โพทะเล ไม้มงคลตามชายหาด ช่วยรักษาแผล รักษาหิดและเป็นยาระบาย

0
โพทะเล ไม้มงคลตามชายหาด ช่วยรักษาแผล รักษาหิดและเป็นยาระบาย
โพทะเล ไม้มงคลประจำจังหวัดสมุทรปราการ เป็นดอกที่มีสีเหลืองอ่อน ดอกและผลรับประทานได้
โพทะเล ไม้มงคลตามชายหาด ช่วยรักษาแผล รักษาหิดและเป็นยาระบาย
โพทะเล ไม้มงคลประจำจังหวัดสมุทรปราการ เป็นดอกที่มีสีเหลืองอ่อน ดอกและผลรับประทานได้

โพทะเล

โพทะเล (Portia tree) รู้จักกันในนามของไม้มงคลประจำจังหวัดสมุทรปราการ เป็นดอกที่มีสีเหลืองอ่อนสวยงาม สามารถนำดอกและผลมารับประทานได้ เป็นไม้กลางแจ้งที่พบตามชายฝั่งทะเลและตามริมแม่น้ำที่เป็นดินร่วนปนทราย ในบางประเทศนิยมปลูกต้นโพทะเลไว้ตามวัดเพราะถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ โพทะเลยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรในการรักษาได้อีกด้วย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของโพทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thespesia populnea (L.) Sol. ex Corrêa
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Portia tree” “Cork tree” “Coast cotton tree” “Indian tulip tree” “Pacific rosewood” “Seaside mahoe” “Milo” “Thespesia” “Tulip tree” “Rosewood of Seychelles” “Yellow mallow tree” และ “Umbrella tree”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “โพทะเล โพธิ์ทะเล” จังหวัดราชบุรีเรียกว่า “ปอกะหมัดไพร” จังหวัดเพชรบุรีเรียกว่า “ปอหมัดไซ” จังหวัดปัตตานี มลายูและนราธิวาสเรียกว่า “บากู”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ชบา (MALVACEAE)
ชื่อพ้อง : Hibiscus populneus L.

ลักษณะของโพทะเล

โพทะเล เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ รวมไปถึงภูมิภาคมาเลเซียและในหมู่เกาะแปซิฟิก สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ตามชายฝั่งทะเลทั่วไป เป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิดที่มีความชุ่มชื้น
ลำต้น : ลำต้นโค้งและแตกกิ่งในระดับต่ำ ต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างและค่อนข้างหนาทึบ
เปลือกต้น : เปลือกเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาล มีลักษณะเรียบหรือขรุขระและมีรอยแตกตามยาวเป็นร่อง ๆ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบกว้างแหลมยาวถึงเรียวแหลม ส่วนฐานใบเว้าลึก ขอบใบเรียบและมีเส้นใบออกจากโคนของใบประมาณ 5 – 7 เส้น ผิวใบด้านบนมีลักษณะเกลี้ยงและเป็นมัน ส่วนท้องใบเป็นสีเทาแกมสีน้ำตาลและมีเกล็ด มีหูใบที่มีลักษณะเป็นรูปใบหอกและหลุดร่วงได้ง่าย
ดอก : ออกดอกตามง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ตามซอกใบ ก้านดอกอ้วนสั้นและมีเกล็ด ดอกมีริ้วประดับ 3 แฉกและร่วงได้ง่าย มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ๆ วงกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วยไม่มีแฉกลักษณะคล้ายแผ่นหนัง ส่วนกลีบดอกเป็นสีเหลืองลักษณะเป็นรูปไข่ โคนกลีบติดกันเป็นรูประฆังและมีจุดสีแดงเข้มอมสีน้ำตาลแต้มอยู่ที่โคนกลีบดอกด้านใน โดยดอกจะบานเต็มที่ภายในวันเดียวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูแกมสีม่วงอ่อนและเหี่ยวอยู่บนต้นก่อนที่จะร่วงหล่นในวันถัดมา
ผล : ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม เป็นสันตื้น ๆ 5 สัน และมีน้ำยางสีเหลือง ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนผลแก่เป็นสีเขียวเข้ม เปลือกผลแข็ง มีวงกลีบเลี้ยงลักษณะคล้ายจานติดอยู่ที่ขั้วของผล เมื่อผลแก่จะแห้งแตกไม่มีทิศทาง ไม่ร่วงหล่นและติดอยู่บนต้น
เมล็ด : ในผลมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ดหรือมีเมล็ด 4 เมล็ดในแต่ละช่อง เมล็ดเป็นวงรียาวคล้ายเส้นไหม มีสีน้ำตาลอ่อนค่อนข้างแบน

สรรพคุณของโพทะเล

  • สรรพคุณจากราก เป็นยาบำรุง เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาระบาย เป็นยาขับปัสสาวะ
  • สรรพคุณจากดอก
    – รักษาอาการเจ็บหู ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 2 – 3 ดอก มาต้มกับน้ำนมครึ่งถ้วยตวง แล้วนำมาหยอดหู
  • สรรพคุณจากเปลือก เป็นยาที่ช่วยให้อาเจียน
    – รักษาแผลเรื้อรัง แผลสด และช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการนำเปลือกมาต้มน้ำแล้วพอกบริเวณที่เป็นแผล
  • สรรพคุณจากเมือก รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร
  • สรรพคุณจากใบ เป็นยาระบายอ่อน ๆ
    – รักษาแผลเรื้อรัง แผลสด และช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 2 – 3 ใบ มาบดให้เป็นผงละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล
    – แก้หิด ด้วยการนำใบมาตำแล้วพอก
  • สรรพคุณจากผล
    – แก้หิด ด้วยการนำผลมาตำแล้วพอก

ประโยชน์ของต้นโพทะเล

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอก ผลและใบอ่อนสามารถนำมารับประทานได้
2. เป็นไม้ปลูกประดับ เป็นไม้โตเร็วและมีดอกขนาดใหญ่ จึงใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือใช้ปลูกเพื่อความร่มเงาได้
3. เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เปลือกสามารถนำมาใช้ตอกหมันเรือหรือทำเชือกและสายเบ็ดได้ ไม้ของต้นโพทะเลมีคุณสมบัติคงทน แข็งแรง ทนปลวก เนื้อไม้เหนียว ไสกบตกแต่งได้ง่ายและขัดชักเงาได้เป็นอย่างดี มีสีแดงเข้มดูสวยงาม จึงสามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้

ข้อควรระวังของโพทะเล

1. น้ำมันที่ได้จากเมล็ด ยางจากต้นและเปลือก หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
2. เปลือกมีฤทธิ์ทำให้อาเจียนสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการอาเจียน แต่ควรระวังสำหรับผู้ที่รับประทานแบบปกติ

โพทะเล เป็นต้นไม้มงคลที่มักจะพบตามชายฝั่งทะเล สามารถนำส่วนประกอบของต้นมารับประทานเป็นยาสมุนไพรได้ อีกทั้งยังมีดอกสีเหลืองอ่อนสวยงามน่าชมเหมาะกับการปลูกประดับสถานที่และให้ความร่มเงาได้ดี มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาอาการเจ็บหู รักษาแผล รักษาหิดและเป็นยาระบาย เป็นสมุนไพรแก้อาการพื้นฐานได้และยังนำมาเป็นส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. “โพทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.nectec.or.th. [19 ธ.ค. 2013].
โรงเรียนดาราพิทยาคม ตำบลบ้านดารา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. “โพทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.drpk.ac.th. [19 ธ.ค. 2013].
หนังสือสมุนไพรพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด (สุทัศน์ จูงพงษ์).
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “โพทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [19 ธ.ค. 2013].
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “พิษระคายเคืองผิวหนัง โพทะเล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [19 ธ.ค. 2013].

บัวสาย เป็นพืชน้ำที่มีสีสันมากมาย ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจและแก้ไข้ได้

0
บัวสาย เป็นพืชน้ำที่มีสีสันมากมาย ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจและแก้ไข้ได้
บัวสาย พืชน้ำตามบึงหรือลำคลอง ดอกมีหลายสี ก้านดอกมีสีน้ำตาลอวบ
บัวสาย เป็นพืชน้ำที่มีสีสันมากมาย ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจและแก้ไข้ได้
บัวสาย พืชน้ำตามบึงหรือลำคลอง ดอกมีหลายสี ก้านดอกมีสีน้ำตาลอวบ

บัวสาย

บัวสาย (Lotus stem) หรือเรียกกันอีกอย่างว่า “บัวขม” เป็นพืชน้ำที่คนไทยคุ้นเคยกันมานาน มักจะอยู่ตามบึงหรือลำคลอง เป็นไม้น้ำที่ดอกบานแล้วสวยงามมาก บัวสายนั้นมีชื่อเรียกหลายชื่อตามแต่ละท้องที่หรือตามสีของดอกจนน่าสับสน เป็นพืชที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป บัวสายนั้นนอกจากจะเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงามแล้วยังมีสรรพคุณเป็นยาและถูกจัดให้อยู่ใน “ตำรับยาพิกัดบัวพิเศษ” และ “ตำรับยาหอมเทพจิตร”

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของบัวสาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea pubescens Willd.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Lotus stem” “Water lily” “Red indian water lily”
ชื่อท้องถิ่น : ชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “บัวสายกิน” “บัวกินสาย” “สายบัว” “บัวขม” “บัวขี้แพะ” “บัวแดง” “บัวสายสีชมพู” “บัวจงกลนี” “จงกลนี” “สัตตบรรณ” “สัตตบุษย์” “ปริก” “ป้าน” “ป้านแดง” “รัตอุบล” “เศวตอุบล” มีชื่อเรียกตามสีของดอกโดยสีชมพูเรียกว่า “ลินจง” สีขาวเรียกว่า “กมุท กุมุท โกมุท เศวตอุบล” สีม่วงแดงเรียกว่า “สัตตบรรณ รัตนอุบล”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บัวสาย (NYMPHAEACEAE)
ชื่อพ้อง : Nymphaea lotus var. pubescens (Willd.) Hook. f. & Thomson

ลักษณะของบัวสาย

บัวสาย เป็นพืชน้ำที่มีถิ่นกำเนิดในเขตที่ราบลุ่มของทวีปเอเชีย เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย
เหง้า : อยู่ใต้ดินและมีรากฝักอยู่ในโคลนเลน
ใบ : เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน แผ่นใบมีลักษณะกลม ขอบใบหยักและแหลม ฐานหยักเว้าลึก หูใบเปิด ผิวใบอ่อนวางอยู่บนผิวน้ำ แผ่นใบด้านบนเรียบเป็นมัน มีสีเขียวเหลือบน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงเลือดหมู ผิวใบด้านล่างของใบอ่อนเป็นสีม่วง เมื่อแก่จะเป็นสีเขียว ผิวใบด้านล่างของใบแก่เป็นสีน้ำตาลมีขนนุ่ม ๆ เส้นใบใหญ่นูน ส่วนก้านใบมีสีน้ำตาลอมเขียวอ่อนลักษณะค่อนข้างเปราะ ข้างในก้านใบเป็นรูอากาศ
ดอก : มีหลายสีแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด เช่น ชนิดดอกสีชมพู ดอกขาว ดอกแดง ดอกม่วงแดง ดอกเหลือง ดอกเขียว ดอกคราม ดอกน้ำเงิน มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เป็นสีเขียวเหลือบน้ำตาลแดง ดอกมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมถึงค่อนข้างกลม มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้นเป็นรูปหอก ก้านดอกมีสีน้ำตาลอวบกลมช่วยให้ดอกลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ดอกบัวสายจะบานในช่วงเวลาใกล้ค่ำถึงตอนสายของวันรุ่งขึ้นและจะหุบในเวลากลางวัน
ผล : ผลสดเรียกว่า “โตนด” มีเนื้อและเมล็ดอยู่ภายในผล
เมล็ด : ลักษณะกลมจำนวนมาก มีขนาดเล็กสีดำอยู่ในเนื้อหุ้มเป็นวุ้นใส ๆ

สรรพคุณของบัวสาย

  • สรรพคุณจากบัวสาย แก้ไข้ตัวร้อน แก้เสมหะ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ลมและโลหิต ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น
    – ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้รักษาโรคหนองใน ด้วยการนำมาถูที่หน้าจะช่วยทำให้ง่วงนอน
  • สรรพคุณจากหัว บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น บำรุงครรภ์ของสตรี
  • สรรพคุณจากดอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน แก้อาการร้อนใน บำรุงครรภ์ของสตรี แก้อาการหน้ามืดตาลาย แก้อาการใจสั่น ช่วยผ่อนคลายความเครียด
  • สรรพคุณจากเมล็ด บำรุงกำลัง บำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงครรภ์ของสตรี
  • สรรพคุณจากสายบัว บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ต้านโรคมะเร็งในลำไส้
  • สรรพคุณจากก้านบัว บรรเทาความร้อนในร่างกาย

ประโยชน์ของบัวสาย

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ก้านดอกและไหลใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก นำไปปรุงเป็นอาหารหรือทำเป็นขนมได้ ด้วยการนำก้านดอกหรือใบมาลอกผิวหรือเปลือกที่หุ้มอยู่ออกแล้วเด็ดดอกและใบทิ้ง
2. เป็นไม้ปลูกประดับ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับสระน้ำ
3. ใช้ในอุตสาหกรรม ก้านดอกนำมาสกัดย้อมสีเส้นไหมได้โดยจะให้สีเทา
4. ใช้ในด้านวิทยาศาสตร์ ใช้วัดความลึกของระดับน้ำบริเวณนั้นได้ เนื่องจากความยาวของก้านใบและก้านดอกจะเท่ากับความลึกของแหล่งน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของบัวสาย

คุณค่าทางโภชนาการของบัวสาย ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 6 แคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 1.1 กรัม
โปรตีน 0.2 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
เส้นใยอาหาร 0.4 กรัม
น้ำ 97.6 กรัม
วิตามินเอ 45 หน่วยสากล
วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม 
วิตามินบี3 0.4 มิลลิกรัม
วิตามินซี 15 มิลลิกรัม
แคลเซียม 0 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.2 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 3 มิลลิกรัม

บัวสาย เป็นบัวชนิดหนึ่งของไทยที่มีมาเนิ่นนานและเป็นไม้น้ำพื้นบ้านที่ชาวชนบทมักจะนิยมปลูกและนำมาทำเป็นกำไลเล่นสำหรับเด็ก เป็นดอกที่สวยงามเหมาะแก่การปลูกประดับสระน้ำหรือบึง เป็นพืชที่มีประโยชน์หลากหลายและสามารถนำส่วนของต้นมาเป็นยาสมุนไพรได้ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ แก้ไข้และช่วยให้คลายเครียดได้

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร. “บัวสาย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable. [3 ธ.ค. 2013].
รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตรประจำวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2546. “บัวสายและบัวหลวง”. (ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [3 ธ.ค. 2013].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 195 คอลัมน์: ประสบการณ์รอบทิศ. “บัวสาย สัญลักษณ์แห่งเยื่อใยและความลึก”. (เดชา ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [3 ธ.ค. 2013].
ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “บัวสาย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [3 ธ.ค. 2013].
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. “บัวจงกลนี”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.uru.ac.th. [3 ธ.ค. 2013].
พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ กรมหม่อนไหม. “บัวสาย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: qsds.go.th. [3 ธ.ค. 2013].
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “บัวสาย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [3 ธ.ค. 2013].
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “บัวขม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [3 ธ.ค. 2013].

จาก ปาล์มชนิดหนึ่งในป่าชายเลน มีประโยชน์มากมายต่อวิถีชีวิตในแบบชาวบ้าน

0
จาก ปาล์มชนิดหนึ่งในป่าชายเลน มีประโยชน์มากมายต่อวิถีชีวิตในแบบชาวบ้าน
จาก ปาล์มชนิดหนึ่งในป่าชายเลน มีประโยชน์มากมายต่อวิถีชีวิตในแบบชาวบ้าน
จาก ปาล์มชนิดหนึ่งในป่าชายเลน มีประโยชน์มากมายต่อวิถีชีวิตในแบบชาวบ้าน
จาก ปาล์มชนิดหนึ่งนิยมเชื่อมเป็นของหวาน เปลือกผลหนา เนื้อผลสีขาว ด้านในกลวงมีน้ำ คล้ายผลตาล

จาก

จาก (Nipa palm) เป็นพืชเก่าแก่มากชนิดหนึ่ง เป็นปาล์มเพียงชนิดเดียวที่เป็นพืชในป่าชายเลน ส่วนมากจะพบเป็นลูกจากเชื่อมที่อยู่ในของหวาน ถึงแม้จะเป็นพืชที่ให้สรรพคุณน้อยกว่าพืชอื่น ๆ แต่เป็นต้นที่มีประโยชน์หลากหลายมากในอุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถนำส่วนประกอบของต้นมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารและเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์มากมาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของจาก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nypa fruticans Wurmb
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Nypa” “Atap palm” “Nipa palm” “Mangrove palm”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “อัตต๊ะ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ปาล์ม (ARECACEAE)

ลักษณะของต้นจาก

ต้นจาก เป็นปาล์มแตกกอที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทย
ลำต้น : ลำต้นเป็นเหง้าใต้ดินหรือโผล่เหนือดิน มักเรียกว่า “หินจาก” ต้นเกิดติดกันเป็นกลุ่มกอ มีลักษณะอ้วนสั้น และแบน แตกออกเป็น 2 ง่าม โดยเยื่อของส่วนลำต้นและโคนก้านใบมีโพรงอากาศ
ราก : รากเป็นระบบรากฝอย แตกออกจากด้านล่างของลำต้น จำนวนของรากต่อต้นนั้นมากและมีขนาดยาว ทำให้พื้นที่โดยรอบลำต้นกระจุกตัวด้วยรากจำนวนมาก
ใบ : มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวแบบขนนก ก้านใบมีลักษณะอวบใหญ่เรียกว่า “พงจาก” หรือ “ทางจาก” ส่วนโคนก้านใบเรียกว่า “พอนจาก” ใบย่อยมีลักษณะเรียวยาวคล้ายใบมะพร้าวแต่ขนาดใบกว้างกว่า ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนผิวใบด้านล่างมีสีนวล กาบใบใหญ่ห่อโคนต้น ก้านใบที่แตกใหม่จะเป็นสีม่วงแดง
ดอก : ดอกมีสีเหลือง ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกแน่นระหว่างกาบใบ ดอกเป็นรูปกลม เป็นดอกแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกจะชูตั้งขึ้นและโค้งลง ก้านดอกเรียกว่า “นกจาก”
ผล : ผลมีลักษณะอัดรวมกันแน่นบริเวณปลายก้านดอกเรียกว่า “ทะลาย” หรือ “โหม่งจาก” ผลมีขนาดใหญ่ที่ขั้วผลและเล็กที่ปลายผล มีหนามแหลมสั้นที่โคนผล ตัวผลมีลักษณะสามเหลี่ยม เปลือกผลหนา มีสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลแดง
เมล็ด : 1 ผล จะมี 1 เมล็ด อยู่ถัดจากเปลือกผลที่ประกอบด้วยเนื้อผลสีขาว ด้านในกลวงมีน้ำ ซึ่งจะพบได้ขณะที่ผลยังอ่อนเหมาะสำหรับนำมารับประทาน แต่หากเมล็ดแก่มากจะมีเนื้อแข็งและเหนียวทั้งเมล็ด ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายผลตาลแก่ ไม่นิยมนำมารับประทาน และจะร่วงลงดินหรือลอยไปกับกระแสน้ำจนถึงช่วงน้ำลดแล้วจมโคลนจนเกิดเป็นต้นจากใหม่อีกครั้ง

สรรพคุณของจาก

สรรพคุณจากใบ แก้อาการท้องร่วงเมื่อนำมาต้มแล้วดื่ม

ประโยชน์ของจาก

  • ประโยชน์ของกลีบดอก เป็นส่วนผสมของชาสมุนไพรได้
  • ประโยชน์ของต้นจาก ปลูกเป็นไม้ประดับริมน้ำกร่อย ริมทะเลหรือในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง เพื่อกันแนวลมและลดเสียงรบกวน เป็นไม้ประดับปลูกลงกระถางเนื่องจากผลมีความสวยงาม ในสมัยก่อนการปลูกจากถือเป็นการจับจองที่ดินด้วยการปลูกลงแขก ต้นจากที่เหลือใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้
  • ประโยชน์ของลูกจากอ่อนหรือผลอ่อน นำมาต้มกินกับน้ำพริก กินร่วมกับแกงไตปลา ทำเป็นแกงกะทิ ผลอ่อนผ่าเอาเมล็ดมารับประทานสดเป็นผลไม้หรือนำมาลอยแก้ว ใช้รับประทานเป็นขนมหวานหรือรับประทานร่วมกับไอศกรีม ผลอ่อนเมื่อแตกหน่อจะมีจาวที่นำมารับประทานได้
  • ประโยชน์ของผลสุก นำมาทำเป็นลูกเชื่อมทานในของหวานได้
  • ประโยชน์จากน้ำหวานที่ต้นจาก หรือที่เรียกกันว่า “น้ำตาลจาก” มีรสชาติเหมือนกับน้ำตาลโตนด สามารถนำไปเคี่ยวเพื่อทำเป็น “น้ำผึ้งจาก” จนเกิดเป็น “น้ำตาลปึก” เมื่อเคี่ยวต่อจะได้ “ขนมตังเม” นอกจากนั้นยังนำไปหมักเพื่อเป็น “น้ำส้มจาก” ได้เช่นกัน มีส่วนช่วยทำให้น้ำในบ่อกุ้งไม่เน่าเสียและนำไปทำเป็น “น้ำตาลเมา” ได้อีกด้วย
  • ประโยชน์ของงวงจากหนุ่ม นำมาทำเป็นไม้กวาด เป็นแส้สำหรับปัดแมลงหรือแปรงล้างกระบอกตาลตอนทำน้ำตาลจากได้
  • ประโยชน์ของใบ นำมาใช้ห่อขนมจาก ทำแมงดากันฝน เป็นของเล่นหรือลูกโตน ส่วนใบแก่จะเย็บแล้วนำมาใช้มุงหลังคาหรือใช้กั้นฝาบ้านได้ ทำกระแชงที่มีลักษณะคล้ายกับเต็นท์ซึ่งสามารถกันความร้อนได้ดีกว่าเต็นท์อีกด้วย หรือนำมาทำเป็นเพิงสำหรับอาศัยพักผ่อน ใช้ทำเป็นหมวกที่เรียกว่า “เปี้ยว” ใช้กันแดดกันฝนบนเรือแจว ทำฝาชีสำหรับครอบกับข้าวหรือทำเป็นฝาซึ้งสำหรับนึ่งอาหาร เพราะใบจากจะทนทานต่อความร้อนได้ดีและกันความร้อน ส่วนก้านใบที่ลิดใบแล้วใช้ทำไม้กวาดและทำเสวียนหม้อได้
  • ประโยชน์ของใบอ่อน ใบอ่อนที่เพิ่งแตกยอดใช้ทำมวนบุหรี่สูบ ทำเสวียนหม้อ ตอกบิด ห่อขนมจาก ทำที่ตักน้ำเรียกว่า “หมาจาก” ซึ่งใช้สำหรับวิดน้ำในเรือเพราะหมาจากนั้นไม่กินเนื้อไม้
  • ประโยชน์ของพอนจากหรือปงจาก ใช้ทำเป็นทุ่นสำหรับเกาะตอนว่ายน้ำเพื่อไม่ให้จม หรือนำไปทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก เช่น ทำเป็นดาบ ปืน เรือ นอกจากนี้ส่วนที่เหนือขึ้นไปเล็กน้อยของพอนจากก็สามารถนำมาตัดทำเป็นไม้ดอกตีเงี่ยงปลาสำหรับชาวประมงได้ด้วยหรือนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงก็ได้
  • ประโยชน์ของทางจาก สามารถนำมาทำปลอกสำหรับแจวเรือได้เนื่องจากมีความเหนียวแต่ไม่ทนทานเท่าไหร่ ทำตับจากแต่ใช้ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้นเพราะไม่แข็งแรง ชาวประมงยังนำส่วนของทางจากแก่มาทำเป็นตะแกรงสำหรับย่างปลาอีกด้วย

จาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่คิด เป็นต้นที่มีน้ำหวานมาสกัดเป็นน้ำตาลได้ ส่วนประกอบจากต้นของจากนำมาแปรรูปได้ทั้งต้น มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วงได้ เป็นไม้ที่มักจะพบในป่าชายเลนเพราะเป็นต้นที่มักจะขึ้นริมทะเล เป็นพืชในตระกูลปาล์มชนิดหนึ่งที่เหมาะกับวิถีชาวบ้านของคนไทยในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

มะระ ผักรสขมที่ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย รักษาโรคเบาหวาน

0
มะระ ผักรสขมที่ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย รักษาโรคเบาหวาน
มะระ หรือมะระจีนเป็นผักที่ได้รับความนิยมในไทย ทรงกลมรีและยาว ผิวขรุขระ ผลขนาดใหญ่ เนื้อหนาฉ่ำ มีรสขม
มะระ ผักรสขมที่ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาระบาย รักษาโรคเบาหวาน
มะระ หรือมะระจีนเป็นผักที่ได้รับความนิยมในไทย ทรงกลมรีและยาว ผิวขรุขระ ผลขนาดใหญ่ เนื้อหนาฉ่ำ มีรสขม

มะระ

มะระ ( Bitter melon ) หรือเรียกกันว่า “มะระจีน” เป็นผักที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย มักจะอยู่ในเมนู “ต้มจืดมะระ” มีรสขมแต่อร่อยหากนำมาปรุงอย่างถูกวิธี มีสรรพคุณมากมายดั่งคำที่ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” รสขมของมะระนั้นอาจจะทำให้บางคนรับประทานยากแต่คุ้มค่าเพราะมีสรรพคุณทางยามากมาย

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของมะระ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Bitter melon” “Balsam pear” “Bitter cucumber” “Bitter gourd”
ชื่อวงศ์ : วงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

ลักษณะของมะระ

มะระ เป็นพันธุ์ไม้เลื้อยเขตร้อน เถาเลื้อยมีสีเขียว มีมือเกาะไว้ใช้สำหรับยึดเกาะ
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันคนละข้างตามเถาเลื้อย มีลักษณะเป็นแฉกเว้าลึก 5 แฉก โคนใบมีลักษณะกลม ก้านใบยาว ใบมีสีเขียวและมีขนสากเล็ก ๆ
ราก : เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมสีน้ำตาล รากแตกแขนงเป็นฝอยเล็ก ๆ
มือเกาะ : มีลักษณะกลมเป็นเส้นเล็ก ๆ คล้ายหนวด มีจำนวนมือเกาะ 1 เส้นต่อข้อ ส่วนตรงปลายมีขนาดเล็กสุดและม้วนงอ จะม้วนงอเข้ายึดเกาะรอบข้างและยึดลำต้นเพื่อเลื้อยแผ่ขึ้นที่สูง
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวลักษณะรูประฆัง กลีบดอกมีสีเหลือง ก้านดอกยาวและออกตามซอกใบ
ผล : มีลักษณะทรงกลมรีและยาว มีเปลือกบางและผิวขรุขระเป็นร่องลึกตามแนวยาว ผลขนาดใหญ่และมีเนื้อหนาฉ่ำน้ำ มีรสชาติขม ผลดิบจะมีสีเขียวอ่อนรับประทานได้ ผลสุกมีสีแดงแต่รับประทานไม่ได้
เมล็ด : มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมากเรียงอยู่ในผล เมล็ดมีลักษณะกลมแบนรูปรี เปลือกเมล็ดแข็งและผิวเรียบ มีสีน้ำตาล

ประโยชน์ของมะระ

  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ต้านเชื้อไวรัส เถาช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย เมล็ดช่วยปรับธาตุให้สมดุล
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ปกป้องเซลล์จากการทำลายของสารก่อมะเร็งต่าง ๆ รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันมะเร็ง อาจจะยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมแต่ยังไม่ระบุแน่ชัด รักษาตับพิการและกระตุ้นการทำงานของตับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รักษาม้ามพิการ
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยทำให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงน้ำดี รากและเถาแก้อาการบิด ผลเป็นยาระบายอ่อน ๆ รากรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก เมล็ดช่วยขับพยาธิตัวกลม
    – รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม
    – รักษาท่อน้ำดีอักเสบ ด้วยการใช้ใบมาคั้นเอาแต่น้ำเพื่อดื่มแก้อาการ
  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้ดวงตาสดใส เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง น้ำคั้นอมแก้อาการปากเปื่อยได้
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ ลดอาการปวดบวมที่เข่า รากมีฤทธิ์ฝาดสมาน ผลใช้ทาลดอาการระคายเคือง ผิวหนัง
  • แห้งและผิวหนังอักเสบ ใบลดอาการฟกช้ำบวมตามร่างกายและแก้อาการผดผื่นคัน
    – แก้กระหายน้ำและบรรเทาอาการหวัด ด้วยการใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม
    – แก้อาการไข้ ด้วยการใช้รากมาต้มกับน้ำดื่ม
    – ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้ร่วมกับกะเม็งตัวเมีย
  • สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยฟอกเลือด
  • สรรพคุณด้านความงาม ผลสุกคั้นเอาแต่น้ำใช้ทาหน้าเพื่อช่วยรักษาสิวอักเสบ

การนำไปใช้ประโยชน์ของมะระ

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร มักจะอยู่ในเมนูอย่างแกงจืดมะระยัดไส้ มะระต้มจืด มะระผัด ยำมะระสดหรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก นำผลสดมาคั้นเป็นน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ
2. เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นำมาทำเป็นแคปซูลรักษาโรคเบาหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของมะระปริมาณ 100 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของมะระปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 31 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหรที่ได้รับ
น้ำ 92 กรัม
โปรตีน 1 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม
ไฟเบอร์ 0.7 กรัม
เถ้า 0.5 มิลลิกรัม
แคลเซียม 21 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 32 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.7 มิลลิกรัม
ไทอะมีน 0.05 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 0.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 85 มิลลิกรัม

ผสารออกฤทธิ์ทางยา

สารโมโมดิซิน (Momodicine) เป็นสารรสขมในมะระที่ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย

การเลือกซื้อมะระ

ควรเลือกซื้อมะระอ่อนเพราะไม่ขมมากจนเกินไป สามารถดูได้จากหนามซึ่งมีลักษณะอ่อนนิ่ม

วิธีลดความขมของมะระ

1. หลังจากทำการซื้อมะระให้นำมาแช่เกลือก่อนทำอาหารในอัตราส่วนเกลือ 1 ช้อนชา กับน้ำ 1 ลิตร ทำการแช่ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วเทน้ำทิ้ง
2. แช่น้ำเปล่าอีกครั้งประมาณ 10 นาที แล้วจึงนำไปทำอาหารได้
3. หากทำเมนูต้มมะระไม่ควรเปิดฝาทิ้งไว้หรือทำการคนบ่อย ๆ เพราะจะทำให้มะระมีรสขมมากขึ้น

ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรรับประทานมะระที่เป็นผลสุกหรือผลที่มีสีแดง อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เพราะมีสารซาโปนิน (Saponin) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายอยู่
2. ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้

มะระ เป็นผักที่มีรสขมและรับประทานยาก ทั้งนี้เป็นผักที่นิยมนำมาทำเป็นน้ำดื่มเพื่อสุขภาพและนำมาทำในเมนูอาหาร หรือนำมาทำเป็นยาแคปซูลก็ได้เช่นกัน รสขมของมะระเป็นรสที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นผักที่นำมาปรุงได้ยากชนิดหนึ่งเพราะต้องควบคุมความขมของมะระให้ได้ สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาระบายและกระตุ้นการทำงานของตับ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

กระทือ ยาสมุนไพรคนโบราณ เป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร

0
กระทือ
กระทือ เป็นยาสมุนไพรประจำบ้านคนโบราณ มีรสขม ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก
กระทือ ยาสมุนไพรของคนโบราณ เป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหารและแก้ไข้ได้
สมุนไพรประจำบ้านคนโบราณ มีรสขม ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก

กระทือ

กระทือ (Shampoo ginger) เป็นยาสมุนไพรประจำบ้านชนิดหนึ่งสำหรับคนโบราณ เป็นไม้ล้มลุกที่คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พบมากในป่าดงดิบของทางภาคใต้ ริมลำธารหรือชายป่า เป็นไม้ที่ปลูกง่ายและมีสรรพคุณทางยามากมาย สามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้เหมือนขิง มีรสขม มักจะนิยมปลูกลงดินหรือปลูกในกระถางเพราะดอกมีความทนทานไม่เหี่ยวง่ายและยังมีสีสดใสอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่คนสมัยใหม่ไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก เป็นยาสมุนไพรที่ถูกลืมเลือนไป ทุกวันนี้แทบจะไม่เคยได้ยินชื่อผ่านเข้าหู ทั้ง ๆ ที่เป็นพืชมากสรรพคุณชนิดหนึ่งสำหรับคนไทยในอดีต

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Shampoo ginger” “Wild ginger”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือเรียกว่า “กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ เฮียวดำ แฮวดำ” จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “เฮียวแดง” มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า “ทือ กะทือ”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

ลักษณะของกระทือ

ลำต้น : มีลักษณะกลมอยู่เหนือดิน มีเหง้าใต้ดิน ต้นจะโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันในระนาบเดียวกันคล้ายรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ มีสีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากเหง้า ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดงเรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกมีสีเหลือง มีโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน
ผล : ผลแห้งแตกและมีรูปทรงค่อนข้างกลม ผลเป็นสีแดง
เมล็ด : เมล็ดมีสีดำ

สรรพคุณของกระทือ

  • สรรพคุณจากเหง้า เป็นยาบำรุงกำลัง ขับน้ำย่อยและช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุไฟ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เลือดกำเดาไหล แก้อาการแน่นหน้าอก แก้เสมหะ มีฤทธิ์ในการขับลม ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ฝี บำรุงและขับน้ำนมของสตรี
    – แก้บิด แก้อาการปวดท้องหรืออาการปวดมวนในท้อง แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อหรือจุกเสียดแน่นท้อง และช่วยขับผายลมในลำไส้ ทำให้อุจจาระในลำไส้เป็นปกติ ด้วยการใช้หัวหรือเหง้าสดประมาณ 20 กรัม มาย่างไฟพอสุก แล้วนำมาตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว จากนั้นคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม
    – แก้อาการเคล็ดขัดยอก ด้วยการใช้หัวมาฝนแล้วใช้ทา
  • สรรพคุณจากดอก บำรุงธาตุในร่างกาย แก้โรคผอมแห้งและผอมเหลือง แก้ไข้เรื้อรัง แก้ลม
  • สรรพคุณจากต้น แก้อาการเบื่ออาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้รับรู้รสอาหารได้ดีขึ้น แก้ไข้
  • สรรพคุณจากใบ ขับประจำเดือน บรรเทาอาการปวดประจำเดือน
  • สรรพคุณจากราก แก้ไข้ต่าง ๆ เช่น แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้ตัวเย็นที่รู้สึกร้อนภายใน เป็นต้น
    – แก้อาการเคล็ดขัดยอก ด้วยการใช้หัวมาฝนแล้วใช้ทา

ประโยชน์ของกระทือ

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร คนเมืองกาญจน์นำดอกแห้งและเหง้ามาใช้รับประทานเป็นผักหรือใส่ในน้ำพริก หน่ออ่อนหรือต้นอ่อนสามารถนำมาทำแกงเผ็ด แกงไตปลาหรือนำไปต้มจิ้มกินกับน้ำพริก หัวมีรสขมเล็กน้อย หากนำมาประกอบอาหารต้องนำมาหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนาน ๆ ก่อนรับประทาน ในแถบอเมริกาใต้นิยมนำเอาใบและลำต้นใส่ไว้ในเตาไฟขณะที่ย่างหมูหรือปลาเพราะกลิ่นหอมจากใบและลำต้นจะทำให้เนื้อหมูหรือปลามีกลิ่นหอมน่ารับประทาน
2. เป็นไม้ปลูกประดับ เป็นไม้ปลูกประดับเพื่อความสวยงามของสถานที่ ดอกสามารถนำไปใช้ปักแจกันเพื่อความสวยงามได้
3. นำมาใช้กำจัดเหา สารสกัดด้วยเมทิลแอลกอฮอล์สามารถนำมาใช้กำจัดเหาได้

กระทือ เป็นไม้ล้มลุกที่มีประโยชน์อย่างมาก สามารถนำทุกส่วนของต้นมาใช้ประโยชน์ได้โดยเฉพาะเหง้าที่มีสรรพคุณเป็นยา เป็นพืชที่มีสีสันทั้งดอกสีเหลืองและผลสีแดง เหมาะสำหรับปลูกประดับในบ้าน มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ เป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ไข้ ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายได้ดี ถือเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่คนไทยไม่ควรมองข้าม

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

บัวเผื่อน ดอกสีขาวแกมชมพูสวยงาม มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกายชั้นดี

0
บัวเผื่อน ดอกสีขาวแกมชมพูสวยงาม มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกายชั้นดี
บัวเผื่อน ไม้น้ำที่มีดอกคล้ายบัวสาย ดอกสีขาวแกมชมพูอมม่วงคราม มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
บัวเผื่อน ดอกสีขาวแกมชมพูสวยงาม มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกายชั้นดี
บัวเผื่อน ไม้น้ำที่มีดอกคล้ายบัวสาย ดอกสีขาวแกมชมพูอมม่วงคราม มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ

บัวเผื่อน

บัวเผื่อน (Water lily) เป็นไม้น้ำที่มีดอกคล้ายดอกบัวสาย มักจะพบขึ้นตามหนอง บึงและริมแม่น้ำ คนโบราณเรียกพืชชนิดนี้ว่า “บัวเผื่อน” เพราะว่ากลีบดอกจะมีสีเผื่อนระหว่างสีขาวครามและสีชมพูอ่อน เป็นชื่อที่คนเมืองและคนสมัยใหม่ไม่ค่อยรู้จักแต่อาจจะเคยเห็นตามบึงน้ำต่าง ๆ หรือในคลองทั่วไป

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของบัวเผื่อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea nouchali Burm.f.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Water lily”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “บัวผัน บัวขาบ” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “นิโลบล” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “ป้านสังก่อน” ชาวมลายูและจังหวัดนราธิวาสเรียกว่า “ปาลีโป๊ะ” มีชื่ออื่น ๆ เรียกว่า “บัวแบ้”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บัวสาย (NYMPHAEACEAE)
ชื่อพ้อง : Nymphaea stellata Willd.

ลักษณะของบัวเผื่อน

บัวเผื่อน เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นบัวพันธุ์พื้นเมืองของไทยและพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาค
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบทู่หรือกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก แผ่นใบมีสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวขึ้นอยู่เหนือน้ำ ดอกมีสีขาวแกมชมพูไปจนถึงสีอ่อนคราม มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ถ้าดอกมีสีขาวแกมเหลืองปลายกลีบดอกจะเป็นสีครามอ่อน แล้วเผื่อนเป็นสีขาวหรือปลายกลีบเป็นสีชมพูเมื่อใกล้โรย ปลายกลีบแหลม มีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก รังไข่มีช่องฝังตัวแน่นอยู่ใต้แผ่นรองรับ ส่วนเกสรเพศเมียเป็นรูปถ้วย สามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี ดอกจะบานช่วงสายและจะหุบช่วงบ่าย
ผล : จมอยู่ใต้น้ำหลังจากการผสมเกสรแล้ว

สรรพคุณของบัวเผื่อน

  • สรรพคุณจากเมล็ด บำรุงกำลัง เมล็ดใช้คั่วบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงหัวใจ
  • สรรพคุณจากหัว บำรุงกำลัง เมล็ดใช้คั่วบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์
  • สรรพคุณจากดอก บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน บำรุงครรภ์ ช่วยขับเสมหะ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยแก้อาการหน้ามืดตาลาย แก้อาการใจหวิว ใจสั่น วิงเวียน คลื่นไส้และตาพร่าจะเป็นลม ช่วยคลายเครียดและทำให้มีอารมณ์แจ่มใส ลดระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยเพิ่มระดับอินซูลินในหนูทดลองได้ มีฤทธิ์ช่วยปกป้องตับหนูจากการถูกทำลายด้วยสารคาร์บอนเตตระคลอไรด์

สารออกฤทธิ์จากดอกบัวเผื่อน

  • สาร Nymphagol จากดอกบัวเผื่อน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ตำราสมุนไพรไทย ในตำรา “พิกัดบัวพิเศษ” ประกอบไปด้วย บัวเผื่อน บัวขม บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว บัวสัตตบงกชแดงและบัวสัตตบงกชขาว มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อบำรุงธาตุทั้ง 4
  • บัญชียาหลักแห่งชาติหรือตำรับยา “ยาหอมเทพจิตร” โดยดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ

ประโยชน์ของบัวเผื่อน

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ก้านดอกสามารถใช้รับประทานเป็นผักหรือใช้จิ้มกินกับน้ำพริกได้และนำมาประกอบอาหารอย่างผัดสายบัวหรือต้มกะทิสายบัวกับปลาทูได้
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกไว้ตัดดอกเพื่อขาย ปลูกเป็นไม้ประดับไว้ในอ่างหรือสระน้ำเพื่อความสวยงามเพราะเลี้ยงง่ายและทนทาน

บัวเผื่อน เป็นบัวที่มีสีขาวแกมชมพูสวยงามมาก นิยมนำมาปลูกประดับไว้ริมคลองหรือไว้ในอ่างสระน้ำในบ้าน ทั้งนี้ถือเป็นยาสมุนไพรของคนไทยมาแต่โบราณ อยู่ในตำราสมุนไพรและบัญชียาหลักแห่งชาติ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ บำรุงกำลังและร่างกาย บำรุงหัวใจ แก้ไข้และบำรุงโลหิต เป็นดอกบัวที่น่าสนใจในการนำมารับประทานเป็นยาบำรุงชนิดหนึ่ง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

จิกน้ำ ไม้งามริมน้ำที่ช่วยแก้อาการไอ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง และรักษาไข้มาลาเรีย

0
จิกน้ำ ไม้งามริมน้ำที่ช่วยแก้อาการไอ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง และรักษาไข้มาลาเรีย
จิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้น ใบรูปไข่หัวกลับหรือรูปรี ขอบใบจักน้ำตาลแดงเข้มและมีขน ดอกห้อยระย้าสีแดงหรือสีชมพู ผลคล้ายรูปไข่
จิกน้ำ ไม้งามริมน้ำที่ช่วยแก้อาการไอ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง และรักษาไข้มาลาเรีย
จิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้น ใบรูปไข่หัวกลับหรือรูปรี ขอบใบจักน้ำตาลแดงเข้มและมีขน ดอกห้อยระย้าสีแดงหรือสีชมพู ผลคล้ายรูปไข่

จิกน้ำ

จิกน้ำ (Indian oak) เป็นไม้ยืนต้นที่ไม่ค่อยได้ยินชื่อบ่อยนัก แต่พบได้ทั่วไปตามริมฝั่งน้ำ สามารถนำส่วนประกอบของต้นมาใช้ประโยชน์ได้ หลายคนไม่รู้จักแต่ต้องเคยเห็นผ่านตามาบ้าง ดอกของจิกน้ำหากบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก สามารถนำดอกและยอดอ่อนมารับประทานได้ และส่วนอื่นของต้นนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้เช่นกัน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของจิกน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Indian oak” และ “Freshwater mangrove”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “ตอง จิกน้ำ” ภาคเหนือเรียกว่า “ตอง ปุยสาย” ภาคอีสานและจังหวัดหนองคายเรียกว่า “กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “จิ๊ก” จังหวัดพิษณุโลกเรียกว่า “กระโดนสร้อย” จังหวัดอุตรดิตถ์เรียกว่า “ลำไพ่” มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า “จิก จิกนา จิกอินเดีย จิกมุจลินท์”
ชื่อวงศ์ : วงศ์จิก (LECYTHIDACEAE หรือ BARRINGTONIACEAE)

ลักษณะของจิกน้ำ

จิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้นที่มีหลายชนิด มีถิ่นกำเนิดทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และประเทศอัฟกานิสถาน ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียในแถบรัฐควีนส์แลนด์ ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาคตามริมฝั่งน้ำ ริมคลอง ริมบึง ป่าพรุและป่าชายเลน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว เป็นรูปหอกหรือรูปไข่หัวกลับหรือรูปรี โคนใบแหลม ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นจักถี่ ๆ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มและมีขน ใบมีขนาดใหญ่เป็นมัน เมื่อเวลามีดอกจะทิ้งใบทำให้เหลือแต่ใบอ่อนสีแดง
ดอก : ออกดอกเป็นช่อกระจายที่ปลายกิ่ง ดอกห้อยลงมาเป็นระย้า ดอกมีสีแดงหรือสีชมพู หลุดร่วงง่าย ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม
ผล : เป็นรูปขอบขนานหรือทรงกลม มีสันเป็นเหลี่ยม 4 สัน เรียงตามความยาวของผล
เมล็ด : ในผลมีเมล็ดจิกน้ำ อยู่ 1 เมล็ด ลักษณะคล้ายรูปไข่

สรรพคุณของจิกน้ำ

  • สรรพคุณจากเมล็ด รักษาเยื่อนัยน์ตาอักเสบ น้ำคั้นจากเมล็ดใช้เป็นยาหยอดตา แก้อาการไอในเด็ก ช่วยให้อาเจียน เป็นยาขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้อาการร้อนใน เป็นยาร้อนในการคลอดบุตร
  • สรรพคุณจากเปลือก เป็นยาลดไข้และใช้รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยชะล้างบาดแผล
  • สรรพคุณจากผล แก้หวัด แก้ไอ
  • สรรพคุณจากราก ช่วยให้อาเจียน เป็นยาระบายอ่อน ๆ
  • สรรพคุณจากใบ น้ำจากใบช่วยแก้อาการท้องเสีย ต้มใบแก่ช่วยแก้อาการท้องร่วง
  • สรรพคุณจากเนื้อไม้ ช่วยขับระดูขาวของสตรีหรืออาการตกขาว

ประโยชน์ของจิกน้ำ

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ดอกและยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดได้
2. ใช้ในอุตสาหกรรม เปลือกและต้นสามารถนำมาใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ ทำเป็นไม้อัด ไม้บาง กระดานกรุบ่อ ใช้ทำเรือเล็ก ๆ ทำเครื่องมือเกษตรและทำเครื่องเรือน
3. ปลูกเป็นไม้ประดับ มักจะปลูกไว้เป็นไม้ประดับที่ริมน้ำหรือริมตลิ่ง สามารถทนน้ำท่วมขังได้และช่วยยึดหน้าดินบริเวณริมตลิ่งได้อีกด้วย

จิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้นที่มีช่อดอกที่สวยงามแปลกตาและมีความแข็งแรง นิยมปลูกไว้ริมตลิ่งเพราะช่วยยึดหน้าดินได้ สามารถนำต้นจิกน้ำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง การรับประทานดอกหรือยอดอ่อนของจิกน้ำจะให้รสชาติมันปนฝาด สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ รักษาไข้มาลาเรีย แก้อาการไอ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง และช่วยรักษาดวงตาได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ยี่หร่า มีกลิ่นหอมและรสร้อน ช่วยเพิ่มความอยากอาหารและต้านโรคมะเร็ง

0
ยี่หร่า มีกลิ่นหอมและรสร้อน ช่วยเพิ่มความอยากอาหารและต้านโรคมะเร็ง
ยี่หร่า ใบกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเผ็ดร้อน
ยี่หร่า มีกลิ่นหอมและรสร้อน ช่วยเพิ่มความอยากอาหารและต้านโรคมะเร็ง
ยี่หร่า ใบกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเผ็ดร้อน

ยี่หร่า

ยี่หร่า (Tree basil) เป็นผักสมุนไพรที่มีลักษณะคล้ายกะเพรา เป็นพืชสีเขียวอีกชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการต้านโรคมะเร็ง หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินชื่อของยี่หร่ามาบ้าง เป็นผักที่มักจะนำมาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นส่วนประกอบของอาหารไทยในหลาย ๆ เมนู หรือรู้จักกันในรูปของน้ำมันยี่หร่า เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสร้อน

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของยี่หร่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum gratissimum L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญ 10 ชื่อ คือ “Tree basil” “Clove basil” “Shrubby basil” “African basil” “Wild basil” “Kawawya” “Caraway fruit” “Caraway seed” “Kummel” “Caraway”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “โหระพาช้าง กะเพราควาย” ภาคเหนือเรียกว่า “หอมป้อม” ภาคใต้เรียกว่า “หร่า” ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า “สะหลีดี” จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น” จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่า “จันทน์หอม เนียม” จังหวัดกรุงเทพมหานครเรียกว่า “ยี่หร่า กะเพราญวน”
ชื่อวงศ์ : วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)

ลักษณะของยี่หร่า

ยี่หร่า เป็นไม้พุ่มเตี้ยที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 2 ชนิด คือ เทียนขาวและอีกชนิดคือยี่หร่าที่เราพบในประเทศไทย
ลำต้น : มีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะใบเป็นรูปกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวสด ใบยี่หร่าจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสร้อน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด ดอกจะบานจากล่างไปหาปลายช่อ
เมล็ด : เมล็ดมีสีดำขนาดเล็กจำนวนมาก

สรรพคุณของยี่หร่า

  • สรรพคุณจากใบ ยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง บำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ แก้โรคเบื่ออาหาร แก้อาการปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย แก้อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้อาการคลื่นไส้ด้วยการใช้ใบนำมาชงเป็นชาดื่ม ลดอาการปวดประจำเดือน
  • สรรพคุณจากต้นและรากแห้ง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบย่อยอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และอาการปวดท้อง ขับลมในลำไส้
  • สรรพคุณจากน้ำมันหอมระเหย ช่วยระงับอาการหดเกร็งของลำไส้
  • สรรพคุณจากผล ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 3 – 5 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 1 ลิตร ทิ้งไว้สักระยะแล้วจึงนำมาดื่มวันละ 3 – 4 ถ้วยตวง

ประโยชน์ของยี่หร่า

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ใบใช้เป็นเครื่องปรุงและช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เมล็ดช่วยในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ลดการบูดเน่าเสีย ป้องกันกลิ่นเหม็นอับด้วยการนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก
2. ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ น้ำมันยี่หร่านำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ได้

คุณค่าทางโภชนาการของใบยี่หร่า

คุณค่าทางโภชนาการของใบยี่หร่า ต่อ 100 กรัม

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้
เส้นใย 26.8 กรัม
ไขมัน 0.6 กรัม
โปรตีน 14.5 กรัม
วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม 
แคลเซียม 2 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม
เหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

ยี่หร่า เป็นผักสมุนไพรและเป็นเครื่องเทศที่สำคัญ มีการนำคำว่า “ยี่หร่า” มาตั้งเป็นชื่อร้านอาหารมากมาย และยังนำน้ำมันหอมระเหยจากยี่หร่ามาใช้ประโยชน์ในการหมักและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย สรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ต้านมะเร็ง ลดอาการปวดประจำเดือน เพิ่มความอยากอาหาร และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบย่อยอาหาร เป็นผักสมุนไพรที่มีรสร้อนและพบได้ในเมนูอาหารไทยทั้งหลาย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ผักกวางตุ้ง ช่วยกระตุ้นฟีโรโมน เสริมสร้างกระดูกและลดความอ้วน

0
ผักกวางตุ้ง ช่วยกระตุ้นฟีโรโมน เสริมสร้างกระดูกและลดความอ้วน
ผักกวางตุ้ง ทรงกลมรี ใบกว้างใหญ่และผิวใบบางเรียบ มีก้านใบหนาและยาวอวบน้ำ ก้านมีสีเขียวอ่อนหรือสีขาวตามแต่สายพันธุ์
ผักกวางตุ้ง ช่วยกระตุ้นฟีโรโมน เสริมสร้างกระดูกและลดความอ้วน
ผักกวางตุ้ง ทรงกลมรี ใบกว้างใหญ่และผิวใบบางเรียบ มีก้านใบหนาและยาวอวบน้ำ ก้านมีสีเขียวอ่อนหรือสีขาวตามแต่สายพันธุ์

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง (False pakchoi) เป็นผักสีเขียวที่มักจะพบมากในเมนูอาหารจีน และเป็นผักที่คนไทยรู้จักและนิยมทานกัน แน่นอนว่าเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ยังไม่รู้สรรพคุณที่แท้จริง เป็นผักที่ค่อนข้างนิยมในหมู่ผู้สูงวัยหรือบ้านที่มีเชื้อสายจีน มีรสชาติอร่อยหอมเมื่อนำมาปรุงรสแต่ต้นสดจะมีความเหนียวและเคี้ยวยาก เป็นผักที่มีสารอาหารและแร่ธาตุมากมายชนิดหนึ่งและหาซื้อได้ง่าย สามารถซื้อผักสดมาทำอาหารได้ด้วยตัวเอง

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักกวางตุ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica rapa L. (Brassica pekinensis var. laxa Tsen & S.H.Lee)
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญ 4 ชื่อ คือ “False pakchoi” “Mock pakchoi” “Flowering white cabbage” “Pakchoi”
ชื่อท้องถิ่น : คนทั่วไปเรียกกันว่า “ผักกาดเขียวกวางตุ้ง” ภาคใต้เรียกว่า “ผักกาดฮ่องเต้ ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ กวางตุ้งไต้หวัน ผักกาดสายซิม” ในภาษาไต้หวันเรียกว่า “ปากโชย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)

ลักษณะของผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สายพันธุ์สีขาวและสายพันธุ์สีเขียว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน มีลักษณะทรงกลมรี ใบกว้างใหญ่และผิวใบบางเรียบ มีก้านใบหนาและยาวอวบน้ำ ก้านมีสีเขียวอ่อนหรือสีขาวตามแต่สายพันธุ์
ราก : เป็นระบบรากแก้วแทงลงในดิน มีลักษณะกลมสีน้ำตาล มีรากฝอยและรากแขนงเล็ก ๆ ออกตามแนวราบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ก้านช่อดอกใหญ่ยาว มีแขนงก้านย่อยมาก ดอกมีลักษณะเล็ก กลีบดอกมีสีเหลืองสด
ผล : มีผลเป็นฝักทรงกลมเรียวยาว มีปลายจะงอยแหลม ฝักดิบมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาล เมื่อฝักแก่จัดผลจะแตกออก
เมล็ด : เมื่อฝักแก่จัดจะแตกออกและมีเมล็ดจำนวนมากเรียงอยู่ในฝัก ลักษณะทรงกลมขนาดเล็ก สีน้ำตาลเข้ม

การนำไปใช้ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง

1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูอย่างต้มจับฉ่าย ผัดผักกวางตุ้ง บะหมี่หมูแดง เป็นต้น สามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก

ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง

  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  • สรรพคุณด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 บำรุงสายตา เสริมสร้างฟันให้แข็งแรง
  • สรรพคุณด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  • สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย ลดความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ บรรเทาอาการปวดตามข้อ แก้อาการเป็นตะคริว
  • สรรพคุณด้านอื่น ๆ ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง กระตุ้นฟีโรโมนทำให้กลิ่นตัวหอม ลดความอ้วน

คุณค่าทางโภชนาการของผักกวางตุ้งดิบ

คุณค่าทางโภชนาการของผักกวางตุ้งดิบต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 13 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม
เส้นใย 1.0 กรัม
ไขมัน 0.2 กรัม
โปรตีน 1.5 กรัม
วิตามินเอ 243 ไมโครกรัม (30%)
วิตามินซี 45 มิลลิกรัม (54%)
ธาตุแคลเซียม 105 มิลลิกรัม (11%)
เหล็ก 0.80 มิลลิกรัม (6%) 
แมกนีเซียม 19 มิลลิกรัม (5%) 
โซเดียม 65 มิลลิกรัม (4%)

วิธีการถนอมคุณค่าทางโภชนาการ

  • ก่อนนำไปปรุงให้ใส่ไว้ในถุงพลาสติกแล้วปิดให้แน่น โดยห้ามหั่นหรือล้างก่อนเด็ดขาด! แล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักในตู้เย็น
  • ขั้นตอนการทำเมนูที่มีผักกวางตุ้ง ไม่ควรตั้งไฟนานจนเกินไป เพราะความร้อนจะไปทำลายวิตามินที่อยู่ในผักกวางตุ้งอย่างวิตามินซีและเบตาแคโรทีน

ข้อควรระวัง

1. ควรระมัดระวังในการเลือกซื้อและนำมาล้างให้สะอาดด้วยการแช่น้ำส้มสายชู น้ำเกลือหรือล้างด้วยน้ำเปล่าอย่างน้อย 2 นาที เพราะเป็นผักที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการฉีดยาฆ่าแมลงมาก
2. ผักกาดกวางตุ้งเมื่อโดนความร้อนจะเกิดสารไทโอไซยาเนต (thiocyanate) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ความดันเลือดต่ำและร่างกายอ่อนเพลียหากรับประทานเข้าไปในปริมาณที่มากเกินควร ดังนั้นจึงควรเปิดฝาทิ้งไว้เพื่อให้สารไทโอไซยาเนตระเหยออกไปพร้อมไอน้ำ

ผักกวางตุ้ง เป็นผักที่มีวิตามินเอและวิตามินซีสูงมากรวมถึงแคลเซียมด้วย ซึ่งช่วยในเรื่องของกระดูก เป็นผักที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย แต่การที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากผักกวางตุ้งนั้นต้องมีการปรุงอย่างถูกวิธีเพื่อรักษาวิตามินที่อยู่ในผัก สรรพคุณที่โดดเด่นของผักกวางตุ้งเลยก็คือ ชะลอความเสื่อมของกระดูก กระตุ้นฟีโรโมนให้กลิ่นตัวหอม และลดความอ้วน เป็นผักที่มีกากใยสูงและไขมันน้อย มักจะพบผักกวางตุ้งอยู่ในเมนู “บะหมี่หมูแดง”

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

บีทรูท ช่วยรักษาสิว ยับยั้งมะเร็ง บำรุงเลือดและป้องกันโรคหัวใจ

0
บีทรูท ช่วยรักษาสิว ยับยั้งมะเร็ง บำรุงเลือดและป้องกันโรคหัวใจ
บีทรูท หัวใต้ดิน ขนาดเล็ก ทรงกลมป้อม มีเนื้อด้านในอวบน้ำ มีสีแดงเลือดหมู สีม่วงแดง สีเหลือง
บีทรูท ช่วยรักษาสิว ยับยั้งมะเร็ง บำรุงเลือดและป้องกันโรคหัวใจ
บีทรูท หัวใต้ดิน ขนาดเล็ก ทรงกลมป้อม มีเนื้อด้านในอวบน้ำ มีสีแดงเลือดหมู สีม่วงแดง สีเหลือง

บีทรูท

บีทรูท (Beetroot) มักจะรู้จักกันในรูปแบบของเครื่องดื่มสมูทตี้ ที่เป็นผลไม้ปั่นเพื่อสุขภาพ ในประเทศไทยมักจะพบบีทรูทสีแดงสด มีรสชาติหวานและรับประทานง่าย เป็นผลไม้เมืองนอกที่ค่อนข้างนิยมอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะในหมู่คนรักสุขภาพ ถือเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ช่วยต้านโรคต่าง ๆ ได้

รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของบีทรูท

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Beta vulgaris L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Garden beet” “Common beet”
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่อท้องถิ่นว่า “ผักกาดฝรั่ง” หรือ “ผักกาดแดง”
ชื่อวงศ์ : วงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)

ลักษณะของบีทรูท

บีทรูท เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแถบยุโรป ส่วนในประเทศไทยมักจะปลูกกันที่ภาคเหนือ เพราะเป็นผลไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมหนาวเย็น
หัว : มีหัวใต้ดิน เป็นทรงกลมป้อม มีเนื้อด้านในอวบน้ำ มีสีแดงเลือดหมู สีม่วงแดง สีเหลือง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปหัวใจรี มีก้านยาว
ดอก : เป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อสีเขียวอ่อนและมีขนาดเล็ก
ผล : ผลมีขนาดเล็ก

ประโยชน์ของบีทรูท

  • สรรพคุณด้านเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระและช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เสริมสร้างพละกำลังและความแข็งแรง ลดอาการเหนื่อยล้าจากการออกกำลัง ทำให้ร่างกายอึดและทนทานมากขึ้นถึง 16%
    – ล้างสารพิษในร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำคั้นบีทรูทก่อนนอน
  • สรรพคุณด้านไขมัน ลดการสะสมไขมัน
  • สรรพคุณด้านเลือดในร่างกาย ลดการอุดตันในหลอดเลือด บำรุงหลอดเลือด ลดความดันเลือด รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ปัญหาอาการประจำเดือนมาผิดปกติ
    – เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ด้วยการดื่มน้ำคั้นบีทรูทก่อนอาหารเช้า
  • สรรพคุณด้านระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย รักษาอาการท้องผูก
    – ทำให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น เป็นยาระบายและขับปัสสาวะ ด้วยการดื่มน้ำคั้นบีทรูทก่อนอาหารเช้า
  • สรรพคุณด้านป้องกันโรค ยับยั้งสารก่อมะเร็งและลดการเจริญเติบโตของเนื้องอก ลดจำนวนสารก่อมะเร็งในร่างกาย ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัมพาต
  • สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ
    – แก้อาการไอและเจ็บคอ ขับเสมหะ ลดอาการบวมต่าง ๆ ด้วยการดื่มน้ำคั้นบีทรูทก่อนนอน
  • สรรพคุณช่วยบำรุงอวัยวะ บำรุงหัวใจ
    – บำรุงไตและถุงน้ำดี ด้วยการดื่มน้ำคั้นบีทรูทก่อนนอน
  • สรรพคุณด้านความงาม
    – รักษาสิวหัวหนองหรือสิวอักเสบ และน้ำเหลืองเสีย ด้วยการใช้หัวบีทรูท 1 หัว มาต้มกับน้ำในปริมาณที่ต้องการ

การนำไปใช้ประโยชน์ของบีทรูท

เป็นส่วนประกอบของอาหาร ทำเป็นขนมหวานอย่างสาคูไส้บีทรูท สลัดน้ำบีทรูท ขนมบีทรูท ขนมเค้ก เยลลี่บีทรูท พุดดิ้งนมสดบีทรูท พาสต้าหรือไอศกรีม นำมาดองทำเป็นน้ำส้มสายชูได้ ทำเป็นไวน์หรือเครื่องดื่มแบบสมูทตี้ หัวบีทรูทใช้ในงานแกะสลักตกแต่งอาหาร ใช้เป็นสีจากธรรมชาติผสมอาหารได้

คำแนะนำในการรับประทานหรือการใช้บีทรูท

1. หลังจากดื่มน้ำบีทรูทแล้วขับถ่ายออกมามีสีแดงปนเปื้อนนั้นไม่ใช่เลือด แต่เป็นเพราะร่างกายขับสารสีแดงจากบีทรูทออกมา ซึ่งมาจากการรับประทานอาหารที่ทำมาจากบีทรูทมากเกินไป เรียกอาการนี้ว่า “บีทูเรีย”
2. ควรเลือกซื้อหัวบีทรูทที่มีขนาดเล็ก เพราะมีเนื้อละเอียดและให้รสหวานมากกว่าหัวบีทรูทขนาดใหญ่
3. ควรเลือกซื้อผลที่มีผิวไม่เหี่ยว เนื้อไม่นิ่ม แต่ถ้าใบติดอยู่ด้วยให้เลือกหัวที่ใบยังสดอยู่
4. การเก็บรักษาผลบีทรูท ควรล้างน้ำให้สะอาดแล้วเก็บใส่ในถุงตาข่าย จากนั้นวางไว้ในที่ร่มหรือจะนำมาแช่ในตู้เย็นตรงช่องเก็บผักก็ได้ สามารถเก็บได้นานถึง 2 อาทิตย์

คุณค่าทางโภชนาการของหัวบีทรูทดิบ

คุณค่าทางโภชนาการของหัวบีทรูทดิบต่อ 100 กรัม โดยคิดเป็น % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ ให้พลังงาน 43 กิโลแคลอรี

สารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 9.56 กรัม 
น้ำตาล 6.76 กรัม
เส้นใย 2.8 กรัม
ไขมัน 0.17 กรัม
โปรตีน 1.61 กรัม 
น้ำ 87.58 กรัม
วิตามินเอ 2 ไมโครกรัม (0%)
เบตาแคโรทีน 20 ไมโครกรัม (0%)
วิตามินบี1 0.031 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม (3%) 
วิตามินบี3 0.334 มิลลิกรัม (2%)
วิตามินบี5 0.155 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม (5%)
วิตามินบี9 109 ไมโครกรัม (27%)
วิตามินซี 4.9 มิลลิกรัม (6%)
แคลเซียม 16 มิลลิกรัม (2%) 
เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม (6%)
แมกนีเซียม 23 มิลลิกรัม (6%)
แมงกานีส 0.329 มิลลิกรัม (16%)
ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม (6%)
โพแทสเซียม 325 มิลลิกรัม (7%)
โซเดียม 78 มิลลิกรัม (5%) 
สังกะสี 0.35 มิลลิกรัม (4%)

สารออกฤทธิ์สำคัญ

  • สารบีทานิน (Betanin) เป็นสารสีแดงที่อยู่ในหัวบีทรูท เป็นกรดอะมิโน ช่วยยับยั้งโรคมะเร็งและลดการเติบโตของเนื้องอกได้ ทำให้เลือดลมและระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดีมากขึ้น
  • สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นสารสีม่วง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดสารก่อมะเร็งและช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและอัมพาต

การทำน้ำบีทรูท

1. นำบีทรูท 2 หัว มาปอกเปลือกแล้วล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในเครื่องปั่นแยกกากหรือหั่นเป็นฝอยแล้วลงในเครื่องปั่น จากนั้นกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อทำการแยกกากออก
2. นำน้ำที่ได้ใส่หม้อตั้งไฟ แล้วเติมน้ำตาลทรายครึ่งถ้วยและเกลือ 1 ส่วน 3 ช้อนชา พร้อมดื่ม

บีทรูท เป็นผลไม้สีแดงที่มีประโยชน์ในการต้านทานโรค มักจะพบเป็นน้ำดื่มสมูทตี้ซึ่งควรดื่มก่อนอาหารเช้าหรือดื่มก่อนนอนจะให้ผลดีต่อร่างกาย มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ยับยั้งโรคมะเร็ง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัมพาต รักษาสิว บำรุงไตและถุงน้ำดี และเพิ่มประสิทธิภาพต่อระบบการไหลเวียนของเลือด เป็นผลไม้ที่คู่ควรต่อการดื่มเป็นประจำ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม