Home Blog Page 123

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder )

0
อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder )
อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder ) คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย อาจเกิดจากอาการของโรคเองหรือเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท
อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder )
อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder ) คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย อาจเกิดจากอาการของโรคเองหรือเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder )

ในชั่วชีวิตของคนเราการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เป็นไปอย่างปกติมาตลอดอาจจะมีบางช่วงเวลาที่พบได้ว่าเกิด อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder ) เกิดขึ้นได้ โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติเกิดขึ้นได้กับทุกคนและมีทั้งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและเกิดขึ้นในระยะยาว ซึ่งกรณีและสาเหตุการเกิดโรคการเคลื่อนไหวผิดปกติของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป เรามารู้จักโรคการเคลื่อนไหวผิดปกติให้ดียิ่งขึ้น เพื่อการป้องกันการเกิดโรคและการรักษาด้วยกัน

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ก็คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเป็นความผิดปกติที่ความเร็วในการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจเกิดจากอาการของโรคเองหรือเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทก็เป็นได้ ความผิดปกตินี้ส่งผลต่อจังหวะความเร็วในการเคลื่อนไหว ความคล่องตัวและความยืดหยุ่นขณะเคลื่อนไหว ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายผิดไปจากปกติ แพทย์จะวินิจฉัยได้ว่าคนไข้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติได้ก็จากการทำการซักประวัติของคนไข้และการตรวจร่างกายคนไข้อย่างละเอียด เมื่อแพทย์ได้มีการตรวจเบื้องต้นและวินิจฉัยว่าคนไข้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติ ขั้นตอนต่อมาแพทย์จะใช้วิธีการสังเกตและบันทึกลักษณะการเคลื่อนไหว การสังเกตและบันทึกข้อมูลไว้นั้นมีวิธีการที่ทำให้การบันทึกและวินิจฉัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและวินิจฉัยรักษาได้ดีที่สุดก็คือ การบันทึกและสังเกตการณ์จากการถ่ายภาพวีดีโอของคนไข้ในขณะเคลื่อนไหว โดยจะบันทึกหลายครั้งแล้วเปรียบเทียบความแตกต่างในการเคลื่อนไหวของคนไข้แต่ละครั้ง

ลักษณะการเคลื่อนไหวที่ควรสังเกตและจดบันทึก

1.สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวขณะนั้นได้หรือไม่ โดยทั่วไปแล้วเมื่อมี อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ คนไข้ก็มักจะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ และไม่สามารถตั้งใจทำให้การเคลื่อนไหวเกิดขึ้นและไม่สามารถบังคับให้การเคลื่อนไหวหยุดได้ตามต้องการ อาจจะสามารถควบคุมอาการได้ชั่วคราวในบางครั้งเท่านั้น

2.การเคลื่อนไหวนั้นเป็นการเคลื่อนไหวแบบที่น้อยหรือมากกว่าปกติที่เคยเป็น

3.ในการเคลื่อนไหวที่ผิดปกตินั้น ให้สังเกตตำแหน่ง การกระจาย ความสมมาตร รวมถึงรูปแบบ ความเร็วและความสม่ำเสมอของการเคลื่อนไหวว่าเป็นอย่างไร ยิ่งลงรายละเอียดมากเท่าไรก็ยิ่งดี

4.ประวัติโดยทั่วไปของการเคลื่อนไหวครั้งก่อน ๆ หน้าจะมีสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว เช่น ความผิดปกตินั้นเริ่มขึ้นในตอนไหน มีสิ่งใดเป็นปัจจัยเร่งเร้าหรือไม่ ระยะเวลาที่เกิดของความผิดปกตินั้นกินเวลานานเท่าไรในแต่ละครั้ง ความสัมพันธ์กับท่าทางสมเหตุสมผลหรือผิดไปจากธรรมชาติอย่างไร กิจกรรมและตำแหน่งของร่างกาย ความสัมพันธ์กับการนอนหลับ มีปัจจัยกระตุ้น และมีปัจจัยที่ช่วยทำให้อาการเป็นน้อยลงอย่างไร บันทึกข้อมูลประวัติของครอบครัวประกอบการวินิจฉัยด้วย

5.ลักษณะอื่นๆ ที่อาจมีผลสอดคล้องกับอาการป่วย อย่างเช่น พบโรคประจําตัวชนิดใดหรือไม่ ระดับสติปัญญาครบถ้วนสมบูรณ์ดีหรือไม่ และมีความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ ด้วยหรือไม่ ตลอดจนลักษณะความผิดปกติในทางกายภาพหรือร่างกายส่วนต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตเห็นได้

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ประเภทของการเคลื่อนไหวผิดปกติ

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1.การเคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติ

2.การเคลื่อนไหวที่น้อยกว่าปกติ

และยังพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากมีโอกาสที่จะมีความผิดปกติทั้ง 2 ลักษณะร่วมกันได้ด้วย

การเคลื่อนไหวมากผิดปกติ ( Hyperkinetic Movement )

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่นนี้จะเกิดขึ้นในลักษณะการเคลื่อนไหวที่มากเกินกว่าปกติและออกมาในรูปของการสั่น โดยที่กล้ามเนื้อจะเคลื่อนไหวในลักษณะสม่ำเสมอเป็นจังหวะ ส่วนความถี่ของการสั่นและบริเวณกว้างของพื้นที่การสั่นมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับท่าทางของผู้ป่วยและตำแหน่งการเคลื่อนไหวของอวัยวะแต่ละส่วนด้วย ลักษณะการสั่นแบบต่าง ๆ มีดังนี้

1.การเคลื่อนไหวในขณะที่อยู่นิ่งหรือพักอยู่ ( Resting Tremor )

อาการสั่นจะเกิดในขณะที่ร่างกายนิ่งอยู่ แต่เมื่อมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนอิริยาบถการสั่นจะลดลงหรือหยุดลง อาการสั่นเช่นนี้พบมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันและอาจพบในผู้ป่วยโรคอื่นด้วยหากอาการสั่นมีมากขึ้น

2.การสั่นในขณะที่ร่างกายส่วนนั้นเคลื่อนไหว ( Action Tremor )

เมื่อมีการเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายส่วนนั้นจะสั่นและอาการสั่นจะลดลงเมื่อหยุดการเคลื่อนไหว อาการสั่นในลักษณะนี้ยังแบ่งย่อยออกได้เป็น

2.1 อาการสั่นที่เกิดมากขึ้นเมื่อร่างกายส่วนนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต้านแรงโน้มถ่วงอยู่ ( Postural Tremor )

ตัวอย่างเช่น ในอาการสั่นของผู้ป่วยที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษ อาการอยากยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ และอาการสั่นจากโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

2.2 อาการสั่นที่เกิดมากขึ้นเมื่อร่างกายส่วนนั้นเคลื่อนไหว ( Simple Kinetic Tremor )

ผู้ป่วยจะสั่นเมื่อแสดงอิริยาบถต่าง ๆ เช่น การเขียนหนังสือ การยกแก้วน้ำ เป็นต้น

2.3 อาการสั่นที่เกิดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกายส่วนนั้นเข้าใกล้เป้าหมาย ( Intention Trem )

ส่วนใหญ่แล้วอาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะนี้ มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการทำงานของสมองส่วน Cerebellum

2.4 อาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ผู้ป่วยจะเกิดการสั่นต่อเมื่อเขียนหนังสือ เล่นดนตรี เล่นกีฬา เป็นต้น

2.5 อาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยที่ร่างกายไม่ได้มีการเคลื่อนไหวใด ๆ เช่น เมื่อยกมือ หรือดันกำแพงก็มีอาการสั่นเกิดขึ้น

3.อาการสั่นที่น้อยมากจนบางครั้งอาจไม่สามารถสังเกตเห็นจากการมองด้วยตาเปล่าธรรมดา

อาการสั่นน้อยเช่นนี้จะเพิ่มมากขึ้นจนสังเกตเห็นได้ก็ต่อเมื่อ มีปัจจัยไปกระตุ้นเร้า เช่น ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกตกใจ ตื่นเต้น หวาดกลัวหรือวิตกกังวล เป็นต้น อาการสั่นน้อยในลักษณะนี้มักพบได้กับผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์ ผู้ป่วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ขาดเหล้า หรือผู้ที่รับยาตัวที่เข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น คาเฟอีนและยาบ้า เป็นต้น

4.อาการสั่นที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Essential tremor )

เป็นอาการสั่นที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ เป็นได้กับผู้ป่วยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป แต่จะพบมากในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะเรียกอาการนี้ว่า Senile tremor อาการที่เกิดขึ้นมักเป็นการสั่นที่มือทั้งสองข้างพร้อมกัน มีความถี่การสั่นวัดได้ 8-12 เฮิร์ต และยังมีอาการริมฝีปากสั่น เสียงสั่น และสั่นทั้งศีรษะร่วมด้วย อาการสั่นเหล่านี้พบว่าจะลดลงเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าอาการโรคเพิ่มมากขึ้น การสั่นก็เพิ่มขึ้น ถ้าอาการสั่นเป็นมากจะมีอาการสั่นในตอนพักด้วย คล้ายกับอาการโรคพากินสัน อาการสั่นลักษณะนี้พบว่า 50% ของผู้ป่วยมาจากกรรมพันธุ์

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

5.อาการสั่นที่พบในผู้ป่วยพากินสันโดยตรง ( Parkinsonian Tremor )

จะเป็นอาการสั่นในขณะพัก เริ่มด้วยการสั่นข้างใดข้างหนึ่งของแขนและมือ เริ่มจากหัวแม่มือ แขน ขา และกรามร่วมด้วย สังเกตได้ชัดเมื่อผู้ป่วยกางแขนยกเหยียดออกจะมีอาการสั่นชัด เรียกว่า re-emergent

6. อาการสั่นที่บริเวณต้นขาทั้งสองข้าง ( Orthostatic tremor )

เป็นอาการที่พบได้น้อยมาก เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยยืนขึ้น ยืนเป็นเวลานาน และอาการสั่นจะลดลงเมื่อเดินหรือนั่ง

7.อาการสั่นในลักษณะไม่ถี่ ( Cerbella Tremor )

เกิดจากการทำงานของสมองส่วน Cerebellar pathway ถูกรบกวน

8. สั่นในลักษณะช้า ๆ ( Holmes Tremor )

เป็นอาการสั่นที่พบได้ทั้งในช่วงเคลื่อนไหวและช่วงพัก สังเกตเห็นได้ชัดเจนบริเวณต้นแขนดูแล้วคล้ายนกกระพือปีก พบมากในผู้ป่วยโรค Wilson’s disease และผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในส่วน red nucleu

9.การสั่นจากผลข้างเคียงในการใช้ยา ( Drug-induced tremor )

ผู้ป่วยสั่นเพราะได้รับยา เช่น Sodium Valproate , Lithium , Beta-adrenergicagonists

ตัวอย่างการเคลื่อนไหวผิดปกติที่พบได้บ่อย

1. Chorea

แปลว่าการเต้ารำ เป็นภาษากรีก ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายในแบบไม่สม่ำเสมอเหมือนการเต้นรำที่เคลื่อนไหวร่างกายไปแบบไม่มีแบบแผนที่แน่นอน พบมากในส่วนปลายแขนปลายขา แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย เช่น ลำตัว คอ ปาก ลิ้น ใบหน้า ผู้ป่วยไม่สามารถเกร็งกล้ามเนื้อท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ ได้ ( Motor impersistence )

2. Athetosis

Athetosis นั้นมีการเคลื่อนไหวคล้าย Chorea ต่างกันที่มักพบที่ส่วนปลายของร่างกาย แต่อาการจะช้ากว่าทำให้สังเกตเห็นการบิดเบี้ยวได้ชัดเจน และมักพบทั้งสองอาการนี้ร่วมกัน เช่น บริเวณปลายนิ้วเท้า นิ้วมือ เรียกอาการรวมนี้ว่า Choreoathetosis สาเหตุอาการเกิดจากความผิดปกติของ Indirect pathway ผู้ป่วยจึงควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ และมีความผิดปกติในด้านการรับความรู้สึกประเภท proprioception ในบริเวณปลายแขนขาทำให้เคลื่อนไหวผิดปกติ เรียกว่า pseudoathetosis

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3. balism

การเคลื่อนไหวผิดปกติลักษณะนี้คล้องกับ Chorea แต่ความรุนแรงและความกว้างมีมากว่าเพราะพบในบริเวณต้นแขนต้นขา ทำให้มีอาการเหวี่ยงพบได้ร่วมกับ Chorea อาการปรากฏชัดขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวและจะไม่สงบหรือหายไปเมื่อหลับ Balism ที่พบข้างใดข้างหนึ่งของร่างกายเรียกว่า Hemibalism สาเหตุของอาการนี้เกิดจากผิดปกติของสมองส่วนSubthalamic Nucleus ด้านตรงกันข้ามแต่ก็พบได้ในส่วนอื่นๆ ของBasal Ganglia ด้วยเช่นกัน และพบในผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในแบบ Nonketotic Hyperglycemia

4. Dystomia

อาการเกิดจากกล้ามเนื้อหดเกร็งอาจตลอดเวลาหรือหดเกร็ง พัก ๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวดังกล่าวซ้ำ ๆ อวัยวะส่วนนั้นจึงผิดรูปหรือบิดไป แล้วบางครั้งก็มีอาการสั่นเกิดร่วมด้วยเรียกว่า Dystonic Tremor ภาวะนี้เกิดได้ทั้งในขณะที่เคลื่อนไหวและพัก ถ้าผู้ป่วยมีภาวะนี้ขณะเคลื่อนไหวทำกิจกรรมจะเรียกว่าอากร Task-Specific dystonia เป็นลักษณะเฉพาะ sensory trick อย่างเช่น ขณะเล่นดนตรีหรือเขียนหนังสือ มักพบว่าอาการหายไปเมื่อนอนหลับ ในบางครั้งอาการจะดีขึ้นด้วยการกระตุ้นสมองบริเวณใดบริเวณหนึ่ง

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder ) คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย อาจเกิดจากอาการของโรคเองหรือความผิดปกติของระบบประสาท

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติจำแนกตามสาเหตุได้ ดังนี้

1.ภาวะ Dystonia ที่มีสาเหตุความผิดปกติทางพันธุกรรม ( Primary Dystonia )

โดยผู้ป่วยจะมีอาการของ Dystonia เป็นหลักและอาจพบความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย

2.ภาวะ Dystonia ที่เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ ( Secondary Dystonia )

เช่น จากยาและสารพิษ จากโรคหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อเนื้องอก เกิดจากสมองมีการบาดเจ็บแรกคลอด เป็นต้น

จำแนกตามตำแหน่งของร่างกายที่มีอาการ

1.อาการ Dystonia ที่เกิดขึ้นเฉพาะตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อรอบดวงตาเกร็งและหด กล้ามเนื้อคอบิดเกร็ง ข้อมือบิดเกร็งจากการเขียนหนังสือ เป็นต้น

2.มีอาการภาวะ Dystonia ในตำแหน่งของร่างกายที่อยู่ติดกัน ( Sesmental Dystonia )

เช่น เกิดภาวะตรงใบหน้ากับรอบดวงตา เกิดที่ปากและคอ ตรงนี้ถูกเรียกว่า Cranial Dystonia หรือ Meigs’s syndrome

3.ภาวะ Dystonia เกิดกับร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง ( Hemidy stonia dystonia )

4.ภาวะ Dystonia ที่เกิดกับสองส่วนในร่างกายขึ้นไป โดยที่สองส่วนนั้นไม่ติดกัน

5.ภาวะ Dystonia ที่เกิดขึ้นทั่วตัวหรือเกิดที่ลำตัวและส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างน้อยสองส่วนขึ้นไป ( Generalized Dystonia )

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

5. Myoclonus

เป็นอาการที่ร่างกายจะเคลื่อนไหวกระตุกเป็นพัก ๆ ไม่สม่ำเสมอไม่สามารถจะควบคุมได้ สาเหตุจากการที่กล้ามเนื้อหดตัวไม่เป็นจังหวะ ช่วงหดตัวของกล้ามเนื้อเรียกว่า Positive Myociocnus และช่วงที่หยุดการหดตัวคือ Negative Myocionus

ร่างกายจะกระตุกในส่วนต่างๆ อาจจะทั่วทั้งร่างกายหรือส่วนต่างๆบางส่วน เป็นได้ทั้งแบบที่เกิดขึ้นเองและถูกกระตุ้นจากสิ่งอื่น เช่น การกระตุกขณะหลับ การสะอึก Myocionus สามารถจำแนกได้ตามตำแหน่งที่เป็นสาเหตุของการกระตุก ดังนี้

1.ความผิดปกติของสมอง ที่เรียกว่า Coryay สัมพันธ์กับโรคลมชัก เช่น กลุ่มของอาการ Progressive Myoclonus’juvenile myocloonus epilepsy และยังมีสาเหตุอื่นเช่น ภาวะสมองขาดอากาศ ( Lance-adams syndrome ) ภาวะตับหรือไตวายเรื้อรัง ภาวะ Metabolicencepha lopathy จากสารพิษและยา การกระตุ้นจะพบมากที่ใบหน้าแขนและขา

2.สาเหตุจากความผิดปกติของไขสันหลัง ( spinal Myocionus ) ก้อนเนื้องอกจากการบาดเจ็บ การอักเสบ Syrigomyelia ร่างกายกระตุกเป็นส่วนนอนหลับก็ไม่หาย

3.สาเหตุจากระบบประสาทส่วนปลายผิดปกติ ( Peripheral Myocionus ) และมักถูกกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหวอวัยวะที่กระตุก เช่น ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก เป็นต้น ยังจำแนกตามสาเหตุได้อีกดังนี้

  • Myocioonusในคนปกติ ( Physiological Myocionus ) เช่น กระตุกขณะหลับ สะอึกเป็นต้น
  • Myoclonus ที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ( Essential Myocionus ) เป็นอาการที่ไม่พบสาเหตุหรือมีเหตุจากกรรมพมธุ์ เช่น Hereeditary essential myocionus
  • เกิด Myoclonus จาการชักเรื้อรัง ( Epileptic Myocionus ) เช่น Progresiive Myoclonic epilepsies (PME ), Juvenile Myoclonic epilepsy ( JME )
  • เกิดจากเหตุชัดเจนที่ทราบได้ เช่น จากโรคทางระบบประสาท หรือ นอก ระบบประสาท เช่น การใช้ยาภาวะ Hypxic encephthy, metab lic, ceutzfeldt jakob disease ( CJD )

[adinserter name=”oralimpact”]

6. Dyskinesia

คือ อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder ) ที่มีอาการซับซ้อน เป็นการเคลื่อนไหวผิดปกติหลายชนิดรวมกัน ซึ่งเกิดจากผลข้างเคียงการรักษา และที่พบบ่อยมีรายละเอียดดังนี้

  • เป็นการเคลื่อนไหวผิดปกติ เกิดหลังจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งทำงานของ D2 Receptor เช่น ยา Neuroleptic ใช้เป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อยสามเดือน ซึ่งหาสาเหตุชัดเจนอื่นไม่ได้ มีการเคลื่อนไหวในลักษณะ Chorea และ Dystonis ในบริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้นและปาก จังหวะการเคลื่อนจะซ้ำไปซ้ำมา เหมือนกำลังบดเคี้ยวอาหาร แม้จะหยุดยานานแล้วอาการก็ยังเป็นอยู่
  • การเคลื่อนผิดปกติจากการรักษาด้วยยา Levodopar พบได้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน การเคลื่อนไหวส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะ Chorea บริเวณคอ ลำตัว ใบหน้าแขนขา ผู้ป่วยจะดูมีอาการอยู่ไม่นิ่ง ยิ่งยามีระดับสูงขึ้นก็พบมากขึ้น การลดปริมาณยาลงจะช่วยลดอาการได้บ้าง

การเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ ( Hypokinetic Movement )

1. Parkinsonsonism

เป็นอาการรวมของกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวช้า จะมีอาการของกล้ามเนื้อเกร็งแข็ง ทรงตัวลำบาก ถ้าทั้งเคลื่อนไหวช้าและมีอาการอื่นร่วมด้วยก็สามารถวินิจฉัยได้ว่ามีภาวะ Parkinsonsonism โดยเกิดจากโรคพาร์กินสัน 80%

2. Bradykinesia

กลุ่มอาการนี้จะมีลักษณะสำคัญคือความกว้างในการเคลื่อนไหวลดลงหรือหยุดนิ่ง อาจเป็นการแสดงสีหน้าอารมณ์ที่ลดน้อยลง เขียนหนังสือเล็กลงเรื่อยๆ พูดเบาลงเรื่อยๆ น้ำเสียงราบเรียบลง กะพริบตาช้าลงเรื่อยๆ กลัดกระดุมได้ยากขึ้น หยิบจับของยากขึ้น เดินช้าลง ก้าวขายากลำบาก แกว่งแขนช้า เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นอาการกลุ่ม Parkinsonism ที่สำคัญที่สุด

3. Rigidity

เป็นอาการที่เกร็งกล้ามเนื้อขณะเคลื่อนไหว เมื่อกล้ามเนื้อหดขยายโดยไม่เกี่ยวกับความเร็ว มีลักษณะสม่ำเสมอเท่ากันตลอด จะพบลักษณะแข็งเกร็งเป็นช่วงเหมือนล้อเกวียนเมื่อเคลื่อนไหวแบบ Positive movement เรียกว่า Cogeheel rigidity เกิดได้ทั้งที่บริเวณแขน ลำตัว และขา ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวลำบาก ก้าวเดินช้า เดินไม่ออก พลิกตัวขณะนอนลำบาก หยิบสิ่งของลำบาก ต่างจากอาการเกร็งในแบบ Spasticity พบได้ในโรคสมองส่วน Pyramidal tract มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับความเร็วในการเคลื่อนไหว

4. Postural instability

เป็นปัญหาในการทรงตัวลำบากที่พบได้ในผู้ป่วย Pakinsonism มีวิธีที่เรียกว่า Pull test คือ ให้ใช้มือสองข้างดึงผู้ป่วยให้ถอยหลังมีคนพยุงอยู่ข้างหลัง ผู้ป่วยที่มีปัญหานี้จะถอยหลังเซหลายก้าวก่อนที่จะทรงตัวได้ หรือบางรายอาจหกล้มไม่สามารถทรงตัวได้เลย ซึ่งอาการนี้ในผู้ป่วยพาร์กินสันเป็นอาการที่จะตามมาจากอาการอื่น ๆ ในช่วง ปีที่ 3-5 แต่ถ้ามีอาการในระยะแรกมักมาจากสาเหตุอื่น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ธนกร ลักาณ์สมยา และคณะ : อาการทางอายุรศาสตร์ Medical ymptomatology ฉบับปรับปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Kurlan R. clinical practice, Tourette’s syndrome. NEJM 2010, 363 : 2332-2338.

อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร

0
อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ( Gastrointestinal Bleeding )
อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ( GASTROINTESTINAL BLEEDING ) เกิดจากความเครียด อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การขับถ่ายที่ไม่เป็นเวลา หรือเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง
อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ( Gastrointestinal Bleeding )
อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ( GASTROINTESTINAL BLEEDING ) เกิดจากความเครียด อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การขับถ่ายที่ไม่เป็นเวลา หรือเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง

อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ( Gastrointestinal Bleeding )

อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ( Gastrointestinal Bleeding ) เป็นภาวะอาการของโรคที่พบบ่อย มีต้นตอและร่องรอยของอาการมาจากหลายสาเหตุ เช่น จากความเครียด จากอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การขับถ่ายที่ไม่เป็นเวลา ที่สำคัญอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงได้

อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร คือ

Ligament of Treiz คือ ภาวะที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนนบ โดยใช้กายวิภาค

Obscure Overt Gastrointestinal Bleeding คือ การแสดงอาการว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหาร เช่น การถ่ายดำ การถ่ายเป็นเลือดสด ๆ แต่เมื่อมีการส่องกล้องทางกระเพาะและทางลำไส้ใหญ่แล้วไม่พบร่องรอยของโรค

Obscure Occult Gastrointestinal Bleeding คือ การที่ผู้ป่วยมาพบนายแพทย์เนื่องจากตรวจพบว่ามี stool occult blood หรือภาวการณ์มีโลหิตจางแบบขาดธาตุเหล็ก

จากผลของการวิจัยได้พบว่า อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร จะมีอาการที่รุนแรงและแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เลือดออกว่าจะอยู่ส่วนใดของลำไส้ หรือช่องท้อง ไว้ดังนี้

อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วนต้น อาจมีอาการเริ่มต้นด้วยการอาเจียนเป็นเลือด หรือเป็นสีน้ำกาแฟใส่นม สำหรับกลุ่มที่มีการอาเจียนเป็นเลือด สาเหตุสำคัญที่มักพบได้บ่อยมักเกิดจากการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ส่วนสาเหตุรองเกิดจากเป็นแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น โดยเฉพาะอาจพบว่าหลอดอาหารมีความผิดปกติ เช่น มีเส้นเลือดดำที่หลอดอาหารโป่งพอง หรือปริแตกออก จึงเป็นสาเหตุของอาการเลือดออกได้ ส่วนอาการอื่น ๆ ที่อาจพบและบ่งบอกว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น เช่น การถ่ายเป็นสีดำ มีลักษณะเหลวคล้ายกับยางมะตอย มีกลิ่นเหม็นมาก เป็นต้น

อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วนล่าง มีอาการเริ่มต้นจากการถ่ายเป็นเลือดสด ๆ หรืออาจไม่มีอาการที่ชัดเจนมากนัก แต่มาพบแพทย์ด้วยอาการอื่น เช่น มีอาการที่อ่อนเพลีย คล้ายกับหน้ามืด หรือเป็นลมเป็นลม และเหนื่อยง่าย เป็นต้น ทางเดินอาหารส่วนล่างก็คือส่วนที่เป็นตอนปลายของลำไส้ใหญ่ มักจะเกิดกับกลุ่มคนที่มีอายุมาก สาเหตุส่วนใหญ่อาจมาจากภาวะของถุงลำไส้โป่งพอง ซึ่งทำให้เกิดเลือดออกได้ง่าย และสิ่งที่เป็นอันตรายมากคืออาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

สาเหตุหลักของการมีเลือดออกในทางเดินอาหาร

การเกิด อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วนบนและล่างอาจมีสาเหตุมาจาก มะเร็งลำไส้ใหญ่  ( diverticultitis colon cancer ) หรือ เกี่ยวกับถุงลมอัมพาต ( diverticultitis polyps ), อาการที่ลำไส้ใหญ่บวม ( colitis ), โรคเลือกคั่งในช่องท้อง ( ischemic colitis ), ติดเชื้อ IBO, และ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบที่ไม่ติดเชื้อ ( non-infectious colitis, angioectasia, postpolypectomy ), เกิดจากแผลพุพอง ( rectal ulcer ), รีดสีดวงทวาร ( hemorrhoids ), เกิดจากแหล่งที่ไม่ระบุรายละเอียด ( unspecified anorectal source ), เกิดจากการฉายแสง หรือรัศมี ( radiation colitis ) และอื่น ๆ
ส่วนสาเหตุของการปิดบังการไหลเวียนของเลือดในทางเดินอาหาร ( obscure overt gastrointestinal bleeding ) ได้แก่

1. ระบบทางเดินอาหารส่วนบน ( Upper gastrointestinal tract ) ซึ่งอาจเกิดจากการเกิดบาดแผลของคาเมรอน ( Cameron’s lesions ), บาดแผลของ dieulafoy ( Dieulafoy’s lesions ), กระเพาะอาหาร antral และหลอดเลือด ectasia ( gastric antral vascular ectasia )

2. ลำไส้เล็ก ( small intestina ) อาจเกิดได้จาก angioectasias, หลอดเลือดบริเวณช่องทวาร ( aortoenteric fistula ), บาดแผลของ dieutifoy’s ( dieutlfoy’s lesion ), diverticulosis, Meckel’s diverticulum, เนื้องอก ( neoplasm ), โรคตับอ่อนหรือทางเดินน้ำดี ( pancreatic or biliary disease ), แผลในกระเพาะอาหาร ( ulceration )

3. ลำไส้ใหญ่ ( Cooon ) อาจเกิดจาก angioectasias, diverticulosis, รีดสีดวงทวาร ( hemorrhoids ), และ varices

สาเหตุที่ไม่แน่ชัดของเลือดออกในทางเดินอาหาร ( obscure occult gastrointestinal bleeding ) ได้แก่

1. ภาวะอุจจาระบวกเลือดเข้าโดยปราศจากภาวะโลหิตจางที่ขาดธาตุเหล็ก ( positive stoolovvult blood without iron deficiency anemia ) อาจแบ่งได้เป็นบริเวณทางเดินอาหารส่วนบน ( upper GI tract ) ซึ่งอาจเกิดได้จาก esophagitis, โรคกระเพาะอาหาร ( gastritis ), แผล ( ulcers ) และที่บริเวณปลายลำไส้ใหญ่ ( colon ) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุใหญ่ของโรคมะเร็ง ( large ad enom cancer ) ได้

2. ภาวะโลหิตจางเนื่องจากการขาดธาตุเหล็ก ( iron deficiency anemia ) ซึ่งอาจเกิดได้จากภาวะของโรคมะเร็ง ( GL malignancues ), การติดเชื้อ H. pylori infection, โรค Celiac disease, การผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร

การซักประวัติผู้ป่วย อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร

1. ตรวจซักอาการของเลือดออกด้วยลักษณะต่าง ๆ

2. ตรวจหาปัจจัยการเกิดแผลในการเพาะอาหารทั้งหมด ทั้งด้านพฤติกรรม การใช้ยา และกิจกรรมสุ่มเสี่ยงต่างๆ

3. ตรวจวัดความถี่ของการอาเจียนก่อนที่จะอาเจียนออกมาเป็นเลือดสด ๆ อาจบอกถึงอาการของอวัยวะฉีกขาดภายใน ซึ่งต้องเข้าสู่การตรวจอย่างละเอียดต่อไป

4. ตรวจสอบว่าเคยมีประวัติผ่าตัดเส้นเลือดใหญ่บริเวณช่องท้องมาก่อนหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้

5. ตรวจสอบประวัติเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบ หรือโรคตับเรื้อรัง

6. ตรวจสอบประวัติการเกิดภาวะรังไข่อักเสบ ( radintion enteritis หรือ proctocolitis ) การเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือการได้รับรังสีเพื่อการรักษาบริเวณช่องท้อง

7. ตรวจสอบประวัติอาการปวดท้องที่เคยเป็น ตลอดจนการเจ็บช่องอกต่างๆ

การตรวจและวินิจฉัยอาการ

1. ให้พิจารณาจากประวัติโดยรวมของผู้ป่วย และรายละเอียดเชื่อมโยงที่คาดว่าเกี่ยวข้องทั้งหมด

2. ตรวจอุจจาระ ให้ทำในกรณีเลือดออกเวลาขับถ่าย หรือสงสัยว่าอาจมีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนล่าง อาจต้องตรวจอุจจาระเพื่อดูว่ามีเลือดออกในลำไส้จริงหรือไม่ การตรวจอุจจาระส่วนใหญ่จะให้ตรวจในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพื่อหาความเสี่ยงของโรคมะเร็วลำไส้ใหญ่

3. การส่องกล้องดูทางเดินอาหาร ในกรณีมี อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วนบน จะส่องกล้องผ่านเข้าทางปาก ซึ่งสามารถตรวจสอบได้หลายอวัยวะ ตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น หากพบว่ามีเลือดออกทางเดินอาหารส่วนล่าง จะต้องส่องกล้องเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจสอบลำไส้ใหญ่ เพื่อดูว่ามีร่อยรอยของโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เลือดออกหรือไม่ ถ้ามีจะอยู่ที่ใด และสามารถรักษาได้ทันทีหรือไม่

4. การตรวจลักษณะของอุจจาระที่ขับถ่ายตามปกติ อีกวิธีหนึ่งในการตรวจเพื่อช่วยให้รู้เท่าทันได้ว่า มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินอาหารหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง นั่นก็คือการสังเกตสีของอุจจาระ ซึ่งจะบอกถึงสุขภาพของผู้เป็นเจ้าของได้เป็นอย่างดี เช่น สีเหลืองอมเขียว ซึ่งเป็นสีของกากอาหารและน้ำดี ผู้ที่มีสุขภาพปกติส่วนใหญ่จะมีอุจจาระเป็นสีนี้ แต่สีของอุจจาระก็จะสามารถเปลี่ยนไปได้ตามอาหารที่เรากินเข้าไป เช่น ถ้ากินอาหารที่มีสีดำ เช่น น้ำอัดลมที่มีสีดำ หรือเนื้อสัตว์ เลือดสัตว์ที่ผสมอยู่ในเนื้อ ก็มักจะส่งผลให้อุจจาระมีสีคล้ำขึ้น หรือค่อนข้างเป็นสีดำได้เช่นกัน

อุจจาระเป็นสีเขียวกว่าปกติ : อาจสันนิษฐานไว้ก่อนได้ว่าอาจมีอาการท้องเสีย ทำให้ลำไส้ต้องบีบตัวมากกว่าธรรมดา และทำให้อาหารที่กินเข้าไปไหลลงสู่ลำไส้ใหญ่เร็วขึ้น ทำให้ร่างกายผลิตน้ำดีไม่ทัน เนื่องจากอาหารเหล่านั้นไหลได้เร็วกว่าน้ำดี ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ เช่น อาหารประเภทไฟเบอร์ หรือเส้นใย ที่เป็นอาหารย่อยง่ายและไหลผ่านลำไส้ได้อย่างรวดเร็วโดยอาจไม่ผ่านการย่อยจากน้ำดี จึงทำให้อุจจาระมีสีเขียวกว่าปกติก็ได้

อุจจาระมีสีดำ : ลักษณะเหลว มีส่วนคล้ายยางมะตอย มีกลิ่นคาวมาก อาจสันนิษฐานไว้ก่อนได้ว่าจะมีแผลในกระเพาะอาหารส่วนต้น ซึ่งอาจพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก และมีอาการเลือดออกที่กระเพาะอาหาร หรือรวมถึงผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารก็มีโอกาสถ่ายออกมาเป็นลักษณะนี้ได้เช่นกัน สีดำของอุจจาระเช่นนี้มักเกิดจากอาการเลือดออกและถูกร่างกายย่อยก่อนที่จะถ่ายออกมาเป็นอุจจาระจึงทำให้อุจจาระมีสีดำได้

อุจจาระเป็นสีดำแดง : อาจสันนิษฐานได้ว่าอาจมีบาดแผล หรือมี อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วนล่าง ทำให้เลือดยังไม่ถูกย่อย จึงทำให้มีสีแดงของเลือดปนออกมาให้อุจจาระ

อุจาจาระเป็นสีซีด : อาจเกิดจากภาวการณ์อุดตันของท่อน้ำดี ซึ่งมักพบมากในผู้ที่เป็นมะเร็งบริเวณตับอ่อน หรือมะเร็วที่ท่อน้ำดี สีของอุจจาระที่ว่าซีด ต้องสังเกตว่าซีดคล้ายสีของเผือก คือต้องซีดอย่างมาก

อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ( Gastrointestinal Bleeding ) เกิดจากความเครียด อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การขับถ่ายที่ไม่เป็นเวลา หรือเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง

กระบวนการรักษา

หากพบร่องรอยของโรคมีแนวโน้มว่าจะทำให้เลือดออกได้อีก และสามารถให้การรักษาทันทีจากการส่องกล้อง ซึ่งมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับรอยของโรคที่เป็น ถ้าเป็นแผลและมีลักษณะที่เป็นเส้นเลือด อาจทำการรักษาด้วยการฉีดยา ใช้ความร้อนจี้ หรืออาจใช้คลิปหนีบบริเวณที่อาจมีเลือดออกไว้ จะอย่างไรก็ตามโอกาสส่องกล้องอาจไม่สำเร็จก็มีบ้าง แต่เป็นไปได้น้อยเพียงร้อยละ 10 แต่ก็ยังมีทางเลือกอื่น ๆ ที่ปลอดภัยให้เลือกอีก คือ ใช้วิธีเอกซเรย์เพื่อดูตำแหน่ง เพื่อจะได้เข้าไปทำการอุดรอยที่ทำให้เลือดออกให้หยุดได้ ส่วนเรื่องการผ่าตัดแพทย์จะทำการพิจารณาให้เป็นขั้นตอนสุดท้าย หรือจากกรณีที่ให้การรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล และโรคที่เป็นอาจรุนแรงมาก

จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้มีเลือดออกในลำไส้

1. ห้ามซื้อยาแก้ปวดมากินเองเมื่อมีอาการ ปวด เช่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เนื่องจากอาจส่งผลไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารได้

2. สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ขอแนะนำให้ทำการส่องกล้องเพื่อหามะเร็งลำไส้ใหญ่เสียแต่เนิ่น ๆ ทุกปี

3. ควรดื่มน้ำสะอาดไห้ได้วันละ 1-1.5 ลิตร จะช่วยไม่ให้ท้องผูก และถ่ายอุจจาระได้ง่าย หากไม่สามารถดื่มน้ำได้เพียงพอ ร่างกายจะดึงน้ำจากอุจจาระกลับคืน ทำให้อุจจาระแข็งถ่ายลำบาก

4. เลือกทานอาหารที่มีกากใย หรืออาหารประเภทเส้นใย และฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกเช้า ควรทานอาหารเช้าหรืออาหารรองท้องเล็กน้อยก่อนที่จะเข้าห้องน้ำเพื่อการถ่ายสักประมาณ 5-10 นาที ซึ่งจะทำให้การถ่ายได้ง่ายขึ้น เพราะทำให้การบีบตัวของลำไส้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ช่วยให้การขับถ่ายง่ายและเป็นปกติดี

รูปแบบการตรวจร่างกายแบบเฉพาะเจาะจง

1. การตรวจสัญญาณชีพ ต้องทำการประเมินว่ามีการสูญเสียเลือดในร่างกายเป็นจำนวนเท่าใด จากการวัดสัญญาณชีพด้วยการตรวจชีพจรที่เต้นเร็ว และอาจตามมาด้วยอาการความดันต่ำ

2. การตรวจพบอาการซีดจนเป็นสีเหลืองอ่อน ( pale conj unctiva ) ที่บอกถึงภาวะซีดจากอาการไอกรน ( icteric sclera ) ซึ่งบอกถึงภาวะความเหลืองของร่างกาย โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคตับ อาจเกี่ยวเนื่องกับการเกิดภาวะเลือดออก ( variceal bleeding )

3. ตรวจในช่องท้องโดยเฉพาะรอยแผลเป็นที่เคยผ่าตัดมาก่อน อาจมีตำแหน่งที่กดแล้วเจ็บ ตรวจตับ ม้ามโต น้ำในช่องท้อง และก้อนในช่องท้องว่าผิดปกติหรือไม่

4. ตรวจอาการของโรคตับเรื้อรัง ( Stigmata of chronic liver disease ), โรคตาแดง ( palmar erythema ), ต่อม parotid ขยาย ( parotid gland enlargement ), การทำสัญญาของ Dupuytren ( Dupuytren’s contracture )

5. การตรวจพบลักษณะของภาวะความดันโลหิตสูง ( portal hypertension ), ได้แก่ น้ำในช่องท้อง ( ascites ), และมีอาการขาบวม

6. การตรวจเพื่อดูกรรมพันธุ์ของการตกเลือด ( hereditary hem orrhagic telangiectasia ), ตรวจผิวหนัง ริมฝีปาก และบริเวณกระพุงแก้ม เพื่อดู telangiectasia

7. การตรวจพบผิวหนังที่มีปื้นดำ หรือที่เรียกว่า acanthosis nigricans ที่มักพบได้บ่อยในมะเร็งกระเพาะอาหาร

8. การตรวจทางทวารหนักเพื่อดูสีชองอุจจาระ และบริเวณชั้นของทวารหนัก ( rectal mass หรือ rectal shelf )

9. การใส่สายเพื่อการสวนทางจมูก เป็นการประเมินเลือดที่ออกในกระเพาะอาหารว่าเป็นสีอะไร แดงสด หรือน้ำตาล หรืออาจตรวจไม่พบรอยเลือดออก นอกจากนี้ยังเป็นการระบายสิ่งที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร เพื่อเตรียมตรวจการส่องกล้องทางเดินอาหารต่อไป

อาการที่แสดงออกของภาวะแผลในทางเดินอาหาร

มีคนจำนวนมากที่ไม่แสดงอาการของการมีแผลในกระเพาะอาหาร แต่จะอย่างไรก็ดีอาการแสดงที่พบได้บ่อย ได้แก่ อาการปวดท้องส่วนบน โดยอาการปวดนี้จะจะร้าวบริเวณสะดือขึ้นมาถึงใต้ลิ้นปี่และอาการจะปวดเพิ่มขึ้นเมื่อท้องว่าง แต่กลับมีอาการดีขึ้นเมื่อได้ทานอาหารบางชนิด หรือการทานยาเคลือบกระเพาะ หรือยาลดกรด อาการจะเป็นมากขึ้นในเวลากลางคืนอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ นานเป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ นอกจากนี้อาจมีอาการอื่น ๆ ที่แสดงร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาจถึงขั้นอาเจียนเป็นเลือด โดยเลือดเป็นสีแดงคล้ำ แน่นท้องหรือมีอาการท้องอืด ถ่ายเป็นเลือด มีสีดำ หรือเป็นยางมะตอย น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

เป็นลักษณะของแผลที่อาจทำให้เกิดเลือดออกอย่างช้า ๆ หรือเร็วมากจนทำให้เกิดอาการช็อกที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่ทันได้สังเกต อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ( Gastrointestinal Bleeding ) ที่เกิดขึ้นจนกระทั่งร่างกายเกิดอาหารซีด ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก และนำไปสู่การขาดเม็ดเลือดแดง โดยภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อมีอาการเสียเลือดครั้งละน้อย และเป็นระยะเวลานาน เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีภาวะซีด ซึ่งอาจทำให้เกิดความอ่อนเพลีย หายใจลำบาก และมีสีผิดที่ซีดลงอย่างมาก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ธนกร ลักาณ์สมยา และคณะ : อาการทางอายุรศาสตร์ Medical ymptomatology ฉบับปรับปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Strate LL, Ayanian JZ, Kotler G, Syngal S. Risk factors for mortality in lower intestinal bleeding. Clin Gastroenterol Hepatol 2008.

อาการปวดท้อง ( Abdominal Pain )

0
อาการปวดท้อง ( Abdominal Pain )
อาการปวดท้อง เป็นความเจ็บปวดในระดับที่แตกต่างกัน สาเหตุที่ความเจ็บปวดของอาการปวดท้องแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และประสบการณ์ในการที่เคยเจ็บป่วย
อาการปวดท้อง ( Abdominal Pain )
อาการปวดท้อง ( Abdominal Pain ) มีสาเหตุที่ความเจ็บปวดของอาการปวดท้องแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และประสบการณ์ในการที่เคยเจ็บป่วย

อาการปวดท้อง ( Abdominal Pain )

อาการปวดท้อง ( Abdominal Pain ) เป็นอาการที่ดูเหมือนไม่ค่อยรุนแรงมากนัก แต่มักจะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวและอึดอัดสำหรับผู้ป่วยได้เสมอ ระดับความรุนแรง รวมไปถึงระยะเวลาของอาการปวดนั้น มักจะขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดกับพยาธิสภาพของอวัยวะในช่องท้อง ซึ่งสิ่งที่จะทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้นั้น มักจะขึ้นอยู่กับว่า มีอะไรมากระตุ้นให้อาการร้ายแรง และเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น สมองของเราก็จะแปลผลความรู้สึกต่อสิ่งนั้น ว่าอาการปวดท้อง เป็นความเจ็บปวดในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งสาเหตุที่ความเจ็บปวดของอาการปวดท้องแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น อาหารการกิน บุคลิกของผู้ป่วยเอง และประสบการณ์ในการที่เคยเจ็บป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยแต่ละคนทนความเจ็บปวด และแสดงอาการออกมาไม่เหมือนกัน

การแบ่งประเภทของอาการปวดท้องตามระยะเวลา

ด้วยสาเหตุที่ก่อให้เกิด อาการปวดท้อง ที่แตกต่างกัน ทำให้ระยะเวลาของการปวดท้อง สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการวินิจฉัย และตรวจหาสาเหตุของโรคได้อีกทางหนึ่ง และประเภทของอาการปวดท้องเมื่อแบ่งตามระยะเวลา สามารถแบ่งได้ ดังนี้

การปวดท้องเฉียบพลัน คือ อาการปวดท้องที่เกิดขึ้น โดยปัจจุบันทันด่วน และมีระยะเวลาของอาการที่ไม่นานนัก คือ ประมาณไม่เกิน 1 วัน อาการก็จะค่อยๆ ทุเลาลง

อาการปวดท้องที่นานกว่า อาการเฉียบพลัน แต่ไม่ถึงกับปวดเรื้อรัง คือ อาการปวดท้องที่มีระยะเวลาระหว่าง 1 วันขึ้นไป และมีอาการอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่เกิน 6 เดือน

อาการปวดท้องแบบเรื้อรัง คือ อาการปวดท้องเที่กินระยะเวลายาวนานมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป

ประเภทของอาการปวดท้อง และการบอกตำแหน่ง

นอกจากระยะเวลาที่จะบ่งบอกถึงความร้ายแรงของ อาการปวดท้อง  แล้ว ตำแหน่ง ก็เป็นสิ่งที่จะทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น โดยประเภทของอาการปวดท้องแต่ละแบบ จะช่วยให้แพทย์สามารถระบุตำแหน่งได้ยากง่ายแตกต่างกัน ดังนี้

1. อาการปวดท้องแบบ visceral pain

เป็นอาการปวดท้องที่เกิดจากอวัยวะภายในได้รับสิ่งกระตุ้น ซึ่งความน่าสนใจของอาการปวดแบบนี้ก็คือ มักจะหาที่มา หรือตำแหน่งที่รู้สึกปวดจริงๆ ได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากอวัยวะภายในของเรานั้น มีเส้นประสารทจำนวนมาก แต่เส้นประสาทเหล่านั้น กลับไม่สามารถนำพาความรู้สึกได้ดีสักเท่าไหร่ แตกต่างจากผิวหนังที่จะสามารถสื่อความรู้สึกได้ดีกว่า สำหรับอาการปวดท้องประเภทนี้ ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดตื้อๆ ที่บริเวณกลางตัว อาจจะเป็นแถวลิ้นปี่ หรือจุดรอบสะดือ อาการปวดแบบนี้มักรู้สึกปวดแบบบิดๆ หรือ แสบร้อนที่บริเวณช่องท้อง นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเหงื่อออก กระวนกระวาย และคลื่นไส้ เป็นต้น

2. อาการปวดท้องแบบ somatoparietal pain

เป็นอาการปวดท้องที่จะเกิดเนื่องจากเยื่อบุผนังช่องท้อง( parietal peritoneum ) ถูกกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บ ซึ่งอาการของ somatoparietal pain นั้นจะมีความรุนแรง และชัดเจนกว่า อาการปวดท้อง ที่เกิดจากอวัยวะภายในโดยตรง เช่น อาการปวดจากใส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ที่เมื่อแรกเริ่มผู้ป่วยมักจะรู้สึกปวดตื้อๆ ที่บริเวณรอบๆ สะดือ และในเวลาต่อมาจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงที่หน้าท้องด้านขวาล่าง เนื่องจากมีอาการอักเสบที่เนื้อเยื่อช่องท้องบริเวณดังกล่าว โดยเมื่อมีอาการไอ หรือขยับตัว จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกปวดท้องมากกว่าเดิม

3. อาการปวดท้องแบบที่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจนในทันที

คือ อาการปวดท้องที่เกิดอยู่ห่างจากอวัยวะ ที่มีปัญหา ซึ่งการอักเสบมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณใกล้ผิวหนัง ทำให้สามารถสื่อนำความรู้สึกได้อย่างชัดเจนมากกว่า และบอกตำแหน่งได้อย่างชัดเจนมากกว่า

สาเหตุของอาการปวดท้อง

สาเหตุของอาการปวดท้องนั้น มีความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป โดยสามารถแบ่งได้ตามระยะเวลา และอวัยวะที่เป็นสาเหตุ ได้ดังนี้

อาการปวดท้องแบบเฉียบพลัน มีสาเหตุ จากภายใน และภายนอก

1. สาเหตุจากภายในช่องท้อง 

  • การอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง แบบที่มีการกระจายทั่วบริเวณ (generalized peritonitis)
  • การอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง แบบจำกัดเฉพาะบริเวณ ( localized peritonitis) increased tension in viscera
  • ภาวะขาดเลือด (ischemia)
  • มีเนื้องอกที่เยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneal neoplasm)

2. สาเหตุจากภายนอกช่องท้อง

  • โรคหัวใจ เช่น ภาวะหลอดเลือดหัวใจทำงานล้มเหลว , เยื่อบุหัวใจอักเสบ , กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, หัวใจอักเสบ
  • โรคเกี่ยวกับทรวงอก เช่น หลอดอาหารทะลุ หรือแตก ,การหดเกร็งของหลอดอาหาร, ภาวะหนองในช่องปอด หรือเยื่อหุ้มช่องปอด, หลอดอาหารอักเสบ, กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจอักเสบ, โรคปอดอักเสบ, ภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด, การอุดตันของเส้นเลือดฝอยในปอด
  • โรคเกี่ยวกับระบบเลือด เช่น ลูคีเมียชนิดเฉียบพลัน, โรคซีด (ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงทำลายตัวเอง), Henoch Schönlein purpura, โลหิตจางชนิดซิคเคิลเซลล์
  • โรคเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญ และเมตาบอลิซึม เช่น ต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลัน, โรคเบาหวาน, hyperlipidemia, hyperparathyroid, porphyria, โรคอุจจาระร่วง
  • การได้รับพิษต่างๆ เช่น พิษจากแมลงกัดต่อย หรือพิษจากสัตว์เลื้อยคลาน จนเกิดอาการแพ้ รวมไปถึงการได้รับพิษจากสารเคมีบางชนิด เช่น สารตะกั่ว เป็นต้น
  • การติดเชื้อ เช่น โรคงูสวัด, การติดเชื้อที่กระดูก, ไข้ไทฟอยด์, การติดเชื้อในระบบประสาท, การได้รับเชื้อลมชักในช่องท้อง, การติดเชื้อที่ไขสันหลัง และระบบประสาท, ไขสันหลังอักเสบ หรือมีเนื้องอกที่ปลายเส้นประสาท, ติดเชื้อจากอาการเสื่อมของปลายกระดูก, หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนตัว, อาการไขสันหลังอักเสบจากการติดเชื้อ

สาเหตุอื่นๆ เช่น อาการไข้ที่เป็นผลพวงมาจากโรคทางพันธุกรรม เช่น ทาลัสซีเมีย เป็นต้น รวมไปถึงอาการนอกเหนือจากนี้ เช่น ฮีทสโตรก การฟกช้ำที่กล้ามเนื้อช่องท้อง เลือดออกภายในช่องท้อง เนื้องอก การหักดิบเลิกยาเสพติดแบบกะทันหัน และอาการทางจิตเวช เป็นต้น

อาการปวดท้อง เป็นความเจ็บปวดในระดับที่แตกต่างกัน สาเหตุที่ความเจ็บปวดของอาการปวดท้องแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และประสบการณ์ในการที่เคยเจ็บป่วย

สาเหตุของอาการปวดท้องเรื้อรัง แบ่งออกได้เป็นโรคหรือความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ดังนี้

1. ความผิดปกติของโครงสร้างภายในร่างกาย ได้แก่

  • การอักเสบ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ, โรคซิลิแอก (อาการแพ้กลูเตน ซึ่งมักจะเกิดกับทารก และวัยผู้ใหญ่ ทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยโปรตีนบางชนิดได้) , กระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อ eosinophilic, โรค fibrosing mesentheritis, โรคลำไส้อักเสบ, ภาวะกระดูกเชิงกรานอักเสบ ที่เกิดจากการอุดตันของถุงน้ำดี และสำไส้ใหญ่
  • ความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, mesenteric ischemia, superior mesenteric artery syndrome
  • ความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม เช่น โรคเบาหวาน โรคที่เกิดจากพันธุกรรม, hereditary angioedema, โรค porphyria (โรคทางกรรมพันธ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งม็ดเลือดแดงจะถูกเผาผลาญอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้ปัสสาวะ ที่ถูกขับออกมาเป็นสีเข้มกว่าปกติ)
  • ความผิดปกติของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ เช่น ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้บริเวณผิวหนัง (anterior cutaneous nerve entrapment syndrome), myfacial pain syndrome, ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือคด, ความผิดปกติของระบบเส้นประสาทบริเวณทรวงอก

สาเหตุอื่นๆ เช่น มีพังผืดในช่องท้อง ,เนื้องอกในช่องท้อง, โรคภูมิแพ้, โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, การงอกอย่างผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก, นิ่วในถุงน้ำดี, อาการไส้เลื่อน, ความผิดปกติของลำไส้, สำไส้อุดตัน, อาการแพ้แลคโตส, โรคแผลในกระเพาะอาหาร, โรคเกี่ยวกับลำไส้เล็ก และเนื้อเยื่อในช่องท้อง

2. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเพราะความผิดปกติในการทำงานของระบบช่องท้อง ได้แก่ การปวดที่ท่อน้ำดี , functional abdominal pain syndrome, อาหารไม่ย่อย, gastroparesis, อาการลำไส้แปรปรวน, levator ani syndrome

การซักประวัติของผู้ป่วย อาการปวดท้อง

ในส่วนของการซักประวัติผู้ป่วยนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก สำหรับการวินิจฉัย ที่มาของอาการปวดท้อง ซึ่งเมื่อทำร่วมกันกับการตรวจร่างกาย จะช่วยให้สามารถบอกที่มา และสาเหตุของการปวดท้องได้อย่างแม่นยำ และนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องได้เร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งหลักการในการซักประวัติอาการปวดท้องนั้น มีดังนี้

1. ตำแหน่ง

ตำแหน่งของอาการปวดท้อง สามารถบอกได้อย่างชัดเจน ถึงระดับความร้ายแรง และอวัยวะ ที่ก่อให้เกิดอาการ และถ้าหากมีการเปลี่ยนตำแหน่ง หรือขยายวงของการปวดมากขึ้น ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่า อาจจะมีการลุกลามของโรค

2. ระยะเวลา เป็นสิ่งที่บอกถึงความรุนแรง และโรคที่ก่อให้เกิดอาการปวดท้องได้เป็นอย่างดี ดังนี้

  • หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และอาการมาอย่างรวดเร็ว โดยผู้ป่วยสามารถบอกถึงบริเวณที่ปวดได้อย่างชัดเจน ก็มีความเป็นไปได้สูงว่า อาจจะมีการแตก ทะลุ ของอวัยวะภายในช่องท้อง หรืออวัยวะที่ก่อให้เกิดอาการ อาจจะอยู่ในภาวะขาดเลือดเฉียบพลัน ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน
  • หากค่อยๆ ปวดท้องมากขึ้นเรื่อยๆ แต่สุดท้ายอาการก็หายไปเอง ให้นึกถึงอาการของโรคกระเพาะ และสำไส้อักเสบเป็นหลัก
  • แต่ถ้ามีอาการปวดท้องมากขึ้นเรื่อยๆ และสุดท้ายอาการดังกล่าวไม่ได้หายไป ก็เป็นไปได้ว่า นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคไส้ติ่งอักเสบชนิดฉับพลัน
  • แต่หากอาการปวดมีขึ้นเป็นพักๆ คาดเดาได้ว่าอาจจะเป็นอาการของลำไส้อุดตัน หรือนิ่วในไต อย่างใดอย่างหนึ่ง และถ้าหากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวมาเกิน 1 สัปดาห์ นั่นหมายความว่าอาการอาจจะไม่ได้ร้ายแรงจนเป็นอันตรายกับชีวิต

3. ความรุนแรง และลักษณะของอาการปวด สามารถบอกโรคได้ ดังนี้

  • หากมีอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน และมีความรุนแรง แบบยิ่งขยับตัว ก็ยิ่งปวดต้องนอนนิ่งๆ เพียงอย่างเดียวอาการถึงจะทุเลาลง อาจจะเป็นอาการของโรคที่รุนแรง เช่น กระเพาะทะลุ , ruptured aneurysm, ตับอ่อนอักเสบ
  • หากมีอาการปวดบิด เป็นระยะเวลานาน เป็นวัน หรือสัปดาห์ มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นระยะๆ และอาการดังกล่าวดีขึ้น และแย่ลงสลับกัน อาจจะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคลำไส้อุดตัน นิ่วในไต หรือนิ่วในถุงน้ำดี

4. ปัจจัยที่ทำให้อาการปวดท้องดีขึ้น หรือแย่ลง เช่น การขยับตัว อาหารที่กิน การขับถ่าย หรือความเครียด สิ่งเหล่านี้ สามารถบ่งบอกถึงอาการป่วยที่อยู่ภายในได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยกระเพาะอักเสบจะต้องนอนนิ่งๆ ในขณะที่ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในไต จะต้องมีการเปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ เพื่อให้รู้สึกปวดน้อยที่สุด หรืออย่างกรณีของอาหารบางชนิดที่อาจจะไปกระตุ้นอาการปวดท้องให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้ป่วยด้วยโรคลำไส้ขาดเลือดเรื้อรัง โรคแผลในกระเพาะอาหาร และผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น

5. อาการร่วม เช่น อาการที่แสดงออกเฉพาะตัวของผู้ป่วย อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะแสบขัด ประจำเดือน ประวัติการตั้งครรภ์

6. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต เพราะอาการของโรคบางชนิด เมื่อเคยเป็นแล้ว มักจะเป็นซ้ำได้อีก เช่น แผลในกระเพาะอาหาร นิ่วในไต ลำไส้ใหญ่อุดตันในบางบริเวณ อาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือเป็นผลจากโรคประจำตัว เช่น SLE ( โรคแพ้ภูมิตัวเอง ), โรคเรื้อน, โรคไตเรื้อรัง, porphyria หรืออาจจะเป็นผลข้างเคียงของยาที่เคยใช้ และยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

การตรวจร่างกายของผู้ป่วย อาการปวดท้อง

ในส่วนของการตรวจร่างกายนั้น หากผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดท้อง และมีการซักประวัติเป็นที่เรียบร้อยแพทย์ จะทำการตรวจร่างกาย ด้วยกระบวนการหลักๆ ทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกัน เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวดท้องที่แท้จริง ว่าเกิดจากอะไรกันแน่ ซึ่งวิธีการวินิจฉัย และสันนิษฐานอาการของโรคที่ทำให้เกิดการปวดท้องนั้น สามารถทำได้ ดังนี้

1. การตรวจสัญญาณชีพ และดูลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย

เป็นการตรวจอันดับแรก เมื่อผู้ป่วยเข้ามาพบแพทย์ ทั้งนี้ นอกจากเรื่องของสัญญาณชีพแล้ว ในกระบวนการนี้แพทย์ยังจะสังเกตอาการอื่นๆ จากผู้ป่วยอีกด้วย เพื่อที่จะหาสาเหตุของอาการปวดท้อง เช่น การตรวจระบบปอด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดที่ท้องด้านบน

2. การตรวจหัวใจ

อาจจะทำให้เห็นว่าผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ และลิ้นหัวใจรั่ว ซึ่งโรคเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุของอาการปวดท้องได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ตรวจดูเล็บมือ เล็บเท้า แล้วพบว่าซีดผิดปกติอาจจะเป็นอาการช็อค ที่เกิดการกรณีที่หัวใจทำการสูบฉีดเลือดได้น้อยกว่าปกติ ซึ่งนั่นจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดท้องเนื่องจากลำไส้ขาดเลือด และจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

3. การตรวจช่องท้อง

การตรวจที่จุดนี้ มักจะใช้การดู และฟังเสียงจากการเคาะ เพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของลำไส้ เช่น หากเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตัน มักจะมีเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้แล้วเสียงการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติบางอย่าง ยังบ่งบอกโรคที่ร้ายแรงได้อีกด้วย เช่น เสียง liver bruit อาจจะบ่งบอกได้ว่ามีอาการมะเร็งตับ เสียง renal bruit บ่งบอกถึงภาวะหลอดเลือดแดงตีบที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เป็นต้น

4. การคลำ

ควรเริ่มคลำในบริเวณ ที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บก่อน เพื่อป้องกันการเกร็งหน้าท้อง ซึ่งจะทำให้การตรวจทำได้ยากมากขึ้น และการคลำควรเริ่มจากการคลำแบบเบาๆ ก่อน เพราะนอกจากจะเป็นการคลำแบบพื้นฐานแล้ว ยังช่วยให้สามารถวินิจฉัยอาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ดีกว่า การคลำแบบลึกๆ นอกจากนี้แล้ว ในทางการแพทย์ยังใช้การคลำเพื่อตรวจดูความรุนแรงของอาการ และเพื่อหาว่าอวัยวะในช่องท้องส่วนใด ที่โตผิดปกติหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอวัยวะที่สำคัญ อย่าง ตับ ไต และม้าม เป็นต้น และในหลายๆ ครั้งการตรวจโดยการคลำยังช่วยให้สามารถวินิจฉัยกรณีที่มีก้อนเนื้องอกในช่องท้องได้อีกด้วย

โรคที่พบได้บ่อย ในผู้ป่วยที่มี อาการปวดท้อง

1. ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน

ในส่วนของการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบนั้น จะเห็นได้ชัดว่ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรืออาการปั่นป่วนในท้อง นำมาก่อน หลังจากนั้นประมาณ 6 ถึง 8 ชั่วโมง อาการปวดท้องจะย้ายมาที่ด้านขวาล่างของช่องท้องพร้อมกับเริ่มมีอาการกดเจ็บที่ตำแหน่งเดียวกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีไข้ร่วมด้วย ในกรณีที่มีไข้สูงร่วมกับการตรวจเลือดพบเม็ดเลือดขาวสูงมากมักพบในผู้ป่วยที่มีฝีบริเวณไส้ติ่งหรือไส้ติ่งอักเสบรุนแรงจนลำไส้ทะลุ การรักษาผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบสามารถทำได้เพียงวิธีเดียว คือโดยการผ่าตัด

2. ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน

มักเกิดจากการอุดตันที่บริเวณท่อทางออกของถุงน้ำดี จากนิ่วในถุงน้ำดีหรือเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงถุงน้ำดี โดยมักปวดรุนแรงบริเวณชายโครงด้านขวาเป็นระยะเวลานานซึ่งอาจนานเป็นวันหรือสัปดาห์ จากนั้นอาการปวดมักร้าวไปที่หลังหรือสะบักข้างขวา ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีไข้ร่วมด้วย การตรวจร่างกายมักพบมีการกดเจ็บที่บริเวณชายโครงด้านขวาพร้อมกับการตรวจพบ Murphy’s sig n ผลการตรวจเลือดมักพบเม็ดเลือดขาวที่ไม่สามารถใช้งานได้จำนวนมาก ร่วมไปกับมี bilirubin สูงขึ้นเล็กน้อย ถ้าคนไข้มีไข้สูงหนาวสั่นหรือมี bilirubin สูงขึ้นมากมักคิดถึงภาวะติดเชื้อในท่อน้ำดีมากกว่า การรักษาถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันสามารถทำได้โดยการให้สารน้ำร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมร่วมกับการผ่าตัดถุงน้ำดีออก

3. ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

มักมีอาการปวดร้าวไปด้านหลังอย่างรุนแรง และฉับพลัน คนไข้ส่วนมากจะมีอาการปวดมากจนต้องมาโรงพยาบาล นอกจากนี้แล้วมักพบอาการมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับ อาการปวดท้อง หากทำการตรวจร่างกายจะพบว่าผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียมาก มีไข้ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ เสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง กดเจ็บบริเวณท้องช่องบนและลิ้นปี่ ในบางรายอาจตรวจพบจ้ำเลือดบริเวณรอบรอบสะดือ หรือบริเวณด้านหลัง โดยเฉพาะกรณีของตับอ่อนอักเสบรุนแรง การตรวจทางห้องปฏิบัติการมักพบว่ามีเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น การตรวจดูระดับของ amylase และ lipase ในเลือดมักสูง นอกจากนี้การตรวจระดับน้ำตาล การทำงานของตับ เกลือแร่ชนิดต่างๆ และระดับของแคลเซียมในเลือดมักผิดปกติด้วย การถ่ายภาพเอกซเรย์ในบางรายตรวจพบ ส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มีการฉีกขาด หรือ sentinel loop ซึ่งบ่งชี้ภาวะผิดปกติเฉพาะแห่งและช่วยในการวินิจฉัยโรค การตรวจอัลตร้าซาวด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในช่องท้องมักช่วยวินิจฉัยการอักเสบที่รุนแรงของตับอ่อน แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับการรักษาโรคนี้ยังต้องใช้การรักษาแบบประคับประคอง ตามอาการจนกว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัว

4. ลำไส้ใหญ่อักเสบเฉียบพลัน จากการอุดตัน

เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุซึ่ง มักจะเกิดการอุดตันได้เกือบทุกจุดของลำไส้ใหญ่แต่มักเกิดภาวะกระเปราะของลำไส้ใหญ่อุดตัน ในบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วน sigmoid ได้มากกว่าบริเวณอื่นๆ อาการของผู้ป่วยมักเริ่มด้วย อาการปวดท้องซึ่งคล้ายๆกับอาการของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน แต่มาเป็นข้างซ้ายด้านล่างของช่องท้อง นอกจากนี้ยังพบอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียได้ การตรวจร่างกายพบกดเจ็บบริเวณช่องท้องด้านล่างข้างซ้าย บางครั้งอาจคลำได้ลักษณะคล้ายๆก้อนที่เกิดจากการอักเสบของลำไส้บริเวณนั้น การตรวจทางห้องปฏิบัติการมักพบว่าเม็ดเลือดขาวในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ สำหรับการส่องกล้องลําไส้ใหญ่ควรทำหลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์ การรักษาหลักของโรคนี้เป็นการรักษาประคับประคองร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ การผ่าตัดใช้เฉพาะในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ยาหรือมีลำไส้ใหญ่อักเสบรุนแรงจนทะลุ

5. กระเพาะอาหารทะลุ

แผลที่กระเพาะอาหารที่เกิดการอักเสบมายาวนาน นั้น สามารถทะลุได้ โดยโดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมี อาการปวดท้อง แบบเสียดๆอย่างรุนแรงขึ้นทันทีทันใด โดยเริ่มจากบริเวณรอบรอบสะดือหรือบริเวณลิ้นปี่ และลามไปทั่วท้องอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยมักมีไข้สูง หอบเหนื่อย ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย ในรายที่มีอาการรุนแรงผู้ป่วยมักมีความดันโลหิตต่ำ การตรวจร่างกายมาพบว่ากดเจ็บมากทั่วทั่วท้อง ร่วมกับอาการเกร็งแข็งของบริเวณช่องท้องคล้ายๆกับกระดาน การตรวจทางห้องปฏิบัติการมักพบเม็ดเลือดขาวในเลือดสูง เอกซเรย์ช่องท้องพบโพรงอากาศอยู่ใต้กระบังลมข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้าง การรักษาที่สำคัญที่สุดในการช่วยชีวิตผู้ป่วยคือการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน

6. ลำไส้เล็กอุดตัน

ภาวะนี้พบได้ในผู้ป่วยทุกช่วงอายุ โดยหากเกิดในเด็กมักพบว่าเกิดจากการลำไส้กลืนกัน ภาวะลำไส้ตีบตันแต่กำเนิด หรือ meconium ileus เป็นส่วนใหญ่ แต่หากเกิดในวัยผู้ใหญ่ สาเหตุที่ทำให้เกิดลำไส้เล็กอุดตัน จะแตกต่างออกไป ซึ่งสาเหตุของโรคนี้ในวัยผู้ใหญ่ มักจะเกิดจากจากพังผืดที่เกิดตามหลังจากการผ่าตัดในช่องท้อง บางรายอาจเกิดจากมะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งในช่วงท้องได้ ผู้ป่วยภาวะนี้มี อาการปวดท้องรุนแรงเกิดขึ้นทันทีทันใดโดยเฉพาะบริเวณรอบรอบสะดือ โดยมักมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนเป็นเศษอาหารร่วมด้วยในระยะแรกแรกของโรค ผู้ป่วยมักไม่สามารถถ่ายอุจจาระหรือผายลมได้ หรือถ้าทำได้ก็ลดน้อยลง อาจคิดถึงภาวะลำไส้เล็กอุดตันแบบไม่สมบูรณ์ การตรวจร่างกายมาพบว่ามีท้องอืดแน่น เสียงการเคลื่อนตัวของลำไส้มากขึ้น กดเจ็บทั่วๆบริเวณท้อง

นอกจากนี้หากตรวจพบว่ามีอาการอักเสบในช่องท้อง อาจจะมีแนวโน้มว่า ลำไส้เล็กได้เกิดการทะลุไปแล้ว โดยหากมาถึงจุดนี้ เมื่อทำการตรวจโดยห้องปฏิบัติการมักพบเม็ดเลือดขาวในเลือดสูงขึ้นมาก หรือมีภาวะเลือดเป็นกรดมากขึ้น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องมีส่วนสำคัญในการช่วยวินิจฉัยและวินิจฉัยแยกจากสาเหตุอื่นๆ การรักษาหลักคือรักษาแบบประคับประคอง การผ่าตัดจะทำเมื่อไม่ตอบสนองต่อการรักษา ก่อให้เกิดลำไส้เน่า หรือลำไส้ทะลุขึ้นมา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ธนกร ลักาณ์สมยา และคณะ : อาการทางอายุรศาสตร์ Medical ymptomatology ฉบับปรับปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Leung AM, Vu H. Factors predicting need for and delay in surgery in small bowel obstruction. Am Surg 2012; 403-407.

อาการกลืนลำบาก ( Dysphagia )

0
อาการกลืนลำบาก ( Dysphagia )
อาการกลืนลำบากสามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะทุกส่วนของระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่บริเวณปาก คอหอย หลอดเสียง หลอดอาหาร
อาการกลืนลำบาก ( Dysphagia )
อาการกลืนลำบากสามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะทุกส่วนของระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่บริเวณปาก คอหอย หลอดเสียง หลอดอาหาร

อาการกลืนลำบาก ( Dysphagia )

อาการกลืนลำบาก ( Dysphagia ) คือ อาการที่ผู้ป่วยรู้สึกลำบากในการกลืนหรือมีอาการเจ็บในขณะที่กลืนอาหารทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลว ซึ่งหมายรวมถึงอาการที่ไม่สามารถเริ่มกลืนอาหารหรือเมื่อกลืนอาหารเข้าไปมีความรู้สึกติดที่ระบบทางเดินอาหาร การกลืนเป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อที่ระบบทางเดินอาหาร โดยเริ่มตั้งแต่ริมฝีปาก ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร เพื่อนำอาหารไปสู่อวัยวะที่ทำหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร คือ กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อหรืออวัยวะที่ระบบทางเดินอาหารเกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะกลืนลำบาก ( Dysphagia ) ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกตัวว่าเกิดภาวะกลืนลำบากแต่คิดว่าอาหารแข็งเกินไป ความรู้สึกว่ามีก้อนจุกที่บริเวณลำคอที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้มีการกลืนหรือการที่บริเวณคอหอยไม่มีความรู้สึกก็ได้ ซึ่งภาวะทีเกิดขึ้นเรียกว่า อาการกลืนลำบาก ( Dysphagia ) พบได้มากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท

กลุ่มอาการกลืนลำบาก

1. อาการของการกลืนลำบากที่ปากและคอหอย ( Oropharyngeal dysphagia ) คือ อาการที่ผู้ป่วยมีความรู้สึกกลืนลำบาก ไม่สามารถควบคุมการทำงานของปากและการหลั่งของน้ำลายได้ เวลากลืนจะมีอาการไอหรือสำลักออกทางปากหรือจมูกเกิดขึ้นทุกครั้ง หลังจากทำการกลืนลักษณะของเสียงพูดอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดจากโรคของคอหอยหลอดอาหารส่วนบนหรือกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนบน ที่เกิดความผิดปกติหรือความเสียหายกับระบบประสาท หรือหลอดอาหารมีอดการโป่งพองเกิดขึ้น หรือผู้ที่เป็นโรคมะเร็งในระบบอาหารส่วนบน เป็นต้น
2. การกลืนลำบากในหลอดอาหาร ( Esophageal dysphagia ) คือ ผู้ป่วยที่มีอาการกลืนลำบาก หรือรู้สึกว่าอาหารติดอยู่หลอดอาหารไม่ลงสู่กระเพาะอาหารหรือบริเวณท้อง เกิดจากโรคของหลอดอาหารหรือกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เช่น ภาวะกล้ามเนื้อเรียบเกิดการไม่คลายตัว โรคหลอดอาหารมีการบีบเกร็งจนอาหารขย้อนออกมา ภาวะหลอดอาหารตีบทำให้อาหารไม่สามารถลงสู่กระเพาะอาหารได้ เนื้องอกหรือสิ่งแปลกปลอมอยู่ภายในหลอดอาหาร เป็นโรคกรดไหลย้อนหรือมีการอักเสบเกิดขึ้นที่บริเวณหลอดอาหาร โรคหนังแข็งที่บริเวณหลอดอาหารหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีเพื่อรักษาโรค เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกลืนลำบาก

สาเหตุของอาการกลืนลำบาก ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความลำบากหรืออาการเจ็บในขณะที่ทำการกลืนอาหารทั้งที่เป็นของเหลว อย่างที่เราทราบว่าอาการกลืนลำบากสามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะทุกส่วนของระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่บริเวณปาก คอหอย หลอดเสียง หลอดอาหาร ซึ่งมักเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างส่งผลให้การทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินอาหารเกิดการผิดพลาดไม่สามารถนำพาอาหารไปยังอวัยวะย่อยอาหารอย่างกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกลืนลำบาก สามารถแบ่งตามตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการกลืนลำบากออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. สาเหตุของอาการการกลืนลำบากที่เกิดจากผิดปกติที่ตำแหน่งของคอหอย

บริเวณหลอดอาหารส่วนบนและระบบการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดที่ส่วนของหลอดอาหารส่วนบน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติดังนี้
1.1 ความผิดปกติของระบบประสาทที่ทำให้ระบบการสั่งการในการกลืนอาหารทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยจึงไม่สามารถทำการกลืนอาหารได้ เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โปลิโอ เนื้องอกในสมอง หรือพาร์กินสัน เป็นต้น
1.2 การติดเชื้อทำให้บริเวณคอหอย หลอดอาหารหรือกล้ามเนื้อของหลอดอาหารส่วนบนเกิดการอักเสบ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของอวัยวะลดลง เช่น การติดเชื้อโรคคอตีบ การติดเชื้อซิฟิลิส เป็นต้น
1.3 ความผิดปกติของระบบการเผาพลาญพลังงานในร่างกายทำให้กล้ามเนื้อขาดพลังงานในการทำงาน ส่งผลให้ผู้ป่วยกลืนลำบาก เช่น กลุ่มอาการคุชชิ่งที่ทำให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ( Cortisol ) สูง ที่ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ทำหน้าในการช่วยกลืน เป็นต้น
1.4 ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ มีการขยายขนาดใหญ่ขึ้น จึงเข้าไปขัดขวางการกลืนทำให้เกิดภาวการณ์กลืนลำบาก
1.5 ผลข้างเคียงจากการรักษาทางการแพทย์ เช่น การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิด การฉายแสงหรือการฉานแสงเพื่อรักษาโรคบางชนิด หรือการกลืนสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างทำให้ผิวหนังภายในปาก ลำคอและหลอดอาหารเกิดอาการบาดเจ็บขึ้น

2. สาเหตุของอาการกลืนลำบากจากความผิดปกติที่ตำแหน่งหลอดอาหาร

รวมถึงส่วนของกล้ามเนื้อหูรูดที่บริเวณหลอดอาหารส่วนกลาง และความผิดปกติของหลอดอาหารส่วนที่อยู่ติดกับกระเพาะอาหารส่วนบนด้วย ซึ่งมีความผิดปกติ ดังนี้
2.1 ความผิดปกติทางกายภาพของหลอดอาหาร หมายถึง การเกิดหรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามากีดขวางหรือทำให้บริเวณทางเดินในหลอดอาหารมีขนาดที่เล็กลง เช่น เนื้องอกที่เกิดขึ้นในหลอดอาหาร โรคหลอดอาหารตีบที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยทำมีการกลืนสารที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูง หลอดอาหารมีการเกิดพังผืนทำให้กีดขวางทางเดินอาหาร การที่ทรวงอกมีการขยายขนาดหรือมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นจึงเข้าไปกดเบียดหลอดอาหารจากภายนอกทำให้ทางเดินอาหารมีขนาดเล็กลง เป็นต้น
2.2 การทำงานที่ผิดปกติของหลอดอาหารในการบีบตัวเพื่อเคลื่อนย้ายอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร เช่น กล้ามเนื้อส่วนของหูรูดที่บริเวณหลอดอาหารส่วนล่างมีการหดรัดตัวทำให้อาหารไม่สามารถเข้าสู่กระเพาะอาหารได้หรือกล้ามเนื้อของหลอดอาการมีการหดตัวทั่วทั้งหลอดอาหารทำให้อาการเคลื่อนที่เข้าสู่หลอดอาหารได้ยาก
2.3 การที่ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีก้อนอยู่ภายในลำคอ หรือรู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ที่บริเวณลำคอตลอดเวลา แม้ในขณะที่ไม่ได้รับประทานอาหาร ซึ่งอาจเกี่ยวข้องความรู้สึกหรือความวิตกกังวลของผู้ป่วยนั่นเอง
เมื่อมีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาด้วย อาการกลืนลำบาก แพทย์จะสามารถวินิจฉัยสาเหตุของอาการด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและทางห้องปฏิบัติการ

อาการกลืนลำบากสามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะทุกส่วนของระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่บริเวณปาก คอหอย หลอดเสียง หลอดอาหาร

การวินิจฉัยสาเหตุของกลืนลำบาก

1. การซักประวัติ จัดเป็นแนวทางที่สามารถช่วยระบุถึงสาเหตุของอาการกลืนลำบาก ได้มากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งข้อมูลที่ควรทำการซักประวัติ คือ ผู้ป่วยมีความรู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ที่บริเวณคอตลอดอยู่เวลาแม้ในขณะที่ไม่ได้กำลังกลืนอาหาร ( globus senstion ) หรือว่าผู้ป่วยมีปริมาณน้ำลายน้อยหรือไม่ ซึ่งการซักประวัติของผู้ป่วยสามารถถามประวัติดังนี้

  • ผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบากตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มกลืนอาการ หรือมีอาการสําลักอาหารออกทางจมูกหรือไม่ มีอาการไอหรือลักษณะของเสียงพูดเปลี่ยนไป เช่น พูดเสียงขึ้นจมูก พูดไม่ชัด เสียงพูดเปลี่ยนไป เสียงมีการแหบหรือมีกลิ่นปาก หรือไม่ ถ้าผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวแสดงว่าผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบากแบบ oropharyngeal dysphagia
  • ผู้ป่วยมีประวัติการเป็นโรคที่เกี่ยวของกับระบบประสาทหรือความผิดปกติของระบบประสาทหรือไม่ เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น ถ้ามีแสดงว่าผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบาก oropharyngeal dysphagia
  • อาหารที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบาก โดยถ้าผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบากกับอาหารทั้งของแข็งและของเหลว แสดงว่าการเคลื่อนไหวหรือการทำงานของหลอดอาหารมีความผิดปกติเช่น achalasia ที่มีการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายน้อยลงและมีการหดเกร็งของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง ( Lower esophageal sphincter หรือ LES ) ตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการกลืนของแข็งลําบาก แสดงว่าผู้ป่ายอาจเป็นโรคที่หลอดอาหารมีการตีบแคบลงหรือการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารเกิดความผิดปกติและมีความดันส่วนของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างต่ำ หรือการที่ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 5 ปีและมีลักษณะของการกลืนลำบากเฉพาะของแข็งมาก่อน แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคมะเร็งของหลอดอาหาร และเมื่อโรคมะเร็งเกิดการลุกลามรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการกลืนลำบากทั้งของแข็งและของเหลว
  • ลักษณะอาการกลืนลำบากมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ หรือมีอาการหนักขึ้นเรื่อยเรื่อย และระยะเวลาที่มีเกิดอาการในแต่ละครั้งมีความยาวนานแค่ไหน โดยถ้าอาการมีอาการเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย และในการเกิดแต่ละอาการเท่าเดิม แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการ Schatzki ring แต่ถ้ามีอาการหนักขึ้นทุกครั้งติดต่อกันเป็นเดือนเป็นปี และน้ำหนักของผู้ป่วยไม่มีความเปลี่ยนแปลง แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการ benign stricture แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบาก เกิดขึ้นถี่และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกครั้งและน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วแสดงว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้
  • ตำแหน่งที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าเมื่อกลืนอาหารแล้วติดอยู่ โดยให้ผู้ป่วยระบุตำแหน่งที่รู้สึกว่าเมื่อกลืนอาหารเข้าไปแล้วอาหารติดที่ตำแหน่งนั้น โดยถ้าผู้ป่วยระบุที่ตำแหน่งต่ำกว่าที่รอยบุ๋มเหนือกระดูกกลางหน้าอก ( suprasternal notch ) แสดงว่ามีการอุดตันของหลอดอาหารในต่ำแหน่งที่กว่าตำแหน่งที่ผู้ป่วยชี้ แต่ถ้าผู้ป่วยระบุตำแหน่งที่บริเวณเหนือที่รอยบุ๋มเหนือกระดูกกลางหน้าอก ( suprasternal notch ) แพทย์จะไม่สามารถระบุตำแหน่งที่เกิดการอุดตันได้
  • ผู้ป่วยมีอาการแสบร้อนหน้าอกหรือไม่ แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบากจากโรคกรดไหลย้อน ( gastroesophageal reflux disease ) และความผิดปกติร้ายแรงของหลอดอาหาร ( achalasia ) ไม่ใช่อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร ( adenocarcinoma ) ที่มีสาเหตุมาจากโรคหลอดอาหารอักเสบเรื้อรัง ( Barette’s esophagus ) แต่ทว่าผู้ป่วย 2 ใน 3 ที่เป็นโรคมะเร็งหลอดอาการอาจมีอาการแสบร้อนที่หน้าอกได้ ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการแสบร้อนที่หน้าอกควรทำการตรวจอาการเบื่ออาหาร ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักว่ามีการลดลงอย่างรวดเร็วหรือไม่ ขณะที่ทำการกลืนมีความรู้สึกเจ็บเกิดขึ้นหรือไม่ด้วยทุกครั้งจึงจะสามารถวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบาก จากสาเหตุใด
  • โรคประจําตัวของผู้ป่วยที่อาจก่อให้เกิดอาการกลืนลำบากได้ เช่น ภาวะที่มีการหนาและแข็งตัวขึ้นของผิวหนัง ( scleroderma ), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ( rheumatoid arthritis ) และโรคเรื้อรังที่เกิดจากภูมิต้านทานเกิดภาวะทำร้ายตนเอง ( systemic lupus erythematosus ) ที่อาจมีอาการแทรกซ้อนหรือความผิดปกติของของระบบการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารได้ หรือประวัติเจ็บป่วยของผู้ป่วยในอดีตที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของการกลืน เช่น โรคทางระบบประสาท และโรคมะเร็งโดยเฉพาะที่หลอดอาหาร เป็นต้น รวมถึงประวัติการรักษา เช่น การฉายแสง การผ่าตัดบริเวณใบหน้าและลำคอ และประวัติการใช้หรือการได้รับยา โดยเฉพาะยาในกลุ่ม anti-cholinergic หรือ steroid ที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทควบคุมการทำงานของอวัยวะทางเดินอาหาร

2.การตรวจร่างกาย หลังจากทำการซักประวัติแล้ว ต้องทำการตรวจร่างกายผู้ป่วย ซึ่งการตรวจร่างกายของผู้ป่วยมีขั้นตอนดังนี้

  • ผู้ป่วยที่สงสัยว่ามี อาการกลืนลำบาก ชนิด oropharyngeal dysphagia ต้องทำการตรวจที่บริเวณลำคอ ได้แก่ บริเวณก้อนที่คอ ต่อมน้ำเหลือง thyroid ช่องคอหอย ( pharyngeal pouch )ที่บริเวณลำคอด้านซ้าย โดยเมื่อทำการกดจะได้ยินเสียงของอาหารและอากาศผ่านเข้าไปสู่ส่วนของคอหอย และทำการตรวจรอยผ่าตัด tracheostomy จากการฉายแสงที่ส่วนของช่องปาก คอหอย ด้วยการวางนิ้วชี้และนิ้วกลางบนกระดูก hyoid และ laryngeal cartilage แล้วให้ผู้ป่วยทำการกลืนน้ำลาย โดยถ้ากระดูก hyoid และ laryngeal cartilage ไม่มีการยกขึ้นแสดงว่าผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติเกี่ยวระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการกลืน และให้ทำการตรวจเกี่ยวกับระบบประสาทอย่างละเอียดต่อไป
  • ตรวจประเมินภาวะทุพโภชนาการของร่างกาย ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนตามที่ต้องการหรือไม่ โดยดูจากลักษณะการเลือกรับประทานอาหารและการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ที่จะช่วยระบุได้ว่าร่างกายขาดสารอาหารชนิดใดบ้าง ซึ่งสารอาหารดังกล่าวสามารถส่งผลให้การทำงานของระบบทางเดินอาหาร เส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารหรือกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติหรือไม่
  • ตรวจลักษณะของโรคที่เกี่ยวข้องกับ collagen vascular disease เช่น ผื่น ข้อ calcinosis, telangiectasia, sclerodactyly
  • ตรวจลักษณะของผู้ป่วยที่สามารถบ่งบอกถึงโรคมะเร็งได้ เช่น การลดลงของน้ำหนัก การเกิดก้อนเนื้อ เป็นต้น โดยเฉพาะมะเร็งที่เกิดขึ้นในอวัยวะทางเดินอาหารหรืออวัยวะใกล้เคียงระบบทางเดินอาหาร
  • ตรวจหาว่าผู้ป่วยมีลักษณะของพาร์กินสัน ( Parkinson’s disease ) และการสึกกร่อนของฟัน ( dental erosion ) ที่ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำให้ยาก
  • ตรวจระบบประสาทของร่างกายว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยทำการตรวจเส้นประสาทสมอง โดยเฉพาะเส้นประสาทตำแหน่งที่ 5,7,9,11,12
  • ตรวจช่องปากดู เพื่อดูลักษณะทางพยาธิสภาพของปากทั้งที่บริเวณภายนอก อย่างริมฝีปากและบริเวณภายในช่องปาก ลิ้นและฟัน เพื่อตรวจสอบว่ามีความผิดปกติหรือเกิดการอักเสบที่จะส่งผลให้เกิดการกลืนลำบากหรือไม่
  • ความผิดปกติอื่น ๆ เช่น การผิดรูปของลำคอหรือการหาสิ่งผิดปกติด้วยการคลำที่บริเวณลำคอ เช่น ขนาดของต่อมน้ำเหลืองหรือต่อมไทรอยด์ว่ามีขนาดใหญ่ผิดปกติหรืไม่ หรือมีก้อนเนื้อที่บ่งบอกความผิดปกติอื่นๆ เกิดขึ้นหรือไม่

3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ นอกจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายแล้ว เพื่อความแน่ใจและยืนยันผลการวินิจฉัยของแพทย์ สามารถทำได้ด้วยการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติ ซึ่งการตรวจเพิ่มเติมที่ใช้มีดังนี้

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง ( CBC ) เพื่อตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีภาวะซีด ที่เกิดจากการขาดสารอาหารจนทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากหรือไม่
  • การเอกซเรย์ปอด ( Chest x-ray ) คือ การถ่ายภาพปอด ซึ่งเป็นอวัยวะภายในทรวงอกลงบนแผ่นฟิล์ม เพื่อช่วยคัดกรองโรคระบบทางเดินหายใจกับอาการกลืนลำบาก
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ( CT brain ) เพื่อตรวจความผิดปกติของระบบประสาทและสมองที่สามารถส่งผลให้เกิดอาการกลืนลำบากได้ โดยจะส่งตรวจในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทจนทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากเท่านั้น
  • การตรวจการตรวจหลอดอาหาร ( Barium Swallowing ) คือการตรวจผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากที่มีที่บริเวณภายในหลอดอาหาร ซึ่งวิธีการตรวจเริ่มจากให้ผู้ป่วยกลืนแป้งแบลเรียมซัลเฟต ที่มีคุณสมบัติเป็นสารทึบรังสีและทำการเอกซเรย์ออกมา ซึ่งสามารถทำให้เห็นความผิดปกติของหลอดในการกลืนอาหารได้ว่ามีความผิดปกติที่ส่วนใดของหลอดอาหาร
  • Video fluoroscopy ( VFS ) และ Fiberoptic endoscopic evaluation of ( FEES ) สำหรับการตรวจที่ช่วยในการประเมินการกลืนที่อยู่ระหว่างช่องปากและคอหอย
  • การตรวจการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร ( Esophageal manometry ) เพื่อตรวจดูการเคลื่อนไหวและการบีบตัวของหลอดอาหารในขณะที่มีอาหารเดินทางผ่านหลอดอาหาร ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสามารถประเมินความดันอาหาร การทำงานของหูรูดทั้งส่วนบนและส่วนล่างได้ด้วย โดยที่การตรวจการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารจะทำการตรวจในผู้ป่วยที่มีน่าจะมีผิดปกติทางการบีบตัวของหลอดอาหาร เช่น Achalasia เป็นต้น
  • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น จัดเป็นการตรวจที่สามารถช่วยยืนยันว่าผู้ป่วยมี อาการกลืนลำบากจากโรคมะเร็ง หลอดอาการมีการตีบแคบหรือเกิดการอักเสบภายใน ซึ่งการตรวจนี้สามารถทำการตัดชิ้นเนื้อจากภายหลอดอาหารเพื่อนำมาส่งตรวจว่าผู้ป่วยเป็นก้อนเนื้อร้ายจริงหรือไม่ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุของอาการกลืนลำบากว่าเกิดจากโรคมะเร็งในหลอดอาหารหรือไม่ได้อีกด้วย

อาการกลืนลำบากบางครั้งผู้ป่วยอาจคิดว่าเกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไปมีความแข็งหนืดมากเกินไปจึงทำให้เกิดการกลืนลำบาก ดังนั้นผู้ป่วยต้องสังเกตตนเองอยู่เรื่อยๆ ว่า อาการกลืนลำบากที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลงหรือไม่ ถ้าส่งผลดังกล่าวให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าอาการกลืนลำบากเกิดขึ้นจากสาเหตุใด อย่าได้นิ่งนอนใจเพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะบางครั้งโรคที่ทำให้เกิดการกลืนลกบากอาจร้ายแรงถึงชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยถึงสาเหตุและหาแนวการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ธนกร ลักาณ์สมยา และคณะ : อาการทางอายุรศาสตร์ Medical ymptomatology ฉบับปรับปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Spechler SJ, Souza RF, Rosenberg SJ, et al. Heartburn in patients with achalasia. Gut 1955, 37: 305-308.

โหงวเฮ้งแบบไหนที่ถือว่าดี

0
โหงวเฮ้งแบบไหนที่ถือว่าดี
โหงวเฮ้ง หมายถึง ลักษณะบนใบหน้าที่ดีและโดดเด่น 5 ประการ หน้าผาก คิ้ว-ตา จมูก ปาก หู
โหงวเฮ้งแบบไหนที่ถือว่าดี
โหงวเฮ้ง หมายถึง ลักษณะบนใบหน้าที่ดีและโดดเด่น 5 ประการ หน้าผาก คิ้ว-ตา จมูก ปาก หู

โหงวเฮ้ง

ในยุคปัจจุบันผู้หญิงหันมาดูแลตัวเองมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะต้องมีรูปร่างที่ดีสมส่วน ผิวพรรณกระจ่างใสแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้หญิงให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ก็คือใบหน้า ใบหน้าที่ดีนอกจากจะต้องสวย เรียวได้รูปตามค่านิยมในสังคมแล้ว ผู้หญิงสมัยนี้ยังมีความเชื่อในศาสตร์เรื่อง โหงวเฮ้ง เพราะว่ากันว่าสวยอย่างเดียวไม่พอ ต้องเฮงด้วย การมีโหงวเฮ้งที่ดีมาแต่กำเนิดถือเป็นกำไรชีวิต แต่ด้วยการแพทย์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน แม้ว่าเกิดมาโหงวเฮ้งบนใบหน้าไม่ตรงตำรา ก็สามารถแก้ไขให้เป็นไปอย่างใจต้องการได้ด้วยการทำศัลยกรรมตกแต่ง

ความหมายของโหงวเฮ้ง

โหงวเฮ้งเป็นคำที่คุ้นหูคนไทยมานาน แต่อาจมีหลายท่านที่ไม่รู้จักความหมายของคำๆ นี้
คำว่า “ โหงว ” หมายถึง 5 ส่วนคำว่า “ เฮ้ง ” หมายถึง ลักษณะ, คุณลักษณะ
ดังนั้น คำว่า “ โหงวเฮ้ง ” จึงหมายถึง ลักษณะบนใบหน้าที่ดีและโดดเด่น 5 ประการ อันได้แก่
1. หน้าผาก บ่งบอกถึง ความสมบูรณ์พูนสุข ความฉลาดและสติปัญหา
2. คิ้ว-ตา บ่งบอกถึง ความสัมพันธ์และความคิด
3. จมูก บ่งบอกถึง ฐานะและสินทรัพย์
4. ปาก (ริมฝีปาก) บ่งบอกถึง ลักษณะนิสัย
5. หู บ่งบอกถึง อายุ สุขภาพและอำนาจ

โหงวเฮ้งแบบไหนที่ถือว่าดี

ตามความเชื่อของคนจีน ลักษณะบางอย่างของใบหน้าถือว่าตรงตามหลัก โหงวเฮ้ง ที่ดี แม้ว่าในบางยุคสมัย คุณลักษณะนั้นๆ อาจจะไม่ใช่ค่านิยมที่สังคมชื่นชมว่าสวย ว่างดงามก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น หน้าผากโหนกนูน หรือที่เรียกกันเล่นๆ ว่า “ หัวเหม่ง ” ในอดีตถือว่าไม่สวย ผู้หญิงที่หน้าผากโหนกนูนจึงเสียความมั่นใจและมักไว้ผมหน้าม้าเพื่ออำพรางหน้าผาก เป็นต้น แล้วลักษณะแบบไหนบ้างที่ตรงตามตำราโหงวเฮ้งที่เขาว่าดี วันนี้เราจะมาอธิบายไขข้อข้องใจกัน ดังนี้

1. โหงวเฮ้งหน้าผาก

หน้าผากถือเป็นเนินท้องฟ้า ซึ่งบ่งบอกถึงชีวิตในวัยเยาว์ ว่ามีผู้อุปถัมภ์ค้ำชูดีแค่ไหน บิดามารดาเลี้ยงดูมาอย่างดีหรือไม่ หากมีหน้าผากกว้างหมายถึงได้รับการเลี้ยงดูดี มีความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อสมองค่อนข้างเยอะ ฉลาดเรียนรู้ได้รวดเร็ว ถ้าหน้าผากสูงแสดงว่าเป็นผู้ที่ชอบขวนขวายหาความรู้ พูดง่ายๆ ว่าลักษณะหน้าผากที่ดีตามตำรา โหงวเฮ้ง คือต้องมีเนื้อหน้าผากเต็ม โหนกนูน กว้าง ไม่มีร่องรอยแผลเป็นและหลุมสิวหรือแผลยุบบุบบุ๋ม ว่ากันว่าลักษณะเช่นนี้จะทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จ มีความก้าวหน้า การงานดีกว่าผู้อื่น หากมีหน้าผากแคบและแบนถือว่าดวงเรื่องการงานไม่ดี และที่สำคัญไม่ควรนำผมมาปิดหน้าผาก เพราะถือว่าเป็นการปิดกั้นพลังบวกและสิ่งดี ๆ ในชีวิต ทั้งยังอาจก่อให้เกิดสิว ผด ซึ่งทำให้เสียบุคลิกภาพและเชื่อว่าเป็นตัวขัดขวางความสำเร็จ
ส่วนที่เชื่อมต่อกับหน้าผากก็คือขมับ ซึ่งเป็นส่วนที่บ่งบอกได้ว่าคู่ครองของเราจะดูแลเราได้ดีขนาดไหน โดยสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ

1.ประเภทหน้าผากบุบและแคบ บ่งบอกว่าต้องพึ่งตนเองเป็นสำคัญ ดวงชะตาต้องหาเลี้ยงดูแลตัวเองเป็นส่วนใหญ่จึงจะมีกินมีใช้
2.ประเภทขมับกว้างแต่บุบเล็กน้อย บ่งบอกว่าคู่ครองจะดูแลดีปานกลาง ไม่ทุกข์ยาก แต่ก็ไม่หรูหรา ยังถือว่าดีพอใช้
3.ประเภทหน้าผากกว้าง อิ่ม หน้ากลมเต็ม ถือว่ามีโหงวเฮ้งดีมาก เพราะบ่งบอกว่าจะได้คู่ครองที่ร่ำรวย จะเลี้ยงดูให้มีชีวิตที่สุขสบาย สามีรักช่างเอาอกเอาใจ ราศีคุณนายจับเฉิดฉายที่สุด
วิธีแก้ไขโหงวเฮ้งหน้าผาก สำหรับผู้ที่มีหน้าผากแคบอาจทำการกำจัดขนถาวรบริเวณไรผมซึ่งจะทำให้หน้าผากดูกว้างขึ้น และหากอยากให้หน้าผากดูโหนกนูนขึ้นก็สามารถทำได้ด้วยการศัลยกรรมเสริมอวัยวะเทียมหรือฉีดไขมันเข้าไปบริเวณหน้าผาก ซึ่งจะทำให้หน้าผากดูอวบอิ่ม นูนขึ้นและไม่เป็นอันตรายเนื่องจากไขมันเป็นไขมันของตัวเราเอง โดยแพทย์จะนำไขมันบริเวณต้นขาหรือก้นมาฉีดเสริมให้ ข้อเสียของวิธีฉีดไขมันคือ เมื่อนานวันเข้าไขมันอาจจะสลายและยุบตัวลงไปตามธรรมชาติ จึงต้องกลับมาฉีดซ้ำใหม่เพื่อให้ได้รูปทรงเดิม

2. โหงวเฮ้งคิ้ว-ตา

ตามตำราเชื่อว่า คิ้วคือธาตุไม้ ส่วนตาเป็นธาตุไฟ ดังนั้น 2 ส่วนนี้ต้องมีความสมดุลกัน นั่นคือมีขนาดใกล้เคียงกัน หากคุณมีดวงตาเล็ก ส่วนคิ้วก็ไม่ควรหนาใหญ่จนเกินไป เช่นเดียวกันหากคุณมีดวงตากลมโต ส่วนคิ้วก็ควรจะมีความใหญ่หนาให้รับกันพอดี ไม่ให้ธาตุไฟของดวงตาเผาธาตุไม้ของคิ้วได้
ดวงตาถือเป็น โหงวเฮ้ง สำคัญบนใบหน้า เพราะดวงตาบ่งบอกนิสัยใจคอ รวมทั้งดวงด้านความสัมพันธ์และด้านการงาน ดวงตาที่ดีต้องมีความสดใส ตาดำต้องดำเป็นนิล ตาขาวต้องขาวสะอาดไม่มีเส้นเลือดฝอยแดงก่ำจนน่ากลัว ดวงตาทั้งสองข้างต้องมีขนาดเท่ากัน รูปตายาวรี ไม่ลึกหรือปูดโปน เพราะดวงตาที่ปูดโปนบ่งบอกว่าจะเป็นผู้อาภัพรัก ดวงตาไม่เล็กหยี ที่สำคัญรูปนัยน์ตาและหางตาต้องเฉียงขึ้น หางตาต้องไม่ตก ส่วนคิ้วเกี่ยวข้องกับสติปัญญาและความสัมพันธ์กับผู้อื่น หากคิ้วสวยได้รูปจะส่งผลให้มีชื่อเสียง มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นดี
วิธีแก้ไขโหงวเฮ้งคิ้ว-ตา สำหรับผู้ที่ไม่สามารถวาดคิ้วให้พอดีกับขนาดตาได้ อาจเลือกวิธีการสักคิ้ว ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญออกแบบทรงคิ้วให้สวยสัมพันธ์กับดวงตา โดยคิ้วที่ดีต้องยาวกว่าดวงตา มีความตรงและเงางาม ส่วนผู้ที่มีปัญหาเรื่องตาเล็ก การศัลยกรรมทำตาสองชั้นจะช่วยแก้ไขให้ดวงตาดูกลมโตขึ้นได้ หากหางตาตกก็แก้ไขได้ด้วยกันศัลยกรรมยกหางตาขึ้น

3. โหงวเฮ้งจมูก

จมูกจัดเป็นธาตุดิน คือสิ่งแสดงถึงขุมทรัพย์บนใบหน้า เป็นพลังในเรื่องของการหาเงินทอง จมูกที่มีสีแดงหรืออมชมพูยิ่งบ่งบอกว่าเจ้าของจะเป็นผู้มีโชคลาภ โดยจมูกที่ดีควรมีเนื้อมากและมีลักษณะกลม รูจมูกไม่ใหญ่ รูปทรงคล้ายผลชมพู่ โด่งกำลังดี ยิ่งจมูกกลมหนาแสดงว่ามีทรัพย์สมบัติมาก สันจมูกต้องกว้างและเป็นแนวยาวตรงจากคิ้วจรดปลายจมูกอันบ่งบอกว่ามีชื่อเสียงเกียรติยศดี ซึ่งสันจมูกที่คดงอ เรียวคมจนเกินไปหรือเป็นแอ่งบ่งบอกว่าเก็บเงินไม่อยู่ ส่วนปีกจมูกนั้นหมายถึงหีบสมบัติ ต้องหนาและเท่ากัน ลักษณะคล้ายกลีบกระเทียม ลักษณะจมูกที่ไม่ดีไม่ส่งเสริมเจ้าของ คือ จมูกที่เบี้ยว คดงอ จมูกลีบเล็ก แห้งไม่มีเนื้อ จมูกที่มองเห็นรูจมูกได้อย่างชัดเจน เป็นต้น
โหนกแก้มและคางถือว่าเป็นเนินผู้ช่วย หากมีโหนกแก้มที่รับกับจมูก จะมีอำนาจ วาสนา สามารถควบคุมสามีให้เชื่อฟังได้ ตามตำรา โหงวเฮ้ง โหนกแก้มที่ดีจะต้องมีเนื้อเต็มและอิ่มเอิบ ส่วนคางก็เช่นเดียวกันควรมีเนื้ออิ่มเต็มไม่แหลมมาก ปลายคางอิ่มบ่งบอกว่าในช่วงบั้นปลายของชีวิตจะมีบริวารและมิตรห้อมล้อม แต่ปลายคางที่เรียวแหลมมากบ่งบอกว่าบั้นปลายต้องอยู่อย่างโดดเดียว ขาดคนดูแล
วิธีแก้ไขโหงวเฮ้งจมูก การศัลยกรรมจมูกถือว่าเป็นที่นิยมอันดับต้นๆ ของวงการศัลยกรรมทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยประเทศที่คนไทยนิยมไปทำศัลยกรรมจมูกมากเป็นอันดับหนึ่งคือประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งศัลยแพทย์ไทยหลายท่านก็ได้เดินทางไปศึกษาเรื่องนี้ที่ประเทศเกาหลีใต้เช่นกัน จนทำให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาดูธรรมชาติได้ไม่แพ้กัน โดยในปัจจุบันมีวัสดุเทียมหลายประเภทหลายราคาที่มีความปลอดภัยสูง ช่วยเสริมให้จมูกดูโด่งขึ้น ส่วนบริเวณปีกจมูกก็สามารถเสริมได้ด้วยการใช้กระดูกอ่อนจากใบหูหรือจมูก

4. โหงวเฮ้งปาก ( ริมฝีปาก )

ปากคือธาตุน้ำ หมายถึงเรื่องการทำมาหากิน พูดง่ายๆ ว่าโหงวเฮ้งปากที่ดีคือต้องมีรอยหยัก มุมปากชัด ริมฝีปากมีความอิ่มพอดีกันทั้งบนและล่าง ปากปิดได้สนิทไม่เผยอ ถ้าปากส่วนบนหนาใหญ่เกินพอดี บ่งบอกว่ามีกิเลส มีความโลภมาก แต่ถ้าปากส่วนบนบางกำลังดีจะหมายถึงเป็นผู้ใช้ชีวิตเรียบง่าย สมถะ ขอบปากชัดเจนบ่งบอกว่าเป็นผู้ที่สามารถเชื่อถือได้ หากริมฝีปากดำคล้ำหมายถึงคำพูดจาเชื่อถือไม่ได้ ไม่รักษาคำพูด แต่ถ้าริมฝีปากแดง สีสด หมายถึงเป็นผู้รักษาคำพูด มีสัจจะ พูดจาดีมีเสน่ห์ นอกจากนี้รูปทรงของปากยังบ่งบอกลักษณะนิสัยของเจ้าของด้วย ดังนี้

  • ปากทรงสี่เหลี่ยม คล้ายกับปากม้า ปากวัวถือว่าเป็นลักษณะที่ดีมากๆ และหาได้ยากด้วย ปากแบบนี้แม้จะมีลักษณะไม่สวยตามค่านิยมแต่ถือว่าดีมาก บ่งบอกว่าเป็นผู้รักษาสัจจะ มีความจริงใจ
  • ปากรูปกระจับ เป็นลักษณะ โหงวเฮ้ง ดีที่เหมาะกับผู้มีอาชีพดารา นักแสดง เพราะจะทำให้มีเสน่ห์น่าฟัง โน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้ง่าย

วิธีแก้ไขโหงวเฮ้งปาก เพื่อให้ปากดูสวยน่ามองและอำพรางความดำคล้ำ สาวๆ อาจเลือกทาลิปสติกที่สีสดใส เช่น สีแดงหรือชมพู ตลอดจนการเลือกใช้ครีมบำรุงปากและการสครับผลัดเซลล์ผิวปากอย่างสม่ำเสมอก็ช่วยให้ริมฝีปากสว่างขึ้นได้ และหากอยากให้ริมฝีปากที่หนาใหญ่จนเกินไปมีขนาดเล็กและบางลงก็สามารถศัลยกรรมตกแต่งเก็บริมฝีปากได้

5. โหงวเฮ้งหู

หู คือเครื่องมือการสื่อสารของมนุษย์ สามารถบ่งบอกถึงลักษณะเส้นทางของชีวิตได้ ผู้ที่มีใบหูแข็ง จะเป็นคนที่ยึดมั่นในความคิดของตนเอง เป็นคนไม่ยอมคน ในขณะเดียวกันผู้ที่มีใบหูอ่อน มักจะยอมคนง่าย คล้อยตามความคิดของผู้อื่น อ่อนแอแต่ก็ชอบเอาใจใส่ผู้อื่น นอกจากนี้ลักษณะใบหูที่ใหญ่ แสดงถึงชีวิตที่ราบรื่น เชื่อกันว่าเป็นผู้มีบุญมาเกิด ขอบหูใหญ่และหนาบ่งบอกว่าชีวิตจะยิ่งมีความสมบูรณ์พูนสุข ติ่งหูยาวหมายถึงจะมีอายุยืนยาว นอกจากนี้ลักษณะหูที่ดี ยังต้องเรียบสวยเข้ากับใบหน้า แต่หากใบหูเล็กและกางแสดงถึงชีวิตที่ลำบาก หวาดระแวงและต้องดิ้นรนต่อสู้อยู่เสมอ
วิธีแก้ไขโหงวเฮ้งหู สำหรับผู้ที่มีใบหูกางสามารถศัลยกรรมตกแต่งใบหูให้เรียบเข้ากับใบหน้าได้ การศัลยกรรมหูถือว่าเป็นการศัลยกรรมตกแต่งที่เจ็บปวดน้อยที่สุด เนื่องจากหูประกอบด้วยกระดูกอ่อนเป็นส่วนใหญ่

สาวๆ บางท่านเกิดมามีวาสนาดี มีลักษณะบนใบหน้าเข้าตำรา โหงวเฮ้ง แบบที่ใครหลายคนใฝ่ฝัน แต่สำหรับสาวๆ ที่ไม่มั่นใจในตนเอง การศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งแท้จริงแล้วแม้ว่าการศัลยกรรมอาจไม่ได้ช่วยให้ชะตาชีวิตดีขึ้นในทันทีทันใด แต่จะช่วยให้มีความมั่นใจในบุคลิกภาพ มั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น ส่วนสาวๆ ที่ยังไม่พร้อมจะทำศัลยกรรม เพียงแค่คุณมีความมั่นใจในตนเอง ใช้ชีวิตอย่างมีสติ รู้จักให้อภัยผู้อื่น ครองตนอยู่ในหลักคุณธรรม จริยธรรมที่ดี ตั้งใจทำมาหากิน ก็จะสามารถเป็นผู้ที่มีความสุขและเจริญรุ่งเรืองในชีวิตได้เช่นเดียวกัน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

The Grand Plastic Surgery. ไบเบิลศัลยกรรมเกาหลี.กรุงเทพฯ:อมรินทร์เอลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง,2559.

อาการบวม ( Edema )

0
อาการบวม ( Edema )
อาการบวม ( Edema ) เป็นภาวะที่มีปริมาณของเหลวเพิ่มมากขึ้นในส่วนของเนื้อเยื่อร่างกาย อาจเกิดอาการบวมจากการเพิ่มปริมาณของเหลวนอกเซลล์ หรืออาการบวมที่เกิดจากการเพิ่มปริมาณของเหลวภายในเซลล์
อาการบวม ( Edema )
อาการบวม เป็นภาวะที่มีปริมาณของเหลวเพิ่มมากขึ้นในส่วนของเนื้อเยื่อร่างกาย อาจเกิดอาการบวมจากของเหลวนอกเซลล์ หรือของเหลวภายในเซลล์

อาการบวม ( Edema )

อาการบวม ( Edema ) เป็นความผิดปกติที่สังเกตเห็นได้ง่ายแต่หลายคนก็ไม่ได้ให้ความใส่ใจมากนัก เพราะเกือบทั้งหมดมักจะหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป แต่ถ้านานแล้วยังไม่หายก็มักจะเป็นผลข้างเคียงจากโรคร้าย ซึ่งผู้ป่วยจะเห็นสัญญาณของโรคร้ายเหล่านั้นก่อนที่จะทันใส่ใจอาการบวมที่เกิดขึ้นเสียอีก ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับอาการบวมกันก่อนว่ามันเป็นอย่างไร อาการบวมต่างกับความอ้วนค่อนข้างมาก ลักษณะที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าก็ต่างกันชัดเจน สัมผัสที่ได้อาจจะคล้ายแต่ก็ยังไม่เหมือนกันอยู่ดี ความอ้วนเกิดจากไขมันสะสมมากเกินไป เราจะเห็นเป็นมวลสารที่มีความแน่นมากกว่าอาการบวม เพราะอาการบวมเป็นภาวะที่มีปริมาณของเหลวเพิ่มมากขึ้นในส่วนของเนื้อเยื่อร่างกาย โดยแบ่งย่อยออกไปอีก เป็นอาการบวมที่เกิดจากการเพิ่มปริมาณของเหลวนอกเซลล์ และอาการบวมที่เกิดจากการเพิ่มปริมาณของเหลวภายในเซลล์

อาการบวมที่มีปริมาณของเหลวเพิ่มมากขึ้นในส่วนของเนื้อเยื่อร่างกาย

อาการบวมน้ำภายในเซลล์ ( Intracellular edema )

อาการบวม ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของของเหลวภายในเซลล์ มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะนี้ได้อยู่ 3 ส่วนด้วยกัน
1. Hyponatremia : นี่คือภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ปกติร่างกายเราจะมีสมดุลของแร่ธาตุต่างๆ อยู่ในระดับที่ส่งเสริมให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ เมื่อมากไปหรือน้อยไปก็ส่งผลให้ระบบรวนได้ทั้งหมด อาการที่สังเกตได้ของคนที่มีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำก็คือ มักมีอาการปวดศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการอ่อนล้าหมดแรงอยู่บ่อยๆ สาเหตุของการเกิด Hyponatremia ได้แก่ ดื่มน้ำน้อยเกินไปจนเกิดอาการขาดน้ำ ระดับฮอร์โมนผิดปกติไปจากเดิม อวัยวะในกลุ่มหัวใจ ไต และตับมีปัญหา ไปจนถึงการใช้ยาและสารเสพติดบางชนิด
2. Tissue metabolism ลดน้อยลง : ภายในกล้ามเนื้อจะมีกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า metabolism ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเผาผลาญพลังงานและการนำสิ่งที่ต้องการไปใช้ประโยชน์ หากกระบวนการ metabolism ลดน้อยลงกว่าปกติ ก็จะทำให้เซลล์ขาดพลังงานแล้วขับโซเดียมออกไปจากเซลล์น้อยลง เพื่อพยายามรักษาสมดุลแร่ธาตุในร่างกายเอาไว้ ดังนั้นความเข้มข้นระหว่างภายในและภายนอกเซลล์จึงแตกต่างกัน ภายในมีความเข้มข้นมากกว่าภายนอก ส่งผลให้ของเหลวไหลเข้าสู่ภายในเซลล์ กลายเป็น อาการบวมในที่สุด
3. เซลล์ขาดสารอาหาร : เมื่อเซลล์ขาดสารอาหารก็จะเกิดกระบวนการเช่นเดียวกับการที่ metabolism ลดน้อยลง มันเป็นธรรมชาติของร่างกายที่จะรักษาสิ่งที่มีอยู่เอาไว้ให้ได้มากที่สุดทันทีที่เห็นสัญญาณของความขาด ดังนั้นในกรณีนี้เซลล์จะพยายามรักษาสารอาหารเอาไว้ในเซลล์ ไม่ปล่อยออกมาในอัตราปกติ จึงเกิดความต่างระดับของความเข้มข้นภายในเซลล์กับภายนอกเซลล์ และของเหลวก็จะไหลเข้าสู่ภายในเซลล์นั่นเอง

อาการบวมน้ำภายนอกเซลล์ ( Extracellular edema )

อาการบวมที่เกิดจากการเพิ่มปริมาณของเหลวภายนอกเซลล์ หรือบริเวณที่เรียกว่า extracellular spaces จะมีปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดค่อนข้างต่างจาก Intracellular edema พอสมควร ดังนี้
1. ของเหลวจากส่วนของพลาสมา เคลื่อนตัวผ่านผนัง capillaries มายัง interstitial spaces มากกว่าปกติ : โดยธรรมชาติแล้วของเหลวในส่วนของ extracellular spaces จะกระจายตัวกันอยู่ตาม interstitium และ plasma และมีแรงดันต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของของเหลวไปตามจุดอื่นๆ

2. การไหลเวียนของเหลวจาก interstitium กลับเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว
รู้จักแรงดันต่างๆ ที่มีผลต่อการเคลื่อนตัวของเหลวในเซลล์
Starling forces : เป็นแรงดันตัวแรกที่เราควรทำความรู้จักเอาไว้ แรงนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการหมุนเวียนของของเหลวระหว่างส่วน interstitium กลับ plasma ภายในหลอดเลือด
colloid oncotic pressure : แรงดันนี้ถูกแยกเป็น 2 ส่วน ถ้าอยู่ในส่วนของ interstitium จะทำหน้าที่ดันของเหลวให้เคลื่อนออกจากหลอดเลือดไป แต่ถ้าแรงดันนั้นอยู่ในส่วนของ plasma จะทำหน้าที่ดันของเหลวให้เคลื่อนที่เข้าสู่หลอดเลือด
hydrostatic pressure : แรงนี้อยู่ในส่วนของ interstitium ซึ่งทำหน้าที่ร่วมกับ colloid oncotic pressure เพื่อดันของเหลวเข้าสู่หลอดเลือด
มาถึงตรงนี้แล้วหากยังไม่สามารถจับหัวใจสำคัญของอาการบวมได้อย่างชัดเจนนัก ก็เพียงแค่ทำความเข้าใจในส่วนเบื้องต้นให้ได้ นั่นก็คือ อาการบวม จะเกิดจากระบบการรักษาสมดุลของแร่ธาตุ และของเหลวต่างๆ แปรปรวนไป หรือปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียนในเนื้อเยื่อลดน้อยลงอย่างมาก เมื่อสมดุลเริ่มเสียไปร่างกายก็หาวิธีชดเชยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนเกิดการคั่งของโซเดียมและน้ำทั้งภายในและภายนอกเซลล์

อาการบวม เป็นภาวะที่มีปริมาณของเหลวเพิ่มมากขึ้นในส่วนของเนื้อเยื่อร่างกาย อาจเกิดอาการบวมจากของเหลวนอกเซลล์ หรือของเหลวภายในเซลล์

สาเหตุของ อาการบวม

ความจริงแล้วสาเหตุของ อาการบวมก็มีได้หลายประเด็น แต่กรณีที่พบได้บ่อยมีดังต่อไปนี้

1. Calcium channel blocker-induced edema

พูดให้เข้าใจง่ายก็คือเป็นอาการบวมที่เกิดจากการใช้ยา โดยเจาะจงไปที่ยาในกลุ่ม calcium channel blockers (CCB) ซึ่งเป็นยาที่ถูกหยิบมาใช้บ่อยมากในการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และตัวยาที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในกรณีนี้ก็คือ amlodipine เป็นยาที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต ตลอดจนบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก และบรรเทาโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจต่างๆ แน่นอนว่าเป็นตัวยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาดีเยี่ยม แต่กลับมาผลข้างเคียงที่น่ากังวลอยู่เหมือนกัน ส่วนมากจะเริ่มเห็นสัญญาณของอาการบวมหลังจากใช้ยาไปแล้ว 6 เดือน จุดที่เกิดได้ง่ายคือข้อเท้าและช่วงขา

2. Cirrhosis

อาการบวมแบบนี้เป็นผลมาจากความผิดปกติของตับ เราอาจเรียกกันง่ายๆ ว่า โรคตับแข็ง เมื่อเจาะลงลึกในรายละเอียดก็พบว่า เกิดจากการที่ตับสังเคราะห์ albumin น้อยลง ซึ่งจะส่งผลกระทบไปทั้งระบบ ในเลือดก็จะมี oncotic pressure ลดลง กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะเจอกับภาวะอาการบวมแบบนี้ก็คือ คนที่ติดเชื้อไวรัสตับ คนที่ดื่มสุราเป็นประจำ คนที่มีเกลือแร่ในร่างกายสูงเกินไป คนที่มีโรคต่างๆ เกี่ยวกับท่อน้ำดี เป็นต้น อาการที่เป็นสัญญาณชัดเจนจะเริ่มจากความไม่สบายตัวเล็กๆ น้อยๆ ไล่ไปตั้งแต่ เริ่มเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ห้อเลือดได้ง่าย ติดเชื้อได้ง่าย และเริ่มบวมจนสังเกตได้

3. Heart disease

นี่คือความผิดปกติของกระบวนการต่างๆ ในหัวใจ เรามักเรียกว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว สิ่งที่เกิดขึ้นในรายละเอียดก็คือ หัวใจไม่มีกำลังมากพอให้สามารถบีบเลือดเพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ส่งผลให้มี capillary pressure เพิ่มขึ้น สุดท้ายก็กลายเป็น Heart disease ในที่สุด

4. Nephrotic syndrome

ผู้ป่วยที่เป็นโรค Nephrotic syndrome ก็จะมีอาการบวมที่ชัดเจนเช่นเดียวกัน โดยในทางทฤษฎีได้มีการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อยู่ 2 ทฤษฏี ได้แก่
4.1 Underfill theory : เป็นกลุ่มที่ผู้ป่วย Nephrotic syndrome มีปริมาณโปรตีนปะปนออกมาพร้อมกับปัสสาวะมากเกินไป ผลที่ตามมาก็คือ ค่า serum albumin จะลดน้อยลง และยังกระทบต่อระบบอื่นๆ ไปอีกเป็นทอดๆ ทำให้ร่างกายเกิด อาการบวม ขึ้นมา
4.2 Overfill theory : ส่วนกลุ่มนี้เป็นผู้ป่วย Nephrotic syndrome ที่มีความผิดปกติในส่วนของไต เจาะจงไปที่ประสิทธิภาพในการดูดกลับของโซเดียมเป็นหลัก นานเข้าปริมาณของ plasma volume และ capillary pressure จึงเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการบวมโดยตรงเลย แต่ไม่ว่าอย่างไรทฤษฏีเหล่านี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน จนสามารถนำไปอ้างอิงได้ในทุกกรณี อย่างเช่นการตรวจพบว่ามีปริมาณโปรตีนในปัสสาวะมากเกินไป ก็มีโรคอื่นๆ อีกหลายอย่างที่มีสัญญาณคล้ายคลึงกันนี้ ดังนั้นเมื่อมีความสงสัยว่าผู้ป่วยน่าจะเข้าข่ายอาการบวมจาก Nephrotic syndrome ก็ต้องทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดอีกหลายขั้นตอน 

5. Kidney diseases

เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคไต ไม่ว่าจะเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ถ้าความผิดปกติของไตนั้นส่งผลให้ค่า GFR ลดลงในระดับที่มากพอ ก็จะทำให้เข้าสู่สภาวะบวมได้ หากการลดลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ก็จะมีอาการไตวายเฉียบพลัน ในขณะที่การเกิดอย่างช้าๆ จะกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
ผลกระทบจาก อาการบวมที่น่าวิตก
หากอาการบวมนั้นเป็นแบบที่เรามักพูดกันง่ายๆ เช่น กินเค็มเกินไป ดื่มน้ำน้อยไป แบบนี้ก็สามารถแก้ไขให้หายเป็นปกติได้ไม่ยาก แต่หากอาการบวมนั้นขาดการดูแลเอาใจใส่จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของร่างกาย ก็มีเรื่องที่ชวนให้น่าวิตกกังวลดังต่อไปนี้

5.1 Mechanical effect : ของเหลวที่เพิ่มปริมาณขึ้นมากในส่วนที่ไม่ควรจะมีมากขนาดนั้น จะทำให้เกิดการกดทับอวัยวะ แรงกดจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับระดับความบวมที่เกิดขึ้น ซึ่งการกดทับนี้เมื่อเป็นมากขึ้น หรือกดทับอยู่เป็นเวลานาน จะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้หลายอย่าง เริ่มแรกจะกระทบกับการทำงานของอวัยวะนั้น เริ่มทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อาจเกิดการอักเสบหรือช้ำในได้ และหากอวัยวะนั้นเป็นส่วนที่มีความนุ่มมากๆ ก็อาจถูกกดจนเซลล์แตกและเสื่อมสลายไปได้
5.2 Prone to infection : การรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายนอกจากเชื่อมโยงกับการทำงานของระบบต่างๆ แล้ว ยังเป็นการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในร่างกายอีกด้วย เพราะน้ำที่มากพอเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเติบโตของเชื้อโรค อาการบวมน้ำในเนื้อเยื่อส่วนที่เหมาะสม จะช่วยเร่งให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้เร็ว เช่น อาการบวมในปอด เป็นต้น
5.3 Fibrosis : ของเหลวที่เป็นต้นเหตุของ อาการบวมหากมีส่วนประกอบของโปรตีนอยู่มาก มักจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบภายใน และเกิดการอุดตันในหลอดลำเลียงต่างๆ
จากข้อมูลทั้งหมดนี้ น่าจะทำให้ตระหนักได้ว่าอาการบวมอาจไม่ใช่เรื่องเล่นๆ และสามารถคร่าชีวิตคนหนึ่งคนได้เลย เมื่อไรที่เริ่มรู้สึกว่ามีอาการบวมโดยไม่รู้สาเหตุ จึงต้องรีบเข้าพบแพทย์พร้อมอธิบายลักษณะอาการอย่างละเอียด เพื่อที่ทีมแพทย์จะได้ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาตามกระบวนการกันต่อไป

วิธีป้องกันและรักษาอาการบวมอย่างง่าย

อย่างที่ได้รู้อย่างชัดเจนไปแล้วว่า สาเหตุของอาการบวมมีหลากหลาย ดังนั้นในกรณีที่รุนแรงก็ต้องเข้าพบแพทย์เท่านั้น แต่ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้วิธีเหล่านี้ได้
1. ดื่มน้ำให้พอเพียงต่อการใช้งานของร่างกาย ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีมากที่สุดและจำเป็นต่อการทำงานของระบบร่างกายมากที่สุดเช่นกัน การดื่มน้ำอย่างเหมาะสมเป็นการช่วยรักษาสมดุลร่างกายให้ปกติดีอยู่เสมอ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการบวมได้ หรือแม้แต่เริ่มมี อาการบวมล้วการปรับพฤติกรรมในการดื่มน้ำก็ช่วยเปลี่ยนสมดุลต่างๆ ให้เข้าที่เข้าทางได้
2. ระวังการทานโซเดียม เดี๋ยวนี้ในอาหารมีปริมาณโซเดียมแฝงอยู่เยอะมาก ทำให้คนส่วนใหญ่มีปริมาณโซเดียมในร่างกายสูงกว่าปกติ ดังนั้นให้เริ่มสังเกตอาหารการกินให้มีคุณภาพมากขึ้น สิ่งไหนที่ถูกปากแต่ไม่ดีต่อสุขภาพก็ควรหลีกเลี่ยงเสียบ้าง หรือถ้ามันหักห้ามใจไม่ได้จริงๆ ก็ควรลดปริมาณให้ได้มากที่สุด
3. ออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่ออย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายช่วยขับแร่ธาตุส่วนเกินบางส่วนออกมาได้ และยังทำให้อวัยวะต่างๆ แข็งแรง ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ธนกร ลักาณ์สมยา และคณะ : อาการทางอายุรศาสตร์ Medical ymptomatology ฉบับปรับปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Braunwald E, Loscalzo J. Edema. Harrison,s principles of internal medicine. 18th ed. New York, McGraw-Hill, 2012.

อาการปวดศีรษะ ( Headache )

0
อาการปวดศีรษะ ( Headache )
โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะในขณะที่มีความเครียด โกรธ หรือเหนื่อย มีอาการปวดศีรษะเหมือนมีแถบมารัดแน่นรอบศีรษะทั้ง 2 ด้าน และรู้สึกบีบตื้อๆ ตลอดเวลาที่ปวด
อาการปวดศีรษะ ( Headache )
โรคปวดศีรษะไมเกรน อาการปวดจะมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงมาก อาการปวดจะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอกและภายในร่างกาย

อาการปวดศีรษะ

คนทั่วไปจะเคยเกิด อาการปวดศีรษะ ( Headache ) ซึ่งอาการปวดหัวเป็นอาการที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษามากเป็นอันดับต้น ๆ เนื้อสมองไม่สามารถรับความรู้สึกได้เหมือนเส้นประสาทที่บริเวณกะโหลกศีรษะ หรือหนังศีรษะ เส้นเลือดดำ หลอดเลือดแดงและดำขนาดใหญ่ เยื่อหุ้มสมอง แขนงประสาทของเส้นประสาทสมองที่ 5, 9, 10 เส้นประสาทไขสันหลัง และกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะดับต้นคอ แม้อาการปวดศีรษะบางครั้งจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่อาการปวดหัวก็สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยได้

อาการปวดศีรษะ

สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

1. ปวดศีรษะปฐมภูมิ ( Primary headache )

ปวดศีรษะปฐมภูมิ ได้แก่ migraine, tension type headache ( TTH ), trigerminal autonomic cephalgia ( TAC ) และ myofascial pain syndome คือ อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นโดยไม่มีพยาธิสภาพของสมองหรืออวัยวะข้างเคียง ไม่มีโรคทางกายอื่นๆที่ทำให้เกิด อาการปวดศีรษะ เช่น อาการไข้ ภาวะเลือดข้น เป็นต้น โดยเฉพาะไมเกรนจัดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะชนิด Primary headache ที่พบได้บ่อย และสาเหตุรองลงมา คือ ปวดศีรษะชนิดตึงตัว

อาการปวดศีรษะที่พบบ่อยในกลุ่มปฐมภูมิ ( Primary headache )

เมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการรักษา เรามีแนวทางในการวินิจฉัยโรค โดยเริ่มจากการแยกประเภทของอาการปวดหัวว่าเป็นอาการปวดหัวชนิดใด ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้ ประเภทของ อาการปวดศีรษะ ชนิด Primary headache ที่พบบ่อยในกลุ่มปฐมภูมิ

1. โรคปวดศีรษะไมเกรน

อาการปวดศีรษะโดยเฉพาะไมเกรนจะมีอาการแบบเป็นๆหายๆ เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ สามารถมีอาการปวดตั้งแต่ 4-72 ชั่วโมง อาการปวดจะมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงมาก อาการปวดจะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอกและภายในร่างกาย เช่น การโดนแสง ความร้อน การเคลื่อนไหวของศีรษะ การมีประจำเดือน เป็นต้น เมื่อมีอาการปวดศีรษะมากจะส่งผลให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติจนมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ อาการจะเริ่มจากการผู้ป่วยร้อยละ 70 จะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว ทีเหลือจะมีอาการปวดศีรษะทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน ลักษณะเฉพาะของอาการปวดไมเกรน คือ ปวดกระบอกตา โดยเฉพาะเวลากลอกตา เนื่องจากกลไกการปวดจะผ่านการกระตุ้นหลอดเลือดที่บริเวณเยื่อหุ้มสมอง เป็นโรคที่พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ทั้งในวัยรุ่นและผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลกระทบต่อสมรรถภาพการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยร้อยละ 50 จะมีอาการรุนแรง ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทได้แก่

  •  Migrine without aura เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะอย่างเดียว โดยปวดข้างละประมาณ 4 ถึง 7 ชั่วโมง มีอาการปวดตุบๆ ตั้งแต่ระดับปานกลางถึงรุนแรง อาการปวดจะเพิ่มขึ้นเมื่อทำกิจวัตรปกติ มีอาการคลื่น ไส้อาเจียน สู้แสงหรือเสียงไม่ได้ โดยจะเกิดขึ้นซ้ำซ้ำอย่างน้อย 5 ครั้งจึงเข้าเกณฑ์ของ IHS โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเตือนที่ไม่จำเพาะ เช่น กระหายน้ำ ความอยากอาหารแล้วจึงเกิดปวดศีรษะข้างเดียวหรือทั้งศีรษะก็ได้ เมื่อมีอาการปวดจะต้องอยู่นิ่งและไม่อยากทำกิจกรรมใด เพราะจะทำให้อาการปวดเพิ่มขึ้น ผ่านไปสักระยะอาการปวดจะบรรเทาลงด้วยการจากยาหรือการนอนหลับ เมื่อหายปวดผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียจนหลับไป หากไม่ได้รับรักษาหรือควบคุมโรคที่ดี จะกลายเป็นไมเกรนชนิดเรื้อรังและมีแนวแนวโน้มในการเกิดภาวะปวดศีรษะจากการใช้ยาเกิน
  •  Migrine with aura ผู้ป่วยมีอาการนำหรืออาการเตือนก่อนที่จะมี อาการปวดศีรษะพบประมาณร้อยละ 15- 30 ของผู้ป่วยไมเกรน มีอาการทางตามากที่สุด มีอาการปวดระยะเวลาสั้นหายเป็นปกติ มักเห็นแสงกระพริบ เห็นจุด เห็นเส้น มองภาพไม่ชัด เห็นภาพบิดเบี้ยวหรือสีเพี้ยนจากความเป็น มีจุดดำขนาดใหญ่หรือเห็นเส้นซิกแซกที่มีขนาดขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ บางรายประสาทรับความรู้สึกผิดปกติ เช่น เหน็บชา อาการพูดผิดปกติ สับสน โดยอาการเตือนจะเกิดก่อนมากกว่า 5 นาทีและคงอยู่นานถึง 1 ชั่วโมงจึงเริ่มปวดศีรษะ ผู้ป่วยอาจมีอาการเตือนหลายแบบร่วมกัน บางครั้งมีอาการเตือนแต่อาจไม่มีอาการปวดศีรษะตามมา ซึ่งเราสามารถแบ่งชนิดของการปวดศีรษะไมเกรน ได้ดังนี้
    1. อาการปวดศีรษะไมเกรนชนิดที่มีอาการนำ
    2. อาการปวดศีรษะไมเกรนชนิดที่ไม่มีอาการนำ
    3. อาการปวดศีรษะไมเกรนชนิดอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะไมเกรนร่วมกับมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก หรือปวดศีรษะไมเกรนร่วมกับมีการทำงานของก้านสมองผิดปกติ
    4. อาการนำไมเกรนแต่ไม่พบอาการปวดศีรษะมาก แต่ระบบการมองเห็นเกิดความผิดปกติชั่วคราวโดยหลักเกณฑ์อย่างง่ายที่ใช้ในการวินิจฉัยไมเกรนที่เป็นอาการปวดหัวชนิด Primary headache
    1.ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะนานต่อเนื่อง 4-72 ชั่วโมง เมื่อทำการตรวจระบบประสาทอยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น อาการไข้
    2.ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นพร้อมกันอย่างน้อย 2 อย่างขึ้นไป

    • มีอาการอาการปวดศีรษะข้างเดียว
    • มีอาการปวดแบบตุ้บๆ ที่บริเวณเบ้าตาหรือศีรษะ
    • อาการปวดมีความรุนแรงขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นหรือเมื่อมีการเคลื่อนไหว
    • อาการปวดมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับกลางถึงมาก

3. ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนหรือกลัวเสียงและแสงอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะที่มี อาการปวดศีรษะเมื่อทราบแล้วว่าผู้ป่วยมีอาการปวดหัวไมเกรนก็สามารถทำการรักษาอาหารปวดหัวไมเกรน ได้ดังนี้
3.1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
โรคไมเกรนเป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ จึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการปวดศีรษะเกิดขึ้นแม้แต่น้อย เมื่อปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง โดยผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะเช่น ความเครียด ความวิตกกังวล เกสรดอกไม้ แสงสว่างจ้า ๆ เสียดัง ๆ เป็นต้น และทำการจดบันทึกอาการปวดศีรษะในแต่ละวันด้วยถ้าอาการปวดไมเกรนยังไม่ดีขึ้น แม้จะหลีกเลี่ยนปัจจัยกระตุ้น
3.2. การรักษาด้วยการใช้ยา ผู้ป่วยโรคไมเกรนเมื่อมีอาการปวดหัวสามารถรับประทานยาเพื่อระงับอาการปวดเฉียบพลันหรือรับประทานยาเพื่อป้องกันอาการปวดไม่เกรน
เพียงเท่านี้อาการปวดไมเกรนก็จะบรรเทาหรือไม่แสดงอาการออกมาได้

โรคปวดศีรษะไมเกรน อาการปวดจะมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงมาก อาการปวดจะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอกและภายในร่างกาย

2. โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว

ปวดศีรษะชนิดตึงตัว คือ โรคปวดศีรษะที่พบได้ประมาณร้อยละ 38-78 ผู้ป่วยจะมี อาการปวดศีรษะ ในขณะที่มีความเครียด โกรธ หรือเหนื่อย มีอาการปวดศีรษะเหมือนมีแถบมารัดแน่นรอบศีรษะทั้ง 2 ด้าน และรู้สึกบีบตื้อๆ ตลอดเวลาที่ปวด ระดับความรุนแรงตั้งแต่น้อยจนถึงปานกลาง ระยะเวลาปวดตังแต่ไม่กี่นาทีจนถึง 1 วัน อาการปวดหัวแบบนี้สามารถพบร่วมกับไมเกรนได้ การวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวไม่บ่อย ผู้ป่วยจะต้องมีอาการปวดศีรษะอย่างน้อย 10 ครั้งมาก่อนภายใน1 เดือนหรือน้อยกว่า 12 ครั้งต่อปี โดยแต่ละครั้งจะมีอาการปวดประมาณ 30 นาทีถึง 7 วัน และมีอาการกดเจ็บที่บริเวณรอบศีรษะที่มีอาการปวดจากการคลำและกด ระหว่างการตรวจร่างกายโดยเฉพาะขณะที่มาการปวดศีรษะเกิดขึ้น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะชนิดตึงตัวเป็นประจำจะมีอาการปวดอย่างน้อย 10 ครั้งภายใน 2 สัปดาห์ ต่อเนื่อง 3 เดือน ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีอาการไมเกรนชนิดไม่มีอาการเตือนร่วมด้วย สำหรับผู้ป่วยปวดศีรษะชนิดตึงตัวชนิดเรื้อรังจะอาการปวดมากกว่า 15 ครั้งต่อเดือน ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน

3. โรคปวดศีรษะคลัสเตอร์

ปวดศีรษะคลัสเตอร์ คือ โรคปวดศีรษะที่พบได้น้อยที่สุด โดยพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเพียงข้างเดียวเท่านั้น โดยจะมีอาการมาที่บริเวณตา รอบตาหรือขมับ โดยอาการจะคงอยู่ประมาณ 15 นาทีถึง 3 ชั่วโมง และเกิดขึ้นวันเว้นวันหรือ 8 ครั้งต่อวัน ซึ่งมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวด เช่น ตาแดงกล่ำหรือน้ำตาไหล คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล หนังตาบวม หน้าผากหรือใบหน้าบวม ม่านตาหดเล็กหรือหนังตาตก หูอื้อ รู้สึกกระวนกระวายอยู่ไม่นิ่ง เกิดขึ้นร่วมด้วยอย่างน้อย 1 อย่างในบริเวณข้างเดียวกับที่เกิด อาการปวดศีรษะผู้ป่วยจะมีอาการปวดติดต่อกันตั้งแต่หลายวันถึงหลายสัปดาห์ และหยุดปวดไปอีกหลายเดือนหรือเป็นปี แล้วจึงกลับมามีปวดศีรษะอีกครั้งในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับช่วงที่เคยมีอาการปวดมาก่อนด้วย โดยผู้ป่วยร้อยละ 15 จะมีอาการชนิดเรื้อรัง ที่ได้รับการกระตุ้นโดยแอลกอฮอล์ได้

2. ปวดศีรษะทุติยภูมิ ( Secondary headache )

คือ การปวดศีรษะที่มีอาการทางพยาธิสภาพของสมองหรืออวัยวะข้างเคียง เป็นอาการปวดศีรษะที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคทางกายหรือการเป็นโรค เช่น อาการปวดศีรษะจากไข้ อาการปวดศีรษะจากความดันในโพรงสมองสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดศีรษะ มีดังนี้
1. หลอดเลือดแดงมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการขยายตัวจากการดึง ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกกะโหลกศีรษะ
2. ตำแหน่งของหลอดเลือดดำหรือ venous sinus การเคลื่อนจากการดึงรั้ง
3. เส้นประสาทสมองหรือเส้นประสาทไขสันหลังเกิดการกดทับ การดึงรั้งหรืออาการอักเสบ
4. กล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและคอมีการเกร็งตัว รอยโรคหรือการอักเสบ
5. เยื่อหุ้มสมองเกิดการระคายเคืองหรือภายในกะโหลกศีรษะมีความดันสูง
6. สารสื่อประสาทโดยเฉพาะ serotonin เกิดการเปลี่ยนแปลงจากผลของยา อาหาร สารเคมี

อาการปวดศีรษะทุติยภูมิ ( Secondary headache )
การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะแบบ secondary headache ต้องทำการส่งตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเจาะเลือด การส่งเอกซเรย์สมอง เป็นต้น
โดยผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะที่น่าสงสัยว่าจะเป็นอาการปวดหัวแบบ secondary headache มีลักษณะดังนี้
1. มีอาการปวดที่กลางศีรษะ ไม่ปวดศรีษะข้างเดียว
2. เริ่มมีอาการปวดศีรษะที่อายุมากกว่า 50 ปี
3. ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
4. ผู้ป่วยที่มีปวดศีรษะเรื้อรังลักษณะและตำแหน่งที่ปวดจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
5. อาการปวดศีรษะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
6. ระบบประสาทมีความผิดปกติ เช่น มองเห็นภาพซ้อน อ่อนแรงครึ่งซีก ตรวจพบ meningeal signs
7. ความดันโลหิตสูงหรือมีอาการไข้

การซักประวัติผู้ป่วย

1. อาการทั่วไปของผู้ป่วย เช่น อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดหรือเพิ่ม มีไข้หรือโรคประจำตัวหรือไม่
2. ประวัติของบุคคลในครอบครัวว่ามี อาการปวดศีรษะ แบบไมเกรนหรือไม่
3. เริ่มมีอาการปวดศีรษะเมื่ออายุเท่าใด โดยไมเกรนจะเริ่มมีอาการช่วงวัยรุ่น แต่ถ้าเป็นอาการปวดศีรษะชนิดรุนแรงจะเกิดในผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งมักเป็นอาการปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ ให้ทำการส่งตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป
4. บริเวณและลักษณะของอาการปวด เช่น ปวดข้างเดียวหรือสองข้าง ปวดแน่น ปวดตื้อ หรือปวดตุบๆ ปวดร้าว เป็นต้น
5. ความถี่ของอาการปวดศีรษะ เช่น จำนวนครั้งต่อสัปดาห์หรือเดือน ปวดติดต่อกัน หรือเป็น ๆ หาย ๆ หรือปวดทุกวัน ถ้ามีอาการปวดทุกวันและมีการกินยาแก้ปวดต่อเนื่อง ผู้ป่วยอาจะเป็นโรคปวดศีรษะจากการกินยาเกินขนาดได้
6. ความยาวนานของอาการปวด เช่น ปวดศีรษะคลัสเตอร์มักจะปวดชั่วคราวไม่กี่นาทีถึงชั่วโมง
7. ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอาการปวดที่เกิดขึ้น เช่น อาการปวดเริ่มจากถี่น้อยจนถี่มากขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ แสดงว่ามีภาวะปวดศีรษะทุติยภูมิ
8.ระยะเวลาที่ผู้ป่วยไม่มีอาการปวด
9.ประวัติลักษณะอาการปวดแต่ละครั้ง
10.การกระจายของอาการในช่วงเวลาหนึ่งหนึ่งจะช่วยวินิจฉัยโรคที่จำเพาะได้
11. ความรุนแรงของอาการปวด ว่ามีอาการปวดมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ปวดจนต้องหยุดงานหรือปวดจนทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง คือมีอาการปวดจนกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
12. อาการที่นำหรืออาการที่เกิดขึ้นหลังจากปวดศีรษะ เช่น เห็นแสงกระพริบ ภาพที่บิดเบี้ยวก่อนอาการปวด หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนระหว่างมีอาการปวด สำหรับ อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์จะมีอาการกระวนกระวาย น้ำมูกไหล น้ำตาไหล หูอื้อ ตาแดงเกิดขึ้นร่วมด้วย
13. ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหนักขึ้น เช่น การอดนอน อาหารบางชนิด หรือแอลกอฮอล์มากระตุ้นไมเกรน แสงจ้าหรือเสียงดัง
11. ปัจจัยที่ทำให้อาการปวดบรรเทา เช่น การนอนหลับ อาหาร หรือยาบางชนิดที่จำเพาะกับอาการปวดศีรษะนั้นๆ
12. ปัจจัยทางด้านจิตใจและสังคม เช่น ความเครียด อาชีพ งานอดิเรกที่มีผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ

โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะในขณะที่มีความเครียด โกรธ หรือเหนื่อย มีอาการเหมือนมีแถบมารัดแน่นรอบศีรษะทั้ง 2 ด้าน และรู้สึกบีบตื้อๆ ตลอดเวลาที่ปวด

สาเหตุของอาการปวดหัวที่มีความรุนแรงสูง

สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัติจำเพาะให้ตั้งสมมุติฐานหรือสงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะปวดศีรษะชนิดทุติยภูมิ โดยสาเหตุของอาการปวดหัวที่มีความรุนแรงสูง มักเกิดจากโรคทางกายเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากประวัติของผู้ป่วยดังนี้
1. ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน โดยที่ไม่เคยมีประวัติอาการมาก่อนเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแตกหรือรั่ว ทำให้ใต้เยื่อหุ้มอะแร็คนอยด์มีเลือดออก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
2. อาการปวดที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ก้อนที่มีการขายขนาดขึ้นทำให้ความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้อาการปวดศีรษะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกครั้งนั่นเอง
3. อาการปวดศีรษะเกิดขึ้นเมื่อทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น การออกกำลังกาย การไอ การมีเพศสัมพันธ์ หรือการเปลี่ยนแปลงท่าทาง ซึ่งเกิดจากความดันในกะโหลกศีรษะมีการเปลี่ยนแปลง
4. ผู้ป่วยมีอาการปวดจนต้องตื่นขึ้นในขณะที่นอนหรือมีอาการปวดมากในตอนเช้า เนื่องจากความดันในสมองหรือกะโหลกศีรษะสูง

5. ผู้ป่วยมีอาการ เช่น อ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ-ข้อ ในผู้ป่วยโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน อาการไข้ ที่เกิดจากการติดเชื้อหรืออาการทางระบบประสาทที่ผิดปกติ เช่น ความรู้คิด ความจำ การพูด การมองเห็น กำลังของแขนขา การทรงตัว ชัก
6. ประวัติโรคเก่าที่เคยเป็น เช่น การติดเชื้อ มะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง
เมื่อทำการวินิจฉัยโรคจาการซักประวัติแล้วสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการปวดหัวแบบ Secondary headache ต้องทำการส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจร่างกาย โดยการการตรวจร่างกายช่วยหาโรคทางกายและแยกภาวะปวดศีรษะทุติยภูมิออกจากอาการปวดหัวแบบปฐมภูมิ ซึ่งควรเน้นเกี่ยวกับความผิดปกติของสัญญาณชีพ ระดับสติที่ลดลง อาการคอแข็งที่อาจจากการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง ความผิดปกติของดวงตาหรือจอประสาทตา โดยดูจากการตอบสนองของม่านตาหรืออาการที่บ่งชี้ถึงพยาธิสภาพเฉพาะจากสมอง เช่น อาการอ่อนแรง การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ทั้งการเดิน การยืน การนั่ง ความผิดปกติของการรับความรู้สึก

เมื่อมี อาการปวดศีรษะเกิดขึ้นผู้ป่วยสามารถรับประทานยาเพื่อระงับอาการปวดได้ แต่ถ้ามีอาการปวดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะเนื่องจากการรับประทานยาเกินขนาดได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องหรือปวดศีรษะข้างเดียวควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุและแนวการรักษาที่ถูกต้อง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ธนกร ลักาณ์สมยา และคณะ : อาการทางอายุรศาสตร์ Medical ymptomatology ฉบับปรับปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Semenov IA. Tension-type headaches. Dis Mon 2015; 61: 233-235.

อาการท้องเสีย ( Diarrhea )

0
อาการท้องเสีย ( Diarrhed )
อาการท้องเสีย ( Diarrhed ) คือลักษณะอาการที่ถ่ายท้องผิดปกติ อุจจาระมักมีส่วนประกอบของน้ำมากกว่าส่วนอื่นๆ ความถี่ในการขับถ่ายก็แปรผันไปตามต้นเหตุและความรุนแรงของอาการ
อาการท้องเสีย ( Diarrhed )
อาการท้องเสีย ( Diarrhed ) คือลักษณะอาการที่ถ่ายท้องผิดปกติ อุจจาระมักมีส่วนประกอบของน้ำมากกว่าส่วนอื่นๆ

อาการท้องเสีย ( Diarrhea )

อาการท้องเสีย ( Diarrhea ) เป็นอาการเจ็บป่วยแบบที่ใครๆ ก็เข้าใจได้ และมักจะรู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันดีอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เราจะมาดูในเชิงลึกลงไปอีกหน่อย ว่าอาการท้องเสียคืออะไร มีสาเหตุจากสิ่งใดได้บ้าง และต้องดูแลรักษากันอย่างไร เพราะว่าหลายครั้งอาการท้องเสียทำให้มีผลข้างเคียงที่รุนแรงตามมา เนื่องจากความเข้าใจที่ไม่ลึกซึ้งมากพอ และมองว่าอาการท้องเสียเป็นเรื่องเล็กน้อย ปล่อยไว้ก็สามารถหายเองได้นั่นเอง

แบบไหนที่เรียกว่า อาการท้องเสีย

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันจริงๆ ก่อนดีกว่าว่าท้องเสียคืออะไร อาการท้องเสีย คือลักษณะอาการที่ถ่ายท้องผิดปกติ อุจจาระมักมีส่วนประกอบของน้ำมากกว่าส่วนอื่นๆ ความถี่ในการขับถ่ายก็แปรผันไปตามต้นเหตุและความรุนแรงของอาการ บางรายจะปวดท้องร่วมด้วย บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียน และหนักกว่านั้นก็คือถ่ายเป็นเลือด ความแตกต่างทั้งหมดนี้เป็นข้อบ่งชี้ว่าอาการท้องเสียที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะมีต้นตอมาจากสิ่งใด การเฝ้าสังเกตอาการที่เกิดขึ้นทันทีที่รู้ตัวว่าท้องเสียจึงสำคัญต่อการวินิจฉัยของทีมแพทย์มาก เช่น จำนวนครั้งในการขับถ่าย ปริมาณของอุจจาระ ตลอดจนลักษณะ สี กลิ่นและสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เลือด เมือก เป็นต้น
ระบบร่างกายไล่ไปตั้งแต่กระเพาะอาหารจนถึงทวารหนัก หากทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามปกติ อาหารที่เราทานเข้าไปเมื่อผ่านการย่อยในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ก็จะเคลื่อนตัวไปยังส่วนของลำไส้ เริ่มจากลำไส้เล็กที่ทำหน้าที่ย่อยบางส่วนต่อไปอีก พร้อมกับดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เมื่อครบกำหนดก็เคลื่อนมวลสารเหล่านั้นต่อไปยังลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ระบบร่างกาย และกักตุนมวลสารเอาไว้ให้มากพอสำหรับการขับถ่าย หรือกักตุนเอาไว้จนถึงเวลาขับถ่ายรอบต่อไป เมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อหรือมีสิ่งแปลกปลอมอื่นใดที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียขึ้น เราอาจแปลความหมายแบบหยาบๆ ได้ดังนี้ ลำไส้ใหญ่ไม่สามารถกักมวลสารเอาไว้ได้และไม่สามารถดูดซึมน้ำกลับไปดีพอนั่นเอง

สัญญาณที่แยกระดับความรุนแรงของ อาการท้องเสีย

ปกติแล้วถ้า อาการท้องเสียนั้นเกิดจากทานอาหารผิดประเภท หรือทานอาหารที่ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย เช่น มะขาม มะเฟือง มะยม เป็นต้น แบบนี้ถือว่าเป็นอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงและมักจะหายได้เองตามธรรมชาติ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ถ่ายเหลวเป็นน้ำราวๆ 3-4 ครั้งต่อวัน อาจจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่ที่แน่ๆ จะมีอาการวิงเวียนเนื่องจากถ่ายท้องมากเกินไป อย่างไรก็ตามควรจะหายได้เองในเวลาไม่นาน ประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าอาการท้องเสียส่งสัญญาณต่อไปนี้ ให้รู้ทันทีว่าอาจเป็นอันตรายและควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้เร็วที่สุด
1. มีอาการท้องเสียยาวนานติดต่อกันหลายวัน อาจเป็นสัปดาห์หรือหลายสัปดาห์ โดยไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร ไม่ได้ทานอาหารที่ผิดปกติ ไม่ได้ไปทำกิจกรรมที่มีความสุ่มเสี่ยงใดๆ เลย
2. มีอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง เมื่อร่างกายขาดน้ำอย่างหนัก ปากจะแห้ง ตาจะโหล และอาจรู้สึกว่ากล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างมาก แบบนี้ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน
3. อุจจาระเริ่มมีความผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็น จากมีน้ำมากก็เริ่มมีมูกเลือดปะปน มีสีดำหรือกลายเป็นสีน้ำข้าว เป็นต้น

4. มีอาการอื่นๆ แทรกซ้อน เช่น เป็นไข้ตัวร้อน หนาวสั่น เป็นต้น
สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบของอาการท้องเสีย
หากแบ่ง อาการท้องเสียเป็นกลุ่มใหญ่ๆ เราก็จะแยกได้เป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ ท้องเสียแบบฉับพลันและท้องเสียแบบเรื้อรัง ส่วนมากถ้าเป็นอาการท้องเสียแบบฉับพลันก็จะเกิดจากการติดเชื้อบางอย่าง และถ้าเป็นอาการท้องเสียแบบเรื้อรังมักจะเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบของร่างกาย ลองมาดูรายละเอียดจากข้อมูลเหล่านี้
อาการท้องเสียฉับพลัน : มีส่วนของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการอยู่ 3 ประเภท ได้แก
5. เชื้อแบคทีเรีย เช่น Aeromonas spp., Campylobacter spp., Clostridium difficile, Escherichia coli, Pleisiomonas spp., Salmonella spp., Shigella spp. เป็นต้น
6. เชื้อไวรัส เช่น adenovirus, norvirus, rotavirus, HIV เป็นต้น
7. ปรสิต เช่น Cryptosporidia, Cyclospora, Entamoeba histolytica, Giardia lamblia, Microsporidia เป็นต้น

อาการท้องเสียแบบเรื้อรัง

1. Fatty diarrhea : เกิดจากภาวะดูดซึมที่ผิดปกติหรือภาวะย่อยอาหารที่ผิดปกติไป ตัวอย่างเช่น mesenteric ischemia, mucosal diseases, short bowel syndrome, small intestinal bacterial overgrowth
2. Inflammatory diarrhea : เกิดจากการติดเชื้อและมีภาวะอักเสบบริเวณลำไส้ ตัวอย่างเช่น เช่น invasive bacterial infection, invasive parasitic infections, pseudomembranous colitis, ulcerating viral infections, Crohn’s disease, ulcerative colitis, ulcerative jejunoileitis, ischemic colitis, neoplasia และ radiation colitis
3. Watery diarrhea : เกิดจากผลข้างเคียงของอาการเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ มีเนื้องอกหรือมะเร็ง เป็นต้น ทั้งนี้รวมไปถึงการได้รับยาหรือสารพิษบางอย่างด้วย ตัวอย่างเช่น addion’s disease, carcinoid sydrome, gestrinoma, hyperthyroidism, mastocytosis, medullary carcinoma of the thyroid, pheochromocytoma, VIPoma, bacterial toxins, congenital sydromes, diso rdered motility, regulation
จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของ อาการท้องเสีย นั้นมีหลากหลาย ไม่ใช่แค่ทานอาหารผิดสำแดงเท่านั้น จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องรู้ถึงสาเหตุแบบเจาะจง เพื่อการรักษาที่ตรงจุดจริงๆ

อาการท้องเสีย ( Diarrhea ) คือลักษณะอาการที่ถ่ายท้องผิดปกติ อุจจาระมักมีส่วนประกอบของน้ำมากกว่าส่วนอื่นๆ ความถี่ในการขับถ่ายก็แปรผันไปตามต้นเหตุและความรุนแรงของอาการ

การซักประวัติผู้ป่วยที่มี อาการท้องเสีย

ในขั้นตอนของการซักประวัติจะแบ่งเป็น 2 ส่วนที่สำคัญได้แก่ การซักประวัติเพื่อวินิจฉัยโรคเบื้องต้น และการซักประวัติเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการซักประวัตินั้นจำเป็นต้องทำอย่างพิถีพิถัน ใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อไม่ให้พลาดข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ไป ซึ่งนั่นอาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่สุดสำหรับการรักษาโรคในครั้งนั้น
การซักประวัติเพื่อวินิจฉัยโรคเบื้องต้น มีรายละเอียดที่ควรเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนดังนี้
1. ระยะเวลาที่มีอาการท้องเสียเกิดขึ้น นี่เป็นตัวชี้วัดคร่าวๆ ว่าผู้ป่วยมีอาการท้องเสียแบบฉับพลันหรือเรื้อรัง โดยวัดกันที่ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ถ้าน้อยกว่าก็เป็นแบบฉับพลัน แต่ถ้ามากกว่าก็จะเป็นแบบเรื้อรัง
2. ลักษณะของอุจจาระที่ขับถ่ายออกมาในช่วงเวลาที่มี อาการท้องเสียมีสิ่งใดที่ผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็นบ้างหรือไม่ เช่น มีมูกเลือด มีสีเข้มเกินไปจนดำ มีความมันแบบน้ำมัน เป็นต้น ทุกอย่างเป็นสัญญาณบอกต้นเหตุของโรคได้ทั้งนั้น

3. จำนวนครั้งในการขับถ่าย ความถี่ของการขับถ่ายต่อวันเป็นอย่างไร มีสิ่งเร้าไหนหรือไม่ เช่น เมื่อดื่มน้ำก็จะปวดท้องขับถ่าย เมื่อออกแรงมากก็ปวดท้องขับถ่าย เป็นต้น หรือมีช่วงเวลาเฉพาะเจาะจงในการขับถ่ายหรือไม่ เช่น ถ่ายบ่อยเฉพาะในช่วงกลางคืน เป็นต้น
4. ประวัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไล่ไปตั้งแต่การใช้ยาในช่วงเวลาที่ผ่านมา ยาหรืออาหารเสริมที่ทานประจำ เพศสัมพันธ์ ประวัติครอบครัว โรคประจำตัว เป็นต้น

การซักประวัติเพื่อวัดระดับความรุนแรงของ อาการท้องเสีย

1. อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น เช่น มีอาการสั่นเทิ้ม น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เป็นต้น
2. ปริมาณของมวลสารในการขับถ่ายแต่ละครั้ง มีมากหรือน้อยอย่างไร ถ้ามากเกินไปมีอาการอื่นใดร่วมด้วยหรือไม่ เช่น หน้ามืดตาลาย กล้ามเนื้อเมื่อยล้า เป็นต้น
การซักประวัติเป็นการเก็บข้อมูลผ่านการซักถาม ซึ่งหลายคนก็สามารถสรุปข้อมูลได้จากตรงนี้เลย แต่ในอีกหลายคนนั้นไม่ใช่ จำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพิ่มเติม เพื่อยืนยันสมมติฐานของโรคหรือหาข้อมูลสนับสนุนเพิ่มอีก

การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มี อาการท้องเสีย

1. การตรวจร่างกายเบื้องต้น : เป็นการตรวจสุขภาพความสมบูรณ์พร้อมของร่างกาย และตรวจหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของอาการท้องเสียที่เกิดขึ้น เช่น การตรวจ bowel sound, abdominal distension, mass, ascites เป็นต้น
2. การตรวจแบบเฉพาะเจาะจง : ใช้สำหรับตรวจผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคต้องสงสัยต่างๆ ดังนี้ mastocytosis, amyloidosis, Addison’s disease, glucagonoma, Carcinoid syndrome, Celiac disease เป็นต้น

การเก็บข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้การวินิจฉัยตรงกับความเป็นจริง ซึ่งเป็นผลดีกับทีมแพทย์และตัวผู้ป่วยเอง บางอย่างจึงเป็นหน้าที่ของผู้ป่วยที่ต้องสังเกตอาการตัวเองอย่างละเอียดมาล่วงหน้า เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด

การรักษา อาการท้องเสีย

ความจริงแล้วรูปแบบการรักษาจะเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลการวินิจฉัยที่ได้มา แต่ละคนจึงเหมาะกับการรักษาแตกต่างกัน บ้างทานยาอย่างเดียวก็หายได้ บ้างต้องไปรักษาโรคต้นตอเสียก่อน ดังนั้นข้อมูลการรักษา อาการท้องเสียที่จะกล่าวถึงนี้จึงเป็นการดูแลเบื้องต้นเท่านั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบไปใช้ได้ในยามจำเป็น ก่อนที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาตามขั้นตอนต่อไป 
1. ถ้าอาการท้องเสียนั้นไม่รุนแรงมาก ส่วนใหญ่มักหายขาดได้เองในเวลาไม่นาน โดยที่อาจจะไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมเลยก็ได้ ปล่อยให้ร่างกายเยียวยาตัวเอง หรือถ้าคิดว่าร่างกายรับมือไม่ไหวจริงๆ ก็ให้ชดเชยเกลือแร่เข้าสู่ร่างกายแทนส่วนที่เสียหายไป ผ่านการสูญเสียน้ำจากการขับถ่าย เกลือแร่ที่ใช้ก็สามารถหาซื้อได้ไม่ยากตามร้านขายยาและร้านสะดวกซื้อทั่วไป หรือจะทำขึ้นมาใช้เองชั่วคราวก็ได้ ด้วยการผสมน้ำตาลกับเกลือในอัตราส่วน 1:1 แล้วผสมกับน้ำเปล่า คนให้ละลาย ค่อยๆ จิบไปเรื่อยๆ
2. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากกว่าเดิม เบื้องต้นให้เติมเกลือแร่เข้าสู่ร่างกายอย่าได้ขาด งดอาหารที่จะกระตุ้นให้เกิดการถ่ายท้องมากขึ้น หากถึงมื้ออาหาร เลือกทานอาหารที่อ่อน ย่อยง่ายและมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากกว่าปกติสักหน่อย จากนั้นรีบเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาทันที ถ้ายังไม่สามารถทำได้ ก็ให้พักผ่อนเพื่อรักษาเรี่ยวแรงให้ได้มากที่สุด

แนวทางในการป้องกัน อาการท้องเสีย

หากเป็น อาการท้องเสีย ที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บหรือโรคประจำตัวต่างๆ อันนี้ก็ต้องขอความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ เพราะการหาวิธีแก้ไขเอาเองอาจไม่ตรงจุดและสร้างความเสียหายให้ลุกลามใหญ่โตมากขึ้นอีก แต่ถ้าเป็นสาเหตุอื่นๆ เราสามารถลดความเสี่ยงได้ดังต่อไปนี้
1. เลือกทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ปรุงสุก สดใหม่ ไม่มีสิ่งผิดปกติอย่างเช่น เชื้อรา คราบดำ เป็นต้น
2. ไม่ทานอาหารที่กระตุ้นการถ่ายท้องมากเกินไป และหมั่นสังเกตว่ามีอาหารประเภทไหนบ้างไหมที่ไม่สามารถทานได้ เช่น บางคนไม่มีน้ำย่อยนม ก็จะทานนมไม่ได้ ทานเมื่อไรก็พาลให้ท้องเสียเมื่อนั้น
3. ดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยให้ดี ล้างมือให้บ่อยขึ้นเมื่อต้องเดินทางไปไหนมาไหน หรืออยู่ในแหล่งที่มีผู้คนพลุกพล่าน ภาชนะหุงหาอาหารก็ต้องจัดการดูแลความสะอาด ตลอดจนเสื้อผ้าที่สวมใส่และเครื่องใช้ต่างๆ รอบตัวด้วย
4. หลงเข้ามาก็จะถูกระบบร่างกายจัดการให้หมดไปได้โดยง่าย
5. ตรวจร่างกายเป็นประจำ อาจจะปีละครั้ง หรือ 2 ปีต่อครั้ง เพื่อดูว่าตอนนี้สภาพร่างกายโดยรวมมีอะไรที่ผิดปกติไปหรือไม่ จำเป็นต้องดูแลส่วนไหนเป็นพิเศษบ้าง
6. หากมีโรคประจำตัว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาระดับอาการของโรคให้คงที่หรือดีขึ้น อาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ต่างๆ จะได้ไม่มากวนใจนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ธนกร ลักาณ์สมยา และคณะ : อาการทางอายุรศาสตร์ Medical ymptomatology ฉบับปรับปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Schiller LR, Sellin JH. Diarrhea. In : Feldman M, Friedman L, Brandt L, editors. Sleisenger and Fordtran’s gastrointestinal and liver disease. 10th ed. Philadelphia, PA : Elsevier Saunders; 2016. p. 221-241.

อาการอ่อนแรง ( Motor Weakness )

0
อาการอ่อนแรง ( Motor Weakness )
อาการอ่อนแรง ( Motor Weakness ) คือ อาการที่กล้ามเนื้อลายมีกำลังลดลง เป็นอาการที่ระบบประสาทส่วนปลายและส่วนกลางมีการทำงานที่ผิดปกติที่พบได้บ่อย
อาการอ่อนแรง ( Motor Weakness )
อาการอ่อนแรง ( Motor Weakness ) คือ อาการที่กล้ามเนื้อลายมีกำลังลดลง เป็นอาการที่ระบบประสาทส่วนปลายและส่วนกลางมีการทำงานที่ผิดปกติที่พบได้บ่อย

อาการอ่อนแรง ( Motor Weakness )

อาการอ่อนแรง ( Motor Weakness ) คือ อาการที่กล้ามเนื้อลายมีกำลังลดลง เป็นอาการที่ระบบประสาทส่วนปลายและส่วนกลางมีการทำงานที่ผิดปกติที่พบได้บ่อย การแบ่งระดับความรุนแรงของอาการอ่อนแรงที่ส่วนของแขน ขา เป็นไปตามนิยามของสภาวิจัยทางการแพทย์ ( The medical research council scale หรือ MRC ) เมื่อมีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาการวินิจฉัยจะอาศัยอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

แนวทางในการวินิจฉัย อาการอ่อนแรง

1. ทำการแยกว่าอาการอ่อนแรงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยเป็นอาการอ่อนแรงหรือเกิดจากความอ่อนเพลียของร่างกาย
2. เมื่อผู้ป่วยแจ้งว่ามีอาการชา บางครั้งอาจเป็นอาการอ่อนแรงเกิดขึ้นได้
3. ตำแหน่งที่ผู้ป่วยแจ้งกับแพทย์ว่าเกิดอาการอ่อนแรงอาจไม่ใช่ตำแหน่งเดียวที่เกิดอาการอ่อนแรงก็ได้
ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการรักษา ต้องทำการการซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย เพื่อที่จะระบุตำแหน่งและลักษณะของการอ่อนแรงที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อว่าเป็นแบบใด

การซักประวัติผู้ป่วย อาการอ่อนแรง

1. ระยะเวลาในการเกิดอาการอ่อนแรง

ระยะเวลาที่เกิดอาการอ่อนแรงสามารถบ่งบอกถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการอ่อนแรงได้ดังนี้
1.1 เกิดขึ้นทันทีทันใด แสดงว่าอาการอาจเกิดจากในโรคหลอดเลือดแตกหรืออุดตัน แต่ถ้าอาการอ่อนแรงเกิดขึ้นหลังจากการชักอาจเกิดจากโรคไมเกรนได้
1.2 เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และอาการค่อยรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงว่าอาจเกิดขึ้นจากการที่เส้นประสาทโดนกดทับหรือโรคเส้นประสาทมีการอักเสบจากการติดเชื้อ
1.3 เกิดขึ้นอย่างกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการอ่อนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าผู้ป่วยอาจมีระบบประสาทที่เกิดการอักเสบหรือมีเนื้องอกเกิดขึ้นทับเส้นประสาท
1.4 เกิดอย่างเรื้อรัง คือ อาการอ่อนแรง ที่เกิดขึ้นยาวนานหลายปีต่อเนื่อง แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคทางกรรมพันธุ์หรือระบบประสาทเกิดความเสื่อม
1.5 เกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างวัน ( fatigabi lity ) คือ อาการอ่อนแรงที่เป็น ๆ หาย ๆ จะเป็นเมื่อมีการต้องออกแรงและหายเมื่อมีการหยุดพัก ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยโรค post-synaptic neuromuscular junction ได้แก่ โรคแพ้ภูมิตนเองเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ( myasthenis gravis ) หรือโรคกลุ่ม periodic paralysis ที่มีระดับเกลือแร่โพแทสเซียมผิดปกติในเลือด จะส่งผลให้มีอาการอ่อนแรงแบบเป็น ๆ หาย ๆ ตามระดับของโพแทสเซียมในเลือดนั่นเอง

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

2. บริเวณที่กล้ามเนื้อมีอาการอ่อนแรง

ตำแหน่งหรือบริเวณที่มี อาการอ่อนแรงมีความสำคัญมากในการวินิจฉัยโรค แต่บางครั้งในการซักประวัติผู้ป่วยอาจระบุตำแหน่งเพียงบางส่วนที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าต้องออกแรงมากจึงจะใช้อวัยวะนั้นทำงานได้ หรือเป็นตำแหน่งที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความยากลำบากในการดำรงชีวิต ดังนั้นเมื่อทำการซักประวัติแล้วควรทำการตรวจร่างกายเพื่อหาตำแหน่งที่เกิดอาการอ่อนแรงทั้งหมด เพื่อช่วยในการแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป โดยอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่สำคัญนอกเหนือจากแขนขา ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งได้ดังนี้
2.1 กล้ามเนื้อการก้มศีรษะ ( neck flexor ) มีอาการอ่อนแรง ผู้ป่วยจะยกศีรษะขึ้นจากหมอนไม่ได้
2.2 กล้ามเนื้อเงยศีรษะ ( neck extensor ) มีอาการอ่อนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการคอตกหรือแหงนศีรษะไม่ได้
2.3 กล้ามเนื้อยกหนังตา ( levator palpebrea ) มีอาการอ่อนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการหนังตาตก
2.4 กล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลอกตาอ่อนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการมองเห็นภาพซ้อน โดยถ้ามีสาเหตุมาจากระบบประสาทการมองเห็นภาพซ้อนจะเกิดขึ้นเมื่อมอง 2 ตา และเมื่อปิดตา 1 ข้างอาการจะดีขึ้น และผู้ป่วยเห็นภาพซ้อนมากที่สุดเมื่อมองไปในทิศทางใด ถ้าเห็นภาพซ้อนเมื่อมองไปด้านซ้ายแสดงว่ากล้ามเนื้อ lateral rectus ด่านซ้ายมีอาการอ่อนแรง แต่ถ้าเห็นภาพซ้อนเมื่อมองไปด้านขวาแสดงว่ากล้ามเนื้อ medial rectus ทางด้านขวามีการอ่อนแรง
2.5 กระบังลมอ่อนแรง เมื่อนอนราบแล้วมีอาการเหนื่อยต้องลุกขึ้นทันทีที่ลงนอน หรือบริเวณช่องอกและท้องไม่สัมพันธ์ในขณะที่หายใจ ซึ่งต่างจากอาการเหนื่อยจากโรคหัวใจ ซึ่งต้องนอนไปสักพักจึงจะมีอาการเหนื่อย เนื่องจากเลือดไหลกลับจากหลอดเลือดของอวัยวะภายใน และขา เข้าสู่หลอดเลือดส่วนกลางขณะที่นอนลง และระบบประสาท symphatetic มีการลดลงในขณะนอน ทำให้กว่าผู้ป่วยจะเหนื่อยต้องใช้เวลานั่นเอง แต่กระบังลมอ่อนแรงจะเกิดจนทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อมีความผิดปกติ ได้แก่ โรค amyotrophic lateral sclerosis ( ALS ) รอยโรคของเส้นประสาท phrenic รอยโรคที่ neuromuscular junction ได้แก่โรค myasthenia gravis หรือโรคของกล้ามเนื้อเช่น adult onset acid maltase deficienc
2.6 กล้ามเนื้อต้นแขนอ่อนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อยที่ต้นแขน มักมีอาการไม่รุนแรง โดยผู้ป่วยจะ อาการอ่อนแรง และเมื่อยอย่างมากเวลายกของขึ้นที่สูงๆ เวลาสระผมหรือหวีผมเป็นต้น
2.7 กล้ามเนื้อแขนส่วนปลายอ่อนแรง ถ้าอาการไม่รุนแรงผู้ป่วยจะใช้มือทำงานที่ละเอียดได้ยาก เช่น การสอยเข็ม การติดกระดุม แต่ถ้ามีอาการอ่อนแรงผู้ป่วยจะใช้มือทำงานต่าง ๆ ยากขึ้น เช่น การบิดลูกบิดประตูบ้าน การเปิดประตูรถการไขกุญแจ การเขียนหนังสือ เป็นต้น  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
2.8 กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง เป็นส่วนที่เมื่อมีอาการอ่อนแรงผู้ป่วยจะสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน เพราะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต เช่น การลุกนั่ง การขึ้นหรือลงบันได และลักษณะท่าทางในการเดินมีลักษณะที่เปลี่ยนไป เป็นต้น
2.9 กล้ามเนื้อขาส่วนปลายอ่อนแรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
2.9.1 anterior การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนปลายที่ขึ้นกับ anterior compartment ในช่วงแรกจะมีอาการอ่อนแรงไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยมีอาการข้อเท้าเคล็ดหรือพลิกบ่อยๆ แต่ถ้าอาการอ่อนแรงรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการข้อเท้าตกที่เป็นสาเหตุของการเดินแบบการเดินแล้วปลายเท้าลากพื้น ( steppage gait )
2.9.2 posterior compartment อาการอ่อนแรง ของกล้ามเนื้อ posterior compartment ได้แก่ กล้ามเนื้อ hamstring โดยผู้ป่วยไม่สามารถยืนบนปลายเท้าได้ แต่ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ anterior และ posterior compartment จะยืนทรงตัวไม่ได้

อาการอ่อนแรง ( Motor Weakness ) คือ อาการที่กล้ามเนื้อลายมีกำลังลดลง เป็นอาการที่ระบบประสาทส่วนปลายและส่วนกลางมีการทำงานที่ผิดปกติที่พบได้บ่อย

ลักษณะการเกิดอาการอ่อนแรงและตำแหน่งของอาการอ่อนแรง

เมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการรักษา ควรทำการตรวจร่างกายผู้ป่วย อาการอ่อนแรงควรหาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการเกิดอาการอ่อนแรงและตำแหน่งของอาการอ่อนแรง เพื่อบอกตำแหน่งขอระบบประสาทที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการอ่อนแรง ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
1. การสังเกต โดยแพทย์ต้องทำการสังเกตลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย เช่น การยืน การเดิน ลักษณะเสียงพูด ขนาดของกล้ามเนื้อเล็กลงหรือใหญ่ขึ้น ลักษณะของกล้ามเนื้อสั่นพริ้ว เป็นต้น
2. การตรวจปฏิกิริยาตอบสนองของเอ็นกล้ามเนื้อ ( Deep tendon reflexes ) และปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่แสดงถึงการมีพยาธิสภาพ ( pathologic relexes ) เพื่อช่วยในการแยกอาการอ่อนแรงของผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่ UMN หรือ LMN โดยควรฝึกและบอกให้ผู้ป่วยปล่อยแขนขาตามสบาย เพื่อการแปลผลการตรวจ DTR และ pathologic reflexes ที่ถูกต้องแม่นยำ

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

โดยการตรวจ DTR สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ
ระดับ DTR เป็น 0 คือ การตรวจไม่พบ DTR
ระดับ DTR เป็น 1+ หรือ + คือ การลดลงของ DTR
ระดับ DTR เป็น 2+ หรือ ++ คือ การมีระดับ DTR ปกติ
ระดับ DTR เป็น 3+ หรือ +++ คือ การเพิ่มขึ้นของ DTR ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่ผิดปกติ
ระดับ DTR เป็น 4+ หรือ ++++ คือ การเพิ่มขึ้นของ DTR ที่ผิดปกติ อาจพบมีรอยโรค sustained clonus ที่สมองหรือไขสันหลัง
3. ตรวจกล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อกะโหลกศีรษะ ( cranial musculature ) รวมด้วย ซึ่งสามารถบ่องบอกถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการอ่อนแรงได้
4. ตรวจกล้ามเนื้อแขนขา โดยทำการตรวจแยกแต่ละมัด เพื่อช่วยบอกว่าผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงแบบใด
4.1 อาการอ่อนแรงแบบครึ่งซีก pyramidal weakness คือ กล้ามเนื้อยืด ( extensor ) มีอาการอ่อนแรงมากกว่ากล้ามเนื้อที่ยึดข้อต่อ ( flexor ) ที่แขน แต่การอ่อนแรงของขากล้ามเนื้อยืดจะอ่อนแรงมากกว่ากล้ามเนื้อที่ยึดข้อต่อ
4.2 อาการอ่อนแรงที่แขนหรือขาเพียงข้างเดียว
4.3 อาการอ่อนแรงที่ขาทั้งสองข้าง
4.4 อาการอ่อนแรงทั้งร่างกาย ที่แยกเป็นอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนขาส่วนต้น หรือส่วนปลาย
5. ตรวจการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ( muscle tone ) ความตึงของกล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
5.1 กล้ามเนื้อมีการตึงตัวเพิ่มขึ้นเมื่อมีการดึง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
5.1.1 Spastic tone คือ การตึงตัวของกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นในช่วง range of motion คล้ายการง้างมีดพับ
5.1.2 Rigidity คือ กล้ามเนื้อมีการตึงเพิ่มขึ้นตลอดการเคลื่อนที่ของข้อ แสดงถึงรอยโรคที่ extrapyramidal tract ที่ทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ คือ อาการเคลื่อนไหวจะไม่คล่องแคล่ว ช้า สั่นและแข็ง ( Cogwheel rigidity ) ที่พบได้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน
5.1.3 frontal lobe ต้องทำการตรวจอาการอื่นๆ เพิ่มด้วย เช่น palmomental reflex, grasp reflex, snout หรือ sucking reflex
5.2 การตึงตัวของกล้ามเนื้อปกติ อาการอ่อนแรงในกล้ามเนื้อที่ภาวะปกติ แสดงว่าเกิดจากรอยโรคที่ส่วนเชื่อมของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ( neuromuscular junction ) หรือรอยโรคที่กล้ามเนื้อ
5.3 การดึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง เกิดในผู้ที่มีรอยโรค LMN โดยเฉพาะรอยโรคที่ anterior horn cell หรือ peripheral nerve สำหรับรอยโรค UMN ที่ทำให้เกิด flaccid tone ได้แก่ รอยโรคที่ไขสันหลังในกรณีที่เกิด spinal shock
6. ความตึงของมัดกล้ามเนื้อที่มีความผิดปกติมาก สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
6.1 มัดกล้ามเนื้อมีขนาดที่เล็กลง แสดงว่าเกิดจากรอยโรค LMN หรือระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ ยกเว้นรอยโรคที่การเชื่อมต่อประสาทและกล้ามเนื้อ ( neuromuscular junction ) ที่มัดกล้ามเนื้อลีบจะไม่ลีบ นอกจากผู้ป่วยจะไม่ใช้กล้ามเนื้อมัดหรือเกิดการขาดสารอาหาร

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

6.2 มัดกล้ามเนื้อปกติ ไม่ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของมัดกล้ามเนื้อ
6.3 มัดกล้ามเนื้อมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งแยกออกเป็น 2 แบบ คือ
6.3.1 มัดกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นจริง เกิดจากโรคของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อมากผิดปกติหรือมีการใช้งานมากผิดปกติ
6.3.2 กล้ามเนื้อขนาดใหญ่ขึ้นปลอม เกิดจากโรคกล้ามเนื้อผิดปกติแต่กำเนิดหรือมีไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแทรกอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อ
7. ตรวจท่าการยืน การเดิน ว่ามีลักษณะที่ปกติหรือมีท่าการยืนและเดินที่ผิดปกติ
8.ตรวจการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ ในขณะที่เดิน ยืน นั่ง เพื่อดูทางระบบประสาทว่ามีความผิดปกติจนส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรง
9. ตรวจลักษณะเสียงพูด ลักษณะของเสียงพูดที่เกิดจากการอ่อนแรง เช่น เสียงพูดขึ้นจมูก ที่เกิดจากเพดานอ่อนเกิดอ่อนแรง หรือเสียงพูดไม่ชัดที่เกิดจากการอ่อนแรงของ corticobulbar tract
10. ตรวจความรู้สึก การรับรู้ด้านความรู้สึกสามารถบ่งบอกอาการอ่อนแรง เพื่อบอกถึงรอยโรคได้
11. ตรวจความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำการตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะไม่ออกร่วมกับอาการท้องผูก ซึ่งมักเกิดในผู้ป่วยเกี่ยวกับไขสันหลัง, conus medullaris หรือ cauda equina

สาเหตุของ อาการอ่อนแรง แบบครึ่งซีก

อาการอ่อนแรง สามารถเกิดได้ที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือเกิดครึ่งกับร่างกายครึ่งใดครึ่งหนึ่ง หรือที่เรียกว่าอาการอ่อนแรงแบบครึ่งซีก ( hemiplegia ) ที่เกิดจากความผิดปกติทางกายภาพของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง ก้านสมอง หรือไขสันหลัง โดยเฉพาะความผิดปกติของสมอง ซึ่งสาเหตุของอาการอ่อนแรงแบบครึ่งซีกสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. อาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคที่เปลือกสมอง
แขนขาของผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงไม่เท่ากัน เป็นตาม motor homunculus ที่เปลือกสมอง แต่ถ้ารอยโรคมีขนาดใหญ่มาก ๆ จะทำให้แขนขาทั้งสองข้างอ่อนเท่า ๆ กัน พบได้ในผู้ป่วยสติการรู้สติลดลง
2. อาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคที่ชั้นใต้เปลือกสมอง
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงของแขนกับขาเท่า ๆ กัน บางครั้งอาการอ่อนแรงรุนแรงจนทำให้แขนขาขยับไม่ได้ แต่สติการรับรู้ยังเป็นปกติ โดยการขาดเลือดของสมองส่วนเซลล์เนื้อสีขาวใต้เปลือกสมอง ( subcortex ) จะมีความต่างจากเนื้อเยื่อสีเทาของสมองใหญ่ ( cerebral cortex ) โดยการขาดเลือดของ internal capsule ด้านตรงข้าม หลอดเลือดเลี้ยงสมองในส่วน subcortex แบ่งออกเป็น    [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
2.1 หลอดเลือด Lenticulostriate เป็นแขนงของ MCA ส่วนต้น ที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงฐานปมประสาทและ internal capsule
2.2 หลอดเลือด Thalamoperforate เป็นแขนงของ PCA เลี้ยง thalamus ผู้ป่วยจะมีอาการชาร่างกายซีกตรงข้ามหรือมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ แต่ไม่มีอาการอ่อนแรง
3. อาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคที่ก้านสมอง
ก้านสมองมีหน้าที่ ควบคุมกำลังและความรู้สึกของ แขนขา ใบหน้า ความแม่นยำการเคลื่อนไหวของแขนขา ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic ควบคุมความรู้สึกตัวโดย ascending reticular activating system
ซึ่งอาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคก้านสมองมักเกิดร่วมกับความผิด การทำงานของเส้นประสาทสมองหรือ cranial nuclues โดยจะมีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้าครึ่งซีกและแขนขาด้านใดด้านหนึ่ง โดยจะทำให้แขนขาซีกตรงข้ามเป็นอัมพาต คือ ถ้าเป็นอ่อนแรงซีกขวาแสดงว่ามีความผิดปกติในก้านสมองซีกซ้ายนั่นเอง
4. อาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคไขสันหลัง
รอยโรคที่บริเวณไขสันหลังที่ทำให้เกิดอ่อนแรงครึ่งซีก จะเกิดขึ้นที่ปลายสันหลังส่วนคอ โดยรอยโรคจะอยู่ที่ lateral CTS เพียงข้างเดียว มีสาเหตุจาก spinal hemisection, transverse myelitis, spinal cord compression เป็นต้น
5. อาการอ่อนแรงครึ่งซีกจากรอยโรคที่เส้นประสาท
เส้นประสาทเกิดความผิดปกติจะส่งผลให้เกิด อาการอ่อนแรงได้ยาก แต่จะทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบพร้อมกันหลายเส้น จนทำให้เกิดอ่อนแรงมากกว่า
6. อาการอ่อนแรงรยางค์เดียว
ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการอ่อนแรงที่ขาเพียงอย่างเดียว จะเกิดจากหลอดเลือด ACA ด้านตรงข้ามขาดเลือด แต่อาการของแขนอ่อนแรงร่วมกับใบหน้าอ่อนแรงแบบ UMN ด้านตรงข้ามกับรอยโรค จะเกิดจากหลอดเลือด MCA ขาดเลือด ซึ่งอาการอ่อนแรงมักเกิดจากรอยโรคที่ไขสันหลังมากกว่ารอยโรคที่ก้านสมอง และมักเกิดจากรอยโรคที่มาจากการกดทับ โดยเฉพาะการกดทับรากประสาท ทำให้ความผิดปกติของความรู้สึกตามรากประสาทส่วนนั้น
7. Plexopathy เกิดจากรอยโรคที่ร่างแหประสาทที่เกิดจากการประสานกันระหว่างเส้นประสาทไขสันหลังส่วนปลายแต่ละเส้น ( plexus ) ซึ่งไม่อาจพบอาการปวดและความรู้สึกเกิดความผิดปกติ อาการอ่อนแรงแบบนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วย
7.1 plexus และ lumbar plexitis ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตัวเองจะมีการอักเสบที่ plexus ที่สามารถพบได้ที่ brachial plexus โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวไหล่หรือแขน เมื่ออาการปวดหายไปแขนขาจะมี อาการอ่อนแรง สามารถแยกได้ด้วยการตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อและเส้นประสาท เพื่อใช้แยกภาวะ plexopathy จากโรครากประสาทได้
7.2 รอยโรคที่ plexus จากโรคมะเร็ง เมื่อ Plexus มีการเชื้อมะเร็งแทรกเข้าไป จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ปอด ไต หรือมะเร็งของอวัยวะในช่องท้อง โดยจะเริ่มมีอาการปวดแล้วจึงมีอาการอ่อนแรง      [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]
7.3 รอยโรคที่ plexus จากการฉายแสง มีอาการอ่อนแรงแต่ไม่มีอาการปวดมาก่อน สามารถทำการตรวจ MRI เพื่อแยกว่าเป็นอาการอ่อนแรงจากมะเร็งหรือจากการฉายแสง
7.4 อาการอ่อนแรงจาก thoracic outlet syndome มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่หล่อเลี้ยงโดยเส้นประสาท median และ ulnar เกิดจาก thoracic outlet syndome เช่น accessory cervical ribs โดย finger และ wrist flexor จะเกิดอาการอ่อนแรง ซึ่งเส้นประสาท ulnar จะมีอาการชา สามารถตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อและเส้นประสาท
7.5 อาการอ่อนแรง จาก diabetic amyotrophy มีอาการปวดและอ่อนแรงตามเส้นประสาทที่หล่อเลี้ยงด้วย femoral อาการจะหายไปภายใน 4 สัปดาห์ เกิดจากรอยโรคที่สวนต้นของ lumber plexus
8. อาการอ่อนแรงขาทั้งสองข้างและไขสันหลัง
มีอาการอ่อนแรงเกิดขึ้นที่สัมพันธ์กับรอยโรคของไขสันหลังและสาเหตุของโรค เช่น รอยโรคไขสันหลังส่วนคอ แขนขาจะมีอาการอ่อนแรง แต่ถ้ามีรอยโรคที่ไขสันหลัง T2 ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของขาทั้งสองข้าง เพื่อยืนยันตำแหน่งของรอยโรค ต้องทำการตรวจความผิดปกติของความรู้สึกตาม dermatome ร่วมกับการตรวจความรู้สึกของข้อ การรับรู้การสั่นเพื่อดูรอยโรคที่ posterior column และการตรวจความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติเพื่อดูความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะและทวารหนัก
8.1 อาการ spinal shock คือ เมื่อไขสันหลังได้รับบาดเจ็บแบบเฉียบพลันจะมีการลดลงของ spinal reflxes เมื่อตรวจ patholo gical reflexes จะพบ cutaneous และ muscle stretch refle โดยไขสันหลังจะสูญเสียการทำงานต่อรอยโรคของไขสันหลัง ทำให้มีอาการอ่อนแรงของขาแขน สูญเสียความรู้สึกเจ็บปวด สูญเสียการรับรู้อุณหภูมิ ความรู้สึกที่ข้อ และการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ เช่น อาการปัสสาวะไม่ออก ถ่ายอุจจาระไม่ได้ เป็นต้น พบในผู้ป่วย bulbocavernosus และ cremasteric reflxes
8.2 อาการ Brown-Sequard คือ ไขสันหลังมีความผิดปกติข้างเดียว โดยมีอาการอ่อนแรงที่แขนขาในด้านเดียวกับรอยโรค แต่สูญเสียความรู้สึกเจ็บปวด การอุณหภูมิ การสัมผัส ด้านตรงข้ามรอยโรค เกิดจากไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการอักเสบ
8.3 อาการ Central cord คือ ไขสันหลังตรงกลางเกิดความผิดปกต เกิดจากไขสันหลังได้รับการบาดเจ็บ จะมีอาการอ่อนแรงที่แขนมากกว่าขา อาการปัสสาวะไม่ออก สูญเสียความรู้สึก เช่น เสียความรู้สึกเป็นแถบตาม dermatome จากรอยโรคที่ anterior white commissure
8.4 อาการ anteriro spinal artery เกิดจากไขสันหลังด้านหน้ามีรอยโรคถึง 2 ใน 3 เกิดจากรอยโรคที่หลอดเลือดไขสันหลังส่วนหน้า หรือจากโรคการอักเสบของไขสันหลัง โดยจะมีอาการอ่อนแรงจากรอยโรคที่ corticospinal tract และมีอาการชาจากรอยโรคที่ spinothalamic tract เมื่อตรวจความรู้สึกจะปกติ เนื่องจาก dorsal column อยู่ทางด้านหลังของไขสันหลัง
8.5 อาการร่วมระหว่างรอยโรคที่ posterior และ lateral column ผู้ป่วยจะมีการเดินแบบผิดปกติแบบ spastic-ataxic เกิดจากโรค Freiedrich atax ia, การติดเชื้อ HTLV1 หรือการขาดวิตามินบี 12
[adinserter name=”sesame”]

ลักษณะ อาการอ่อนแรงทั่วร่างกาย

นอกจาก อาการอ่อนแรง แบบซีกเดียวแล้ว ยังมีการอ่อนแรงอีกชนิดหนึ่ง คือ การอ่อนแรงแบบทั่วร่างกาย
ซึ่งสามารถแยกตามลักษณะการอ่อนแรงได้เป็น 2 แบบ คือ
1.เกิดจากรอยโรคที่ upper motor neuron
เกิดขึ้นที่ก้านสมองหรือไขสันหลังส่วนคอเกิดรอยโรค การอ่อนแรงทั่วร่างกายที่เกิดจากรอยโรคที่ก้านสมองนั้น ผู้ป่วยรู้ตัวดี กลอกตาขึ้นลงได้ รวมเรียกอาการนี้ว่า Locked-in ซึ่งเกิดจากอาการ locked-in เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, โรค osmolar demyelin ating จากความผิดปกติของระดับโซเดียมในเลือด
2.เกิดจากรอยโรคที่ lower motor neuron ในกลุ่ม lower motor neuron ซึ่งสามารแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
2.1 อาการอ่อนแรงแบบที่เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ

  • myasthenia gravis ซึ่งเกิดจากการมีแอนติบอดี้ต่อ post-synaptic nicotinic acetylcholine receptor โดยจะมีอาการอ่อนแรงมากในชาวงสายของวัน หรือกล้ามเนื้อมีการใช้งานซักระยะเรียกลักษณะอาการอ่อนแรงแบบนี้ว่า fatigability จะพบที่กล้ามเนื้อตา ร่วมกับแขนขา กล้ามเนื้อกระบังลมหรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน
  • Hypokalemic periodic paralysis คือ ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำจึงทำให้เกิดอาการอ่อนแรง เนื่องจากโปแตสเซียมเคลื่อนที่เข้าไปในเซลล์มากเกินไป พบมากในผู้ชายอายุ 20 – 40 ปี พบในผู้ป่วยที่ต่อมไทยรอยทำงานผิดปกติหรือหลังการรับประทานอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต ในปริมาณสูง

2.2 การแบบที่อ่อนแรงแบบคงที่ ซึ่งแยกออกเป็นการอ่อนแรงที่เป็นแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง
อาการอ่อนแรงเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และสามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะทุกส่วน ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาจะมาด้วยอาการที่ต่างกัน โดยมักเริ่มจากอาการปวดและอาการชา ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาแพทย์จะต้องทำการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อสืบหาสาเหตุที่ทำให้เกิด อาการอ่อนแรงขึ้น เพื่อนำมาซึ่งแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ธนกร ลักาณ์สมยา และคณะ : อาการทางอายุรศาสตร์ Medical ymptomatology ฉบับปรับปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Daroff RB, Fenichel GM, Jankovic J, Mazziotta JC, editors. Bradley’s neurology in clinical practice. Vol 1.6 th ed.2012, Philadelphia. Elsevier Saunders.

อาการต่างๆที่สามารถเกิดขึ้นกับเล็บ Common Nail Problem

0
อาการของเล็บที่พบบ่อย ( Common Nail Problem )
ลักษณะของเล็บที่เปลี่ยนแปลง หรือน้ำที่อยู่ภายในเล็บสามารถที่จะบ่งบอกโรคที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้

อาการของเล็บที่พบบ่อย

เล็บ (Nails) คือ อวัยวะที่ปกคลุมปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า ทำจากหนังกำพร้าที่ตายแล้ว ซึ่งค่อยๆ เลื่อนขึ้นจากชั้นล่างจนมีลักษณะเป็นแผ่นแข็งและโปร่งแสง ถึงแม้จะมีความแข็ง แต่เล็บสามารถอ่อนตัวเมื่อสัมผัสน้ำได้ เล็บไม่มีเส้นประสาทหรือเส้นเลือด จึงไม่มีความรู้สึก โดยสารอาหารจะมาจากโคนเล็บ (Matrix) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเล็บ เล็บยังมีหน้าที่ปกป้องปลายนิ้วจากอันตราย และช่วยในการดำรงชีวิต เช่น การขูด การแคะ และการจิก

อาการที่เกิดขึ้นและพบได้บ่อยที่เล็บมีอาการทางเวชปฏิบัติ

อาการที่เกิดขึ้นและพบได้บ่อยที่เล็บมีอาการทางเวชปฏิบัติเล็บ จะเป็นอวัยวะที่แข็งแรง แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้เช่นกัน ซึ่งการตรวจโรคที่เกิดขึ้นกับเล็บสามารถทำได้ด้วยการเก็บน้ำที่บริเวณเล็บไปทำการตรวจวินิจฉัย เราก็จะได้พบกับโรคที่เกิดขึ้นรับร่างกายและส่งผลให้เล็บเกิดการเปลี่ยนแปลงกับน้ำที่อยู่ในเล็บ เช่น การตรวจแบบ Yellow nail ที่นำไปสู่การตรวจพบโรคภาวะบวมน้ำเหลือง ( Lymphedema ) เป็นต้น ดังนั้นลักษณะที่เปลี่ยนแปลงหรือน้ำที่อยู่ภายในเล็บสามารถที่จะบ่งบอกโรคที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นและพบได้บ่อยที่เล็บ ได้แก่

1. Clubbing finger ( นิ้วปุ้ม ) คือ อาการที่ปลายนิ้วมือหรือนิ้วเท้าของผู้ป่วยมีการขยายตัวออก จนมีลักษณะเหมือนไม้พลองหรือไม้กระบอง ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของ Collagen fiber ซึ่งอาการนิ้วปุ้มสามารถตรวจดูได้จากลักษณะของภายนอกแล้ว การตรวจเล็บยังช่วยยืนยันอาการได้อีกด้วย ซึ่ง

วิธีการตรวจเล็บ
1.1 Lovibond’s profile sign : มุมระหว่างแผ่นเล็บ ( nail bed ) กับเนื้อเยื่อที่โคนเล็บ ( Proximal nail fold ) โดยปกติแล้วจะทำมุมอยู่ประมาณ 130- 160 องศา แต่ในผู้ป่วยนิ้วปุ้มมุมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปโดยมีค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 180 องศา ซึ่งทำให้เล็บมีลักษณะพองขึ้นนั่นเอง
1.2 Curth’s modified profile sign : มุมระหว่างส่วนกลางของเล็บ ( middil ) กับกระดูกนิ้วท่อนปลาย ( distal phalanx ) โดยปกติจะทำมุม 180 องศา แต่ในผู้ป่วยโรคนิ้วปุ้มมุมดังกล่าวจะมีค่าน้อยกว่า 160 องศา
1.3 Schamroth’s window test : การยกนิ้วแล้วหันด้านหลังของนิ้วมือและปลายเล็บมาแนบชิดกัน จะพบว่าที่บริเวณโคนเล็บจะมีช่องว่างเล็ก ๆ เรียกว่า Schamroth’s window เกิดขึ้น แต่สำหรับผู้ป่วยนิ้วปุ้มช่องว่างดังกล่าวจะหายไป ( loss of diamond shaped window ) เนื่องจากบริเวณเนื้อที่โคนเล็บมีการนูนขึ้นจึงทำให้ช่องว่างดังกล่าวหายไปนั่นเอง
1.4 Fluctuation test ( profile sign ) : เมื่อทำการกดเบาๆ ที่บริเวณผิวหนังส่วนโคนเล็บ ( proximal nail fold ) จะรู้สึกว่าผิวหนังบริเวณดังกล่าวมีลักษณะนุ่มเหมือนลอยอยู่ในน้ำ
1.5 Digital index : เมื่อนำอัตราส่วนระหว่างเส้นรอบนิ้วบริเวณแผ่นเล็บ ( nail bed ) ต่อเส้นรอบนิ้วบริเวณข้อปลายนิ้ว ( distal interphalangeal joint ) ของแต่ละนิ้วมารวมกัน แล้วมีค่ามากกว่า 10.2 แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการนิ้วปุ้ม
1.6 Phalange depth ratio : ถ้าค่าอัตราส่วนของ distal phalangeal depth ( DPD ) ต่อ interphalangeal joint ( DIP ) ที่ทำการคำนวนได้มีค่ามากกว่า 1 แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการนิ้วปุ้ม ซึ่งอาการนิ้วปุ้มนี้สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระยะด้วยกัน คือ
1.6.1. ที่บริเวณแผ่นเล็บหรือฐานเล็บ ( nail bed ) มีลักษณะยืดหยุ่นและนุ่มขึ้น ( Fluctuation )
1.6.2. มุมระหว่างฐานเล็บและแผ่นเล็บ ( nail fold ) มีมุมมากกว่า 160 องศา
1.6.3. แผ่นเล็บมีลักษณะโค้งนูนสูงกว่าปกติ
1.6.4. บริเวณปลายนิ้วมีลักษณะที่หนาและขยายใหญ่ขึ้นคล้ายหัวไม้กลอง ( drumstick )
1.6.5. แผ่นเล็บและผิวหนังรอบเล็บมีความมันวาวและแตกเป็นเส้นอย่างชัดเจน

สาเหตุของโรคนิ้วปุ้มเกิดจาก
1.ความผิดปกติของหลอดเลือดและหัวใจ เช่น โรคหัวใจแต่กำเนิด ( cyanotic heart disease ), เยื่อบุหัวใจอักเสบชนิดกึ่งเฉียบพลัน (subacute bacterial endocarditis), เนื้องอกที่เกิดจากผนังชั้นในสุดของหัวใจ ( artial myxoma ) เป็นต้น
2.ความผิดปกติเกี่ยวกับปอด เช่น ฝีในปอด (lung abscess), โรคหลอดลมพอง( bronchiectasis ), มะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อบุผิว ( carcinoma ), โรคซีสติก ไฟโบรซีส ( Cystic Fibrosis ), ถุงลมโป่งพอง ( Emphysema ), พังผืดในปอด ( lung fibrosis ) เป็นต้น
3.ความผิดปกติในตับ เช่น โรคตับแข็ง ( cirrhosis ), ไวรัสตับอักเสบ ( chronic active hepatitis ) เป็นต้น
นอกจากความผิดปกติของระบบข้างต้นแล้ว อาการนิ้วปุ้มยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น pachydermoperiostosis, โรคตับแข็งที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Primary Biliary Cirrhosis: PBC ), กลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร ( inflammatory bowel disease ), โรคแพ้กลูเตน ( Coeliac Disease ), มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( Lymphoma ), thyroid acropathy, idiopathic
Bilateral upper extremities ที่สามารถพบได้ที่ส่วนของมือทั้ง 2 ข้าง คือ หลอดเลือดดำที่อยู่ในส่วนของมือทั้งสองข้างมีการอุดตันชนิดเรื้อรั้งเกิดขึ้น
Bilateral lower extremities ที่สามารถพบได้ที่ส่วนของเท้าทั้ง 2 ข้าง คือ โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ที่ทำให้เลือดแดงจากหัวใจฝั่งซ้ายทำการบีบตัวสู่หลอดเลือดแดงเอออร์ตา ซึ่งที่ความดันสูงเลือดจะไหลไปยังปอดที่มีความดันต่ำกว่า แต่ถ้ามีการไหลผ่านช่องทางลัด (shunt) ในปริมาณมาก จะส่งผลให้ทารกอาการหายใจลำบาก หรือการติดเชื้อที่ทำให้ช่องท้องเกิดการโป่งพอง

เล็บมีหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆไม้ให้เกิดแก่ปลายนิ้วและปลายเท้า

2. ดอกเล็บ ( Leukonychia )
คือ จุดสีขาว ๆ ที่เกิดขึ้นบน เล็บซึ่งลักษณะของดอกเล็บสามารถบ่งอกสุขภาพร่างกายได้ ซึ่งดอกเล็บจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปและสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
2.1 true leukonychia คือ ดอกเล็บที่มีสีขาวอยู่บนแผ่นเล็บ (nail plate) ซึ่งแบ่งเป็น
2.1.1. total leukonychia คือการที่แผ่นเล็บทั้งแผ่นกลายเป็นสีขาว เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งโอกาสที่จะพบผู้ป่วยมีดอกเล็บแบบนี้น้อยมาก
2.1.2. partial leukonychia คือ การที่บนแผ่นเล็บมีดอกเล็บสีขาวงเกิดขึ้นบางส่วน ซึ่งดอกเล็บชนิดนี้ยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ

• transverse หรือ Mee’s line คือ ดอกเล็บที่เกิดขึ้นตามขวางหรือดอกเล็บที่เกิดขึ้นขนานกับส่วนที่เป็นครึ่งวงกลมสีขาวที่อยู่บริเวณโคนเล็บ ( lanula ) ซึ่งดอกเล็บแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากการได้รับบาดเจ็บจากการกระแทก ( trauma ) หรือการติดเชื้อ ( infections ) โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูง เช่น ผู้ป่วยโรคปอดบวม ผู้ป่วยมาลาเรีย เป็นต้น
• longitudinal คือ ดอกเล็บที่เป็นสีขาวบนแผ่นเล็บ ซึ่งเกิดขึ้นในลักษณะที่ตั้งฉากส่วนที่เป็นครึ่งวงกลมสีขาวที่อยู่บริเวณโคนเล็บ ( lanula ) ซึ่งดอกเล็บชนิดนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางพันธุกรรมเกิดจากการกลายพันธ์ของยีน ( Darrier’s disease )
2.1.3. punctata leukonychia คือดอกเล็บที่มีลักษณะเป็นจุดสีขาวเล็กๆ แผ่นเล็บ ดอกเล็บแบบนี้สามารถพบได้มากในเล็บของเด็ก โดยเกิดจากการที่เล็บได้รับบาดเจ็บจากการกระแทก ( trauma ) ซึ่งเมื่อเกิดดอกเล็บชนิดนี้ต้องระวังการติดเชื้อราชนิด Superficial white onychomycosis ที่จะทำให้เล็บมีลักษณะเป็นขุยสีขาว
2.2 apparent leukonychia คือ ดอกเล็บที่เกิดขึ้นภายในแผ่นเล็บไม่ได้เกิดขึ้นบนแผ่นเล็บ โดยลักษณะด้านบนของแผ่นเล็บจะเรียบเนียนเหมือนกับแผ่นเล็บปกติ แต่จะสังเกตว่าแผ่นเล็บบางส่วนเปลี่ยนเป็นสีขาว ซึ่งเกิดจากการที่เนื้อเยื่อที่อยู่ใต้เล็บเปลี่ยนเป็นสีขาวและสามารถแบ่งดอกเล็บแบบนี้ออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ
2.2.1. muehrcke’s nail คือ ดอกเล็บสีขาวที่ขนานกับส่วนของโคนเล็บ ( lanula ) สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีการใช้ยาเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือผู้ป่วยที่มีภาวะอัลบูมิน ( Albumin ) ในเลือดต่ำกว่าปกติ ( hypoalbumin ) เช่น ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มที่มีอาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ( nephrotic syndrome ), โรคขาดโปรตีนและพลังงานหรือโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้ ( malnutrition )
2.2.2. half and half nails ( lindea nail ) คือ ดอกเล็บเกิดขึ้นเกินครึ่งหนึ่งของเล็บโดยจะเกิดขึ้นมาด้านโคนเล็บ จนไม่สามารถสังเกตเห็น lanula ที่โคนเล็บ สามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคไตวาย ( renal failure )
2.2.3. terry’s nail คือ ดอกเล็บที่เกิดขึ้นทั่วทั้งเล็บจนทำให้เล็บมองเห็นเป็นสีขาว หรืออาจจะเหลือสีชมพูที่บริเวณส่วนปลายสุดของเล็บเท่านั้น ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคตับแข็ง ( Cirrhosis ) หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ( congestive heart failure )

3. Yellow nail syndrome หรือกลุ่มโรคเล็บเหลือง
เนื่องจากการเจริญเติบโตของเล็บหยุดลง ทำให้แผ่นเล็บมีความหนามากกว่าปกติและมีสีเหลือง นอกจากนั้นที่บริเวณฐานเล็บจะไม่มีหนังกำพร้า (Cuticle) ซึ่งจะพบในผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมน้ำเหลืองโต ( lymphedema ) โรคถุงลมโป่งพอง โรคไซนัสอักเสบ ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด

4. Green nail syndrome หรือกลุ่มโรคเล็บเขียว
คือ ผู้ป่วยที่มี เล็บเปลี่ยนเป็นสีเขียว สีเขียวปนดำหรือสีเขียวปนน้ำเงิน เกิดจากความผิดปกติในการสร้างเม็ดสีรงควัตถุไพโอไซแอนิน ( Pyocyanin ) ที่ให้สีฟ้าหรือน้ำเงิน ทำให้เกิดเป็น Iongitudinal melanonychia ที่มีลักษณะเป็นเส้นสีน้ำตาล ดำหรือม่วงเข้ม โดยความยาวของเส้นจะยาวได้ตั้งแต่ฐานเล็บจนถึงปลายเล็บ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดดอกเล็บลักษณะนี้ เช่น ไฝหรือปาน การบาดเจ็บจากการกระแทก การได้รับยาบางชนิด การติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยโรค addison disease มะเร็งผิวหนังที่บริเวณ เล็บโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งผิวหนังที่บริเวณเล็บจะพบพบตุ่มน้ำที่ปลาย-ข้างจมูก ( Hutchinson sign ) โดยสีดำที่เกิดขึ้นในเล็บจะสามารถลามออกมาภายนอกเล็บได้ด้วย ซึ่งการเกิดดอกเล็บในลักษณะนี้จะเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนังที่เล็บได้เป็นอย่างดี

5. Longitudinal melanonychia
คือ เล็บจะเป็นเส้นสีน้ำตาล ดำ ตั้งฉากกับฐานเล็บ มีลักษณะเป็นเส้นในแนวยาว ซึ่งจะเกิดในบริเวณแผ่นเล็บ สาเหตุที่พบ ได้แก่ ลักษณะที่เกิดจากสรีรวิทยาตามปกติ ความผิดปกติของโรคในระบบต่างๆ จากการบาดเจ็บ กาอักเสบ เกิดจากเชื้อรา ยา และการเพิ่มจำนวนของเซลชนิดที่ไม่ใช่เนื้องอกร้าย โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากการผลิตเมลานินที่เพิ่มขึ้นโดยเมลาโนไซต์ ( melanocytes ) ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีจะมีประมาณ 200 เมลาโนไซต์ต่อตารางเซนติเมตรในเนื้อเยื่อใต้โคนเล็บ ( nail matrix ) ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงสงบอยู่แต่เมื่อถูกกระตุ้น เมลาโนโซมจะเต็มไปด้วยเมลานินและจะถูกย้ายไปที่เนื้อเยื่อใต้โคนเล็บต่างๆ โดยจะไปที่ส่วนปลายกลายเป็นเซลที่แผ่นเล็บ ( nail plate onychocytes ) ทำให้เห็นเป็นเส้นหรือลายของสีในแผ่นเล็บ

6. Onycholysis หรือการเล็บแยกจากเนื้อ
คือ การที่แผ่นเล็บกับเนื้อเยื่อรองฐานเล็บมีการแยกตัวออกจากัน โดยการแยกตัวออกจากกันจะเริ่มจากส่วนของปลายเล็บเป็นอันดับแรก ทำให้มีอากาศเข้าไปแทรกระหว่างแผ่นเล็บและเนื้อเยื่อรองฐานเล็บ สาเหตุที่ทำให้เกิดการแยกของ เล็บ คือ การโดนน้ำ แสงแดด การระคายเคือง การบาดเจ็บจากการกระแทก โรคติดเชื้อรา เช่น Dermatophyte dermatoplyte, Candida, pseudomonas, HPV การได้รับยาบางชนิด เช่น tetracyclines ( พบบ่อยสุด ), Fluorquinolones, taxense, psoralens, NSAIDS, photodynamic มะเร็งผิวหนังชนิด sqaumous cell ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง ( hyperthyroid ) primary skin lesions โรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น

7. Pitting nail หรือเล็บเป็นร่องหรือหลุม
คือ อาการที่เล็บมีหลุมเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณบนแผ่นเล็บ เกิดจากความผิดปกติของการสร้างเล็บที่บริเวณโคนเล็บที่มีลักษณะเป็นโค้งสีขาว ที่เรียกว่า proximal nail matrix ทำให้ลักษณะของผิวเล็บด้านบนมีลักษณะขรุขระเป็นคลื่นหรือหลุมนั่นเอง สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1.หลุมเล็กๆ บนเล็บ ( Nail Pitting ) ซึ่งเกิดจากโรคสะเก็ดเงินหรือโรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้
2.geometric pitting anil คือ แผ่นเล็บที่มีหลุมหรือร่องที่มีขนาดเท่ากัน เรียงตัวอย่างสม่ำเสมอทั้งเล็บ ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมีย ( alopecia areata )

8. Onychorrhexis หรือเล็บเปราะ
คือ การที่ nail matrix เกิดการอักเสบ ที่ให้เล็บมีร่องเล็ก ๆ เกิดขึ้นตั้งฉากกับฐานเล็บและส่งผลให้แผ่นเล็บมีขนาดที่บางลงด้วย สาเหตุที่ทำให้ nail matrix เกิดการอักเสบ มักเกิดจากการอักเสบชนิดเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ( lichen planus ) การบาดเจ็บจากการกระแทกที่บริเวณ เล็บการกดทับของเนื้องอกที่บริเวณ nail matrix หรือภาวะที่เลือดไปหล่อเลี้ยงเล็บได้น้อยกว่าปกติ

9. Tachyonychia หรือโรคสะเก็ดเงินที่เล็บ
คือ อาการที่เกิดในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน โดยผิวเล็บจะมีลักษณะขรุขระทั่วๆ ทั้งแผ่นเล็บและมีเส้นเลือดเกิดขึ้นลึกตามแนวยาวของ เล็บ ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับเล็บทั้ง 20 นิ้วของผู้ป่วย

10. koilonychias หรือเล็บรูปช้อน (spoon nails )
คือ การที่แผ่นเล็บมีการแอ่นตัวโดยส่วนด้านข้างมีการยกตัวสูงขึ้นกว่าบริเวณกลางแผ่นเล็บ จนมีลักษณะคล้ายช้อน ซึ่งอาการเล็บรูปช้อนนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก ( iron deficiency )

11. Beau’s lines หรือเล็บเป็นร่องลึกคล้ายคลื่น
คือ การที่เล็บมีลักษณะเป็นร่องลึกขนานกับ lanula เนื่องจาก proximal nail matrix ที่ทำหน้าที่ในการสร้างแผ่นเล็บมีการหยุดการทำงานชั่วขณะ ทำให้แผ่นเล็บมีลักษณะเป็นคลื่น ซึ่งเกิดจากการได้รับบาดเจ็บจากการกระแทก การใช้ยาบางชนิดหรือการมีไข้สูง

12. Onychomadesis หรืออาการเล็บหลุดลอก
อาการนี้มีลักษณะคล้ายกับการเล็บแยกตัว แต่มีความรุนแรงมากกว่า จนทำให้แผ่นเล็บเกิดการหลุดลอกออกมาจาก เล็บทั้งหมด เนื่องจาก nail matrix ที่ทำหน้าที่ผลิตหยุดการทำงานชั่วขณะทำให้ไม่มีการสร้างเล็บขึ้นมาก ซึ่งเกิดจากการได้รับบาดเจ็บจากการกระแทกอย่างรุนแรงจนทำให้มีเลือดออกใต้เล็บ หรือการเจ็บป่วยมีไข้สูงโดยเฉพาะในเด็ก เช่น โรคมือเท้าปาก โรคคาวาซากิ เป็นต้น
เล็บเป็นอวัยวะที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตแล้ว ยังเป็นอวัยวะที่สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย การสังเกตลักษณะของเล็บเป็นประจำจะช่วยให้ทราบถึงสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้ ดังนั้นเมื่อเล็บมีความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้ทราบว่าร่างกายมีความผิดปกติที่ร้ายแรงเกิดขึ้นหรือไม่ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

Fitzpatrick’s Dermatology in General Medicine. 8th ed. McGraw-Hill;2012. p. 1009.