

9. จากการได้รับสารเคมีบางชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง จากการประกอบอาชีพ เช่น โรคมะเร็งบางชนิดพบบ่อยในช่างไม้ และบางชนิดพบบ่อยในคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมหรืออุตสาหกรรมทำสีชนิดต่างๆ เช่นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

10. ปัญหามะเร็งจากการได้รับยาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด หรือยาเคมีบำบัด

11. การได้รับรังสีบางชนิดในปริมาณสูงหรืออย่างต่อเนื่อง เช่น จากรังสียูวีในแสงแดดหรือรังสีจากการตรวจรักษาโรค เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : มะเร็งพบได้บ่อยหรือไม่ ?

ตอบ : ปัญหาโรคมะเร็งบางชนิดพบได้บ่อย โดยมะเร็งชนิดที่พบบ่อย 10 ลำดับแรกในผู้ชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะอาหาร

ส่วนมะเร็งชนิดที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย 10 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งช่องปาก มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งที่พบบ่อยในเด็ก 3 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว เนื้องอก มะเร็งสมอง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ถาม : จากปัญหามะเร็งส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการอย่างไร ?

ตอบ : โรคมะเร็งไม่มีอาการเฉพาะ แต่จะมีอาการคล้ายคลึงกับการอักเสบทั่วไป แตกต่างกันตรงที่มักเป็นอาการเรื้อรัง ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และอาการต่างๆ ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยวิธีธรรมดาทั่วไป อาการจากโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย ได้แก่

  1. มีก้อนเนื้อโตผิดปกติ / โตเร็ว

2. มีแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หายด้วยการรักษาปกติทั่วไป

3. มีไข้เป็นๆ หายๆ หาสาเหตุไม่ได้ เป็นได้ทั้งไข้สูงและไข้ต่ำๆ

4. ไอเป็นเลือด

5. เสียงแหบโดยหาสาเหตุไม่ได้

6. กลืนติด เจ็บ กลืนลำบาก

7. เสมหะหรือน้ำลายมีเลือดปน  [adinserter name=”มะเร็ง”]

8. เลือดกำเดาไหลบ่อยโดยหาสาเหตุไม่ได้

9. ปัสสาวะเป็นเลือด

10. อุจจาระเป็นมูก และ / หรือเป็นมูกเลือด / เป็นเลือด

11. ท้องผูกสลับกับท้องเสียโดยหาสาเหตุไม่ได้

12. ตกขาว โดยมักมีกลิ่นด้วย

13. ประจำเดือนผิดปกติ ทั้งมีมากและ / หรือมีบ่อย

14. มีเลือดออกผิดปกติ หลังมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่เคยเป็นมาก่อน

15. มีเลือดออกทางช่องคลอดภายหลังหมดประจำเดือนแล้ว

16. ซีดโดยหาสาเหตุไม่ได้

17. ห้อเลือดง่าย มีจุดแดงจากการมีเลือดออกที่ผิวหนัง คล้ายอาการของไข้เลือดออก เป็นๆ หายๆ

18. มีอาการปอด ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หรือร่วมกับอาการอื่น เช่น แขน / ขาอ่อนแรงและ / หรือมีอาการชา

19. มีอาการชักโดยไม่เคยเป็นมาก่อน

20. ปวดศีรษะรุนแรง ร่วมกับอาเจียนและ / หรือแขน / ขาอ่อนแรง

21. ผอมลง น้ำหนักลด โดยหาเหตุไม่ได้

[adinserter name=”มะเร็ง”]

22. ปัญหามะเร็งจากการมีอาการผิดปกติอื่นๆ โดยที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นอาการเรื้อรังมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาด้วยวิธีรักษาปกติทั่วไป

ถาม : จะรู้ได้ยังไงว่ามีปัญหามะเร็งอยู่ ?

ตอบ : แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งได้จากการสอบถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การเอกซเรย์ การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ตามอาการของผู้ป่วยหรือตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่นการส่องกล้อง เมื่อมีอุจจาระเป็นมูกเลือดแต่ที่ได้ผลแน่นอนคือ การเจาะ ดูด และการตัดชิ้นเนื้อ จากก้อนเนื้อ / แผลที่ผิดปกติ ไปตรวจทางเซลล์วิทยาและ / หรือพยาธิวิทยา

ถาม : โรคมะเร็งมีหลายระบบ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความนิยมของแพทย์ว่าจะเลือกใช้ระบบใด แต่โดยทั่วไปนิยมใช้ระบบที่จัดทำโดยคณะกรรมการโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่า จัดระยะโรคมะเร็งในระบบเอเจซีซี AJCC : American Joint Committee on Cancer?

ตอบ : โดยทั่วไป โรคมะเร็งมี 4 ระยะ ( แต่บางระยะแบ่งย่อยลงไปได้อีก โดยแพทย์โรคมะเร็งใช้เป็นข้อบ่งชี้ทางการรักษา ซึ่งจะยุ่งยากซับซ้อนสำหรับคนทั่วไป จึงไม่กล่าวถึงในที่นี้ ) ซึ่งทั้ง 4 ระยะจะคล้ายคลึงกันในโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด ได้แก่

ระยะที่ 1 โรค / ก้อนเนื้อ / แผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ลุกลามอยู่เฉพาะในเนื้อเยื่อ / อวัยวะต้นกำเนิดของมะเร็ง

ระยะที่ 2 โรค / ก้อนเนื้อ / แผลมะเร็งมีขนาดปานกลาง ลุกลามไม่มากและอาจมีการลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง (แต่เป็นการลุกลามเพียงเล็กน้อย เช่น ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองเพียง 1-2 ต่อม หรือต่อมน้ำเหลืองยังมีขนาดโตไม่เกิน 3 เซนติเมตร)

ระยะที่ 3 โรค / ก้อนเนื้อ/แผลมะเร็งมีขนาดโตมาก และ / หรือลุกลามลึกเข้าไปยังเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียงมาก และ / หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ อวัยวะต้นกำเนิดมะเร็ง โดยลุกลามอย่างมาก มากกว่า 1-2 ต่อม  [adinserter name=”มะเร็ง”]

ระยะที่ 4  ปัญหาโรคมะเร็งระยะที่ 4 เป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคสูงสุด โดยทั่งไปแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีโรคลุกลามรุนแรง แต่ยังไม่มีการแพร่กระจาย และกลุ่มที่มีการแพร่กระจากของโรคแล้ว โดยโรคระยะที่ 4 ชนิดที่มีการแพร่กระจาย เป็นระยะที่โรคมะเร็งไม่มีโอกาสรักษาหายได้เป็นระยะโรคที่รุ่นแรงที่สุด แต่ถ้าเป็นโรคระยะที่ 4 ชนิดลุกลามรุนแรง แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายจะมีโอกาสรักษาได้หาย ถึงแม้โอกาสรักษาหายจะน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับในโรคมะเร็งระยะอื่นๆ ก็ตาม

โรคมะเร็งระยะที่ 4 ชนิดที่มีโรคลุกลามรุนแรง แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายได้แก่ ปัญหาโรคมะเร็งในระยะที่มีการลุกลามโดยตรงอย่างรุนแรง จากก้อน / แผลมะเร็งเข้าเนื้อเยื่อ / อวัยวะที่อยู่รอบๆ / ข้างเคียง เช่น ทำให้เกิดการทะลุของเนื้อเยื่อ / อวัยวะนั้นๆ และ / หรือลุกลามรุนแรงเข้าเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียงพร้อมๆ กันหลายๆ เนื้อเยื่อ / อวัยวะ และ / หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้อวัยวะต้นกำเนิดมะเร็ง โดยต่อมน้ำเหลืองมีขนาดโตมาก ( เกิน 6 เซนติเมตร ) หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงหลายๆ ต่อม แต่อย่างไรก็ตาม จะยังไม่มีการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด หรือกระแสน้ำเหลือง

โรคมะเร็งระยะที่ 4 ชนิดที่มีการแพร่กระจาย ได้แก่

1.ระยะที่มีการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง ไปยังอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ไกลออกไปจากเนื้อเยื่อ / อวัยวะต้นกำเนิดโรคมะเร็ง เป็นการแพร่กระจายเข้าทางกระแสเลือด มักแพร่กระจายเข้าสู่ปอด ตับ กระดูก ไขกระดูก และสมอง

2.ระยะที่โรคมะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่กระแสน้ำเหลือง ไปสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไปจากเนื้อเยื่อ / อวัยวะต้นกำเนิดมะเร็ง ตัวอย่างเช่น ในโรคมะเร็งปากมดลูก เมื่อมีโรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ปากมดลูกคือ ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน / ช่องท้องน้อย จัดเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 3 แต่เมื่อแพร่กระจายตามกระแสน้ำเหลืองไปสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลจากปากมดลูกคือต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องและ / หรือต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า จะจัดเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 ชนิดแพร่กระจาย

ถาม : รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งระยะที่เท่าไหร่ ?

ตอบ : แพทย์โรคมะเร็งจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งระยะที่เท่าใด ไปตรวจที่สำคัญในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งระยะที่เท่าไร คือ การสอบถามประวัติอาการต่างๆ การตรวจไตและสมดุลของเกลือแร่

[adinserter name=”มะเร็ง”]

1.เอกซเรย์ปอด ดูการทำงานของปอด / หัวใจ และการแพร่กระจายของมะเร็งเข้าสู่ปอด

2.ตรวจภาพอวัยวะต้นกำเนิดมะเร็งด้วยการเอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์และ / หรือเอ็มอาร์ไอ ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เพื่อดูการลุกลามของก้อน / แผลมะเร็ง

3.ตรวจอัลตราซาวนด์ Sonogram หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตับตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และ / หรืออาการของผู้ป่วย เพื่อดูการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเข้าสู่ตับ

4.ตรวจกระดูก อาจโดยการสแกนกระดูกทั้งตัว ตามอาการของผู้ป่วยและ / หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เพื่อดูการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเข้าสู่กระดูก

5.การตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม ตามอาการของผู้ป่วย / หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น การส่องกล้อง การกรวดน้ำไขสันหลัง การตรวจไขกระดูก และการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น การสแกนกระดูกหรือเพ็ตสแกน

ถาม : โรคมะเร็งมีวิธีรักษาอย่างไร ?

ตอบ : วิธีหลักในการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน คือ การผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด ฮอร์โมน ( ใช้รักษาเฉพาะโรคมะเร็งชนิดที่มีธรรมชาติของบางระยะของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่การรักษายังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เกินกว่าผู้ป่วยทุกคนจะเข้าถึง )

ส่วนการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ก็เช่น ยารักษาตรงเป้า ชีวสารรักษา การปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ และการปลูกถ่ายไขกระดูก/สเต็มเซลล์ในโรคมะเร็งชนิดอื่น ( นอกเหนือจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว/โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ) ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา และวิธีการเหล่านี้ก็ยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เกินกว่าผู้ป่วยทุกคนจะเข้าถึง

รักษาทางอายุกรรมทั่วไป ซึ่งใช้รักษาโรคมะเร็งในผู้ป่วยทุกคนและในโรคมะเร็งทุกระยะ และใช้ร่วมกับวิธีการต่างๆ ในการรักษาตัวโรคมะเร็ง ( ผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด ) ส่วนการรักษาด้วยการแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือก มีบางที่แน่ชัดว่าได้ประโยชน์  [adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : วิธีการรักษาโรคมะเร็งตามระยะโรคเป็นอย่างไร ?

ตอบ : วิธีการรักษาโรคมะเร็งตามระยะของโรค ในที่นี้จะกล่าวโดยรวม ซึ่งในโรคมะเร็งบางชนิดหรือในผู้ป่วยบางคน อาจได้รับการรักษาแตกต่างออกไป โดยขึ้นกับอายุและสุขภาพของผู้ป่วย และข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ของผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้ การเลือกใช้วิธีการรักษาตามระยะของโรคมะเร็ง จะได้จากการศึกษาทางการแพทย์ของโรคมะเร็งแต่ละชนิด

การรักษาโรคมะเร็งระยะที่ 1 เป็นการรักษาเพื่อหวังผลหายขาด อาจใช้วิธีการรักษาหลักเพียงวิธีการเดียว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ / หรืออวัยวะที่เป็น เช่น ผ่าตัดเพียงวิธีการเดียวหรือรังสีรักษาเพียงวิธีการเดียว ยกเว้นเมื่อเป็นโรคระยะที่ 1 แต่เป็นชนิดที่มีความรุนแรงโรคสูง ( แพทย์ทราบได้จากลักษณะทางพยาธิวิทยาของโรคมะเร็งชนิดนั้นๆ เช่น มีการลุกลามของเซลล์มะเร็งเข้ากระแสเลือดหรือกระแสน้ำเหลือง ) ก็อาจมีการรักษาร่วมกันหลายวิธีการ เช่น การผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษาและ / หรือเคมีบำบัด

การรักษาโรคมะเร็งระยะที่ 2 เป็นการรักษาเพื่อหวังผลหายขาด ในโรคมะเร็งบางชนิดที่มีความรุนแรงของโรคต่ำ อาจยังคงใช้วิธีการรักษาเพียงวิธีการเดียว แต่ส่วนใหญ่มักใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น การผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษาและ/หรือเคมีบำบัด

การรักษาโรคมะเร็งระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ชนิดที่มีการลุกลามรุนแรงแต่ยังไม่แพร่กระจาย ในผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ถึงแม้โอกาสรักษาหายจะต่ำกว่าในโรคมะเร็งระยะที่ 1 และ 2 แต่แพทย์ก็ยังคงให้การรักษาโดยหวังผลหายขาด และมักใช้การรักษาหลายวิธีการร่วมกัน

แต่ในผู้ป่วยที่มีสุขภาพไม่ดีและผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งมักทนผลข้างเคียง / แทรกซ้อนจากการรักษาเพื่อการหายขาดไม่ได้ แพทย์จะให้การรักษาด้วยการบรรเทา / ประทังอาการ และการรักษาเพื่อประคับประคอง / พยุงอาการ / การรักษาทางอายุรกรรมทั่วไป

โรคมะเร็งระยะที่ 4 ชนิดที่มีการแพร่กระจาย ซึ่งเป็นโรคในระยะที่รักษาไม่หาย หากผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง แพทย์จะให้การรักษาโดยการบรรเทาประทังอาการ แต่ถ้าผู้ป่วยสุขภาพไม่ดีหรือเป็นผู้ป่วยสูงอายุ แพทย์จะให้การรักษาโดยการประคับประคองพยุงตามอาการ / การรักษาทางอายุรกรรมทั่วไป

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ถาม : ปัญหาโรคมะเร็งมีโอกาสรักษาหายหรือไม่ ?

ตอบ : โรคมะเร็งมีโอกาสรักษาหายได้ ( อัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ) แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ระยะโรคและชนิดของเซลล์มะเร็งธรรมชาติของโรคมะเร็งแต่ละชนิด อายุและสุขภาพของผู้ป่วยโดยทั่วไป

มะเร็ง ระยะที่ 1 มีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 70-90

มะเร็งที่ ระยะ 2 มีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 50-80

มะเร็งที่ ระยะ 3 มีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 20-50

มะเร็ง 4 หากเป็น ระยะที่ 4 ชนิดลุกลามรุนแรง แต่ยังไม่มีโรคแพร่กระจาย มีอัตราอยู่รอดที่ 5 ปี ประมาณร้อยละ 5-30 แต่ในกลุ่มที่มีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลืองระยะไกล มักไม่มีโอกาสอยู่รอดที่ 5 ปี ส่วนใหญ่มักอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน – 2 ปี   เพระโรคมะเร็งส่วนใหญ่ภายหลังรับรักษาครบแล้ว ถ้าจะมีการย้อนกลับเป็นซ้ำการลุกลาม หรือการแพร่กระจาย มักเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากครบการรักษา ( ประมาณร้อยละ 80-90 เกิดขึ้นภายใน 2-3 ปีหลังครบการรักษา )

ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยอยู่ได้ครบ 5 ปี โดยไม่มีโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและ / หรือการแพร่กระจาย ทางการแพทย์โรคมะเร็งจะถือว่าผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งแล้ว อย่างไรก็ตาม ภายหลังจาก 5 ปีแล้ว ผู้ป่วยยังมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำและ / หรือแพร่กระจายได้ ประมาณร้อยละ 5 โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยง

ถาม : โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำหมายความว่าอย่างไร ?

ตอบ : โรคมะเร็งย้อนกลับเป็นซ้ำ หมายถึง ภายหลังการรักษาครบแล้วแพทย์ตรวจซ้ำไม่พบโรคมะเร็ง แต่เมื่อติดตามโรคระยะหนึ่ง มักนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป กลับตรวจพบว่ามีโรคมะเร็งชนิดเดิมเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อ / อวัยวะเดิม (รอยโรค) และ / หรือในต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อ / อวัยวะเดิม

[adinserter name=”oralimpact”]

ถาม : โรคมะเร็งชนิดที่ 2 หมายความว่าอย่างไร ?

ตอบ : โรคมะเร็งชนิดที่ 2 หมายความว่าเมื่อเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งแล้วยังตรวจพบโรคมะเร็งชนิดใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคมะเร็งคนละชนิดกับโรคมะเร็งเดิม และมักเกิดในเนื้อเยื่อ/อวัยวะใหม่ ไม่ใช่เนื้อเยื่อ/อวัยวะเดิม

ถาม : มีวิธีตรวจคัดกรองให้พบโรคมะเร็งตั้งแต่เริ่มเป็นหรือไม่ ?

ตอบ : มีเพียงปัญหาโรคมะเร็งบางชนิด ( ส่วนน้อย ) เท่านั้น ที่มีวิธีตรวจคัดกรองอย่างมีประสิทธิภาพ ให้พบโรคมะเร็งตั้งแต่เริ่มเป็น โรคมะเร็งโดยส่วนใหญ่ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ( อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีโรคมะเร็งที่มีวิธีตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ โรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ )

ถาม : มีวิธีป้องกันการเกิดมะเร็งหรือไม่ ?

ตอบ : ปัจจุบันมีเพียงปัญหาโรคมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น ที่มีวิธีการป้องกันการเกิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ที่สำคัญคือ บุหรี่ เหล้า อาหารไม่มีประโยชน์ โรคอ้วน การสำส่อนทางเพศ และสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งแวดล้อม

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Body Fatness and Cancer. Viewpoint of the IARC Working Group. NJ Med.2013.

ระยะของมะเร็ง ( Stage of Cancer )

0
ระยะของโรคมะเร็ง
ระยะของโรคมะเร็ง
ระยะของโรคมะเร็ง (Stage of Cancer)
ระยะมะเร็ง ( Stage of Cancer ) คือ ตัวบ่งบอกการลุกลาม หรือความรุนแรงของมะเร็ง ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นระยะที่ 0 ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ระยะที่ 4

ระยะของมะเร็ง

ระยะของมะเร็ง ( Stage of Cancer ) คือ ตัวบ่งบอกการลุกลาม หรือความรุนแรงของมะเร็ง ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นระยะที่ 0 ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ระยะที่ 4 ซึ่งมะเร็งเกือบทุกชนิดมีการจัดระยะของโรคเรียกว่า “ ระยะของมะเร็ง ” ซึ่งระยะของมะเร็งนั่นจะมีการแบ่งตามความรุนแรงของโรคจากน้อยไปมาก ซึ่งบางชนิดเซลล์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแต่ยังไม่จัดว่าเป็นมะเร็ง เพราะไม่มีการรุกรามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียง

โรคมะเร็งมีกี่ระยะ

มะเร็งสามารถระยะออกง่าย ๆ เป็นระยะที่ 0 – 4 ดังนี้

มะเร็งระยะที่ 0 คือ

ระยะที่มีเซลล์มะเร็งแต่เซลล์โรคมะเร็งยังจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณพื้นผิวของเยื่อบุอวัยวะนั้นๆ มีการพยากรณ์โรคดีที่สุด มักจะมีโอกาสหายขาดได้เกินกว่า 95 % การคัดกรองโรคมะเร็งก็เพื่อให้สามารถวินิจฉัยมะเร็ง ระยะของมะเร็ง ( Stage of Cancer ) ระยะที่ 0 นี้ เช่น การคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการทำเอกซเรย์เต้านม หรือแมมโมแกรม การตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการทำแปปเสมียร์ ( Papsmear ) ซึ่งปัจจุบัน สามารถตรวจพบในว่าระยะของมะเร็ง ที่ตรวจพบระยะต้นได้มากขึ้น ด้วยการตรวจเชื้อ HPV   บริเวณปากมดลูก การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วยการเอกซเรย์ปอด หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่จัด การตรวจเลือดหาค่าส่องกล้องหามะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือในคนปกติที่มีอายุมากกว่า 60 ปีเป็นต้น

มะเร็งระยะที่ 1 – 2 เรียกว่ามะเร็งระยะต้น

เป็นระยะมะเร็งที่มีการพยากรณ์โรคดี แพทย์ผู้รักษามะเร็งมักจะรักษาโดยมีเป้าหมายเพื่อให้หายขาด รักษาอวัยวะให้สามารถมีการทำงานให้ใกล้เคียงปกติที่สุด มะเร็งระยะต้นมีความสำคัญมากหากผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองมีความผิดปกติ เช่นพบก้อนที่ใดที่หนึ่งของร่างกายและมาพบแพทย์เร็ว ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องย่อมมีโอกาสหายขาดได้มากที่สุด แพทย์มะเร็งจะทุ่มเทสรรพกำลังเพื่อรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้เต็มที่ โดยทั่วไปผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ระหว่าง 70–95% แล้วแต่ตำแหน่งของมะเร็งต้นกำเนิด

มะเร็งระยะ 3 เป็นมะเร็งระยะลุกลามเฉพาะที่

มักจะมีการลามของมะเร็งไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง การรักษาด้วยการผ่าตัดมักจะยากขึ้นกว่ามะเร็งระยะต้น มะเร็งหลายชนิดมักจะไม่ทำให้เกิดอาการจนกว่าจะมีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองทำให้เกิดก้อนเนื้อขึ้น เช่นก้อนที่คอ ก้อนที่รักแร้ ผู้ป่วย ระยะของมะเร็ง ( Stage of Cancer ) จะลุกลามเฉพาะที่มักจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีอยู่ระหว่าง 40 – 70% ผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งมักจะเป็นมะเร็งในระยะที่ 3 นี้ ดังนั้นจงอย่าท้อใจในการรักษาเพราะท่านไม่ได้เป็นมะเร็งระยะที่ 3 เพียงคนเดียวแต่ยังมีคนอื่นๆ ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระยะนี้อีกมาก การรักษามะเร็งระยะที่ 3 มักจะต้องได้รับการรักษาแบบผสมผสาน ได้แต่ การผ่าตัด การฉายรังสี และการให้ยาเคมีบำบัด โดยลำดับการรักษาว่าจะเริ่มต้นด้วยวิธีใดก่อนนั้น ทีมแพทย์มะเร็งจะได้ปรึกษาหารือกันว่าลำดับการรักษาในผู้ป่วยแต่ ละราย นั้นจะใช้วิธีการรักษาแบบใดจึงจะทำให้มีโอกาสหายขาดได้มากที่สุด ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะเป็นมะเร็งตำแหน่งเดียวกัน ระยะเดียวกัน ลำดับการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายก็อาจจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพร่างกายผู้ป่วย ( ความเข็งแรงของผู้ป่วย อายุ โรคประจำตัว )  ความพร้อมของทีมแพทย์และเครื่องมือที่ทีมแพทย์ในโรงพยาบาลนั้นมีอยู่ด้วย

มะเร็งระยะที่ 4 เป็นมะเร็งระยะลุกลามเฉพาะที่ หรือระยะแพร่กระจาย ขึ้นอยู่กับอวัยวะต้นกำเนิด

เช่น มะเร็งศีรษะและลำคอระยะที่ 4A – 4B เป็นมะเร็งระยะลุกลามเฉพาะที่ แต่หากเป็นระยะที่ 4C เป็นระยะแพร่กระจายเป็นต้น เป้าหมายของการรักษามะเร็งระยะที่ 4 คือการยืดอายุและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Palliation ซึ่งหมายความว่า การบรรเทาอาการ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะที่ 4 ส่วนใหญ่ไม่หายขาด และอาจจะได้รับความทุกข์ทรมานจากก้อนมะเร็งที่แพร่กระจาย เช่น มะเร็งแพร่กระจายไปสมองทำให้เกิดการอ่อนแรง ชัก ปวดศีรษะ อัมพาตไม่รู้สึกตัว ซึ่งอาการดังกล่าวจะดีขึ้นหากได้รับการฉายรังสีบริเวณสมองแล้วก้อนยุบลง มะเร็งกระจายไปกระดูกทำให้ปวดกระดูก กระดูกบาง หักได้ง่าย การให้ยาบรรเทาปวด มะเร็งกระจายไปปอดทำให้เหนื่อย ไอ มะเร็งกระจายไปตับทำให้แน่นท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นต้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Incidence of cancer cervix and vagina in women. Cancer Causes Control. 2011

จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็ง?

0
อาการเบื้องต้นของโรคมะเร็ง
อาการเบื้องต้นของโรคมะเร็ง
อาการเบื้องต้นของโรคมะเร็ง (Cancer preliminary symptoms)
อาการเบื้องต้นของโรคมะเร็ง (Cancer preliminary symptoms)

อาการเบื้องต้นของมะเร็ง

อาการเบื้องต้นของมะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อสายเกินไป เมื่อตรวจพบเจอก้อนมะเร็งก็ลุกลามไปยังส่วนต่างๆของร่างกายแล้ว จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งทำให้ยากต่อการรักษาให้หายขาด แพทย์จึงแนะนำให้บุคคลทั่วไปตรวจสุขภาพทุกปีเพื่อค้นหาความผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ทั้งนี้เทคนิคที่ใช้ในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งก็มีหลายวิธีด้วยกัน ได้แก่ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสสาวะ อุจจาระ การตรวจทางพยาธิวิทยาและเนื้อเยื่อ เช่น การขูดเซลล์จากเยื่อบุปากมดลูก เยื่อบุช่องปาก การตรวจด้วยเครื่องมือเอ๊กซเรย์ แมมโมแกรม อัลตร้าซาวด์ เช่นการเอ๊กซเรย์ปอดกับทางเดินอาหาร การทำแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ที่เต้านม การตรวจด้วยอุปกรณ์ พิเศษ เช่น การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งก็ต้องการตรวจด้วยเครื่องมือ MRI, CT scan, PET scan เพื่อดูอวัยวะในกระโหลกศรีษะ หลอดเลือดในสมอง กระดูกสันหลัง อุ้งเชิงกราน กระเพาะปัสสาวะ มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก อาการเบื้องต้นของโรคมะเร็งที่ต้องเฝ้าระวัง แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็ง เราต้องหมั่นตรวจสอบความผิดปกติของร่างกาย สามารถสังเกตอาการโรคมะเร็งได้ด้วยตัวเราเอง เพราะเราในฐานะเจ้าของร่างกายย่อมต้องรู้ถึงความผิดปกติได้ก่อนผู้อื่น สภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปเช่นการขับถ่ายเปลี่ยนไป คลำพบก้อนเนื้อ น้ำหนักตัวลดหรือเพิ่มผิดสังเกต มีเลือดออกที่อวัยวะต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการก่อตัวของโรคมะเร็งได้

จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็ง การสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย

1. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งเต้านม : พบก้อนที่เต้านมหรือรักแร้เมื่อลองคลำดูรู้สึกเจ็บ ขนาดและรูปทรงของเต้านมเปลี่ยนไป หัวนมปกติเริ่มเป็นหัวนมบอด มีของเหลวหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม

2. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก : ประจำเดือนผิดปกติโดยอาจมามากเกินไปหรือน้อยกะปริบกะปรอย มีเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ใช่ช่วงเวลาที่มีประจำเดือน ตกขาวมีกลิ่นเหม็นและมีสีน้ำตาล ปวดช่องคลอดและมีเลือดออกหลังเพศสัมพันธ์

3. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งรังไข่ : ถือเป็น “ มะเร็งเงียบ ” ชนิดหนึ่งเพราะเป็นมะเร็งที่ตรวจพบยาก เนื่องจากไม่มีวิธีตรวจคัดกรองที่ชัดเจนเหมือนมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ยังมีอาการคล้ายกับความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและขับถ่าย เช่น ปวดหน่วงๆบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา จุกเสียดอึดอัดแน่นท้อง ท้องผูก คลำเจอก้อนเนื้อแถวท้องน้อย ท้องโตขึ้นรวดเร็ว ปวดท้องกระทันหัน มีพุงห้อยย้อยระดับต่ำกว่าปกติ ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่มักตรวจพบในระยะท้ายๆ ซึ่งมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคล้ายมะเร็งปากมดลูก คือประจำเดือนผิดปกติและมีเลือดออกกะปริบกะปรอยทั้งที่ไม่ใช่ช่วงเวลาที่มีประจำเดือน หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ ควรปรึกษาแพทย์และขอตรวจอัลตร้าซาวด์ผ่านช่องคลอดเพื่อดูรูปร่างและขนาดของรังไข่

4. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งตับ : ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณข้างขวาส่วนบนและอาจปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่ ตัวเหลือง ตาขาวเป็นสีเหลือง น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีอาหารท้องมาน ตับโตขึ้นจนท้องเปลี่ยนรูปร่างไป

5. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งปอด : มีปัญหาเรื่องการหายใจเช่นหายใจมีเสียงหวีดๆหรือหายใจสั้นถี่ๆ เหนื่อยหอบ เหนื่อยง่ายและเหนื่อยเป็นประจำ หายใจไม่ทั่วท้อง เจ็บหน้าอก ไอบ่อย ไอเป็นเลือดออก เสียงแหบ น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว

6. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร : ปวดท้องส่วนบนตรงกลาง ท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนโดยอาจะมีเลือดปนมาด้วยและอาจะพบเลือดในอุจจาระ อุจจาระเป็นสีดำ น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ

7. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ : ปัสสาวะเป็นเลือด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะติดขัดและปวดแสบหลังปัสสาวะ มีอาการซีด อ่อนเพลีย อาจมีอาการปวดหลังตอนล่าง

8. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก : มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป อาการมะเร็ง ลำไส้ใหญ่มักมีความแปรปรวนในระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก หรือท้องผูกสลับท้องเสีย มีอาการปวดหน่วงๆที่ลำไส้ซ้ายหรือขวาตามตำแหน่งก้อนมะเร็ง คลื่นไส้และอยากอาเจียนเป็นประจำ เบื่ออาหาร สำหรับมะเร็งลำไส้ตรงหรือทวารหนัก มักอุจจาระมีเลือดปน ปวดทวารหนักอย่างรุนแรง รู้สึกเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด

9. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก : ปัสสาวะติดขัดและมีอาการปวด ปัสสาวะอ่อนไม่พุ่งแรง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีเลือดปนในปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวยาก เมื่อถึงจุดสุดยอดระหว่างร่วมเพศจะมีอาการเจ็บตอนหลั่งน้ำอสุจิ

10. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว : มักรู้จักในชื่อ ลูคิวเมีย ( Leukemia ) มักพบในคนไข้อายุน้อยแต่ก็เป็นได้ในทุกวัย อาการที่สังเกตุได้คือ เลือดออกง่าย เช่น เลือดออกตามไรฟัน ประจำเดือนมามากผิดปกติ ฟกช้ำดำเขียวง่าย เนื้อตัวเป็นจ้ำๆ เลือดจาง ซีด ร่างกายอ่อนแอเหนื่อยง่าย เป็นไข้ ติดเชื้อและอักเสบได้ง่าย น้ำหนักลด

11. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง : พบก้อนที่บริเวณต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ อาจยังไม่มีอาการเจ็บในช่วงแรกมีแค่มีขนาดโตผิดปกติ ต่อมทอนซิลโตขึ้น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้เป็นระยะ มักเหงื่อออกมากเวลากลางคืน

12. จะรู้ได้ไงว่าเป็นมะเร็งสมอง : ปวดศีรษะร่วมกับอาหารคลื่นไส้อาเจียน อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรงจนไม่สามารถนอนหลับได้ มีปัญญาด้านการมองเห็น เช่น ตาพร่า เห็นแสงเป็นจุดๆลอยไปมา มีอาการชาที่แขน ขา ปลายนิ้ว มีทักษะในการรับรู้ การพูดสื่อสารไม่เหมือนเดิม สูญเสียการทรงตัว รู้สึกชาที่ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งและมีปัญหาในการควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า หากตรวจพบความผิดปกติของร่างกาย หรือสงสัยว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง ควรติดต่อแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรองโดยด่วน เพราะการตรวจพบ มะเร็ง ในระยะต้นๆ สามารถเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Winor Sirrile, Hugo FG . Cancer in young women. Cancer Med. 2016;495: 4585-4599.

ชนิดของมะเร็งที่พบบ่อย

0
มะเร็งที่พบบ่อยในชายและหญิง
มะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายคือมะเร็งตับ ในผู้หญิงคือมะเร็งเต้านม
ชนิดของมะเร็งที่พบบ่อย
กราฟแสดงชนิดของมะเร็ง มะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายคือมะเร็งตับ ในผู้หญิงคือมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็ง

หากพูดถึงสถานการณ์ของโรคมะเร็งในปัจจุบัน ถือได้ว่าค่อนข้างน่าเป็นห่วงไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากจำนวนของผู้ป่วยมีการเพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี โดยมีค่าเฉลี่ยสูงถึง  120, 000 คน ต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ก็กลายไปเป็นยอดผู้เสียชีวิตมากว่า 60,000 คน ต่อปี เลยเช่นกัน โดยตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ทำสถิติแซงยอดการเสียชีวิต จากอุบัติเหตุด้วยซ้ำไป โดยมีอัตราส่วนเฉลี่ย ในคน 1 แสนคน จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากถึง 100 คน เลยทีเดียว

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ช่วงอายุที่เป็นมะเร็ง

แน่นอนว่าข้อมูลดังกล่าวที่ได้จาก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณาสุข เป็นข้อมูลที่สร้างความตกใจให้กับผู้ที่ได้รับฟังเป็นอย่างมาก หากเมื่อรวมยอดจากคนทั่วโลกแล้ว ในแต่ละปี จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากถึงปีละ 8 ล้านคนเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังพบว่า อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งมีอัตราเฉลี่ยลดลงกว่าเดิมด้วยซ้ำ จากแต่เดิมผู้ป่วยที่เป็น มะเร็ง จะเป็นผู้สูงอายุ วัยกลางคน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 50 ปี แต่ปัจจุบัน อายุของผู้ป่วยลดลงมาเป็นช่วงคนวัยทำงาน มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 30 ปีกว่าๆ เท่านั้น โรคมะเร็งสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท แยกตามอวัยวะในร่างกายที่เป็น

จากสถิติที่ผ่านมา พบว่าในผู้ชาย โรคมะเร็งที่จะพบมากที่สุดคือ โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงคือ โรคมะเร็งเต้านม

ชนิดของมะเร็งที่พบมากในผู้ชาย

โดยเป็นที่ทราบกันดีว่า ฝ่ายชายนั้นมีพฤติกรรมชอบสังสรรค์ ชอบดื่มชอบเที่ยว ซึ่งการดื่มสุราในปริมาณมากๆและเป็นเวลานานติดต่อกัน ย่อมส่งผลเสียไปถึงตับ ทำให้ตับทำงานหนัก จนเป็นโรคตับแข็งได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่เคยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบต่างๆ ยังจะมีโอกาสเสี่ยงไปเป็นโรคมะเร็งตับได้มากกว่าคนธรรมดาอีกด้วย ส่วนโรคมะเร็งปอดก็เป็นอีกชนิดหนึ่งที่จะพบได้มากในผู้ชายวัยสูงอายุ โดยสาเหตุก็มากจากการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่ หรือมลพิษทางอากาศเข้าไปในปริมาณที่มากๆ ซึ่งชายที่อยู่ในช่วงอายุ 65 ขึ้นไป จะเป็นโรคมะเร็งปอดในปริมาณมากถึง 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดในเพศชายเลยทีเดียว ส่วนโรคมะเร็งอื่นๆ ที่พบในเพศชายอีกก็อย่างเช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

[adinserter name=”มะเร็ง”]

ชนิดของมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง

ในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 40 ปีขึ้น เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมมากที่สุด และถ้าหากเป็นผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดในปริมาณมากเกินไป หรือเป็นผู้ที่ไม่มีลูก จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนี้เข้าไปอีก คุณผู้หญิงเองต้องหมั่นตรวจสุขภาพเรื่องนี้แบบสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้เองหรือไปพบแพทย์ก็ได้ โดยการตรวจจะได้ผลดีที่สุดคือ หลังจากมีประจำเดือนผ่านไปแล้ว 7 วัน   นอกจากนี้คุณผู้หญิงที่มีอายุ 35 ขึ้นไป ควรจะไปตรวจเพิ่มเรื่อง Digital Mammogram  หรือ การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องตรวจดิจิตอล อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง  ส่วนมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยๆเหมือนกันคือ โรคมะเร็ง ปากมดลูก จะพบมากในผู้หญิงที่มีช่วงอายุ 35-50 ปี สาเหตุหลักของโรคคือ การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่เหมาะสม มีตั้งแต่อายุน้อย หรือมีคู่นอนมากหน้าหลายตา ควรป้องกันก่อนจะเป็นโรคนี้ โดยการไปฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือ (HPV Vaccine) สามารถฉีดได้ตั้งแต่มีอายุ 9 ปี และนอกจากนี้คุณผู้หญิงที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ปีละครั้ง ส่วนโรคมะเร็งอื่นๆ ที่พบในเพศหญิงอีกก็อย่างเช่น โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ถึงแม้โรคมะเร็งประเภทต่างๆ จะมีความหน้ากลัวมากและในปัจจุบันยังไม่มียาตัวไหนที่รักษาโรคนี้ให้หายขาดไปได้ แต่หากลองกลับมาย้อนดู ก็จะพบว่า ไม่ว่าโรคมะเร็งแบบไหนก็แล้วแต่ สาเหตุหลักๆที่ทำให้คนเป็นมะเร็งไม่ว่าจะเพศหญิงหรือเพศชาย ล้วนมากจากพฤติกรรม การกิน การนอน หรือการใช้ชีวิตทั้งสิ้น  ดังนั้นเราเองถ้ารู้จักปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น  กินอาหารที่ดี มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย ตัวเราเองก็จะสามารถห่างไกลจากโรคมะเร็งได้ต่างๆได้นั้นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Herb HANS. Incidence of cancer cervix and vagina in women. Cancer Causes Control. 2012.

มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) มะเร็งอันดับ 1 ผู้หญิง

0
มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) อาการ สาเหตุ และการป้องกัน
การรักษามะเร็งเต้านม มี 5 วิธี คือ ผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด ภูมิต้านทานบำบัด
มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) อาการ สาเหตุ และการป้องกัน
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบในผู้หญิงไทยมากที่สุดเป็นอันดับ1 ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติภายในเต้านมเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ( Breast Cancer ) เป็น มะเร็งที่พบในผู้หญิงไทยมากที่สุดเป็นอันดับ1 ซึ่งเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นจากเซลล์บนผิวของต่อมเต้านมได้รับผลกระทบจากสารก่อมะเร็งและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทำให้เซลล์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเกินขีดจำกัดของร่างกาย และเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งมะเร็งเต้านมสามารถเกิดในเด็กที่เริ่มมีประจำเดือนได้ โดยเกิดในเด็กผู้หญิงอายุประมาณ 10 – 11 ปี รังไข่จะเล็กและยังไม่ทำงาน แต่พอรังไข่ได้รับคำสั่งจากฮอร์โมนในสมองก็จะเริ่มเกิดการขยายตัวและมีการผลิตฟองไข่ขึ้น และทำให้รังไข่สร้างฮอร์โมนเพศที่ชื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนขึ้นมา ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้เองที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันและทำให้ท่อนมเกิดการเจริญเติบโต ในเวลาต่อมาเมื่อรังไข่มีความ พร้อมที่จะผสมพันธุ์ จะมีการขยายตัวของฟองไข่จนเกิดไข่ตก ส่วนรังไข่ที่เหลือจะสร้างฮอร์โมนเพศอีกตัวหนึ่งที่ชื่อฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนซึ่งเมื่อหลั่งออกมาจะทำให้ต่อมนมขยายขนาดขึ้น จนเป็นเต้านมที่สมบูรณ์ในช่วงอายุประมาณ 16 ปี เมื่อเต้านมโตขึ้นและพร้อมขยายพันธุ์ตามขนาดของร่างกาย มะเร็งเต้านมก็สามารถเกิดขึ้น

กระบวนการเกิด มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เกิดจากการที่เซลล์ต่างๆ ภายในเต้านมมีการแบ่งตัวผิดปกติ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบริเวณท่อส่งน้ำนมและเนื้อเยื่อของต่อมน้ำนมมากที่สุด และหลังจากเป็นโรคมะเร็งได้ระยะหนึ่ง เซลล์มะเร็งก็จะมีการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย โดยเริ่มจากการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง ก่อนจะเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้และไกลออกไปตามลำดับ เช่น หัวใจ กระดูก สมอง ปอด เป็นต้น และเนื่องจากเต้านมเป็นอวัยวะที่มีเนื้อเยื่อ ต่อมและท่อส่งมากมาย จึงทำให้มะเร็งเต้านมสามารถแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้กระบวนการที่ทำให้เกิดเป็นมะเร็งเต้านมได้นั้น เกิดจากการที่เซลล์ปกติมีการกลายพันธุ์จนเป็นมะเร็ง โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เซลล์ปกติ ( Norma l ) : เป็นเซลล์ทั่วไปบริเวณเต้านมที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ซึ่งจะทำงานไปตามปกติ
2. เซลล์เพิ่มการแบ่งตัว ( Hyperplasia ) : เป็นภาวะที่เซลล์ปกติได้มีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม จนทำให้เซลล์มีขนาดโตมากเกินไป แต่ยังไม่ถึงกับเป็นเซลล์มะเร็ง
3. เซลล์เพิ่มการแบ่งตัวแบบผิดปกติ ( Atypical hyperplasia ) : สืบเนื่องจากการแบ่งตัวในขั้นตอนที่ 2 โดยเซลล์บางส่วนจะเริ่มกลายพันธุ์ มีลักษณะที่ผิดปกติไปจากเดิม และกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด
4. มะเร็งระยะก่อนลุกลาม ( Non-Invasive Cancer หรือ In Situ Cancer ) : ระยะนี้เป็นช่วงแรกๆ ของมะเร็งเต้านมจะยังไม่มีการลุกลามออกไป ซึ่งจะอยู่เฉพาะบริเวณผิวของเยื่อบุของอวัยวะที่เป็นมะเร็งเท่านั้น โดยระยะนี้หากตรวจพบจะมีโอกาสรักษาให้หายได้เกือบ 100%
5. มะเร็งระยะลุกลาม ( Invasive cancer ) : เป็นระยะที่มะเร็งเริ่มมีการลุกลาม โดยจะเริ่มจากการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงก่อนแล้วจึงค่อยๆ ลุกลามออกไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รีบทำการรักษาก็จะเป็นอันตรายได้มากทีเดียว

สาเหตุที่ทำให้เป็น มะเร็งเต้านม

1. มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิด บีอาร์ซีเอ ( BRCA1 และ BRCA2 ) โดยเป็นชนิดที่สามารถถ่ายทอดได้ เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัวและการตายของเซลล์ปกติ โดยเป็นพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด
2. เชื้อชาติ โดยมีการพบว่าชาวตะวันตกจะมีโอกาสป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมได้มากที่สุด
ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะ พ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย
ผู้หญิงที่ไม่มีลูกหรือมีลูกน้อย จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงที่มีลูกแล้ว
ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาเร็วและคนที่หมดประจำเดือนตอนอายุ 55 ปีขึ้นไป
3. ได้รับฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินไปอย่างต่อเนื่อง
4. การได้รับรังสีบางชนิด โดยเฉพาะรังสีในการรักษา เช่น รังสีเอกซเรย์
5. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เพราะจะไปกระตุ้นให้เซลล์กลายพันธุ์ผิดปกติจนเป็นมะเร็ง
6. ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มือสองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคนที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ยังมีอายุน้อย
7. การทานอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง โดยพบว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมทานอาหารไขมันสูงอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
8. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคอ้วน

ในประเทศไทยมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งอันดับแรกๆที่พบมากที่สุดในผู้หญิง และมีอัตราการเกิดสูงมาก แต่โรคนี้จะพบในวัยผู้ใหญ่มากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงอายุประมาณ 55 ปี แต่ผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี ก็มีความเสี่ยงในระดับหนึ่งเช่นกัน

นอกจากนี้ก็มักจะพบอีกว่ามะเร็งเต้านมมักจะเกิดกับเต้านมข้างซ้ายมากกว่าเต้านมข้างขวา ส่วนการเกิดมะเร็งเต้านมทั้งสองข้างพบได้น้อยมาก ยกเว้นผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดที่สามารถถ่ายทอดได้ จะมีอัตราการเกิดสูงถึง 40 – 80 เปอร์เซ็นต์ โดย 

มะเร็งเต้านมก็มีหลายชนิด แต่ที่พบมากที่สุดก็คือ ductal carcinoma โดยเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง และพบได้มากถึงร้อยละ 80-90 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งเต้านมสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการคลำหาก้อนมะเร็งหรือตรวจประจำปีกับแพทย์ ดังนั้นจึงควรตรวจอยู่เสมอ เพื่อจะได้พบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและสามารถทำการรักษาได้ทัน

ชนิดมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม แบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. มะเร็งเต้านมระยะที่ยังไม่ลุกลาม เช่น มะเร็งในท่อน้ำนมหรือมะเร็งต่อมน้ำนม ซึ่งเป็นมะเร็งที่อยู่ในระยะที่ยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ ของเต้านม

2. มะเร็งเต้านมระยะลุกลามของเต้านม เป็นมะเร็งที่อยู่ในระยะที่กำลังลุกลามออกจากเยื่อหุ้มท่อนม หรืออาจเกิดการกระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ได้แก่

2.1 มะเร็งเต้านมระยะลุกลามของท่อน้ำนม เป็นชนิดที่มักพบได้มากที่สุดในอัตราส่วน 8 ใน 10 ของ มะเร็งเต้านม ทุกชนิด โดยมะเร็งชนิดนี้จะเริ่มลุกลามจากท่อนมกระจายไปยังรอบ ๆ เนื้อนมหรืออาจลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดหลอดน้ำเหลือง

2.2 มะเร็งเต้านมระยะลุกลามของต่อมน้ำนม จะเกิดขึ้นที่ต่อมนมแล้วลุกลามออกจากเยื่อหุ้มต่อมนมไปยังเนื้อของเต้านม หรืออาจเกิดการกระจายตัวเข้าสู่หลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง เมื่อเทียบกับมะเร็งเต้านมทุกชนิดจะมีโอกาสพบมะเร็งชนิดนี้ประมาณ 1 ใน 10

3. มะเร็งเต้านมชนิดลุกลามอื่น ๆ ที่ไม่ค่อยจะได้พบมากนักยังมีอยู่อีกหลายชนิด ได้แก่

3.1 มะเร็งเต้านมชนิดอักเสบ เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ทั้งหมดจะพบมะเร็งชนิดนี้ประมาณร้อยละ 1 – 3 เช่นเดียวกันกับเต้านมอักเสบ โดยจะมีอาการเต้านมแข็ง ผิวหนังส่วนที่ปกคลุมเต้านมจะมีลักษณะบวมหนาและมีรูบุ๋มลงไป มักลุกลามเข้าสู่หลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง 

3.2 มะเร็งเต้านมชนิดผสมผสาน เป็นชนิดที่ผสมปนเปกันหลายอย่าง มีวิธีการรักษาเช่นเดียวกันกับ มะเร็งระยะลุกลามของท่อน

3.3 มะเร็งเต้านมชนิดที่มีเซลล์มะเร็งแบบพิเศษ และมีเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายร่วมด้วย เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นจะมีโอกาสพบมะเร็งชนิดนี้ประมาณร้อยละ 3 – 5

3.4 มะเร็งเต้านมชนิดมีมูก เป็นชนิดที่มีโอกาสพบได้ค่อนข้างน้อย เป็นมะเร็งของเซลล์ในเต้านมซึ่งสร้างมูก และมักมีการพยากรณ์ของโรคดีกว่า มะเร็งเต้านม ชนิดลุกลามอื่นๆ

3.5 มะเร็งหัวนม เมื่อเทียบกับมะเร็งเต้านมทั้งหมดจะเป็นชนิดที่พบได้ร้อยละ 1 จะเกิดขึ้นที่บริเวณท่อน้ำนม ลามมาที่หัวนมและลานนม จะมีลักษณะเป็นสะเก็ดและจะมีน้ำเหลืองหรือเลือดซึมออกมาด้วย และตรงที่เป็นมักเป็นสีแดง หลายคนจึงอาจเข้าใจว่าเป็นโรคผิวหนังส่งผลให้การรักษาเป็นไปค่อนข้างช้า

3.6 มะเร็งของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ไขมันในเต้านม เป็นชนิดที่พบได้น้อยและต้องใช้วิธีผ่าตัดในการรักษาเท่านั้น

3.7 มะเร็งของเส้นเลือดในเต้านม เป็นชนิดที่มีโอกาสพบได้น้อยที่สุด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นหลังจากใช้วิธีฉายแสงในการรักษามะเร็งเต้านม 5-10 ปี

ระยะมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ระยะที่ 0 ( มีโอกาสรอด 100 % )

พบเจอก้อนเนื้อหรือเซลล์มะเร็ง แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังเต้านม และส่วนอื่น ๆ สามารถวินิจฉัยได้โดยการตัดชิ้นเนื้อ หรือเจาะดูดน้ำมาตรวจในห้องปฏิบัติการ

มะเร็งเต้านม ระยะที่ 1 ( มีโอกาสรอด 100 % )

เริ่มมีอาการลุกลามบ้าง แต่ที่เห็นได้ชัดคือก้อนมะเร็งบริเวณเต้านมจะใหญ่ขึ้น 1-2 เซนติเมตร แต่ยังไม่ได้แพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ เช่นเดียวกับระยะที่ 0   

มะเร็งเต้านม ระยะที่ 2 ( มีโอกาสรอด 81 – 92 % )

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 2A และ 2B มีความแตกต่างกันคือ

• มะเร็งเต้านมกรณี 2A จะไม่พบก้อนมะเร็งเนื่องจากมีขนาดเล็กมาก แต่เริ่มพบการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองขณะเดียวกัน หากพบก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ 5-6 เซนติเมตร จะไม่พบการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง

• มะเร็งเต้านมกรณี 2B พบก้อนมะเร็งมีขนาดมากกว่า 2 เซนติเมตร ที่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้บ้างส่วน ขณะเดียวกัน หากพบก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ 5-6 เซนติเมตร จะไม่พบการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งเต้านม ระยะที่ 3 ( มีโอกาสรอด 54 – 67 % )

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 3A และ 3B มีความแตกต่างกันคือ

• มะเร็งเต้านมกรณี 3A จะไม่พบก้อนมะเร็งเนื่องจากมีขนาดเล็กมาก แต่บางทีก็อาจจะพบก้อนเนื้อที่มีขนาดตั้งแต่ 2-5 เซนติเมตร มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้มากยิ่งขึ้นหรือลงลึกไปแล้ว

• มะเร็งเต้านมกรณี 3B พบก้อนมะเร็งทุกขนาดเริ่มทะลุออกมาทางผิวหนัง จากการตรวจสอบพบว่ามีการกระจายตัวไปยังต่อมน้ำเหลือง แต่ยังไม่กระจายตัวไปยังที่อื่น

มะเร็งเต้านม ระยะที่ 4 หรือ ระยะสุดท้าย ( มีโอกาสรอด 20 % )

เชื้อมะเร็งมีการแพร่กระจายอย่างรุนแรงและได้ไกล เช่น กระดูก ปอด ตับ สมอง เป็นต้น

การป้องกัน มะเร็งเต้านม

เพื่อป้องกันการป่วยด้วยมะเร็งเต้านม สามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ควรรีบแต่งงานและมีบุตรก่อนอายุ 30 ปี
  • เมื่อมีบุตร ควรให้นมบุตรมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
  • เมื่อมีบุตรจนพอใจแล้ว ควรทำหมันจะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์     
  • ไม่รับประทานอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะของทอด
  • หากต้องใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในช่วงวัยทอง ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
  • ห้ามเครียดจนเกินไป เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกเครียด ให้รีบหากิจกรรมคลายเครียดทำ
  • พยายามนอนหลับในที่มืดสนิท เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินออกมา จากการศึกษาของแพทย์พบว่า หากเมลาโทนินในร่างกายลดลง มีความเสี่ยงที่จะกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม
  • หากพบว่าในร่างกายมียีนกลายพันธุ์ BRCA1 หรือ BRCA2 ควรปรึกษาแพทย์ในการรับยาป้องกันโรคมะเร็งเต้านมเบื้องต้น
  • หมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำทุกเดือน
  • ในคนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหามะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี และเมื่ออายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
  • การดูแลเต้านมจะต้องให้ความใส่ใจในการรักษามากเป็นพิเศษ เพราะเต้านมเป็นอวัยวะที่สำคัญของผู้หญิงและเป็นส่วนที่ทำให้รูปร่างสรีระดูสวยงามยิ่งขึ้น ดังนั้นการรักษาจึงต้องเลือกวิธีที่จะทำให้เต้านมยังคงรูปสวยไว้มากที่สุด

โดยในปัจจุบัน กรณีที่ป่วยเป็น มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกนั้น แพทย์มักจะทำการผ่าตัดด้วยเทคนิคการศัลยกรรมตกแต่งและดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด   นอกจากผู้หญิง ผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้อีกด้วย แต่มีโอกาสพบน้อยมาก ดังนั้นในด้านการวินิจฉัย การสังเกตอาการและการรักษา จึงยึดเอาตามแบบมะเร็งเต้านมของผู้หญิงเป็นหลัก

การรักษา มะเร็งเต้านม

1. การผ่าตัด มะเร็งเต้านม จะต้องได้รับความเห็นชอบทั้งจากแพทย์และผู้ป่วยร่วมกัน และการผ่าตัดจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่มะเร็งมีขนาดใหญ่และเริ่มมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง ถ้ารุนแรงมากก็อาจจะต้องตัดเต้านมทิ้ง แต่เนื่องจากวิวัฒนาทางการแพทย์ดีขึ้น จึงทำให้เจอโรคมะเร็งเต้านมเร็วขึ้นกว่าเดิม ผู้ป่วยร้อยละ 60-75 สามารถผ่าตัดโดยการเลาะเอาชื้นเนื้อและพื้นที่รอบ ๆ ออกก็เพียงพอแล้ว

2. การฉายแสง มะเร็งเต้านม วิธีนี้จะใช้รักษาก็ต่อเมื่อเชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง เมื่อทำการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออกแล้ว แพทย์จะต้องตัดเอาต่อมน้ำเหลืองไปตรวจทางพยาธิวิทยาว่ามีการแพร่กระจายเชื้อมาถึงแล้วหรือไม่

3. การทำเคมีบำบัด มะเร็งเต้านม จะใช้การรักษาวิธีนี้ก็ต่อเมื่อเชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ไกล เช่น ปอด สมอง กระดูก เป็นต้น

4. การทำฮอร์โมนบำบัด มะเร็งเต้านม วิธีรักษาโดยฮอร์โมนบำบัด มักจะถูกนำมาใช้ร่วมกับการผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด ไม่นิยมนำมารักษาเป็นวิธีเดียว ยกเว้นแต่ผู้ป่วยจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีใดเลย แต่ถึงกระนั้นก็ใช้ได้เฉพาะกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีตัวรับฮอร์โมนเท่านั้น ซึ่งจะตรวจพบตัวรับนี้ได้จากชิ้นเนื้อมะเร็งเต้านมที่ถูกตัดออกไป ผู้ที่มีตัวรับฮอร์โมนมีแนวโน้มที่จะหายมากกว่าผู้ที่ไม่มี เนื่องจากเชื้อมะเร็งจะไม่ค่อยดื้อต่อการรักษา

5. การทำภูมิต้านทานบำบัด มะเร็งเต้านม วิธีนี้เป็นการใช้ภูมิต้านทานทั้งภายในและภายนอกมากำจัดเซลล์เต้านมอาจนำมาใช้ในกรณีที่มะเร็งมักใช้เมื่อมียีนกลายพันธุ์ในร่างกาย ทำให้การรักษาด้วยเคมีบำบัดและฮอร์โมนบำบัดไม่ได้ผล

ในกระบวนการรักษา ช่วงปีแรก ควรมาพบแพทย์ทุก 3 เดือนเพื่อติดตามผล เมื่อเข้าสู่ปีที่สอง ก็ค่อยทิ้งระยะห่างเป็น 4 เดือน และปีต่อ ๆ ไปให้มาพบแพทย์ทุก 6 เดือน เมื่อพ้นไปแล้ว 5 ปี ก็อาจจะให้เหลือแค่ปีละ 1 ครั้งก็ได้ โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายตามหลักปกติ และถ้าหากเกิดข้อสงสัยว่าจะมีมะเร็งกลับขึ้นมาใหม่ หรือเกิดขึ้นกับอีกข้าง ก็จะใช้วิธีตรวจแบบแมมโมแกรม หรือเอกซเรย์อวัยวะต่าง ๆ เหมือนเดิม   ขณะเดียวกัน แพทย์อาจจะทำการตรวจเรื่องโลหิตจาง ตรวจตับ รวมถึงตรวจเอนไซม์ของกระดูก ( Alkaline Phosphatase ) เพื่อดูว่ามีเชื้อมะเร็งแพร่กระจายมายังกระดูกบ้างหรือไม่ ในกรณีที่คุณได้รับฮอร์โมนบำบัดทาม็อกซิเฟน ( Tamoxifen ) แล้วพบว่ามีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด แพทย์ก็อาจจะต้องเก็บชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูกไปตรวจหามะเร็งต่อไป

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ขอบคุณคลิปความรู้จาก : หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ สุขภาพดี คุณมีได้

Cowell, Sakr, R.A., et al. (2013). Progression from ductal carcinoma in situ to invasive breast cancer: revisited. Molecular Oncology.